มหายาน-วัชรยานในประเทศไทย

 

ความรู้ ความเข้าใจในมหายาน

จากหนังสือพระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชวิจารณ์เทียบลัทธิพระพุทธศาสนาฝ่ายหีนยานกับมหายาน และเรื่องสร้างพระบทหลวง วัดบวรนิเวศวิหาร 5 กรกฎาคม 2509

พระราชหัตถเลขา

พระที่นั่งบรรณาคมสรณีย์

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 122

ถึง เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัตติวงศ์

          รูปภาพที่ส่งมาวันนี้ 2 แผ่นนั้น เคยเห็นแขวนอยู่ตามตลาด แต่พระพุทธรูปอีกแผ่นหนึ่งไม่เคยเห็นแปลกดี กิริยาอาการช่างเปนรูปข้างมหายานจริงๆ ได้ส่งออกไปสอบถามกรมขุนสมมต ๆ ว่าได้ทราบแต่ว่ามีคัมภีร์เปนพวกสัททาวิเศษกล่างถึงเรื่องนี้  สามเด็ยพระวันรัตน์เก็บมาจากคัมภีร์นั้นไม่ทราบว่าชื่อคัมภีร์อะไร  ฉันได้ขอให้กรมสมมต สอบถามพระธรรมโกษาและพระศรีสมโพธิเห็จะได้ความ

เรื่องมหายานและหีนยานแยกกันอย่างไร มีพงศวดารซึ่งพรตญี่ปุ่นเก็บมาแต่งเป็นภาษาอังกฤษบอกวงศ์แห่งพรตญี่ปุ่น เข้ได้ให้ฉัน ได้ถวายกรมหมื่นวชิรญาณไป ยังยึดไว้สืบค้นจนสืบค้นจนเดี่ยวนี้ เมื่อแรกนี้ใกล้เคียงกันมากถึงอยู่ร่วมอารามแต่แยกเป็นคนละคณะ  ฟ้าเหียนซึ่งเปนพรตจีนออกไปสืบข่าวพระสาสนาที่อินเดีย ก่อรคฤสตศักราช 600 ปี ได้ไปถึงเมืองปาตลิบุตร ได้ไปที่วัดอโศการามและกุกกุฎาราม ได้พบพระสงฆ์ทั้งสองคณะอยู่กุฎิคนละฟาก มีเสาศิลาซึ่งจารึกคำพระเจ้าธรรมาโศกถวายสกลชมพูทวีปเปนพุทธบูชา 3 ครั้ง กุฏิฟากหนึ่งเปนมหายานฟากหนึ่งเปนหีนยาน ฟ้าเหียนออกไปขัดข้องด้วยภาษา จึงได้เที่ยวไปในประเทศอื่นๆมีกาลีชนบทเปนต้นถึง 3 ปีแล้วจึงย้อนกลับมาในมคธราฐ  เข้าเรียนพระวินัยในสำนักมหายานแล้วพวกมหายานให้ลอกคัดพระวินัย พระสูตร พระปรมรรถ อยู่อีก 6 ปีจึงแล้ว รวมเปนเวลา 10 ปีเศษ จึงได้กลับไปเมืองจีน

ภายหลังพรตจีนอีกรูปหนึ่ง ชื่อห้วนเจียงออกไปเมื่อก่อนคฤสตศักราช 300 ปี เวลานั้นเมืองปาตลีบุตรร้างไปมากแล้ว  พระสงฆ์ไม่มีแต่เสนาสนเหล่านั้นยังมีรากปรากฏอยู่

บัดนี้อังกฤษไปค้นพบตำบลที่ตั้งเสนาสนและเจดียสถานต่างๆทั้งวังและเมืองซึ่งอยู่บกบ้างจมอยู่ในน้ำบ้าง ได้หลักฐานสำคัญเปนอันมาก ขาดสิ่งซึ่งต้องการอย่างยิ่งอยู่นั้น คือ คำจารึก หลักศิลามีถึง 3 หลัก แต่แตกย่อยกระจาย เก็บมาคุมเข้าได้ก็ยังไม่ถึงหนังสือ ที่ชำรุดมากนัก  เพราะมีมิจฉาทิษฐิไปทำลาย แล้วซ้ำถูกสายน้ำกัดผ่านเข้าไปในกลางเมืองด้วย  ดีที่พบรอยพระพุทธบาทซึ่งเหยียบไว้ที่ริมแม่น้ำเมื่อเวลาจะไปปรินิพพาน แต่ยังไม่ได้สร้างเปนเมืองนั้น ครั้งเมื่อสร้างเปนเมืองแล้ว พระเจ้าอโศกเชิญเข้ามาไว้ในพระราชวัง  ขนาดแผ่นศิลาและรอยต้องกันกับพรตฟ้าเหียนและพรตห้วนเจียงได้ไปเห็น ศิลานั้นเป็นศิลาทรายขนาดเปนคั่นบันไดทำเรือจ้าง กว้าง 2 ฟิต ยาว 2 ฟิตครึ่ง รอยพระพุทธบาทนั้นวัดแต่ปลายนิ้วจนถึงสันได้ฟุต 1 กับ 6 นิ้ว กว้างในที่กว้าง 6 นิ้ว รอยลายที่ปรากฏอยู่ที่นิ้วอุตคุตเปนดอกไม้ คือ ก้นหอย และพวงปลาต่อลงมา แต่เดี่ยวนี้ชำรุดมาก ด้วยชาวบ้านใช้ลับมีด  พระบาทนี้ช่างห่างกับเราเสียจริงๆ ถึงพรตจีน 2 รูปก็ได้กล่าวไว้ว่ารอยโตกว่าชนสามัญ  เพราะพระพุทธเจ้าโตมาก  แต่ยังหาถึงใจท่านพวกลังกาไม่

ที่กล่าวมานี้ เพื่อจะให้เห็นว่าหีนยานกับมหายานอยู่ด้วยกันมาแต่ก่อน หีนยานเห็นจะคอยหารมหายานอยู่เสมอ แต่เพราะรกรากอันเดียวกัน จึงไม่หารเสียหมด เพราะมีมูลอยู่บ้าง เช่นกันมูลแห่งสาสนามหายาน ถือว่ามีพระพุทธเจ่าโลกธาตุละองค์ ขึ้นพระพุทธอมิตาภาซึ่งอยู่ในศุขัสนคร  จึงมีสูตรสำหรับบูชาพระพุทธเจ้าทั้งหลายยิ่งท่องสูตรเหล่านั้นได้มากเท่าใดยิ่งได้บุญ จนพวกจีนทำเครื่องจักรสวดมนต์ ข้างฝ่ายสูตรสัมพุทเธของเรามีมูลเปนอันเดียวกัน บอกอานิสงส์ก็คล้ายกัน แต่ตัดชื่อเสียงลงเสียงเปนอันมาก ปรากฏว่ามาจาครูเดียวกับมหายาน ฉันเข้าใจว่ารูปที่สมเด็จพระวันรัตน์เขียนมาจากคัมภีร์ใดคัมภีร์นั้นจะเปนมหายานแปลงเช่นสัมพุทเธ

อนึ่งมีเรื่องซึ่งเปนอินเตอเรสของช่างที่เก็บไว้ว่าจะบอก แต่ท่าจะลืมเสีย ไหนๆวันอาทิตย์ก็ปล่อยเสียที

ข้างฝรั่งเขากล่าวกันมานานนักหนาแล้วตั้งแต่ฉันไปอินเดียบรรดาฝีมือช่างที่เราเรียกว่าฮินดู เขาเรียกว่ากรีก  เป็นคู่กันกับมโฮมาดัน กรีกเปนของเก่า มโฮมาดันเปนของใหม่  ในนึกเถียงในใจเสมอมาแล้วก็ค่อยรู้มาทีละน้อยๆ จนบัดนี้ลงใจเชื่อเสียแล้ว เหตุที่เชื่อนั้น คือในประเทศอินเดียก่อนแต่พระเจ้าอโศกขึ้นไป ปราสาทราชมณเฑียรกำแพงเมืองและวัด ทำด้วยไม้ทั้งนั้น จนเมืองปาตลิบุตรที่พบนี้ กำแพงยาว 4 ไมล์ กว้างไมล์ 1 ก็ใช้เสาไม้รังปักเปน 2 ชั้นถมดินกลาง การช่างสิลาเกิดขึ้นในประเทศปันยอดที่อาเลกแซนดราดิเกรดมาตั้งอยู่ จันทรคุปตซึ่งเป็นตันวงศ์พระเจ้าอโศกได้รบพุ่งกันแล้วกลับเป็นไมตรี สืบวงศ์มาจึงได้ไล่กรีกออกได้ ตกมาถึงครั้งอโศก เริ่มสร้างเครื่องศิลาเมื่อสร้างพระเจดีย์ 84000 บรรดาเครื่องศิลาที่มีอยู่ในอินเดียไม่มีอะไรเก่ากว่าที่อโศกสร้างทั้งสิ้น ในเมืองปาตลิบุตรนี้เองขุดได้บัวปลายเสา รูปเปนกรีก ลวดลายทั้งแก้ไขบ้างแล้วก็ยังลายกรีกติดอยู่ เพราะฉะนั้นข้อที่เราจะทำอะไรไม่ให้ฝรั่ง เห็นว่าเรียนอย่างฝรั่งเห็นจะไปไม่รอดแต่เปนเครื่องอุดหนุนให้เราเถียงว่าไม่ใช่เอาอย่างฝรั่งเพราะเราเอาอย่างผู้ซึ่งเขาเอาอย่างฝรั่งถึง 2000 ปีเศษมาแล้ว

 

สำเนาลายพระหัตสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศ

ขอเดชะ

          ในทีแรกข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทก่อนว่าหนังสือฉบับนี้ ไม่เกี่ยวด้วยกิจการ เปนแต่ข้าพระพุทธเจ้ากำลังคลั่งมหาญาณ เพื่อจะขอรับพระราชทานศึกษาด้วเนื่องมหาญาณเท่านั้น ถ้าถือเอาโอกาสว่าเปนวันอาทิตย์ เปนวันควรที่จะว่างพระราชธุระ ถ้าไม่เปนโอกาสอย่างคาดหมาย ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯละเว้นไว้ทอดพระเนตรเวลาอื่น

          ลัทธิมหาญาณ ได้ทราบเกล้าฯ นานแล้วว่าเปนอยู่ที่ธิเบต แลจีนรับมาประพฤติตามเอาอย่างกันตลอดถึงญี่ปุ่นแลญวน เมื่อได้เห็นได้ฟังอะไรๆบ้างในลัทธินั้น ก็ให้เห็นเปนว่าเหลวไหล  ไม่ได้เอาใจใส่ที่จะศึกษา เพราะคิดด้วยเกล้าฯว่าหาประโยชน์มิได้

          ในใจเวลานั้น คิดเห็นด้วยเกล้าฯว่าคงมีอาจารย์ในพุทธศาสนาสองพวก พวกหนึ่งสอนลงมาข้างใต้พวกหนึ่งสอนขึ้นไปทางเหนือ สอนด้วยโวหารต่างกัน ผู้รับเรียนปฏิบัติเลือนไปด้วยทางไกลกัน  จึงผิดแผกกันไปมาก

          ต่อมาเมื่อเสด็จพระราชดำเนินประเทศชวา ได้ทรงนำพระพุทธรูปต่างๆมา แลมีพระราชดำรัสอธิบายว่าเปนพระทางลัทธิมหาญาณ นั่นเปนอัได้ทราบเกล้าฯออกไปอีกหน่อย ว่ามหาญาณข้าใต้ก็มีแลได้ทราบเกล้าฯ ชัดว่าท่าพระอย่างนั้นเปนฝ่ายมหาญาณ

          ครั้นเมื่อไปตรวจการโทรเลขข้างหัวเมือง ตะวันตก ได้พบในเมืองตรังแลพัธลุง มีพิมพ์เทวรูปบ้าง พิมพ์โพธิสัตว์บ้าง พิมพ์พระอย่างมหาณาณบ้าง ให้ออกสงสัยว่า  ลัทธิมหาญาณจะมีลามเข้ามาถึงเมืองไทยทีเดียวฤา แต่จะเปนได้ที่ตอนปลายแหลมมลายูเพราะได้ชวา อนึ่งได้สังเกตเห็นวัดเก่าๆตั้งแต่พัทธลุงเข้ามาจนไชยาท่าอาคิเตกแปลกมาก  ไม่เจือด้วยกัมโพชสไตล์ ต้องระวังจดจำมาหนักหนา

          มาเมื่อได้รับพระราชทานสมุดฝีมือช่างญี่ปุ่นไปตรวจดู สำหรับประกอบความคิด ทำแบบบานกระจกวัดเบญจมบพิตรนั้น ได้เห็นหนังสือจดบอปรูปเปนเรื่องเตี้ยๆปรากฏนามพระพุทธเจ้าหลายพระองค์แลพระโพธิสัตว์หลายองค์ บอกว่าอวตารมาจากท่านองค์ใดๆด้วย ไปสิ้นสัทธาเสียที่ตรงวชิรปาณี  แลวิศวกรรมก็เปนโพธิสัตว์เสียด้วยจึงตกลงใจในขณะนั้นว่า  ท่างแผ่ศาสนาข้างมหาญาณ อาจารย์ไม่คิดรื้อศาสนาเดิม ใช้อุบายแต่งเรื่องให้ เนื่องแปรไปเข้าทางพุทธศาสนาเข้าใจว่าอย่างนี้ ที่เปนวิธีผิดกันกับหีนญาณ ซึ่งสอนให้ทิ้งศาสนาเก่าหมด

          มาทีหลัง มิสเตอ เกิดส์ ลาไปเที่ยวชวา ช้าพระพุทธเจ้าจึงได้สั่งไป ให้หาซื้อรูปเรื่องรามเกียรติ ที่สลักศิลามาฝากด้วย   เพราะได้เห็นที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้ทรงนำเข้ามางามอยู่  เพื่อจะได้ดูลาดเลาประกอบความศึกษา เพราะว่าหลักไม่ไกลกัน มิสเตอ เกิตส์กลับเข้ามา ได้รูปมาให้ดังประสงค์  แลยังมีรูปอืนๆ นอกสั่งมาให้อีกด้วย กับทั้งสมุด ดร.โกรนมัน แต่งว่า ด้วยเรื่องสิ่งก่อสร้างเก่าๆด้วย เมื่อได้พิจารณาดูรูปก่อสร้างในชวาเห็นเปนอย่างเดียวกันกับการก่อสร้างที่เห็นมาข้างหัวเมืองตะวันตก แลได้เข้าใจในคำเล่าของดร.โกรนมันว่า  ลัทธิข้างมหาญาณนั้นพุทธกับไสยปนกันเป็นอันหนึ่งอันเดียว เหตุดังนี้จึงทำให้เชื่อว่า หัวเมืองข้างตะวันตกนั้น แต่ก่อนถือลัทธิมหาญาณเสียด้วยแน่แล้ว

          มาเมื่อเร็วๆนี้ กรมหลวงดำรงได้กราบังคมทูลพระกรุณาว่าได้ศิศะนาคะอย่างชวาที่พระปฐม  ข้าพระพุทธเจ้าก็สดุ้งใจทีเดียว่ามหาญาณกินถึงนครใชยศรี เลยระลึกถึงพระศิลาในพระอุโบสถที่พระปฐมด้วย เปนพยานยันกัน

          มาเมื่อเดือนก่อน กรมหลวงนเรศร รับสั่งถึงปราสาทศิลาที่พิมาย ว่าลายเปนรูปพระกันเทวรูปปนกันยุ่งอย่างมิรู้ ข้าพระพุทธเจ้าก็ตกใจทีเดียว ด้วยมาสำคัญอยู่แต่ก่อนว่าปราสาทเขมรเหล่านั้นเปนเทวสถาน เขาว่ากันว่าเป็นวัดไม่ลงใจเชื่อ คิดเสียว่าเปนวัดเพราะเขาเห็นรูปพระตั้งอยู่ในนั้น ซึ่งข้าพระพุทธเจ้าคิดด้วยเกล้าฯว่า เขาทำตั้งทีหลัง ด้วยปรารถนาจะแปลงเปนพุทธศาสน ก็เมื่อลายสลักเปนรูปพระปนซึ่งจะเปนสิ่งที่แก้ทีหลังไม่ได้ฉะนั้น  ก็จะคิดว่าเปนอื่นไม่ได้  นอกจากที่จะเปนเจดียสถานข้างมหาญาณ  ความตกใจอันนี้จึงเลยสืบถึงลายปราสาทนครวัดกรมหลวงดำรงรับสั่งว่า กลีบขนุนศิลาสลักรูปพุทธมารดาเหนี่ยวกิ่งรัง  ในวัดพระแก้วนั้นเปนกลีบขนุนที่พระนครวัด พระยาศรีนำมา ข้าพระพุทธเจ้าจึงเลยระลึกถึงรูปเก่าๆของเขมร มีเห็นบ่อยๆที่เปนรูปปรุปปนกัน มีพระนาคปรกอยู่กลางรูปพระอิศวรอยู่ข้างหนึ่ง รูปพระอุมาอยู่อีกข้างหนึ่ง จึงตกลงใจวย่า เปนอันแน่แล้ว ปราสาทเขมรทั้งหลาย  เปนสถานแห่งมหาญาณวิธีด้วย

          เห็นเปนอันแน่แล้ว ที่ใกล้ฝั่งทะเลทั้งสองฟากของประเทศนี้เคยเปนมหาญาณมาแต่ก่อน  จึงทำให้ระลึกถึงเมืองเหนือๆจะเปนอย่างไร ก็ระลึกได้แต่เพียงว่า ลพบุรี สุโขทัย มีปราสาทอย่างเขมร  แลมีรูปพระอย่างเขมรทำด้วยศิลาก็มี  หล่อก็มี แลที่กรุงเก่าเรานี่เองพระนั่งห้อยพระบาท  พระหัถทำตัวก็ยังมีที่วัดน่าพระเมรุดูเหมือนคำจาลึกว่า  นำมาจากในเมืองยังรูปพระสลักในแผ่นศิลาซึ่งติดไว้หลังฐานพระศรีสากยมุณี  จะมาด้วยกันฤาอย่างไรหาได้ทราบเกล้าฯไม่ แต่เปนมหาญาณเต็มตัว  พระทั้งนี้  จะทำขึ้นในเมืองเหล่านั้นเอง ฤานำมาแต่อื่นไม่มีหลักที่จะตัดสินได้แน่แลยังมีพระหล่อรุ่นหลังลงมาอีกที่รูปเปนไทยแล้ว แต่กิริยายืนจีบพระหัถก็มีอย่างมารวิไชยแต่หงายพระหัถ ในวัดพระเชตพนก็มี เปนพระเก็บมาแต่เหนือ  น่าสงสัยอยู่ถ้าคนชั้นนั้นไม่รู้ทางมหาญาณแล้ว จะมีรูปพระกิริยาอย่างมหาญาณอย่างไรได้ เมืองแถบเหนือนั้นถึงจะไม่ได้หลักฐานที่จะยืนยันว่าเปนมหาญาณได้แน่ก็ดี  แต่เมื่อมีสิ่งที่ก่อสร้างเอาอย่างเขมร ฤาเขมรได้เคยปกครองอยู่แลทำขึ้น

เพราะเหตุทั้งหลายเหล่านี้ ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดตกลงใจ ว่าเรานี้เดิมทีถือลัทธิหีนญาณภายหลังความที่คิดเห็นมาแต่ก่อนเปนผิดหมด เมื่อเปนเช่นนี้แล้ว ความจำเปนที่จะต้องรู้ทางมหาญาณก็มีขึ้นเพราะสิ่งก่อสร้างและรูปภาพทั้งหลายที่เก่าของเราอันจะจำอย่างมาทำบ้างนั้น เปนทางข้างมหาญาณอยู่ทั้งสิ้น  ถ้าไม่รู้ก็จะจำมาใช้ในที่ผิดๆ ถูกๆ จึงตั้งต้นที่จะศึกษา แต่เสียใจที่ไปถามใครซึ่งหมายว่าจะรู้จะบอกได้ด้วยได้เคยพุดอยู่แต่ก่อนเอาเข้าจริงบอกอะไรไม่ได้ทั้งนั้น เปนอันยังกำลังแสวงอยู่ที่จะหาผู้บอกเล่าให้เข้าใจ แม้ถึงไม่ได้มากก็แต่น้อย

          มาได้รับพระราชทานพระราชาธิบายในวันอาทิตย์ก่อนนั้น เปนอันสมประสงค์แห่งข้าพระพุทธเจ้ามีความยินดีเปนล้นเกล้าฯ เมื่อคิดข้อความตามพระราชาธิบายนั้น  ยิ่งเห็นเปนเหมาะเจาะกัที่คิดด้วยเกล้าวฯ ว่าทางศาสนาข้างมหาญาณได้แผ่ส้านมาก่อนหีนญาน  เพราะเห็ได้อยู่ที่ฟ้าเหียนออกไปเรียนศาสนาครั้งนั้น ที่มีอยู่พร้อมกันทั้งสองลัทธิ ฟาเหียนได้เลือกเรียนเอาลัทธิมหาญาณไป ไม่ต้องสงสัยเลยลัทธิมหาญาณเวลานั้น ต้องเปนอันกำลังเฟืองฟู มีคนนิยมมากที่สุด หีนญาณต้องเปนต่ำต้อยที่สุด  ในชื่อแห่งลัทธินั้นเองก็เห็นได้แล้วในตัว  คำที่ว่ามหาญาณนั้นมีความหมายเปนยกย่อง  คำว่าหีนญาณมีความหมายเปนปรามาท  เชื่อได้ว่าชื่อทั้งสองนี้เปนชื่อพวกมหาญาณบัญญัติขึ้น  แลมีคนเรียกตามทั่วไป  ก็เพราะเหตุว่า มีศิษย์ที่นับถือลัทธิตามมาก  เปนหลักที่ให้เห็นได้ว่า ลัทธิมหาญาณเวลาโน้น ชนะลัทธิหีนญาณ ย่อมแผ่อยู่ทั่วทิศ  ความคิดข้าพระพุทธเจ้ายังเลยไปอีกให้สงสัยว่าลัทธิมหาญาณเก่ากว่าหีนญาณ นำจะเป็นอย่างเดียวกับลัทธิโรมันคาโทลิก กับ ลัทธิโปรเตสตันในศาสนาคฤสต์ ข้างมหาญาณว่าเสียฟั่นเฝื่อหนักเข้า จึงเกิดมีอาจารย์ที่ตั้งลัทธิขึ้นใหม่  ด้วยค้นคว้าเลือกเอาแต่ที่ดีที่ถูก  ที่เปนสารมาปฏิบัติแลสั่งสอนประมูลลัทธิมหาญาณ  เพราะเหตุฉะนั้นจึงมีทางลัทธิมหาญาณปรากฏอยู่ทั่วไปก่อน  เพราะเปนทางปฏิบัติดี  แต่ไม่มีกำลังเปลี่ยนมหาญาณไปได้หมดเพราะใหม่  ถ้าจะว่าไปก็อย่างธรรมยุติกับมหานิกายเราทุกวันนี้เอง

          ตามที่กราบบังคมทูลพระกรุณามานี้ ข้าพระพุทธเจ้าก็ไม่เชื่อว่าเปนความเห็นที่ถูกต้อง  คงยังจะเปลี่ยนแปลงไปเสมอในเมื่อศึกษาได้ความต่อไปภายหน้า  ที่กราบบังคมทูลพระกรุณาโดยยึดยาวฉะนี้  ก็เพื่อจะให้ทราบฝ่ายละอองธุลีพระบาท  ว่าข้าพระพุทธเจ้าได้มีความเห็นคลั่งมาโดยลำดับเพียงใดเท่าใด

          ข้าพระพุทธเจ้าขอรับพระราชทานอนุศาสน์ในทางมหาญาณต่อไป ทั้งในพงษาวดาร และทางอธิบายในสิ่งทั้งปวงที่ประกอบในลัทธิ เช่น รูปสวาสติ แลรูปปลา รูปพระ ต่างๆ โพธิสัตว์ต่างๆ ทั้งทางปฏิบัติด้วยความควรแก่ที่จะพระราชทานอนุศาสน์ได้

ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

ข้าพระพุทธเจ้า

นริศ

ขอเดชะ

 

พระราชหัตถเลขา

พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก36 122

ถึงเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัตติวงศ์

          ได้รับหนังสือวานนี้แล้ว ความสันนิษฐานเรื่องสาสนามาอย่างไรฉันได้เรียงขึ้นไว้เป็นตัวหนังสือแล้วแต่ย่ออยู่ที่กรมขุนสมมต จะเรียกมาดู ถ้าควรจะเพิ่มเติมอันใดจะเพิ่มแล้วจะส่งไปให้ดู เรื่องนี้เปนพูดกับกรมสมมตเห็นจริงเห็นจังกันแล้ว จึงได้ไปพูดกับกรมหมื่นวชิรญาณเมื่อลูกไปบวชเณรหลายวันจนเห็นจริงกันแล้วว่าเดิมเราถือมหายานกรมหมื่นวชิรญาณรับจะค้นหนังสือสอบ เพราะหนังสือเรื่องมหายานท่านมีอยู่บ้างแปลส่งมาแล้วก็มี ฉันถวายไปให้เปนเครื่องประกอบก็มี

          เวลาหีนยานเข้ามาในประเทศแถบเรานี้ไม่ช้านานอันใดเลย คือคราวท่านมหาสามีสังฆราชก่อนอายุหนังสือชินกาลมาลินีสักร้อยปี ชั่วพอสาสนาตั้งมั่น  ท่านผู้นี้มาจากลังกา  มานครศรีธรรมชาช แล้วมาอยุธยาขึ้นไปสุโขทัย แล้วขึ้นไปนครลำพูน เชียงใหม่ แล้วกลับออกไปเมืองลังกา ดูเหมือนจะทางเมืองมอญ แล้วท่านองค์นั้นกลับเข้ามาเองฤาผู้อื่นที่เปนศิษย์เข้ามาอีกหนุนเนื่องกันมา แยกไปเมืองเขมรบ้าง ถ้าจะใคร่รุ้เรื่องท่านสามีสังฆราชนี้ ให้ดูคัมภีร์ชินกาลมาลินี พงศาวดารเชียงแสน เชียงใหม่ พงศาวดารหริภุญชัย หนังสือทั้งหลายเหล่านี้แต่งเปนภาษามคธก่อนทั้งหมด ศิษยท่านสามีสังฆราชเปนผู้แต่ง ยังมีที่จะตรวจได้อีกคำจารึกเสาศิลาสุโขทัยที่อยู่ในวัดพระแก้ว พระบาทกมรเดงอัดศรีสุริยพงศรามมหาธรรมราชาธิราช ทรงผนวชในสำนักสามีสังฆราชแต่ข้างพงศาวดารเชียงใหม่ เขาเยาะเย้ยว่าเมืองสุโขทัยนับถือไม่พอ ท่านสามีสังฆราชจึงได้ขึ้นไปเชียงใหม่  ท่านองค์นี้เอาพระธาตุมาเปนถุงๆเที่ยวได้บรรจุไว้เปนหลายแห่ง เจ้าแผ่นดินสุโขทัยองค์นี้ข้างฝรั่งเขาสอบสวนคำจารึกคะเนว่า จะเป็นลูกพระร่วงคือพระเจ้าแผ่นดินที่ 5 เวลาก็ตรงกันกับข้างเชียงใหม่ๆเวลาพระร่วงเขาตรงกับอาทิตยราชซึ่งขึ้นไปสร้างเมือง และคำจารึกที่วัดเชียงมั่นซึ่งจารึกภายหลังครั้งสมเด็จพระรามาธิบดีกรุงศรีอยุธยาไปตีได้ ก็กล่าวท้าวถึงความต้นว่าวัดนั้นพระเจ้าอาทิตย์ราชและพระร่วงพร้อมกันสร้าง เพราะฉะนั้นศรีสุริยพงศนี้ทีหลังน่าจะเนเจ้าแผ่นดินที่ 6 ต่อแต่ศรีสุริยพงศเสียสุโขทัยแก่กรุงศรีอยุธยา

          ประมาณเวลาที่ท่านสามีสังฆราชเข้ามาไม่มากกว่า 800 ปีนักอย่างยิ่งก็ 1000 ปี ในหนังสือที่กล่าวกันต่างๆกัน แปลว่าเราเข้ารีตเปนหีนยานมาได้เท่านั้น เวลานั้นนครชัยศรีหมดแล้ว แต่เพ็ชรบุรี นครศรีธรรมราชมีเจ้า ได้อยู่จนถึงตกอยู่ในอำนาจพระรามาธิบดีกรุงศรีอยุธยากล่าวไว้ในคำจารึกวัดเชียงมั่น

          ข้อซึ่งเธอคิดเห็นว่าหีนยานจะเกิดขึ้นใหม่อย่างธรรมยุตินั้นเดาผิดเรื่องของญี่ปุ่นเขาเอง ตั้งแต่ปฐมสังคายนามาเปนสังคายนาของพวกหีนยาน แล้วจึงตั้งโรงเรียนเปน 8 ฤา 16 ตำบลจำไม่สนัด  มาจนถึงทุติยสังคายนาพวกโรงเรียนเหล่านั้นต่างคนต่างถือลัทธิแผกกันไป  จึงได้เกิดสังคายนาครั้งที่ 2 ขึ้น ในครั้งนั้นฤาใกล้ๆกับราวนั้น พวกที่แพ้จึงไปพบพระไตรปิฎกจารึกไว้ในถ้ำ เกิดสอนลัทธิใหม่ขึ้นเปนมหายาน พวกเก่าเปนหีนยาน  เพราะเหตุว่าพวกมหายานได้ปรูฟคัมภีร์ที่เขียนไว้ในถ้ำ แต่เมื่อพุทธปรินิพพานใหม่ๆมีตัวหนังสือเป็นหลัก

          ถ้าเทียบดูเวลาก็จะถึงพระเจ้าศรีธรรมาโศกพอดีกัน จึงสอบกับหนังสือเรื่องปาตลีบุตร เขากล่าวว่าเมื่อเวลาพระเจ้าศรีธรรมาโศกเปนเจ้าแผ่นดินนั้น พุทธสาสนาไม่เปนสาสนาที่สอนคนทีเดียว เพราะไม่มีผู้ใดถือนอกจากภิกษุประมาณสัง 5-6/ร้อย ซึ่งกระจัดกระจายกันอยู่ในที่ต่างๆ มีอุปคุปตเปนหัวหน้าฤาเปนผู้ใหญ่กว่าเพื่อน

          เมื่อพระเจ้าศรีธรรมาโศกเปนเจ้าแผ่นดินนั้นแรกอยู่ราชคฤห์ ต่อไปเที่ยวปราบปรามเมืองได้หมดแล้ว  จึงยกไปอยู่ปาตลิคามยกขึ้นเปนปาตลิบุตรต้องด้วยพุทธทำนาย

          ข้างฝ่ายหีนยานกล่าวถึงพระเจ้าอโศกเข้ารีตอย่างไร เธอคงจะได้อ่านแล้ว แต่ข้างฝ่ายมหายานเขากล่าวว่าอโศกดุร้ายนัก วันหนึ่งขับรถไปพบบ่อแห่งหนึ่ง จึงถามเสนาว่านั่นอะไร เสนาทูลว่านรกในยามะ พระเจ้าอโศกจึงถามว่าใครเป็นนาย บอกว่ายามราชะ พระเจ้าอโศกว่าแต่อมนุษย์ยังมีนรกได้ ทำไมเราจึงจะมีได้บ้าง อำมาตย์ทูลว่าการสิ่งนั้นเป็นบาป พระองค์จะหานิริยบาลไม่ได้ พระเจ้าอโศกจึงให้ป่าวร้องว่าใครจะรับเปนบ้าง ในขณะนั้นมีคนหน้าเขียวตัวเหลืองมือเท้าเปนขอ ถ้านกบินมาก็เอามือเกี่ยวตวัดไว้ เอาเท้าลงไปส่ายในน้ำเกี่ยวปลามากิน มารับอาษา อโศกจึงสั่งให้ต่อกำแพงขึ้นสี่ด้าน ทำประตูให้มั่นคง ในนั้นให้ขุดสระปลูกต้นไม้ดอกไม้ผลไว้ ถ้าผู้ใดล่วงเข้าในเขตต์ประตู ให้นายนิริยบาลผู้นั้นทำทารกรรมเช่นนรกที่แลเห็น ถึงพระองค์เองล่วงเข้าไปในนั้นก็อย่าให้เว้น

          ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง มีภิกษุไปเที่ยวบิรฑบาตรเห็นต้นไม้ร่มรื่นหมายจะเข้าไปฉันเพน  พอล่วงประตูเข้าไป นายนิริยบาลก็จับจะทำทารกรรม ภิกษุนั้นผัดว่าขอฉันเพนเสียก่อนแล้วจึงทำ นายนิริยบาลก็ยอม เมื่อภิกษุกำลังฉันเพนอยู่นั้นมีผู้อื่นล่วงเข้าไป นายนิริยบาลจับลงในครกโขลกจนโลหิตนั้นฟูมขึ้นท่วมตัว ภิกษุได้เห็นก็เกิดสังเวชสำเร็จพระอรหันต์ในขณะฉันอยู่นั้น  ครั้นเมื่อฉันแล้ว นายนิริยบาลเรียกให้ไปยังปากขุมอันเต็มด้วยเพลิง ผลักให้ตกลงไปในไฟก็ดับ เกิดเปนดอกบัวรับภิกษุรูปนั้น ภิกษุก็นั่งแสดงธรรมแก่นายนิริยบาลๆเกิดเลื่อมใส จึงมาทูลอโศกๆไม่ยอมไป ด้วยกลัวว่านายนิริยบาลจะทำตามคำสั่งเดิม นายนิริยบาลก็ทูลยกคำปฏิณาฯนั้นเสีย แล้วนำเสด็จไปได้ฟังธรรมจากพระอรหันต์องค์นั้น เกิดความเลื่อมใส จึงให้ไปเที่ยวตามหาพระสงฆ์ได้อุปคุปตเปนต้นมา จึงสร้างกุกกฏารามให้อยู่ก่อน  นรกขุมนั้นที่เพลิงดับแล้ว ยังอยู่คุงเท่าบัดนี้ ลึกไม่มีอะไรโยนถึงหยั่งถืง  ครั้นมาภายหลังจนถึงเวลาพวกมหมาดันมาเปนเจ้า ขุนนางผู้ใหญ่มายังต้องไปเส้นสรวงทิ้งทรัพย์สมบัติลงไปในเหวนั้นเสมอทุกปี แต่มิใช่จะรู้เรื่องว่าเป็นนรกตามที่กล่าวในพุทธสาสนา เขาถือลัทธิตามสาสนาข้างฝ่ายเชนอีกส่วนหนึ่ง นรกนี้ตั้งอยู่มุมมหาเจดีย์ ซึ่งรวามพระธาตุ 7 ตำบลมาบรรจุข้างตะวันออกเฉียงใต้ เรื่องเมืองปาตลีบุตรนอกจากกล่าวถึงเรื่องพระมีในหนังสือราชทูตกรีก และจดหมายเหตุเปนภาณาภาษาสันสกฤตเขานำมาสอบต้องกันโดยมาก

          ในเวลาเมื่ออโศกเข้ารีตพุทธสาสนาครั้งนั้น มีสาสนาอื่นคือเชนเปนต้นกำลังจำเริญแพร่หลายอยู่ในประเทศเหล่านั้น อโศกก็ไม่ทำอะไรให้คงอยู่ตามเดิม คิดแต่ยกย่องพระพุทธสาสนาส่งภิกษุที่เหลืออยู่ 500-600นั้น ให้แยกกันออกไปสอนสาสนาทั่วพระราชอาณาเขตต์ มีคนบวชเปนอันมากทั่วทุกแห่ง แล้วให้ไปหาช่างกรีกที่อยู่เมืองมิตถิล(คือมิตถิลลา) ในมณฑลปัญจาปะซึ่งอโศกเคยไปเปนเจ้าเมืองเมื่อครั้งวินทุศาลผู้บิดาเป็นเจ้าแผ่นดิน เพราะเจ้าแผ่นดินกรีกได้ถอยไปตั้งอยู่ในโฮลิแลน คือเมืองพวกยรุซาเลมก่อนพระเยซูเกิด แต่ครั้งจันทรคุปตซึ่งเป็นพระราชบิดาวินทุศาลนั้น ให้ทำตัวอย่างและส่งไป ให้สร้างเจดีย์ในที่ต่างๆ หลายพันองค์ ในเมืองซึ่งได้ส่งพระไปให้สั่งสอนนั้น ครั้นเมื่อการที่จัดเช่นนี้สำเร็จแล้วจึงประกาศว่าพระพุทธสาสนาเปนสาสนาสำหรับชาติ เจ้าแผ่นดินต่อแต่อโศกมาคือกุนาลาราชบุตรถือพุทธสาสนา แล้วทศรฐ นัยหนึ่งเรียกว่าสัมประติ เปนราชนัดดาอโศก เดิมก็ถือพุทธสาสนาจนถึงสร้างพระในถ้ำและจารึกศิลาอักษรอย่างเดียวกันกับอโศก แต่ภายหลังกลับเข้ารีดเชนะ พุทธสาสนาก็เสื่อม

          ในที่นี้ควรจะเล่าถึงสาสนาเชนะซึ่งยังแพร่หลายอยู่มากในอินเดีย ที่ฉันได้ไปเห็นเองแก่ตา และสนทนาต่อผู้ที่ถือสาสนานั้น ชื่อว่าศิวประษาตร เปนครูโรงเรียนสันสกฤตของรัฐบาลอังกฤษ พูดอังกฤษได้ เขามาตีคอว่าเขาถือสาสนาเดียวกับเรา นำไปวัดๆนั้นลักษณเทวสถานยอดปรางค์มืดๆจุดตะเกียงดวงหนึ่ง มีพระพุทธรูปศิลาขาวหน้าตักศอกเศษนั่งอย่างมารวิชัย พระศกทาดำพระเนตรฝังพลอยฤากระจกอะไรวาวๆพอแลเห็นเข้าก็ตกลงจะไหว้ แต่เวลานั้นใจกำลังอินเป็นกำลัง เข้าไปมองดูว่าจะเปนอย่างไรบ้าง ไม่มีรอยห่มผ้าเกลี้ยงๆนึกเฉลียวใจขั้นมาพนมแต่มือคม แล้วกลับมาสนทนากันใหม่ เกณฑ์ให้แกสวดอิติปิโส เพราะอิติปิโสนี้ ไปได้เค้าจากเมืองพะม่าที่แวะก่อนจากฝรั่งที่เขามากำกับว่าพวกที่ถือพุทธสาสนาเขาสอบกันว่าจะถือถูกกันฤาไม่นั้น เขาให้สวดอิติปิโส ฝรั่งคนนั้นเคยเปนข้าหลวงอังกฤษไปอยู่กับเจ้าแผ่นดินพะม่า แกสอนให้สวดอิติปิโสเสียคล่องทีเดียว ครั้นตาวิศวาประษาตรสวดอิติปิโสมันยาวออกไปกว่าเราหลายวาเปนวิปัสสิกลายๆจึงได้ไล่เลียงต่อไป แกไกล่เกลี่ยว่าพวกแกนั้นเปนคนพุทธสาสนา แต่เจ้าแผ่นดินที่เป็นฮินดูไม่ชอบ จึงต้องไถลไปถือพระพุทธเจ้าที่ได้มาตรัสก่อนพระโคดม ออกชื่อถูกมาตั้งแต่กกุสันธะ เชนะนั้นอธิบายว่าชิน ลักษณที่บูชามีสั่นกระดิ่งแกว่งธูปอย่างพราหมณ์ แต่สิกขาอย่างอื่นไม่มีเวลาจะไล่เลียง ได้ความแต่ศีลห้าตรงกัน แกกลับอธิบายต่อไปว่า เสื้อที่สวมอยู่นั้น (คือเสื้ออย่างแขก) ก็เปนข้อบังคัยครั้งเจ้าแผ่นดินเปนมหมาดัน ผ้าที่นุ่งปล่อยชายโจงชาย ถ้าไปในราชสำนักก็นุ่งไม่ได้ ต้องนุ่งกางเกงมีเรื่องที่ไปเห็นเองเท่านี้

          ครั้นเมื่อได้อ่านหนังสือทั้งปวงเข้า ปรากฏว่าสาสนานี้มันมีมาเสียแต่ก่อนพระเจ้าอโศกยกย่องพุทธสาสนาแล้ว ในเวลปัจจุบันนี้ ที่ฝรั่งไปพบเมืองปาตลิบุตรนั้น ได้พบวัดเชนสร้างอยู่บนโคกที่เปนพระเจดีย์มีคำจารึก แต่เทียบดูกับคฤสตศักราชเปน 1791 เท่านั้น คนทั้งเมืองเดี๋ยวนี้ถือสาสนาเชน

          จึงคะเนเอาว่าพระสงฆ์ที่เปน 2 นิกายนั้น น่าจะเปนมาเสียช้านานนักหนาแล้ว มหายานคงจะหันเหียนเข้าหาเชน พวกหีนยานคงจะเสื่อมสูญหมดในอินเดียไม่ช้าเลย แต่เชื้อสายที่เข้ามาในเมืองเราทีหลังนั้นมาจากลังกา เพราะสาสนาไปถึงเมืองลังกาครั้งอโศกบำรุงพระสาสนาซึ่งชาวลังกาถือว่าพระมหินทรเถรซึ่งเปนโอรสพระเจ้าอโศกออกไป จึงไปสอบเรื่องพระมหินทรนี้ข้างมหายานจะกล่าวว่ากระไร เขากล่าวว่ามเหนทรเปนอนุชาพระเจ้าอโศกสำเร็จพระอรหันต์อยู่ในเขาครึธรกุฏ(คือคิชฌกุฏ) ชอบที่สงัด เจ้าแผ่นดินมีความนับถือนัก จึงอาราธนาให้ม่อยู่ในที่ใกล้ พระมเหนไม่อยากจะรับนิมนต์ด้วยเสียดายความสงัดแห่งเขานั้น เจ้าแผ่นดินจึงตั้งเครื่องยวงสรวงพวกอมนุษย์ และว่าเวลาพรุ่งนี้ขอเชิญให้มารับเครื่องสังเวย แต่จะไม่มีเสื่อปูให้นั่ง ขอให้เอาที่นั่งของตัวมาเอง ครั้นรุ่งขึ้นพวกผีทั้งปวง จึงเอาศิลาหน้าร่าห์เปนที่นั่งมาคนละแผ่น ครั้นเลี้ยงเสร็จแล้วเจ้าแผ่นดินจึงขอให้ช่วยก่อเขาเอาศิลา 5 แผ่นนั้นตั้งขั้นเปนถ้ำ ในถ้ำนั้นยาวประมาณ 30 คิวบิกเศษ กว้างประมาณ 20 คิวบิก สูง 10 คิวบิก ที่เขานี้อยู่เหนือพระราชวัง อยู่ใต้เมืองปาตลิบุตร เพราะพระราชวังอยู่นอกเมืองปาตลิบุตร ไม่มีเรื่องไปลังกา นอกจากที่ลังกาเล่า แต่สำนวนคนอังกฤษเขาเชื่อว่าจดหมายลังกาเปนความจริง  เพราะนางสังฆมิตตาลูกพระเจ้าอโศกที่ว่าไปลังกาถูกเรื่องกับที่กล่าวว่าบวช ถ้าหากว่าพระมหินทรได้ไปลังกาแต่ในเวลานั้นบางทีจะยังเป็นครูหีนยานได้เรื่องมหินทรที่กล่าวถึงถ้ำนี้ เอามาจากฟ้าเหียนเล่า เพราะประสงค์จะฟังคำพวกมหายานซึ่งเขาไม่อินเตอเรสในเมืองลังกา

          บัดนี้จะกล่าวถือเรื่องไถลของมหายานซึ่งฟ้าเหียนเล่าเรื่องมเหนทรว่าด้วมหายาน เปนได้ดังนี้ ว่า

          ในพระนครอันมีพราหมณ์ผู้ใหญ่คนหนึ่งชื่อ รถสวามี เปนอาจารย์ใหญฝ่ายมหายานเปนผู้บริสุทธิ์จากกิเลส มีปัญญามาก เข้าใจสารพัดอยู่แต่ลำพังตัวด้วยความบรุสุทธิ์ หามลทินมิได้ (ที่นี่มีฟุตโต๊ตว่านิ่งภาวนาอยู่)  พระเจ้าแผ่นดินเมืองนี้นับถือเคารพปฏิบัติดุจอาจารย์ถ้าเจ้าแผ่นดินจะเข้าไปสนทนาฤาจะไปนัสการ ก็ไม่อาจจะประทับเคียง ถ้าหากว่าด้วยความรักและความนับถือพระเจ้าแผ่นดินไปยึดมือของท่านพราหมณ์นั้น ถ้าปล่อยเมื่อใด ท่านก็หยิบน้ำมาเทล้างมือเสียทันที อายุท่านเห็นจะกว่า 50 ปี ทั่วพระราชอาณาเขตต์มีความนับถือท่าน โดยอาศัยท่านผู้นี้ผู้เดียว พระธรรมของพระพุทธเจ้าจึงได้รู้แพร่หลาย ผู้ซึ่งตามลัทธิอื่น ไม่เห็นอำนาจของตัวซึ่งจะทำอันตรายร่างการแห่งท่านมัง (ภาษาฝรั่งแปลว่านักบวชฤาษีโยคี) ผู้นี้ได้

          ฟาเหียนเล่าต่อไปว่า ที่ข้าโตเป (ในที่นี้เขาเรียกว่าเตาเวอ ภาษาฝรั่ง แต่คำโดเปนี้ ตาฟ้าเหียนแกเคยเรียกพระเจดีย์ก็เรียกมาจากสถูป) ของพระเจ้าอโศก ได้สร้างวัดมหายานใหญ่และงามมาก มีทั้งอารามหีนยานด้วย รวามด้วยกันทั้ง 2 ฝ่ายประมาณพระ 600-700 สิกขาบท และธรรมในใจกับทั้งจัดการเล่าเรียนของท่านทั้งสองพวกนี้สมควรจะชม

          ซามัน (ภาษาฝรั่งแปลว่า ผู้บำเพ็ญเพียรฤาสมณะ) ซึ่งมีคุณธรรมอย่างสูงทั่วทุกทิศ และนักเรียนผู้ไต่ถามซึ่งจะใคร่ทราบความจริงและต้นเหตุของความจริง ย่อมมายังอารามทั้ง 2 นี้ อนึ่งโสดในอารามนี้มีพราหมณ์เปนครูผู้หนึ่งมีนามปรากฏว่า มัญชุสรี ซึ้งซามัน ทั้งหลายผู้มีคุณธรรมอันใหญ่ยิ่งในพระราชอาณาเขตต์นี้ กับทั้งมหายานภิกษุย่อมนับถือแลดูท่าน (คือเปนที่พำนัก)

          หมดในเรื่องที่ว่าด้วยสาสนา ขอให้พิเคราะห์ดูว่ามันปนกันเลอะอย่างไรอยู่ ที่กล่าวนี้เปนเวลาซึ่งกำลังพร้อมมูลกันอยู่ในพระนครอันเดียว ถ้าหากว่าจะไปเกิดเลือกทางบริสุทธิ์ชำระเครื่องรึงรัง น่าจะไปชำระกันที่เมืองลังกา เมื่อสังคายนาชั้นหลัง ซึ่งเขายกย่องว่าเปนการสำคัญมาก คงจะได้เลือกฟั้นกันจริงๆไม่ใช่แต้มหัวตะอย่างสังคายนากรุงเทพฯ ส่วนสังคายนาในอินเดียนั้น เห็นจะไม่คงอยู่ได้เท่าใดเพราะใช้ท่องเอาด้วยปาก และด้วยเหตุนั้น จึงได้แพ้พวกมหายานอันได้คัมภีร์มาจากในถ้ำ ขอยุติไว้เพียงเท่านี้ทีหมดเวลา แต่เรื่องสวาสติกและเครื่องหมายอื่นๆยังไม่เห็น

 

พระราชหัตถเลขา

สวนดุสิต

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก 36 122

ถึง เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัตติวงศ์

          ด้วยฉันไม่สบายขอหยุด 1 วัน จึงได้เขียนอะไรต่ออะไรเหล่านี้ที่เปนเรื่องเบา ๆ ส่งมาให้

          มีที่บอกไปแต่ก่อนผิดเรื่องหนึ่ง  ด้วยศรัทธาที่ฟ้าเหียนและห้วนเจียงไปอินเดีย  หลงไปที่ลงามาใหม่นี้ถูกต้อง แต่เรื่องเครื่องหมายต่างๆ มีสวาสติกเปนต้น ไม่เคยเห็นอธิบายว่าหมายเช่นั้นด้วยเหตุผลอย่างไร เคยเห็นแต่เขาชี้ให้ดู

 

 

พระราชหัตถเลขา

สวนดุสิต

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก 36 122

ถึง เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัตติวงศ์

          ด้วยฉันไม่สบายขอหยุด 1 วัน จึงได้เขียนอะไรต่ออะไรเหล่านี้ที่เปนเรื่องเบา ๆ ส่งมาให้

          มีที่บอกไปแต่ก่อนผิดเรื่องหนึ่ง  ด้วยศรัทธาที่ฟ้าเหียนและห้วนเจียงไปอินเดีย  หลงไปที่ลงามาใหม่นี้ถูกต้อง แต่เรื่องเครื่องหมายต่างๆ มีสวาสติกเปนต้น ไม่เคยเห็นอธิบายว่าหมายเช่นั้นด้วยเหตุผลอย่างไร เคยเห็นแต่เขาชี้ให้ดู

 

ความสันนิษฐานเรื่องมหายานและหีนยาน

          ในการที่จะเรียบเรียงความเห็นเวลานี้ หาได้มีสมุดซึ่งคิดจะอ้างอยู่ในมือไม่ คือสมุดที่พรตญี่ปุ่นให้ ได้ถวายไปให้กรมหมื่นวชิรญาณสอบสวน  ชินกาลมาลินีและพงศาวดารเชียงใหม่ก้ไม่ได้ตระเตรียมมาหนังสือต่างๆ ไม่พร้อม เพราะเห็นว่าถึงจะเอามาให้พร้อมก็ไม่มีเวลาจะตรวจ  จึงคิดว่าเขียนแต่พอเปนเค้าตามความจำได้ก็จะพอเปนทางคิดเห็นอยู่แล้ว เมื่ออยากจะรู้ละเอียดจึงไปค้นสอบสวนหนังสือเหล่านั้นสำหรับผู้มีเวลาที่สามารถจะแต่งให้ละเอียดได้  ที่เขียนบัดนี้เป็นแต่นำให้นึก

          ข้อซึ่งจะพิจารณาว่ามหายานเปนอย่างเก่าฤาหีนยานเปนอย่างเก่าตามความเห็นที่เธอคะเนว่าหีนยานจะเป็นพวกข้างมีน้อย มหายานมีมาก  พวกหีนยานเห็นว่าพวกมหายานเลอะเทอะนักจึงได้ตัดรอนเสียเหมือนธรรมยุติกากับมหานิกาย

          ความ 2 ข้อนี้ได้เคยพิจารณาเห็นเช่นนั้นครั้งหนึ่งแล้ว แต่ครั้นเมื่อได้เห็นหนังสือที่พรตญี่ปุ่นแต่งว่าด้วยนิกาย  และคณะพรตในเมืองญี่ปุ่นกล่าวท้าวขึ้นไปถึงพุทธกาล  จึงได้สนทนากับกรมหมื่นวชิรญาณๆได้ค้นเรื่องตัวอย่างที่มีมาในบาลีประกอบ  จึงลงสันนิษฐานกันว่าข้อที่แบ่งเปนพวกเปนหมู่นี้  ได้มีมาเสียแต่พระพุทธเจ้ายังเสด็ยอยู่แล้ว

          ข้อซึ่งว่าหีนยานและมหายาน  ข้างไหนจะเก่าข้างไหนจะใหม่  ได้วินิจฉัยจากหนังสือพรตญี่ปุ่นซึ่งเปนตัวมหายานเอง  กล่าวว่าหีนยานเคยเป็นหมู่ใหญ่  มหายานรุ่งเรืองต่อภายหลังดังจะกล่าวต่อไปข้างหน้านี้

          ในบาลีมีพระพุทธเจ้ายกเอตทัคคฐานพระเถรรูปหนึ่ง  ว่าฉลาดในการจัดเสนาสนสงฆ์ให้อยู่เปนหมู่เปนเหล่าตามความประพฤติของภิกษุพวกนั้นๆ ในเรื่องราวของท่านผู้ฉลาดในการแบ่งปันนี้ คือปันเป็น 6 พวก  มีพวกที่ทรงวินัยเคร่งครัดเปนต้น  ความพิสดารมีเคยแปลแล้ว  แต่จะหยิบไม่ได้ในเวลานี้  แต่พวกที่แบ่งกันในเวลานั้นไม่แรงถึงนุ่งกางเกงข้างหนึ่ง  นุ่งสบงข้างหนึ่ง  แยกกันเปนทำนองฝ่ายวิปัสสนาธุระ ฝ่ายคันถธุระในเวลานี้  แต่ความประพฤติของท่านพวกนั้นลางทีเอื้อเฟื้อแต่อย่างเดียว 2 อย่าง ไม่เอื้อเฟื้อต่อความปฏิบัติอย่างอื่น เหมือนหนึ่งว่าผู้ที่ประพฤติธุดงค์ มักจะเอื้อเฟื้อต่อวินัย  ประพฤติวินัยดี ฝ่ายข้างพวกที่เอื้อเฟื้อต่อพระสูตร คือฝ่ายคันถธุระไม่เอื้อเฟื้อต่อวินัย  ถือวินัยอย่างหละหลวมเช่นนี้มีมาแต่ก่อนแล้ว  ถ้าจะมาเทียบดูทีเปนอยู่ในเมืองไทย ปัจจุบันนี้ ก็คือตรงกับพระมหานิกาย เอื้อเฟื้อในทางพระสูตรและคันถธุระ ไม่สู้เอื้ฟเฟื้อในทางวินัย  มหานิกายเช่นนี้ไม่ใช่พึ่งเกิด  มีมาแต่ครั้งพระพุทธองค์ยังเสด็จอยู่แล้ว  พิเคราะห์ดูตามลาดเลาของหนังสือ  เสมือนหนึ่งจะเห็นได้ว่า  มหานิกายเดี๋ยวนี้ยังประพฤติกว่าภิกษุบางพวก  เมื่อครั้งพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่เสียอีก  เพราะอาณาจักรเข้าช่วยปกครอง  ข้างฝ่ายธรรมยุติกานั้นตกอยู่ในพวก 1 ใน 6 พวก ซึ่งประพฤติศึกษาในทางพระสูตรและพระวินัย นับว่าเสมอกันกับที่มีตัวอย่างมาแต่ครั้งพระพุทธเจ้ายังเสด็จอยู่ อีก 4 พวกนั้นของดไว้ไม่พรรณนา แต่ก็เปนอย่างนั้นบ้างอย่างนี้บ้างเจือปนกัน

          ข้อที่แยกหมู่กันแต่เดิมมาเปน 6 พวกเช่นนี้  ก็คงจะเกิดลัทธิอาจารย์ต่าง ๆ กันเปนต้นเหตุมีมาแล้ว

          ข้างฝ่ายหนังสือญี่ปุ่นที่เขากล่าวนั้น เขาจับเอาปฐมสังคายนาว่าพระสงฆ์ซึ่งทำสังคายนานั้น เปนหีนยาน เมื่อเสร็จการสังคายนาแล้วได้แยกตั้งเขาเรียกว่าโรงเรียนเปน 6  6โรงเรียนนั้นก็เปนหีนยาน เมื่อจะทำสังคายนาที่2 เกิดขึ้นด้วยโรงเรียนทั้ง 6 กล่าวต่างๆกันไป  จึงได้ประชุมสังคายนา  ซึ่งเรียกว่าเคาซิลเปนครั้งที่ 2 เพิ่มเติมที่เรียนขึ้นอีก  แต่เปนหีนยานทั้งสิ้น  ในระหว่างนี้จนถึงตติยสังคายนา  พระพุทธสาสนาร่วงโรยลงไปมาก  พระเจ้าอโศกประชุมพระสงฆ์บรรดาซึ่งจะหาได้ในอินเดียมาสอบสวน  ในเวลานั้นจึงรู้ว่ามีลัทธิต่างกันอยู่ แต่พระอุปคุปตแลโมคคัลลีบุตรติศเถร เปนหีนยาน เพราะฉะนั้นสังคายนาครั้งที่ 3 จึงเปนพวกหีนยานยังมีอำนาจ  ได้ตั้งโรงเรียนหลายโรงแต่พวกมหายานก็มีโรงเรียนเกิดขึ้น  เว้นแต่อำนาจยังน้อยกว่าพวกหีนยาน

          จะเปนก่อนสังคายนาที่ 3 ฤาสังคายนาที่ 3 แล้วจำไม่สนัด พวกมหายานไปพบคัมภีร์พุทธวจน  เขียนบรรจุไว้ในถ้ำ ได้ธรรมอันลึกลับซึ่งพระเถรเจ้าแจ่ก่อนได้ฟังจากพระพุทธเจ้าแล้วจารึกๆว้เปนหลักฐานจึงนำมาสั่งสอน  แต่นั้นฝ่ายมหายานก็รุ่งเรืองขึ้น  ฝ่ายหีนยานซึ่งสั่งสอนกันแต่ด้วยวาจาความรู้เสื่อมทรามลงไปทุกที  ไม่เหมือนพระเถรเจ้าซึ่งเป็นอรหันต์  ยังคงมีอยู่แต่ก่อนนั้น

          ข้อซึ่งต่างกันในระหว่างหีนยานและมหายานนั้น เขายอมรับว่าเปนพุทธวจนด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย แต่แบ่งเปน 2 กาล คือตั้งแต่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว ได้สั่งสอนเวไนยสัตว์โดยพระวินัยและพระสูตรเป็นพื้น  จนตกมาถึงเมื่อขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาบนดาวดึงส์แล้วได้สั่งสอนเวไนยสัตว์ด้วยอภิธรรมมากกว่าพระสูตร  เขาตั้งรายปีลงว่า ปีที่หนึ่งเทศนาสูตรนั้นๆ ที่ 2 สูตรนั้นๆ จนปีที่ 45 พระสูตรตอนข้างต้นเราฟังรู้จักบ้าง แต่ตอนหลังๆลงมาชื่อสูตรนั้นยาวๆ ฟังไม่รู้ว่าไปข้าไหน  บัญชีนี้ยาวมากอ่านเหน็จเหนื่อยทีเดียว  แต่ไม่มีแก่นสารอะไรสำหรับความรู้เราเลย

          ต่อไปจึงบรรยายว่าคณะในเมืองญี่ปุ่น  ได้รับความรู้มาจากที่ไหนมีมาจากเมืองจีนโดยมาก จากธิเบตบ้าง  จากอินเดียบ้าง  จากโคเรียบ้าง  แล้วไปแยกกันออกด้วยเหตุผลต้นปลายอย่างไร  ซึ่งไม่เปนประโยชน์อันใดแก่เราจนหมดเล่ม

          คราวนี้เมื่ออ่านสอบดูกับรายงานชุดค้นของโบราณในเมืองปาตลีบุตร  อันอยู่ที่เมืองปัตนาในปัจจุบันนี้ ของ แอล เอ วัดเดล  ซึ่งเปนเลบเตอแนลเคอแนลในกองหมอทหารอินเดีย  ลงพิมพ์เมื่อคฤสตศักราช 1903 รัฐบาลอินเดียส่งมาให้ฉัน  ซึ่งเขาไม่ได้จงใจจะกล่าวเรื่องพุทธสาสนา  แต่หากเมืองปาตลีบุตรเปนเมืองสำคัญในพุทธสาสนาเขาจึงเก็บเรื่องราวบรรดาซึ่งกล่าวถึงเมืองที่มีอยู่ในบทกลอนและนิทานในประเทศอินเดียนั้นเอง  และจดหมายเหตุของทูตกรีกและพรตจีนซึ่งได้ไปถึงเมืองปาตลีบุตร  ในเวลาพระเจ้าอโศกกำลังมีอำนาจ  และที่ร่วงโรยต่อ ๆ กันมาเปนลำดับ  เอาถ้อยคำของผู้ที่ไปเห็นนั้นสอบสวนกันสำหรับที่จะขุดค้นให้ถูกเบาะแส  แต่คำที่เขาเก็บรวบรวมมานี้ อยู่ข้าจะเปนประโยชน์แก่ความอยากรู้ของเรา  แต่ข้างเขาก็ร้องว่าเต็มค้นอยู่เหมือนกัน  เพราะหนังสือเก่าๆ มักแต่งเปนเรื่องเฟเบอลคล้ายรามเกียรติ์เสียมาก  ที่อาศัยเปนหลักฐานได้จากหนังสือกรีกเปอเซียนจีนพอเปนหลักหลาย  ประกอบกับคำจารึกศิลาและเงินตรากับสิ่งอื่นๆซึ่งขุดได้  จับเอาหนังสือท่อนเล็กท่อนน้อยเหล่านี้ผสมกันเข้า  ที่ขาดอยู่ก็เอาเรื่องราวที่มีในจดหมายอินเดียคงไว้  ผสมเข้าพอเปนเรื่องได้ว่า

          เมืองซึ่งพวกกรีกเรียกว่าปาลิบุธร  คือปาตลิบุตร  แปลว่าเมืองดอกไม้ซึ่งมีกลิ่นหอม  เปนเมืองสำคัญในเรื่องพงศาวดารข้างฝ่ายตะวันออก ถือว่าไม่เปนเมืองลึกซึ้งในพวกพงศาวดารอินเดีย  แต่เปนเมืองที่ราชวงศ์อันหนึ่งมีอำนาจใหญ่  เปนหลักคือแลนมารกของอินเดีย

          เมืองนี้เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จซึ่งมีปรากฏในบาลี  และหนังสือต่างๆ เมื่อก่อนคฤสตศักราช 400-500ปี ยังเปนหมู่บ้านเล็กชื่อปาตลีคามฝั่งใต้แห่งแม่น้ำแคนเยส แต่เรียกตามเสียงฝรั่ง  ความตั้งใจเขียนเห็นจะเขียนคังเคส์ คือคงคา พระจ้าแผ่นดินราชคฤห์  เดี๋ยวนี้เรียกราชเคีย  พระเจ้าอชาตศัตรูโอรสพระเจ้าพิมพิสาร  ซึ่งเปนพระเจ้าแผ่นดินก่อนพุทธปรินิพพาน 8 ปี  ได้ตั้งเปนเมืองด่านไว้สำหรับเปนที่ข้ามพลไปปราบเมืองริปับลิกเล็กน้อยซึ่งอยู่อีกคนละฟาก

          แต่เมืองนั้นตั้งอยู่ในที่ท่าค้าอันสำคัญ  เพราะได้ตั้งอยู่ที่แม่น้ำร่วมฤาใกล้แม่น้ำร่วมของแม่น้ำทั้ง 5 ในกลางประเทศอินเดีย  เมื่อฟ้าเหียนไปว่าอยู่ใต้แม่น้ำร่วมประมาณโยชน์หนึ่งฤา 7 ไมล์  แม่น้ำทั้ง 5 นั้น คือ แคนเยส1โคดรา1 ราบติ1 คันดั๊ก1 โสน1 เพราะฉะนั้น เรือที่จะไปมาจำต้องฝ่ายจึงได้เจริญเปนเมืองใหญ่ขึ้นเร็วนัก  ต้องด้วยพระพุทธทำนาย

          ตั้งแต่พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปที่นั้นแล้ว เพียงชั่วอายุเดียวพระเจ้าอุทายินฤาอุทยสวะฤาอุทธัยน ซึ่งเป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าอชาตศัตรูได้ย้ายจากเมืองราชคฤห์ซึ่งอยู่ข้างตะวันออก  ซึ่งเปนแผ่นดินสูงประกอบไปด้วยภูมิประเทศเปนเขา ที่พวกอารยันคือพวกกรีกมักมารบกวนนั้นลงมาตั้งอยู่ในที่นี้  ครั้งเมือปราบข้างฝ่ายเหนือได้แล้วจึงได้ยกขึ้นไปเปนพระราชธานีนครหลวง ชื่อปาตลิบุตร

          ในขณะนั้นประมาณ 300 ปีฤา 302 ปีก่อนคฤสตศักราช พระเจ้าแผ่นดินเวลานั้น ทรงพระนามจันทรคุปต แต่พวกกรีกเรียกว่าสันทรากุตโต ได้เปนทางพระราชไมตรีกับอาเลกซานเดอดิเกรต  จนถึงได้เปนเกี่ยวดองอันสนิท อาเลาซานเดอดิเกรตนั้นอยู่ปันชาบ (ปัญจาลฤาอุตรปัญจา) เมื่อมาตีเมืองอินเดียข้างเหนือก่อนคฤสตศักราช 326 ปี ตามเรื่องราวที่ชาวมาเซโดเนียได้เขียนเปนพงศาวดารไว้ว่าเจ้าองค์นี้ (คือ จันทรคุปต เปนชาติต่ำ แต่ได้เปนเจ้าขึ้นโดยอำนาจเทพดาทั้งหลาย เมื่อได้ทำความผิดต่ออาเลกซานเดอโดยกล่าววาจาหยาบ อาเลกซานเดอ  ให้เอาไปประหารชีวิตเสีย  แต่หนีรอดจึงควบคุมพวกกองผู้ร้ายหลายพวกเข้าเปนกำลัง และยั่วใจพวกชาวอินเดียให้ความมานะชิงอำนาจคืน  ในการที่ได้ต่อรบกับแม่ทัพนายกองของอาเลกซานเดอ จันทรคุปตมีชื่อเสียง  ปรากฏว่าเปนขุนคชสารใหญ่ซึ่งมีกำลัง เมื่อได้อำนาจเช่นนั้นแล้วสัตดรกุตโต  จึงได้เปนเจ้าแผ่นดินพร้อมกันกับเซลิวโกซึ่งเปนราชโอรสของอาเลกซานเดอ  แต่ผู้จดหมายข้างกรีกอีกคนหนึ่งเขียนชื่อว่าสันดรคุปตัส  อีกผู้หนึ่งเขียนว่าอันดโรกุตโต  แต่หมายความว่าจันทรคุปตคนเดียวกัน  เรื่องราวฝ่ายข้างพุทธสาสนากล่าวว่าชาติเดิม  และวงศ์ตระกูลของจันทรคุปตเปนโมระฤมยุระซึ่งพวกคีมภีร์พราหมณ์เรียกว่าเมารยะ ตั้งอยู่ในเชิงเขาหิมมาลัยฝ่ายเหนือประเทศอินเดีย  อีกนัยหนึ่งกล่าวว่ามยุระราชาซึ่งได้สร้างพระสถูปเปนชาติสากยะอยู่ในเมืองที่ตั้งอยู่หว่างเขาโมรา  เรียกว่าบ้านสวาสต ผู้แต่งรายงานนี้ไปขุดได้รูปภาพต่างๆในพุทธสาสนามาไว้ในมิวเซียมอินเดียเปนอันมาก  และบรรดาสิ่งที่ขุดได้เหล่านั้นเกือบจะมีรูปโมระฤานกยูงเปนเครื่องหมายทั้งนั้น ตามเรื่องราวกรีกกล่าวว่าเซลิวโกสะนิกตอไปตีเมืองบาไบลอนแผ่อำนาจไปทางนั้น จันทรคุปตจึงได้ตีเอาอาณาเขตต์แผ่อำนาจในอินเดียแล้วตั้งตัวขึ้นเปนเจ้าแผ่นดิน ภายหลังได้รบกันกับเซลิวโก จนกลับลงเปนมิตรแล้วเปนญาติโดยแต่งงาน  ได้รับของตอบแทนจากจันทรคุปตเปนช้าง 500 เชือก เมื่อทำไมตรีข้างฝ่ายอินเดียแล้ว เซลิวโกจึงได้ไปรบแอนติโคนัตต่อไป

          ในเมื่อเปนไมตรีกันแล้วนั้นเซลิวโกจึงได้แต่งให้เมคัสติเนสเปนราชทูตมายังราชสำนักแห่งจันทรคุปตที่เมืองปาตลิบุตร เมคัสติเนสผู้นี้(ตายเมื่อก่อนคฤสตศักราช291ปี) กล่าวว่าเมืองปาตลิบุตรนี้ยาวประมาณสัก 9 ไมล์ล้อมด้วยกำแพงไม้ มีหอรบและประตูเปนอันมากและมีช่องสำหรับยิงธนูตลอดไป ข้างด้านหน้ามีคูสำหรับป้องกันและมีท่อน้ำเข้าออกในเมือง พลเมืองประมาณสีแสน ส่วนราชบริพารของพระเจ้าแผ่นดินหลายพันคน แต่เปนการประหลาดที่กล่าวถึงสาสนาของราษฎรในเวลานั้น  หาได้กล่าวถึงพุทธสาสนาไม่  ได้กล่าวถึงสารมเณียแต่งตัวด้วยเปลือกไม้ ก็ดูเปนทางข้างพราหมณ์ในรายงานนี้เขากล่าวว่าพระพุทธเจ้าพึ่งปรินิพพานราวร้อยปีเท่านั้น (ใกล้ข้างถูก) และเขาเห็นว่าถ้อยคำที่ใช้เรียกชื่อเสียงอันใดในจดหมายเหตุนั้น เปนสำเนียงสันสกฤตคือมีตัว  ร มาก จึงคเนว่าภาษาบาลีนั้นไม่ได้ใช้ คงจะเปนภาษาที่เกิดขึ้นภายหลัง  ทั้งที่มีคำกล่าวอีกฝ่ายหนึ่ง  ว่าพระพุทธเจ้าตรัสภาษาบาลีเสมอนั้น  ทางไมตรีในระหว่างกรีกกับเมืองปาตลิบุตรดูจะเปนที่สนิทสนมกันมาก  จึงมีจดหมายเหตุกล่าวว่าโอรสของจันทรคุปโต  อันทรงนามว่า อามิโดรจะเตสะ ฤา(อามิโตรฆาตะ) อีกนัยหนึ่งเรียกว่า อัลลิโตรจะเทศ (ซึ่งคงจะหมายความตามสันสกฤตว่าอมิตรฆาฏะ แปลว่าเปนผู้ฆ่าศัตรู) แลโสภคเสนัส (ถ้าหากว่าหมายว่าสุภาคเสน ก็คงจะเปนชื่อยศ) ได้ให้กำลังแก่กองทัพอันเตียวโชสซึ่งเปนราชโอรสของเซลิวโกส แลแอนติโกนัสติเกรตด้วยช้างเปนอันมาก  ในการทำศึกกับชาวเปอเซียน  และมีสำเนาพระราชสาสนของเจ้ากรุงปาตลิบุตรขอซื้อน้ำองุ่นหวานและมะเดื่อแห้งด้วย

          ส่วนบทกลอนที่มีอยู่ในอินเดีย  กล่าวถึงการกล้าหาญและกล่าวถึงความส่อเสียดในราชสำนัก  และในการศึกที่ได้รบพุ่งกันอยู่โดยรอบเมืองปาตลิบุตร  เปนเรื่องที่เล่นละครกันอยู่ในเมืองอินเดีย ซึ่งแต่งขึ้นโดยคนอายุชั้นกลาง ดูเหมือนหนึ่งว่ามีที่ตั้งจากหนังสือโบราณที่ได้เล่าเรื่องราวเปนพงศาวดารมีหลักฐาน  แต่หนังสือนั้นจะสูญหายไปเสียแล้ว

          คงอยู่แต่เรื่องราวเมื่อได้เปนพระนครหลวงอันสมบูรณ์สนุกสนานของอโศก  ซึ่งปรากฏพระเกียรติยศเปนผู้กล้าหาญใหญ่  ในเมื่อประมาณ250ปีก่อนคฤสตศักราช (ข้างลังกาว่าพระเจ้าอโศกได้ทำตติยสังคายนา เมื่อพุทธสาสนากาลล่วงได้ 213 ปี อยู่ข้างใกล้กันมาก) เปนพระราชนัดดาของจันทรคุปต เปนเรื่องที่รู้ปรากฏกว้างขวางมากอโศกนี้เปนเอมเปรอใหญ่ยิ่งกว่าเอมเปรอทั้งหลายซึ่งได้มีมาในอินเดียเปนคอนสแตนไตน์ของพุทธสาสนา เกือบจะกล่าวได้ว่าเปนผู้ตั้งสาสนาพระพุทธขึ้นเปนสาสนา  คือหมายความว่าเปนสาสนาของราษฎรเพราะเหตุว่าก่อนแต่รัชชกาลของท่านมีแต่ภิกขุหมู่ละเล็กละน้อย แยกย้ายกันอยู่เปนพวกๆมีจำนวนน้อยทีเดียว เพราะเมื่อก่อนคฤสตศักราช 300 ปี พวกกรีกที่เขียนพงศาวดารจึงไม่ได้กล่าวถึงเลย ครั้นเมื่ออโศกได้เข้าถือสาสนานั้น  เมื่อตอนปลายจึงได้ยกขึ้นเปนสาสนาสำหรับแผ่นดินด้วย  เปนสาสนาซึ่งมีความมุ่งหมายมากแต่บังคับกดขี่น้อยเพราะเปนเหตุฉะนั้น  จึงได้ถือแพร่หลายในหมู่ราษฎรทั้งปวงทั่วไปทั้งเจ้าแผ่นดินได้ตั้งความพยายามเพาะปลูกโดยแต่งมิศชันนารีแยกย้ายกันไปสั่งสอน  จนถึงนอกพระราชอาณาเขตต์ เธอเปนผู้มีราชศรัทธาเหลือเกิน  ที่โลกนี้พึ่งได้เคยเห็น  เธอได้ปกคลุมพระราชอาณาเขตต์อันใหญ่  ตั้งแต่อาฟคานิสตาน จนถึงไมซอ  ตั้งแต่เนปาล จนถึงกุชราช  ด้วยเจดียฐานและการก่อนสร่างสำหรับพุทธสาสนาอันมีขนาดล้วนใหญ่ๆไม่ได้คิดถึงพระราชทรัพย์เลย  โดยที่พระองค์เปนพระราชาธิราชแท้  และมีนิสสัยในการช่างจึงได้ทำการก่อสร้างทั้งปวงออกจากวิธีกรีกและออไซเรียนเปนที่ตั้งไม่ตรงก็ยักเยื้องเสียบ้าง  เพราะฉะนั้นเจดียฐานซึ่งเธอได้สร้างไว้  จึงเปนสิ่งที่ล้วนแต่มีสง่างดงามทั่วทุกแห่ง  พระสถูปฤาจอมดินซึ่งเธอได้สร้างด้วยอิฐเปนแท่งทึบ  บรรจุพระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าฤาเปนที่หมายตำบลอันเปนเจดียสถานย่อมพบเห็นทั่วไปตลอดประเทศอินเดีย  และเกือบจะเหมือนบิริบิตในเมืองอิยิปต์โดยขนาด  เสาศิลาจารึกใหญ่ซึ่งเปนแท่งเดียวราว 30 ฤา 40 ฟิตขัดและสลักเกลี้ยงเกลา ยังปรากฏเปนที่พิศวงควรชมของผู้ซึ่งได้เห็น  เพราะฉะนั้นพระนครของเจ้าแผ่นดินองค์นี้จะงดงามสักเพียงใดศิลาจารึกที่เราได้พบเห็น  และได้อ่านทราบความว่าได้เปนไมตรีกับเจ้าแผ่นดินกรีกหลายองค์  แอนเตียวซัสที่ 2 เจ้าแผ่นดินเมืองไซเรีย โปเลมีเจ้าแผ่นดินอียิปต์อันติโคโนส  โคนาตัดเจ้าแผ่นดินมาเซดอนมาคัสเจ้าแผ่นดินไซเรเน  แลอาเลกซานเดอ เจ้าแผ่นดินเอเปรัส  เพราะฉะนั้น จึงทำให้คิดเห็นว่าเสาศิลาจารึกในพระนครหลวงของท่าน เอง ซึ่งได้ความว่ายังอยู่มีผู้ได้เห็น  เมื่อคฤสตศักราชล่วงได้ 2-300ปี จะสาปสูญไปเสียข้างไหนคงจะจมอยู่ในดิน  ในที่ร้างของเมืองปาตลิบุตรนี้เอง  (นี้เปนความปราร์ถนาของผู้ยื่นรายงาน  ตั้งใจจะค้นหาให้พบจงได้)

          การปลูกสร้างก่อนสมัยแห่งพระเจ้าแผ่นดินองค์นี้  และทั้งกำแพงพระนครเห็นเปนทำด้วยไม้เหมือนเมืองพะม่า  และเมืองญี่ปุ่นทุกวันนี้การที่เปลี่ยนแปลงใช้ศิลาโดยรวดเร็ว ล้วนแต่เปนศิลาใหญ่ๆจึงเปนเหตุใหมาภายหลัง ซึ่งเปนเรื่องเกี่ยวด้วยยักษ์ ว่ามีอำนาจอาจจะให้ยักษ์ให้หาศิลามาส่งและก่อสร้างการเหล่านี่ (ขันอย่างหนึ่งในภาษาอังกฤษเขาใช้ว่าเยนต์ฤาเยนนี แต่แปลลงไว้ด้วยว่ายักษ์ เว้นแต่คนธรรมดาทุกวันนี้ในเมืองอินเดียเรียกกันว่ายักเฉยๆไม่มี ษ เหมือนเราเรียก) แต่ฝ่ายกรีกเขากล่าวว่าเฮอกุเลส คือเทวดาที่เขาถือว่ามีกำลังมากเช่นนิทานอีสปที่กล่าวถึงคนเข็นเกวียนมาหักลง  เรียกให้เฮอกุเลสช่วยเฮอกุเลสเยียมเมฆออกมาบอกว่าให้เอาบ่าดันเข้า นิทานนั้นเปนคำเปรียบ แต่ความจริงนั้นเฮอกุเลสเปนเทวดาองค์ 1 ที่เขานับถืออีกนัยหนึ่งจะเปนด้วยอโศกทำรูปยักษ์เปนเครื่องประดับ รูปยักษ์ทั้งสองนั้นเปนศิลาแท่งเดียวใหญ่มาก ขุดได้ที่เมืองปาตลิบุตร เดี๋ยวนี้ตั้งอยู่ในอินเดียมิวเซียมมีคำจาฤกปีที่สร้างภายหลังสร้างเสาศิลาหน่อยหนึ่งศิลาที่ทำนั้นอย่างเดียวกันกับที่ทำเสาและขัดเกลี้ยงเกลาเหมือนกัน

          ฝีมือช่างที่ทำการในครั้งนั้น มีแบบข้างตะวันตกเจือปนมากเปนคลาสซิกย่างแอดไซเรียนและกรีกเปนอันมาก  ทั้งฝีมือที่ทำนั้นดี ผู้ที่ต่างรายงานนี้ จึงคะเนว่าคงจะได้ใช้ช่างกรีกหรือไซเรียนทำด้วย  และหนังสือข้างพุทธสาสนากล่าวว่าอโศกได้ไปเปนเจ้ามืองตะศิลา (คือตักศิลา) ซึ่งเปนเมืองเก่าในแขวงปันชาปห่างจากแม่น้ำอินทสทางสามหลับ ในเมืองนั้นเปนเมืองที่อาเลกซานเดอได้ปกครองอยู่ก่อน มีช่างกรีกอยู่มาก

          แต่เมื่อก่อนจะถึงคฤสตศักราชเมืองปาตลิบุตรร้างสิ้นเชื้อวงศ์ของอโศก เมืองหลวงได้ย้ายไปอยู่ที่อื่น คงจะปนด้วยเหตุ 3 ประการ เช่นพระพุทธเจ้าทำนายไว้ คือไฟและน้ำกับทั้งศึกภายใน เมื่อสังเกตดูก็เห็นจริงว่าเมืองนี้ตั้งอยู่ในทางน้ำเซาะ  คงจะพังทางโน้นบ้างพังทางนี้บ้าง ทั้งน่าที่ไข้ห่าจะลงอย่างเช่นเมืองอื่นๆ ทั้งการศึกภายในเปนเหตุให้ศึกภายนอกมีมาทั้งข้างใต้

          ในระหว่าง 300 ปีที่ 3 ถึงที่ 5 ดูเหมือนยังมีเจ้าแผ่นดินผู้ปกครองเมืองปาตลิบุตร ที่นับถือและอุดหนุนพระพุทธสาสนาอยุ่  เชื้อวงศ์เจ้าแผ่นดินปาตลิบุตรชั้นหลังนี้ว่าเปนวงศ์พระจันทร  เพราะพวกอริยะนั้นเปนวงศ์พระอาทิตย์ ภายหลังจึงได้ย้ายเมืองหลวงจากปาตลิบุตรไปตั้งอยู่เมืองกะนันชเมื่อระหว่างคฤสตศักราชปีที่ 300 ถือ 500 พรตจีนชื่อฟ้าเหียนยังได้ไปพบว่าเปนเมืองใหญ่  มีสถานซึ่งอโสกได้สร้างไว้ยังเปนปกติดีอยู่  ได้กล่าวถึงด้วยความพิศวงในฝีมือสลักและฝีมือฝังลายกับทั้งภาพศิลาเปนอันมาก  และเวลานั้นยังเปนเมืองที่เล่าเรียนของพุทธสาสนา  มีพระอยู่ประมาณสัก 600-700 เขาได้อยู่เล่าเรียนในที่นั้นถึง 3 ปี เมื่อไปสืบพระพุทธสาสนาข้างอินเดียฝ่ายเหนือไม่พบแล้ว

          ต่อมาอีก 200 ปี เมืองปาตลิบุตรโทรมลงโดยเร็ว เมื่อพรตจีนชื่อห้วนเจียง ได้ไปถึงราวคฤสตศักราช 635 ปี พบเมืองนั้นและสิ่งที่ก่อสร้างทำลายโทรมเปนป่าไปแล้ว  แต่เขายังสังเกตได้ว่าวัดฮินดูและสถูปซึ่งทำลายอยู่นั้นถ้าจะนับก็ด้วยร้อยเปนอันมากที่ยังเป็นปกติดีมีอยู่ 2-3 แห่งเท่านั้น ครั้นเมื่อภายหลังมาพวกแขกมหมดันเข้ามาตีอินเดีย เมื่อคฤสตศักราช 1200 ปี ได้ตัดทอนเลิกพระพุทธสาสนาขาดไม่มีเหลือในประเทศอินเดีย แต่ชื่อและที่ตั้งเมืองปาตลิบุตรอยู่แห่งใดก็ไม่มีผู้ใดรู้ ครั้นเมื่อฝรั่งมาสืบหาขึ้นเมือ100 ปีที่ 18 ของคฤสตศักราช ผู้ที่เล่าเรียนรู้มากซึ่งเปนชาวอินเดีย ไม่มีผู้ใดรู้เลยว่าอยู่ที่ไหน  แต่นี้ไปเขากล่าวถึงเหตุผลซึ่งได้ค้นพบอย่างไร  อาศัยเหตุอย่างไรประกอบกันต่อไปตามลำดับ  ซึ่งไม่เข้าอยู่ในวงความพิจารณาซึ่งต้องการในเวลานี้

          เมื่อได้อ่านหนังสือ 2 เรื่อง เช่นกล่าวมาแล้วจึงเอามารวมกันพิเคราะห์เดาตามความเห็นซึ่งน่าจะเรียกว่าอนุมาน  เห็นว่าเมื่อครั้งพระพุทธเจ้ายังดำรงพระชนม์อยู่นั้น การปกครองพระสงฆ์เห็จะไม่เปนอย่างเดียวกันหมด  และไม่สู้จะกวดขันเหมือนสมภารครองพระอารามหลวงเดี๋ยวนี้  ถึงประพฤติรักษาวินัยก็จะเปนแต่ความพอใจของผู้ใดจะประพฤติเคร่งไม่เคร่ง  ทางที่จะทำความเพียรก็ต่างๆกันตามครูบาอาจารย์ที่เปนยอดของบรรพชา  แต่ทางซึ่งจะประพฤติอย่างจึงจะตรัสรู้จะไม่กวดขันนัก  เพราะเหตุฉะนั้นจึงได้ตรัสยกย่องพระเถระองค์นั้นเลิศด้วยทางนั้นองค์นี้เลิศด้วยทางนี้  ใครที่อยู่ในคณะท่านองค์ไหนที่เลิศทางใดก็คงพยายามกันไปตามทางอาจารย์ไม่สู้เอื้อเฟื้อต่อทางอื่นนัก ข้อนี้ยังมีพยานอีกว่าเมื่อพระพุทธเจ้าจวนจะปรินิพพาน  ยังได้อนุญาตไว้ว่าสิกขาวินัยอะไรควรจะคงไว้ก็ให้คงถ้าควรจะยกเสียก็ให้ยกเสีย  ควรจะเพิ่มขึ้นก็ให้พร้อมกันเพิ่มขึ้น  ข้อนี้ให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าถือเอาทางตรัสรู้เปนสำคัญ  ไม่ถือวัตตปฏิบัติเปนหลักฐาน  แต่หากท่านผู้ทีทำสังคายนาเห็นว่าคำสั่งของพระพุทธเจ้านี้กว้างนัก จึงประกาศห้ามกันเสียไม่ให้ผู้ใดแก้ไขข้อซึ่งต้องประชุมพระอรหันต์ทำสังคายนาในครั้งแรกได้ยกเหตุว่าวิกตด้วยถ้อยคำของสุภัททภิกษุ  กล่าวเมื่อได้ข่าวพุทธปรินิพพานเปนที่ตั้งคงจะประกอบด้วยคำสั่งของพระพุทธเจ้าที่เปิดทางกว้างนัก  อีกข้อหนึ่งแต่ที่เปนยอดสำคัญนั้น คือพระพุทธเจ้าเทศนาฤาสั่งสอนอันใดไม่ได้เขียนลงเปนลายลักษณอักษรและไม่ได้เทศน์ให้พระสงฆ์ฟังพร้อมๆกันทั้งหมด  พวกนี้รู้อย่างนั้น พวกนั้นรู้อย่างนี้ จึงนัดประชุมกันสังวัธยายความรู้ตามที่ผู้ใดได้ยินได้ฟังให้รู้เท่ากันทั้ง 500 องค์ ท่านทั้ง500 นี้ คงเปนหัวหน้าเจ้าคณะควบคุมศิษย์อยู่องค์ละมากๆ เมื่อได้ไประชุมสาธยายแลกความรู้กันให้รู้เท่าๆกันหมดแล้ว นำไปสั่งสอนสาวกก็คงจะเปนแบบเดียวกันได้หมด เพราะเหตุฉะนั้น ถึงว่าพระอานนท์เปนปุถุชน  ท่านพระอรหันต์เหล่านั้นยังต้องการนักด้วยพระอานนท์เปนผู้ได้ฟังมากแสดงให้เห็นว่าความรู้พระอรหันต์ทั้งปวงนั้นไม่เท่ากันแต่พระอานนท์ยังเปนปุถุชนพระอรหันต์เหล่านั้นยังรู้น้อยกว่า

          ข้อซึ่งหนังสือพรตญี่ปุ่นแต่งกล่าวว่าสังคายนาครั้งแรกและครั้งที่2 เปนพวกหีนยานทำทั้งนั้น คำที่ว่าเห็นจะเรียกแต่พอให้เข้าใจว่าเปนพระอย่างเก่า เห็นจะไม่หมายว่าท่านทั้ง500-700 องค์นี้มีญาณต่ำเพราะเขาได้กล่าวถึงอาจารย์ข้างฝ่ายมหายานของเขา ว่าเป็นศิษย์ของท่านผู้ที่สืบมาแต่ท่านเถระองค์นั้นๆ มีมหากัสสปเป็นต้นกี่ชั่วคนทุกๆอาจารย์

          สังคายนาครั้งแรกนี้พระอรหันต์ที่มาประชุมทั้ง 500 นั้น คงจะเปนผู้ซึ่งมีอายุมากไล่เลี่ยกับพระพุทธเจ้าโดยมาก  ไม่ช้านานก็เห็นจะไม่เหลืออยู่สักเท่าใด ตกลงเปนชั้นศิษย์ก็คงจะหลายชั้น จึงมีความเห็นแตกต่างกันขึ้น  ความเห็นที่ต่างแตกกันนี้  ก็คงจะเปนอยู่หลายปีและความเชื่อถือของคนทั้งปวงก็คงต่างแตกกัน  แต่เมื่อยังไม่มีเจ้าแผ่นดินองค์ใดนับถือพระพุทธสาสนาแซงแรงก็ยังไม่อาจจะหักล้างกันลงได้  เมื่อได้พระเจ้ากาฬาโศกเปนกำลังจึงได้ชำระตัดสินผิดชอบแล้วทำสังคายนาใหม่  สังคายนาครั้งที่ 2 นี้คงเปนลักษณเดียวกันกับครั้งแรก แปลกแต่จะกล่าวว่าได้ฟังมาจากอาจารย์ของตนๆ

          ในระยะ 100 ปีนี้เปนเวลาที่พวกกรีกเข้ามาตีอินเดีย พุทธสาสนาซึ่งจับโทรมมาตั้งแต่พระเจ้าอชาตศัตรูล่วงลับไปแล้ว  คงจะไม่แพร่หลายอันใดมากนักด้วยเปนเวลารบพุ่งกันในเมือง  ครั้งที่ 2 มาได้อาศัยกาฬาโศก วงศของกาฬาโศกไม่ยืนยาวไปได้เท่าไร มีศัตรูมาแต่ต่างประเทศคงโทรมอีก ศัตรูต่างประเทศครั้งนี้อยู่ข้างมีอำนาจมาก ครอบงำทั่วทั้งประเทศอินเดีย  พวกพระสงฆ์ทั้งปวงคงซ่อนเร้นอยู่เงียบๆ จนไม่ปรากฏเปนสาสนาสมดังที่เขากล่าวไว้ในรายงานปาตลิบุตร ถึงว่าวงศ์จันทรคุปตจะคือได้อินเดียแล้วก็ไม่ได้เปนผู้ที่นับถือพระพุทธสาสนาจนถึงปีที่ 10 ของรัชชกาลแห่งพระเจ้าอโศกผู้เปนราชนัดดาจันทรคุปต จึงได้นับถือพระพุทธสาสนา

          ตติยสังคายนา ซึ่งพระเจ้าอโศกเปนผู้อุปถัมภ์นั้น  ห่างกันกับทุติยสังคายนาถึงราว138 ปี การสังคายนาครั้งนี้นับวง่าเปนการรวมรวมธรรมที่หายหกตกหล่น  ดูเป็นส่วนข้างฝ่ายพระเจ้าอโศกอยากทำเองมากกว่าที่พระสงฆ์จะขวนขวาย ข้างลังกาว่ามีพระโมคคัลลีบุตรดิศเถร อีกองค์หนึ่งนอกจากพระอุปคุปต  แต่ข้างฝ่ายมหายานไม่กล่าวถึงออกชื่อแต่อุปคุปตจนผู้ที่แต่งรายงานปาตลิบุตรเขากล่าวว่าพวกอาจารย์ฝรั่งเขาคิดเห็นไปว่าอุปคุปตและดิศโศเปนองค์เดียวกัน เพราะในเสาศิลาจารึกก็กล่าวถึงแต่พระอุปคุปต (เขาคัดคำเทียบไว้แต่ดูยังเปนเดาหลวมๆอยู่ไม่ต้องการ จะเอามากล่าวถึงก็กล่าวถึง

          ข้อซึ่งพวกมหายานไม่กล่าวชัดว่าผู้ซึ่งทำสังคายนาครั้งที่ 3 นี้เปนมหายานฤาหีนยานบางทีเขาจะหมายเอาความเกิดของมหายานว่าเกิดที่เมืองปาตลิบุตรในคราวเดียวกัน เมื่อกล่าวถึงพระมหินทรเถรเขากล่าวต่างไปว่าเปนน้องพระเจ้าอโศกเรียกว่ามเหนทร  จนพระเจ้าอโศกให้ยักษ์สร้างถ้ำให้อยู่ในระหว่างพระราชวังกับเมืองปาตลิบุตรก็ไม่กล่าวถึงว่าเปนฝ่ายมหายานฤาหีนยาน และตามที่กล่าวนั้นบวชอยู่ในเมืองราชคฤห์แล้วไม่ได้มาบวชในเมืองปาตลิบุตร  และเมื่อมาอยู่เมืองปาตลิบุตรก็อยู่ลำพังไกลกันกับเขาที่สร้างขึ้นให้ท่านอุปคุปตอยู่มากถ้าหากว่าเชื่อพวกลังกาว่าพระมหินทรได้ออกไปลังกาเปนแน่  ซึ่งฝรั่งเขาก็ออกจะเชื่อ ๆเพราะไปค้นพบชื่อสังฆมิตตาบวชและออกไปลังกากับมเหนทร ถ้าเช่นนั้นได้ออกไปในปีที่17 แห่งราชสมบัติของอโศกตามเรื่องลังกาว่าได้ไปทำสังคายนาในเมืองลังกา  เปนจตุตถสังคายนา ตามเสียงชาวลังกานับ  แต่ที่แท้เปนการทำคนละแห่งห่างกันเพียง 20 ปี แปลว่าเหมือนเอาสำเนาในอินเดียออกไปประกาศที่เมืองลังกา เพราะเหตุฉะนั้นจะถือว่าพระมหินทรเถรเป็นมหายานไม่ได้  ถ้าจะถือว่าเป็นครูของหีนยานจะชอบกลกว่า

          ในระยะนี้เกือบ 200 ปี ไม่มีสังคายนาเปนเวลาที่พระเจ้าอโศกล่วงลับไป โอรสของพระเจ้าอโศกยังคงถือพุทธสาสนา แต่ราชนัดดาปรากฏว่ากลับไปถือเชนะ เข้าใจว่ามหายานคงจะเกิดในระยะ 2 แผ่นดินนี้เอง พวกหีนยาน ผู้รู้จะน้อยเข้า  พวกมหายานจะเกิดผู้มีสติปัญญาและความรู้  ทั้งจะมีท่านพวกพราหมณ์ที่เปนอาจารย์ผู้หลักผู้ใหญ่สันทัดในทางนั่งกรรมฐาน เปนที่นับถือของพระไปร่ำเรียน จึงเกิดเขียนคัมภีร์สาสนาขึ้นใหม่  ฤาสาสนาพระพุทธแต่เดิมจะออกพราหมณ์ๆอยู่มากกว่าที่พวกหีนยานถืออยู่เดี๋ยวนี้ แต่ครั้งเมื่อนานๆมาความรู้ทางฝ่ายหีนยานจะเสื่อมลงเลยแพ้มหายาน  แต่ยังไม่สูญสิ้นเชื้อ จนฟาเหียนซึ่งออกไปเมื่อพระพุทธศักราชล่าวได้ 800-900 ปีก็ยังมีอยู่

          ข้อที่ทำจตุตถสังคายนาเมื่อพระพุทธสาสนาล่วงได้ 433 ปี และเขียนเปนหนังสือจารึกลงในใบลานนี้ คงจะเป็นด้วยท่านพวกพระในอินเดีย นำคัมภีร์มหายานออกไปเมืองลังกา จึงเกิดเปนปากเสียงเถียงกันขึ้น พวกลังกาจึงได้ทำสังคายนาและเขียนลงในใบลานเป็นภาษาลังกา เพราะจะเถียงกันกับพวกมหายานปากเปล่าเปนการเสียเปรียบความคิดที่เขียนหนังสือนั้นเปนความคิดได้จากพวกมหายาน

          แต่นี้ทอดไปอีก 500 ปี จนถึงพุทธสาสนาล่วงได้ 956 ปี พระพุทธโกษาจึงออกไปแปลภาษาลังกาลงเปนภาษามคธเขียนขึ้นใหม่ การที่แปลกลับเปนภาษามคธเสียนี้  ก็บอกเหตุผลชัดว่าเปนภาษาลังกาอยู่แต่เพิ่มเติมง่าย  พวกลังกาคงจะทำลิ้นลงไปไว้มากเหลือเกิน  จนเอาหนังสือนั้นไว้ไม่ได้ต้องเผาไฟหมด ถ้าขืนเอาไว้คนก็ยังจะเชื่ออยู่เสมองานที่พระพุทธโกษาไปทำนั้นคงจะเอาฉบับที่พวกหีนยานแต่งขึ้น  สู้มหายานในอินเดียลงไปสอบกับฉบับลังกา เพราะเหตุว่าถ้าลังกาเปนผู้ที่เปนหีนยานมาแต่เดิม  ไม่ได้มีมหายานแทรกแซง  คงจะได้ความสั่งสอนฝ่ายหีนยานซึ่งท่านพวกหีนยานในอินเดียลืมเสียบ้าง ปรวนแปรไปตามมหายานบ้าง ข้างหนังสือที่มีอยู่ในลังกานั้นเล่า ของเดิมก็คงจะมีที่พวกลังกาแต่งขึ้นเชือนไปเหลือกำลังก็คงจะมี  ท่านพุทธโกษาคงจะได้เลือกทิ้งเสียงทั้งสองข้าง คัดเอาแต่ที่เห็นว่าควรจะเปนธรรมเขียนขึ้นใหม่จึงต้องทำการอยู่ถึงปีหนึ่ง

          ในระหว่าง 600-700ปี ตั้งแต่พระพุทธสาสนาได้ 200 เศษ ฤา 300 จนกระทั่ง 900 ซึ่งพวกมหายานมีอำนาจมากนั้น คงจะได้ส่งพวกสอนสาสนาออกมาเที่ยวสั่งสอนในเมืองต่างประเทศตลอดจนเมืองเรา จึงถือลัทธิมหายานทั่วกันทั้งสิ้น แต่ขอซึ่งจะเข้าใจว่านุ่งกางเกงฤไม่นั้นเห็นจะไม่นุ่ง อยู่ในอินเดียอย่างไรก็คงมาอยู่อย่างนั้น

          ข้อสำคัญมีอีกอย่างหนึ่งที่พวกมหายานเขียนคัมภีร์ของตัวใช้ภาษาสันสกฤต ด้วยเหตุฉะนั้น เมืองใดซึ่งมหายานเคยเปนสาสนาสำหรับเมืองๆนั้นยังคงใช้ชื่อเสียงเปนภาษาสันสกฤต ถ้าหากว่าเมืองเราไม่ได้ถือสาสนามหายานเหตุไฉนภาษาสันสกฤตและสันสกฤตแผลงลงจนเปนภาษาไทยจึงจะมีแน่นหนานักดังนี้เล่า  จนภายหลังมาเรียนสาสนาจากภาษาบาลีแล้วยังต้องกลับแปลงลงเปนภาษาสันสกฤตเล่า อย่าป่วยกล่าวถึงสิ่งก่อสร้างและที่จมดินอยู่อันเราได้พบเห็นบ่อยๆนั้นเลย แต่ภาษาบาลีซึ่งใช้สำหรับพระไตรปิฎกอยู่ทุกวันนี้เปนภาษาหนึ่งต่างหากแต่ออกจากภาษามคธ ข้อที่พระพุทธโกษาแปลภาษาลังกาลงเปนภาษามคธ  ฉันเชื่อว่าจริง  แต่ที่กลายเปนภาษาบาลีไปนั้น  เข้าใจว่ากลายเมื่อครั้งพระกัสสปเขียนใหม่  เมื่อสังคายนาที่ 7 เหตุว่าล่วงมาถึง4-500 ปี ภาษามคธไม่ใช่ภาษาพื้นเมืองของลังกาก็ค่อยเปลี่ยนแปลงเลือนๆไป ท่านกัสสปผู้นี้ไม่ใช่ชาวมคธราฐเปนชาวลังกาคงจะตกแต่งขึ้นใหม่ ฤาใช้ตามที่เคยพูดกันในเมืองลังกา เช่นกับมอญเมืองเราพูดไม่เหมือนกันกับมอญมรแมนยังว่านั่นภาษาเดียวกัน  นี่เปนภาษาต่างประเทศแท้ๆ ภาษาบาลีกับภาษามคธใกล้กันจริง  แต่บางคำต่างกันห่างไกลคะเนไม่ได้

          สังคายนาซึ่งเขานับว่าเปนที่ 7 เมื่อพุทธสาสนาล่วงได้ 1587 ปีนั้น เห็นจะเปนส่วนข้างเลอะกันในลังกาเอง ด้วยการบพุ่งในเมืองและด้วยอดเขียนแทรกแซงไม่ได้  ภาลังกาที่เผาเสียแล้วก็กลับมีขึ้นอีกต้องเผากันใหม่  สังคายนาครั้งนี้ดูจะไม่สู้มีหลักเหมือนครั้งก่อน น่าจะเป็นเลือกตามใจมาก  นิทานรุงๆรังๆเห็นจะเลือกติดเข้าไว้ในนี้มากและในระหว่างนั้นคือพระพุทธสาสนาล่วงได้ 1100 ปี พรตห้วนเจียงไปพบเมืองปาตลิบุตรร้าง ข้างมหายานเองก็จะโทรมมาก  ถึงเวลาที่ทำสังคายนาที่ 7 นี้ พุทธสาสนาอินเดียก็เกือบจะหมดฤาพอจะหมดกันพะม่าจึงต้องไปรับพระธรรมมาจากเมืองลังกาๆอวดว่าเปนผู้ที่แผ่พระสาสนา  ก็อวดกันในระยะนี้

          สังคายนาที่ 8 ซึ่งว่าพระธรรมทินเถรได้ทำที่เมืองเชียงใหม่เมื่อพุทธศักราชล่วงได้ 2020 ปีนั้น เห็นว่าสาสนาหีนยานจะได้เดินมาจากฝ่ายเหนือคือมาจากพะม่า แต่วิปริตผิดเพี้ยนมามากนานอยู่แล้ว ท่านองค์นี้คงจะมาจากลังกาจึงมาแก้ไขขึ้นใหม่

          ตอนนี้เองถึงเรื่องที่เรามีๆอยู่ คือชั้นคัมภีร์ชินกาลมาลินีพงศาวดารหริภูญชัย  พงศาวดารเชียงแสนเชียงใหม่มีท่านพวกลังกามาหนุนเนื่องกันเปนลำดับ  ท่านผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังเช่นสามีสังฆราชซึ่งมีคำจารึกเสาศิลาสุโขทัยที่เจ้าแผ่นดินออกบวชท่านผู้นี้มาทางเมืองนครศรีธรรมราช  เดินเรื่อยขึ้นไปตามลำดับจนถึงเมืองเชียงใหม่  การที่เรากลับเปนหีนยานนั้นคงจะเปนทั้งข้างฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ล้นหลามกันเข้ามา

          สังเกตดูเรื่องราวที่ผิดกันในระหว่างหีนยานกับมหายานตามที่ได้รู้เรื่องข้างหีนยานน้อยที่สุดในเวลานี้  ดูเปนข้างฝ่ายมหายานกล่าวถึงโยกราฟีในอินเดียอยู่ข้างจะถูกต้องมาก ข้างฝ่ายหีนยานออกจะงมๆเช่นกับเมืองปาตลิบุตรค่อนจะว่าอยู่ข้างทะเล แต่ข้างฝ่ายมหายานเขารู้ชัดเจนว่าอยู่ริมแม่น้ำคงคา  ถ้าเปนเรื่องนิทานชาดกยิ่งเลอะมากเช่นกับท่านพวกขาดขอนต่างๆ ไปเที่ยวป่าพระหิมพานต์ไพล่ลงมาขาดขอนอยู่ในทะเลซึ่งเหลือจะเดินลงมาอย่างไรได้ เห็นจะเปนด้วยบ้านแกอยู่ลังกา  การที่จะลงไปถึงทะเลนั้นดูไม่สู้ยากนัก  แต่ข้อซึ่งจะแลเห็นแม่น้ำใหญ่ซึ่งแลไม่เห็นฟากข้างโน้น อยู่ข้างจะนึกยาก  เพราะแม่น้ำในลังกามันร่องแร่ง  ยิ่งตกมาถึงพวกลาวไปจนถึงได้ทองจากกระสือ ฉันได้แปลคัดเรื่องนิทานมหายาน  ซึ่งเขารบุที่ถูกมาให้ฟังเปนตัวอย่างเรื่องหนึ่ง ทั้งนี้เห็นจะเปนด้วยเขาแต่งในท้องที่ ฝ่ายหีนยานแต่งที่อื่น

          ธรรมที่ดีๆ เขาก็รู้อยู่  แต่มีอีกข้อหนึ่งซึ่งจะเปนการเอาใจให้เข้ากับสาสนาเดิมของพื้นเมือง  คือมีเมืองสุขัสวดี มีพระพุทธอมิตาภะซึ่งพุทธุบาทสาสนายืนยางไม่มีที่สุด  นั่งอยู่บนดอกบัว  แม้แต่ใครได้ยิน พระนามฤาได้เห็นรัศมีเกิดปีติก็ได้ไปเกิดเปนอุปาติกฤาคัพภไสยกะในดอกบัวที่แวดล้อมอยู่โดยรอบ มีกำหนดปีได้สำเร็จ  มีพระพุทธเจ้าอื่นๆทุกโลกธาตุสั่งสอนธรรมโดยลำพังพระองค์  แต่คงมีองค์หนึ่งครั้งหนึ่งบ้างสองครั้งบ้าง เทศนาถึงพระอมิตาภะ ในเวไนยสัตว์ทราบรูปความอย่างเดียวกันกับเริ่มมหาสมัยสูตร  ต่างแต่กลายเปนออกชื่อพระอย่างอาฏานาติยสูตรนั่นก็ย่อยลงไปจนกระทั่งถึงสุตรนี้ใครเขียนขึ้นตอนหนึ่ง  อายุจะไม่ต่ำกว่าขัย 2 ตอน 3 ตอนอายุก็ทวีมากขึ้นไป บ่นบริกรรมได้มากเที่ยวก็มีอานิสงส์ต่างๆขึ้นไป มันไปข้างทางกอดของฝรั่ง ข้อที่ฝรั่งนิยมชมชื่นว่าพุทธสาสนาคล้ายสาสนาพระเยซูนั้น เขาเรียนจากมหายาน  ดูเหมือนหนึ่งว่าจะเลื่อมใสมหายานมากกว่าหีนยานเพราะแลเห็นพระนิพพานไม่ได้จริงๆเปนพ้นวิสัย  เมื่อ2-3วันล่วงมานี้ มีผู้ลงพิมพ์กล่าววถึงอนาคตวงศ์ที่เขาได้อ่านจาเมืองพะม่า กล่าวติเตียนต่างๆแล้ว  บอกว่ากลิ่นอายเหมือนออกจากเกือกบู๊ตพวกมหายาน เพราะพวกมหายานเข้าแต่งหรูกว่ามาก

          วิธีนั่งพระธรรมเขาแปลเปนอังกฤษก็มี  ขึ้นต้นก็นั่งพับแพนงเชิงตั้งศรีษะให้ตรงแล้วก็เริ่มอานาปานัสติ  เรียกอย่างเดียวกันกับนั่งพระธรรมของเรามีโอภาส มีกระสิณ แต่มีอะไรๆต่อไปอีกมากจนถึงฌาน แล้วฉันก็หยุดอ่านเสียเพราะฝึดเต็มทีด้วยต้องมานึกเทียบกับข้างเรา ถูกที่เกินความรู้ก็ไม่ออกสนุก  เข้าใจว่าหนังสือจะมีมากกว่าหีนยานมาก แต่ลงปลายก็ไปที่สระบัวนั้นเอง

          ได้แปลคำฟ้าเหียนเล่าเรื่องมหายานหีนยานปนกับพราหมณ์อย่างไร  เมื่อเวลาเขาไปเห็น พอให้เปนทางสันนิษฐานกับเรื่องสาสนาเชนที่ฉันได้ไปพบอีกเรื่องหนึ่งส่งมาให้ดูด้วย

          ฉันมีความเห็นแต่พูดออกไปมันชวนจะเปนมิจฉาทิษฐิ  ว่าหีนยานก็ดี มหายานก็ดี  ที่จะเหลือแก่นเดิมนั้นน้อย  ผู้ที่แต่งขึ้นก็แต่งไปตามความเข้าใจของตัว  และตามกาลตามสมัยและชั้นชั่วอายุคนและไม่ใช่แต่พุทธสาสนาถึงสาสนาเก่าๆอื่นๆ เช่นสาสนาพระเยซูก็เซนต์อะไรต่ออะไร  แกแต่งไปตามใจต่างๆกัน จะมีแต่ปรินสิเปอลคือข้อที่ตั้งของสาสนายังคงอยู่เท่านั้นทุกๆสาสนา

สวนดุสิต

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ ร.ศ.122

            เมื่อประมาณ พ.ศ.290 พุทธศาสนาได้แพร่หลายจากประเทศอินเดียเข้าสู่แค้วนสุวรรณภูมิ ซึ่งมีชนชาติ ขอม มอญ ละว้า และไทย พระเจ้าอโศกได้ส่งพระธรรมฑูต 2 ท่าน ท่านโสนะ ท่านอุตตระให้นำพุทธศาสนามาเผยแพร่ยังสุวรรณภูมิ ท่านทั้งสองเป็นภิกษุในนิกายสรวาสติวาทิน และก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า สุวรรณภูมิอยู่ที่ใดแน่หลายฝ่ายต่างยืนยันว่าที่ตำแหน่งของตนคือสุวรรณภูมิ แต่ที่แน่นอนคือ ดินแดนในแถบนี้ เคยมีพุทธศาสนารุ่งเรืองมาก่อน พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม เชื่อกันว่าองค์ดั้งเดิม องค์เล็กภายใน สร้างโดยพระธรรมฑูตทั้งสองท่าน มีหลักฐานและวัตถุโบราณที่ขุดพบ แสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์องค์พระปฐมเจดีย์ ส่วนใหญ่จะบ่งบอกถึงความเคยรุ่งเรืองของมหายานในบริเวณนั้นดังนั้นเป็นที่สันนิธานได้ว่าทั้งเถรวาทและมหายานได้รุ่งเรืองใน ดินแดนแถบนี้มาก่อน

 

มหายาน-วัชรยานในประเทศไทย

 

ความรู้ ความเข้าใจในมหายาน

จากหนังสือพระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชวิจารณ์เทียบลัทธิพระพุทธศาสนาฝ่ายหีนยานกับมหายาน และเรื่องสร้างพระบทหลวง วัดบวรนิเวศวิหาร 5 กรกฎาคม 2509

พระราชหัตถเลขา

พระที่นั่งบรรณาคมสรณีย์

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 122

ถึง เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัตติวงศ์

          รูปภาพที่ส่งมาวันนี้ 2 แผ่นนั้น เคยเห็นแขวนอยู่ตามตลาด แต่พระพุทธรูปอีกแผ่นหนึ่งไม่เคยเห็นแปลกดี กิริยาอาการช่างเปนรูปข้างมหายานจริงๆ ได้ส่งออกไปสอบถามกรมขุนสมมต ๆ ว่าได้ทราบแต่ว่ามีคัมภีร์เปนพวกสัททาวิเศษกล่างถึงเรื่องนี้  สามเด็ยพระวันรัตน์เก็บมาจากคัมภีร์นั้นไม่ทราบว่าชื่อคัมภีร์อะไร  ฉันได้ขอให้กรมสมมต สอบถามพระธรรมโกษาและพระศรีสมโพธิเห็จะได้ความ

เรื่องมหายานและหีนยานแยกกันอย่างไร มีพงศวดารซึ่งพรตญี่ปุ่นเก็บมาแต่งเป็นภาษาอังกฤษบอกวงศ์แห่งพรตญี่ปุ่น เข้ได้ให้ฉัน ได้ถวายกรมหมื่นวชิรญาณไป ยังยึดไว้สืบค้นจนสืบค้นจนเดี่ยวนี้ เมื่อแรกนี้ใกล้เคียงกันมากถึงอยู่ร่วมอารามแต่แยกเป็นคนละคณะ  ฟ้าเหียนซึ่งเปนพรตจีนออกไปสืบข่าวพระสาสนาที่อินเดีย ก่อรคฤสตศักราช 600 ปี ได้ไปถึงเมืองปาตลิบุตร ได้ไปที่วัดอโศการามและกุกกุฎาราม ได้พบพระสงฆ์ทั้งสองคณะอยู่กุฎิคนละฟาก มีเสาศิลาซึ่งจารึกคำพระเจ้าธรรมาโศกถวายสกลชมพูทวีปเปนพุทธบูชา 3 ครั้ง กุฏิฟากหนึ่งเปนมหายานฟากหนึ่งเปนหีนยาน ฟ้าเหียนออกไปขัดข้องด้วยภาษา จึงได้เที่ยวไปในประเทศอื่นๆมีกาลีชนบทเปนต้นถึง 3 ปีแล้วจึงย้อนกลับมาในมคธราฐ  เข้าเรียนพระวินัยในสำนักมหายานแล้วพวกมหายานให้ลอกคัดพระวินัย พระสูตร พระปรมรรถ อยู่อีก 6 ปีจึงแล้ว รวมเปนเวลา 10 ปีเศษ จึงได้กลับไปเมืองจีน

ภายหลังพรตจีนอีกรูปหนึ่ง ชื่อห้วนเจียงออกไปเมื่อก่อนคฤสตศักราช 300 ปี เวลานั้นเมืองปาตลีบุตรร้างไปมากแล้ว  พระสงฆ์ไม่มีแต่เสนาสนเหล่านั้นยังมีรากปรากฏอยู่

บัดนี้อังกฤษไปค้นพบตำบลที่ตั้งเสนาสนและเจดียสถานต่างๆทั้งวังและเมืองซึ่งอยู่บกบ้างจมอยู่ในน้ำบ้าง ได้หลักฐานสำคัญเปนอันมาก ขาดสิ่งซึ่งต้องการอย่างยิ่งอยู่นั้น คือ คำจารึก หลักศิลามีถึง 3 หลัก แต่แตกย่อยกระจาย เก็บมาคุมเข้าได้ก็ยังไม่ถึงหนังสือ ที่ชำรุดมากนัก  เพราะมีมิจฉาทิษฐิไปทำลาย แล้วซ้ำถูกสายน้ำกัดผ่านเข้าไปในกลางเมืองด้วย  ดีที่พบรอยพระพุทธบาทซึ่งเหยียบไว้ที่ริมแม่น้ำเมื่อเวลาจะไปปรินิพพาน แต่ยังไม่ได้สร้างเปนเมืองนั้น ครั้งเมื่อสร้างเปนเมืองแล้ว พระเจ้าอโศกเชิญเข้ามาไว้ในพระราชวัง  ขนาดแผ่นศิลาและรอยต้องกันกับพรตฟ้าเหียนและพรตห้วนเจียงได้ไปเห็น ศิลานั้นเป็นศิลาทรายขนาดเปนคั่นบันไดทำเรือจ้าง กว้าง 2 ฟิต ยาว 2 ฟิตครึ่ง รอยพระพุทธบาทนั้นวัดแต่ปลายนิ้วจนถึงสันได้ฟุต 1 กับ 6 นิ้ว กว้างในที่กว้าง 6 นิ้ว รอยลายที่ปรากฏอยู่ที่นิ้วอุตคุตเปนดอกไม้ คือ ก้นหอย และพวงปลาต่อลงมา แต่เดี่ยวนี้ชำรุดมาก ด้วยชาวบ้านใช้ลับมีด  พระบาทนี้ช่างห่างกับเราเสียจริงๆ ถึงพรตจีน 2 รูปก็ได้กล่าวไว้ว่ารอยโตกว่าชนสามัญ  เพราะพระพุทธเจ้าโตมาก  แต่ยังหาถึงใจท่านพวกลังกาไม่

ที่กล่าวมานี้ เพื่อจะให้เห็นว่าหีนยานกับมหายานอยู่ด้วยกันมาแต่ก่อน หีนยานเห็นจะคอยหารมหายานอยู่เสมอ แต่เพราะรกรากอันเดียวกัน จึงไม่หารเสียหมด เพราะมีมูลอยู่บ้าง เช่นกันมูลแห่งสาสนามหายาน ถือว่ามีพระพุทธเจ่าโลกธาตุละองค์ ขึ้นพระพุทธอมิตาภาซึ่งอยู่ในศุขัสนคร  จึงมีสูตรสำหรับบูชาพระพุทธเจ้าทั้งหลายยิ่งท่องสูตรเหล่านั้นได้มากเท่าใดยิ่งได้บุญ จนพวกจีนทำเครื่องจักรสวดมนต์ ข้างฝ่ายสูตรสัมพุทเธของเรามีมูลเปนอันเดียวกัน บอกอานิสงส์ก็คล้ายกัน แต่ตัดชื่อเสียงลงเสียงเปนอันมาก ปรากฏว่ามาจาครูเดียวกับมหายาน ฉันเข้าใจว่ารูปที่สมเด็จพระวันรัตน์เขียนมาจากคัมภีร์ใดคัมภีร์นั้นจะเปนมหายานแปลงเช่นสัมพุทเธ

อนึ่งมีเรื่องซึ่งเปนอินเตอเรสของช่างที่เก็บไว้ว่าจะบอก แต่ท่าจะลืมเสีย ไหนๆวันอาทิตย์ก็ปล่อยเสียที

ข้างฝรั่งเขากล่าวกันมานานนักหนาแล้วตั้งแต่ฉันไปอินเดียบรรดาฝีมือช่างที่เราเรียกว่าฮินดู เขาเรียกว่ากรีก  เป็นคู่กันกับมโฮมาดัน กรีกเปนของเก่า มโฮมาดันเปนของใหม่  ในนึกเถียงในใจเสมอมาแล้วก็ค่อยรู้มาทีละน้อยๆ จนบัดนี้ลงใจเชื่อเสียแล้ว เหตุที่เชื่อนั้น คือในประเทศอินเดียก่อนแต่พระเจ้าอโศกขึ้นไป ปราสาทราชมณเฑียรกำแพงเมืองและวัด ทำด้วยไม้ทั้งนั้น จนเมืองปาตลิบุตรที่พบนี้ กำแพงยาว 4 ไมล์ กว้างไมล์ 1 ก็ใช้เสาไม้รังปักเปน 2 ชั้นถมดินกลาง การช่างสิลาเกิดขึ้นในประเทศปันยอดที่อาเลกแซนดราดิเกรดมาตั้งอยู่ จันทรคุปตซึ่งเป็นตันวงศ์พระเจ้าอโศกได้รบพุ่งกันแล้วกลับเป็นไมตรี สืบวงศ์มาจึงได้ไล่กรีกออกได้ ตกมาถึงครั้งอโศก เริ่มสร้างเครื่องศิลาเมื่อสร้างพระเจดีย์ 84000 บรรดาเครื่องศิลาที่มีอยู่ในอินเดียไม่มีอะไรเก่ากว่าที่อโศกสร้างทั้งสิ้น ในเมืองปาตลิบุตรนี้เองขุดได้บัวปลายเสา รูปเปนกรีก ลวดลายทั้งแก้ไขบ้างแล้วก็ยังลายกรีกติดอยู่ เพราะฉะนั้นข้อที่เราจะทำอะไรไม่ให้ฝรั่ง เห็นว่าเรียนอย่างฝรั่งเห็นจะไปไม่รอดแต่เปนเครื่องอุดหนุนให้เราเถียงว่าไม่ใช่เอาอย่างฝรั่งเพราะเราเอาอย่างผู้ซึ่งเขาเอาอย่างฝรั่งถึง 2000 ปีเศษมาแล้ว

 

สำเนาลายพระหัตสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศ

ขอเดชะ

          ในทีแรกข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทก่อนว่าหนังสือฉบับนี้ ไม่เกี่ยวด้วยกิจการ เปนแต่ข้าพระพุทธเจ้ากำลังคลั่งมหาญาณ เพื่อจะขอรับพระราชทานศึกษาด้วเนื่องมหาญาณเท่านั้น ถ้าถือเอาโอกาสว่าเปนวันอาทิตย์ เปนวันควรที่จะว่างพระราชธุระ ถ้าไม่เปนโอกาสอย่างคาดหมาย ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯละเว้นไว้ทอดพระเนตรเวลาอื่น

          ลัทธิมหาญาณ ได้ทราบเกล้าฯ นานแล้วว่าเปนอยู่ที่ธิเบต แลจีนรับมาประพฤติตามเอาอย่างกันตลอดถึงญี่ปุ่นแลญวน เมื่อได้เห็นได้ฟังอะไรๆบ้างในลัทธินั้น ก็ให้เห็นเปนว่าเหลวไหล  ไม่ได้เอาใจใส่ที่จะศึกษา เพราะคิดด้วยเกล้าฯว่าหาประโยชน์มิได้

          ในใจเวลานั้น คิดเห็นด้วยเกล้าฯว่าคงมีอาจารย์ในพุทธศาสนาสองพวก พวกหนึ่งสอนลงมาข้างใต้พวกหนึ่งสอนขึ้นไปทางเหนือ สอนด้วยโวหารต่างกัน ผู้รับเรียนปฏิบัติเลือนไปด้วยทางไกลกัน  จึงผิดแผกกันไปมาก

          ต่อมาเมื่อเสด็จพระราชดำเนินประเทศชวา ได้ทรงนำพระพุทธรูปต่างๆมา แลมีพระราชดำรัสอธิบายว่าเปนพระทางลัทธิมหาญาณ นั่นเปนอัได้ทราบเกล้าฯออกไปอีกหน่อย ว่ามหาญาณข้าใต้ก็มีแลได้ทราบเกล้าฯ ชัดว่าท่าพระอย่างนั้นเปนฝ่ายมหาญาณ

          ครั้นเมื่อไปตรวจการโทรเลขข้างหัวเมือง ตะวันตก ได้พบในเมืองตรังแลพัธลุง มีพิมพ์เทวรูปบ้าง พิมพ์โพธิสัตว์บ้าง พิมพ์พระอย่างมหาณาณบ้าง ให้ออกสงสัยว่า  ลัทธิมหาญาณจะมีลามเข้ามาถึงเมืองไทยทีเดียวฤา แต่จะเปนได้ที่ตอนปลายแหลมมลายูเพราะได้ชวา อนึ่งได้สังเกตเห็นวัดเก่าๆตั้งแต่พัทธลุงเข้ามาจนไชยาท่าอาคิเตกแปลกมาก  ไม่เจือด้วยกัมโพชสไตล์ ต้องระวังจดจำมาหนักหนา

          มาเมื่อได้รับพระราชทานสมุดฝีมือช่างญี่ปุ่นไปตรวจดู สำหรับประกอบความคิด ทำแบบบานกระจกวัดเบญจมบพิตรนั้น ได้เห็นหนังสือจดบอปรูปเปนเรื่องเตี้ยๆปรากฏนามพระพุทธเจ้าหลายพระองค์แลพระโพธิสัตว์หลายองค์ บอกว่าอวตารมาจากท่านองค์ใดๆด้วย ไปสิ้นสัทธาเสียที่ตรงวชิรปาณี  แลวิศวกรรมก็เปนโพธิสัตว์เสียด้วยจึงตกลงใจในขณะนั้นว่า  ท่างแผ่ศาสนาข้างมหาญาณ อาจารย์ไม่คิดรื้อศาสนาเดิม ใช้อุบายแต่งเรื่องให้ เนื่องแปรไปเข้าทางพุทธศาสนาเข้าใจว่าอย่างนี้ ที่เปนวิธีผิดกันกับหีนญาณ ซึ่งสอนให้ทิ้งศาสนาเก่าหมด

          มาทีหลัง มิสเตอ เกิดส์ ลาไปเที่ยวชวา ช้าพระพุทธเจ้าจึงได้สั่งไป ให้หาซื้อรูปเรื่องรามเกียรติ ที่สลักศิลามาฝากด้วย   เพราะได้เห็นที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้ทรงนำเข้ามางามอยู่  เพื่อจะได้ดูลาดเลาประกอบความศึกษา เพราะว่าหลักไม่ไกลกัน มิสเตอ เกิตส์กลับเข้ามา ได้รูปมาให้ดังประสงค์  แลยังมีรูปอืนๆ นอกสั่งมาให้อีกด้วย กับทั้งสมุด ดร.โกรนมัน แต่งว่า ด้วยเรื่องสิ่งก่อสร้างเก่าๆด้วย เมื่อได้พิจารณาดูรูปก่อสร้างในชวาเห็นเปนอย่างเดียวกันกับการก่อสร้างที่เห็นมาข้างหัวเมืองตะวันตก แลได้เข้าใจในคำเล่าของดร.โกรนมันว่า  ลัทธิข้างมหาญาณนั้นพุทธกับไสยปนกันเป็นอันหนึ่งอันเดียว เหตุดังนี้จึงทำให้เชื่อว่า หัวเมืองข้างตะวันตกนั้น แต่ก่อนถือลัทธิมหาญาณเสียด้วยแน่แล้ว

          มาเมื่อเร็วๆนี้ กรมหลวงดำรงได้กราบังคมทูลพระกรุณาว่าได้ศิศะนาคะอย่างชวาที่พระปฐม  ข้าพระพุทธเจ้าก็สดุ้งใจทีเดียว่ามหาญาณกินถึงนครใชยศรี เลยระลึกถึงพระศิลาในพระอุโบสถที่พระปฐมด้วย เปนพยานยันกัน

          มาเมื่อเดือนก่อน กรมหลวงนเรศร รับสั่งถึงปราสาทศิลาที่พิมาย ว่าลายเปนรูปพระกันเทวรูปปนกันยุ่งอย่างมิรู้ ข้าพระพุทธเจ้าก็ตกใจทีเดียว ด้วยมาสำคัญอยู่แต่ก่อนว่าปราสาทเขมรเหล่านั้นเปนเทวสถาน เขาว่ากันว่าเป็นวัดไม่ลงใจเชื่อ คิดเสียว่าเปนวัดเพราะเขาเห็นรูปพระตั้งอยู่ในนั้น ซึ่งข้าพระพุทธเจ้าคิดด้วยเกล้าฯว่า เขาทำตั้งทีหลัง ด้วยปรารถนาจะแปลงเปนพุทธศาสน ก็เมื่อลายสลักเปนรูปพระปนซึ่งจะเปนสิ่งที่แก้ทีหลังไม่ได้ฉะนั้น  ก็จะคิดว่าเปนอื่นไม่ได้  นอกจากที่จะเปนเจดียสถานข้างมหาญาณ  ความตกใจอันนี้จึงเลยสืบถึงลายปราสาทนครวัดกรมหลวงดำรงรับสั่งว่า กลีบขนุนศิลาสลักรูปพุทธมารดาเหนี่ยวกิ่งรัง  ในวัดพระแก้วนั้นเปนกลีบขนุนที่พระนครวัด พระยาศรีนำมา ข้าพระพุทธเจ้าจึงเลยระลึกถึงรูปเก่าๆของเขมร มีเห็นบ่อยๆที่เปนรูปปรุปปนกัน มีพระนาคปรกอยู่กลางรูปพระอิศวรอยู่ข้างหนึ่ง รูปพระอุมาอยู่อีกข้างหนึ่ง จึงตกลงใจวย่า เปนอันแน่แล้ว ปราสาทเขมรทั้งหลาย  เปนสถานแห่งมหาญาณวิธีด้วย

          เห็นเปนอันแน่แล้ว ที่ใกล้ฝั่งทะเลทั้งสองฟากของประเทศนี้เคยเปนมหาญาณมาแต่ก่อน  จึงทำให้ระลึกถึงเมืองเหนือๆจะเปนอย่างไร ก็ระลึกได้แต่เพียงว่า ลพบุรี สุโขทัย มีปราสาทอย่างเขมร  แลมีรูปพระอย่างเขมรทำด้วยศิลาก็มี  หล่อก็มี แลที่กรุงเก่าเรานี่เองพระนั่งห้อยพระบาท  พระหัถทำตัวก็ยังมีที่วัดน่าพระเมรุดูเหมือนคำจาลึกว่า  นำมาจากในเมืองยังรูปพระสลักในแผ่นศิลาซึ่งติดไว้หลังฐานพระศรีสากยมุณี  จะมาด้วยกันฤาอย่างไรหาได้ทราบเกล้าฯไม่ แต่เปนมหาญาณเต็มตัว  พระทั้งนี้  จะทำขึ้นในเมืองเหล่านั้นเอง ฤานำมาแต่อื่นไม่มีหลักที่จะตัดสินได้แน่แลยังมีพระหล่อรุ่นหลังลงมาอีกที่รูปเปนไทยแล้ว แต่กิริยายืนจีบพระหัถก็มีอย่างมารวิไชยแต่หงายพระหัถ ในวัดพระเชตพนก็มี เปนพระเก็บมาแต่เหนือ  น่าสงสัยอยู่ถ้าคนชั้นนั้นไม่รู้ทางมหาญาณแล้ว จะมีรูปพระกิริยาอย่างมหาญาณอย่างไรได้ เมืองแถบเหนือนั้นถึงจะไม่ได้หลักฐานที่จะยืนยันว่าเปนมหาญาณได้แน่ก็ดี  แต่เมื่อมีสิ่งที่ก่อสร้างเอาอย่างเขมร ฤาเขมรได้เคยปกครองอยู่แลทำขึ้น

เพราะเหตุทั้งหลายเหล่านี้ ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดตกลงใจ ว่าเรานี้เดิมทีถือลัทธิหีนญาณภายหลังความที่คิดเห็นมาแต่ก่อนเปนผิดหมด เมื่อเปนเช่นนี้แล้ว ความจำเปนที่จะต้องรู้ทางมหาญาณก็มีขึ้นเพราะสิ่งก่อสร้างและรูปภาพทั้งหลายที่เก่าของเราอันจะจำอย่างมาทำบ้างนั้น เปนทางข้างมหาญาณอยู่ทั้งสิ้น  ถ้าไม่รู้ก็จะจำมาใช้ในที่ผิดๆ ถูกๆ จึงตั้งต้นที่จะศึกษา แต่เสียใจที่ไปถามใครซึ่งหมายว่าจะรู้จะบอกได้ด้วยได้เคยพุดอยู่แต่ก่อนเอาเข้าจริงบอกอะไรไม่ได้ทั้งนั้น เปนอันยังกำลังแสวงอยู่ที่จะหาผู้บอกเล่าให้เข้าใจ แม้ถึงไม่ได้มากก็แต่น้อย

          มาได้รับพระราชทานพระราชาธิบายในวันอาทิตย์ก่อนนั้น เปนอันสมประสงค์แห่งข้าพระพุทธเจ้ามีความยินดีเปนล้นเกล้าฯ เมื่อคิดข้อความตามพระราชาธิบายนั้น  ยิ่งเห็นเปนเหมาะเจาะกัที่คิดด้วยเกล้าวฯ ว่าทางศาสนาข้างมหาญาณได้แผ่ส้านมาก่อนหีนญาน  เพราะเห็ได้อยู่ที่ฟ้าเหียนออกไปเรียนศาสนาครั้งนั้น ที่มีอยู่พร้อมกันทั้งสองลัทธิ ฟาเหียนได้เลือกเรียนเอาลัทธิมหาญาณไป ไม่ต้องสงสัยเลยลัทธิมหาญาณเวลานั้น ต้องเปนอันกำลังเฟืองฟู มีคนนิยมมากที่สุด หีนญาณต้องเปนต่ำต้อยที่สุด  ในชื่อแห่งลัทธินั้นเองก็เห็นได้แล้วในตัว  คำที่ว่ามหาญาณนั้นมีความหมายเปนยกย่อง  คำว่าหีนญาณมีความหมายเปนปรามาท  เชื่อได้ว่าชื่อทั้งสองนี้เปนชื่อพวกมหาญาณบัญญัติขึ้น  แลมีคนเรียกตามทั่วไป  ก็เพราะเหตุว่า มีศิษย์ที่นับถือลัทธิตามมาก  เปนหลักที่ให้เห็นได้ว่า ลัทธิมหาญาณเวลาโน้น ชนะลัทธิหีนญาณ ย่อมแผ่อยู่ทั่วทิศ  ความคิดข้าพระพุทธเจ้ายังเลยไปอีกให้สงสัยว่าลัทธิมหาญาณเก่ากว่าหีนญาณ นำจะเป็นอย่างเดียวกับลัทธิโรมันคาโทลิก กับ ลัทธิโปรเตสตันในศาสนาคฤสต์ ข้างมหาญาณว่าเสียฟั่นเฝื่อหนักเข้า จึงเกิดมีอาจารย์ที่ตั้งลัทธิขึ้นใหม่  ด้วยค้นคว้าเลือกเอาแต่ที่ดีที่ถูก  ที่เปนสารมาปฏิบัติแลสั่งสอนประมูลลัทธิมหาญาณ  เพราะเหตุฉะนั้นจึงมีทางลัทธิมหาญาณปรากฏอยู่ทั่วไปก่อน  เพราะเปนทางปฏิบัติดี  แต่ไม่มีกำลังเปลี่ยนมหาญาณไปได้หมดเพราะใหม่  ถ้าจะว่าไปก็อย่างธรรมยุติกับมหานิกายเราทุกวันนี้เอง

          ตามที่กราบบังคมทูลพระกรุณามานี้ ข้าพระพุทธเจ้าก็ไม่เชื่อว่าเปนความเห็นที่ถูกต้อง  คงยังจะเปลี่ยนแปลงไปเสมอในเมื่อศึกษาได้ความต่อไปภายหน้า  ที่กราบบังคมทูลพระกรุณาโดยยึดยาวฉะนี้  ก็เพื่อจะให้ทราบฝ่ายละอองธุลีพระบาท  ว่าข้าพระพุทธเจ้าได้มีความเห็นคลั่งมาโดยลำดับเพียงใดเท่าใด

          ข้าพระพุทธเจ้าขอรับพระราชทานอนุศาสน์ในทางมหาญาณต่อไป ทั้งในพงษาวดาร และทางอธิบายในสิ่งทั้งปวงที่ประกอบในลัทธิ เช่น รูปสวาสติ แลรูปปลา รูปพระ ต่างๆ โพธิสัตว์ต่างๆ ทั้งทางปฏิบัติด้วยความควรแก่ที่จะพระราชทานอนุศาสน์ได้

ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

ข้าพระพุทธเจ้า

นริศ

ขอเดชะ

 

พระราชหัตถเลขา

พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก36 122

ถึงเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัตติวงศ์

          ได้รับหนังสือวานนี้แล้ว ความสันนิษฐานเรื่องสาสนามาอย่างไรฉันได้เรียงขึ้นไว้เป็นตัวหนังสือแล้วแต่ย่ออยู่ที่กรมขุนสมมต จะเรียกมาดู ถ้าควรจะเพิ่มเติมอันใดจะเพิ่มแล้วจะส่งไปให้ดู เรื่องนี้เปนพูดกับกรมสมมตเห็นจริงเห็นจังกันแล้ว จึงได้ไปพูดกับกรมหมื่นวชิรญาณเมื่อลูกไปบวชเณรหลายวันจนเห็นจริงกันแล้วว่าเดิมเราถือมหายานกรมหมื่นวชิรญาณรับจะค้นหนังสือสอบ เพราะหนังสือเรื่องมหายานท่านมีอยู่บ้างแปลส่งมาแล้วก็มี ฉันถวายไปให้เปนเครื่องประกอบก็มี

          เวลาหีนยานเข้ามาในประเทศแถบเรานี้ไม่ช้านานอันใดเลย คือคราวท่านมหาสามีสังฆราชก่อนอายุหนังสือชินกาลมาลินีสักร้อยปี ชั่วพอสาสนาตั้งมั่น  ท่านผู้นี้มาจากลังกา  มานครศรีธรรมชาช แล้วมาอยุธยาขึ้นไปสุโขทัย แล้วขึ้นไปนครลำพูน เชียงใหม่ แล้วกลับออกไปเมืองลังกา ดูเหมือนจะทางเมืองมอญ แล้วท่านองค์นั้นกลับเข้ามาเองฤาผู้อื่นที่เปนศิษย์เข้ามาอีกหนุนเนื่องกันมา แยกไปเมืองเขมรบ้าง ถ้าจะใคร่รุ้เรื่องท่านสามีสังฆราชนี้ ให้ดูคัมภีร์ชินกาลมาลินี พงศาวดารเชียงแสน เชียงใหม่ พงศาวดารหริภุญชัย หนังสือทั้งหลายเหล่านี้แต่งเปนภาษามคธก่อนทั้งหมด ศิษยท่านสามีสังฆราชเปนผู้แต่ง ยังมีที่จะตรวจได้อีกคำจารึกเสาศิลาสุโขทัยที่อยู่ในวัดพระแก้ว พระบาทกมรเดงอัดศรีสุริยพงศรามมหาธรรมราชาธิราช ทรงผนวชในสำนักสามีสังฆราชแต่ข้างพงศาวดารเชียงใหม่ เขาเยาะเย้ยว่าเมืองสุโขทัยนับถือไม่พอ ท่านสามีสังฆราชจึงได้ขึ้นไปเชียงใหม่  ท่านองค์นี้เอาพระธาตุมาเปนถุงๆเที่ยวได้บรรจุไว้เปนหลายแห่ง เจ้าแผ่นดินสุโขทัยองค์นี้ข้างฝรั่งเขาสอบสวนคำจารึกคะเนว่า จะเป็นลูกพระร่วงคือพระเจ้าแผ่นดินที่ 5 เวลาก็ตรงกันกับข้างเชียงใหม่ๆเวลาพระร่วงเขาตรงกับอาทิตยราชซึ่งขึ้นไปสร้างเมือง และคำจารึกที่วัดเชียงมั่นซึ่งจารึกภายหลังครั้งสมเด็จพระรามาธิบดีกรุงศรีอยุธยาไปตีได้ ก็กล่าวท้าวถึงความต้นว่าวัดนั้นพระเจ้าอาทิตย์ราชและพระร่วงพร้อมกันสร้าง เพราะฉะนั้นศรีสุริยพงศนี้ทีหลังน่าจะเนเจ้าแผ่นดินที่ 6 ต่อแต่ศรีสุริยพงศเสียสุโขทัยแก่กรุงศรีอยุธยา

          ประมาณเวลาที่ท่านสามีสังฆราชเข้ามาไม่มากกว่า 800 ปีนักอย่างยิ่งก็ 1000 ปี ในหนังสือที่กล่าวกันต่างๆกัน แปลว่าเราเข้ารีตเปนหีนยานมาได้เท่านั้น เวลานั้นนครชัยศรีหมดแล้ว แต่เพ็ชรบุรี นครศรีธรรมราชมีเจ้า ได้อยู่จนถึงตกอยู่ในอำนาจพระรามาธิบดีกรุงศรีอยุธยากล่าวไว้ในคำจารึกวัดเชียงมั่น

          ข้อซึ่งเธอคิดเห็นว่าหีนยานจะเกิดขึ้นใหม่อย่างธรรมยุตินั้นเดาผิดเรื่องของญี่ปุ่นเขาเอง ตั้งแต่ปฐมสังคายนามาเปนสังคายนาของพวกหีนยาน แล้วจึงตั้งโรงเรียนเปน 8 ฤา 16 ตำบลจำไม่สนัด  มาจนถึงทุติยสังคายนาพวกโรงเรียนเหล่านั้นต่างคนต่างถือลัทธิแผกกันไป  จึงได้เกิดสังคายนาครั้งที่ 2 ขึ้น ในครั้งนั้นฤาใกล้ๆกับราวนั้น พวกที่แพ้จึงไปพบพระไตรปิฎกจารึกไว้ในถ้ำ เกิดสอนลัทธิใหม่ขึ้นเปนมหายาน พวกเก่าเปนหีนยาน  เพราะเหตุว่าพวกมหายานได้ปรูฟคัมภีร์ที่เขียนไว้ในถ้ำ แต่เมื่อพุทธปรินิพพานใหม่ๆมีตัวหนังสือเป็นหลัก

          ถ้าเทียบดูเวลาก็จะถึงพระเจ้าศรีธรรมาโศกพอดีกัน จึงสอบกับหนังสือเรื่องปาตลีบุตร เขากล่าวว่าเมื่อเวลาพระเจ้าศรีธรรมาโศกเปนเจ้าแผ่นดินนั้น พุทธสาสนาไม่เปนสาสนาที่สอนคนทีเดียว เพราะไม่มีผู้ใดถือนอกจากภิกษุประมาณสัง 5-6/ร้อย ซึ่งกระจัดกระจายกันอยู่ในที่ต่างๆ มีอุปคุปตเปนหัวหน้าฤาเปนผู้ใหญ่กว่าเพื่อน

          เมื่อพระเจ้าศรีธรรมาโศกเปนเจ้าแผ่นดินนั้นแรกอยู่ราชคฤห์ ต่อไปเที่ยวปราบปรามเมืองได้หมดแล้ว  จึงยกไปอยู่ปาตลิคามยกขึ้นเปนปาตลิบุตรต้องด้วยพุทธทำนาย

          ข้างฝ่ายหีนยานกล่าวถึงพระเจ้าอโศกเข้ารีตอย่างไร เธอคงจะได้อ่านแล้ว แต่ข้างฝ่ายมหายานเขากล่าวว่าอโศกดุร้ายนัก วันหนึ่งขับรถไปพบบ่อแห่งหนึ่ง จึงถามเสนาว่านั่นอะไร เสนาทูลว่านรกในยามะ พระเจ้าอโศกจึงถามว่าใครเป็นนาย บอกว่ายามราชะ พระเจ้าอโศกว่าแต่อมนุษย์ยังมีนรกได้ ทำไมเราจึงจะมีได้บ้าง อำมาตย์ทูลว่าการสิ่งนั้นเป็นบาป พระองค์จะหานิริยบาลไม่ได้ พระเจ้าอโศกจึงให้ป่าวร้องว่าใครจะรับเปนบ้าง ในขณะนั้นมีคนหน้าเขียวตัวเหลืองมือเท้าเปนขอ ถ้านกบินมาก็เอามือเกี่ยวตวัดไว้ เอาเท้าลงไปส่ายในน้ำเกี่ยวปลามากิน มารับอาษา อโศกจึงสั่งให้ต่อกำแพงขึ้นสี่ด้าน ทำประตูให้มั่นคง ในนั้นให้ขุดสระปลูกต้นไม้ดอกไม้ผลไว้ ถ้าผู้ใดล่วงเข้าในเขตต์ประตู ให้นายนิริยบาลผู้นั้นทำทารกรรมเช่นนรกที่แลเห็น ถึงพระองค์เองล่วงเข้าไปในนั้นก็อย่าให้เว้น

          ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง มีภิกษุไปเที่ยวบิรฑบาตรเห็นต้นไม้ร่มรื่นหมายจะเข้าไปฉันเพน  พอล่วงประตูเข้าไป นายนิริยบาลก็จับจะทำทารกรรม ภิกษุนั้นผัดว่าขอฉันเพนเสียก่อนแล้วจึงทำ นายนิริยบาลก็ยอม เมื่อภิกษุกำลังฉันเพนอยู่นั้นมีผู้อื่นล่วงเข้าไป นายนิริยบาลจับลงในครกโขลกจนโลหิตนั้นฟูมขึ้นท่วมตัว ภิกษุได้เห็นก็เกิดสังเวชสำเร็จพระอรหันต์ในขณะฉันอยู่นั้น  ครั้นเมื่อฉันแล้ว นายนิริยบาลเรียกให้ไปยังปากขุมอันเต็มด้วยเพลิง ผลักให้ตกลงไปในไฟก็ดับ เกิดเปนดอกบัวรับภิกษุรูปนั้น ภิกษุก็นั่งแสดงธรรมแก่นายนิริยบาลๆเกิดเลื่อมใส จึงมาทูลอโศกๆไม่ยอมไป ด้วยกลัวว่านายนิริยบาลจะทำตามคำสั่งเดิม นายนิริยบาลก็ทูลยกคำปฏิณาฯนั้นเสีย แล้วนำเสด็จไปได้ฟังธรรมจากพระอรหันต์องค์นั้น เกิดความเลื่อมใส จึงให้ไปเที่ยวตามหาพระสงฆ์ได้อุปคุปตเปนต้นมา จึงสร้างกุกกฏารามให้อยู่ก่อน  นรกขุมนั้นที่เพลิงดับแล้ว ยังอยู่คุงเท่าบัดนี้ ลึกไม่มีอะไรโยนถึงหยั่งถืง  ครั้นมาภายหลังจนถึงเวลาพวกมหมาดันมาเปนเจ้า ขุนนางผู้ใหญ่มายังต้องไปเส้นสรวงทิ้งทรัพย์สมบัติลงไปในเหวนั้นเสมอทุกปี แต่มิใช่จะรู้เรื่องว่าเป็นนรกตามที่กล่าวในพุทธสาสนา เขาถือลัทธิตามสาสนาข้างฝ่ายเชนอีกส่วนหนึ่ง นรกนี้ตั้งอยู่มุมมหาเจดีย์ ซึ่งรวามพระธาตุ 7 ตำบลมาบรรจุข้างตะวันออกเฉียงใต้ เรื่องเมืองปาตลีบุตรนอกจากกล่าวถึงเรื่องพระมีในหนังสือราชทูตกรีก และจดหมายเหตุเปนภาณาภาษาสันสกฤตเขานำมาสอบต้องกันโดยมาก

          ในเวลาเมื่ออโศกเข้ารีตพุทธสาสนาครั้งนั้น มีสาสนาอื่นคือเชนเปนต้นกำลังจำเริญแพร่หลายอยู่ในประเทศเหล่านั้น อโศกก็ไม่ทำอะไรให้คงอยู่ตามเดิม คิดแต่ยกย่องพระพุทธสาสนาส่งภิกษุที่เหลืออยู่ 500-600นั้น ให้แยกกันออกไปสอนสาสนาทั่วพระราชอาณาเขตต์ มีคนบวชเปนอันมากทั่วทุกแห่ง แล้วให้ไปหาช่างกรีกที่อยู่เมืองมิตถิล(คือมิตถิลลา) ในมณฑลปัญจาปะซึ่งอโศกเคยไปเปนเจ้าเมืองเมื่อครั้งวินทุศาลผู้บิดาเป็นเจ้าแผ่นดิน เพราะเจ้าแผ่นดินกรีกได้ถอยไปตั้งอยู่ในโฮลิแลน คือเมืองพวกยรุซาเลมก่อนพระเยซูเกิด แต่ครั้งจันทรคุปตซึ่งเป็นพระราชบิดาวินทุศาลนั้น ให้ทำตัวอย่างและส่งไป ให้สร้างเจดีย์ในที่ต่างๆ หลายพันองค์ ในเมืองซึ่งได้ส่งพระไปให้สั่งสอนนั้น ครั้นเมื่อการที่จัดเช่นนี้สำเร็จแล้วจึงประกาศว่าพระพุทธสาสนาเปนสาสนาสำหรับชาติ เจ้าแผ่นดินต่อแต่อโศกมาคือกุนาลาราชบุตรถือพุทธสาสนา แล้วทศรฐ นัยหนึ่งเรียกว่าสัมประติ เปนราชนัดดาอโศก เดิมก็ถือพุทธสาสนาจนถึงสร้างพระในถ้ำและจารึกศิลาอักษรอย่างเดียวกันกับอโศก แต่ภายหลังกลับเข้ารีดเชนะ พุทธสาสนาก็เสื่อม

          ในที่นี้ควรจะเล่าถึงสาสนาเชนะซึ่งยังแพร่หลายอยู่มากในอินเดีย ที่ฉันได้ไปเห็นเองแก่ตา และสนทนาต่อผู้ที่ถือสาสนานั้น ชื่อว่าศิวประษาตร เปนครูโรงเรียนสันสกฤตของรัฐบาลอังกฤษ พูดอังกฤษได้ เขามาตีคอว่าเขาถือสาสนาเดียวกับเรา นำไปวัดๆนั้นลักษณเทวสถานยอดปรางค์มืดๆจุดตะเกียงดวงหนึ่ง มีพระพุทธรูปศิลาขาวหน้าตักศอกเศษนั่งอย่างมารวิชัย พระศกทาดำพระเนตรฝังพลอยฤากระจกอะไรวาวๆพอแลเห็นเข้าก็ตกลงจะไหว้ แต่เวลานั้นใจกำลังอินเป็นกำลัง เข้าไปมองดูว่าจะเปนอย่างไรบ้าง ไม่มีรอยห่มผ้าเกลี้ยงๆนึกเฉลียวใจขั้นมาพนมแต่มือคม แล้วกลับมาสนทนากันใหม่ เกณฑ์ให้แกสวดอิติปิโส เพราะอิติปิโสนี้ ไปได้เค้าจากเมืองพะม่าที่แวะก่อนจากฝรั่งที่เขามากำกับว่าพวกที่ถือพุทธสาสนาเขาสอบกันว่าจะถือถูกกันฤาไม่นั้น เขาให้สวดอิติปิโส ฝรั่งคนนั้นเคยเปนข้าหลวงอังกฤษไปอยู่กับเจ้าแผ่นดินพะม่า แกสอนให้สวดอิติปิโสเสียคล่องทีเดียว ครั้นตาวิศวาประษาตรสวดอิติปิโสมันยาวออกไปกว่าเราหลายวาเปนวิปัสสิกลายๆจึงได้ไล่เลียงต่อไป แกไกล่เกลี่ยว่าพวกแกนั้นเปนคนพุทธสาสนา แต่เจ้าแผ่นดินที่เป็นฮินดูไม่ชอบ จึงต้องไถลไปถือพระพุทธเจ้าที่ได้มาตรัสก่อนพระโคดม ออกชื่อถูกมาตั้งแต่กกุสันธะ เชนะนั้นอธิบายว่าชิน ลักษณที่บูชามีสั่นกระดิ่งแกว่งธูปอย่างพราหมณ์ แต่สิกขาอย่างอื่นไม่มีเวลาจะไล่เลียง ได้ความแต่ศีลห้าตรงกัน แกกลับอธิบายต่อไปว่า เสื้อที่สวมอยู่นั้น (คือเสื้ออย่างแขก) ก็เปนข้อบังคัยครั้งเจ้าแผ่นดินเปนมหมาดัน ผ้าที่นุ่งปล่อยชายโจงชาย ถ้าไปในราชสำนักก็นุ่งไม่ได้ ต้องนุ่งกางเกงมีเรื่องที่ไปเห็นเองเท่านี้

          ครั้นเมื่อได้อ่านหนังสือทั้งปวงเข้า ปรากฏว่าสาสนานี้มันมีมาเสียแต่ก่อนพระเจ้าอโศกยกย่องพุทธสาสนาแล้ว ในเวลปัจจุบันนี้ ที่ฝรั่งไปพบเมืองปาตลิบุตรนั้น ได้พบวัดเชนสร้างอยู่บนโคกที่เปนพระเจดีย์มีคำจารึก แต่เทียบดูกับคฤสตศักราชเปน 1791 เท่านั้น คนทั้งเมืองเดี๋ยวนี้ถือสาสนาเชน

          จึงคะเนเอาว่าพระสงฆ์ที่เปน 2 นิกายนั้น น่าจะเปนมาเสียช้านานนักหนาแล้ว มหายานคงจะหันเหียนเข้าหาเชน พวกหีนยานคงจะเสื่อมสูญหมดในอินเดียไม่ช้าเลย แต่เชื้อสายที่เข้ามาในเมืองเราทีหลังนั้นมาจากลังกา เพราะสาสนาไปถึงเมืองลังกาครั้งอโศกบำรุงพระสาสนาซึ่งชาวลังกาถือว่าพระมหินทรเถรซึ่งเปนโอรสพระเจ้าอโศกออกไป จึงไปสอบเรื่องพระมหินทรนี้ข้างมหายานจะกล่าวว่ากระไร เขากล่าวว่ามเหนทรเปนอนุชาพระเจ้าอโศกสำเร็จพระอรหันต์อยู่ในเขาครึธรกุฏ(คือคิชฌกุฏ) ชอบที่สงัด เจ้าแผ่นดินมีความนับถือนัก จึงอาราธนาให้ม่อยู่ในที่ใกล้ พระมเหนไม่อยากจะรับนิมนต์ด้วยเสียดายความสงัดแห่งเขานั้น เจ้าแผ่นดินจึงตั้งเครื่องยวงสรวงพวกอมนุษย์ และว่าเวลาพรุ่งนี้ขอเชิญให้มารับเครื่องสังเวย แต่จะไม่มีเสื่อปูให้นั่ง ขอให้เอาที่นั่งของตัวมาเอง ครั้นรุ่งขึ้นพวกผีทั้งปวง จึงเอาศิลาหน้าร่าห์เปนที่นั่งมาคนละแผ่น ครั้นเลี้ยงเสร็จแล้วเจ้าแผ่นดินจึงขอให้ช่วยก่อเขาเอาศิลา 5 แผ่นนั้นตั้งขั้นเปนถ้ำ ในถ้ำนั้นยาวประมาณ 30 คิวบิกเศษ กว้างประมาณ 20 คิวบิก สูง 10 คิวบิก ที่เขานี้อยู่เหนือพระราชวัง อยู่ใต้เมืองปาตลิบุตร เพราะพระราชวังอยู่นอกเมืองปาตลิบุตร ไม่มีเรื่องไปลังกา นอกจากที่ลังกาเล่า แต่สำนวนคนอังกฤษเขาเชื่อว่าจดหมายลังกาเปนความจริง  เพราะนางสังฆมิตตาลูกพระเจ้าอโศกที่ว่าไปลังกาถูกเรื่องกับที่กล่าวว่าบวช ถ้าหากว่าพระมหินทรได้ไปลังกาแต่ในเวลานั้นบางทีจะยังเป็นครูหีนยานได้เรื่องมหินทรที่กล่าวถึงถ้ำนี้ เอามาจากฟ้าเหียนเล่า เพราะประสงค์จะฟังคำพวกมหายานซึ่งเขาไม่อินเตอเรสในเมืองลังกา

          บัดนี้จะกล่าวถือเรื่องไถลของมหายานซึ่งฟ้าเหียนเล่าเรื่องมเหนทรว่าด้วมหายาน เปนได้ดังนี้ ว่า

          ในพระนครอันมีพราหมณ์ผู้ใหญ่คนหนึ่งชื่อ รถสวามี เปนอาจารย์ใหญฝ่ายมหายานเปนผู้บริสุทธิ์จากกิเลส มีปัญญามาก เข้าใจสารพัดอยู่แต่ลำพังตัวด้วยความบรุสุทธิ์ หามลทินมิได้ (ที่นี่มีฟุตโต๊ตว่านิ่งภาวนาอยู่)  พระเจ้าแผ่นดินเมืองนี้นับถือเคารพปฏิบัติดุจอาจารย์ถ้าเจ้าแผ่นดินจะเข้าไปสนทนาฤาจะไปนัสการ ก็ไม่อาจจะประทับเคียง ถ้าหากว่าด้วยความรักและความนับถือพระเจ้าแผ่นดินไปยึดมือของท่านพราหมณ์นั้น ถ้าปล่อยเมื่อใด ท่านก็หยิบน้ำมาเทล้างมือเสียทันที อายุท่านเห็นจะกว่า 50 ปี ทั่วพระราชอาณาเขตต์มีความนับถือท่าน โดยอาศัยท่านผู้นี้ผู้เดียว พระธรรมของพระพุทธเจ้าจึงได้รู้แพร่หลาย ผู้ซึ่งตามลัทธิอื่น ไม่เห็นอำนาจของตัวซึ่งจะทำอันตรายร่างการแห่งท่านมัง (ภาษาฝรั่งแปลว่านักบวชฤาษีโยคี) ผู้นี้ได้

          ฟาเหียนเล่าต่อไปว่า ที่ข้าโตเป (ในที่นี้เขาเรียกว่าเตาเวอ ภาษาฝรั่ง แต่คำโดเปนี้ ตาฟ้าเหียนแกเคยเรียกพระเจดีย์ก็เรียกมาจากสถูป) ของพระเจ้าอโศก ได้สร้างวัดมหายานใหญ่และงามมาก มีทั้งอารามหีนยานด้วย รวามด้วยกันทั้ง 2 ฝ่ายประมาณพระ 600-700 สิกขาบท และธรรมในใจกับทั้งจัดการเล่าเรียนของท่านทั้งสองพวกนี้สมควรจะชม

          ซามัน (ภาษาฝรั่งแปลว่า ผู้บำเพ็ญเพียรฤาสมณะ) ซึ่งมีคุณธรรมอย่างสูงทั่วทุกทิศ และนักเรียนผู้ไต่ถามซึ่งจะใคร่ทราบความจริงและต้นเหตุของความจริง ย่อมมายังอารามทั้ง 2 นี้ อนึ่งโสดในอารามนี้มีพราหมณ์เปนครูผู้หนึ่งมีนามปรากฏว่า มัญชุสรี ซึ้งซามัน ทั้งหลายผู้มีคุณธรรมอันใหญ่ยิ่งในพระราชอาณาเขตต์นี้ กับทั้งมหายานภิกษุย่อมนับถือแลดูท่าน (คือเปนที่พำนัก)

          หมดในเรื่องที่ว่าด้วยสาสนา ขอให้พิเคราะห์ดูว่ามันปนกันเลอะอย่างไรอยู่ ที่กล่าวนี้เปนเวลาซึ่งกำลังพร้อมมูลกันอยู่ในพระนครอันเดียว ถ้าหากว่าจะไปเกิดเลือกทางบริสุทธิ์ชำระเครื่องรึงรัง น่าจะไปชำระกันที่เมืองลังกา เมื่อสังคายนาชั้นหลัง ซึ่งเขายกย่องว่าเปนการสำคัญมาก คงจะได้เลือกฟั้นกันจริงๆไม่ใช่แต้มหัวตะอย่างสังคายนากรุงเทพฯ ส่วนสังคายนาในอินเดียนั้น เห็นจะไม่คงอยู่ได้เท่าใดเพราะใช้ท่องเอาด้วยปาก และด้วยเหตุนั้น จึงได้แพ้พวกมหายานอันได้คัมภีร์มาจากในถ้ำ ขอยุติไว้เพียงเท่านี้ทีหมดเวลา แต่เรื่องสวาสติกและเครื่องหมายอื่นๆยังไม่เห็น

 

พระราชหัตถเลขา

สวนดุสิต

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก 36 122

ถึง เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัตติวงศ์

          ด้วยฉันไม่สบายขอหยุด 1 วัน จึงได้เขียนอะไรต่ออะไรเหล่านี้ที่เปนเรื่องเบา ๆ ส่งมาให้

          มีที่บอกไปแต่ก่อนผิดเรื่องหนึ่ง  ด้วยศรัทธาที่ฟ้าเหียนและห้วนเจียงไปอินเดีย  หลงไปที่ลงามาใหม่นี้ถูกต้อง แต่เรื่องเครื่องหมายต่างๆ มีสวาสติกเปนต้น ไม่เคยเห็นอธิบายว่าหมายเช่นั้นด้วยเหตุผลอย่างไร เคยเห็นแต่เขาชี้ให้ดู

 

 

พระราชหัตถเลขา

สวนดุสิต

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก 36 122

ถึง เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัตติวงศ์

          ด้วยฉันไม่สบายขอหยุด 1 วัน จึงได้เขียนอะไรต่ออะไรเหล่านี้ที่เปนเรื่องเบา ๆ ส่งมาให้

          มีที่บอกไปแต่ก่อนผิดเรื่องหนึ่ง  ด้วยศรัทธาที่ฟ้าเหียนและห้วนเจียงไปอินเดีย  หลงไปที่ลงามาใหม่นี้ถูกต้อง แต่เรื่องเครื่องหมายต่างๆ มีสวาสติกเปนต้น ไม่เคยเห็นอธิบายว่าหมายเช่นั้นด้วยเหตุผลอย่างไร เคยเห็นแต่เขาชี้ให้ดู

 

ความสันนิษฐานเรื่องมหายานและหีนยาน

          ในการที่จะเรียบเรียงความเห็นเวลานี้ หาได้มีสมุดซึ่งคิดจะอ้างอยู่ในมือไม่ คือสมุดที่พรตญี่ปุ่นให้ ได้ถวายไปให้กรมหมื่นวชิรญาณสอบสวน  ชินกาลมาลินีและพงศาวดารเชียงใหม่ก้ไม่ได้ตระเตรียมมาหนังสือต่างๆ ไม่พร้อม เพราะเห็นว่าถึงจะเอามาให้พร้อมก็ไม่มีเวลาจะตรวจ  จึงคิดว่าเขียนแต่พอเปนเค้าตามความจำได้ก็จะพอเปนทางคิดเห็นอยู่แล้ว เมื่ออยากจะรู้ละเอียดจึงไปค้นสอบสวนหนังสือเหล่านั้นสำหรับผู้มีเวลาที่สามารถจะแต่งให้ละเอียดได้  ที่เขียนบัดนี้เป็นแต่นำให้นึก

          ข้อซึ่งจะพิจารณาว่ามหายานเปนอย่างเก่าฤาหีนยานเปนอย่างเก่าตามความเห็นที่เธอคะเนว่าหีนยานจะเป็นพวกข้างมีน้อย มหายานมีมาก  พวกหีนยานเห็นว่าพวกมหายานเลอะเทอะนักจึงได้ตัดรอนเสียเหมือนธรรมยุติกากับมหานิกาย

          ความ 2 ข้อนี้ได้เคยพิจารณาเห็นเช่นนั้นครั้งหนึ่งแล้ว แต่ครั้นเมื่อได้เห็นหนังสือที่พรตญี่ปุ่นแต่งว่าด้วยนิกาย  และคณะพรตในเมืองญี่ปุ่นกล่าวท้าวขึ้นไปถึงพุทธกาล  จึงได้สนทนากับกรมหมื่นวชิรญาณๆได้ค้นเรื่องตัวอย่างที่มีมาในบาลีประกอบ  จึงลงสันนิษฐานกันว่าข้อที่แบ่งเปนพวกเปนหมู่นี้  ได้มีมาเสียแต่พระพุทธเจ้ายังเสด็ยอยู่แล้ว

          ข้อซึ่งว่าหีนยานและมหายาน  ข้างไหนจะเก่าข้างไหนจะใหม่  ได้วินิจฉัยจากหนังสือพรตญี่ปุ่นซึ่งเปนตัวมหายานเอง  กล่าวว่าหีนยานเคยเป็นหมู่ใหญ่  มหายานรุ่งเรืองต่อภายหลังดังจะกล่าวต่อไปข้างหน้านี้

          ในบาลีมีพระพุทธเจ้ายกเอตทัคคฐานพระเถรรูปหนึ่ง  ว่าฉลาดในการจัดเสนาสนสงฆ์ให้อยู่เปนหมู่เปนเหล่าตามความประพฤติของภิกษุพวกนั้นๆ ในเรื่องราวของท่านผู้ฉลาดในการแบ่งปันนี้ คือปันเป็น 6 พวก  มีพวกที่ทรงวินัยเคร่งครัดเปนต้น  ความพิสดารมีเคยแปลแล้ว  แต่จะหยิบไม่ได้ในเวลานี้  แต่พวกที่แบ่งกันในเวลานั้นไม่แรงถึงนุ่งกางเกงข้างหนึ่ง  นุ่งสบงข้างหนึ่ง  แยกกันเปนทำนองฝ่ายวิปัสสนาธุระ ฝ่ายคันถธุระในเวลานี้  แต่ความประพฤติของท่านพวกนั้นลางทีเอื้อเฟื้อแต่อย่างเดียว 2 อย่าง ไม่เอื้อเฟื้อต่อความปฏิบัติอย่างอื่น เหมือนหนึ่งว่าผู้ที่ประพฤติธุดงค์ มักจะเอื้อเฟื้อต่อวินัย  ประพฤติวินัยดี ฝ่ายข้างพวกที่เอื้อเฟื้อต่อพระสูตร คือฝ่ายคันถธุระไม่เอื้อเฟื้อต่อวินัย  ถือวินัยอย่างหละหลวมเช่นนี้มีมาแต่ก่อนแล้ว  ถ้าจะมาเทียบดูทีเปนอยู่ในเมืองไทย ปัจจุบันนี้ ก็คือตรงกับพระมหานิกาย เอื้อเฟื้อในทางพระสูตรและคันถธุระ ไม่สู้เอื้ฟเฟื้อในทางวินัย  มหานิกายเช่นนี้ไม่ใช่พึ่งเกิด  มีมาแต่ครั้งพระพุทธองค์ยังเสด็จอยู่แล้ว  พิเคราะห์ดูตามลาดเลาของหนังสือ  เสมือนหนึ่งจะเห็นได้ว่า  มหานิกายเดี๋ยวนี้ยังประพฤติกว่าภิกษุบางพวก  เมื่อครั้งพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่เสียอีก  เพราะอาณาจักรเข้าช่วยปกครอง  ข้างฝ่ายธรรมยุติกานั้นตกอยู่ในพวก 1 ใน 6 พวก ซึ่งประพฤติศึกษาในทางพระสูตรและพระวินัย นับว่าเสมอกันกับที่มีตัวอย่างมาแต่ครั้งพระพุทธเจ้ายังเสด็จอยู่ อีก 4 พวกนั้นของดไว้ไม่พรรณนา แต่ก็เปนอย่างนั้นบ้างอย่างนี้บ้างเจือปนกัน

          ข้อที่แยกหมู่กันแต่เดิมมาเปน 6 พวกเช่นนี้  ก็คงจะเกิดลัทธิอาจารย์ต่าง ๆ กันเปนต้นเหตุมีมาแล้ว

          ข้างฝ่ายหนังสือญี่ปุ่นที่เขากล่าวนั้น เขาจับเอาปฐมสังคายนาว่าพระสงฆ์ซึ่งทำสังคายนานั้น เปนหีนยาน เมื่อเสร็จการสังคายนาแล้วได้แยกตั้งเขาเรียกว่าโรงเรียนเปน 6  6โรงเรียนนั้นก็เปนหีนยาน เมื่อจะทำสังคายนาที่2 เกิดขึ้นด้วยโรงเรียนทั้ง 6 กล่าวต่างๆกันไป  จึงได้ประชุมสังคายนา  ซึ่งเรียกว่าเคาซิลเปนครั้งที่ 2 เพิ่มเติมที่เรียนขึ้นอีก  แต่เปนหีนยานทั้งสิ้น  ในระหว่างนี้จนถึงตติยสังคายนา  พระพุทธสาสนาร่วงโรยลงไปมาก  พระเจ้าอโศกประชุมพระสงฆ์บรรดาซึ่งจะหาได้ในอินเดียมาสอบสวน  ในเวลานั้นจึงรู้ว่ามีลัทธิต่างกันอยู่ แต่พระอุปคุปตแลโมคคัลลีบุตรติศเถร เปนหีนยาน เพราะฉะนั้นสังคายนาครั้งที่ 3 จึงเปนพวกหีนยานยังมีอำนาจ  ได้ตั้งโรงเรียนหลายโรงแต่พวกมหายานก็มีโรงเรียนเกิดขึ้น  เว้นแต่อำนาจยังน้อยกว่าพวกหีนยาน

          จะเปนก่อนสังคายนาที่ 3 ฤาสังคายนาที่ 3 แล้วจำไม่สนัด พวกมหายานไปพบคัมภีร์พุทธวจน  เขียนบรรจุไว้ในถ้ำ ได้ธรรมอันลึกลับซึ่งพระเถรเจ้าแจ่ก่อนได้ฟังจากพระพุทธเจ้าแล้วจารึกๆว้เปนหลักฐานจึงนำมาสั่งสอน  แต่นั้นฝ่ายมหายานก็รุ่งเรืองขึ้น  ฝ่ายหีนยานซึ่งสั่งสอนกันแต่ด้วยวาจาความรู้เสื่อมทรามลงไปทุกที  ไม่เหมือนพระเถรเจ้าซึ่งเป็นอรหันต์  ยังคงมีอยู่แต่ก่อนนั้น

          ข้อซึ่งต่างกันในระหว่างหีนยานและมหายานนั้น เขายอมรับว่าเปนพุทธวจนด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย แต่แบ่งเปน 2 กาล คือตั้งแต่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว ได้สั่งสอนเวไนยสัตว์โดยพระวินัยและพระสูตรเป็นพื้น  จนตกมาถึงเมื่อขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาบนดาวดึงส์แล้วได้สั่งสอนเวไนยสัตว์ด้วยอภิธรรมมากกว่าพระสูตร  เขาตั้งรายปีลงว่า ปีที่หนึ่งเทศนาสูตรนั้นๆ ที่ 2 สูตรนั้นๆ จนปีที่ 45 พระสูตรตอนข้างต้นเราฟังรู้จักบ้าง แต่ตอนหลังๆลงมาชื่อสูตรนั้นยาวๆ ฟังไม่รู้ว่าไปข้าไหน  บัญชีนี้ยาวมากอ่านเหน็จเหนื่อยทีเดียว  แต่ไม่มีแก่นสารอะไรสำหรับความรู้เราเลย

          ต่อไปจึงบรรยายว่าคณะในเมืองญี่ปุ่น  ได้รับความรู้มาจากที่ไหนมีมาจากเมืองจีนโดยมาก จากธิเบตบ้าง  จากอินเดียบ้าง  จากโคเรียบ้าง  แล้วไปแยกกันออกด้วยเหตุผลต้นปลายอย่างไร  ซึ่งไม่เปนประโยชน์อันใดแก่เราจนหมดเล่ม

          คราวนี้เมื่ออ่านสอบดูกับรายงานชุดค้นของโบราณในเมืองปาตลีบุตร  อันอยู่ที่เมืองปัตนาในปัจจุบันนี้ ของ แอล เอ วัดเดล  ซึ่งเปนเลบเตอแนลเคอแนลในกองหมอทหารอินเดีย  ลงพิมพ์เมื่อคฤสตศักราช 1903 รัฐบาลอินเดียส่งมาให้ฉัน  ซึ่งเขาไม่ได้จงใจจะกล่าวเรื่องพุทธสาสนา  แต่หากเมืองปาตลีบุตรเปนเมืองสำคัญในพุทธสาสนาเขาจึงเก็บเรื่องราวบรรดาซึ่งกล่าวถึงเมืองที่มีอยู่ในบทกลอนและนิทานในประเทศอินเดียนั้นเอง  และจดหมายเหตุของทูตกรีกและพรตจีนซึ่งได้ไปถึงเมืองปาตลีบุตร  ในเวลาพระเจ้าอโศกกำลังมีอำนาจ  และที่ร่วงโรยต่อ ๆ กันมาเปนลำดับ  เอาถ้อยคำของผู้ที่ไปเห็นนั้นสอบสวนกันสำหรับที่จะขุดค้นให้ถูกเบาะแส  แต่คำที่เขาเก็บรวบรวมมานี้ อยู่ข้าจะเปนประโยชน์แก่ความอยากรู้ของเรา  แต่ข้างเขาก็ร้องว่าเต็มค้นอยู่เหมือนกัน  เพราะหนังสือเก่าๆ มักแต่งเปนเรื่องเฟเบอลคล้ายรามเกียรติ์เสียมาก  ที่อาศัยเปนหลักฐานได้จากหนังสือกรีกเปอเซียนจีนพอเปนหลักหลาย  ประกอบกับคำจารึกศิลาและเงินตรากับสิ่งอื่นๆซึ่งขุดได้  จับเอาหนังสือท่อนเล็กท่อนน้อยเหล่านี้ผสมกันเข้า  ที่ขาดอยู่ก็เอาเรื่องราวที่มีในจดหมายอินเดียคงไว้  ผสมเข้าพอเปนเรื่องได้ว่า

          เมืองซึ่งพวกกรีกเรียกว่าปาลิบุธร  คือปาตลิบุตร  แปลว่าเมืองดอกไม้ซึ่งมีกลิ่นหอม  เปนเมืองสำคัญในเรื่องพงศาวดารข้างฝ่ายตะวันออก ถือว่าไม่เปนเมืองลึกซึ้งในพวกพงศาวดารอินเดีย  แต่เปนเมืองที่ราชวงศ์อันหนึ่งมีอำนาจใหญ่  เปนหลักคือแลนมารกของอินเดีย

          เมืองนี้เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จซึ่งมีปรากฏในบาลี  และหนังสือต่างๆ เมื่อก่อนคฤสตศักราช 400-500ปี ยังเปนหมู่บ้านเล็กชื่อปาตลีคามฝั่งใต้แห่งแม่น้ำแคนเยส แต่เรียกตามเสียงฝรั่ง  ความตั้งใจเขียนเห็นจะเขียนคังเคส์ คือคงคา พระจ้าแผ่นดินราชคฤห์  เดี๋ยวนี้เรียกราชเคีย  พระเจ้าอชาตศัตรูโอรสพระเจ้าพิมพิสาร  ซึ่งเปนพระเจ้าแผ่นดินก่อนพุทธปรินิพพาน 8 ปี  ได้ตั้งเปนเมืองด่านไว้สำหรับเปนที่ข้ามพลไปปราบเมืองริปับลิกเล็กน้อยซึ่งอยู่อีกคนละฟาก

          แต่เมืองนั้นตั้งอยู่ในที่ท่าค้าอันสำคัญ  เพราะได้ตั้งอยู่ที่แม่น้ำร่วมฤาใกล้แม่น้ำร่วมของแม่น้ำทั้ง 5 ในกลางประเทศอินเดีย  เมื่อฟ้าเหียนไปว่าอยู่ใต้แม่น้ำร่วมประมาณโยชน์หนึ่งฤา 7 ไมล์  แม่น้ำทั้ง 5 นั้น คือ แคนเยส1โคดรา1 ราบติ1 คันดั๊ก1 โสน1 เพราะฉะนั้น เรือที่จะไปมาจำต้องฝ่ายจึงได้เจริญเปนเมืองใหญ่ขึ้นเร็วนัก  ต้องด้วยพระพุทธทำนาย

          ตั้งแต่พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปที่นั้นแล้ว เพียงชั่วอายุเดียวพระเจ้าอุทายินฤาอุทยสวะฤาอุทธัยน ซึ่งเป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าอชาตศัตรูได้ย้ายจากเมืองราชคฤห์ซึ่งอยู่ข้างตะวันออก  ซึ่งเปนแผ่นดินสูงประกอบไปด้วยภูมิประเทศเปนเขา ที่พวกอารยันคือพวกกรีกมักมารบกวนนั้นลงมาตั้งอยู่ในที่นี้  ครั้งเมือปราบข้างฝ่ายเหนือได้แล้วจึงได้ยกขึ้นไปเปนพระราชธานีนครหลวง ชื่อปาตลิบุตร

          ในขณะนั้นประมาณ 300 ปีฤา 302 ปีก่อนคฤสตศักราช พระเจ้าแผ่นดินเวลานั้น ทรงพระนามจันทรคุปต แต่พวกกรีกเรียกว่าสันทรากุตโต ได้เปนทางพระราชไมตรีกับอาเลกซานเดอดิเกรต  จนถึงได้เปนเกี่ยวดองอันสนิท อาเลาซานเดอดิเกรตนั้นอยู่ปันชาบ (ปัญจาลฤาอุตรปัญจา) เมื่อมาตีเมืองอินเดียข้างเหนือก่อนคฤสตศักราช 326 ปี ตามเรื่องราวที่ชาวมาเซโดเนียได้เขียนเปนพงศาวดารไว้ว่าเจ้าองค์นี้ (คือ จันทรคุปต เปนชาติต่ำ แต่ได้เปนเจ้าขึ้นโดยอำนาจเทพดาทั้งหลาย เมื่อได้ทำความผิดต่ออาเลกซานเดอโดยกล่าววาจาหยาบ อาเลกซานเดอ  ให้เอาไปประหารชีวิตเสีย  แต่หนีรอดจึงควบคุมพวกกองผู้ร้ายหลายพวกเข้าเปนกำลัง และยั่วใจพวกชาวอินเดียให้ความมานะชิงอำนาจคืน  ในการที่ได้ต่อรบกับแม่ทัพนายกองของอาเลกซานเดอ จันทรคุปตมีชื่อเสียง  ปรากฏว่าเปนขุนคชสารใหญ่ซึ่งมีกำลัง เมื่อได้อำนาจเช่นนั้นแล้วสัตดรกุตโต  จึงได้เปนเจ้าแผ่นดินพร้อมกันกับเซลิวโกซึ่งเปนราชโอรสของอาเลกซานเดอ  แต่ผู้จดหมายข้างกรีกอีกคนหนึ่งเขียนชื่อว่าสันดรคุปตัส  อีกผู้หนึ่งเขียนว่าอันดโรกุตโต  แต่หมายความว่าจันทรคุปตคนเดียวกัน  เรื่องราวฝ่ายข้างพุทธสาสนากล่าวว่าชาติเดิม  และวงศ์ตระกูลของจันทรคุปตเปนโมระฤมยุระซึ่งพวกคีมภีร์พราหมณ์เรียกว่าเมารยะ ตั้งอยู่ในเชิงเขาหิมมาลัยฝ่ายเหนือประเทศอินเดีย  อีกนัยหนึ่งกล่าวว่ามยุระราชาซึ่งได้สร้างพระสถูปเปนชาติสากยะอยู่ในเมืองที่ตั้งอยู่หว่างเขาโมรา  เรียกว่าบ้านสวาสต ผู้แต่งรายงานนี้ไปขุดได้รูปภาพต่างๆในพุทธสาสนามาไว้ในมิวเซียมอินเดียเปนอันมาก  และบรรดาสิ่งที่ขุดได้เหล่านั้นเกือบจะมีรูปโมระฤานกยูงเปนเครื่องหมายทั้งนั้น ตามเรื่องราวกรีกกล่าวว่าเซลิวโกสะนิกตอไปตีเมืองบาไบลอนแผ่อำนาจไปทางนั้น จันทรคุปตจึงได้ตีเอาอาณาเขตต์แผ่อำนาจในอินเดียแล้วตั้งตัวขึ้นเปนเจ้าแผ่นดิน ภายหลังได้รบกันกับเซลิวโก จนกลับลงเปนมิตรแล้วเปนญาติโดยแต่งงาน  ได้รับของตอบแทนจากจันทรคุปตเปนช้าง 500 เชือก เมื่อทำไมตรีข้างฝ่ายอินเดียแล้ว เซลิวโกจึงได้ไปรบแอนติโคนัตต่อไป

          ในเมื่อเปนไมตรีกันแล้วนั้นเซลิวโกจึงได้แต่งให้เมคัสติเนสเปนราชทูตมายังราชสำนักแห่งจันทรคุปตที่เมืองปาตลิบุตร เมคัสติเนสผู้นี้(ตายเมื่อก่อนคฤสตศักราช291ปี) กล่าวว่าเมืองปาตลิบุตรนี้ยาวประมาณสัก 9 ไมล์ล้อมด้วยกำแพงไม้ มีหอรบและประตูเปนอันมากและมีช่องสำหรับยิงธนูตลอดไป ข้างด้านหน้ามีคูสำหรับป้องกันและมีท่อน้ำเข้าออกในเมือง พลเมืองประมาณสีแสน ส่วนราชบริพารของพระเจ้าแผ่นดินหลายพันคน แต่เปนการประหลาดที่กล่าวถึงสาสนาของราษฎรในเวลานั้น  หาได้กล่าวถึงพุทธสาสนาไม่  ได้กล่าวถึงสารมเณียแต่งตัวด้วยเปลือกไม้ ก็ดูเปนทางข้างพราหมณ์ในรายงานนี้เขากล่าวว่าพระพุทธเจ้าพึ่งปรินิพพานราวร้อยปีเท่านั้น (ใกล้ข้างถูก) และเขาเห็นว่าถ้อยคำที่ใช้เรียกชื่อเสียงอันใดในจดหมายเหตุนั้น เปนสำเนียงสันสกฤตคือมีตัว  ร มาก จึงคเนว่าภาษาบาลีนั้นไม่ได้ใช้ คงจะเปนภาษาที่เกิดขึ้นภายหลัง  ทั้งที่มีคำกล่าวอีกฝ่ายหนึ่ง  ว่าพระพุทธเจ้าตรัสภาษาบาลีเสมอนั้น  ทางไมตรีในระหว่างกรีกกับเมืองปาตลิบุตรดูจะเปนที่สนิทสนมกันมาก  จึงมีจดหมายเหตุกล่าวว่าโอรสของจันทรคุปโต  อันทรงนามว่า อามิโดรจะเตสะ ฤา(อามิโตรฆาตะ) อีกนัยหนึ่งเรียกว่า อัลลิโตรจะเทศ (ซึ่งคงจะหมายความตามสันสกฤตว่าอมิตรฆาฏะ แปลว่าเปนผู้ฆ่าศัตรู) แลโสภคเสนัส (ถ้าหากว่าหมายว่าสุภาคเสน ก็คงจะเปนชื่อยศ) ได้ให้กำลังแก่กองทัพอันเตียวโชสซึ่งเปนราชโอรสของเซลิวโกส แลแอนติโกนัสติเกรตด้วยช้างเปนอันมาก  ในการทำศึกกับชาวเปอเซียน  และมีสำเนาพระราชสาสนของเจ้ากรุงปาตลิบุตรขอซื้อน้ำองุ่นหวานและมะเดื่อแห้งด้วย

          ส่วนบทกลอนที่มีอยู่ในอินเดีย  กล่าวถึงการกล้าหาญและกล่าวถึงความส่อเสียดในราชสำนัก  และในการศึกที่ได้รบพุ่งกันอยู่โดยรอบเมืองปาตลิบุตร  เปนเรื่องที่เล่นละครกันอยู่ในเมืองอินเดีย ซึ่งแต่งขึ้นโดยคนอายุชั้นกลาง ดูเหมือนหนึ่งว่ามีที่ตั้งจากหนังสือโบราณที่ได้เล่าเรื่องราวเปนพงศาวดารมีหลักฐาน  แต่หนังสือนั้นจะสูญหายไปเสียแล้ว

          คงอยู่แต่เรื่องราวเมื่อได้เปนพระนครหลวงอันสมบูรณ์สนุกสนานของอโศก  ซึ่งปรากฏพระเกียรติยศเปนผู้กล้าหาญใหญ่  ในเมื่อประมาณ250ปีก่อนคฤสตศักราช (ข้างลังกาว่าพระเจ้าอโศกได้ทำตติยสังคายนา เมื่อพุทธสาสนากาลล่วงได้ 213 ปี อยู่ข้างใกล้กันมาก) เปนพระราชนัดดาของจันทรคุปต เปนเรื่องที่รู้ปรากฏกว้างขวางมากอโศกนี้เปนเอมเปรอใหญ่ยิ่งกว่าเอมเปรอทั้งหลายซึ่งได้มีมาในอินเดียเปนคอนสแตนไตน์ของพุทธสาสนา เกือบจะกล่าวได้ว่าเปนผู้ตั้งสาสนาพระพุทธขึ้นเปนสาสนา  คือหมายความว่าเปนสาสนาของราษฎรเพราะเหตุว่าก่อนแต่รัชชกาลของท่านมีแต่ภิกขุหมู่ละเล็กละน้อย แยกย้ายกันอยู่เปนพวกๆมีจำนวนน้อยทีเดียว เพราะเมื่อก่อนคฤสตศักราช 300 ปี พวกกรีกที่เขียนพงศาวดารจึงไม่ได้กล่าวถึงเลย ครั้นเมื่ออโศกได้เข้าถือสาสนานั้น  เมื่อตอนปลายจึงได้ยกขึ้นเปนสาสนาสำหรับแผ่นดินด้วย  เปนสาสนาซึ่งมีความมุ่งหมายมากแต่บังคับกดขี่น้อยเพราะเปนเหตุฉะนั้น  จึงได้ถือแพร่หลายในหมู่ราษฎรทั้งปวงทั่วไปทั้งเจ้าแผ่นดินได้ตั้งความพยายามเพาะปลูกโดยแต่งมิศชันนารีแยกย้ายกันไปสั่งสอน  จนถึงนอกพระราชอาณาเขตต์ เธอเปนผู้มีราชศรัทธาเหลือเกิน  ที่โลกนี้พึ่งได้เคยเห็น  เธอได้ปกคลุมพระราชอาณาเขตต์อันใหญ่  ตั้งแต่อาฟคานิสตาน จนถึงไมซอ  ตั้งแต่เนปาล จนถึงกุชราช  ด้วยเจดียฐานและการก่อนสร่างสำหรับพุทธสาสนาอันมีขนาดล้วนใหญ่ๆไม่ได้คิดถึงพระราชทรัพย์เลย  โดยที่พระองค์เปนพระราชาธิราชแท้  และมีนิสสัยในการช่างจึงได้ทำการก่อสร้างทั้งปวงออกจากวิธีกรีกและออไซเรียนเปนที่ตั้งไม่ตรงก็ยักเยื้องเสียบ้าง  เพราะฉะนั้นเจดียฐานซึ่งเธอได้สร้างไว้  จึงเปนสิ่งที่ล้วนแต่มีสง่างดงามทั่วทุกแห่ง  พระสถูปฤาจอมดินซึ่งเธอได้สร้างด้วยอิฐเปนแท่งทึบ  บรรจุพระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าฤาเปนที่หมายตำบลอันเปนเจดียสถานย่อมพบเห็นทั่วไปตลอดประเทศอินเดีย  และเกือบจะเหมือนบิริบิตในเมืองอิยิปต์โดยขนาด  เสาศิลาจารึกใหญ่ซึ่งเปนแท่งเดียวราว 30 ฤา 40 ฟิตขัดและสลักเกลี้ยงเกลา ยังปรากฏเปนที่พิศวงควรชมของผู้ซึ่งได้เห็น  เพราะฉะนั้นพระนครของเจ้าแผ่นดินองค์นี้จะงดงามสักเพียงใดศิลาจารึกที่เราได้พบเห็น  และได้อ่านทราบความว่าได้เปนไมตรีกับเจ้าแผ่นดินกรีกหลายองค์  แอนเตียวซัสที่ 2 เจ้าแผ่นดินเมืองไซเรีย โปเลมีเจ้าแผ่นดินอียิปต์อันติโคโนส  โคนาตัดเจ้าแผ่นดินมาเซดอนมาคัสเจ้าแผ่นดินไซเรเน  แลอาเลกซานเดอ เจ้าแผ่นดินเอเปรัส  เพราะฉะนั้น จึงทำให้คิดเห็นว่าเสาศิลาจารึกในพระนครหลวงของท่าน เอง ซึ่งได้ความว่ายังอยู่มีผู้ได้เห็น  เมื่อคฤสตศักราชล่วงได้ 2-300ปี จะสาปสูญไปเสียข้างไหนคงจะจมอยู่ในดิน  ในที่ร้างของเมืองปาตลิบุตรนี้เอง  (นี้เปนความปราร์ถนาของผู้ยื่นรายงาน  ตั้งใจจะค้นหาให้พบจงได้)

          การปลูกสร้างก่อนสมัยแห่งพระเจ้าแผ่นดินองค์นี้  และทั้งกำแพงพระนครเห็นเปนทำด้วยไม้เหมือนเมืองพะม่า  และเมืองญี่ปุ่นทุกวันนี้การที่เปลี่ยนแปลงใช้ศิลาโดยรวดเร็ว ล้วนแต่เปนศิลาใหญ่ๆจึงเปนเหตุใหมาภายหลัง ซึ่งเปนเรื่องเกี่ยวด้วยยักษ์ ว่ามีอำนาจอาจจะให้ยักษ์ให้หาศิลามาส่งและก่อสร้างการเหล่านี่ (ขันอย่างหนึ่งในภาษาอังกฤษเขาใช้ว่าเยนต์ฤาเยนนี แต่แปลลงไว้ด้วยว่ายักษ์ เว้นแต่คนธรรมดาทุกวันนี้ในเมืองอินเดียเรียกกันว่ายักเฉยๆไม่มี ษ เหมือนเราเรียก) แต่ฝ่ายกรีกเขากล่าวว่าเฮอกุเลส คือเทวดาที่เขาถือว่ามีกำลังมากเช่นนิทานอีสปที่กล่าวถึงคนเข็นเกวียนมาหักลง  เรียกให้เฮอกุเลสช่วยเฮอกุเลสเยียมเมฆออกมาบอกว่าให้เอาบ่าดันเข้า นิทานนั้นเปนคำเปรียบ แต่ความจริงนั้นเฮอกุเลสเปนเทวดาองค์ 1 ที่เขานับถืออีกนัยหนึ่งจะเปนด้วยอโศกทำรูปยักษ์เปนเครื่องประดับ รูปยักษ์ทั้งสองนั้นเปนศิลาแท่งเดียวใหญ่มาก ขุดได้ที่เมืองปาตลิบุตร เดี๋ยวนี้ตั้งอยู่ในอินเดียมิวเซียมมีคำจาฤกปีที่สร้างภายหลังสร้างเสาศิลาหน่อยหนึ่งศิลาที่ทำนั้นอย่างเดียวกันกับที่ทำเสาและขัดเกลี้ยงเกลาเหมือนกัน

          ฝีมือช่างที่ทำการในครั้งนั้น มีแบบข้างตะวันตกเจือปนมากเปนคลาสซิกย่างแอดไซเรียนและกรีกเปนอันมาก  ทั้งฝีมือที่ทำนั้นดี ผู้ที่ต่างรายงานนี้ จึงคะเนว่าคงจะได้ใช้ช่างกรีกหรือไซเรียนทำด้วย  และหนังสือข้างพุทธสาสนากล่าวว่าอโศกได้ไปเปนเจ้ามืองตะศิลา (คือตักศิลา) ซึ่งเปนเมืองเก่าในแขวงปันชาปห่างจากแม่น้ำอินทสทางสามหลับ ในเมืองนั้นเปนเมืองที่อาเลกซานเดอได้ปกครองอยู่ก่อน มีช่างกรีกอยู่มาก

          แต่เมื่อก่อนจะถึงคฤสตศักราชเมืองปาตลิบุตรร้างสิ้นเชื้อวงศ์ของอโศก เมืองหลวงได้ย้ายไปอยู่ที่อื่น คงจะปนด้วยเหตุ 3 ประการ เช่นพระพุทธเจ้าทำนายไว้ คือไฟและน้ำกับทั้งศึกภายใน เมื่อสังเกตดูก็เห็นจริงว่าเมืองนี้ตั้งอยู่ในทางน้ำเซาะ  คงจะพังทางโน้นบ้างพังทางนี้บ้าง ทั้งน่าที่ไข้ห่าจะลงอย่างเช่นเมืองอื่นๆ ทั้งการศึกภายในเปนเหตุให้ศึกภายนอกมีมาทั้งข้างใต้

          ในระหว่าง 300 ปีที่ 3 ถึงที่ 5 ดูเหมือนยังมีเจ้าแผ่นดินผู้ปกครองเมืองปาตลิบุตร ที่นับถือและอุดหนุนพระพุทธสาสนาอยุ่  เชื้อวงศ์เจ้าแผ่นดินปาตลิบุตรชั้นหลังนี้ว่าเปนวงศ์พระจันทร  เพราะพวกอริยะนั้นเปนวงศ์พระอาทิตย์ ภายหลังจึงได้ย้ายเมืองหลวงจากปาตลิบุตรไปตั้งอยู่เมืองกะนันชเมื่อระหว่างคฤสตศักราชปีที่ 300 ถือ 500 พรตจีนชื่อฟ้าเหียนยังได้ไปพบว่าเปนเมืองใหญ่  มีสถานซึ่งอโสกได้สร้างไว้ยังเปนปกติดีอยู่  ได้กล่าวถึงด้วยความพิศวงในฝีมือสลักและฝีมือฝังลายกับทั้งภาพศิลาเปนอันมาก  และเวลานั้นยังเปนเมืองที่เล่าเรียนของพุทธสาสนา  มีพระอยู่ประมาณสัก 600-700 เขาได้อยู่เล่าเรียนในที่นั้นถึง 3 ปี เมื่อไปสืบพระพุทธสาสนาข้างอินเดียฝ่ายเหนือไม่พบแล้ว

          ต่อมาอีก 200 ปี เมืองปาตลิบุตรโทรมลงโดยเร็ว เมื่อพรตจีนชื่อห้วนเจียง ได้ไปถึงราวคฤสตศักราช 635 ปี พบเมืองนั้นและสิ่งที่ก่อสร้างทำลายโทรมเปนป่าไปแล้ว  แต่เขายังสังเกตได้ว่าวัดฮินดูและสถูปซึ่งทำลายอยู่นั้นถ้าจะนับก็ด้วยร้อยเปนอันมากที่ยังเป็นปกติดีมีอยู่ 2-3 แห่งเท่านั้น ครั้นเมื่อภายหลังมาพวกแขกมหมดันเข้ามาตีอินเดีย เมื่อคฤสตศักราช 1200 ปี ได้ตัดทอนเลิกพระพุทธสาสนาขาดไม่มีเหลือในประเทศอินเดีย แต่ชื่อและที่ตั้งเมืองปาตลิบุตรอยู่แห่งใดก็ไม่มีผู้ใดรู้ ครั้นเมื่อฝรั่งมาสืบหาขึ้นเมือ100 ปีที่ 18 ของคฤสตศักราช ผู้ที่เล่าเรียนรู้มากซึ่งเปนชาวอินเดีย ไม่มีผู้ใดรู้เลยว่าอยู่ที่ไหน  แต่นี้ไปเขากล่าวถึงเหตุผลซึ่งได้ค้นพบอย่างไร  อาศัยเหตุอย่างไรประกอบกันต่อไปตามลำดับ  ซึ่งไม่เข้าอยู่ในวงความพิจารณาซึ่งต้องการในเวลานี้

          เมื่อได้อ่านหนังสือ 2 เรื่อง เช่นกล่าวมาแล้วจึงเอามารวมกันพิเคราะห์เดาตามความเห็นซึ่งน่าจะเรียกว่าอนุมาน  เห็นว่าเมื่อครั้งพระพุทธเจ้ายังดำรงพระชนม์อยู่นั้น การปกครองพระสงฆ์เห็จะไม่เปนอย่างเดียวกันหมด  และไม่สู้จะกวดขันเหมือนสมภารครองพระอารามหลวงเดี๋ยวนี้  ถึงประพฤติรักษาวินัยก็จะเปนแต่ความพอใจของผู้ใดจะประพฤติเคร่งไม่เคร่ง  ทางที่จะทำความเพียรก็ต่างๆกันตามครูบาอาจารย์ที่เปนยอดของบรรพชา  แต่ทางซึ่งจะประพฤติอย่างจึงจะตรัสรู้จะไม่กวดขันนัก  เพราะเหตุฉะนั้นจึงได้ตรัสยกย่องพระเถระองค์นั้นเลิศด้วยทางนั้นองค์นี้เลิศด้วยทางนี้  ใครที่อยู่ในคณะท่านองค์ไหนที่เลิศทางใดก็คงพยายามกันไปตามทางอาจารย์ไม่สู้เอื้อเฟื้อต่อทางอื่นนัก ข้อนี้ยังมีพยานอีกว่าเมื่อพระพุทธเจ้าจวนจะปรินิพพาน  ยังได้อนุญาตไว้ว่าสิกขาวินัยอะไรควรจะคงไว้ก็ให้คงถ้าควรจะยกเสียก็ให้ยกเสีย  ควรจะเพิ่มขึ้นก็ให้พร้อมกันเพิ่มขึ้น  ข้อนี้ให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าถือเอาทางตรัสรู้เปนสำคัญ  ไม่ถือวัตตปฏิบัติเปนหลักฐาน  แต่หากท่านผู้ทีทำสังคายนาเห็นว่าคำสั่งของพระพุทธเจ้านี้กว้างนัก จึงประกาศห้ามกันเสียไม่ให้ผู้ใดแก้ไขข้อซึ่งต้องประชุมพระอรหันต์ทำสังคายนาในครั้งแรกได้ยกเหตุว่าวิกตด้วยถ้อยคำของสุภัททภิกษุ  กล่าวเมื่อได้ข่าวพุทธปรินิพพานเปนที่ตั้งคงจะประกอบด้วยคำสั่งของพระพุทธเจ้าที่เปิดทางกว้างนัก  อีกข้อหนึ่งแต่ที่เปนยอดสำคัญนั้น คือพระพุทธเจ้าเทศนาฤาสั่งสอนอันใดไม่ได้เขียนลงเปนลายลักษณอักษรและไม่ได้เทศน์ให้พระสงฆ์ฟังพร้อมๆกันทั้งหมด  พวกนี้รู้อย่างนั้น พวกนั้นรู้อย่างนี้ จึงนัดประชุมกันสังวัธยายความรู้ตามที่ผู้ใดได้ยินได้ฟังให้รู้เท่ากันทั้ง 500 องค์ ท่านทั้ง500 นี้ คงเปนหัวหน้าเจ้าคณะควบคุมศิษย์อยู่องค์ละมากๆ เมื่อได้ไประชุมสาธยายแลกความรู้กันให้รู้เท่าๆกันหมดแล้ว นำไปสั่งสอนสาวกก็คงจะเปนแบบเดียวกันได้หมด เพราะเหตุฉะนั้น ถึงว่าพระอานนท์เปนปุถุชน  ท่านพระอรหันต์เหล่านั้นยังต้องการนักด้วยพระอานนท์เปนผู้ได้ฟังมากแสดงให้เห็นว่าความรู้พระอรหันต์ทั้งปวงนั้นไม่เท่ากันแต่พระอานนท์ยังเปนปุถุชนพระอรหันต์เหล่านั้นยังรู้น้อยกว่า

          ข้อซึ่งหนังสือพรตญี่ปุ่นแต่งกล่าวว่าสังคายนาครั้งแรกและครั้งที่2 เปนพวกหีนยานทำทั้งนั้น คำที่ว่าเห็นจะเรียกแต่พอให้เข้าใจว่าเปนพระอย่างเก่า เห็นจะไม่หมายว่าท่านทั้ง500-700 องค์นี้มีญาณต่ำเพราะเขาได้กล่าวถึงอาจารย์ข้างฝ่ายมหายานของเขา ว่าเป็นศิษย์ของท่านผู้ที่สืบมาแต่ท่านเถระองค์นั้นๆ มีมหากัสสปเป็นต้นกี่ชั่วคนทุกๆอาจารย์

          สังคายนาครั้งแรกนี้พระอรหันต์ที่มาประชุมทั้ง 500 นั้น คงจะเปนผู้ซึ่งมีอายุมากไล่เลี่ยกับพระพุทธเจ้าโดยมาก  ไม่ช้านานก็เห็นจะไม่เหลืออยู่สักเท่าใด ตกลงเปนชั้นศิษย์ก็คงจะหลายชั้น จึงมีความเห็นแตกต่างกันขึ้น  ความเห็นที่ต่างแตกกันนี้  ก็คงจะเปนอยู่หลายปีและความเชื่อถือของคนทั้งปวงก็คงต่างแตกกัน  แต่เมื่อยังไม่มีเจ้าแผ่นดินองค์ใดนับถือพระพุทธสาสนาแซงแรงก็ยังไม่อาจจะหักล้างกันลงได้  เมื่อได้พระเจ้ากาฬาโศกเปนกำลังจึงได้ชำระตัดสินผิดชอบแล้วทำสังคายนาใหม่  สังคายนาครั้งที่ 2 นี้คงเปนลักษณเดียวกันกับครั้งแรก แปลกแต่จะกล่าวว่าได้ฟังมาจากอาจารย์ของตนๆ

          ในระยะ 100 ปีนี้เปนเวลาที่พวกกรีกเข้ามาตีอินเดีย พุทธสาสนาซึ่งจับโทรมมาตั้งแต่พระเจ้าอชาตศัตรูล่วงลับไปแล้ว  คงจะไม่แพร่หลายอันใดมากนักด้วยเปนเวลารบพุ่งกันในเมือง  ครั้งที่ 2 มาได้อาศัยกาฬาโศก วงศของกาฬาโศกไม่ยืนยาวไปได้เท่าไร มีศัตรูมาแต่ต่างประเทศคงโทรมอีก ศัตรูต่างประเทศครั้งนี้อยู่ข้างมีอำนาจมาก ครอบงำทั่วทั้งประเทศอินเดีย  พวกพระสงฆ์ทั้งปวงคงซ่อนเร้นอยู่เงียบๆ จนไม่ปรากฏเปนสาสนาสมดังที่เขากล่าวไว้ในรายงานปาตลิบุตร ถึงว่าวงศ์จันทรคุปตจะคือได้อินเดียแล้วก็ไม่ได้เปนผู้ที่นับถือพระพุทธสาสนาจนถึงปีที่ 10 ของรัชชกาลแห่งพระเจ้าอโศกผู้เปนราชนัดดาจันทรคุปต จึงได้นับถือพระพุทธสาสนา

          ตติยสังคายนา ซึ่งพระเจ้าอโศกเปนผู้อุปถัมภ์นั้น  ห่างกันกับทุติยสังคายนาถึงราว138 ปี การสังคายนาครั้งนี้นับวง่าเปนการรวมรวมธรรมที่หายหกตกหล่น  ดูเป็นส่วนข้างฝ่ายพระเจ้าอโศกอยากทำเองมากกว่าที่พระสงฆ์จะขวนขวาย ข้างลังกาว่ามีพระโมคคัลลีบุตรดิศเถร อีกองค์หนึ่งนอกจากพระอุปคุปต  แต่ข้างฝ่ายมหายานไม่กล่าวถึงออกชื่อแต่อุปคุปตจนผู้ที่แต่งรายงานปาตลิบุตรเขากล่าวว่าพวกอาจารย์ฝรั่งเขาคิดเห็นไปว่าอุปคุปตและดิศโศเปนองค์เดียวกัน เพราะในเสาศิลาจารึกก็กล่าวถึงแต่พระอุปคุปต (เขาคัดคำเทียบไว้แต่ดูยังเปนเดาหลวมๆอยู่ไม่ต้องการ จะเอามากล่าวถึงก็กล่าวถึง

          ข้อซึ่งพวกมหายานไม่กล่าวชัดว่าผู้ซึ่งทำสังคายนาครั้งที่ 3 นี้เปนมหายานฤาหีนยานบางทีเขาจะหมายเอาความเกิดของมหายานว่าเกิดที่เมืองปาตลิบุตรในคราวเดียวกัน เมื่อกล่าวถึงพระมหินทรเถรเขากล่าวต่างไปว่าเปนน้องพระเจ้าอโศกเรียกว่ามเหนทร  จนพระเจ้าอโศกให้ยักษ์สร้างถ้ำให้อยู่ในระหว่างพระราชวังกับเมืองปาตลิบุตรก็ไม่กล่าวถึงว่าเปนฝ่ายมหายานฤาหีนยาน และตามที่กล่าวนั้นบวชอยู่ในเมืองราชคฤห์แล้วไม่ได้มาบวชในเมืองปาตลิบุตร  และเมื่อมาอยู่เมืองปาตลิบุตรก็อยู่ลำพังไกลกันกับเขาที่สร้างขึ้นให้ท่านอุปคุปตอยู่มากถ้าหากว่าเชื่อพวกลังกาว่าพระมหินทรได้ออกไปลังกาเปนแน่  ซึ่งฝรั่งเขาก็ออกจะเชื่อ ๆเพราะไปค้นพบชื่อสังฆมิตตาบวชและออกไปลังกากับมเหนทร ถ้าเช่นนั้นได้ออกไปในปีที่17 แห่งราชสมบัติของอโศกตามเรื่องลังกาว่าได้ไปทำสังคายนาในเมืองลังกา  เปนจตุตถสังคายนา ตามเสียงชาวลังกานับ  แต่ที่แท้เปนการทำคนละแห่งห่างกันเพียง 20 ปี แปลว่าเหมือนเอาสำเนาในอินเดียออกไปประกาศที่เมืองลังกา เพราะเหตุฉะนั้นจะถือว่าพระมหินทรเถรเป็นมหายานไม่ได้  ถ้าจะถือว่าเป็นครูของหีนยานจะชอบกลกว่า

          ในระยะนี้เกือบ 200 ปี ไม่มีสังคายนาเปนเวลาที่พระเจ้าอโศกล่วงลับไป โอรสของพระเจ้าอโศกยังคงถือพุทธสาสนา แต่ราชนัดดาปรากฏว่ากลับไปถือเชนะ เข้าใจว่ามหายานคงจะเกิดในระยะ 2 แผ่นดินนี้เอง พวกหีนยาน ผู้รู้จะน้อยเข้า  พวกมหายานจะเกิดผู้มีสติปัญญาและความรู้  ทั้งจะมีท่านพวกพราหมณ์ที่เปนอาจารย์ผู้หลักผู้ใหญ่สันทัดในทางนั่งกรรมฐาน เปนที่นับถือของพระไปร่ำเรียน จึงเกิดเขียนคัมภีร์สาสนาขึ้นใหม่  ฤาสาสนาพระพุทธแต่เดิมจะออกพราหมณ์ๆอยู่มากกว่าที่พวกหีนยานถืออยู่เดี๋ยวนี้ แต่ครั้งเมื่อนานๆมาความรู้ทางฝ่ายหีนยานจะเสื่อมลงเลยแพ้มหายาน  แต่ยังไม่สูญสิ้นเชื้อ จนฟาเหียนซึ่งออกไปเมื่อพระพุทธศักราชล่าวได้ 800-900 ปีก็ยังมีอยู่

          ข้อที่ทำจตุตถสังคายนาเมื่อพระพุทธสาสนาล่วงได้ 433 ปี และเขียนเปนหนังสือจารึกลงในใบลานนี้ คงจะเป็นด้วยท่านพวกพระในอินเดีย นำคัมภีร์มหายานออกไปเมืองลังกา จึงเกิดเปนปากเสียงเถียงกันขึ้น พวกลังกาจึงได้ทำสังคายนาและเขียนลงในใบลานเป็นภาษาลังกา เพราะจะเถียงกันกับพวกมหายานปากเปล่าเปนการเสียเปรียบความคิดที่เขียนหนังสือนั้นเปนความคิดได้จากพวกมหายาน

          แต่นี้ทอดไปอีก 500 ปี จนถึงพุทธสาสนาล่วงได้ 956 ปี พระพุทธโกษาจึงออกไปแปลภาษาลังกาลงเปนภาษามคธเขียนขึ้นใหม่ การที่แปลกลับเปนภาษามคธเสียนี้  ก็บอกเหตุผลชัดว่าเปนภาษาลังกาอยู่แต่เพิ่มเติมง่าย  พวกลังกาคงจะทำลิ้นลงไปไว้มากเหลือเกิน  จนเอาหนังสือนั้นไว้ไม่ได้ต้องเผาไฟหมด ถ้าขืนเอาไว้คนก็ยังจะเชื่ออยู่เสมองานที่พระพุทธโกษาไปทำนั้นคงจะเอาฉบับที่พวกหีนยานแต่งขึ้น  สู้มหายานในอินเดียลงไปสอบกับฉบับลังกา เพราะเหตุว่าถ้าลังกาเปนผู้ที่เปนหีนยานมาแต่เดิม  ไม่ได้มีมหายานแทรกแซง  คงจะได้ความสั่งสอนฝ่ายหีนยานซึ่งท่านพวกหีนยานในอินเดียลืมเสียบ้าง ปรวนแปรไปตามมหายานบ้าง ข้างหนังสือที่มีอยู่ในลังกานั้นเล่า ของเดิมก็คงจะมีที่พวกลังกาแต่งขึ้นเชือนไปเหลือกำลังก็คงจะมี  ท่านพุทธโกษาคงจะได้เลือกทิ้งเสียงทั้งสองข้าง คัดเอาแต่ที่เห็นว่าควรจะเปนธรรมเขียนขึ้นใหม่จึงต้องทำการอยู่ถึงปีหนึ่ง

          ในระหว่าง 600-700ปี ตั้งแต่พระพุทธสาสนาได้ 200 เศษ ฤา 300 จนกระทั่ง 900 ซึ่งพวกมหายานมีอำนาจมากนั้น คงจะได้ส่งพวกสอนสาสนาออกมาเที่ยวสั่งสอนในเมืองต่างประเทศตลอดจนเมืองเรา จึงถือลัทธิมหายานทั่วกันทั้งสิ้น แต่ขอซึ่งจะเข้าใจว่านุ่งกางเกงฤไม่นั้นเห็นจะไม่นุ่ง อยู่ในอินเดียอย่างไรก็คงมาอยู่อย่างนั้น

          ข้อสำคัญมีอีกอย่างหนึ่งที่พวกมหายานเขียนคัมภีร์ของตัวใช้ภาษาสันสกฤต ด้วยเหตุฉะนั้น เมืองใดซึ่งมหายานเคยเปนสาสนาสำหรับเมืองๆนั้นยังคงใช้ชื่อเสียงเปนภาษาสันสกฤต ถ้าหากว่าเมืองเราไม่ได้ถือสาสนามหายานเหตุไฉนภาษาสันสกฤตและสันสกฤตแผลงลงจนเปนภาษาไทยจึงจะมีแน่นหนานักดังนี้เล่า  จนภายหลังมาเรียนสาสนาจากภาษาบาลีแล้วยังต้องกลับแปลงลงเปนภาษาสันสกฤตเล่า อย่าป่วยกล่าวถึงสิ่งก่อสร้างและที่จมดินอยู่อันเราได้พบเห็นบ่อยๆนั้นเลย แต่ภาษาบาลีซึ่งใช้สำหรับพระไตรปิฎกอยู่ทุกวันนี้เปนภาษาหนึ่งต่างหากแต่ออกจากภาษามคธ ข้อที่พระพุทธโกษาแปลภาษาลังกาลงเปนภาษามคธ  ฉันเชื่อว่าจริง  แต่ที่กลายเปนภาษาบาลีไปนั้น  เข้าใจว่ากลายเมื่อครั้งพระกัสสปเขียนใหม่  เมื่อสังคายนาที่ 7 เหตุว่าล่วงมาถึง4-500 ปี ภาษามคธไม่ใช่ภาษาพื้นเมืองของลังกาก็ค่อยเปลี่ยนแปลงเลือนๆไป ท่านกัสสปผู้นี้ไม่ใช่ชาวมคธราฐเปนชาวลังกาคงจะตกแต่งขึ้นใหม่ ฤาใช้ตามที่เคยพูดกันในเมืองลังกา เช่นกับมอญเมืองเราพูดไม่เหมือนกันกับมอญมรแมนยังว่านั่นภาษาเดียวกัน  นี่เปนภาษาต่างประเทศแท้ๆ ภาษาบาลีกับภาษามคธใกล้กันจริง  แต่บางคำต่างกันห่างไกลคะเนไม่ได้

          สังคายนาซึ่งเขานับว่าเปนที่ 7 เมื่อพุทธสาสนาล่วงได้ 1587 ปีนั้น เห็นจะเปนส่วนข้างเลอะกันในลังกาเอง ด้วยการบพุ่งในเมืองและด้วยอดเขียนแทรกแซงไม่ได้  ภาลังกาที่เผาเสียแล้วก็กลับมีขึ้นอีกต้องเผากันใหม่  สังคายนาครั้งนี้ดูจะไม่สู้มีหลักเหมือนครั้งก่อน น่าจะเป็นเลือกตามใจมาก  นิทานรุงๆรังๆเห็นจะเลือกติดเข้าไว้ในนี้มากและในระหว่างนั้นคือพระพุทธสาสนาล่วงได้ 1100 ปี พรตห้วนเจียงไปพบเมืองปาตลิบุตรร้าง ข้างมหายานเองก็จะโทรมมาก  ถึงเวลาที่ทำสังคายนาที่ 7 นี้ พุทธสาสนาอินเดียก็เกือบจะหมดฤาพอจะหมดกันพะม่าจึงต้องไปรับพระธรรมมาจากเมืองลังกาๆอวดว่าเปนผู้ที่แผ่พระสาสนา  ก็อวดกันในระยะนี้

          สังคายนาที่ 8 ซึ่งว่าพระธรรมทินเถรได้ทำที่เมืองเชียงใหม่เมื่อพุทธศักราชล่วงได้ 2020 ปีนั้น เห็นว่าสาสนาหีนยานจะได้เดินมาจากฝ่ายเหนือคือมาจากพะม่า แต่วิปริตผิดเพี้ยนมามากนานอยู่แล้ว ท่านองค์นี้คงจะมาจากลังกาจึงมาแก้ไขขึ้นใหม่

          ตอนนี้เองถึงเรื่องที่เรามีๆอยู่ คือชั้นคัมภีร์ชินกาลมาลินีพงศาวดารหริภูญชัย  พงศาวดารเชียงแสนเชียงใหม่มีท่านพวกลังกามาหนุนเนื่องกันเปนลำดับ  ท่านผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังเช่นสามีสังฆราชซึ่งมีคำจารึกเสาศิลาสุโขทัยที่เจ้าแผ่นดินออกบวชท่านผู้นี้มาทางเมืองนครศรีธรรมราช  เดินเรื่อยขึ้นไปตามลำดับจนถึงเมืองเชียงใหม่  การที่เรากลับเปนหีนยานนั้นคงจะเปนทั้งข้างฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ล้นหลามกันเข้ามา

          สังเกตดูเรื่องราวที่ผิดกันในระหว่างหีนยานกับมหายานตามที่ได้รู้เรื่องข้างหีนยานน้อยที่สุดในเวลานี้  ดูเปนข้างฝ่ายมหายานกล่าวถึงโยกราฟีในอินเดียอยู่ข้างจะถูกต้องมาก ข้างฝ่ายหีนยานออกจะงมๆเช่นกับเมืองปาตลิบุตรค่อนจะว่าอยู่ข้างทะเล แต่ข้างฝ่ายมหายานเขารู้ชัดเจนว่าอยู่ริมแม่น้ำคงคา  ถ้าเปนเรื่องนิทานชาดกยิ่งเลอะมากเช่นกับท่านพวกขาดขอนต่างๆ ไปเที่ยวป่าพระหิมพานต์ไพล่ลงมาขาดขอนอยู่ในทะเลซึ่งเหลือจะเดินลงมาอย่างไรได้ เห็นจะเปนด้วยบ้านแกอยู่ลังกา  การที่จะลงไปถึงทะเลนั้นดูไม่สู้ยากนัก  แต่ข้อซึ่งจะแลเห็นแม่น้ำใหญ่ซึ่งแลไม่เห็นฟากข้างโน้น อยู่ข้างจะนึกยาก  เพราะแม่น้ำในลังกามันร่องแร่ง  ยิ่งตกมาถึงพวกลาวไปจนถึงได้ทองจากกระสือ ฉันได้แปลคัดเรื่องนิทานมหายาน  ซึ่งเขารบุที่ถูกมาให้ฟังเปนตัวอย่างเรื่องหนึ่ง ทั้งนี้เห็นจะเปนด้วยเขาแต่งในท้องที่ ฝ่ายหีนยานแต่งที่อื่น

          ธรรมที่ดีๆ เขาก็รู้อยู่  แต่มีอีกข้อหนึ่งซึ่งจะเปนการเอาใจให้เข้ากับสาสนาเดิมของพื้นเมือง  คือมีเมืองสุขัสวดี มีพระพุทธอมิตาภะซึ่งพุทธุบาทสาสนายืนยางไม่มีที่สุด  นั่งอยู่บนดอกบัว  แม้แต่ใครได้ยิน พระนามฤาได้เห็นรัศมีเกิดปีติก็ได้ไปเกิดเปนอุปาติกฤาคัพภไสยกะในดอกบัวที่แวดล้อมอยู่โดยรอบ มีกำหนดปีได้สำเร็จ  มีพระพุทธเจ้าอื่นๆทุกโลกธาตุสั่งสอนธรรมโดยลำพังพระองค์  แต่คงมีองค์หนึ่งครั้งหนึ่งบ้างสองครั้งบ้าง เทศนาถึงพระอมิตาภะ ในเวไนยสัตว์ทราบรูปความอย่างเดียวกันกับเริ่มมหาสมัยสูตร  ต่างแต่กลายเปนออกชื่อพระอย่างอาฏานาติยสูตรนั่นก็ย่อยลงไปจนกระทั่งถึงสุตรนี้ใครเขียนขึ้นตอนหนึ่ง  อายุจะไม่ต่ำกว่าขัย 2 ตอน 3 ตอนอายุก็ทวีมากขึ้นไป บ่นบริกรรมได้มากเที่ยวก็มีอานิสงส์ต่างๆขึ้นไป มันไปข้างทางกอดของฝรั่ง ข้อที่ฝรั่งนิยมชมชื่นว่าพุทธสาสนาคล้ายสาสนาพระเยซูนั้น เขาเรียนจากมหายาน  ดูเหมือนหนึ่งว่าจะเลื่อมใสมหายานมากกว่าหีนยานเพราะแลเห็นพระนิพพานไม่ได้จริงๆเปนพ้นวิสัย  เมื่อ2-3วันล่วงมานี้ มีผู้ลงพิมพ์กล่าววถึงอนาคตวงศ์ที่เขาได้อ่านจาเมืองพะม่า กล่าวติเตียนต่างๆแล้ว  บอกว่ากลิ่นอายเหมือนออกจากเกือกบู๊ตพวกมหายาน เพราะพวกมหายานเข้าแต่งหรูกว่ามาก

          วิธีนั่งพระธรรมเขาแปลเปนอังกฤษก็มี  ขึ้นต้นก็นั่งพับแพนงเชิงตั้งศรีษะให้ตรงแล้วก็เริ่มอานาปานัสติ  เรียกอย่างเดียวกันกับนั่งพระธรรมของเรามีโอภาส มีกระสิณ แต่มีอะไรๆต่อไปอีกมากจนถึงฌาน แล้วฉันก็หยุดอ่านเสียเพราะฝึดเต็มทีด้วยต้องมานึกเทียบกับข้างเรา ถูกที่เกินความรู้ก็ไม่ออกสนุก  เข้าใจว่าหนังสือจะมีมากกว่าหีนยานมาก แต่ลงปลายก็ไปที่สระบัวนั้นเอง

          ได้แปลคำฟ้าเหียนเล่าเรื่องมหายานหีนยานปนกับพราหมณ์อย่างไร  เมื่อเวลาเขาไปเห็น พอให้เปนทางสันนิษฐานกับเรื่องสาสนาเชนที่ฉันได้ไปพบอีกเรื่องหนึ่งส่งมาให้ดูด้วย

          ฉันมีความเห็นแต่พูดออกไปมันชวนจะเปนมิจฉาทิษฐิ  ว่าหีนยานก็ดี มหายานก็ดี  ที่จะเหลือแก่นเดิมนั้นน้อย  ผู้ที่แต่งขึ้นก็แต่งไปตามความเข้าใจของตัว  และตามกาลตามสมัยและชั้นชั่วอายุคนและไม่ใช่แต่พุทธสาสนาถึงสาสนาเก่าๆอื่นๆ เช่นสาสนาพระเยซูก็เซนต์อะไรต่ออะไร  แกแต่งไปตามใจต่างๆกัน จะมีแต่ปรินสิเปอลคือข้อที่ตั้งของสาสนายังคงอยู่เท่านั้นทุกๆสาสนา

สวนดุสิต

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ ร.ศ.122

            เมื่อประมาณ พ.ศ.290 พุทธศาสนาได้แพร่หลายจากประเทศอินเดียเข้าสู่แค้วนสุวรรณภูมิ ซึ่งมีชนชาติ ขอม มอญ ละว้า และไทย พระเจ้าอโศกได้ส่งพระธรรมฑูต 2 ท่าน ท่านโสนะ ท่านอุตตระให้นำพุทธศาสนามาเผยแพร่ยังสุวรรณภูมิ ท่านทั้งสองเป็นภิกษุในนิกายสรวาสติวาทิน และก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า สุวรรณภูมิอยู่ที่ใดแน่หลายฝ่ายต่างยืนยันว่าที่ตำแหน่งของตนคือสุวรรณภูมิ แต่ที่แน่นอนคือ ดินแดนในแถบนี้ เคยมีพุทธศาสนารุ่งเรืองมาก่อน พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม เชื่อกันว่าองค์ดั้งเดิม องค์เล็กภายใน สร้างโดยพระธรรมฑูตทั้งสองท่าน มีหลักฐานและวัตถุโบราณที่ขุดพบ แสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์องค์พระปฐมเจดีย์ ส่วนใหญ่จะบ่งบอกถึงความเคยรุ่งเรืองของมหายานในบริเวณนั้นดังนั้นเป็นที่สันนิธานได้ว่าทั้งเถรวาทและมหายานได้รุ่งเรืองใน ดินแดนแถบนี้มาก่อน

 

พุทธศาสนามาสุวรรณภูมิ

ในราว พ.ศ.1200เรียกว่าสมัยศรีวิชัยพุทธศาสนา มหายานได้แพร่หลายจากเกาะสุมาตราเข้า สู่เมืองไชยาทางภาคใต้แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ได้ความจากประวัติศาสตร์และวัตถุที่ขุดได้ใน เมืองไชยา

ในราว พ.ศ. 1400 เรียกว่า สมัยลพบุรี พระพุทธศาสนานิกายมหายานหรือที่เรียกว่า อาจาริยวาทได้แพร่ขยายเข้าสู่เมืองลพบุรี ทั้งนี้ได้ความจากศิลาจารึกที่ขุดได้ในเมืองลพบุรี

ในราว พ.ศ.1600 เรียกว่า สมัยเชียงแสนพะพุทธศาสนานิกายเถรวาทได้แพร่หลายเข้าสู่ดิน แดนภาคเหนือของประเทศไทย

ในราว พ.ศ.1800 เรียกว่าสมัยสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้รับเอาพุทธศาสนา เถรวาทจากประเทศลังกาเข้าสู่แคว้นสุโขทัยเรียกว่าพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์และตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาประเทศไทยก็นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติไทยตลอดเรื่อยมา

ความสัมพันธ์ของชาวไทยและจีนมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เรื่อยมา จนถึงสมัยอยุธยาได้มีชาว จีนอพยพเข้าพึ่งพระบรมโพธิสมภารมากขึ้นแต่ยังไม่ปรากฏว่ามีวัดทางฝ่ายมหายานและพระ สงฆ์เกิดขึ้นแม้ว่าชาวจีนส่วนใหญ่จะนับถือพุทธศาสนามหายานและนับถือลัทธิขงจื้อควบคู่ กันเข้าใจว่าชาวจีนในสมัยนั้นได้ใช้ศาลเจ้าประกอบพิธีตามลัทธิขงจื้อและใช้วัดไทยในการ ประกอบพิธีทางพุทธศาสนาแม้ว่าจะเป็นคนละนิกายกัน ในสมัยธนบุรีชาวญวนซึ่งเป็นพุทธ มามกฝ่ายมหายานเช่นเดียวกับจีน และมีวัฒนธรรมคล้ายกันมากได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิ สมภาร ญวนได้สร้างวัดฝ่ายมหายานขึ้นเป็นวัดแรกบนฝั่งตะวันออกของกรุงธนบุรีและเมื่อ สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ ชาวญวนและจีนได้สร้างวัดฝ่ายมหายานขึ้นอีกหลายวัดทั้งในกรุงและ นอกกรุง วัดจีนเพิ่งจะเป็นตัวเป็นตนในสมัยสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่5นี้เองสมเด็จ พระพุทธเจ้าหลวงทรงพระราชทานสมณศักดิ์สงฆ็นิกายมหานยานเป็นครั้งแรก สมณะศักดิ์ จีนรูปแรกคือ พระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร(สกเห็ง) สมณะศักดิ์ญวนรูปแรกคือ พระครูคณา นัมสมณาจารย์ (องฮึง)อารามฝ่ายมหายานจีนแห่งแรก คือวัดย่งฮกยี่ ซี่งต่อมาได้รับ พระราชทานนามว่า วัดบำเพ็ญจีนพรต ต่อมาได้มีการสร้างวัดในฝ่ายมหายานที่สำคัญขึ้นอีก หลายวัด ดังเช่นวัดมังกรกมลาวาสวัดจีนประชาสโมสรสำนักสงฆ์อีกหลายแห่งในสมัยรัชกาล ที่ 5 และมหายานฝ่ายจีนนิกายรุ่งเรืองสูงสุดในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน ในยุคของเจ้าคณะใหญ่สงฆ์จีนนิกายรูปที่ 6 พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตรฯ(โพธิ์แจ้งมหาเถระ)ได้มีการสร้างวัดอันเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติที่ สำคัญขึ้นอีกหลายแห่ง เช่นวัดโพธิ์เย็น วัดเทพพุทธาราม วัดโพธิทัตตาราม วัดโพธิ์แมนคุ ณารามศูนย์กลางคณะสงฆ็จีนแห่งประเทศไทยเป็นต้นพุทธศาสนาฝ่ายมหายานในประเทศ ไทยมีอยู่สองนิกาย คือ อนัมนิกาย(ณวน)และจีนนิกาย ธรรมปฏิบัติของสงฆ์มหายานโดย เฉพาะสงฆ์จีนถือปฏิบัติในหลักนิกายลุกจง(นิกายวินัย) นิกายเซียมจง(นิกายวิปัสสนาหรือนิกายเซน)ควบกับนิกายเหี่ยนจง(นิกายเปิด)ซึ่งปฏิบัติทั่ว ไปในวัดจีนมหายานนิกายและมีเฉพาะสังฆารามเดียวเท่านั้นที่มีการเพิ่มปฏิบัติในหลักนิกาย มิกจง(นิกายระหัสยานนิกายหนึ่งของวัชระยานทิเบต)เป็นพิเศษคือวัดโพธิ์เย็นตลาดลูกแก จังหวัดกาญจนบุรีในยุคนี้ได้มีการแปลพระปาฏิโมกข์ฝ่ายมหายานนิกายวินัยซึ่งถือเป็น ปาฏิโมกข์วินัยที่เคร่งครัดที่สุดเพื่อเป็นหลักปฏิบัติควบคู่กับพระไตรปิฎกและโพธิสัตว์สิกขา ของพระสงฆ์มหายานจีนนิกายในที่นี้จะขอกล่าวถึงนิกายหลักที่อยู่ในพุทธศาสนามหายาน ในคณะสงฆ์จีนแห่งประเทศไทย 

 

นิกายต่างๆ

 

นิกายฌานหรือเซน(เสี่ยมจง)

   ในสมัยพุทธกาลท่ามกลางประชุมบริษัท 4 พระศาสดาได้ชูดอกหนึ่ง มิได้ตรัสเทศนาว่าอย่างไร ที่ประชุมไม่มีผู้ใดเข้าใจความหมาย มีแต่พระมหากัสสปเถระเท่านั้นที่ยิ้มน้อยๆอยู่ พระศาสดา จึงตรัสว่า "ดูก่อน กัสสปะ ตถาคตมีธรรมจักษุครรภ์อันถูกต้องและนิพพานจิต ลักษณะที่แท้จริง ย่อมไม่มีลักษณะได้มอบไว้ให้แก่เธอแล้ว" นิกายนี้จึงนับถือพระมหากัสสปเถระว่าเป็นปฐมา จารย์และถือว่าเป็นนิกายวิปัสสนาโดยเฉพาะ ไม่ต้องอาศัยหนังสือหรือปริยัติธรรมใดๆ แต่ชี้ตรง ไปยังจุดของจิตใจ ในอินเดียได้สืบทอดปรมาจารย์มา 28 องค์ จนในราวพุทธศตวรรษที่ 10 ท่านโพธิธรรม(ตั๊กมอโจวซือ)ได้นำนิกายนี้เข้าสู่ประเทศจีนและถือว่าท่านเป็นปฐมาจารย์องค์ แรกของนิกายในประเทศจีน และได้เจริญรุ่งเรืองมาจนถึงสมัยปัจจุบัน ปรมาจารย์องค์สำคัญ และมีชื่อเสียงเลืองลือมากอีกท่านหนึ่งคือ ปรมาจารย์องค์ที่ 6 ท่านฮุ่ยเล้งหรือเวยหล่าง ในยุค ราชวงศ์ถัง ด้วยโศลกของท่านที่ให้ไว้หลังได้พบโศลกศิษย์อาวุโสที่เขียนไว้

"กายนี้อุปมาเหมือนต้นโพธิ์                     ใจนี้อุปมาเหมือนกระจกเงา 
จงหมั่นเช็ดถูมันอยู่ทุกๆเวลา                    อย่าให้ฝุ่นละอองจับ คลุมได้" 

ท่านได้ต่อไว้ว่า 

"ตันโพธิ์นี้เดิมมิใช่เป็นต้นโพธิ์                 ไม่มีกระจกเงาอันใสบริสุทธิ์ด้วย 
แต่เดิมไม่มีอะไรสักอย่าง                        แล้วฝุ่นละอองจะจับคลุมที่ตรงไหน" 

นิกายเซนได้สอนว่า สรรพสัตว์ มีพุทธภาวะหรือธรรมกายรุ่งเรืองสุกใสอยู่ด้วยกันทุกๆคน คำพูดหรือตัวหนังสือหาเพียงพอที่จะ อธิบายถึงสัจจะภาวะนั้นไม่ เพราะฉะนั้น บางคราวจำเป็นต้องอาศัยปริศนาธรรมและคำพูดที่ แทงเข้าไปสู่หัวใจโดยตรงเพื่อเปิดทางออกการพุทธภาวะนั้น นอกจากปริศนาธรรมในครั้งสำ คัญแล้ว การปฏิบัติธรรม การศึกษาค้นคว้าก็ถือเป็นเรื่องปกติที่ต้องปฏิบัติ ด้วยว่าพื้นภูมิของ แต่ละผู้คนสูงต่ำต่างกัน จึงจำเป็นต้องอาศัยพระธรรมและการปฏิบัติ มาเสริมสร้างเพื่อรอเวลา การส่องประกายออกของจิตประภัสสร ดังที่พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตรโพธิ์แจ้งกล่าว ไว้ว่า "ซี้ก่าวฮวยจิ่วคุย" เมื่อถึงเวลาดอกไม้ก็บาน ฉะนั้นก่อนถึงเวลา การบำรุงรักษาต้นเพื่อรอดอกจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องกระทำ ถ้าต้นไม้เหี่ยวเฉาตายก่อนจะมีดอกได้อย่างไร

นิกายวินัย(หลุกจง) 

นิกายนี้แทบจะไม่แตกต่างกันจากเถรวาทเลย การปฏิบัติจะเหมือนกันเป็นส่วนมาก จะมีแตกต่าง กันบ้างก็ด้วยเรื่องแนวคิคและปรัชญา โดยเพิ่มปรัชญาของมหายานและโพธิสัตว์มรรคเข้ามา ส่วนการปฏิบัติพระธรรมวินัยเหมือนกันเกือบร้อยเปอร์เซน

นิกายมนตรยาน(มิกจง)

นิกายมนตรยาน หรือวัชระยาน ได้แบ่งเป็น 2 สายที่สืบทอดรุ่งเรืองมาจนถึงปัจจุบัน สายเข้าสู่ ประเทศจีนและสายเข้าสู่ประเทศทิเบต สายเข้าสู่ประเทศจีนโดยศิษย์ของท่านคุรุนาคารชุน ชื่อนาคโพธิได้จาริกสู่เกาะสิงหลและได้ถ่ายทอดให้ท่านศุภกรสิงหะและท่านวัชระโพธิ ท่าน ศุภกรสิงหะได้นำเข้าสู่ประเทศจีนในสมัยพระเจ้าถังเฮี่ยงจง ราวพุทธศตวรรษที่12 และท่าน วัชระโพธิก็ได้นำนิกายเข้าสู่ประเทศจีนเช่นกันพร้อมกับศิษย์ชื่ออโมฆวัชระ ศิษย์ของท่าน อโมฆวัชระชื่อ อิกเหงได้ตั้งวัดแห่งนิกายมนตรยานขึ้นในนครเชียงอาน ชื่อวัดแชเล่งยี่ วัดนี้เป็น ต้นกำเนิดของ นิกายมนตรยานของญี่ปุ่นซึ่งรุ่งเรืองมาจนถึงสมัยปัจจุบัน มนตรยานของจีนและ ของทิเบตโดยพื้นฐานไม่ได้แตกต่างกันมากนั้น แต่ทางของทิเบตซึ่งถูกเรียกชื่อว่า วัชระยาน จะลึกซึ้งพิสดารกว่า ด้วยว่ามนตรยานได้เข้าสู่ทิเบตโดยพระอาจาย์ผุ้ทรงคุณมากมายและโดยตรง เช่นจากมหาวิทยาลัยนาลันทา มหาวิทยาลัยวิกรมศิลา มหาวิทยาลัยโอทันตบุรี และอยู่ใน ยุคที่มนตรยานในอินเดียเจริญสูงสุดโดยพระอาจารย์เหล่านี้ เช่น ท่านศานตรักษิต ท่านคุรุปัทมสมภพ ท่านกมลศีลา ท่านอติษะ ท่านติโลปะ ท่านนะโรปะ ฯลฯ (หลักการและคำสอน ให้ดูในลิงค์ของวัชระยานและคำสอนวัชระยาน)

มหายานในประเทศไทยโดยเฉพาะคณะสงฆ์จีน ในยุดเริ่มแรกสมัยท่านเจ้าคณะใหญ่รูปแรกผู้สถาปนาวัดเล่งเน่ยยี่ท่านปฺฏิบัติวิปัสสนาเซนเป็นหลักและเรื่อยมาจนถึงเจ้าคณะใหญ่รูปที่ 6 ท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้ง โดยพื้นฐานเดิมท่านได้คุ้นเคยกับมนตรยานเป็นอย่างดีเนื่องด้วยบรรพบุรุษท่านเป็นขุนนางในราชวงค์แมนจูซึ่งนับถือพุทธตันตระยานสายทิเบตเป็นหลัก แต่ด้วยท่าน ได้บรรพชาในคณะสงฆ์ในประเทศไทยซึ่งปฏิบัติวิปัสสนาเซนเป็นหลักท่านจึงปฏิบัติและเชี่ยวชาญในวิปัสสนาเซนอย่างดี และต่อมาได้รับการสถาปนาให้เป็นวัชราจารย์ณิงมา-กาจู แห่งริโวเช แคว้นคาม ทิเบตตะวันออก จากท่านวัชราจารย์นะนาฮู้ทู้เคียกทู้ (พระมหาวัชรจารย์ชีวินพุทธะ นอรา ริมโปเช) และด้วยวัตรปฏิบัติของท่านซึ่งเคร่งครัดในวินัยและท่านก็ได้อุปสบบทในนิกายวินัย จนได้รับสถาปนาเป็นพระปรมัตตาจารย์ประมุขนิกายวินัยองค์ที่19 ท่านได้รวบรวมแนวทางการปฏิบัติในนิกายต่างๆเข้าด้วยก้นและเป็นแนวทางแก่คณะสงฆ์จีนได้ปฏิบัติสืบต่อมา ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่ามหายานในประเทศไทยได้ยึดแนววิปัสสนาเซน นิกายวินัย และนิกายมนตรยานเป็นหลัก 

 

คณะสงฆ์จีน

 

 

ประวัติคณะสงฆ์จีนนิกาย พระอาจารย์จีนธรรมคณาธิการ(เย็นเจี่ยว) รวบรวม

 

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ชาวจีนรู้จักดินแดนบริเวณสุวรรณภูมิ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นและเริ่มติดต่ออย่างจริงจังกับชนเผ่าที่ปกครองอยู่ในสมัยราชวงศ์ซุ้ยเรื่อยมาถึงสมัยราชวงศ์ถัง ระยะเวลาดังกล่าวชนชาวไทยยังมีถิ่นฐานอยู่ทางจีนตอนใต้ ต่อๆ มาชาวไทยได้อพยพหาหลักแหล่งและรวบรวมกำลังคนตั้งเป็นอาณาจักรเรียกว่าอาณาจักรสุโขทัย ตรงกับปี พ.ศ.1820 ครอบครองดินแดนส่วนหนึ่งของแหลมสุวรรณภูมิ เนื่องจากชาวไทยเป็นชาติที่มีความสัมพันธ์กับชนชาวจีนอย่างใกล้ชิด ดังนั้น เมื่อไทยตั้งเป็นอาณาจักรสุโขทัยแล้ว ก็ได้มีนักแสวงโชคจึนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในราชอาณาจักรไทยมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นชาวมณฑลกวางตุ้ง และมณฑลฮกเกี้ยน ซึ่งเป็นมณฑลชายทะเลภาคใต้ของจึน

 

ตามพงศวดารราชวงศ์หงวน ในปี พ.ศ.1837 จักรพรรดิกุบไลข่าย ได้ทรงส่งราชฑูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย ในปีต่อมา ไทยก็ได้ส่งราชทูตไปเจริญไมตรีเช่นกัน ต่อแต่นั้นมา การติดต่อทางการทูตและเรือพ่อค้าในระหว่างสองประเทศ ก็เจริญขึ้นเป็นลำดับ และก็เจริญขึ้นอย่างยิ่งในต้นยุคกรุงศรีอยุธยา คือปลายราชวงศ์หงวนและต้นราชวงศ์เหม็ง

 

ครั้นลุถึงสมัยอยุธยาชาวจีนได้อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารมากขึ้น พระมหากษัตริย์ไทยได้ทรงพระมหากรุณาพระราชทานบริเวณที่ดินหลายแห่งทั้งในกรุงและนอกกรุง ให้เป็นที่ตั้งภูมิลำเนาของชาวจีน เช่นที่ตำบลสวนพลูใต้วัดพนัญเชิงแห่งหนึ่ง และในกำแพงพระนครอีกหลายแห่ง ดังปรากฏในจดหมายเหตุว่าด้วยแผยผังกรุศรีอยุธยา เมื่อยังเจริญรุ่งเรืองตอนหนึ่งว่า ...ย่นนายก่ายเชิงสะพานประตูจีนไปเชิงสะพานนายก่าย เป็นย่านจีนอยู่ตึกทั้ง 2 ฟากถนนหลวง นั่งร้านขายของสรรพ เครื่องสำเภา ไหม, แพร, ของขาเหลือง, ถ้วย ,โถ, ชาม, เครื่องสำเภาครบ..... ย่านสามม้าแต่เชิงสะพานนายก่ายตะวันออกไปถึงหัวสาระพามุมกรุงเทพฯ จีนทำเครื่องจันอับและขนม ทำโต๊ะเตียงและถังน้อยใหญ่และทำสรรพเครื่องเหล็ก มีตลาดขายของสดเช้าเย็น ชาวจีนเหล่านี้บางคนก็ได้เข้ารับราชการจนเป็นถึงขุนนางก็มี และได้ทำงานสนองพระเดชพระคุณพระบรมโพธิสมภารไทยทั้งด้านศาสนจักรและอาณาจักร เช่นในแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 เจ้าสามพระยา เมื่อทรงสถาปนาพระปรางค์ใหญ่วัดราชบูรณะ ก็มีชาวจีนโดยเสด็จพระราชกุศลสร้างพระพุทธพิมพ์จำนวนมหาศาลบรรจุไว้ในกรุใต้องค์พระปรางค์ เป็นต้น และเมื่อแผ่นดินพระเจ้าเอกทัศน์มีข้าศึกเข้ามาล้อมกรุง หลวงอภัยพิพัฒน์ขุนนางจีนบ้านนายก่ายรับอาสาคุมกองทัพจีน จำนวน 2000 คนไปรบข้าศึกที่ตำบลทะเลหญ้า ต่อมาได้คุมกองทัพจีนออกไปตั้งค่ายสู้รบข้าศึกที่คลองสวนพูล และเมื่อพระยากำแพงเพชร(สิน)ซึ่งเป็นลูกจีนเกิดในประเทศไทยเห็นว่ากำลังฝ่ายไทยไม่พอต้านทานข้าศึก จึงคุมสมัครพรรคพวกมีทั้งไทยและจีนตีหักข้าศึกออกไปตั้งคนทางภาคตะวันออก แล้วรวบรวมกำลังทั้งไทยและจีนขับไล่ข้าศึก   จนตั้งกกรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานีสำเร็จ และพระยากำแพงเพชร (สิน) ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

 

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ปรากฏว่าในปีแรกคือ พ.ศ.2325 สมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ รัชกาลที่1 จะสร้างพระบรมมหาราชวับนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณที่ตรงนั้นเป็นที่อยู่ของพวกจีนอย่างคับคั่ง  มีพระยาราชเศรษฐีขุนนางจีนเป็นหัวหน้าควบคุมอยู่ จึงโปรดให้ชาวจีนอพยพไปตั้งบ้านเรือนใหม่ที่สวนตั้งแต่คลองวัดสามปลื้มเป็นต้นไป ที่เรียกว่าสำเพ็งเดี๋ยวนี้ ตำบลสำเพ็งจึงเป็นศูนย์กลางย่านชุมนุมของชาวจีนมาตั้งแต่สมัยนั้นถึงกาลบัดนี้  และในแผ่นดินสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ปรากฏว่าความสัมพันธ์ทางศิลปะระหว่างไทย – จีน มีมากยิ่งกว่ารัชกาลใดๆ ดังตัวอย่างที่ปรากฏในบรรดาอาราม  ซึ่งพระมหากษัตริย์พระองค์นี้ทรงสร้าง เราจะพบศิลปะแบบจีนปรากฏอยู่ทั่วไป ตั้งแต่รูปศิลาหรือแม้แต่ลายกนกบางอย่างตามพระอุโบสถ วิหาร และประตูหน้าต่าง เป็นอาทิ

 

ชาวจีนที่เข้ามาอาศัยในประเทศไทยนั้น ส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาและลัทธิขงจื้อ ลัทธิเต๋า ปนเปกันไป พระพุทธศาสนาที่นับถือลัทธิมหายาน ยังไม่ปรากฏว่าในสมัยกรุงสุโขทัย หรือสมัยอยุธยา สมัยธนบุรี จะได้มีวัดหรือพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาฝ่ายจีนขึ้น ในสมัยทั้งสามดังกล่าวเข้าใจว่าจะมีก็แต่ศาลเจ้าเทวาลัยจีนเท่านั้น  การบำเพ็ญกุศลตามจารีตในพระพุทธศาสนา ชาวจีนคงอาศัยวัดไทยนี่เอง เพราะเป็นศาสนาเดียวกัน  แม้จะเป็นคนละนิกายก็ตาม  จึงปรากฏว่ามีพุทธศาสนิกชนชาวจีน ได้ร่วมสร่างพระพิมพ์แบบไทยโดยเสด็จพระราชกุศลดังกล่าวมา ครั้นลุถึงสมัยกรุงธนบุรี ปรากฏว่าพวกญวนอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ชาวญวนก็เป็นพุทธมามกฝ่ายมหายาน ลัทธิเดียวกับชาวจีน และมีวัฒนธรรมประเพณีคล้ายกับชาวจีน ทั้งนี้เพราะญวนรับอารยธรรมจากจีน รวมทั้งศาสนาด้วยตั้งแต่ครั้งโบราณกาลมา ญวนได้สร้างวัดฝ่ายมหายานขึ้นบนฝั่งตะวันออก ของกรุงธนบุรีเป็นวัดแรก และเมื่อสร้างกรุงรัตนโกสินทร์แล้วชาวจีนและญวนยังได้สร้างวัดฝ่ายมหายาน อีกหลายต่อหลายวัดทั้งในกรุงและนอกกรุง วัดจีนเพิ่งจะเป็นของตนโดยเฉพาะในสมัย สมเด็นพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5 นี้เอง ทั้งนี้โดยอาศัยพระภิกษุจีนรูปหนึ่งซึ่งเข้ามาแต่เมืองจีนชื่อ “พระภิกษุสกเห็ง”  นับเป็นพระภิกษุองค์สำคัญต่อการตั้งราชฐานของคณะสงฆ์จีนนิกาย

 

พระอาจารย์สกเห็ง เป็นชาวมณฑลกวางตุ้ง เกิดในสกุลพาณิชย์ เมื่ออายุยังเยาว์ได้ติดตามบิดา มารดาออกมาค้าขายที่จังหวัดเกียเอ้ง แต่การค้าไม่เจริญบิดาจึงเดินทางไปค้าขายที่ กัวลาลัมเปอร์ ต่อมาบิดาถึงแก่กรรมมารดาซึ่งอาศัยอยู่ที่จังหวัดเกียเอ้ง ได้พาท่านเดินทางกลับกวางตุ้ง อยู่มาอีกไม่นานมารดาคือนางลิ่มสีก็ถึงแก่กรรม เวลานั้นท่านมีอายุ 17 ปี ท่านได้นำศพมารดาไปฝังทำฮวงซุ้ยที่สำนักเขาแปะฮุ้นซัว ณ ที่นั้นท่านได้พบกับพระอาจารย์ฮวบที้ และมีโอกาสสดับพระธรรมเทศนาแล้วเกิดศรัทธาปสาทะจิตน้อมไปทางเนกขัมมวิสัย จึงขอบรรพชาเป็นสามเณรและติดตามพระอาจารย์มาจำพรรษาอยู่ ณ สำนักเขาเตี๋ยโอ้ว ศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานอยู่หลายปี จนได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ปฏิบัติสมาทานธุดงค์วัตรหลายประการ มีอยู่โคนต้นไม้เป็นต้น ต่อมาได้ฟังกิตติศัพท์ว่าประเทศไทยเป็นแหล่งความเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนา  ท่านจึงเดินทางเข้ามา เพื่อนมัสการปูชนียสถานเมื่อแรกที่ท่านเข้ามานั้น ได้อาศัยพักอยู่ ณ ศาลาร้างพระกวนอิมข้างๆ วัดกุศลสมาคร ชาวจีนในพระนครเห็นความเคร่งครัดในสีลาจารวัตรของท่านก็พากันเสื่อมใส  ชวนกันเรี่ยรายเงินบูรณะเป็นอารามฝ่ายจีนนิกายขึ้นเป็นแห่งแรกชื่อ วัดย่งฮกยี่ ต่อมาได้รับพระราชทานนามว่า วัดบำเพ็ญจีนพรต จำเดิมแต่นั้นมาก็มีพระสงฆ์จีนติดตามท่านอาจารย์สกเห็น เข้ามาอาศัยอีกหลายรูป มีอยู่รูปหนึ่งชื่อ พระภิกษุไฮซัน เป็นชาวฮูนาน ได้มาพำนักอยู่ ณ วัดร้างแห่งหนึ่งที่ตำบลบ้านหม้อคือ วัดทิพยวารีวิหาร (กัมโล่วยี่) ท่านได้ชักชวนสัปบุรุษทายกทายิกาให้ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ จึงนับเป็นวัดฝ่ายจีนนิกายที่มีพระสงฆ์จีนจำพรรษาอยู่ดูแลแต่นั้นเป็นต้นมา

 

เมื่อมีพระสงฆ์มากขึ้น ท่านอาจารย์สกเห็งเห็นว่า ควรจักขยับขยาย วัดฝ่ายจีนนิกาย ให้กว้างขวางสมกับจำนวนพระสงฆ์จีน ต่อมาได้เลือกชัยภูมิแห่งหนึ่งตรงบริเวณ ถนนเจริญกรุง ตำบลพลับพลาไชยสร้างเป็นอารามใหญ่ ด้วยพระบรมราชูปถัมภ์และการช่วยเหลือจาก พุทธบริษัทไทย-จีน กิจกรรมสร้างอารามนี้ สิ้นเวลา 8 ปีจึงสำเร็จ นับเป็นอารามในพุทธศาสนามหายานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศนี้ชื่อว่า วัดเล่งเน่ยยี่ สมเด็จพระปิยะมหาราช รัชกาลที่ 5 ทรงตระหนักในคุณธรรมของท่าน ได้มีพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานสมณศักดิ์ให้เป็น “พระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร” ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายสงฆ์จีนนิกายและพระราชทานสมณศักดิ์แก่พระจีนอีก 2 รูป เป็น “หลวงจีนคณณัติจีนพรต” ตำแหน่งปลัดขวา “หลวงจีนธรรมรสจีนศาสน์” ตำแหน่งปลัดซ้าย คณะสงฆ์จีนนิกายจึงเริ่มมีทำเนียบสมณศักดิ์นับแต่นั้นมา ทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานนามวัดใหม่ “วัดมังกรกมลาวาส”

 

พระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร (สกเห็ง) ได้สอนวิปัสสนากัมมัฏฐานและพระธรรมวินัยแก่พระภิกษุสามเณรรวมทั้งมีพระอณัมนิกายบางรูปมาขอเล่าเรียนด้วยกาลปัจฉิมวัยท่านกับศิษย์ผู้หนึ่ง ชื่อพระภิกษุกวยล้ง ไปสร้างวัด เล่งฮกยี่ หรือวัดจีนประชาสโมสร ที่จังหวัดฉะเชิงเทราแห่งหนึ่ง กับเตรียมจะสร้างวัด เล่งฮั้วยี่ ที่จังหวัดจันทบุรีอีกแห่งหนึ่ง  แต่ท่านเกิดอาพาธถึงแก่มรณภาพเสียก่อนและด้วยอาศัยวิปัสสนาคุณที่ได้อบรมภาวนามาตั้งแต่หนุ่ม ท่านจึงได้มรณภาพด้วยอิริยาบถนั่งเข้าสมาธิบัลลังก์ประณมหัตถ์อย่างสงบ ซึ่งนับว่าหาได้โดยยาก

 

เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายสงฆ์จีนนิกายรูปที่ 2 คือพระอาจารย์วังสสมาธิวัตร (กวยหงอ) ท่านผู้นี้มีกิตติคุณทางวิปัสสนาธุระเช่นเดียวกับท่านพระอาจารย์สกเห็งทุกอย่าง พุทธบริษัทรู้จักท่านในนามพระครูแมว ท่านเป็นผู้สนิทสนมคุ้นเคยของสมเด็ยพระปิยะมหาราช และเป็นที่เคารพยกย่องจากบรรดาข้าราชการทั่วไป สมัยที่สมเด็ยพระปิยะมหาราชเสด็จกลับจากการประพาสยุโรบ ทรงมีของฝากพระราชทาน

 

เจ้าคณะใหญ่สงฆ์จีนนิกายรูปที่ 3 และเจ้าอาวาสวัดเล่งเน่ยยี่ คือพระอาจารย์วังสสมาธิวัตร (โล่วเข่ง) ท่านได้ลาออกเดินทงกลับประเทศจีนโดยมิได้กลับมาประเทศไทยอีก

 

เจ้าคณะใหญ่สงฆ์จีนนิกายรูปที่ 4 และเจ้าอาวาสวัดเล่งเน่ยยี่ คือพระอาจารย์วังสสมาธิวัตร (ย่งปิง)

 

เจ้าคณะใหญ่สงฆ์จีนนิกายรูปที่ 5 และเจ้าอาวาสวัดเล่งเน่ยยี่ คือพระอาจารย์วังสสมาธิวัตร (เซียงหงี่)

 

เจ้าคณะใหญ่สงฆ์จีนนิกายรูปที่ 6 พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร พุทธบริษัทจีนพิเนตุ วิเทศธรรมประสาท นวกิจพิลาสประยุกต์ ทำนุกจีนประชาวิสิฐ (โพธิ์แจ้งมหาเถระ) อดีตเจ้าอาวาสวัดเล่งเนยยี่ ผู้สร้างวัดโพธิ์เย็น ที่ตลาดลูกแก กาญจนบุรี วัดในคณะสงฆ์จีนนิกายวัดแรกที่ผูกพัทสีมา สามารถให้การอุปสมบทแก่กุลบุตรได้  ผู้สร้างวัดโพธิ์แมนคุณาราม ซึ่งปัจจุบันเป็นศูนย์กลางการบริหารคณะสงฆ์จีนนิกาย ผู้สร้างวัดโพธิ์ทัตตาราม ศรีราชา ชลบุรี ประธานคณะกรรมการสงฆ์จีนนิกายรูปแรก

 

เจ้าคณะใหญ่สงฆ์จีนนิกายรูปที่ 7 พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร พุทธบริษัทจีนพิเนต วิเทศธรรมประสาท นวกิจพิลาสประยุกต์ ทำนุกจีนประชาวิสิฐ (เย็นเต็ก) เจ้าอาวาสวัดโพธิ์แมนคุณาราม ผู้สร้างวัดหมื่นพุทธ เชียงราย

 

คณะสงฆ์ญวน

 

 

ประวัติพระสงฆ์มหายาน อนัมนิกายในประเทศไทย

 

            พระพุทธศาสนามหายานอนัมนิกายในประเทศไทยนั้น เข้าใจว่าจะมีเข้ามาแต่ครั้งในแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรีแล้ว ขณะแรกเป็นแต่เป็นที่เลื่อมใสนับถือของคนจีนคนญวนซึ่งเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารเท่านั้น ยังมิได้แพร่หลายถึงพุทธศาสนิกชนชาวไทย

 

            ครั้นล่วงมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อยังทรงผนวชอยู่ ทรงคุ้นเคยกับคณาจารย์ญวน และเมื่อเสวยราชย์แล้วก็ได้พระราชทานอุปการะแก่สงฆ์ฝ่ายอนัมนิกายเป็นอเนก เช่น โปรดให้มีพิธีบำเพ็ญกุศลตามคติมหายานขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เป็นต้น

 

            ครั้นมาถึงรัชกาลที่ 5 พระสงฆ์ญวน พระสงฆ์จีนมีปริมาณมากขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดให้ตั้งสมณศักดิ์แก่งคณาจารย์ญวนและจีน ทางราชการก็รับรองนิกายทั้งสองว่าเป็นอนัมนิกายและจีนนิกายเป็นทางการนับแต่นั้นเป็นต้นมา

 

            ในราว พ.ศ.2316 เกิดกบฏขึ้นที่เมืองเว้ อันเป็นราชธานีของญวน พวกกบฏชิงเมืองได้และฆ่าฟันเจ้านายเสียเป็นอันมาก องเชียงชุนราชบุตรที่ 4 ของเจ้าเมืองเว้ซึ่งอาศัยอยู่ที่เมืองฮาเตียน ได้อพยพครอบครัวเข้ามายังกรุงธนบุรี ในราวปี พ.ศ.2319 พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดฯให้รับไว้ และให้ตั้งบ้านเรือนอยู่นอกพระนครทางฝั่งตะวันออก คือแถวพาหุรัด ต่อมาองเชียงชุนพยายามหนี  พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงให้ประหารชีวิตเสีย พวกองเชียงชุนเป็นญวนพวกแรกที่อพยพเข้ามาตั้งรกรากอยู่ในประเทศไทย

 

            ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่1 องเชียงสือ ราชนัดดาของเจ้าเมืองเว้ ได้หนีกบฏเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในปี พ.ศ.2326  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระกรุณารับไว้ และให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำตะวันออกที่ตำบลคอกกระบือ (ที่ตั้งสถานทูตโปรตุเกสปัจจุบัน) ในครั้งนั้นมีผู้อพยพตามองเชียงสือมาเนืองๆ เห็นจะมากด้วยกัน องเชียงสือได้ควบคุมพวกญวนเตามเสด็จราชการสงครามกับพม่าหลายครั้ง ต่อมาองเชียงสือได้หนีกลับไปประเทศญวนเพื่อกอบกู้บ้านเมือง ด้วยคอยความช่วยเหลือจากกองทัพไทยไม่ได้ เพราะขณะนั้นไทยก็ติดสงครามกับพม่าอยู่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงทราบ แต่ก็ไม่ทรงถือโทษ  แต่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงขัดเคือง จึงโปรดให้พวกญวนย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บางโพ ยังคงมีเชื้อสายสืบมาจนปัจจุบันนี้ ต่อมาองเชียงสือได้ปราบดาขึ้นเป็น พระเจ้าเวียตนามยาลอง”

 

            ในรัชกาลที่ 3 ก็มีญวนอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอีก 3 ครั้ง ส่วนมากจะอยู่ที่เมืองจันทบุรี ที่เข้ามาในกรุงเทพก็มีบ้าง และยังมีคราวหนึ่ง เมื่อครั้งเจ้าพระยาบดินทรเดชา สิงห์ สิงหเสนี)ไปตีเมืองญวน เมื่อปี พ.ศ.2376 ได้กวาดครัวญวนส่งมากรุงเทพฯ ในคราวนี้มีทั้งญวนที่นับถือพุทธ และ นับถือคริสต์ ญวนชาวพุทธโปรดเกล้าให้ไปตั้งบ้านเรือนรักษาป้อมเมืองใหม่ ที่ กาญจนบุรี ส่วนญวนคริสต์ก็ให้ไปอยู่ที่สามเสนข้างพวกคริสต์โปรตุเกส ในขึ้นอยู่ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์(พระยศในขณะนั้นของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) ให้ฝึกหัดเป็นทหารเรือ

 

            เมื่อมีคนญวนอพยพเข้ามาเป็นจำนวนมาก แน่นอนว่าลัทธิความเชื่อในศาสนาก็ติดตามมาด้วย ประเทศญวนส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนามหายาน ดังนั้นลัทธิมหายานแบบอนัมนิกายจึงได้เข้ามาสู่ประเทศไทย

 

จากหนังสืออุภัยฉลอง 2543

 

ดาวน์โหลดตัวอักษร (ฟ้อนต์) ทิเบตทั้ง ๓ แบบ เพื่อความสมบูรณ์ในการชมเว็บ

actisan.ttf

adtibet.ttf

atibet.ttf


uptime alert service

website monitor

View My Stats