มหายานสูตราลังกา

ของ

พระมหาพุทธรักษ์  ปราบนอก

ลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

อธิการที่ 1

โอม ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งปวงทั้งหลาย

อธิการที่ 2 โศลกว่าด้วยการสงเคราะห์ความวิเศษแห่งการถึงสรณะ
อธิการที่ 3 โศลกว่าด้วยสงเคราะห์ประเภทของโคตร
อธิการที่ 4 โศลกว่าด้วยลักษณะการเกิดขึ้นแห่งจิต
อธิการที่ 5  โศลกว่าด้วยลักษณะการปฏิบัติ
อธิการที่ 6 โศลกว่าด้วยการจำแนกลักษณะประโยชน์อันเป็นปรมัตถ์
อธิการที่ 7 โศลกว่าด้วยการจำแนกลักษณะแห่งอำนาจ
อธิการที่ 8 ว่าด้วยความแก่รอบ ในมหายานสูตราลังการ
อธิการที่ 9 ว่าด้วยความรู้
อธิการที่ 10 ว่าด้วยอุทาน
อธิการที่ 11 โศลกว่าด้วยการแสวงหาความยิ่งใหญ่ในอธิการว่าด้วยการการแสวงหาธรรม
อธิการที่ 12 โศลกที่อธิบายการขับไล่ออกเสียซึ่งความอิจฉาริษยาในเรื่องการสอนธรรม
อธิการที่ 13 โศลกว่าด้วยการจำแนกการปฏิบัติ
อธิการที่ 14 โศลกว่าด้วยการจำแนกโอวาทและคำสอน
อธิการที่ 15 โศลกว่าด้วยการจำแนกกรรมอันประกอบด้วยประโยชน์เพื่ออุบายวิธี
อธิการที่ 16 อุทานโศลกในการสงเคราะห์ประเภทของบารมี
อธิการที่ 17 ว่าด้วยการจำแนกบูชาพระพุทธเจ้า
อธิการที่ 18 โศลกว่าด้วยการจำแนกความละอาย
อธิการที่ 19 โศลกว่าด้วยการจำแนกความอัศจรรย์
อธิการที่ 20-21 โศลกว่าด้วยการจำแนกลิงค์

ภาคผนวก

ดัชนีศัพท์

 

มหายานสูตราลังกา

ของ

พระมหาพุทธรักษ์  ปราบนอก

ลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

อธิการที่ 1

โอม ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งปวงทั้งหลาย

อธิการที่ 2 โศลกว่าด้วยการสงเคราะห์ความวิเศษแห่งการถึงสรณะ
อธิการที่ 3 โศลกว่าด้วยสงเคราะห์ประเภทของโคตร
อธิการที่ 4 โศลกว่าด้วยลักษณะการเกิดขึ้นแห่งจิต
อธิการที่ 5  โศลกว่าด้วยลักษณะการปฏิบัติ
อธิการที่ 6 โศลกว่าด้วยการจำแนกลักษณะประโยชน์อันเป็นปรมัตถ์
อธิการที่ 7 โศลกว่าด้วยการจำแนกลักษณะแห่งอำนาจ
อธิการที่ 8 ว่าด้วยความแก่รอบ ในมหายานสูตราลังการ
อธิการที่ 9 ว่าด้วยความรู้
อธิการที่ 10 ว่าด้วยอุทาน
อธิการที่ 11 โศลกว่าด้วยการแสวงหาความยิ่งใหญ่ในอธิการว่าด้วยการการแสวงหาธรรม
อธิการที่ 12 โศลกที่อธิบายการขับไล่ออกเสียซึ่งความอิจฉาริษยาในเรื่องการสอนธรรม
อธิการที่ 13 โศลกว่าด้วยการจำแนกการปฏิบัติ
อธิการที่ 14 โศลกว่าด้วยการจำแนกโอวาทและคำสอน
อธิการที่ 15 โศลกว่าด้วยการจำแนกกรรมอันประกอบด้วยประโยชน์เพื่ออุบายวิธี
อธิการที่ 16 อุทานโศลกในการสงเคราะห์ประเภทของบารมี
อธิการที่ 17 ว่าด้วยการจำแนกบูชาพระพุทธเจ้า
อธิการที่ 18 โศลกว่าด้วยการจำแนกความละอาย
อธิการที่ 19 โศลกว่าด้วยการจำแนกความอัศจรรย์
อธิการที่ 20-21 โศลกว่าด้วยการจำแนกลิงค์

ภาคผนวก

ดัชนีศัพท์

 

อธิการที่1

 

อธิการที่ 1

โอม ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งปวงทั้งหลาย

         1 บุคคล(พระพุทธเจ้า) ผู้รู้เรื่องอรรถ(ท่านผู้รู้ความหมายอันแท้จริงของพระพุทธศาสนา) ผู้ประกอบด้วยความกรุณา กระทำความกระจ่างของความหมายด้วยถ้อยคำและบทอันไม่มีมลทิน แสดง (วิธี) เพื่อจะข้ามพ้นจากความทุกข์แก่เหล่าชนผู้มีความทุกข์ ท่านย่อมสั่งสอนธรรมอันยอดเยี่ยม คือหนทาง 5 ประการเพื่อการเข้าถึงความหมายของธรรมซึ่งมหายานสั่งสอนและบัญญัติไว้ ทรงแสดง ให้เห็นว่า วิธีที่มีอยู่ภายในธรรมนี้หาที่เปรียบเทียบไม่มี

         อรรถาธิบาย ท่านผู้รู้อรรถ ย่อมกระทำความกระจ่างของ ฯลฯ ดังนี้เป็นต้น ใครเริ่มการสอน ใครกระทำอธิบาย(ทำให้พอใจ) คือผู้รู้อรรถ กระทำการอธิบายอะไร / กระทำการอธิบายความหมายของอรรถ / ด้วยอะไร / ด้วยถ้อยคำ ด้วยบททั้งหลายอันไม่มีมลทิน / แม้ด้วยถ้วยคำที่ปราศจากมลทิน คือ ถ้อยคำที่อ่อนหวาน / ด้วยบทที่ปราศจากมลทิน คือบทอันมีประโยชน์และมีสาระ อรรถจะมิสามารถกระจ่างชัดได้ถ้าปราศจากวาจาบทและพยัญชนะ / เพื่ออะไร / เพื่อข้ามพ้นความทุกข์ เพราะทรงมีความกรุณาในชนผู้มีความทุกข์ / เขาน้อมไปในความกรุณาที่มีในบุคคลผู้มีความทุกข์ ดังนั้น จึงชื่อว่าน้อมไปในความกรุณา / เขาทำอลังการแห่งอะไร / แห่งธรรมที่แสดงวิธีแห่งยานอันสูงสุด / วิธีแห่งยานอันสูงสุดถูกแสดงไว้แล้วในธรรมใด แห่งธรรมนั้น / เขาทำอลังการเพราะใคร / ในเพราะสัตว์ทั้งหลายผู้ดำเนินไปในยานอันสูงสุดนั้น /สัปตมีวิภักตินี้ หมายถึง มีสรรพสัตว์ผู้ดำเนินไป (ในมหายาน) เป็นเครื่องหมาย / เขากระทำอลังการกี่อย่าง 5 อย่าง /อันแสดงวิธีการถึงอรรถอันมีอยู่ภายใน อันหาสิ่งใดเปรียบมิได้ / คำว่ามีอยู่ในภายใน หมายถึง ประกอบแล้ว/ คำว่า หาสิ่งใดเปรียบเทียบมิได้ หมายถึง ความรู้อันยอดเยี่ยม

        บัดนี้วิธีแห่งอรรถ 5 อย่างนั้น ถูกแสดงไว้โดยฉันท์ที่ 2

        2 ธรรมนั้นที่แสดงไว้แล้ว ณ ที่นี้ ย่อมไห้ความปราโมทย์อันสูงส่ง เช่นกับทองคำที่บุดีแล้ว เช่นกับดอกปทุมที่กำลังบานเต็มที่ เช่น กับอาหารที่ได้รับการปรุงไว้อย่างดีแล้วสำหรับคนที่มีความหิว เช่นกับบทนิพนธ์ที่ได้รับการประพันธ์อย่างประณีต เช่นกับมุกดาในหีบบรรจุที่เปิดแล้ว

        อรรถธิบาย ด้วยโศลกนี้ ประกอบด้วยข้อเปรียบเทียบ 5 ประการ ธรรมนั้นท่านแสดงกระทำให้ยิ่งซึ่งอรรถ 5 ประการ คือ (1) เป็นสิ่งที่ดี (2)เป็นการแสดง (3) เป็นสิ่งที่ควรคิด (4)อยู่เหนือความคิด และ (5) เป็นสิ่งสูงสุด อรรถที่เข้าใจได้โดยคนน้อยคนนี้ (อรรถแห่งอธิคม) เป็นความหมายที่รู้เฉพาะตน เป็นภาวะที่แท้จริงของพระโพธิสัตว์ อรรถนั้นที่อธิบายไว้แล้วโดย สูตราลังการย่อมให้ความปราโมทย์อันสูงส่ง เหมือนทองคำที่บุดีแล้วตามลำดับ เป็นต้น / เมื่อพระธรรมนั้น ประกอบด้วยคุณสมบัติโดยปกตินั่นเอง ทำไมจึงต้องกระทำการอธิบายด้วยเล่า / โศลกที่ 3 จะตอบคำถามนั้น/

        3 รูปที่ได้รับการประดับตกแต่งดีแล้ว เมื่อส่องกระจก ย่อมก่อให้เกิดความปราโมทย์อันวิเศษ แก่ชนทั้งหลาย เพราะการแลดู ฉันใด พระธรรมที่ประกอบด้วยคำ อันดีโดยปกติ มีอรรถที่ได้จำแนกดีแล้ว ย่อมให้เกิดความยินดีอันวิเศษ แก่สัตบุรุษทั้งหลาย ตลอดกาลเนืองนิตย์ ฉันนั้น

        อรรถธิบาย ด้วยโศลกนี้ย่อมแสดงอะไร / รูปที่มีคุณสมบัติด้วยการประดับตกแต่งตามปกตินั่นเอง เมื่อส่องกระจก ย่อมยังให้เกิดความปราโมทย์ที่วิเศษเพราะอำนาจการแลดู ฉันใด แม้พระธรรมนั้น ที่ประกอบด้วยคุณ ด้วยคำที่เป็นสุภาษิตตามปกตินั่นเอง มีอรรถที่ได้จำแนกแล้วย่อมยังความยินดีที่วิเศษให้เกิดขึ้น เป็นนิตย์ ฉันนั้น/ อรรถอันนั้น ที่เป็นเหมือนกระทำการอธิบายแล้ว เพราะทำให้เกิดความยินดีอันวิเศษแก่บุคคลผู้มีความรู้ทั้งหลาย / ต่อจากนี้ไป จะแสดงการสรรเสริญ 3 ประการ ที่ก่อให้เกิดความเคารพในธรรมนั้นด้วยโศลก 3 โศลก

        4 ยาที่มีกลิ่นฉุน และมีรสเผ็ด ประกอบด้วยรสอันดี ฉันใด พระธรรมเองก็มี 2 ลักษณะ คือ มีอรรถที่ไม่ใช่เป็นเพียงพยัญชนะ(ไม่สามารเข้าใจได้เพียงพยัญชนะ) (แต่) เป็นอรรถที่พึงรู้

        5 พระธรรมนี้ กว้างใหญ่ ประณีตและลุ่มลึก แต่เมื่อเข้าใจแล้ว ย่อมให้ทรัพย์คือ คุณสมบัติอันประเสริฐ เช่นเดียวกับพระราชาผู้เอาใจยาก

        6 รัตนชาติอันหาค่ามิได้ ย่อมไม่ยังบุคคลผู้ไม่มีปัญญาพิจารณาให้ยินดีได้ ฉันใด พระธรรมนี้ ย่อมไม่ยังบุคคลผู้ไม่มีปัญญาให้ยินดีได้ โดยปริยายนั้น ฉันนั้น เหมือนกัน

        อรรถธิบาย (พระธรรม) มีประโยชน์ 3 ประการ คือเป็นเหตุแห่งการทำลายสิ่งกีดขวาง เปรียบเทียบได้กับยา / ประกอบด้วย 2 ลักษณะด้วยกัน คือ ประกอบด้วยพยัญชนะและความหมาย พระธรรมนั้นเมื่อเปรียบได้กับพระราชา ย่อมเป็นสาเหตุแห่งเจริญ เพราะให้คุณความดีที่ประเสริฐมีการรู้ยิ่งเป็นต้น และเปรียบได้กับรัตนชาติอันหาค่ามิได้ ย่อมเป็นเหตุแห่งการเสวยอริยทรัพย์(เป็นเหตุเสวยแห่งอริยชน) ชนผู้มีปัญญาพิจารณา พึงทราบว่า อริยชน/

        ในข้อนั้นมีคำกล่าวของฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์ว่า มหายานนี้มิใช่พระพุทธพจน์ เมื่อเป็นเช่นนี้ การสรรเสริญเช่นนั้นจักมีได้แต่ที่ไหน / นี้คือโศลกที่เริ่มแสดงเหตุเพื่อแสดงว่ามหายานนั้นเป็น พุทธวจนะ/

        7 ในเบื้องต้น คำสอน ไม่ได้มีการแพร่หลาย เพียงแต่ได้รับการพัฒนา อันเพียงพอต่อการลำดับ ขยายเพียงเล็กน้อย อยู่เหนือการเข้าถึงได้ ในเรื่องการมีอยู่และการไม่มีอยู่ โดยเฉพาะการไม่มีอยู่ เป็นลักษณะที่พิเศษอันมากกว่าวาจา (เสียง)

         อรรถาธิบาย ในเบื้องต้น เพราะไม่มีการพยากรณ์ไว้ (สั่งสอน)ถ้ามหายานเป็นสิ่งที่ขัดแย้งต่อพระสัทธรรม นั่นแสดงว่าเป็นการแต่งเติมขึ้นมาภายหลัง /ข้าพเจ้าไม่รู้ว่าใคร ในลำดับกาลต่อๆมา เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคจึงไม่พยากรณ์ไว้ในเบื้องต้น ย่อมเป็นเหมือนภัยที่จะมีในอนาคต / คำกล่าวที่ว่า มีการพัฒนาในเวลาเดียวกัน นั้นหมายความว่า การพัฒนาของมหายานมีอยู่ในยุคเดียวกันกับสาวกยาน ไม่ใช่พัฒนาขึ้นในสมัยหลัง เพราะฉะนั้น จะเข้าใจว่ามหายานนั้นไม่ใช่พระพุทธพจน์ได้อย่างไร / คำว่า พระธรรมนี้อยู่เหนือวิสัย ได้แก่ พระธรรมนั้น โอฬารและลึกซึ้ง เข้าถึงไม่ได้ด้วยตรรกศาสตร์ / คำกล่าวเช่นนั้น เพราะเข้าไปยึดว่าเป็นเช่นเดียวกับคัมภีร์นอกศาสนา / พระธรรมนี้จึงมิใช่สิ่งที่จะเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่คนอื่นกล่าวไว้แล้ว / แม้เมื่อกล่าวอย่างนั้นก็จริง คำนั้น ก็มิใช่คำของผู้หลุดพ้นแล้ว / ถ้าบุคคลรู้ยิ่งแล้ว ได้กล่าวพระธรรมนี้ไว้แล้ว / คำกล่าวของบุคคลนั้นย่อมเป็นพระพุทธพจน์ / บุคคลใดรู้ยิ่งแล้วย่อมกล่าวอย่างนี้ บุคคลนั้นย่อมเป็นพุทธบุคคล / คำกล่าวที่ว่า ในความมีอยู่และไม่มีอยู่ เพราะความไม่มีอยู่ ถ้ามหายานมีอยู่ในที่บางแห่ง ในความมีอยู่ของมหายานนั้น นี้ย่อมสำเร็จเป็นพุทธพจน์ เพราะไม่มีสิ่งอื่นนอกจากมหายาน / อนึ่ง ถ้ามหายานไม่มีอยู่ ในความไม่มีอยู่แห่งมหายานนั้น เพราะความไม่มีอยู่แม้แห่งสาวกยานนั้น /  คำกล่าวที่ว่า สาวกยานเป็นพุทธพจน์ มหายานมิใช่พระพุทธพจน์นั้น ย่อมไม่ถูกต้อง เพราะหากเว้นจากพุทธยานเสียแล้ว พุทธบุคคลทั้งหลายก็อุบัติไม่ได้ / เพราะเป็นปฏิปักษ์ / อนึ่ง มหายานที่ได้ปฏิบัติอยู่ ย่อมเป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลสทั้งหลาย เพราะอาศัยการไม่มองเห็นความแตกต่างในสรรพสิ่ง / เพราะฉะนั้น มหายานจึงเป็นพุทธพจน์ / เพราะมีอรรถอื่นจากที่กล่าวแล้ว / มิใช่ความหมายตามที่กล่าวแล้ว เพราะฉะนั้น บุคคลพึงทราบว่ามิใช่พระพุทธพจน์ตามความหมายที่ได้กล่าวมาแล้ว/

        คำกล่าวที่ว่า ในเบื้องต้นไม่พยากรณ์นั้น บุคคลพึงตอบว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์เรื่องนี้ที่ไม่มาถึงเพราะทรงวางเฉย/

        ในการวางเฉย (ของพระผู้มีพระภาค) มีโศลกว่า

        8 พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงมีทรรศนะตรงเพราะ เป็นผู้ปกป้องคำสอน ความรู้ของพระองค์ไม่ขัดข้อง ดังนั้น จึงทรงวางเฉย

        อรรถาธิบาย ด้วยโศลกนี้แสดงให้เห็นถึงอะไร / บุคคลไม่ควรวางเฉยต่ออุปัททวะใหญ่ที่ยังไม่มาถึง ที่จะมีต่อพระศาสนาด้วยเหตุ 3 ประการ เพราะความรู้คือหน้าที่ของพระพุทธเจ้า นั้นปราศจากความมานะพยายาม และพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีทรรศนะโดยตรง ยังมีอะไรมากไปกว่านี้ คือ ความเพียรและกำลังของท่านทั้งหมดก็เพื่อปกป้องคำสอนด้วยความรู้อย่างต่อเนื่องตลอดกาลเวลาและจากพลังของความรู้ในอนาคต

        คำกล่าวที่ว่า ในเรื่องของความมีอยู่และของความไม่มีอยู่ เพราะความไม่มี / บุคคลพึงตอบว่า สาวกยานนั้นไม่สามารถที่จะเป็นมหายานได้

        9 สิ่งนั้นยังไม่สมบูรณ์ ยังมีการโต้แย้ง ในบางประเด็น เพราะไม่ประกอบด้วยอุบายเพราะไม่มีคำสอนที่เทียบเคียงกันได้ เหตุนั้น สาวกยานนี้จึงไม่ใช่สิ่งที่เรียกว่า มหายานธรรมได้

        คำอรรถาธิบาย มันไม่สมบูรณ์ คำสอนมีอรรถเป็นอย่างอื่น เพราะว่า ในสาวกยานไม่มีอรรถอย่างอื่น และก็ไม่ได้สอนสาวกเกี่ยวกับอุบายพ้นจากราคะที่มีในตน สอนแต่ประโยชน์ตนเท่านั้น ไม่บำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่น / เพราะขัดแย้งกัน / บุคคลผู้ให้ความช่วยเหลือคนอื่นก็เหมือนช่วยตนเอง ย่อมปฏิบัติประโยชน์เพื่อตนเองเสมอและประโยชน์ตนนี้ถูกใช้เพื่อการเข้าถึงปรินิรวาณของตนเอง อันนี้แหละจะนำไปสู่การตรัสรู้ยิ่งเอง นี่แหละคือสิ่งที่ตรงกันข้าม / บุคคลผู้ดำเนินตามสาวกยานเพื่อการตรัสรู้สิ้นกาลนาน ย่อมไม่สามารถเป็นพุทธบุคคลได้ / เพราะไม่ใช่หนทาง(อุบาย)ที่ถูกต้อง / สาวกยานมิใช่อุบายเพื่อการเป็นพุทธบุคคล ถ้าบุคคลประกอบด้วยสิ่งที่มิใช่หนทางสิ้นกาลนาน ย่อมไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ / มีหรือที่คนเราจะได้รับน้ำนมจากเขา(สัตว์)ในภาชนะ / เมื่อเป็นเช่นนี้ ในเรื่องนั้น โพธิสัตว์พึงประกอบคำสอนโดยประการอื่น ฉันใด / เพราะคำสอนไม่เหมือนกันแม้อย่างนั้น เพราะฉะนั้น สาวกยานจึงไม่สามารถเป็นมหายานได้เลย / เพราะบุคคลย่อมค้นไม่พบคำสอนเช่นเดียวกันในสาวกยานนั้น / สาวกยานและมหายานแตกต่างกันและไม่เป็นเช่นเดียวกัน ในความแตกต่างกัน มีโศลก ดังนี้ /

        10 ทั้งสองนั้น มีความขัดแย้ง ในเรื่องจุดมุ่งหมาย คำสอน การนำไปใช้ (ปฺรโยค) การให้ การสนับสนุนและเวลา เพราะฉะนั้น ยานที่ต่ำ จึงต่ำกว่าอย่างแท้จริง

        อรรถาธิบาย ทั้งสองขัดแย้งกันอย่างไร / ด้วยความขัดแย้ง 5 ประการ / จุดมุ่งหมาย คำสอน การนำไปใช้ การสนับสนุนและเวลา ความจริงแล้ว ในสาวกยาน จุดมุ่งหมายคือปรินิวาณเพื่อตัวเอง คำสอนก็เช่นกันเป็นเนื้อความเหมือนกัน อรรถของการนำมาใช้ก็เหมือนกัน การให้การสนับสนุนถูกลดฐานะลง และสงเคราะห์เข้าด้วยการสั่งสมบุญและความรู้เท่านั้น และใช้เวลาไม่มากนักเพื่อการบรรลุจุหมาย คือการเกิด 3 หนก็เพียงพอ / ส่วนในมหายานนั้น มีความแตกต่างกัน / เพราะความแตกต่างกันและกัน ยานที่ต่ำย่อมต่ำอย่างแท้จริง / ยานต่ำนั้นไม่ควรเป็นมหายาน /

        คำกล่าวที่พึงมีว่า ลักษณะของพระพุทธพจน์ ย่อมรวมลง(ปรากฏ) ในพระสูตรและในพระวินัยที่แสดงไว้แล้วและไม่ได้เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับธรรมทั้งหลาย (ธรฺมตา) แต่มหายานมิได้เป็นเช่นนั้น เนื่องเพราะคำสอน (ของมหายาน) มีว่า สภาวธรรมทั้งปวง ไม่มีสภาวะในตัวเอง ดังนั้น มหายานจึงไม่ใช่พระพุทธพจน์ / ในลักษณะที่ไม่แตกต่าง (จากพุทธพจน์) มีโศลกนี้/

        11 ความเป็นธรรมอันไม่ขัดแย้งกันมีเพราะปรากฏ(ในพระสูตร)ของตัวเองและเพราะ การแสดงในพระวินัย เพราะความกว้างขวางและเพราะความลึกซึ้งของตัวเอง

        อรรถาธิบาย โศลกนี้แสดงอะไร ความทุกข์(เกฺลศ) นี้ปรากฏด้วยตัวเองอยู่ในพระสูตรและแสดงในพระวินัยของมหายานเอง ความทุกข์ของพระโพธิสัตว์กล่าวได้ว่ามหายาน ความจริงเป็นผู้มีความทุกข์เพราะการแยกแยะ และเพราะลักษณะอันกว้างขวางและลึกซึ้ง เพราะโพธิสัตว์ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อความเป็นธรรม เพราะความเป็นธรรมย่อมนำไปสู่มหาโพธิ เพราะฉะนั้นลักษณะขัดแย้งจึงไม่มี เพราะกล่าวไว้แล้วว่า อโคจรเป็นต้น ดังนั้น โศลกในเรื่องการประกอบในโคจรแห่งตรรกะ

        12 ตรรกศาสตร์เป็นสิ่งที่มีพื้นฐาน ไม่มีข้อกำหนด ไม่มีการขยายความเป็นเรื่องบังเอิญเกิดขึ้น ทำให้ตัวเองหมดแรง มีอยู่ในคนพาล เพราะฉะนั้น มหายานจึงไม่ใช่วิสัยของตรรกศาสตร์

        อรรถาธิบาย จริงอยู่ ตรรกะให้เป็นที่อาศัยของความจริงอันไม่เคยปรากฏ และเป็นเครื่องวัดอันแน่นอนของคัมภีร์ เป็นสิ่งไม่มีการขยายความเพราะไม่ใช่วินัยที่จะรู้ได้หมด และวิสัยแห่งความจริงอันบังเอิญเกิดขึ้นและไม่เป็นวิสัยแห่งความจริงอันแสดงออก ทำให้ตนเองหมดแรงเพราะปฏิภาณถูกใช้จนหมดสิ้น แต่ว่ามหายาน ไม่มีแม้แต่พื้นฐาน จนกระทั่งการทำให้ตัวเองหมดสิ้นจากคำสอน ในพระสูตรจำนวนมากเช่น ศตสาหัสตริกา เป็นต้น ดังนั้น มหายานนั้นจึงไม่เป็นวิสัยแห่งตรรกศาสตร์

        จากการถกเถียง มีคำที่กล่าวไว้แล้วว่า ความเป็นพุทธบุคคลไม่เข้าถึงได้ในสาวกยาน ดังนั้น มหายานเป็นอุบายวิธีอย่างไร โศลกในเรื่องการดำเนินอุบายจึงประยุกต์ได้ด้วยประการฉะนี้

        13 เพราะความกว้างขวางและลึกซึ้งจึงมีความแก่กล้าและความไม่แตกต่าง ดังนั้น เทศนาจึงมีเป็น 2 แบบ และอุบายนั้นจึงปราศจากความยอดเยี่ยม

        อรรถาธิบาย โศลกนี้แสดงอะไร ความแก่กล้าของสัตว์ทั้งหลายเกิดขึ้นด้วยการเทศนาอันกว้างขวางที่มีพลังและเพราะการสืบต่อแห่งอธิมุกติอันมีพลัง ความไม่แตกต่างเกิดมีเพราะเทศนาอันลึกซึ้ง ดังนั้น เทศนา 2 ประการนั้น จึงมีอยู่ในมหายานนี้ และอุบายนั้นมีอยู่ในความรู้อันไม่เป็นที่เยี่ยมยอด ตามลำดับแห่งเทศนาทั้ง 2 ประเภทนั้น ใจอันแก่กล้าของสัตว์ทั้งหลายและความแก่กล้าแห่งธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นต้น มีด้วยประการฉะนี้

        อีกประการหนึ่ง บุคคลใดเป็นทุกข์ โศลกที่แสดงเหตุแห่งความเบื่อหน่ายในที่อันไม่เหมาะสมก็มีอยู่นี้

        14 ความทุกข์อันไม่สมควรเป็นเครื่องมือ (เหตุ) แห่งโลก เพราะเพราะเหตุแห่งการสั่งสมกองแห่งความไม่เป็นบุญอันใหญ่ เป็นเวลานาน บุคคลผู้ไม่มีโคตร ไม่มีมิตร ไม่มีความคิดอันเลิศ ไม่มีการสะสมบุญไว้ในกาลก่อน เป็นผู้มีความทุกข์ในธรรมนี้ ย่อมตกไปจากประโยชน์อันไพศาลในโลกนี้

        อรรถาธิบาย ในการวิเคราะห์ศัพท์ ตทสฺถานตฺราส (บุคคลผู้เป็นทุกข์ในสถานะอันไม่ใช่ทุกข์) เหตุแห่งการไหม้ย่อมมีอยู่ ในอบายทั้งหลาย เพราะอะไร เพราะเหตุแห่งการสะสมกองแห่งความไม่เป็นบุญอันใหญ่ไว้ยาวนานเพียงไร เป็นเวลานานทีเดียว โทษ (อาทีนวะ) ย่อมมีใน ภายหลังอย่างนี้ ด้วยเหตุใดตลอดกาลมีประมาณเท่าไรนั้นปรากฏแล้ว อะไรอีกเป็นเหตุแห่งความทุกข์ร้อนนั้นมี 4 ประการ โคตรของเขาไม่มี มิตรแท้ของเขาไม่มี หรือมีปัญญาอันไม่แจ่มใส หรือมีความดีที่สั่งสมมาในกาลก่อนเพื่อความเป็นผู้มีธรรมแห่งมหายานย่อมปรากฏ

        เหตุแห่งความทุกข์ร้อนก็กล่าวถึงแล้ว ก็ควรกล่าวเหตุแห่งความไม่ทุกข์ร้อนด้วย เพราะฉะนั้นโศลกในเรื่องเหตุแห่งความไม่ทุกข์ร้อน

        15 ไม่มีสิ่งอื่นใดจากภาวะนั้นซึ่งเป็นสิ่งที่เข้าถึงความยอดเยี่ยมลึกซึ้งอย่างวิจิตร ไม่ประกอบด้วยการขนาน เปิดออกให้เห็นความหลากหลาย เป็นสิ่งใช้ได้ ไม่จำแนกอรรถและเป็นสิ่งที่ไม่ยึดถือในความมีอยู่ ย่อมไม่มีความทุกข์ร้อนในธรรมแก่บัณฑิตผู้วิจัยจุดกำเนิด

        อรรถธิบาย สิ่งอื่นจากความไม่มี กล่าวคือ จากความมีอยู่แห่งมหายานอันอื่นอีก ดังนั้นสาวกยานนั่นแหละพึงเป็นมหายาน ความไม่มีแห่งปัจเจกพุทธยานหรือแห่งสาวกยานอันอื่นอีก พึงมี เพราะว่าบุคคลทั้งปวงนั้นแหละพึงเป็นพระพุทธเจ้าและเป็นสิ่งที่ถือกันว่ายอดเยี่ยม เพราะดำเนินไปบนหนทางแห่งความรู้ทั้งปวง ด้วยความเป็นไปแห่งเครื่องวัดคือกาลเวลา มีความลึกซึ้งอย่างวิจิตร เพราะรวบรวมหนทางแห่งสัมภาระอันวิจิตรในที่นี้ไม่เพียงแต่เป็นศูนยตาด้วยถ้อยคำอันเที่ยงแท้และเพราะเปิดเผยออกให้เห็นความหลากหลาย ในที่นี้ศูนยตาควรถูกกล่าวถึงโดยปริยายอันมาในพระสูตรนั้นๆ เพราะฉะนั้น พึงมีประโยชน์อันยิ่งใหญ่ ยิ่งกว่านั้นการกระทำแต่เพียงว่าปฏิเสธอันเพียงพอพึงมีว่า เมื่อใดที่ไม่มีอรรถ และไม่มีคำพูดเป็นข้อๆ เพราะฉะนั้น จึงไม่มีความทุกข์ร้อนใด ความมีอยู่ซึ่งเกี่ยวพันกับพระพุทธเจ้าผู้มีพระภาค เป็นเรื่องหยั่งไม่ถึงเลยทีเดียว ความมีอยู่ของ พระพุทธเจ้าเป็นเรื่องรู้ได้ยาก เพราะฉะนั้นบุคคลพึงรู้สึกทุกข์ร้อนในความรู้นั้นหามิได้ ความทุกข์ร้อนของบัณฑิตผู้วิจัยจุดกำเนิดจึงไม่มี

        โศลกว่าด้วยเรื่องโคจรแห่งความรู้อันเข้าถึงได้ยาก

        16 มนัสการกำเนิดขึ้นบนพื้นฐานแห่งการฟัง ความรู้แห่งมนัสการเป็นวิสัยของตัตวารถะ จากการบรรลุธรรมนั้น ความยินดีในความคิดก็เกิดขึ้นในการบรรลุธรรมนั้น เมื่อใดบุคคลอยู่ ณ จุดนี้ ความคิดนั้นการแก้ปัญหาในเรื่องนี้ย่อมมีได้อย่างไร

        อรรถาธิบาย มนัสการเกิดขึ้นบนพื้นฐานแห่งการฟังนั้น คำว่า โย ใช้แทนคำว่า โยนิศะ โยนิศะ คือความรู้ที่เป็นวิสัยแห่งมนัสการะและตัดวารถะซึ่งเป็นสัมมาทิฐิอันเป็นโลกุตตระ ดังนั้น การบรรลุคือธรรมนั้นย่อมมีในการบรรลุนั้น ความคิดอันเป็นวิมุตติชญานย่อมปรากฏมีขึ้น เมื่อใดที่บุคคลอยู่ในสถานะเช่นนี้ ความคิดนั้นย่อมมี การแก้ปัญญานั้นพึงมีได้อย่างไร ความเที่ยงแท้ย่อมมีนี่ ไม่ใช่พระพุทธวจนะ

        โศลกเกี่ยวกับสถานะแห่งการถึงความไม่ทุกข์ร้อน

        17 ข้าพเจ้าไม่เข้าใจและแม้แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่เข้าใจว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง เพราะเหตุใดจึงลึกซึ้งอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้ารู้สิ่งที่เป็นตรรกะ ได้เพราะเหตุใด เพราะอะไรความหลุดพ้น(โมกษะ) ของผู้รู้ ความหมายอันลึกซึ้งจึงมี เพราะเหตุว่าการเข้าถึงความทุกข์ร้อนอันบุคคลไม่ควร (ไม่ถูกต้อง)

        อรรถาธิบาย ถ้าว่าข้าพเจ้าตราบใดยังไม่รู้การเข้าถึงความเป็นทุกข์ร้อนแล้วไซร้ตราบนั้นก็เป็นสิ่งไม่ถูกต้อง พระพุทธเจ้าไม่ทรงทราบความทุกข์ร้อนอันลึกซึ้งแล้ว พระองค์จักแสดงความทุกข์ร้อนอันลึกซึ้งได้อย่างไรนี้เป็นสิ่งถูกต้อง เพราะอะไร การไม่เข้าถึงหลักตรรกะจึงเป็นการถึงความทุกข์ร้อนอันลึกซึ้ง เมื่อเป็นเช่นนั้นสิ่งนี้ก็ไม่สมควร เพราะอะไร โมกษะของบุคคลผู้รู้ความหมายแห่งความลึกซึ้งจึงไม่ใช่การเข้าถึงความทุกข์ร้อนของพวกนักตรรกศาสตร์ทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนั้นสิ่งนี้ย่อมจะไม่ควร

        โศลกว่าเรื่องการไม่ถึงอธิมุกติและสิทธิ(ความสำเร็จ)

        18 ถ้าบุคคลมีอธิมุกติ อันต่ำทรามมีธาตุอันต่ำทราม แวดล้อมด้วยสหายที่ยากจน (คือมีความเชื่อและต่ำทราม) ก็จะไม่มีความเชื่อ ในธรรมนี้ซึ่งแสดงอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง ความสำเร็จก็จะไม่มีเช่นกัน

        อรรถาธิบาย บุคคลมีความเชื่ออันต่ำทราม มีธาตุคือการเจริญอาลยวิญญาณเต็มรอบอันต่ำทราม แวดล้อมด้วยสหายต่ำทรามผู้มีความเชื่อและธาตุเสมอกัน เพราะฉะนั้นอธิมุกติในมหายานธรรมที่แสดงแล้วอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง จึงไม่มีและความสำเร็จก็ไม่มี เพราะมหายานเป็นสิ่งยอดเยี่ยมที่สุด

        โศลกว่าด้วยเรื่องการประกอบ (อาโยโค) การปฏิเสธพระสูตรอันไม่ได้ฟัง

        19 บุคคลใด(ซึ่งมีความรู้ขึ้นมาได้โดยการฟัง) ปฏิเสธสิ่งที่ได้ยิน ได้ฟังมาว่า ความเที่ยงแท้ในสิ่งที่ตนได้ฟังมาอันวิจิต ไม่มีประมาณและวิเศษจะมีแต่ที่ไหน ดังนั้นบุคคลนั้นจึงเป็นผู้โง่เขลาแท้

        อรรถาธิบาย แน่แท้ทีเดียวว่า อธิมุกติไม่พึงมีเพราะว่าการปฏิเสธความวิเศษแห่งพระสูตรอันตนไม่เคยฟังนั้น เป็นสิ่งไม่สมควร บุคคลใดได้เป็นผู้มีความรู้ด้วยการฟังแล้วกระทำการปฏิเสธสิ่งที่ได้ฟัง ผู้นั้นเป็นคนโง่เขลา ความเที่ยงแท้แห่งเหตุในสิ่งที่ตนได้ฟังแล้วอันวิเศษ วิจิตร และไม่มีที่เปรียบมีแต่ที่ไหน เพราะเหตุฉะนั้นนี่จึงไม่ใช่พระพุทธวจน กำลังอื่น(พละอื่น) ของบุคคลนั่นจากการฟังย่อมไม่มี เพราะฉะนั้นการปฏิเสธหลังจากฟังแล้วจึงเป็นสิ่งไม่ควร

        หากแม้ว่าบุคคลพึงกระทำมนสิการซึ่งการฟัง โดยแยบคายแล้วไซร้ แล้วอโยนิโสล่ะ ดังนั้นโศลกว่าด้วยอโยนิโสมนสิการ (จึงมีว่า)

        20 เมื่อบุคคลเพียงคิดในถ้อยคำที่พูดออกมา ในความหมายของมันปัจจัยอันเป็นของตนย่อมถึงซึ่งความเสื่อมแห่งโพธิ บุคคลที่ดูถูกคุณค่าแห่งถ้อยคำที่เปล่งออกมาละทิ้ง ย่อมได้รับความเสื่อมสิ้นในธรรม

        อรรถาธิบาย ปัจจัยอันเป็นของตน หมายความว่า การยึดมั่นในทิฐิของตนไม่แสวงหาความหมายสุดท้ายแห่งวิญญาณ ย่อมถึงความเสื่อมสิ้นแห่งโพธิ คือ เพราะความไม่รู้ในความเป็นจริง (ยถาภูต) จึงถึงความเสื่อมรอบ

        บุคคลปฏิเสธถ้อยคำที่เปล่งออกมาของตัวเองแห่งธรรม เขาย่อมถึงซึ่งการเริ่มต้น อันซัดส่ายไปด้วยอำนาจแห่งความไม่เป็นบุญ และการปฏิเสธ การห้ามธรรมเป็นกรรมอันเป็น ไปพร้อมกับความวิบัติแห่งธรรม นี้เป็นอาทีนวะ (เป็นโทษ) และเมื่อบุคคล ไม่รู้และเข้าใจอรรถแล้วปฏิเสธก็เป็นเรื่องมาสมควร เพราะฉะนั้น ฉันท์ว้าด้วยการประกอบแห่งการปฏิเสธ จึงมีว่า

        21 ใจที่ประกอบด้วยโทษ ก็มีธรรมชาติเป็นโทษ (และในความเป็นยถาภูต) เป็นใจที่มีรูปอันไม่เหมาะสม จะป่วยกล่าวไปใยถึงความสงสัยในธรรม เพราะฉะนั้น อุเบกขานั่นเทียวเป็นสิ่งไม่มีโทษอันประเสริฐ

        อรรถาธิบาย ใจที่มีปกติประทุษร้ายก็คือ ใจที่น่าตำหนิเป็นปกติ เพราะฉะนั้น อุเขกขา เป็นสิ่งประเสริฐ เพราะไม่มีโทษ แต่ว่าการปฏิเสธ เป็นสิ่งที่มีโทษ

อธิการที่ 1 ว่าด้วยความสำเร็จแห่งมหายาน ในมหายานสูตราลังการ จบ

 

อธิการที่ 2

 

อธิการที่ 2

โศลกว่าด้วยการสงเคราะห์ความวิเศษแห่งการถึงสรณะ

1     บุคคลใดถึงรัตนะ 3 ว่าเป็นที่พึ่งในยานนี้ เขาเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นผู้ยอดเยี่ยมในบรรดาผู้ยึดถือสรณะทั้งหลาย เพราะความวิเศษแห่งอรรถ 4 ประการ คือ อรรถแห่งการไปในที่ทั้งปวง อรรถแห่งการไปปราศยิ่ง อรรถแห่งการบรรลุ และอรรถแห่งความแตกต่างอันยิ่งเกิน

อรรถาธิบาย      บุคคลนั้นเป็นผู้มีความยอดเยี่ยม ในบรรดาผู้เข้าถึงสรณะทั้งหลายแล/ เพราะเหตุไร/ เพราะความวิเศษแห่งอรรถอันเป็นภาวะของตน 4 ประการ / อรรถ 4 ประการนั้นคือ อรรถแห่งการไปในที่ทั้งปวง อรรถแห่งการไปปราศยิ่ง อรรถแห่งการบรรลุและอรรถแห่งความแตกต่างอันยิ่งเกิน อันบุคคลพึงทราบ / ความเป็นสากล /การยึดมั่น /การได้มา / ความยิ่งใหญ่ / ความยอดเยี่ยมทั้ง 4 ประการ จะนำมาแสดงอีกครั้ง /

        บางคนเป็นผู้ไม่มีความอุตสาหะ เพราะเป็นการงานที่กระทำได้โดยยากของบุคคลผู้เข้าถึงสรณะในที่นี้ / โศลก /

2      ในเบื้องต้นนี้ การงานนี้เป็นสิ่งกระทำได้โดยยาก มีศีลยาก ไม่ใช่ด้วยเพียงหลายพันกัลป์เพราะเหตุใด ความหมายอันยิ่งใหญ่คือการสงเคราะห์สรรพสัตว์เป็นความสำเร็จ เพราะเหตุใด เพราะฉะนั้นความหมายแห่งสรณะ อันยอดเยี่ยม ในที่นี้จึงมีในอัครยาน(ยานอันยอดเยี่ยม)

อรรถาธิบาย      อันบุคคลย่อมแสดงความตั้งใจแห่งปณิธานและการปฏิบัติอันวิเศษแห่งการงาน คือการถึงสรณะนั้น / ความเป็นประโยชน์อันยิ่งใหญ่ เพราะการบรรลุวิเศษ /

        โศลกว่าด้วย อรรถแห่งการไปในที่ทั้งปวง ตามที่กล่าวไว้ในอธิการก่อน

3      บุคคลใดเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อการยังสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้น เขาย่อมเป็นผู้ประพฤติอันเป็นกุศลในความรู้อันเข้าถึงทั้งปวง บุคคลใดเห็นแจ้งในนิรวาณอันมีรสเดียว คือ สันติอันปรุงแต่งดีแล้ว เขาย่อมเป็นผู้มีความรู้และในปราชญ์ เพราะฉะนั้นจึงเป็น อรรถแห่งการไปในที่ทั้งปวง

อรรถาธิบาย      อรรถมี 4 ประการ อรรถแห่งการไปในที่ทั้งปวง อรรถแห่งการไปปราศยิ่ง อรรถแห่งการบรรลุ และอรรถแห่งความแตกต่างอันยิ่งเกิน การได้รับธรรมตาตามที่ได้สังเกตไว้แล้ว ก็คือ ลักษณะอันแตกต่างโดยประเภทอันเล็กน้อยอันบุคคล ไม่สามารถแยกแยะได้

        โศลกว่าด้วยความพิเศษแห่งการปฏิบัติสรณะ

4      บุคคลผู้ถึงอรรถใหญ่ว่าเป็นคติแห่งสรณะ เขาย่อมเข้าถึงความเจริญแห่งคุณและคณะอันไม่มีที่เปรียบและเขาย่อมได้รับธรรมอันใหญ่อันไม่มีอะไรเหมือนด้วยความกรุณาต่อโลกนี้

อรรถาธิบาย      ในที่นี้ท่านแสดงการถึงสรณะด้วยการปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและบุคคลอื่น อันมีประโยชน์อย่างยิ่งใหญ่ / อีกประการหนึ่งการปฏิบัติประโยชน์เพื่อตนเองด้วยความเจริญอันมีคุณประการต่างๆ และไม่มีที่เปรียบ / ความไม่มีที่เปรียบ อันบุคคลพึงทราบด้วยการเปรียบเทียบกับกาลเวลาที่พึงนับว่าเป็นตรรกะ / เพราะว่าความเจริญด้วยคุณนั้นบุคคลไม่พึงกระทำด้วยตรรกะ ด้วยการเปรียบเทียบด้วยการนับคำนวณและด้วยกาลเวลา / การปฏิบัติประโยชน์เพื่อบุคคลอื่นอาศัยด้วยความกรุณาและปราณี ส่วนการประกอบด้วยประพฤติธรรมแห่งมหายาน / เพราะว่ามหายานเป็นธรรมอันแสดงความความประเสริฐอันยิ่งใหญ่

อธิการที่ 2 ว่าด้วยการพึงสรณะในมหายานสูตราลังการ จบ

 

อธิการที่ 3

อธิการที่ 3

โศลกว่าด้วยสงเคราะห์ประเภทของโคตร

1      ความเป็นเลิศแห่งสัตว์ ความมีอยู่แห่งลิงค์ โคตร ประเภท โทษ การสรรเสริญ การเปรียบเทียบ 2 หน แต่ละอัน 4 ชนิด

อรรถาธิบาย      ด้วยโศลกนี้ เป็นการสงเคราะห์ความมีอยู่แห่งโคตร สวภาวะ ลิงค์ ประเภท โทษ สรรเสริญ ความเปรียบเทียบ 2 หน ออกเป็นประเภทต่างๆ / และสิ่งเหล่านี้มี 4 ประการ โดยปัจเจก/

        โศลกว่าด้วยการแจกแจงความมีอยู่แห่งโคตร

2      ความมีอยู่แห่งโคตรย่อมสืบค้นได้จากความแตกต่างแห่งธาตุ การหลุดพ้น การปฏิบัติและการบรรลุผลที่แตกต่างกัน /

อรรถาธิบาย      ความมีธาตุต่างๆกัน ปริมาณของสัตว์ ความแตกต่างแห่งธาตุ ได้กล่าวไว้แล้วในอักษราศิสูตร / เพราะเหตุนั้น แม้บุคคลอันมีชาติกำเนิดอย่างนี้ ก็พึงนับว่าเป็นความแตกต่างแห่งการหลุดพ้นของสัตว์ทั้งหลายอันบุคคลพึงพบได้ / ความหลุดพ้นอะไรๆ ของใครๆ ก็ตามพึงมีได้ในยานที่ 1 นั่นแล / การหลุดพ้นนั่นไม่พึงมีความแตกต่างแห่งโคตร โดยระหว่าง / อนึ่ง ความแตกต่างแห่งการปฏิบัติอันบุคคลพึงพบได้ด้วยปัจจัย ความชำนาญ และการหลุดพ้น แม้แห่งความเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น บางคนก้าวหน้า บางคนไม่ก้าวหน้า ด้วยเหตุนี้ความหลุดพ้นนั้นไม่พึงมีความแตกต่างแห่งโคตรโดยระหว่าง / และการบรรลุผลที่แตกต่างกันอันบุคคลพึงพบได้ คือ โพธิอันเลว กลางและวิเศษ (สูง) / การบรรลุผลที่แตกต่างกันนั้น ไม่พึงมีความต่างแห่งโคตร โดยระหว่าง พีชะ เป็นความเหมาะสมแห่งผล /

        โศลกว่าด้วยการจำแนกความเป็นเลิศ

3      ความเป็นเลิศแห่งโคตรอันท่านจำแนกจากนิมิตคือ ความแข็งแรงความมีอยู่ในทุกที่ ความมีประโยชน์อันยิ่งใหญ่และความไม่มีที่สิ้นสุด /

อรรถาธิบาย      ในโศลกนี้ ท่านแสดงความเป็นเลิศแห่งโคตรด้วยนิมิตอันมี 4 ประการ กล่าวคือ โคตร มีความแข็งแรง ความมีอยู่ในทุกแห่ง ความมีประโยชน์อันใหญ่และความไม่รู้จักสิ้นเป็นนิมิตแห่งกุศลมูลทั้งหลาย / เพราะว่าความแข็งแรงอันเป็นกุศลมูลแห่งสาวกยานไม่มี ความมีอยู่ในทุกที่ก็ไม่มี เพราะขาดพละกำลังและความไพศาล / และไม่มีความเป็นประโยชน์อันยิ่งใหญ่ คือ ประโยชน์เพื่อบุคคลอื่น / ไม่มีความไม่รู้จักสิ้นคืออนุปาทิเสสนิพพานเป็นอวสาน (ที่สุด)

        โศลกว่าด้วยการจำแนกลักษณะ

4      โคตรพึงเป็นสิ่งที่รู้ได้โดยการเจริญเติบโตตามปกติ ความตั้งมั่นโดยปราศจากสิ่งเป็นที่อาศัย ความมีอยู่และความไม่มีอยู่ ตามแต่ความมีประโยชน์สูงสุดและคุณธรรมสูงส่ง

อรรถาธิบาย      โศลกนี้ แสดงโคตร 4 ประการ / โดยลำดับคือการเจริญเติบโตตามปกติความตั้งมั่น สวภาวะแห่งการอาศัย และสวภาวะแห่งการถูกอาศัย / และอีกประการหนึ่ง ความมีอยู่ด้วยเหตุภาวะ และความไม่มีอยู่ด้วยผลภาวะ อันบุคคลพึงทราบว่าเป็นโคตรตามความมีประโยชน์สูงสุดและคุณธรรมสูงส่ง คุรุธรรมทั้งหลายย่อมมีขึ้น ได้ด้วยประโยชน์สูงสุดกล่าวคือ กระทำแล้ว /

        โศลกว่าด้วยการจำแนกลิงค์(เครื่องหมาย)

5       เครื่องหมายแห่งโคตรเป็นสิ่งที่พึงรู้ได้จากความกรุณา ความหลุดพ้น ขันติ เป็นต้น ที่ผู้เจริญประพฤติปฏิบัติเป็นอาจาระ /

อรรถาธิบาย      ลิงค์ในโคตรแห่งพระโพธิสัตว์ มี 4 ประการ / การปฏิบัติเบื้องต้น คือความกรุณาในหมู่สัตว์ / ความหลุดพ้นในมหายานธรรม / กษานติอันเป็นจริตที่ทำได้โดยยาก โดยอรรถคือการอนุเคราะห์ / และความประพฤติเหมาะสมในกุศลเพื่อการบรรลุถึงฝั่ง (ข้ามถึงฝั่งคือนิรวาณ)

        โศลกว่าด้วยการจำแนกประเภท

6      ประเภทแห่งโคตรจำแนกเป็น 4 ประการ โดยสรุปคือ โคตรเป็นสิ่งเที่ยง ไม่เที่ยง ปรากฏ และไม่ปรากฏ โดยปัจจัยทั้งหลาย

อรรถาธิบาย      โดยสรุป โคตรมี 4 ประการ โคตรที่เที่ยงแท้ ไม่เที่ยงแท้ และปรากฏ และไม่ปรากฏ โดยปัจจัยทั้งหลายตามลำดับ /

        โศลกว่าด้วยการแจกแจงโทษ (อาทีนวะ)

7      โทษแห่งโคตรพึงทราบโดยสรุปว่ามี 4 ประการคือ การฝึกหัดเกลศ(กิเลส) การมีมิตรชั่ว การมีอุปสรรค (พิฆาต) และความอาศัยบุคคลอื่น/

อรรถาธิบาย      โทษทั้ง 4 ประการ โดยสรุปในโคตรแห่งพระโพธิสัตว์กล่าวคือ โคตรย่อมเวียนไปสู่ความไม่มีคุณธรรม /  (เพราะ)เกลือกกลั้วด้วยเกลศะ / ไม่มีกัลยาณมิตร / การมีอุปสรรคต่อเครื่องมือ / และการไม่มีอิสระ(การอาศัยบุคคลอื่น) /

        โศลกว่าด้วยการสรรเสริญ

8      การเข้าถึงอบายอย่างช้า โมกษะอันเร่งรีบ การรู้จักทุกข์อันละเอียด ความเป็นสัตว์ที่สุกงอมด้วยความรวดเร็ว (คือ การสรรเสริญ) ในที่นี้ /

อรรถาธิบาย      การสรรเสริญโคตรแห่งพระโพธิสัตว์มี 4 ประการ/ ย่อมไปอบายโดยกาลนาน / อันพระโพธิสัตว์เหล่านั้น ย่อมหลุดพ้นโดยพลัน / รู้จำเพาะซึ่งทุกข์อันละเอียดอ่อน เมื่อเกิดขึ้นในทุกข์นั้น / มีความกรุณาต่อสัตว์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นด้วยใจอันแล่นไป (ในทุกข์) ยังสัตว์เหล่านั้นให้มีความแก่รอบ /

        โศลกว่าด้วยการอุปมามหาสุวรรณโคตร

9      พึงเป็นที่รู้โคตรนั้นเหมือนกับโคตรของทอง ซึ่งเป็นที่อาศัยของความดี เป็นที่อาศัยของความรู้ การประกอบโยคะอันไม่มีมลทิน และการมีพลังอำนาจ

อรรถาธิบาย      เหมือนว่าโคตรแห่งทองใหญ่พื้นฐานแห่งทองมี 4 ประการ / ความอุดม สมบูรณ์ ความสุกใส ไร้มลทิน และเหมาะแก่การงาน / โดยการเทียบเคียงนั้น โคตรแห่งพระโพธิสัตว์มีพื้นฐานแห่งกุศลมูลเป็นอุปมา / พื้นฐานแห่งความรู้ / พื้นฐานแห่งการบรรลุถึงความไม่มีมลทิน คือกิเลศ / พื้นฐานแห่งพลังอำนาจอภิญญาเป็นต้น / ด้วยเหตุนี้แหละพึงทราบการอุปมาด้วยโคตรแห่งมหาสุวรรณ

        โศลกว่าด้วยการเปรียบเทียบมหารัตนะ

10     พึงเป็นที่รู้ โคตรนั้นเหมือนกับรัตนโคตรอันงดงามเพราะเป็นนิมิตแห่งมหาโพธิเป็นพื้นฐานแห่งความรู้ สมาธิ และมหาสัตว์ประเสริฐ ผู้ปรารถนาประโยชน์ /

อรรถาธิบาย      เหมือนโคตรแห่งมหารัตนะ พื้นฐานแห่งรัตนะมี 4 ประการ / คือชาติ วรรณะ สถานที่ และขนาด /พึงทราบ การอปมานั้นเหมือนกับโคตรแห่งพระโพธิสัตว์ เป็นนิมิตแห่งมหาโพธิ เป็นนิมิตแห่งมหาชญาณ เป็นนิมิตแห่งความสุกงอมของมหาสัตว์ กล่าวคือ ความแก่รอบแห่งสัตว์แห่งสัตว์จำนวนมาก /

        โศลกว่าด้วยการแจกแจงความไม่มีโคตร

11     ผู้มีความทุจริตโดยส่วนเดียว ผู้ทำลายล้างธรรมอันงาม ผู้ไม่มีสอนแห่งโมกษะ ผู้มีความต่ำทรามในความบริสุทธิ์ และมีเหตุอันต่ำทราม /

อรรถาธิบาย      โศลกอภิปรายความไม่มีโคตรคือ ความเป็นผู้ไม่มีปรินิพพานธรรมนั้น / และโดยย่อมี 2 ประเภท คือ / อปรินิพพานในเวลานั้นและอันมีในที่สุด / อปรินิพพานธรรมในเวลานั้น 4 ประการ / เป็นผู้มีความทุจริต โดยส่วนเดียว มีกุศลมูลอันตัดขาดแล้ว ไม่มีกุศลมูลอันส่วนแห่งโมกษะ มีกุศลมูลอันต่ำทรามและไม่มีสัมภาระอันเต็มรอบ / อปรินิพพานธรรมอันมีในที่สุด เพราะมีเหตุอันเลวจึงไม่มีโคตรแห่งปรินิพพานแก่บุคคลนั้น /

        โศลกว่าด้วยการสรรเสริญโคตรที่เจริญเติบโตตามปกติ

12     ธรรมอันลึกซึ้งและประเสริฐ ไม่มีที่สิ้นสุดเกิดขึ้นเพราะเหตุแห่งการอนุเคราะห์บุคคลอื่น ความไม่มีแห่งความรู้ การหลุดพ้น อันไพบูลย์ดีและถึงพร้อมด้วยความอดกลั้น สมบัติการถึงซึ่งความเป็น 2 อันยอดเยี่ยม  ย่อมมีแก่บุคคลเหล่านั้นในที่สุด พึงเป็นที่รู้ความเจริญขึ้นแห่งคุณธรรมตามปกติของพระโพธิสัตว์และความเจริญเติบโตนั้นก็เพราะโคตร

อรรถาธิบาย      ความไพบูลย์แห่งอรรถ การหลุดพ้นโดยไม่มีความรู้อันลึกซึ้งและประเสริฐในมหายานธรรมอันพิสดารในประโยชน์แห่งกริยาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น อันลึกซึ้งแปละประเสริฐ มีความอุตสาหะในการปฏิบัติสมบัติอันยอดเยี่ยมในการถึงพร้อมด้วยความบรรลุความเป็นสองแห่งมหาโพธิ นั้นพึงทราบว่าเป็นความเป็นยอดเยี่ยมแห่งคุณธรรม และความแข็งแรง โดยปกติของโคตรแห่งพระโพธิสัตว์ / บรรลุความเป็นสองก็คือ เป็นสาวกในโลกิยะอันมีอย่าง 2 /ปรมัตถ์อันวิเศษ /

โศลกว่าด้วยความวิเศษแห่งโคตรผล

13     ทรัพย์ สุข ทุกข์ เกิดขึ้นด้วยความเจริญแห่งต้นโพธิอันมีค่าที่ไพบูลย์ยิ่ง และการกระทำความสุข เพื่อประโยชน์ตนและผู้อื่นย่อมมีเป็นผล นั่นเป็นโคตรอันยอดที่เป็นไปกับด้วยมูลเหตุ /

อรรถาธิบาย     โคตรแห่งพระโพธิสัตว์แสดงแล้วด้วยความมีมูล อันน่าปรารถนาแห่งต้นโพธิอันมีผล คือ ประโยชน์ตนและบุคคลอื่น

อธิการที่ 3 ว่าด้วยเรื่องโคตร ในมหายานสูตรลังการ จบ.

 

อธิการที่ 4

อธิการที่ 4

โศลกว่าด้วยลักษณะการเกิดขึ้นแห่งจิต

โศลกว่าด้วยลักษณะการเกิดขึ้นแห่งจิต

1      เจตนา อุตสาหะใหญ่ การปรารภใหญ่ ประโยชน์ใหญ่ และการเกิดขึ้นใหญ่ (ย่อมเกิดขึ้น) ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งจิตอันมีอรรถ 2 ประการ (ย่อมมีในจิต) ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย /

อรรถาธิบาย    มหาอุตสาหะ คือ ด้วยความเพียรอันยิ่งใหญ่ ด้วยความอุตสาหะในการปฏิบัติตลอดกาลยาวนานซึ่งกริยาอันบุคคลกระทำได้โดยยากอันลึกซึ้ง / การปรารภใหญ่ คือ ด้วยความวิริยะในการประกอบความเพียรอันเช่นนั้น / ประโยชน์ใหญ่(มหาอรรถ) การกระทำเพื่อประโยชน์ตนและบุคคลอื่น / มหาอุทัย (การเกิดขึ้นใหญ่) ด้วยการเกิดขึ้นพร้อมแห่งจิตโพธิ / คุณข้อนี้นั้นมี 3 ประการ ที่ถูกแสดงไว้ คือ คุณคือการกระทำของบุรุษ 2 ประการ คุณการประพฤติประโยชน์โดยบท 2 ประการและคุณคือการยึดถือเอาผลโดย 2 ประการ / ประโยชน์ 2 ด้วยประพฤติประโยชน์แห่งมหาโพธิสัตว์ / ด้วยประการนี้ การเกิดขึ้นแห่งจิตจึงถูกกล่าวว่าเป็นเจตนาอันมีคุณ 3 ประการ และกรรม 2 ประการ

โศลกว่าด้วยประเภทแห่งการเกิดขึ้นแห่งจิต

2      การเกิดขึ้นแห่งจิต มี 4 ประการ คือ อธิโมกษ์ ศุทธาธยาศยิกะ ไวปารกยะ และอนาวรณิจ (ความหลุดพ้นยิ่งใหญ่ ที่สุดแห่งความมุ่งหวังอันบริสุทธิ์ ความเป็นผู้แก่รอบ และสิ่งที่ถูกเปิดเผยในสภาพต่างๆ) ในภูมิแห่งความคิดทั้งหลาย

อรรถาธิบาย     การเกิดขึ้นแห่งจิตของพระโพธิสัตว์มี 4 ประการ / อธิโมกษ์ในภูมิแห่งการประพฤติเพื่อการหลุดพ้น / ศุทธาธยาศยิกะในภูมิ7 / ความเป็นผู้แก่รอบในภูมิที่ 8 เป็นต้น / สิ่งที่ถูกเปิดเผยในสภาพต่างๆในพุทธภูมิ

โศลกว่าด้วยการวินิจฉัยการเกิดขึ้นแห่งจิต 4 ประการ

3      มีความกรุณาเป็นมูล ความน่าปรารถนา ความมุ่งหมายเพื่ออนุเคราะห์สัตว์ตลอดเวลา มีอธิโมกษ์และธรรมเป็นวัตถุประสงค์แห่งชญาณ

4      ยานซึ่งมีฉันทะอย่างยอดเยี่ยมนี้ เป็นความมีศีลสังวรอันตั้งมั่น หนทางอื่นของฝ่ายตรงกันข้ามที่เกิดขึ้นนั่นก็อยู่สงบแล้ว(ถึงทับแล้ว) /

5      การสรรเสริญอันงดงามและเจริญนั้น เป็นสิ่งที่สำเร็จได้ด้วยบุญและความรู้และได้รับการกล่าวว่าเป็นความไม่รู้จักหยุดแห่งการปฏิบัติบำเพ็ญบารมี

6      การปริวรรตในอวสานแห่งภูมินี้ เป็นเพราะการปฏิบัติ การวินิจฉัยการเกิดขึ้นแห่งจิตของพระโพธิสัตว์พึงทราบได้(อย่างนี้แล) /

อรรถาธิบาย     การวินิจฉัยนี้เป็นประการนี้ว่า / การเกิดขึ้นแห่งจิตของพระโพธิสัตว์มี 4 ประการนี้ มีอะไรเป็นมูล อะไรเป็นจุดมุ่งหมาย อะไรเป็นอธิโมกษ์ อะไรเป็นสิ่งสนับสนุน อะไรเป็นยาน อะไรเป็นสิ่งที่ตั้งมั่น อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นการสรรเสริญ อะไรเป็นการแปรรูป(ปริวรรต) อะไรเป็นอวสานดังนี้แล / ท่านกล่าวว่า / มีกรุณาเป็นมูล /มีการอนุเคราะห์สัตว์เป็นจุดมุ่งหมาย / มีมหายานธรรมเป็นอธิโมกษ์ (ความหลุดพ้น) / มีชญาณเป็นเครื่องสนับสนุนด้วยเหตุแห่งความมุ่งหมายในความรู้ / มีฉันทะอันยอดเยี่ยมเป็นยาน / มีความสำเร็จในศีลเป็นการตั้งมั่น / มีหนทางอื่นเป็นโทษ / อีกประการหนึ่ง หนทางอื่นคือะไร ยานอื่นแห่งฝ่ายตรงข้ามซึ่งเป็นการเกิดขึ้นหรือการหยุดนิ่ง(ถึงทับ) แห่งจิต / มีความเจริญแห่งกุศลธรรมอันสำเร็จได้ด้วยบุญและความรู้เป็นการสรรเสริญ / มีความในการบำเพ็ญบารมีเป็นการแปรรูป / การเสพเฉพาะ เป็นอวสานแห่งภูมิ เพราะประโยคะด้วยภูมิ / บุคคลใดเป็นผู้ประกอบในภูมิใดภูมินั้น และเป็นที่สุดแห่งภูมิ /

โศลกว่าด้วยการเกิดขึ้นแห่งจิต โดยการสมาทานและการสังเกต

7      เพราะพลังของมิตร พลังของเหตุ พลังของมูล พลังของการได้ฟัง เพราะการฝึกฝนอันงดงาม เพราะการพูดของบุคคลอื่นที่เขากล่าวออกมาแล้ว การเกิดขึ้นแห่งจิตจึงเป็นการเกิดขึ้นอย่างไม่ตั้งมั่นและตั้งมั่น

อรรถาธิบาย     การเกิดขึ้นแห่งจิต เพราะคำกล่าวของบุคคลอื่นใดนั้น กล่าวกันว่าเป็นการสมาทานและสังเกต เพราะการที่บุคคลอื่นทำให้รู้ / อีกประการหนึ่ง การเกิดขึ้นแห่งจิตนั้นมีเพราะพลังแห่งมิตร คือเพราะการคบกัลยาณมิตร/ เพราะพลังแห่งเหตุ คือ เพราะความสามารถแห่งโคตร / เพราะกุศลมูลในอดีตที่โคตรนั้นสั่งสมมาแล้ว / หรือว่าเพราะพลังแห่งการได้ฟัง คือ เพราะการเกิดขึ้นแห่งโพธิจิตของบุคคลจำนวนมาก เมื่อกล่าวธรรมบรรยายในที่นั้นๆ / เพราะการฝึกฝนอันงดงาม คือ โดยการฟัง ยกขึ้น ทรงไว้ เป็นต้น ซึ่งความจริงในธรรมเพียงดังว่าเห็นแล้ว / อีกประการหนึ่ง พึงทราบว่าการเกิดขึ้นไม่ตั้งมั่นนั้น เพราะพลังแห่งมิตร / การเกิดขึ้นตั้งมั่น เพราะพลังแห่งเหตุเป็นต้น

โศลกว่าด้วยการเกิดขึ้นแห่งจิตที่ประกอบด้วยประโยชน์อันยิ่งใหญ่ 7 โศลก

8      พระพุทธเจ้าได้รับการยกย่องดีแล้ว การสั่งสมบุญและความรู้ได้รับการสั่งสมไว้อย่างดีแล้ว ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ เพราะเป็นเพียงความรู้อันไม่แตกต่างและความเป็นปรมะในธรรมทั้งหลาย /

9      ในธรรมทั้งหลาย ในสัตว์ทั้งหลาย ในการกระทำดีทั้งหลายและในความเป็นพุทธะความปราโมทย์อันวิเศษย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งจิตอันเสมอ /

10    กำเนิดความเป็นอารยะแต่ต้น ความอุตสาหะ ในสิ่งนั้น ความมุ่งหวังอันบริสุทธิ์ ความมีกุศล การแปรรูปในจิตอันมุ่งหมายเหล่านี้เป็นสิ่งที่ควรทราบ

11    เพราะพีชะ(เชื้อ) ความหลุดพ้นในธรรมจึงเกิดขึ้น เพราะมรรคอันประเสริฐ บารมีจึงเกิดขึ้น ความสุขจากสมาธิเกิดขึ้นในครรภ์(และ)ความกรุณาเป็นแม่นมผู้เลี้ยงดู

12    ความเป็นอารยะแต่ต้น พึงทราบว่ามีมหาอภินิหาร 10 เป็นปณิธาน ความอุตสาหะก็พึงทราบได้จากความเพียรพยายามอันยาวนานใน(ทุกกรกริยา) สิ่งที่พึงได้โดยยาก /

13    การได้ความรู้โดยสำเร็จจากพระโพธิสัตว์หรือโดยอุบายแห่งความรู้นั้น พึงทราบว่าเป็นความบริสุทธิ์แห่งความมุ่งหวัง ความมีกุศล (ทักษะ) พึงทราบว่าเป็นการไปถึงภูมิอื่น /

14    การแปรรูปพึงทราบว่าเป็นมนสิการในสถานการณ์ ซึ่งเป็นเพราะความรู้อันบริสุทธิ์และความปราศจากความแตกต่างแห่งการแปรรูป

อรรถาธิบาย     ท่านแสดงความประกอบด้วยประโยชน์อันบรมแห่งการเกิดขึ้นแห่งจิตโดยความวิเศษแห่งการบรรลุถึงการปฏิบัติตามคำสอนด้วยโศลกที่หนึ่ง / การเกิดขึ้นแห่งจิตอันประกอบด้วยประโยชน์อันบรมนั้นก็คือ ภูมิแห่งความยินดี (ภูมิอันน่ายินดี) / ท่านแสดงเหตุแห่งการเข้าไปสู่ภูมิอันน่ายินดีไว้ในที่นั้น / ความเป็นผู้มีจิตเสมอ ในธรรมทั้งหลายนั้น คือ รู้เฉพาะซึ่งความที่แห่งธรรมเป็นสิ่งไม่มีตัวตน  / ความเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทั้งหลาย คือเพราะเข้าไปใกล้ความมีตนเสมอด้วยบุคคลอื่น / ความเป็นผู้มีจิตเสมอ ในการกระทำต่อสัตว์ คือ เพราะหวังความสิ้นทุกข์ของบุคคลอื่นเหมือนเป็นของตัวเอง / ความเป็นผู้มีจิตเสมอ ในความเป็นพุทธะ คือ เพราะความรู้เฉพาะในความแตกต่างแห่งธรรมธาตุและตนเอง / พึงทราบว่าในที่นี้มีประโยชน์ 6 ประการในการเกิดขึ้นแห่งจิตอันประกอบด้วยประโยชน์อันอบรม / ความอุตสาหะ ความบริสุทธิ์แห่งความมุ่งหวัง / ความเป็นอารยะ โดยกำเนิด (กำเนิด ความเป็นอารยะแต่ต้น) ความมีกุศลที่หลงเหลือและการแปรรูป / ในที่นี้กำเนิดพึงทราบว่า โดยความพิเศษแห่งพีชะ มารดา ครรภ์ แม่นม / ความเป็นอารยะแต่ต้น พึงทราบจากอภินิหารแห่งมหาปณิธาน 10 ประการ / ความอุตสาหะ พึงทราบจากความเพียรพยายาม อันกระทำได้โดยยากตลอดกาลยาวนาน / ความบริสุทธิ์แห่งความมุ่งหวัง พึงทราบได้จาก การได้รับความรู้โดยสำเร็จจากพระโพธิสัตว์หรือโดยอุบายวิธีแห่งความรู้นั้น / ความมีกุศล พึงทราบว่าเป็นกุศลที่หลงเหลืออยู่ในภูมิอื่นๆ / การแปรรูป พึงทราบโดยการมนสิการซึ่งสถานการณ์และภูมิต่างๆ / โดยมนสิการอย่างไร มนสิการโดยความบริสุทธิ์และความปราศจากความแตกต่างแห่งภูมิและสถานการณ์ / และเพราะความปราศจากความแตกต่างแห่งความรู้อันบริสุทธิ์ของการแปรงรูปนั้น /

โศลกว่าด้วยความยิ่งใหญ่แห่งการอุปมาอีก 6 โศลก

15     การเกิดขึ้นเสมอด้วยแผ่นดิน สิ่งอื่นเสมอด้วยทองอันดี สิ่งอื่นเสมอด้วยกับพระจันทร์ในวันข้างขึ้น สิ่งที่เหลืออุปมามาได้กับไฟ /

16    อีกอย่าง สิ่งอื่น พึงทราบเหมือนกับขุมทรัพย์ใหญ่ สิ่งอื่นอีกเหมือนกับอากร (แร่) แห่งรัตนะ เหมือนกับสาคร เหมือนกับเพชร เหมือนกับภูเขาใหญ่ที่เคลื่อนที่ไม่ได้

17    เป็นเช่นกับราชาแห่งทรัพย์ เป็นเช่นกับด้วยเพื่อนผู้ยิ่งใหญ่ เป็นเช่นด้วยแสงสว่าง แห่งจิตดามณี เป็นเช่นกับทินกร (พระอาทิตย์) /

18    สิ่งอื่น พึงทราบว่าเป็นเช่นเสียงอันไพเราะของคนธรรพ์ สิ่งอื่นอุปมาเหมือนราชา สิ่งอื่นเหมือนโกฎฐาคาร (ฉางข้าว) และสิ่งอื่นเสมอด้วยหนทางใหญ่นั่นเทียว

19     สิ่งอื่นก็เข้าใจว่าเสมอด้วยยาน การเกิดขึ้นแห่งจิตอื่นเป็นเหมือนกับคนธรรพ์เหมือนกับอ้อยที่เกิดใกล้แม่น้ำ เป็นเช่นกับเสียงแห่งความยินดี เป็นเช่นกับด้วยกระแสแห่งมหานที /

20    การเกิดขึ้นแห่งจิตที่ถูกกล่าวถึงแล้วนั้น เป็นเช่นกับเมฆ เป็นเช่นกับผู้ติดตามแห่งผู้ชนะ เพราะเหตุนั้น จิตที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยความยินดีเป็นสิ่งที่มีคุณด้วยประการนั้น /

อรรถาธิบาย     การเกิดขึ้นแห่งจิตครึ่งแรกของพระโพธิส้ตว์ทั้งหลายเสมอด้วยแผ่นดิน เพราะเป็นความตั้งมั่นแห่งการรวบรวมและประสบกับพุทธธรรมทั้งปวง / การเกิดขึ้นแห่งจิตที่สหคต ด้วยความมุ่งหวังเป็นเช่นกับด้วยทองอันงดงาม เพราะเป็นวิการและการใช้สอยเพื่อประโยชน์สุข / อุปมาเหมือนจันทร์ในกุศลปักษ์ ที่สหคตด้วยอัธยาศัย เพราะการเข้าถึงด้วยการทำลายทุกสิ่งและเพราะความวิเศษแห่งไฟ เพราะว่าอัธยาศัยเป็นความหวังเพื่อการบรรลุคุณวิเศษ /อุปมาด้วยมหาปณิธานที่สหคตด้วยทานบารมี เพราะความไม่รู้จักสิ้นไปแห่งความยินดีของสัตว์อันไม่มีประมาณโดยการบริโภคอามิส / อุปมาด้วยแร่แห่งรัตนะที่เป็นไปกับด้วยศีลบารมี เพราะความเกิดขึ้นรัตนะมีคุณสมบัติทั้งปวงเกิดแต่รัตนากร (แร่แห่งรัตนะ) นั้น / อุปมาด้วยสาครอันสหคตด้วย กษานติบารมีเพราะด้วยของไม่สะอาดทั้งปวงถูกทิ้งลงไปเป็นจำนวนมาก / อุปมาด้วยเพชรที่สหคตด้วยวิริยบารมีเพราะความมั่นคงและไม่แตกง่าย / อุปมาด้วยราชาแห่งภูเขาที่สหคตด้วยธยานบารมี เพราะไม่เคลื่อนไหวและอันบุคคลขยับไม่ได้ / อุปมาด้วยราชาแห่งแพทย์ที่สหคตด้วยชญาณบารมี เพราะทำความเจ็บป่วยอันเป็นอุปสรรคต่อความรู้ทั้งปวงให้สงบลง / เปรียบเทียบด้วยเพื่อนผู้ใจดีอันสหคตด้วยความไม่มีประมาณ เพราะไม่วางเฉยต่อสัตว์โลกโดยประการทั้งปวง / เป็นเช่นกับจินดามณีที่สหคตด้วยอภิญญา เพราะอภิญญานั้นมีผลสัมฤทฺธิ์เป็นโมกษะ / เป็นเช่นด้วยกับทินกร (พระอาทิตย์) อันสหคตด้วยสัคหวัตถุ เพราะทำให้เวไนยสัตว์แก่รอบ / อุปมาด้วยเสียงอันไพเราะของคนธรรพ์อันสหคตด้วยความรู้อันหนาแน่น เพราะสอนธรรมที่เป็นที่ชอบใจของเวไนยสัตว์ / อุปมาเหมือนมหาราชาที่สหคตด้วยการเป็นที่พึ่ง เพราะเป็นเหตุแห่งความไม่พินาศ / อุปมาด้วยฉางข้าวอันสหคตด้วยการสะสมบุญและความรู้ เพราะเป็นที่เก็บรวบรวมบุญและความรู้จำนวนมาก / อุปมาด้วยหนทางใหญ่อันสหคตด้วยโพธิปักขิยธรรม เพราะเป็นการดำเนินไปและดำเนินตามแห่งอริยบุคคล / อุปมาด้วยยานอันสหคตด้วยสมณะและวิปัสสนา เพราะนำสุขมาให้ / อุปมาด้วยคนธรรพ์อันสหคตด้วยปฎิภาณในการรักษาด้วยความเป็นไปกับด้วยธรรมแห่งความไม่รู้จักสิ้นไปและแตกในการทรงไว้ซึ่งอรรถแห่งธรรมที่ได้ฟังแล้วและไม่ได้ฟังแล้ว / เป็นเช่นกับด้วยเสียงแห่งความยินดีอันสหคตด้วยการอุทานธรรม เพราะทำเวไนยสัตว์ที่ปรารถนาโมกษะได้ยิน ได้ฟังด้วยความรัก / เสมอด้วยกระแสแห่งมหานทีที่สหคตด้วยเอกายนมรรค เพราะพัดไปซึ่งสระอันเป็นของตน / มีหนทางเดียวในการได้รับความขันติแห่งธรรมของผู้ปฏิบัติตาม เพราะกายแตกตายไปแห่งพระโพธิสัตว์ผู้เข้าถึงภูมนั้น / อุปมาด้วยเมฆอันสหคตด้วยอุบายอันโกศล เพราะแสดงให้เห็นการเข้าไปอยู่ในภพที่น่ายินดี หลังจากสัตว์ทั้งปวงทำกาลกริยา / สมบัติอันเป็นของโลกที่น่ายินดีเกิดขึ้นจากเมฆ / การเกดขึ้นแห่งจิตด้วยอุปมาทั้ง 22 ประการนี้ อันบุคคลพึงถึงโดยอนุสารอันไม่รู้สิ้นไปในอักษยมติสูตร อันประเสริฐ /

โศลกว่าด้วยการอธิบายการเกิดขึ้นแห่งจิต

21    ชนผู้ละเว้นการเกิดขึ้นแห่งจิตอันเหมาะสมใหญ่ เพราะจิตในความหมายอื่นและเพราะได้รับอุบายวิธีอื่นนั้น และพระถูกแสดงให้เห็นถึงความมุ่งหมายที่สัมพันธ์อย่างยิ่งใหญ่ ละแล้วซึ่งความสุขนั้นจักถึงความสงบ /

อรรถาธิบาย     โดยการเกิดขึ้นแห่งจิตนั้น สัตว์ทั้งหลายที่ละเว้นแล้ว ย่อมไม่ได้รับความสุขทั้ง 4 ประการ เพราะความสุขของพระโพธิสัตว์มีเพราะการจินตนาการถึงความหมายอื่น / และเพราะการได้รับอุบายวิธีในความหมายอื่น / และเพราะการจินตนาการถึงความหมายอื่น/ และเพราะการได้รับอุบายวิธีในความหมายอื่น และเพราะรู้ความหมายในการอภิปรายพระสูตรด้วนตนเองในมหายานอันลึกซึ้ง / และเพราะความสุขมีเพราะความเห็นพร้อมแห่งความเป็นธรรมอันไม่มีตัวตนแห่งความเป็นสิ่งอันเป็นปรมะ

โศลกว่าด้วยการเกิดขึ้นแห่งทุคคติ ความโทมนัส ความกลัว และการสรรเสริญการเกิดขึ้นแห่งจิต

22    จิตอันสังวรดีแล้วของบุคคลผู้เป็นปราชญ์ผู้ประเสริฐ เพราะจิตเกิดขึ้นพร้อม เพราะการกระทำได้โดยยากอันไม่มีที่สุด ย่อมยินดีด้วยความสุขและด้วยทุกข์ เป็นผู้งดงามและมีความกรุณา การกระทำย่อมเพิ่มพูนทั้ง 2 ประการ

อรรถธิบาย     จิตที่สังวรดีแล้วของพระโพธิสัตว์ เพราะเกิดขึ้นพร้อมกับจิตอันประเสริฐนั้น ย่อมมี ความกลัวต่อทุคติย่อม ไม่มีแก่บุคคลนั้น เพราะการอธิฐานต่อสัตว์อันไม่มีที่สุด อันบุคคลกระทำได้โดยยาก/ ความงดงามและความเที่ยงแท้แห่งการกระทำอันเป็นกรุณาและความโชคดีทั้ง 2 ประการ ย่อมมี เขาย่อมเพลิดเพลินด้วยกรรมนั้น / แม้ด้วยความสุข ก็มีด้วยเช่นกัน / เพราะมีความพยายามด้วยสิ่งที่บุคคลพึงกระทำจำนวนมาก /

โศลกว่าด้วยการได้รับการไม่สังวรการกระทำ

23    ในกาลใดพระโพธิสัตว์เป็นผู้ไม่วางเฉยในสรีระและชีวิตของตน บำเพ็ญประโยชน์เพื่อบุคคลอื่นเท่านั้น ถึงแม้ว่าจะถูกบุคคลอื่นวิพากษ์โดยวิธีนั้น จะเป็นผู้กระทำความชั่วได้อย่างไร

อรรถธิบาย     ร่างกายเป็นสิ่งไม่มีประโยชน์ เพราะวางอุเบกขาในสรีระและชีวิตของคนแล้ว เห็นร่างกายของคนอื่นมีค่ายิ่งกว่าเป็นที่รักยิ่งกว่าของตน / พระโพธิสัตว์โดยการถ้าไปหาโดยบุคคลอื่นซึ่งประโยชน์ในร่างกายของตนอย่างนี้แล้ว จะเป็นผู้ทำกรรมชั่วได้อย่างไร /

โศลกว่าด้วยการไม่แยกจากกันของจิต

24    เมื่อบุคคลเห็นธรรมทั้งปวงอุปมาด้วยมายา และการอุบัติเป็นเช่นกับทางเดินในอุทยาน เขาย่อมไม่มีความกลัวทุกข์และความเจ็บปวด แม้ในกาลแห่งความมีสมบัติ และในกาลที่มีความวิบัติ /

25    คุณธรรมทั้งหลายที่เป็นของตนเป็นที่ยินดี เพราะเกื้อกูลแก่สัตว์และการสั่งสมความเจริญและทรัพย์ โดยกำเนิดเหมือนการเล่นกลเปลี่ยนแปลงเครื่องประดับ หรือเหมือนกับโภชนะอันเลิศ ในภูมิอันเลิศเพราะความกรุณาเป็นนิตย์ เป็นความรื่นรมย์ในการละเล่น

อรรถธิบาย     พระโพธิสัตว์มองเห็นธรรมทั้งปวงอุปมาด้วยมายาแล้วย่อมไม่กลัวต่อความเจ็บปวดในเวลาแห่งความมีสมบัติ / และย่อมไม่กลัวทุกข์ ในกาลวิบัติเพราะมองเห็นการอุบัติเหมือนกับหนทางเดินในอุทยาน / โพธิจิตย่อมไม่หวนกลับมาเพราะความกลัวใดๆ / อนึ่ง คุณธรรม ของตนเป็นเครื่องประดับของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย / เป็นโภชนะอันน่ายินดีเพราะการเอื้อเฟื้อแก่สัตว์อื่น / การอุบัติที่มีความคิดเป็นภูมิแห่งอุทยาน / การเล่นกลเปลี่ยนรูปร่างเป็นความยินดีในกรีฑาของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย / ไม่ใช่ของพระโพธิสัตว์ / จิตของพระโพธิสัตว์เหล่านั้นจักหมุนกลับมาได้อย่างไร

โศลกว่าด้วยการปฏิเสธความกลัวทุกข์

26    บุคคลผู้มีความเพียรเพื่อประโยชน์แก่คนอื่น มีใจกรุณา ไม่มีความเคลื่อนไหวซึ่งเป็นที่ยินดี เพราะเหตุไรจึงเป็นผู้มีความทุกข์อันเช่นนั้น  ซึ่งมีอยู่ในความปรากฏขึ้นแห่งทุกข์และมีในบุคคลอื่น /

อรรถธิบาย     อีกประการหนึ่งด้วยความเพียรเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น มีใจกรุณาและมีความไม่เคลื่อนไหวเป็นที่ยินดีแล้ว เพราะเหตุไรเขาจึงมีความทุกข์ร้อนอีก ด้วยนิมิตอันเป็นประโยชน์เพื่อคนอื่นและด้วยการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เพราะเหตุใดความเดือดร้อนจากทุกข์จึงมีแก่บุคคลนั้นและเพราะเหตุใดการหมุนกลับของจิตจึงมี /

โศลกว่าด้วยการเอาชนะต่อการวางเฉยในสัตว์ทั้งหลาย

27    ความประพฤติกรุณาอันยิ่งใหญ่มีอยู่ในตัวเขาตลอดเวลา มีใจที่เผาความทุกข์ของบุคคลอื่น เมื่อการกระทำเพื่อบุคคลอื่นปรากฏขึ้น สมาทานโดยบุคคลอื่น เมื่อนั้นเขาย่อมละอาย /

อรรถธิบาย     ร่างกายของบุคคลใดอันความประพฤติกรุณาอันยิ่งใหญ่อาศัยอยู่เป็นนิตย์มีใจเป็นทุกข์เพราะทุกข์ของบุคคลอื่น ประโยชน์ของคนอื่นเป็นสิ่งที่บุคคลนั้น พึงทำถ้าหากว่าให้บุคคลอื่นสมาทานอันกัลยณมิตรพึงกระทำ ความละอายอย่างยิ่ง ย่อมมี /

โศลกว่าด้วยการอธิบายความไม่คัดค้าน

28    บุคคลผู้นำภาระของสัตว์อื่นไปบนศีรษะ คติอันเบาบางย่อมไม่งดงามแก่พระโพธิสัตว์ ถูกผูกมัดด้วยเครื่องผูกของตนและเครื่องผูกของคนอื่น บุคคลนั้นย่อมควรเพื่อการกระทำความอุตสาหะร้อยเท่า /

อรรถธิบาย     พระโพธิสัตว์นำภาระของสัตว์เหล่าอื่นอันใหญ่ไปด้วยศีรษะ ก้าวไปอยู่อย่างเบาๆ ย่อมไม่งดงาม / ดังนั้น พระโพธิสัตว์นั้นควรกระทำความเพียรร้อยเท่ามากกว่าความเพียรของสาวกยาน เพราะว่าเขาถูกผูกมัดด้วยเครื่องผูกชนิดต่างๆ ของบุคคลอื่น และด้วยกิเลสกรรมชาติกำเนิดภาวะของตน

อธิการที่ 4 ว่าด้วยการเกิดขึ้นแห่งจิต ในมหายานสูตราลังการ จบ.

 

อธิการที่ 5

 อธิการที่ 5 

โศลกว่าด้วยลักษณะการปฏิบัติ

1      การปฏิบัติซึ่งเริ่มต้นด้วยพื้นฐานอันยิ่งใหญ่ การปรารภ การเกิดขึ้นแห่งผลเป็นสิ่งที่ปรารถนาของบุตรแห่งพระชินเจ้า มีทานอันยิ่งใหญ่การถึงทับอันยิ่งใหญ่ มีการกระทำกิจที่พึงกระทำ / เพื่อเกิดขึ้นแห่งประโยชน์อันยิ่งใหญ่ /

อรรถาธิบาย     ในที่นี้พื้นฐานอันยิ่งใหญ่ เพราะความมีพื้นฐานของการเกิดขึ้นแห่งจิตการปรารภใหญ่ เพราะปรารภประโยชน์ของตนและบุคคลอื่น / การเกิดขึ้นแห่งผลใหญ่เพราะผลแห่งโพธิสัตว์อันยิ่งใหญ่ / ดังนั้น ทานอันยิ่งใหญ่ เพราะความอุปทานในสรรพสัตว์ / การถึงทับอันยิ่งใหญ่ เพราะถึงทับความทุกข์ทั้งปวง / การกระทำกิจที่ควรทำเพื่อการเกิดขึ้นแห่งประโยชน์อันยิ่งใหญ่ เพราะยังประโยชน์ของสรรพสัตว์อันไพบูลย์ให้เกิดขึ้น /

โศลกว่าด้วยความไม่แตกต่างของประโยชน์ตนและประโยชน์ของคนอื่น

2      เมื่อบุคคลได้รับความมีจิตเสมอด้วยตนและบุคคลอื่นก็ชอบใจสิ่งเจริญที่สุด เพื่อความเจริญที่สุดแก่บุคคลอื่น เมื่อบุคคลรับรู้ว่าประโยชน์ของบุคคลอื่นวิเศษ กว่าประโยชน์ของตน ความเป็นประโยชน์ของตนคืออะไร และความเป็นประโยชน์ของคนอื่นมีเท่าไร

อรรถาธิบาย     เพราะการได้รับความมีจิตเสมอด้วยตนและบุคคลอื่น จึงมีความหลุดพ้นหรือการได้รับการเกิดขึ้นแห่งจิต โดยการสังเกต ความรู้จึงมีหรืออีกอย่างหนึ่ง หลังจากได้รับความชอบพอต่อบุคคลอื่นเป็นพิเศษกว่าตนเองแล้วจึงเป็นผู้รู้พร้อมซึ่งความพิเศษในประโยชน์ผู้อื่นมากกว่าของตนด้วยเหตุนั้นแหละ ประโยชน์ตนหรือประโยชน์ผู้อื่นอะไรเล่า(จักมี) แก่พระโพธิสัตว์ เพราะว่าประโยชน์ทั้งสองฝ่ายไม่มีความแตกต่างแก่พระโพธิสัตว์เลย

โศลกว่าด้วยความแตกต่างแห่งประโยชน์คนอื่น

3      สัตว์โลกไม่ได้โหดร้ายต่อบุคคลอื่นเลย ประโยชน์คนอื่นยังทุกข์ให้เผาไหม้เขาฉันใด เขาให้ความทุกข์นั้นเป็นไปด้วยการกระทำในศัตรู เขาเป็นผู้มีใจกรุณา ย่อมเป็นไปพร้อมในตัวของเขาเอง

อรรถาธิบาย     เมื่อใดประโยชน์ของคนอื่นเป็นสิ่งแตกต่างจากประโยชน์ของตนเองเมื่อนั้นย่อมแยกแยะประโยชน์คนอื่นจากประโยชน์ตนด้วยการเผาผลาญประโยชน์คนอื่น /

โศลกว่าด้วยการจำแนกความรู้เกี่ยวกับประโยชน์คนอื่น

4      เทศนาที่ดี การละเว้น อวตาร ที่ตั้งมั่นในความที่แห่งสัตว์ผู้ต่ำ กลาง และสูงสุดเป็นผู้มีธรรม พระวินัยในความหมายนี้ เป็นวุฒิภาวะแห่งโอวาทอันงดงาม ดังนั้นความหลุดพ้นแห่งพุทธิจากความผิดพลาด จึงมี /

5      ความตั้งขึ้นพร้อม ด้วยคุณธรรมอันวิเศษ คือ การเกิดขึ้นในตระกูล การศึกษาไวยากรณ์ ความรู้ในตถาคต ซึ่งเป็นบทอันยอดเยี่ยม ประโยชน์เพื่อคนอื่นนี้ มี 10 อันยิ่งด้วย 3 /

อรรถาธิบาย     คำว่าประโยชน์ของบุคคลอื่นของพระโพธิสัตว์นั้นมี 13 ประการในความหมายว่า หมู่สัตว์ 3 ประเภท เลว กลาง สูง ตามแต่โคตร / เทศนาที่ดี หมายถึง อนุสาสนี ปาฏิหาริย์ และอาเทศนาปาฏิหาริย์ทั้ง 2 / การละเว้นหมายถึง อิทธิปาฏิหาริย์ / การอวตาร หมายถึงการเก็บเข้ามาอยู่ใกล้คำสอน / พระธรรมวินัยในความหมายนี้ หมายถึงการตัดเสียซึ่งความสงสัยของบุคคลที่อวตารมา / วุฒิภาวะ หมายถึง ในกุศล / มีจิตตั้งมั่น ในโอวาทจึงเป็น ปัญญาวิมุตติ ด้วยคุณวิเศษทั้งหลายมือภิญญาเป็นต้น / ความตั้งขึ้นพร้อม /การเกิดในตระกูลแห่งพระตถาคต / การอภิเษก (ศึกษา) ไวยากรณ์ทั้ง 10ในภูมิทั้ง 8 / ประโยชน์เพื่อบุคคลอื่นของพระโพธิสัตว์มี 13 ประการอันประกอบด้วยความรู้ในพระตถาคตนี้ ในโคตรทั้ง 3 /

โศลกว่าด้วยความสมบูรณ์แห่งความรู้ในประโยชน์คนอื่น

6      คำสอนอันไม่วิปริต ความตั้งตรงสู่เบื้องหน้า ความไม่มีความเป็นของตน การวิจักษณ์ การให้อภัยที่ฝึกแล้วอันสมควรแก่ชน เป็นผู้ไปไกล อันไม่มีที่สิ้นสุดนั้น เป็นความรู้อันสูงสุดของบุคคลผู้เกิดมาแต่พระชินเจ้า /

อรรถาธิบาย     ความรู้ในประโยชน์คนอื่น เป็นสิ่งสมบูรณ์ได้ โดยประการใดในโศลกนี้ท่านย่อมแสดงโดยประการนั้น / ในที่นี้ สมบูรณ์ได้อย่างไร / ถ้ามีเทศนาอันไม่วิปริตสมควรแก่ชนในโคตร / มีความตั้งตรงสู่เบื้องหน้า / เว้นจากการมีความเป็นของเรา / ไม่คิดด้วยฤทธิ์ และไม่ยังหมู่สัตว์ที่แนะนำดีแล้ว ให้มีความเป็นของเรา (มมายติ) / วิจักษณ์ คือ มีความรู้ในพระธรรมวินัย / มีความให้แล้ว คือมีความรู้ใน โอวาทเป็นต้น / เพราะบุคคลผู้ไม่ฝึกก็จะไม่มีความสามารถในโอวาทเป็นต้นของคนอื่น / เป็นผู้ไปไกลดี คือ มีความรู้ในการเกิดในตระกูล เป็นต้น / ผู้ไม่ไปไกลด้วยดี ไม่อาจจะทำให้คนอื่นมีความรู้ในการเกิดในตระกูล เป็นต้น / ทั้งปวงนี้ พึงทราบว่าเป็นความไม่รู้จักสิ้นแห่งความรู้ในประโยชน์คนอื่นของพระโพธิสัตว์เพราะเป็นการถึงพร้อมแห่งความไม่รู้จักสิ้นไปของสัตว์ผู้บรรลุแล้ว /

โศลกว่าด้วยความแตกต่างแห่งความรู้ จำนวน 2 โศลก

7      ชนผู้มีความใคร่ ย่อมเป็นไปในภัยใหญ่ เป็นผู้มีความวิปริตในหนทาง รักในความสุขและความมี เป็นผู้ไม่มั่นคง แต่ว่าชนผู้รักในความสงบถูกสัมผัสด้วยความพอใจในทุกข์ คนผู้มีใจกรุณาเป็นสิ่งเหล่านั้น คลอดเวลาในการเข้าถึงบุคคลเหล่านั้นทั้งปวง

8      ชนผู้มีความหลงอุตสาหะเพื่อประโยชน์สุขของตน เมื่อไม่ได้ประโยชน์สุขนั้น ก็ถึงซึ่งความเป็นผู้มีทุกข์ทุกเมื่อ แต่ว่านักปราชญ์อุตสาหะเพื่อประโยชน์คนอื่น เมื่อบรรลุประโยชน์ทั้ง 2 ย่อมถึงซึ่งปรินิพพาน /

อรรถาธิบาย     ความเป็นภัยใหญ่ของคนผู้มีความใคร่ในที่นี้ เพราะเป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งกายและทางใจจำนวนมากอันนำไปสู่ทุคติ / ความเป็นผู้ไม่มั่นคง วิปริตในหนทาง ปรารถนาความสุข เพราะความไม่เที่ยงแท้แห่งรูปภพและอรูปภพ เพราะเป็นทุกข์อย่างยิ่งด้วยสังขารทุกข์ / กิเลสพึงรู้ว่าเป็นเชื้อแห่งความทุกข์ทั้งปวง / บุคคลผู้หลงปฏิบัติเพื่อประโยชน์สุขของตน เมื่อไม่ได้รับความสุขก็ได้รับความทุกข์นั่นแหละ / แต่พระโพธิสัตว์ปฏิบัติเพื่อประโยชน์คนอื่น ประสานประโยชน์ตนเอง ย่อมได้รับความสุขอันนิรันดร์ นี้เป็นความแตกต่างแห่งความรู้ในประโยชน์คนอื่นของพระโพธิสัตว์ /

โศลกว่าด้วยความแปรปรวนแห่งโคจร (อารมณ์)

9      ถึงแม้ว่าผู้เกิดแต่พระชินเจ้ารับรู้ในอารมณ์อันมีอย่างต่างๆ ในคติต่างๆก็เป็นผู้อนุเคราะห์ในสัตว์ทั้งหลาย เพื่อประโยชน์สุขโดยหนทางแห่งความเป็นผู้มีตนเสมออันประกอบแล้ว /

อรรถาธิบาย     พระโพธิสัตว์รับรู้อินทรีย์และอารมณ์มีจักษุเป็นต้น อันวิจิตร โดนประการใดๆ / เมื่อดำเนินตามในหนทางอันเหมาะสมแล้ว ย่อมกระทำความอนุเคราะห์ อันเป็นประโยชน์เกื้อกูลในสัตว์ทั้งหลายด้วยถ้อยคำอันเช่นกับด้วยความสัมพันธ์ โดยประการนั้นๆ / อันท่านแสดงโดยพิสดารไว้ในโคจรปริศุทธิสูตร แล้วแล /

โศลกว่าด้วยการปฏิเสธขันติในสัตว์ทั้งหลาย

10    ความเจริญแห่งความกรุณาว่า ผู้มีพุทธิไม่เข้าถึงโทษในชนที่ไม่มีเจตนาในการกระทำความผิดบาป เพราะว่าความวิปริตด้วยเหตุแห่งบุคคลผู้ไม่มีความใคร่ ย่อมี/

อรรถาธิบาย     พระโพธิสัตว์ไม่เข้าถึงโทษในชนผู้ไม่มีเจตนาการทำความผิดบาปด้วยกิเลสทั้งหลาย / เพราะเหตุไร / เมื่อทราบว่าความวิปริตแห่งบุคคลเหล่านั้น ย่อมมีด้วยเหตุแห่งบุคคลผู้ไม่มีความใคร่แล้ว ก็เพราะความที่แห่งกรุณาเจริญแล้ว/

โศลกว่าด้วยความยิ่งใหญ่แห่งความรู้

11    ความรู้นั่นเทียว เป็นสิ่งเป็นไปเหนือภพและคติทั้งสิ้น เป็นทีอาศัยของความสงบอย่างยิ่ง ทำให้คุณธรรมต่างๆเจริญงอกงามและคุ้มครองโลกด้วยความกรุณา /

อรรถาธิบาย     ท่านแสดงความยิ่งใหญ่ไว้ 4ประการ / ความยิ่งใหญ่ที่ครอบครองเพราะการครอบครองภพ 3 คติ 5 ทั้งสิ้น / ดังที่กล่าวแล้วในปรัชญาปารมิตาสูตรว่า "ดูก่อนสุภูติถ้ารูป ได้มีแล้วในภาวะและอภาวะไซร้ มหายานนี้จักไม่ถึงความยิ่งใหญ่เหนือเทวดา มนุษย์ อสูร" ดังความพิสดารที่กล่าวไว้แล้วในความยิ่งใหญ่เป็นนิรันดร เพราะเข้าถึงนิรวาณอันตั้งมั่น / ความยิ่งใหญ่เพราะความเจริญแห่งคุณธรรมและความยิ่งใหญ่เพราะไม่ทอดทิ้งสัตว์ ดังนี้แล /

อธิการที่ 5 ว่าด้วยความรู้ ในมหายานสูตราลังการ จบ

 

อธิการที่ 6

อธิการที่ 6

โศลกว่าด้วยการจำแนกลักษณะประโยชน์อันเป็นปรมัตถ์

โศลกว่าด้วยการจำแนกลักษณะประโยชน์อันเป็นปรมัตถ์

1      ไม่เป็นสิ่งที่มีอยู่และไม่เป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นสิ่งเดียวกันและไม่เป็นสิ่งอื่น ไม่เกิดและไม่สิ้นสุด ไม่เพิ่มขึ้นและไม่ลดลง ไม่บริสุทธิ์ และบริสุทธิ์อยู่ นี้คือลักษณะของปรมัตถ์ /

อรรถาธิบาย     ประมัตถ์ คือ ไม่มีความหมายเป็น 2 / ไม่มีความหมายเป็น 2 นั้น ท่านแสดงด้วยอาการ 5 / ไม่เป็นสิ่งที่มีอยู่ด้วยลักษณะทั้ง 2 คือ ปริกัลปิตะ (จินตนาการ)  / และปรตันตระ (อาศัยสิ่งอื่น) และไม่เป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ด้วยลักษณะ คือ ปรินิษปันนะ (สูงสุด) ไม่เป็นสิ่งเดียวกันด้วยปริกัลปิตะและปรตันตระ เพราะความไม่มีความเป็นหนึ่งแห่งปรินิษปันนะ / และไม่เป็นสิ่งอื่นด้วยลักษณะทั้ง 2 นั้น เพราะไม่มีแห่งความเป็นอย่างอื่น / ไม่เกิดและไม่สิ้นสุด เพราะธรรมธาตุ ไม่มีความเป็นสิ่งปรุงแต่ง (สังขาร) / ไม่ลดลงและไม่เพิ่มขึ้นเพราะเป็นเช่นนั้น ในความดับและเกิดขึ้นของจุดกำเนิดของการแบ่งแยกซึ่งกิเลสและความบริสุทธิ์ / ซึ่งไม่บริสุทธิ์เพราะเศร้าหมองโดยปกติและไม่ใช่ไม่บริสุทธิ์ เพราะความไปปราศแล้วจากอุปกิเลสที่จรมา / นี้เป็นลักษณะแห่งความไม่เป็น 2 ทั้ง 5 ประการแล อันบัณฑิตพึงทราบว่าเป็นลักษณะแห่งปรมัตถ์ /

โศลกว่าด้วยการปฏิเสธความหลงผิดในทิฐิแห่งอัตตาความเห็นว่ามีตัวตน

2      ความเห็นว่ามีตัวตน ไม่ใช่ลักษณะแห่งอัตตาของตน และไม่ใช่ลักษณะแตกต่างแห่งสิ่งที่ผิดปกติ ไม่มีความเป็นสองและความเป็นอื่น สิ่งนี้เป็นทวิและเป็นสิ่งนั้น ไม่เป็นสิ่งหลอดลวง และโมกษะซึ่งเป็นความสิ้นไปพร้อมแห่งความหลอกลวง /

อรรถาธิบาย     ตราบใดที่ความเห็นว่ามีตัวตน ยังไม่เป็นลักษณะแห่งความมีตัวตน ตราบนั้นก็ยังไม่มีความผิดปกติ / เพราะว่าลักษณะแตกต่างนั้นมีขึ้นเพราะการจินตนาการจากลักษณะแห่งอัตตา / อีกประการหนึ่ง อุปทานในขันธ์ 5 เพราะเป็นมูลเหตุแห่งกิเลสและโทษ / ลักษณะแห่งอัตตาอื่นจากความเป็น 2 นั้น ย่อมไม่เกิดขึ้น / ดังนั้นอัตตา ย่อมไม่มี / แต่ว่าความหลอกลวงนี้เกิดขึ้นแล้ว ก็เป็นความเห็นว่ามีตัวตนนั่นเอง เพราะฉะนั้นไม่มีตัวตน ย่อมมีโมกษะ ซึ่งเป็นความสิ้นไปแห่งความหลอกลวง อันบัณฑิตพึงทราบ แต่ว่าไม่มีตัวตนใดๆ เป็นผู้พ้นแล้ว /

โศลกว่าด้วยการอธิบายความหลงผิด 2 โศลก

3      ชนผู้อาศัยความหลอกลวงอยู่ ย่อมไม่เข้าถึงความเป็นปกติมีทุกข์ของคนอื่นว่าเป็นสิ่งสืบต่อ (สัตตติ) เป็นผู้ไม่รู้ เป็นผู้รู้ ว่าเป็นคนมีทุกข์ หรือไม่มีทุกข์ เป็นผู้สำเร็จแล้วแต่ธรรมหรือไม่สำเร็จแล้วแต่ธรรมนั้นอย่างไร

4      เพราะเหตุใด ชนเป็นผู้มองเห็นในการเกิดขึ้นแห่งความมีอยู่โดยประสบการณ์ตรงจึงจินตนาการถึงผู้กระทำอื่น ความมืดบอดอันเช่นนี้ มีเท่าไร เพราะฉะนั้นคนที่ไม่มองเห็นจึงเข้าใจว่ามีอยู่และไม่มีอยู่

อรรถาธิบาย     ชื่อว่าโลกนี้อาศัยทรรศนะว่ามีตัวตนซึ่งเป็นเพียงการหลอกลวงเท่านั้น จึงไม่เห็นสภาวะแห่งทุกข์ ซึ่งติดตามอย่างต่อเนื่องแห่งสังขารทั้งหลายได้อย่างไร / ผู้ไม่รู้ปกติ(ธรรมชาติ)แห่งทุกข์นั้น โดยความรู้ / ผู้รู้จักทุกข์โดยความมีอยู่ว่าเป็นทุกข์ เพราะยังไม่ถอนรากแห่งทุกข์ / ไม่มีทุกข์ เพราะความไม่มีอยู่แห่งอัตตาซึ่งประกอบด้วยทุกข์ / เป็นผู้สำเร็จแล้วแต่ธรรมโดยความไม่มีอัตตาแห่งบุคคล เพราะความที่เป็นเพียงธรรมเท่านั้น / และไม่เป็นผู้สำเร็จแล้ว แต่ธรรม โดยความไม่มีตัวตนแห่งธรรม / และเมื่อใดชาวโลกเห็นโดยประจักษ์ซึ่งการเกิดขึ้น โดยปกติแห่งความมีอยู่ (ภาวะ) เมื่อนั้นครั้นเขารู้จักปัจจัยนั้นๆ แล้วว่าภาวะนั้นๆ มีอยู่ดังนี้ / เพราะเหตุใดความเห็นนี้ว่าผู้กระทำอื่น ซึ่งเกิดขึ้นโดยตรงอันมีทรรศนะเป็นต้น ย่อมไม่อาศัยทิฐิ /ความมืดบอดอันเช่นนี้ นี้มีเท่าไรแก่ชาวโลก ถ้าว่าไม่มองเห็นความเกิดขึ้นพร้อม โดยตรงอันมีอยู่นี้แล้ว ไซร้ ก็มองไม่เห็นอัตตาที่ไม่มีอยู่ / เพราะว่าความมืดบอดนั้นธรรมดาว่าไม่อาจจะมองเห็นสิ่งอันมีอยู่และไม่อาจเพื่อมองเห็นสิ่งอันไม่มีอยู่ /

โศลกอธิบายความสงบและการเกิดในอัตตาอันไม่เป็นจริง

5      ความแตกต่างไรๆ อันมีในระหว่างแห่งความสงบและการเกิดในความเจริญแห่งประโยชน์อันเป็นจริง ย่อมไม่มีการได้ความสงบย่อมมีแก่ผู้กระทำกรรมอันงาม เพราะความสิ้นไปแห่งการเกิด /

อรรถาธิบาย     ความแตกต่างไรๆของสังสารและนิรวาณย่อม ไม่มี เพราะมีความเสมอแห่งบุคคลผู้ไม่มีตัวตน (อัตตา) ด้วยความเจริญแห่งประโยชน์อันยอดเยี่ยม / การถึงโมกษะย่อมมีแก่บุคคลผู้ประกอบกรรมอันงดงาม เพราะความสิ้นไปแห่งการเกิด กล่าวคือ บุคคลใดยังหนทางแห่งโมกษะให้เจริญอยู่หลักจากกระทำการอธิบายเรื่องความผิดพลาดแล้ว /

โศลกว่าด้วยการเข้าถึงความรู้อันเป็นปรมัตถ์ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อความผิดพลาดนั้น 4 โศลก /

6      เมื่อพระโพธิสัตว์ได้ยังความรู้และบุญให้เต็มดี แล้วอย่างเป็นอนันต์ดีแล้ว ก็เข้าถึงประโยชน์และคติอันเป็นความผิดพลาดของสิ่งตรงกันข้าม / เพราะความที่แห่งตนเป็นผู้มีความเที่ยงแท้ในธรรมและความคิดทั้งหลาย /

7      พระโพธิสัตว์เมื่อรู้ประโยชน์ว่าเป็นแต่เพียงความผิดพลาดเท่านั้น จึงตั่งมั่นในความปราศจากความคิด ธรรมธาตุย่อมมาสู่ความประจักษ์โดยตรง เพราะฉะนั้นจึงเป็นผู้ไม่ประกอบด้วยลักษณะแห่งความเป็น 2 /

8      พระโพธิสัตว์เมื่อทราบว่าไม่มีอะไรอื่นอีกจากจิตจึงเข้าถึงซึ่งความไม่มีอยู่แห่งจิต ผู้มีปัญญาเมื่อเข้าถึงความไม่มีอยู่แห่งความเป็น 2 แล้ว ย่อมตั้งตนไว้มั่นในธรรมธาตุ ซึ่งไม่เป็นคติแห่งความเป็น 2 นั้น /

9      โดยพลังแห่งความรู้อันปราศจากการแยกแยะ ผู้มีปัญญาเป็นผู้มีตนเสมอ ทุกเมื่อด้วยความเท่าเทียมกัน ย่อมล้างออกซึ่งการสั่งสมโทษอันตั้งมั่นอยู่นี้เหมือนกับบุคคลล้างยาพิษด้วยยาแก้พิษ /

อรรถาธิบาย     โดยโศลกที่ 1 ท่านแสดงความที่แห่งพระโพธิสัตว์เป็นผู้มีความเที่ยงแท้ในธรรมและความคิดทั้งหลาย อันเต็มบริบูรณ์ดีแล้ว และการเข้าถึงดดยการบรรลุความเห็นอรรถแห่งธรรม เพราะการเจริญสมาธิอันตั้งมั่น และเพราะความผิดพลาดทางใจ / อนฺนต และปารํ กล่าวคือ ปารํ คือความบริบูรณ์แห่งความเป็นปรมะ อนฺนต คือกาลเวลาอันมีประเภทนับไม่ได้ / โดยโศลกที่ 2 เมื่อพระโพธิสัตว์รู้ว่าอรรถทั้งหลายเป็นความผิดพลาดทางใจเท่านั้น ส่วนที่เหลือนี้ในความปรากฏ สักแต่ว่าจิตเท่านั้น เป็นส่วนเหลือแห่งที่พระโพธิสัตว์เป็นผู้รู้ไม่มีส่วนแห่งการรู้ / เมื่อนั้นธรรมธาตุ ปรากฏ โดยประการอื่น พระโพธิสัตว์เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยลักษณะแห่งความเป็นสอง คือลักษณะที่ความยึดถือและผู้ยึดถือนี้เป็นหนทางแห่งทรรศนะ /โศลกที่ 3 ท่านแสดงว่าธรรมธาตุนั้นเป็นสิ่งเห็นได้โดยทันที / และธรรมชาติเป็นสิ่งเห็นได้โดยทันทีได้อย่างไร / เพราะถูกยึดถือว่าไม่มีปรากฏการณ์อื่นจากจิต เป็นสิ่งที่ควรยึดถือ ความเข้าใจว่า ความไม่มีอยู่แห่งความเป็นสองแล้ว พระโพธิสัตว์ ผู้อันลักษณะแห่งสิ่งที่ควรยึดถือและผู้ยึดถืออันไม่เป็นคติแห่งธรรมธาตุที่เหลือนั้น เพราะเหตุนั้นธรรมธาตุย่อมถึงซึ่งความเป็นของประจักษ์ โดยประการอย่างนี้ / โดยโศลกที่ 4 ท่านแสดงการเข้าถึงความร้อนเป็นปรมัตถ์ เพราะยังความตั้งมั่นในหนทางแห่งภาวนาให้เป็นไป / ตลอดเวลาในที่ทุกแห่ง โดยความเป็นผู้มีตนเสมอ โดยพลังแห่งความรู้อันไม่แยกแยะ เป็นผู้มีตนเสมอ เพราะล้างออกซึ่งการสั่งสม โทษอันมั่นคง และเข้าถึงได้ยากในภาวะของตนอันเป็นปรตันตระมีลักษณะอันประกอบด้วย โทษ เหมือนกับล้างยางพิษด้วยยาแก้พิษ /

โศลกว่าด้วยความยิ่งใหญ่แห่งความรู้ปรมัตถ์

10    การจัดวางไว้ดีแล้วซึ่งธรรมอันงามที่มุนีได้บัญญัติไว้ ตั้งความคิดไว้มั่นคง ในธรรมธาตุอันเป็นไปกับด้วยมูล ความเข้าใจคติแห่งความระลึกไม่ใช่สักแต่ว่าจินตนาการเท่านั้น บุคคลผู้เป็นปราชญ์ย่อมเข้าถึงฝั่งแห่งอรรณพแห่งคุณธรรมโดยพลัน /

อรรถาธิบาย     พระโพธิสัตว์ผู้เข้าถึงความรู้อันปรมัตถ์ ในธรรมอันงามที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ และตั้งไว้ดีแล้วนั้น ตั้งความคิดในธรรมธาตุแห่งมูลจิตอันเป็นปรากฎการณ์แห่งธรรมของบัณฑิตไว้ให้มั่นคง พระโพธิสัตว์เข้าใจว่าสิ่งทั้งปวงเป็นความประพฤติแห่งความระลึกได้นั้นเป็นแต่เพียงจินตนาการเท่านั้น เมื่อความคิดนั้นถูกสร้างขึ้น จึงถึงฝั่งแห่งห้วงน้ำคือคุณธรรมกล่าวคือความเป็นพุทธะ โดยพลัน อย่างนี้แล นี้เป็นความยิ่งใหญ่แห่งความรู้อันเป็นปรมัตถ์

อธิการที่ 6 ว่าด้วยตัตวะ ในมหายานสูตราลังการ จบ.

 

อธิการที่ 7

อธิการที่ 7

โศลกว่าด้วยการจำแนกลักษณะแห่งอำนาจ

โศลกว่าด้วยการจำแนกลักษณะแห่งอำนาจ

1       ความรู้ไม่เป็นสิ่งที่เข้าถึงไม่ได้ ในความแตกต่างแห่งคติทั้งปวงในเพราะการอุบัติ คำพูด จิต การสั่งสมความดีและไม่ดี สถานการณ์ถึงความไม่มีสาร การไม่มีอุปสรรค นี้เป็นอำนาจอันเป็นของบุคคลผู้เป็นปราชญ์ /

อรรถาธิบาย     ความรู้ในการอุบัติของบุคคลอื่น คือ อภิญญาในการจุติและอุบัติ / ความรู้ในคำพูด คือคำพูดในอภิญญาคือทิพ โสต คือย่อมกล่าวว่า ไปแล้วเกิดในที่นั้น / ความรู้ในจิต คือ อภิญญาในการกำหนดจิต /ความรู้ในการสั่งสมความดีและความไม่ดี คือปุพเพนิวาสนุสสติญาณ / ความรู้ในสถานที่อันเวไนยสัตว์ตั้งอยู่ คือ อภิญญาในวิสัยแห่งฤทธิ์ / ความรู้ในความไม่มีสาระ คือ อาสวักขยญาณอภิญญา กล่าวคือสัตว์เกิดขึ้นโดยประการใด ย่อมหนึไปจากที่นั้น / ความรู้อันไม่ใช่สิ่งที่เข้าถึงไม่ได้ อันไม่มีอุปสรรคในความแตกต่างในโลกธาตุในที่ทั้งปวงในอรรถ 6 เหล่านี้ เป็นอำนาจอันสงเคราะห์ด้วยอภิญญา 6 ของพระโพธิสัตว์ / ในการการจำแนกลักษณะอำนาจนี้ อรรถแห่งสภาวะ ถูกกล่าวถึงแล้ว /

โศลกว่าด้วยการปรารภอรรถแห่งเหตุ

2      เมื่อเข้าถึงฌาน 4 ประการอันบริสุทธิ์ดีแล้วด้วยโดยการยึดถือความรู้อันไม่มีความแตกต่าง มนสิการอันเป็นที่อาศัยเจริญขึ้น โดยลำดับ บุคคลย่อมเข้าถึงความสำเร็จแห่งอำนาจอันยอดเยี่ยม /

อรรถาธิบาย     ท่านแสดงการเข้าถึงความสำเร็จ โดยพื้นฐาน โดยความรู้ โดยมนสิการ

โศลกว่าด้วยการปรารภแห่งผล

3      บุคคลย่อมเป็นอยู่ด้วยพรหม เทวดา ผู้อริยะและไม่มีที่เปรียบอันเช่นนี้ บุคคลนั้นไปในทิศทั้งหลายแล้ว นอบน้อมต่อพระพุทธเจ้าและยังสัตว์ทั้งหลายให้บริสุทธิ์ /

อรรถาธิบาย     ท่านแสดงอำนาจแห่งผลไว้ 3 ประการ / บุคคลถึงแล้วซึ่งการอยู่อย่างเป็นสุขอันประเสริฐเป็นต้น อันไม่มีเครื่องวัดอันอุกกฤษฎิ์แล้ว บูชาพระพุทธเจ้ายังสัตว์ให้บริสุทธิ์ /

โศลกว่าด้วยการปรารภอรรถแห่งกรรม 4 ประการ และโศลกว่าด้วยกายปรารภกรรม แห่งการเห็น และกรรมแห่งการแสดง

4      บุคคลย่อมเห็นโลกธาตุ สรรพสัตว์ การเกิดและการพินาศ เปรียบด้วยมายาและแสดงสิ่งเหล่านี้ด้วยประการต่างๆ อันวิจิตร ตามความต้องการอย่างไร เพราะเป็นผู้มีความชำนาญ

อรรถาธิบาย     เพราะการเห็นซึ่งความมีอุปมาด้วยมายาแห่งโลกธาตุทั้งปวง สรรพสัตว์การเกิดขึ้นและการพินาศไป / เพราะการแสดงสิ่งนี้ตามความปรารถนาแก่บุคคลอื่น / และโดยประการอื่นอีกอันวิจิตร อันยังบุคคลให้หวั่นไหวและรุ่มร้อนเป็นต้น / เพราะการได้ความชำนาญ 10ประการ / แสดงให้เห็นแล้วในภูมิทั้ง 8 เหมือนกับในทศภูมิสูตร /

โศลกว่าด้วยการปรารภกรรมแห่งรัศมี

5      เมื่อปลดปล่อยนั้น รัศมีก็จะยังสัตว์นรก ผู้มีทุกข์ไปสู่สวรรค์ ย่อมกระทำวิมานของยาพิษอันสั่นไหว อันไม่โสภาอันสิ้นไปย่อมยังหมู่สัตว์ผู้เป็นไปกับด้วยความกลัวให้เดือดร้อน

อรรถาธิบาย     ท่านแสดงกรรมแห่งรัศมีไว้ 2 ประการ / ทำความเลื่อมใสให้เกิดแก่สัตว์ที่เกิดในอบายและให้เกิดในสวรรค์ / ทำความหวาดกลัวด้วยความสั่นไหว ให้เกิดแก่สัตว์ผู้มีภพในตัณหาและผู้มีตัณหา /

โศลกว่าด้วยการปรารภกรรมแห่งความสุข

6      ท่านแสดงความสุขแห่งสมาธิอันไม่มีที่เปรียบในท่ามกลางแห่งคณะบุคคลผู้เลิศยังประโยชน์แห่งสัตว์ให้ตั้งมั่นตลอดกาล ด้วยการนิมิตความเกิดขึ้นแห่งกรรมอันยอดเยี่ยม /

อรรถาธิบาย     เพราะการแสดงความสุขแห่งสมาธิอัน ไม่มีที่เปรียบและเพราะการกระทำประโยชน์เพื่อสัตว์ ด้วยนิรมาณอันมี 3 ประการ ในท่ามกลางแห่งมณฑลของพุทธบริษัท / นิรมาณ 3 ประการ คือ ศิลปะ กรรมะ และสถานะ / นิรมาณที่อุบัติขึ้นตามความปรารถนาด้วยอำนาจแห่งเวไนยสัตว์ / นิรมาณอันอุตตมะ คือการได้เข้าอยู่ในภพชื่อว่า ดุสิต เป็นต้น /

โศลกว่าด้วยกรรมแห่งความบริสุทธิ์แห่งเกษตร

7      เพราะอำนาจแห่งความรู้ บุคคลย่อมเข้าถึงเกษตรอันบริสุทธิ์ด้วยการแสดงตามความต้องการ เพราะการฟังชื่อ พุทธะ ในบุคคลผู้ไม่มีความต้องการพุทธะ บุคคลนั้นย่อมซัดไปในโลกธาตุอื่น /

 อรรถาธิบาย     เพราะบริสุทธิ์จากบาป 2 ประการ / เพราะความบริสุทธิ์แห่งการเสพภาชนะ เพราะอำนาจแห่งความรู้อันแสดงพุทธเกษตรอันสำเร็จด้วยแก้วไพฑูรย์ เป็นต้น อันกว้างขวาง ตามความปรารถนา / และเพราะความบริสุทธิ์ หลังจากยึดถือความเสื่อมใส เพราะฟังชื่อพุทธะ จากสัตว์ทั้งหลายผู้เกิดขึ้นในโลกธาตุอันว่างเว้นจากชื่อ พุทธะแล้ว ก็บังเกิดในโลกธาตุที่ว่างเว้นจากพุทธะนั้น /

โศลกว่าด้วยการปรารภอรรถแห่งโยคะ

8      บุคคลเป็นผู้ภักดีในความแก่รอบแห่งสัตว์เป็นผู้มีศักดิ์เหมือนกับนกที่เกิดมาพร้อมกับปีก ได้รับการสรรเสริญมีประมาณยิ่งจากพระพุทธเจ้า เป็นผู้มีคำพูดอันควรยึดถือแก่สัตว์ทั้งหลาย /

อรรถาธิบาย     ท่านแสดง โยคะมี3 ประการ / โยคะ คืออำนาจ กล่าวคือ ความแก่รอบแห่งสัตว์ โยคะคือการสรรเสริญและโยคะคือ ความมีถ้อยคำน่านับถือ

9      อภิญญา 6 วิทยา3 วิโมกข์ 8 ความเป็นอภิภู / หลัก แห่งวิโมกข์ 10 สมาธิอันไม่มีประมาณ นี้เป็นอำนาจอันเป็นของนักปราชญ์ /

อรรถาธิบาย     อำนาจของพระโพธิสัตว์มี 6 ประเภท /อภิญญา วิทยา วิโมกข์ ความเป็นพระผู้เป็นเอง หลักแห่งวิโมกข์และสมาธิอันไม่มีประมาณ /

        หลักจากแสดงอำนาจโดยลักษณะอันจำแนก 6 ประการอย่างนี้แล้ว โศลกที่แสดงซึ่งอรรถแห่งภาวนาอันยิ่งใหญ่ จึงมีว่า

10     บุคคลเพราะพุทธิอันได้แล้วด้วยอำนาจอันบรมจับ ซึ่งในดลกไว้ในอำนาจของตนเป็นนิตย์ เป็นผู้ยินดีในการกระทำเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น บุคคลผู้เป็นปราชญ์ย่อมเที่ยวไปในภพทั้งหลายเพียงดังสิงหะ

อรรถาธิบาย     ท่านแสดงความยิ่งใหญ่ไว้ 3 ประการ / ความยิ่งใหญ่เพราะมีอำนาจเพราะได้รับอำนาจในความรู้อันยอดเยี่ยมอันเป็นของตน เพราะยังกิเลสและอาสวะให้ตั้งอยู่ในอำนาจของตนและของโลก / ความยิ่งใหญ่เพราะความยินดียิ่ง เพราะยินดีในการกระทำเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น / และความยิ่งใหญ่ความไม่มีความกลัวในภพ /

อธิการที่ 7 ว่าด้วยอำนาจ ในมหายานสูตราลังการ จบ

 

อธิการที่ 8

อธิการที่ 8

ว่าโศลกด้วยการสงเคราะห์ความแก่รอบของพระโพธิสัตว์

1      ความยินดี ความเลื่อมใส ความสงบ ความกรุณา ความอดทน ความมีปัญญา ความเป็นคนมีพละ และความเป็นคนมั่งคง ความเป็นผู้เข้าถึงความสูงสุดด้วยองค์เหล่านี้ นี้เป็นลักษณะแห่งการแก่รอบของบุตรแห่งพระชินเจ้า /

อรรถาธิบาย     ความยินดีในธรรมและเทศนาของมหายาน ความเลื่อมใสต่อผู้เทศนาคำสอนนั้น ความสงบจากกิเลสทั้งหลาย ความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย ความอดทนต่อจริยาอันกระทำได้โดยยาก มีปัญญาในการยึดถือทรงไว้และการแทงตลอด ความเป็นผู้มีพละในการบรรลุ ความเป็นคนมั่นคงต่อมารและวาทะ ของคนอื่น ความเป็นผู้มาตามพร้อมแล้วด้วยองค์แห่งส่วนอันสำคัญ / ท่านแสดงความสูงสุดแห่งองค์ทั้งหลายมีความยินดีเป็นต้นว่า ภฺฤศํ ดังนี้ / ความแก่รอบแห่งอัตตา 9 ประการของพระโพธิสัตว์โดยย่อนี้ อันบัณฑิตพึงทราบ

โศลกว่าด้วยการปรารภความแก่รอบแห่งความยินดี

2      ความมี 3 มีการมีมิตรดี เป็นต้น ความมีความเพียรอย่างสูง ความมีจุดหมาย ความยึดมั่นในธรรมอันสูงสุด นี้เป็นลักษณะแห่งความแก่รอบ โดยชอบในความกรุณาและการยึดถือพระสัทธรรม /

อรรถาธิบาย     ความมี 3 มีการมีมิตรเป็นต้น คือการคบสัตบุรุษ การฟังสัทธรรมและโยนิโสนมสิการ / ความมีความเพียงอย่างสูง ด้วยการปรารภความเพียรอันสูงสุด / ความมีจุดหมาย คือ ความไม่มีความลังเลสงสัยในสถานที่อันบุคคล ไม่ควรคิดทั้งปวง / ความยึดมั่นในธรรมอันสูงสุด คือรักษามหายานธรรม ป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่มหายานธรรมนั้น /

        กายยึดมั่นในมหายานธรรมอันอย่างยิ่งนี้ พึงทราบว่าเป็นลักษณะแห่งความแก่รอบของความยินดีแห่งพระโพธิสัตว์ / ด้วยเหตุใด ความมี 3 มีการมีมิตรดีเป็นต้นจึงเป็นความแก่รอบ / บุคคลใด เป็นผู้ประกอบด้วยความเพียรอย่างสูงสุดและมีจุดมุ่งหมาย ความแก่รอบเป็นสวภาวะของบุคคลนั้น / และกรรมใดเพราะการยึดมั่นและการะทำธรรมอันสูงสุด ธรรมนั้นอันท่านแสดงไว้แล้ว ด้วยความแก่รอบนี้ /

โศลกว่าด้วยการปรารภความแก่รอบแห่งความเลื่อมใส

3      ความเข้าใจคุณธรรม การได้รับสมาธิอย่างกว้างขวาง การเพลิดเพลินในผล ความมีใจไม่เปลี่ยนแปลงด้วยความถึงพร้อมในคำสอน เป็นลักษณะสำคัญแห่งการแก่รอบ โดยมิชอบ

อรรถาธิบาย     ความแก่รอบแห่งความเลื่อมใสนี้ ท่านแสดงด้วยเหตุผลด้วยธรรมชาติอันเหมาะสมและด้วยกรรม / ความเข้าใจคุณธรรม แม้นี้ คือเหตุดดยพิศดาร คือ พระตถาคตผู้มีพระภาคเจ้านั้น / ความมีจิตไม่เปลี่ยนแปลง เพราะการได้อำนาจอันไม่ตกต่ำ คือ สวภาวะ (ธรรมชาติอันเหมาะสม) การได้สมาธิอันกว้างขวาง การเพลิดเพลินในผลอันมีอภิญญาเป็นต้น คือ กรรม /

โศลกว่าด้วยการปรารภความแก่รอบแห่งความสงบ

4      การสังวรด้วยดี การละเว้นจากการวิตกในกิเลส ความไม่มีอันตรายความยินดีในความดีงาม นี้เป็นลักษณะแห่งการแก่รอบโดยชอบอันสำคัญ เพราะการบรรเทาเสียซึ่งกิเลสของบุตรแห่งพระชินเจ้า /

อรรถาธิบาย     การบรรเทาเสียซึ่งกิเลส เป็นความสงบของพระโพธิสัตว์ / ความแก่รอบแห่งความสงบนี้ท่านแสดงเหตุ สวภาวะ และกรรม / การสำรวจสติสัมปชัญญะแห่งอินทรีย์ทั้งหลายเป็นเหตุ / การละเว้นจากการวิตกในกิเลสเป็นสวภาวะ / ความไม่มีอันตรายเพราะการเจริญแห่งปฏิปักษ์และความยินดียิ่งในกุศลเป็นกรรม /

โศลกว่าด้วยการปรารภลักษณะแก่รอบแห่งความกรุณา

5      ความกรุณาตามปกติ การเห็นความทุกข์ของคนอื่น การเว้นจากจิตอันต่ำทราม การถึงหนทางอันวิเศษ การเกิดในโลกอันเลิศ เป็นลักษณะการแก่รอบแห่งความกรุณาต่อบุคคลอื่น /

อรรถาธิบาย     แก่รอบเพราะความกรุณาต่อตนเอง และโคตร และเพราะเว้นจากหีนยานนี้คือ เหตุ / การเข้าถึงหนทางอันวิเศษ เพราะเข้าถึงความเจริญแห่งการแก่รอบ นี้คือสวภาวะ / ความมีอยู่แห่งอัตตาอันประเสริฐในโลกทั้งปวง นี้คือกรรมในภูมิอันไม่ถอยหลัง /

โศลกว่าด้วยการปรารภลักษณะการแก่รอบแห่งกษานติ

6      ความกล้าหาญ โดยปกติ การเจริญภาวนาในการคำนวณความรู้สึกมีความรู้สึกทุกข์เหมือนกับความรู้สึกหนาว การถึงหนทางวิเศษ ความยินดีในความงดงาม นี้เป็นลักษณะแห่งความแก่รอบอันสำคัญของความอดทน/

อรรถาธิบาย     ความกล้าหาญ ความอดทน คือ กษานติ และการเจริญภาวนาในความรู้สึกและโคตร ในความแก่รอบนั้น คือ เหตุ / การอยู่อย่างมีความรู้สึกเป็นทุกข์เหมือนกับรู้สึกหนาว เป็นต้นนี้ คือ สวภาวะ / การเข้าถึงหนทางวิเศษแห่งความอดทนและความยินดียิ่งในกุศล คือ กรรม /

โศลกว่าด้วยการปรารภความแกรอบแห่งความมีปัญญา

7      ความบริสุทธิ์แห่งวิบาก ความไม่มีโทษจากการฟัง การแทงตลอดซึ่งที่ได้ฟังดีและไม่ฟังดี ความมีสติในการเกิดขึ้นแห่งพุทธิและโยคะ เป็นลักษณะแห่งการแก่รอบของความมีปัญญา /

อรรถาธิบาย     ความบริสุทธิ์แห่งวิบากอันเกื้อกูลต่อปัญญาในโศลกนี้คือ เหตุ / ความไม่มีโทษจากการฟังคิดและภาวนาของสิ่งที่กระทำและพูดแม้นานแล้ว การแทงตลอดซึ่งอรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิต และการมีสตินี้เป็นสวภาวะแห่งความแก่รอบแห่งปัญญา / ความมีโยคะในการเกิดขึ้นแห่งปัญญาอันสูงสุดในโลก นี้คือ กรรม /

โศลกว่าด้วยการปรารภความแก่รอบของการได้เฉพาะซึ่งพละ

8      การบำรุงเลี้ยงธาตุทั้งสองโดยความเป็น 2 อันงาม ความมีโยคะในพื้นฐานอันเป็นที่เกิดขึ้นแห่งผลอีก การบรรลุความปรารถนา ความเป็นอยู่ในโลกอันเลิศ เป็นลักษณะแห่งความแก่รอบของการได้พละ /

อรรถาธิบาย     การเลี้ยงดูพีชะแห่งบุญและความรู้ด้วยบุญและความรู้ในโศลกนี้ เป็นเหตุในความแก่รอบ / ความมีโยคะเป็นพื้นฐานอันถึงทับแล้วเป็นสวภาวะแห่งการแก่รอบ / การบรรลุความปรารถนาและการเป็นอยู่ในโลกอันเลิศเป็นกรรม

โศลกว่าด้วยความแก่รอบแห่งความเป็นคนมั่นคง

9      การอาศัยการประกอบและวิจารณ์ซึ่งความเป็นผู้มีธรรมดี การได้ผลอันวิเศษ การที่ปรปักษ์ถูกประทาร้ายแล้ว และความไม่มีอันตรายจากมารทุกเมื่อ เป็นลักษณะแห่งการแก่รอบ แห่งความเป็นผู้มั่นคง /

อรรถาธิบาย     ในโศลกนี้ การอาศัยอันกระทำการประกอบและวิจารณ์สัทธรรมเป็นเหตุแห่งความแก่รอบ /ในกาลที่มารไม่อาจทำอันตรายได้อีกเป็นความไม่มีอันตรายแห่งมารนี้ เป็นสวภาวะ / การเข้าถึงผลอันวิเศษและการที่ฝ่ายปรปักษ์ถูกประทุษร้ายแล้วเป็นกรรม /

โศลกว่าด้วยการกระทำอันยิ่งซึ่งความแก่รอบแห่งการมาตามพร้อมด้วยองค์แห่งการเสียสละ

10    การสั่งสมความดี ความมีโยคะ ในความพยายามการตั้งมั่น ความเป็นคนสงัด (วิเวก) ความยินดียิ่งในความดี นี้เป็นลักษณะแห่งความแก่รอบแห่งความมาตามพร้อมด้วยองค์ อันสำคัญของบุตรแห่งพระชินเจ้า /

อรรถาธิบาย     ในโศลกนี้ การสั่งสมกุศลมูล เป็นเหตุแห่งความแก่รอบ / ความเป็นผู้มีความอดทนต่อการปรารภความเพียรเพื่อความตั้งมั่น เป็นสวภาวะ / ความเป็นผู้มีความสงัดและความเป็นผู้ยินดีในกุศล เป็นกรรม /

โศลกว่าด้วยการปรารภความยิ่งใหญ่แห่งความแก่รอบแห่งอัตตาอันมี 9 ประการ

11    ด้วยประการดังนี้ ความเป็นผู้มีอัตตาแก่รอบอันมี 9 ประการเข้าถึงความมีโยคะ ในความแก่รอบของบุคคลอื่น ความเป็นผู้มีอัตตาเจริญขึ้นอย่างต่อเนื่องอันสำเร็จแล้วแต่ธรรม บุคคลย่อมเป็นผู้เผ่าพันธุ์อันเลิศแห่งโลก

อรรถาธิบาย     ความยิ่งใหญ่แห่งความแก่รอบมี 2 ประการ / ความเป็นที่พึ่งเพื่อความแก่รอบแห่งบุคคลอื่น / และความเจริญแห่งธรรมกายอันต่อเนื่อง / ดังนั้น บุคคลจึงเป็นผู้เป็นเผ่าพันธุ์อันเลิศ /

โศลกว่าด้วยการจำแนกความแก่รอบแห่งสัตว์ 11 โศลก

12    บุคคลบรรเทาความหิวกระหาย เมื่อความกี่รอบคือความหิวกระหายสมควรแก่การบรรเทา บริโภคโภชนะเมื่อสมควรต่อการบริโภค โดยประการใด บุคคลเข้าใจความสงบของคนผู้มีความเป็น 2 แห่งปักษ์ ย่อมมีความเป็นผู้เสพซึ่งความสงบอันดีงามของผู้มีความเป็น 2 แห่งปักษ์ โดยประการนั้น /

อรรถาธิบาย     ท่านแสดงธรรมชาติแห่งการแก่รอบด้วยโศลกนี้ / ความมีการประกอบอันเป็นไปกับด้วยความหิว ด้วยความหิว ชื่อว่า ความแก่รอบโดยประการใด / และการประกอบ โภคะ ด้วยโภคะ / ความสงบของฝ่ายข้าศึก อันสมควรแก่สถานที่แห่งความกระหาย ด้วยสถานที่อันสมควรแก่ความหิวกระหายและโภคะอันเป็นที่อาศัยแห่งสัตว์ทั้งหลายโดยประการนั้น / ความเป็นสถานที่อันควรแก่โภคะนั้นเป็นอุปโภคแห่งปฏิปักษ์ / เพราะเหตุนั้นความเป็นคนมีโภคะ (การประกอบ) จึงเป็นความแก่รอบแห่งผู้อาศัยนั้น / วิปักษ์ และปฏิปักษ์ พึงทราบว่าเป็นความเป็น 2 แห่งปักษ์ /

โศลกที่ 2

13    ความแก่รอบ ไปปราศแล้ว ความแก่รอบ ความแก่รอบก่อน ความแก่รอบตาม ความแก่รอบด้วยดี ความแก่รอบอย่างยิ่ง ความแก่รอบไม่มีและคามแก่รอบขึ้น ท่านกล่าวไว้แล้วในร่างกายทั้งหลาย /

อรรถาธิบาย     ท่านแสดงประเภทของความแก่รอบด้วยโศลกนี้ / ความแก่รอบไปปราศเพราะความแก่รอบแห่งความไปปราศแห่งกิเลส / ความแก่รอบเพราะความสุกงอมด้วยยาน 3 จากที่ทั้งปวง / ความแก่รอบก่อน คือ ความสุกงอมอันประทำแล้วจากความที่แห่งความแก่รอบภายนอกเป็นสิ่งวิเศษ / ความแก่รอบตาม คือความสุกงอมตามสมควรแก่ธรรมและเทศนาของเวไนยสัตว์ / ความแก่รอบด้วยดี คือ ความสุกงอมอันกระทำดีแล้ว / ความแก่รอบอย่างยิ่ง คือ ความสุกงอมด้วยการเข้าถึง คือ ด้วยความที่อรรถไม่วิปริต / ความแก่รอบไม่มี คือ ความสุกงอมอันเป็นนิตย์ คือด้วยความที่อรรถไม่เสื่อมไป / ความแก่รอบขึ้น คือ ความสุกงอมอันยอดเยี่ยมด้วยการก้าวข้าม / นี้คือประเภทแห่งความแก่รอบของคนอื่น 8 ประการ /

โศลกที่ 3 และ 4

14    บุตรแห่งพระชินเจ้า ผู้มีความรักยังโลกทั้งปวงให้สุกงอมด้วยอาศัยประโยชน์เกื้อกูลโดยประการใด ไม่ว่ามารดา บิดา และญาติ ผู้มีความรักในญาติทั้งหลายเหล่านั้น (ก็จักสุกงอม) โดยประการนั้น /

15     ชนผู้มีใจอันไม่ต่ำทรามในความไม่มีตัวตน จักมีในชนเหล่าอื่นผู้มีความรักแต่ที่ไหนโดยประการที่ชนผู้มีความกรุณาอื่นไม่ต่ำทรามต่อสัตว์เหล่าอื่น มีใจอันประกอบในประโยชน์เกื้อกูลและความสุข /

อรรถาธิบาย     ด้วย 2 โศลกนี้ ท่านแสดงอะไร / พระโพธิสัตว์ยังสัตว์ทั้งหลายให้สุกงอมด้วยความรักอันเช่นใด เช่นแสดงความรักนั้น / ความวิเศษแห่งความรักของบิดา มารดา และญาติและความวิเศษแห่งความรักที่มีต่อสัตว์โลกทั้งหลาย เพราะการประกอบพ้อมเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุข / แต่ความเป็นผู้มีตนอันไม่ต่ำทราม เพราะประกอบตนไว้ในประโยชน์และความสุข /

ด้วยโศลกที่เหลือ พระชินบุตรยังสัตว์ให้แก่รอบด้วยประกอบบารมีใด ท่านแสดงด้วยการปฏิบัติบารมีนั้น /

โศลกปรารภทานที่ยังสัตว์ให้แก่รอบ

16    ความเพลิดเพลินในสรีระอันพระโพธิสัตว์พึงให้แก่บุคคลอื่น ย่อมไม่มีโดยประการทั้งปวง เมื่อยังสัตว์ให้สุกงอมด้วยวิธีทั้ง 2 อันควรยึดถือแล้ว พระโพธิสัตว์ก็ไม่ยินดีด้วยคุณทั้งหลายอันเสมอด้วยทาน /

อรรถาธิบาย     ในสุกงอมด้วยทานอันมี 3 ประการ / ด้วยการให้ซึ่งความเพลิดเพลินในสรีระทั้งปวง ด้วยการให้อันไม่มีใดเหมือน ด้วยการให้อันไม่มีความยินดีในการเพียงพอ / พระโพธิสัตว์ยังสัตว์อื่นให้สุกงอมด้วยการยึดถือในทิฐิธรรมและสัมปรายภพได้อย่างไร / เพราะการยังความอิจฉาให้บริบูรณ์โดยไม่ขาดตอน / และด้วยการให้กุศลตั้งมั่น เพราะยึดถือโดยอนาคต /

โศลกว่าด้วยการปรารภศีลที่ยังสัตว์ให้สุกงอม

17    เป็นผู้ไม่เบียดเบียนโดยปกติตลอดเวลา ยินดีในความเป็นตนเอง เป็นผู้ไม่ประมาท ยังสัตว์อื่นให้เข้าถึงในที่นั้น อนุเคราะห์สัตว์อื่นด้วยการเปลี่ยนแปลงอันมี 2 ประเภท พระโพธิสัตว์จึงเป็นผู้สุกงอมด้วยวิบากและคุณอันทุ่มเท /

อรรถาธิบาย     ศีลมี 5 ประการ / ความเป็นผู้ไม่เบียดเบียน เพราะด้วยศีลแน่แท้ ศีลปกติ ศีลบริบูรณ์ / เพราะว่าเป็นผู้ไม่เบียดเบียนอันบริบูรณ์ คือ เป็นผู้ไม่เบียดเบียน เพราะการบริบูรณ์พร้อมด้วยกุศลกรรมบถ 10 / ดังที่ได้กล่าวแล้ว ในภูมิที่ 2 / เพราะความยินดีในความเป็นตนเองด้วยศีลอันถึงทับ / และเพราะความไม่ประมาทด้วยศีลอันไม่ขาดในระหว่าง / ยังคนอื่นให้สุกงอมได้อย่างไร / เพราะยังสัตว์ให้ตั้งมั่นในศีล / ด้วยการกระทำการอนุเคราะห์ 2 ประการ ในทิฐิธรรมและสัมปรายภพ / กระทำการอนุเคราะห์ในสัมปรายภพในสัตว์เหล่าอื่นด้วยวิบากและคุณอันทุ่มเท / เพราะการไม่ตัดขาดด้วยการอนุเคราะห์กันและกันของวิบากและการทุ่มเท /

โศลกว่าด้วยการปรารภขันติที่ยังสัตว์ให้สุกงอม

18    เมื่อบุคคลอื่นผิด เขาให้อภัยบุคคลอื่นด้วยอุปการะให้เขาก้าวเข้าไปสู่ความยอดเยี่ยมด้วยการให้อภัยแก่ความผิดด้วยจิตอันเป็นอุบายให้พวกเขาสมาทานในความดีงาม แม้จะเป็นผู้มีความผิด /

อรรถาธิบาย     เมื่อบุคคลอื่น เป็นผู้มีความผิด พระโพธิสัตว์ยังพวกเขาให้สุกงอมด้วยความรู้อันเป็นอุปการะ ด้วยการให้อภัยด้วยธรรมอันตนนับถือ / ความมีพุทธิอันเป็นอุปการะ พึงทราบว่าเป็นความเจริญแห่งการอนุเคราะห์ด้วยการเต็มรอบแห่งขันติบารมี / ยังบุคคลอื่นให้สุกงอมได้อย่างไร / ด้วยการอนุเคราะห์ในทิฐิธรรมและเพราะความต่อสู้ด้วยความดี / และด้วยการอนุเคราะห์ในสัมปรายภพ เพราะการยังสัตว์ผู้มีความผิดให้สมาทานอยู่ในกุศล ด้วยความรู้อันเป็นอุบายด้วยการให้อภัย /

โศลกว่าด้วยการปรารภความเพียรที่ยังสัตว์ให้สุกงอม

19    อีกประการหนึ่ง บุตรแห่งพระชินเจ้าผู้อาศัยซึ่งความเพียรอันยอดเยี่ยมย่อมไม่เสียใจด้วยโกฏิแสนกัลป์ ยังหมู่สัตว์ให้สุกงอม เพราะการทำให้สัตว์อื่นมีความงดงามแห่งจิตอันเป็นหนึ่ง /

อรรถาธิบาย     ด้วยความเพียรในกาลอันยาวนานอย่างยิ่ง เพราะการยังสัตว์เป็นอนันต์ให้แก่รอบ โดยไม่รู้สึกเสียใจต่อกาลยาวนาน / พระโพธิสัตว์ไม่รู้สึกเสียใจด้วยโกฏิแสนแห่งกัลป์ในประโยชน์แห่งจิตอันเป็นหนึ่งอันเป็นกุศล / ดังนั้น พระโพธิสัตว์ย่อมยังบุคคลอื่นให้สุกงอมเหมือนดังคำที่กล่าวแล้ว / ด้วยการอนุเคราะห์ในทิฐิธรรมและสัมปรายภพ เพราะให้จิตประกอบอยู่ในกุศล ด้วยประการดังนี้

โศลกว่าด้วยการปรารภฌานอันยังสัตว์ให้สุกงอม

20    เพราะเข้าถึงความมีอำนาจอันยอดเยี่ยมในใจ ให้บุคคลอื่นเป็นไปพร้อมในศาสนานี้ ละอวมานะและกามแล้ว จึงมีความเจริญด้วยความงดงาม

อรรถาธิบาย     พระโพธิสัตว์แก่รอบด้วยการมีอำนาจอันยอดเยี่ยมที่บรรลุแล้ว ด้วยฌานอันไม่ถูกต้องได้ และด้วยการนำออกซึ่งอวมานะและกามทั้งปวง / ย่อมแก่รอบยังกุศลธรรมให้เจริญและให้บุคคลตั้งอยู่ในพระพุทธศาสนา /

โศลกว่าด้วยการปรารภปัญญาอันยังสัตว์ให้แก่รอบ

21    พระโพธิสัตว์มีความมั่นคงด้วย ตัตวภาวะ และนัยแห่งอรรถทำให้สัตว์ทั้งหลายมีความสงสัยอันนำออกแล้ว เพราะความอ่อนน้อมต่อคำสอนแห่งพระชินเจ้านั้น จึงยังตนและบุคคลอื่นให้เจริญด้วยคุณอันงดงาม /

อรรถาธิบาย     พระโพธิสัตว์นั้นย่อมแก่รอบด้วยปัญญาอันตั้งมั่นด้วยดี ด้วยนัยแห่งอรรถตัตวะและนัยแห่งอรรถแห่งการอภิปราย / พระโพธิสัตว์แก่รอบ เพราะการนำออกเสียซึ่งความสงสัยของสัตว์ทั้งหลายอย่างไร / และจากนั้น เพราะมีความนอบน้อมเป็นอันมากในศาสนาและด้วยการยังคุณธรรมของตนและบุคคลอื่นให้เจริญขึ้น /

โศลกว่าด้วยการสรุป(นิคม)

22    ด้วยเหตุนั้น พระโพธิสัตว์นั้น ในคติแห่งสุคติ หรือในความมี 3 แห่งความงดงาม สั่งสอนโลกด้วยความกรุณา ด้วยความเนิ่นช้า ความยอดเยี่ยม ความกลาง ย่อมนำไปด้วยคติแห่งภาวะอันเสมอของโลก

อธิการที่ 8 ว่าด้วยความแก่รอบ ในมหายานสูตราลังการ จบ.

 

อธิการที่ 9

 

 

อธิการที่ 9

 

โศลกว่าด้วยความรู้

 

โศลกว่าด้วยความรู้ 2 โศลก/

 

โศลกที่3 เป็นคำอธิบายของสองโศลกแรก

 

1      โดยการกระทำอันกระทำได้โดยยาก ไม่มีประมาณ การสั่งสมกุศลอันไม่มีประมาณ การสิ้นไปแห่งอุปสรรค โดยกาลเวลาอันไม่มีประมาณ /

 

2      ความรู้อาการะทั้งปวง อันไม่มีมลทิน อันบรรลุแล้ว เพียวงดังกล่องแห่งรัตนะอันถูกเปิดแล้ว นี้อันบุคคลเรียกว่า ความเป็นพุทธะ /

 

3      หลังจากกระทำ การกระทำที่ทำได้ยากแล้ว ด้วยความเหน็ดเหนื่อยตั้ง 100 สะสมสิ่งดีงามทั้งปวง เพราะความสิ้นไปแห่งทรัพย์เป็นเครื่องปลื้มใจทั้งปวง ด้วยความยิ่งใหญ่แห่งกัลป์และยาน โดยกาลเวลา ความเป็นพุทธะก็ถูกค้นพบ เพราะอุปสรรคสิ้นไป เพราะการถอนเรื่องซึ่งการไปในภูมิทั้งหลายแล้วเพียงดังรัตนะ ทั้งหลายที่มีแสงสว่างสุกใส ถูกค้นพบเมื่อกล่องถูกเปิดแล้ว /

 

อรรถาธิบาย     ความเป็นพุทธะอันเป็นที่บรรลุแล้ว อันเป็นสวภาวะ และอันมีการเปรียบเทียบได้ถูกอธิบายไว้แล้ว / ย่อมบรรลุถึงการประการอุปสรรคแห่งกิเลสและความรู้ได้ด้วยการกระทำที่ทำได้ยากนับร้อย โดยการสั่งสมกุศลและ โดยกาลเวลานี้เรียกว่าอันเป็นที่บรรลุแล้ว /ความรู้อาการะทั้งปวงอันไม่มีมลทินจากอุปสรรคทั้งปวงนี้คือสวภาวะ / กล่องแห่งรัตนะที่เปิดแล้วนี้เป็นการเปรียบเทียบ /

 

โศลกว่าด้วยลักษณะอันไม่มีความเป็น 2แห่งความเป็นพุทธะและอานุภาพแห่งความเป็นพุทธะ 2 โศลก

 

4      ธรรมทั้งปวงคือความเป็นพุทธะ ธรรมไม่มีนั่นเทียว อะไรๆ ก็ไม่มีความเป็นพุทธะ สำเร็จแล้วแต่กุศลธรรม แต่ว่าอันบุคคลไม่อาจอธิบายความเป็นพุทธะนั้นด้วยธรรมเหล่านั้น /

 

5      เพราะความที่แห่งรัตนะเป็นนิมิตแห่งธรรม การปุปมาเหมือนดังเป็นรัตนากรที่ได้รับแล้วจึงมี เพราะความที่มีความงดงามเป็นนิมิตอันได้รับแล้วจึงมีการอุปมาด้วยเมฆ /

 

อรรถาธิบาย     ธรรมทั้งปวงคือความเป็นพุทธะ เพราะความที่พุทธัตวะนั้นถูกนำไปโดยความเป็นตถตา และเพราะถูกอบรมให้บริสุทธิ์โดยความเป็นตถตา / ธรรมใดๆย่อมไม่มีเพื่อความเป็นพุทธะ ความเป็นพุทธะอันสำเร็จแล้วแต่กุศลธรรมด้วยการจินตนาการและสวภาวะแห่งธรรม เพราะการเจริญขึ้นด้วยการยังกุศลทั้งหลายมีบารมีเป็นต้นให้เจริญ /แต่ว่าบุคคลไม่อธิบายความเป็นพุทธะนั้นด้วยธรรมเหล่านั้น ลักษณะแห่งความไม่เป็นสองนี้อันไม่เป็นที่อาศัยแห่งภาวะทั้งหลายมีบารมีเป็นต้น ด้วยภาวะมีบารมีเป็นต้น / การอุปมาด้วยรัตนากรและเมฆ เป็นอนุภาวะ เพราะเป็นความมีอยู่แห่งรัตนะ แห่งเทศนา และแห่งธรรม และเป็นความมีอยู่แห่งการเก็บเกี่ยวกุศลในพื้นที่อันมีความต่อเนื่องแห่งเวไนยสัตว์ /

 

6      ความเป็นพุทธะคือธรรมทั้งปวง อีกอย่างหนึ่งอยู่ภายนอกธรรมทั้งปวง ซึ่งเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งรัตนะอันยิ่งใหญ่และกว้างใหญ่แห่งธรรม  อันเช่นกับแร่รัตนะแห่งธรรม เพราะเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายได้เก็บเกี่ยวความดีงามอันกว้างใหญ่และยิ่งใหญ่เหมือนกับเมฆที่เป็นเหตุให้น้ำฝนคือธรรมอันยิ่งใหญ่อันนำออกด้วยดี ไม่รู้จักสิ้นแก่หมุ่สัตว์ทั้งหลาย /

 

อรรถาธิบาย     ท่านแสดงอรรถอย่างนั้นโดยโศลกที่ 3 นี้ / เพราะเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งรัตนากร เพราะเป็นนิมิตแห่งรัตนะคือธรรมอันยิ่งใหญ่อันกว้างขวาง เพราะเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งสัตว์ทั้งหลายซึ่งได้รับผลแห่งความดีงาม อันยิ่งใหญ่ เหมือนดังเมฆ / เพราะให้การตกแห่งน้ำฝนคือธรรมอันยิ่งใหญ่ อันนำออกด้วยดีและอันไม่รู้จักสิ้นแก่ประชาชนทั้งหลาย  การวิเคราะห์บท ในที่นี้อันบัณฑิตพึงทราบ /

 

โศลกว่าด้วยความที่แห่งความเป็นพุทธะคือสรณะอันสูงสุด 5 โศลก

 

7      ความเป็นพุทธะเป็นเครื่องต้านทานจากหมู่กิเลสทั้งปวง ตลอดเวลาจากทุจริตทั้งปวงและแม้จากการเกิดและการตาย /

 

อรรถาธิบาย     ท่านแสดงความเป็นที่พึ่ง โดยอรรถว่าเป็นเครื่องป้องกันกิเลส กรรม การเกิด สังกิเลส อย่างย่อ ด้วยโศลกนี้ /

 

8      (เป็นเครื่องต้านทาน) อุปัททวะทั้งปวง อบาย อนุบาย ร่างกายแท้และหีนยาน เพราะฉะนั้นจึงเป็นสรณะอันสูงสุด /

 

อรรถาธิบาย     ด้วยโศลกนี้ เพราะเป็นเครื่องต้านทาน(ป้องกัน) จากอุปัททวะ (อันตราย) เป็นต้น อย่างพิสดาร / ผู้มืดบอดย่อม ได้จักษุ ผู้หนวกย่อมได้โสตะ ผู้มีจิตสัดส่ายย่อมมีจิตตั้งมั่น ผู้มีความทุกข์ร้อนย่อมสงบอย่างนี้เป็นต้น / ความเป็นเครื่องป้องกันอบาย เพราะการยังสัตว์ผู้มาถึงแล้ว ให้หลุดพ้นและยังสัตว์ผู้ไม่มาถึงให้ตั้งมั่นด้วยแสงสว่างแห่งพระพุทธเจ้า / ความเป็นเครื่องป้องกันอนุบาน เพราะทำให้ทิฐิแห่งเดียรถีย์ไม่ตั้งมั่น / ความเป็นเครื่องป้องกันร่างกายจริงแท้ เพราะให้ถึงนิรวาณด้วยยานทั้ง 2 / ความเป็นเครื่องป้องกันหีนยานเพราะกระทำการนำไปด้วยมหายานเพียง 1 เท่านั้น แก่บุคคลผู้มีโคตรอันไม่เที่ยงแท้ /

 

9      ความเป็นพุทธะเป็นสรณะอันไม่มีที่เปรียบ เป็นสิ่งประเสริฐ เป็นสิ่งน่าปรารถนา เป็นเครื่องรักษา การเกิด การตาย กิเลสและบาปทั้งปวง แก่บุคคลผู้มีความกลัวต่างๆเป็นเครื่องรักษาทั้งปวงอันเป็นทางออกแก่บุคคลผู้ถึงแล้วซึ่งทุกข์และอบายต่างๆ /

 

อรรถาธิบาย     โดยโศลกที่ 3 นี้ท่านแสดงโดยอรรถแห่งความที่มีสรณะ เป็นสิ่งที่ไม่มีที่เปรียบ เป็นสิ่งประเสริฐ และเป็นที่น่าปรารถนา /

 

10     ความเป็นพุทธะ เป็นสรณะอันประเสริฐและน่าปรารถนาในโลกทั้งปวง เพราะมีสรีระสมบูรณ์ด้วยพุทธธรรม ยังหมู่สัตว์ให้เข้าสู่สัทธรรมให้เข้าถึงฝั่งโน้นด้วยกรุณา

 

อรรถาธิบาย     โดยโศลกที่ 4 สรณะเป็นสิ่งยอดเยี่ยมด้วยเหตุใด ท่านแสดงเหตุนั้น เพราะความีสวภาวะสมบูรณ์ด้วยธรรม พลัง และความกล้าหมายอันเป็นพระพุทธเจ้าเป็นต้น เพราะกระทำยิ่งซึ่งการเชื่อมั่นในประโยชน์ของตน เพราะความรู้อันเป็นอุบายยังเวไนยสัตว์ให้ตั้งอยู่ในพระสัทธรรม และเพราะความถึงฝั่งโน้นด้วยกรุณา เพราะกระทำยิ่งซึ่งการเชื่อมั่นในประโยชน์ของคนอื่น /

 

11     ความเป็นพุทธะ เป็นสรณะอันยิ่งใหญ่ของสรรพสัตว์ เพราะกาลเวลาอันเป็นแสงสว่าง เพราะป้องกันอจากกิเลสทั้งปวง และให้เกิดขึ้นแห่งสมบัติ /

 

อรรถาธิบาย     โดยโศลกที่ 2 นี้สรณะในประโยชน์ใด สิ้นกาลมีประมาณเพียงไร แก่สัตว์มีประมาณเพียงใด ย่อมมี ท่านแสดงสรณะนั้นโดยย่อ / คำว่า / ในประโยชน์ใด คือ เพราะป้องกันจากกิเลสทั้งปวง และเพราะให้เกิดขึ้นแห่งสมบัติ /

 

โศลกว่าด้วยการหมุนไปรอบแห่งพื้นฐาน 6 โศลก

 

12    พีชะแห่งความเป็นไปแห่งกิเลส และสิ่งอันพึงรู้ อันไปตามด้วยดี อันเป็นกาลเวลาที่ยาวนาน เป็นสิ่งที่บรรลุถึงด้วยความเสื่อมทั้งปวง อันวิบูลย์ด้วยดี ในที่สุด ความเป็นแห่งพุทธะ เป็นความเป็น โดยประการอื่นแห่งพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วยคุณอันประเสริฐแห่งธรรมอันขาว บุคคลบรรลุความเป็น โดยประการอื่นนี้ เพราะหนทางแห่งความรู้อันบริสุทธิ์ด้วยมีอารมณ์อันไม่ปราศแล้ว ไม่มี (ความหลอกลวง) ความแตกต่าง / ในที่นั้น /

 

อรรถาธิบาย     โดยโศลกนี้ การหมุนไปรอบแห่งพื้นฐาน ท่านให้เห็นภาพ โดยการไม่ประกอบด้วยฝ่ายตรงข้าม และการประกอบพร้อมด้วยฝ่ายปฏิบักษ์ของฝ่ายตรงข้ามนั้น / การเข้าถึงการหมุนไปรอบแห่งพื้นฐานนี้ มีโดยประการใด เพราะการได้หนทางอันมี 2 วิธี / เพราะการได้หนทางแห่งความรู้อันยอดเยี่ยมในโลกอันบริสุทธิ์ด้วยดี / และเพราะการได้หนทางแห่งความรู้อันไม่มีที่สุดอันบุคคลได้แล้วอันเป็นความรู้อารมณ์ / กาลเวลาที่ยาวนาน ก็คือ ไม่มีกาลเวลาอันเริ่มต้น / วิธีนี้แห่งความเสื่อมทั้งปวงอันวิบูลย์ คือวิธีการแห่งภูมิทั้งหลาย /

 

13     พระตถาคตผู้ตั้งมั่นแล้วในการหมุนไปรอบแห่งพื้นฐานนี้ ก็สลัดเสียซึ่งโลก เพียงดังบุคคลผู้ยืนอยู่บนยอดแห่งภูเขา ให้เคลื่อนถึงความกรุณาต่อผู้ยินดีในความสงบ ดังนั้น อะไรเล่าคือกถา ในคนเหล่าอื่นผู้ยินดีในการเกิด /

 

อรรถาธิบาย     โดยโศลกที่ 2 นี้ ท่านแสดงความพิเศษแห่งการหมุนไปรอบแห่งพื้นฐานเพื่อบุคคลอื่น / พระตถาคตเมื่อตั้งมั่นในที่นั้นแล้ว ย่อมเห็นโลกอันกิเลสในที่ใกล้ จากที่ไกล /

 

        และเมื่อเห็นแล้วจึงมีความกรุณาต่อพระสาวก และปัจเจกพุทธเจ้าจะป่วยกล่าวไปใยถึงบุคคลอื่นเล่า

 

14     การหมุนไปข้างหน้า การหมุนขึ้น พื้นฐาน การหมุนเข้า การหมุนออก ความเป็นสอง ความไม่เป็นสอง ความวิเศษเสมอกัน ความที่ไม่ได้ในที่ทั้งปวง การหมุนไปรอบ เป็นความปรารถนาของพระตถาคตเจ้า /

 

อรรถาธิบาย     โดยโศลกที่ 3 นี้ ท่านแสดงความแตกต่าง 10 ประเภท / การหมุนไปรอบแห่งพระตถาคตเข้า ชื่อว่าหารหมุนไปข้างหน้า เพราะการหมุนไปเพื่อประโยชน์ของคนอื่น / ชื่อว่าหมุนขึ้น เพราะการหมุนอย่างอุกกฤษฎ์ ซึ่งความวิเศษแห่งธรรมทั้งปวง / ชื่อว่า หมุนลง เพราะตัดเสียซึ่งกิเลสทั้งปวง / พื้นฐานการหมุนไปรอบแห่งพื้นฐานใด ท่านแสดงพื้นฐานนั้น / ชื่อว่าหมุนเข้าเพราะหมุนออกจากกิเลส / ชื่อว่า การหมุนออก เพราะมีการหมุนออกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด / ชื่อว่าการหมุนโดยความเป็นสอง เพราะหมุนไปเพื่อการเห็นอภิสัมโพธิและปรินิวาณ / ชื่อว่า หมุนโดยความไม่เป็นสอง เพราะความที่แห่งสังสารและนิรวาณตั้งมั่นแล้วและเพราะการปรุงต่างและไม่ปรุงแต่ง / การหมุนไปโดยเสอมด้วยสาวกและปัจเจกพุทธ เพราะความเสมอแห่งวิมุตติ / การหมุนไปวิเศษเพราะความไม่เสมอด้วยพุทธธรรม ด้วยพลัง ความกล้าหาญ เป็นต้น / การหมุนไปได้ในที่ทั้งปวงเพราะเข้าถึงคำสอนแห่งยานทั้งปวง /

 

15    ความเป็นพุทธะ เป็นสิ่งไปได้ในที่ทั้งปวง เป็นสิ่งมีอยู่ตลอดเวลาเหมือนกับอากาศที่ไปได้ในที่ทั้งปวง มีอยู่ตลอดเวลา ความเป็นแห่งพุทธะ เป็นการเข้าถึงความมีรูปร่างหลายหลายเช่นเดียวกับอากาศที่มีรูปร่างหลากหลาย /

 

อรรถาธิบาย     โดยโศลกที่ 4 นี้ ท่านแสดงความเป็นสิ่งไปได้ในที่ทั้งปวงแห่งความเป็นพุทธะอันเป็นสวภาวะ (ธรรมชาติของตนเอง) / โดยครึ่งก่อนและครึ่งหลังความเป็นพุทธะกำหนดและอธิบายได้ด้วยการเทียบกับอากาศ / ความไปได้ในที่ทั้งปวงของความเป็นพุทธะในหมุ่สัตว์ทั้งหลายนั้น เป็นการค้นหาความจริง โดยตนเองในการเข้าไปถึง "สตฺ" (ความจริง) ทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้ อันบัญฑิตพึงทราบ

 

16     รูปแห่งพระจันทร์ ย่อมไม่แสดงในภาชนะแห่งน้ำอันแตกแล้ว ฉันใด รูปแห่งพระพุทธะย่อมไม่แสดงในสัตว์ทั้งหลายที่ถูกประทุกษร้ายแล้ว /

 

อรรถาธิบาย     โดยโศลกที่ 5 นี้ ท่านสาธยายด้วยตัวอย่าง การไม่เห็นรูปแห่งพระพุทธเจ้าในสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีภาชนะ (ไม่เป็นที่บรรจุ) ในความเป็นสิ่งไปได้ในที่ทั้งปวง /

 

17     ไฟย่อมลุกไหม้ในที่ใด ก็สงบในที่นั้น ฉันใด ความรู้ในพระพุทธเจ้าก็เป็นสิ่งแสดงตนและไม่แสดงตน ฉันนั้น /

 

อรรถาธิบาย     โดยโศลกที่ 6 นี้ การแสดงตนเพราะการเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าในเวไนยสัตว์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายและในความจริงทั้งหลาย / ท่านสาธยายการไม่เห็นปรินิรวาณของเวไนยสัตว์ด้วยการเปรียบเทียบกับการติดและดับแห่งไฟ /

 

โศลกว่าด้วยการที่กิจอันพึงทำของพระพุทธเจ้าไม่ถูกทอดทิ้งความไม่ยินดี 4 โศลก

 

18    การเกิดขึ้นแห่งเสียงแตร พึงมีเพราะถูกกระทบ ฉันใด ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งเทศนาอันเว้นจากความยินดีในพระชินเจ้า ฉันนั้น /

 

19     การแสดงแสงสว่างแห่งมณีเกิดขึ้น โดยปราศจากพยายามฉันใด การแสดงกิจที่พึงทำในพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นโดยปราศจากความยินดี ฉันนั้น /

 

อรรถาธิบาย     โดยโศลกทั้ง 2 นี้ ท่านสาธยายกิจที่พึงทำของพระพุทธเจ้า โดยไม่มีความยินดีด้วยการเปรียบเทียบกับเสียงแตรดังโดยลมกระทบและแสงสว่างแห่งแก้วมณี

 

20     ในอากาศอันมาขาดตอน กริยาของชาวโลกย่อมถูกแสดง ฉันใด กริยาของพระชินเจ้าอันไม่ขาดตอนในธาตุอันไม่เปลี่ยนแปล ฉันนั้น /

 

21     การเสื่อมไปและการเกิดขึ้นแห่งกริยาในอากาศมีตลอดเวลา ฉันใด การเกิดขึ้นและสิ้นไปแห่งกิจที่พึงทำของพระพุทธเจ้าในธาตุอันไม่เปลี่ยนแปลงก็ฉันนั้น /

 

อรรถาธิบาย     โดยโศลกทั้ง 2 นี้ ความที่กิจอันพึงทำของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่ปราศจากการละเว้น เพราะการไม่ขาดตอนแห่งกิจที่พึงทำของพระพุทธเจ้า / เหมือนกับการเกิดขึ้นและการสิ้นไปแห่งกริยาของโลกในอากาศอันไม่เคยขาดตอน /

 

โศลกว่าด้วยความลึกซึ้งแห่งธาตุอันไม่มีอาสวะ 16 โศลก /

 

22     แม้ว่าเป็นความพอดีแห่งการสัมพันธ์อันต่อเนื่อง ไม่มีมลทินแห่งอุปสรรคทั้งปวง บริสุทธิ์ก็ไม่ใช่ ไม่บริสุทธิ์ก็ไม่ใช่ ตถตาก็ถือว่าเป็นความเป็นแห่งพุทธะ

 

อรรถาธิบาย     ไม่บริสุทธิ์ เพราะความที่เป็นของสัมพันธ์กับความต่อเนื่อง / ไม่บริสุทธิ์ก็ไม่ใช่ เพราะความไม่มีมลทินแห่งอุปสรรคทั้งปวง กล่าวคือ ความมีมลทินไปปราศแล้ว

 

23     ในศูนยตาอันบริสุทธิ์ พระพุทธเจ้าทรงได้หนทางแห่งความไม่มีตัวตน เพราะความมีตนบริสุทธิ์อันได้แล้ว และถึงแล้วซึ่งความยิ่งใหญ่แห่งตัวตน /

 

อรรถาธิบาย     ในที่นี้ ปรมาตมัน แห่งพระพุทธเจ้าในธาตุอันไม่มีอาสวะถูกแสดงไว้ / เพราะเหตุไร / เพราะความที่พระพุทธเจ้าเป็นผู้ไม่มีตัวตนอันเลิศ / ความไม่มีตัวตนอันเลิศและตถตาอันบริสุทธิ์นี้เป็นตัวตนแห่งพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าย่อมได้ความไม่มีตัวตนอันเลิศและตัวตนอันบริสุทธิ์ ในตถตาอันบริสุทธิ์นั้นด้วยอรรถแห่งสวภาวะ / ดังนั้น พระพุทธเจ้าบรรลุความมีตัวตนอันยิ่งใหญ่จากความที่มีตัวตนอันบริสุทธิ์ที่พระองค์ได้รับ ดังนี้แล ปรมาตมัน ย่อมตั้งมั่นในธาตุอันไม่มีอาสวะของพระพุทธเจ้า /

 

24     มีก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่ ความเป็นพุทธะถูกกล่าวถึงด้วยคำนั้น เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าและตถตาพึงทราบว่าเป็นปริศนาและมีนัยอันเป็นอัพยากฤต /

 

อรรถาธิบาย     เพราะเหตุนั้นเทียว ความเป็นพุทธะ ท่านจึงกล่าวว่า มีก็ไม่ใช่ / เพราะมีลักษณะเป็นอภาวะของบุคคลและธรรม และเพราะความเป็นตัวตนแห่งพระพุทธเจ้า / ท่านกล่าวว่า ไม่มีก็ไม่ใช่ เพราะมีลักษณะแห่งตถตา / ดังนั้น ปัญหาความมีและไม่มีแห่งพระพุทธเจ้าว่า พระตถาคตมีอยู่หลังจากตาย หรือไม่มีอยู่ดังนี้ เป็นต้น พึงรุ้ว่าเป็นปํญหาอันมีนัยเป็นอัพยกฤต /

 

25    การสงบแห่งการเผาไหม้ (มีอยู่) ในโลหะและ (ความสงบ) แห่งการเห็นมีอยู่ในความมืด ฉันใด ความมีอยู่และไม่มีอยู่ของพระพุทธเจ้าย่อมไม่ถูกแสดงในจิตและชฺญาน ฉันนั้น /

 

อรรถาธิบาย     เช่นเดียวกับความสงบแห่งการเผาไหม้มีอยู่ในโลหะและความสงบแห่งการเห็นมีอยู่ในความมืด ความสงบแห่งความมีอยู่ก็มีอยู่ เพราะลักษณะแห่งความไม่มีอยู่แห่งการเผาไหม้และความมืด / ความไม่มีอยู่ก็ไม่ใช่ เพราะความมีอยู่ด้วยลักษณะแห่งความสงบ / ความสงบแห่งราคะและอวิทยาอันเป็นสถานที่แห่งการเผาไหม้และความมืดบอดในจิตและชญานแห่งพระพุทธเจ้าอย่างนี้ ถูกแสดงว่าเป็นที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยปัญญาวิมุตติและจิตวิมุตติ เพราะเหตุนั้น จึงมีอยู่ด้วยลักษณะแห่งวิมุตตินั้นนั้น /

 

26     ในธาตุอันไม่มีมลทิน ไม่มีความเป็นหนึ่งและความหลากหลายแห่งพระพุทธเจ้าเพราะความไม่มีร่างกายเหมือนอากาศ เพราะเป็นไปตามร่างกายอันมีในกาลก่อน /

 

อรรถาธิบาย     ความเป็นหนึ่งไม่มีในธาตุอันไม่มีอาสวะของพระพุทธเจ้า ด้วยการคิดตามร่างกายอันมีในกาลก่อน / ไม่มีความหลากหลาย เพราะความไม่มีแห่งร่างกายเหมือนอากาศ /

 

27     โพธิ อันมีอุปมาด้วยแร่รัตนะ (รัตนากร) ในพุทธธรรมมีพละเป็นต้น ในการได้รับผลแห่งกุศลของชาวโลกความคิดถึงมีเมฆใหญ่เป็นอุปมา /

 

28     เพราะความเป็นสิ่งบริบูรณ์ด้วยบุญและชญาน จึงเป็นสิ่งมีพระจันทร์เต็มดวงเป็นอุปมาและเพราะทำแสงสว่างคือความรู้จึงมีดวงอาทิตย์ใหญ่เป็นอุปมา /

 

อรรถาธิบาย     ในโศลกทั้ง 2 นี้ ในความมีรัตนากรและเมฆเป็นอุปมาและในความมีพระจันทร์เพ็ญและพระอาทิตย์ใหญ่เป็นอุปมา โศลกทั้ง 2 มีความหมายอันถึงแล้ว /

 

29     รัศมีอันไม่มีประมาณเป็นสิ่งที่รวมอยู่ในมณฑลแห่งพระอาทิตย์ กิจอันพึงทำอันเป็นหนึ่งย่อมเป็นไปตลอดเวลาและยังชาวโลกให้มองเห็น /

 

30     ในธาตุอันไม่มีอาสวะ มีความไม่มีประมาณแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายในกิจอันพึงกระทำ ความที่กิจอันพึงทำเป็นหนึ่งและการยังความรุ้ให้เป็นสิ่งที่มองเห็นได้ /

 

อรรถาธิบาย     ด้วยโศลกที่ 1 ท่านแสดงความเป็นสาธารณแห่งกรรม โดยการอุปมารัศมีอันผสมกันแห่งกิจที่พึงทำเพียง 1 / ความเป็นหนึ่งแห่งกิจอันพึงทำรัศมีทั้งหลาย พึงทราบว่าเพราะความเสมอกันแห่งการจำแนกและการสอน / โดยโศลกที่ 2 ในธาตุอันไม่มีอาสวะ ความเป็นกิจอันผสมกันในการกระทำอันเป็นการนิรวาณ เป็นต้น /

 

31     การปล่อยรัศมีทั้งหมดมีเพราะการปล่อยรัศมีหนึ่งฉันใด การปล่อยออกซึ่งความรู้อันพึงรู้ของพระพุทธเจ้าเป็นเพียงดัง พระอาทิตย์ฉันนั้น

 

อรรถาธิบาย     ท่านแสดงความเป็นไปแห่งความรู้ในกาลเดียวแห่งพระพุทธเจ้า ด้วยการปล่อยรัศมีทั้งปวงในกาลเดียว /

 

32     ความเห็นว่าเป็นของเราไม่มีในความเป็นไปแห่งรัศมีของพระอาทิตย์ฉันใด นั่นเที่ยว ความเห็นว่าเป็นของเราก็ไม่มีในความเป็นไปแห่งความรู้ของพระพุทธเจ้าฉันนั้นเหมือนกัน /

 

33     โลกสว่างด้วยรัศมีที่พระอาทิตย์ปล่อยออกมาฉันใด สิ่งอันพึงรู้ทั้งปวงย่อมมีแสงสว่างด้วยความรู้แห่งพระพุทธเจ้าฉันนั้น /

 

อรรถาธิบาย     ในความมีอยู่แห่งความเป็นของเรา โลก (มีอยู่) ด้วยแสงสว่างแห่งความรู้ / โศลกทั้ง 2 มีความหมายที่ถึงแล้วตามลำดับ /

 

34     เครื่องปกปิดมีเมฆเป็นต้น ของรัศมีแห่งพระอาทิตย์เป็นสิ่งที่ถูกรู้แล้ว ฉันใด ความวิปริตอันถูกประทุษร้ายแล้วของสัตว์ ก็เป็นเครื่องปกปิดแห่งความรู้ของพระพุทธเจ้าฉันนั้นเหมือนกัน /

 

อรรถาธิบาย     เครื่องปกปิดมีเมฆเป็นต้นแห่งรัศมี ด้วยแสงสว่างฉันใด / เครื่องปกปิดแห่งความรู้ของพระพุทธเจ้าอันไม่เป็นเครื่องรองรับแก่สัตว์ทั้งหลาย ถูกประทุษร้ายเพราะความแห้งผาก 5 ประการ

 

35     ความวิจิตรและไม่วิจิตรของสีในเสื้อผ้าจากอำนาจแห่งฝุ่น ฉันใด ความวิจิตรและไม่วิจิตรแห่งความรู้ในความหลุดพ้นจากอำนาจแห่งการยืนออกมาฉันนั้น /

 

อรรถาธิบาย     ความวิจิตรและไม่วิจิตรด้วยสีต่างๆ ในเสื้อผ้าด้วยอำนาจแห่งฝุ่นฉันใด / ความวิจิตรแห่งความรู้ในความหลุดพ้นของพระพุทธเจ้า ย่อมมีเพราะมีปณิธานในกาลก่อน จริยาและการใคร่ครวญแห่งพละ / ความไม่วิจิตรย่อมมีในความหลุดพ้นแห่งสาวกและปัจเจกพุทธะ /

 

36     ความลึกซึ้งอันบุคคลกล่าวถึงนั้นของพระพุทธเจ้าในธาตุอันไม่มีมลทินและในลักษณะสถานที่และกรรม เป็นต้น ช่นกับภาพวาดในอากาศด้วยสีทั้งหลาย /

 

อรรถาธิบาย     ความลึกซึ้ง 3 ประการของพระพุทธเจ้าในธาตุอันไม่มีอาสวะท่านกล่าวไว้แล้ว /ความลึกซึ้งแห่งลักษณะด้วยโศลกทั้ง 4 / ความลึกซึ้งแห่งสถานที่ด้วยโศลกที่ 5 เพราะความตั้งมั่นแห่งความไม่เป็น 1 ตามลำดับ / ความลึกซึ้งแห่งกรรมด้วยโศลก 10 โศลก / อีกประการหนึ่ง ความลึกซึ้งแห่งลักษณะ ท่านกล่าวปรารภลักษณะบริสุทธิ์ ลักษณะปรมาตมัน ลักษณะ ไม่มีคำสอน ลักษณะวิมุตติ / ความลึกซึ้งแห่งกรรม ท่านกล่าวปรารภ กรรมคือพื้นฐานแห่งรัตนะ มีโพธิปักขิยธรรม เป็นต้น กรรมคือความสุกงอมแห่งสัตว์ กรรมคือการถึงความวางใจ กรรมคือธรรมเทศนา กรรมคือกฤตยาคมมีนิรมาณเป็นต้น กรรมคือการหมุนไปแห่งความรู้ กรรมคือการหมุนออกแห่งความรู้ กรรมคือความวิเศษแห่งความรู้อันไม่เสมอด้วยวิมุตติ / เทศนาแห่งประเภทของความลึกซึ้งในธาตุอันไม่มีอาสวะนี้นั้น เป็นเหมือนกับภาพวาดในอากาศด้วยสีทั้งหลาย อุปมาด้วยอากาศเพราะไม่มีความเนิ่นช้า อันบัณฑิตพึงทราบ /

 

37     ตถตาแม้ไม่เจาะจงเพื่อสัตว์ทั้งปวง ก็ยังถึงความบริสุทธิ์อันเป็นความเป็นตถาคต ดังนั้น จึงเป็นครรภ์แห่งความเป็นตถาคตนั้น และของสัตว์ผู้มีร่างกายทั้งปวง

 

อรรถาธิบาย     ตถตาอันไม่เจาะจงแก่สัตว์ทั้งปวง เป็นสภาวะอันบริสุทธิ์แห่งตถตานั้นและเป็นตถาคต / ดังนั้น สัตว์ทั้งปวง ท่านจึงกล่าวว่าเป็นครรภ์แห่งตถาคต

 

โศลกว่าด้วยการจำแนกความเป็นใหญ่ 11 โศลก /

 

38     อันความเป็นใหญ่แห่งสาวกครอบงำสัตว์โลก (โลกิยสัตว์) และใจแห่งพระปัจเจกพุทธเจ้าครอบงำสาวก /

 

39     บุคคลย่อมไม่ไปถึงซึ่งศิลปะแห่งความเป็นใหญ่ของพระโพธิสัตว์ บุคคลย่อมไม่ไปถึงซึ่งศิลปะนั้นแห่งความเป็นใหญ่ของพระตถาคต /

 

อรรถาธิบาย     ในโศลกทั้ง 2 นี้ ท่านแสดงความเป็นใหญ่แห่งพระพุทธเจ้าด้วยความวิเศษแห่งอำนาจและความก้าวหน้าทั้ง 2 ประการ /

 

40     ความเป็นใหญ่อันเป็นของพระพุทธเจ้า ไม่มีประมาณอันบุคคลไม่พึงคิด ย่อมเป็นไปเหนือบุคคล สถานที่ สภาวะ คุณภาพ และกาลเวลา /

 

อรรถาธิบาย     ด้วยโศลกที่3 นี้ ท่านกล่าวแล้วว่า ไม่มีประมาณอย่างไร หรือไม่พึงคิดอย่างไร ดังนี้ ความวิเศษแห่งความลึกซึ้งประเภทต่างๆ /เพื่อประโยชน์แก่บุคคลใด ในโลกธาตุใด ด้วยประกอบอันเช่นนั้นอย่างไร เล็กหรือใหญ่เพียงใด ในกาลใด ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งเหล่านั้น /

 

โดยโศลกที่เหลือ ท่านแสดงความแตกต่างแห่งความเป็นใหญ่ด้วยความแตกต่างแห่งความเป็นไปของใจ /

 

41     บุคคลย่อมได้ซึ่งความเป็นใหญ่อันยอดเยี่ยมในการหมุนไปแห่งอินทรีย์ 5 ในความเป็นไปแห่งอรรถทั้งปวงของสัตว์ทั้งปวง ในการเกิดขึ้นแห่งคุณธรรม 112 ประการ /

 

อรรถาธิบาย     ในการหมุนไปแห่งอินทรีย์ 5 บุคคลย่อมได้ความเป็นใหญ่ 2 ประการ อันยอดเยี่ยม / ในความเป็นไปแห่งอรรถ 5 ประการทั้งปวงของอินทรีย์ 5 ทั้งปวง / ในการอุบัติแห่งคุณ 112 ประการ /

 

42     บุคคลย่อมได้ความยิ่งใหญ่อันยอดเยี่ยมในการหมุนไปแห่งใจในความรู้อันไม่มีความแตกต่างและปราศจากมลทินด้วยดี อันตามความยิ่งใหญ่ /

 

อรรถาธิบาย     ในการหมุนไปแห่งใจ บุคคลย่อมได้ความเป็นใหญ่อันยอดเยี่ยมในความรู้อันเที่ยวไปตามความยิ่งใหญ่ ไม่มีความแตกต่าง บริสุทธิ์ด้วยดี / ความรู้อันยิ่งใหญ่ทั้งปวงย่อมเป็นไปกับด้วยสิ่งใด /

 

43     บุคคลย่อมได้ความยิ่งใหญ่อันยอดเยี่ยม ในการหมุนไปแห่งอรรถและการยึดถือ เพื่อการแสดงพร้อมซึ่งโภคะตามลำดับในความบริสุทธิ์แห่งเขตแดน /

 

 อรรถาธิบาย     บุคคลย่อมได้ความเป็นใหญ่อันบริสุทธิ์ด้วยเขตแดน อันยอดเยี่ยมในการหมุนไปแห่งอรรถและในการหมุนไปแห่งการยึดถือ ย่อมกระทำการแสดงพร้อมตามลำดับโดยสิ่งใด /

 

44     บุคคลย่อมได้ความเป็นใหญ่ในการหมุนไปแห่งความแตกต่างอันยอดเยี่ยมกว่าความรู้และกรรมทั้งปวงตลอดกาลทุกเมื่อ ซึ่งไม่มีการพิฆาต (ไม่มีการโต้แย้ง)

 

อรรถาธิบาย     บุคคลย่อมได้ความยิ่งใหญ่อันยอดเยี่ยมกว่าความรู้และกรรมทั้งปวงตลอดกาลทุกเมื่อซึ่งไม่มีการขัดแย้งกันในการหมุนไปแห่งความแตกต่าง /

 

45     บุคคลย่อมได้ความเป็นใหญ่ยอดเยี่ยมในการหมุนไปแห่งการหยุดนิ่ง ซึ่งนิรวาณอันไม่มีการหยุดนิ่งในบทอันไม่มีอาสวะของพระพุทธเจ้า /

 

อรรถาธิบาย     บุคคลย่อมได้ความเป็นใหญ่อันยอดเยี่ยม คือ นิรวาณอันไม่เคลื่อนไหวในการหมุนไปแห่งการหมุนไปแห่งการหยุดนิ่งอยู่

 

ในธาตุอันไม่มีอาสวะของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย /

 

46     บุคคลย่อมได้ความเป็นใหญ่อันยอดเยี่ยมในการหมุนไปแห่งเมถุน ในวิหารอันเป็นสุขของพระพุทธเจ้า ในการเห็นความไม่มีกิเลสของภรรยา /

 

อรรถาธิบาย     (บุคคลย่อได้ความเป็นใหญ่) ในการหมุนไปแห่งเมถุนในวิหารอันเป็นสุขของพระพุทธเจ้าและในการเห็รตามไม่มีกิเลสของภรรยาทั้ง 2 ประการ /

 

47     บุคคลย่อมได้ความเป็นใหญ่อันยอดเยี่ยมในความหมุนไปแห่งความไม่รู้ได้ของอากาศ(อากาศอันไม่มีที่สิ้นสุด) ในความสัมฤทธิ์แห่งอรรถแห่งความคิดและในความเจริญขึ้นแห่งคติและรูป /

 

อรรถาธิบาย     ในความหมุนไปแห่งความไม่รู้ได้ของอากาศ(บุคคลย่อมได้ความยิ่งใหญ่) ในความสัมฤทธิ์แห่งอรรถแห่งความคิด 2 ประการนั่นเทียว ครรภ์แห่งท้องฟ้าย่อมมีโดยสิ่งใด / ในความเจริญขึ้นแห่งคติและรูป เพราะไปตามความปรารถนาและเพราะกระทำอำนาจแห่งความหวัง /

 

48     ความเป็นใหญ่อันไม่มีประมาณในการหมุนไปอันไม่มีประมาณนี้ ตั้งมั่นในการงานอันไม่พึงคิด ในพื้นฐานอันไม่มีมลทินของพระพุทธเจ้า โดยประการฉะนี้ /

 

อรรถาธิบาย     การหมุนไป อันเป็นใหญ่ อันไม่มีประมาณนี้ ด้วยประการนี้แล / และในที่นี้ พึงทราบว่า ความเป็นใหญ่อันไม่มีประมาณ เป้นสิ่งไม่พึงคิด เป็นที่ตั้งมั่นแห่งการงานในธาตุอันไม่มีอาสวะของพระพุทธเจ้า /

 

โศลกว่าด้วยความเป็นนิมิตแห่งการสุกงอมของสัตว์ของพระพุทธเจ้านั้น 7 โศลก

 

49     โลกอันเจริญในความดีงามย่อมถึงความเป็นปรมะในความบริสุทธิ์ด้วยดี และไม่มีจุดเริ่มต้นในความดีงาม ย่อมถึงความเป็นปรมะในความบริสุทธิ์แห่งความดีงาม โลกย่อมถึงทิศทั้งหลายอย่างนี้ ด้วยการเฝ้ามองด้วยดีของพระชินเจ้า บุคคลผู้สุกงอมหรือไม่สุกงอมย่อมถึงความเป็นปรมะอันไม่มีส่วนเหลือและแน่แท้ /

 

อรรถาธิบาย     ท่านแสดงนิมิตแห่งการแก่รอบอันเช่นนั้นด้วยโศลกนี้ / ในวิมุตติแห่งกุศลมูลอันบุคคลสั่งสมแล้ว และในการสั่งสมกุศลมูลแห่งกุศลมูลอันสั่งสมแล้วด้วยความเป็นปรมะ / บุคคลผู้ยังไม่สุกงอมย่อมถึงความสุกงอมอันยอดเยี่ยมในความเจริญแห่งความดีงาม บุคคลผู้สุกงอมแล้ว ย่อมถึงความยอดเยี่ยมในความบริสุทธิ์ด้วยดี / ย่อมถึงตลอดกาลเป็นนิตย์อย่างนี้อันไม่มีเศษ เพราะความที่โลกไม่มีที่สิ้นสุด /

 

50     บุคคลผู้เป็นปราชญ์ กระทำแล้วซึ่งจริยาในทิศทั้งหลายตลอดเวลา ทุกยาม ย่อมได้รับมหาโพธิอันได้โดยยาก อันเต็มไปด้วยความอัศจรรย์เพราะการประกอบคุณอันยอดเยี่ยมอันเป็นนิตย์อันแน่แท้ อันเป็นสรณะแห่งผู้ไม่มีสรณะ อันเป็นสิ่งน่าอัศจรรย์ในโลก เราะจรณะอันมีประการต่างๆด้วยดี /

 

อรรถาธิบาย     โดยโศลกที่ 2 นี้ ความอัศจรรย์และไม่อัศจรรย์แห่งการแก่รอบของพระโพธิสัตว์ ผู้ควรแก่รอบ / ตลอดเวลาทุกเมื่อลักษณะเป็นทุกยาม ดังนี้ เป็นนิตย์ คือไม่มีช่องว่างและรูปหนทางและจรณะ โดยยิ่งคือจรณะอันมีวิธีที่ดี /

 

51     ในบางคราวบุคคลใดย่อมเห็นธรรมจักรด้วยร้อยแห่งใบหน้าจำนวนมาก ในบางคราวความยิ่งใหญ่แห่งการเกิด ในบางคราววงจรแห่งการเกิดอันวิจิตร ในบางคราวโพธิอันเป็นเดียวกันแม้ในบางคราวนิรวาณอันไม่ปรุงแต่งและไม่เคลื่อนไปจากสถานที่นั้น บุคคลนั้น ชื่อว่าย่อมกระทำสิ่งนั้นทั้งปวง /

 

อรรถาธิบาย     โดยโศลกที่ 3 นี้ ท่านแสดงความเป็นนิมิต โดยการประกอบอุบายแห่งความสุกงอมด้วยใบหน้าจำนวนมากเป็นคู่ๆ / ย่อมนำสัตว์ไปได้อย่างไรที่ใด / วงจรแห่งการเกิดอันวิจิตรดดยความแตกต่างกันของผู้เกิด / และไม่เคลื่อนจากสถานที่นั้นคือว่าธาตุอันไม่มีอาสวะ /

 

52     ความสุกงอมว่าเป็นของเรานี้ ย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้านั่นเทียว ดังนี้ อนึ่ง คนผู้มีร่างกาย(เทหี) ผู้อันพระองค์ไม่ยังให้สุกงอมได้และผู้อันพระองค์ไม่ยังให้สุกงอมในทันที ดังนี้ แต่ว่าเว้นซึ่งสังสการความสุกงอมย่อมเข้าถึงโดยการเกิดนั่นเทียว โดยธรรมอันงดงามในทิศทั้งหลายโดยรอบเป็นนิตย์ มีหน้า 3 หน้า /

 

อรรถาธิบาย     โศลกที่ 4 นี้ ท่านแสดงความเป็นนิมิตอันประกอบเข้ากับความสุกงอมนั้นด้วยการไม่มีสังสการะ / มีหน้า 3 หน้า คือว่า มียาน 3 ยาน /

 

53     พระอาทิตย์ส่องแสงไปในทิศทั้งหลายของสถานที่โดยรอบด้วยรัศมีอันกว้างขวางและหมดจด โดยไม่มีความพยายาม ฉันใด แม้พระอาทิตย์คือธรรมย่อมกระทำให้สัตว์สุกงอมในทิศทั้งหลายโดยรอบด้วยรัศมีแห่งธรรมอันมีประการต่างๆ ให้ถึงความสงบฉันนั้น /

 

อรรถาธิบาย     โดยโศลกที่ 5 นี้ ท่านแสดงตัวอย่างการแก่รอบโดยไม่มีสังสการ

 

54     การสั่งสมประทีปอันยิ่งใหญ่ด้วย ย่อมมีจากประทีปอันหนึ่ง อนึ่งประทีปนั้นอันไม่มีประมาณ อันไม่พึงนับยังไม่ถึงความสำเร็จอยู่อีก ฉันใด การสั่งสมความสุกงอมย่อมมีจากพระพุทธเจ้าผู้หนึ่ง อนึ่งการสุกงอมนั้นแม้ไม่มีประมาณ นับไม่ได้ก็ยังไม่ถึงความสำเร็จ ฉันนั้น เหมือนกัน /

 

อรรถาธิบาย     โดยโศลกที่ 6 นี้ การสุกงอม โดยประเพณี

 

55     เหมือนมหาสมุทรไม่ถึงความอิ่มด้วยน้ำหรือไม่ถึงความเจริญด้วยการเข้าไปแห่งน้ำอันสะอาดและมีพิษ ฉันใด ธาตุในความเป็นพุทธะย่อมไม่ถึงความอิ่มหรือความเจริญด้วยการเข้าไปสู่ความบริสุทธิ์อันไม่ขาดตอน นี้เป็นนความอัศจรรย์อันยอดเยี่ยมฉันนั้น เช่นกัน /

 

อรรถาธิบาย     โดยโศลกที่ 7 นี้ ซึ่งความอิ่มแห่งธรรมธาตุ ด้วยการเปรียบเทียบมหาสมุทร ในการเข้าถึงวิมุตติแห่งสัตว์ผุ้สุกงอม เพราะมีสถานที่เพื่อการหลุดพ้นตลอดกาลทุกเมื่อ เพราะการกระทำยิ่งในฌาน /

 

โศลกว่าด้วยความบริสุทธิ์แห่งธรรมธาตุ 4 โศลก

 

56     ลักษณะอันบริสุทธิ์แห่งตถาคตของธรรมทั้งปวงอันมีเครื่องกั้น 2 ประการ ลักษณะแห่งความไม่รู้จักสิ้นแห่งอำนาจอันได้เฉพาะจากความรู้เกี่ยวกับวัตถุ /

 

อรรถาธิบาย     โศลก 1 โศลก ปรารภอรรถแห่งสวภาวะนี้ว่าลักษณะอันบริสุทธิ์แห่งตถตาของธรรมทั้งปวง เพราะความมีเครื่องกั้น 2 ประการ คือกิเลสและความรู้ / ลักษณะอันมีอำนาจไม่รู้จักสิ้นแห่งความรู้อันได้รับจากวัตถุ /

 

57     การเจริญขึ้นแห่งความรู้เกี่ยวกับตถตาเป็นการรวบรวมอย่างเต็มที่ การทรงไว้และการมีอยู่โดยประการทั้งปวงแห่งความเป็น 2 ของสรรพสัตว์ อันไม่รู้จักสิ้นไป เป็นผล /

 

อรรถาธิบาย     โศลกที่ 2 นี้ ปรารภ อรรถแห่งเหตุและอรรถแห่งผล / การภาวนาชญานแห่งตถตาโดยที่ทั้งปวง เป็นเหตุแห่งความบริสุทธิ์ของธรรมธาตุ / โดยที่ทั้งปวง คือ โดยหลักแห่งธรรมบรรยายทั้งปวง / การมีอยู่โดยประการทั้งปวงแห่งสรรพสัตว์คือการทรงไว้และการไม่รู้จักสิ้นไปแห่งความเกื้อกูลและสุขทั้ง 2 ประการ นี้คือ ผล /

 

58     ผู้มีอุบายวิธีและกรรมวิธีแห่งการประกอบเข้าซึ่งการนิรมาณทางกาย วาจา และจิต ผู้แวดล้อมอยู่ด้วยทวารแห่งสมาธิและการทรงไว้และความเป็น 2 อันไม่มีประมาณ /

 

อรรถาธิบาย     โศลกที่ 3 นี้ ปรารภอรรถแห่งกรรมและอรรถแห่งโยคะ / กรรม นิรมาณด้วยกายเป็นต้นมี 3 ประการ โยคะคือการมาตามพร้อมกับด้วยความเป็น 2 ด้วยความสำคัญแห่งสมาธิและการทรงไว้ และพร้อมกับด้วยการสะสมบุญและความรู้อันไม่มีประมาณ /

 

59     ความเป็นไปอันมีอย่างต่างๆ ในธรรมอันเป็นไปสวภาวะในสัมโภคะและนิรมาณะธรรมธาตุอันบริสุทธิ์นี้ ถูกยกเป็นตัวอย่างพร้อมแล้วแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย /

 

อรรถาธิบาย     โศลกที่ 4 นี้ปรารภ อรรถแห่งความเป็นไป / ความเป็นไปมีอย่างต่างๆด้วยความเป็นไปแห่งสวภาวกาย สัมโภคกายและนิรมาณกาย

 

โศลกว่าด้วยการจำแนกกายแห่งพุทธะ 7 โศลก

 

60     สวภาวกาย สัมโภคกาย นิรมาณกาย เป็นการจำแนกกายแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายแล แต่ว่ากายที่ 1 เป็นพื้นฐานแห่งการทั้ง 2 /

 

อรรถาธิบาย     กายของพระพุทธเจ้า มี 3 ประการ / สวภาวกาย คือธรรมกายอันเป็นลักษณะแห่งการหมุนไปของพื้นฐาน /สัมโภคกาย คือกายที่กระทำเสวยธรรมในหมู่บริษัท / นิรมาณกาย คือกายที่กระทำประโยชน์แก่สัตว์โดยการเนรมิต

 

61     ในธาตุทั้งหลายทั้งปวง สัมโภคกาย แตกต่างโดยการยึดถือของคณะ โดยพุทธเกษตร โดยชื่อ โดยกาย และโดยความปรารถนาในอันที่จะเสวยธรรม /

 

อรรถาธิบาย     ในที่นี้สัมโภคกาย แตกต่างกันโดยหมู่บริษัท พุทธเกษตร ชื่อสรีระ และกริยาเสวย ในโลกธาตุทั้งปวง /

 

62     สวภาวะกาย เป็นกายเสมอกัน ละเอียด เป็นกายที่ฝังอยู่ในสภาวะกายนั้น เหตุแห่งความเป็นใหญ่แห่งการเสวย ย่อมมีในการแสดงการเสวยธรรมตามความปรารถนา

 

อรรถาธิบาย     สวภาวะกาย ของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งเสมอกัน โดยไม่มีความพิเศษ ละเอียด เพราะรู้ได้ยาก เหตุอันสัมพันธ์กับสัมโภคกายนั้น เพราะความเป็นใหญ่ในการเสวยธรรมและเพราะการแสดงการเสวยธรรม ตามความปรารถนา /

 

63     การเปลี่ยนแปลงแห่งพระพุทธเจ้าอันไม่มีประมาณเป็นที่ทราบกันว่าคือนิรมาณกาย ความถึงพร้อมแห่งอรรถทั้ง 2 ประการ จากสิ่งเหล่านั้นทั้ง 2 ประการ อาการทั้งปวงนั้นตั้งมั่นแล้ว /

 

อรรถาธิบาย     นิรมาณกายของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือการเปลี่ยนแปลงของพระพุทธเจ้าอันไม่มีความประเภทอันไม่มีประมาณ สัมโภคกายเป็นลักษณะแห่งความถึงพร้อมแห่งอรรถเพื่อตนเอง / นิรมาณกายเป็นลักษณะแห่งความถึงพร้อมแห่งอรรถเพื่อคนอื่น ดังนั้นความถึงพร้อมแห่งอรรถทั้ง 2 ตั้งมั่นในกายทั้ง 2 ตามลำดาบ คือสัมโภคกาย และนิรมาณกาย

 

64     นิรมาณกายของพระพุทธเจ้านี้มีการเปิดเผลด้วยศิลปะการเปิดมหาโพธิ นิรวาณ และทรรศนะตลอดเวลา เป็นอุบายอันใหญ่เพื่อการหลุดพ้น /

 

อรรถาธิบาย     และ นิรมาณกายนั้น พึงทราบว่าเป็นประโยชน์แก้วนัยแห่งศิลปะมีการบรรเลงพิณ เป็นต้น / การเกิดอภิสัมโพธิ นิรวาณ และความมีอุบายอันใหญ่ในการแก้ทรรศนะทั้งหลาย พึงทราบว่าเป็นลักษณะแห่งความถึงพร้อมด้วยอรรถเพื่อผุ้อื่น

 

65     การสงเคราะห์กายแห่งพระพุทธเจ้าพึงทราบด้วยกายทั้ง 3 ประการ ท่านแสดงกาย 3 ประการนั้นคือ กายอันเป็นพื้นฐาน กายอันเป็นประโยชน์แก่บุคคลอื่น เพราะความี่กายทั้ง 2 นั้นมีอำนาจด้วยอรรถเพื่อตนเองและผุ้อื่น เพราะเป็นพื้นฐานแห่งกายทั้ง 2 นั้นเหมือนดางที่ได้กล่าวไว้ในเบื้องต้น /

 

66     กายทั้ง 3 นี้พึงทราบว่าเป็นสิ่งเสมอกัน โดยพื้นฐาน โดยการอาศัย และโดยกรรม มีความเที่ยแท้ โดยปรติ โดยความแยกไม่ได้ และโดยความสัมพันธ์

 

อรรถาธิบาย     กายทั้ง 3 ของพระพุทธเจ้านั้น ไม่มีความแตกต่างโดย 3 ประการ โดยพื้นฐานเพราะความที่ธรรมธาตุ ไม่แตกต่าง โดยการอาศัยเพราะความไม่มีแห่งความอาศัยแห่งพระพุทธเจ้าเป็นแผนกๆ / และโดยกรรม เพราะกระทำกรรมเพื่อสาธารณะ /ในกายทั้ง 3 เหล่านี้พึงทราบว่ามีความเที่ยงแท้โดย 3 ประการ ตามลำดับ เหมือนที่กล่าวว่าพระตถาคตมีกายอันเที่ยงแท้ / ความเที่ยงแท้โดยปกติแห่งสววิกกาย เพราะความเที่ยงแท้แห่งภาวะของตน / ความเที่ยงแท้โดยความแยกไม่ได้แห่งสัมโภคกาย เพราะไม่มีการขัดแย้งในการเสวยธรรม / ความเที่ยงแท้โดยการสัมพันธ์แห่งนิรมาณกาย เพราะเมื่อหายไปแล้ว แสดงการนิรมาณครั้งแล้วครั้งเล่า

 

โศลกแสดงการจำแนกความรู้แห่งพระพุทธเจ้า 10 โศลก

 

67     ความรู้คือเครื่องส่อง อันไม่เคลื่อนไหว ความรู้ 3 ประการ มีความรู้คือเครื่องส่องนั้น เป็นพื้นฐาน มีความเสมอกันโดยความคิด โดยความสำเร็จและโดยการกระทำ

 

อรรถาธิบาย     ความรู้ของพระพุทธเจ้ามี 4 ประการ ความรู้คือเครื่องส่อง ความรู้คือความเสมอ ความรู้คือความคิด ความรู้คือความสำเร็จด และการกระทำ / ความรู้คือเครื่องส่องอันไม่เคลื่อนไหวเป็นพื้นฐานของความรู้ 3 ประการอันเคลื่อนไหว /

 

68     ความรู้คือเครื่องส่องอันไม่มี "ของเรา" ไม่มีกำหนด ดำเนินไปตลอดเวลาไม่มีความหลงในสิ่งที่รู้ได้ทั้งปวงและไม่มีรูปร่าง /

 

อรรถาธิบาย     ความรู้คือเครื่องส่องอันไม่มี "ของเรา" ไม่มีกำหนด โดยพื้นที่ดำเนินไปตลอดเวลา โดยกาลเวลา / ไม่หลงในสิ่งที่รู้ได้ทั้งปวง เพราะไม่มีอุปสรรค ไม่มีรูปร่างเพราะความไม่มีอาการในความรู้ทั้งหลายเหล่านั้น /

 

69     อุปมากับด้วยบ่อเกิดแห่งความรู้ใหญ่ เพราะเป็นนิมิตแห่งความรู้ทั้งปวง มีความเสวยธรรมแห่งพระพุทธเจ้า เพราะเกิดขึ้นแห่งการสะท้อนกลับแห่งความรู้ /

 

อรรถาธิบาย     อุปมากับด้วยบ่อเกิดแห่งความรู้ทั้งปวง เพราะเป็นธาตุแห่งความรู้มีความเป็นสิ่งเสมอกัน เป็นต้น / เพราะการเกิดขึ้นแห่งการสะท้อนกลับแห่งความรู้โดยมีความเสวยธรรมแห่งพระพุทธเจ้า เหมือนดังที่ท่านกล่าวว่าเป็นความรู้คือเครื่องส่อง /

 

70    ความรู้คือความเสมอกันในสัตว์ทั้งหลาย อันไม่มีมลทิน เพราะความบริสุทธิ์ด้วยการเจริญภาวนา อันถึงความสงบอันไม่ตั้งมั่น ที่ถูกรู้ว่าเป็นความรู้คือความเสมอกัน

 

อรรถาธิบาย     ความรู้คือความเสมอกัน ในกาลเป็นที่บรรลุธรรมอันพระโพธิสัตว์ได้เฉพาะแล้ว เพราะเหตุใด ความรู้คือความเสมอกัน อันเข้าไปในนิรวาณอันไม่ตั้งมั่นแห่งพระโพธิสัตว์ เพราะความบริสุทธิ์ด้วยการเจริญภาวนา ท่านจึงเรียกด้วยเหตุนั้น

 

71     ความรู้อันดำเนิน ไปตลอดกาลทั้งในไมตรีและกรุณาอันยิ่งใหญ่อันเป็นที่รู้ เพื่อสัตว์ทั้งหลาย ที่ตนถึงโมกษะแล้วอย่างไร อันแสดงรูปแห่งพระพุทธเจ้า

 

อรรถาธิบาย     อันดำเนินไปตลอดกาลทั้งปวงด้วยมหาไมตรีและกรุณา และอันตนถึงโมกษะแล้วอย่างไร ซึ่งแสดงรูปแห่งพระพุทธเจ้าแก่สัตว์ทั้งหลายสัตว์บางพวกย่อมมองเห็นพระตถาคตว่ามีสีเหลือง บางพวกว่ามีสีน้ำเงิน ดังนี้เป็นต้น

 

72     ความรู้คือความคิดอันสืบเนื่องในความรู้ตลอดเวลา และอันอุปมาด้วยอารมณ์อันต่อเนื่องในการทรงไว้และสมาธิ

 

73     ในมณฑลแห่งบริษัท เป็นเครื่องแสดงความยิ่งใหญ่ทั้งปวงตัดเสียซึ่งความสงสัย หลั่งสายฝนคือมหาธรรม

 

ความรู้คือความคิด โศลกอันกล่าวแล้วอย่างไร

 

74     ความรู้คือความสำเร็จแห่งกรรม ในธาตุทั้งปวงด้วยการนิรมาณอันไม่มีประมาณและอันคิดถึงและอันเกิดถึงไม่ได้อย่างวิจิตร เป็นบ่อเกิดแห่งอรรถเพื่อสรรพสัตว์

 

อรรถาธิบาย     ความรู้คือความสำเร็จแห่งกรรมในโลกธาตุทั้งปวงอันเป็นบ่อเกิดแห่งประโยชน์เพื่อสรรพสัตว์ ด้วยการนิรมาณอันไม่มีประมาณมีประการต่างๆ และอันคิดถึงไม่ได้ /

 

75     โดยความสำเร็จแห่งกรรม ความแตกต่าง จำนวนและเกษตรในกาลทั้งปวง ในที่ทั้งปวง การนิรมาณแห่งพระพุทธเจ้าอันคิดไม่ได้อันบุคคลพึงรู้

 

อรรถาธิบาย     การนิรมาณแห่งพระพุทธเจ้า พึงทราบว่าคิดไม่ได้ในกาลทั้งปวงและในที่ทั้งปวง / โดยประเภทแห่งกรรมกริยา โดยจำนวนและโดยเกษตร /

 

76     การเกิดขึ้นพร้อมแห่งความรู้ 4 ประเภท คือ โดยการทรงไว้โดยความมีจิตเสมอ โดยประการธรรมโดยชอบ และโดยความสำเร็จแห่งกรรม

 

อรรถาธิบาย     โดยการทรงไว้ซึ่งธรรมอันได้ฟังแล้ว / ความมีจิตเสมอเพราะมีความเสมอในบุคคลอื่นด้วยตนเอง ในสรรพสัตว์ / อรรถส่วนที่เหลือ อธิบายแล้ว /

 

77     ความที่แห่งพระพุทธเจ้าเป็นหนึ่งเดียว เป็นจำนวนมากย่อมไม่มี เพราะ ไม่มีความแตกต่างแห่งโคตร ไม่มีจุดมุ่งหมาย ไม่มีแม้ความรวมกัน ในพื้นฐานอันไม่มีมลทิน เพราะ ไม่มีความแตกต่าง

 

อรรถาธิบาย     คำว่า พระพุทธเจ้าเพียงหนึ่ง ดังนี้นั้น ไม่ถูกต้อง / เพราะเหตุไร / เพราะความแตกต่างแห่งโคตร / เพราะว่า สัตว์ทั้งหลาย มีโคตรแห่งพุทธะ ไม่มีสิ้นสุด /ในที่นี้บุคคลผู้เดียวเท่านั้นเป็นอภิสัมพุทธะ บุคคลอื่นไม่บรรลุได้ ดังนี้ / นี้เพราะเหตุไร จุดหมายในการสะสมบุญ และความรู้พึงมี และจุดมุ่งหมายที่พระโพธิสัตว์เหล่าอื่นไม่ประกอบเพราะอภิสัมโพธิ / เพราะเหตุนั้น เพียงหนึ่งเดียว ไม่มี เพราะการไม่มีจุดมุ่งหมายและการรวมกันเพื่อการกระทำอรรถเพื่อบุคคลอื่นที่ไม่พึงมี / การไม่แต่งตั้งบุคคลไรๆ โดยพระพุทธเจ้าไว้ในความเป็นพุทธะนี้ย่อมไม่สมควร / อาทิพุทธะ ไรๆ ย่อมไม่มีเว้นจากการประกอบความเป็นพุทธะ โดยการสั่งสมและการสั่งสมโดยพุทธะอื่นเพราะการประกอบ เพราะความไม่มีอาทิพุทธ ความเป็นหนึ่งในพุทธะ ไม่สมควร / ความมีจำนวนมากแห่งพุทธไม่ถูกต้อง เพราะไม่มีความแตกต่างแห่งธรรมกาย ในธาตุอันไม่มีอาสวะ /

 

โศลกว่าด้วยการเข้าถึงหนทางแห่งความเป็นพุทธ โศลก

 

78     สิ่งใดไม่มีอยู่ สิ่งนั้นแลมีอยู่อย่างยอดเยี่ยม และสิ่งใดเป็นสิ่งรู้ไม่ได้ในที่ทั้งปวง สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่รู้ได้ อันพึงอยู่อย่างยอดเยี่ยม

 

อรรถาธิบาย     สิ่งใดไม่มีอยู่โดยสวภาวะอันเป็นปริกัลปิตะ สิ่งนั้นแลมีอยู่อย่างยอดเยี่ยม โดยสวภาวะอันเป็นปรินิษปันนะ และสิ่งใด เป็นสิ่งที่รู้ไม่ได้ในที่ทั้งปวงซึ่งสวภาวะอันเป็น ปริกัลปิตะ สิ่งนั้นแล เป็นสิ่งที่สามารถรู้ซึ่งสภาวะอันเป็นปรินิชปันนะ

 

79     ภาวนาอันยอดเยี่ยม มีแก่บุคคลผู้ไม่รู้จักภาวนา และการฟื้นตัวอันยอดเยี่ยม มีแก่บุคคลผุ้ไม่รู้จักการฟื้นตัว

 

อรรถาธิบาย     บุคคลใดไม่มีความรู้เกี่ยวกับภาวนา ภาวนานั้นแลเป็นสิ่งยอดเยี่ยม / บุคคลใดไม่รู้จักการฟื้นตัว การฟื้นตัวนั้นแลเป็นสิ่งยอดเยี่ยม /

 

80     พระโพธิสัตว์ ผู้เห็นความยิ่งใหญ่ อันเป็นนิมิตตลอดกาลนาน เป็นผู้มีในอันกล้าหาญ โพธิย่อมีแก่พระโพธิสัตว์ผู้นอบน้อมในที่ไกล

 

อรรถาธิบาย     พระโพธิสัตว์เหล่าใด เห็นความเป็นพุทธอันยิ่งใหญ่อัพภูตธรรมอันพระโพธิสัตว์เหล่านั้นประกอบแล้ว / และเห็นอยู่ตลอดกาลนานยาว เพื่อความสำเร็จพร้อม / เห็นอยู่ซึ่งนิมิตอันเป็นอารมณ์แห่งจิต / และเป็นผู้มีใจอันกล้าหาญว่า พวกเรามีความเพียรอันปรารภแล้ว จักบรรลุซึงความเป็นพุทธเจ้า ดังนี้ โพธิมีในที่ไกล แก่พระโพธิสัตว์ ผู้นอบน้อมอย่างนั้น เหล่านั้น เพราะการยอมรับความจริง /

 

81     พระโพธิสัตว์ผู้เห็นสิ่งทั้งปวงนี้และการเกิดขึ้นว่าเป็นแต่เพียงจินตนาการ เป็นพระโพธิสัตว์ผุ้ไม่มีจินตนาการ โพธิอันบรรลุแล้วย่อมถูกกล่าว

 

อรรถาธิบาย     เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นเห็นว่า สิ่งทั้งปวงนี้ เป็นแต่เพียงจินตนาการ แม้แต่สิ่งที่เป็นเพียงจินตนาการ แม้แต่สิ่งที่เป็นเพียงจินตนาการว่าอยู่เหนือการสร้างของจิต เป็นผู้เข้าถึงความสงบ และธรรมอันปราศจากการปรุงแต่ง อันท่านกล่าวว่า โพธิอันบรรลุแล้ว ดังนี้

 

82     แม่น้ำมีพื้นฐานอันแตกต่าง มีน้ำอันแตกต่าง มีน้ำน้อย มีการกระทำอันสำเร็จ โดยไม่แตกต่าง สัตว์ทั้งหลายอยู่ในกลุ่มน้อย มีน้ำเป็นที่อาศัย ย่อมเป็นผู้ไม่เข้าสู่บาดาล

 

83     แต่เป็นผู้ไม่เข้าไปสู่มหาสมุทร มีพื้นฐานเดียว มีน้ำใหญ่อันเดียวเท่านั้น การกระทำรวมกันและเป็นหนึ่งเดียว มีกลุ่มอันใหญ่แห่งหมู่สัตว์ ผู้อาศัยอยู่ในน้ำเป็นนิตย์

 

84     ปราชญ์ทั้งหลาย มีพื้นฐานอันแตกต่าง มีความคิดอันแตกต่างมีปัญญาน้อยอันเป็นของตน มีการกระทำอันสำเร็จด้วยตนเอง ผู้เข้าไปเสพอรรถเพื่อสัตว์จำนวนน้อย ย่อมเป็นผู้เข้าไปสู่ความเป็น

 

85     แต่เมื่อเข้าไปสู่ความเป็นพระพุทธเจ้า ทั้งหมดต่างก็มีพื้นฐานเดียว มีปัญญาอันยิ่งใหญ่หนึ่งเดียว การงานรวมกันและเป็นหนึ่งเดียวมีการเสวยอันยิ่งใหญ่แห่งหมู่มหาสัตว์ตลอดเวลา

 

อรรถาธิบาย     แม่น้ำมีพื้นฐานอันแตกต่างกัน เพราะการแตกต่างแห่งการรองรับตนเอง/ มีการกระทำอันสำเร็จด้วยตนเอง เพราะการกระทำความสำเร็จนั้นโดยตนเอง / มีกลุ่มอันน้อยนั้นคือ มีการเข้าไปรวมกันกับกลุ่มเล็กน้อย / เนื้อความส่วนที่เหลืออธิบายแล้ว

 

โศลกว่าด้วยความอุตสาหะของพระพุทธเจ้า

 

86     ความคิดอันงดงาม เพราะการประกอบด้วยธรรมอันไม่มีอุปมาและขาว และเพราะเหตุแห่งประโยชน์สุขในพุทธภูมิ และเพราะความสุขอันงดงามและยอดเยี่ยม เพราะไม่กระทำความสิ้นไป ย่อมควรเพื่อการบรรลุถึงโพธิจิต

 

อรรถาธิบาย     ความถึงพร้อมด้วยประโยชน์ตนเพราะประกอบธรรมอันไม่มีอุปมาและขาว / ถึงพร้อมด้วยประโยชน์คนอื่น เพราะพระพุทธเจ้าเป็นเหตุแห่งประโยชน์สุข / เป็นผู้อยู่เป็นสุข เพราะเป็นที่เกิดแห่งความสุขอันทำลายไม่ได้ อันไม่รู้จักสิ้น มีชื่อและปราศจากความผิด / ผู้มีพุทธิควรเพื่อการถือเอาโพธิจิตอันไม่ต่ำทราม เพราะการถือครองปณิธานนั้น /

 

อธิการที่ 9 ว่าด้วยโพธิ ในมหายานสูตราลังการ จบ

 

อธิการที่ 10

 

 

อธิการที่ 10

 

โศลกว่าด้วยอธิมุกติ

 

 

อุทาน

 

1    การเริ่มต้น ความสำเร็จ ที่พึ่งโคตร และการเกิดขึ้นแห่งจิต ประโยชน์ตนและคนอื่น ประโยชน์แห่งความเป็นเช่นนั้น อำนาจ การสุกงอม และโพธิ/

 

อธิการว่าด้วยโพธิ ปรารภการเริ่มต้นแล้วนี้ กระจาดแห่งโพธิพึงมาตามโดยลำดับ

 

โศลกว้าวยการจำแนกลักษณะที่แตกต่างแห่งอธิมุกติ 2 โศลก

 

2      เกิดขึ้นแล้ว ยังไม่เกิดขึ้น ยึดถือได้ ยึดถือแล้ว เพื่อนช่วยเหลือ ตนเองช่วยเหลือ มีการหลอกลวง ไม่มีการหลอกลวง เผชิญหน้า ไม่ใช่การเผชิญหน้า มีเสียงดัง ค้นพบและปรารถนาได้ /

 

อรรถาธิบาย     เกิดขึ้นแล้ว คืออดีตและปัจจุบัน / ไม่เกิดขึ้นคืออนาคต / ยึดถือได้ คือมีตนอันยิ่ง ย่อมได้รับความสนับสนุน / ยึดถือแล้วคือ ยานภายนอก ย่อมบรรลุได้ด้วยการสนับสนุน / เพื่อนช่วยเหลือคือ ความเป็นคนหยาบ ตัวเองช่วยเหลือคือ ความเป็นคนละเอียดอ่อน / มีการหลอกลวง คือ อธิโมกษ์อันวิปริตและต่ำทราม / ไม่มีการหลอกลวงคือ ประณีต / เผชิญหน้าในที่ใกล้เพราะความสงบอันไม่ไปปราศแล้ว / ไม่ใช่การเผชิญหน้าในที่ไกลเพราะความวิปริต / มีเสียงดังคือ สำเร็จได้ด้วยการเจริญภาวนา เพราะเห็นได้ด้วยตนเอง

 

3      ความนุ่ม กระจัดกระจาย ไม่กระจัดกระจายด้วยสิ่งตรงกันข้าม ต่ำทราม ไม่ต่ำทราม มีอุปสรรค ไม่มีอุปสรรค สมควร ไม่สมควร สะสม ไม่สะสม การแท่งตลอดซึ่งพื้นฐานและอธิมุกติอันไม่ได้ไกล /

 

อรรถาธิบาย     ความนุ่ม คือ ความอ่อน / กระจัดกระจาย คือท่ามกลาง / ไม่กระจัดกระจาย คือ เพียงแต่เป็นสิ่งตรงข้ามกัน / ต่ำทราม คือยานอื่น / ไม่ต่ำทรามคือ มหายาน / มีอุปสรรค คือ มีเครื่องกันเพื่อการเข้าถึงอันวิเศษ / ไม่มีอุปสรรค คือไม่มีเครื่องกั้น / สมควร คือเพราะประกอบการกระทำอันต่อเนื่อง / ไม่สมควร คือ อยู่ตรงข้ามกับสมควรนั้น / สะสม คือ การประกอบในการบรรลุ / ไม่สะสม คือตรงข้ามกับสะสม / แทงตลอดพื้นฐาน คือเข้าไปสู่ภูมิ /ไปได้ไกล คือในภูมิทั้งหลายที่เข้าถึงแล้ว /

 

โศลกว่าด้วยอันตรายแห่งอธิมุกติ 3 โศลก

 

4       การไม่กระทำไว้ในใจอย่างมาก ความเกียจคร้าน การหลอกลวงในโยคะ เพื่อนเลวทราม ความอ่อนแอในความดีงามและการไม่กระทำในใจโดยแยบคาย /

 

อรรถาธิบาย     การไม่กระทำในใจอย่างมากเป็นอันตรายแห่งการเกิดขึ้น / ความเกียจคร้าน เป็นอันตรายแห่งการไม่เกิดขึ้น / การหลอกลวงในโยคะเป็นอันตรายแห่งการยึดถือได้ และการยึดถือแล้ว และเพราะการยึดถือมั่นอย่างนั้น / เพื่อนเลวทราม เป็นอันตรายแห่งการมีเพื่อนช่วยเหลือ เพราะการยึดถือที่เป็นสิ่งตรงข้าม / ความอ่อนแอในกุศลมูล เป็นอันตรายแห่งการมีคนช่วยเหลือเพื่ออธิมุกติ / การไม่มีโยนิโสมนสิการ เป็นอันตรายแก่การไม่หลอกลวง เพราะเป็นสิ่งตรงกันข้าม /

 

5       ความประมาท การฟังมาน้อย การคิดตามสิ่งที่ได้ฟัง ความสันโดษน้อย อภิมานะสักว่าสงบและชัยชนะอันหลอกลวง เป็นสิ่งที่รู้กันแล้ว /

 

อรรถาธิบาย      ความประมาทเป็นอันตรายแก่การเผชิญหน้า เพราะการกระทำความไม่ประมาทแห่งการเผชิญหน้านั้น / การฟังมาน้อยเป็นอันตรายแก่การมีเสียงดัง เพราะการไม่ฟัง พระสูตรอันมีอรรถอันตรง / การสันโดษตามสิ่งที่สักว่าแต่ได้ฟัง และการไม่สันโดษตามความคิดอันเล็กน้อยเป็นอันตรายแก่การค้นพบได้ 5 การสันโดษตามความคิดและอภิมานะสักว่าสงบ เป็นอันตรายแก่การปรารถนาได้ /  ชัยชนะอันหลอกลวงเป็นอันตรายแก่การกระจัดกระจายและไม่กระจัดกระจาย /

 

6       การไม่มีการสิ่งเสริม การส่งเสริม การมีอุปสรรค การไม่สมควร การไม่สั่งสม ความอันตรายแก่อธิมุกติ อันบุคคลพึงทราบ /

 

อรรถาธิบาย      การไม่มีการส่งเสริม เป็นอันตรายต่อยานอันต่ำทราม เพราะสังสาร / การส่งเสริมเป็นอันตรายแก่ยานอันไม่ต่ำทราม / การมีอุปสรรคเป็นอันตรายแก่การไม่มีอุปสรรค / ความเป็นการไม่สมควร เป็นอันตรายแก่การสมควร / การไม่สะสมเป็นอันตรายต่อการสะสม /

 

โศลกว่าด้วยการสรรเสริญอธิมุกติ 5 โศลก

 

7       บุญใหญ่ การไม่กระทำชั่ว โสมนัส สุขอันใหญ่ การไม่พินาศ ความตั้งมั่น การเคลื่อนไปอย่างวิเศษ /

 

8       การบรรลุธรรมและการเข้าถึงประโยชน์ตนและคนอื่นอันสูงสุด การได้อภิญญา โดยพลันเหล่านี้คือ การสรรเสริญอธิมุกติอันควรสรรเสริญ /

 

อรรถาธิบาย      บุญอันใหญ่ เป็นการสรรเสริญแก่การเกิดขึ้นในปัจจุบัน / การไม่ทำชั่วเป็นการสรรเสริญในอดีต เพราะไม่เดือดร้อน / โสมนัส เป็นการสรรเสริญแก่การยึดถือได้ และได้ยึดถือแล้ว เพราะการประกอบสมาธิ / การไม่พินาศ เป็นการสรรเสริญการยังกัลยาณมิตรใหเกิด / ความตั้งมั่น เป็นการสรรเสริญแก่การหลุดพ้น (อธิมุกติ) ด้วยตนเอง / การเข้าถึงอย่างวิเศษ เป็นการสรรเสริญแก่การไม่หลอดลวงการเผชิญหน้า และการยึดถือสิ่งที่ได้ฟังแล้ว จนกระทั่งถึงท่ามกลางการบรรลุธรรมเป็นการสรรเสริญแก่ความสักว่ามี / การบรรลุประโยชน์ตนเป็นการสรรเสริญแก่ยานอันต่ำทราม / การบรรลุประโยชน์คนอื่น เป็นการสรรเสริญแก่มหายานอันยอดเยี่ยม / การได้อภิญญาโดยพลัน เป็นการสรรเสริญแก่การไม่มีเครื่องกั้น การสมควรอันเป็นฝ่ายแห่งกุศล /

 

9       ในบุคคลผู้มีกาม เป็นเช่นกับด้วยสุนัข ในบุคคลผู้มีสมาธิเป็นเช่นกับเต่า ในบุคคลผู้ต้องการประโยชน์ตนเป็นเช่นกับด้วยผู้รับใช้ ในบุคคลผู้ต้องการด้วยประโยชน์ของคนอื่น เป็นเช่นกับด้วยพระราชา /

 

อรรถาธิบาย      เช่นกับสุนัขอันเป็นทุกข์ อยู่ในความหิวอันไม่น่ายินดี และความทรมาน เช่นกับเต่าที่มีขาอันกว้างในรู้คือน้ำนั้น /

 

เช่นกับคนรับใช้ย่อมเที่ยวไปพร้อมกับรูปเคารพ เป็นนิตย์ / เหมือนกับพระราชาผู้เป็นจักรพรรดิทรงอำนาจ ย่อมประทับอยู่ในวิสัยแห่งความเป็นราชา /

 

10     บุคคลผุ้ปรารถนากาม เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ตนและประโยชน์แก่ชนเหล่าอื่น เป็นผู้อันพึงรู้ได้โดยวิเศษ ด้วยวิธีต่างๆ และด้วยอธิมุกติอันสืบเนื่อง เมื่อรู้ว่าความยอดเยี่ยมในมหายาน อันมีอย่างต่างๆ นักปราชญ์ย่อมตกเป็นหนี้ในมหายานนั้น

 

อรรถาธิบาย      แม้ว่าอธิมุกติของบุคคลผู้มีความต้องการด้วยกาม เป็นเช่นกับด้วยสุนัข เป็นเช่นกับด้วยเต่า เพราะเข้าถึงสมาธิอันเป็นโลกียะ อุปมากับคนใช้เพราะเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง / เปรียบด้วยพระราชาเพราะเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่คนอื่น / เมื่อยังประโยชน์นั้นให้เกิดขึ้นอย่างนี้แล้วจึงให้บุคคลอื่นสมาทานอยู่ในอธิมุกติแห่งมหายาน /

 

โศลกว่าด้วยการปฏิเสธ การไม่ปรากฏแห่งอธิมุกติ

 

11     เมื่อสัตว์ทั้งหลายเป็นมนุษย์ ไม่มีประมาณบรรลุสัมโพธิอันรวดเร็วไม่พึงถึงกับซึ่งการทำลาย /

 

อรรถาธิบาย      การทำลายไม่สามควรด้วยเหตุ 3 ปะการ

 

เมื่อมนุษย์บรรลุโพธิ / ย่อมบรรลุเป็นนิตย์ ย่อมบรรลุไม่มีประมาณ /

 

โศลกว่าด้วยความวิเศษแห่งบุญเพื่ออธิมุกติ 2 โศลก

 

12     บุคคลย่อมเสพซึ่งบุญเหมือนกันให้โภชนะแก่บุคคลอื่น แต่ว่าเมื่อไปบริโภคด้วยตนเอง การเกิดขึ้นแห่งบุญย่อมไม่มี /

 

13     ดังในพระสูตรอันกล่าวแล้ว บุคคลย่อมได้ในเพราะการแสดงธรรมอันเป็นที่อาศัยและเพื่อประโยชน์ของคนอื่น แต่ว่าบุคคลย่อมไม่ได้ เพราะการแสดงธรรมอันเป็นที่อาศัยเพื่อประโยชน์ตนเอง /

 

อรรถาธิบาย      เมื่อบุคคลให้โภชนะแก่บุคคลอื่น บุญย่อมเกิดขึ้น เพราะการอนุเคราะห์คนอื่นฉันใด / ต่าเมื่อบริโภคด้วยตนเอง บุญย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะการอนุเคราะห์แก่ตนเอง /

 

การเกิดขึ้นแห่งบุญตามที่กล่าวในพระสูตรนั้นๆ บุคคลย่อมได้อย่างยิ่งใหญ่ เพราะมหายานธารรมอันแสดงแล้วอาศัยประโยชน์ของคนอื่นอย่างนี้ / แต่ย่อมไม่ได้ เพราะสาวกยานธรรมแสดงแล้วอาศัยประโยชน์ตน /

 

โศลกว่าด้วยการถือครองอธิมุกติ

 

14     เพราะฉะนั้น คนมีความคิดทำให้มหาอธิมุติ เกิดขึ้นทุกเรื่องในคติอันไพบูลย์และในธรรมอันประเสริญยิ่งใหญ่ และทำให้เจริญขึ้นซึ่งบุญอันต่อเนื่องและไพบูลย์ ย่อมได้รับความยิ่งใหญ่ด้วยคุณอันเสมอกัน /

 

อรรถาธิบาย      บุคคลใดบรรลุด้วยอธิมุกอันเช่นใด ย่อมได้ครอบครองผลเช่นนั้น / ผู้มีความคิดครอบครองผล 3 ประการ ในมหายานธรรม โดยพิสดารด้วยอธิมุกติอันไม่ต่ำทรามอันไม่มีความเสื่อม / และได้รับความเจริญแห่งบุญอันไพบูลย์การเจริญขึ้นแห่งอธิมุกติ และความเป็นแห่งพุทธะอันยิ่งใหญ่ด้วยคุณอันไม่มีที่เปรียบแห่งเหตุเหล่านั้น /

 

อธิการที่ 10 ว่าด้วยอธิมุกติ ในมหายานสูตราลังการ จบ

อธิการที่ 11

 

 

อธิการที่ 11

 

โศลกว่าด้วยการแสวงหาความยิ่งใหญ่ในอธิการว่าด้วยการการแสวงหาธรรม

 

 

โศลกว่าด้วยการแสวงหาความยิ่งใหญ่ในอธิการว่าด้วยการการแสวงหาธรรม 4 โศลก

 

1       ความมี 3 หรือ มี 2 แห่งปิฎกอย่างย่อเป็นที่ปรารถนาด้วยเหตุ 9 ประการ บุคคลย่อมหลุดพ้นด้วยการอดกลั้น ด้วยความรู้ ด้วยความสงบ และด้วยการแทงตลอด /

 

อรรถาธิบาย     ความมี 3 แห่งปิฎกคือ พระสูตร พระวินัย และพระอภิธรรม / ในความมี 3 อย่างนี้ นั้น มีความเป็น 2 คือ หีนยานและมหายานอันเลิศ / และปิฎกแห่งสาวกและปิฎกแห่งโพธิสัตว์ / ด้วยเหตุนั้นท่านกล่าวว่าปิฏกมี 3 หรือมี 2 นั้นเพื่อประโยชน์อะไร / โดยย่อพึงทราบเพราะการสงเคราะห์อรรถอันควรรู้ทั้งปวง / มี 3 อย่าง ด้วยเหตุไร / ด้วยเหตุ 9 ประการ พระสูตรด้วยตรงกันข้ามกับความลังเลสงสัย เมื่อมีความสงสัย ในอรรถใด แสดงอรรถอันวินิจฉัยนั้น / วินัยด้วยตรงข้ามกับความสุดโต่งทั้ง 2 ประการ คือ กามสุขัลลิกานุโยค เพราะปฏิเสธการเสพความยินดีและอัตตกิลมัตถานุโยค เพราะตามรู้การเสพความไม่น่ายินดี / อภิธรรม ด้วยตรงกันข้ามกับการยึดถือความเห็นอันเป็นของตน เพราะจำแนกลักษณะแห่งธรรมอันไม่วิปริต /

 

อีกประการหนึ่ง แสดงสิกขา 3 ด้วยพระสูตร การสังเคราะห์อธิศีลและอธิจิตด้วยวินัย ผู้มีศีลด้วยการไม่เดือดร้อน เพราะวิปฏิสารเหตุเพราะการได้สมาธิ / การสงเคราะห์ปรัชญาอันยิ่งด้วยอภิธรรมเพราะเลือกเฟ้นอรรถอันไม่วิปริต / อีกประการหนึ่งแสดงอรรถแห่งธรรมด้วยพระสูตร / การจัดการความหมายแห่งธรรมด้วยพระวินัย เพราะแทงตลอดซึ่งการสังยุกต์ด้วยกิเลสและวินัย / ความฉลาดในการวินิจฉัยอรรถแห่งธรรมด้วยพระอภิธรรม ดังนี้แล /

 

ความมี 3 อย่างแห่งปิฎกด้วยเหตุ 9 ประการเหล่านี้ / เพื่อการหลุดพ้นจากสังสาร /  บุคคลย่อมหลุดพ้นจากสังสารนั้นได้อย่างไร / บุคคลย่อมหลุดพ้นได้ด้วยการกลั้น ความรู้ ความสงบ และการแทงตลอด / เพราะการอดกลั้นจิตด้วยการฟัง / ด้วยความรู้ ด้วยการคิด / ด้วยความสงบ ด้วยสมถภาวนา / ด้วยการแทงตลอด ด้วยวิปัสสนา /

 

2      โดยย่อแล้ว พระสูตร พระอภิธรรม และพระวินัย เป็นที่ทราบกันว่ามีอรรถ 4 ประการ ผู้เป็นปราชญ์ย่อมถึงความรู้อาการทั้งปวง เพราะรู้สิ่งเหล่านั้น /

 

อรรถาธิบาย     โดยย่อแล้ว พระสูตร พระวินัย และพระอภิธรรม มีอรรถ 4 ประการ เป็นเฉพาะ พระโพธิสัตว์บรรลุความรู้ทั้งปวง เพราะรู้สิ่งเหล่านั้น / แต่ว่าพระสาวก ย่อมบรรลุอาสวักขยญาณ ด้วยคาถาแม้เพียงหนึ่ง /

 

3       พระสูตร เพตุเพราะเป็นพื้นฐาน เพราะลักษณะ เพราะธรรม เพราะอรรถ และเพราะแสดง ส่วนอภิธรรม เพราะเผชิญหน้า เพราะไม่รู้จักสิ้น เพราะเป็นคติแห่งภพอันยิ่ง /

 

อรรถาธิบาย     อรรถ 4 ประการ แต่ละอย่างคืออย่างไร / พระสูตรเพราะแสดงพื้นฐานลักษณะธรรมและอรรถ /พื้นฐานคือ แสดงที่ใด โดยผู้ใดและแก่ใคร / ลักษณะ คือ ลักษณะแห่งความจริงอันปรุงแต่งและลักษณะแห่งความจริงโดยปรมัตถ์ / ธรรม คือขันธ์ อายตนะ ธาตุ อาหาร ปัจจัย การเกิดขึ้น เป็นต้น / อรรถ คือการสืบต่อ /

 

อภิธรรม พึงทราบเพราะความที่เป็นการเผชิญหน้า เพราะไม่รู้จักสิ้น เพราะความเป็นอันยิ่ง และเพราะคติอันยิ่ง / อภิธรรม คือ ธรรมอันเผชิญหน้ากับนิรวาณ เพราะแสดงความจริง โพธิปักขิยธรรม วิโมกข์ สุข เป็นต้น / อภิธรรม คือ ธรรมอันไม่รู้จักสิ้น เพราะแสดงตัวอย่างจำนวนมากโดยประเภทแห่งการแสดงรูปและอรูปเป็นต้น / อภิธรรม ชื่อว่า ความเป็นอันยิ่ง เพราะความเป็นอันยิ่งการอภิปรายด้วยคนอื่น ด้วยวิวาทาธิกรณ์ เป็นต้น / อภิธรรมได้ชื่อว่า คติอันยิ่ง เพราะบุคคลย่อมเข้าถึงความหมายแห่งพระสูตรด้วยธรรมนั้น /

 

4       ความเป็นพระวินัยคือ อาบัติ การต้องอาบัติ การออกจากอาบัติ บุคคล ความรู้ การแบ่งแยก และการวินิจฉัย /

 

อรรถาธิบาย     พระวินัยพึงทราบด้วย อาบัติ การต้องอาบัติ การออกจากอาบัติ / ในพระวินัย อาบัติ มีอาบัติ 5 หมวด / การต้องอาบัติเพราะความไม่รู้ ความประมาท ความเกิดขึ้นแห่งกิเลสแลละการไม่เอาใจใส่ / การออกจากอาบัติคือ ด้วยการอาศัย ไม่ใช่ทัณฑกรรม / การปลงอาบัติมี 7 วิธี /ปฎิเทศนา / การเข้าถึงผู้ให้สิกขาและทัณฑกรรม / การปลงอาบัติ เพราะไม่รู้สิกขาบทอันควรรู้โดยปริยาย การบอกคือสิกขาบทโดยหมู่สงฆ์อันพร้อมเพียง / การหมุนไปรอบแห่งพื้นฐานอันเป็นอาบัติอห่งความเป็นสาธารณะของการเปลี่ยนแปลงพยัญชนะแห่งสตรีและบุรุษของภิกษุและภิกษุณี / การพิจารณาถึงสิ่งที่มีมาแล้ว เป็นความพิเศษแห่งการพิจารณาด้วยอาการแห่งอุทานธรรม / การออกจากอาบัติตามธรรมมีด้วยความเป็นอันเป็นจริง เพราะการครอบครองธรรมในภาวะแห่งการเกิดขึ้นของอาบัติเล็กน้อย / อีกประการหนึ่ง พึงทราบว่าวินัยโดยอรรถแล้วมี 4 ประการ / สิกขาถูกรู้โดยบุคคลหลังจากรู้แล้ว / จากความรู้พระศาสนายังหมู่สงฆ์ให้ประชุมในเพราะความผิดของบุคคลอันยกขึ้นแล้ว จึงบัญญัติสิกขาบท / วิภาคะคือ การการจำแนกที่ซึ่งยกขึ้นแสดงในสิกขาบทที่บัญญัติแล้ว / การวินิจฉัยเป็นอาบัติในที่นี้ได้อย่างไร อนาบัติย่อมมี เพราะการไม่มีการทรงไว้ /

 

โศลกว่าด้วยการแสดงหาการ ได้ซึ่งพื้นฐานแห่งความเปลี่ยนแปลง 3 โศลก /

 

5      ธรรมเป็นที่ทราบว่าเป็นพื้นฐานอันเป็นภายในและอันเป็นภายนอกทั้ง 2 ประการการได้โดยอรรถทั้ง 2 ประการ โดยความเป็น 2 ไม่มีการแห่งความเป็น 2 ประการนั้น /

 

อรรถาธิบาย     บุคคลใดแสดงพื้นฐานแห่งธรรมอันเป็นไปภายในและเป็นไปในภายนอกมีกายเป็นต้น / อันเป็นไม่ในภายนอก คือ เป็นผู้ยึดถือ เป็นสิ่งควร ยึดถือมีอัตตา คือกายเป็นต้น เพราะเหตุนั้น ตถตาจึงมี 2 ประการ / ในที่นี้การได้พื้นฐานแห่งความเป็น 2 ความเป็นไปภายนอกและภายใน โดยอรรถแห่งความเป็น 2 ตามลำดับ / ถ้าว่าบุคคลย่อมเห็นความแตกต่างแห่งอรรถอันควรยึดถือจากอรรถแห่งผู้ยึดถือและอรรถแห่งผู้ยึดถือจากอรรถแห่งสิ่งที่ควรยึดถือ อีกประการหนึ่ง พึงทราบการได้ความเป็นตถตาแห่งความเป็นไปในภายในและความเป็นไปภายนอกอันเป็น 2 ทั้งหมดนั้นไม่มีการได้จากความเป็น 2 เพียงดังการบรรลุความเป็น 2 /

 

6       โดยการสร้างความคิด เพราะการทรงไว้ซึ่งความที่แห่งอรรถอันกล่าวถึงแล้วเป็นสิ่งเลื่อมใส เมื่อการปรากฏของอรรถ เพราะเป็นแต่การกล่าวและเพราะเป็นที่ตั้งในเพราะชื่อโดยใจ /

 

7      การได้พื้นฐานแห่งธรรมพึงมี เพราะความรู้มีอย่าง 3 และเพราะการฟังเป็นต้น การได้พื้นฐานอันมี 3 ประการ เป็นสิ่งที่กล่าวถึงมาก่อนแล้ว เป็นสิ่งที่อาศัยพร้อมแล้วในที่นี้ /

 

อรรถาธิบาย     อีกประการหนึ่ง เรได้พื้นฐานแห่งธรรมย่อมมีได้ด้วยความรู้ทั้ง 3 ประการ คือความรู้อันสำเร็จด้วยการฟัง การคิด และการทำให้เจริญขึ้น / โดยการสร้างความคิดเพราะการทรงไว้ซึ่งความที่แห่งอรรถอันกล่าวถึงแล้วเป็นสิ่งเลื่อมใสด้วยใจอันตั้งมั่นแล้ว / การได้นั้นด้วยความรู้อันสำเร็จด้วยการฟังโดยการสร้างความคิดกล่าวคือ ด้วยการหลอกลวง / อันเลือมใส คือ อธิมุกติอันเที่ยงแท้ / การทรงไว้คือ การเลือกเฟ้น / การได้นั้นด้วยความรู้อันสำเร็จด้วยการคิด เพราะการเลือกเฟ้นการเกิดขึ้นแห่งอรรถ / ถ้าว่าบุคคลเห็นว่าการปรากฏแห่งอรรถอันสามควรแก่การสร้างทางความคิด ย่อมไม่มีการได้พื้นฐานอันมี 2 ตามที่กล่าวมาแล้ว เพราะการาสร้างความคิดอย่างอื่น / การได้นั้นด้วยความรู้อันสำเร็จด้วยการทำให้มีขึ้น เพราะการตั้งอยู่ในชื่อแห่งจิต พึงทราบว่าในการได้พื้นฐานอันมีความเป็น 2 อันกล่าวแล้วจากการบรรลุความเป็น 2 / ดังนั้น การได้พื้นฐานอันมี 3 ประการ ตามที่กล่าวแล้วในตอนก่อน พึงทราบว่าเป็นการอาศัยพร้อมซึ่งพื้นฐานแห่งธรรม /

 

โศลกว่าด้วยการแสวงหาการกระทำไว้ในใจ 5 โศลก

 

8      ธาตุ 3 ประการ การกระทำกิจที่พึงทำ พื้นฐานแห่งความทุกข์เป็นอย่างอื่น การอยู่อาศัยในอธิมุกติและการทำความพอใจก็เป็นอย่างอื่น /

 

9       พื้นฐานอันต่ำทรามและสมบูรณ์ ความมี 2 ความเป็นไปกับการสร้างความคิดและความไม่มีการสร้างความคิด การประกอบพร้อมด้วยความรู้ และความมีตนเข้าไปนั่งใกล้โยคะ /

 

10     นี้เป็นพื้นฐานผสมและเป็นพื้นฐานอันแตกต่าง อันมี 5 ประการและมี 7 ประการ ด้วย ความรู้มี 5 ประการ /

 

11     การเข้าถึงการเจริญขึ้นแห่งอาการ 4 ประการ จาก 37 ประการ สวภาวะแห่งความเป็น 2 ของหนทาง ความยินดีในความเป็น 2 นั้น เป็นสิ่งที่เปิดว่าง /

 

12     ความเป็นสิ่งสามารถทดสอบได้ ความเป็นไปในอำนาจ การมีอำนาจเต็ม ความเป็นใหญ่อันไพบูลย์ นี้เป็นที่ทราบกันว่าความเป็นใหญ่ในสิ่งทั้งปวงนี้เป็นการกระทำไว้ในใจแห่งโยคีทั้งหลาย

 

อรรถาธิบาย     การกระทำไว้ในใจมี 18 วิธี / ความเที่ยงแท้โดยธาตุ การกระทำกิจที่ควรทำ การแบ่งแยกโดยพื้นฐาน การอาศัยอยู่ในอธิมุกติ การเกิดขึ้นแห่งฉันทะ การอาศัยสมาธิ การประกอบพร้อมด้วยความรู้ พื้นฐานอันผสม พื้นฐานอันแตกต่าง ความเที่ยงแท้แห่งความรู้รอบ การเข้าถึงอาการแห่งภาวนา สวภาวะ มรรคคือสมถะและวิปัสสนา การทำไว้ในใจด้วยการสรรเสริญ ความเป็นสิ่งเปิดว่าง การกระทำทางใจอันสามารถทดสอบได้ การกระทำทางใจอันเป็นไปในอำนาจ การกระทำทางใจอันมีอำนาจเต็ม และการกระทำทางใจอันไพบูลย์ / ในบรรดา การกระทำทางใจ 18 วิธีนั้น ความเที่ยงแท้โดยธาตุ คือ ความเที่ยงแท้แห่งโคตรของสาวกเป็นต้น / การทำกิจที่ควรทำคือ การเลี้ยงดูและสัมภาระ / การแยกโดยพื้นฐาน คือพื้นฐานแห่งคฤหัสถ์อันสัมพันธ์หรือพื้นฐานแห่งบรรพชิตอันไม่สัมพันธ์ / การอาศัยอยู่ในอธิมุกติคือ การไปพร้อมด้วยพุทธานุสสติ (สหคตด้วยพุทธานุสสติ) / การเกิดแห่งฉันทะคือสหคตด้วยความเชื่อมั่น ในบุคคลอื่น / การอาศัยสมาธิคือ สหคตด้วยสมาธิอันมีมูลโดยรอบและสหคตวิตก วิจาร อวิตก อวิจาร และสักแต่ว่ามีอวิตก อวิจาร / การประกอบพร้อมด้วยความรู้ คือสหคตด้วยอุปนิษัทแห่งโยคะ อีกประการหนึ่ง อันสำเร็จด้วยการฟังและสำเร็จด้วยการภาวนา ตามลำดับ / พื้นฐานอันผสมคือ พื้นฐานอันแตกต่าง คือ พื้นฐานแห่งชื่อพื้นฐานแห่งบท พื้นฐานแห่งพยัญชนะ พื้นฐานแห่งบุคคลไนราตมยะ พื้นฐานแห่งธรรม ไนรตมยะ พื้นฐานแห่งรูปธรรมและพื้นฐานแห่งอรูปธรรม 7 ประการ ในพื้นฐานอันแตกต่างนั้นพื้นฐานแห่งรูปธรรมคือ พื้นฐานแห่งกาย / พื้นฐานแห่งอรูปธรรมคือ พื้นฐานแห่งเวทนา จิต ธรรม / ความเที่ยงแท้แห่งความรู้รอบคือ ในวัตถุอันความรู้รอบ ในอรรถอันควรรู้รอบ ในผลแห่งความรู้รอบของความรู้รอบ และในความรู้ทั่ว  / ในที่นี้วัตถุอันควรรู้รอบคือทุกข์ อรรถที่ควรรู้รอบคือ ความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ความเป็นศูนย์(ว่าง) และความไม่มีตัวตน / ความรู้รอบคือ มรรค / ผลแห่งความรู้รอบคือวิมุตติ / ความรู้ทั่วในสิ่งนั้นคือ วิมุตติญาณทรรศนะ / การเข้าถึงอาการแห่งภาวนาคือ ภาวนาอันมีอาการ 4 และภาวนาอันมีอาการ 7 ในสติปัฏฐานคือ อสุภาการภาวนา ทุกขาการภาวนา อนิจจาการภาวนา และอนัตตาการภาวนา / ในสัมมัปปธานคือ ภาวนาอันมีอาการคือกาได้เฉพาะ ภาวนาอันมีอาการคือกาไม่เสพ ภาวนาอันมีอาการคือ การตัดขาดและภาวนาอันมีอาการคือความเป็นสิ่งตรงกันข้าม / ภาวนาอันมีการกระทำทางใจอันปฏิบักษ์กับสันโดษมีเมื่อใด ฉันทะย่อมเกิดขึ้นเมื่อนั้น / เมื่อใดมีภาวนาอันมีการกระทำในใจอันเป็นปฏิปักษ์แก่การไม่มีความสงสัย บุคคลย่อมสืบต่อ ย่อมปรารภความเพียงตามลำดำ / เมื่อใดมีภาวนาอันมีอาการไม่เป็นปฏิปักษ์อุทธติ บุคคลย่อมถือเอาเฉพาะซึ่งจิต / เมื่อใดมีภาวนาอันมีอาการคือสมาธิอั้นเป็นปฏิปักษ์ต่อความละอาย เมื่อนั้นบุคคลย่อมถืออาจิต / พึงทราบสิ่งเหล่านี้ในอิทธิบาท 4 ตามลำดับ / ภาวนาอันมีอาการ คือปัจจัยแห่งโลกุคตตรสมบัติ ภาวนาอันมีอาการแห่งปัจจัยและภาวนาอันมีอาการคือการไม่มีอำนาจภาวนาอันมีอาการคือการยินดีในธรรม ภาวนาอันมีอาการคือการไมม่มีอำนาจ ภาวนาอันมีอาการคือ การวิจัย ในอินทรีย์ แห่งความตั้งมั่นแห่งจิต / สิ่งเหล่านี้ พึงทราบในพละ 5 อันมีอาการตรงกันข้าม อันไม่ได้เขียนไว้ / ภาวนาอันมีอาการอันยึดถือว่าเป็นโพธิและภาวนาอันมีอาการคือการสอดคล้อง อุตสาหะ โสมนัส กรณียะ จิต ความตั้งมั่น ความสม่ำเสมอ ในโพชฌงค์ 7 / ภาวนาอันมีอาการคือการบรรลุอันมั่นคง การรักษาภูมิอันก้าวข้ามแล้ว การบรรลุประโยชน์บุคคลอื่น การเข้าสู่ศีลอันน่ายินดี อันประเสริฐ การเข้าไปสู่การหมุนไปอันเขียนไว้พร้อมแล้ว ความพยายามในมรรคอันได้เฉพาะแล้วและอันอบรมอย่างเต็มรอบแล้ว การยินดีในนิมิตแห่งธรรม การหมุนไปรอบแห่งพื้นฐานอันตั้งมั่นที่ไม่มีนิมิต ในองค์แห่งมรรคทั้งหลาย / ไม่มีตัวอย่างใดๆเกี่ยวกับสวภาวะแห่งสมถะและวิปัสสนา / การกระทำทางใจด้วยการสรรเสริญมี 2 ประการคือ ความยินดีต่อการแบ่งแยกอันมีโทษและความยินดีในทิฐิและนิมิต / การเปิดว่างคือ การยึดถือ โอวาทจากที่สุดแห่งพระพุทธเจ้าและโพธิสัตว์ในกระแสแห่งธรรม / การกระทำทางใจอันสามารถตรวจสอบได้มีอยู่ในโคจรแห่งสมาธิ 5 ประการ / ความเป็นสิ่งสามารถตรวจสอบมีลักษณะย่อยอันนับได้ คือ มีลักษณะย่อยอันพึงนับได้ในชื่อบทและพยัญชนะในพระสูตรทั้งหลาย / ความเป็นสิ่งสามารถตรวจสอบ ได้มีลักษณะย่อยแห่งการหมุนไป ย่อมมีลักษณะย่อย 2 ประการ คือปริมาณและปริมาณแห่งพยัญชนะและชื่อ และชื่อ และบท / ความเป็นสิ่งตรวจสอบได้แห่งลักษณะย่อยหลอกลวง คือ หลังจากอาศัยความเป็น 2 แล้ว ย่อมมีลักษณะย่อยแห่งการหลอกลวงแห่งความเป็น 2 /

 

13     ตัตวะ เป็นสิ่งเว้นจากความเป็นสองอยู่เสมอ พื้นฐานแห่งความหลอกลวง ไม่อาจอธิบายด้วยสิ่งทั้งปวงอันเป็นความเนิ่นช้า เป็นสิ่งที่รู้ได้ เป็นสิ่งสมควรที่จะละเว้น ชำระแล้ว ไม่มีมลทินเป็นปกติ เป็นที่ทราบกันว่า ความบริสุทธิ์จากกิเลสอันเช่นกับด้วยอากาศ ทองและน้ำ /

 

อรรถาธิบาย     ตัตวะปราศจากความเป็น 2 อยู่เสมอ ปริกัลปิตะ เป็นสวภาวะ เพราะลักษณะแห่งความเป็นสิ่งยึดถือ ได้และผู้ยึดถือเพราะความไม่มีอยู่อย่างสมบูรณ์ / พื้นฐานแห่งความหลอกลวง คือปรตันตระ เพราะมีปริกัลปิตะ / ปรินิษปันนะ เป็นสวภาวะอันไม่อาจอธิบายได้ถึงธรรมชาติอันเปลี่ยนแปลง / ประการที่ 1 ตัตวะเป็นสิ่งที่ควรรู้ ประการที่ 2 เป็นสิ่งที่ควรละเว้นประการที่ 3 เป็นสิ่งบริสุทธิ์ บริสุทธิ์เพราะมลทินอันจรมาและบริสุทธิ์ โดยปกติ คือบริสุทธิ์จากกิเลสอันเช่นกับด้วยอากาศ ทองและน้ำอันบริสุทธิ์โดยปกติ / เพราะว่าอากาศเป็นต้นนั้น ไม่ใช่สิ่งบริสุทธิ์โดยธรรมชาติ / บุคคลไม่ควรกล่าวว่าไม่มีความบริสุทธิ์แห่งพื้นฐานที่อันอุปกิเลสจรมา /

 

14     จริงอยู่ ในโลก สิ่งอื่นใดๆ ย่อมไม่มีจากตัตวะนั้น แม้โลกอันไม่มีส่วนเหลือเป็นสิ่งอันมีพุทธอันหลง ความหลงในโลกนี้เจริญขึ้นอย่างไร บุคคล เมื่อละจากความจริงโดยรอบแล้วถือมั่นความไม่จริง /

 

อรรถาธิบาย     ฟังว่าธรรมธาตุจากลักษณะเช่นนี้จากตัตวะนั้น / สิ่งใดๆอื่นย่อมไม่มีในโลก เพราะความยึดมั่นต่อธรรมโดยความเป็นธรรมดา / อรรถส่วนที่เหลืออธิบายแล้ว

 

โศลกว่าด้วยการเปรียบเทียบมายากับตัตวะ 15 โศลก

 

15     มายาถูกอธิบายโดยประการใด ปริกัลปิตะอันไม่จริงก็ถูกอธิบายโดยประการนั้น ผลแห่งมายาถูกอธิบายโดยประการใด การหลอกลวงอันมีความเป็น 2 ก็อธิบายเหมือนอย่างนั้น /

 

อรรถาธิบาย     มายา เป็นการยึดถือในมนตรี มีการหลอกลวงเป็นนิมิต เป็นชั้นแห่งไม้เป็นฉันใด พึงทราบว่าปริกัลปิตะ ปรตันตระ อันไม่เป็นจริง เป็นสวภาวะ ย่อมเป็นฉันนั้น / ผลแห่งมายาเป็นการแสดงโดยสภาวะแห่งรูปร่างของช้าง ม้า ทอง เป็นต้นของมายานั้นอย่างไรก็พึงทราบว่าความหลอกลวงอันมี 2 อย่างในปริกัลปิตะอันไม่จริง เป็นการแสดงโดยความเป็นสิ่งควรยึดถือและผู้ยึดถือเป็นอาการแห่งสวภาวะแห่งปริกัลปิตะ เป็นอย่างนั้น/

 

16     ภาวะนั้นในที่นี้ย่อมเป็นประการใด ปรมัตถะพึงทราบว่าเป็นเช่นนั้นแต่อุปลัพธิ เป็นเช่นใด ความที่แห่งการหมุนไปพร้อมเป็นจริงก็เป็นเช่นนั้น /

 

อรรถาธิบาย     ในที่นี้ถภาวะนั้น เป็นความมีอยู่แห่งความเป็นช้าง ในผลแห่งมายาเป็น เช่นใด พึงทราบว่าปรมัตถ์ในปรตันตระนั้น เป็นความไม่มีแห่งลักษณะอันมี 2 ประการแห่งปริกัลปิตะก็เป็นเช่นนั้น / การได้รัรบภาวะแห่งช้างเป็นต้น แห่งผลของมายานั้นเป็นเช่นใด การบรรลุถึงความเป็นจริงแห่งความเป็นไปแห่งปริกัลปิตะอันไม่จริง ก็เป็นเช่นนั้น /

 

17     ในความไม่มีแห่งผลของมายานั้น บุคคลย่อมได้รับความหลากหลายแห่งนิมิต โดยประการใด ในการหมุนไปแห่งพื้นฐาน บุคคลย่อมได้รับอรรถแห่งความเป็นจริงแห่งปริกัลปิตะอันไม่จริง เพราะความไม่มีแห่งการหลอกลวง 2 ประการ โดยประการนั้น /

 

18     ในนิมิตนั้น ชาวดลกผู้ไม่มีการหลอกลวงแล้ว พึงประพฤติตามความอยากโดยประการใด ในการหมุนไปแห่งพื้นฐานนั้น บุคคลผู้ไม่หมุนไปเช่นนั้นเป็นผู้ประพฤติตามปรารถนาโดยประการนั้น

 

อรรถาธิบาย     ในนิมิตนั้น ชาวโลกผู้ไม่มีการหลอกลวงแล้วในท่อนไม้เป็นต้น ย่อมประพฤติตามความอยาก ชื่อว่าเป็นสวตันตระ โดยประการใดในการหมุนไปแห่งพื้นฐาน ผู้ไม่มีการหมุนไปเช่นนั้น ย่อมเป็นผู้ประพฤติตามความปรารถนา ชื่อว่าเป็นสวตันตระ

 

19     บุคคลนั้นย่อมมีอยู่ในที่นั้น และภาวะนั้นย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้นความมีอยู่และ ความไม่มีอยู่จึงถูกอ้างถึงในมายาเป็นต้น /

 

อรรถาธิบาย     โศลกนี้มีอรรถอธิบายแล้ว /

 

20     ในที่นี้ ความมีอยู่ ไม่ใช่ความไม่มีอยู่ และความไม่มีอยู่ก็ไม่ใช่ความมีอยู่ ความแตกต่างแห่งความมีอยู่และความไม่มีอยู่จึงถูกอ้างถึงในมายาเป็นต้น /

 

อรรถาธิบาย     ในที่นี้ ภาวะไม่ใช่อภาวะ และความมีอยู่แห่งบุคคลฉันใด ไม่มีในความไม่มีอยู่นั้น ฉะนั้น ภาวะจึงไม่มีอยู่ / อภาวะไม่ใช่ภาวะ เช่นกัน ความไม่มีอยู่แห่งความเป็นช้างเป็นต้นใด ไม่มีอยู่ในความมีอยู่ ฉะนั้น อภาวะจึงไม่มีอยู่ / ความแตกต่างแห่งภาวะและอภาวะทั้ง 2 ประการนั้น ถูกอ้างถึงในมายาเป็นต้น / เพราะว่าความมีอยู่บุคคลใด ย่อมมีในที่นั้นเทียว ภาวะนั้นเป็นสิ่งมีอยู่แห่งความเป็นช้างเป็นต้น / และความมีอยู่แห่งความเป้นช้าง เป็นต้นใด มีอยู่ ภาวะนั้นก็เป็นความมีอยู่แห่งบุคคลเช่นกัน /

 

21     การแสดงตนโดยความเป็น 2 ย่อมมีในที่นั้น และภาวะนั้นย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้นความมีอยู่และความไม่มีอยู่ จึงถูกกล่าวอ้างในรูปเป็นต้น

 

อรรถาธิบาย     การแสดงตนโดยความเป็น 2 ย่อมมีอยู่ในปริกัลปิตะอันไม่จริงนี้ และความมีอยู่แห่งความเป็น 2 ย่อมไม่มี / เพราะเหตุนั้น ความมีอยู่และความไม่มีอยู่จึงถูกกล่าวอ้างไว้ในรูปเป็นต้น ในสวภาวะ(ความเป็นจริง) แห่งปริกัลปิตะอันไม่จริง /

 

22     ในที่นี้ ภาวะไม่ใช่อภาวะ และอภาวะก็ไม่ใช่ภาวะเช่นเดียวกัน ความแตกต่างแห่งภาวะและอภาวะจึงถูกอ้างถึงในรูปเป็นต้น /

 

อรรถาธิบาย     ในที่นี้ ภาวะไม่ใช่อภาวะ / การแสดงตัวโดยความเป็น 2 ใด / คือภาวะและอภาวะ / ความไม่มีอยู่แห่งความเป็น 2 ใด / ความไม่แตกต่างแห่งภาวะและอภาวะจึงถูกกล่าวอ้างไว้ในรูปเป็นต้น / เพราะว่าภาวะที่แสดงตนโดยความเป็น 2 ใดนั้น ย่อมเป็นภาวะแห่งความเป็น 2 นั้น ดังนี้ /

 

23     บุคคลย่อมกล่าวอ้างเพื่อการปฏิเสธการหลอกลวงแห่งการกล่าวถึงที่เกิดและการกล่าวคัดค้านและเพื่อประโยชน์แก่การปฏิเสธยาน โดยหีนยาน /

 

อรรถาธิบาย     การกล่าวถึงความแตกต่างแห่งอภาวะและภาวะโดยส่วนเดียวนี้ เพื่อประโยชน์อะไร /ตามลำดับ เพื่อประโยชน์แก่การปฏิเสธการหลอกลวงแห่งการกล่าวถึงที่เกิดและการกล่าวคัดค้าน และเพื่อประโยชน์แก่การปฏิเสธเข้าถึงหีนยาน / เพราะว่าบุคคลเมื่อรู้จักความเป็นอภาวะแล้วย่อมไม่กระทำการกล่าวถึงที่เกิด / และเมื่อบุคคลทราบความเป็นภาวะของภาวะแล้วย่อมไม่กระทำการกล่าวคัดค้าน / และเมื่อบุคคลทราบความแตกต่างนี้ ย่อมไม่ตื่นตระหนกต่อความมีอยู่ เพราะฉะนั้นย่อมเดินไปโดยหีนยาน /

 

24     นิมิตแห่งความลวงและความลวง พึงทราบว่าเป็นสิ่งรู้เท่านั้นรูป เพราะความไม่มีอยู่ สิ่งรู้เท่านั้นแห่งรูปในอรูป พึงมีสิ่งนอกนี้ไม่พึงมี /

 

อรรถาธิบาย     สิ่งรู้เท่านั้นคือนิมิตแห่งความลวงของรูปใด สิ่งนั้นพึงทราบว่าเป็นสิ่งรู้เท่านั้นแห่งรูป กล่าวคือ นับว่าเป็นรูป / แต่ว่าความลวงในรูปนั้นเป็นสิ่งรู้เท่านั้นในอรูป / ความรู้เท่านั้นแห่งรูป เพราะความไม่มี พึงมีความรู้เท่านั้นในอรูป / เพราะความไม่มีแห่งเหตุ /

 

25     ความเป็น 2 แห่งความลวงคือ การยึดถือรูปแห่งช้างคือ มายาถูกยกเป็นอุทาหรณ์แล้ว ในที่นี้ความเป็น 2 ย่อมไม่มีโดยประการใด บุคคลก็ได้รับเฉพาะความเป็น 2 เท่านั้น โดยประการนั้น

 

26     ความเป็น 2 แห่งความลวงคือ การยึดถือภาพแห่งการสะท้อนกลับถูกยกเป็นอุทาหรณ์แล้ว ในที่นี้ความเป็น 2 ย่อมไม่มีโดยประการใด บุคคลย่อมได้เฉพาะความเป็น 2 เท่านั้น โดยประการนั้น

 

อรรถาธิบาย     ความเป็น 2 แห่งความลวง เพราะการยึดถือรูปแห่งช้างอันเป็นมายาถูกยกขึ้นแล้ว / สิ่งที่ควรยึดถือและผู้ยึดถือ คือ ความเป็น 2 ย่อม ไม่มีโดยประการใด บุคคลย่อมได้ความเป็น 2 นั้น โดยประการนั้น / การกระทำไว้ในใจซึ่งรูปเปรียบแห่งการสะท้อนกลับคือ ความเป็น 2 แห่งความลวงคือ ผู้ยึดถือถูกยกเป็นอุทาหรณ์แล้ว เหมือนตอนก่อน /

 

27     ความแตกต่างแห่งภาวะและอภาวะมีก็เพราะภาวะเช่นนั้น และอภาวะเช่นนั้น สัต อสัต การปราฏกแห่งมายา ธรรม คือลักษณะแห่งความจริง /

 

อรรถาธิบาย     ธรรมเหล่าใด เป็นลักษณะแห่งความลวง เป็นสวภาวะอันตรงกันข้าม ธรรมเหล่านั้น เป็นสัต อสัต อุปมาด้วยมายา / เพราะเหตุไร / เพราะความเป็นปริกัลปิตะอันไม่เป็นจริงเพราะความไม่มีอยู่จริงอันเช่นนั้น / สัต อสัต มายาอันมีลักษณะเช่นนี้ มีอุปมาดังมายา เพราะความแตกต่างแห่งภาวะและอภาวะ /

 

28     อภาวะมีเพราะอภาวะเช่นนั้น อภาวะเช่นนั้นมีเพราะลักษณะเช่นนั้นธรรมที่ท่านเปรียบด้วยมายา ที่ท่านแสดงแล้วเป็นปฏิบักษ์ต่อกัน /

 

อรรถาธิบาย     ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์เหล่าใดที่พระพุทธเจ้าแสดงแล้วด้วยสติปัฎฐานธรรมเหล่านั้นไม่มีลักษณะเป็นมายาอันท่านแสดงแล้ว / เพราะเหตุไร / เพราะไม่ถูกยึดถือ โดยคนพลา เพราะความไม่มีอยู่เช่นนั้น / ท่านแสดงโดยประการใด เพราะอภาวะโดยประการนั้น / การเกิดขึ้นแห่งครรภ์ การคลอดการเกิด การออกบวชและการบรรลุธรรมที่พระพุทธเจ้าทำให้ปรากฏแล้วโดยประการใด เพราะความไม่มีโดยประการนั้น / ความไม่มีลักษณะเมื่อมีอยู่ย่อมสิ้นไป เพราะเหตุนั้นจึงมีมายาเป็นอุปมา /

 

29     เช่นกันกับราชาแห่งมายาที่ถูกทำให้แพ้พ่ายด้วยราชาแห่งมายาอื่น บุคคลเหล่าใดเห็นธรรมทั้งปวง บุคคลเหล่านั้นไม่มีมารเป็นผู้เกิดแต่พระชินเจ้า /

 

อรรถาธิบาย     ธรรมเหล่าใด มีความเป็นปฏิปักษ์ ธรรมเหล่านั้น มีสถานะเป็นราชาแห่งมายา เพราะเป็นใหญ่ในการกำจัดเสียซึ่งกิเลส / ธรรมอันเป็นความเศร้ามหมองเหล่าใด ธรรมเหล่านั้นมีสถานะเป็นราชา เพราะเป็นใหญ่ในการถอนเสียซึ่งกิเลส / เพราะเหตุนั้นมายาถูกธรรมที่เป็นปฏิปักษ์เหล่านั้นทำให้กิเลสพ่ยแพ้ เหมือนพระราชาถูกทำให้แพ้โดยราชา / เพราะความรู้นั้นพระโพธิสัตว์จึงเป็นผู้ไม่มีมารในทั้ง 2 ฝ่าย /

 

โศลกว่าด้วยอรรถแห่งการเปรียบเทียบ (อุปมา)

 

30     เป็นเช่นกับมายา ความฝัน พยับแดด รูปภาพ อุปมาด้วยเงาเสียงสะท้อน เป็นเช่นกับด้วยเงาจันทร์ในน้ำที่มองเห็นได้ เสมอด้วยการเนรมิต 6 6 2 และ 6 อีกจากความเป็น 2 และ 3โดยแต่ละ 1 แต่ละ 1 นี้คือสังสการอันพระพุทธเจ้าอธิบายในที่นั้นๆด้วยความรู้แล้วอันสูงสุด

 

อรรถาธิบาย     พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ธรรมทั้งหลายมีมายาเป็นอุปมาจนถึงมีการนิรมาณเป็นอุปมา ดังนี้ / ธรรมที่มีมายาเป็นอุปมา คือ อายตนะภายใน 6 / เพราะเหตุผลว่าในอัตตะและชีวะอันไม่เป็นจริง / มีความฝันเป็นอุปมา คือ อายตนะภายนอก 6 เพราะความที่เป็นวัตถุอันถูกใช้สอย / อุปมาด้วยพยับแดด คือ ธรรม 2 อย่างได้แก่ จิต และเจตสิก เพราะกระทำความลวง / อุปมาด้วยภาพพิมพ์ คือ อายตนะภายใน 6 อีกครั้ง เพราะเป็นรูปภาพแห่งบุรพกรรม / อุปมาด้วยเงา คือ อายตนะภายนอก เพราะเป็นเหมือนเงาของอายตนะภายใน เพราะเป็นสมบัติอันเป็นใหญ่ / 6 ถูกรับรู้ว่าเป็น 2, 6 แห่งการถูกรู้ว่าเป็น 2 / อุปมาด้วยเสียงสะท้อน คือ เทศนาธรรม / อุปมาด้วยเงาจันทร์ในน้ำ คือ ธรรมอันอาศัยสมาธิ เพราะความบริสุทธิ์จากสถานที่แห่งสมาธิ / อุปมาด้วยการเนรมิต เพราะประกอบด้วยการกระทำอันไม่เศร้าหมองในกายยึดถือการเกิดขึ้นในภพอันคิดดีแล้ว

 

โศลกว่าด้วยการแสวงหาสิ่งที่รู้ได้

 

31     มโนภาพอันไม่มีจริงไม่ใช่สิ่งที่มีจริง และไม่ใช่สิ่งที่ไม่มีจริง และไม่ใช่มโนภาพ มโนภาพอันไม่มีไม่ใช่ไม่มีและไม่ใช่มโนภาพสิ่งที่รู้ได้ทั้งปวงถูกกล่าวอ้างด้วยสิ่งเหล่านี้

 

อรรถาธิบาย     มโนภาพอันไม่มีจริงเป็นมโนภาพอันไม่เอื้อต่อความรู้อันเป็นโลกุตตระนั้นไม่ใช่มีจริง ไม่ใช่ไม่มีจริง เพราะการเอื้อนั้นไม่ได้เป็นส่วนแห่งการแทงตลอด / ตถตาแห่งความไม่มีมโนภาพ คือ ความรู้อันเป็น โลกุตตระ /มโนภาพอันไม่มี ไม่ใช่ ไม่มีและไม่ใช่มโนภาพ ความรู้อันเป็นโลกียะถูกรับรู้ก่อนความรู้อันเป็นโลกุตตระ / สิ่งที่รู้ได้ทั้งปวงมีเพียงเท่านั้น /

 

ความเป็น 2 แห่งโศลกว่าด้วยการแสวงหาการตัดเสียซึ่งกิเลส /

 

32     การปรากฏมี 2 เพราะธาตุของตนเป็นการหมุนไปแห่งอวิทยาและกิเลส การสร้างความคิด ย่อมเป็นไป เพราะการเว้นจากทรัพย์ทั้ง 2 /

 

อรรถาธิบาย     ธาตุของตน คือ องค์แห่งความมีอยู่จากอาลยวิญญาณ จากพีชะของตน / การปรากฏโดยความเป็น 2 คือ การปรากฏว่าเป็นสิ่งควรยึดถือและผู้ยึดถือ / การหมุนไปพร้อมกับอวิทยาและกิเลส เพราะการปรากฏด้วยความเป็น 2 นั้น มีอยู่ด้วยการเป็นไปแห่งอวิทยาและกิเลส / การเว้นจากทรัพย์ทั้ง 2 ประการ ปราศจากการเป็นสิ่งยึดถือและผู้ยึดถือ / กิเลสอันบุคคลพึงแสวงหา ด้วยประการอย่างนี้ /

 

33     บุคคลผู้ได้รับความพิเศษแห่งพื้นฐาน เพราะโยคะตั้งมั่นในธาตุของตน ไม่มีความปรากฏ โดยความเป็น 2 ย่อมเป็นไปเหมือนกับหนังและเหล็ก /

 

อรรถาธิบาย     บุคคลผู้ได้รับความพิเศษแห่งพื้นฐาน คือ การได้รับพื้นฐานแห่งธรรมตามที่กล่าวมาแล้ว / เพราะโยคะตั้งมั่นในธาตุของตนคือ ตถตาแห่งวิกัลปะของธาตุของตน ตั้งมั่นในที่นี้โดยใจเพราะตั้งมั่นในชื่อ / โยคะ คือความพยายาม / วิกัลป์ปะอันปรากฏโดยความเป็น 2 ย่อม เป็นไปโดยภาวนามรรคแห่งการหมุนไป / เหมือนกับหนังและเหล็ก / หนังเป็นของอ่อนเพราะมีความแข็งไปปราศแล้ว เหล็กอันไฟเผาไหม้แล้วย่อมกลายเป็นของตรง / ใจย่อมเป็นไปในการได้ปัญญาวิมุตติด้วยการเจริญสมถะและวิปัสสนา และการปรากฏโดยความเป็น 2 อันเป็นความลวงย่อมไม่เป็นไป / นี้พึงแสวงหาการตัดขาดโดยประการอย่างนี้ /

 

โศลกว่าด้วยการแสวงหาสิ่งที่เป็นความรู้เท่านั้น

 

34     จิตอันมีการปรากฏโดยความเป็น 2 พึงทราบการปรากฏเพราะราคะเป็นต้น เหมือน เช่นนั้น การปรากฏเพราะศรัทธา ธรรมอันอื่นอีกที่เศร้าหมองและเป็นกุศลย่อมไม่มี /

 

อรรถาธิบาย     บุคคลพึงทราบการสะท้อนกลับ โดยความเป็น 2 นั้นเพียงจิตเท่านั้น คือ การสะท้อนกลับโดยสิ่งควรยึดถือ และการสะท้อนกลับโดยความเป็นผู้ถือ / พึงทราบว่าการปรากฏแห่งความเศร้าหมองมีราคะเป็นต้นก็เช่นกัน / หรือการปรากฏแห่งกุศลธรรมมีศรัทธาเป็นต้น / แต่ว่าการปรากฏนั้น ธรรมอันเศร้าหมองมีราคะเป็นลักษณะหรือกุศลธรรมมีศรัทธาเป็นลักษณะอันอื่นอีกย่อมไม่มี /

 

35     ลักษณะแห่งความเป็น 2 อื่นจากการปรากฏโดยความเป็น 2 นั้น ย่อมไม่มีฉันใด จิตอันปรากฏอย่างวิจิตรอันอาการอันวิจิตรย่อมเป็นไปฉันนั้น /

 

อรรถาธิบาย     ภาวะและอภาวะอันปรากฏนั้นไม่พึงคิดว่าเป็นธรรม / ในที่นี้จิตเท่านั้นเป็นจิตเท่านั้นแห่งวัตถุ ย่อมเป็นไป / การปรากฏแห่งราคะหรือการปรากฏแห่งความเศร้างโศก หรือการปรากฏแห่งธรรมอันอื่นอีก โดยปริยาย / อาการอันวิจิตร คือ อาการแห่งศรัทธาอันเป็นคู่กัน / ภาวะและอภาวะแห่งการปรากฏมีในใจความมั่นคงแห่งกิเลสและศรัทธา / การปรากฏนั้นแห่งธรรมอันเศร้าหมองและอันเป็นกุศลย่อมไม่มี เพราะการปรากฏแห่งลักษณะนั้น โดยส่วนเดียว /

 

โศลกว่าด้วยการแสวงหาลักษณะ 8 โศลก / อุเทศด้วยโศลก 1 ส่วนที่เหลือเป็นการยกตัวอย่าง /

 

36     ความมีลักษณะ ลักษณะ ประเภทแห่งลักษณะอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประการอรรถแห่งการอนุเคราะห์แล้วแก่สัตว์ทั้งหลาย

 

นี้เป็นโศลกอุเทศ

 

37     จิตที่เป็นไปกับทิฐิและการทำความเพียรในจิตนั้น ความมีลักษณะ โดยย่อไม่มีประมาณโดยประเภท /

 

อรรถาธิบาย     จิต วิญญาณ และรูป / ธรรมอันประเสริฐประกอบด้วยจิตอันมีทิฐิ / ธรรมอันประกอบพร้อมด้วยจิตอันมีความเพียร / ความเที่ยงแท้แห่งความรู้เท่านั้น อันไม่ปรุงแต่งอันเช่นกับด้วยอากาศเป็นต้นเป็นการหมุนไปอันเช่นนั้น / โดยย่อความมีลักษณะ 5 ประการอันไม่มีประมาณ โดยประเภท /

 

38      นิมิตแห่งการรู้อรรถอันเปล่งออกมา วาสนา เพราะฉะนั้น การเข้าใจชัดอรรถเป็นลักษณะแห่งปริกัลปิตะ

 

อรรถาธิบาย     ลักษณะมี 3 ประการ โดยย่อคือ ลักษณะแห่งปริกัลปิตะเป็นต้น / ในที่นี้ลักษณะแห่งปริกัลปิตะ มี 3 ประการคือ นิมิตแห่งความเข้าใจอรรถแห่งการเปล่งคำพูด วาสนาแห่งคำพูดที่เปล่งออกมานั้น และเข้าใจความหมายจากวาสนานั้นด้วยความเข้าใจชัดต่อคำที่เปล่งออกมานั้น แม้เว้นจากกุศล / การเข้าใจอรรถแห่งคำสนทนาในที่นั้น คือ การเข้าใจอรรถแห่งการเปล่งถ้อยคำ / นิมิตนั้นอันเป็นพื้นฐานนั้นเป็นปริกัลปิตะ วาสนาจากเหตุนั้นลักษณะแห่งปริกัลปิตะทั้ง 2 ถูกอภิปรายแล้ว /

 

39     อรรถแห่งชื่อและความแจ่มชัดในอรรถชื่อ นิมิตแห่งความลวงอันไม่จริง เป็นลักษณะแห่งปริกัลปิตะ /

 

อรรถาธิบาย     อรรถอันมีปริยายอื่นอีกและอรรถแห่งชื่อเป็นสิ่งแจ่มชัดในชื่อแห่งอรรถและคามแจ่มชัดในอรรถแห่งชื่อ / ถ้าว่าอรรถแห่งชื่อแจ่มชัดหรืออรรถอันเป็นพื้นฐานแห่งปริกัลปิตะอันไม่มีอยู่จริง นี้เป็นลักษณะแห่งปริกัลปิตะ เพราะว่าสิ่งที่หลอกลวงได้พึงทราบว่าเป็นเพียงชื่อของอรรถ

 

40     การปรากฏอันมี 3 ประการ และโดย 3 วิธี ลักษณะแห่งสิ่งที่ควรยึดถือและผู้ยึดถือปริกัลปิตะอันไม่มีจริง เป็นลักษณะแห่งปรตันตระ /

 

อรรถาธิบาย     การปรากฏอันมี 3 ประการ โดย 3 วิธี คือการปรากฏอันมี 3 ประการ โดย 3 วิธี / ในที่นี้การปรากฏอันมี 3 ประการ การปรากฏแห่งบท การปรากฏแห่งอรรถ และการปรากฏแห่งร่างกาย / อีกประการหนึ่ง การปรากฏโดย 3 วิธี คือการปรากฏแห่งใจ การยกขึ้น และการหลอกลวง / ใจเป็นสิ่งเศร้าหมองตลอดเวลา / การยกขึ้น คือวิญญาณทางกาย 5 / การหลอกลวง คือ มโนวิญญาณ / การปรากฏ 3 อย่างแรกเป็นลักษณะแห่งสิ่งที่ควรยึดถือ / การปรากฏ 3 ประการหลังเป็นลักษณะของผู้ยึดถือ / ปริกัลปิตะอันไม่มีอยู่จริงเช่นนี้แหละเป็นลักษณะแห่งปรตันตระ /

 

41    ความเป็นอภาวะและภาวะ ความเสมอกันแห่งภาวะและอภาวะ ความไม่สงบและความสงบ และการไม่หลอกลวงเป็นลักษณะแห่งปรินิษปันนะ /

 

อรรถาธิบาย     ลักษณะแห่งปรินิษปันนะ คือ ตถตาและความเป็นอภาวะและความเป็นภาวะแห่งปริกัลปิตะ แห่งธรรมทั้งปวงเพราะความเป็นภาวะด้วยความเป็นภาวะนั้น / ความเสมอกันแห่งภาวะและอภาวะ เพราะความไม่แตกต่างแห่งภาวะและอภาวะนั้น / ความไม่สงบ เพราะอุปกิเลสอันจรมาความสงบ เพราะความบริสุทธิ์โดยปกติ / การไม่หลอกลวง เพราะการมีโคจรอันไม่หลอกลวง เพราะไม่มีธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า / ลักษณะอันมี 3 ประการ ลักษณะแห่งตนอันแสดงแล้วแห่งตถตา และลักษณะแห่งการกำจัดกิเลส ลักษณะอันไม่หลอกลวง / ลักษณะทั้ง 3 อันกล่าวแล้ว /

 

42     พื้นฐานแห่งธรรมเป็นเครื่องออก โยนิโสมนสิการ การตั้งมั่นในธาตุแห่งจิตและการเห็นอรรถแห่งสัตและอสัต

 

อรรถาธิบาย     ลักษณะมี 5 ประการ ในโยคภูมิ / อาธาระ อาธานะ อาทรศ อาโลกะ และอาศฺรย / ในที่นี้อาธาระคือ ธรรมเป็นเครื่องออกอันเป็นที่บรรลุที่พระพุทธเจ้าแสดงแล้ว คือ ธรรม เป็นเครื่องออกเพื่อการบรรลุ / อาธานะ คือ โยนิโสมนสิการ / อาทรฺศ คือ สถานที่ในธาตุแห่งจิตอีกอย่างสมาธิอันตั้งมั่นอันกล่าวมาก่อนแล้ว / อาโลกะ คือ ทรรศนะแห่งอรรถแห่งความเป็นสัต อสัต ปัญญาอันเป็นโลกุตตระ สัตและอสัต เป็นเช่นกับที่มองเห็นความเป็นสัต และอสัตนั้น / อาศฺรย คือ การหมุนไปแห่งพื้นฐาน /

 

43     การบรรลุความเสมออันเป็นโคตรแห่งอารยะ อันไม่มีมลทิน อันเสมอ อันวิเศษ อันไม่มีความพร่องและเกิน เป็นลักษณะที่ทราบกันแล้ว /

 

อรรถาธิบาย     การบรรลุความเป็นผู้เสมอในโคตรแห่งผู้ประเสริฐในธาตุอันไม่มีอาสวะด้วยผู้ประเสริฐเหล่าอื่น / อันไม่มีมลทิน เป็นโคตรแห่งผู้ประเสริฐแห่งพระพุทธเจ้า / เสมอด้วยความเสมออันวิมุตติด้วยพระสาวก พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระพุทธเจ้า / วิเศษด้วยความวิเศษ 5 ประการ/ ด้วยความวิเศษอันบริสุทธิ์ เพราะบริสุทธิ์ด้วยวาสนาและกิเลส / ด้วยความวิเศษอันบิสุทธิ์ เพราะบริสุทธิ์รอบ เพราะความบริสุทธิ์แห่งเกษตร / ด้วยความวิเศษแห่งกาย เพราะธรรมกาย / ด้วยความวิเศษแห่งการเสวย เพราะความเป็นไปแห่งการเสวยธรรมอันไม่ตัดขาดในมณฑลแห่งบริษัท / ด้วยความวิเศษแห่งกรรม คือ เพราะการอธิฐานการกระทำเพื่อประโยชน์แก่สัตว์ ด้วยการนิรมิตการอยู่ในดุสิตภพ /ไม่มีความพร่อง ไม่มีความมากเกินในการดับส่วนกิเลส นี้ เป็นลักษณะแห่งโยคภูมิ 5 อย่าง / เพราะว่านี้เป็นความมีลักษณะ ลักษณะ และแสดงลักษณะ /

 

โศลกว่าด้วยการแสวงหาการหลุดพ้น 6 โศลก

 

44     การหมุนไปแห่งบท อรรถ ร่างกาย และการปรากฏอันไม่มีอาสวะในการหมุนไป แห่งพีชะของธาตุ นั้นเป็นพื้นฐานอันไปในที่ทั้งปวง /

 

อรรถาธิบาย     การหมุนไปแห่งพีชะ นั้นคือการหมุนไปแห่งอาลยวิญญาณ / การหมุนไปแห่งวิญญาณ คือ การหลุดพ้นจากธาตุอันไม่มีอาสวะ / นั้นเป็นพื้นที่อันไปได้ในที่ทั้งปวง คือ ไปได้ ในสาวก ปัจเจกพุทธเจ้า และ พระพุทธเจ้า /

 

45     ความมีอำนาจ 4 ประการ การหมุนไปแห่งใจ และผู้ยึดถือในความไม่แตกต่างแห่งความแตกต่าง ในเกษตร ในความรู้และในกรรม /

 

อรรถาธิบาย     การหมุนไปแห่งใจ ผู้ยึดถือ และความไม่แตกต่าง คืออรรถแห่งการหมุนไป / ความมีอำนาจมี 4 ประการ ในความไม่แตกต่าง ในเกษตร ในความรู้ และในกรรม ตามลำดับ /

 

46     ในภูมิ 3 อันไม่เคลื่อนไหวเป็นต้น ความมีอำนาจมี 4 ประการ ในภูมิ 1 มี 2 และ ความมีอำนาจเป็นที่ทราบเป็นไปในภูมิ 1 อื่นๆอีก /

 

อรรถาธิบาย     พึงทราบว่าความมีอำนาจมี 4 ประการ ในภูมิ 3 มีการไม่เคลื่อนไหวเป็นต้น / ความมีอำนาจ 2 ประการอยู่ในภูมิอันไม่เคลื่อนไหวภูมิที่ 1 / เพราะความที่สังสการไม่มีความแตกต่างในความไม่มีความแตกต่าง/ ในเกษตร เพราะการทำให้พุทธเกษตรบริสุทธิ์ / ความมีอำนาจอันเป็นไปในภูมิแต่ละหนึ่งๆ อื่นอีก ความมีอำนาจในความเป็นผู้มีความคิดดี และความมีอำนาจในความรู้ เพราะการได้รับความวิเศษที่จัดแจงแล้ว / ในเมฆแห่งธรรมเป็นกรรมแห่งการกระทำในอภิญญา อันไม่มีอุปสรรค /

 

47     ผู้มีปัญญารู้ความไม่มีตัวตนอันมี 2 ประการ อันเป็นไปในภพและรู้ความเสมอ ย่อมเข้าไปสู่ความเป็นตัตวะ ในที่นี้ จากที่นั้นผู้มีปัญญาย่อมไม่เคลื่อนไหวการหลุดพ้นอันไม่มีการไปของการได้รับอันยิ่งยอด /

 

อรรถาธิบาย     การบรรยายแห่งการหลุดพ้น อีกประการหนึ่ง / พระโพธิสัตว์รู้จักความไม่มีตัวตนอันมี 2 ประการอันเป็นไปในภพ 3 และทราบว่าสิ่งนั้นอันเสมอกัน ความไม่มีตัวตนอันมี 2 ประการ เพราะการไม่มีแห่งบุคคลอันเป็นปริกัลปิตะ และเพราะความไม่มีแห่งธรรมอันเป็นปริกาลปิตะแต่ไม่ใช่เพราะความไม่มีโดยประการทั้งปวง / บุคคลย่อมเข้าถึงตัตวะจากการยึดถือซึ่งสิ่งที่ควรรู้เท่านั้น คือเป็นเพียงการยึดถือเท่านั้น / การหลุดพ้นย่อมมีแก่การได้รับอันเป็นปรมะอันเป็นการไปปราศเพราะการไม่มีแห่งบุคคลและธรรม /

 

48     เมื่อส่วนสำคัญมีอยู่ในพื้นฐานจากการรวบรวม เมื่อบุคคลเห็นสักแต่ว่าชื่อ ย่อมเห็นสักแต่ว่าชื่อ เมื่อเห็นเช่นนั้นย่อมไม่เห็น โดยความเป็นจริง /

 

อรรถาธิบาย     ปริยายอื่นอีก คือ พื้นฐาน ดังนั้น พื้นฐานคือการฟัง เพราะการได้การรวบรวมอันมีในก่อนโดยการรวบรวมและการเลี้ยงดู / เมื่อมีการใส่ไว้ คือ โยนิโสมนสิการ บุคคลย่อมเห็นเพียงแต่ชื่ออันเว้นจากอรรถสักแต่ว่าการเปล่งคำพูด / เพราะว่า บุคคลย่อมเห็นสักแต่เพียงว่า ชื่อ คือ ชื่อว่าเป็นสักแต่เพียงสิ่งที่ควรรู้ ขันธ์ 4 อย่างอันไม่มีรูป คือ การกระทำแล้ว เมื่อเห็นอย่างนี้บุคคลย่อมไม่เห็นในอรรถ วิชญาปติไม่ถูกเห็น วิมุตติไม่เป็นสิ่งที่บรรลุได้ /

 

49    จิตนั้นอันโทษประทุษร้ายแล้ว อันผูกมัดอยู่ด้วยทรรศนะว่ามีตัวตน แต่การหมุนออกย่อมเป็นไป เพื่อการตั้งมั่นแห่งอัตตาอันยิ่งที่ทราบกันแล้ว

 

อรรถาธิบาย     ประการอื่นอีก จิตนี้อันมีโทษประทุษร้ายแล้วย่อมเป็นไปในการเกิด / ถูกผูกมัดด้วยทรรศนะ ว่ามีตนคือ ย่อมแสดงเหตุอันโทษประทุษร้าย / ถูกผูกมัดด้วยทรรศนะว่ามีตน 2 ประการ ดังนั้น จึงชื่อว่าเป็นไปกับด้วยโทษประทุษร้าย / แต่การหมุนออกเพื่อการตั้งมั่นแห่งอัตตาอันยิ่ง ดังนั้น จิตแห่งจิตนั่นเท่านั้น ไม่มีการได้ พื้นฐานอันมั่นคงอื่นอีก /

 

50     เพราะความไม่มีอยู่ด้วยอัตตาของตน ความเป็นของตนในสวภาวะและแห่งความไม่ตั้งมั่น และความไม่มีแห่งผู้ยึดถือ เป็นที่ทราบกันว่าเป็นความไม่มีสวภาวะ

 

อรรถาธิบาย     ความเป็นของตน คือ ความไม่มีแห่งสวภาวะ เพราะอภาวะ เพราะความที่ธรรมทั้งหลายไม่ใช่สิ่งที่เหมาะสม / ความไม่มีแห่งสวภาวะด้วยตนของตนเองไม่มี อีกประการหนึ่งเพราะการไม่เกิดขึ้นแห่งตนอันเป็นของตน / พึงทราบว่า ความไม่มีสวภาวะ เพราะความไม่ตั้งมั่นอยู่ในสวภาวะ เป็นขณิกภาวะ เพราะเหตุว่าความไม่มีสวภาวะอันมี 3 ประการ เป็นการถึงความเป็น 3 แห่งลักษณะอันปรุงแต่ง / และความไม่มีสวภาวะ เพราะความไม่มีแห่งบุคคลผู้ยึดถือนั้น / เพราะความไม่มีแห่งผู้ยึดถือนั้น จึงได้ชื่อว่า เพราะความไม่มีแห่งสวภาวะ / ความเป็นผู้ยึดถือในสวภาวะแห่งคนพาลโดยความเป็นสิ่งเที่ยงแท้เป็นสุขและสบาย หรือโดยประการอันหรือโดยลักษณะแห่งปริกัลปิตะฉันใด สวภาวะย่อมไม่มีฉันนั้น เพราะฉะนั้น ความไม่มีสวภาวะจึงเป็นการแสวงหาธรรมทั้งหลาย /

 

51     ความสำเร็จจากความไม่มีสวภาวะ อันเป็นพื้นฐานอันยอดเยี่ยม อันไม่เกิดขึ้นอีก อันไม่ดับ อันไม่ได้แสดงแล้วในความถึงปรินิพพาน /

 

อรรถาธิบาย     ความสำเร็จ(สิทธิ) อันไม่เกิดขึ้นและดับไปจากความไม่มีสวภาวะ / สิ่งใดเป็นสิ่งไม่มีสวภาวะ สิ่งนั้นไม่เกิดขึ้นแล้ว สิ่งใดไม่เกิดขึ้นสิ่งนั้นย่อมไม่ดับไป สิ่งใดไม่ดับไปสิ่งนั้นไม่สงบในเบื้องต้น สิ่งใดไม่สงบในเบื้องต้น สิ่งนั้นเป็นการปรินิพพาน โดยปกติ ดังนั้น ความสำเร็จจึงเป็นสิ่งที่ไม่เกิดขึ้นและดับไปโดยพื้นฐานอันยอดเยี่ยมและโดยความไม่มีสวภาวะอันยิ่งและ โดยความไม่มีแห่งสวภาวะ /

 

การแสวงหาความสงบแห่งธรรมอันไม่เกิดขึ้นอีก จบ.

 

52      ในเบื้องต้น ในตัตวะ ในความเป็นอื่น ในลักษณะของตน ในความเป็นของตน และในความเป็นอื่น ในอภาวะ ในความเศร้างหมอง ในความวิเศษ ความสงบถูกเรียกว่า ธรรมอันบังเกิดขึ้นอีก/

 

อรรถธิบาย     ในธรรมอันไม่บังเกิดขึ้นอีก 8 ประการ ความสงบได้ชื่อว่าเป็นความสงบแห่งธรรมอันไม่เกิดขึ้นอีก / ในเบื้องต้นแห่งสังสาร / เพราะว่าการเกิดขึ้นแห่งธรรมนั้นย่อมไม่มี / ในความเป็นเช่นนั้นและในความเป็นอื่นแห่งธรรมอันมีในกาลก่อน เพราะว่าในสังสารการเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านั้นย่อมไม่มีธรรมเหล่าใดเกิดขึ้นก่อน เพราะการเกิดขึ้นด้วยภาวะแห่งธรรมเหล่านั้น / และไม่มีแห่งธรรมเหล่าอื่น เพราะการไม่เกิดขึ้นด้วยประการแห่งธรรมอันไม่มีในกาลก่อน /ในลักษณะแห่งตนของปริกัลปิตะอันเป็นสวภาวะ เพราะการเกิดขึ้นในกาลไหนๆ ย่อมไม่มี / ความเป็นของตนในการไม่เกิดขึ้นแห่งประตันตระ / ในความเป็นโดยประการอื่นแห่งปรินิษปันนะ เพราะว่าย่อมไม่มีการเกิดขึ้นแห่งความเป็น โดยประการอื่น/ ในความเศร้าหมองอันถูกประหารแล้ว บุคคลย่อมไม่ประสบการเกิดขึ้นแห่งความเศร้าหมองด้วยความสิ้นไป ด้วยญาณ และด้วยการได้รับอีกต่อไป / ในความวิเศษแห่งธรรมกายของพระพุทธเจ้า เพราะการเกิดขึ้น เพราะความวิเศษแห่งธรรมกายเหล่านั้นย่อมไม่มี / ด้วยเหตุฉะนี้ในธรรมอันไม่เกิดขึ้นอีกนี้ ความสงบจึงถูกเรียกว่าธรรมอันไม่บังเกิดขึ้นอีก /

 

โศลกว่าด้วยการแสวงหาความเป็นเอกยาน 7 โศลก

 

53     ด้วยความแตกต่างแห่งโคตรจึงมีธรรม ความไม่มีตัวตน ความเป็นสิ่งเสมอ การอาศัยอันมีอย่าง 2 การเนรมิต ความกำหนดได้อันเป็นเอกยาน /

 

อรรถธิบาย     ความเป็นเอกยานเพราะความเสมอแห่งธรรม ยานพึงทราบว่าเพราะความแตกต่างแห่งธรรมธาตุของพระสาวกเป็นต้น จึงมี / ความเป็นเอกยาน เพราะความเสมอแห่งความไม่มีตัวตน ยานพึงทราบว่าเพราะมีความเท่าเทียมกันแห่งความมีแห่งอัตตาของพระสาวกเป็นต้น / ความเป็นเอกยานมีเพราะความเสมอแห่งวิมุตติ เพราะยานย่อมถึง / ความเป็นเอกยานมีเพราะความแตกต่างแห่งโคตร / เพราะความไม่มียานด้วยมหายานแห่งโคตรของสาวกอันไม่เที่ยงแท้จึงไปด้วยมหายานนั้น / ความเป็นเอกยานมีเพราะการอาศัยอันมี 2 ประการ / เพราะการอาศัยในอัตตาแห่งสรรพสัตว์ของพระพุทธเจ้าและเพราะการอาศัยในพระพุทธเจ้าในอัตตาเป็นที่ประพฤติโพธิมีในกาลก่อนของพระสาวกผู้มีความไม่เที่ยงแท้แห่งโคตร ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า เพราะการบรรลุอธิโมกข์ ด้วยการได้รับประเทศอันวิเศษ  เพราะการอนุเคราะห์แห่งพระตถาคตเจ้า ดังนั้น ด้วยการได้รับการอาศัยอันเป็นหนึ่งความเป็นเอกยานแห่งพระพุทธเจ้าและพระสาวกจึงมี / ความเป็นเอกยานมีเพราะการนิรมาณ (เนรมิต) เหมือนดังที่กล่าวไว้แล้วว่า ข้าพเจ้าผู้บำเพ็ญบารมีตลอดร้อยไม่ใช่หนึ่ง ปรินิพพานแล้วโดยสาวกยาน ดังนี้ ในอรรถแห่งเวไนยสัตว์ด้วยการแสดงการนิรมิรมาณ / ความเป็นเอกยานมีเพราะการกำหนดได้ บุคคลไม่พึงไปด้วยยานอื่น ซึ่งไม่มี / ความเป็นแห่งพุทธะชื่อว่า เอกยาน พึงทราบว่าในพระสูตรนั้นๆ ความเป็นเอกยานได้มีการอภิปรายด้วยพระสูตรนั้นๆ ด้วยประการฉะนี้ ความเป็น 3 แห่งยานจึงไม่มี /

 

อีกประการหนึ่ง ความเป็นเอกยานที่อภิปรายด้วยพระสูตรนั้นๆ พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว /

 

54     ความเป็นเอกยานอันพระพุทธเจ้าทรงแสดงอรรถแห่งการมีความชอบใจแห่งบุคคลเดียวและเพื่อการรักษาไว้ซึ่งบุคคลอื่นแห่งความเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้จึงมี /

 

อรรถธิบาย     พระสาวกเหล่าใดชื่อว่าไม่มีความเที่ยงแท้ซึ่งอรรถแห่งการมีความชอบใจแห่งบุคคลผู้เดียว / และเพื่อการทรงไว้แห่งอรรถของบุคคลอื่น โคตรแห่งพระโพธิสัตว์จึงเป็นความไม่เที่ยงแท้ /

 

55    พระสาวกผู้ไม่มีความเที่ยงแท้ มี 2 ประเภท โดยการยึดถืออรรถแห่งผู้เห็นแล้วและผู้ไม่เห็นแล้ว ผู้มีอรรถอันเห็นแล้ว ผู้มีราคะ ไปปราศแล้วและผู้ไม่มีราคะ ไปปราศแล้ว บุคคลทั้ง 2 นี้เป็นผู้มีความอ่อนโยน/

 

อรรถธิบาย     อีกประการหนึ่งพระสาวกพึงทราบว่ามี 2 ประเภท ผู้ไม่มีความเที่ยงแท้ / ผู้ถึงอรรถอันตนเห็นแล้ว คือบุคคลใดผู้มีความจริงอันเห็นแล้ว ย่อมไป โดยมหายาน ผู้ถึงอรรถอันตนไม่เห็นแล้ว คือผู้มีความจริงอันไม่เห็นแล้วย่อไม่ไป โดย มหายาน / อีกประกานหนึ่ง ผู้มีอรรถอันเห็นแล้ว ผู้มีราคะ ไปปราศแล้ว และผู้มีราคะไม่ไปปราศแล้ว จากกาม / พึงทราบว่าบุคคลทั้ง 2 ประเภทนี้ เป็นผู้มีคติอันอ่อนโยน /

 

ผู้มีอรรถอันตนเห็นแล้ว 2 ประเภท ท่านกล่าวแล้ว /

 

56     และพระสาวกทั้ง 2 ประเภทนั้น เพราะการแปรไปในภพทั้งหลายแห่งหนทางอันประเสริฐที่ได้แล้ว ด้วยการเกิดขึ้นพร้อม ผู้มีความรู้รอบทั้ง 2 ด้วยความแปรไปแห่งความเป็นสิ่งอันบุคคลไม่พึงคิด /

 

อรรถธิบาย     และพระสาวกผู้มีอรรถเห็นแล้วนั้นทั้ง 2 พึงเคลื่อนไปในภพทั้งหลายแห่งหนทางอันประเสริฐอันตนได้แล้ว / ผู้มีความเห็นโดยรอบทั้ง 2 พึงทราบโดยการเกิดขึ้นพร้อมแห่งการเคลื่อนไปอันเป็นสิ่งไม่พึงคิด / การเกิดขึ้นในการไปแห่งหนทางอันประเสริฐนั้น เป็นสิ่งอันบุคคลไม่พึงคิด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าผู้เคลื่อนไปอันบุคคลไม่พึงคิด /

 

57     การเกิดขึ้นพร้อมในปณิธานและอำนาจเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นพร้อม บุคคลผู้เดียว ย่อมปฏิบัติด้วยการเนรมิตจากการประกอบ โยคะ เพื่ออนาคามี /

 

อรรถธิบาย     ผู้หนึ่งแห่งสองนั้น ย่อมถือเอาการอุบัติเพราะปณิธานและอำนาจ (อำนาจแห่งปณิธาน เป็นผู้ไม่ใช่มีราคะ ไปปราศแล้ว) / ผู้หนึ่งย่อมถือเอาด้วยการเนรมิต ด้วยกำลังแห่งการประกอบโยคะเพื่ออนาคามี /

 

58     ทั้ง 2 นั้น เป็นที่ทราบว่ามีคติอันเคลื่อนไปโดยลำดับ เพราะความยินดีในนิรมาณเพราะการประกอบในความมีอาจาระแห่งจิตของตนบ่อยๆ/

 

อรรถธิบาย     พระสาวกทั้ง 2 ประเภทนั้น เป็นที่ทราบว่ามีคติอันเคลื่อนไปอย่างเป็นลำดับ เพราะความยินดีในนิรมาณ เพราะการรู้เฉพาะตลอดกาลยาวนาน / เพราะการประพฤติเนื่องๆแห่งจิตของพระสาวกอันเป็นของตนอันไปด้วยกัน /

 

59     บุคคลนั้น ผู้มีอรรถอันไม่กระทำแล้ว เกิดแล้ว ในความไม่มีพุทธเจ้าเกิดขึ้นในอรรถแห่งธยาน ผู้มีความต้องการด้วยการเนรมิต อาศัยในสิ่งนั้น ย่อมบรรลุโพธิอันยอดเยี่ยม /

 

อรรถธิบาย     อีกประการหนึ่ง บุคคลใดผู้มีราคะไปปราศแล้ว ผู้มีความจริงอันเห็นแล้วบุคคลนั้น เป็นผู้มีอรรถอันไม่กระทำแล้ว เป็นผู้ยังต้องศึกษา เกิดในกาลที่ว่างจากพระพุทธเจ้าเป็นผู้พร้อมในธยาน เป็นผู้มีความต้องการด้วยการเนรมิต / ผู้อาศัยการนิรมาณนั้น ย่อมบรรลุโพธิอันยอดเยี่ยมโดยลำดับ /พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสถานะอันมี 3 ประการไว้ในศรีมาลาสูตรแล้ว / เมื่อเป็นพระสาวกแล้วก็เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า และเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้ / ในที่สุดแห่งการเห็นไฟ และในกาลใดและในกาลก่อนสถานะแห่งการเห็นความสัตย์จริง ในกาลว่างเว้นจากพระพุทธเจ้า  การเกิดขึ้นเพื่อธยานอันเป็นของตน ความพยายามในกายของการเกิดย่อมยึดถือซึ่งนิรมาณกาย และในกาลใดบุคคลย่อมบรรลุโพธิอันยอดเยี่ยม /

 

โศลกว่าด้วยการแสวงหาสถานะแห่งความรู้

 

60     บุคคลไม่ประกอบโยคะ ในสถานะแห่งวิทยาอันมี 5 ประการแล้ว ย่อมไม่ถึงความเป็นสัพพัญญู เป็นผู้ประเสริฐยิ่งได้อย่างไร บุคคลย่อมประกอบโยคะ เพื่อความรู้อันเป็นของตนและเพื่อข่มและอนุเคราะห์แก่คนอื่นนั่นเทียว /

 

อรรถธิบาย     สถานะแห่งวิทยามี 5 ประการ / วิทยาเพื่อตนเอง วิทยาแห่งเหตุ วิทยาแห่งศัพท์ วิทยาแห่งการวิเคราะห์ และวิทยาแห่งสถานะทางศิลปกรรม / พระโพธิสัตว์พึงแสวงหาความรู้ตามที่ท่านได้แสดงไว้แล้วเหล่านี้ / การบรรลุความรู้ทั้งปวง ชื่อว่า ทั้งปวงเพราะไม่มีความแตกต่าง / โดยความแตกต่าง อีกประการหนึ่ง พระโพธิสัตว์แสวงหาวิทยาแห่งเหตุและวิทยาแห่งศัพท์ เพื่อการข่มบุคคลอื่นผู้ที่ยังไม่หลุดพ้น / แสวงหาวิทยาแห่งการวิเคราะห์และวิทยาแห่งสถานะทางศิลปกรรมเพื่อตนเอง เพื่อความรู้อันเป็นของตน /

 

        โศลกว่าด้วยการแสวงหาการสนับสนุนธาตุ 13 โศลก / บุคคลเหล่าใด บำเพ็ญบารมีเพื่อการเต็มรอบแห่งบารมี ย่อมเป็นผู้สนับสนุนธาตุ เป็นผู้กระทำไว้ในใจ บุคคลเหล่านั้นอันท่านแสดงแล้วด้วยคาถาทั้งหลายเหล่านี้ /

 

61    ความยินดีต่อการได้เหตุ การอนุสสติถึงพื้นฐาน ความปรารถนาผลอันเป็นสาธารณะ การบรรลุโพธิ /

 

อรรถธิบาย     อีกประการหนึ่งเพราะการกระทำไว้ในใจด้วยความยินดีต่อการได้รับเหตุ จนกระทำไว้ในใจด้วยความคล้ายกันแห่งตนอันเลิศ / ในที่นี้ การกระทำไว้ในใจซึ่งความยินดีต่อการได้รับเหตุ เป็นการเริ่มต้นเพียงนั้นแหละ / พระโพธิสัตว์ผู้ตั้งอยู่ในโคตร เห็นโคตรแห่งบารมีในอัตตาของตนแล้ว การกระทำการสนับสนุนบารมีธาตุ (ธาตุแห่งบารมี) ด้วยความยินดีต่อการได้เหตุ / พระโพธิสัตว์ย่อมตั้งอยู่ในโคตรถือเอาจิตในอนุตตรสัมมาสัมโพธิแล้วจึงกระทำไว้ในใจซึ่งการอนุสสติถืงพื้นฐาน / เพราะว่าพระโพธิสัตว์นั้นตามเห็นโพธิจิตอันเป็นพื้นฐานแห่งบารมีในอัตตาของตนแล้วจึงกระทำไว้ในใจอย่างนี้ จักบรรลุถึงความเต็มรอบแห่งบารมีเหล่านั้นอันเที่ยงแท้ / เพราะว่าพระโพธิสัตว์ย่อมรู้จักโพธิจิตอันเป็นของเราดังนี้ / การกระทำไว้ในใจเพราะปรารถนาผลอันเป็นสาธารณะ ในการประกอบเพื่อประโยชน์ของตนและของคนอื่นด้วยบารมีแห่งโพธิจิตอันเกิดขึ้นแล้ว ผลอันเป็นสาธารณะเพื่อคนอื่นแห่งบารมีเหล่านั้นย่อมมีหรือว่าอย่าได้มีดังนี้เพราะการกระทำพร้อมอันยิ่ง / เมื่อบุคคลประกอบอยู่เพื่อประโยชน์ตน ย่อมแทงตลอดซึ่งอรรถแห่งตัตวะอันเป็นอุบายแห่งกิเลส ดังนั้นจึงมีการกระทำไว้ในใจต่อการบรรลุถึงโพธิอันยอดเยี่ยม / พึงทราบอย่างนี้ในทีทั้งปวงโดยลำดับ / บารมีอันพระผู้มีพระภาคผู้พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วย่อมตรัสรู้และจักตรัสรู้โดยประการใด ข้าพเจ้าย่อมหลุดพ้นโดยประการนั้น นี้แหละคือการกระทำพร้อมอันยิ่ง /

 

62     ความรักด้วยอานุภาพแห่งการตัดสินใจอันไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย 4 ประการ การปฏิบัติในฝ่ายแตกต่างและเป็นฝ่ายปฏิปักษ์ 4 ประการ /

 

อรรถธิบาย     การกระทำไว้ในใจแห่งความรักด้วยอานุภาพด้วยความรักอันแสดงอานุภาพ 4 ประการ อานุภาพ 4 ประการนั้น คือ การประหารฝ่ายที่แตกต่าง (วิปักษ์) ความแก่รอบแห่งการรวบรวม การอนุเคราะห์ตนและผู้อื่น และการให้ผลแห่งวิปากและผลแห่งการไหลออก / การกระทำไว้ในใจซึ่งการตัดสินใจอันไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยปรารภความแก่รอบแห่งพุทธธรรมแห่งสัตว์และตนเอง พึงบรรลุโพธิอันยอดเยี่ยม เพราะการกระทำอันยิ่งด้วยการปฏิบัติเพื่อสรรพสัตว์ด้วยการปฏิบัติเพื่อทุกข์ทั้งปวงและด้วยการตัดสินใจอันไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย / การแสดงคืนซึ่งฝ่ายแตกต่างแห่งทานเป็นต้น และแห่งความตระหนี่ และการอนุโมทนาในทานเป็นต้นของปฏิปักษ์และการแสวงหาอันยิ่งเพื่อประโยชน์แก่การแสดงธรรมอันเป็นใหญ่นั้น / การแปรไปในโพธินั้น /

 

63     ความเสื่อมใส การต้อนรับ ความยินดีในทานเพื่อคนอื่น การตระเตรียม ความตั้งใจ การกระทำความยินดียิ่ง /

 

อรรถธิบาย     เมื่อปรารภการเริ่มต้นด้วยอธิมุกติและพละแล้ว มีการกระทำไว้ในใจซึ่งความเลื่อมใสในธรรมอันเป็นใหญ่ด้วยบารมี / ปรารภการแสวงหาธรรมมีการกระทำไว้ในใจซึ่งการต้อนรับด้วยการประกอบการนำไปเฉพาะซึ่งธรรมนั่นเทียว ด้วยการยึดถือ / ปรารภเทศนาแล้ว มีการกระทำไว้ในใจซึ่งความยินดีในทาน เพื่อประโยชน์แห่งธรรมและเพื่อประกาศแก่บุคคลอื่น / ปรารภการปฏิบัติแล้ว มีการกระทำไว้ในใจซึ่งการตระเตรียม เพราะตระเตรียมความบริบูรณ์แห่งทานเป็นต้น / การกระทำไว้ในใจซึ่งความตั้งใจเพื่อการบรรลุความบริบูรณ์ เพื่อประโยชน์แก่การเริ่มต้น / การกระทำไว้ในใจซึ่งความยินดียิ่งว่า โอหนอ ด้วยการปฏิบัติทานเป็นต้น ข้าพเจ้าพึงถึงพร้อมโดยชอบเถิดดังนี้ โดยความยินดียิ่ง / การกระทำไว้ในใจอันมี 3 ประการเหล่านี้ อย่างนี้ อันพระโพธิสัตว์พึงประกอบตามโอวาทและคำสอน / การกระทำไว้ในใจซึ่งกรรมอันเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลอันเป็นอุบายนี้ เป็นการกระทำไว้ในใจในการประกอบทานเป็นต้น โดยประการทั้งปวงด้วยสังกัลป์

 

64     ความร้อนรนในการได้รับความแข็งแกร่งในทานเป็นต้นอันมี 6 ประการ ในความแก่รอบ เพื่อการบูชา เพื่อเสพ ด้วยความกรุณา /

 

อรรถธิบาย     การกระทำไว้ในใจซึ่งความร้อนรนมี 4 ประการ / ในการได้รับความแข็งแกร่งในทานเป็นต้นมี 6 ประการ ตั้งแต่การให้ซึ่งทานจนกระทั่งการให้ปัญญา / ในศีลเป็นต้น มี 6 ประการ อย่างนี้ / ในความแก่รอบแห่งสัตว์ด้วยการประกอบในสังคหวัตถุ ด้วยบารมีทั้งหลาย / ด้วยการให้การบูชา / ด้วยการบูชาด้วยลาภสักการะ / ส่วนที่เหลือ คือ การบูชาด้วยการปฏิบัติ /

 

การกระทำไว้ในใจซึ่งความร้อนรนด้วยการคบกัลยาณมิตร 5 ประเภทที่ท่านแสดงซึ่งบารมีอันไม่ผิดเพี้ยน อันบุคคลพึงทราบ / การกระทำไว้ในใจซึ่งความกรุณา เพราะมีไมตรีด้วยการเข้าไปใกล้ทานอันมีประมาณ 4 / ด้วยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการทำลายความตระหนึ่เป็นต้น / ด้วยความยินดีตามในสัตว์ทั้งหลาย ผู้มาตามพร้อมแล้วด้วยทานเป็นต้น / ด้วยการวางเฉยและอธิโมกษ์ในสัตว์ผู้มีกิเลส /

 

65     ความละอายในสิ่งที่ไม่ได้ทำ ในสิ่งที่ทำเลว ความเสียใจในสิ่งที่ทำแล้ว ความยินดีในอารมณ์ ความไม่มีมิตร การมีความคิดในการเกิดขึ้นและในการแผ่ไป /

 

อรรถธิบาย     การกระทำไว้ในใจซึ่งความละอายเพราะปรารภที่ควรละอายละอายด้วยความเต็มรอบในทานเป็นต้น อันไม่ได้กระทำหรืออันกระทำแล้วบกพร่อง เมื่อละอายอยู่ย่อมมีความเสียใจภายหลังต่อความประพฤติและอรรถแห่งความเป็นไป / การกระทำไว้ในใจซึ่งความยินดีเพราะปรารภความมีปัญญาในการได้เฉพาะซึ่งทาน เพราะการทรงไว้ซึ่งจิตอันไม่ซัดส่าย / การกระทำไว้ในใจซึ่งความเหน็ดเหนื่อย เพราะการกระทำอันรู้พร้อมแห่งศัตรูในการไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในทานเป็นต้น / การกระทำไว้ในใจซึ่งความยินดีในการแผ่ไป เพราะการกระทำพร้อมอันยิ่งซึ่งการแผ่ไปแห่งศาสตร์อันประกอบพร้อมด้วยบารมี / การกระทำไว้ในใจซึ่งการเกิดขึ้น เพราะปรารภความรู้ในโลก เพราะการกระทำพร้อมอันยิ่งซึ่งการเกิดขึ้นพร้อมแห่งภาชนะ ในโลกแห่งศาสตร์นั้นนั่นเทียว /

 

66     ทานเป็นต้น ปฎิสรณะในสัมโพธิสิ่งไม่ประเสริฐเป็นต้น มีความเป็น 2 เพราะการรู้เฉพาะซึ่งโทษและคุณ /

 

อรรถธิบาย     การกระทำไว้ในใจซึ่งการถึงที่พึงจากการเป็นที่พึ่งแห่งทานเป็นต้น เพื่อการบรรลุโพธิ การกระทำไว้ในใจซึ่งการรู้เฉพาะแห่งผู้ประเสริฐ เป็นต้น เพราะการรู้พร้อมซึ่งโทษและคุณแห่งวิปักษ์ ในความตระหนี่เป็นต้น /

 

67     การระลึกถึงการสะสม และการเห็นความปิติในโยคะอันไม่มีความแตกต่าง ความปรารถนาในการบรรลุถึงปัจจัยแห่งปัญญานั้น /

 

อรรถธิบาย     การกระทำไว้ในใจซึ่งความยินดีในการระลึกถึงการสะสมเพราะการเห็นการสะสมขึ้นซึ่งสัมภาระในบุญและความรู้ในการสะสมทานเป็นต้น / การกระทำไว้ในใจซึ่งการเห็นความงดงามด้วยอรรถแห่งภาวะในฝ่ายแห่งโพธิมีทานเป็นต้น เพราะการเห็นอรรถแห่งการบรรลุถึงโพธิอันยิ่งใหญ่ / อีกประการหนึ่ง การกระทำไว้ในใจด้วยความยินดีในโยคะ อันมี 4 ประการ /การกระทำไว้ในใจด้วยความยินดีในโยคะ เพราะความยินดีในการประกอบสมถะและวิปัสสนาภาวนา / การกระทำไว้ในใจซึ่งความยินดีในความไม่มีความแตกต่างด้วยความยินดีในความฉลาดอันเป็นอุบายให้บารมีมีบริบูรณ์ / การกระทำไว้ในใจด้วยความยินดีในปัญญาเป็นเครื่องทรงไว้ เพราะความยินดีเป็นที่ทรงไว้ซึ่งอรรถแห่งธรรมอันเป็นใหญ่ในบารมี / การกระทำไว้ในใจด้วยความยินดีในการบรรลุถึงปัจจัย เพราะการกระทำพร้อมอันยิ่งในปณิธาน โดยชอบ /

 

68     การเห็นความแข็งแกร่งในความตั้งมั่นแห่งผู้ยึดถืออันไม่มีอยู่จริงโดยประการทั้ง 7, ความอัศจรรย์และความไม่อัศจรรย์และความรู้อันมี 4 ประการด้วยนั่นเทียว /

 

อรรถธิบาย     การกระทำไว้ในใจซึ่งการเห็นความแข็งแกร่งในความตั้งมั่นแห่งผู้ยึดถืออันไม่มีอยู่จริง โดยประการทั้ง 7 / ผู้ยึดถืออันไม่มีจริง มี 7 ประการ / ยึดถือสิ่งที่ไม่จริงว่าเป็นจริง, ยึดถือสิ่งที่เป็นโทษว่าเป็นคุณ ยึดถือสิ่งเป็นคุณว่าไม่เป็นคุณ ยึดถือความไม่มีจริงแห่งสุขอันเที่ยงแท้ในสังขารทั้งปวง ยึดถือความไม่มีจริงแห่งอัตตาในธรรมทั้งปวง ยึดถือว่าความไม่สงบในนิรวาณว่าเป็นสิ่งไม่จริง / และย่อมเห็นความเป็น 3 แห่งศูนยตาและสมาธิโดยความเป็นปฏิปักษ์และความเป็น 4 แห่งการอุทานธรรม / การกระทำไว้ในใจซึ่งความรู้อันมี 4 ประการ ในความอัศจรรย์/ ความรู้ในบารมี ความรู้ในกาลเวลาความรู้ในความไม่เป็นฝักฝ่ายแห่งการกระทำตอบ และ ความรู้ในความไม่เป็นฝักฝ่ายแห่งวิบาก / แม้การกระทำไว้ในใจซึ่งความรู้อันมี4 ประการ ในความไม่อัศจรรย์เช่นกัน / ความไม่อัศจรรย์ 4 ประการ คือ เมื่อกาลเวลาอันยาวนานแห่งบารมีเป็นสิ่งประเสริฐมีอยู่เพราะความยึดมั่นในผลแห่งความเป็นพุทธเจ้า / และความเป็น 2 ในที่นั้นมีอยู่เพราะความตั่งมั่นแห่งจิตอันเสมอด้วยตนและผู้อื่น เมื่อการได้รับการบูชาด้วยความแข็งแกร่งอันวิเศษมีอยู่ ความไม่เป็นฝักฝ่ายแห่งการกระทำตอบแทนและเมื่อการได้การเสวยสรีระอันวิเศษแห่งโลกทั้งปวง แม้มีอยู่ความไม่เป็นฝักฝ่ายแห่งวิบากย่อมมีเช่นกัน /

 

69     ความเป็นผู้เสมอในสรรพสัตว์และความเห็นอันยิ่งใหญ่ การกระทำตอบซึ่งคุณแก่บุคคลอื่น การสั่งสอนอันมี 3 ประการ อันมีระหว่างออกแล้ว (อันเป็นนิรันดร) /

 

อรรถธิบาย     การกระทำไว้ในใจซึ่งความเป็นผู้เสมอ เพราะการกระทำพร้อมอันยิ่งในการประพฤติสม่ำเสมอด้วยทานเป็นต้น ในสรรพสัตว์ / การกระทำไว้ในใจซึ่งความเห็นอันยิ่งใหญ่ เพราะการเห็นพร้อมในบารมีด้วยการอุปการในสรรพสัตว์ / การกระทำไว้ในใจซึ่งการคาดหวังในประการอันเป็นปัจจัย ด้วยการประพฤติคุณมีทานเป็นต้น เพื่อบุคคลอื่น / การกระทำในใจซึ่งการสั่งสอน เพราะการสั่งสอนสัตว์ด้วยความตั่งมั่นในโพธิสัตวภูมิและด้วยการตั่งมั่นในพุทธภูมิแห่งบารมีเพราะการคาดหวังอันมี 3 สถานะในสัตว์ทั้งหลาย / การกระทำไว้ในใจซึ่งความเป็นนิรันตร เพราะการกระทำพร้อมอันยิ่งในการทำกาละด้วยทานเป็นต้น /

 

70     เจตนาแห่งสถานะของคำพูดอันตั้งมั่นอย่างประณีตของพระพุทธเจ้า การไม่ยินดีและความพลอยยินดีในความเจริญและความเสื่อมในสัตว์ทั้งหลาย /

 

อรรถธิบาย     การกระทำไว้ในใจซึ่งการประกอบโดยชอบเพราะการกระทำไว้ในใจซึ่งสถานะแห่งคำพูดอันตั้งมั่นอย่างไม่วิปริต /การกระทำไว้ในใจซึ่งความไม่ยินดีในเมื่อสัตว์ทั้งหลายเสื่อมอยู่จากทานเป็นต้น / การกระทำไว้ในใจซึ่งความพลอยยินดีในเมื่อสัตว์ทั้งหลายเจริญอยู่ด้วยทานเป็นต้น /

 

71     ความไม่ชอบใจในภาวนาอันไม่เป็นจริงและเป็นจริงการกระทำไว้ในใจซึ่งการไม่อยู่ทับ เป็นสิ่งน่าปรารถนาในการพยากรณ์และความเที่ยงแท้

 

อรรถธิบาย     การกระทำไว้ในใจซึ่งความไม่ชอบใจในการเจริญภาวนาอันไม่เป็นจริงเพื่อบารมี / การกระทำไว้ในใจซึ่งความยินดีเพื่อบารมีอันเป็นจริง / การกระทำไว้ในใจซึ่งการไม่ถึงทับ เพราะการกระทำพร้อมอันยิ่งด้วยวินัยอันเป็นฝักฝ่ายแก่ความตระหนี่ / การกระทำไว้ในใจซึ่งความปรารถนามี 2 ประการ การกระทำไว้ในใจซึ่งความปรารถนาในการได้รับการพยากรณ์ความเต็มรอบแห่งบารมีและการกระทำไว้ในใจซึ่งความปรารถนาในการได้รับความจริงอันเที่ยงแท้แห่งบารมี /

 

72     เจตนาในการประพฤติ เป็นความเห็นอันเสมอ เพราะเห็นในความต่อเนื่อง และเพราะประพฤติในธรรมอันเลิศ เพราะทรงไว้ซึ่งตนอันเลิศด้วย

 

อรรถธิบาย     การกระทำไว้ในใจซึ่งความประพฤติในความต่อเนื่อง เพราะไปแล้วในคติใดอันถึงแล้ว ด้วยการกระทำความแน่นอนอันเป็นจริงโดยพระโพธิสัตว์ / การกระทำไว้ในใจซึ่งการเห็นอันเสมอแห่งทานเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่การบรรลุอธิโมกษ์ด้วยการบำเพ็ญบารมีอันต่อเนื่องผู้มีตนอันยิ่งด้วยพระโพธิสัตว์เหล่าอื่น / การกระทำไว้ในใจซึ่งการทรงไว้ซึ่งตนอันเลิศ เพราะการเห็นพร้อมในการมีอยู่แห่งความเพียรอันเป็นของตน เพราะประพฤติธรรมอันเลิศคือบารมี

 

73     การกระทำไว้ในใจซึ่งความดีงามเหล่านี้ เป็นไปเพื่อบารมี 10 มีอยู่ตลอดกาลทุกเมื่อย่อมมีอยู่ในการสนับสนุนธาตุแห่งพระโพธิสัตว์แล /

 

อรรถธิบาย     โศลกอันสุดท้ายนี้มีเนื้อความอันท่านอธิบายแล้ว ด้วยประการฉะนี้ /

 

โศลกว่าด้วยความแตกต่างแห่งการแสวงหาธรรม 2 โศลก

 

74     การแสวงหาอันยิ่งใหญ่ เป็นที่ปรารถนาจากการอาศัยความสนับสนุนในนักปราชญ์ การห้ามและการไม่ห้าม เป็นการเสวยแห่งสิ่งเหล่านั้น /

 

75     ความไม่มีร่างกาย กายเบา กายอันบริบูรณ์ การเนรมิตอันมากและน้อย เป็นความปรารถนาแห่งพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย /

 

อรรถธิบาย     การแสวงหามี 13 ประการ / ด้วยการสนับสนุนอธิมุกอันฟังแล้วได้ชื่อว่าการสนับสนุน /ด้วยกระแสแห่งปากแห่งธรรมชื่อว่า การอาศัย / ความยิ่งใหญ่แห่งบุคคลผู้ได้จิต / เป็นไปกับด้วยการห้าม เป็นที่ 1 / เป็นไปกับด้วยการไม่ห้าม เป็นที่ 2 / เป็นการเสวย เป็นที่ 3 / ไม่มีกายอันสำเร็จด้วยการฟังและการคิด เพราะเว้นจากธรรมกาย / มีร่างกายอันสำเร็จด้วยการเจริญ ภาวนาเป็นภูมิแห่งการประพฤติในอธิมุกติ / มีกายเบาในภูมิ 7 / มีกายบริบูรณ์ในภูมิที่เหลือ / ในภูมิแห่งการประพฤติอธิมุกติอันมาก / อันน้อยในภูมิ 7 / การเนรมิตในภูมิที่เหลือ /

 

โศลกว่าด้วยการแสวงหาความมีเหตุแห่งธรรม

 

76     ในรูปและอรูป ธรรมเป็นเหตุแห่งลักษณะ เป็นความไม่มีโรค เป็นทรัพย์สมบัติอันสูงสุด ด้วยอภิญญา ในความไม่รู้จักสิ้น ไปนั้นของนักปราชญ์ทั้งหลาย /

 

อรรถธิบาย     ในรูปธรรมเป็นเหตุแห่งลักษณะ / ในอรูปธรรมเป็นเหตุแห่งความไม่มีโรค เพราะสงบจากกิเลสและพยาธิ / เป็นเหตุแห่งสมบัติเป็นเหตุแห่งอภิญญาและความไม่รู้จักสิ้นไปในอนุปาทิเสสนิพพาน เพราะการไม่ถูกขัดขวาง / เพราะเหตุนั้นท่านกล่าวไว้แล้วใน พฺรหมปริปฤจฉาสูตร ว่า / เพราะโพธิสัตว์ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ ย่อมแสวงหาซึ่งธรรม / รู้ว่าเป็นรัตนะด้วยอรรถคือ ได้โดยยาก รู้ว่าเป็นเภสัช เพราะอรรถคือ การสงบแห่งกิเลสและพยาธิ รู้ว่าเป็นอรรถเพระอรรถคือ ไม่เป็นสิ่งพินาศรู้ว่าเป็นนิรวาณ เพราะอรรถความสงบแห่งทุกข์ทั้งปวง / เพราะว่าลักษณะ ที่เป็นรัตนะ เพราะการกระทำแสวงสว่าง เพราะเป็นเหตุแห่งการทำแสงสว่างนั้น จึงเป็นที่รู้ว่ารัตนะคือธรรม / เพราะเป็นเหตุแห่งความไม่มีโรคจึงเป็นที่รู้ว่าเป็นเภสัช / เพราะเป็นเหตุแห่งความเพียรด้วยอภิญญาจึงเป็นที่รู้ว่าเป็นอรรถ / เพราะเป็นเหตุแห่งความไม่รู้จักสิ้นไป จึงเป็นที่รู้ว่าเป็นนิรวาณ ด้วยอรรถแห่งความไม่รู้จักสิ้นไปและไม่มีภัย /

 

โศลกว่าด้วยการแสวงหาความแตกต่าง

 

77     ความแตกต่างอภาวะ ภาวะ การป้องกันความเศร้าหมอง ความแตกต่างแห่งความเป็นหนึ่งแห่งความเป็นต่างๆแห่งตนและแห่งความวิเศษ ความแตกต่างแห่งการเข้าไปยึดมั่นในอรรถและนาม อันผู้เกิดแต่พระชินเจ้าพึงละเว้น /

 

อรรถธิบาย     ความแตกต่าง 10 ประการ อันพระโพธิสัตว์พึงละเว้น / ความแตกต่างแห่งอภาวะ กล่าวแล้วโดยความเป็นปฏิปักษ์ / ในปรัชญาปารมิตาสูตรนี้ว่า พระโพธิสัตว์เป็นพระโพธิสัตว์นั่นเทียว ดังนี้ / ความแตกต่างแห่งภาวะ กล่าวแล้วโดยความเป็นปฏิปักษ์ / ย่อมไม่ตามเห็นพระโพธิสัตว์ ดังนี้ เป็นต้น / ความแตกต่างแห่งการป้องกัน กล่าวแล้วโดยความเป็นปฏิปักษ์ / ไม่เป็นศูนยตา ดังนี้ / ความแตกต่างแห่งความเป็นหนึ่งกล่าวแล้วโดยความเป็นปฏิปักษ์ / ความเป็นศูนยตาใดแห่งรูป รูปนั้นไม่ใช่รูปดังนี้ / ความแตกต่างแห่งความเป็ตต่างๆ กล่าวแล้วโดยความเป็นปฏิปักษ์ / รูปโดยความเป็นศูนยตาในที่ใดที่หนึ่งไม่มี รูปนั้นแหละเป็นศูนยตา ศูนยตานั่นแลเป็นรูปดังนี้ / ความแตกต่างแห่งลักษณะของตนกล่าวแล้วโดยความเป็นปฏิปักษ์ / สิ่งนี้เป็นแต่สักว่า นาม สิ่งนั้นเป็นรูป ดังนี้ / ความแตกต่างแห่งความวิเศษกล่าวแล้วโดยความเป็นปฏิปักษ์ / ไม่มีการเกิด ไม่มีการดับ ไม่มีความเสร้าหมอง ไม่มีความบริสุทธิ์แห่งรูปดังนี้ ความแตกต่างแห่งการเข้าไปยึดมั่นในอรรถและนาม กล่าวแล้วโดยความเป็นปฏิปักษ์ / นามเป็นแต่เพียงการสร้างขึ้นดังนี้ / และลักษณะแห่งการเข้าไปยึดมั่นในอรรถและนาม กล่าวแล้วโดยความเป็นปฏิปักษ์ / พระโพธิสัตว์ย่อมไม่ตายเห็นนามทั้งปวงเหล่านี้ เพราะไม่ตามเห็น จึงเข้าไปยึดมั่น การอภิปรายความหมายแห่งอรรถ ดังนี้แล /

 

78     ด้วยประการดังนี้ มติอันงดงามถึงแล้วซึ่งความเพียงอันเลิศ ความเป็นจริงแห่งธรรมดาอันแสวงหาความเป็น 2 เป็นที่พึ่งแก่หมู่สัตว์ทั้งหลาย เป็นที่บริบูรณ์ด้วยคุณเหมือนกับมหาสมุทร /

 

อรรถธิบาย     ด้วยโศลกสุดท้ายนี้ ท่านแสดงความยิ่งใหญ่แห่งการแสวงหา 3 ประการ / ความยิ่งใหญ่แห่งอุบาย ด้วยความพยายามอันเลิศธรรมอันปรุงแต่งและอันเป็นปรมัตถ์จึงได้ถูกแสวงหาแล้ว และความเป็นตัตวะ อรรถก็คือ ความเป็นจริง / ความยิ่งใหญ่แห่งประโยชน์เพื่อผู้อื่น เพราะภาวะแห่งการเป็นที่พึ่งแห่งหมู่สัตว์ / ความยิ่งใหญ่แห่งประโยชน์ตน เพราะบริบูรณ์ด้วยคุณทั้งหลายเหมือนดังมหาสุมุทร /

 

อธิการที่ 11 ว่าด้วยการแสวงหาธรรม ในมหายานสูตรลังการ จบ.

อธิการที่ 12

 

 

อธิการที่ 12

 

โศลกที่อธิบายการขับไล่ออกเสียซึ่งความอิจฉาริษยาในเรื่องการสอนธรรม

 

 

1     มุนีทั้งหลายผู้มีปัญญาซึ่งความเป็นสุขทั้งหมดยอมให้แก่สรรพสัตย์ผู้ประสบความทุกข์ตลอดเวลา ความมากมายของการให้(กุศล)อันบริสุทธิ์ ชีวิตของพวกเขาความมีโชคของพวกเขาซึ่งหามาได้อย่างยากลำบากและซึ่งไร้สาระต่อพวกเขา พวกเขาได้รับความคิดอันเกิดขึ้นในใจด้วยธรรมอันบริสุทธิ์อันมากต่อมากซึ่งมาจากวิธีที่หนึ่งและในวิธีทั้งหมดที่พวกเขายังเลี้ยงดู ดูแลความผาสุกของสรรพสัตว์อยู่ ด้วยเหตุแห่งธรรมจึงไม่ได้รัรบอย่างลำบากยากเย็น พวกเขาพัฒนาความเติบโตของคนอื่นๆ และมันไม่เคยสูญสิ้น เมื่อใดที่คนเรามีการให้

 

อรรถาธิบาย      พระโพธิสัตว์ให้กับสรรพสัตว์ผู้ประสบความทุกข์ซึ่งขีวิตของพวกเขาความมีโชคของพวกเขาซึ่งหามาได้ด้วยความลำบากและมันยังไม่ไร้สาระต่อพวกเขา (พระโพธิสัตว์) แม้กระนั้นมันยังทำให้คนเองหมดแรงไปโดยความเมตตากรุณา พวกเขาย่อมอุทิศตลอดเวลาในการเสียสละที่บริสุทธิ์ ธรรมอันบริบูรณ์ซึ่งเป็นของยากยิ่งต่อการได้มาและซึ่งเจริญเติบโตยังห่างไกลจากการลดลงในสัดส่วนต่อสิ่งซึ่งคนเราให้

 

โศลกว่าด้ว ส่วนที่ไม่เป็นประโยชน์และเป็นประโยชน์ และประโยชน์ธรรม 2 โศลก

 

2      ธรรมเนื่องจากไม่ได้มีการกล่าวภาษิตที่แท้จริงไว้ซึ่งแสดงไว้โดยพระผู้มีพระภาคเจ้า คนเราควรรู้ไว้สำหรับตนเอง กระนั้นก็ดีความมากมาย ที่ได้รับความดึงดูดในกับธรรมนี้เพราะเหตุแห่งหลักการสำคัญซึ่งบอกไว้ทางตรรกะ คนเราย่อมถูกลงโทษโดยความเมตตากรุณา เนื่องเพราะความร้ายกาจในความว่างเปล่าของช่องในปากของงูใหญ่ซึ่งเป็นเช่นกับ สภาพของความสันติความกว้างใหญ่ไพศาลในความบริสุทธิ์และเป็นของทั่วไปต่อคนทั้งหมดและไม่หมดสิ้นไป

 

อรรถาธิบาย      ปวงพระพุทธเจ้าเปรียบได้กับพญางูคือ โพรงของปากต่อสภาพของความสงบของพวกท่าน มันคือธรรมกาย ความไพศาลในความบริสุทธิ์โดยการชำระอุปสรรคของความทุกข์และรู้กับการให้ซึมซาบ เป็นของทั่วไปต่อคนทั้งหมดและต่อปวงพระพุทธเจ้ามันย่อมไม่รู้จักหมดสิ้นไปเพราะมันไม่เคยสูญสิ้นไป

 

3      เพราะฉะนั้น มันจึงไม่อยู่ปราศจากอรรถ (ความหมาย) ประหนึ่งความรู้สึกของพระโยคีย่อมไม่ถูกกีดกันไปจากผล ถึงแม้กระนั้น (การนำมาใช้ในทางปฏิบัติ) การสอนของโสกตะไม่เคยไร้ผล ถึงแม้หากว่ามันไม่เคยได้ฟังมาก็ตาม คนเราย่อมเห็นอรรถ ความรู้สึกอันถูกกวาดออกไปคืออรรถ ถ้าปราศจากการได้ยิน ได้ฟังเสียแล้ว คนเราก็ถูกผูกมัดในความรู้สึก การสอนจึงไม่ปราศจากอรรถ

 

อรรถาธิบาย      เพราะฉะนั้นความรู้สึกของพระโยคีจึงไม่ถูกกีดกันเสียซึ่งอรรถในฐานะที่มันอยู่ใกล้ข้อที่ว่าคนเราย่อมมุ่งหน้าสู่ธรรมซึ่งคนเราควรรู้สำหรับตนเองการสอนย่อมไม่ว่างเปล่าไปจากอรรถในฐานที่มันดึงดูดความมากมายต่อหลักการอันสมควรของมันโดยวิถีทางของธรรมจึงขอกเล่าไว้ตามหลักเหตุผล เป็นเพราะความรู้สึกของอรรถและเช่นกันกับการสอน เหล่านี้มันก็คือสิ่งซึ่งถูกแสดงไว้ในครั้งหนึ่งของโศลกนี้ ส่วนอรรถที่เหลืออธิบายในตัวของมันเองแล้ว

 

โศลกเกี่ยวกับการแบ่งคำสอน

 

4       การสอนความดี (สำคัญ) เนื่องมาจากขนบธรรมเนียมประเพณีของการได้มาจากวัดวาอาราม นี้คือ โดยเสียงของถ้อยคำของปากของแบบทั้งหมดและของช่องว่าง (ท้องฟ้า) เช่นกัน

 

อรรถธิบาย      ในเรื่องของวัดวาอาราม เมื่อใดที่พวกเขาได้เข้าไปในโลกอันยิ่งใหญ่ของรูปแบบทั้งมวลมันคือ เหล่าบุคคลผู้ที่ทำตนเองให้หลุดพ้นจากต้นไม้เป็นต้น (เครื่องมือของผู้ที่เชื่อในความประหลาดมหัศจรรย์) ส่วนที่เหลืออธิบายตัวมันเองอยู่แล้ว

 

5      ความบริสุทธิ์อันยิ่งใหญ่ซึ่งทำลายสิ่งทั้งหลายของความสงสัย คือ สิ่งที่เห็นพ้องกันซึ่งแสดงให้เห็นว่า หลักการสำคัญมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน คือ สิ่งทั้งหลายอันเป็นไปเพื่อทำความเข้าใจคำสอนอันเปี่ยมล้นของพระโพธิสัตว์

 

อรรถธิบาย      โศลกนี้แสดงให้เห็นถึงความหมายของการแบ่งแยก 4 อย่าง มันแสดงผลไว้ใน "พรหมาปาริปรชา" ซึ่งแบ่งไว้จับธรรม 4 คือ พระโพธิสัตว์ย่อมให้ของขวัญ (การให้) อันยิ่งใหญ่ คือ ธรรมในการถือเอาซึ่งความรู้อันบริบูรณ์ ของธรรมที่ดีในการใช้ปัญญา เฉพาะตัวของพวกเขาในการประสบกับความสำเร็จของการกระทำที่แข็งแกร่งอย่างแท้จริงในการสอนความทุกข์เต็มที่และการชำระมันโดยประการแรกในฐานะ ที่คนเราอ่านมาดี เทศนาของเราก็ควรค่าแก่การได้ยิน โดยประการที่ 2  เขามีความรู้อันยิ่งใหญ่ซึ่งสามารถทำลายความสงสัยได้ในฐานะที่เขาชำระให้สะอาดได้ซึ่งความสงสัยของคนอื่นๆ โดยประการที่ 3 ในการไม่เคยยินยอมให้การกระทำชั่วซ้ำซาก โดยประการที่ 4 เขาอยู่ในสถานะ ของการแสดงหลักการสำคัญสองชนิดคือ หลักการซึ่งมี 2 แบบคือ ดัชนีของความทุกข์เต็มที่และหลักการซึ่งมีไว้เพื่อการชำระดัชนี คือวิถีของความจริงทีละสองขั้น

 

6      กลิ่นหอม (ความน่ารัก) ความอิสระแห่งความคิดการปราศจากความเหนื่อยล้า (ความเศร้า)เขาย่อมให้เทศนาต่อสัตว์บุคคล(เบื้องต้น) (คน) ที่สำคัญคือ ความแจ่มแจ้งของการแตกต่างกันนิดหน่อย, การนำความดีมาใช้, การชักชวนให้เชื่อ,การปราศจากการล่อเหยื่อ คือ จักรวาล

 

อรรถธิบาย      ในโศลกนี้เป็นอันที่สอง "ความน่ารักชี้ให้เห็นว่าเมื่อใดคนเราถูกคนอื่นดูหมิ่น คนเราย่อมพูดถึงพวกเขาโดยไม่มีความหยาบคาย การหลุดพ้นจากความคิดเพราะคนเราไม่มีทิฐิมานะในมูลเหตุที่เขามีการยกย่อง ชมเชยหรือประสบความสำเร็จ เมื่อไม่มีความเหนื่อยอ่อนคนเราก็ไม่มีความเกียจคร้าน มีความสว่างไสวเพราะคนเราแสดงการไม่ยึดถือสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้ในกำมือ เหมือนกับครู(ศาสตราจารย์) มีความแตกต่างกันนิดหน่อยเพราะว่ามันไม่มีการทำซ้ำซาก การนำมาใช้ซึ่งความดีเพราะว่ามันไม่มีการทำซ้ำซาก การนำมาใช้ซึ่งความดีเพราะว่ามันไม่เคยทำผิดเหตุผล,การทำให้เกิดความเชื่อถือ เพราะคำพูดและตัวอักษรทั้งหลายทำความเข้าใจไว้เป็นอย่างดี เพราะปราศจากการเอาเหยื่อล่อถือประสาทะเพราะว่ามันไม่เคยอยู่ ในการขัดแย้ง(ไม่เคยเห็นด้วย) กันเนื้อเรื่อง เป็นของสากล เพราะว่ามันถูกพบในยานสามทั้งหมด

 

โศลกว่าด้วย ความมั่งมีของการพูด

 

7      ไม่ใช่ยากจน น่ารัก สุภาพ แจ่มใจ (พอเข้าใจได้) การแพร่กระจายไประหว่างประชาชน ความบริสุทธิ์การไม่มีความจูงใจ ในบรรดาบุตรของผู้ชนะมันจึงไม่ถูกทำลายเพราะปราศจากการเอาเหยื่อล่อมีข้อจำกัดและได้ยินมา

 

อรรถธิบาย      ที่ว่าไม่จนเพราะควรได้รับความเข้าใจ โดยคนส่วนใหญ่ในการชุมนุม มีความน่ารัก, เป็นผู้ดี ได้กล่าวไว้ดีแล้ว และชัดเจนมาก เพราะว่าพยางค์ทำโครงร่างไว้เป็นอย่างดี,เป็นที่พอเข้าใจเพราะง่ายต่อความเข้าใจเป็นเพราะว่า การออกเสียงเป็นของบริสุทธิ์ มันจึงน่าจะเหมาะสมสำหรับการได้ยิน เพราะว่ามันควรที่จะถูกทำความเข้าใจ โดยบรรดาพระสาวกตามความสามารถของพวกเขา ปราศจากการล่อเพราะมันไม่ขึ้นอยู่กับผลกำไร มีเกียรติและการบรรลุแพร่กระจายไประหว่างประชาชนในฐานะที่มันไม่คัดค้าน สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีข้อจำกัดในฐานที่มันไม่ทำร้ายคนหนึ่งคนใด, ได้ชื่อว่าสว่างสดไสในฐานะที่มันไม่มีการทำซ้ำ

 

โศลกสำหรับความมั่งมีของความหมายที่แสดงนัยไว้ (โดยปริยาย) 2 โศลก

 

8      การแสดงวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมาย เช่นกันในความตรงกันกับยาน ความน่ารัก(สุภาพ) ประสบการณ์ซึ่งทำหน้าในการให้ความช่วยเหลือในทางเดินคือ เหมาะสมและสะดวก

 

อรรถธิบาย      ความมุ่งหมายซึ่งแสดงถึงความเต็มของถ้อยคำและการแสดงของพวกมัน ซึ่งแสดงนัยวี้แล้วต่อจุดมุ่งหมายซึ่งไม่เข้าข้างภัยประมานะ ซึ่งมีการเปิดเผยด้วยถ้อยคำและพยางค์ที่ประติดประต่อกัน โดยเหตุผลปราศจากการโต้แย้งจุดมุ่งหมายในความลงรอยกันกับยานคือ มิใช่ขัดแย้งกันกับยานสาม ความน่ารักมีถ้อยคำและการแสดงนัยซึ่งขัดเกลาไว้ดีแล้ว ไม่มีความไม่เฉียบแหลมใดๆ แจ่มแจ้งด้วยถ้อยคำได้และอักษรที่ไปหาได้เพราะเป็นอรรคของพวกมัน เนื่องเพราะเป็นที่พอเข้าใจได้จึงนำมาซึ่งอรรถ การช่วยเหลือในเรื่องทางเดินกับถ้อยคำและการแสดงนัยที่รับกับเพราะพวกมันอยู่ในสัดส่วนต่อความสามารถของพระสาวกที่ชื่อว่าเหมาะสม, มีทักษะเพราะคำพูดและการแสดงนัยซึ่งมีหลักฐานของนิรวานะเป็นที่โปรดปรานเพราะยังไม่ถึงกำหนดเนื่องเพราะมีร่างซึ่งเป็นภาระ เขาจึงสะดวกกับถ้อยคำและการแสดงนัยซึ่งการเตรียมการเรื่องผู้รู้ในฐานะที่พวกเขาสร้างมรรคมีองค์แปดให้ง่ายเข้า เหล่าบุคคลผู้มีความปรารถนาสำหรับการศึกษา

 

9      ความหลากหลายของตัวอักษร(นัย) ในความยิ่งใหญ่ที่สุดของการดำรงอยู่เป็นที่เข้าใจกันทั้งสิ้นด้วยเหตุนี้ คือ มีอยู่หกสิบส่วนและพวกมันถูกนำมาทองกับผลสะท้อน พวกมันไม่มีที่สิ้นสุดในกรณีของสุกตะ

 

อรรถธิบาย      หกสิบส่วนและผลสะท้อนกลับเป็นการกล่าวของพระพุทธเจ้าในฐานะที่มันเคยออกมาให้เห็นมีหกสิบส่วนด้วยกัน "กูหยกาธิปติ นิรเทสะ" และอีกประการหนึ่งในทางเลือกของสานะติมะตะ คำพูดของตถาคตจึงเกิดขึ้นได้ให้ไว้หกสิบส่วน มันจึงลื่นเหมือนสบู่,ทำให้เกิดความพอใจ, เต็มไปด้วยเสน่ห์จับใจบริสุทธิ์ เป็นต้น ที่ว่าลื่นเหมือนฟองสบู่ (เหมือนน้ำมัน) เพราะว่ามันเป็นรากเหง้าของการสังเคราะห์ธาตุของสรรพสัตว์เป็นที่น่าพอใจซึ่งสัมผัสได้ทั้งหมดมากไปด้วยความมีเสน่ห์ เพราะว่าธรรมที่เราเห็นเป็นตัวใช้แทนในโลก คนเรามีความพอใจซึ่งสัมผัสได้ทั้งหมด มากไปด้วยความมีเสน่ห์เพราะว่าอรรถของมันคือ ของดีและดึงดูดใจเป็นที่จับใจเพราะว่านัยในมันเป็นของยอดเยี่ยม ที่ว่าบริสุทธิ์เพราะว่ามันถูกได้รับ(ได้รับการบรรลุ)จากโลกุตระ คืออยู่เหนือผู้คนซึ่งไม่เคยมีตัวจับได้ ได้ชื่อว่าปราศจากมลทิน เพราะว่ามันถูกถอดถอนจากทุกข์, เป็นกากของมนุษย์คือการทำให้ซึมซาบ ชื่อว่าเป็นดวงประทีปเพราะว่ามันมีคำพูดและการแสดงนัย เป็นที่พอเข้าใจแล้ว ชื่อว่าอ่อนลงเพราะว่ามันมีคุณธรรมและพลังซึ่งทำลายทิฏฐิของพวกมิจฉาทิฐิทั้งหมดและจิตใจชั่วร้ายเป็นความดีที่จะได้ยินเพราะว่ามันให้การตัดสินใจด้านความรู้, มีการไม่สิ้นสุดเพราะว่าสิ่งทั้งเหล่านั้นทั้งหมดที่ขัดแย้งกันไม่สามารถตัดมันได้ ที่ว่าเป็น ศิลปะเพราะว่ามันทำให้ใจเกิดความเพลิดเพลิน ได้ชื่อว่าสงบเสงี่ยมเพราะว่าเต็มไปด้วยความรู้สึกอย่างดูดดื่มเป็นต้น อันเป็นข้าศึกของมัน เป็นที่ไป เพราะว่ามันชักชวนไปในทางผิด ชื่อว่ามีวินัย เพราะว่ามันอยู่ฝ่ายตรงข้ามในเบื้องต้นกับความรู้สึกอย่างดูดดื่มเป็นต้น ปราศจากความทะเยอทะยานเพราะว่ามันมีทางของความสุข สำหรับประกาศคำสอน ปราศจากความหยาบคาย เนื่องเพราะมันสอนทางแห่งการไม่มีข้อมูลผูกพันจากการละเมิดซึ่งคำสอนมีระเบียบวินัยดี เพราะว่ามันสอนวิธีของยานสาม เป็นที่พอใจ(เสนาะ) หู ในฐานะที่มันมีความเห็นขัดแย้งต่ออุปสรรคในเบื้องต้น ทำให้ร่างกายเย็นลงอีกเพราะว่ามันก่อให้เกิดสมาธิที่ว่ามีใจจดจ่อต่อความคิด เพราะว่ามันมีไว้เพื่อการบรรลุของความสุขอันยิ่งใหญ่ของวิปัสสนา นำม่ซึ่งความสำราณใจล้วนๆของหัวใจ เพราะว่ามันทำลายเสียซึ่งความสงสัยทั้งปวงสร้างความยินดีให้กับการกระทบกระเทือนเพราะมันพรากออกไปเสียซึ่งทางออกอันผิดเหตุผล ปราศจากความร้อน เพราะไม่มีความเสียใจในภายหลักในการพัฒนาความรู้ เป็นที่ยอมรับได้ เพราะว่ามันมีไว้เพื่อการสร้างความมากมายของความรู้ซึ่งเกิดขึ้นเจริญขึ้นจากการได้ยิน  เป็นที่ยอมรัรบได้ เพราะว่ามันมีไว้เพื่อการสร้างความมากมายของความรู้ซึ่งเกิดขึ้นเจริญขึ้นจากการได้ยิน เป็นที่รู้ได้ในฐานะที่มันมีไว้เพื่อความมากมายแห่งความรู้อันเป็นฐานของมันซึ่งพัฒนาขึ้นมาโดยผลสะท้อน ประจักษ์พยานในฐานะที่มัน เจรจา(ปฏิบัติ) ธรรมโดยปราศจากการยืดมั่นสิ่ใดสิ่งหนึ่งภายหลัง เสมือนครูที่ดี น่าเคารพ เพราะว่าคนเราย่อมพัฒนาซึ่งความรักของบรรดาเหล่าคนผู้ที่ได้รับอรรถอันเหมาะสมของตนแต่ละชิ้น เป็นการสมควรกับการแสดงความปิติยินดีในฐานะที่เหล่าบุคคลผู้ที่ไม่ได้รัรบอรรถอันเหมาะสมของพวกตนทีละขั้นเป็นหนี้บุญคุณในการมีความอิจฉาเป็นการสมควรแก่การเชื่อฟัง เพราะว่าเขาแสดงให้เห็น (ในความคิด) ธรรมอันไม่มีผลสะท้อนอย่างแท้จริงเป็นการสมควรกับการที่จะต้องบอกกล่าวในฐานะที่เขาสอนธรรมอันอยู่เหนือ ความคิดอย่างแท้จริง แสดงนัยยะไว้ดี เพราะมันไม่ค้านต่อเหตุผล ที่ว่าเป็นเรื่องประติดประต่อเพราะเขาสอนตามความสามารถของเหล่าพระสาวก ปราศจากความคิดจองการกระทำซ้ำเพราะว่มันไม่เป็นหมัน มีความรุนแรงเหมือนเสียงคำรามของสิงโตเป็นเพราะมันทำให้เกิดความสั่นสะเทือนระหว่างพวกมิจฉาทิฐิทั้งหลาย มันดังกังวานเพราะว่าเสียงของช้างอันน่าขนพองสยองเกล้า เสียงดังเพราะแสงสว่างจากเสียงขู่คำรามของเมฆอย่างขนานใหญ่ มีเสียงดังกึกก้องเหมือนเจ้าแห่งช้าง เพราะเหตุแห่งความอ่อนตามของมัน เป็นที่ไพเราะของการร้องเพลง (ดนตรี) เพราะการเน้นเสียงสูงต่ำของ กาลาวินกะ เนื่องเพราะมันโน้มไปอย่างจนกระทั่งแทงทะลุขั้วหัวใจเป็นเวลาชั่วครู่ ความรู้สึกเพลิดเพลินเป็นการเน้นเสียงสูงต่ำของพรหมในฐานที่มันไปไกลจากดวงอาทิตย์เป็นที่ไพเราะเหมือนการเน้นเสียงสูงต่ำของจิกัมจิจากะ เพราะมันนำมาซึ่งความสุขและความมั่นใจแห่งความสำเร็จทั้งมวล คือ ความไม่ไพเราะกังวานเหมือนพระอินทร์ เพราะข้อจำกัดของมันไม่สามารถทำให้บุบสลายได้ ทำให้เกิดความสั่นสะเทือนคล้ายเสียงกลอง เพราะมันประกาศความมีชัยเหนือปีศาจและฝ่ายตรงข้ามทั้งมวล ปราศจากความยโสเพราะมันไม่ทุกข์โดยการยกยอ ปราศจากความหดหู่ เพราะมันไม่ทุกข์โดยการวิพากษ์วิจารณ์ ได้เข้าไปในคำทั้งหมดเพราะมันได้แทงทะลุซึ่งดัชนีของตระกูลทั้งหมดของหลักไวยกรณ์ ปราศจากคำพูดที่น่าอายใด เพราะว่ามันไม่จำต้องมองข้ามโดยความต่างพร้อยของความทรงจำ ปราศจากการแบ่งแยก เพราะตลอดเวลามันอยู่ใกล้ ตลอดเวลาสำหรับการรับใช้ของเหล่าพระสาวก เมื่อไม่มีความดิ้นรน มันจึงไม่ขึ้นอยู่กับผลกำไรและความสุข ไม่มีความอ่อนแอ ในฐานะที่มันเป็นอิสระ ของสิ่งทั้งหมดซึ่งยินยอมให้มีการทำซ้ำ สุขตลอดเพราะมันไม่มีความเมื่อยล้า ทำให้ยาวขึ้นเพราะมันมุ่งหมายเพื่อศาสตร์ชั้นสูงทั้งหมด มันไม่ทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งขาดแคลนในฐานะที่มันจัดหาไว้เพื่ออรรถทั้งหมดแก่สรรพสัตว์ทั้งมวล ไหลหลั่งอย่างต่อเนื่องเพราะการไหลไปของมันไม่มีได้ถูกสกัดกั้น เป็นเครื่องล่อ(ดึงดูดใจ)เพราะว่ามันใช้แทนรูปแบบที่ไร้ลักษณะเต็มเปี่ยมในเอง เพราะในตัวตนของมันเองคือการบอกกล่าวของมันเกี่ยวกับความรู้เรื่องถ้อยคำของมันเอง เป็นอวัยวะที่น่าพอใจ ในฐานะที่มันใช้แทนการบอกกล่าวคือยินดี เป็นเพียงความรู้ของคนเราหรือของอารมณ์มากมาย ปราศจากการตำหนิเนื่องมันยึดมั่นในสัญญาของมันไม่มีการโอนไปเอนมาในฐานะที่มันใช้ตนเองเพื่อเวลาซึ่งยังไม่มาถึง ปราศจากความไม่เปลี่ยนแปลง เพราะว่ามันกระจัดกระจายไปโดยไม่มีความรีบด่วนการรักษาไว้ซึ่งความอุกโฆษของมันในการชุมนุม ทั้งมวลเพราะการรวบรวมที่อยู่ใกล้หรือไกล ความเข้าใจอย่างเท่าๆกันเมื่อได้ให้ด้วยความโปรดปรานต่อญาติทั้งหมด เพราะมันแสดงให้เห็นถึงอรรถหมดทุกด้านและโดยตัวอย่างในทางโลก คือ ธรรม

 

โศลกว่าด้วยความยิ่งใหญ่ของคำสอน 4 โศลก

 

10    ด้วยการพูดก็ดี กับถ้อยคำที่แสดงนัยยะไว้ดีแล้วก็ดี การแถลงก็ดี การแบ่งแยกก็ดี การขับไล่ออกไปซึ่งความสงสัยก็ดี และซึ่งมาพร้อมด้วยการเข้าครองดังเดิมบ่อยๆ บรรดาเหล่าบุคคลผู้เข้าใจคำแรกย่อมปรารถนาที่จะพัฒนาการเข้าใจ

 

อรรถธิบาย     ด้วยคำพูดที่เขาแถลงมีคำพูดซึ่งแสดงนัยยะไว้ดีแล้วเขาย่อมพัฒนาความเข้าใจในคนอื่นๆ เมื่อมีการแถลงและการแบ่งแยก การขับไล่ออกไปซึ่งความสงสัยตามลำดับ คนเราย่อมกำหนดเนื้อหาจำแนกออกไปและอธิบายคำสอนมาพร้อมการเข้าครองดังเดิมของการทำให้หมดสงสัยบ่อยๆในลักษณะของการกล่าวโทษด้วยความแข็งแกร่ง คนเราย่อมสอนให้กับรรดาเหล่าคนผู้รู้ดี (ผู้กำลังต้องการรายละเอียด)

 

11     มันเป็นการบริสุทธิ์โดยส่วนแบ่งสามคือ คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นการอนุเคราะห์ เพราะมันปลอดจากความทั้ง 8 อีก นี้ คือสิ่งเหมาะสมสำหรับความรู้

 

อรรถธิบาย     บริสุทธิ์ในส่วนแบ่งแยกสาม เพราะเหตุของสิ่งซึ่งมันไปถึงได้ด้วยการพูดและถ้อยคำเขาย่อมแถลงไข เป็นต้น ต่อผู้ที่มันถูกสอนหรือ บรรดาเหล่าบุคคลผู้เข้าใจ คำแรกหรือผู้ปรารถนารายละเอียดและการสอนนี้ก็ปลอดจากความผิด 8 ประการสิ่งเหล่านี้เราควรรู้คนต่อคนตามลำดับ

 

12     ความขี้เกียจ ความขาดแคลน ความเข้าใจ การขาดแคลนโอกาส การขาดแคลนวิธี การขาดแคลน การไล่ออกเสียซึ่งความสงสัย มันเป็นสิ่งไม่แน่นอนและไม่มั่นคง เหล่านี้คือ ความผิด 8 ประการ (การวิเคราะห์ถ้อยคำของโศลก) ที่เหมือนกัน

 

13     ความเจ็บปวด ความริษยาเป็นต้น เหล่านี้ ถูกกล่าวถึงว่าเป็นความผิดในการขยายข้อโต้เถียงโดยความต่อเนื่องของการไม่มีอยู่ของพวกมันคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่มีตัวจับ

 

อรรถธิบาย     มีความเจ็บปวดเพราะว่ามันขัดขวางการทำซ้ำบ่อยของการสอน คือ ด้วย ความริษยา เพราะว่ามันย่อมไม่ทำการเปิดเผยทั้งหมด

 

โศลกว่าด้วยความมากมายของอรรถ 2 โศลก

 

14    ธรรมที่ดีงามนี้ซึ่งก่อให้เกิดการสงเคราะห์ การอุทิศ ความสำราญใจและความเข้าใจมีอรรถ 2 อย่าง คือ เป็นของง่ายต่อความเข้าใจ เปิดออกซึ่งคุณธรรม 4 ประการเกี่ยวกับความประพฤติของพรหมจรรย์

 

15     ความเป็นเอกภาพในการแสดงนัยของมันซึ่งไม่เคยขาดการติดต่อกับคนเหล่าอื่นการทำให้บริบูรณ์ซึ่งการละทิ้งเสียซึ่งความทุกข์ของธาตุ 3 ความบริสุทธิ์โดยธรรมตามลำพังของมันเอง แล้วโดยการชำระความสกปรก (กระแส) การชำระดังกล่าวถึงกล่าวถึงว่าเป็นความประพฤติเกี่ยวแก่คุณธรรม 4 ของพรหมจรรย์

 

อรรถธิบาย     ธรรมใส่ไว้ในความหลักแหลม ความประพฤติของพรหจรรย์ซึ่งมีคุณธรรม 4 อย่าง ธรรมนี้ งามในเบื้องต้น ในท่ามกลางและในที่สุด เพราะมันก่อให้เกิดการอุทิศ ความสำราญใจ ความเข้าใจ โดยการได้ยินตามลำดับ ผลสะท้อนและเหตุผล การอุทิศ คือความอิสรภาพ ความสำราญใจคือความสุข โดยสิ้นเชิงอันเนื่องมาจากผลของการพิจารณาของความสมควรเป็นความรู้ที่เพียงของใจ ความคิดได้แก่ความรู้ของความมีอยู่ในฐานที่มันอยู่ในสภาพของสมาธิ เนื่องจากมีอรรถอยู่ 2 แบบ เพราะฉะนั้นอรรถในมันจึงเป็นความดีโดยการแสดงนัยต่อความจริงซึ่งอาจเกิดขึ้นได้และต่อความจริงนอกเหนือธรรมชาติมันง่ายต่อความเข้าใจ เพราะฉะนั้นการตีความของมันจึงเป็นการดีในฐานะที่ถ้อยคำของมันและการแสดงนัยเป็นเรื่องพอเข้าใจได้ ความประพฤติของพรหมจรรย์มีคุณธรรม 4 ประการ มันมีเอกภาพ เพราะมันไม่ขาดการติดต่อกับคนอื่นๆเต็มตลอด ในฐานะที่มันเป็นการละทิ้งได้สมบูรณ์แบบซึ่งความทุกข์ของหลักการสำคัญ 3 อย่างบริสุทธิ์ตลอดในฐานะที่มันสะอาดตามธรรมชาติ ขณะที่มันอยู่ปราศจากกระแส ไร้จุดตลอดในฐานะที่มันเป็นตัวชำระ ซึ่งความผิด ในฐานะที่เป็นอนุกรมส่วนบุคคลในสิ่งเหล่านั้นเพราะฉะนั้นกระแสจึงถูกทำให้หมดไป

 

โศลกว่าด้วยการจำแนกข้อต่อ(ของคำสอนของพระพุทธเจ้า) 2 โศลก

 

16     ข้อต่อหรือ โครงร่างของคำแนะนำของดัชนีของการสนันสนุนของการใช้เหตุผล

 

17    ในการสนทนากาบพระสาวกะและธรรมชาติอันสมควรของพวกเขาของ พระสาวกของความผิดของความลึกซึ้งของการแสดงออก คือ โครงร่างญาติ 4

 

อรรถาธิบาย      4 ชนิดของโครงร่างคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ควรรู้ โครงร่างของการแนะนำ โครงร่างของดัชนี โครงร่างของการสนับสนุน โครงร่างของเหตุผล โครงร่างของการแนะนำนั้น เห็นได้ในกรณีของสาวกะในฐานะที่มันสอนเรื่องรูปแบบเป็นต้นซึ่งมีอยู่จริงๆ สำหรับการหลีกเลี่ยงความกลัวในความเห็นเรื่องการแนะนำต่อคำสอนโครงร่างของดัชนีประกอบด้วยสามชนิด คือ ในเหตุแห่งธรรมชาติซึ่งสมมติขึ้นมาเป็นต้นในฐานะที่มันสอนว่าธรรมทั้งปวงอยู่ปราศจากธรรมชาติของตนเองที่เหมาะสมและปราศจากการสร้างเป็นต้น  โครงร่างของการสนับสนุนเป็นไปเพื่อการสร้างในกรณีพระวินัยเกี่ยวกับความผิดต่างๆ เพราะมันถูกกล่าวถึงใน 2 โศลก คือ ความเห็นเรื่องภาษิตของมหายานในฐานะการสนับสนุนซึ่งคัดค้านอุปสรรคโครงร่างของเหตุผลก็เพื่อสร้างเหตุแห่งความลึกซึ้งของการอธิบายดังที่กล่าวมา ถ้าคนเราคิดว่าความมีสาระคื อ การไม่มีสาระ ถ้าคนเราถูกกำหนดมาดีแล้ว คือในด้านตรงกันข้ามถ้าคนเราถูกทำให้เจ็บป่วย โดยความทุกข์อย่างแท้จริงแล้ว คนเราย่อมเข้าถึงซึ่งประทีปวันสูงยิ่ง ณ ที่นี้คือ โครงร่างในทางกลับกันการประกอบ "สารมติ" ถูกแปลความโดย "สาระพุทธิ" คือความเข้าใจเรื่องสาระสำคัญเป็นพิเศษ "อสาระ" ณ ที่นี้ชี้ให้เห็นถึงการไม่มีการกระจัดกระจาย" เพราะการกระจัดกระจายเป็นการแพร่ซ่านของจิต เนื่องจากมีการกลับกันจึงถูกกล่าวไว้ว่า การกลับกันของคนผู้ที่เชื่อในตนเองว่า เป้นของถาวรน่าพอใจ บริสุทธิ์ การกลับกันจึงเป็นสิ่งไม่มั่นคงถาวร เป็นต้น ที่ว่า "กำหนดไว้ดี" เพราะไม่มีมากของการทำให้เสียเวลา" ทำให้เปื้อนเปรอะอย่างสมบูรณ์โดยความทุกข์ ถูกกล่าวถึงไว้ว่าเป็นความเหน็ดเหนื่อยอย่างล้นเหลือโดยความเจ็บปวดและความเพียรของการทดสอบแห่งกาลเวลาอันยาวนาน

 

โศลกว่าด้วยส่วนแห่งความตั้งใจ

 

18     ความตั้งใจมี 4 ชนิดด้วยกัน ความเสมอภาคของอรรถอื่นๆ หนึ่ง เรื่องที่รับรู้ได้หนึ่งยุคสมัยอื่นๆหนึ่งแรงโน้มของเรื่องราวหนึ่ง

 

อรรถาธิบาย      ความตั้งใจมีอยู่ 4 ชนิด ได้แก่ความเสมอภาคกันดังตัวอย่างที่กล่าวมาแล้วเช่น "ฉันคือคนในสมัยนั้น" ผู้ใดถูกทำให้กระจ่างอย่างสมบูรณ์ ในเนื้อแท้ของธรรมไม่มีความแตกต่าง" คือ อรรถอื่นๆตัวอย่างมีกล่าวไว้ดังนี้ "ธรรมทั้งปวงอยู่ปราศจากธรรมชาติของตนเองที่เหมาะสม คือ ปราศจากการสร้างเป็นต้น" เพราะมันไม่ทำให้เกิดความผิดพลาดเรื่องความเข้าใจของอรรถตามตัวอักษร คือ ยุคสมัยอื่นนี้คือ ความตั้งใจดังตัวอย่างที่กล่าวไว้ว่า "เหล่าบุคคลผู้ถือสัตยาธิษฐานในความเห็นเรื่อง "สุขาวดี" มีการกลับมาเกิดอีกภายหลังเวลาอันยาวนาน" คือ แนวโน้มของสาระเมื่อใดตัวอย่าง "คนผู้ยกยอสรรเสริญรากแห่งความดีของคนผู้ที่กล่าวถึงและเมื่อใดที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ของคนอื่นดังกล่าวผู้ที่มีความพอใจกับสิ่งเล็กน้อยมาก เหนือสองบทของโศลกมีประโยชน์ตลอดของพระสูตรแห่งมหายานในฐานะที่มันเป็นบทสรุปของการพัฒนาอันยาวนานดังที่กล่าวไว้

 

19     การดูถูกพระพุทธเจ้า พระธรรม ความขี้เกียจ ความสำราญใจกับของเพียงเล็กน้อย ความประพฤติโดยความโลภและโดยความรู้สึกส่วนตน การกระทำความชั่วและการแบ่งแยกที่ไม่มีสิ้นสุด

 

20     อุปสรรคทั้งหลายเป็นเครื่องครอบงำต่อสัตว์ บุคคลไม่เห็นด้วยกาบการสนับสนุนของพวกมัน คือ การสนทนาในเรื่องมหายานในมัน ซึ่งถูกทิ้งไว้ซึ่งเรื่องต่างๆ ของมลทินทั้งหมดซึ่งทำให้อุปสรรคทั้งหลายถูกทำลายไป

 

21     เหล่าบุคคลผู้ที่ถูกนำมาใช้งานในการรักษาไว้ซึ่งที่ทาง 10 ประการ ในตำราหรือในอรรถของพวกเขา การได้รับผลประโยชน์ 10 อย่าง มุนีดังกล่าว คือเจ้าของสัตว์ทั้งหลาย

 

22     การายังชีพ (การบำรุง) ของธาตุทั้งมวลเป็นอันเดียวกัน ความสุขที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเวลาแห่งความตายการเกิดอันเนื่องมาจากความต้องการของเขาเอง และทุกหนทุกแห่ง ความทรงจำของความมีอยู่ตั้งแต่อดีต

 

23     การร่วมกับพระพุทธเจ้า, การฟังโดยตรงเรื่องมหายาน โมกษะ(อธิโมกข์)กับความเข้าใจของทั้งสองฝ่าย คนเราย่อมบรรลุ การตรัสรู้ (โพธิ) อย่างเร็ว

 

อรรถาธิบาย      การเริ่มต้นด้วยการดูหมิ่นพระพุทธเจ้าและธรรม ห้าโศลกที่มาด้วยกันแสดงให้เห็นว่าสิ่งซึ่งหาที่สิ้นสุดไม่มีเนื่องเพราะพระโพธิสัตว์ผู้หาที่สิ้นสุดไม่มี แยกออกไปจากมหายาน การสอนของมหายานที่แสดงไว้ในคัมภีรของโศลกโดย "กถาของยานที่ใหญ่ที่สุด" การสนทนาในเบื้องต้น ตรงกันข้ามกับอุปสรรคซึ่งเป็นของน่ารังเกียจสำหรับพระพุทธเจ้าดังตัวอย่าง "มันคือข้าพเจ้า ฉันเอง ผู้กำลังเห็นอยู่ในเวลานี้และซึ่งได้รับแสงสว่างอย่างบริบูรณ์" คำสอนเริ่มแรกตรงข้ามกับอุปสรรคซึ่งเป็นการดูถูกสำหรับธรรมดังตัวอย่างมัน คือเมื่อใดที่คนเรารักษาไว้ตามลำดับซึ่งธรรมและพระพุทธเจ้าดังกล่าวเป็นของเสมอกันกับเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาต่อจากนั้นคนเราก็จะกลายมาเป็นคนเหมาะสมที่จะเข้าใจเรื่องมหายาน" คำสอนเริ่มแรกตรงกันข้ามกับอุปสรรคซึ่งก็คือ ความเกียจคร้านดังตัวอย่าง" เหล่าบุคคลผู้ที่ตั้งสัตยาธิษฐานในลักษณะของ "สุขาวดี"มีการเกิดใหม่อี หรืออีกประการหนึ่ง "การเอ่ยถึงเสมอๆซึ่งชื่อของตถาคต วิมลจันทรประภา" คนเราย่อมมีความมั่นใจของการมุ่งหน้าไปยังโอกาสอันบริบูรณ์ทั้งหมดซึ่งเป็นของหาที่เที่ยงไม่มี "เป็นคำสอนเริ่มแรกตรงกันข้ามกับอุปสรรคของความสำราญใจเพียงเล็กน้อย ดังตัวอย่างเมื่อใดภควัน พรรณนาถึงการให้ในบางครั้งบางคราวเป็นต้นซึ่งได้รับการสรรเสริญเยินยอในที่บางแห่งการสอนเริ่มแรกที่ตรงข้ามกับอุปสรรคซึ่งก็คือ ความประพฤติโดยความโลภดังตัวอย่าง เมื่อใดพระภควันพรรณนาถึงคุณวิเศษว่าด้วยเรื่องของพระพุทธเจ้า คำสอนเริ่มแรกที่ตรงกันข้ามกับอุปสรรคซึ่งก็คือ ความประพฤติโดยความรู้สึกส่วนตัวดังตัวอย่าง เมื่อใดที่พระภควันพรรณนาถึงในบางโอกาสซึ่งความสูงของความมากมายของสถานที่ทั่วไป (ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ) เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าคำสอนเริ่มแรกที่ตรงข้ามกับอุปสรรคซึ่งเป็นการกระทำที่ชั่วดังตัวอย่าง "เหล่าบุคคลทั้งหมดผู้กระทำความคิดได้กระทำความชั่วตรงข้ามกันกับพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์คือเหล่าบุคคลผู้ที่ควรได้รับสู่การไปยังสวรรค์" คำสอนเริ่มแรกที่ตรงกันข้ามกับอุปสรรคซึ่งเป็นขั้นตอนของสิ่งซึ่งไม่มีที่สิ้นสุด คำสอนเรื่องการพยากรณ์ของสาวกผู้ยิ่งใหญ่ ก็ต่อเมื่อใดที่พวกเขากลายเป็นพระพุทธเจ้า หรือ ต่อมเอใดที่พวกเขาเคลื่อนไปบนเส้นทางของยานเดียวที่สำคัญ การบำรุงเกี่ยวกับส่วนสำคัญ โดยรวมของมหายานในฐานะ ที่อุปสรรคทั้งหลายเหล่านี้มีความแจ่มแจ้ง(รอดพ้น)มาแล้วครั้งหนึ่ง คนเราก็ย่อมได้รับอิสรภาพในความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของมหายานทั้งสองหน้า(ด้าน) คือหน้าสมาธิและหน้าของการไขว่าคว้า(รูปแบบ) สองชนิดของโลกที่จะมาถึงเพราะว่าคนเราย่อมได้รับทีละขั้นๆ ตลอดเวลาของความพิเศษ อันสืบเนื่องขึ้นไป

 

โศลกว่าด้วยการยกย่อง(ประโยชน์ของคำสอน)

 

24     ด้วยเหตุนี้มันจึงมีจิตใจ(พระพุทธเจ้า)ที่ดีปราศจากความเจ็บปวดและความเมตตากรุณาเป็นต้น ซึ่งสร้างขึ้นมาในความสำเร็จจากทุกด้านได้รับความเข้าใจของการจัดแจ้งที่ดี พระโพธิสัตว์ก็กลายเป็นประกาศกที่ดี และสว่างโชติช่วงโดยการสอนของเขาในโลกเช่นเดียวกับดวงอาทิตย์

 

อรรถธิบาย     เหตุห้าอย่างที่ทำให้เขาเป็นนักพูดที่ดี คือ การมีประโยชน์เกี่ยวกับความสุขใสของดวงอาทิตย์ คือว่า เขามีคุณค่าต่อการยกย่องอย่างเหลือเกินในฐานะที่เขาได้รับ กับตัวเขาเองซึ่งโลก เหตุผล 5 ประการที่ทำให้เขาพูดดี คือว่า เขาสอนโดยปราศจากการอยู่ฝ่ายตรงข้ามไม่มีการทำซ้ำและใจหลุดพ้นไป จากการล่อลวงทั้งหมดและมีภาษาที่เห็นพ้องก้นและดัดแปลงให้เหมาะซึ่งคำสอนของเขาตามความสามารถของนักศึกษา

 

อธิการที่ 12 ว่าด้วยคำสอนในมหายานสูตรลังการ จบ

อธิการที่ 13

อธิการที่ 13

 

โศลกว่าด้วยการจำแนกการปฏิบัติ

 

 

โศลกว่าด้วยการจำแนกการปฏิบัติ 6 โศลก

 

1      ผู้มีปัญญารู้แล้วซึ่งความไม่มีตัวตนแห่งบุคคลและธรรมมี 2 ประการ ละเว้นความเป็น 2 ความหลอกลวงและเความเสมอกัน โดย 3 วิธี/

 

อรรถธิบาย     รู้อรรถ รู้ธรรม แล้วเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เป็นผู้ปฏิบัติสมควร เป็นผู้ประพฤติตามธรรมโดยประการใดย่อมเห็นพร้อมโดยประการนั้น / ความรู้ซึ่งความไม่มีตัวตนโดยความเป็น 2 คือ บุคคลและธรรม เพราะความไม่มีแห่งสิ่งอันควรยึดถือและผู้ยึดถือ / การละเว้นอันมี 3 ประการ คือ ความเป็น 2 , ความหลอกลวงและความเสมอกัน / และศูนยตาสมาธิในอภาวะแห่งปริกัลปิตะแห่งสวภาวะ / ปรตันตระและปรินิษปันนะอันเป็นสวภาวะ ในความไม่มีนิมิตเป็นเครื่องนำออกในภาวะ / เพราะเหตุนั้นสมาธิ 3 ประการ คือโลกียะสมาธิ สมาธิอันไม่หลอกลวงเพราะนำมาซึ่งความรู้อันเป็นโลกุตตระ / สมาธิอันไม่สม่ำเสมอเพราะเป็นโลกุตตระ /

 

2      การรู้อรรถแห่งธรรมทั้งปวงย่อมถึงซึ่งความเป็นผู้เสมอในโลก เพราะการฟังความยินดีและการละ เพราะเหตุนั้นการรู้ธรรมจึงถูกกล่าว /

 

อรรถธิบาย     การรู้อรรถอย่างนี้แห่งธรรมทั้งปวง ย่อมเป็นผู้รู้ การอุปมาด้วยโลกแห่งพระสูตรเป็นต้น / เพราะสักว่าการฟัง ความยินดีและการละ เขาย่อมเป็นผู้รู้ธรรมด้วยเหตุนั้น /

 

3      หลักจากแทงตลอดความเป็น 2 โดยความรู้อันเป็นเครื่องทำลายแล้ว จึงปฏิบัติตามธรรมในความสมบูรณ์พร้อมแห่งความรู้ /

 

อรรถธิบาย     หลักจากแทงตลอดภาวะอันไม่มีตัวตน 2 ประการด้วยความรู้อรรถและธรรมอันเป็นเครื่องทำลาย 2 ประการนี้แล้ว (แทงตลอดความไม่มีตัวตน โดยประการที่กล่าวแล้ว) ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ความสมบูรณ์แห่งความรู้นั้น ตามลำดับ / ปฏิบัติตามธรรมอย่างนี้ /

 

4      จากนั้น บุคคลนั้น ย่อมได้ความรู้อันเป็นโลกุตตระ อันยอดเยี่ยมเป็นผู้เสมอด้วยพระโพธิสัตว์ทั้งปวง ผู้มีตนในอาทิภูมิ /

 

อรรถธิบาย     จากนั้น บุคคลนั้น ย่อมได้ความรู้อันเป็นโลกุตตระ อันยอดเยี่ยม / เพราะความไม่มีแห่งยานอันพิเศษกว่า / เป็นผู้เสมอด้วยพระโพธิสัตว์ทั้งปวง ผู้มีตนในอาทิภูมิอันเป็นภูมิที่น่ายินดี เป็นผู้ปฏิบัติสมควร ด้วยผู้มีภูมินั้น อย่างนี้ ด้วยความเป็นผู้เสมอด้วยพระโพธิสัตว์ ผู้อยู่ในภูมินั้น /

 

5      บุคคลทำแล้วซึ่งความสิ้นไปพร้อมทั้งปวงแห่งกิเลสอันพึงรู้ได้ด้วยการเห็น ย่อมประกอบในภาวนาด้วยชญานอันเป็นเครื่องกั้นความรู้ /

 

โศลกนี้มีอรรถอันอธิบายแล้ว /

 

6      ด้วยความรู้อันไม่จำแนกและ ไม่แตกต่าง พร้อมด้วยการประพฤติ บุคคลย่อมประพฤติตามธรรมเข้าไปแล้วในภูมิทั้งหลาย /

 

อรรถธิบาย     โดยส่วนที่เหลือ ความประพฤติตามธรรมท่านย่อมแสดง / อันไม่จำแนกและอันไม่แตกต่างคือ ด้วยความไม่แตกต่างแห่งความรู้เป็นเครื่องจำแนกภูมิ / ด้วยความประพฤติพร้อมคือ ด้วยการประพฤติอันสัมพันธ์ตามกัน ด้วยกันและกัน โดยไม่เว้น / ความเป็นผู้ประพฤติตามธรรมท่านแสดงด้วยหมวด 2 แห่งโศลกนี้ /

 

โศลกว่าด้วยการกระทำความไม่ประมาทในการปฏิบัติ 4 โศลก

 

7      ในประเทศใด มีลาภดี มีการอยู่ด้วยดี ภูมิดี สหายดี โยคะดี ผู้มีปัญญา ผู้มีคุณย่อมปฏิบัติในประเทศนั้น /

 

อรรถธิบาย     ท่านแสดงการกระทำความไม่ประมาทด้วยจักร 4 อันมีการอยู่ในประเทศอันสมควรเป็นต้น / ในที่นี้ ด้วยโศลกนี้ท่านแสดงการอยู่ในประเทศอันสมควร / เพราะการได้โดยง่ายแห่งการเลี้ยงชีวิตมีจีวรบิณฑบาตอันได้โดยง่าย / การอยู่อาศัยดี เพราะไม่อาศัยด้วยคนชั่ว ผู้เลี้ยงชีพด้วยการลักขโมย / ภูมิดี เพราะเป็นภูมิที่ไม่มีโรค / สหายดีเพราะมีสหายที่มีศีลและทิฐิเสมอกัน / มีโยคะดี เพราะมีการเจรจาอันเกลื่อนกล่นน้อยในกลางวัน / ในราตรี มีเสียงดังน้อยด้วย /

 

8      พระโพธิสัตว์ผู้เป็นพหูสูต ผู้มีความจริงอันเห็นแล้ว ผู้มีคำพูดจับใจ ผู้มีความอนุเคราะห์สม่ำเสมอ ผู้ไม่มีความกังวล พึงรู้ว่าเป็นสัตบุรุษ ผู้ยิ่งใหญ่

 

อรรถธิบาย     ท่านแสดงสัตบุรุษด้วยโศลกที่ 2 นี้ / เพราะประกอบด้วยคุณคือ อาคม ความรู้ คำพูด จิตอันปราศจากการกระทำ และคามเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน

 

9      ความมีพื้นฐานดี การดูแลดี ภาวนาดี การประกอบในการไปดี และความเพียรชอบในตน อันท่านแสดงแล้ว

 

อรรถธิบาย     ท่านแสดงความดีสัมมาปณิธานของผู้มีตนอันสงเคราะห์ด้วยโยนิโสมนสิการ ด้วยโศลกที่ 3 นี้ / ด้วยพื้นฐาน คือ ธรรมดีด้วยการเลี้ยงและการดูแลดี ด้วยการเจริญนิมิตมีสมถะเป็นต้น สิ้นกาลตามกาล ด้วยความยินดีแต่เพียงเล็กน้อย และด้วยการประกอบด้วยการกระทำอันติดต่อในการกระทำความจริงอันยอดเยี่ยม /

 

10     ความยินดี การอุบัติด้วยขณะ เหตุแห่งความเป็นผู้ไม่มีโรค สมาธิ การวิจัย และความเป็นผู้ทำบุญในกาลก่อน /

 

อรรถธิบาย     ท่านแสดงความเป็นผู้ทำบุญในกาลก่อน ด้วยความมีเหตุ 5 ประการด้วยโศลกที่ 4นี้ / ด้วยเหตุคือ ความยินดีกล่าวคือ ยินดียิ่งในการอยู่ในประเทศที่เหมาะสม / เหตุคือการอุบัติด้วยขณะกล่าวคือ ย่อมได้อัธยาศัยแห่งสัตบุรุษ / ด้วยเหตุคือ ความไม่มีโรค สมาธิ และปัญญา กล่าวคือ ย่อมถึงพร้อมด้วยปณิธานอันชอบแห่งตน /

 

โศลกว่าด้วยออกจากกิเลสแห่งผู้มีกิเลส 3 โศลก

 

11     ธรรมไม่มีแก่บุคคลผู้ปราศจากธรรมธาตุ เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น จึงเป็นผู้มีราคะ เป็นต้น การออกจากกิเลสแห่งบุคคลเหล่านั้น อันพระพุทธเจ้ารับทราบแล้ว /

 

อรรถาธิบาย     คำนั้นใดอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า / เราย่อมไม่กล่าวการออกจากราคะแห่งผู้มีราคะในที่ไหนๆเพราะความโกรธและความหลง ดังนี้ / ในที่นี้ ท่านแสดงการสนธิยิ่ง /บุคคลผู้พ้นจากธรรมธาตุ ธรรมย่อมไม่มี เพราะความไม่มีธรรมดา โดยส่วนเดียว ด้วยเหตุใด / ด้วยเหตุนั้น บุคคลนั้นย่อมได้ซึ่งความสิ้นไปจากราคะ แม้ด้วยธรรมตาแห่งผู้มีราคะเป็นต้น และการออกจากราคะแห่งผู้มีราคะเป็นต้น เพราะเหตุ พึงทราบการสนธิยิ่ง /

 

12     ธรรมไม่มีแก่บุคคลผู้ปราศจากธรรมธาตุเพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น ในการแสดงกิเลส บุคคลนั้นเป็นที่ทราบว่าคือ นักปราชญ์ผู้มีปัญญา /

 

อรรถาธิบาย     มีคำกล่าวแล้วว่า / อวิทยาและโพธิ เป็นอันเดียวกัน / แม้ในที่นี้ในการแสดงออกของกิเลส การสนธิอันยิ่งย่อมมี / อวิทยาพึงมี เพราะธรรมตาแห่งโพธิจากอุปจารนั้น /

 

13     เมื่อใดบุคคลปฏิบัติต่อราคะเป็นต้นเหล่านั้นโดยแยบคาย เมื่อนั้นเขา ย่อมหลุดพ้นจากราคะเป็นต้นเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น เขาเป็นผู้ไม่มีอยู่แห่งราคะเป็นต้นเหล่านั้น /

 

อรรถาธิบาย     เมื่อบุคคลปฏิบัติต่อราคะเป็นต้นเหล่านั้น โดยแยบคาย ย่อมพ้นจากราคะ เป็นต้นเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น การออกจากราคะย่อมมีแก่บุคคลผู้มีปัญญารอบรู้ ด้วยประการฉะนี้ นี้เป็นอภิสนธิ /

 

โศลกว่าด้วยการเว้นรอบจากการมนสิการซึ่งสาวก พระปัจเจกพุทธเจ้า 2 โศลก

 

14     ได้ยินว่าทุกข์อย่างยิ่งอันร้ายกาจของผู้เกิดแต่พระชินเจ้าย่อมไม่มี เหตุแห่งสัตว์อย่างไรๆ ด้วยผู้อยู่ในภพแห่งนรก แต่ความแตกต่างอันงดงามมีอย่างต่างๆ อันร้ายกาจอันแวดล้อมด้วยความสงบ ภพ คุณและโทษในหีนยาน ย่อมมีแก่ผู้มีปัญญาทั้งหลาย

 

15     ได้ยินว่า การอยู่ในนรก ย่อมไม่กระทำอันตรายแก่ผู้มีปัญญา ผู้มีโพธิอันไม่มีมลทินและอันไพบูลย์ ตลอดกาลทั้งปวงแต่ในยานอื่น ความแตกต่างย่อมกระทำอันตรายแก่ผู้มีศีลอันยิ่งเพื่อประโยชน์ตนและแม้ผู้อยู่ในสุขอันยิ่ง

 

โศลกที่ 2 เป็นวิธีการแห่งโศลกที่ 1 /อรรถทั้ง 2 นี้อธิบายแล้ว /

 

โศลกว่าด้วยการปฏิเสธความเดือดร้อนของผู้ไม่มีสวภาวะและความบริสุทธิ์โดยปกติ 4 โศลก

 

16     การได้เฉพาะซึ่งอภาวะแห่งธรรม ความไม่มีกิเลสและความบริสุทธิ์ สิ่งอันพึงรู้ อันเช่นกับด้วยมายาเป็นต้น และอันเช่นกับด้วยอากาศ

 

17     ในรูปวาดอันบุคคลวาดแล้วมีอย่างต่างๆ ย่อมไม่มีความลึคกและความสูงและปรากฏ เช่นนั้น ฉันใดนั่นเทียว ในความไม่มีและในความจินตนาการ ความเป็น 2 ย่อมไม่มี โดยประการทั้งปวง ในที่ทั้งปวง และปรากฏเช่นนั้นฉันนั้นเหมือนกัน

 

18     เมื่อน้ำบริสุทธิ์ถูกทำให้กระเพื่อมแล้ว ความเป็นโดยประการอื่นอีกย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะไม่นำออกซึ่งความมีมลทิน ฉันใด วิธีการในความบริสุทธิ์แห่งจิตของตนนั้นก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน

 

19     จิตเป็นที่ทราบกันว่ามีปกติปภัสสรตลอดเวลา เป็นสิ่งมีโทษเพราะโทษอันจรมา เมื่อนั้น ความเป็นประภัสสรแห่งจิตอื่นย่อมไม่ปรากฏในความเป็นปกติแห่งความตายแห่งจิตโดยธรรม

 

อรรถาธิบาย     อภาวะแห่งธรรมและการได้เฉพาะซึ่งธรรมนั้นเป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน ความไม่มีกิเลสและความบริสุทธิ์โดยปกติแห่งธรรมธาตุจากภายหลัง นั้นเป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อนของคนพาล / เพราะเหตุนั้นบุคคลย่อมปฏิเสธความเดือดร้อนนั้น ด้วยความเป็นเช่นกับมายาเป็นต้นและด้วยความเป็นเช่นกับอากาศ โดยลำดับ / เช่นกับด้วยความลึกและสูงในภาพวาดและเช่นกับด้วยความบริสุทธิ์แห่งน้ำโดยลำดับ / ความเป็นธรรมแห่งการอุปมาพึงเกิดขึ้นในจิตด้วย โศลกที่ 4 น้ำเป็นของบริสุทธิ์แต่ย่อมเป็นสิ่งมีตะกอนด้วยฝุ่นอันจรมาฉันใด จิตก็เป็นปภัสสร โดยปกติแต่ก็ถูกประทุษร้ายด้วยโทษ เพราะโทษอันจรมาฉันนั้น / จิตแห่งบุคคลอื่นอันไม่ฝึกจิตด้วยธรรมย่อมไม่มีความเป็นปภัสสร โดยธรรมชาติแห่งลักษณะอันเป็นปรตันตระ / เพราะเหตุนั้นพึงทราบจิตในความเป็นเช่นนั้นแห่งจิตอย่างนี้ /

 

โศลกว่าด้วยการปฏิเสธการ ไม่ถึงทั่ว (อาปปตฺติ) อันเกิดแต่ราคะ 4 โศลก

 

20     ความรักอันยิ่งใหญ่อันเป็นเพื่อความเมาแห่งพระโพธิสัตว์ในสัตว์ทั้งหลายเหมือนกับรักของบุคคลผู้มีบุตรคนเดียว เพราะเหตุนั้นพึงทราบว่า ความรักของพระโพธิสัตว์เป็นสิ่งกระทำประโยชน์ตลอดกาลทุกเมื่อ

 

21     เพราะการทำประโยชน์ในสัตว์ทั้งหลายเหตุนั้นจึงไม่มีการถึงทั่วอันเกิดแต่ราคะความทุกข์ย่อมดับไปในสรรพสัตว์ตลอดกาลทุกเมื่อและโดยประการทั้งปวง

 

22     นางนกพิราบทะนุถนอมลูกของตน ปกป้องด้วยปีกของตน ย่อมตั้งอยู่ฉันใด การทำลายแห่งผู้มีความรู้ย่อมดับไปในร่างกาย เพราะความกรุณาปราณีในสัตว์ทั้งหลายฉันนั้นเหมือนกัน

 

23     ที่ใดมีไมตรี จิตใจแห่งการทำลายย่อมดับไปที่ใดมีสันติจิตใจแห่งความโกรธย่อมดับไป ที่ใดมีอรรถ จิตใจแห่งความมีกลอุบายย่อมดับไป ที่ใดมีความเบาสบาย ความหวาดกลัวย่อมดับไป

 

อรรถาธิบาย     ความรักในสัตว์ทั้งหลายของพระโพธิสัตว์ ในที่นี้เป็นสิ่งที่อภิปรายว่า เป็นราคะ เพราะเหตุนั้นบุคคลจึงปฏิเสธการถึงทั่วแห่งพระโพธิสัตว์เหล่านั้นผู้กระทำความสัตย์ / เพราะเหตุแห่งการกระทำเพื่อประโยชน์แก่สัตว์ / มีนางนกพิราบเป็นอุทาหรณ์เพราะเความมีราคะเช่นนั้น เมื่อพระโพธิสัตว์ผู้เป็นไปกับด้วยความกรุณา มีความรักอันยิ่งโดยไม่เสน่หาเฉพาะ ส่วนการทำลายย่อมดับไปในสัตว์ผู้มีกายทั้งหลาย / ไมตรีของพระโพธิสัตว์ย่อมมีในสัตว์ทั้งหลาย ความสงบจากความโกรธ การให้อรรถ ความเบาสบาย ย่อมมีเพราะการเกิดขึ้นแห่งปิติ / คำเหล่านี้ว่า ที่ใดมีไมตรีเป็นต้น ที่นั้นจิตใจแห่งการทำลายย่อมดับ ไปนั่นเทียว / และคำว่าจิตใจ่แห่งความโกรธเป็นต้น เป็นถ้อยคำที่ปริบูรณ์แล้ว /

 

โศลกว่าด้วยการจำแนกการปฏิบัติ 5  โศลก

 

24     ผู้มีโรคย่อมถูกหมอที่ดีปฏิบัติในสังสาร ฉันใดและแพทย์ย่อมปฏิบัติในสรรพสัตว์ผู้มีโรคฉันนั้น

 

25     บุคคลย่อมปฏิบัติในตนของตนเหมือนกับผู้รับใช้ที่ไม่ได้ฝึกมาแล้ว อีกประการหนึ่งเหมือนพ่อค้าย่อมปฏิบัติในการค้าที่ต้องการ

 

26     เหมือนดังที่ ผู้ย่อมปฏิบัติในเสื้อผ้าอันเป็นการงานเหมือนดังบิดา ปฏิบัติต่อบุตรผู้ยังอ่อน ผู้ควรแก่การห้าม /

 

27     ผู้มีความต้องการด้วยไฟ ย่อมปฏิบัติต่อแผ่นหินในป่า ผู้อยู่ในที่ทั้งปวง ย่อมปฏิบัติในอธิจิตอันไม่ได้รับการฝึกแล้ว /

 

28     เหมือนนักมายาการปฏิบัติในความรู้ด้วยปัญญา เหมือนการปฏิบัติของพระโพธิสัตว์นั้นเป็นที่ทราบแล้ว

 

อรรถาธิบาย     ย่อมปฏิบัติเพราะเหตุใด ย่อมได้รับความรู้แจ้งด้วยเหตุนั้น / อย่างไร ดังนี้มีความเป็นโรคเป็นต้นในการรักษาเป็นต้น/ ในที่ใด ดังนี้ คือ ในสังสารเป็นต้น เพราะการเข้าไปในสังสารด้วยการหมุนเวียนไป / เพราะการเสียสละเพื่อสัตว์ผู้มีโรคคื  กิเลสด้วยความกรุณา / เพราะการกระทำจิตให้เป็นความนำออกไปแห่งตน / เพราะการชำระมีการเป็นต้น / เพราะความไม่กำเริบแห่งความต้องการของสัตว์ / เพราะการประกอบยิ่งโดยไม่มีระหว่างแห่งการเจริญกุศล/ เพราะความไม่มีอาสวะแห่งสมาธิ / และเพราะความไม่วิปริคตแห่งความรู้ /

 

โศลกว่าด้วยความบริสุทธิ์แห่งมณฑล 3 ประการของการปฏิบัติ

 

29     ด้วยประการฉะนี้ ผู้มีความเพียรอันประกอบแล้ว อย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบด้วยดีแล้วในการชำระความแก่รอบแห่งความเป็น 2 นั้นย่อมบรรลุความสำเร็จอันยอดเยี่ยมด้วยความรู้อันบรมไม่มีมลทินและไม่หลอกลวงโดยลำดับ

 

อรรถาธิบาย     ด้วยประการฉะนี้ พึงทราบความบริสุทธิ์แห่งมณฑล 3 ประการของผู้ปฏิบัติของสิ่งที่ควรปฏิบัติและของการปฏิบัติด้วยความรู้ในธรรมและความไม่มีตัวตนอันไม่หลอกลวงด้วยการไม่หลอกลวง / ผู้ประกอบด้วยดีในการชำระความแก่รอบแห่งความเป็น 2 คือความเป็นผู้มีตนแห่งสัตว์ทั้งหลายด้วย /

 

อธิการที่ 13 ว่าด้วยเรื่องการปฏิบัติในมหายานสูตรลังการ จบ

 

 

อธิการที่ 14

 

อธิการที่ 14

 

โศลกว่าด้วยการจำแนกโอวาทและคำสอน

 

 

โศลกว่าด้วยการจำแนกโอวาทและคำสอน 50 โศลก

 

1      ผู้เข้าถึงโดยความนับไม่ได้แห่งกัปป์เพิ่มพูนซึ่งอธิมุกแล้ว เป็นผู้สมบูรณ์พร้อมด้วยกุศลธรรมเหมือนมหาสมุทรเต็มด้วยน้ำ/

 

อรรถาธิบาย     คำว่า เพิ่มพูนซึ่งอธิมุกติ นั่นคือ เพราะการเพิ่มขึ้นอันมีประมาณยิ่ง / ส่วนที่เหลือมีเนื้อความอันอธิบายแล้ว /

 

2       ผู้เกิดแต่พระชินเจ้าผู้ถูกเลี้ยงดีแล้วและผู้เลี้ยงดีแล้วในความบริสุทธิ์แต่ต้น มีวิชาดี มีจิตอันงาม ย่อมประกอบภาวนา

 

อรรถาธิบาย     ความบริสุทธิ์แต่ต้น เพราะการชำระซึ่งเครื่องปิดกั้นแห่งพระโพธิสัตว์เพราะการทำเครื่องหมายอันเห็นได้ในมหานและเพราะการยึดถืออรรถอันไม่วิปริต / มีวิชาดี เพราะมีความเป็นพหูสูต / มีจิตอันงาม เพราะไม่มีนิวรณ์

 

3      ย่อมได้ซึ่งโอวาทแห่งพระพุทธเจ้าในกระแสแห่งธรรมอันไพบูลย์เพื่อการเข้าถึงความไพบูลย์แห่งสมถะและฌาน

 

4      จากนั้น ในธรรมอันประกอบด้วยพระสูตรเป็นต้นในความไม่มีภาวะแห่งความไม่เป็น 2 จากการผูกจิตไว้ในมีพระสูตรเป็นต้น เป็นยุติ โดยเบื้องต้น /

 

5      ต่อจากนั้น พึงวิจารณ์ในประเภทแห่งบทโดยลำดับและพึงวิจารณ์อรรถนั้น โดยความแยบคายแห่งอัตตาอันตั้งมั่น /

 

6      และต่อจากนั้น เมื่อได้ตั้งมั่นซึ่งอรรถเหล่านั้นแล้ว พึงซึมซับไว้ในธรรมอีก พึงกระทำความพอใจ เพื่อการบรรลุถึงอรรถนั้น /

 

อรรถาธิบาย     ในธรรมอันประกอบด้วยสูตร เคยยะ เป็นต้น ชื่อแห่งสูตรเป็นต้น คือ อันเป็นไปในภูมิ 10 เป็นต้นนี้ ในที่นี้จิตพึงผูกไว้โดยเบื้องต้น / โดนโศลกทั้ง 3 เหล่านี้ จิต 6 ประเภทถูกแสดงแล้ว / มูลจิต อนุจรจิต อวธารณจิต สังกลนจิต ศาสติจิต / ในที่นี้ มูลจิต คือ การได้รับชื่อแห่งธรรมมีพระสูตรเป็นต้น / หรือว่าฟังโอวาทแล้วจินตนาการด้วยตนเอง / กล่าวคือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ศูนย์  ไม่มีตัวตนและไม่แยบคาย / อนุจรจิต คือ ไปตามประเภทแห่งบทแห่งการได้โดยชื่อของพระสูตรเป็นต้น / วิจารณจิต คือย่อมวิจารณ์อรรถและพยัญชนะ / ในที่นี้วิจารณ์อรรถด้วยอาการ 4 คือ ด้วยการนับ ด้วยการวัด ด้วยการทดสอบและด้วยการบรรลุ / ในที่นี้การนับคือ การสงเคราะห์กล่าวคือ อายตนะ 10 มีรูปเป็นต้น และส่วนแห่งผู้หนึ่ง เวทนา 6 มีกายเวทนา อย่างนี้เป็นต้น / การวัด คือ ด้วยการคำนวณด้วยการบกขึ้นสู่ใจอันเป็นที่ยึดถือว่าเป็นลักษณะที่สงบแห่งธรรม/ การทดสอบ คือการตรวจสอบด้วยความรู้ / การบรรลุ คือการมองดูอรรถแห่งการนับ การวัดและการทดสอบ / ย่อมวิจารณ์พยัญชนะด้วยอาการ 2 / ด้วยความเป็นไปกับด้วยอรรถแห่งพยัญชนะอันเป็นหมวดหมุ่และด้วยความไม่มีอรรถแห่งพยัญชนะอันแยกจากกัน / อวธารณจิต คือ การประพฤติตามหรือการวิจารณ์ย่อมหยั่งลงสู่นิมิตนั้น / สังกลนจิต กล่าวคือ อรรถที่ถูกวิจารณ์ย่อมยังอาการแห่งความเป็นก้อนโดยรอบอย่างสังเขปให้เป็นไปในมูลจิต / อาศาสติจิต คือ เป็นผู้ประกอบซึ่งอรรถย่อมยังอรรถแห่งสมาธิหรืออรรถแห่งความเข้าไปสู่ภูมิหรืออรรถแห่งการบรรลุคุณวิเศษ อันเป็นไปกับด้วยฉันทะให้เป็นไป / เพราะว่าจิตเท่านั้นย่อมยังแสงสว่างแห่งพื้นฐานให้เป็นไป พื้นฐานอื่นจากจิตย่อมไม่มี เพราะฉะนั้นจิตเท่านั้นเกิดขึ้นเป็นไป พื้นฐานอื่นจากจิตย่อมไม่มี เพราะฉะนั้นจิตเท่านั้นเป็นพื้นฐาน อย่างอื่นไม่มี / เพราะเหตุดังนี้ จิตอันมี 6 ประเภท ย่อมยังพื้นฐานให้ตั้งมั่น /

 

7       จากนี้เมื่อบุคคลพิจารณาย่อมเป็นผู้ผูกพันด้วยถ้อยคำทางใจ พึงวิจารณ์ด้วยมนัสการอันไม่มีถ้อยคำและด้วยความเป็นหนึ่ง

 

8        สมถมรรค อันบุคคลพึงรู้ และชื่อแห่งธรรมเป็นสิ่งที่เป็นก้อน วิปัสสนามรรคอันบุคคลพึงรู้เป็นการวิจารณ์อรรถนั้น /

 

9       อีกประการหนึ่ง มรรคอันบุคคลพึงรู้ โดยความเป็นคู่และเป็นก้อน พึงยึดถือซึ่งการหลีกเร้นแห่งจิต พึงสงบอีก

 

10     เมื่อพิจารณาการบรรลุถึงความสงบในพื้นฐานนั้นอีกครั้ง พึงประกอบในที่ทั้งปวงเพราะการกระทำจริงอันเป็นไปอย่างต่อเนื่อง /

 

อรรถาธิบาย     นมัสการ 11 ถูกแสดงด้วยโศลกทั้ง 4 เหล่านี้ / วิตก วิจาร / ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร เท่านนั้น / ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร / สมถนมัสการ / วิปัสสนามนัสการ / มนัสการแห่งความพยายามและความเสื่อม / (มนัสการแห่งนิมิตอันยึดถือ) มนัสการแห่งนิมิตในสมถะ / มนัสการแห่งนิมิตในอุเบกขา / มนัสการในการกระทำอย่างติดต่อ / และมนัสการในการกระทำจริง /

 

11     เมื่อบุคคลถูกผูกไว้ด้วยดี ซึ่งจิตในพื้นฐานไม่พึงซัดส่ายไปซึ่งการยึดถือ หลังจากถึงแล้วซึ่งความซัดส่ายไป โดยพลันพึงขับไล่ในเรื่องนี้อีก

 

12     ผู้มีพุทธิพึงซัดไปซึ่งจิตอันแข็งแรงในเบื้องบน จากนั้นพึงฝึกจิตอันจรไป เพราะการเห็นคุณในสมาธิ

 

13    พึงยังความไม่ยินดีให้สงบ เพราะเห็นโทษในการวิ่งไปในความไม่ยินดีนั้น พึงยังความเกิดขึ้นแห่งความอยากและใจอันชั่วร้ายให้สงบเช่นนั้น

 

14    จากนั้นพึงได้ความเป็นหนึ่งเดียวอันเป็นของตนในจิตอันเป็นไปกับด้วยสังสการด้วยความพยายามในการฝึกฝนอันปราศจากสังสการ /

 

อรรถาธิบาย     อุบายแห่งความตั้งมั่น ด้วยความตั้งมั่นแห่งจิตมีอาการ 9 อันท่านแสดงด้วยโศลก 4 เหล่านี้ / ยังจิตให้ตั้งมั่น ให้ตั้งมั่นพร้อม ให้ตั้งมั่นลง ให้ตั้งมั่นใกล้ฝึกจิต สงบจิต สงบวิเศษ กระทำให้เป็นหนึ่งและยังจิตให้เป็นสมาธินี้คือ อาการ 9 /

 

15    จากนั้นบุคคลนั้นได้แล้วซึ่งกายและใจอันละเอียดอ่อนอันเล็กที่สุด เป็นผู้มีมนัสการอันพึงรู้อีกประการหนึ่งบุคคลนั้นย่อมเพิ่มพูนซึ่งการนี้

 

16    โดยความเป็นสิ่งไปได้ไกลแห่งความเจริญบุคคลนั้นย่อมได้การหยุดอยู่อันมั่นคงเมื่อชำระความหยุดอยู่นั้นแล้ว ย่อมถึงซึ่งอรรถแห่งอภิญญาอันสมควรแก่การอันยอดเยี่ยม

 

17    ในความเพ่ง เพราะอภินิหารแห่งอภิญญา บุคคลนั้นย่อมไปสู่โลกธาตุ อันสมควรแก่การบูชา อันไม่มีประมาณแห่งพระพุทธเจ้าและเพื่อการได้ฟัง

 

18    เมื่อบุคคลถึงซึ่งความไม่มีประมาณแห่งพระพุทธเจ้าด้วยกัปป์อันไม่มีประมาณ เขาย่อมถึงซึ่งความสมควรแก่การงานอันยอดเยี่ยมแห่งใจ เพราะการบรรลุถึงซึ่งการบูชานั้น

 

อรรถาธิบาย     พึงสัมพันธ์ว่า ย่อมถึงซึ่งความสมควรแก่การงานอันยอดเยี่ยมในธยานดั้งนี้ / ด้วยกัปป์อันไม่มีประมาณได้แก่การถึงซึ่งความไม่มีประมาณโดยการนับ / เนื้อความแห่งโศลกที่เหลืออธิบายแล้ว /

 

19    ลำดับนั้น บุคคลนั้นย่อมได้การสรรเสริญ 5 ประการอันเป็นไปในเบื้องหน้าด้วยความบริสุทธิ์ และต่อจากนั้นย่อมถึงซึ่ความเป็นภาชนะแห่งความบริสุทธิ์อันยอดเยี่ยม

 

20    เพราะว่าการอันเป็นไปกับด้วยโทษ ย่อมวิ่งไปสู่ความเป็นขณะแห่งขณะ และกายและจิตย่อมเต็มด้วยความละเว้นโดยรอบ

 

21    บุคคลย่อมรู้ซึ่งการปรากฏอันไม่ขาดตอนแห่งธรรมโดยประการทั้งปวง ย่อมเห็นนิมิตอันไม่หลอกลวงในความบริสุทธิ์ด้วยดี /

 

22    ในความเต็มรอบและในความบริสุทธิ์แห่งธรรมกายโดยประการทั้งปวง ผู้มีปัญญาย่อมกระทำความยึดถือโดยรอบแห่งเหตุอย่างนี้อย่างต่อเนื่อง /

 

อรรถาธิบาย     ลำดับนั้น บุคคลย่อมได้การสรรเสริญ 5 ประการอันเป็นไปในเบื้องหน้าแต่ความบริสุทธิ์ / ความบริสุทธิ์ได้แก่ ภูมิเป็นที่อาศัยอันบริสุทธิ์ / และย่อมบรรลุซึ่งความเป็นภาชนะแห่งความบริสุทธิ์ เพราะการได้สิ่งเหล่านั้น / อันยอดเยี่ยม เพราะความเป็นอนันต์แห่งยาน/ ในความเต็มรอบและใบความบริสุทธิ์ในธรรมกาย ได้แก่ ความเต็มรอบในภูมิ 10 ความบริสุทธิ์ในพุทธภูมิ / พึงทราบ การสรรเสริญ 5 ประการเหล่านั้น คือฝ่ายสมถะ 3 ฝ่ายวิปัสสนา 2 / เพราะเหตุนั้นจนกระทั่งความถึงพร้อมอันเป็นโลกิยะ /

 

23    และต่อจากนั้น พระโพธิสัตว์ผู้เป็นเช่นนั้น ผู้ตั้งมั่น ย่อมไม่เห็นอรรถทั้งปวงอันพ้นจากการสร้างภาพในใจ

 

24    บุคคลย่อมปรารภความเพียรอันมั่นคงเพื่อความเจริญแห่งแสงสว่างแห่งธรรมและย่อมตั้งมั่นในจิตเท่านั้น ด้วยความเจริญแห่งแสงสว่างแห่งธรรม

 

25    และต่อจากนั้น บุคคลย่อมเห็นความมีแสงสว่างแห่งประโยชน์ทั้งปวงในจิต ย่อมเป็นผู้ละทิ้งความเป็นฝักฝ่ายแห่งสิ่งอันบุคคลพึงยึดถือ

 

26    จากนั้นบุคคลย่อมหลงเหลือความเป็นฝักฝ่ายแห่งผู้ยึดถือ โดยส่วนเดียวและสัมผัสสมาธิอันเป็นอนันต์โดยพลันอีกครั้ง

 

อรรถาธิบาย     จากนั้นอันเป็นส่วนแห่งความผูกมัดอันสูงสุด / พระโพธิสัตว์ผู้เป็นเช่นนั้น มีจิตตั้งมั่นย่อมไม่เห็นธรรมทั้งปวงอันพ้นจากการสร้างภาพในใจอันไม่ปรากฏแห่งสวลักษณะและสามัญลักษณะ ย่อมปรากฏแต่เพียงการสร้างภาพในใจเท่านั้น / หลงเหลืออยู่ในยามรุ่งเช้าเท่านั้น / แสงสว่างนี้นั้น เป็นการกระทำอันยิ่งที่กล่าวไว้แห่งแม่น้ำอันเค็ม / แสงสว่างได้แก่เป็นคำอันยิ่งแห่งความอดกลั้นที่เกี่ยวข้องกับธรรม/ บุคคลนั้นปรารภความเพียรอันมั่นคง เพื่อความเจริญแห่งแสงสว่างแห่งธรรม ด้วยกริยาอันตั้งมั่น / นี้เป็นสภาพอันสูงสุดแห่งใจ / และบุคคลนั้นย่อมตั้งมั่นในจิตเท่านั้น ด้วยความเจริญแห่งแสงสว่างแห่งธรรม / เพราะการตระหนักรู้ว่าสิ่งนี้คือจิต / จากนั้นบุคคลนั้นย่อมเห็นความเป็นสิ่งมีแสงสว่างแห่งประโยชน์ทั้งปวงในจิตเท่านั้น / อรรถอื่นจากจิตไม่มี / เมื่อใดเขาเป็นผู้ละความเป็นฝักฝ่ายแห่งสิ่งอันควรยึดถือ / เมื่อนั้นย่อมหลงเหลือความเป็นฝักฝ่ายแห่งผู้ยึดถือเพียงลำพัง / นี้เป็นสภาพแห่งความอดกลั้น / ในกาลนั้นเขาย่อมสัมผัสสมาธิอันเป็นอนันต์โดยพลัน / นี้เป็นสภาพแห่งธรรมอันเลิศอันเป็นโลกิยะ / ด้วยเหตุไร สมาธินั้นจึงถูกกล่าวว่าเป็นอนันต์ /

 

27    เพราะว่าเขาละความเป็นฝักฝ่ายแห่งผู้ยึดถืออันไม่มีในระหว่าง เขายังความรู้ให้พัฒนามีสภาพแห่งแสงสว่างเป็นต้น โดยลำดับ

 

อรรถาธิบาย     ความมีสภาพแห่งแสงสว่างเป็นต้นนี้ เป็นส่วนแห่งความผูกมัดด้วยประการฉะนี้/

 

28    ผู้นั้นย่อมได้ชญาน อันพ้นจากผู้ยึดถือความเป็นความเป็น 2 อันเป็นโลกุตตระอันยอดเยี่ยม อันปราศจากการหลอกลวงอันไม่มีมลทินอีก /

 

อรรถาธิบาย     ดังนั้น ความเป็นสภาพแห่งมรรคสู่การเห็นโดยประการอื่น / อันพ้นจากการยึดถือความเป็น 2 เพราะไม่ประกอบในการยึดถือสิ่งอันควรยึดถือและการยึดถือในผู้ยึดถือ / อันยอดเยี่ยมด้วยความเป็นอนันต์แห่งยาน / อันปราศจากการหลอกลวง เพราะไม่ประกอบในการหลอกลวงแห่งการยึดถือในสิ่งอันควรยึดถือ / อันไม่มีมลทิน เพราะประหารกิเลสแห่งทรรศนะและความรู้ / โดยเหตุนั้นผู้ไม่มีมลทินจึงถูกกล่าวว่าความเป็นผู้มีมลทินไปปราศแล้ว/

 

29    การหมุนไปแห่งพื้นฐานเป็นภูมิที่ 1 อันบุคคลปรารถนาภูมินั้น มีอยู่โดยกัปอันไม่มีประมาณบุคคลย่อมถึงความบริสุทธิ์ด้วยดี/

 

โศลกมีอรรถอันอธิบายแล้ว/

 

30    อีกประการหนึ่ง หลังจากแทงตลอดความที่แห่งธรรมธาตุเป็นสิ่งเสมอกันแล้ว ย่อมได้ความเป็นผู้มีจิตเสมอด้วยตน ในสรรพสัตว์ตลอดกาลทุกเมื่อ/

 

31    ในการกระทำอรรถแห่งทุกข์แห่งความเป็นผู้ไม่มีตัวตนในกรรมไม่ทวนกลับ เป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทั้งหลายเหมือนกับผู้เกิดแต่พระชินเจ้าผู้มีตนเสมอในบุคคลแม้เหล่าอื่น/

 

อรรถาธิบาย    และหลังจากแทงตลอดความที่แห่งธรรมเสมอกันด้วยไม่มีตัวตนแห่งธรรมแล้ว ย่อมได้เฉพาะซึ่งความเป็นผู้มีจิตเสมอด้วยตนในสรรพสัตว์ตลอดกาลทุกเมื่อ / ด้วยความเป็นผู้เสมออันมี 5 ประการ / ด้วยความเป็นผู้เสมอในความไม่มีตัวตน ด้วยความเป็นผู้เสมอในทุกข์ เพราะความไม่แตกต่างในความไม่มีตัวตนและในทุกข์ ในความเดือดร้อนของตนและผู้อื่น / ด้วยความเป็นผู้เสมอในการกระทำ เพราะความเป็นผู้เสมอด้วยการประหารทุกข์ของตนและผู้อื่น / ด้วยความเป็นผู้เสมอในการปราศจากการกระทำตอบแทน / เพราะความยินดีในการทำตอบแทนจากบุคคลอื่นเหมือนเป็นของตน / และด้วยความเป็นผู้เสมอด้วยพระโพธิสัตว์เหล่าอื่น ความเสมออันยิ่งด้วยพระโพธิสัตว์เหล่านั้นเป็นประการใด เพราะความเป็นผู้เสมออันยิ่งประการนั้น/

 

32    บุคคลย่อมเห็นธาตุ 3 อัตตาและสังสการแห่งความเป็นสิ่งหลอกลวงอันไม่มีอยู่จริง / ด้วยความรู้อันบริสุทธิ์ด้วยดี ด้วยอรรถแห่งความไม่เป็น 2 /

 

อรรถาธิบาย    ผู้นั้นย่อมเห็นธาตุ 3 อัตตาและสังสการว่าเป็นสิ่งหลอกลวงอันไม่มีอยู่จริง / ด้วยความร้อนบริสุทธิ์ด้วยดี เพราะความเป็นโลกุตตระ / โดยอรรถแห่งความไม่เป็น 2 ได้แก่ โดยอรรถแห่งสิ่งอันควรยึดถือและผู้ยึดถือ/

 

33    ภาวะแห่งอภาวะอันพ้นแล้วด้วยความสิ้นไปแห่งทฤษฎี มรรคสู่การเห็นอันบุคคลได้แล้ว ด้วยเหตุนั้นเขาย่อมหลุดพ้น

 

อรรถาธิบาย    ภาวะแห่งอภาวะของสิ่งที่ควรยึดถือและผู้ยึดถือบุคคลย่อมเห็นความหลุดพ้นจากกิเลสอันควรประหารซึ่งการเห็นธรรมชาติ/

 

34    บุคคลผู้รู้จักความเป็นศูนย์แห่งอภาวะและความเป็นศูนย์แห่งภาวะแล้วรู้จักความเป็นศูนย์โดยปกติ ย่อมถูกเรียกว่าเป็นผู้รู้ความเป็นศูนย์ ดังนี้

 

อรรถาธิบาย    พระโพธิสัตว์นั้นถูกเรียกว่าเป็นผู้รู้ศูนยตา / เพราะรู้ศูนยตาอันมีอย่าง 3 / ศูนยตาแห่งอภาวะ สวภาวะ เป็นสิ่งหลอกลวง เพราะความไม่มีแห่งลักษณะของตน / ศูนยตาแห่งภาวะเช่นนั้น ภาวะเช่นนั้นแห่งปรตันตระย่อมไม่หลอกลวง ภาวะด้วยลักษณะของตน / ศูนยตาโดยปกติ ปรินิษปันนะ เป็นสวภาวะ เพราะความเป็นสวภาวะแห่งศูนยตา /

 

35    บทอันไม่มีนิมิต สิ่งอันบุคคลพึงรู้ และความสิ้นไปแห่งความแตกต่างและความหลอกลวงอันไม่มีอยู่จริงแห่งบุคคลผู้ไม่มีความต้องการแล้ว

 

อรรถาธิบาย    บทอันไม่มีนิมิต สิ่งอันพึงรู้และการสิ้นไปแห่งความแตกต่าง / ความหลอกลวงอันไม่มีอยู่จริงแห่งปณิธานนั้น อรรถว่าการได้เฉพาะซึ่งบท /

 

36    ด้วยมรรคสู่การเห็นนั้น การได้รับพึงทราบว่าเป็นไปด้วยกันในผู้เกิดแต่พระชินเจ้าแห่งโพธิปักขิยธรรมทั้งปวงอันวิจิตร /

 

อรรถาธิบาย    พึงทราบการได้โพธิปักขิยธรรมทั้งปวงแห่งพระโพธิสัตว์กับด้วยมรรคสู่การเห็นสติปัฏฐาน เป็นต้น/

 

37    บุคคลถึงแล้วซึ่งโลกว่าเป็นสังสการเท่านั้น ด้วยพุทธิไม่มีตัวตนเป็นเพียงสิ่งเจริญด้วยทุกข์เท่านั้น ละแล้วซึ่งทิฐิว่ามีตัวตนอันไม่มีประโยชน์ อาศัยความเห็นว่ามีตัวตนอันยิ่งใหญ่ซึ่งมีประโยชน์อันยิ่งใหญ่

 

38    บุคคลใด ในที่นี้แม้เป็นผู้มีความเห็นว่ามีตัวตนด้วยความเป็นผู้เว้นจากความเห็นว่ามีตัวตน เว้นจากทุกข์ เป็นผู้มีทุกข์อย่างยิ่ง เป็นผู้กระทำประโยชน์ทั้งปวง ไม่เป้นผู้มีความหวังในการตอบแทน บุคคลนั้นเป็นผู้มีใจดี กระทำประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน

 

39    บุคคลใดเป็นผู้มีใจพ้นแล้ว ด้วยความหลุดพ้นอันยอดเยี่ยม เป็นผู้ผูกแล้วด้วยเครื่องผู้คือ เหตุผล บุคคลนั้นเมื่อเห็นที่สุดแห่งทุกข์ย่อมกระทำด้วยนั่นเทียว ย่อมประกอบด้วยนั่นเทียว

 

40    โลกเป็นสิ่งไม่สามารถเพื่อการสนับสนุนทุกข์อันเป็นของตน ทุกข์อื่นอันบีบคั้นจักมีแต่ที่ไหน แต่พระโพธิสัตว์มองเห็นการเกิดขึ้น คิดอยู่โดยประการต่างๆ

 

41    ความรักแห่งผู้เกิดแต่พระชินเจ้าในสัตว์ทั้งหลาย และความสงสาร การประกอบอันเป็นเถาวัลย์ ความอัศจรรย์อันเป็นปรมะ ในภพทั้งหลาย เพราะความไม่มีแห่งความเป็นผู้เสมอกันแห่งสัตว์

 

อรรถาธิบาย    ด้วยโศลกทั้ง 5 เหล่านี้ การทำให้เจริญซึ่งความยิ่งใหญ่แห่งพระโพธิสัตว์ผู้ได้มรรคสู่การเห็น / ความว่ามีตัวตนอันไม่มีประโยชน์คือ สักกายทิฐิอันเศร้าหมอง / ความเห็นว่ามีตัวตนอันยิ่งใหญ่ได้แก่ ความเห็นว่ามีตัวตน เพราะการได้ความเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทั้งหลายอันมีประโยชน์ยิ่งใหญ่ / เพราะความเห็นนั้นเป็นสิ่งมีประโยชน์ยิ่งใหญ่ เพราะความเป็นเหตุแห่งการกระทำเพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ / ด้วยการเว้นจากความเห็นว่าไม่มีตัวตนอันเป็นความเห็นว่ามีตัวตนอันไม่มีประโยชน์ ประโยชน์ที่เว้นจากทุกข์อันเป็นเหตุเกิดแห่งความเดือดร้อนของตน มีทุกข์มากด้วยการเกิดขึ้นแห่งความเดือดร้อนของสรรพสัตว์ / บุคคลใดผู้มีใจอันพ้นแล้วด้วยยานอันยอดเยี่ยมด้วยการหลุดพ้นอันยอดเยี่ยมอันเป็นความเห็นที่ควรประหารเสีย / และเป็นผู้ผูกแล้ว ด้วยเครื่องผูกคือเหตุผล ย่อมไม่เห็นที่สุดแห่งทุกข์ ด้วยความเดือดร้อนแห่งสรรพสัตว์ ย่อมประกอบเหมือนกับอากาศจากความเป็นอนันต์แห่งธาตุทั้งปวงและย่อมกระทำเพื่อสัตว์ด้วยการกระทำที่สุดแห่งทุกข์และเพื่อประโยชน์แก่สัตว์ไม่มีประมาณ / แต่ว่าพระโพธิสัตว์นั้น เป็นผู้สามารถเพื่อการสนับสนุนทุกข์แห่งสรรพสัตว์อันบีบคั้น จนกระทั่งถึงโลก / ความรักของพระโพธิสัตว์ในสัตว์ทั้งหลาย เป็นความปรารถนาเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุข จิตเป็นเครื่องประกอบจรรยาทั้งปวงอันเป็นปรมะในโลกทั้งหลาย เพราะเป็นผู้มีความสงสารอันประกอบแล้ว / ไม่ใช่สิ่งน่าอัศจรรย์ เพราะความเป็นผู้เสมอด้วยตนแห่งสัตว์ทั้งหลาย /

 

42    จากนั้น ในภาวนามรรค ในภูมิทั้งหลายที่หลงเหลือ บุคคลย่อมประกอบด้วยการเจริญภาวนาชญานอันมี 2 ประการในที่นี้

 

43    ชญานนั้นอันปราศจากความแตกต่างอันเป็นเครื่องชำระพุทธธรรม ความเป็นประการอื่นเป็นความตั้งมั่น อันเป็นความแก่รอบแห่งสัตว์ทั้งหลาย

 

44    การบรรลุถึงความสิ้นไปแห่งความเป็น 2 แห่งภาวนา เมื่อถึงภาวนาอันเป็นที่สุด พระโพธิสัตว์ย่อมเป็นผู้มีอภิสิทธิ์ /

 

45    (พระโพธิสัตว์) บรรลุถึงความสงบอันมีสายฟ้าเป็นอุปมา อันความแตกต่างทำลายไม่ได้ แล้วถึงการหมุนไปแห่งพื้นฐานอันไม่มีเครื่องกั้นและมลทินทั้งปวง /

 

46    (พระโพธิสัตว์) ย่อมได้ความเป็นผู้รู้อาการทั้งปวงและบทอันยอดเยี่ยมเป็นผู้ตั้งมั่นย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์สุขแห่งสรรพสัตว์ /

 

อรรถาธิบาย    ภาวนามรรคและชญาน อันมีอย่าง 2 ถูกแสดงไว้แล้วด้วยโศลกเหล่านี้ / ย่อมชำระพุทธธรรมอันไม่มีความแตกต่างแห่งผู้มีตัวตน / ความตั้งมั่นอันเป็น โลกกุตตระและการได้รับอันเป็นโลกียะ พระโพธิสัตว์ย่อมยังสัตว์ให้แก่รอบ / ในการบรรลุถึงความสิ้นไปแห่งความเป็น 2 หลังจากบรรลุแล้วซึ่งภาวนาอันเป็นที่สุดเป็นผู้มีอภิสิทธิ์เพื่อการถึงที่สุดรอบ ย่อมได้สมาธิอันมีสายฟ้าเป็นเครื่องปรียบ / มีสายฟ้าเป็นอุปมาด้วยอรรถคือ อันอนุสัยคือความแตกต่างทำลายไม่ได้ / ลำดับนั้นย่อมได้การหมุนไปแห่งพื้นฐานอันถึงความตั้งมั่นอันไม่มีเครื่องกั้นคือ กิเลส และความรู้อันไม่มีมลทิน / เป็นผู้ตั้งมั่นซึ่งความเป็นผู้รู้อาการทั้งปวงและซึ่งบทอันอนุตตระจนกระทั่งปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย ด้วยความเห็นในสังสาร อภิสัมโพธิและนิรวาณ เป็นต้น /

 

47    ความเห็นอันเที่ยงแท้อันมีประโยชน์อันยิ่งใหญ่ไม่มีในความเห็นอันได้โดยยากพึงมีในมุนีได้อย่างไร ใจอันสงบอย่างลึกซึ้งด้วยกระแสแห่งความเลื่อมใสอันเป็นที่เกิดพร้อมแห่งการฟังอันไม่มีสิ่งเสมอ

 

48    ผู้ถูกตักเตือนอยู่โดยตถาคตอย่างต่อเนื่องและในที่ต่อหน้าเป็นผู้ตั้งมั่นในความสุขเพราะธรรมนำออกจากคูหาแห่งโทษ เพียงคงจับที่ผมทั้ง เขายังพละกำลังให้เข้าไปตั้งอยู่ในโพธิ

 

49    ผู้นั้นเป็นผู้อยู่เหนือโลกทั้งปวงด้วยทรรศนะอันบริสุทธิ์ ด้วยดี ด้วยโพธิอันไม่หลอกลวง โดยประการทั้งปวง ทำลายความมืดอันใหญ่แล้ว ยังโลกให้สว่างไสวเหมือนดังพระอาทิตย์ส่องแสงสว่างไสวแล้ว

 

อรรถาธิบาย    ด้วยโศลกทั้ง 3 นี้ท่านแสดงความยิ่งใหญ่แห่งโอวาท / ด้วยว่าบุคคลใดย่อมได้รับโอวาทแห่งกระแสธรรม การเห็นพระพุทธเจ้าอันเที่ยงแท้ย่อมมีแก่บุคคลนั้น / และเพราะการฟังธรรมอันไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือน / เพราะเหตุว่าความเลื่อมใสอันประกอบด้วยประโยชน์นั้นบุคคลมีใจอันได้รับความเลื่อมใสโดยพลัน การเห็นอันเที่ยงแท้ซึ่งพระพุทธเจ้าอันมีประโยชน์ใหญ่ย่อมมี / ส่วนที่เหลือมีอธิบายแล้ว /

 

50    พระพุทธเจ้ายจ่อมให้การสรรเสริญโดยชอบในการประกอบโดยชอบเพื่อประโยชน์ของตนเนืองๆ ให้การนินทาแก่ผู้ประกอบความอิจฉา และพระชินเจ้าย่อมแสดงธรรมอันเกื้อกูลอันมีประการทั้งปวงในสัตว์ผู้เลิศในการเลือกเฟ้นการตั้งมั่น พึงเสพในโยคะ เป็นผู้วิบูลย์ในสุคติ ในศาสนานี้

 

อรรถาธิบาย    ด้วยโศลกนี้ท่านแสดงอนุศาสนีอันมี 4 ประการ /ให้การสรรเสริญพระโพธิสัตว์ผู้กระทำอันยิ่งในอธิศีล แล้วประกอบในอรรถเพื่อตนโดยชอบ / แสดงธรรมอันไม่มีอันตรายอันเกื้อกูลและอันมีประการทั้งปวงแก่พระโพธิสัตว์ผู้กระทำอันยิ่งในอธิจิตและอธิปัญญา ผู้ตั่งมั่นและเลือกเฟ้น / อันควรเวพอันไม่มีอันตรายและอันเกื้อกูล โดยลำดับ / คำว่าโยคะ คือสมถะและวิปัสสนาภาวนา /

 

51    ด้วยประการดังนี้ ผู้นั้นเป็นผู้บริบูรณ์ในการสั่งสมความดีเนืองๆถึงสมาธิอันไพบูลย์เป็นผู้ได้รับโอวาทเนืองๆจากพระมุนี ย่อมเป็นสัตว์ผู้เลิศ เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งห้วงน้ำคือ คุณ /

 

โศลกสุดท้าย (นิคม) มีอรรถอันอธิบายแล้วแล /

 

อธิการที่ 14 ว่าด้วยโอวาทและอนุสาสนี ในมหายานสูตราลังการ จบ

อธิการที่ 15

อธิการที่ 15

 

โศลกว่าด้วยการจำแนกกรรมอันประกอบด้วยประโยชน์เพื่ออุบายวิธี

 

 

อุทาน

 

โศลกว่าด้วยการจำแนกกรรมอันประกอบด้วยประโยชน์เพื่ออุบายวิธี 4 โศลก /

 

1      ความหลากหลายแห่งอธิมุกติ การแสวงหาและการแสดงธรรม การปฏิบัติและโอวาท และคำสอนอันชอบ/

 

2      แผ่นดินตั้งอยู่โดยรอบแห่งป่า ภูเขาอันมีร่างกายและแม่น้ำ ฉันใด กรรมอันมีอย่าง 3 แห่งความดีงาม มีทานเป็นต้นย่อมมีอยู่ในความรู้ทั้งปวง โดยที่ทั้งปวง ฉันนั้นเหมือนกัน

 

อรรถาธิบาย     ท่านแสดงอุบายแห่งการเกิดขึ้นพร้อมด้วยโศลกนี้ / เพราะการเกิดขึ้นพร้อมแห่งกรรมอันมีอย่าง 3 แห่ง โพธิปักขิยธรรมคือ บารมีอันดีงามมีท่านเป็นต้น / คำว่าในความรู้ทั้งปวงนั้น คือ ในพระโพธิสัตว์ / เพื่อประโยชน์แก่การแสดงความตั้งมั่นและ ไม่ตั้งมั่นด้วยการนำมาใช้กับการสังเคราะห์ด้วยป่าเป็นต้น /

 

3      ด้วยกรรมอันบุคคลกระทำได้โดยยาก ด้วยรูปอันวิจิตร ด้วยความไม่มีแห่งกัลป์จำนวนมาก ความสงสารแห่งผู้เกิดแต่พระชินเจ้าย่อมไม่มีแห่งกรรมอันเป็นไปในทางกาย วาจาและใจ /

 

4      พื้นฐานอันเป็นของตนอันเป็นประโยชน์แก่ตนพึงห้ามจากศัตรู เพราะความยิ่งใหญ่แห่งอาวุธอันมีพิษฉันใด กรรมอันมีอย่าง 3 พึงห้าม ผู้เกิดแต่พระชินเจ้าจากหีนยานอันมีอย่างต่างๆฉันนั้น /

 

อรรถาธิบาย     ท่านแสดงอุบายแห่งการแก้ไขด้วยโศลกทั้ง 2 นี้ / เพราะการแก้ไขยานอื่นด้วยความสงสารแห่งมหายาน ตามลำดับ / คำว่า ความสงสาร มีความหมายว่า ยอม / กรรมแห่งผู้ปฏิสังยุตด้วยหีนยานอันเช่นกับด้วยยาพิษเป็นต้น เพราะความแปรไปแห่งจิตในหีนยาน เพราะการตัดเสียซึ่งกุศลมูลในมหายาน เพราะการเกิดขึ้นแห่งอกุศลมูฃทั้งยังไม่เกิดขึ้น / เพราะการทำลายกุศลมูลที่เกิดขึ้นแล้ว / เพราะการคลายออกซึ่งการบรรลุความเป็นแห่งพุทธะ /

 

5      กรรมของผู้กระทำกรรมย่อมไม่มี กริยแห่งกรรมย่อมไม่มีความไม่แตกต่าง ย่อมเห็นโดยอย่าง 3 กรรมนั้นเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งความบริสุทธิ์ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะการสงเคราะห์ด้วยอุบาย

 

อรรถาธิบาย     ท่านแสดงธรรม คือ อุบายแห่งความบริสุทธิ์ด้วยโศลกที่ 4 นี้ / ความบริสุทธิ์แห่งมณฑล เพราะการได้รับแห่งผู้กระทำ กรรม และกริยา / คำว่าไม่มีที่สิ้นสุด (อนันต์) คือไม่รู้จักสิ้นไป /

 

อธิการที่ 15 ว่าด้วยกรรมที่ประกอบด้วยประโยชน์อันเป็นอุบาย ในมหายานสูตราลังการจบ

อธิการที่ 16

 

อธิการที่ 16

อุทานโศลกในการสงเคราะห์ประเภทของบารมี

โศลกว่าด้วยการจำแนกตัวเลข 6 โศลก

1      ตัวเลข ลักษณะ ลำดับ นิรุกติ คุณแห่งการฝึกฝน ประเภทแห่งสิ่งเหล่านี้ การสงเคราะห์ ฝักฝ่ายอันต่าง คุณอันพึงรู้และการวินิจฉัยกันและกัน

2      ความถึงพร้อมแห่งโภคะ อัตตภาพ ความถึงพร้อมแห่งการประพฤติรอบและการปรารภ อันเกิดขึ้นยิ่ง และแม้การบรรลุความไม่มีอำนาจของกิเลส การเป็นผู้ไม่เดือดร้อน ในสิ่งที่ได้ประทำแล้ว

อรรถาธิบาย     โศลกที่ 1 เป็นดังนี้ / การเกิดขึ้นอันยิ่งมี 4 ประการ ด้วยบารมี 4 ประการ / การถึงพร้อมแห่งโภคะด้วยทาน / การถึงพร้อมแห่งอัตภาพด้วยศีล / การถึงพร้อมแห่งการประพฤติรอบด้วยกษานติ / ด้วยประการอย่างนี้ เป็นที่รักของชนจำนวนมาก เพราะการเสพและการถือเอาบารมีนั้น / การถึงพร้อมแห่งการปรารภด้วยความเพียร ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยการงานทั้งปวง / การบรรลุถึงความไม่มีอำนาจของกิเลสด้วยบารมี 5 เพราะข่มไว้ซึ่งกิเลสด้วยฌาน/ เป็นผู้ไม่เดือดร้อนในสิ่งที่ได้ทำแล้วด้วยบารมีที่ 6 เพราะการรู้รอบในความที่กายทั้งปวงเป็นสิ่งไม่มีอยู่ / ด้วยเหตุนั้น หลังจากกระทำยิ่งซึ่งการปรารภการกระทำอันไม่มีกิเลสและไม่วิปริตแล้ว บารมี 6 ก็เป็นอันตั้งมั่น

3      เป็นผู้ประกอบพร้อมในประโยชน์ของสัตว์กระทำการเข้าไปตัดรอนซึ่งการบริจาคด้วยการบวงสรวง ย่อมประพฤติประโยชน์ตนด้วยประการทั้งปวงด้วยการกล่าวซึ่งการตั้งมั่นอันเป็นไปกับด้วยการเริ่มต้น

อรรถาธิบาย     โศลกที่ 2 เป็นดังนี้ / พระโพธิสัตว์เป็นผู้ประกอบโดยชอบในประโยชน์ของสัตว์ด้วยทาน ศีล กษานติ บารมี 3 โดยลำดับ และย่อมกระทำประโยชน์แก่สัตว์ด้วยการบริจาคด้วยการไม่เข้าไปฆ่าและด้วยการไม่ตามฆ่า / และย่อมประพฤติประโยชน์ตนอันมีประการทั้งปวงด้วยจิตอันตั้งมั่นและด้วยวิมุกติอันเป็นไปกับด้วยการเริ่มต้น / อาศัยความเพียรแล้ว เพราะการกำหนดจิตอันตั้งมั่นด้วยฌานและปัญญาโดยลำดับเมื่อจิตตั่งมั่นแล้วจึงหลุดพ้น / นี้แล คือบารมี 6 ปรารภประโยชน์ตนและประโยชน์บุคคลอื่น /

4      ด้วยการไม่ฆ่า ด้วยการไม่เบียดเบียน ด้วยการไม่โกรธต่อผู้เบียดเบียน ด้วยความไม่เสียใจต่อกริยา ด้วยการเจารจาด้วยดีกับชนผู้ดูหมิ่น เป็นประโยชน์ตนและประโยชน์คนอื่น เพราะเหตุนั่นแล/

อรรถาธิบาย     โศลกที่ 3 เป็นดังนี้ / การกระทำของพระโพธิสัตว์ ด้วยบารมีมีทานเป็นต้น เป็นการประพฤติเพื่อประโยชน์คนอื่น / ด้วยการไม่เข้าไปตัดรอนอุปการะแห่งบุคคลอื่น ตามลำดับ / ด้วยการไม่เบียดเบียน ไม่โกรธต่อผู้เบียดเบียน / ไม่เสียใจในการประทำอันประกอบด้วยประโยชน์ด้วยการเจรจาด้วยคำสุภาษิตกับชนผู้มีอำนาจมีฤทธิ์เป็นต้นและผู้ดูหมิ่น เพราะเข้าไปตัดเสียซึ่งความสงสัย / ด้วยเหตุดังนี้ พระโพธิสัตว์เป็นผู้ประพฤติประโยชน์ตน เพราะประพฤติประโยชน์คนอื่น / และเป็นผู้ได้รับโพธิอันยิ่งใหญ่ จากการกระทำเพื่อคนอื่น และการกระทำเพื่อตน / บารมี 6 เพราะการกระทำอันยิ่งเพื่อประโยชน์คนอื่นอันเป็นไปกับด้วยกาล/

5      ผู้ไม่ยินดีในโภคะมีความเป็นผู้หนักในธรรมเป็นผู้ไม่มีในความเป็น 2 เป็นผู้มีโยคะอันไม่หลอกลวง มียานอันสูงสุดอันไม่มีใดเสมอนี้

อรรถาธิบาย     โศลกที่ 4 เป็นดังนี้ / ความไม่ยินดีในโภคะของพระโพธิสัตว์ด้วยทานเพราะการไม่เข้าไปเพ่งเล็ง / ความเป็นผู้หนักอันมั่นคงในการศึกษาของพระโพธิสัตว์ด้วยศีลและสมาธิ / เป็นผู้ไม่เบื่อหน่ายด้วยกษานติและความเพียร และในความเป็น 2 ในการกระทำเพื่อสัตว์และอสัตว์ผู้มีทุกข์และในการประกอบกุศลตามลำดับ / โยคะอันไม่หลอกลวงด้วยฌานและปัญญาอันสงเคราะห์ด้วยสมถะและวิปัสสนา / ด้วยเหตุนั้น บารมี 6 โดยการกระทำยิ่งในการสงเคราะห์ด้วยมหายาน โดยย่อ /

6      มรรคอันไม่ยึดมั่นในอารมณ์ทั้งหลาย อีกอย่างในการสำรวมจากการเป็นสิ่งตรงข้ามเพื่อการบรรลุ ในการไม่ทอดทิ้งสัตว์อีกอย่างในการชำระเครื่องกีดขวาง

อรรถาธิบาย     โศลกที่ 5 เป็นดังนี้ / มรรคอันไม่ยึดมั่นในอารมณ์ทั้งหลาย คือ ทานในที่นี้ ด้วยความฝึกฝนในการบริจาค เพราะไปปราศจากความยึดมั่นนั้น/ ในการสำรวมจากการเป็นสิ่งตรงข้ามเพื่อการบรรลุ คือ ศีล ในการบรรลุถึงอารมณ์แห่งภิกษุผู้สำรวมตั้งมั่น อันไม่เป็นไปเพื่อการเป็นฝึกฝ่ายจากการงานทั้งปวง / การอนุเคราะห์สัตว์ คือ กษานติ ด้วยการเกิดขึ้นพร้อมแห่งทุกข์อันเป็นอุปการะทั้งปวง / ในการเจริญกุศล คือ ความเพียร เพราะการถึงพุทธินั้น ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร / มรรคในการชำระเครื่องกีดขวาง คือ ฌาน และปัญญา เพราะการชำระเครื่องกีดขวางคือกิเลสและความรู้ทั้ง 2 นั้น / มรรค คือ อุบายวิธี / บารมี 6 จากการกระทำยิ่งในมรรคอันมีอาการทั้งปวงอย่างนี้ /

7      เพราะได้กระทำยิ่งในไตรสิกขาแล้ว บารมี 6 อันพระชินเจ้าได้กล่าวถึงแล้วว่ามี 3 ในตอนต้นสุดท้ายมี 2 ในตอนที่ 2 มี 1 ในตอนที่ 3 /

อรรถาธิบาย     โศลกที่ 6 เป็นดังนี้ / ในที่นี้อธิศีลสิกขา คือ บารมี 3 เพราะสงเคราะห์เข้ากับการดูแลและบริวาร / เพราะว่าผู้ไม่มีความเพ่งเล็งในโยคะ ด้วยทานในการสมาทานศีล และสมาทานแล้ว ย่อมรักษาด้วยกษานติ ด้วยความไม่โกรธ เป็นต้น / อธิจิต อธิปัญญา 2 ประการถูกสงเคราะห์เป็นด้วยความเป็น 2 อันสุดท้ายคือ ด้วยฌานและปัญญาตามลำดับ / ในสิกขาบท 3 นี้พึงทราบว่าวิริยบารมีเป็นหนึ่ง / เพราะความที่วิริยะเป็นสหายแก่บารมีทั้งปวง /

โศลกว่าด้วยการจำแนกลักษณะ 6 โศลก

8      ท่านอันทำลายฝ่ายตรงข้ามถึงแล้วด้วยชญานอันไม่มีการแยกแยะ อันบริสุทธิ์ด้วยความปรารถนาทั้งปวงอันยังสัตว์ให้แก่รอบมี 3 ประการ

อรรถาธิบาย     ทานของพระโพธิสัตว์มีลักษณะ 4 / ทำลายฝ่ายตรงข้าม เพราะประหารเสียซึ่งความตระหนี่ / สหคตด้วยความรุ้อันไม่แยกแยะ เพราะประกอบด้วยการบรรลุธรรมไนราตมยะ บริบูรณ์ด้วยความปรารถนาทั้งปวง เพราะบุคคลใดย่อมปรารถนาสิ่งใด ให้สิ่งนั้นแก่บุคคลนั้น / ยังสัตว์ให้แก่รอบสงเคราะห์สัตว์ด้วยทานอันมี 3 ประการแล้ว จึงประกอบเฉพาะไว้ในยาน 3

9      ศีล อันทำลายฝ่ายตรงข้าม อันถึงแล้วด้วยชญานอันไม่มีการแยกแยะ อันบริบูรณ์ด้วย ความปรารถนาทั้งปวงอันยังสัตว์ให้แก่รอบมี 3 ประการ

10    กษานติ อันทำลายฝ่ายตรงข้าม อันถึงแล้วด้วยชญานอันไม่มีการแยกแยะ อันบริบูรณ์ด้วยความปรารถนาทั้งปวงอันยังสัตว์ให้แก่รอบมี 3 ประการ

11    วีรยะ อันทำลายฝ่ายตรงข้าม อันถึงแล้วด้วยชญานอันไม่มีการแยกแยะ อันบริบูรณ์ด้วยความปรารถนาทั้งปวงอันยังสัตว์ให้แก่รอบมี 3 ประการ

12    ธยาน อันทำลายฝ่ายตรงข้าม อันถึงแล้วด้วยชญานอันไม่มีการแยกแยะ อันบริบูรณ์ด้วยความปรารถนาทั้งปวงอันยังสัตว์ให้แก่รอบมี 3 ประการ

13    ปัญญา อันทำลายฝ่ายตรงข้าม อันถึงแล้วด้วยชญานอันไม่มีการแยกแยะ อันบริบูรณ์ด้วยความปรารถนาทั้งปวงอันยังสัตว์ให้แก่รอบมี 3 ประการ

อรรถาธิบาย     ลักษณะทางมี 3 ประการอย่างไร ก็พึงทราบลักษณะแห่งศีลเป็นต้นก็อย่างนั้นเหมือนกัน / แต่ว่าฝ่ายตรงข้ามของสิ่งเหล่านั้น คือ ความโกรธต่อการทุศีล ความซัดส่ายไปสู่ความเกียจคร้าน และปัญญาทรามโดยลำดับ / ความมีความบริบูรณ์ด้วยความปรารถนาทั้งปวง คือ เพราะมีความบริบูรณ์แห่งความปรารถนาด้วย การสำรวมกายวาจา การอดกลั้นต่อความผิด การปรารถนาเพื่อช่วยเหลือ การตัดเสียซึ่งความสงสัย เพราะมีความบริบูรณ์แห่งความปรารถนาด้วย มีศีลเป็นต้น / ความเป็นสิ่งยังสัตว์ให้แก่รอบคือ เพราะการประกอบด้วยศีลเป็นต้นแล้วให้แก่รอบในยาน 3 /

โศลกว่าด้วยการจำแนกลำดับ

14    การกล่าวด้วยการอุบัติขึ้นก่อนขณะและหลังโดยลำดับ อันต่ำทราม อันสูงส่ง อันเป็นสถานที่เริ่มต้นและความเป็นสิ่งละเอียดอ่อนอันมั่นคง

อรรถาธิบาย     การแสดงออกโดยลำดับแห่งทานเป็นต้นเหล่านั้นด้วยเหตุ 3 / ด้วยความถึงพร้อมแต่ก่อนขณะและภายหลัง / เพราะบุคคลผู้ไม่มีความเพ่งเล็งในโภคะ สมาทานศีลแล้ว ผู้มีศีลเป็นผู้มีความอดกลั้น ผู้มีความอดกลั้น ปรารภความเพียร ผู้ปรารภความเพียร ทำสมาธิให้เกิด ผู้มีจิคตั้งมั่นแล้วย่อมรู้ทั่วตามความเป็นจริง / เพราะความเป็นผู้ต่ำทรามในตอนก่อนก็ตั้งอยู่ในที่สูงส่งในตอนท้าย / ทานเป็นสิ่งต่ำทราม ศีลนั่นแลเป็นสิ่งสูงส่ง กระทั่งว่า ธยานเป็นสิ่งต่ำทราม ปัญญาเป็นสิ่งสูงส่ง / จากจุดเริ่มต้นอันหยาบแห่งตอนต้น เป็นความละเอียดอ่อนในตอนท้าย / เพราะว่าทานเป็นของหยาบ เพราะเข้าถึงง่ายและเพราะกระทำได้ง่าย / ศีลเป็นสีงละเอียดกว่าทานนั้น เพราะเข้าถึงได้ยากและเพราะกระทำได้ยาก / เป็นอย่างนี้กระทั่งถึงธยานเป็นของหยาบ ปัญญาเป็นของละเอียดอ่อน /

โศลกว่าด้วยการจำแนกนิรุกติ

15     ความเป็นผู้ขัดสนจากเครื่องเลี้ยงชีวิตและเพราะการได้ความหนาวเย็น ผู้โกรธเพราะความสิ้นไป โยคะอันประเสริฐ การรักษาใจด้วย โยคะอันประเสริฐ ความรู้อันเป็นปรมัตถ์ เป็นคำกล่าว

อรรถาธิบาย     ทานก็คือ เครื่องเลี้ยงชีวิตแห่งผู้ขัดสน / ศีล คือ การได้รับความหนาวเย็นจากทานและศีลทั้ง 2 นั้น จึงมีอารมณ์ นิมิต กิเลสอันถูกประหาร / กษานติ คือความโกรธเพราะการสิ้นไป เพราะการสิ้นไปแห่งความโกรธ วิริยะ คือ การประกอบความเพียร เพราะการประกอบในกุศลธรรม / ธยาน คือ ย่อมทรงไว้ซึ่งใจอันเป็นใหญ่ / ปัญญา คือ ย่อมรู้ปรมัตถ์

โศลกว่าด้วยการจำแนกภาวนา

16    ภาวนา อาศัยอุปธิแล้วย่อมกล่าวว่าเป็นนมัสการ การอาศัยเช่นนั้น อุบายวิธี วิมุกติ แห่งสิ่งทั้งปวงนั่นเทียว

โศลกว่าด้วยประเภทแห่งทาน 2 โศลก

17     เจตนาแห่งอรรถ การให้อันอาศัยมูล ความถึงพร้อมแห่งโภคะและอัตภาพ ความบริบูรณ์อันอนุเคราะห์ความเป็น 2 /

18    บัณฑิตเลือกเฟ้นธรรม อามิสและอภัยทาน อันเห็นแล้ว อันประกอบด้วยความไม่ตระหนี่แล้วจึงให้ทาน

อรรถาธิบาย     การถือเอาประโยชน์ เป็นสวภาวะของทานในปฏิคาหก/ เจตนาอันเกิดขึ้นด้วยความไม่โลภเป็นต้น เป็นเหตุ / การถึงพร้อมแห่งโภคและการถึงพร้อมแห่งอัตภาพ อันนับด้วยอายุเป็นต้น เป็นผล อันเป็นสถานะทั้ง 5 ในพระสูตร / การอนุเคราะห์ตนและผู้อื่นและความบริบูรณ์แห่งการรวบรวมมหาโพธิ เป็นกรรม / การประกอบอันไม่ตระหนี่ คือ เป็นไปในความไม่ตระหนี่ / ด้วยการจำแนกการให้ธรรม อามิส และอภัย อันเห็นแล้ว เป็นหน้าที่

โศลกว่าด้วยประเภทแห่งศีล 2 โศลก

19     องค์ 6 อันมีภาวะอันสงบเป็นที่สุด อันให้ตั้งมั่นในสุคติอันไม่มีความกลัว เพราะสงบตั้งมั่น อันประกอบพร้อมด้วยการสั่งสมบุญ

20     อันได้ธรรมตาอันสังเกตุแล้ว ย่อมมีอยู่ในสภาวะอันมีกำลังบัณฑิตรู้จักศีลอย่างนี้แล้ว พึงสมาทาน /

อรรถาธิบาย     องค์ 6 เป็นสวภาวะ / องค์ 6 คือ ผู้มีศีล ย่อมอยู่จนกระทั่งสมาทานแล้วศึกษาในสิกขาบท / อันมีภาวะอันสงบเป็นที่สุด เป็นเหตุ / เพราะสมาทานด้วยการอภิปรายนิรวาณ / การให้ความตั้งมั่นในสุคติเป็นผล / เพราะการถึงสุคติด้วยศีล / และเพราะได้ความตั้งมั่นแห่งจิตด้วยลำดับแห่งความไม่เดือดร้อนภายหลัง เป็นต้น / อันไม่มีความหวาดกลัวเพราะสงบตั้งมั่น เป็นกรรม / เพราะว่าศีลเป็นที่พึ่งแห่งคุณทั้งปวง / และสงบ เพราะความสงบจากการเผาไหม้ของกิเลส / ปฏิบัติปาณาติบาต เป็นต้น / อันประกอบด้วยการสั่งสมบุญเป็นโยคะ เพราะประพฤติชอบด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม / อันได้ความที่แห่งธรรมอันสังเกตุได้ ย่อมมีในสภาวะอันมีกำลัง เป็นหน้าที่ ในที่นี้ การได้การสังเกตุ คือ การนับพร้อมว่าเป็นปฏิโมกขสังวร / การได้ธรรมตา คือ การนับพร้อมว่าการสำรวมจากอาสวะในฌาน / หน้าที่อันแตกต่างแห่งศีลเหล่านี้ เพราะเป็นไปโดยความแตกต่าง 3 ประการ / มีอยู่ในการสังวร คือ อาจาระและหน้าที่/

โศลกว่าด้วยประเภทแห่งกษานติ 2 โศลก

21     ความปรารถนาและความรู้ในการให้อภัย ด้วยความกรุณา ด้วยการอาศัยธรรม อันนับว่าเป็นอนุสัย 5 อันกระทำเพื่อประโยชน์ทั้ง 2 นั้น

22     ตบะ อันประกอบด้วยพละ อันเป็นที่ทราบว่ามี 3 ประการ บัณฑิตรู้กษานติอย่างนี้แล้ว พึงสมาทาน /

อรรถาธิบาย     ความปรารถนาและความรู้ในการให้อภัย เป็นสวภาวะของกษานติอันมี 3 ประการ / ความปรารถนาอันเป็นอุปการะแก่กษานติ กล่าวคือ กระทำแล้วซึ่งความปรารถนา / กษานติด้วยการข่มทุกข์ไว้และกษานติด้วยการหลงลืมธรรม ตามลำดับ / เพราะกรุณาและเพราะอาศัยธรรม เป็นเหตุ / อีกประการ คือ การอาศัยธรรม / และความปรารถนาเพื่อได้ฟังการสมาทานศีล การนับว่าเป็นอนุสัย 5 ประการเป็นผล / เหมือนดังที่กล่าวแล้วในพระสูตร / ด้วยอนุสัย 5 ในกษานติ / ไม่เป็นผู้มากด้วยเวร / ไม่เป็นผู้มากด้วยความแตกต่าง / เป็นผู้มากด้วยสุขและโสมนัส /เป็นผู้ไม่มีวิปฏิสาร ย่อมทำกาละ / หลักจากกายแตกย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ อันเป็นทิพย์ ดังนี้ / อันกระทำเพื่อประโยชน์ 2 คือ การข่มความปรารถนาและการกระทำอันยิ่งนี้เป็นกรรม / เหมือนดังที่กล่าวว่า / บุคคลใดรู้ว่าคนอื่นโกรธแล้วให้สงบด้วยตน บุคคลนั้นผุ้กระทำเพื่อประโยชน์ทั้ง 2คือ เพื่อตน และเพื่อผู้อื่น ดังนี้ /

ตบะอันประกอบด้วยพละ เป็นโยคะ / เหมือนที่กล่าวว่า / กษานติเป็นตบะอันยิ่งยอดดังนี้ / การเป็นไปแห่งการทรงไว้เฉพาะในกษานติเหล่านั้น เป็นหน้าที่ในความอดทนทั้งหลาย / เป็นที่ทราบว่ามี 3 ประการ คือ หน้าที่อันแตกต่างโดยประเภทแห่งกษานติ 3ประการ เหมือนอย่างที่กล่าวแล้ว ก่อน /

โศลกว่าด้วยประเภทแห่งความเพียร 2 โศลก

23     อุตสหะในกุศลอันชอบ ศรัทธา ฉันทะอันตั้งมั่นเจริญด้วยคุณมีสติ เป็นต้น และความเป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส

24     เข้าไปใกล้คุณมีอโลภะเป็นต้น และมี 7  ประการในความเพียรเหล่านั้น บัณฑิตรู้ความเพียรอย่างนี้แล้วพึงสมาทาน /

อรรถาธิบาย     อุตสาหะในกุศลอันชอบ / เป็นสวภาวะกุศล คือ อุตสาหะ ในกิจของคนอื่น เพื่อการนำออกซึ่งความสงสัยอันชอบคือ อุตสาหะ ในโมกษะแห่งอัญเดียรถีย์ เพื่อการนำออกความสงสัย / ศรัทธาฉันทะอันตั้งมั่นคือ เหตุ เพราะว่าผู้มีศรัทธาย่อมปรารภความเพียร / การเจริญด้วยคุณมีสติเป็น เป็นผล / เพราะคุณมีสติ สมาธิ เป็นต้น เกิดขึ้นแก่ผู้มีวิริยะอันปรารภแล้ว / อันเป็นปฏิบักษ์ต่อกิเลสเป็นกรรม / เหมือนอย่างที่กล่าวว่า / แต่ว่าผู้ปรารภความเพียรย่อมอยู่เป็นสุขเพราะไม่เกลือนกล่นด้วยธรรมอันเป็นบาป อกุศล ดังนี้ / เข้าไปใกล้คุณมีอโลภะเป็นต้น เป็นโยคะ / การทรงไว้เฉพาะในการปรารภความเพียรเหล่านี้ เป็นหน้าที่ / มี 7 ประการ คือ ประเภทแห่งหน้าที่ / อีกประการหนึ่งความเพียรคือ ไตรสิกขาอันมีอธิศีล เป็นต้นและการกระทำอันติดต่ออันเป็นไปทางกายและอันเป็นไปทางใจ /

โศลกว่าด้วยประเภทแห่งฌาน 2 โศลก

25     ความตั้งมั่นแห่งใจ อันยิ่งใหญ่สติ วิริยะตั้งมั่น ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งสุข เป็นผู้เป็นไปในการอยู่ด้วยอภิญญาและอำนาจ

26     ย่อมมีความเป็นใหญ่แห่งธรรมและมี 3 ประการบัณฑิตรู้ฌานอย่างนี้แล้วพึงสมาทาน

อรรถาธิบาย     ความตั้งใจมั่นแห่งใจอันยิ่งใหญ่ เป็นสวภาวะ / สติวิริยะ ตั้งมั่น เป็นเหตุ / เมื่อความไม่พร้อมแห่งพื้นฐาน มีอยู่เพราะอาศัยความเพียรจากสมาบัติและอภินิหาร / การเกิดขึ้นพร้อมแห่งความสุขคือ ผล เพราะความที่การเกิดขึ้นแห่งโพธิเพราะมีฌานเป็นผล / อันเป็นไปด้วยอำนาจแห่งการอยู่ด้วยอภิญญาเป็นกรรม / เพราะความเป็นไปในอำนาจด้วยอภิญญานั้น ด้วยฌาน / และเพราะเป็นไปในอำนาจแห่งพรหมวิหารอันประเสริฐ / ความเป็นใหญ่แห่งธรรมเป็นโยคะ เพราะความเป็นใหญ่ / เหมือนที่กล่าวว่า / ธรรมทั้งปวงมีสมาธิเป็นประมุข ดังนี้ / ย่อมมีในวิริยะนั้นเป็นหน้าที่การทรงไว้เฉพาะนี้เป็นหน้าที่ในฌานทั้งหลาย / มี 3 ประการ คือ เป็นไปกับด้วยวิตก เป็นไปกับด้วยวิจาร เท่านั้น / ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร / อีกประการ สหคตด้วยปิติ / สหคตด้วยเสียใจ / สหคตด้วยอุเบกขา / นี้เป็นประเภทแห่งหน้าที่ /

โศลกว่าด้วยประเภทแห่งปัญญา 2 โศลก

27     การเลือกเฟ้นความรู้โดยชอบ ความสงบตั้งมั่น เพื่อการหลุดพ้นด้วยดี แสดงความเป็นอยุ่ด้วยปัญญาจากกิเลส /

28     ย่อมรู้ธรรมอันยอดเยี่ยม 3 ประการ บัณฑิตรู้ปัญญาอย่างนี้แล้วพึงสมาทาน

อรรถาธิบาย     การเลือกเฟ้นความรู้โดยชอบเป็นสวภาวะ / โดยชอบ คือ ความรู้อันไม่โอ้อวด กล่าวคือ เลือกเฟ้นโดยชอบในกิจอันเป็นโลกิยะ เพื่อกำจัดความสงสัย / ความยินดีตั้งมั่น เป็นเหตุ / จิตอันอบรมแล้วย่อมรู้ตามความเป็นจริง / เพราะเหตุนั้นห่างจากกิเลสเพื่อการหลุดพ้นด้วยดีเป็นผล / เพราะว่าเป็นผู้มีวิโมกข์จากกิเลสด้วยผลนั้น / ด้วยการเลือกเฟ้นด้วยโลกิยะ ด้วยโลกุตตระอันเลว ด้วยโลกุตตระอันยิ่งใหญ่ / การแสดงการเป็นอยู่ด้วยปัญญา กล่าวคือ เป็นอยู่ด้วยปัญญาและแสดงการเป็นอยู่นั้น เป็นกรรม / เพราะว่า ปัญญาอันเป็นอนุตตระย่อมเป็นอยู่แห่งผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญานั้น / ย่อมแสดงธรรมโดยชอบดังนี้ / ความยอดเยี่ยมแห่งธรรมเป็นโยคะ เพราะความเป็นสิ่งยอดเยี่ยม / เหมือนดังที่กล่าวธรรมทั้งปวงมีปัญญาเป็นยอดเยี่ยม ดังนี้ / รู้ว่ามี 3 ประการ ในปัญญานั้นเป็นหน้าที่ / เพราะการเป็นไปในปัญญาด้วย 3 วิธีและโดยประเภท / โลกิยะ โลกุตตระอันเลว โลกุตตระอันยิ่งใหญ่ / โดยประเภทแห่งอรรถ 6 แห่งทานที่ให้แล้วและไม่ให้แล้วอันเฉพาะตน ท่านกล่าวว่าเป็นประเภท /

โศลกว่าด้วยการจำแนกการสังเคราะห์

29     ธรรมอันเป็นกุศลทั้งปวง เป็นสิ่งอันพึงรู้ด้วยหมวด 2 อันพร้อมด้วยการซัดส่ายไปเป็นสิ่งอันถือเอารอบ ผสังเคราะห์) ด้วยบารมี 222 /

อรรถาธิบาย     ธรรมอันเป็นกุศลทั้งปวง คือ ธรรมมีทานเป็นต้น / ในที่นี้อันซัดส่ายไปด้วยบารมี 2 เพราะความที่ไม่อบรมพร้อมด้วยศีลอันสมาทานการให้ทาน ประการที่ 1 / อันอบรมแล้ว เพราะอบรมด้วยปัญญาอันเป็นจริงด้วยฌานอันเป็นที่สุดทั้ง 2 / กษานติ วิริยะทั้ง 2 /เพราะการไม่อบรมและอบรมแล้ว 3 คู่

โศลกว่าด้วยการจำแนกฝักฝ่าย 6 โศลก

30     ทานอันไม่ยึดติด ทานอันไม่ยึดติด ทานอันไม่ยึดติด ทานอันไม่ยึดติด ทานอันไม่ยึดติด ทานอันไม่ยึดติดของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย

อรรถาธิบาย     การไม่ยึดติด 7 ประการ เป็นฝักฝ่ายแห่งทาน / ไม่ยึดติดในการเสวย ไม่ยึดติดในอารมณ์ ไม่ยึดติดเพียงแต่ความสันโดษ ไม่ยึดติดในการตกไปแห่งฝ่าย ไม่ยึดติดในการกระทำตอบ ไม่ยึดติดในวิบาก และไม่ยึดติดในฝ่ายตรงข้าม นี้เพราะการเกิดขึ้นพร้อมแห่งอนุสัยในการได้ของฝ่ายตรงข้าม / และไม่ยึดติดในการเพ่งเล็ง / อีกประการหนึ่ง การไม่เพ่งเล็งมี 2 ประการ / การเพ่งเล็งในมนสิการ เพราะการถูกต้องซึ่งหีนยาน / และการเพ่งเล็งในความไม่แยกแยะ เพราะการไม่แยกแยะทายก ปฏิคาหก และทาน / ดังนั้น การยึดติดมี 7 ประการ เหมือนที่กล่าวแล้ว กิจอันควรทำ 7 แห่งทานท่านกล่าวว่าเป็นความไม่ยึดติด /

31     ศีลอันไม่ยึดติด ศีลอันไม่ยึดติด ศีลอันไม่ยึดติด ศีลอันไม่ยึดติด ศีลอันไม่ยึดติด ศีลอันไม่ยึดติดของพระโพธิสัตว์

32     กษานติอันไม่ยึดติด กษานติอันไม่ยึดติด กษานติอันไม่ยึดติด กษานติอันไม่ยึดติด กษานติอันไม่ยึดติด กษานติอันไม่ยึดติด ของพระโพธิสัตว์

33     วิริยะอันไม่ยึดติด วิริยะอันไม่ยึดติด วิริยะอันไม่ยึดติด วิริยะอันไม่ยึดติด วิริยะอันไม่ยึดติด วิริยะอันไม่ยึดติด ของพระโพธิสัตว์

34     ฌานอันไม่ยึดติด ฌานอันไม่ยึดติด ฌานอันไม่ยึดติด ฌานอันไม่ยึดติด ฌานอันไม่ยึดติด ฌานอันไม่ยึดติด ของพระโพธิสัตว์

35     ปํญญาอันไม่ยึดติด ปํญญาอันไม่ยึดติด ปํญญาอันไม่ยึดติด ปํญญาอันไม่ยึดติด ปํญญาอันไม่ยึดติด ปํญญาอันไม่ยึดติด ของพระโพธิสัตว์

อรรถาธิบาย     เหมือนการยึดติดของทานที่กล่าวแล้วพึงทราบว่าในศีลอย่างนั้นจนกระทั่งถึงปัญญา / แต่ว่าในที่นี้ พึงทราบว่าการยึดติด เพราะความเป็นผู้ทุศีลด้วยความเป็นไปรอบแห่งความยึดติดในการเสวยอันวิเศษ เพราะการเกิดขึ้นพร้อมแห่งอนุสัยอันเป็นฝ่ายตรงข้ามจากการยึดติดในฝ่ายตรงข้าม / การเพ่งเล็งอันไม่แยกแยะ เพราะเป็นไปในมณฑล 3 ตามโยคะ /

โศลกว่าด้วยการจำแนกคุณ 23 โศลก

36     ผู้เกิดแต่พระพุทธเจ้าได้บริจาคตนเองเพื่อผู้มาก่อนเพื่อขอหรือชักชวนอย่างไม่มีความสงสาร ไม่ถามถึงการกระทำตอบ ไม่รอคอยผลและด้วยการให้ทานนี้ ท่านปรารถนาให้สัตว์บรรลุโพธิ 3 ประการ โดยมีความรู้ ท่านได้ตั้งมั่นการให้ทานไว้ในโลกตลอดกาล

บทและอรรถอันรู้ได้ง่ายอย่างนี้

37     หมวด 3 แห่งศีลอันพุทธาสุตา (ผู้เกิดแต่พระพุทธเจ้า) ยึดถือแล้วอันเป็นที่เกิดแห่งความเพียร ผู้ไม่ปรารถนาสวรรค์และเมื่อถึงความสงบอันความยึดถือไม่ครอบงำได้ในสวรรค์นั้น ผู้ยกชนทั้งปวงขึ้นสู่โพธิ 3 ประการ ด้วยศีลนั้นแล ด้วยการครอบครองความรู้ศีลอันไม่รู้จักสิ้นก็ตั้งมั่นในโลก

อรรถาธิบาย     ศีลมี 3 ประการ / ศีลคือความสำรวม / ศีลคือการยึดถือพร้อมซึ่งกุศลธรรม / และศีลคือการกระทำเพื่อประโยชน์คนอื่น / สวภาวะ คือ ความมีอัตตาเดียว / สวภาวะแห่งความเพียรมี 2 ประการ /

38     ความอดทนอันผู้เกิดแต่พระพุทธเจ้ามีความสามารถอันกระทำได้โดยยาก อันเป็นความผิดทั้งปวงของชนทั้งหลาย อันไม่เป็นที่ปรารถนาเพื่อสวรรค์ และอันเป็นเพราะความสิ้นไปแห่งอุปการะ เพราะความไม่กลัว ท่านยกชนทั้งปวงขึ้นสู่โพธิ 3 ประการ ด้วยความอดทนอันยอดเยี่ยม และด้วยการถือครองความรู้ ความอดทนอันไม่รู้จักสิ้น อันท่านตั้งมั่นไว้แล้วในโลกอีก

อรรถาธิบาย     อย่างนี้ / ด้วยความอดทนอันยอดเยี่ยม คือ อดกลั้นด้วยการข่มทุกข์ไว้ และอดกลั้นต่อความผิดของผู้อื่น ตามลำดับ /

39     ความเพียรอันผู้เกิดแต่พระพุทะเจ้ากระทำแล้ว อันไม่มีอุปกา อันเป็นอุปกรณ์และการประกอบ ย่อมทำลายหมู่แห่งกิเลสโดยตนเองและ โดยคนอื่น และเพื่อกาถึงโพธิอันยอดเยี่ยม ท่านยกชนทั้งปวงขึ้นสู่โพธิ 3 ประการด้วยความเพียรนั้น และโดยการยึดถือความรู้ ความเพียรอันไม่รู้จักสิ้น ท่านก็ตั้งมั่นไว้แล้วในโลก /

อรรถาธิบาย     คืออย่างนี้ / ความเพียรอันเป็นเครื่องมือ และความเพียรคือ การประกอบ /

40     ธยาน (ฌาน) อันผู้เกิดแต่พระพุทธเจ้าให้เกิดพร้อมแล้ว อันมากด้วยสมาธิ โดยประการทั้งปวง อยู่แล้วด้วยความสุขในฌาน อันประเสริฐ มีการอุบัติในภพอันเลวเป็นที่อาศัยด้วยความกรุณา และยกหมู่ชนทั้งปวงขึ้นสู่โพธิ 3 ประการ ด้วยฌานนั้นและ โดยการถือครองความรู้ ฌานอันไม่รู้จักสิ้นอันท่านตั้งมั่นไว้แล้วในโลกอีก

อรรถาธิบาย     คืออย่างนี้ / มากด้วยสมาธิ คือ ยึดถือสมาธิแห่งพระโพธิสัตว์เป็นอนันต์ /

41     ความรู้อันผู้เกิดแต่พระพุทธเจ้ารู้แล้ว อันไม่ติดขาดซึ่งการสืบต่อโดยประการทั้งปวงไม่มีความยึดมั่น ไปนำให้เกิดในความหมุนไปความหมุนไปพร้อมด้วยพระพุทธเจ้ามีแต่ที่ไหน ด้วยความรู้นั้นท่านยกหมู่ชนทั้งปวงขึ้นสู่โพธิ 3 ประการ ด้วยการยึดถือสัตว์ท่านได้ตั้งมั่นความรู้อันไม่รู้จักสิ้นไว้ในโลกแล้วอีก

อรรถาธิบาย     คืออย่างนี้ ความสืบต่ออันยึดถือพร้อมซึ่งปรมัตถ์ สามัญลักษณะ ความไม่มีตัวตนแห่งบุคคล และธรรม / คำว่าเชฺญยํ จ ยตฺ คือ ความรู้อันมีลักษณะประเภทต่างๆมีอนันตสวเกต เป็นต้น / ความไม่รู้จักสิ้นไปเพราะการถือครองความรู้อันไม่มีการแยกแยะแห่งบารมีทั้งหลายมีทานเป็นต้น เป็นความไม่รู้จักสิ้นไปแม้ในนิรวาณอันไม่มีอุปธิเหลือ / อีกประการหนึ่ง ด้วยการยึดถือสัตว์ด้วยความรู้และเพราะความไม่ยึดถือแห่งสัตว์เพราะความกรุณา / อรรถอันแยกย่อยแห่งโศลกทั้ง 6 เหล่านั้น อันท่านแสดงแล้วด้วยโศลกที่ 7 /

42     ความยินดี ความไม่มีอามิส อรรถอันยิ่งใหญ่และความไม่รู้จักสิ้นไปคุณ 4 ประการอันบุคคลพึงรู้อย่างย่อของบารมีมีทานเป็นต้น

อรรถาธิบาย     คือย่างนี้ / ในที่นี้ โดยบาทที่หนึ่งแห่งทานเป็นต้นความใจกว้างอันท่านแสดงแล้ว / โดยบาทที่ 2 ท่านแสดงความไม่มีอามิส /ด้วยบาทที่ 3 ท่านแสดงความมีประโยชน์ยิ่งใหญ่ เพราะการเกิดประโยชน์แก่สัตว์อันยิ่งใหญ่ / ด้วยบาทที่ 4 ท่านแสดงความไม่รู้จักสิ้น และพึงทราบด้วยโศลกนี้ท่านแสดงหมวด 4 แห่งทานเป็นต้นเหล่านั้น /

43     ความยินดีอันเต็มด้วยทรรศนะในผู้ขอ และความไม่ยินดี ความทะเยอทะยาน ผู้มีความกรุณาปราณี ผู้ให้สิ่งเหล่านั้นย่อมครอบงำด้วยโยคะอันยิ่ง

อรรถาธิบาย     ในชนผู้ขอ เพราะมีความเห็นซึ่งผู้ให้และได้ความต้องการแล้ว มีมโนรถอันบริบูรณ์ ท่านเรียกว่า ความยินดี / ความไม่ยินดีคือ เพราะความเห็นอันไม่บริบูรณ์ / ความทะเยอทะยานคือ ความเห็นยังไม่บริบูรณ์เช่นเดียวกัน / สิ่งนั้นท่านเรียกว่า "ยิ่ง" ของพระโพธิสัตว์เพราะการเห็นผู้ขอและเพราะความบริบูรณ์แห่งมโนรถ / ความไม่ยินดีเพราะความไม่บริบูรณ์แห่งทรรศนะ / ดังนั้น ผู้ให้ผู้มีความกรุณาปราณี ย่อมครอบงำสิ่งทั้งปวง เพราะโยคะอันยิ่ง /

44     เพราะความกรุณาปราณีต่อชีวิต โภคะ ภรรยา ชนเหล่าอื่น ตลอดเวลาในสัตว์ทั้งหลาย ผู้นั้นย่อมไม่ยินดีซึ่งความไม่มีกาม ไม่มีความยินดี ด้วยการเลี้ยงดู ได้อย่างไร

อรรถาธิบาย     ไม่มีความยินดีด้วยสิ่งเหล่านั้น คือไม่มีความยินดีด้วยชี่วิตโภคะและภรรยาอันเป็นของบุคคลอื่น / ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงแสดงคุณแห่งศีล คือ การเว้นจากกายทุจริตเป็นต้น อันมี 3 ประการ /

45     ไม่มีความแห่งเล็ง มีจิตเสมอ ไม่มีความกลัว ผู้ให้แก่คนทั้งปวงเพราะมีความกรุณาเป็นเหตุ ผู้ประเสริฐพึงกล่าวคำอันไม่จริงเพื่อการเข้าไปฆ่าคนอื่นได้อย่างไร

อรรถาธิบาย     ด้วยโศลกนี้ท่านแสดงคุณแห่งการเว้นจากการกล่าวมุสา / ไม่พึงกล่าวมุสาเพราะเหตุแห่งคน เพราะการไม่เพ่งเล็งในกายและชีวิต / หรืออีกประการหนึ่ง เพราะเหตุแห่งคนอื่นด้วยความรักต่อชนอันเป็นที่รัก / หรือด้วยความกลัว เพราะกลัวพระราชาเป็นต้น / หรือเพราะการได้อามิสอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นเหตุ / เพราะพระโพธิสัตว์เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งในกายและชีวิตของตน / มีจิตเสมอ เพราะความเป็นผู้มีจิตเสมอด้วนตนในสรรพสัตว์ / ไม่มีภัย (ความกลัว) เพราะการก้าวล่วงภัยทั้ง 5 ประการ / ผู้ให้แก่คนทั้งปวง เพราะสละสิ่งของของตนทั้งปวงแก่ผุ้มีความต้องการ / ด้วยเหตุไร ท่านจะพึงกล่าวเท็จเล่า /

46     ผู้มีความปรารถนาประโยชน์อันเสมอ มีความกรุณา เป็นผู้หวาดกลัวอย่างยิ่งต่อการเกิดทุกข์แก่คนอื่น เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วในวินัยแห่งสัตว์ เป็นผู้ไกลอย่างยิ่งจากโทษทางคำพูดอันมี 3 ประการ

อรรถาธิบาย     พระโพธิสัตว์เป็นผู้ปรารถนาประโยชน์เกื้อกูลอันเสมอในสรรพสัตว์ จักกระทำการกล่าวร้ายเพื่อทำลายมิตรของบุคคลอื่นได้อย่างไร / มีความกรุณา เพราะอภิปรายการดับทุกข์ของคนอื่น เป็นผู้กล่าวอย่างยิ่งต่อการเกิดทุกข์ของคนอื่น ท่านจักกล่าวคำผรุสวาท เพื่อการเกิดทุกข์ของคนอื่นได้อย่างไร / ท่านเป็นผู้ประกอบโดยชอบ ในวินัยของสัตว์ทั้งหลาย จักกล่าวคำเพ้อเจ้อได้อย่างไร เพราะเหตุนั้นในความเป็นผู้ไกลจากโทษทางคำพูด 3 ประการ การกล่าวว่าร้าย การกล่าวคำหยาบ และคำเพ้อเจ้อ /

47     เป็นผู้ให้แก่คนทั้งปวง มีความกรุณาปราณี ผู้มีความฉลาดในการเกิดขึ้นแห่งธรรมอันอาศัยกันเกิดขึ้น พึงข่มไว้ซึ่งกิเลสทางใจอันมีอาการทั้งปวงในสิ่งเหล่านั้นอย่างไร

อรรถาธิบาย     การเบียดเบียน พยาบาท และมิจทิฐิ ตามลำดับ / เหล่านั้นอันบัณฑิตปริญญาเอกพึงทราบว่าเป็นคุณ คือ ความมีศีลบริสุทธิ์ เพราะประกอบอย่างวิเศษในธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อความเป็นผู้ทุศีล /

48     รู้และยินดีในการทำอุปการะ และในบุคคลผู้ทำความเดือดร้อนนั้น รู้จักทำประโยชน์เกื้อกูลย่อมได้ เป็นผู้มีความกรุณาปราณี พึงอดกลั้นในทุกข์

อรรถาธิบาย     พึงเป็นผู้อดกลั้นในบุคคลผู้ทำความเดือดร้อน / ในที่นี้พระโพธิสัตว์ ผู้รู้ในอุปการะ ย่อมได้ พึงเป็นผู้มีความอดกลั้นจากความมีกษานติอันมีการรวบรวมเป็นิมิต และจากทุกข์ / และในที่นี้ พระโพธิสัตว์ย่อมได้ความยินดีในทุกข์อันเป็นเหตุแห่งประโยชน์เกื้อกูล เพราะเหตุไรจึงควรอดกลั้นต่ออะไร / เพราะความรู้ในการทำความเดือดร้อนย่อมไม่เป็น ไปความรู้ในความทุกข์ย่อมไม่เป็นไปทั่ว /

49     เพราะความไปปราศแห่งการรู้ของคนอื่นเพื่อคนอื่น เพราะความรักในคนอื่นอันยิ่งเกินกว่าตนตลอดเวลา เพราะการประพฤติทุกกรกิริยา ความเพียรกระทำได้โดยยากของผู้มีความกรุณา

อรรถาธิบาย     พระโพธิสัตว์ผู้มีความกรุณา / เพราะการประพฤติทุกข์กิริยาเพื่อบุคคลอื่นของผู้มีความกรุณาเป็นการกระทำอันยากและเป็นการกระทำอันได้ยากยิ่ง / กระทำได้ยากอย่างไร / เพราะความไปปราศแห่งความรู้ของคนอื่นยิ่งเกินกว่าตนตลอดเวลา / กระทำได้ยากยิ่งอย่างไร / สิ่งใดเป็นความเป็น ไปปราศแห่งความรู้ของคนอื่น และความรักอันยิ่งกว่าตนสิ่งนั้นเป็นความเพียร /

50     สุขเล็กน้อย สุขของตน ฌานอันยึดติดอันเสื่อมได้อันหลงในความสิ้นไป เป็นที่ทราบว่าเป็นการต้านทานของพระโพธิสัตว์เพราะความวิปริต

อรรถาธิบาย     ฌานอันมีสุขเล็กน้อยแห่งโลกิยชน สุขเฉพาะตนของพระสาวกและพระปัจเจกพุทธเจ้า / อันยึดติดในกายของตนของโลกิยชนและในนิรวาณของพระสาวกและพระปัจเจกพุทธเจ้า / อันเสื่อมได้ของโลกิยชน อันสิ้นไปของพระสาวกและพระปัจเจกพุทธเจ้า เพราะสิ้นไปในนิรวาณอันไม่มีอุปธิหลงเหลือ / อันมีความหลง ด้วยความหลงอันเศร้าหมองและไม่เศร้าหมองแห่งโยคะของคนทั้งปวง / อีกประการหนึ่ง ฌานของพระโพธิสัตว์มีสุขมาก มีสุขทั้งคนอื่นและตน ไม่ยึดติด ไม่เสื่อม ไม่สิ้นไป และไม่มีความหลง

51     การสัมผัสในความมืดและประทีปในที่มืด เป็นเช่นใด ความรู้ 3 ประการก็เป็นเช่นนั้น แต่ว่าความรู้อันไม่สมดุลแห่งความไม่สมดุลด้วยความกรุณา เป็นเช่นกับด้วยแสงแห่งพระอาทิตย์

อรรถาธิบาย     ความรู้เป็นเช่นกับการสัมผัสมือในความมืด เป็นความไม่พยายามในการปฏิบัติเพื่ออารมณ์อันเฉพาะและเป็นความรู้แห่งความรู้เฉพาะตนฯด้วยประทีปอันเป็นโพรง ความรู้อันแสดงแล้ว อันประจักษ์แล้ว อันไม่มีมลทินแห่งพระสาวกและพระปัจเจกพุทธเจ้าฯเพียงดังแสงแห่งพระอาทิตย์ ความรู้ประจักษ์แล้วโดยรอบไม่มีนิมิตของพระโพธิสัตว์ฯ ด้วยเหตุนั้นความรู้จึงเป็นสิ่งไม่สมดุล

52    การให้โดยวัตถุจากพื้นฐาน จากนิมิต จากเนื้อหา จากเหตุ จากความรู้ จากเกษตร จากการอาศัย เป็นที่ทราบว่ายอดเยี่ยม

อรรถาธิบาย     ในที่นี้ โดยพื้นฐานคือ พระโพธิสัตว์ / วัตถุคือ วัตถุอันเป็นของตนเพื่ออามิสทาน เป็นสิ่งยอดเยี่ยม /แต่ว่าความไม่กลัวต่อความกลัวในอบายและสังสารแห่งอภัยทาน / มหายานแห่งธรรมทาน / โดยเหตุ คือวาสนาแห่งทานบารมีในกาลก่อน / ความรู้อันไม่มีการแยกแยะ ท่านที่บริสุทธิ์ด้วยมณฑล 3 ย่อมให้ทานนั้น พึงให้เพราะการไม่แยกแยะปฏิคาหก / เกษตรมี 5 ประการ / ผู้มีความต้องการผู้มีความทุกข์ ไม่มีที่พึ่ง ผู้ประพฤติทุจริต และผู้มีคุณ / บรรดาเกษตร 4 ประการ เกษตรอันยอดเยี่ยมอย่างยิ่ง /คือที่ 5 ในอภาวะ /โดยการอาศัยมี 3 วิธี อาศัยสิ่งนั้นแล้วจึงให้ / คือ อธิมุกติ มนสิการ และสมาธิ / อธิมุกติ เช่นเดียวกับอธิมุกติมนัสการที่กล่าวแล้วในการจำแนกภาวนา / มนัสการ เช่นเดียวกันมนัสการที่กล่าวแล้ฝในการยินดียิ่งและการเสพรับ / สมาธิเช่นเดียวกับความเป็นผู้เสพสมบัติของท้องฟ้า เป็นต้น / ทานเพราะการบรรลุความเยี่ยมยอด  โดยพื้นฐานเป็นต้น เป็นทานอันบรม / พึงทราบว่าเป็นสิ่งไม่มีที่เปรียบ / บุคคลย่อมให้สิ่งใด โดยสิ่งใดแก่สิ่งใด จากสิ่งใด ของสิ่งใด และในสิ่งใด ด้วยกายยึดครองสิ่งนั้นจนกระทั่งถึงอาการต่างๆ คือทานแล

53     ศีล จากพื้นฐาน จากวัตถุ จากนิมิต จากเนื้อหา จากเหตุ จากความรู้ จากเกษตร และจากการอาศัย เป็นที่ทราบว่ายอดเยี่ยม

54     [กษานติ จากพื้นฐาน จากวัตถุ จากนิมิต จากเนื้อหา จากเหตุ จากความรู้ จากเกษตรและจากการอาศัย เป็นที่ทราบว่ายอดเยี่ยม] วิริยะ จากพื้นฐาน จากวัตถุ จากนิมิต จากเนื้อหา จากเหตุ จากความรู้ จากเกษตร และจากการอาศัย เป็นที่ทราบว่ายอดเยี่ยม

55     ฌาน จากพื้นฐาน จากวัตถุ จากนิมิต จากเนื้อหา จากเหตุ จากความรู้ จากเกษตร และจากการอาศัย เป็นที่ทราบว่ายอดเยี่ยม

56     ปัญญา จากพื้นฐาน จากวัตถุ จากนิมิต จากเนื้อหา จากเหตุ จากความรู้ จากเกษตร และจากการอาศัย เป็นที่ทราบว่ายอดเยี่ยม

อรรถาธิบาย      ความสงสัยของพระโพธิสัตว์เป็นวัตถุอันยอดเยี่ยมแห่งศีล / ในการไม่ประหารสัตว์มีชีวิต ผู้มีกำลังเลวและกำลังชั่ว เป็นวัตถุอันยอดเยี่ยมแห่งกษานติ /แห่งวิริยะ คือการเจริญบารมีและการประหารฝ่ายตรงข้ามแห่งบารมีนั้น / แห่งฌาน คือ สมาธิของพระโพธิสัตว์ / แห่งปัญญา คือ ตถตา / เกษตรของสิ่งเหล่านี้ทั้งปวงมีศีลเป็นต้น คือ มหายาน / ส่วนที่เหลือก็พึงทราบว่าเหมือนกับตอนก่อน /

57     ทานอันเป็นสุขแห่งสัตว์ผู้เดียวอันไม่ทำร้ายตลอดกัปป์จำนวนมาก ความรักของพระโพธิสัตว์พึงมี จะป่วยกล่าวไปใยจากความวิปริต /

อรรถาธิบาย      ถ้าว่า ทานของพระโพธิสัตว์เป็นสิ่งให้ความสุขแก่สัตว์ผู้เดียวไซร้ และแก่ตน ก็เป็นผู้ไม่ทำร้ายตลอดหลายกัปป์ / ถึงอย่างนั้น ความรักของพระโพธิสัตว์เหล่านั้น พึงมีอันมีตนวิเศษด้วยความกรุณาและไม่เพียงแต่สุขแก่สัตว์ผู้เดียวเท่านั้น แต่ย่อมมีแก่ตนเอง เพราะได้ทำการอนุเคราะห์ตลอดหลายกัปป์ /

58     ผู้มีร่างกายย่อมปรารถนาอรรถทรัพย์โดยประการใด ผู้มีปัญญาย่อมสร้างไว้ในผู้มีร่างกาย โดยประการนั้นทรัพย์อันชนปรารถนาเพราะเหตุแห่งสรีระฉันใด ความสงบอันผู้มีปัญญาย่อมสร้าง ฉันนั้น

อรรถาธิบาย       ในที่นี้ ความต้องการอันมีก่อน ถูกอธิบายในความต้องการอันมีในภายหลัง /

59     เมื่อบุคคลให้สรีระแล้วก็จะ ไม่เป็นทุกข์ถ้อยคำอะไรในเรื่องโชคชะตาอันต่ำสุด นี้ เป็นความสุขอันเป็น โลกุตตระเขาจักได้รับความสุขอันยอดเยี่ยมนั้นอีก

อรรถาธิบาย       ในที่นี้เมื่อบุคคลให้สรีระแล้วก็จะ ไม่เป็นทุกข์ สิ่งนี้ท่านแสดงว่าเป็นโลกุตตรสุข เขาย่อมถึงความสุขนั้นอันเป็นโลกกุตตระอีก เพราะเหตุนั้นจึงเป็นสิ่งยอดเยี่ยมแห่งสิ่งอันเป็นโลกุตตระ /

60     ผู้มีความต้องการด้วยการ ได้สิ่งที่น่ายินดีตามต้องการอันเป็นการรับ ย่อมไม่พอต่อ ความยินดี ด้วยการให้สิ่งที่มีอยู่ทั้งปวง ผู้มีปัญญาย่อมเว้นซึ่งความยินดี ตามความยินดีแห่งชนผู้มีความต้องการ /

อรรถาธิบาย       ด้วยการได้สิ่งที่น่ายินดีตามที่ต้องการ คือ ด้วยการได้และได้รับสิ่งที่ต้องการ / ด้วยการให้สิ่งที่มีอยู่ทั้งปวง คือ ด้วยการให้แม้กระทั่งชีวิตของตนเอง /

61     ผู้ขอมีโภคสมบูรณ์แล้วย่อมไม่เพ่งเล็งตนอันเป็นผู้มีอยู่ผู้มีปัญญาให้ทรัพย์จากทานที่มีอยู่ทั้งปวงย่อมถึงความเป็นผู้มีอยู่ตามควร

62     ผู้มีความต้องการไม่ถึงทรัพย์เป็นเครื่องปลื้มใจอันวิบูลย์อันเป็นอุปการะ ย่อมนับเพราะเหตุแห่งการได้จากทายก ด้วยทานอันดีผู้มีปัญญา ให้แก่ผู้มีความต้องการแล้วตามวิธี ย่อมถึงซึ่งการรู้ว่าเป็นอุปการะอันยิ่งใหญ่ /

อรรถาธิบาย       เพราะความวิเศษแห่งกรุณา / ทั้ง 2 โศลกมีเนื้อความอันอธิบายแล้ว /

63     สัตว์ผู้มีร่างกาย ผู้มีความโศกไปปราศแล้วเอง ผู้มีรูปแห่งความแข็งแรง ถือเอาแล้วซึ่งทรัพย์เครื่องปลื้มใจ ย่อมบริโภค เพียงดังต้นไม้แห่งโภคอันเจริญด้วยผลอันยิ่งในหนทาง ผู้มีโภคะยิ่งผู้สร้างความโชคดี เขาไม่ใช่คนอื่นจากพระโพธิสัตว์

อรรถาธิบาย       การสร้างความโชคดีแห่งผู้มีโภคะยิ่งคือ ผู้มีโภคะยิ่งผู้สร้างความโชคดี พึงทราบว่าเขาไม่ใช่คนอื่นจากพระโพธิสัตว์ / ส่วนที่เหลือมีเนื้อความอันอธิบายแล้ว /

64     ความเพียรอันควรรู้ได้จากความแตกต่างแห่งเหตุและกรรมของความเพียรอันเป็นประธาน จากความแตกต่างแห่งประการ จากความแตกต่างแห่งพื้นฐาน จากความแตกต่างฝ่ายปฏิปักษ์อันสัมพันธ์ 4 ประการ เป็นการประดิษฐ์

อรรถาธิบาย       ความเพียรควรรู้ได้โดยประเภทอันมี 6 ประการ / ด้วยความแตกต่างแห่งประธาน / ด้วยความแตกต่างแห่งอาการนั้น / [ด้วยความแตกต่างแห่งกรรม] ด้วยความแตกต่างแห่งประการ / ด้วยความแตกต่างแห่งพื้นฐาน / และด้วยความแตกต่างแห่งปฏิปักษ์อันไม่สัมพันธ์ 4 ประการ / ด้วยโศลกอันมีในภายหลังแห่งอุเทศนี้ อันท่านแสดงแล้ว /

65     ความเพียรอันเลิศมีในท่ามกลางแห่งคณะอันขาวเพราะเความเพียรที่ได้ตามนั้นมีจากพื้นฐาน ด้วยความเพียร ผู้มีความเชื่อ มีสุขด้วยดีเป็นอยู่ มีความสำเร็จในโลกุตตระและโลกิยะ

อรรถาธิบาย ความเพียรอันยอดเยี่ยมมีอยู่ในท่ามกลางแห่งคณะอันขาว คือในท่ามกลางแห่งคณะอันขาวทั้งปวง คือ ความเป็นประธานแห่งกุศลธรรมทั้งปวงอันท่านแสดงด้วยความเพียร / เพราะว่าความเพียรที่ได้ตามนั้นมีจากพื้นฐาน คือ เหตุแห่งความเป็นประธานอันท่านแสดงแล้ว / เหตุใดพื้นฐานแห่งความเพียร เป็นการได้กุศลธรรมทั้งปวง / เพราะว่าด้วยความเพียร ผู้มีความเชื่อ เป็นสุขด้วยดี ผู้อยู่อยู่ มีความสำเร็จในโลกุตตระ และโลกิยะ คือกรรมอันท่านแสดงแล้วเพราะว่าด้วยความเพียรบุคคลจึงเป็นผู้อยู่เป็นสุขอันยอดเยี่ยมในทิฐิธรรม / และความสำเร็จอันเป็นโลกุตตระทั้งปวงและอันเป็นโลกิยะอันบุคคลพึงทำ /

66     ด้วยความเพียร บุคคลย่อมเข้าถึงความน่าปรารถนาในภพอันเข้าถึงได้ด้วยความเพียรและพลังอันบริสุทธิ์ด้วยความเพียร เขาก้าวข้ามสักกายทิฐิ เป็นผู้หลุดพ้น เป็นผู้รู้แจ้งซึ่งโพธิอันยอดเยี่ยมด้วยความเพียร

อรรถาธิบาย       มีประการอย่างนี้ / การกระทำความเพียร ท่านแสดงด้วยหนทางแห่งการเข้าถึง / เพราะความแตกต่างแห่งความสำเร็จอันเป็นโลกิยะและโลกุตตระ / ในที่นี้ความมีพลัง เป็นความสำเร็จอันเป็นโลกิยะ เพราะไม่กระทำที่สุดแห่งความมีตัวตน /

67     อีกประการหนึ่ง บุคคลคิดว่า ความเพียรอันเสื่อมและไม่เจริญงอกงามเป็นใหญ่ในโมกษะ เป็นฝักฝ่ายและฝ่ายตรงข้าม เมื่อบุคคลเข้าไปในตัตวะ เป็นผู้เป็นไปรอบและความเพียรอันมีประโยชน์ยิ่งใหญ่ เป็นอันอื่นจากคำที่กล่าวออกแล้ว /

68     พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสซึ่งความเพียรอันมีประการทั้งปวงว่าความเพียรแห่งอุปกรณ์ เป็นประถมจากนั้นคือ ความเพียรแห่งการประกอบอันเป็นการเกื้อกูลตามวิธี อันไม่ซ้อนเร้น อันไม่สิ้นไป และอันไม่ยินดี

อรรถาธิบาย       ความแตกต่างแห่งประการนั้น โดยประการฉะนี้ / ในที่นี้ ความเพียรอันเสื่อมและไม่เจริญงอกงาม[ด้วยการละอกุศลธรรมตามโศลกที่ 2] และด้วยความเจริญขึ้นแห่งกุศลธรรมตามโศลกที่ 2 ในการละทั้งหลายโดยชอบ / มีโมกษะเป็นใหญ่คือ ความเพียรในอินทรีย์ทั้งหลาย / เพราะความมีโมกษะเป็นใหญ่ด้วยประโยชน์ เพราะเหตุใดอินทรีย์ทั้งหลาย / เป็นฝักฝ่ายและฝ่ายตรงข้าม เพราะพละทั้งหลายมีอรรถอันไม่แพร่ไปในฝ่ายตรงข้าม / บุคคลเมื่อเข้าไปในความเป็นตัตวะแล้ว เพราะความตั้งมั่นในหนทางแห่งการเห็นโพชฌงค์ / เป็นไปรอบ เพราะเหตุแห่งความเป็นไปรอบของพื้นฐาน ในภาวนามรรคในองค์แห่งมรรคทั้งหลาย ความเพียรอันมีประโยชน์ยิ่งใหญ่เพราะเป็นใหญ่แห่งประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นอันมีสวภาวะแห่งบารมี ความเพียรแห่งอุปกรณ์เพราะประกอบด้วยดี เพื่อการประกอบ / ความเพียรแห่งการประกอบคือ เป็นการประกอบเหมือนอย่างนั้น / ความเพียรอันไม่ซ่อนเร้นคือ เมื่อความยอดเยี่ยมอันบุคคลพึงถึงทับ เป็นความเจริญขึ้นแห่งความซ่อนเร้น /  ความเพียรอันไม่สิ้นไป เพราะการไม่กำเริบด้วยทุกข์ยิ่งในเพราะการร้อนและหนาวเป็นต้น / ความเพียรอันไม่ยินดีคือ ไม่ยินดีด้วยการบรรลุเพียงเล็กน้อย / ในพระสูตรท่านกล่าวด้วยความเพียรแห่งอุปกรณ์เป็นต้น เหล่านี้ อย่างนี้ / ผู้มีความสามารถ ผู้มีความเพียร ผู้มีความอุตสาหะ ผู้มีความพยายามในความอาจหาญ ผู้มีธุระอันไม่ทอดทิ้ง ย่อมประกอบในธรรมอันเป็นกุศลตามลำดับ /

69     ความเพียรอันต่ำ กลาง และสูง เป็นอย่างอื่น โดยพื้นฐานอันชนประกอบแล้วในยาน 3 ความเพียรอันปรารถนาในประโยชน์เล็กน้อยและประโยชน์ยิ่งใหญ่ เพราะประกอบในพุทธิอันเป็นพื้นฐานอันยอดเยี่ยม

อรรถาธิบาย       ในที่นี้ ความแตกต่างแห่งความเพียรท่านแสดงด้วยความแตกต่างแห่งพื้นฐาน / ชนใดประกอบในยาน 3 ความเพียรอันต่ำ กลาง สูง พึงทราบโดยลำดับ ด้วยพื้นฐานแห่งชนนั้น / เพราะเหตุไร / เพราะการประกอบในพุทธิอันเป็นพื้นฐานอันซ่อนเร้นหรืออันละเอียด / เพราะว่าพื้นฐานอันซ่อนเร้น เป็นพื้นฐานแห่งผู้ประกอบในยาน 2 เพราะกระทำเพื่อประโยชน์ตนอย่างเดียว / ความละเอียดอ่อนแห่งผู้ประกอบในมหายาน เพราะกระทำเพื่อประโยชน์คนอื่น / ดั้งนั้นความเพียรอันปรารถนาประโยชน์เล็กน้อยและประโยชน์ยิ่งใหญ่ เพราะกระทำเพื่อประโยชน์ตนเองและเพราะกระทำเพื่อประโยชน์(ตนและคนอื่น)ตามลำดับ /

70     ผู้มีความเพียรอันโภคะทำให้แพ้ ย่อมไม่มี ผู้มีความเพียรอันกิเลสทำให้แพ้ ย่อมไม่มี ผู้มีความเพียรอันความเศร้าโศกทำให้แพ้ ย่อมไม่มี ผู้มีความเพียรอันการบรรลุทำให้แพ้ ย่อมไม่มี

อรรถาธิบาย       ความแตกต่างแห่งปฏิปักษ์อันไม่สัมพันธ์ 4 ประการนี้ อย่างนี้ / ความไม่สัมพันธ์กัน ย่อมไม่เป็นไปในทานเป็นต้น โดยประการใดความไม่สัมพันธ์กันนั้นแห่งทานเป็นต้นมี 4 ประการ / ผู้ยึดมั่นในกิเลส เพราะถูกกิเลสนั้นท่วมทับ / ผู้มีความเศร้าโศก เพราะเศร้าโศกต่อการประกอบและประกอบยิ่งในทานเป็นต้น / การบรรลุถึง เพราะยินดีในทานเป็นต้นอันมีประมาณน้อย / ท่านกล่าวว่าความเพียร 4 ประการ มีอยู่ในความแตกต่างแห่งความเป็นปฏิบักษ์

โศลกว่าด้วยการจำแนกการวินิจฉัยซึ่งกันและกัน

71     ด้วยการสังเคราะห์กันและกัน โดยประเภท โดยธรรม โดยนิมิต การวินิจฉัยบารมี 6 เป็นสิ่งพึงรู้ได้ โดยประการทั้งปวง

อรรถาธิบาย       การวินิจฉัยโดยการสงเคราะห์กันและกัน / ด้วยการสงเคราะห์ศีลและกษานติ ด้วยการให้ความไม่กลัว เพราะเหตุว่าให้ความไม่กลัวแก่ศีลและกษานติเหล่านั้น / ฌานและปัญญา ด้วยการให้ธรรม เพราะเหตุว่าให้ธรรม แต่ฌานและปัญญาเหล่านั้น / เพราะเหตุว่าให้การสงเคราะห์ทั้งสองแก่ความเพียรของทั้ง 2 นั้น / การสงเคราะห์ทานเป็นต้นทั้งปวง ด้วยศีลอันเป็นผู้สงเคราะห์กุศลธรรม / ด้วยประการอย่างนี้ การสงเคราะห์กันและกันด้วยกษานติ เป็นต้น เป็นสิ่งควรประกอบโยคะตามสมควร / การวินิจฉัยโดยประเภท / ทาน 6 ประการทานแห่งทาน ท่านแห่งศีล จนกระทั่งทานแห่งปัญญา / เพราะการอยู่ด้วยศีลเป็นต้นในสันดานของคนอื่น / การวินิจฉัยโดยธรรม / ธรรมเหล่าใดมีพระสูตรเป็นต้น อันท่านแสดงในอรรถทั้งหลายมีทานเป็นต้นเหล่าใด / ธรรมทั้งหลายเหล่าใดมีทานเป็นต้นอันท่านแสดงในธรรมทั้งหลายมีพระสูตรเป็นต้นเหล่าใด / พึงทราบว่าเป็นการสงเคราะห์กันและกันของธรรมเหล่านั้น / การวินิจฉัยโดยนิมิต / ทานเป็นนิมิตแห่งศีลเป็นต้น / แห่งการหมุนไปในศีลเป็นต้นแห่งผู้ไม่มีความเพ่งเล็งในโภคะ / แม้ศีลก็เป็นนิมิตแห่งท่านเป็นต้น / การสมาทานการสังวรของภิกษุด้วยการประกอบการสงเคราะห์เพื่อตนทั้งปวง และเพื่อการประกอบกษานติของผู้มีศีลอันตั้งมั่นแล้ว / และการสมาทานศีลแห่งผู้ยึดถือกุศลธรรมเป็นนิมิตแห่งทานเป็นต้น ทั้งปวง / ภาวะแห่งนิมิตของกันและกันของธรรมมีกษานติเป็นต้นเป็นโภคะ /

โศลก 7 โศลกว่าด้วยการจำแนกวัตถุแห่งการสงเคราะห์ / วัตถุแห่งการสงเคราะห์มี 4 (สังคหวัตถุ) ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานตตา / ในที่นี้ /

72     ทานอันเสมอเป็นที่ปรารถนาเหมือนกับการกล่าววาจาอ่อนหวานเป็นอุเทศในบารมีทั้งปลาย / การประพฤติประโยชน์เป็นการให้คนอื่นสมาทานในทาน/ ด้วยการได้นั้น การกล่าวสอนบารมีด้วยการยึดถือบารมี เป็นการให้คนอื่นสมาทานบารมีนี้คือ ประโยชน์ / ความมีตนเสมอคือ ให้บุคคลอื่นสมาทานในสิ่งใด มีความประพฤติตามด้วยตนในสิ่งนั้น / สังคหวัตถุ 4 ประการนี้ ถูกปรารถนาอีก เพื่อประโยชน์อะไร / เพราะว่านี้เพื่อประโยชน์แก่คนเหล่าอื่น /

73     อุบายผู้กระทำการอนุเคราะห์ผู้อนุเคราะห์ ผู้เป็นไปทั่ว ผู้เป็นไปตามเป็นสิ่งที่พึงรู้จากสังคหวัตถุ 4 ประการ

อรรถาธิบาย     ผู้กระทำการอนุเคราะห์ซึ่งทานคือ อุบาย / การกล่าวคำอ่อนหวานเพราะการเกิดขึ้นแห่งการอนุเคราะห์อันเป็นไปทางกาย ด้วยอามิสทาน คือ ผู้อนุเคราะห์ เพราะอนุเคราะห์ประโยชน์อันอยู่เหนือความสงสัย / การประพฤติประโยชน์คือ ผู้เป็นไปทั่ว / เพราะเป็นไปทั่วในกุศล / ความมีตนเสมอคือ ผู้อนุเคราะห์ เพราะว่ารู้แล้วว่า ผู้ให้คนอื่นสมาทาน เป็นผู้พูดอย่างไรทำอย่างนั้นในกุศล ย่อมเป็นไปด้วยกุศลนั้น ย่อมประพฤติตาม /

74     ความเป็นเพียงดังภาชนะโดยอันต้น เป็นการหลุดพ้น โดยอันที่สอง การปฏิบัติโดยอันที่สาม การชำระหมดจดโดยอันที่ 4 /

อรรถาธิบาย       โดยอามิสทาน ความเป็นภาชนะแห่งการถูกต้องการแบ่งปันซึ่งธรรม / โดยการกล่าวคำอ่อนหวาน ย่อมหลุดพ้นซึ่งธรรมนั้น เพราะการตัดเสียซึ่งความสงสัยที่เกิดขึ้นในอรรถนั้น / โดยการประพฤติประโยชน์ย่อมปฏิบัติตามสมควรแก่ธรรม / โดยความมีตนเสมอ ย่อมชำระการปฏิบัตินั้น เพราะพยายามตลอดกาลยาวนาน / นี้เป็นกรรมแห่งสังคหวัตถุ /

75     ความเป็นสังคหวัตถุ 4 เป็นสิ่งที่ถูกรู้โดยหมวด 2 แห่ง การสงเคราะห์ โดยอามิส โดยธรรม และโดยธรรม โดยพื้นฐาน /

อรรถาธิบาย       ความเป็นหมวด 2 แห่งสังคหวัตถุอื่นอีก พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ไว้แล้ว คือ การสงเคราะห์ด้วยอามิส และการสงเคราะห์ด้วยธรรม / การสงเคราะห์สังคหวัตถุ 4 เหล่านี้ โดยหมวด 2 เหล่านั้น /

การสงเคราะห์ด้วยอามิสเป็นที่หนึ่ง / การสงเคราะห์ด้วยธรรมเป็นส่วนที่เหลือ / อีกประการหนึ่ง ส่วนที่เหลือเหล่านั้น ด้วยธรรม 3 ประการ / ธรรมคือพื้นฐาน ธรรมคือการปฏิบัติ และ ธรรมคือความบริสุทธิ์ ตามลำดับ /

76     การบรรลุอันต่ำ กลาง สูง อันผูกพัน อันไม่ผูกพัน เป็นการสงเคราะห์อันไม่ผูกพัน โดยประการทั้งปวงและพึงทราบว่าเป็นความแตกต่างด้วยอาการ

อรรถาธิบาย       นี้เป็นความแตกต่างแห่งอาการ / ในที่นี้ การสงเคราะห์อันต่ำ กลาง สูง พึงทราบในการประยุกต์ด้วยยาน 3 ของพระโพธิสัตว์ตามลำดับ / ความผูกพันโดยการบรรลุในภูมิเป็นที่ประพฤติอธิมุกติ / ความไม่ผูกพันโดยการบรรลุแห่งการเข้าไปถึงภูมิ / ความไม่ผูกพันโดยประการทั้งปวง เพราะการเกิดขึ้นพร้อมอย่างแน่นอน เพื่อประโยชน์ของสัตว์ในภูมิ มีภูมิ 8 เป็นต้น

77     วิธีอันเป็นที่อาศัยพร้อมนั้น ด้วยการประยุกต์เพื่อความรักในบริษัทในความสำเร็จประโยชน์ทั้งปวง เพื่อคนทั้งปวง ถูกสอนว่าเป็นอุบายแห่งความสุข

อรรถาธิบาย       สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกประยุกต์ในความรักในบริษัท สิ่งนี้นั้นแลเป็นอุบายด้วยสิ่งเหล่านั้นทั้งปวง สังคหวัตถุ 4 อันอาศัยพร้อมแล้วด้วยอุบายนั้น / เพราะว่าในความสำเร็จประโยชน์ทั้งปวง เพื่อชนทั้งปวง พระพุทธเจ้าสอนว่าเป็นอุบายแห่งความสุข /

78     ผู้สงเคราะห์จักถูกสงเคราะห์ ถูกสงเคราะห์อยู่ในเดี๋ยวนี้บุคคลเหล่านั้นทั้งปวง ผู้เป็นไปอยู่ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นการยังสัตว์ให้แก่รอบ /

อรรถาธิบาย       โดยโศลกนี้ ท่านแสดงความเป็นหนทางเอกแห่งสังคหวัตถุ 4 ในการยังสรรพสัตว์ให้แก่รอบแม้ในโลก 3 / เพราะความไม่มีแห่งหนทางอื่น /

79     ด้วยประการดังนี้ พุทธิอันมีโภคะ ไม่ยึดติดอย่างต่อเนื่องเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งความสงบและการไม่กำเริบ มีตนอันตั้งมั่น เป็นผู้ไม่มีความแตกต่างแห่งภพ อารมณ์และนิมิต เป็นผู้สงเคราะห์เพื่อหมู่สัตว์

อรรถาธิบาย       โดยโศลกนี้ท่านแสดงการประกอบสังคหวัตถุแห่งพระโพธิสัตว์ผู้ตั่งมั่นในบารมี 6 ตามที่กล่าวแล้ว เพราะการเกิดขึ้นพร้อมแห่งประโยชน์คนและคนอื่น และด้วยสังคหวัตถุตามบารมี โดยลำดับ

อธิการที่ 16 ว่าด้วยบารมี ในมหายานสูตรสังการ จบ

อธิการที่ 17

อธิการที่ 17

ว่าด้วยการจำแนกบูชาพระพุทธเจ้า

โศลกว่าด้วยการจำแนกบูชาพระพุทธเจ้า 7 โศลก

1       การบูชาพระพุทธเจ้าในที่พร้อมหน้า และไม่พร้อมหน้าด้วยจีวรเป็นต้น เพื่อการเติมความเป็น 2 แห่งการรวบรวมจิตอันเลื่อมใสอย่างลึกซึ้ง

2       การบูชาพระพุทธเจ้าของสัตบุรุษผู้มีปณิธานในความที่พระพุทธเจ้าไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดอีก ผู้ไม่ได้รับความเป็น 3 เป็นผลที่ได้

3       บุคคลอื่นอีกตั้งมั่นเพื่อความแก่รอบแห่งสัตว์ไม่มีประมาณ บุคคลอื่นมีอุปธิและจิตนี้เป็นการฝังไว้แห่งอธิมุกติ

4       บุคคลอื่นแห่งการอนุเคราะห์และการอดกลั้น และ โดยการประพฤติดีงามความเป็นเจ้าของและความเข้าใจใน โภคะแห่งการหลุดพ้นและแห่งความเป็นตถตา

ด้วยโศลกทั้ง 4 เหล่านี้ มีประการอย่างนี้

5       การบูชาจากพื้นฐาน วัตถุ นิมิต เนื้อหา เหตุ ความรู้ เกษตร การอาศัย อันท่านแสดงไว้แล้ว

อรรถาธิบาย       พึงทราบว่า / ในที่นี้พื้นฐานคือ พระพุทธเจ้าผู้เห็นได้และเห็นไม่ได้ / วัตถุ คือ จีวรเป็นต้น / นิมิต คือจิตอันสหคตด้วยความเลื่อมใสอย่างลึกซึ้ง / เนื้อหาง คือ เพื่อความบริบูรณ์แห่งการสะสมบุญและความรู้ / เหตุ คือ ปณิธานอันมีในกาลก่อนว่า "การเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าพึงเป็นสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับข้าพเจ้า" / ความรู้คือ ความไม่แยกแยะ เพราะการไม่ได้ผู้บูชา ผู้ควรบูชา และการบูชา / เกษตร คือสัตว์ไม่มีประมาณ / เพื่อความแก่รอบแห่งสัตว์นั้น การประกอบการบูชานั้น เพื่อการเข้าถึงความแก่รอบ / การอาศัย คือ อุปธิและจิต / ในที่นี้ อาศัยอุปธิบูชาด้วยจีวรเป็นที่บูชา เป็นต้น / และอาศัยจิต บูชาด้วยการลิ้มรสการอนุโมทนาการยินดียิ่งและการกระทำไว้ในใจ / เหมือนดังที่กล่าวไว้แล้วด้วยอธิมุกติเป็นต้น เพราะการเกิดขึ้นแห่งโพธิจิต เป็นอธิมุกติแห่งมหายานธรรม / เพราะว่าปณิธานนั้นแหละที่ท่านกล่าวว่าการฝังไว้(นิธาน) ในที่นี้ เพราะเหตุแห่งการทำเป็นโศลก / โดยการอนุเคราะห์แก่สัตว์ / การประพฤติที่กระทำไว้ยากเป็นความอดกลั้นต่อความทุกข์ / มีความประพฤติดีงามด้วยบารมี / การพิจารณาธรรมโดยแยบคาย / บุคคลนั้นเป็นผู้เสวยความมีอยู่แห่งความเป็นเช่นนั้นอันไม่วิปริต / มีสัมมาทิฐิในทรรศนมรรค /เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้รู้ในความมีอยู่โดยความรู้ตามความเป็นจริง /

ผู้หลุดพ้น เพราะการหลุดพ้นจากกิเลสของสาวก / โดยความเป็นเช่นนั้น เพื่อการบรรลุโพธิอันยิ่งใหญ่ นี้เป็นความแตกต่างแห่งการบูชา

6       การบูชานั้น มี 2 ประการ ด้วยเหตุและด้วยผล ด้วยตนเองและแม้ด้วยคนอื่น ด้วยการทำสักการะเพื่อการได้และด้วยการปฏิบัติ

7       การบูชานั้น เป็นที่รู้กันว่าเล็กน้อย ยิ่งใหญ่ มีมานะและไม่มีมานะ เพราะการประกอบเพราะคติ และเพราะปณิธาน

อรรถาธิบาย       นี้คือความแตกต่างแห่งประการอย่างอื่นอีกมีอรรถเป็นต้นอย่างนี้ / ในที่นี้เหตุเป็นอดีต ผลเป็นปัจจุบัน เหตุเป็นปัจจุบัน ผลเป็นอนาคต พึงทราบอดีต ปัจจุบัน อนาคต ของเหตุและผล ด้วยประการอย่างนี้แล / ความมีตนเป็นใหญ่คือ ด้วยตน ความเป็นภายนอกคือ ด้วยคนอื่น / โดยการทำสักการะเพื่อการได้คือ ความเด่นชัด / โดยการปฏิบัติคือ ความตั้งมั่น / เล็กน้อยคือเลว ยิ่งใหญ่คือประณีต / อีกประการหนึ่ง มีมานะ คือ เลว ไม่มีมานะ คือประณึต เพราะไม่มีการแยกแยะแห่งมณฑล 3 / ด้วยการประกอบในระหว่างแห่งกาลคือ ในที่ไกล / ด้วยการประกอบในกาลนั้นคือ ในที่ใกล้ / อีกอย่างหนึ่งในคติอันห่างไกลคือ ในที่ไกล / ในคติอันเป็นไปโดยรอบคือ ในที่ใกล้ / อีกอย่างหนึ่งปณิธานเพื่อประกอบการบูชาอันใด การบูชานั้นอยู่ในที่ไกล เพื่อกระทำการบูชาอันประณีตใด การบูชานั้นอยู่ในที่ใกล้ / อีกประการหนึ่งมีคำกล่าวว่า พึงทราบว่าการบูชาเป็นยอดเยี่ยม /

8       การบูชาในพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นยอดเยี่ยม เพราะจิตของตน เพราะอัธยาศัยในการหลุดพ้นด้วยธรรม เพราะความโน้มเอียง เพราะความไม่มีการหลอกลวง เพราะการยึดถืออุบายวิธี เพราะการเข้าไปสู่ความเป็นผู้มีการงานหนึ่งเดียวจากการงานทั้งปวง

อรรถาธิบาย      ด้วยประการฉะนี้ พึงทราบการบูชาพระพุทธเจ้าด้วยจิตของตน ด้วยอาการ 5 เหล่านี้ เป็นยอดเยี่ยม / เพราะหลุดพ้นด้วยธรรมแห่งมหายานอันประกอบพร้อมแล้วในการบูชานั้น / โดยอัธยาศัยคือ ด้วยอัธยาศัย 9 ประการ / ด้วยอัธยาศัยคือ ความพอใจ อนุโมทนา และความยินดียิ่ง /และอัธยาศัยคือ ความไม่อิ่ม ความไพบูลย์ การอุทิศ อุปการะ การปราศจากการฉาบทา และความงดงาม บุคคลเหล่าใดเห็นเฉพาะการเจริญบารมี / เพราะความโน้มเอียงคือ ด้วยสมาธิอันเป็นคลังสมบัติแห่งท้องฟ้าเป็นต้น / เพราะการยึดถืออุบายวิธีแห่งความรู้อันไม่หลอกลวง / เพราะการเข้าไปสู่ความเป็นผู้มีการงานเพียงหนึ่งเดียวแห่งมหาโพธิสัตว์ทั้งปวง คือ เพราะการงานอันผสมผสานและปนเปกันอย่างยิ่ง /

โศลกว่าด้วยการจำแนกการคบกัลยาณมิตร 7 โศลก /ในที่นี้ด้วยโศลกทั้ง 5 และกิ่งโศลก

9      การคบอันท่านแสดงแล้วโดยพื้นฐาน โดยนิมิต โดยเนื้อหา โดยเหตุ โดยความรู้ โดยเกษตร และโดยการอาศัย /

10    พึงคบมิตร ผู้มีตนอันฝึกแล้ว มีความสงบ ยิ่งด้วยคุณผู้ไม่เกียจคร้าน ผู้เจริญด้วยอาคม ผู้มีความรู้ทั่ว ผู้ประกอบด้วยวาจา ผู้มีความกรุณา และผู้เว้นจากการทอดธุระ

อรรถาธิบาย      นี้แลเป็นพื้นฐานเพื่อการคบมิตรผู้มีคุณ / ผู้ฝึกแล้ว ด้วยการฝึกอินทรีย์มีการประกอบศีลเป็นต้น / ผู้สงบคือ มีอัธยาศัยโดยการประกอบสมาธิ ด้วยความสงบแห่งใจ / ผู้เข้าไปสงบ เพราะความสงบแห่งกิเลสเข้าไปตั้งมั่นด้วยการประกอบปัญญา / ผู้ยิ่งด้วยคุณ คือ ไม่เสมอหรือไม่หย่อน / ผู้ไม่เกียจคร้านคือ ไม่เป็นผู้แตกต่างในประโยชน์ของคนอื่น / ผู้เจริญด้วยอาคมคือ ผู้ได้ฟังมาไม่น้อย / ความเป็นผู้รู้ทั่ว เพราะบรรลุความเป็นตัตวะ / ผู้ประกอบด้วยวาจาคือประกอบการกระทำคำพูด / มีใจกรุณา เพราะไม่มีใจเห็นแก่อามิส / เว้นจากการทอดธุระ เพราะแสดงธรรมอันกระทำความจริงอย่างต่อเนื่อง /

11    ก.คบมิตรด้วยการได้สักการะ ด้วยการบริการและด้วยการปฏิบัติ /

อรรถาธิบาย      ด้วยประการดังนี้ / วัตถุแห่งการคบ /

11    ข.ผู้มีปัญญา มีอัธยาศัยในการรู้ความเป็นเช่นนั้นในธรรมพึงเข้าไปหามิตรในสมัยและนอบน้อม

อรรถาธิบาย      นี้คือ นิมิตอันมีอย่างสาม / ความมีความต้องการในความรู้ / ความเป็นผู้รู้จักกาล / และความเป็นผู้ไม่มีมานะ /

12    ก.ในผลที่ถึง เป็นผู้ไม่ปรารถนาในสักการะและลาภ และในเนื้อหา

อรรถาธิบาย      นี้คือ เนื้อหา ไม่คบเพื่อการ ได้ผลและเพื่อการสักการะและลาภ /

12    ข.ด้วยการปฏิบัติตามที่ถูกสอนแล้ว ผู้เป็นปราชญ์พึงมีจิตอันเป็นไมตรีในการคบนั้น /

อรรถาธิบาย      ดังนี้ / การปฏิบัติตามที่ถูกสอนแล้ว เป็นเหตุแห่งการคบ / เพราะการผูกจิตด้วยความมีไมตรี /

13    ก.ถึงความฉลาดในยาน 3 แล้ว พึงถึงความสำเร็จแห่งยานอันเป็นของตนด้วยความรู้

อรรถาธิบาย      ดังนี้ / ความรู้เพราะฉลาดในยาน 3 /

13    ข.เพื่อการยังสัตว์ไม่มีประมาณให้แก่รอบและเพื่อเข้าถึงเกษตรอันบริสุทธิ์ /

อรรถาธิบาย      เกษตรอันมีอย่าง 2 แห่งการคบนั้น ดังนี้ / สัตว์ไม่มีประมาณและพุทธเกษตรอันบริสุทธิ์ / เพราะฟังธรรมแล้วประดิษฐานในเกษตรเหล่านั้น / และตั้งมั่นในเกษตรนั้นๆ /

14    ก.ผู้ประกอบด้วยคุณมีความอ่อนโยนเป็นต้นในธรรมและคบมิตร เพราะไม่หวังอามิสด้วย

อรรถาธิบาย      การอาศัยแห่งการคบ ดังนี้ / อาศัยความอ่อนโยนในธรรมและจึงคบกัลยณมิตร / ไม่อาศัยอามิส / ดังนั้น พึงทราบความแตกต่างแห่งประการของการคบ ด้วยโศลกต่อไปนี้กับอีกกึ่งหนึ่ง /

14    ข.    15 ก.  ผู้มีปัญญาคบมิตรเพราะเหตุ เพราะผล เพราะการเข้าถึงความมีธรรมเป็นใหญ่ เพราะภายนอก เพราะการได้ยิน ได้ฟัง เพราะโยคะ ในใจ และเพราะการตามประกอบ ความมีใจอันมีมานะและไม่มีมานะ

อรรถาธิบาย     เพราะเหตุ เพราะผล คือ ความแตกต่างมีอดีตเป็นต้น เหมือนในตอนก่อนผู้มีปัญญาคบมิตร เพราะการเข้าถึงความมีธรรมเป็นใหญ่ และเป็นภายนอกคือ ความแตกต่างแห่งความเป็นภายในและความเป็นภายนอก / เพราะว่าการเข้าถึงความมีธรรมเป็นใหญ่ เพราะกระแสแก่งความมีธรรมเป็นใหญ่ โดยภายนอกคือจากภายนอก เพราะการได้ยิน ได้ฟังและเพราะ โยคะ ในใจคือ ความแตกต่างแห่งความหยาบและละเอียด /  การฟังเป็นสิ่งหยาบ การคิดและภาวนาเป็นความละเอียด/ดังนั้น โยคะในจิตพึงมี /เพราะการตามประกอบความมีมานะและไม่มีมานะ คือ ความแตกต่างแห่งความเลว และความประณีต /

15     ข.ดังนั้น ผู้มีปัญญาพึงคบกัลยาณมิตร เพราะคติ การประกอบและปณิธาน

อรรถาธิบาย     เหมือนในตอนก่อน พึงประกอบความแตกต่างแห่งความไกลและความใกล้ ดังนี้ / อีกประการหนึ่ง การคบอันไหนเป็นยอดเยี่ยมดังนี้ โศลกที่ 7 (ว่า)

16     การคบมิตรดี เป็นยอดเยี่ยมเพราะมีจิตของตน เพราะอัธยาศัยในการหลุดพ้นด้วยธรรม เพราะความโน้มเอียง เพราะไม่มีการหลอกลวง เพราะการยึดถืออุบายวิธี เพราะการเข้าไปสู่ความเป็นผู้มีการงานเพียงหนึ่งเดียวจากการงานทั้งปวง

อรรถาธิบาย     เหมือนในตอนก่อน ดังนี้ /

โศลกว่าด้วยการจำแนกความไม่มีประมาณ 12 โศลก

17     ความเป็นพรหมอันมีฝ่ายตรงข้ามเลว ไปด้วยความรู้อันไม่หลอกลวง เจริญด้วยพื้นฐานอันมีอย่าง 3 สัตว์ให้แก่รอบในความเป็นปราชญ์

อรรถาธิบาย     การอยู่ด้วยความเป็นพรหม 4 ประการ คือความไม่มีประมาณ / ไมตรี กรุณา มุทิตา และอุเบกขา / อีกประการหนึ่ง พึงทราบลักษณะ 4 เหล่านี้ในพระโพธิสัตว์ / เพราะความมีฝ่ายตรงข้ามเลว / เพราะการประกอบวิเศษในปฏิปักษ์ / ความวิเศษแห่งการหมุนไป เพราะการหมุนไปแห่งพื้นฐานอันมีอย่าง 3 /คือ พื้นฐานแห่งสัตว์ พื้นฐานแห่งธรรม และพื้นฐานแห่งการไม่ได้ธรรม / และควารมวิเศษแห่งกรรม / เพราะการยังสัตว์ให้แก่รอบ / เพราะพื้นฐานแห่งธรรมของสัตว์ / อีกประการหนึ่งเป็นไปในหมู่สัตว์หรือธรรมอะไร / การไม่มีพื้นฐานและการมีพื้นฐานในหมู่สัตว์หรือธรรมอะไร /

18     บุคคลเหล่านั้นย่อมเป็นไปในผู้มีความต้องการความสุข ในผู้มีทุกข์ ในสุข ในเศร้าหมอง ในธรรมแห่งตถาคต ผู้เป็นปราชญ์ที่แสดงแล้ว

อรรถาธิบาย     พื้นฐานแห่งสัตว์คือ ย่อมเป็นไปในหมู่สัตว์ผู้มีความต้องการความสุขจนกระทั่งในเศร้าหมอง / เหมือนอย่างนั้นไมตรีคือ อาการแห่งการประกอบพร้อมเพื่อสุขในสัตว์ทั้งหลาย / กรุณาคือ อาการไม่ประกอบด้วยทุกข์ / มุทิตา คือ อาการแห่งการไม่ประกอบสุข / อาการแห่งการสังหารความไม่มีกิเลสแห่งสัตว์เหล่านั้นในเวทนาอันเป็นอุเบกขา / พื้นฐานแห่งธรรม คือ ย่อมเป็นไปในธรรมที่แสดงแล้ว การเป็นอยู่อันท่านแสดงแล้ว / การไม่มีพื้นฐานแห่งความเป็นตถตา / และความไม่มีพื้นฐานแห่งความไม่แตกต่างคือ ความไม่มีพื้นฐานแล / เหมือนอย่างว่า /

19     เมื่อมีอรรถแห่งความเป็ตตถตาและเพราะได้กษานติจึงเป็นผู้บริสุทธิ์ ไมตรีเป็นสิงไม่มีพื้นฐานเพราะหมวด 2 แห่งกรรม แม้เพราะความสิ้นไปแห่งกิเลส

อรรถาธิบาย     ไมตรี พึงทราบว่าไม่มีพื้นฐานด้วยเหตุ 4 ประการนี้ / เพราะความไม่มีพื้นฐานแห่งความเป็นตถตา / เพราะไม่ได้ธรรมและกษานติอันไม่อุบัติในภูมิ 8 /เป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยการถูกต้องธาตุ / และด้วยหมวด 2 แห่งกรรม / ไม่ตรีใดอันสงเคราะห์ด้วยกายกรรมอันไหลไปและด้วยความสิ้นไปแห่งกิเลส / เหมือนอย่างนั้น ความไม่มีพื้นฐานแห่งกิเลสที่กล่าวว่า เพราะคำว่า ย่อมเข้าไปตัดความมีปมอันสำเร็จด้วยใจชื่อว่า ความไม่มีพื้นฐาน ดังนี้ /

20     ก. เหล่านั้นพึงรู้ว่าเป็นสิ่งไม่เคลื่อนไหว ทั้งเคลื่อนไหว เป็นความพอใจแห่งความกรุณาและไม่เป็นความพอใจแห่งความกรุณา

อรรถาธิบาย     พึงทราบพรหมวิหาร 4 ประการเหล่านั้น / ในที่นี้ เคลื่อนไหวอันมีส่วนแห่งความเสื่อม เพราะความเสื่อมรอบ / ไม่เคลื่อนไหวอันมีส่วนแห่งความตั้งมั่น เพราะความไม่เสื่อมรอบ / ความพอใจเป็นสิ่งเศร้าหมอง ความไม่พอใจ เป็นสิ่งไม่เศร้าหมอง /ด้วยความกรุณาคือสุขอันโลเลและมีจิตหยาบ / นี้คือความแตกต่างแห่งประการมีความมีส่วนแห่งความเสื่อมเป็นต้นของพรหมวิหาร / อีกอย่างหนึ่งในพรหมวิหารเหล่านั้น /

20     ข.พระโพธิสัตว์ผู้ตั้งมั่นในความไม่เคลื่อนไหวอันไปปราศจากความยึดมั่น

อรรถาธิบาย     ไม่มีในความไม่เคลื่อนไหว ไม่มีแม้ในความพอใจ /

21     ผู้มีสวภาวะอันมาตามพร้อมแล้ว เป็นผู้อ่อน กลาง เป็นผู้มีภูมิอันเลว มีอัธยาศัยอันเลว มีมานะ เป็นผู้เลว แต่ว่าเป็นผู้ยิ่งโดยประการอื่น

อรรถาธิบาย     นี้คือ ความแตกต่างแห่งความเป็นผู้อ่อนหรือผู้ยิ่ง / ผู้มีสวภาวะอันไม่มาตามพร้อมแล้ว เป็นผู้อ่อนอันมีอย่าง 6 ในที่นี้ / แม้ว่าทั้งปวงเป็นผู้มาตามพร้อมแล้ว / เหล่าใดเป็นผู้อ่อนและกลาง / แม้เหล่าใดผู้มีภูมิอันเลวเพ่งเล็งโพธิสัตวภูมิอันยอดเยี่ยมแล้ว /แม้มีอัธยาศัยเลว / แม้มีมานะด้วยพระสาวกเป็นต้น / เหล่าใดเป็นผู้เว้นจากธรรมและกษานติอันไม่เกิดอีก เป็นผู้เลวเหล่านั้นเป็นผู้อ่อน มีอรรถดังนี้แล / แต่ว่าเป็นผู้ยิ่งโดยประการอื่น คือพึงทราบความเป็นผู้ยิ่งโดยปริยายตามที่กล่าวมาแล้ว /

22     ในกาลใดผู้มีปัญญาอยู่ด้วยพรหมวิหาร บังเกิดในกามภูมิยังสัมภาระให้เต็มและยังสัตว์ให้แก่รอบด้วยสัมภาระนั้น

23     ไม่อยู่ปราศจากพรหมวิหารในที่ทั้งปวง และเว้นจากฝ่ายตรงข้ามเป็นผู้ประมาทแล้วปัจจัยนั้นอันมีกำลัง ย่อมไม่ถึงซึ่งการกระทำวิเศษ

อรรถาธิบาย     ความแตกต่างแห่งเหตุ ผล และลิงค์ / ในที่นี้การอยู่ด้วยพรหมวิหาร คือ เหตุ / เกิดในสัตว์ผู้มีกาม คือผลอันวิบาก / การยังสัมภาระให้เต็มคือ ผลอันยิ่งใหญ่ / การ ยังหมู่สัตว์ให้แก่รอบคือ ผลแห่งการกระทำของบุรุษ / ผู้ไม่อยู่ปราศจากพรหมวิหารเกิดแล้วในที่ทั้งปวงคือผลอันไหลออก / และผู้เว้นจากฝ่ายตรงข้ามคือ ผลอันประกอบพร้อมวิเศษ / การไม่ถึงการกระทำวิเศษด้วยปัจจัยอันมีกำลังคือ ลิงค์ / ผู้ประมาทในปฏิปักษ์ ผู้ไม่ยินดีและไม่เป็นผู้มีหน้าพร้อม / ความแตกต่างแห่งคุณและโทษด้วยโศลก 4 เหล่าอื่น(คือ) /

24     พระโพธิสัตว์ผู้ประกอบพยาบาท วิหิงสา ความไม่ยินดียิ่งและด้วยกามราคะแห่งพยาบาท ย่อมถูกต้องโทษอันมีอย่างมากมาย

อรรถาธิบาย     นี้คือโทษ / ใรความไม่มีแห่งพรหมวิหาร เพราะประกอบฝ่ายตรงข้ามกับพรหมวิหารนั้น / ในที่นิ้ พยาบาทเป็นต้น เป็นฝ่ายตรงข้ามกับไมตรี เป็นต้น ตามลำดับ / กามราคะ แห่งพยาบาทเป็นฝ่ายตรงข้ามแห่งอุเบกขา / เพราะเหตุไร ท่านจึงกล่าวว่าย่อมถูกต้องโทษอันมีอย่างมาก /

25     ย่อมฆ่าตนด้วยกิเลส ย่อมฆ่าสัตว์ ย่อมฆ่าศีล เสื่อมจากยศและลาภ เสื่อมจากการรักษาของพระศาสดา

26     ผู้เป็นไปด้วยอธิกรณ์ไม่มียศ เกิดในที่อื่นอันไม่มีการรักษาเป็นผู้เสื่อมจากการได้และไม่ได้ ย่อมถึงซึ่งทุกข์ใหญ่ในใจ

อรรถาธิบาย     ในที่นี้ ท่านแสดงโทษเมื่อบุคคลมีใจพยาบาทตนเอง พยาบาทคนอื่น พยาบาททั้ง 2 อย่าง ด้วยบท 3 บทแรก / ด้วยบททั้ง 6มีความปรารถนา เป็นต้น ท่านแสดงว่าทิฐิธรรม ย่อมประสบความเสื่อม / ก็ย่อมประสบอย่างไร / ย่อมตำหนิตน / ตำหนิคนอื่นแม้เทวดา / แม้พระศาสดาและพรหมจารี ผู้รู้ เหล่าอื่นย่อมติเตียนโดยธรรม /และผู้บาป ผู้มีศัพท์และโศลกอันมีโทษในทิศน้อยทิศใหญ่ ย่อมไม่ประพฤติ นี้คือ ความปรารถนาจนกระทั่งถึงผู้ไม่มียศ อันท่านแสดงแล้วด้วยโศลกนี้ ตามลำดับ / ด้วยบททั้ง 3 ที่เหลือทิฐิธรรมและสัมปรายิกธรรมย่อมประสบความเสื่อมในสัมปรายิกภาพ /ท่านแสดงทุกข์อันเป็นไปในทางใจ โทมนัส ความเดือดร้อนว่าเป็นโทษนั้น /

27     โทษเหล่านี้ทั้งหมดย่อมไม่มีแก่ผู้ตั้งมั่นในไม่ตรีเป็นต้น ผู้ไม่เศร้าหมอง ย่อมไม่ละสังสาร เพื่อประโยชน์แห่งสัตว์

อรรถาธิบาย     อย่างนี้ / ท่านแสดงคุณอันมีอย่าง 3 ในการประกอบพรหมวิหาร / ความไม่มีโทษตามที่กล่าวแล้วแห่งบุคคลผู้ไม่เศร้าหมองการไม่ละสังสารเพราะเหตุแห่งสัตว์ /

28     เจตนามีไมตรีเป็นต้นนี้ของผู้เกิดแต่พระชินเจ้า ย่อมมีในสัตว์ทั้งหลายฉันใด ย่อมไม่มีในผู้มีบุตรเพียงคนเดียวผู้มีคุณแก่สรรพสัตว์ฉันนั้น

อรรถาธิบาย     ท่านแสดงเจตนาแห่งไม่ตรีเป็นต้นของพระโพธิสัตว์ด้วยโศลกนี้ ดังนี้ /

โศลกว่าด้วยการจำแนกกรุณา เพราะปรารภประเภทแห่งพื้นฐานของกรุณานั้น 2 โศลก

29-30     มีความกรุณาต่อสัตว์ ผู้อันไฟติดทั่วแล้ว ผู้เป็นไปในอำนาจของศัตรู ไม่ก้าวลวงทุกข์ เจริญในความมือ ตั้งอยู่ในหนทางอันลำบาก ผูกติดอยู่กับเครื่องผูกใหญ่ โลเลในการก้าวล่วงอารมณ์อันมียาพิษใหญ่ หลงทาง ตั้งอยู่ในหนทางเลว ผู้ไม่มีกำลัง

อรรถาธิบาย     ในที่นี้ผู้บริโภคกามสุขด้วยกามราคะ  / เป็นไปในอำนาจของศัตรูคืออันตรายอันมารกระทำแล้ว ไม่ประกอบในกุศล ไม่ก้าวล่วงทุกข์ มีทุกข์ครอบงำในนรกเป็นต้น / เจริญในความมืดประพฤติทุกจริตโดยส่วนเดียว / เพราะประชุมพร้อมด้วยวิบากแห่งกรรม / ตั้งอยู่ในหนทางอันลำบาก มีปรินิพพานอย่างอื่นเพราะไม่เข้าไปตัดเสียซึ่งที่สุดซึ่งสังสารวัฏ / ผูกติดอยู่กับเครื่องผูกใหญ่คือ ตั้งมั่นในโมกษะแห่งอัญเดียรถีย์ เพราะถูกผูกด้วยเครื่องผูกคือ ยึดถือ ในทิฐิชั่วต่างๆ โลเลในการก้าวล่วงอารมณ์อันมียาพิษใหญ่ คือ ยึดติดในสมาบัติ / เพราะสมาบัติสุขแห่งบุคคลเหล่านั้นเป็นสิ่งเศร้าหมอง / สำราญในการหลอกลวงอันไม่ก้าวล่วงยาพิษอย่างไร / เพราะความเนิ่นช้าจากการนั้น / หลงทางคือ มีอภิมานะ เพราะหลงทางแห่งความหลุดพ้น / ตั้งอยู่ในหนทางอันชั่ว คือ ประกอบในหีนยาน ไม่เที่ยงแท้ / ไม่มีกำลังคือพระโพธิสัตว์ผู้มีสัมภาระไม่บริบูรณ์ / นี้คือพื้นฐานแห่งความกรุณาของพระโพธิสัตว์ต่อสัตว์อันมีอย่าง 10 ดังนี้แล /

โศลกว่าด้วยการเห็นผล 5 แห่งความกรุณา

31     โพธิแห่งผู้เกิดแต่พระชินเจ้า ผู้อาศัยธรรมอันเข้าไปตัดการเบียดเบียน อันเป็นพีชะแห่งโพธิที่สูงสุด อันนำมาซึ่งสุข อันเป็นแสงสว่าง อันเป็นเหตุที่น่าปรารถนา อันเกิดขึ้นแห่งสวภาวะไม่อยู่ในที่ไกล /

อรรถาธิบาย     เพราะเหตุนั้น ด้วยความเข้าไปทำลายการเบียดเบียน ท่านแสดงผลแห่งการไม่ประกอบพร้อม เพราะไม่ประหารเสียงซึ่งวิหิงสาอันเป็นปฏิปักษ์ / ผลแห่งความเป็นใหญ่เพราะความเป็นพีชะแห่งโพธิที่สูงสุด /ผลแห่งการกระทำของบุรุษด้วยการนำมาซึ่งความสุขและกระทำความสว่างไสว เพื่อคนอื่นและตนตามลำดับ / ผลแห่งวิบากด้วยความมีเหตุอันน่าปรารถนา / ผลแห่งการไหลออก ด้วยการให้ความเป็นสวภาวะ เพราะให้ผลแห่งกรุณาอันวิเศษ / อาศัยกรุณาอันมีอย่าง 5 อย่างนี้ พึงทราบว่าความเป็นแห่งพุทธะอยู่ในที่ไม่ไกล /

โศลกว่าด้วยความที่นิรวาณในสังสารอันไม่มั่นคง

32     เมื่อรู้การถึงสังสารอันเลิศเสมอ อันมีทุกข์และไม่มีตัวตน ผู้มีความกรุณา มีพุทธิอันเลิศ ย่อมไม่ถึงความโศกเศร้าและไม่ถูกผูกติดด้วยโทษทั้งหลาย

อรรถาธิบาย     พระโพธิสัตว์รู้รอบซึ่งสังสารทั้งปวงตามความเป็นจริง ย่อมไม่เข้าถึงความโศกเศร้า เพราะความเป็นผู้มีกรุณา / ไม่ถูกผูกติดด้วยโทษทั้งหลาย เพราะความมีพุทธิอันเลิศ / ย่อมเป็นผู้ไม่ตั้งมั่นในนิรวาณในสังสารอย่างนี้ตามลำดับ /

โศลกว่าด้วยความรู้รอบซึ่งสังสาร

33     ผู้ไม่เพ่งโลกอันมีความทุกข์ ถึงความทุกข์และรู้ว่าเป็นเหมือนเช่นนั้น ย่อมเว้นรอบอุบายอันยิ่งหรือไม่ถึงความเดือดร้อน ผู้มีความกรุณาปราณี

อรรถาธิบาย     มีความทุกข์คือ มีความกรุณา / รู้ว่าเป็นเหมือนเช่นนั้นคือ ย่อมรู้อุบายวิธีในการเว้นทุกข์นั้นตามความทุกข์อันเป็นจริง / ทุกข์ของคนนั้นย่อมดับไปด้วยเหตุใด / รู้ทุกข์ในสังสารตามความเป็นจริง ความเดือดร้อนย่อมไม่เกิดขึ้นด้วยอุบายเป็นการสละรอบ พระโพธิสัตว์อันท่านแสดงว่ามีความวิเศษแห่งกรุณา /

โศลกว่าด้วยประเภทแห่งกรุณา 2 โศลก

34     ผู้มีความกรุณาโดยปกติ โดยการนับ โดยการประกอบการทบทวนการฝึกฝนในกาลก่อนและเป็นผู้ทำลายฝ่ายตรงข้ามเพราะการ ได้ความบริสุทธิ์ของผู้มีใจกรุณาอันนับว่ามีอย่าง 4

อรรถาธิบาย     ประเสริฐกว่า เพราะวิเศษโดยโคตรตามลำดับ / เพราะทดสอบคุณและโทษ / เพราะความเจริญแห่งที่สุดของการเกิด / และพึงทราบว่าเพราะการได้ความมีราคะ ไปปราศ / เมื่อการประหารวิหิงสาอันเป็นฝ่ายตรงข้ามมีอยู่ ย่อมได้ความบริสุทธิ์กล่าวคือ เพราะการได้ความเป็นผู้มีราคะไปปราศ/

35     สิ่งใดไม่เสมอสิ่งนั้นไม่เป็นความกรุณา เพราะอัธยาศัยหรือเพราะการปฏิบัติ เพราะการมีราคะไปปราศแล้วหรือเพราะการไม่ได้รับผู้ใด ไม่มีความกรุณาเหมือนอย่างนั้น ไม่ใช่พระโพธิสัตว์

อรรถาธิบาย     ในที่นี้ ความเสมอในความมีสุขเป็นต้น รู้แล้วว่าในที่นี้สิ่งนี้อันรู้อย่างใดอย่างหนึ่งแห่งทุกข์ / เพราะไม่สิ้นไปในนิรวาณอันไม่มีอุปธิเหลือ / เพราะการได้ความเสมอด้วยตนและผู้อื่น เพราะอัธยาศัยของผู้เขาไปสู่ภูมิแล้ว / โดยการปฏิบัติเพราะการกระทำการแปรไปแห่งทุกข์ / เพราะความมีราคะไปปราศคือ เพราะประหารวิหิงสาอันเป็นฝ่ายตรงข้าม / เพราะการไม่ได้รับคือ เพราะไม่มีธรรมและกษานติอันไม่อุบัติ/

โศลกว่าด้วยการภาพเฉพาะแห่งต้นไม้ของความกรุณา 5 โศลก

36      กรุณา กษานติ ความคิด ปณิธาน การเกิด ความแก่รอบแห่งสัตว์ นี้คือต้นไม้แห่งความกรุณา มีโคนใหญ่เป็นต้น มีดอก ใบ และผล

อรรถาธิบาย    ในที่นี้ พึงทราบว่าต้นไม้แห่งความกรุณาอันตั้งมั่นด้วยโคน ลำต้น กิ่งใบ ดอกและผล 5 / ความกรุณาแห่งต้นไม้นั้นเป็นโคน/ กษานติคือ ลำต้น / การคิดเพื่อสัตว์คือ กิ่ง/ ปณิธานในการเกิดอันงดงามคือ ใบ/ การเกิดอันงดงามคือ ดอก / ความแก่รอบแห่งสัตว์คือ ผล/

37     กรุณาไม่พึงเป็นโคน การประพฤติอันกระทำได้ยาก ไม่พึงเป็นความอดทนและความสิ้นไปแห่งทุกข์ ผู้มีปัญญา ไม่พึงคิดเพื่อสัตว์

38     พุทธิอันเว้นจากการคิด ไม่พึงกระทำปณิธานในการเกิดอันขาวไม่พึงถึงการเกิดอันงดงาม ไม่พึงยังสัตว์ให้แก่รอบ

อรรถาธิบาย     โดยโศลกทั้ง 2 ท่านสาธยายภาวะมีโคนเป็นต้น แห่งกรุณาเป็นต้น เพราะการสาธยายการประสบในโศลกก่อนและโศลกหลัง/

39     ไมตรีอันมีน้ำคือ กรุณา ความเป็นผู้มีความสุขในทุกข์นั้น เป็นการเลี้ยงดูอันไพบูลย์ ความเจริญด้วยสาขาอย่างกว้างขวาง พึงรู้ว่าเป็นโยนิโสมนสิการ

40     การถือเอกการตกไปและการบริจาคแห่งผู้มีปณิธาน เพราะไม่ขาดสาย เพราะการต่อเนื่องโดยความสำเร็จแห่งปัจจัยอันมีอย่างสองดอก แล้วจึงมีผลอันไม่สัมพันธ์จากดอกนั้น/

อรรถาธิบาย     โดยโศลกทั้ง2 นี้ ท่านแสดงการสาธยายโคนต้นไม้แห่งต้นไม้คือ ความกรุณา/ เพราะว่ากกรุณาท่านกล่าวว่าเป็นโคนต้นไม้ / ไมตรีหนึ่งแห่งต้นไม้นั้น เพราะอายตนะนั้นด้วยกรุณา / ไมตรีจิตมีความทุกข์เพราะทุกข์ของคนอื่น / จากนั้น ความทุกข์เกิดขึ้นเพราะกรุณา เมื่อพระโพธิสัตว์ประกอบประโยชน์ของตน ในที่นั้น การเลี้ยงดูอันบริบูรณ์เพราะเกิดขึ้นแห่งความสุข อรรถว่า การเลี้ยงดูด้วยกษานติ/ เพราะว่ากษานตินั้นท่านกล่าวแล้วว่าเป็นลำต้น/และลำต้นอันไพบูลย์/ เพราะโยนิโสมนสิการจึงมีความเจริญแห่งสาขาอันมีจำนวนมากในมหายาน /เพราะว่าการคิดท่านกล่าวแล้วว่าเป็นสาขา/ โดยลำดับแห่งการดับและการเกิดขึ้นของบุคคลอื่นในกาลก่อน เพราะไม่ตัดขาดความต่อเนื่องของปณิธาน / พึงทราบความที่ท่านสาธยายการยึดถืออันตกต่ำและการสละแห่งปณิธาน / เพราะความสำเร็จแห่งปัจจัยอันมีในภายใน เพราะการยังสันดานของตนให้แก่รอบ พึงทราบว่าการเกิดอันไม่มีสัมพันธ์เป็นเพียงดังดอก /เพราะความสำเร็จแห่งปัจจัยภายนอก เพราะการยังสันดานของคนอื่นให้แก่รอบ เป็นผล พึงทราบว่าเป็นการยังสัตว์ให้แก่รอบ/

โศลกว่าด้วยการสรรเสริญกรุณา

41     ใครไม่ทำความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย ผู้กระทำคุณคือความกรุณาใหญ่ ความสุขอันไม่สมดุลย่อมมีในทุกข์ อันเป็นเหตุเกิดความกรุณาของคนเหล่านั้น

อรรถาธิบาย     ในที่นี้ คุณคือความกรุณาอันยิ่งใหญ่ อันท่านแสดงแล้วด้วยถึงคาถาหลัง / ส่วนที่เหลือมีเนื้อความอันท่านอธิบายแล้ว / โศลกว่าด้วยการไม่ข้องอยู่ในความกรุณา

42     ใจถูกความกรุณาห้ามไว้ย่อมไม่ตั้งอยู่ในความสงบแห่งความกรุณาปราณี ในความมีสุขอันเป็นของโลก ความรักในชีวิตของตนพึงมีแต่ที่ไหนแล

อรรถาธิบาย     ความรักในโลกิยสุข และในชีวิตของตนแห่งโลกทั้งปวง / แม้ในที่นี้ ใจของพระสาวกและพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้ไม่มีความรักอันตั้งอยู่ในนิรวาณ อันเข้าไปสงบแห่งทุกข์ทั้งปวง / แต่ว่าใจของพระโพธิสัตว์ไม่ตั้งอยู่ในนิรวาณ เพราะเข้าไปสู่ความกรุณา / ความรักต่อสิ่งทั้งสองจักมีแต่ที่ไหน

โศลกว่าด้วยความพิเศษแห่งความรักและกรุณา 3 โศลก

43    ความรักใดอันเป็นความผิดพลาดย่อมไม่มี อันเป็นโลกิยะย่อมไม่มี ความกรุณาและความรักอันไม่ผิดพลาด ในผู้มีปัญญาและไม่เป็นโลกิยะ

อรรถาธิบาย     ก็ความรักอันมีตัณหาของมารดาบิดาและผู้เลี้ยงดู เป็นไปกันด้วยความผิดพลาด / ความรักของผู้อยู่ความความกรุณาอันเป็น โลกียะ แม้ไม่มีความผิดพลาดก็เป็นโลกียะ / แต่ความรักอันสำเร็จแต่ตัณหาของพระโพธิสัตว์ทั้งไม่ผิดพลาดและก้าวล่วงความเป็นโลกิยะด้วย/ ท่านกล่าวแล้วว่า อีกประการหนึ่ง ความคิดผิดพลาดจักมีอย่างไร ดังนี้/

44     โลกอันอาศัยในความร้อนรน เพราะไม่รู้ทุกข์และในความมืดใหญ่ อุบายใดเพื่อช่วยเหลือไม่พึงมีอย่างไร อุบายนั้นเป็นความไม่ผิดพลาด

อรรถาธิบาย     ควรประกอบว่าในความร้อนรนเพราะทุกข์และในความมืดใหญ่เพราะไม่รู้ / ส่วนที่เหลือมีอรรถอันอธิบายแล้ว / ท่านกล่าวว่าย่อมก้าวล่วงซึ่งโลกได้อย่างไร ดังนี้/

45    ความรักของพระผู้รู้โพธิโดยปัจเจก ผู้ทำลายศัตรูในโลกย่อมไม่มี จะป่วยกล่าวไปใยถึงความรักของบุคคลอื่น ท่านไม่พึงเป็นโลกุตตระได้อย่างไร

อรรถาธิบาย     ผู้รู้โพธิแห่งพระปัจเจกพุทธเจ้า / ส่วนที่เหลือมีอรรถอันอธิบายแล้ว

46    ทุกข์ใด ย่อมมีในความไม่มีทุกข์ ด้วยความกรุณาของพระโพธิสัตว์ในเบื้องต้น ย่อมมีความเดือดร้อน แต่การยึดถืออันบุคคลสัมพันธ์แล้วย่อมยินดียิ่ง

อรรถาธิบาย     ในความไม่มีแห่งทุกข์คือ อภาวะแห่งทุกข์อันเป็นนิมิต / ทุกข์ใดย่อมเกิดขึ้นแห่งพระโพธิสัตว์ เพราะมีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย ในเบื้องต้น ย่อมมีความเดือดร้อน ในภูมิเป็นที่ประพฤติเพื่อหลุดพ้น / ด้วยความมีตนเสมอด้วยคนอื่น เพราะการสัมผัสทุกข์ตามความเป็น / แต่ว่าครั้นสัมผัสแล้วย่อมเพลิดเพลินในภูมิอันมีอัธยาศัยอันปริสุทธิ์มีอรรถดังนี้แล/

โศลกว่าด้วยการครอบงำสุขด้วยทุกข์เพราะความกรุณา

47    ทุกข์ใดอันอัศจรรย์สิ่งกว่านี้ย่อมครอบงำความมีสุขทั้งปวงเป็นโลกอันเกิดขึ้นด้วยความกรุณาใด เขาเป็นผู้หลุดพ่นมีอรรถอันกระทำแล้ว

อรรถาธิบาย     ทุกข์ใดอันอัศจรรย์กว่านี้ย่อมไม่มี สุขของพระโพธิสัตว์อันเกิดขึ้นเพราะความกรุณาย่อมมี / ย่อมครอบงำอันเป็นโลกิยะทั้งปวง /  เขาเป็นผู้หลุดพ้นด้วยสุขใด แม้เป็นพระอรหันต์มีอรรถอันกระทำแล้วจักป่วยกล่าวไปใยถึงบุคคลอื่นเล่า/

โศลกว่าด้วยการสรรเสริญทานที่กระทำด้วยความกรุณา

48    ทานที่ประกอบด้วยความกรุณา ย่อมกระทำความสุขจากการให้แก่ผู้เป็นปราชญ์ด้วยการอุปโภคสุขนั้นอันเป็นไปในโลกธาตุทั้ง 3 ย่อมไม่ได้สัมผัสเสี้ยวแห่งสุขนั้น

อรรถาธิบาย     สุขด้วยเครื่องอุปโภคอันเป็นไปในโลกธาตุทั้ง 3 ที่บุคคลกระทำแล้วใด สุขนั้นย่อมไม่สัมผัสเสี้ยวแห่งสุขนั้น นี้คืออรรถแห่งกึ่งหลัง(ของโศลก)/ ส่วนที่เหลือมีอรรถอันอธิบายแล้ว/

โศลกว่าด้วยการเข้าถึงยิ่งซึ่งทุกข์ด้วยความกรุณา

49     บุคคลย่อมไม่ละสังสารอันมีทุกข์ ด้วยความกรุณาเพื่อสัตว์ ทุกข์เพราะเหตุแห่งประโยชน์ของคนอื่นจักไม่เกิดขึ้นพร้อมด้วยผู้มีความกรุณาเพราะเหตุไร /

อรรถาธิบาย     ก็ทุกข์ทั้งปวงเป็นไปในภายในทุกข์แห่งสังสาร / ทุกข์ทั้งปวงเป็นการเข้าถึงยิ่ง เพราะการเข้าถึงยิ่งแห่งทุกข์นั้น/

ในที่นี้โศลกว่าด้วยความเจริญขึ้นแห่งผลนั้น/

50     กรุณา ทาน โภคะ ย่อมยังความเจริญขึ้นแห่งความปราณีให้เกิดขึ้นตลอดเวลา สุขอันเกิดขึ้นเพราะความรักและการอนุเคราะห์และอันกระทำซึ่งอำนาจ ก็มีจากสิ่งนั้น

อรรถาธิบาย     ทั้ง 3 อย่าง ย่อมเป็นไปในการเกิดทั้งปวงของพระโพธิสัตว์ เพราะการประกอบกรุณา / กรุณา โดยการฝึกฝน / ทานโดยอำนาจกรุณา / โภคะ โดยอำนาจทาน / สุขอันมีผลเป็นอย่าง 3 ย่อมมีจากสามสิ่งนี้ / อันเกิดขึ้นเพราะความรักคือ เพราะกรุณา / อันเกิดขึ้นเพราะการอนุเคราะห์คือ เพราะ โภคะ /

โศลกว่าด้วยความอุตสหะในทาน

51    ย่อมเจริญ ถูกทำให้เจริญในทาน ถูกทำให้แก่รอบถึงความสุข ข้าพเจ้าย่อมชักชวนย่อมนำไป ได้พูดอย่างนี้ว่า กรุณาตั้งมั่นแล้วต่อพระโพธิสัตว์ผู้ไม่มีความมีอยู่ในทานด้วยคุณหก / ด้วยความเจริญแห่งสภาวะ / ด้วยความเจริญด้วยโภคะ / ด้วยการยังสัตว์ให้แก่รอบด้วยทาน / ผู้ให้ย่อมยังสุขให้เกิดขึ้น / เพราชักชวนบุคคลอื่นด้วยสัมภาระแห่งมหาโพธิ / และเพราะนำไปใกล้มหาโพธิ

โศลกว่าด้วยความมีแห่งสุขด้วยความมีสุขของบุคคลอื่น

52    เพราะมีความกรุณาจึงมีทุกข์ในทุกข์ ความกรุณาให้ความสุขไม่ได้ ความเป็นผู้มีสุขพึงมีด้วยเหตุไร ย่อมยังตนให้เป็นสุขเพราะยึดถือด้วยความกรุณาปราณีต่อความสุขของคนอื่น

อรรถาธิบาย     เพราะความกรุณาพระโพธิสัตว์จึงมีทุกข์ เพราะความทุกข์ของบุคคลอื่นไม่อนาทรต่อสัตว์ทั้งหลาย พึงเป็นผู้มีความสุขอย่างไร / เพราะเหตุนั้นมอบความสุขให้คนอื่นแล้ว พึงทราบว่าพระโพธิสัตว์จึงทำตนให้มีความสุข /

โศลกว่าด้วยการสรรเสริญพร้อมแห่งทานด้วยความกรุณา 6 โศลก

53     โดยปกติ ผู้มีความกรุณาเป็นผู้ไม่ปรารถนาความสุขเพื่อตน ย่อมให้ทานของตนเพื่อความสุขของบุคคลอื่นหรือ ความสุขของเราเป็นสิ่งประกอบด้วยความสุขของคนอื่น ด้วยโภคะ

อรรถาธิบาย     สุขของผู้มีความกรุณาเว้นจากสุขของคนอื่นย่อมไม่มี / พระโพธิสัตว์เว้นจากสุขอันประกอบด้วยความกรุณาแล้ว ย่อมไม่ปรารถนาสุขอันเป็นผลแห่งทาน/

54    ทานที่เป็นไปกับด้วยผลอันเราให้แล้วในสัตว์ทั้งหลาย เพราะสุขแห่งสุขนั้น ถ้าว่าผลนั้นไม่มีแก่สัตว์เหล่านั้น สิ่งที่เราพึงทำแก่สัตว์เหล่านั้นย่อมมี

อรรถาธิบาย     การให้ทานและทานเป็นทานมีผลอันเราให้แล้วในสัตว์ทั้งหลาย / สุขแห่งสัตว์เหล่าใด สุขนั้นเป็นของเราเหมือนกัน / ดังนั้น พึงให้ผลในสัตว์เหล่านั้นเพียงใด ย่อมเป็นความปรารถนาว่าผลดังนี้ เพียงนั้น / พระโพธิสัตว์ย่อมตามสอนซึ่งเรื่องทานด้วยความกรุณา /

55    ผู้ให้โภคะและความเศร้าโศก โภคะอันดีงามกว่าจำนวนมากย่อมมาถึง แต่ว่าสุขนั้นอันเราไม่ได้รู้ว่า เราเป็นผู้มีฝั่งอันบริบูรณ์ในทานของเรา /

อรรถาธิบาย     โภคะของผู้ให้ผู้มีหน้าปราศจากโภคะ ย่อมตั้งมั่นจำนวนมากยิ่งกว่า /และงดงามยิ่งกว่า / นี้เป็นธรรมดาแห่งจิต เพราะความใจกว้างยิ่งกว่า / แต่ว่าสุขนั้นอันเราไม่รู้ว่าเพราะเหตุใด โภคะจึงตั้งมั่นอย่างนั้น / เพราะเหตุใด เราเป็นผู้ปรารถนาการผูกในทานไม่ใช่ในสุขเป็นธรรมเนียม /

56    ท่านย่อมเพ่งเล็งข้าพเจ้าในการบริจาคสิ่งที่มีอยู่ทั้งปวงด้วยความกรุณาอย่างต่อเนื่อง อันท่านพึงรู้ว่า เราไม่มีความต้องการด้วยผลนั้นมิใช่หรือ ดังนี้

อรรถาธิบาย     เราใดย่อมบริจาคผลแห่งทานทั้งปวง เป็นนิตย์ด้วยความกรุณา พึงทราบว่าความต้องการด้วยผลย่อมไม่มีแก่เราดังนี้ เพราะว่าพระโพธิสัตว์ย่อมสรรเสริญทาน

57    ก.เราเป็นผู้ยินดียิ่งในทานหามิได้ และเมื่อผลนั้นมาถึงแล้วก็ไม่รังเกียจผลนั้น

อรรถาธิบาย     เหมือนอย่างนั้นแล

57    ข.แม้ความอดทนเว้นจากทาน ก็ไม่เป็นผู้ยินดียิ่งในทานนั้นเทียว/

อรรถาธิบาย     ด้วยประการอย่างนี้ โศลกนี้มีเนื้อหางความอันอธิบายแล้ว

58    ก. ท่านไม่ให้ผล ซึ่งสิ่งที่ไม่กระทำแล้ว เพราะเป็นผู้หวังในการกระทำตอบ นี้ไม่สมดุลด้วยเรา

อรรถาธิบาย     ย่อมกระทำต่อท่านด้วยทานใด ทานย่อมไม่ให้ผลแก่บุคคลนั้น / เพราะเหตุนั้น ท่าน ไม่เสมอกับด้วยเรา เพราะมุ่งหวังการทำตอบ / เพราะว่าเราเป็นอย่างนั้น

58     ข. เป็นผู้ไม่คาดหวังต่อการทำตอบแทน ผู้ให้ผลในที่อื่นใดความปรารถนาของท่านย่อมมีแก่บุคคลนั้น

มีอรรถอันอธิบายแล้ว

โศลกว่าด้วยการให้ความกรุณา 2 โศลก

59    การให้ความกรุณาของผู้เกิดแต่พระชินเจ้า ไม่มีความผิดพลาด เป็นหนทางบริสุทธิ์นำประโยชน์เกื้อกูลมาให้ รักษาด้วยดี ไม่มีการจมลงและไม่มีการยึดมั่น

อรรถาธิบาย     ในที่นี้ไม่มีความผิดพลาด เพราะไม่เบียดเบียนคนอื่นแล้วให้ / เป็นหนทางบริสุทธิ์ เพราะให้วัตถุอันคิดแล้ว / เพราะเว้นจากยาพิษอาวุธและสิ่งมึนเมา เป็นต้น / นำประโยชน์เกื้อกูลมาให้ เพราะสงเคราะห์ด้วยทานแล้วประกอบในกุศล / รักษาด้วยดี กระทำการไม่เบียดเบียนคนรอบข้างแล้วให้แก่คนอื่น / ไม่มีการจมลง เพราะไม่เบียดเบียนผู้มีความต้องการในการขอหรือให้แก่ตนเอง เพราะไม่ถึงความเป็นอื่นแห่งความแก่ทักษิณา / ไมม่มีการยึดมั่น เพราะ ไม่มีการปรารถนาวิบากจากการกระทำตอบแทน/อีกประการหนึ่ง/

60    การให้ความกรุณาของผู้เกิดแต่พระชินเจ้ามีผล ไพบูลย์ ประเสริฐสุด ต่อเนื่อง ยินดี ปราศจากอมิส บริสุทธิ์ นำไปสู่โพธิ นำไปสู่กุศล

อรรถาธิบาย     ในที่นี้ มีผล เพราะให้วัตถุอันเป็นภายในและอันเป็นภายนอก / ไพบูลย์ เพราะให้วัตถุอันหลากหลาย / ประเสริฐสุด เพราะให้วัตถุอันประณีต / ต่อเนื่อง เพราะให้เนืองๆ / ยินดี เพราะให้สิ่งชอบใจอันไม่มีประมาณ / ไม่มีอามิส เช่นเดียวกับไม่มีการยึดติด / บริสุทธิ์เช่นเดียวกับเป็นหนทางบริสุทธิ์ / นำไปสู่โพธิ เพราะน้อมใจสู่มหาโพธิ / นำไปสู่กุศล เช่นเดียวกับ นำประโยชน์เกื้อกูลมาให้/

โศลกว่าด้วยความวิเศษแห่งอุปโภคะ(ความเพลิดเพลินยินดี)

61     ผู้มีความกรุณา มีใจอันมั่นตรงต่อความสุข 3 ประการย่อมเข้าถึงความยินดี เพราะการบริจาคฉันใด ผู้มีโภคะย่อมไม่ได้ความยินดีในอุปโภคะฉันนั้น

อรรถาธิบาย     ในที่นี้ สุข 3 ประการ คือ ปรีติเพราะให้อนุเคราะห์คนอื่น และปรีติเพราะสังสมสัมภาระเพื่อโพธิ / ส่วนที่เหลือมีเนื้อความอันอธิบายแล้ว /

โศลกว่าด้วยความกรุณาอันเป็นอภินิหารของบารมี

62    กรุณาเพราะสงสาร กรุณาเพราะใจเร็ว กรุณาเพราะโกรธ กรุณาในผู้ประมาททั้งหลาย กรุณาในอารมณ์อันเป็นปรตันตระ และกรุณาเพราะถือมั่นในสิ่งผิด

อรรถาธิบาย     ในที่นี้ ความสงสารคือ ความตระหนี่ / ใจเร็วคือทุศีล อันทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน/ โกรธคือโกรธ / ประมาท คือ เกียจคร้าน / อารมณ์อันเป็นปรตันตระ คือ จิตอันซัดส่ายไปในการทั้งหลาย / ถือมั่นในสิ่งผิดคือ ปัญญาทราม มีความเป็นเดียรถีย์เป็นต้น / ในความกรุณาเหล่านี้ ความกรุณาใดมีอยู่ในความตั้งมั่นแห่งธรรมอันเป็นฝ่ายตรงข้ามกับบารมี ความกรุณานั้น คือความกรุณาเพราะสงสารเป็นต้น / และความกรุณานั้น เกิดขึ้นพร้อมเพื่ออภินิหารแห่งบารมีเพราะประทุษร้ายฝ่ายตรงข้ามนั้น / เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าอภินิหารบารมี/

โศลกว่าด้วยการแสดงปัจจัยแห่งกรุณา

63    ความกรุณาของพระโพธิสัตว์ เพราะสุข เพราะทุกข์ เพราะการทำให้สืบต่อ ความกรุณาของพระโพธิสัตว์ เพราะเหตุ เพราะมิตร เพราะสวภาวะ

อรรถาธิบาย     ในที่นี้ ท่านแสดงปัจจัยแห่งพื้นฐานแห่งความกรุณาด้วยกึ่งโศลกแรก/

การได้เวทนาอันมีอย่าง 3 เพราะความกรุณาอันมีทุกข์ 3 ประการ / เพราะว่าเวทนาอันไม่ทุกข์ไม่สุข เป็นการสืบต่อสุขและทุกข์ เพราะนำสุขและทุกข์นั้นมาอีก / ด้วยกึ่งโศลกหลัง ท่านแสดงปัจจัยโดยรอบแห่งเหตุและความเป็นใหญ่ ด้วยความกรุณา เพราะเหตุ มิตร และสวภาวะ ตามลำดับ /

โศลกว่าด้วยความยิ่งใหญ่แห่งกรุณา

64     ความกรุณาของพระโพธิสัตว์ เสมอ พึงรู้ได้ความอาศัย เป็นการปฏิบัติ มีราคะ ไปปราศ ไม่มีการยึดติด และบริสุทธิ์

อรรถาธิบาย     ในที่นี้ เสมอ เพราะรู้ว่า เวทนานี้อย่างใดอย่างหนึ่งในความตั้งมั่นแห่งเวทนาอันมีอย่าง3 / เวทนานั้นควรเป็นทีอาศัย เพราะความกรุณาด้วยจิต / แม้การปฏิบัติก็เพราะเป็นการต้านทานรอบ / มีราคะ ไปปราศแล้ว เพราะประหารเสียซึ่งวิหิงสาอันเป็นฝ่ายตรงข้ามกับความกรุณานั้น / ไม่มีความยึดติด เพราะไม่ยึดติดต่อความกรุณาของตนและผู้อื่น / บริสุทธิ์ เพราะได้รับธรรมและกษานติอันเป็นเหตุให้อุบัติในภูมิทั้ง8/

65     การเจริญไมตรีอันเลิศ ความมีจิตของตน ความมีธรรม ความมีอธิโมกข์ ความอาศัยความเป็นตัวของตัว ความไม่มีหลอกลวง และความเป็นหนึ่ง

อรรถาธิบาย     มีประการดังนี้ / เนื้อความแห่งอนุสารอันแสดงแล้สในตอนก่อนอันบัณฑิต พึงไปตาม/

66    ด้วยประการดังนี้ ความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นในพระผู้มีพระภาคเจ้ากระจายไปด้วยอุปธิอันยิ่งใหญ่ บูชายิ่งด้วยกริยา คบเนืองนิตย์ด้วยมิตรผู้มีคุณและประโยชน์เกื้อกูลมาก อนุเคราะห์แก่โลก ย่อมถึงซึ่งความสำเร็จทั้งปวง /

อรรถาธิบาย     โดยโศลกนี้ท่านแสดง คุณตามลำดับแห่งการบูชา การคบ การนอบน้อม ตามที่กล่าวแล้ว อย่างย่อๆ / อรรถแห่งกระจายไปด้วยอุปธิอันยิ่งใหญ่และบูชายิ่งด้วยกริยา พึงทราบว่าเป็นการกระจายไปซึ่งการบูชา และผู้บูชาด้วยสัจกิริยาอันมีอำนาจ /อีกประการหนึ่งสัจกิริยาพึงทราบว่าคือ สัมมาปฏิบัติ / เป็นผู้มีการปฏิบัติบูชาและสักการบูชา / มิตรผู้มีคุณมากด้วยคุณอย่างอื่น / พึงทราบด้วยความเป็นผู้อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล / ย่อมถึงความสำเร็จทั้งปวงคือ ย่อมบรรลุความสำเร็จแห่งประโยชน์ของตนและผู้อื่น ด้วยประการฉะนี้

อธิการที่ 17 ความไม่มีประมาณแห่งการบูชาและการคบ ในมหายานสูตรลังการ จบ.

อธิการที่ 18

 

อธิการที่ 18

โศลกว่าด้วยการจำแนกความละอาย

โศลกว่าด้วยการจำแนกความละอาย 16 โศลก

1 ในผู้เป็นปราชญ์ ความละอาย การทำลายฝ่ายตรงข้ามด้วยความรู้ และการไปด้วย ความปราศจากการหลอกลวง มีอารมณ์อันมีโทษที่ละได้แล้ว และการหมู่สัตว์ให้รอบแก่รอบ

อรรถาธิบาย     ด้วยโศลกนี้ ท่านแสดงลักษณะ 4 ประการของความละอายของพระโพธิสัตว์ ด้วยความถึงพร้อมแห่งสวภาวะ สหาย พื้นฐานและกรรม / ด้วยอารมณ์อันมีโทษทีละ ได้แล้ว / สิ่งนั้นเป็นสาวกยานและปัจเจกพุทธยานและเป็นมหายานอันไม่มีโทษ / พระโพธิสัตว์ย่อมละอายด้วยสิ่งนั้น / ยังหมู่สัตว์ให้แก่รอบอย่างไร / บารมีคือความละอายของพระโพธิสัตว์นั้น เจริญด้วยฝ่ายตรงข้ามและประหารเสียซึ่งธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ นี้แลคืออรรถ เพราะการเกิดขึ้นแห่งความละอาย /

2      เป็นผู้เกียจคร้านต่อการเสพบารมี 6 ประการ และการประกอบธรรมอันเกื้อกูลต่อกิเลส เป็นความละอายของนักปราชญ์

อรรถาธิบาย     การประอย่างนี้เป็นความละอาย เพราะไม่ประกอบการเจริญบารมี / และเพราะประกอบในทวารทั้งหลายอันไม่ควบคุมอินทรีย์ในธรรมทั้งหลายอันเกื้อกูลต่อกิเลสเพราะการเกิดขึ้นแห่งความละอาย

3      ความละอาย อันมีสวภาวะ ไม่มาตามพร้อมแล้ว อันละเอียด กลาง มีภูมิต่ำ มีการอาศัย เลว มีความเสมอ เลว เป็นโดยประการอื่น และมากเกิน

อรรถาธิบาย     นี้เป็นความละอายอันน้อยหรือยิ่งเกิน / พึงเข้าใจตามเนื้อความแห่งโศลกตามที่ได้แสดงสาระ ไว้ก่อนแล้ว / ดังนั้น ท่านแสดงความแตกต่างแห่งคุณและโทษ ของความละอาย ในความเป็นฝ่ายตรงข้ามกับความละอายด้วยโศลกทั้ง 4 อื่นอีก และด้วยโศลกทั้ง 3 นี้ ตามลำดับ/

4      ผู้มีปัญญา เว้นจากความละอาย ไม่อยู่กับด้วยกิเลสโดยไม่แยบคาย มีใจวางเฉยต่อปฏิฆะย่อมประหารสัตว์และศีล

อรรถาธิบาย     ด้วยประการอย่างนี้ ในที่นี้ ท่านแสดงว่าเขามีเจตนาเพื่อความชั่วด้วยตนและเพื่อความชั่วด้วยคนอื่น และเพื่อความชั่วทั้งสองฝ่าย / โดยไม่แยบคายคือ ไม่มีโยนิโสมนสิการ / ย่อมประหารสัตว์ด้วยอุเบกขาอย่างไร / ด้วยความประมาทต่อประโยชน์ของสัตว์/

5      เป็นผู้เลวทราม เพราะทำกรรมชั่ว ย่อมได้รับความเสื่อมจากความนับถือ เพราะเหตุนั้นจึงวางเฉยต่อศาสตร์ เพราะศรัทธาแห่งตนและเพราะหมู่แห่งมนุษย์

6ก.    ผู้เกิดแต่พระชินเจ้าเลวทรามถูกสหธรรมิกติเตียน ได้รับความเสื่อมยศจากโลกในทิฐิธรรม

อรรถาธิบาย     ด้วยโศลกนี้ ท่านแสดงว่าในวันนี้ ย่อมประสพกับทิฐิธรรมดังนี้ / เพราะการตำหนิแห่งตน คนอื่น เทวดาและศาสดา ตามลำดับ / อันสพรหมจารีผู้รู้พึงข่มด้วยความเป็นธรรมดา / เพราะไม่ประพฤติการเว้นจากบาปในทิศทั้งปวง /

6ข.    โดยมากผู้เว้นจากขณะย่อมเกิดในโลกอื่น

อรรถาธิบาย     ด้วยโศลกนี้ท่านแสดงว่าย่อมประสบในสัมปรายิกธรรม ดังนี้ เพราะการอุบัติอันไม่มีขณะ

7ก.    ย่อมได้รับความเสื่อมแห่งสิ่งที่ได้รับแล้ว และยังไม่ได้รับด้วยธรรมอันขาว

อรรถาธิบาย     ด้วยโศลกนี้ท่านแสดงว่า ย่อมประสบในทิฐิธรรมและสัมปรายิกธรรม / เพราะเสื่อมจากกุศลธรรมที่บรรลุแล้ว / และเพราะเสื่อมจากธรรมที่ไม่บรรลุ ตามลำดับ /

7     ข.ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้นจึงมีใจอันถึงซึ่งความไม่มั่นคง

อรรถาธิบาย     ด้วยโศลกนี้ท่านแสดงว่าทุกข์อันเป็นไปในทางในที่เกิดขึ้นนั้น เพราะได้ประสบกับสิ่งที่เป็นโทมนัสดังนี้ /

8ก.    โทษทั้งปวงเหล่านี้ย่อมมีในความละอาย ไม่มีในผู้เกิดแต่พระชินเจ้า

อรรถาธิบาย     ด้วยเหตุนั้นพึงทราบ เพราะยึดถือความมีคุณคือ ความละอาย / เพราะฉะนั้นโทษเหล่านั้นจึงไม่มี

8ข.    ผู้รู้ย่อมเกิดในเทวดา และในมนุษย์เป็นนิตย์

อรรถาธิบาย     นี้เป็นผลแห่งวิบากของบุคคลนั้นแล

9ก.    ผู้มีปัญญานั้นยังสัมภาระแห่งโพธิให้เต็ม โดยพลันด้วยความละอาย

อรรถาธิบาย     นี้เป็นผลอันยิ่งใหญ่แล

9ข.    และพระชินบุตรย่อมไม่ผิดพลาดด้วยการยังสัตว์ให้แก่รอบ /

10ก.  เขาเว้นจากฝ่ายตรงข้ามและปฏิปักษ์และไม่เว้น ย่อมเกิดอย่างต่อเนื่องติดต่อ

อรรถาธิบาย     นี้เป็นผลแห่งการไหลออกแห่งการประกอบพร้อม / ดังนั้น นี้เป็นความเว้นจากฝ่ายตรงข้าม และความไม่เว้นจากปฏิปักษ์/

10ข.     ด้วยประการฉะนี้ การสรรเสริญจึงมีว่าพระชินบุตร ผู้มีความละอายอยู่ ย่อมบรรลุ

อรรถาธิบาย     ท่านแสดงไว้อย่างนี้ว่า ย่อมได้รับ การประกอบด้วยคุณอันไม่มีโทษ ตามที่กล่าวแล้ว /

11     คนพาลผู้แห่งเหี่ยวไปเพราะโทษ แม้คุ้มครองดีแล้วด้วยเครื่องประดับก็เพราะเว้นจากความละอาย บุตรแห่งพระชินเจ้า แม้ปราศจากเครื่องประดับ แต่มีความละอายก็เป็นผู้พ้นจากโทษและมลทิน

อรรถาธิบาย     ด้วยโศลกนี้ ความวิเศษแห่งเครื่องประดับคือ ความเป็นผู้ละอาย / เพราะความที่ผู้เว้นจากความละอายห่อคลุมด้วยอาภรณ์อย่างอื่น เป็นผู้มีโทษและมลทิน /  และเพราะความที่ผู้เปือยผู้ละอายอยู่ไม่มีมลทิน /

12ก.    บุตรแห่งพระชินเจ้า ผู้ประกอบด้วยความละอาย ย่อมเป็นผู้ไม่มีมลทินด้วยธรรมทั้งหลายเพียงดังอากาศ

อรรถาธิบาย     ธรรมทั้งหลาย ได้แก่โลกธรรม /

12ข.    และผู้ประดับด้วยความละอายถึงความงดงาม ย่อมงดงามแห่งผู้เกิดแต่พระชินเจ้าทั้งหลาย

อรรถาธิบาย     โดยโศลกนี้ท่านแสดงความละอายว่าเสมอด้วยกาบอากาศและเครื่องประดับ /

13ก.     ความละอายของพระโพธิสัตว์ในวินัยทั้งหลายเป็นเช่นกับความรักของมารดา

อรรถาธิบาย     เพราะละอายต่อการวางเฉยต่อสัตว์ที่ควรปกป้อง

13ข.     ความละอายอันเป็นเครื่องป้องกันโทษทั้งปวงแห่งสังสาร

อรรถาธิบาย     เพราะความเป็นหมู่แห่งช้างและม้าเป็นต้น / ในการอยู่ด้วยที่สุดแห่งทิฐิมีอาภรณ์ เป็นต้น เหล่านี้ อันเป็นปฏิปักษ์แห่งกิเลสและเป็นปฏิปักษ์แก่โลกธรรม / อันเกื้อกูลต่อการอยู่พร้อมด้วยสหธรรมมิก / อันเกื้อกูลต่อการยังสัตว์ให้แก่รอบ / และย่อมแสดงความละอายแห่งการเกื้อกูลต่อสังสารอันไม่เศร้าหมอง /

14     การไม่อยู่ทับในสิ่งทั้งปวง การอยู่ทับในสิ่งทั้งปวง การหมุนไปในสิ่งทั้งปวง การไม่หมุนไปในสิ่งทั้งปวง ลิงค์แห่งผู้มีความละอายอันเว้นจากความละอาย

อรรถาธิบาย     โดยโศลกนี้ท่านแสดงลิงค์อันกระทำความละอาย 4 ประการแห่งผู้มีความละอาย / การไม่อยู่ทับและการไม่หมุนไปในโทษทั้งปวง / และการอยู่ทับและการหมุนไปในคุณทั้งปวง /

15     การเจริญความละอายอันเป็นประธาน จากจิตของตน จากธรรม จากอธิโมกษ์ จากการอาศัย และแม้จากความเป็นยิ่งจากความไม่หลอกลวและจากความเป็นหนึ่ง

อรรถาธิบาย     นี้เป็นคำนิเทศเหมือนดางที่กล่าวมาในตอนก่อน

โศลกว่าด้วยการจำแนกปัญญาอันตั้งมั่น 7 โศลก

16     ปัญญาตั้งมั่นของพระโพธิสัตว์แตกต่างด้วยลักษณะ เป็นสิ่งพิเศษด้วยความมั่นคงทั้งของสิ่งทั้งปวงและของสิ่งอื่นอีก

17     วิริยะ สมาธิ ปัญญา สัตว์ ความมั่นคง เป็นที่ทราบกันว่าคือ ปัญญาตั้งมั่น เพราะว่าพระโพธิสัตว์ผู้ไม่มีความกลัว ย่อมเป็นไปจากสิ่งทั้ง 3 ประการนี้ /

อรรถาธิบาย     ด้วยโศลกนี้ ท่านกล่าวลักษณะแห่งปัญญาตั้งมั่นอันเป็นไปกับด้วยปริยายและเป็นไปกับด้วยสาธนา / ลักษณะมีวิริยะเป็นต้น ปริยายมีสัตว์เป็นต้น / ที่เหลือเป็นสาธนะ / ท่านกล่าวแล้วว่าผู้ไม่มีความกลัวย่อมเป็นไป เพราะหมวดสามอันไหน /

18     ความกลัวย่อมเกิดแต่การหลีกเร้น การสั่นไหว และเพราะโมหะ เพราะเหตุนั้น ปัญญาตั้งมั่นอันพึงรู้พิเศษในกิจอันควรทำในหมวด 3 นี้อันเป็นของตน

อรรถาธิบาย     เพราะว่าในกิจอันพึงทำทั้งปวง ความเป็นผู้มีจิตอันหลีกเร้นหรือความกลัวย่อมเกิดขึ้น เพราะการไม่มีอุตสหะ / ความมีจิตสั่นไหว หรือความไม่ตั้งมั่นแห่งจิต / ความลุ่มหลงพร้อมหรือ ความไม่รู้อุบายวิธี / สิ่งนี้เป็นปฏิปักษ์แก่ธรรมมีวิริยะเป็นต้น ตามลำดับ / เพราะเหตุนั้นความรู้ในปัญญาตั้งมั่นในธรรม 3มีวิริยะเป็นต้น อันบัณฑิตพึงทราบ อันเป็นของตนคือในกิจอันควรทำอันไม่พึงนับ /

19     โดยปกติแล้ว ความไม่เพ่งเล็งในปณิธานและความปฎิบัติผิดแห่งสัตว์ การสดับสิ่งอันลึกซึ้งและประเสริฐ

20     ในการนำไปได้โดยยากซึ่งเวไนยสัตว์ ในการไม่พึงคิดเกี่ยวกับกายของพระชินเจ้า ในการกระทำอันกระทำได้โดยยากอันมีอย่างต่างๆ และในการไม่สละเสียซึ่งสังสาร

21      ในการไม่มีกิเลส ปัญญาอันตั้งมั่นของผู้ปราชญ์ ย่อมเกิดขึ้นอันไม่เสมอด้วยสิ่งเหล่าอื่น เหตุนั้น ปัญญานั้นในความเป็นเลิศแห่งผุ้มีปัญญาตั้งมั่น

อรรถาธิบาย     ด้วยโศลกทั้ง 3 นี้ ท่านแสดงประเภทปัญญาตั้งมั่น / ตามลำดับคือ โดยโคตร / โดกการเกิดขึ้นแห่งจิต / โดยประโยชน์ตน / โดยประโยชน์แห่งสัตว์ (โดยประโยชน์คนอืนฉ / โดยประโยชน์แห่งตัตวะ / โดยอำนาจ / โดยความแก่รอบแห่งสัตว์ / และโดยโพธิอันยอดเยี่ยม / ในที่นี้ ไม่มีความเพ่งเล็งพึงทราบว่าความไม่มีการเพ่งเล็งในกาย และชีวิตของผู้ประยุกต์ด้วยประโยชน์ของตน / อีกประการหนึ่งโดยจรรยาอันกระทำได้โดยยาก / โดยการคิด การมีอยู่และการเกิดขึ้น / แตกต่างแม้โดยกิเลสเครื่องเศร้าหมอง /

22     ผู้กล้าหาญย่อมไม่หวั่นไหว ด้วยมิตรชั่ว ทุกข์และการฟังอันลึกซึ้งเพียงดังภูเขาสุเมรุ ไม่หวั่นไหวด้วยลม ด้วยมหาสมุทร

อรรถาธิบาย     โดยโศลกนี้ท่านแสดงความมั่นคงแห่งปัญญาตั้งมั่นของพระโพธิสัตว์ / การอุปมาด้วยสิ่ง 3 อย่าง พึงทราบการหวั่นไหวด้วย 3 อย่าง ตามลำดับ

โศลกว่าด้วยการจำแนกความไม่เหน็ดเหนื่อย 2 โศลก

23     ความไม่เหน็ดเหนื่อยของพระโพธิสัตว์ เป็นสิ่งไม่เสมอในวัตถุ 3 ประการ ในความไม่อิ่มในการฟัง ความเพียรอันยิ่งใหญ่ ทุกข์ เป็นที่อาศัยของความละอายและปัญญาตั้งมั่น

24     ความพอใจอันแรงกล้าในมหาโพธิ เป็นที่ทราบกันว่าเป็นความไม่เหน็ดเหนื่อยของผู้มีปัญญา เป็นการไม่ไหลออก การไหลออกและไหลออกด้วยดีในภูมิทั้งหลาย

อรรถาธิบาย     ความไม่เหน็ดเหนื่อยอันท่านแสดง โดยวัตถุ โดยการอาศัย โดยสวภาวะและโดยประเภท ด้วยโศลกทั้ง 2 นี้ / ในวัตถุ 3 / ในความไม่อิ่มในการฟัง / ในการปรารภความเพียรตลอดกาลยาวนาน / และในทุกข์แห่งสังสาร / อาศัยความละอายและปัญญาตั้งมั่น / เพราะว่าทั้ง 2 อย่าง การอุบัติขึ้นแห่งความเหน็ดเหนื่อยย่อมละอาย และไม่ทำให้ทั้ง 2 อย่างนั้นอุบัติขึ้น / ความพอใจอันแรงกล้าในมหาโพธิได้แก่ สวภาวะ / เพราะว่าเมื่อความพอใจไม่เจริญอยู่ย่อมเป็นผู้เหน็ดเหนื่อย / ไม่ไหลออกในภูมิเป็นที่ประพฤติเพื่ออธิมุกติ / ไหลออกในภูมิ 7 ไหลออกด้วยดี โดยประการอื่นนี้และคือ ประเภท /

โศลกว่าด้วยความสามารถรู้ในศาสตร์

25     ย่อมวิเศษโดยวัตถุ โดยอธิการ และโดยกรรม โดยลักษณะ โดยความไม่มีชั่วขณะ และโดยการมาถึงพร้อมแห่งผล

26     ก็ความสามารถรู้ศาสตร์ของผู้เป็นปราชญ์ เป็นการทรงไว้ซึ่งสมาธิอันเป็นหน้า เป็นการยึดถือเพราะการยังสัตว์ให้แก่รอบในการทรงไว้ซึ่งพระสัทธรรม

อรรถาธิบาย     ในที่นี้ มีวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความรู้ 5 ประการ เพื่อความรู้ศาสตร์/ ความรู้ตน ความรู้เหตุ ความรู้ศัพท์ ความรู้วิจิกิจฉา และความรู้อันเป็นที่ตั้งแห่งศิลปกรรม / การกระทำเพื่อประโยชน์ตนและผู้อื่น คือ อธิการ / กรรมแห่งการปฏิบัติ ด้วยตนในวัตถุที่ 1 และนับพร้อมว่าเป็นกรรมเพื่อผู้อื่น / ในวัตถุที่ 2 การรู้รอบซึ่งโทษและการติเตียนและการข่ม/ ในวัตถุที่3 การอธิบายคำที่กล่าวแล้วด้วยดี ด้วยตนเองและปัจจัยแห่งคนอื่น / ในวัตถุที่ 4 ความสงบแห่งพยาธิของบุคคลอื่น / ในวัตถุที่ 5 การจำแนกด้วยดีแก่บุคคลอื่น / ลักษณะคือ วัตถุ 5 เหล่านี้ เป็นการฟังเพื่อความรู้ศาสตร์ / ปัญญา/ กำหนดรู้ด้วยวาจา / ไม่ซัดส่ายไปด้วยใจ / เจริญด้วยดีด้วยทิฐิ / ฟังแล้วจึงเรียนเอา ตามลำดับ / โดยภายในของตน / ความไมม่สิ้นไปคือ ไม่สิ้นไปในนิรวาณอันไม่มีอุปธิเหลือ  / การมาถึงพร้อมแห่งผล คือ การรู้อาการทั้งปวงแห่งธรรมทั้งปวง / อีกอย่างหนึ่งการรู้ศาสตร์นั้น เป็นการถือเอาพร้อมสมาธิอันเป็นหน้าและการทรงไว้อันเป็นหน้าสมาธิอันเป็นหน้า / การเรียนรู้สัทธรรมและเพราะการทรงไว้ด้วยการทรงไว้ทั้งหลาย /

โศลกว่าด้วยการรู้โลก 4 โศลก

27     ก็การรู้โลกแห่งผู้เป็นปราชญด้วยกาย วาจา และด้วยความรู้ความจริง เป็นสิ่งไม่เสมอ ย่อมวิเศษโดยประการอื่นอีก /

อรรถาธิบาย     ท่านกล่าวว่า ด้วยกาย ดังนี้ อย่างไร / มีใบหน้าอันการยิ้มกระทำแล้วเป็นนิตย์ / ท่านกล่าวว่า ด้วยวาจา ดังนี้ อย่างไร / นักปราชญ์ทั้งหลายเป็นผู้พูดก่อน /

28     อีกประการ ท่านกล่าวว่าเพื่อประโยชน์อะไร เพื่อการเป็นภาชนะแห่งสัตว์ทั้งหลายเพื่อเป็นภาชนะในประโยชน์อะไร เพื่อการปฏิบัติพระสัทธรรม /

อรรถาธิบาย     ท่านกล่าวว่า ด้วยความรู้ความจริง ดังนี้ อย่างไร

29     การปราถนาจากความจริง 2 ประการ การเกิดขึ้นแห่งโลกอันไม่ปรุงแต่ง การดับลงแห่งความเป็น 2 การรู้สิ่งนี้แล ท่านกล่าวว่าเป็นการรู้โลก /

อรรถาธิบาย     การเกิดขึ้นแห่งโลกจากความจริง 2 ประการ และการเกิดขึ้นในสังสารบ่อยๆ นี้แล คือ กระทำแล้ว / การดับลงแห่งความเป็น 2 คือ นิโรธ และมรรคสัจ / การดับลงนี้แลคือ กระทำแล้ว / เพราะเหตุนั้นผู้รู้ความจริงนี้ ท่านกล่าวว่าเป็นผู้รู้โลก / เพราะการมาตามพร้อม ด้วยปัญญาแห่งการเกิดขึ้นและดับลงแห่งโลก

30     เพื่อความสงบ เพื่อการบรรลุ ผู้มีปัญญาประกอบในความจริง เพราะเหตุนั้น ผู้มีปัญญาจึงถูกเรียกว่าเป็นผู้รู้โลกเพราะความรู้ความจริง

อรรถาธิบาย     ท่านแสดง กรรมแห่งการรู้โลกด้วยโศลกนี้ / ในที่นี้ เพื่อความสงบคือทุกข์ และสมุทัยสัจ เพื่อการบรรลุคือ นิโรธ และมรรคสัจ /

โศลกว่าด้วยการจำแนกการถึงสรณะ 3 โศลก

31     เทศนาธรรมอันศักดิ์สิทธิ์ อรรถ และผู้อภิปรายอรรถนั้น ผู้รู้ประมาณ อรรถอันนำไปแล้ว การบรรลุอรรถนั้นอันปราศจากคำพูด /

อรรถาธิบาย     นี้เป็นลักษณะแห่งการถึงสรณะ / ในที่นี้ ผู้รู้ประมาณและอรรถใด โดยความเป็นประมาณ นำไปแล้ว คือ ภักดี ศาสตร์หรือด้วยการกระทำประมาณ / การบรรลุอันปราศจากคำพูดคือ การบรรลุความรู้อันเป็นโลกุตตระ / เพราะการไม่สนทนา / ส่วนที่เหลือมีเนื้อความอันอธิบายแล้ว /

32     ความเป็นปฏิปักษ์ต่อสิ่งตามที่กล่าวแล้ว ต่อความคิดผิดและต่อการบรรลุอันไม่มีการเจรจา ในที่นี้เป็นการปฏิเสธอันท่านแสดงแล้ว

อรรถาธิบาย     ในการถึงสรณะข้อที่ 1 การเป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมอันศักดิ์สิทธิ์ ท่านแสดงว่าเป็นการปฏิเสธ / ข้อที่ 2 ด้วยการไม่ต้องการอภิปรายด้วยอรรถและพยัญชนะ ตามที่กล่าวแล้ว / ในข้อที่ 3 เมื่อนำไปอยู่ซึ่งความวิปริตแห่งอรรถที่คิดแล้ว ผิด /ในข้อที่ 4 พึงทราบเฉพาะตนซึ่งความรู้อันไม่มีการเจรจา /

33     อธิมุกจากการวิจารณ์ จากการฟังจากคนอื่นเหมือนที่กล่าว ความไม่พินาศแห่งผู้มีปัญญา เพราะการไม่เจรจาและเพราะความรู้

อรรถาธิบาย     นี้เป็นการสรรเสริญการถึงสรณะ / โดยการถึงสรณะที่ 1 คือย่อมไม่พินาศจากอธิมุกติในธรรมอันศักดิ์สิทธิ์ / โดยข้อที่ 2 เพราะการอภิปรายและวิจารณ์ด้วยตนเอง / โดยข้อที่ 3 เพราะฟังนัยอันมีเนื้อความวิปริตจากบุคคลอืน / โดยข้อที่ 4 ความรู้ร้อนเป็นโลกุตตระ /

โศลกว่าด้วยการจำแนกการแทงตลอด 4 โศลก

34     การแทงตลอดของพระโพธิสัตว์ 4 ประการ เป็นสิ่งไม่เสมอ สิ่งเหล่านั้นเป็นที่ทราบกันในปริยาย ในลักษณะ ในคำพูด และในความรู้จากความรู้ /

อรรถาธิบาย     การแทงตลอดที่ 1 ในปริยายคือ ความรู้เพื่อประโยชน์แก่กันและกันจนกระทั่งปริยายแห่งชื่อ / อย่างที่ 2 ในลักษณะ เพื่อประโยชน์ใด เป็นชื่อแห่งประโยชน์นั้น / อย่างที่ 3 คือในคำพูด ภาษาใดในชนบทอันเป็นของเฉพาะตน / อย่างที่ 4 คือในความรู้ปฏิภาณของตน / นี้เป็นลักษณะแห่งการแทงตลอด /

35     เมื่อผู้ใดประกอบในเทศนา และเทศนาโดยผู้ใด จาจาแห่งความเป็น 2 ของอรรถแห่งเทศนาและเทศนาด้วยความรู้นั่นเทียว

36     ความเป็น 2 แห่งธรรมคือ อุทศ นิเทศ การบรรลุโดยประการทั้งปวง การรู้รอบ การเกิดขึ้น นี้เป็นการแทงตลอดอันมี 4 ประการ

อรรถาธิบาย     นี้แลคือ เหตุในความมี 4 ประการ / เมื่อผู้ใดประกอบในเทศนาและเทศนาโดยผู้ใด / ในที่นี้ การประกอบด้วยความรู้ / เทศนาแก่ใครอีก / เพื่ออรรถ เพื่อธรรม / เทศนาโดยใคร โดยวาจาและโดยความรู้ / ในที่นี้เทศนาเพื่ออรรถ เพื่อธรรม / เพราะอุทเทศและนิเทศซึ่งธรรม / เทศนา โดยวาจา เพราะบรรลุโดยประการทั้งปวงด้วย 2 อย่างนั้น /

         เทศนาการเกิดขึ้นด้วยความรู้ เพราะการนำไปรอบ / ดังนั้น ผู้ใดย่อมแสดงและแสดงโดยผู้ใด เพราะความรู้นั้น การแทงตลอดมี 4 ประการนั้น จึงเป็นการให้ตั้งมั่น /

37     ถึงแล้วซึ่งความเสมออันเป็นของตน การรู้เฉพาะในที่ทั้งปวง การทำลายความสงสัยทั้งปวง ท่านเรียกว่า การแทงตลอด

อรรถาธิบาย     โดยโศลกนี้ ท่านแสดงการแทงตลอดและกรรมอันปราศจากถ้อยคำ / ถึงแล้วซึ่งความเป็นตถตาอันเสมอด้วยธรรมทั้งปวง ด้วยความรู้อันเป็นโลกุตตระ ในกาลภายหลัง รู้เฉพาะด้วยความรู้อันได้จากการถาม การแทงตลอดมีโดยปริยายเป็นต้น ดังนี้แล คือ ปราศจากถ้อยคำ / ทำลายความสงสัยทั้งปวงของคนเหล่าอื่น คือ กรรม /

โศลกว่าด้วยการจำแนกสัมภาระ 4 โศลก

38     สัมภาระ อันไม่เสมอของพระโพธิสัตว์ เป็นสิ่งสำเร็จได้ด้วยบุญและความรู้สิ่งหนึ่งเพื่อการเกิดขึ้นในสังสาร อีกสิ่งหนึ่งในการไม่ปรุงแต่งด้วยกิเลสเครื่องเศร้าหมอง

อรรถาธิบาย     ท่านแสดงสัมภาระและอรรถ / สัมภาระมี 2 ประการ / ในที่นี้สัมภาระคือบุญ เป็นไปพร้อมเพื่อการเกิดขึ้นในสังสาร / สัมภาระคือความรู้เป็นไปเพื่อการปรุงแต่งอันไม่มีกิเลส /

39     ทาน และศีล เป็นสัมภาระแห่งบุญ ปัญญาเป็นสัมภาระแห่งความรู้ สามสิ่งอื่นเป็นสัมภาระแห่งสองอย่าง และห้าสิ่งในสัมภาระแห่งความรู้

อรรถาธิบาย     ด้วยโศลกนี้ ท่านแสดงการสงเคราะห์สัมภาระทั้ง 2นั้นด้วยบารมี / เพราะว่าบุคคลย่อมกระทำทั้ง 2 นั้นด้วยพลังแห่งกษานติ วิริยะ และธยาน/ เพราะฉะนั้นบารมีทั้ง 3 นั้น จึงเป็นสัมภาระของทั้ง 2 / อีกประการหนึ่ง พึงทราบว่าบารมี 5 ทั้งปวง เป็นสัมภาระแห่งปัญญา เพราะเป็นการกำหนดแหงปัญญา /

40     เพราะว่า เมื่อบุคคลถึงภาวนาแห่งความดีงามโดยยิ่งๆ ด้วยความต่อเนื่อง สัมภาระนั้นคือ อาหาร อันเป็นผู้สาธกอรรถทั้งปวงในผู้เป็นปราชญ์

อรรถาธิบาย     การปราศจากคำพูดแห่งสัมภาระนั้น คือ กรรม / สัม คือ ต่อเนื่อง / ภา คือการถึงการภาวนา / ระ คือ อาหารโดยยิ่งๆ / ผู้สาธกอรรถทั้งปวงคือ กรรม / เพราะสาธยายอรรถของตนและผู้อื่น/

41     สัมภาระของผู้เป็นปราชญ์ทั้งหลาย ย่อมสั่งสมเพื่อการเข้าไปสู่เพื่อไม่มีนิมิต เพื่อความไม่มีโภคะ เพื่อการอภิเษก เพื่อการตั้งมั่น /

อรรถาธิบาย     นี้เป็นประเภทแห่งสัมภาระ / ในที่นี้ สัมภาระเพื่อการเข้าไปสู่ภูมิ ในภูมิเป็นที่ประพฤติอธิมุกติ / เพื่อการไม่มีนิมิตในภูมิ 6 เพื่อการสังเคราะห์ในภูมิที่ 7 / เพราะไม่ประพฤตินิมิตแห่งภูมินั้น / เพื่อการไม่มีโภคะ ในภูมิที่ 7 เพราะการสงเคราะห์ 2 อย่างในภูมิอื่น / เพื่อการอภิเษกสัมภาระทั้ง 3 ประการ เพื่อการสงเคราะห์ในภูมิทั้ง 10 / สัมภาระในภูมินั้น เพื่อการถึงความตั้งมั่น เพราะการสงเคราะห์ด้วยพุทธิภูมิ

โศลกว่าด้วยการจำแนกสติปัฏฐาน 3 โศลก

42     การเจริญสติปัฏฐานด้วยอาการ 14 เป็นสิ่งไม่เสมอแห่งผู้มีปัญญา ย่อมพิเศษแห่งบุคคลอื่นด้วย

อรรถาธิบาย     อาการ 14 อย่างไหน /

43     การอาศัย ปฏิปักษ์ อวตาร พื้นฐาน มนัสการ การบรรลุความพิเศษ

44     การเกื้อกูล การประพฤติตาม การรู้รอบ การปฏิบัติ มาตรา ความเป็นปรมะ การบรรลุถึงภาวนา

อรรถาธิบาย     การเจริญสติปัฏฐานของพระโพธิสัตว์ เป็นความพิเศษด้วยอาการ 14 เหล่านี้แล / โดยการอาศัยอย่างไร ในมหายาน บุคคลอาศัยปัญญาที่เกิดจากการฟัง การคิดและการภาวนา / โดยการเป็นปฏิปักษ์อย่างไร โดยการเข้าไปสู่ความเป็นสิ่งไม่มีตัวตนแห่งธรรมมี กาย เป็นต้น เพราะความเป็นปฏิปักษ์แห่งความจำอันไม่สะอาด ความเป็นทุกข์ ความไม่เที่ยง ความไม่มีตัวตน แม้แห่งปฏิปักษ์แก่ความเดือดร้อน 4 ประการ / โดยการเกิดขึ้นอย่างไร / เพราะการเกิดขึ้น(อวตาร) แห่งสัจจะ คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ด้วยสติปัฏฐาน 4 ตามลำดับ และเพราะการเกิดขึ้นด้วยตนและผู้อื่น / เหมือนดังที่กล่าวไว้ในมัธยันตวิภาค / โดยพื้นฐานอย่างไร เพราะการมีพื้นฐานจากกายแห่งสรรพสัตว์ / โดยมนัสการอย่างไร โดยการไม่มีอุปธิในกาย / โดยการบรรลุอย่างไร โดยการไม่ประกอบ ไม่ประกอบก็ไม่ใช่แห่งกายเป็นต้น / โดยความไม่อากูลอย่างไร โดยการไม่อากูลแห่งบารมี เพราะความเป็นปฏิปักษ์ต่อข้าศึกนั้น/ โดยการหมุนไปตามอย่างไร โดยการหมุนไปตามสาวกยาน และปัจเจกพุทธยานอันเป็นโลกิยะ เพื่อการเข้าไปใกล้สติปัฏฐานอันเป็นประโยชน์เกื้อกูลด้วยดี / โดยความรอบรู้อย่างไร โดยการรอบรู้ว่ากายมีมายาเป็นอุปมา เพราะกำหนดรู้รอบการไม่มีอยู่จริงเช่นนั้น / โดยการรู้รอบว่าเวทนามีความฝันเป็นอุปมา เพราะการเสวยอันเป็นเท็จเช่นนั้น / โดยการรู้รอบว่า จิตมีอาสวะ โดยปกติ เหมือนอากาศ / ดดยการรู้รอบว่าธรรมเป็นอาคันตุกะ เหมือนกาบอุปกิเลสอันจรมาแห่งอากาศ ฝุ่นและควัน / โดยการอุบัติอย่างไร โดยความไม่มีกิเลสในการอุบัติในภพแห่งการสั่งสม ในสมบิต มีกาย เวทนาอันวิเศษเป็นต้น แห่งความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิเป็นต้น / โดยประมาณอย่างไร แม้ละเอียดอ่อน โดยการเจริญสติปัฏฐาน แม้มีประมาณยิ่งแห่งบุคคลอื่น / โดยอินทรีย์ชั่วขณะโดยปกติ / โดยความเป็นปรมะอย่างไร โดยการไม่เกิดขึ้นแห่งการอาศัยและเข้าไปอาศัยโภคะแห่งปรินิษปันนะ / โดยการภาวนาอย่างไร โดยการภาวนาที่สุดยิ่ง เพราะความไม่สิ้นไปแห่งอนุปาทิเสสนิพพาน / โดยการบรรลุพร้อมอย่างไร / เพราะการบรรลุพร้อมในความเป็นพุทธ ในภูมิทั้ง 10 /

โศลกว่าด้วยการจำแนกการประหารโดยชอบ 5 โศลก

45     การประหาร โดยชอบของผู้เป็นปราชญ์ เป็นสิ่งไม่เสมอด้วยผู้มีร่างกายทั้งหลายทั้งปวง ย่อมเกิดขึ้น โดยเป็นปฏิบักษ์แห่งโทษของสติปัฏฐาน /

อรรถาธิบาย     สติปัฏฐานที่กล่าวแล้ว เป็นการเจริญการประหารโดยชอบ ด้วยปฏิปักษ์แห่งโทษ อันเป็นฝ่ายตรงข้ามนั้น เพราะลักษณะแห่งการประหารโดยชอบนั้น เป็นสิ่งเสมอ / อีกอย่างโดยประเภท /

46    ในการอุปโภคสังสาร ในการสละนิวรณ์ ในการสละมนัสการ และในการเข้าไปในภูมิทั้งหลาย

47    ในการไม่มีนิมิต ในการได้พยากรณ์ ในการยังสัตว์ให้แก่รอบ และในการอภิเษกผู้มีปัญญา

48     ความบริสุทธิ์แห่งเกษตร การยังอรรถให้ถึงความสำเร็จ ย่อมเจริญขึ้นโดยปฎิปักษ์แห่งฝ่ายตรงข้ามของพระโพธิสัตว์

อรรถาธิบาย     นี้เป็นประเภทแห่งการเจริญการประหารโดยชอบ / ในโภคสมบัติอันไม่มีกิเลสแห่งสังสาร / ในการละนิวรณ์5 / ในการละมนัสการแห่งพระสาวกและพระปัจเจกพุทธเจ้า / ในการเข้าสู่ภูมิ / ในการอยู่อันไม่มีนิมิตในภูมิทั้ง 7 / ในการได้การพยากรณ์ในภูมิที่ 8 / ในการยังสัตว์ให้แก่รอบในภูมิที่ 9 / และในการอภิเษกในภูมิที่ 10 / ในการบริสุทธิ์แห่งเกษตรในภูมิทั้ง 3 / ในการบรรลุความสำเร็จในพุทธภูมิ / พึงทราบว่าฝ่ายตรงข้ามใดเป็นการเจริญการประหาร โดยชอบ โดยเป็นปฏิปักษ์ / นี้เป็นประเภทแห่งการเจริญการประหารโดยชอบนั้น /

49     อาศัยฉันทะ ภาวนาอันเป็นไปกับด้วยนิมิตแห่งโยคะ ท่านกล่าวว่าเป็นปฏิปักษ์ในการประหารโดยชอบทั้งปวง

อรรถาธิบาย     โดยโศลกนี้ บุคคลทำฉันทะให้เกิด / ย่อมแผ่ไปทั่ว ย่อมปรารภความเพียร / ประคองจิต / ตั้งไว้โดยชอบ / นี้เป็นนิเทศแห่งอรรถของบททั้งหลายเหล่านั้น / เพราะว่า อาศัยฉันทะแล้วเจริญโยคะอันนับด้วยสรณะและวิปัสสนา ได้แก่ ย่อมแผ่ไปทั่ว / และภาวนานั้นย่อมเกิดขึ้นพร้อมด้วยนิมิตอันยกขึ้นสู่สมถะ / เพราะเหตุนั้นภาวนานั้นจึงได้ชื่อว่าเป็นไปด้วยนิมิต / ก็อีกประการหนึ่งย่อมเกิดขึ้นอย่างไร / ย่อมปรารภความเพียรด้วยปฏิปักษ์แห่งการเกิดขึ้นของอุปกิเลสแห่งสมถะ / ปรารภอย่างไร / ประคองจิตแล้วให้ตั้งมั่น / (ในที่นี้ ประคอง ได้แก่ ด้วยปัญญา / ย่อมให้ตั้งมั่น / ) ย่อมตั้งมั่นในการบรรลุพร้อมในสมถะ / การเจริญโยคะนี้ท่านกล่าวว่าเป็นปฏิปักษ์ในการประหาร โดยชอบ อันมีประเภทตามที่กล่าวแล้ว /

โศลกว่าด้วยการจำแนกอิทธิบาท 5 โศลก

50     อิทธิบาท 4 มีละกษณะอันเลิศแห่งผู้ปราชญ์ ย่อมเกิดขึ้นในความสำเร็จประโยชน์ทั้งปวงเพื่อตนและคนอื่น

อรรถาธิบาย     พึงทราบความสำเร็จประโยชน์ทั้งปวงทั้งโลกิยะและโลกุตตระ / ส่วนที่เหลือมีเนื้อความอันอธิบายแล้ว

51     ความตั้งมั่นแห่งอิทธิบาทของผู้มีปัญญา ย่อมเป็นที่ต้องการโดยประการทั้งปวง จากการอาศัย จากประเภท จากอุบาย และจากการประจักษ์แจ้ง

อรรถาธิบาย     นิเทศที่เหลือแห่งอุทเทศนั้น

52     เมื่ออาศัยธยานบารมีแล้ว ประเภทมีอย่าง 4 อุบายและอภินิหาร มี 6 ประการ

อรรถาธิบาย     โดยอาศัยธยานบารมี ประเภทมี 4 คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เพราะความแตกต่างแห่งสมาธิ / อุบายก็มี 4 เช่นกัน / อภินิหารมี 6 / อุบาย 4 อย่างนั้นคือสิ่งไหน /

53     หนึ่งคือ ความพยายาม ที่สองคือ มีใจสงเคราะห์ ที่สามคือ การผูกติด ที่สี่คือ ปฏิปักษ์

อรรถาธิบาย     บรรดาสังสการทั้ง 8 ฉันทะ ความพยายาม ศรัทธา การตัดสินใจเป็นอุบาย / มีความต้องการตั้งมั่นศรัทธา เพราะความพยายาม / ความรู้พร้อมเป็นการอนุเคราะห์ / สติสัมปชัญญะ เป็นการผูกติด / พื้นฐานแห่งจิตโดยส่วนเดียว เพราะไม่เดือดร้อน / โดยส่วนที่ 2 ความรู้ความกล้าหาญ / เจตนา อุเบกขา ปฏิปักษ์ เป็นอุบาย / ความละอายและอุปกิเลส เป็นปฏิปักษ์แห่งกิเลส / อภินิหาร 6 ประการคือสิ่งไหน /

54     ไม่มีความละอายต่อทรรศนะต่อคำกล่าวเตือน ต่อการกระทำเพื่อการตั่งมั่น ต่อปณิธาน ต่อความสำเร็จ และต่อการบรรลุธรรม

อรรถาธิบาย     ในที่นี้ ทรรศนะคือ จักษุ 5 ประการ มังสจักษุ ทิพจักษุ อริยปัญญาจักษุ ธรรมจักษุ และพุทธจักษุ / คำกล่าวตักเตือนคือ อภิญญา 6 ลำดับ /ด้วยอภิญญาเหล่านั้นครั้นเข้าไปใกล้แล้ว รู้จัก ภาษา จิต การตั้งมั่นของพระโพธิสัตว์มีหลายวิธีเป็นความเพลิดเพลินในสมาธิ มีโดยการนิรวาณเป็นต้น / ปณิธานคือ พระโพธิสัตว์ผุ้มีพลังในปณิธานด้วยความรู้ในปณิธานใด ย่อมเพลิดเพลินด้วยความช่ำชองในปณิธาน / เหมือนดังที่กล่าวโดยพิสดารแล้วในทศภูมิกสูตรว่า การนับ ไม่ใช่การกระทำโดยง่าย เพื่อกายหรือเพื่อคนอื่นทั้งปวงดังนี้ / มีอำนาจในที่นี้เหมือนดังที่แสดงความมีอำนาจ 10 ประการ / การบรรลุธรรมถึงธรรมแห่งพระพุทธเจ้า ด้วยพลังและความกล้าหาญ / นี้คืออภินิหาร 6 ประการมีทรรศนะเป็นต้น /

โศลกว่าด้วยการจำแนกอินทรีย์

55     โพธิ จริยา การฟัง สมถะ วิปัสสนา เป็นบทแห่งผุ้มีศรัทธา พึงทราบว่าเป็นอธิการ เพื่อความสำเร็จประโยชน์

อรรถาธิบาย     โพธิ เป็นบท โดยอรรถคือพื้นฐานแห่งอินทรีย์ของผู้มีศรัทธา / จริยาของพระโพธิสัตว์เป็นอินทรีย์แห่งวิริยะ / การฟังอันสังเคราะห์ด้วยมหายาน เป็นอินทรีย์แห่งสติ / สมถะเป็นอินทรีย์แห่งสมาธิ / วิปัสสนาเป็นบทแห่งอินทรีย์แห่งปัญญา / โดยอธิการแห่งอรรถนี้ ความเป็นใหญ่ มีศรัทธาเป็นต้นเหล่านี้ ท่านกล่าวว่าเป็นอินทรีย์เพื่อการสำเร็จประโยชน์ /

โศลกว่าด้วยการจำแนกพละ

56     อีกประการหนึ่ง ศรัทธาเป็นต้นเป็นสิ่งเศร้าหมองเพื่อการเข้าสู่ภูมิ ด้วยความเป็นสิ่งมีกำลังชั่วแห่งฝ่ายตรงข้ามนี้เป็นชื่อแห่งพละ

โศลกมีอรรถอันอธิบายแล้ว

โศลกว่าด้วยการจำแนกโพชฌงค์ 7 โศลก

57     เพื่อการเข้าสู่ภูมิ ย่อมรู้ความตั้งมั่นแห่งโพชฌงค์ อีกประการหนึ่งเพื่อการยังสรรพสัตว์ให้บรรลุความเสมอแห่งธรรม

อรรถาธิบาย     โพชฌงค์ ย่อมตั้งมั่น เพราะโพธิอันตั้งมั่นใด ท่านแสดงโพธินั้น / เพื่อการเข้าสู่ภูมิ เพื่อธรรมทั้งปวง เพื่อสัตว์ทั้งปวง และเพื่อการรู้แจ้งความเป็นสิ่งเสมอตามลำดับ และเพราะความมีตนเสมอด้วยบุคคลอื่น ด้วยความไม่มีตัวตนแห่งธรรม / ดังนั้น ท่านแสดงอรรถแห่งรัตนะ 7 มีจักรเป็นต้นแห่งโพชฌงค์ /

58ก.    สติ ย่อมเที่ยวไปในที่ทั้งปวง เพื่อกำหนดรู้อารมณ์อันไม่รู้

อรรถาธิบาย     เพื่อการกำหนดรู้อารมณ์อันไม่รู้แล้ว / เพียงดังพระเจ้าจักรพรรดิ กำหนดรู้ประเทศอันไม่รู้ด้วยจักรรัตนะ /

58ข.    และเลือกเฟ้นเพื่อการทำลายแห่งนิมิตอันหลอกลวงทั้งปวง

อรรถาธิบาย     เหมือนรัตนะคือช้าง เพื่อการทำลายศัตรู

59ก.    ความเพียรย่อมเป็นไปเพื่อ โพธิอัน ไม่มีส่วนเหลือ โดยพลัน

อรรถาธิบาย     เพราะการเกิดขึ้นโดยพลันแห่งอภิญญา / เหมือนกับรัตนะคือม้า เพื่อการบรรลุถึงมหาปฐพีตลอดจนที่สุดแห่งมหาสมุทร /

59ข.    เต็มพร้อมด้วยปิติ เพื่อการเจริญแห่งโลกธรรมแน่แท้

อรรถาธิบาย     เมื่อพระโพธิสัตว์มีวิริยะ อันปรารภแล้ว โลกธรรม ย่อมเจริญ / ดังนั้น ปิติย่อมยังวิริยะ ทั้งปวงให้เต็มตลอดกาลทุกเมื่อ / เหมือนกับรัตนะคือแก้วมณี ยังพระเจ้าจักรพรรดิให้เต็มด้วยความวิเศษแห่งการมองเห็น /

60ก.    ย่อมถึงสุขด้วยปัสสัทธิ์ เพราะไม่หลุดพ้นจากเครื่องกั้นทั้งปวง

อรรถาธิบาย     เพราะการเกิดขึ้นแห่งโทษประทุษร้ายทั้งปวง / เหมือนกับพระเจ้าจักรพรรดิเสวยสุขด้วยรัตนะคือ สตรี /

60ข.    ความสำเร็จประโยชน์แห่งใจ ย่อมเกิดขึ้นจากสมาธิ

อรรถาธิบาย     เหมือนกาบรัตนะคือคฤหบดีของพระเจ้าจักรพรรดิ

61     ย่อมอยู่ในที่ทั้งปวงด้วยอุเบกขาตามชอบใจ เป็นผู้สูงสุด โดยความไม่หลอกลวงเบื้องบนและภายหลัง และด้วยการอยู่อันไม่หลอกลวง /

อรรถาธิบาย     ความรู้อันไม่หลอกลวงท่านกล่าวอุเบกขา พระโพธิสัตว์ย่อมอยู่ในที่ทั้งปวงตามชอบใจด้วยอุเบกขานั้น / ด้วยการได้ก่อนและด้วยการอยู่เพราะเข้าถึงสิ่งอื่นอีก / เพราะไปปราศจากสิ่งอื่นอีก / ด้วยการอยู่อันไม่หลอกลวง ในที่นี้เพราะการหลอกลวงด้วยการอยู่ด้วยความยินดีในการถึงฝั่ง / เหมือนพระเจ้าจักรพรรดิเต็มพร้อมด้วยรัตนะ คือ ปริณายกอันควรแก่การเข้าถึงด้วยกำลังกายอันมีองค์ 4 / และนำไปปราศสิ่งที่ควรนำไปปราศ / ในที่นี้ไปแล้ว ย่อมถึงซึ่งการอยู่กำลังกายอันมีองค์ 4 อันไม่ขาด ย่อมถึงซึ่งบุคคลอื่น /

62     พระโพธิสัตว์ผู้มีคุณอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพียงดังพระเจ้าจักรพรรดิแวดล้อมด้วยองค์แห่งโพธิเป็นนิตย์เช่นกับอุปมาด้วยรัตนะ 7 /

อรรถาธิบาย     ย่อมถึงที่สุดแห่งโพชฌงค์อันมีรัตนะ 7 เป็นอุปมาด้วยประการดังนี้ /

63     องค์แห่งการอาศัย องค์แห่งสวภาวะองค์แห่งการออกไปเป็นที่ 3 องค์แห่งการสรรเสริญเป็นที่ 4 องค์แห่งการไม่มีกิเลสอันเป็น 3 รอบ /

อรรถาธิบาย     โดยโศลกนี้ ท่านยกองค์แห่งโพธิ (โพชฌงค์) แสดงโดยลำดับ / องค์แห่งการอาศัยสติ ย่อมเป็นไปเพราะการอาศัยแห่งองค์ทั้งปวง / ความสอดส่องธรรมเป้นองค์แห่งสวภาวะ โพธิโดยความเป็นสวภาวะ / วิริยะเป็นองค์แห่งการออกไป มีความสำเร็จอันไม่ถึงแล้ว ย่อมอธิษฐานวิริยะนั้น / ปิติเป็นองค์แห่งการสรรเสริญ เพราะความสุขไม่มีกิเลส / สิ่งใดไม่มีกิเลส ย่อมอาศัยสิ่งนั้น โดยสิ่งนั้น เหตุนั้น พึงทราบว่าเป็นองค์แห่งความไม่มีกิเลสอันมีอย่าง3 /

โศลกว่าด้วยการจำแนกองค์แห่งมรรค 2 โศลก

64     ความเป็นไปตามโพธิตามความเป็นจริง ยังสิ่งสูงส่งให้เกิดขึ้นการเข้าไปสู่ความตั้งมั่นแห่งโพธิตามความเป็นจริง ในความตั้งมั่น

65     ความบริสุทธิ์แห่งกรรม 3 การเจริญขึ้นแห่งปฏิปักษ์ ความเจริญแห่งความรู้แห่งมรรคและแห่งคุณวิเศษ

อรรถาธิบาย     จากกาลแห่งโพชฌงค์ การเป็นไปแห่งโพธิในความเป็นจริงเกิดขึ้นสูงส่ง คือ สัมมาทิฐิ / การตัดเสียซึ่งความตั้งมั่นแห่งโพธิอันต่ำ เป็นสัมมาสังกัปปะ / ภาวนาในความตั้งมั่นมีในพระสูตรเป็นต้นนั้นเป็นการเข้าไป เพราะโพธิอันต่ำด้วยอรรถ / ความบริสุทธิ์แห่งกรรม 3 เป็นสัมมาสังกัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ / วาจาและกายสงเคราะห์ว่าเป็นกรรม 2 / ความเจริญแห่งปฏิปักษ์เป็นการเกิดขึ้นแห่งสัมมาวายามะ เพราะว่าไม่เหน็ดเหนื่อยตลอดกาลยาวนานด้วยพยายามชอบต่อเครื่องกั้นคือความรู้ เครื่องกั้นคือ มรรค และเครื่องกั้นคือคุณวิเศษโดยลำดับยังปฏิปักษ์แห่งเครื่องกั้นคือความรู้ย่อมให้เจริญ / สัมมาสติคือ ยังปฏิปักษ์แห่งกั้นแห่งภาวนามรรคในการยึดถือสมถะและในอุเบกขา และในความไม่มีนิมิต / ยังปฏิปักษ์แห่งเครื่องกั้นคือการนำออกเสียซึ่งคุณวิเศษด้วยสมาธิชอบ นี้แลย่อมยังมรรคมีองค์ 8 ให้ตั้งมั่น /

โศลกว่าด้วยการจำแนกสมถะและวิปัสสนา 3 โศลก

66     เพราะสถานที่แห่งจิตในจิต แม้เพราะการเลือกเฟ้นธรรมสมถะและวิปัสสนา ย่อมเขาไปอาศัยการตั้งได้โดยธรรม

อรรถาธิบาย     อาศัยสัมมาสมาธิแล้ว เพราะการตั้งมั่นแห่งจิตในจิต / และการเลือกเฟ้นธรรม พึงทราบว่าเป็นสมถะ และวิปัสสนาตามลำดับ / แต่เว้นจากสัมมาสมาธิแล้วก็ไม่ใช่ลักษณะของสมถะและวิปัสสนา

67ก     ไปในที่ทั้งปวงเป็นที่ทราบว่าคือ อุปนิษัทอันมีความแบ่งแยกเดียวและไม่มีการแบ่งแยก

อรรถาธิบาย     สมถะและวิปัสสนานั้นไปได้ในที่ทั้งปวง ย่อมหวังคุณใดๆ เพราะการเจริญแห่งสมถะวิปัสสนานั้น ในคุณนั้นๆ / เหมือนดังที่กล่าวไว้ในพระสูตรว่า / โอหนอ ดูก่อนภิกษุเราพึงหวังความสงัดจากกามทั้งหลายดังนี้ โดยพิสดารจนกระทั่งอันภิกษุนั้น พึงยังธรรมทั้ง 2 เหล่านี้ให้เจริญขึ้น / คือ สมถะ และวิปัสสนานั่นเทียว ดังนี้เป็นต้น / สมถะเจริญในกาลใด สมถะและวิปัสสนามีการแบ่งแยกเดียว / หรือวิปัสสนา / แต่ทั้ง 2 เจริญในกาลใด การแบ่งแยกทั้ง 2 ย่อมมี / เป็นที่ทราบว่าอุปนิษัท คือ สมถะและวิปัสสนาของพระโพธิสัตว์ในภูมิเป็นที่ประพฤติอธิมุกติ

67ข     ทำให้แจ้งนิรวาณอันไม่มมีนิมิตอันไม่ปรุงแต่ง

68     ในความบริสุทธิ์ ในความวิสุทธิ์ สมถะและวิปัสสนาไปได้ในภูมิทั้งปวงในผู้เป็นปราชญ์เป็นวิธีทั้งปวงอันเป็นโยคะ

อรรถาธิบาย     ท่านแสดงประเภทและกรรมแห่งสมถะและวิปัสสนาโดยกล่าวเป็นต้นว่า อุปนิษัท ดังนี้ / พึงทราบว่าโยคะ คือ อุบาย / ในที่นี้การแทงตลอด คือ การเข้าไปสู่ภูมิที่ 1 / การออกไปจนกระทั่งภูมิที่ 6 / เพราะการออกไปจากสิ่งที่ประกอบด้วยความมีนิมิตเหล่านั้น / อันไม่มีนิมิตคือ ภูมิที่ 7 / อันไม่ปรุงแต่ง เพราะเว้นจากอภิสังขาร 3 ในภูมิอื่น / เพราะว่าสังขารอันปรุงแต่งไม่มีในภูมินั้นจึงเรียกว่าอันไม่ปรุงแต่ง / อาศัยภูมิ 3 นั้นแล้ว พึงชำระพุทธเกษตร / และพึงบรรลุความเป็นพุทธะ / นั้นคือ บริสุทธิ์และวิสุทธิ์ตามที่ได้กล่าวแล้วแล /

โศกลว่าด้วยอุบายโกศล 2 โศลก

69     ยังพุทธธรรมให้บริบูรณ์ ยังสัตว์ให้แก่รอบ บรรลุโดยพลันความบริสุทธิ์แห่งกริยา ตัดเสียจากความเป็นไป นี้เป็นความฉลาด

70     อุบายของพระโพธิสัตว์ไม่เสมอในภูมิทั้งปวง เจริญโกศลย่อมยังประโยชน์ทั้งปวงให้สำเร็จ

อรรถาธิบาย     ด้วยโศลกนี้ท่านแสดงประเภทและกรรมแห่งอุบายโกศล / ในที่นี้ในการยังพุทธธรรมให้บริบูรณ์ ความรู้อันไม่แยกแยะเป็นอุบาย / ในการยังสัตว์ให้แก่รอบได้แก่สังคหวัตถุ 4 / ในการบรรลุโดยพลัน เราย่อมแสดงตอบซึ่งบาปทั้งปวงจนกระทั่งความรู้ของเราจงมีเพื่อสัมโพธิ ดังนี้ เป็นการแสดงตอบ อนุโมทนา การแสวงหาและความกำหนดรู้ / ในความบริสุทธิ์แห่งกริยามีการทรงไว้ซึ่งสมาธิเป็นใหญ่ / เพราะความสำเร็จแห่งการกระทำประโยชน์ทั้งปวงด้วยสมาธิ เหล่านั้น / ในการเข้าไปตัดจากความเป็นไปในนิรวาณอันไม่ตั้งมั่น / ในอุบายนั้น เป็นความไม่เสมอแห่งพระโพธิสัตว์ในภูมิทั้งปวงมีอย่าง 5 นั้น เป็นโกศลด้วยอย่างอื่นนี้เป็นประเภท / ความสำเร็จประโยชน์ตนและผู้อื่นเป็นกรรม /

โศลกว่าด้วยการจำแนกการทรงไว้ 3 โศลก

71     ธารณีด้วยวิบากเพราะการฟังและการฝีกฝนด้วยสมาธิย่อมเป็นสิ่งเล็กน้อยและยิ่งใหญ่ ธารณีอันยิ่งใหญ่มี 3 ประการ

72     ความอ่อนและกลางของผู้มีปัญญาผู้ไม่เข้าไปแล้ว และเข้าไปแล้วสู่ภูมิอันไม่บริสุทธิ์ แต่เป็นใหญ่ในภูมิที่บริสุทธิ์ /

73     อบรมธารณีแล้วบ่อยๆ พระโพธิสัตว์ย่อมประกาศสัทธรรมและย่อมทรงไว้พร้อมเป็นนิตย์

อรรถาธิบาย     แม้ในที่นี้ท่านก็แสดงประเภทและกรรมแห่งธารณีไว้ / ในที่นี้ธารณีมี 3 ประการ / ด้วยวิบากแห่งกรรมอันมีในก่อน / ด้วยการฟังและฝึกฝน / ด้วยการฟังมากในทิฐิธรรมเพราะความวิเศษแห่งความสามารถในการเรียนเอาและทรงไว้ / และด้วยการสั่งสมสมาธิ /พึงทราบว่าธารณีนั้น เป็นสิ่งเล็กน้อยเพราะวิบากและการฟังและฝึกฝน / เพราะสมาธิจึงเป็นสิ่งยิ่งใหญ่ / แม้ธารณีที่ยิ่งใหญ่ก็มี 3 ประการ / ความอ่อนแห่งผู้ไม่เข้าไปสู่ภูมิ ความกลางแห่งผู้เข้าสู่ภูมิ ในภูมิ 7 อันเป็นภูมิไม่บริสุทธิ์ / แต่ว่าเป็นสิ่งยิ่งอันประกอบด้วยภูมิอันบริสุทธิ์ในภูมิที่เหลือ นี้เป็นประเภทแห่งธารณีแล / การประกาศและทรงไว้ซึ่งพระสัทธรรมเป็นกรรม /

โศลกว่าด้วยการจำแนกปณิธาน 3 โศลก

74     เจตนาอันพร้อมด้วยฉันทะ และเกิดขึ้นด้วยความรู้นั้นเป็นปณิธานอันไม่เสมอแห่งผู้เป็นปราชญ์ในภูมิทั้งหลาย

75     เป็นเหตุอันพึงรู้และเป็นผลอันฉับพลันแห่งจิตนั้น ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่การสำเร็จประโยชน์อันมาแล้ว เพราะความสำเร็จแห่งจิตเท่านั้น

76     ความวิจิตร อันเป็นสิ่งบริสุทธิ์ที่ยิ่งใหญ่ในภูมิอันยิ่งๆ อันไม่เป็นโพธิของพระโพธิสัตว์ อันสำเร็จประโยชน์ตนและผู้อื่น /

อรรถาธิบาย     ในที่นี้ท่านแสดงปณิธานโดยสวภาวะ โดยที่เกิด โดยภูมิ โดยประเภทและโดยกรรม /เจนนาอันประยุกต์ด้วยฉันทะเป็นสวภาวะ / ความรู้เป็นที่เกิด / ในภูมิทั้งปวงได้แก่ภูมิ/ และปณิธานนั้นเป็นเหตุ / เพราะความมีผลฉับพลันจากจิตนั่นเทียว / อีกประการหนึ่งอรรถอันสำเร็จประโยชน์อันมาแล้ว เป็นผลอันฉับพลันจากจิต พึงทราบว่าเป็นจิตเท่านั้น โดยความสำเร็จประโยชน์อันละยิ่งแล้ว / พระโพธิสัตว์ผู้มีพละเพลิดเพลินด้วยปณิธานใด / ความพิสดารว่า การนับไม่ใช่การกระทำได้โดยง่าย เพื่อกายหรือเพื่อคนอื่นทั้งปวง ดังนี้ / ความวิจิตรในภูมิเป็นที่ประพฤติอธิมุกติอย่างนี้ๆ พึงมีดังนี้ / มหาปณิธาน 10 แห่งผู้เข้าไปสู่ภูมิอันยิ่งใหญ่ / ความบริสุทธิ์ในภูมิอันยิ่งๆแห่งโพธิอันวิเศษและบริสุทธิ์ นี้โดยประเภท / ความสำเร็จประโยชน์ตนและผู้อื่นเป็นกรรม /

โศลกว่าด้วยการจำแนกสมาธิ 3 (3โศลก)

77    พึงรู้ ความไม่มีตัวตน 2 ประเภท เพราะอาศัยผู้ยึดถือตนความเข้าไปสงบแห่งความไม่มีตัวตนนั้น เป็นโคจรแห่งสมาธิ3 เป็นนิตย์

อรรถาธิบาย     พึงทราบ โคจร 3 ประการแห่งสมาธิ 3/ ความไม่มีตัวตนแห่งบุคคลและธรรม / เป็นศูนยตาสมาธิ การยึดมั่นในขันธ์5 เพราะอาศัยผู้ถือตน เป็นอปณิหิตสมาธิ / ความเข้าไปสงบแห่งการอาศัยนั้น เป็นอนิมิตตสมาธิ / นั้นเป็นเช่นนี้แล /

78ก     พึงทราบสมาธิมี3 โดยภาวะแห่งผู้ยึดถือและสิ่งควรยึดถือ

อรรถาธิบาย     ผู้ยึดถือโคจรแห่งสิ่งที่ควรยึดถือ 3 ประการ ได้แก่ สมาธิ / คือศูนยตา สมาธิเป็นต้น ดังนั้นพึงทราบสมาธิมี 3 โดยภาวะ แห่งผู้ยึดถือและสิ่งที่ควรยึดถือ / ตามลำดับ /

78ข     ไม่เป็นสิ่งแยกแยะ มีหน้าอันแตกต่าง ประกอบด้วยความยินดีในกาลทั้งปวง

อรรถาธิบาย     ศูนยตาสมาธิเป็นสิ่งไม่แยกแยะ / เพราะไม่แยกแยะ ความมีตัวตนแห่งบุคคลและธรรม / อปณิหิตสมาธิ เป็นสิ่งมีหน้าอันแตกต่าง เพราะอาศัยผู้ยึดถือ ในอัตตา / อนิมิตตสมาธิ เป็นสิ่งประกอบด้วยความยินดี เพราะเข้าไปสงบแห่งการอาศัยในสมาธินั้น ตลอดกาลทั้งปวง

79     อรรถ 3 ประการแห่งศูนยตาสมาธิเป็นต้น เป็นสิ่งกระจายโดยความรู้รอบ โดยการละ โดยการกระทำอันฉับพลัน /

อรรถาธิบาย     อรรถแห่งความรู้รอบในความไม่มีตัวตนแห่งบุคคลและธรรมเป็นศูนยตาสมาธิ / อรรถแห่งการละการอาศัยผู้ถือมั่นในอัตตา เป็นอปณิหิตสมาธิ / และอรรถแห่งการกระทำโดยพลันของความเข้าไปสงบเป็นอนิมิตตสมาธิ /

โศลกว่าด้วยการจำแนกอุทานธรรม 2 โศลก

80     อุทานธรรมมี 4 ประการ โดยความเป็นสมาธิและอุปนิษัทอันแสดงแล้วแก่พระโพธิสัตว์ เพราะต้องการความเกื้อกูลแก่สัตว์

อรรถาธิบาย     ในที่นี้ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ นี้อันภาวะแห่งอุปนิษัทแห่งอปณิหิตสมาธิ อันท่านแสดงแล้ว / ธรรมทั้งปวงอนัตตานี้ แห่งศูนยตาสมาธิ / นิรวาณ คือสนติ ดังนี้ แห่งอนิมิตตสมาธิ / อีกประการหนึ่งใครกล่าวแล้วว่า อรรถแห่งความไม่เที่ยงจนถึงอรรถแห่งความสงบดังนี้ /

81     อรรถแห่งความไม่มี อรรถแห่งความไม่แยกแยะ อรรถแห่งความหลอกลวง อรรถแห่งความเข้าไปสงบแห่งความหลอกลวงของผู้มีปัญญามี 4 ประการ

อรรถาธิบาย     อรรถแห่งความไม่มี คือ อรรถแห่งความไม่เที่ยงของพระโพธิสัตว์ / ความเที่ยงใด ย่อมไม่มี ความเที่ยงนั้น เป็นลักษณะแห่งปริกัลปิตะของพระโพธิสัตว์เหล่านั้น / อรรถแห่งความแยกแยะอันไม่มีอยู่จริง เป็นอรรถแห่งทุกข์ เป็นลักษณะแห่งปรตันตระ / อรรถแห่งความเป็นแต่เพียงสิ่งหลอกลวง เป็นอรรถแห่งอนัตตา / โดยศัพท์ว่า เอว เป็นการเน้น อัตตาอันหลอกลวงย่อมไม่มี แต่ว่ามีเพียงสิ่งหลอกลวงเท่านั้น ดังนี้ อรรถแห่งอภาวะของลักษณะแห่งปริกัลปิตะ เป็นอรรถแห่งอนัตตา ดังนี้ เป็นคำที่ท่านกล่าวแล้ว / อรรถแห่งการเข้าไปสงบแห่งความแยกแยะ เป็นอรรถแห่งความสงบ เป็นลักษณะแห่งปรินิษปันนะ ได้แก่ นิรวาณ / อรรถแห่งการทำลายขณะก็พึงทราบว่าเป็นอรรถแห่งความไม่เที่ยงแห่งลักษณะปรตันตระ /

โศลกว่าด้วยการจำแนกความเป็นขณะ เพื่อการกำหนดชัดนั้น 10 โศลก

82     เพราะไม่มีโยคะ เพราะเหตุ เพราะการอุบัติ เพราะวิโรธะ เพราะความไม่ตั้งมั่นด้วยตน เพราะความไม่มี เพราะไม่มีที่สุดแห่งลักษณะ เพราะการหมุนไปตาม เพราะนิโรธ

83     เพราะการได้การกำหนดรู้ เพราะความเป็นเหตุและผล เพราะความเป็นใหญ่แห่งการเกิดขึ้น และเพราะการหมุนไปตามแห่งสัตว์อันบริสุทธิ์

อรรถาธิบาย     ในที่นี้ สิ่งชั่วขณะทั้งปวง เป็นสังขต พึงทราบความรู้รอบรู้อันที่อธิบายไว้ตอนต้น / อีกประการหนึ่งย่อมสำเร็จอย่างไร / ความเป็นสิ่งชั่วขณะ เพราะการประกอบด้วยการเป็นไปแห่งสังขาร โดยไม่ระหว่าง / เพราะโดยการประพันธ์ ปฺรวฺฤตฺติ จึงเป็น วฺฤตฺติ / ความเป็นไปทั่วนั้นไม่ควรประกอบด้วยนิโรธอันเกิดขึ้นเพียงชั่วขณะ โดยไม่มีระหว่าง / ครั้นความเป็นไปตั้งมั่นตลอดกาลแล้ว พึงทราบโดยการประพันธ์ โดยการเกิดขึ้นแห่งนิโรธอันยอดเยี่ยมในกาลก่อน / ความเป็นไปอันไม่มีระหว่างไม่พึงมี เพราะอภาวะแห่งการประพันธ์ / เมื่อเว้นจากการประพันธ์แล้ว ภาวะพึงประกอบตลอดกาล / เหตุอะไร เพราะเหตุอันอุบัติ / เพราะว่าสิ่งที่เป็นสังขตทั้งปวงย่อมเกิดขึ้นโดยเหตุ โดยอรรถก็คือย่อมมี / อีกประการหนึ่ง ครั้นมีแล้ว กาลอันยิ่งย่อมมี อันเหตุ พึงมีแน่แท้ / เว้นจากเหตุก็เป็นเหมือนพระอาทิตย์ / จึงไม่ควรเพื่อเป็นโดยไม่มีเหตุอันนั้น / เหตุอันอื่นอีกย่อมไม่เกิดขึ้น / เพราะเหตุนั้น เหตุก่อนอันอื่นย่อมมีแน่แท้ พึงทราบว่าเป็นปฏิปักษ์ / ครั้นเว้นจากการผูกพันอย่างนี้แล้วไม่พึงประกอบภาวะตลอดกาลไม่มีระหว่าง /

เป็นที่ทราบอย่างนี้ว่าอรรถไม่เกิดขึ้นแล้วย่อมไม่เกิดขึ้นอีก พึงเป็นด้วยเหตุ แต่ว่าเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเกิดขึ้นก่อนอีก โดยตลอดกาลกล่าวคือ เพียงแต่เกิดขึ้นเท่านั้น / โดยความมีในกาลก่อนอันท่านอธิบายแล้ว / ท่านกล่าวโดยเหตุเป็นการอุบัติ / และเป็นเช่นกับเงาและแดด และความเย็นและร้อน / และเพราะนิโรธแห่งการดับตลอดกาลมีในระหว่าง / ดับโดยอะไร / โดยความรู้ / พระผู้มีพระภาคกล่าวแล้ว / สังขารมีมายาเป็นอุปมา เพราะมีอยู่ในกาลอันเป็นไปในความมีอยู่แห่งอบาย และไม่ตั้งมั่นในปัจจุบัน / และโดยการมนสิการของโยคีทั้งหลาย / เพราะว่าโยคีย่อมทำการมนสิการในการเกิดและดับของสังขารแล้วจึงเห็นการดับแห่งสังขารขณะหนึ่ง / โดยประการอื่นไม่พีงมีโดยการพ้นจากราคะต่างๆแห่งผู้เห็นนิโรธเหล่าอื่นในกาลเป็นที่ตายเป็นต้น / ถ้าสังขารเกิดขึ้นแล้วพึงตั้งมั่นอยู่ตลอดกาล สังขารนั้นเป็นสิ่งสารมารถเพื่อเป็นเองหรือพึงตั้งอยู่เองเท่านั้น / หรือโดยเหตุเพื่อความตั้งมั่นอยู่เองในกาลก่อน / หรือว่าโดยอะไรจึงไม่สามารถเพื่อตั้งอยู่ในภายใน / แม้โดยเหตุของความตั้งมั่นไม่ควรแล้ว เพราะความไม่มีแห่งเหตุนั้น / เพราะว่าย่อมไม่ได้ซึ่งอะไรๆเลย / แม้เว้นจากเหตุแห่งความตั้งมั่นแล้ว ความไม่มีอยู่แห่งการพินาศ ย่อมไม่ตั้งมั่น / แต่ว่า เมื่อมีเหตุให้พินาศย่อมพินาศจากการก่อนเหมือนไฟ ย่อมถึงซึ่งความเป็นเถ้า / ท่านประกอบสิ่งใด เพราะความไม่มีแห่งสิ่งนั้น / แม้ในกาลก่อนเหตุแห่งความพินาศไรๆ ย่อมไปความสำเร็จว่าย่อมพินาศ แม้ด้วยไฟโดยเป็นเถ้าถ่าน / แต่ว่าในการเกิดขึ้นอันเห็นได้เช่นนั้น เป็นความสำเร็จอันหลอกลวงเท่านั้น / เพราะการสัมพันธ์ต่อกัน / ความเป็นเถ้าถ่านเป็นเช่นกับด้วยสันตติ แต่ว่าไม่ถูกยึดถือ ความไม่เป็นไปรอบ โดยประการทั้งปวง / โดยความอุบัติแห่งพื้นฐานอันสัมพันธ์กับไฟ จึงไม่เกิดขึ้นอีก เพราะไม่ถูกยึดถือ / ภาวะแห่งความสัมพันธ์ระหว่างไฟอันบรรลุแจ้ง / สถานะไรๆอันไม่ควรประกอบเพื่อการเกิดอุบัติขึ้น / เพราะความเป็นหนึ่งแห่งลักษณะ / เพราะความเป็นหนึ่งลักษณะแห่งสังขตที่ได้กล่าวแล้วโดยพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยความไม่เที่ยงแห่งสังขตนั้น / เพราะว่าสักแต่ว่าเกิดขึ้นแล้วพึงพินาศไป / ความเที่ยงแท้แห่งสังขตนั้นไม่พึงมีในกาลไรๆ ดังนี้เป็นลักษณะแห่งความไม่เที่ยงอันเป็นมายาการเหมือนกาบเป็นผล / พุทธิอันเช่นนั้นย่อมไม่มี เพราะความไม่มีอยู่จริงแห่งการหมุนไปนั้น / บุคคลย่อมบรรลุด้วยนิโรธอย่างไร / เพราะนิโรธอันไม่ตั้งมั่นเหมือนอย่าง