- รายละเอียด
- เผยแพร่เมื่อ วันเสาร์, 10 พฤศจิกายน 2555 13:53
- เขียนโดย gonghoog
พระนาคารชุนโพธิสัตว์ 龍樹菩薩
นาคารชุนะ (नागार्जुन; ละติน: ; เตลูกู: నాగార్జునా; จีน: 龍樹; มีชีวิตในช่วงประมาณ พ.ศ. 700 - 800) เป็นนักปรัชญาอินเดีย เป็นผู้ก่อตั้งสำนักมัธยมกะ (ทางสายกลาง) ในนิกายมหายาน แห่งพุทธศาสนา และนับเป็นนักคิดชาวพุทธที่มีอิทธิพลสูงสุด ถัดจากพระพุทธเจ้า เป็นที่ศรัทธาและกล่าวถึงในหมู่นักศึกษาพุทธศาสนาชาวยุโรปมาโดยตลอด ท่านเป็นนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาที่มีผลงานโดดเด่นในด้านปรัชญาและตรรกวิทยา ผลงานสำคัญของท่านคือ มาธยมิกการิกา (มาธยมิกศาสตร์)อันเป็นพื้นฐานสำคัญของแนวคิดศูนยวาท ประกอบด้วยการิกา 400 การิกา ใน 27 ปริเฉท หนังสือเล่มนี้ได้รับการยกย่องตลอดมา และเป็นที่ยอมรับกันว่านักตรรกวิทยาที่ยิ่งใหญ่กว่าพระนาคารชุนะไม่เคยมีปรากฏในโลกศาสนิกชนมหายานทุกนิกายยกย่องท่านในฐานะคุรุผู้ยิ่งใหญ่เสมอ อย่างไรก็ตาม ประวัติของท่านกลับไม่ชัดเจนเท่าที่ควร
สมัยพระเจ้ายัชญศรี เคาตมีบุตร กษัตริย์แห่งราชวงศ์ศาตวาหนะ มีคณาจารย์องค์ที่สำคัญมากในฝ่ายมหายาน ท่านหนึ่ง นามว่า "พระคุรุนาคารชุน" ซึ่งเป็นนักปรัชญาทางพุทธศาสนา เป็นนักตรรกศาตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก มิใช่แต่เพียงในอินเดียเท่านั้น เป็นผู้สร้างปรัชญามหายานด้วยกวีนิพนธ์ ชื่อว่า "มาธยมิกศาตร์ จากกวีนิพนธ์เล่มดังกล่าว ได้เป็นที่รวบรวมปรัชญาของนานานิกายทางพระพุทธศาสนาไว้เกือบหมด ปรัชญาทางศาสนาพราหมณ์ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ด้วย แล้วยังอธิบายถึงปรัชญาศูนยตา ได้อย่างลึกซึ้งถึงแก่นด้วยวิภาษวิธี ชื่อเสียงของท่านจึงโด่งดังอย่างรวดเร็ว นิกายมหายานจึงแพร่หลายไปในหมู่ชนทุกชั้น จนสามารถกลายเป็นนิกายที่เด่นและเจริญรุ่งเรืองที่สุดของพุทธศาสนาในพุทธศตวรรษที่ 6-10 ในทิเบตท่านได้รับการยกย่องให้เป็นอันดับแรกในหกอริยะประดับชมพูทวีป ซึ่งประกอบด้วย นาคารชุน,อสังฺค,ทิคนาค,อารยเทว,วสุพนธุ,ธรมกีรติ พระถังซำจั๋งได้กล่าวยกย่องให้ท่านเป็น หนึ่งในสี่ดวงอาทิตย์ที่ยังโลกให้สว่าง ซึ่งประกอบด้วย พระอัศวโฆษ พระนาคารชุน พระกุมารลัพธะ และพระอารยเทวะ ท่านเป็นผู้จุดประกายความรุ่งเรืองของพุทธศาสนาขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากถูกศาสนาอื่นโจมตี จนแทบไม่เหลือที่มั่นหรือเกือบหมดไป ด้วยอัจฉริยภาพในด้านพุทธปรัชญา ความปราดเปรื่องของท่านเป็นที่ยอมรับกระทั่งได้ฉายาว่าเป็น “พระพุทธเจ้าองค์ที่สอง”
หลักฐานข้อมูลของจีนและทิเบต กล่าวตรงกันว่าพระนาคารชุนท่านเป็นชาวอินเดียใต้ เกิดที่วิทารภะ ในตระกูลพราหมณ์ ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าโคตมีปุตระแห่งราชวงศ์อันธระ ในช่วงปีพุทธศักราชที่ 643-693 บิดา และมารดาของท่านมืชื่อใดไม่ปรากฏ ทราบแต่ว่าครอบครัวของท่านนั้นร่ำรวย เมื่อนาคารชุนกำเนิด บิดามารดาตั้งช่อให้ว่า อรชุน บรรดาพราหมณ์ที่ทางบิดามารดาเชิญมาเพื่อประกอบบุญเลี้ยงอาหาร ได้ให้คำทำนายว่า ทารกจะอายุสั้น จะต้องตายเมื่ออายุ 7 เดือน หากจะยึดอายุของอรชุน บิดามารของท่านต้องประกอบบุญกุศลครั้งใหญ่โดยการเลี้ยงสมณะชีพราหมณ์และให้ทานแก่ผู้ยากไร้ ด้วยจำนวนมาก แต่ก็เพียงสามารถยึดอายุให้อรชุนได้เพียง 7 ปี เท่านั้น เมื่ออายุจวนครบ 7ปี บิดามารดาไม่สามารถทนสภาพที่เห็นลูกต้องตายต่อหน้าต่อตาได้ จึงให้คนใช้พาเดินทางออกจากบ้านไป ในขณะเดินทางอยู่ได้เกิดนิมิตภาพพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรมาบอกให้เดินทางขึ้นเหนือยังมหาวิทยาลัยนาลันทา แคว้นมคธ เมื่อเดินทางไปถึงได้พบพระสราหะภัทร แนะนำให้ท่านออกบวช ท่านจึงได้บวชเป็นเณรโดยมีพระราหุลภัทระ อธิการบดีแห่งนาลันทา เป็นพระอาจารย์ พระสราหะภัทระได้ มอบสาธนะปฏิบัติอมิตายุส เพื่อให้สามเณรอรชุนได้ปฏิบัติเพื่อต่อชะตาชีวิตที่ได้รับการทำนายว่า สั้นจะต้องตายในเวลาอันใกล้นี้ ด้วยอานุภาพแห่งการปฏิบัติสาธนะอมิตายุส สามเณรอรชุน จึงได้รับการช่วยเหลือต่อชีวิตให้ยืนยาวเป็นหลายร้อยปี (เชื่อกันว่าพระสราหภัทระและราหุลภัทระท่านเป็นคนเดียวกัน)
กล่าวกันว่า สามเณรอรชุนขยันหมั่นเพียรยิ่งในการศึกษาเล่าเรียน อีกทั้งมีสติปัญญาเป็นเลิศ เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ท่านใช้เวลาเพียง90 วันเท่านั้นในการเรียนรู้อย่างลึกซึ้งในพระไตรปิฎก อีกทั้งท่านยังได้ศึกษาเล่าเรียนในศาสตร์ต่างๆ ที่มีสอนกันในมหาวิทยาลัยนาลันทา ดังเช่น
ตรรกศาสตร์ ศาสตร์ที่ท่านมีความเชี่ยวชาญลึกซึ้งและสร้างชื่อเสียงให้ท่านมากที่สุด ปรัชญาทั้งปวงของท่านมาจากการใช้ตรรกศาสตร์ที่เรียกว่าวิภาษวิธีแทบทั้งสิ้น ท่านได้ชื่อว่าเป็นนักตรรกที่ยิ่งใหญ่ของโลกทั้งในยุคของท่านและในโลกปัจจุบัน ท่านใช้วิภาษวิธีอย่างเชี่ยวชาญและได้ผล จนหาผู้ใดเสมอเหมือนมิได้ในยุคนั้น ท่านต่อสู้ทางปัญญากับนักปราชญ์ทั้งหลายทั้งจากปราชญ์ชาวพุทธเองและปราชญ์จากศาสนาอื่นๆ ด้วยวิภาษวิธี ในแต่ละครั้งที่ท่านลงโต้วาที ท่านใช้เหตุผลซักไซ้ความน่าจะเป็นทางปรัชญาของคู่ต่อสู้ จนคู่ต่อสู้ไม่สามารถยืนยันความเป็นเหตุเป็นผลในปรัชญาของตนเองได้ และยอมแพ้ในที่สุด
แพทย์ศาสตร์ เภสัช เคมี ท่านได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ใช้สมุนไพรใบยาอย่างช่ำชอง ทั้งยังเป็นนักเล่นแร่แปรธาตุที่เชี่ยวชาญ ท่านสามารถสร้างสรรค์ยาขึ้นมาใช้ให้ตรงกับโรคและให้ผลในการรักษาอย่างได้ผลและรวดเร็วตัวตัวอย่างการที่ท่านรักษาพญานาคมุจิลินทจนหายป่วยและได้รับพระสูตรปรัชญาปารมิตามาเป็นของกำนัล
ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ โหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ และอื่นๆเกือบทุกแขนงที่รับรู้กันในโลกยุคนั้นท่านสนใจเรียนรู้เกือบทั้งหมด อีกศาสตร์หนึ่งทีท่านใช้ปฏิบัติจนให้ผลเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลต่อมนุษย์โลกในกาลต่อมาคือ บริหารศาสตร์ หลังจากที่ท่านได้รับตำแหน่งอธิการบดีของมหาวิทยาลัยนาลันทาต่อจาก พระราหุลภัทระผู้เป็นพระอาจารย์แล้ว ท่านใช้เวลาอันสั้นพัฒนาจนนาลันทายิ่งใหญ่และสมบูรณ์เทียบเท่า วัชรสนะ(โพคายา)
ในด้านพุทธศาสตร์ ท่านแตกฉานในพระไตรปิฎกเป็นอย่างยิ่ง ในช่วงแรกนี้ท่านเรียนรู้ปรัชญาพุทธศาสตร์ในแนวสรวาสติวาทฝ่ายเถรวาทตามแนวของพระอุปชฌาย์ ท่านรับรู้ถึงการขัดแย้งทางความคิดเรื่องการตีความปรัชญาพุทธศาสตร์จากนิกายต่างๆในฝ่ายเถรวาทที่มีมากกว่ายี่สิบนิกาย จนกระทั่งท่านได้พบกับพระภิกษุชรารูปหนึ่งในแถบภูเขาหิมาลัย ท่านจึงได้กลับกลายมาเป็นภิกษุของมหายาน จนกระทั่งท่านได้รับพระสูตรปรัชญาปารมิตา ท่านจึงได้ก่อตั้ง นิกายมัธยมิกขึ้น และปรัชญามัธยมิกนี้เองเป็นพื้นฐานของพุทธศาสตร์ฝ่ายมหายานทุกนิกายมาจนทุกวันนี้
จากแหล่งข้อมูลของทิเบต ซึ่งปรากฏอยู่ในคัมภีร์ มัญชูศรีมูลตันตระได้กล่าวไว้ว่า
ภายหลังฉัน ,พระพุทธเจ้า ปรินิพพาน
400ปีผ่านไปแล้ว
จะมีพระภิกษุปรากฏขึ้นรูปหนึ่ง ชื่อว่านาคารชุน
ท่านเชื่อมั่นศรัทธาต่อพระพุทธธรรม
และสร้างประโยชน์อย่างมหาศาลต่อธรรมะ
ท่านจะได้มาซึ่งความปิติสุขอย่างสมบูรณ์
ท่านมีชีวิตอยู่ 600 ปี
ท่านจะได้มาซึ่งความรู้อันลี้ลับ
ของ มหามยุรีตันตระ
ท่านจะรอบรู้สรรพศาสตร์ต่างๆมากหลาย
ท่านจะอธิบายอย่างแจ้งชัดในคำสอน ศูนยตา
หลังจากที่ท่านนิพพาน
ท่านจะไปเกิดใหม่ในสุขาวดีพุทธเกษตร
และในที่สุดท่านก็จะบรรลุสัมมาสัมโพธิญาน
มีคำกล่าวอื่นเกี่ยวกับนาคารชุนในพระสูตรมหายาน ดังตัวอย่างในลังกาวตาร ได้กล่าวไว้ว่า
ในเมืองทางทิศใต้ของ เวทลย
ภิกษุหนึ่งผู้สง่างาม และมีชื่อเสียงไพศาล
ผู้มีนามว่า นาคารชุน
ท่านจะกำจัดขั้วต่างๆของทรรศนะ
และหลังจากนั้นท่านจะสอนสิ่งนั้นในโลกนี้
คำสอนของฉันนั้นเป็นคำสอนของมหายาน
ซึ่งเป็นคำสอนที่ไม่มีคำสอนใดสูงกว่า
ท่านจะได้มาซึ่งความปิติสุขอันสมบูรณ์
เมื่อนิพพานท่านได้ไปจุติ ณ สวรรค์สุขาวดี
กล่าวถึงโดย เย.เฉซ์.ม์โฌ.ร๋(ค์เจล. ย่.ศ่ซ.มฌ้.%ล. ศักติและศิษย์ผู้มีชื่อเสียงของ เปะมาสัมภาวะ ป๙.ซ3.ฦ_ กล่าวไว้ว่า บิดาของนาคารชุนเป็นกษัตริย์โยคี นามว่า บาลิน ท่านมีความรู้ทางแพทย์ ท่านมีมเหสี2องค์ แต่ละองค์มีโอรส1องค์ กษัตริย์ได้สอนวิชาแพทย์แก่โอรสของมเหสีองค์แรก แต่ท่านไม่ได้สอนสิ่งใดแก่นาคารชุนซึ่งเป็นโอรสจากมเหสีองค์รอง เมื่อท่านได้สละราชสมบัติ ท่านได้ประกาศจะมอบบังลังก์ให้แก่โอรสผู้ซึ่งมีความรู้เก่งกล้าทางแพทย์มากกว่า มเหสีรอง ร้องไห้ด้วยความขมขื่นใจ เมื่อรู้ว่าโอรสของเธอไม่มีโอกาสในบังลังก์ เพื่อต้องการให้พระมารดาเป็นสุข นาคารชุนตั้งมั่นที่จะชนะในการประลองครั้งนี้ให้ได้
นาคารชุนได้ไปที่ป่าช้าใกล้ที่พัก ได้พบกับ เปะมาสัมภาวะ ที่อาศัยอยู่ ณ ที่นั้น และที่นั่น เปะมาสัมภาวะได้สอน ห้าคำสอนพื้นฐานทางการแพทย์ ในพระสูตรมหายาน ซึ่งเป็นห้าศาสตร์ซึ่งเป็นความเล้นลับและลึกซึ้ง แม้แต่กษัตริย์ก็เรียนรู้เพียงผิวเผินเท่านั้น ในการประลองระหว่างโอรสได้กระทำกันต่อหน้าสาธารณะชน โดยให้นำเสนอที่ละคน โอรสองค์โตได้นำเสนอก่อน เขาบรรยายแต่ละประเภทของศาสตร์ทางแพทย์ทั้งห้า อย่างแจ่มแจ้งและเป็นที่ความเกรงขามของที่ชุมนุม ในความรู้ที่กว้างขวาง พวกเขาได้พูดขึ้นว่า “ ด้วยความขยันขันแข็งในการฝึกฝนขององค์ชายได้ซึมซับปัญญาอย่างของพระบิดาอย่างจริงแท้ ดังแสงสว่างของพระจันทร์ในท้องฟ้าตอนกลางคืน ท่านได้แสดงออกถึงภูมิรู้อันมากมาย คงไม่มีอะไรจะฟังอีกจากองค์ชายอื่น คงจะไม่มีอะไรมาบอกกล่าวได้?”
อย่างไม่หวาดหวั่นและมั่นใจเต็มเปี่ยมใน เปะมาสัมภวะ โอรสองค์ที่สองเริ่มบรรยาย คำบรรยายออกเหมือนระลอกคลื่นที่ถาโถมของทะเลใหญ่ ความเข้าใจของท่านแผ่ออกสู่ที่ชุมนุมระลอกแล้วระลอกเล่า, เปรียบเสมือนพลังอำนาจของกษัตริย์บาลิน. หลังจากชี้แจงเหตุผลด้วยศาสตร์ทางโลก องค์ชายสองได้บรรยายถึงธรรมะของพุทธธรรม ด้วยความเชี่ยวชาญรอบรู้นั้น เทวดา นาค และฑากินี มาแสดงความเคารพ กลุ่มชนที่ชุมนุมได้กล่าวขึ้นว่า “แม้ว่าองค์ชายแรกเหมือนพระจันทร์เต็มดวง องค์ชายสองเปรียบเหมือนพระอาทิตย์ ผู้สง่างามหาที่เปรียบมิได้” เอาชนะโดยอารมณ์เหล่านั้น กษัตริย์ บาลิน ได้น้อมเศียรแทบเท้าโอรสสองและกล่าวว่า ความสามารถของท่านเหมาะสมแล้วกับราชบังลังก์ แต่องค์ชายไม่ปรารถนาในอำนาจทางโลก เขาได้ออกจากวังและศึกษาเพิ่มเติมจาก เปะมาสัมภาวะ หลังจากนั้น ท่านก็สร้างงานเขียนไว้มากมาย ทั้ง สูตร มนตรา และตันตระ และรู้กันในนาม สิทธิผล หรือผลของการรู้แจ้ง
ในช่วงเวลานั้น อยู่ในรัชสมัยของกษัตริย์แห่ธรรม พุทธปกษา มหามนตรีของท่าน ที่มีชื่อว่า กกุตสิทธา ผู้สร้างมหาวิหารนาลันทา เพื่อเป็นการสร้างกุศล กกุตสิทธาได้เตรียมการถวายภัตตาหารเลี้ยงผู้มาเยือนไม่เลือกว่าจะเป็นสมณะจากศาสนาหรือนิกายใด
มีขอทานสองคนซึ่งไม่ใช่ชาวพุทธ ซึ่งเตร็ดเตร่ขออาหารในบริเวณนั้น ได้พบกลุ่มภิกษุหนุ่ม จึงได้เข้าไปขอให้แบ่งอาหารให้ ภิกษุนั้นได้โปรยอาหารให้ดังเช่นให้อาหารสุนัข สร้างความโกรธแค้นแก่ขอทานทั้งสองและวางแผนที่จะแก้แค้น เขาจึงแบ่งกันทำงานโดยคนหนึ่งทำหน้าที่ขออาหาร อีกผู้หนึ่งมุ่งมั่นอยู่ในการปฏิบัติ สูรยสิทธาสาธนะ ด้วยเหตุนี้เขาจึงได้รับความโปรดปานจากพระอาทิตย์และได้มอบพลังอำนาจให้
สิบสองปีผ่านไปเขาก็ฝึกฝนจนสำเร็จในการปฏิบัตินี้ เขาปีนขึ้นจากหลุมและโปรยหว่านขี้เถ้ามนตราไปรอบๆนาลันทา เพื่อให้เกิดเป็นไฟไปเผาผลาญแปดสิบสี่วิหารของทาลันทา สิ่งก่อสร้าง รูปเคารพ ภาพวาดและคัมภีร์ต่างๆ ตกอยู่ในไฟใกล้จะถูกทำลายหมดจนเหลือเพียงซากของธรรมะ อย่างไรก็ตาม ในวิหารใหญ่ซึ่งเป็นที่เก็บคัมภีร์อนุตรโยคะตันตระได้แสดงปาฏิหาริย์มีน้ำเย็นพุ่งออกมาดับไฟทั้งหมด หลังจากนั้น ขอทานทั้งสองก็ได้หลบหนีไปทางกรุงสยาม แต่การกระทำขอเขาก็ได้สร้างความเสียหายแก่ธรรมะอย่างมหาศาล สามในสี่ของ วรรณคดีทางศาสนาได้ถูกทำลาย เหลือเพียงหนึ่งส่วนของสิบห้าส่วนในงานของมหายานที่เหลืออยู่ ดังตัวอย่าง ลังกาวตารสูตร เหลือเพียงบทเดียว (ซึ่งเก็บรักษาจนทุกวันนี้) และมีเพียงสามสิบแปด จากหนึ่งพันบทของ อวตังสกสูตรที่คงอยู่
ควันจากมหาอัคคีภัยนี้เป็นเหตุให้มุจิลินท, กษัตริย์ของนาค ป่วยอย่างหนัก ภาวะของเขาก็แย่ลงทุกที และ สิทธิผล หมอที่มีชื่อเสียงของชมพูทวีป เป็นผู้สุดท้ายที่ได้รับเชิญมา หมอได้ใช้ความลำบากเล็กน้อยในการรักษาพญานาคมุจิลินท มุจิลินทได้ตอบแทนโดยการเปิดคลังสมบัติล้ำค่า 7 ประการ และมอบคัมภีร์ปรัชญาปารมิตาสูตร ซึ่งมีคาถาหนึ่งแสนประโยคให้ พระสูตรนี้ พญานาคมุจิลินทได้รับมาจากพระอานนท์และเก็บรักษาไว้ แต่เมื่อนำมาศึกษา จึงรู้ว่าว่ามีบางส่วนไม่สมบูรณ์ สิทธิผลจึงได้แสดงอิทธิบาทไปยังบาดาลอีกครั้งได้พักอาศัยอยู่ศึกษาพระสูตรมหายานต่างๆ และยังได้นำบางส่วนกลับขึ้นมาในโลกมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงได้ชื่อว่านาคารชุน
จากแหล่งข้อมูลของจีน ซึ่งได้จากการบันทึกของท่านกุมารชีวะกล่าวไว้ว่า ไม่รู้ว่าพระนาคารชุนท่านศึกษาที่ไหน แต่ที่แน่ๆท่านมิได้ศึกษาที่มหาวิทยาลัยนาลันทา ท่านศึกษาเรียนรู้คัมภีร์พระเวทจากบิดาตั้งแต่วัยเด็ก ท่านมีความใฝ่รู้ ช่างจำ ช่างคิด ช่างหาเหตุผล ท่านเรียนรู้ศาสตร์ต่างๆมากมาย ด้วยอายุเพียง 20 ปี ชื่อเสียงในด้านเป็นผู้คงแก่เรียนก็ขจรไกลไปทั่ว ท่านกุมารชีวะได้กล่าวต่อว่า หลังจากที่ท่านคร่ำเคร่งอยู่กับตำรา จนเบื่อหน่าย จึงคิดที่จะไปผจญภัยหาความแปลกใหม่ต่อชีวิต จึงได้ไปเรียนรู้มายาศาสตร์ และด้วยกิเลสของวัยหนุ่มรุ่มเร้า ท่านจึงได้ใช้วิชามายาศาสตร์แอบเข้าไปวังหลวง สร้างเพศสัมพันธ์กับสตรีชาววังหลายนาง จนวันหนึ่งถูกทหารรักษาวังจับกุมได้ ด้วยเหตุการณ์นี้ทำท่านมีสติระลึกรู้ว่า ทุกข์ที่ท่านได้รับอยู่นี้เกิดจาก กิเลสตัณหาของตน จึงตั้งปณิธานว่า ถ้าหาหลุดจากที่นี่ได้จะไปบวชเป็นพระภิกษุ แล้วท่านก็หนีออกจากที่คุมขังได้ และได้บวชเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนานิกายสรวาสติวาทฝ่ายเถรวาท
หลังบวชท่านก็เริ่มศึกษาพระไตรปิฎก ท่านใช้เวลาเพียง 90 วัน เรียนรู้พระไตรปิฎกจนถ่องแท้ อีกทั้งท่านยังได้เรียนรู้อรรถกถาจากคัมภีร์ต่างๆอีกมากของฝ่ายเถรวาทแต่ก็ยังไม่เป็นที่พอใจ ท่านจึงเที่ยวเสาะหาคัมภีร์และความรู้ทางพุทธศาสตร์ตามที่ต่างๆไปจนถึงแถบเทือกเขาหิมาลัย ณ ที่นั้น ท่านได้พบพระภิกษุชรารูปหนึ่งในฝ่ายมหายาน ท่านได้มอบตัวเป็นศิษย์ศึกษามหายาน ท่านได้ศึกษาคัมภีร์ต่างๆของฝ่ายมหายาน ท่านพอใจและถูกใจในปรัชญาของมหายาน กลายเป็นภิกษุของมหายาน แต่ถึงกระนั้น ท่านก็ยังข้องใจในหลักปรัชญาธรรม ไม่สามารถรู้แจ้งปรุโปร่งสารัตถะธรรมได้จนถึงแก่นโดยสมบูรณ์ ท่านได้ออกเดินทางไปทั่วอินเดีย เปิดอภิปรายหรือเข้าร่วมอภิปรายถกปัญหาธรรมโต้วาทีกับนักปราชญ์และผู้รู้ต่างๆ มากมาย ด้วยภูมิรู้ที่ท่านมีทำให้หาคู่ต่อกรเอาชนะท่านไม่ได้ ชื่อเสียงของท่านขจรไกล จนกระทั่งเป็นที่เลื่อมใสแก่ พญานาคราช
พญานาคาราช ผู้ที่ชาวมหายานเชื่อกันว่าเป็นพระโพธิสัตว์ เลื่อมใสศรัทธาในตัวท่านและด้วยเมตตากรุณา จึงพาท่านไปยังวังบาดาล ได้มอบพระสูตร
ไวปุลยสูตร ที่เก็บรักษาไว้ ในภาชนะล้ำค่า 7 ใบ ให้ท่านได้ศึกษา ท่านใช้เวลาอ่านเรียนรู้พระสูตรต่างๆ ถึง 90 วัน จนรู้แจ้งแทงตลอดในสารัตถะธรรมของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์อย่างหมดสิ้น ท่านได้บรรลุเป็นพระโพธิสัตว์อย่างสมบูรณ์ ณ วังบาดาลแห่งนั้น เมื่อกลับขึ้นมายังโลกมนุษย์ท่านได้นำ ปรัชญาปารมิตาสูตรขึ้นมาด้วย ท่านได้ก่อตั้งนิกายมัธยมิก เผยแพร่พุทธธรรมตามอรรถาธิบายของท่าน จนเป็นที่ยอมรับแก่ชนทั่วไป จนพุทธศาสนารุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้งในยุค นั้น และปรัชญาตามอรรถาธิบายของท่านก็เป็นที่ยอมรับ กล่าวขานและปฏิบัติ มากที่สุดในโลกปัจจุบัน
ความหมายของชื่อนาคารชุนในเวลาต่อมาได้เขียนบรรยายไว้ โดยศิษย์ผู้มีชื่อเสียงของท่านจันทรากีรติในคำนำของปราสนนปทา บทความในมาธยมิก “คำพูดอันกระจ่างชัด”
ข้าพเจ้าขอน้อมเศียรต่อ นาคารชุน ผู้ซึ่งไม่ยอมรับ
ความยึดมั่นในสองขั้วของทรรศนะ
ผู้ซึ่งกลับมาเกิดในทะเลของธรรมธาตุ
ผู้ซึ่งมาจากความเมตตา อธิบายความยากลำบาก ลึกล้ำทั้งมวล
ของสมบัติของคำสอนสูงสุดเหมือนดังท่านรู้ด้วยตนเอง
ทำลายความเชื่อดั้งเดิมดุจดังเชื้อเพลิงเผาทำลาย
ของความขัดแย้งมากหลาย, ทรรศนะที่ขัดแย้ง
ขณะที่มันรุ่งเรืองสุกใส แต่ก็กระจัดกระจายจนทุกวันนี้
ความมืดมนทางจิตของโลกโดยสิ้นเชิง
ปัญญาและคำพูดของท่านหาที่เปรียบไม่ได้ เหมือนอาวุธที่ทรงพลัง
ความมั่นคงปลอดภัยจากท่าน อยู่เหนือสามบรรยากาศของความมีอยู่จริง
อยู่เหนือโลกของการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งภพของเทพ
และมีชัยต่อศัตรูทั้งปวง เจ้าของปรากฏการณ์ที่มีอยู่จริง
ขณะที่พญานาคดำรงอยู่ในห้วงสมุทร
ดังนั้น นาคารชุนจึง ดำรงอยู่ในห้วงสมุทรของธรรมธาตุ
ดังเช่น นาค ไม่มีพระราชวังที่คงทนของความมั่นคง
นาคารชุนก็ไม่ถือขั้วของทรรศนะ
ขณะที่นาคเป็นเจ้าของมหาสมบัติ อัญมณีเพชร ทอง
นาคชุนเป็นเจ้าของเพชรแห่งธรรมซึ่งมีค่าสูงสุด
จินตมณี
ด้วยการชำเลืองดูเพียงครั้งเดียว, เหมือนปลุกฝังไฟอันร้อนแรง
แผ่ไปทั่วทั้งโลกของการมีอยู่จริง
นี้คือที่มาของชื่อ นาคารชุน
นับตั้งแต่ ท่านได้ทำลายพลังบาปของโลก
และกระทำการปกป้องภพของธรรมะ
ท่านมีชื่อเรียกว่า “อรชุนผู้ทรงพลัง”
พระนาคารชุนได้เขียนบทความขึ้นเป็นจำนวนมาก ทั้งคัมภีร์พระสูตรและอรรถกถา บนพื้นฐานของพระสูตรปรัชญาปารมิตา โดยเฉพาะบทความที่ทำความกระจ่างชัดให้แก่ความหมายของ มัธยม ทางสายกลางซึ่งพระพุทธเจ้าได้สอนไว้ ซึ่งปฏิเสธ สองด้านของความเชื่อ(ทวิลักษณ์) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสองขั้วของการทำลายล้าง และความชั่วนิรันดร์ ด้วยวิภาษวิธีที่นาคารชุนใช้ได้ผลเป็นที่สุด ได้นำพามวลมนุษย์มิให้ตกจมอยู่ในทรรศนะที่ผิดอีกต่อไปจากการเปิดเผยด้วยหลักตรรก ทฤษฎีที่สับสนที่เกาะติดแน่น ในรูปของความเชื่อในทวิลักษณ์หรือปรัชญาสุดโต่ง มาตลอดกาลนานได้ถูกทลายลงจนสิ้น
ผลงานที่สร้างสรรคโดยนาคารชุนประมาณ 180 ชิ้น ในทิเบตเองก็มีบันทึกไว้ไม่ครบ ในจำนวนมีคัมภีร์ที่ท่านแต่งเองมากมาย มี 6 ความเรียงที่เป็นปรัชญาชั้นสูง ซึ่งต่อมาได้เป็นปรัชญารากฐานของนิกายมัธยมิก ซึ่งมี ศูนยตาสปตติ มูลมธยมิ-การิกะ ยุกติศสตริก วิครหวย-วรตนิ ไวทลยสูตร และวยาหารสิทธิ คัมภีร์เหล่านี้รวมอยู่ในวิชาตรรกศาสตร์ ต้นกำเนิดของความรู้อันถูกต้อง, และความสัมพันธ์ และความจริงสูงสุด
พระนาคารชุนท่านได้เขียนคัมภีร์วิพากษ์หลักคำสอนของนิกายต่างๆทั้งพุทธและอื่นๆ โดยเฉพาะหลักปรัชญาของนิกายสรวาสติวาท ซึ่งเป็นงานสำคัญที่ใช้แก้ไขปรัชญาอันสับสนซึ่งมีมายาวนานตั้งแต่หลังสังคายนาพระธรรมครั้งแรกเป็นต้นมา อีกทั้งยังมีคัมภีร์ในลักษณะจดหมายที่ท่านเขียนสอนธรรมแก่กษัตริย์พระสหายของท่าน คือรัตนวลีและสุหฤลเลข คัมภีร์อื่นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีคือ ปรตีตยสมุทบท-หฤทยสูตร ซึ่งอธิบายเหตุแห่งการเกิดของห่วงสัมพันธ์ สิบสองห่วงซึ่งพึ่งพาอาศัยกัน
พระนาคารชุน ท่านยังได้เป็นผู้รวบรวมพระสูตรสำคัญๆไว้เป็นหลักฐานของมหายาน ซึ่งล้วนเป็นสูตรที่สำคัญและเป็นต้นรากฐานของนิกายต่างๆของมหายานในกาลต่อมา ดังเช่น ปรัชญาปารมิตาสูตร สัทธรรมปุณฑริกสูตร คัณฑวยุหสูตร อวตังสกะสูตร และอมิตาภะสูตร วิมลเกียรตินิทเทศสูตร ศูรางคมสมาธิสูตร เป็นต้น
ในช่วงสุดท้ายของชีวิต นาคารชุน อาศัยอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของกษัตริย์ อันติวหนะพระสหาย การหวนกลับมาอยู่ในอุปถัมภ์ของกษัตริย์อันตีวหนะอีกครั้ง พระนาคารชุนได้ปรุงยาอมฤตถวายจนกษัตริย์อายุยืนยาวและดำรงความหนุ่มอยู่ตลอดกาล ทำให้ราชโอรสของพระองค์นามว่า ศักติมน ซึ่งมีความคาดหวังว่าจะได้ผู้สืบราชบังลังก์ต่อไปไม่พอใจ จนคิดที่จะสังหารพระนาคารชุนเสีย จนวันหนึ่งขณะที่ พระนาคารชุนกำลังนั่งสมาธิตามลำพังและอยู่ในสมาธิอันลึกล้ำ ณ ศรีปรวาตะ ดังที่ได้ปฏิบัติเป็นประจำ องค์ชายศักติมน ได้เข้าไปและใช้ดาบฟันที่คอพระนาคารชุน แต่ดาบหาได้ระคายผิวคอของนาคารชุนได้เลย นาคารชุนถอนจากสมาธิและได้กล่าวแก่องค์ชายศักติมนว่า
“องค์ชายอย่าตกใจไปเลยว่าและอย่ากลัวว่าจะไม่สมหวัง เมื่ออดีตหลายชาตินานมาแล้วที่อาตมาได้บังเอิญฆ่าแมลงตัวหนึ่งตายด้วยใบหญ้าอันคม ผลกรรมแห่งการกระทำนั้นได้ถึงเวลาที่จะต้องชดใช้แล้ว แม้ไม่มีอาวุธใด พระองค์ก็สามารถจะใช้ใบหญ้าฟันศีรษะของอาตมาออกมาได้ นี่คือกฎแห่งกรรม” ด้วยความยินยอมของพระนาคารชุน ที่ต้องการชดใช้กรรมเก่าแต่อดีตกาลให้สิ้นสุด จึงยอมให้องค์ชายตัดศีรษะด้วยใบหญ้าคา ทันใดนั้นก็ได้ยินเสียงพูดออกมาจากร่างที่ไร้ศีรษะของนาคารชุนว่า “อาตมากำลังจะไปยังสุขาวดีพุทธเกษตรแล้ว ศีรษะและกายนี้จะประสานเข้าหากันอีกในไม่ช้า” เจ้าชายศักติมันหวาดกลัวและหนีไปอย่างลนลาน ขณะนั้นมียักษีตนหนึ่งได้จับศีรษะของพระนาคารชุนเหวี่ยงทิ้งไปไกลหลายไมล์และทิ้งร่างท่านไว้ในภูเขาเวิ้งว้างนั้น ในกาลต่อมาหลายปี ศีรษะของท่านนาคารชุนได้เคลื่อนเข้าหาร่างของท่านอย่างปาฏิหาริย์และต่อเข้ากันเป็นร่างปกติดังเดิม พระนาคารชุนก็ได้คืนชีวิตกลับมาอีกครั้งหนึ่งและอยู่สร้างคุณประโยชน์แก่มนุษยชาติ จวบจนสิ้นอายุสังขารท่านจึงไปอยู่เป็นพระโพธิสัตว์ ณ สุขาวดีพุทธเกษตร มีหลายทรรศนะเกี่ยวกับการตายแล้วเกิดใหม่ของท่าน แต่มีทรรศนะที่ตรงกันก็คือ พระนาคารชุนมีอายุยืน เพราะการปฏิบัติและใช้รหัสยาน ท่านนาคารชุนได้ดับขันธ์ลง ณ มหาวิหารแห่งหนึ่งที่ เมืองอมราวดี แคว้นอันธรราษฎร์ อินเดียใต้ ยังคงเหลือซากสถูปเจดีย์ ทีชื่อว่า "นาคารชุนโกณฑะ"ตกทอดมาถึงปัจจุบัน
มหาปรัชญาปารมิตาสูตรเป็นสาระสำคัญหรือเป็นแก่นคำสอนของนิกายมัธยมิก ในขณะที่ ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร คือหัวใจของมหาปรัชญาปารมิตา
มูลมัธยมิการิกะและปรัชญาปารมิตา เกิดขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องกับคำว่า มัธย หรือทางสายกลางที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา อีกทั้งเพื่อปลดล๊อกทรรศนะของนักปราชญ์ชาวพุทธทั้งปวงทั้งก่อนหน้าและขณะนั้น ที่ถกเถียงกันจนหาที่จบไม่ได้ (ต่างฝ่ายต่างก็ให้ทรรศนะและเชื่อตามทรรศนะที่ตนให้จนแยกออกเป็นนิกายต่างๆ)ในอภิปรัชญาที่พระพุทธไม่ตอบ ที่เรียกว่า "อัพยากฤต" เหตุที่พระพุทธเจ้าไม่ตอบ เพราะคำตอบอยู่เหนือคำหรือความหมายของเหตุผล ไม่มีทางที่จะใช้คำพูดที่มีการบัญญัติขึ้นในโลกมาให้ความหมายจนยุติได้ มันเป็นภาวะที่ต้องรู้ด้วยจิตของตนเองและเข้าใจเอง เมื่อใดที่มีคำพูดเพื่อบรรยาย หรือมีการแสดงเพื่อบอกลักษณะเมื่อนั้น ภาวะนั้นก็จะเปลี่ยนไปมิใช่ภาวะเดิม ดังเช่น โลกมีที่สุด หรือ โลกไม่มีที่สุด หรือ โลกทั้งมีที่สุดและไม่มีที่สุด หรือ โลกไม่ใช่ทั้งมีที่สุดและไม่ใช่ทั้งไม่มีที่สุด ทั้งสี่ทรรศนะ เรียกว่า "จตุษโกฏิ" ยังไม่มีการแสดงความหมายใดในโลกนี้ทั้งจากคำพูด การเขียนหรือการแสดงท่านทางไม่อยู่ภายในจตุษโกฏินี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ การหาข้อยุติจึงทำไม่ได้ภายในโลกใบนี้ ดังนั้นท่านนาคารชุนจึงปฏิเสธทั้งหมด และใช้วิภาษวิธีชี้ให้เป็นว่า พุทธภาวะคือภาวะเหนือโลก ที่อยู่ในโลกนี้ ถ้าคุณสามารถรู้และดำรงในภาวะที่มีใช่อยู่นั้นภาวะทั้งสี่หรือจตุษโกฎิ นั่นคือ มี-ไม่ใช่, ไม่มี-ไม่ใช่, ไม่ใช่มี-ก็ไม่ใช่,ไม่ใช่ไม่มี-ก็ไม่ใช่ นี่คือทางสายกลาง
ท่านนาคารชุนยังได้กล่าวอีกว่า "โลกเป็นปรตีตยสมุทตปาทธรรม คือธรรมอันอาศัยเหตุพร้อมทั้งผลเกิดขึ้น เมื่อโลกเป็นปรตีตยสมุตปาทโลกก็คือศูนยตา " เมื่อโลกเป็นปรตีตยสมุตปาท พระนิพพานก็เป็นปรตีตยสมุตปาท ทุกข์เกิดขึ้นด้วยปรตีตยสมุตปาท สมทัยก็เกิดด้วยปรตีตยสมุตปาท นิโรธก็เกิดด้วยปรตีตยสมุตปาท อีกทั้งก็เกิดด้วยปรตีตยสมุตปาท เมื่อปรตีตยสมุตปาทเป็นศูนยตา สรรพสิ่งในโลกก็เป็นศูนยตา
tiน.อท่ล.บจู.คณิซ. ร๋เตน,.อ์\บ์เทล,.บ์จู.ค์ณีซ์,. ปรตีตยสมุตปาท สิ่งเชื่อมโยงที่พึ่งพาอาศัยกัน12ประการเป็นเหตุแห่งการเกิด
ม.ริค.ป. มา.ริค.ปา ปรตีตยสมุตปาท-01อวิทยา ส.-ความไม่ระลึกรู้ ในภาพทังกาวงล้อแห่งวัฏฏ แสดงออกด้วยภาพหญิงชราตาบอดซึ่งทำให้เกิดการปรุงแต่ง
อดุ.ฐ่ด. อ์ดู.(บ์เจะด์,. ปรตีตยสมุตปาท-02สัมสการ ส.สัญญาความเคยชิน ภาพช่างปั้นหม้อ ตามทำให้เกิดธาตุรู้
ฯม.ศ่ซ. ร๋นัม.เฉซ์. ปรตีตยสมุตปาท-03 วิชญาน ส.วิญญาณหรือธาตุรู้ ภาพลิง กระโดดไปมา ยึดจับสิ่งที่รู้สึก สร้างรูปธรรม
มิง.ดง.คสูคซ. มิง.ดัง.ค์สุคซ์. ปรตีตยสมุตปาท-04นามรูป ส.ภาพคนสองคนพายเรือข้ามฟาก กายและจิตแตกต่างกันเพราะการปรุงแต่งของประสาทสัมผัสทั้งหก
Qi.มช่ด.x^ค. ซ๋(ก์เจ.ม์เชะด์,.\ดุค. ปรตีตยสมุตปาท-05ษฑายตย ส.-หกอายตน ภาพบ้านมีหน้าต่างหกบาน ประตูรับการสัมผัส
ร่ค.ป. เรค.ปา. ปรตีตยสมุตปาท-06สปรศ ส. สัมผัส ภาพคู่รักสัมผัสกัน ทำให้เกิดความรู้สึก
ฌ้ร.บ. โฌร.วา. ปรตีตยสมุตปาท-07เวทนา ส.ความรู้สึก ภาพชายถูกศรทะลุตา ความรู้สึกทำให้ตัณหา ทุรนทุราย
ซ่ด.ป. \เซะด์,.ปา. ปรตีตยสมุตปาท-08ตฤษณ ส. ตัณหาหรือความปรารถนาอย่างแรงกล้า ภาพนักดื่มที่มีหญิงบริการ แสดงถึงความกระหาย อยาก ซึ่งทำให้เกิดอุปทาน
ณ่.บร.ล่น.ปอิ.ภูง.ป้.a. เณ.บัร.เลน,.ปาอิ.ภุง.โป.ล๋งา. ปรตีตยสมุตปาท-09อุปาทานสกธ ส.ขันธ์ห้า ภาพชายกำลังเก็บผลไม้ ความยึดมั่นผูกพันธ์ทำให้เกิดภพ
cjด.ป. \ซิด์.ปา. ปรตีตยสมุตปาท-10ภาวะ ส.หรือภพ ภาพชายหญิงร่วมประเวณี ทำให้เกิดการเกิดใหม่
Qi.บ. ซ๋(ก์เจ.วา. ปรตีตยสมุตปาท-11ชาติ ภาพหญิงกำลังคลอดลูก เมื่อมีการเกิดนำพาไปสู่ความตาย
ฝ.ศิ. ร๋คา.ฉิ. ปรตีตยสมุตปาท-12ชรามรณ ภาพชายแบกซากศพไปเชิงตะกอน เมื่อตายในสภาพปกติ ก็หมุนเวียนกลับไปสู่ ความไม่รู้ใหม่
อ้างอิงจาก
หนังสือ Lineage of Diamond Light
หนังสือ พระพุทธศาสนามหายานของ คณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย
หนังสือ ชีวิตและผลงานของนักปราชญ์พุทธ ของ ดร.อภิญวัฒน์ โพธิ์สาน สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
หนังสือพระพุทธศาสนามหายาน ของ สุมาลี มหณรงค์ชัย สำนักพิมพ์ศยาม