กราบนวางคประดิษฐ์ด้วยจิตมั่น  ทุกคืนวันอยู่ไหนไม่ไกลฉัน

อุปฌาชย์ครูบาพระอาจาย์          พระคุณนั้นยังปัญญาข้าทุกกาล

ดักปา ปาลซัง

ศรีภัทรกีรติ

บทแปล ธรรมบท 42 บท จากภาษาอังกฤษซึ่งเขียนโดย ศาสตราจารย์  จอร์น โบเฟลด์ (John  Blofeld) พระคณาจารย์จีนเย็นบุญมอบให้ผ่านความทรงจำที่ฮ่องกง

พระสูตรพุทธวจนะ42บทนี้ แพร่หลายเลื่องลือมาก ทั้งในโลกตะวันตกและในประเทศจีน เป็นพระสูตรแรกที่มีการแปลสู่ภาษาจีน เมื่อราวพ.ศ.612 พระเจ้าเม่งเต้ แห่งราชวงศ์ฮั่น ทรงสุบินว่าได้เห็น ปฏิมากรทองคำขนาดใหญ่ลอยมาจากสวรรค์ เมื่อมาถึงพระราชวัง ปฏิมากรนั้นก็หยุดแต่ยังคงแกว่งไปมา พระเศียรของปฏิมากรนั้นมีรัศมีสว่างไสว ข้างกายมีพระอาทิตย์และพระจันทร์ พระองค์ก็ตกใจตื่นขึ้น จึงให้อมาตย์โหรา มาพยากรณ์ อมาตย์โหรา กราบทูลว่า เป็นเรื่องมหามงคล พระปฏิมากรนั้นคือ พระพุทธรูปฉายาลักษณ์ของพระพุทธเจ้าในอินเดีย  พระเจ้าเม่งเต้เคยได้ยินเรื่องราวของพระพุทธศาสนามาบ้าง ก็ยินดี และได้จัดขบวนราชบุรุษ 18 คน ให้เดินทางไปอินเดียเพื่ออัญเชิญพระพุทธศาสนาเข้ามา เมื่อคณะราชบุรุษกลับมาได้อัญเชิญพระธาตุ, พระไตรปิฎก มาเป็นอันมาก ในครั้งนั้นยังได้อัญเชิญ พระภิกษุ 2 รูปมายังประเทศจีนด้วย คือพระกาศยปมาตงค และพระโคภรณ (หรือที่เรียกว่าธรรมรักษ์) พระเจ้าเม่งเต้ ทรงสร้างวัดชื่อว่า วัดม้าขาว ขึ้น ณ นครลกเอี๋ยง อันเป็นวัดแห่งแรกในประเทศจีน เพื่อประดิษฐาน พระธาตุ พระไตรปิฎก พระสูตรต่างๆ อีกให้พระภิกษุทั้งสองได้จำพรรษา และแปลพระสูตรด้วย (ชื่อวัดม้าขาวเนื่องมาจาก พระเจ้าเม่งเต้ได้แสดงความเคารพนอบน้อมต่อ สิ่งซึ่งคณะราชบุรุษนำมา โดยให้บรรทุกมาบนหลังม้าสีขาวที่จัดว่าดีที่สุด จึงให้ชื่อวัดนั้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าวัดม้าขาว)

พระสูตรพุทธวจนะ 42 บท ดำเนินความในพระสูตร

 ิ่งเตรปิฎก,พระสูตรต่างๆนหลังม้าสีขาวที่จัดว่าดีที่สุด จึงให้ชื่อวัดนั้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าวัดม้าขาว)พนอบน้อมต่อ สิ่งซึ่งคณะราช ถึงพระดำริของพระพุทธเจ้าที่ให้หลีกเลี่ยงจากกามคุณ ตั้งอยู่ในความสงบ ตั้งอยู่ในฌานสมาธิ ข้อธรรมในพระสูตรคล้ายคลึงกับธรรมบทที่มีอยู่ในพระไตรปิฏก มากกว่าที่จะเป็นพระสูตรเอกเทศ เหมือนพระสูตรมหายานในยุคหลังต่อๆมา พระสูตรนี้เน้นไปที่การปฏิบัติตนของสมณะเพศมากกว่าที่จะเน้นไปที่คฤหัสถ์ ห้วงเวลานั้น มหายานในอินเดีย ยังไม่สมบูรณ์รุ่งเรืองเต็มที่ อัศวโฆษ ซึ่งถือกำเนิดเมื่อ พ.ศ.608 เพิ่งจะมีอายุได้ 4 ปี ตำราและพระสูตรต่างๆทางมหายาน ยังมิได้มีการรวมรวมเรียบเรียงเป็นระบบ จะมีก็แต่พระไดรปิฏก ของเถรวาทที่จารึกที่ลังกาด้วยภาษาบาลี เมื่อพ.ศ.508 แต่ก็ยังมีพระไตรปิฎก ของสรวาติสวาสซึ่งแตกต่างจากพระไตรปิฏกของเถรวาทไม่มาก (พระไตรปิฎกมหายานที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ก็คือพระไตรปิฎกของสรวาติสวาส ที่จารึกด้วยภาษาสันสกฤษ ไม่ทราบปีที่จารึก สันนิษฐานว่าจะอยู่ในช่วงเวลาไม่นานจากนี้เพราะอยู่ในสมัยของพระเจ้ากนิษกะซึ่งครองราชย์เมื่อ พ.ศ.619-644 และเป็นผู้จัดให้มีการสังคายนาครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นมหายาน พร้อมทั้งจารจารึกสิ่งที่ได้สังคายนากันไว้ด้วย)

พระพุทธวจนะ 42 บท

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ ท่านได้ส่องให้เราได้เห็นภาพว่า “การละทิ้งความปรารถนาและการหยุดนิ่ง ในภาวะสงบอย่างแท้จริง คือชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด การคงอยู่ในภาวะนามธรรมอันสมบูรณ์ คือวิธีการเอาชนะวิถีแห่งมารทั้งหลาย” ณ.ที่ วิหารสวนกวาง (เชนตะวันมหาวิหาร) ท่านได้อธิบายถึง หลักธรรมความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ซึ่งสามารถทำให้พราหม์ อาชญาตเกาณ์ฐินย (อัญญโกนฑัญญ)และพวกอีก 4 ท่านบรรลุผลของธรรมวิถีนี้และได้อุทิศตนเป็นสาวก ยังมีพระสงฆ์อีกจำนวนหนึ่งที่ยังมีข้อสงสัยอยู่ และกราบทูลถามพระพุทธเจ้าเพื่อให้คำสอน และวิถีปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาของพวกเขา ด้วยความเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ที่จะปฏิบัติ จนถึงกับที่พระพุท ธเจ้าทรงสอนสั่งพวกเขาตัวต่อตัว จนกระทั่งพวกเขาสามารถบรรลุความรู้แจ้งได้สำเร็จ พวกเขาได้ตงลงร่วมมือกันอุทิศตนรับคำสั่งจากพระพุทธเจ้าเพื่อเผยแพร่ธรรมวิถีปฏิบัติอันศักดิ์สิทธิ์นี้

 

1          พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า พวกเขาทั้งหลายผู้ซึ่งละทิ้งจากครอบครัว และหันมาใช้ชีวิตแบบภิกขาจาร (ไร้บ้าน,ขอเขากิน) พวกเข้าจะรู้ถึงธรรมชาติในจิตของของตนเป็นอย่างดี และสามารถเข้าถึงสิ่งที่เป็นมูลฐาน ด้วยเหตุนี้ การปลีกตัวจาก (สิ่งปรากฏต่างๆ และบรรลุสู่) การไม่รับรู้ด้วยประสาทสัมผัส จะเรียกว่า  “ศรมน”(สมณะ) พวกเขาเหล่านั้นจะปฏิบัติตามศีล 250 ข้อ เพื่อเข้าสู่และคงอยู่ในภาวะสงบอย่างแท้จริง  หลังจากผ่านการปฏิบัติธรรมทั้ง 4 ขั้นตอนแล้ว  พวกเขาจะกลายเป็นพระอรหันต์ ผู้ซึ่งครอบครองพลังที่ทำให้ตนล่องลอยอยู่ในอากาศและพลังในการเปลี่ยนแปลงสภาพได้ ตลอดจนความสามารถในการยึดอายุเป็นระยะเวลายาวนานไม่สิ้นสุด และสามารถอาศัยหรือโยกย้ายไปได้ทุกที่ไม่ว่าจะเป็นโลกสวรรค์หรือโลกมนุษย์ ขั้นที่ต่ำกว่าขั้นพระอรหันต์ คือ อนาคามี ผู้บรรลุขั้นนี้ เมื่อถึงยามบั้นปลายชีวิตจะมีอำนาจทางวิญญาณ เพื่อเข้าสู่สวรรค์ชั้น 19 และบรรลุเป็นพระอรหันต์ สำหรับผู้บรรลุธรรมขั้น สกริทคมิน(สกทาคามี) ผู้ซึ่งจะต้องขึ้นไปอีกก้าวหนึ่ง และต้องเวียนว่ายตายเกิด มากกว่าครั้งหนึ่งก่อนที่จะบรรลุเป็นพระอรหันต์  ยังมีผู้บรรลุธรรมอีกขั้นหนึ่ง นั่นคือ สโรตา-อปน( โสดาบัน) คนเหล่านี้จะยังไม่สามารถบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ จนกว่าจะผ่านการเวียนว่ายตายเกิดในสัมสารามากกว่า 9 ครั้ง (ตามคัมภีร์ดั้งเดิมของจีน กล่าวว่า 7 ครั้ง ไม่ใช่ 9 ครั้ง) ลงมาอีกขั้นคืออารย ผู้ที่สามารถจะละทิ้งจากความอยากได้ และความปรารถนาของตนได้ เปรียบได้ดังคนที่ไม่มีอนาคตในการใช้ประโยชน์จากกิ่งแขนงอีกต่อไป (กล่าวตาม สำนวนวรรณคดี “ได้ตัดกิ่งแขนงของตนไป” ไม่ใช้มันอีกต่อไป”

 

2          สมณะผู้ซึ่งได้จากบ้าน, ตัดขาดความปรารถนาส่วนตน และความต้องการของตน และเข้าใจถึงต้นกำเนิดขอจิตตนเอง จะสามารถเจาะทะลุผ่านเข้าไปสู่หลักการอันลึกล้ำของพุทธภาวะ เขาจะตื่นขึ้นสู่ภาวะไร้การปรากฏ, ไม่ยึดติดกับสิ่งใดภายใน และไม่แสวงหาสิ่งใดจากภายนอก จิตของเขาจะไม่ถูกตรวนด้วยกฎเกณฑ์หรือความเชื่อใดๆ,ไม่แม้กระทั่งถูกพัวพันด้วยผลกรรมของตน ไม่มีสิ่งใดให้ไตร่ตรอง ไม่มีสิ่งใดให้กระทำ,ไม่มีสิ่งใดให้ปฏิบัติ ไม่มีสิ่งใดปรากฏ ,ปราศจากการข้ามผ่านขั้นตอนต่อเนื่องทั้งหมด,ถึงแม้ว่าจะเป็นเช่นนั้นก็ตาม เขาก็จะสามารถเข้าสู่ถึงจุดสูงสุดของทุกสิ่ง นี่คือสิ่งที่เกิดจาก “ธรรมวิถี” นั่นเอง

 

3          พระพุทธเจ้าตรัสว่า “เขาผู้ซึ่งได้ตัดเครื่องพัธนาการ และหนวดเครา เพื่อกลายเป็นสมณะ และยอมรับในธรรมวิถีนี้ จะละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างทางโลก และพอใจกับอาหารที่ได้รับจากการขอ(บิณฑบาต), รับประทานเพียงหนึ่งครั้งต่อวัน มีเพียงต้นไม้ไว้สำหรับพักผ่อน เขาไม่ปรารถนาสิ่งอื่นใดอีก ความต้องการและความปรารถนาคือสิ่งที่ทำให้มนุษย์โง่เขลาและทำจิตให้มืดมัว

 

4          พระพุทธเจ้าตรัสถึง  การกระทำ 10 ประการที่เป็นการกระทำที่ดี  และ10 ประการที่เป็นการกระทำที่ไม่ดี  สิ่งเหล่านั้นคืออะไร 3สิ่งถูกปฏิบัติทางกาย  4สิ่งถูกปฏิบัติทางวาจา และ 3สิ่งถูกปฏิบัติทางใจ

            การกระทำไม่ดีที่แสดงออกทางกาย 3 ประการ คือ การฆ่า ขโมย และผิด      ประเวณี

            การกระทำไม่ดีที่แสดงออกทางวาจา 4 ประการ คือ การหลอกลวง, การใส่ร้าย            ป้ายสี, การโกหก, และการพูดจาไร้สาระ

            การกระทำไม่ดีที่แสดงออกทางใจ 3 ประการ คือ ความโลภ ,ความโกรธ และ            ความโง่เขลา

การกระทำทั้งสิบประการที่กล่าวมานี้ ไม่ได้ดำเนินอยู่ในธรรมวิถีอันศักดิ์สิทธิ์ และถูกเรียกว่า การปฏิบัติความชั่วร้าย(อกุศลกรรม) 10 ประการ  การหยุดการกระทำสิ่งเหล่านี้ เราเรียกว่า การปฏิบัติกุศลกรรม 10 ประการ

 

5          พระพุทธเจ้าตัรัสว่า “หากมนุษย์ได้กระทำผิด โดยไม่ได้ตระหนักหรือเสียใจกับการกระทำของตน ผลกรรมก็จะสนองตอบต่อเขาในทันที ดังเช่น สายน้ำที่ไหลลงสู่ทะเลรังแต่จะทำให้ทะเลนั้นค่อยๆกว้างและลึกขึ้น แต่หากมนุษย์สามารถตระหนักในความผิดของตน และพยายามเปลี่ยนแปลงตนให้ดีขึ้น ผลกรรมนั้นก็จะมลายหายไปเป็นอากาศธาตุไร้ตัวตน ดังเช่น ภาวะอันตรายจากไข้ ค่อยๆลดลง เมื่อเริ่มมีเหงื่ออออก”

 

6          พระพุทธเจ้าตรัสว่า  “หากมนุษย์ผู้มีจิตชั่วร้าย, ได้ยินอะไรซึ่งเป็นสิ่งที่ดีงาม แล้วนำมาบิดเบือนสร้างเป็นคำสาบแช่งก่อกวนให้แก่คุณ คุณควรอดกลั้น ด้วยความสงบของคุณ คุณต้องไม่ถักทอความโกรธแก่เขา ,เมื่อนั้นเขาผู้ซึ่งได้กระทำการสาปแช่งกับคุณนั้น ก็จะได้รับผลร้ายจากคำสาบแช่งนั้นกลับสู่ตนเอง

 

7          พระพุทธเจ้าตรัสว่า “มีบุคคลหนึ่งได้ยินว่าตัวฉันได้สนันสนุนธรรมวิถีปฏิบัติตนให้เป็นผู้มีอยู่ในความดีงามและมหาเมตตากรุณา ด้วยเรื่องนี้ ,เป็นเหตุให้เขามาตำหนิและด่าทอฉัน , แต่ฉันยังคงเงียบและไม่โต้แย้งใดๆ  เมื่อยุติการด่าทอฉันแล้ว, ฉันจึงกล่าวว่า “ท่านเอ๋ย หากท่านปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความสุภาพแต่เขาไม่ยอมรับมัน ท่านไม่คิดว่าความสุภาพนี้จะย้อนกลับมาหาตัวท่านหรือไม่” เขาตอบว่า “ย้อนกลับสิ”,  ฉันจึงกล่าวต่อไปว่า “ถ้าเช่นนั้น การที่ท่านมาตำหนิฉันเช่นนี้ และฉันไม่ยอมรับคำตำหนิของท่าน สิ่งเลวร้ายที่ท่านสร้างขึ้นด้วยตนเองก็คงจะย้อนกลับสู่ตัวท่านด้วย เช่นกัน เพราะเสียงด่าทอนั้นจะเป็นจุดเริ่มของความชั่วร้ายและผลที่ย้อนกลับนั้นก็คือรูปแบบของความชั่วร้ายนั้นๆ สุดท้ายเราก็จะไม่สามารถหลีกหนีมันได้ ดังนั้น จงระวังเพื่อไม่ให้สิ่งที่ท่านได้ทำลงไปกลายเป็นความชั่วร้าย”

 

8          พระพุทธเจ้าตรัสว่า “คนเลวอาจจะปรารถนาที่จะทำร้ายคนดีมีศีลธรรม ดังเช่นเขาแหงนหน้าขึ้นแล้วถ่มน้ำลายต่อสวรรค์ แต่ว่าน้ำลายก็ไม่มีวันไปถึงสวรรค์ได้ มันจะย้อนกลับมาตกลงใส่ตัวเขาเอง แรงลมที่ไม่สามารถควบคุมได้อาจจะพัดฝุ่นให้ปลิวขึ้นมา แต่ฝุ่นนั้นก็ไม่ได้ถูกพัดไปที่อื่น มันยังคงปนเปื้อนอยู่ในแรงลมนั้น เช่นเดียวกับ ความดีย่อมไม่ถูกทำลาย ขณะที่ความชั่วร้ายนั้นจะเป็นฝ่ายทำลายตัวเองอย่างแน่นอน

 

9          พระพุทธเจ้าตรัสว่า  “จงฟังอย่างตั้งใจและทะนุทะนอมเลี้ยงดูในธรรมวิถีนั้น แน่นอนว่าธรรมวิถีนั้นยากที่จะเข้าถึงได้ แต่จงรักษาความตั้งใจที่จะยอมรับมันอย่างนอบน้อม เพราะว่าธรรมวิถีนี้เองที่จะนำท่านไปสู่ความแข็งแกร่งอย่างแท้จริง”

 

10        พระพุทธเจ้าตรัสว่า  “จงปฏิบัติตามบุคคลผู้ซึ่งมอบความรู้ในธรรมวิถีปฏิบัตินั้น การช่วยเหลือท่านคือความปิติยินดีอันยิ่งใหญ่ และจะได้รับการตอบสนองจากพรอันมากมาย  สมณะท่านหนึ่งถามว่า  “มีขีดจำกัดของ พร เช่นนี้หรือไม่” พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า  “พรนั้นเปรียบเสมือนกองไฟในคบเพลิง ที่คนเป็นร้อยเป็นพันต่างก็จุดลงในคบเพลิงของตน ผลของการกระทำนั้นก็คือ แสงไฟได้กลืนกินความมืด และคบเพลิงนั้นก็เป็นต้นกำเนิดของทั้งหมด และนี่เองก็เป็นธรรมชาติของพรเหล่านั้น

 

11        พระพุทธเจ้าตรัสว่า “การยื่นอาหารให้คนเลวร้อยคน ไม่เทียบเท่ากับการยื่นอาหารแก่คนดีเพียงคนเดียว

การยื่นอาหารให้คนดีพันคนไม่เทียบเท่ากับการให้อาหารแก่ผู้ปฏิบัติหลักศีล 5 เพียงคนเดียว

การยื่นอาหารแก่ผู้ปฏิบัติศีล 5 หมื่นคน ไม่เทียบเท่ากันการให้อาหารแก่ผู้บรรลุโสดาบันเพียงคนเดียว

การยื่นอาหารให้แก่โสดาบันล้านคน ไม่เทียบเท่ากับการให้อาหารแก่ อนาคามี เพียงคนเดียว

การให้อาหารแก่ อนาคามี 100 ล้านคน ไม่เทียบเท่ากับการให้อาหารแก่พระอรหันต์เพียงคนเดียว

การให้อาหารแก่พระอรหันต์ พันล้านคนไม่เท่ากับการให้อาหารแก่ ปัจเจกพุทธเจ้า เพียงองค์เดียว

การให้อาหารแก่ ปัจเจกพุทธเจ้าหมื่นล้านองค์ ไม่เทียบเท่ากับการให้อาหารแก่พระพุทธเจ้าของสามโลกเพียงองค์เดียว

การให้อาหารแก่พระพุทธเจ้าแห่งสามโลกแสนองค์ ไม่เทียบเท่ากับการให้อาหารแก่ คนที่ไม่คิดสิ่งใด, ไม่ทำสิ่งใด, ไม่ฝึกปฏิบัติสิ่งใดและไม่แสดงสิ่งใด (ผู้ปล่อยวางจากสรรพสิ่ง) เพียงคนเดียว

 

12        พระพุทธเจ้สตรัสว่า  “มีการกระทำอยู่ 20 ประการที่เป็นเรื่องยากสำหรับมนุษย์ ได้แก่

            1          การยากปฏิบัติในความใจบุญ เมื่อเป็นคนยากจน

            2          การยากปฏิบัติธรรมวิถี เมื่อมีอำนาจยิ่งใหญ่อยู่ในมือ

            3          การยากยอมรับความตายที่ย่างก้าวเข้ามาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

            4          การยากที่จะได้รับโอกาสอ่านพระสูตรของพระพุทธเจ้า

            5          การยากที่จะเกิดมาอยู่ในสถานที่ของชาวพุทธโดยตรง

            6          การยากที่จะทนต่อความโลภและความปรารถนา (โดยปราศจากการ แข็งข้อต่อสิ่งเหล่านั้น)

            7          การยากเห็นบางสิ่งที่น่าดึงดูด โดยปราศจากความอยากในสิ่งนั้น

            8          การยากจะทนต่อคำดูถูกเยาะเย้ย โดยปราศจากการโต้ตอบอย่างโกรธ                        เคือง

            9          การยากเมื่อมีอำนาจอยู่ในมือ และไมใช่อำนาจนั้น

            10        การยากเมื่อมีความสัมพันธ์กับสิ่งบางสิ่ง และยังสามารถดำรงตนไม่ให้                     สิ่งเหล่านั้นมีอิทธิพลต่อตนได้

            11        การยากศึกษาอย่างกว้างขวางและตรวจสอบทุกสิ่งโดยละเอียด

            12        การยากเอาชนะความเห็นแก่ตัว และความขี้เกียจ

            13        การยากบรรลุธรรม โดยไม่ได้ศึกษาพระธรรมมากพอ

            14        การยากทำใจให้เป็นกลาง

            15        การยากละเว้นการจำกัดความ(กำหนด)สิ่งต่างๆ ว่าเป็นสิ่งนั้นหรือไม่                          เป็นสิ่งนั้น

            16        การยากที่จะเข้าถึความเห็นแจ้งในธรรมวิถี

            17        การยากเข้าใจถึงธรรมชาติของตนในคนๆหนึ่ง และใช้ความเข้าใจนี้ใน   

            การยากศึกษาพระธรรมวิถี

18        การยากช่วยเหลือผู้อื่นให้ถึงการรู้แจ้งอย่างที่กล่าวไว้ด้วยพฤติกรรมอัน            หลากหลายของพวกเขา

19        การยากที่เห็นความสิ้นสุด(ของธรรมวิถี)ที่ปราศจากการปรับเปลี่ยนชีวิต

20        การยากละทิ้งความสำเร็จ(ที่เป็นเหมือนโซ่ตรวนที่ผูกเราไว้กับวัฏจักรของ            การเวียนว่ายตายเกิด) เหมือนโอกาสทองของการได้เปิดตัว

 

13        สมณะรูปหนึ่งได้กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “จะมีวีธีใดบ้างที่จะทำให้เราบรรลุถึงความรู้ในการยุติชีวิต(ปรากฏการณ์ทางโลก) และหันเข้าหาธรรมวิถี พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “การทำจิตให้บริสุทธิ์ รักษาความตั้งใจ (ตะกายไปข้างหน้า) คุณก็สามารถเข้าถึงธรรมวิถีนี้ ดังเช่น ยามที่กระจกได้รับการขัดถู ฝุ่นต่างๆถูกกำจัดไป และเหลือไว้แต่ความกระจ่างใส โดยการตัดความปรารถนาและหยุดการมองหาสิ่งใดๆ(อื่นๆ)คุณก็จะสามารถยุติชีวิตทางโลกได้

 

14        สมณะรูปหนึ่งได้กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “อะไรคือความดี และอะไรคือความยิ่งใหญ่” พระองค์ตอบว่า “การปฏิบัติธรรมวิถีและการยึดถือว่าอะไรคือความจริง นั่นคือความดี และเมื่อความตั้งใจของตนปรับตัวให้ลงรอยกับธรรมวิถีแล้ว นั่นแหละคือความยิ่งใหญ่”

 

15        สมณะรูปหนึ่งได้กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “อะไรคือพลังยิ่งใหญ่ และอะไรคือจุดสูงสุดของความโชติช่วง” พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “การที่สามารถอดทนต่อคำดูถูกเยาะเย้ย (โดยปราศจากการตอบโต้) เปรียบได้ดังพลังอันยิ่งใหญ่ บุคคลที่ไม่ยึดติดกับสาเหตุของความขุ่นเคืองใจ แต่ยังคงความสงบเย็นและมั่นคง(ภายใต้ทุกสถานการณ์) และบุคคลผู้ซึ่งอดทนต่อทุกสิ่งโดยปราศจากการปล่อยตัวปล่อยใจไปในทางที่ผิด จะได้รับเกียรติจากมนุษย์ด้วยกัน จุดสูงสุดของความโชติช่วงจะสามารถเข้าถึงได้ก็ต่อเมื่อจิตได้รับการชำระล้างความไม่บริสุทธิ์อย่างเต็มที่แล้ว และไม่มีความไม่จริง หรือคราบสกปรกใดๆคงอยู่ (อันจะทำให้เปื้อน)ในความบริสุทธิ์นั้น เมื่อทุกสรรพสิ่งไม่มี นับตั้งแต่ก่อนการสร้างสวรรค์และโลกมนุษย์ จนมาถึง ณ ปัจจุบัน หรือใน 10 เสี้ยวของจักรวาล ที่คุณไม่สามารถมองเห็น ได้ยิน และเข้าใจ เมื่อคุณสามารถบรรลุความรู้ในทุกๆสรรพสิ่ง นั่นเองที่อาจจะเรียกได้ว่า “ความโชติช่วง”

 

16        มนุษย์ที่ยังคงยึดติดอยู่ในรู้สึกความอยากและความปรารถนา พวกเขาเหล่านั้นย่อมไม่สามารถเข้าถึงธรรมวิถีได้ เช่นเดียวกับน้ำที่ใสกระจ่างถูกกวนให้ขุ่นด้วยมือมนุษย์ ไม่มีสายตาคู่ใดที่จะสามารถมองเข้าไปแล้วจะมองเห็นถึงภาพสะท้อนในน้ำนั้นได้ ดังนั้น มนุษย์ผู้มีจิตอันสกปรก และได้รับการกวนให้ขุ่นด้วยความรู้สึกอยากได้และความปรารถนาย่อมไม่สามารถเข้าถึงธรรมวิถีได้ ท่านผู้เป็นสมณะจะต้องละทิ้ง ความความรู้สึกอยากได้และความปรารถนาทั้งหลาย เมื่อความสกปรกจากความรู้สึกอยากได้และความปรารถนานั้น ได้ถูกทำให้หายไปจนหมดสิ้น เมื่อนั้นเองที่ท่านจะสามารถเข้าถึงธรรมวิถีได้

 

17        พระพุทธเจ้าตรัสว่า “บุคคลที่สามารถเข้าถึงธรรมวิถี ก็เปรียบดังเช่น บุคคลนั้นได้เข้าไปในบ้านที่มืดมิดพร้อมกับคบเพลิงในมือ ความมืดนั้นจะถูกทำลายให้กระจายหายไป เหลือไว้แต่แสงสว่าง ดังนั้น การศึกษาธรรมวิถีและการเข้าใจแจ่มแจ้งถึงหลักความจริง จะทำให้ความโง่เขลาทั้งหลายหายไป ในขณะที่ การเข้าใจการตระหนักรู้อย่างถ่องแท้จะคงอยู่ไปตลอดกาล

 

18        พระพุทธเจ้าตรัสว่า “คำสอนของฉันเปรียบได้ว่า เป็นการคิดที่เหนือกว่าคิด เป็นการกระทำที่เหนือกว่าการการะทำ เป็นการพูดที่เหนือกว่าคำพูด เป็นการฝึกที่เหนือกว่าการฝึก บุคคลใดๆที่สามารถเข้าหาทางสายนี้,ก้าวไปข้างหน้า, ขณะเดียวกันก็ทิ้งความโง่เขลาให้เสื่อมถอย ธรรมวิถีนี้สามารถอธิบายเป็นคำพูดได้ว่า “ไม่มีสิ่งใดที่สามารถยึดติดได้ หากคุณยังคงกระทำตัวผิดๆอยู่ แม้จะเป็นความผิดเล็กน้อย คุณก็จะสูญเสีย(ธรรมวิถี)ในพริบตา

 

19        พระพุทธเจ้าตรัสว่า “จงจ้องมองสวรรค์และแผ่นดินทั้งปวง และพิจารณาว่าเหล่านั้นเป็นความไม่ถาวร จงจ้องมองโลกมนุษย์และพิจารณาว่ามันไม่ถาวร  จงจ้องมองการตื่นขึ้นมาของจิตวิญญาณ ในภาวะ โพธิ ความรู้เหล่านี้จะนำไปสู่การบรรลุแจ้งในเวลาอันรวดเร็ว”

 

20        พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ท่านจงพิจารณาความจริงที่ว่า ถึงแม้ว่า ธาตุทั้ง4จะประกอบกันเป็นร่างกาย สร้างมันให้เป็นสิ่งมีชื่อ แต่ไม่มีธาตุใดเลย (ประกอบเป็นบางส่วนของ)ตัวตนที่แท้จริง ในความเป็นจริงแล้วตัวตนไม่มีอยู่จริง เป็นเช่นภาพลวงตา

 

21        พระพุทธเจ้าตรัสว่า “มีคนพวกหนึ่งที่พยายามบงการความรู้สึกและความปรารถนาของตนเอง พวกเขาเหล่านี้พยายามมองหาชื่อเสียงและตัวตนของพวกเขา แต่ยามที่ชื่อเสียงเหล่านั้นได้รับการกล่าวขาน พวกเขากลับตายไปแล้ว บุคคลผู้ซึ่งกระหายต่อชื่อเสียงของตนให้เป็นที่จดจำอย่างยาวนานในโลก คนเหล่านี้ไม่ศึกษาธรรมวิถีนี้ มุ่งมั่นพยายามอย่างไร้ประโยชน์ และดิ้นรนอย่างสูญเปล่า ดังเช่น การเผากำยาน แม้ว่าผู้คนจะสามารถรู้สึกได้ถึงกลิ่นหอมของมัน แต่ตัวมันกลับถูกเผาพลาญไปจนหมดสิ้น  ดังนั้น ความปรารถนาจึงนำมาซึ่งไฟแห่งอันตรายที่สามารถเผาผลายร่างกายของคุณในการฝึกฝน

 

22        พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ความมั่งคั่งและความงาม ,สำหรับมนุษย์ผู้ซึ่งไม่สามารถละทิ้งเหล่านี้ได้,ก็จะเป็นเสมือนมีดคมอาบน้ำผึ้ง ที่แม้ว่าจะได้รับรสหวานจากน้ำผึ้งก็ตาม แต่ในขณะเดียวกันลิ้นของเขาก็จะถูกคมมีดบาดในช่วงที่กำลังเลี่ยน้ำผึ้งนั้น”

 

23        พระพุทธเจ้าตรัสว่า “คนผู้ซึ่งรัดตรึงไว้ด้วยภรรยา ลูกและบ้านของตน นั่นเลวร้ายยิ่งกว่านักโทษผู้ถูกจองจำ นักโทษในคุกอาจจะถูกปล่อยตัวไม่เร็วก็ช้า แต่ภรรยาและลูกย่อมไม่มีทางปล่อยคุณจากไป เหตุใดคุณจะต้องกลัวที่จะสลัดคุณเองในทันทีทันใดจากความรู้สึกอยากได้ความงามแห่งร่างกายด้วย (มิฉะนั้น) คุณจะเป็นผู้เชื่องเชื่อในคมเขี้ยวของเสือร้ายและยินยอมโดยเจตนาที่จะตกลงไปในบ่อทรายดูดด้วยตนเอง  ด้วยเหตุนี้ คุณจึงได้ชื่อว่าผู่ติดตามอย่างง่ายๆ ถ้าคุณสามารถก้าวไปถึงจุด(ของการละทิ้งสิ่งเหล่านี้ได้) คุณก็จะลุกขึ้นจากกองฝุ่นที่สกปรกและกลายเป็นพระอรหันต์

 

24        พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ความรู้สึกอยากได้และความปรารถนา ไม่มีสิ่งใดเลยที่จะเหนือไปกว่าความต้องการทางเพศ ความต้องการทางเพศเป็นความปรารถนาที่ไม่มีสิ่งใดเทียบ การจะหลุดจากสิ่งนี้ (โดยทั่วไป)  เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเท่านั้น  ไม่มีใครบนโลกที่จะสามารถกลายเป็นผู้ปฏิบัติธรรมวิถีได้ หากผู้นั้นยังคงยอมรับความมีคู่อยู่”

 

25        พระพุทธเจ้าตรัส  “บุคคลผู้ซึ่ง(ยินยอมให้ตน)อยู่ภายใต้ความรู้สึกอยากและความปรารถนา เขาเหล่านั้นเป็นเหมือนคนที่ก้าวเดินเข้าไปในฟันของเฟืองที่กำลังหมุนโดยถือคบเพลิงในมือ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่มือเขาจะถูกไฟเผา

 

26        เหล่าเทพเทวาได้ส่งหญิงงามประดุจหยกมาให้ฉัน โดยหวังว่า เธอจะสามารถสั่นคลอนความตั้งใจอันแน่วแน่ของฉัน ฉันจึงกล่าวว่า “โอ ถุงผิวหนังนี้  เต็มไปด้วยสิ่งสกปรกโสมกมากมาย เธอมาที่นี่เพื่อะไร ไปซะ ฉันไม่ต้องการเธอ จากนั้นเหล่าเทพเทวาก็หันมานับถือฉันอย่างถึงที่สุด พวกเขาขอร้องให้ฉันเทศน์ธรรมให้แก่พวกเขา ฉันจึงชี้แจงหนทางให้แก่พวกเขา จนในที่สุดพวกเขาก็สามารถบรรลุขั้นสโรตอปน(โสดาบัน)

 

27        พระพุทธเจ้าตรัสว่า  “บุคคลที่ปฏิบัติธรรมวิถีนี้เปรียบเสมือน ชิ้นไม้ที่ลอยอยู่ตามลำพาลกลางน้ำ ไหลไปตามทางน้ำไหลนั้น โดยไม่ติดฝั่ง ไม่ถูกมนุษย์เก็บ ไม่ถูกยับยั้งโดยเหล่าเทวดา ไม่ถูกขัดขวางจากเศษสวะในผิวน้ำหรือไม่เน่าเปื่อย ลอยไปในธรรมวิถีนั้น ตัวฉันเองก็มีหน้าที่เปรียบเสมือนผู้พัดพาให้ชิ้นไม้ชิ้นนั้น ไปถึงท้องทะเล หากผู้ปฏิบัติธรรมวิถีทั้งหลาย ไม่หลงผิด อยู่ในความรู้สึกและความปรารถนาของตน ไม่ได้ถูกรบกวนโดยความเสื่อมทรามทางศีลธรรมใดๆ และหากเขาเหล่านั้น ตั้งใจจริงที่จะก้าวไปข้างหน้าที่ไม่เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ  ฉันก็พร้อมที่จะนำพวกเขาไปสู่การบรรลุธรรมวิถีอย่างแน่นอน

 

 

28        พระพุทธเจ้าตรัสว่า “จงระวังอย่าได้พึ่งพาแต่สติปัญญาของตนเอง เพราะมันอาจไม่สามารถเชื่อถือได้ ระวังอย่าได้หลงติดกับความน่าหลงใหลทางกายภาพ การยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้จะนำมาซึ่งความหายนะ มีเพียงยามที่คุณก้าวสู่ขั้นอรหันต์ได้แล้วเท่านั้น  จึงจะสามารถพึงพาสติปัญญาของตนเองได้”

 

29        พระพุทธเจ้าตรัสว่า “จงหลีกเลี่ยงการจ้องมองความงามของหญิงสาว และจงอย่าสนทนากับพวกเธอ หากจำเป็น(มีวาระต้อง)สนทนา จงควบคุมความนึกคิดที่ไหลผ่านเข้ามาในจิต เมื่อครั้งฉันยังเป็นสมณะและยังเกี่ยวข้องอยู่ในโลกียโลก ฉันเหมือนกับดอกบัวที่ไม่เปอะเปื้อนโคลนตมใดๆ (จากที่ซึ่งมันเจริญเติบโต) คิดถึงหญิงชราเปรียบเสมือนแม่ของคุณ คิดว่าหญิงที่อายุมากกวาเปรียบเสมือนพี่สาว หญิงที่มีอายุน้อยกว่าเปรียบเสมือนน้องสาวและคิดเสียว่าเด็กหญิงที่อ่อนกว่าตนมาก คือลูกสาว จงดำรงตนอยู่บนความคิดของความรู้แจ้ง และขับไล่ความชั่วร้ายทั้งปวงออกไปจากความคิด”

 

30        พระพุทธเจ้าตรัสว่า  “บุคคลผู้ปฏิบัติธรรม ก็เปรียบเสมือนกองฟาง ที่ถูกเก็บไว้ให้ห่างจากกองไฟ ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายที่มีประสบการณ์จากความปรารถนา ย่อมต้องรู้ว่า ตนจะต้องวางระยะห่างระหว่างตัวเขาและ(เป้าหมายของเขา)ความปรารถนา”

 

31        พระพุทธเจ้าตรัสว่า  “มีคนผู้หนึ่งที่ยอมปล่อยตัวปล่อยใจให้หลงอยู่ในเพลิงตัณหาอย่างหยุดไม่อยู่ แต่คนผู้นี้ก็ต้องการที่จะหยุดการกระทำอันเลวร้ายนี้ ฉันจึงกล่าวกับเขาว่า “การยุติการกระทำอันชั่วยร้าย ไม่ดีเท่ากับการหยุดรากเหง้าของความชั่วร้ายในจิตของคุณ จิตคนเราก็เปรียบเสมือน  กุงเซา ถ้า กุเซา ถูกระงับลง การกระทำของเขาก็จะยุติตาม หากความเสื่อมทรามทางศีลธรรมในจิตยังคงดำเนินต่อไป  จะมีประโยชน์อะไรที่จะหยุดการกระทำอันชั่วช้านี้เล่า ฉันยังย้ำเตือนบทกวีนี้แก่เขาว่า “ความอยากมาจากความคิด ความคิดมาจากการหยั่งรู้ (ความเข้าใจ) เมื่อจิตใจทั้งสองถูกทำให้สงบนิ่งก็จะไม่มีทั้งรูปและการกระทำ” ฉันยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า บทกวีนี้ถูกกล่าวครั้งแรกโดย กัศยปพุทธเจ้า”

32        พระพุทธเจ้าตรัสว่า  “ความโศกเศร้าของมนุษย์มาจากความรู้สึกอยากและความปรารถนา ความกลัวมาจากความเศร้าเหล่านี้ หากหลุดพ้นจากความปรารถนาก็คือการบรรลุ อะไรจะ(เป็นสาเหตุ)ของความเศร้าและความกลัวอีก?

 

33        พระพุทธเจ้าตรัสว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติธรรมวิถีนี้ เป็นเหมือนคนที่ต้องต่อสู้เป็นหมื่นครั้ง ต้องใส่เกราะก้าวออกจากประตู ความคิดของเขาอาจจะขี้ขลาด และไร้ซึ่งความเด็ดเดี่ยว หรือเขาอาจจะเข้าสู่สนามรบเพียงครึ่งทางแล้วหันหลังกลับเพื่อถอยหนี อีกครั้ง ที่เขาอาจจะต้องร่วมรบและถูกฆ่าตาย ในทางตรงข้าม เขาผู้นั้นอาจได้รับชัยชนะ และสามารถกลับมาอย่างปลอดภัย สมณะผู้ศึกษาธรรมวิถีจะต้องมีจิตใจอันแน่วแน่ และพยายามสร้างความกล้าหาญอย่างกระตือรือร้น ไม่เกรงกลัวต่อสิ่งใดๆที่เรี่ยงรายอยู่ต่อหน้าเขา และต้องทำลายมารร้าย (สิ่งลวงใจที่มาขัดขวางการปฏิบัติธรรม)เมื่อนั้นเขาก็จะได้รับผลสำเร็จจากการศึกษาธรรมวิถี(อย่างขยันหมั่นเพียร)

 

34        คืนหนึ่ง,สมณะรูปหนึ่งกำลังสวดมนต์ “พระสูตรคำสอนมรดกของกศปยพุทธเจ้าเสียงสวดมนต์ของเขาฟังแล้วเต็มไปด้วยความเศร้า เขาสำนึกผิดและดูถูกตนเองที่ตัวเขาเกิดความปรารถนา

พระพุทธเจ้าตรัสถามเขาว่า “ก่อนที่เธอจะมาบวชเป็นพระ ได้ทำอะไรมาก่อน?”

สมณะทูลตอบ  “ฉันเล่นพิณมาก่อน”

พระพุทธเจ้า  “จะเกิดอะไรขึ้น หากสายพิณที่เธฮเล่น เกิดหย่อนลงไป”

สมณะทูลตอบ  “มันก็จะไม่มีเสียง”

พระพุทธเจ้า  “และถ้าเธอขึงสายพิณให้ตึงเกินไปล่ะ”

สมณะทูลตอบ  “เสียงก็จะถูกบีบ ฟังไม่ไพเราะ”

พระพุทธเจ้า  “และถ้าสายพิณนั้นไม่หย่อนไม่ตึงเกินไป เสียงที่ได้จะเป็นอย่างไร”

สมณะทูลตอบ  “เสียงก็จะเป็นปกติ”

ในเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าจึงบตรัสขึ้นมาว่า “มันก็เป็นเหมือนกันสมณะผู้ศึกษาพระธรรม หากจิตของเขาได้รับการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม เขาผู้นั้นก็จะสามารถบรรลุธรรมได้ แต่หากเขาบังคับตัวเองเพื่อที่จะบรรลุพระธรรม จิตของเขาก็จะเหน็ดเหนื่อย และความเหน็ดเหนื่อยนั้นเองจะทำให้ความนึกคิดของเขากลายเป็นความหงุดหงิดรำคาญใจ และด้วยความหงุดหงิดรำคาญใจนี้ จะทำให้การกระทำของเขาเสื่อยลงและด้วยการกระทำที่เสื่อมลงนี้ จะทำให้ความชั่วร้ายทั้งปวงเข้าสู่จิตของเขา แต่ถ้าหากว่าเขาผู้นั้นศึกษาพระธรรมอย่างเงียบๆ และมีความสุขไปกับพระธรรมนั้น  เขาก็จะไม่ออกนอกเส้นทางแห่งพระธรรมนั้น

 

35        พระพุทธเจ้ากล่าวว่า “หากช่างตีเหล็กหล่อเหล็กร้อนจนกระทั่งสิ่งเจือปนในเหล็กนั้นถูกทำลายไปจนหมด (ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวน)การสร้างเป็นเครื่องมือแล้วล่ะก็ เครื่องมือที่ได้จะเป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพ เช่นเดียวกัน หากผู้ปฏิบัติธรรมสามารถขจัดสิ่งสกปรกออกจากจิตของเขาในช่วงแรกของการปฏิบัติ การกระทำของเขาก็จะบริสุทธิ์”

 

36        พระพุทธเจ้าตรัสว่า

            “การที่สัตว์เดียรฉาน จะเกิดเป็นมนุษย์ นั้นเป็นเรื่องยาก”

            “การที่จะหนีจากความผู้หญิงมาเกิดเป็นผู้ชาย นั้นเป็นเรื่องยาก”

            “การที่คนเราจะเกิดมามีอวัยวะครบถ้วนสมบูรณ์ นั้นเป็นเรื่องยาก”

            “การที่คนเราจะเกิดมาในประเทศไทยที่เป็นเมืองพุทธ นั้นเป็นเรื่องยาก”

            “การที่คนเราจะเกิดตรงมาในสถานที่ๆล้อมรอบด้วยชาวพุทธ นั้นเป็นเรื่องยาก”

            “การที่คนเราจะได้สัมผัสกับธรรมวิถี นั้นเป็นเรื่องยาก”

            “การที่คนเราจะปลูกฝังความศรัทธาในจิต นั้นเป็นเรื่องยาก”

            “การที่คนเราจะบรรลุสู่ โพธิจิต  นั้นเป็นเรื่องยาก”

            “การที่คนเราจะสามารถบรรลุสู่ภาวะไม่มีสิ่งใดคือการปฏิบัติและไม่มีสิ่งใดถูก          แสดงให้เห็น นั้นเป็นเรื่องยาก”

 

37        พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ศิษย์ของฉันแม้จะอยู่ห่างไกลจากฉันนับพันไมล์ ถ้าเขาหมั่นพิจารณาคำสอนของฉันและปฏิบัติอย่างรอบคอบ ก็จะบรรลุสำเร็จ(ของการศึกษา)ธรรมวิถี แต่คนที่อยู่ใกล้ชิดฉันที่สุด แม้จะพบเห็นฉันตลอดเวลา ก็จะตกจากที่สูงสุดไม่ประสบความสำเร็จ ถ้าไม่ปฏิบัติตามคำสอนของฉัน”

 

38        พระพุทธเจ้าตรัสถามพระสมณะรูปหนึ่งว่า “ช่วงเวลาของชีวิตมนุษย์ยาวนานเท่าไหร่?

            “เพียงแค่ไม่กี่วัน” สมณะตอบ

            “เธอยังไม่เข้าใจ” พระพุทธเจ้าตรัสตอบ แล้วจึงไปถามสมณะอีกรูปหนึ่งด้วยคำถามเดียวกัน

            “มันยาวนานเท่ากับการรับประทานอาหารมื้อหนึ่ง”

            “เธอยังไม่เข้าใจ” พระพุทธเจ้าตรัสตอบ แล้วก็หันไปถามสมณะอีกรูปหนึ่งด้วยคำถามเดียวกัน

            “มันยาวนานเหมือนช่วงเวลาที่หายใจเฮือกหนึ่ง”

            “ดีมาก เธอเข้าใจแล้ว” พระพุทธเจ้าตอบ

 

39        พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ผู้ปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้า ก็ควรจะเชื่อและปฏิบัติทุกสิ่งตามที่พระพุทธเจ้าพูด ดังเช่น เมื่อคุณกินน้ำผึ้งเข้าไป (คุณก็จะพบว่า)ทุกๆหยดของน้ำผึ้งนั้นหวาน มันก็เป็นเช่นเดียวกับคำพูดของฉัน”

 

40        พระพุทธเจ้าตรัสว่า “สมณะผู้ศึกษาธรรมวิถีไม่ควรจะเป็นดังเช่นวัวที่ใช้กำลัง

ลากเสาหิน แม้ว่าการกระทำของวัวนั้นจะเป็นการกระทำที่เหมาะสมกันร่างกายของมัน

แต่มันไม่ได้มุ่งความสนใจไปที่จิตของมัน ถ้าการปฏิบัติธรรมวิถีคือการฝึกฝนติดตามจิตแล้วอะไรเป็นสิ่งที่สมควรกระทำ?

 

41        พระพุทธเจ้าตรัสว่า “คนที่ปฏิบัติธรรมวิถี ก็เปรียบดังเช่น วัวที่ต้องขนสัมภาระหนัก เพื่อเดินข้ามผ่านหลุมโคลนลึก แม้มันจะรู้สึเหน็ดเหนื่อยแต่ก็ไม่กล้าที่จะเหลียวซ้ายแลขวา คิดแต่เพียงที่จะโผล่พ้นจากหลุมโคลนเท่านั้น จากนั้นมันก็จะสดชื่นขึ้นด้วยการพักผ่อน สมณะควรจะมุ่งเน้นขจัดความรู้สึกและความปรารถนาของตน(ให้มากว่าวัวที่มุ่งเน้นให้พ้น)จากหลุมโคลนนั้น แค่เพียงควบคุมจิตและคำนึงถึงแต่ธรรมวิถีเท่านั้น ก็จะสามารถหลีกเลี่ยงความเศร้าทั้งหลาย”

 

42        พระพุทธเจ้าตรัสว่า

“ฉันพิจารณาสถานะของบรรดากษัตริย์และเจ้าชาย เช่นเดียวกับการพิจารณา

ฝุ่นผงที่ปลิวผ่านรอยแยก”

“ฉันพิจารณาเครื่องประดับทอง เช่นเดียวกับการพิจารณา เศษหิน , เศษอิฐ

“ฉันพิจารณาเสื้อผ้าไหมชั้นดี เช่นเดียวกับการพิจารณา ผ้าขี้ริ้วขาดๆ

“ฉันพิจารณา major chiliocosm เช่นเดียวกับการพิจารณา เม็ดถั่วเม็ดเล็กๆ

“ฉันพิจารณาอนวตปต เช่นเดียวกับการพิจารณา น้ำมันที่เปื้อนเท้า

(ในอีกกรณีหนึ่ง)

ฉันพิจาราณวิธีการที่เหมาะสม(นำไปสู่ความจริง)เช่นเดียวกับการพิจารณาการใช้เงินซึ้อกองอัญมณี

 “ฉันพิจารณา ยานพาหนะที่ยิ่งใหญ่ เช่นเดียวกับการพิจารณา ความฝันในทรัพย์สินอันอุดมสมบูรณ์

“ฉันพิจารณา ธรรมวิถีของพระพุทธเจ้า เช่นเดียวกับการพิจารณา ความสง่างามที่สามารถเห็นได้ด้วยตา

“ฉันพิจารณา สมาธิธยาน เช่นเดียวกับการพิจารณา เสาพระสุเมรุ”

“ฉันพิจารณา นิรวาณ เช่นเดียวกับการพิจารณาการตื่นนอนยามอรุณรุ่งจาก     การหลับใหลยามค่ำคืน

“ฉันพิจารณาพวกนอกรีตที่ถูกสร้างขึ้น เช่นเดียวกับการพิจารณามังกร 6 ตัวกำลังเต้นระบำ

“ฉันพิจารณาความเป็นสากล, คุณลักษณ์ที่เที่ยงตรง(ของพระพุทธเจ้า) เช่นเดียวกับการพิจารณาความจริงอันสมบูรณ์

“ฉันพิจารณาการแปรเปลี่ยน(ธรรมวิถี) เช่นเดียวกับการพิจารณา การเปลี่ยนแปลงของต้นไม้(เนื่องมาจาก)ฤดูกาลทั้งสี่

ดาวน์โหลดตัวอักษร (ฟ้อนต์) ทิเบตทั้ง ๓ แบบ เพื่อความสมบูรณ์ในการชมเว็บ

actisan.ttf

adtibet.ttf

atibet.ttf


uptime alert service

website monitor

View My Stats