• พิมพ์

เหตุการณ์ก่อนพุทธปรินิพพาน

ในตอนปลายสมัยพุทธกาลนั้นมีปัญหาเกี่ยวกับ พระชนมายุของพระบรมศาสดา ตามความเข้าใจของเราชาวพุทธทั่วไปก็ว่า พระบรมศาสดาดับขันธปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 81 ย่างเข้าปีที่ 81 ยังไม่เต็ม ดับขันธปรินิพพานในปีนั้น ไม่ใช่ 80 ถ้วน ตอนที่พูดถึงประเด็นนี้อันนำโดยสู่ขบวนสุกรมัทวะในตอนท้ายนั้นก็ต้องเล่าทบทวนเสียก่อนว่า ในปีที่พระผู้มีพระภาคมีพระชนมายุได้ 80 นั้น เข้าใจว่าในระยะต้นๆปี ทูตแคว้นโกศล เพราะมีข้อความปรากฏในบาลีธรรมเจดียสูตร กล่าวถึงพระเจ้าปเสนทิโกศล ราชันแห่งแคว้นโกศล ได้เดินทางไปเฝ้าปะสาสนียกิจ.. เข้าไปนวดที่พระยุคนธ์บาททั้งสอง แล้วก็จุมพิตพระยุคนธ์บาททั้งสอง แล้วกราบทูลต่อพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าพุทธเจ้าปเสนทิมีความเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคยิ่งนัก พระบรมศาสดาจึงตรัสถามพระเจ้าปเสนทิว่า ดูก่อนมหาราช เหตุไฉนพระองค์จึงแสดงความเคารพอย่างยิ่งในตถาคตถึงปานเช่นนี้ พระเจ้าปเสนทิก็พรรณนา พระพุทธคุณโดยอเนกปริยายต่างๆ เป็นข้อๆ แต่ดูข้อตอนหนึ่งว่า พระผู้มีพระภาคมีพระชนมายุได้ 80 แม้หม่อมฉันก็มีพระชนมายุได้ 80 พระผู้มีพระภาคเป็นชาวโกศล หม่อมฉันก็เป็นชาวโกศล ข้อความอันนี้ ปรากฏว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลเมื่อออกจากเฝ้าแล้ว ราชโอรส คือเจ้าชายวิฑูรทภะ เป็นกบฏต่อพระราชบิดา ปิดประตูเมืองสาวัตถีไม่ให้พ่อเข้า ช่วงชิงเอาราชสมบัติไป พระเจ้าปเสนทิโกศลเลยต้องซัดเซพเนจร หวังที่จะมาพึ่งหลานชายคือพระเจ้าอชาติศัตรู กรุงราชคฤห์ แห่งแคว้นมคธ แต่ก็เสด็จมาได้เพียงถึงที่นอกประตูเมืองราชคฤห์นั่นเอง เพราะว่าแก่เฒ่าชรามากแล้ว ตั้ง 80 ปี เดินทางข้ามประเทศมา ข้ามนครมา บุกป่าฝ่าดงมาเป็นเวลาหลายวัน ข้าวปลาอาหารก็ไม่ได้ตกถึงท้อง ความลำบากตรากตรำประกอบกับทั้ง ความเสียพระทัยที่ลูกชายเนรคุณอกตัญญูเป็นกบฏผสมกันเข้า แล้วก็อากาศในคืนวันนั้นก็หนาวเย็นผสมกัน ก็เลยเป็นเหตุให้พระเจ้าปเสนทิสวรรคตในวันรุ่งขึ้น

            ข่าวอันนี้ทราบไปถึงพระเจ้าอชาตศัตรูผู้หลาน กว่าจะมาถึงองค์ก็ได้แต่พระบรมศพเสียแล้ว จึงได้จัดการกับพระบรมศพของพระอัยกาธิราช เอาประคตของพระอัยกาเป็น  (ฟังไม่ออก1ประโยค)    ถ้าหากว่าโดยฐานะในปัจจุบันแล้ว ก็เป็นพ่อเขยของพระเจ้าอชาตศัตรูด้วย คือพระเจ้าอชาตศัตรูได้ลูกสาวลุงมาเป็นมเหสี ชื่อเจ้าหญิงวัชรีเทวี ได้อภิเษกกับเจ้าหญิงวัชรีเทวี เพราะฉะนั้นโดยศักดิ์ก็เป็นทั้งพ่อตาของพระเจ้าอชาตศัตรูแล้วก็เป็นทั้งพระเจ้าลุงของพระเจ้าอชาตศัตรู

            เรื่องความตอนนี้ก็บอกไปว่า พอเจ้าชายวิฑูรทภะ ชิงราชสมบัติสำเร็จ ได้ยกกองทัพไปตีเมืองกบิลพัสดุ์ กำจัดพวกศากยวงศ์  ทำลายเมืองกบิลพัสดุ์เสียราบเลยทีเดียว เหตุการณ์ตอนนี้เกิดขึ้นในปีที่พระพุทธองค์มีพระชมมายุแล้ว 80 เฉพาะฉะนั้นเหตุการณ์จะเกิดขึ้นในปีเดียวกันไม่ได้ เพราะวันเวลาในขณะที่วิฑูรทภะมากำจัดพวกศากยวงศ์ก็ดี หรือพระเจ้าปเสนทิโกศลถูกลูกชายเป็นกบฏกำจัดเสียจากราชสมบัติก็ดี ทั้งนั้นจะเกิดขึ้นในปีเดียวกับพระพุทธเจ้าปรินิพพานไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าท่านปรินิพพานในปีที่พระชนม์ย่างเข้า 81 แล้ว ไม่ใช่ 80 ต้องถัดไปอีกปีหนึ่ง คือปีหน้าหลังจากเหตุการณ์ร้ายๆต่างๆได้เกิดขึ้น  ปีหน้าจึงเป็นนิพพานได้ ดับขันธปรินิพานในปีนั้นได้ ตามที่เราเข้าใจกันทั่วไปว่าเมื่อพระชนม์ 80 นิพพาน พระชนม์นิพพานนั่นนะ เพราะเรามีความเข้าใจที่ถือเอาว่าเลขศูนย์เป็นเลขที่ลงตัวอยู่แล้วจำง่าย ไม่ยุ่งยาก ถ้าไปจำพวกเศษพวกเลย เช่น 81,82 นี่จำยากเพราะฉะนั้นเลยปัดเศษ ให้ลงตัวเอากันแค่นี้ 80 แต่ความจริงที่ปรากฏในหลักฐานในธรรมเจดีย์อโศกก็ดี หลักฐานที่เจ้าชายวิฑูรทภะยกกองทัพไปกำจัดศากยวงศ์ในเมืองกบิลพัสต์ บ่งว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในปีพุทธปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคต้องเสด็จมาห้ามทัพเจ้าชายวิฑูรทภะถึงสามครั้ง โดยเสด็จประทับอยู่ที่โคนต้นไม้ใบโกร๋นๆริมทางที่กองทัพเจ้าชาววิฑูรทภะจะผ่านในขณะเดียวกันกับ มีต้นไม้ที่มีร่มไม้ใบหนาอยู่ข้างๆตั้งหลายต้น เจ้าชาววิฑูรทภะพอเห็นพระพุทธองค์ประทับอยู่อย่างนั้นที่ชายแดน ระหว่างแคว้นสักกะ กับแคว้นโกศล ก็ไม่กล้าจะยกกองทัพข้ามแดนไป ด้วยความเกรงพระหฤทัย เกรงพระบรมศาสดา นึกในใจว่า พระศาสดาต้องเสด็จมาคุ้มครองพระญาติของพระองค์ไว้ ความเกรงพระบารมีก็เลยเลิกทัพกลับทุกครั้ง มาในครั้งสุดท้าย พระพุทธองค์เล็งญาณแล้วเห็นว่าห้ามไม่ได้แล้วเป็นผลกรรมของบรรดาศากยวงศ์ในอดีตชาติที่เคยเบื่อยาลงในแม่น้ำให้ปลาเต่าตายเป็นจำนวนมหาศาล ผลกรรมดังนี้ได้ตามมาสนองเสียแล้ว เพราะฉะนั้นจึงไม่อาจจะห้ามได้ จึงมิได้เสด็จมาประทับห้ามกองทัพเจ้าชาววิฑูรทภะ กองทัพเจ้าชาววิฑูรทภะจึงยาสตราเข้าไปในเมืองกบิลพัสด์ แล้วก็ฆ่าฟันพระญาติวงศ์ของพระพุทธองค์เสียมากต่อมากเรื่องราวคราวนี้ต้องเกิดขึ้นในปีที่พระพุทธเจ้าพระชนม์ 80 ปี

            แล้วเรามาเทียบเคียงในบาลีมหาปริพานสูตร เริ่มต้นก็กล่าวถึง ที่ประทับของพระพุทธองค์ว่า อยู่ที่แขวงเมืองราชคฤห์ ในแคว้นมคธ ก็เรื่องราวอันนี้เกิดขึ้นในตอนต้นปี เพราะฉะนั้นเมื่อต้นปีอันที่ประทับที่เมืองราชคฤห์ หรือว่าจะเป็นกลางปีก็ดี จะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นปัจจุบันทันด่วนไปพร้อมกับเหตุการณ์ที่เกิดกับพระเจ้าปเสนทิไม่ได้อย่างน้อยก็ต้องลำดับเหตุการณ์ว่า เหตุการณ์ที่เกิดกับพระเจ้าปเสนทิกับเจ้าชาววิฑูรทภะกำจัดศากยวงศ์นั้น ต้องเป็นเป็นเหตุเกิดขึ้นราวๆต้นปีเมื่อพระชนมายุของพระพุทธองค์ได้ 80 หลังจากเหตุการณ์นั้นผ่านไปแล้ว พระพุทธเจ้าได้เสด็จจากแคว้นโกศลมาประทับอยู่ที่แขวงเมืองราชคฤห์ ราวๆกลางปี ก่อนจะเข้าพรรษามาปะทับที่ราชคฤห์ ระหว่างที่ประทับที่แขวงราชคฤห์นี้  ก็มีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นเช่นว่า พระเจ้าอชาติศัตรู ซึ่งเป็นกษัตริย์ทั้งมคธทั้งโกศล เพราะเวลานั้น เจ้าชาววิฑูรทภะได้กำจัดศากยวงศ์แล้ว ผลกรรมก็ตามมาสนอง พักองค์อยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำ เกิดน้ำท่วมมาหนีน้ำไม่ทัน ตายหมดทั้งกองทัพรวมทั้งเจ้าชาววิฑูรทภะจมน้ำตาย ผลกรรมตามสนองทัน เมื่อราชบังลังก์ของโกศลว่างกษัตริย์ เจ้าชายอชาติศัตรูในฐานะเป็นทั้งหลานชายของพระเจ้าปเสน เป็นทั้งลูกเขยของพระเจ้าปเสน เพราะฉะนั้นเลย โอนเมืองโกศลไปขึ้นกับมคธอีก  อชาติศัตรูจึงได้แคว้นอีกแคว้นหนึ่ง แคว้นโกศลเข้ามาครอบครอง แล้วก็เริ่มวางแผนการที่จะแผ่จักวรรดิ ไปฮุบเอาแคว้นวัชชี กำลังเตรียมวางกลยุทธ จะเข้าโจมตีแคว้นวัชชี ซึ่งเป็นแคว้นอยู่ตรงกันข้ามกับแคว้นมคธ คนละฝั่งแม่น้ำ มีแม่น้ำคงคาเป็นเขต เป็นแดนกั้น

เรื่องจะตีแคว้นวัชชีนี่ เป็นเรื่องที่ทราบกันโดยทั่วๆไปแล้ว พระพุทธองค์ก็ทรงทราบ ท่านทั้งหลายจะสังเกตได้ว่า ปีสุดท้ายของพระชนม์ชีพ พระพุทธเจ้าประทับอยู่เมืองเวศาลีเป็นเวลานานเหลือเกิน ประทับอยู่ตั้งเกือบ 8 เดือน โดยไม่ยอมเสด็จไปประทับที่อื่นใดทั้งหมด เพราะดูราวประหนึ่งว่าพระองค์ตั้งพระหฤทัยจะป้องกันแคว้นวัชชี ให้พ้นจากภัย ของพระเจ้าอชาติศัตรู ด้วยความกรุณา ว่าสัตว์ทั้งหลายในแคว้นวัชชีจะเป็นอันตรายไป ข้อความอันนี้ไม่ได้บ่งอยู่ในพุทธประวัติหรือในมหาปรินิพพานสูตรหรอกแต่ว่าเราดูเหตุการณ์ ก็ทำให้สันนิษฐานว่า ควรจะเป็นไปทำนองนั้น เพราะเมื่อเสด็จออกจากมคธแล้ว ก็ข้ามแม่น้ำคงคามุ่งเข้าสู่แคว้นวัชชี ประทับอยู่ที่แคว้นวัชชีถึงหนึ่งพรรษาเต็มๆ ในปีที่พระชนม์แปดสิบ อยู่วัชชีหนึ่งพรรษา ออกพรรษาแล้วก็ยังเสด็จวนเวียนอยู่รอบๆ ตำบลต่างๆในแคว้นวัชชี เช่นประทับอยู่ที่ พัฐคาม อัมพุคาม โอฆนคร อันเป็นตำบลต่างๆ อยู่รอบๆเมืองเวศาลี ไม่ได้ตั้งพระหฤทัยจะเสด็จจากไปง่ายๆ เมื่อพระองค์อยู่ประทับอยู่ที่เมืองเวศาลีตราบใด พระเจ้าอชาติศัตรูก็ไม่กล้ายกกองทัพมาเบียดเบียนชาววัชชีตราบนั้น เพราะว่าเกรงพระพุทธบารมี ความเคารพในพระพุทธเจ้ามีอยู่ เมื่อพระศาสดาประทับที่ใดก็นำสันติสุขมาให้แก่ที่นั้น ไม่กล้าเข้าไปเบียดเบียนเขา จนกระทั่งภายในพรรษาสุดท้ายนั้นเอง ที่พระพุทธองค์ประทับจำพรรษาอยู่ตำบลบ้านเวฬุวนคาม อันเรียกกันง่ายๆว่า ตำบลบ้านไผ่ ประทับอยู่ที่ตำบลบ้านไผ่ในพรรษานั้น พระองค์ได้ประชวรหนัก เกือบที่จะเอาชีวิตไม่รอดแต่หากว่ามาตรึกในพระหฤทัยว่า ถ้าเราจะมาปรินิพพานเสีย ในระหว่างนี้ เป็นการไม่สมควรแก่เรา เรายังไม่บอกลาบรรดาภิกขุที่เป็นอุปฐาก ยังไม่แจ้งให้กับคณะสงฆ์ทราบเป็นทางการแล้วอยู่ๆจะมาดับขันธ์เช่นนี้จะไม่เป็นประโยชน์ เมื่อมีความปริวิตกเช่นนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ทรงใช้อิทธิบาทภาวนาขับไล่อาพาธทั้งหมดให้พ้นไป

            อันนี้เป็นปัญหาสำคัญประเด็นหนึ่งว่า ที่เราทราบกันทั่วไปว่า เจริญอิทธิบาทสี่ เป็นการต่ออายุได้ ขับไล่อาพาธได้นั้น อิทธิบาทสี่นั้นเจริญอย่างไร เจริญในธรรมะอะไร เพราะอิทธิบาทสี่นั้นเป็นอาการ เป็นกิริยา อาการที่เข้าไปเจริญ จะต้องมีธรรมอะไรที่ถูกเข้าไปเจริญ ที่เป็นผล เป็นต้นตอหรือเป็นพื้นฐานรองรับธรรมะกล่าวคืออิทธิบาทสี่ที่เข้าไปเจริญในอันนั้น อันนี้เป็นประเด็นสำคัญที่น่าวินิจฉัยมาก เพราะว่าส่วนมากเราก็ทราบๆกันทั่วไปว่า  ทรงใช้อิทธิบาทสี่ ต่อพระชนม์มายุ ทราบกันอย่างนี้ แล้วก็อิทธิบาทสี่ที่เรารู้ก็บอกว่า ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ท่องกัน ถ้าอิทธิบาทอย่างนี้ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ธรรมดาพื้นๆอย่างนี้เป็นอิทธิบาทแล้ว คนที่กำลังรำพัดเขาก็มีอิทธิบาทเหมือนกันนะ เล่นไพ่ในวงรำพัด ฉันทะก็มีความพอใจที่จะเล่น วิรียะพากเพียรที่จะเล่น จิตตะความใส่ใจ วิมังสาความไตร่ตรองใช้กลอุบาลต่างๆที่จะเข้าชนะ ต้องพร้อมทีเดียวไม่งั้นจะนั่งหามรุ่งหามค่ำสามวันสามคืนไม่ลุกจากที่ไม่ได้หรอก ปวดท้องขี่ ท้องเยี่ยวไม่ต้องเข้าห้องน้ำห้องสวมกัน ไม่มี ไม่รู้ขี่ เยี่ยวหายไปไหนหมด ในเวลารำพัดเนี๊ยะ ก็เป็นได้หรือ อิทธิบาทก็เป็นธรรมะที่ต่ำไป ถ้าหากพระใช้อิทธิบาทในทำนองนี้ละก็ เป็นความเข้าใจที่อิทธิบาทเป็นธรรมะที่พื้นๆดาษๆเกินไป ความจริงอิทธิบาทที่ว่าในที่นี้นะ ไม่ใช่อิทธิบาทตามที่ชาวบ้านสามัญจะเข้าใจกันอย่างนั้น คือไม่ใช่เป็นเพียงแต่ว่ามีความพอใจ คือฉันทะ มีความพากเพียรวิริยะ มีจิตตะคือความใฝ่ใจจริงๆ มีวิมังสาคือการใช้ปัญญา ไม่ใช่อย่างนั้น ธรรมดาดาษๆเพียงเท่านั้น ไม่ใช่ จะต้องเป็นธรรมะที่ลึกซึ้งกว่านั้น และสูงกว่านั้น ซึ่งเราจะวินิจฉัยกันในประเด็นนี้  

            เราจะมาวินิจฉัยก่อนว่า อะไรที่ว่า ทรงเจริญอิทธิบาทสี่ในธรรมะอะไร ในธรรมะอะไรที่พระองค์เข้าไปเจริญ ใช้อิทธิบาทเข้าไปทำให้มาก ภาวนาให้มาก ในธรรมะอันนั้น ธรรมะอันนั้นคืออะไร ในข้อนี้สำคัญมาก ก่อนอื่นจะยกพุทธภาษิตข้อความในตอนนี้ คือเมื่อในระหว่างพรรษาพระอานนท์และหมู่คนใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้า เห็นเหตุการณ์หมดว่าพระองค์ได้ใช้ ขันติความอดกลั้นอย่างสูงต่ออาพาธนั้น และก็ทรงขับไล่อาพาธนั้นด้วยอิทธิบาทภาวนา พอออกพรรษาแล้วเดือนหนึ่ง พระพุทธองค์ประทับสำราญอิริยาบถอยู่ พระอานนท์ก็เข้าไปทรงกราบทูลว่าพระพุทธเจ้าข้า ธรรมะก็ไม่เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์ในเวลานี้ คิดทั้งหลายก็เป็นที่มืดมัวแก่ข้าแจ้งเสียแล้วในเวลานี้  พระองค์ในเวลานี้ ไอ้ที่เคยแจ่มแจ้งก็ไม่แจ่มปัญหาธรรมะต่างๆ ทั้งนี้เพราะข้าพระองค์มาเห็นความอดกลั้นของพระผู้มีพระภาค ซึ่งใช้ความอดกลั้นยิ่งนักต่ออาพาธอันแรงกล้าในระหว่างพรรษา ต่อก็ยังมีความหวังใจอยู่ว่า พระองค์ยังคงไม่รีบด่วน มาละจากพวกพระสงฆ์สาวกไปเสีย กราบทูลในทำนองนี้ เมื่อกราบทูลในทำนองนี้แล้ว

พระพุทธเจ้าจึงตรัสกับพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ เธอยังจะหวังอะไรในตัวตถาคตอีกเหล่า สรีระของตถาคตนี้ ก็ล่วงการผ่านวัยมาด้วย 80 แล้ว เสมือนเกวียนที่คร่ำคร่าผุพังที่อยู่ได้ปะทะปะทังก็ด้วยลำไผ่ที่เข้ามาผูกเอาไว้ แต่ก็เป็นเกวียนที่คร่ำคร่าเต็มทนแล้ว พึงจะหวังอะไรกะเรา แล้วพระองค์ก็ได้กล่าว คือกล่าวทำนองใจความบอกว่า ดูก่อนอานนท์อิทธิบาทสี่ตถาคตเจริญ กระทำให้มากแล้ว ประทำให้เป็นดุสสญาณ จะทำให้เป็นดุสสพือให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ตถาคตนั้นเมื่อจำนงอยู่จะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัลป์หรือเกินกว่ากัลป์ก็ได้ต่อจากนี้ ความข้อนี้ ก็เข้าประเด็นที่ว่าทรงใช้อิทธิบาทสี่เจริญในธรรมะอะไร ข้อนี้เราไม่ต้องไปหาหลักฐานที่อื่น ความระบุบ่งชัดในมหาปรินิพพานสูตรนั่นเอง คือในมหาปรินิพพานสูตรกล่าวไว้กับพระอานนท์ว่า อานนท์สมัยตถาคตเข้าถึงเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต เพราะไม่ทำไว้ในใจซึ่งมีฤทธิ์ทั้งปวง เพราะดับเวทนาบางเหล่าแล้วอยู่ สมัยนั้นกายของตถาคตย่อมผาสุก ตรัสอย่างนี้ คือว่า เมื่อพระอานนท์ทูลบอกว่า เห็นอาการอดทนของพระผู้มีพระภาคต่ออาพาธ พระอานนท์ก็จิตใจวิตกทุกข์ร้อนไม่สบาย ธรรมะที่เคยคบคิดอย่างแจ่มแจ้ง ก็เกิดไม่แจ่มแจ้ง รู้สึกว่ามันมืดมัวใจไปเสียทุกหนทุกแห่ง หมดหวังในทุกหนทุกแห่ง แต่ว่ายังเคราะห์ดีที่ว่า ตราบใดที่พระองค์ยังไม่ตรัสล่ำลาภิกษุสงฆ์ว่าจะนิพพาน ก็ยังเป็นอันหวังอยู่ได้ว่าพระชนม์ชีพของพระองค์คงจะยั่งยืนอยู่กันพระสงฆ์ต่อไปเป็นมิ่งขวัญของชาวพุทธต่อไป ทำนองนั้น แล้วก็ พระพุทธเจ้าก็ให้สติกับพระอานนท์ว่าอย่าได้หวังอะไรในพระองค์มากเลย พระองค์ก็มีพระชนมายุสูงมากแล้วถึง 80 บริบูรณ์แล้ว เหมือนกันเกวียนที่คร่ำคร่าจะต้องปะทะปะทังด้วยลำไผ่ ให้เป็นไปได้อยู่ แล้วก็บอกกับพระอานนท์บอกว่า ในสมัยที่พระองค์เจริญเจโตสมาธิอันหานิมิตไม่ได้ คืออนิมิตสเจโตสมาธิ สมาธิจิตอันใจไม่ไปใฝ่ในนิมิตใดๆทั้งสิ้น เอาใจไม่ไปกำหนดในนิมิตใดๆทั้งสิ้น เรียกว่า อนิมิตเจโตวิมุตสมาธิ อันนี้ สมัยนั้นร่างกายของพระพุทธองค์รู้สึกผาสุกสำราญเหลือเกิน ก็เป็นพุทธพจน์ความตอนนี้เองแหละ เป็นการตอบปัญหาไปในตัวว่า ที่พระองค์หายจากอาพาธได้ เป็นเหตุให้มีพระชนมายุยั่งยืนต่อไปอีกตั้งสิบปีได้ ก็เพราะอานุภาพของอนิจสเจโตสมาธินี้ อนิจสเจโตสมาธิที่พระองค์เจริญทำให้มากแล้ว ก็หมายความว่าถ้าหากพระองค์ใช้อิทธิบาทสี่ ในปลงใจในอนิจสเจโตสมาธิอยู่เนื่องๆ อบรมให้มาก ทำให้จนชิน อบรมกันให้มากเป็นเวลานานๆแล้ว ถ้าพระองค์จะปรารถนาให้มีพระชนมชีพยืนถึงหนึ่งกัลป์หรือยิ่งกัลป์ก็เป็นไปได้

คำว่ากัลป์หรือยิ่งกว่ากัลป์คำนี้ไม่ใช่อายุกัลป์ของโลก เป็นอายุชีวิตมนุษย์ เป็นกัลป์ของชีวิตมนุษย์ อายุกัลป์ของโลกถามว่ากัลป์หนึ่งมีกี่ปี ตามคติศาสนาพราหมณ์ บอกว่าหนึ่งกัลป์มีถึงสี่พันกว่าล้านปี กัลป์เป็นภาษาสันสกฤตถ้าเป็นบาลีก็เป็นกัป กัปหนึ่งมีอายุตามคติของพราหมณ์ว่า สี่พันกว่าล้านปี เนิ่นนานมากตั้งสี่พันกว่าล้าน โลกเรานี้เพิ่งจะมีมนุษย์ก็ราวๆสักล้านปีกว่ามานี่เอง เพิ่งจะมีมนุษย์โผล่ขึ้นมาในโลก  ที่น่าตาละหม้ายคล้ายคลึงกันทางมนุษย์มีประมาณล้านกว่าปีมานี่ แล้วก็น่าตามมาเป็นครึ่งคนครึ่งลิงเรียกว่ามนุษย์วานรก็เมื่อห้าแสนปีมานี่ เพิ่งจะมีน่าตาเหมือนอย่างพวกเราก็เมื่อราวๆสองแสนปีมานี่มั่ง แต่อายุของกัปหนึ่งถึงสี่พันกว่าล้านปี คิดดูซิว่าอายุมากแค่ไหน ตามคติของพราหมณ์ แต่ตามคติของพุทธ เราจะคำนวนอายุของกัปหนึ่งแหม่ยากท่านจึงข้ออุปปมาว่า เหมือนกับท้าวมหาพรหมณ์ร้อยปีก็เอาผ้าสะไบที่ทอด้วยใยบัวมาตัดยอดเขาพระสุเมรุแก็กหนึ่ง ตัดแผ่วๆด้วยผ้าใยบัว ตัดแก๊กหนึ่งแล้วก็ขึ้นไปพรหมโลก ร้อยปีตัดทีหนึ่ง จนกระทั่งยอดเขาพระสุเมรุราบเรียบเสมอกับพื้นมหาสมุทรเป็นหนึ่งกัป ไม่ทราบว่ากี่ปี กี่เดือน เป็นอัตตามัยประมาณไม่ได้เป็นอสงไขยนับปีก็ไม่ได้เป็นอันว่านานแสนนานนะหนึ่งกัป นี่เป็นโลกแห่งกัปปะ กัปปะของโลก อายุของโลกยุคหนึ่งๆ พ้นกัปหนึ่งก็มีการทำลายสิ้นยุคสิ้นกัลป์ หรือสิ้นกัป ซึ่งเกิดกัปฉิบหายเพราะไฟบ้าง กัปฉิบหายเพราะลมบ้าง กัปฉิบหายเพราะน้ำบ้าง จะต้องเปลี่ยนแปลงใหม่ พูดง่ายๆว่าโลกแตก โลกแตกทีหนึ่งก็กัปหนึ่ง คิดง่ายๆอย่างนี้ โลกที่เราอยู่นี้แตกเป็นเสี่ยงๆจุลมิจุลเป็นกัปหนึ่งว่างั้น เพราะฉะนั้นในการที่พุทธพจน์ที่บอกว่าเจริญอิทธิบาทสี่อบรมให้มาก ทำให้มาก ทำให้เชี่ยวชาญ ทำให้จนชิน จะมีอายุกัปหนึ่งหรือยิ่งกว่ากัป คำว่ากัปในที่นี้หมายถึงอายุกัปของมนุษย์ อายุกัปของมนุษย์ในสมัยนั้นถือว่าใครมีอายุถึงร้อยก็ประเสริฐนักหนาแล้ว กำหนดอายุถึงร้อยหรือยิ่งกว่าร้อยเล็กน้อย ก็เป็นของประเสริฐนักหนาแล้ว อายุของคนถอยร่นมาเรื่อยจนกระทั่งยุคปัจจุบัน กำหนด 70 กว่าปี ถึงปัจจุบันนี้ใครอายุถึง70กว่าปีแล้วตายก็บุญลาภชีวิตของผู้นั้นแล้วไม่ต้องเสียใจว่าเกิดมาอายุสั้น ไม่ต้องเสียใจ เพราะว่าเป็นอายุกัปปะประมาณอายุขัยแห่งสัตว์ในยุคหนึ่งสมัยหนึ่งเป็นอย่างนั้น สมัยพุทธกาลใครอายุประมาณ ร้อยหรือเกินกว่าร้อยบ้างเล็กน้อย ก็เป็นของประเสริฐเป็นบุญลาภแล้ว เพราะฉะนั้นในที่นี้ถ้าหากว่าพระพุทธเจ้า พระองค์ท่านเจริญอิทธิบาทสี่ เป็นไปในอนิสเจโตสมาธิให้มาก ก็อย่างมากยืดอายุพระองค์ต่อไปอีกสักยี่สิบปี หรือ ยี่สิบห้าปี เช่นว่า เป็นร้อยถ้วนหรือ ร้อยห้าปี อาจจะมากกว่านั้นอีกนิดหน่อย แต่ไม่ใช่ว่ามีอายุกระทั่งถึงปัจจุบันนี้  ไม่ใช่ นี่เป็นอายุชีวิตสัตว์  เป็นการกำหนดเขตในครั้งนั้น เหตุฉะนั้นแหละเราก็ได้ความว่า ที่พระองค์ตรัสให้เจริญอิทธิบาทสี่  เป็นไปในอนิสเจโตวิมุตนี่แหละ  ใครเจริญในอมิสเจโตสมาธิให้มากแล้ว  คนนั้นจะอาศัยอำนาจสมาธินี้ดับอาพาธ ดับทุกขเวทนาทางกายได้หมด  แล้วก็เปลี่ยนเซลล์ในร่างกายเสียใหม่หมด เช่นว่ามีไอ้เซลล์ที่มันจะตายไปบ้างหรือมันเจ็บป่วยอะไรต่างๆเป็นสาเหตุ ก็เปลี่ยนใหม่หมด  เปลี่ยนเม็ดโลหิตในร่างกายใหม่หมดทีเดียว  สรีระต่างๆเป็นของใหม่หมด ร่างกายก็กระปี้กระเป่ามีพละกำยำ อาจจะมีอายุยืนต่อไปอีกตั้งหลายปี  ในการต่ออายุ

ตานี้ อรรถกถาได้แก้ความตอนนี้ว่าอย่างไร แก้ข้อความตอนนี้ ในสุมังคะวิลาสีนีท่านแก้ความบอกว่า ได้แก่การเข้าพละสมาบัติ ที่คำว่าเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิตนี้ คืออนิมิตเจโตสมาธิได้แก่การเข้าพละสมาบัติ  ชื่อว่าเป็นเครื่องปรุงชีวิตให้ดำรงอยู่ได้  แล้วพระอรรถกถาจารย์ท่านก็ตั้งเป็นคำถามขึ้นว่า  ก็พระผู้มีพระภาค ไม่ได้เข้าพละสมาบัติในกาลก่อนบ้างเลยหรือ  ตั้งปัญหาถามอย่างนี้  เพิ่งจะมาเข้าตอนที่เกิดอาพาธในพรรษาสุดท้ายที่อยู่ที่เมืองวาคามอย่างนั้นหรือ  แก้ว่า  พระองค์ท่านก็เคยเข้าพละสมาบัติมาก่อนเหมือนกัน  แต่พละสมาบัตินั้น  คือพละสมาบัติแต่ก่อนๆนี้ เป็นแต่คณิกะสมาบัติชั่วขณะไม่นานนัก เข้าชั่วประเดี๋ยวประด๋าวก็ออก มีอานุภาพข่มเวทนาได้  เฉพาะเวลาที่อยู่ภายในสมาบัติเท่านั้น  ครั้นเมื่อออกจากสมาบัติแล้ว  เวทนาก็ยังสามารถครอบงำสรีระของบุคคลได้  เปรียบเหมือนทำท่อนไม้หรือกระเบื้องให้ตกลงในสระน้ำ ที่มีสาหร่ายอยู่เต็ม  ความแรงของประมาณวัตถุที่ตกลงไปกระทบย่อมทำให้สาหร่ายแหวกออกไปชั่วครู่  แล้วก็กลับมารวมตัวปิดน้ำนั้นอีก  ส่วนสมาบัติใดที่เข้าด้วยมหาวิปัสสนา  สมาบัตินั้นมีอานุภาพมาก สามารถข่มเวทนาได้อย่างแนบเนียนสนิท  อุปมาดังบุรุษที่ลงไปในสระน้ำ ใช้มือและเท้าแหวกกองสาหร่ายออกไปโดยกำลังแรง  สาหร่ายซึ่งกระจายออกไปกว่าจะกลับมารวมตัวปิดน้ำ ก็ย่อมมีระยะนานกว่า ท่านอธิบายอย่างนี้  ในสุมังคลวิลาสีนีอธิบายอย่างนี้ แปลความของท่านอีกทีหนึ่งยิ่งเป็นสำนวนบาลีอาจจะฟังยาก แปลความอีกทีหนึ่งก็บอกว่า  คำว่าอนิมิตเจโตสมาธินั้น ที่พระพุทธองค์เข้าระงับอาพาธ ในพรรษาสุดท้ายที่วิฬุนคามเป็นเหตุให้มีพละ กำลังกาย มีพระชนม์ยืนยาวต่อไปกระทั่งนิพพานเอาปีหน้า  ก็เกิดจากอนุภาพของพละสมาบัติ  เจโตวิมุต เจโตสมาธิที่ไม่มีนิมิตนี่แหละเรียกพละสมาบัติ  ที่พระองค์เข้า เข้าพละสมาบัติอันนี้  ตอนนี้ก็มีปัญหาบอกว่า  เอ๋ทำไมพระพุทธเจ้าท่านเพิ่งจะมาเข้าตอนนี้หรือพละสมาบัตินะ  แต่ก่อนนี้ไม่เคยเข้าบ้างเลยหรือ  ท่านก็แก้บอกว่า แต่ก่อนนี้เคยเข้า แต่เข้าแต่ละครั้งไม่นาน เพราะว่าพระองค์จะต้องมีกิจบำเพ็ญ  เกี่ยวกับด้านบริหารงานพระศาสนา ในฐานะเป็นบรมศาสดาต้องออกไปสั่งสอนสัตว์  ไม่มีเวลามาเข้าสมาธิที่หนึ่งเป็นเวลาหลายๆวัน หรือเป็นเวลาติดๆกันเป็นสัปดาห์ สัปดาห์ ไม่มี เข้าก็เข้าเวลาชั่วนิดหน่อย  เรียกว่าคณิกะสมาบัติเข้าเพียงสมาบัติชั่วขณะก็ออกมา เพราะว่าภารกิจในฐานะเป็นบรมศาสดามีมาก พุทธกิจที่ต้องบำเพ็ญประโยชน์ต่อโลกมีมาก  เพิ่งจะมาเข้ากันจริงกันจัง เข้านานๆก็ตอนที่เกิดอาพาธในระหว่างพรรษาที่เวฬูนคามนี้ ได้ทรงเข้าใช้เวลานาน เพราะต้องการอำนาจสมาธิไประงับทุกขเวทนา ระงับความโรคภัยไข้เจ็บต่างๆที่เกิดกับพระองค์ได้ แล้วท่านก็เปรียบบอกว่า  เหมือนกับคนเรา มีบึงอยู่บึงหนึ่ง ในบึงนี้มีบัว มีไอ้พวก พืชในน้ำปกคลุมขึ้นเต็มไปหมด ถ้าเราเพียงเอาก้อนอิฐก้อนหนึ่งโยนขว้างลงไปในบึงป๋อมหนึ่งก็ชั่ว  น้ำแหวกคืบนิดเดียว เพราะก้อนอิฐกำลังแรงมันน้อย โยนไปนี้ เสียงดังต๋อม พอต๋อมน้ำก็แหวก ไอ้พวกบัว พวกพืชในน้ำก็แหวกให้หน่อย  ประเดี๋ยวก็รวมตัวเข้าอีก ฉันใด ฉะนั้น สมาบัติอันเข้าประเดี๋ยวประด๋าวอันเป็นคณิกะนั้น  ระงับทุกขเวทนาได้เฉพาะในขณะที่เข้าพอออกมาแล้วเวทนาก่อนๆที่ระงับไปในขณะที่เข้ามันก็อาจจะฟื้นกลับมาหาได้อีก โรคภัยไข้เจ็บที่หายไปในขณะที่เข้าสมาบัติก็อาจจะกำเริบขึ้นมาอีก พูดง่ายๆ คราวนี้ถ้าหากว่าเข้า พละสมาบัตินานๆ  เข้านานๆก็ทำให้มีอานุภาพ  เหมือนหนึ่งบุคคลที่มีกำลังกายแข็งแรง ลงไปในบึงนั้นเลย แล้วก็เอามือนี้ตีน้ำ แหวกใบบัว แหวกไอ้พวกตะไคร้น้ำ แหวกพวกพืชในน้ำให้ออกไปเป็นช่อง  ด้วยกำลังแรงด้วยมือทั้งสองข้าง กว่าจะให้พวกบัวเอย พวกอยู่ในน้ำมารวมตัวก็เป็นเวลานานหน่อย เพราะฉะนั้นท่านจึงบอกว่า มหาปัสสนานั่นแหละคือพละสมาบัติที่พระองค์เข้าขับไล่อาพาธ มหาปัสสนานี่คืออะไร  อันนี้ก็มีปรากฏว่า มหาปัสสนานั้นมีถึง 18 อย่าง คือ 1 อนิจจาวิปัสสนาปรีชาตามเห็นความไม่เที่ยง  2 ทุกขาวิปัสสนาปรีชาตามเห็นว่าเป็นทุกข์  3 อนัตตาวิปัสสนาปรีชาตามเห็นว่าไม่ใช่ตน  4 นิตติถาวิปัสสนาปรีชาตามเห็นเป็นเหตุให้เบื่อหน่าย  5 วิราคาวิปัสสนาปรีชาตามเห็นเป็นการคลายราคะ  6 อูรูคาวิปัสสนาปรีชาตามเห็นความดับสนิท  7 สติวิปัสคาวิปัสสนาปรีชาตามเห็นความสละคืน  8 พยานุวิปัสสนาปรีชาตามเห็นตามความสิ้น  9 วยาวิปัสสนาปรีชาตามเห็นความเสื่อม  10 วิปรินามาวิปัสสนาปรีชาตามเห็นความแปร  11 อนิมิตาวิปัสสนาปรีชาตามเห็นความไม่มีเครื่องหมาย  12 อัตตานิหิตาวิปัสสนาปรีชาตามเห็นความไม่มีที่ตั้ง  13 ศูนยตาวิปัสสนาปรีชาตามเห็นความเป็นของว่างเปล่า  14 อทิปัญญาธรรมะวิปัสสนาปรีชาเห็นแจ้งในธรรมคือปัญญาอันยิ่ง  15 ยถาภูตณาณทรรศนะความเห็นแจ้งความเป็นจริงโดยณาณ 16 อทินวานุปัสสนาปรีชาความเห็นโทษ  17 สติสังขารนุปัสสนาปรีชาตามเห็นความเข้าใจกระจ่าง 18 วิวัตตานุวิปัสสนาปรีชาตามเห็นความปราศจากวัฒ  นี่แหละญาณทรรศนะที่เป็นไป 18 อย่างนี้ เรียกว่ามหาวิปัสสนา  ปรากฏว่าอนิมิตเจโตสมาธิที่พระพุทธองค์เข้าขับไล่อาพาธต่อพระชนมายุ  อยู่ในอันดับที่ 11 เรียกว่าอนิมิตานุปัสสนา ใน 18 อย่างนี้ทรงใช้ประเภทที่ 11 ความจริงใช้ได้ทุกประเภท ใช้ได้ทุกข้อแต่ทรงเรียกเอาข้อหนึ่งมาใช้  คืออนิมิตานุปัสสนา หรืออนิมิตเจโตสมาธิมาเข้า  เพื่อขับไล่อาพาธเพื่อต่อพระชนมายุ 

อิทธิบาทสี่ ที่จิตเข้าไปเจริญ ในอนิมิตเจโตสมาธินะ เป็นอิทธิบาท สามัญหรือ   ไม่ใช่ ไม่ใช่อิทธิบาทธรรมดาสามัญ  ถ้าเป็นอิทธิบาทธรรมดาสามัญแล้วละก็  ผมว่าแล้ววงรำพัดเขาก็มีกันได้  อิทธิบาทที่ว่านี้ต้องเป็นอิทธิบาทพิเศษ  อิทธิบาทพิเศษเรียกว่าฉันทสมาธิปะทานสังขาร  วิริยะสมาธิปะทานสังขาร  จิตตสมาธิปะทานสังขาร  วิมังสาสมาธิปะทานสังขาร  คือต้องเป็นอิทธิบาทที่ประกอบด้วยสมาธิปะทานสังขารด้วย  ไม่ใช่เป็นอิทธิบาทเฉยๆ  ไม่ใช่ฉันทะเฉยๆ  วิริยะเฉยๆ  จิตตะเฉยๆ วิมังสาเฉยๆ  ไม่ใช่  จะต้องประกอบด้วยสมาธิปะทานสังขาร  ถึงจะเป็นอิทธิบาทที่ประสงค์ในที่นี้ ถึงจะเป็นอิทธิบาทที่มีอานุภาพในที่นี้  ไม่ใช่อิทธิบาทธรรมดาสามัญ ต้องประกอบด้วยฉันทะ วิริยะ จิตตะ สมาธิ ที่ด้วยเป็นไปด้วยอำนาจแห่งสมาธิ ฉันทะ จิตตะ วิมังสา ที่เป็นไปด้วยอำนาจสมาธิอย่าง แน่วแน่  อย่างมีอานุภาพมาก  เรียกว่า ฉันทะสมาธิ วิริยะสมาธิ  จิตตะสมาธิ  วิมังสาสมาธิ  แล้วก็ต้องประกอบด้วยความแข็งแรง ความทนทาน  ความดำรงอยู่ และความภินโยยิ่ง ความไพบูลย์ แห่งกุศลธรรมในสมาธิที่เกิดขึ้นเหล่านั้น ท่านเรียกว่าปทานสังขาร หลักฐานที่มานี้มาในบาลี สันธิตนิกาย ในลักษณะที่อธิบายถึงอิทธิบาท 4 ที่ประสงค์ในที่นี้ ที่ว่าเอาไปเจริญแล้วมีอานุภาพอย่างนั้นๆ หมายถึงอิทธิบาทในลักษณะอย่างนี้ จะต้องประกอบด้วย สมาธิอันเป็นปทานสังขารในทุกๆข้อ ตั้งแต่ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เป็นอันดับไป

คราวนี้เมื่อออกพรรษาแล้ว ปลงพระชนมายุสังขารในเพ็ญเดือน3 วันมาฆบูชา วันมาฆบูชานอกจากที่เป็นวันสำคัญที่เรียกว่าจาตรงคสันนิบาตแล้ว ยังเป็นวันที่ พระพุทธเจ้าปลงพระชนมายุสังขาร คือตั้งพระหฤทัยว่า แต่นี้ต่อไปอีกสามเดือนตถาคตจะดับขันธปรินิพพาน เพ็ญเดือน3 ที่ว่านี้ไม่ใช่ เพ็ญเดือน3ในปีที่พระชนมายุ80 ไม่ใช่ เป็นปี่ย่างเข้า81 เพราะว่าในปีพระชนมายุ80 ผมลำดับเหตุการณ์แล้วว่า ต้นปีอยู่แคว้นโกศล เหตุการณ์เกิดขึ้นกับศากยวงศ์  ที่วิทูฑภะเข้าไปทำลายศากยวงศ์  จนจะเข้าพรรษาเสด็จ มาที่ราชคฤห์ แล้วก็เข้าแม่น้ำคงคาไปเข้าพรรษาที่เมืองเวสาลีเลย  อยู่ที่เมืองเวสาลีถึง 8เดือน รอบๆแคว้นวัชชี อยู่ถึง 8เดือน  ออกพรรษายังไม่เสด็จจากเมืองเวสาลีง่ายๆ เสด็จประทับอยู่ที่อัมพุคาม พันธุคาม โพคนึก โพคนคร  อยู่ในรอบๆตำบลต่างๆในเมืองเวสาลี ไม่ได้เสด็จละเมืองเวสาลีง่ายๆ ตลอดฤดูหนาวในปลายปีนั้น ในปีอายุ80 ฤดูหนาวนั้นพระองค์ประทับอยู่ที่ แคว้นเมืองเวสาลีโดยตลอด พอพ้นฤดูหนาวเข้าปีใหม่ ปีอายุ81แล้ว เสด็จออกจากแคว้นวัชชีเดินทางต่อไป เมื่อจะเสด็จออกจากแคว้นวัชชี ทรงทำกิริยาที่เรียกว่านาคาวโลก คือ อาการที่เรียกว่าดูอย่าง ช้างตัวประเสริฐดู นาคาวโลก ทอดพระพักตร์กลับมาสู่ แลดูเมืองเวสาลี แล้วก็ตรัสกับพระอานนท์ว่าดูก่อนอานนท์ การทัศนาเมืองเวสาลีของตถาคตครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย เป็นปัจฉิมทัศนา ต่อไปนี้จะไม่มีโอกาสดู เมืองเวสาลีอีกต่อไปแล้ว  อาการที่ทรงแลดูเมืองเวสาลี เรียกว่านาคาวโลก เหมือนช้างเผือกตัวประเสริฐ แลดู นาคะในที่นี้แปลได้หลายนัย แปลว่าประเสริฐ แปลว่าช้างเผือก แปลว่างูใหญ่ แปลสามนัยยะคำว่านาค  นาคหรือนาคู ประเสริฐ ช้างเผือก แล้วก็งูใหญ่แล้วแต่เราจะเลือกแล้วแต่ความหมายไปอยู่กับหน้าที่อะไรบ้าง ที่ทรงแสดงนาคารโลกนี้ มีปัญหาว่าแสดงทำไม มีพุทธประสงค์อย่างไร จึงตรัสกับพระอานนท์เช่นนั้น ถ้าเราดูเหตุการณ์หลังพุทธกาลแล้วเราจะเข้าใจความหมาย เพราะว่าพอพระพุทธเจ้านิพพานในปีนั้นปั๊ป กองทัพมฤคธก็ยาตราบุกวัชชีทันทีเลย ทำลายแคว้นวัชชีเป็นเมืองขึ้นเลย พระเจ้าอชาติศัตรู พอเสร็จเรื่อง ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว ทัพมฤคธก็พุ่งเข้าวัชชีทีเดียว ตอนนี้ไม่ต้องเกรงใจใครแล้ว พระพุทธเจ้าก็นิพพานไปเสียแล้ว พระองค์ตรัสด้วยความกรุณาต่อแคว้นวัชชี รู้อยู่กับพระหฤทัยว่า เมื่อพระองค์ละจากไปแล้ว วัชชีต้องเป็นอันตรายจากทัพมฤคธเป็นแน่แท้แล้ว หนีไม่พ้นเป็นกรรมของสัตว์ วาระของกรรมมันมาถึงแล้ว จึงตัดกับพระอานนท์ การแลดูแคว้นวัชชีที่มีความรุ่งเรืองเป็นเอกราชอย่างนี้ ครั้งนี้เป็นครั้งที่สุดแล้ว แต่ไม่ตรัสเพื่อจะให้ใครมู๊ฟไปทางการเมือง ทรงหลีกเลื่องทุกประการ ในการที่พูดไปในทำนองเป็นการพูดอย่างการเมือง ก็เพราะพระพุทธเจ้าท่านไม่มีการเมือง ท่านเลิกแล้วไม่เอาแล้วไม่พูด การพูดการเมือง จัดเข้าอยู่ในเดรัจฉานกถา จึงตรัสเป็นเพียงแต่นัยยะว่าดูก่อนอานนท์ การดูเมืองเวสาลีของตถาคตครั้งนี้เป็นครั้งสุด พูดเพียงเท่านี้เอง ส่วนความหมายแล้วต่างใครจะไปคิดกัน  ซึ่งเรามาตีความกัน ในปัจจุบันนี้ว่า การเล่งดูเมืองเวสาลีซึ่งเป็นอิสระรัฐมีความรุ่งโรจน์ ความเจริญ มีเศรษฐกิจที่มั่นคง กระทั่งเป็นที่อิจฉาริษยาของแคว้นมฤคธนะ จนเป็นเหตุให้แคว้นวัชชีต้องถูกทำลายจากมฤคธ เพราะความมั่นคั่งความรุ่งเรืองของวัชชี แม้แต่พวกเจ้าลิจฉวี การแต่งตัว เครื่องประดับประดาวิภูษิตาภรณ์ ประดับองค์ต่างๆ มีความสวยงามวิจิตรตระการมาก ถึงขนาดพระบรรมศาสดา ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายไม่เคยเห็นเทวดาชาวดาวดึงส์เขาแต่งตัวกันอย่างไรจงดูเสีย เลงดูพวกเจ้าวัชชีนี่แหละ แต่งตัวอย่างไร เทวดาดาวดึงส์ก็แต่งตัวสวยงามอย่างนั้น ความหมายอันนี้เป็นการให้เห็นว่า เมืองวัชชีนั้นเจริญถึงขั้นไหน การแต่งตัวเป็นแฟชั่นถึงขนาดที่เรียกว่า ทรงยกย่องว่างเทวดาดาวดึงส์สวยอย่างไร พวกวัชชีเขาแต่งตัวสวยอย่างนั้น เป็นการเปรียบเทียบอย่างนี้  เพราะฉะนั้นการเสด็จไปจากวัชชี จึงได้ตรัสบอกว่า ทรงแลดูวัชชีครั้งนี้เป็นครั้งสุด เป็นความหมายอย่างนั้น เมื่อออกจากวัชชีแล้วก็มุ่ง ตั้งพระหฤทัยไปดับขันธปรินิพพานที่กุสินารา ในระหว่างทาง ก่อนจะถึงแคว้นมัลละ ได้ทรงแวะเมืองปาวา ปาวากับกุสินารในทางโบราณคดีถือกันว่า แต่เดิมสองเมืองนี้เป็นเมืองเดียวกัน สมัยก่อนพุทธกาลสองเมืองนี้เป็นเมืองเดียวกันเรียกว่าเมืองภูษาวดี ซึ่งปรากฏในบาลีมหาสุทัศนสูตร ในฑีฆนิกาย ทีพรรณนาถึงเมืองภูษาวดีนะมั่งคั่ง ความความอุดมสมบูรณ์ เป็นที่อยู่ของพระเจ้า มหาจักรพรรดิ ต่อมาเมืองภูษาวดีก็ล่วงโรยไปตามอนิจังของสังขาร หนักเข้าก็กลายเป็นแคว้นเล็กๆไป ในที่สุดแยกเป็นสองเมือง เมืองหนึ่งเรียกกุสินารา อีกเมืองหนึ่งเรียกว่าปาวา ซึ่งทางเสด็จพุทธดำเนิน ของพระองค์ เสด็จมาแวะที่เมืองปาวาก่อน ที่จะไปสู่กุสินารา ระยะทางเดินจากปาวาไปกุสินาราก็เกือบหนึ่งวันถึงจะถึง  มาประทับที่เมืองปาวา และที่เมืองปาวานี้ เรื่องสุกรมัทวก็เกิดขึ้น ที่เมืองนี้ นายจุนทะ กัมมารบุตร แปลว่านายจุนทะผู้เป็นบุตรนายช่างทอง สกุลนายจุนทะเขาตีทองขาย เป็นช่างตีทอง มีจิตศรัทธา ทูลนิมนต์ พระผุ้มีพระภาคพร้อมทั้งภิกษุสาวก ให้มารับอาหารบิณฑบาตในวันรุ่งขึ้น แล้วในคืนวันนั้นนายจุนทะไม่ได้นอนตลอดทั้งคืน จัดเตรียมขาทนียะ โภชนียะ เครื่องควรกิน ควรเคี้ยวควรดื่ม เตรียมเอาไว้ ขมีขมัน ภิกษุสงฆ์ที่ตามพุทธดำเนินมามีจำนวนหลายร้อยรูป  แล้วก็อินเดียในครั้งนั้นไม่เหมือนประเทศไทยปัจจุบันนี้ ประเทศไทยตลาดใหญ่โตอาหารมังสังบริบูรณ์ จะซื้อจะจับจะจ่ายก็ง่าย คนโบราณจะเลี้ยงพระไม่เหมือนเดี๋ยวนี้ ตลาดไม่ได้หาง่ายๆอย่างเดี๋ยวนี้พอออกจากประตูบ้านก็เจอของขาย ไม่มีของขายง่ายๆ เมืองปาวาไม่ใช่เมืองใหญ่เมืองโตอะไร เป็นเมืองเล็กๆ เพราะฉะนั้น ใครเป็นเจ้าภาพทายกจะเลี้ยงพระจำนวนตั้งหลายร้อยรูป ต้องเตรียมอาหารคืนยันรุ่งจริงๆ ไม่งั้นอาหารไม่พอเลี้ยงพระ กะเกณฑ์บ่าวไพร่มาหุงต้มกัน ปรุงอาหารกัน ตระเตรียมไว้เพื่อให้เหมาะกับจำนวนสงฆ์ที่จะมารับในวันรุ่งขึ้น ปรากฏว่านอกจากขาทนียะ โภชนียะแล้ว นายจุนทะได้ทำอาหารขึ้นชนิดหนึ่ง อยู่นอกงบขาทนียะโภชนียะ เรียกว่า สุกรมัทว ทำเอาไว้จำนวนมาก ให้พอกับจำนวนภิกษุสงฆ์ทีเดียว สุกรมัทวนี้คืออะไร เรามาเข้าประเด็นปาฎกฐาในวันนี้แล้วว่า สุกรมัทวนี้ได้แก่อะไร ถ้าแปลกันอย่างแปลตามตัวง่ายๆ ไม่ต้องคิดอะไรให้เปลืองสมอง สุกรมัทว ก็เนื้อหมูอ่อน สุกรคือ สุกร มัทวคืออ่อนโยน ความนุ่มนิ่ม ความอ่อนนุ่ม สุกรสนธิกับมัทว ก็แปลว่าเนื้อหมูที่นุ่มนิ่ม เนื้อหมูที่อ่อนโยน เนื้อหมูอ่อน ถ้าแปลอย่างนี้ก็ไม่มีปัญหา แต่ว่าปัญหามันมีจนได้ คือมีปัญหาว่าเพราะเหตุใด พระพุทธเจ้าถึงห้ามไม่ให้ภิกษุรูปอื่นฉันสุกรมัทวนี้ เพราะเหตุใดพระองค์จึงรับสั่งให้นายจุนทะ นำสุกรมัทวะนี้ไปฝังเสีย ไปทำลายไม่ให้เป็นอาหารแก่สัตว์ต่อไป เพราะเหตุใดจึงตรัสกับนายจุนทะว่า สุกรมัทวนี้ตถาคตมองไม่เห็นผู้ใดผู้หนึ่งในโลก ทั้งเทวดา ทั้งมาร ทั้งพรหม ที่กินเข้าไปแล้วจะย่อยได้ เว้นแต่เราตถาคตผุ้เดียว จึงจะย่อยอาหารชนิดนี้ได้  ทำไมจึงตรัสเช่นนี้ เป็นอาหารอะไรหรือ ถ้าเป็นเนื้อหมูอ่อนธรรมดา ทำไมถึงตรัสอย่างนี้ ประเด็นนี้เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องวินิจฉัย(ทำไมพระอานนท์จึงไม่กล่าวถึงว่าเป็นอะไร เพราะเป็นอันตรายอย่างใหญ่หลวงกับคน) พระอรรถกถาจารย์ มี2ท่านด้วยกัน และปรากฏใน 2 คัมภีร์ ที่กล่าวถึงเรื่องสุกรมัทวนี้ แล้วก็แปลกอีกอย่างหนึ่งคือว่าสุกรมัทวนี้ ปรากฏที่มาที่นี่แห่งเดียว ในพระไตรปิฎกแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ไม่ปรากฏที่อื่นอีกเลย มาโผล่ที่ในมหาปรินิพพานสูตรตอนนี้ ตอนเดียวเท่านั้นเอง ในที่มาอื่นๆ ไม่เจอคำๆนี้เลย อัศจรรย์มาก เป็นอาหารพิเศษประหลาดเหลือเกิน พระอรรถกถาจารย์ในสุมังคลวิลาสินี  คือท่านพุทธโฆษาจารย์เอง ก็ให้นัยยะอธิบายคำว่าสุกรมัทวนี้ เป็นสามนัยยะ ท่านก็ไม่แน่ใจว่า สุกรมัทวคืออะไร สมัยแต่งอรรถกถาหลังพุทธปรินิพพานแล้วพันปี แล้วท่านผุ้แต่งคือท่านพุทธโฆษาจารย์ท่านก็เป็นชาวอินเดีย เป็นชาวแคว้นมฤคธท่านยังไม่แน่ใจ ว่าสุกรมัทวคืออะไร คิดดูซิ แล้วพวกเราที่ห่างจากสมัยนั้นอีกตั้ง พันห้าร้อยปี จะไปแน่ใจได้อย่างไร เราก้ต้องอาศัยการวินิจฉัย ว่าข้อความใดที่ใกล้ต่อเหตุผล ก็น่าจะวินิจฉัยโอนเอียงไปทางข้อความนั้น บัดนี้ก็ได้นำมติในสุมังคลวิลาสีนีมาให้ท่านทั้งหลายฟัง ในสุมังคลวิลาสีนีท่านพุทธโฆษาจารย์ ชักนัยยะมาสามทางว่าหนึ่ง 44.57.592(คำบาลี) แปลความว่าสุกรมัทวนั้นได้แก่ ปวัทมังสะ ของสุกร ที่เจริญเต็มที่ ซึ่งไม่หนุ่มเกินไป ไม่แก่เกินไป (บาลี)45.29.561 ได้ยินว่าเนื้อนั้นเป็นของอ่อนนุ่มสนิทดี อธิบายว่านายจุนทะให้ตกแต่งเนื้อนั้น ปรุงให้เป็นอาหารชนิดดี มติที่1แปลว่าสุกรมัทว ได้แก่เนื้อหมูอ่อน ว่านายจุนทะหาเนื้อหมูอย่างดี ได้แก่เนื้อสุกรที่ไม่แก่ไป ถ้าแก่เกินไปเนื้อเหนียวเคี้ยวยาก มาปรุงให้อร่อย เรียกสุกรมัทว นี่เป็นนัยยะที่หนึ่ง นัยยะที่สอง ท่านชักว่า(บาลี)46.27.583 แปลความว่า แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่าสุกรมัทวนี้เป็นชื่อแห่งวิธีปรุงข้าวอ่อน ด้วยเบญจโครส เหมือนชื่ออาหารที่ปรุงให้สุกสำเร็จแล้วชื่อว่าควปาน ถ้าถือตามนัยยะที่สองนี้ สุกรมัทวก็ได้แก่ข้าวสาลีหุงด้วยน้ำนมโค ข้าวชนิดเม็ดอ่อนเอร็ดอร่อยมาก แล้วก็มาหุงด้วยน้ำนมโค หุงให้อร่อย เวลานี้ในอินเดียยังกินกันอยู่ ข้าวแบบนี้ ข้าวที่หุงด้วยน้ำนมโคนี้อร่อยจริงๆ ผมเองก็เคยกิน เพื่อนฝูงชาวอินเดียในประเทศไทยทำให้กิน และนี่แหละเรียกว่าสุกรมัทว เพราะฉะนั้นถ้าถือตามนัยยะที่สองนี้ สุกรมัทวก็ได้แก่ข้าวอ่อนที่หุงด้วนนมโค ที่เรียกกันว่าควปาน หุงด้วยเบญจโครสเอร็ดอร่อยปรุงเหยาะน้ำตาลหน่อยใส่เนยหน่อยใส่นมหน่อย อร่อยดีทั้งมัน ทั้งหอม ทั้งหวาน เรียกว่าสุกรมัทวเป็นนัยยะที่สอง  ท่านได้ชักนัยยะที่สามมาอีกว่า (บาลี)47.37.701 ) แปลความว่า แต่อาจารย์บางท่านกล่าวอีกว่า ปสายนวิธีชื่อว่าสูกรมัทว ปสายนวิธีนั้นมาในคัมภีร์รักษายานะศาสตร์ ในจุนทะตกแต่งรักษายานะวิธีด้วยหมายใจว่า พระผู้มีพระภาคอย่าพึงต้องปรินิพพานเสียเลย เออนัยยะที่สามนี่ก็สำคัญอีกเหมือนกัน นัยยะที่สามได้แก่ เป็นยา สูกรมัทวคือยา โอสถชนิดหนึ่ง ซึ่งนายจุนทะตั้งใจปรุงขึ้นถวาย แด่พระผู้มีพระภาค ด้วยความตั้งใจว่าขอให้พระองค์ฉันโอสถนี้แล้วจะได้ไม่ต้องนิพพาน แล้วก็ปรุงตามคัมภีร์รักษายานะศาสตร์ เล่นแร่แปรธาตุ เป็นคัมภีร์ตำรับพิเศษ ปรุงถวายเพื่อรักษาพระโรคของพระผุ้มีพระภาค เป็นสามนัยยะด้วยกัน แล้วท่านพุทธโฆษาท่านก็ไม่ตัดสินลงไปว่าสูกรมัทวควรจะได้แก่อะไร ในปรากฏที่มาในคัมภีร์ สุมังคลวิลาสีนีอรรถกถาตอนแก้มหาปรินิพพานสุตร คัมภีร์ที่สอง คือคัมภีร์ปรมัตถทีปนี ท่านผู้แต่งคือท่านธรรมปาละจาริยะเป็นคนรุ่นหลังท่านพุทธโฆษาจารย์เล็กน้อย ท่านก็เป็นชาวอินเดียเหมือนกัน ท่านก็ไม่แน่ใจอีกเหมือนกันว่าสูกรมัทวได้แก่อะไร ท่านได้ให้นัยยะแปลกออกไปจากท่านพุทธโฆษาอีก คือท่านให้เป็น4ข้อ พ้องกับท่านพุทธโฆษาก็มี ที่แปลกไปก็มี ข้อที่1 ท่านกล่าวไว้ในมหาอรรถกถาว่า คำว่าสูกรมัทวได้แก่ปวัตมังสะ ของสุกรที่อ่อนนุ่มสนิทดี ปวัตมังสะหมายถึงมังสะที่สมควรแก่พระจะบริโภค ไม่ใช่อุทิศมังสะ ปวัตมังสะแปลว่าเนื้อที่สมควรสำหรับพระจะฉัน ไม่ใช่เนื้อที่เห็นเขาฆ่าเพื่อตัวเอง ได้ยินเขาฆ่าเพื่อตัวเอง สงสัยเขาฆ่าเพื่อตัวเอง พ้นจากมลทินสามข้อนี้ (อุทิศมังสะ) เรียกว่าปวัตมังสะเนื้อที่ควรแก่การบริโภค ตามนัยยะนี้ท่านธรรมปาละจริยท่านชักว่ามหาคัมภีร์มหาอรรถกถาซึ่งเป็นอรรถกถารุ่นเก่าก่อนอรรถกถาที่พุทธโฆษาแต่ง กล่าวว่าสูกรมัทวนั้นได้แก่เนื้อหมูอ่อน เป็นปวัตมังสะ นัยยะที่2 แต่อาจารย์บางเหล่ากล่าวว่า คำว่าสูกรมัทวนั้น ไม่ใช่เนื้อสุกร หากเป็นหน่อไม้ที่สุกรชอบกิน มตินี้เข้าทีเป็นหน่อไม้ที่หมูมันชอบ คำว่าสูกรมัทวนี้ถ้าจะแปลกกันอีกนัยหนึ่งอาจจะแปลว่าอ่อนสำหรับหมู นอกจากแปลเนื้อหมูอ่อนแล้ว เรายังแปลกลับได้ว่าอ่อนสำหรับหมูก็ได้ คือเนื้อมันอ่อนนุ่มสำหรับหมูจะกินก็ได้ แปลได้ตายนัยยะนี้ว่าอ่อนสำหรับหมูคืออ่อนนุ่มสำหรับหมูจะกินถ้าตามนัยยะนี้แล้วอาจารย์ คณะที่สองที่กล่าวว่าสูกรมัทวนั้นได้แก่หน่อไม้ที่หมูชอบกินเข้าทีเหลือเกิน เข้าทีทั้งรูปศัพท์ เข้าทีทั้งรูปความหมายด้วย ถ้าเราจะวิเคราะห์ศัพท์คำว่าสูกรมัทวนี้ว่าได้แก่อ่อนสำหรับหมูละก็ วิเคราะห์ในแนวนี้ แล้วหมูมันชอบกินอะไรบ้าง หน่อไม้หมูก็ชอบ ไม่ใช่ไม่ขอบ อาจะเป็นหน่อไม้บางประเภทกะมังนี่เป็นนัยยะที่2  นัยยะที่3 อาจารย์บางเหล่ากล่าวอีกว่า สูกรมัทว นั้นได้แก่เห็ดที่เกิดในประเทศที่สุกรเหยียบย่ำ นัยยะอันนี้ก็เข้าทีเหมือนกัน อหิฉัตร  อหิ-รู้ ฉัตร-ร่ม อหิฉัตรกะแปลว่าเห็ด ถ้าแปลตามศัพท์แปลว่า มีอาการแผ่แม่เบี้ยของงู โดยพยัญชนะนั้นแปลว่าเห็ด มตินี้ในคัมภีร์ทางฝ่ายมหายาน ชาวพุทธทางมหายานทุกสูตร ทุกปกรณ์ แปลตามมตินี้ทั้งนั้น ว่าเห็ด เป็นเห็ดชนิดหนึ่ง ซึ่งจีนเรียกว่า จันทันชิ่วยื้อ เป็นภาษาแต้จิ๋ว จันทันซู่เอ้อ ภาษาจีนกลาง เป็นเห็ดชนิดหนึ่ง แล้วก็ยังบอกว่าเห็ดชนิดนี้เป็นเห็ดวิเศษ เกิดในต้นไม้จันทร์  เกิดกับไม้จันทร์ ไม่ได้เกิดสุ่มสีสุ่มห้า หรือเกิดที่ไหนง่ายๆ เกิดกับไม้จันทร์ เป็นเห็ดนัยยะที่3 นัยยะที่4 แต่อาจารย์บางเหล่าก็กล่าวอีกว่า ได้แก่เครื่องดื่มชนิดหนึ่ง ชื่อว่าสูกรมัทว เพราะว่านายจุนทะบุตรช่างทองฟังว่าในวันนี้พระผู้มีพระภาคจะปรินิพพานแล้ว จึงได้ถวายเครื่องดืมชนิดนั้น เพื่อต้องให้พระผู้มีพระภาค มีพระชนม์อยู่ได้นาย ด้วยความหวังว่า ไฉนหนอขอพระศาสดาเสวยเครื่องดื่มนี้แล้วพึงดำรงพระชนม์อยู่ไดไปอีกนานเถิด เป็นนัยยะที่4 ตรงกับในสุมังคลวิลาสีนีเหมือนกันที่แปลความว่าได้แก่ ยาที่ปรุงตามวิธีรักษายานะเวช เป็นยาชนิดหนึ่ง เฉพาะนั้นตามมติในสองคัมภีร์นี้ เราก็ได้ความว่าแม้แต่พระโบราณจารย์ ก็ไม่สามารถตัดสินลงไปว่า สูกรมัทวนั้นได้แก่อะไร ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ เราซึ่งเป็นปัจฉิมาชนตาชนห่างไกลจากสมัยท่านตั้ง 1500 ปี สมัยแต่งอรรถกถาพันปี หลังพระพุทธเจ้านิพพาน และห่างจากสมัยท่านอีก1500 ปี หรือห่างจากสมัยพุทธกาลถึง 2500 ปี จะวินัยฉัย สูกรมัทว อย่างไร ในข้อนี้ผมก็อยากจะเสนอความเห็นของผมที่วินัจฉัยคำว่า สูกรมัทว  ถ้าจะถือว่าสุกรมัทวะได้แก่เนื้อหมูอ่อน แปลง่ายๆอย่างนี้แล้วผมไม่เห็นด้วย ที่ผมไม่เห็นด้วยก็ได้แก่อย่างนี้ 1. ถ้าเป็นเนื้อหมูอ่อนแล้วทำไมเป็นพิษกับพระศาสดา ทำไมถึงว่าเป็นพิษกับภิกษุสงฆ์ ทำไมพระองค์ถึงตรัสบอกว่า เว้นตถาคตแล้วไม่มีผู้ใดผู้หนึ่ง ทั้งที่เป็นมนุษย์ทั้งที่เป็นเทพเจ้า จะย่อยอาหารชนิดได้ ทำไมตรัสอย่างนั้น ถ้าเป็นเนื้อหมูอ่อนก็เป็นอาหารที่เอร็ดอร่อยพระก็กินได้ทำไมต้องรับสั่งให้ไปทำลายเอาไปฝังเสีย เพื่อไม่ให้พระรูปอื่นได้ฉันต่อไป ตรัสกับนายจุลทะเลยบอกว่า อาหารอื่นเภตุอันฆาตภิกษุอื่นๆเถอะ สำหรับสุกรมัทวะนี้เธออันฆาตเฉพาะเราตถาคตผู้เดียว ตรัสกับนายจุลทะอย่างนี้ เหลือนอกนั้นเธอจะเอาไปฝังเสีย ตรัสอย่างนั้น บางท่านก็แก้บอกว่าอาจจะเป็นเนื้อหมูบูดกะมัง มีเชื้อโรคมีตัวพยาธิ มีเชื้อโรคอยู่ข้างใน  พระองค์รู้เข้าเช่นนั้นจึงรับสั่งให้ไปทำลายไม่ให้พระอื่นกิน ส่วนพระองค์เองยอมที่จะเสวยเพื่อไม่ให้เสียศรัทธานายจุลทะ ว่างั้นผมก็ไม่เห็นด้วยอีก เพราะว่านายจุลทะมิใช่คนยากคนจน ที่รู้ไม่ใช่คนยากคนจนเพราะรับอาสาเรียกพระที่มากับพระพุทธเจ้าจำนวนร้อยๆ ถ้าเป็นคนฐานะยากจนข่นแค้นแล้วที่ไหนจะกล้ารับเลี้ยงพระจำนวนร้อยๆ นี่แสดงว่าเมื่อนายจุลทะศรัทธาจะเลี้ยงพระจำนวนร้อยๆขึ้นไปได้ ฐานะนายจุลทะต้องอำนวย ที่จะไม่เลือนเลอะซึ้อของบูดของเสียมาถวาย มาแกงถวาย แล้วคนมาทำบุญ ไม่รู้หรือว่าเนื้อบูดเนื้อเสีย ไม่รู้หรือต้องรู้สิ อย่างเรายังรู้เลย ไปซื้อหมูดูสีเนื้อก็รู้แล้วว่าไอ้เนื้อนี่มันเสียหรือดี ดูสีก็ออกแล้ว นายจุลทะไม่ใข่ทำคนเดียวแม่ค้ามีเยอะแยะคนช่วยงาน ทำอาหารแกงถวายพระ จะโง่จนไม่รู้เลยหรือว่าเนื้อที่ซื้อมาเนี๊ยะเป็นเนื้อบูดเน่า ถ้ารู้ว่าเป็นเนื้อบูดเน่าทำไมอุตส่าห์แกงไปถวายพระอีก เพราะฉะนั้นปัญหาเรื่องว่าไปเอาเนื้อหมูเสียมีเชื้อโรคมาถวายเนี๊ยะ เป็นอันพับฐานได้ เพราะฉะนั้นตามรูปการ ไม่ใช่เนื้อหมูแน่ ไม่ใช่เป็นเนื้อหมูแล้ว เนื้อหมูตัดออกจากบัญชีได้แล้ว ไม่ต้องเอาเข้าบัญชีแปลว่าสุกรมัทวะแล้ว ก็มีมาอยู่ที่ประเด็นที่บอกว่า ที่แปลว่าเห็ดอย่างหนึ่ง ที่แปลว่ายารักษาโรคอย่างหนึ่ง แล้วที่แปลว่าหน่อไม้ที่หมูชอบกินอย่างหนึ่ง สามอย่าง มาประเด็นที่แปลว่าหน่อไม้ ก็ไม่น่าจะเป็น พิษสงกับพระองค์อื่นที่จะฉัน ทำไมต้องรับสั่งให้เอาไปฝัง ถ้าพระองค์ฉันเลยจะเป็นเหตุให้โรคกำเริบก็สำหรับกับพระองค์เองก็พระองค์อาพาธอยู่แล้ว อาจจะไปถูกของแสลงในอาหารนั้นเข้า แต่องค์อื่นที่ดีๆตั้งเยอะแยะทำไมถึงไม่ให้ฉัน ให้นายจุลทะไปฝังเสีย ถ้าแปลว่าเห็ด เห็ดนั้นมีเค้าเข้าที ทุกวันนี้ก็มีเห็ดพิษคนกินแล้วทั้งครอบครัวต้องเข้าโรงพยาบาล ปรากฏข่าวในหนังสือพิมพ์บ่อยๆ เอาแกงเห็ดมาถวายให้ฉัน พอฉันแล้วก็เกิดพิษเข้า อย่างนี้อาจจะเป็นไปได้ ในกรณีที่เป็นเห็ด แต่ถ้าเป็นเห็ดแล้ว ไฉนจึง นายจุลทะไม่รู้หรือว่าเห็ดนั้นเป็นเห็ดพิษ ถ้าอ้างว่านายจุลทะไม่รู้ พระองค์ก็น่าจะบอกกับนายจุลทะว่าจุลทะเห็ดนี้เป็นเห็ดพิษนะเธอต่อไปจะทำอาหารถวายพระก็ตามหรือพวกเธอจะกินเองก็ตามไม่ควรจะเอาเห็ดชนิดมานะเพราะเป็นเห็ดพิษกินแล้วจะเกิดเป็นอันตรายต่อชีวิต ทำไมพระองค์ไม่ตรัสล่ะ พระองค์ควรจะสงเคราะห์นายจุลทะบอกกับนายจุลทะว่าเห็ดนี้มีพิษ บอกกันได้นี่นา ไม่เห็นจะเสียอะไร ไม่เป็นการเสียศรัทธาเป็นการสงเคราะห์มนุษย์เสียด้วยซ้ำไป มนุษย์จะได้รู้ตัวว่า ต่อไปเราจะได้ไม่เก็บเห็ดชนิดนี้แล้วแล้วกินเองก็มีภัย คนอื่นกินก็มีภัย เป็นการเซฟชีวิตของคนไว้ นี่ไม่ตรัสเลยกลับให้ไปฝังเสีย เพราะฉะนั้นรูปการอย่างนี้ไม่น่าจะเป็นเห็ด ปัญหาจึงเหลืออยู่ที่ข้อสุดท้าย คือข้อที่บอกเป็นยารักษาโรค โดยวิธีรักษาอย่างยานนะเวชในคัมภีร์รักษยานนะศาสตร์ของพราหมณ์ เข้าทีข้อนี้เข้าทีมาก หรือจะเป็นบอกว่าเป็นปัญจโครส........เป็นคาวบาลก็ไม่สมควร ถ้าเป็นข้าวอ่อนหุ่งในน้ำนมโคอร่อยเสียด้วยซ้ำไปนี่นาจะเป็นพิษที่ไหน กินแล้วเป็นยาชูกำลังดีนักแหละทำไมต้องห้ามไม่ให้พระอื่นกินละ จริงอยู่ที่ปัญหาเรื่องรักษายน ผมสมัครใจจะเชื่อว่า สุกรมัทวะนี้ คือยาครับ นายจุลทะปรุง  จบไฟต์