ความรู้และเข้าใจในพุทธวัชรยานของชาวไทย
บทความจาก สภาการศึกษา มหามกุฎราชวิทยาลัย
หลักพระพุทธศาสนาแบบตันตระ
คำ ว่าพระพุทธศาสนาแบบตันตระ นั้นโดยทั่วไป ใช้เรียกพระพุทธศาสนาในอินเดียยุคหลัง กล่าวคือ มนตรยาน วัชรยาน หรือสหัชยาน การที่นิกายโยคาจาร ได้ย้ำถึงความสำคัญของวิญญาณและความเจริญของวิญญาณได้ค่อยๆทำให้เกิดความ เปลี่ยนแปลงหลายประการ ในพระพุทธศาสนา มนตร์ ธารณี และแผนภาพเป็นรูปวงกลมหรือสามเหลี่ยม เริ่มมีความสำคัญเพิ่มขึ้น สำหรับโยคี มนตร์เหล่านี้ถือกันว่ามีอำนาจขลังอย่างสำคัญ ถ้าจะเปรียบก็พอเปรียบกันได้กับ ปริตร ในคัมภีร์บาลี เพราะปริตรนั้น ก็ถือกันว่าสามารถป้องกันผู้ท่องบ่นให้พ้นจากความชั่วทั้งปวงได้ ครั้งหนึ่งการปฏิบัติแบบลึกลับ ถูกนำเข้ามาในพระพุทธศาสนา การปฏิบัตินั้น ต้องการผู้ปฏิบัติเพียงกลุ่มเล็กๆ ฉะนั้นการจะรักษาไว้ให้สืบต่อกันไปได้ จึงจำเป็นต้องมีสถาบันแห่งครูและศิษย์ (คุรุและเจฬะ) ปฏิบัติสืบต่อกันไปเรื่อยๆ
เพื่อจะรักษาธรรมชาติอันลึกลับของการปฏิบัตินั้นไว้ นักปฏิบัติจำต้องใช้ภาษาสัญลักษณ์ ซึ่งเข้าใจกันได้เฉพาะในหมู่นักปฏิบัติเท่านั้น สำหรับคนสามัญคำพูดเหล่านั้น มีความหมายอีกอย่างหนึ่ง นักเขียนในนิกายนี้ได้ใช้ภาษาที่มีความหมายสองแง่ในทำนองเป็น “คำคม” ความหมายจริงๆของคำเหล่านั้นจะทำให้คนสามัญต้องสดุ้งตกใจ แต่สำหรับ “นักปฏิบัติ” เขาจะแปลความหมายไปอีกทาง คนธรรมดาย่อมแปลความหมายของคำต่างๆตามที่เคยแปลกันมา ฉะนั้นจึงทำให้เกิดความเข้าใจ ฉะนั้นจึงทำให้เกิดความเข้าใจผิดอย่างใหญ่หลวง
ลักษณะอีกประการหนึ่งของพระพุทธศาสนาแบบตันตระ ก็คือเชื่อในเทพเจ้าและเทพีเป็นจำนวนมาก เขาเชื่อว่าด้วยความโปรดปรานของเทพเจ้าและเทพีเหล่านั้นผู้ปฏิบัติก็จะบรรลุ “สิทธิ” หรือความสำเร็จได้ เขามันจะสร้างรูปแสดงให้เห็นว่า พระพุทธเจ้าประทับนั่นอยู่ ในท่ามกลางเทพีเป็นจำนวนมาก
(เทพ เทพีที่เกิดมาก่อนในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งพระพุทธเจ้ามิได้ปฏิเสธว่า ไม่มีอยู่จริง ซึ่งนักตันตระชาวพุทธได้แปลงมาเป็นเทพพุทธะ เทพีพุทธะ ทั้งยังได้สร้าง พุทธเจ้าปางดุ พุทธมารดาปางดุขึ้น อีกทั้งยังมีเทพโพธิสัตว์ และเทพธรรมบาล อีกมาก นักตันตระชาวพุทธสร้างขึ้น มิใช่ต้องการความโปรดปรานของเทพพุทธะทั้งปวงเหล่านั้น แต่ต้องการได้คุณสมบัติของเทพพุทธะเหล่านั้น เพราะว่า เทพพุทธะเหล่านั้นแต่ละองค์ก็เป็นสัญลักษณ์ของอารมณ์หนึ่งของสรรพชีวิต พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์มีคุณสมบัติพิเศษจากอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งเป็นพิเศษใน การบรรลุธรรม คุณสมบัตินั้นเป็นสิ่งที่นักตันตระต้องการเพื่อการบรรลุสิทธิ มิใช่การบูชาเพื่อให้ท่านโปรดปราน ศรีภัทร
ยัง มีพระพุทธศาสนาอีกแบบหนึ่ง ที่เหมือนกับพระพุทธศาสนาแบบที่กล่าว มาแล้ว นั่นก็คือพระพุทธศาสนาแบบ วัชรยาน พระพุทธศาสนาแบบนี้ นอกจากจะไม่มีคำสอนที่ดีหรือบริสุทธิ์ตามแบบเดิมแล้ว ก็ยังผสมผสานกับประเพณีท้องถิ่น และยอมรับพิธีกรรมลึกลับและน่ากลัวต่างๆ จึงแพร่หลายอยู่ในหมู่ชนชั้นต่ำ ผู้นำทางศาสนาแบบนี้ปฏิบัติและส่งเสริมข้อปฏิบัติหลอกลวงต่างๆ เช่นข้อปฏิบัติ 5 ประการ เกี่ยวกับ ม. คือมัทยะ (น้ำเมา) มางสะ(เนื้อ) มัตสยา(ปลา) มุทรา(ผู้หญิง) และไมถุนะ(เสพเมถุน) ในหนังสือ ศรีสมาช(คุยหสมาช) สาธนมาลา ,ชญาณสิทธิ เป็นต้น เราจะพบว่ามีการเหยียบย่ำแม้กระทั่งศีล 5 ซึ่งเป็นรากฐานของพระพุทธศาสนา ตัวอย่างเช่นในหนังสือ คุยหสมาช สนับสนุนให้มีการฆ่า การหลอกลวง การลัก และการเสพเมถุน ใครจะคิดบ้างว่า พระพุทธเจ้าทรงเห็นด้วยกับการกระทำเช่นนั้น
อย่างไรก็ตาม ลัทธินี้ก็แพร่หลายไปกว้างขวาง ในอินเดียตะวันออก มหาวิทยาลัยวิกรมศีลา ซึ่งเป็นศูนยกลางแห่งการศึกษาแบบตันตระ ซึ่งค่อยๆแพร่หลายไปยัง เบงกอล อัสสัม และโอริสสา ประชาชนคนดีๆ ทั้งหลายต่างพากันต่อต้าน การปฏิบัติหลอกลวงเช่นนั้นอย่างหนักหน่วง และกระปฏิบัติหลอกลวงนี้เอง มีส่วนอย่างสำคัญ ในความเสื่อมศูนย์แห่งพระพุทธศาสนาในอินเดีย **(จากสองคอลัมท์ข้างบน ได้กล่าวถึงชนชั้นต่ำ ขอให้ท่านได้อ่านต่อไปจนจบแล้วจะเข้าใจในความเข้าใจผิดของตนต่อพุทธวัชรยาน ขออธิบายคำว่าชนชั้นต่ำ ตั้งแต่มีพุทธศาสนาขึ้นมา ผู้ที่ปฏิบัติพุทธธรรมได้ถูกจัดอันดับแม้ต่ำที่สุดก็ถูกเรียกว่า “บัณฑิต” ดังนั้นจึงมิไม่ชนชั้นต่ำเป็นชาวพุทธเลย แต่เราก็ต้องยอมรับว่า มีบุคคลชั้นต่ำซึ่งใช้ประโยชน์จากความศรัทธาของมหาชนต่อพุทธศาสนา พวกนี้มิเคยมีจิตใจใฝ่หาการบรรลุพุทธภาวะเลย เพียงอาศัยรูปแบบของชาวพุทธดำรงชีพ แล้วปฏิบัติตามตัณหาราคะของตน มิเคยได้พัฒนาใจ ขัดเกลาจิต ไม่เคยตีความในพุทธปรัชญาเพื่อการหลุดพ้น แต่พยายามตีความเพื่อสนองตัณหาแห่งตน เพราะรูปแบบที่ตนยืมมาดำรง ทำให้ตนมีเกียรติได้รับความเคารพจากมหาชน ยิ่งทำให้การหลอกลวงเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น อีกทั้งยังดึงดูดชนชั้นเดียวกันได้ให้เป็นเช่นเดียวกันได้มากขึ้นเรื่อยๆ พระเจ้าอโศกได้จับผู้ปลอมตัวบวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา ถึง หกหมื่นกว่าคน ผู้ปลอมตัวบวชเหล่านั้นชาวพุทธเรามิได้ยอมรับพวกเขาเป็นพุทธศาสนิก ถือเป็นชนชั้นต่ำที่แฝงตัวมาอาศัยหากินเท่านั้น แต่ในกรณีที่ท่านได้กล่าวว่าชนชั้นต่ำในวัชรยานเป็นตัวการทำให้พระพุทธศาสนา เสื่อมจนสูญสลาย แล้วทำไมท่านยังยอมรับเขาเหล่านั้นเป็นพุทธศาสนิกชน แล้วทำไมผู้ปลอมบวชในสมัยพระเจ้าอโศกเราไม่ถือเขาว่าเป็นพุทธศาสนิกชน พุทธศาสนาไม่ว่านิกายใดและลัทธิใดก็มีผู้ที่เป็นชาวพุทธที่แท้จริงและเป็น ผู้ที่อาศัยพุทธศาสนาเกาะกินและบ่อนทำลายด้วยกันทั้งนั้น ทั้งเถรวาท มหายาน และวัชรยาน จึงมีทั้งผู้จรรโลงและทำลายด้วยกันทั้งนั้น การกล่าวว่า เฉพาะชาวพุทธวัชรยานเป็นตัวการทำให้พุทธศาสนาต้องกลายเป็นศาสนาแห่งความ สกปรก มั่วสุมอยู่ในโลกีย์ตัณหา จนตกต่ำและต้องสูญสลายไปจากดินแดนที่ให้กำเนิดนั้นถูกต้องหรือไม่ ในกรณีของข้อปฏิบัติ 5 ม.ซึ่งเป็นเรื่องของปรัชญา นักตันตระชาวพุทธให้ความหมายทางปรัชญาไปทางหนึ่ง แต่เราก็ห้ามมิใช่ชนชั้นต่ำซึ่งมิใช่นักตันตระชาวพุทธตีความไปตามที่ตนเอง ต้องการอีกทางหนึ่งไม่ได้ สุดท้ายชาวพุทธเราเองก็ร่วมมือกับชนชั้นต่ำซึ่งมิใช่ชาวพุทธ โจมตีชาวพุทธด้วยกันเองและสถาปนาชนชั้นต่ำที่ไม่ใช่ชาวพุทธให้เป็นชาวพุทธ ที่ทรงปัญญาจนสามารถทำลายพระพุทธศาสนาไปได้ หลักการของการปฏิบัติกับสุรา ที่กล่าวไว้ว่า เพื่อให้เกิดความมึนเมาจะได้สุดสวิงกิ้งอย่างเต็มที่ แต่การเกี่ยวข้องกับสุราของนักตันตระชาวพุทธยังคงปฏิบัติตามศีลข้อห้า คือให้ใช้เป็นกระสายยาได้ไม่เกินขนาดหนึ่งเมล็ดแตงโม แต่ในกรณีที่ พระอาจารย์ได้พบศิษย์ที่ทะนงตนว่าได้บรรลุการดำรงสติตลอดเวลาทุกสถานการณ์ พระอาจารย์จำนำสุรามาทดสอบกับศิษย์ การปฏิบัตินี้จะอยู่ในความควบคุมของพระอาจารย์ เรื่องเนื้อและปลา การเสพเนื้อเสพปลา ต้องเสพด้วยความเมตตา 1 สัตว์นั้นต้องถึงซึ่งกาลเอง 2 ต้องเสพด้วยจิตเมตตาเพื่อให้สัตว์นั้นได้สร้างกุศล 3 เนื้อสัตว์เมื่อมาบำรุงกายเราต้องคำนึงถึงจำนวนชีวิตของสัตว์ ควรเสพสัตว์ด้วยชีวิตจำนวนน้อย มากกว่าใช้ชีวิตสัตว์จำนวนมากในแต่ละมื้อ ส่วนคำว่ามุทรา ในที่กล่าวไว้ว่ามุทราแปลว่า ผู้หญิงที่มาร่วมเสพกาม แต่ในวัชรยานชาวพุทธ มุทราแปลว่าสัญลักษณ์แห่งการตรัสรู้ คือคุณสมบัติของสิ่งซึ่งทำให้พระพุทธเจ้าในอดีต เป็นพระพุทธเจ้า ดังนั้น มุทราคือสัญลักษณ์แห่งพุทธภาวะของพระพุทธเจ้าในอดีต หลักสุดท้ายคือ เมถุน เมถุนในพุทธวัชรยาน เป็นการปฏิบัติสมาธิจิตด้วยการ รวม ปัญญาและอุบายเข้าด้วยกัน เป็นการ เสพเมถุนภายในจิตของผู้ปฏิบัติเองคนเดียว(มีกล่าวไว้ในหนังสือหลักขอให้อ่าน ต่อไป) ธรรมะจะเป็นสิ่งประเสริฐ หรือเป็นเครื่องมือสุดต่ำช้า อยู่ที่ผู้นำเครื่องมือนั้นไปปฏิบัติ พุทธธรรมเมื่ออริยะชนชาวพุทธนำไปปฏิบัติ ก็นำจิตให้สูงขึ้นไปสู่ความเป็นพุทธศาสนิกชนอย่างสมบูรณ์ แต่พุทธธรรมถ้าชนผู้มิใช่ชาวพุทธนำไปดัดแปลงแล้วปฏิบัติ เราคงไม่เรียกผู้ปฏิบัตินั้นว่าเป็นพุทธศาสนิกชน สามัคคีธรรมที่วัสสการพราหมณ์ นำธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอนไปดัดแปลงและปฏิบัติจนแคว้นวัชชีล่มสลาย เราจะถือว่าวัสสการพราหมณ์เป็นชาวพุทธ หรือ ชาวพราหมณ์ ศรีภัทร)
ในบรรดาพระพุทธศาสนาแบบต่างๆ คำสอนแบบตันตระถูกละเลยและเข้าใจผิดกันมาจนถึงทุกวันนี้ ที่ว่า ตันตระนี้เกิดขึ้นจากประเพณีต่ำๆของพวกฮินดู และการปฏิบัติผิดๆซึ่งมีอยู่ในกลุ่มชนที่ไร้การศึกษา คำสอนแบบตันตระทุกอย่าง คนทั้งหลายรังเกียจกันมาก จนกระทั่งนักปราชญ์ก็ไม่กล้าแตะต้อง ผลก็คือ การสำรวจหรือการวิจัยอย่างตรงไปตรงมา ถูกทอดทิ้งเป็นเวลาช้านาน
นักปราชญ์ชาวยุโรป คนแรกที่กล้ารื้อฟื้นตันตระขึ้นมา โดยเฉพาะตันตระของฮินดูว่าด้วย กุณฑลินีโยคะ คือเซอร์ จอห์น วูดรอฟ ท่านผู้นี้ได้พิมพ์หนังสือชุดตันตระและปรัชญาตันตระขึ้นโดยใช้นามปากกาว่า อาร์เธอร์ อเวลอน ในคำนำเรื่องจักรสัมภารตันตระ เขากล่าวไว้ว่า “คนโง่เข้าใจความแท้จริงด้านจิตใจไม่ถูกต้อง เขาจึงเรียกความแท้จริงเข่นนั้นว่า ไสยศาสตร์ ความชั่วและความโง่นั้นมีอยู่มากแล้วตามธรรมชาติของมัน และมันได้สร้างวิชาให้เราศึกษาในแง่ตรงกันข้าม แต่ถ้าเราไม่ยึดถือความรู้นั้น ก็จะเป็นเหตุให้เกิดความโต้เถียงกันทางศาสนา ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงขอย้ำว่า เราต้องเชื่อสติปัญญาและความยุติธรรมของเราเอง โดยพยายามเข้าใจศาสนาทุกศาสนาในแง่ที่ดีที่สุด และจริงที่สุด” แม้อเวลอนเอง ก็เชื่อว่า ลัทธิตันตระในพระพุทธศาสนาเป็นเพียงสาขาหนึ่งของลัทธิตันตระแบบฮินดู และเชื่อว่า ตำราซึ่งเขาค้นคว้านั้นเป็นหลักดั้งเดิมของตันตระทีเดียว ความเห็นนี้เป็นที่ยอมรับว่าถูกต้องมาโดยตลอดตราบเท่าที่ความรู้เรื่อง ตันตระจารคัมภีร์ของธิเบตยังไม่ได้เป็นที่รับรู้กันนอกดินแดนหิมาลัย เพราะคัมภีร์ตันตระเหล่านั้น ถึงแม้จะมีคำแปลแล้วแต่ก็ยังยากที่จะเข้าใจ ทั้งในด้านเหตุผล ในด้านประวัติศาสตร์ และในการปฏิบัติ
เหตุผลสำหรับเรื่องนี้ ก็คือว่าคัมภีร์เหล่านี้เราไม่สามารถจะเข้าใจได้เฉพาะในด้านปรัชญาเท่านั้น แต่เราเข้าได้จากประสบการณ์ด้านโยคะ ซึ่งไม่สามารถจะศึกษาได้จากหนังสือ ยิ่งกว่านั้นหนังสือซึ่งใช้ค้นคว้ากันนี้ ก็เขียนด้วยสำนวนแปลกๆ คือ ใช้ภาษาที่มีความหมายไม่ตรงตามตัวอักษร ซึ่งภาษาสันสกฤตเรียกว่า สนธยาภาษา
การใช้ภาษาที่มีความหมายไม่ตรงตามตัวอักษรนั้น ทำให้คนโง่ หรือผู้ที่ไม่ใช่นักปฏิบัติ ไม่สามารถจะเข้าใจได้ และนำไปปฏิบัติผิดๆ อีกด้วย แต่ก็จำเป็นต้องใช้ภาษาเช่นนั้น เพราะภาษาธรรมดาไม่สามารถจะแสดงประสบการณ์สูงสุดของจิตใจได้ สิ่งที่นักปฏิบัติได้บรรลุนั้น อธิบายให้เข้าใจกันไม่ได้ แต่สามารถแนะนำให้ปฏิบัติตามได้ ด้วยการยกอุทาหรณ์ และใช้อุปมาเปรียบเทียบ
ลักษณะ ทำนองเดียวกันนี้ มีอยู่ในพระพุทธศาสนานิกายฌานของจีนและนิกายเซนของญี่ปุ่น เพราะนิกายทั้งสองนั้น ได้มีความสัมพันธ์กับนักปฏิบัติโยคะตันตระของพระพุทธศาสนาในยุคกลาง ผู้ปฏิบัติจนบรรลุผลเหล่านี้เรียกตัวเองว่า สิทธะ ซึ่งแพร่หลายอยู่ในอินเดียระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7-11 พวกนี้เองเป็นผู้ประกาศคำสอนแบบตันตระวัชรยาน คัมภีร์ลึกลับและกวีนิพนธ์เป็นจำนวนมากของเขา ถูกทำลายเกือบหมด เมื่อประเทศอินเดียถูกพวกมุสลิมรุกราน แต่หนังสือเหล่านั้น ส่วนใหญ่ ได้แปลเป็นภาษาธิเบต ประเพณีการบำเพ็ญโยคะ และสมาธิก็ถ่ายทอดกันเรื่อยมาเป็นเวลาหลายชั่วคน
อย่างไรก็ตาม ในอินเดีย ยังคงมีชนชั้นต่ำที่ปฏิบัติตันตระ โดยคลุกเคล้าไปกับประเพณีของคนเหล่านั้น จนในที่สุดก็หมดคุณค่ากลายเป็นลัทธิไสยศาสตร์ ซึ่งไม่ได้รับความเชื่อถือ จากนักปฏิบัติตันตระที่แท้จริง
การปฏิบัติตันตระแต่เก่าก่อนของชาวพุทธ ได้มีอิทธิพลต่อศาสนาฮินดูอย่างมากมาย และความจริงจังของชาวฮินดูในการใช้การปฏิบัติตันตระ ส่งผลให้นักปราชญ์ในการต่อมาเข้าใจว่าตันตระนั้นเกิดจากฮินดู และนิกายต่ำๆของพระพุทธศาสนายอมรับและนำเข้ามาใช้ในภายหลัง
จากหลักฐานที่ได้ค้นพบยืนยันว่า พระพุทธศาสนาได้มีการปฏิบัติตันตระกันแล้วตั้งแต่ มหาสังฆิกะยุคแรก ประมวลมนตราธารณีปิฎกของมหาสังฆิกะ ในหนังสือมัญชูศรีมูลกัลป์ปะ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่า เขียนขึ้นในตริสตศตวรรษที่ 1 ได้มีการกล่าวถึง มนตร์ ธารณี มณฑลและมุทรา เป็นอันมาก เป็นความครบถ้วนสมบูรณ์ของการปฏิบัติตันตระ ฉะนั้นการกล่าวว่าชาวพุทธชั้นต่ำยอมรับและนำเข้ามาซึ่งตันตระของฮินดูมาปน เปื้อน ในคริสตศตวรรษที่7-11 จึงเป็นเรื่องที่ไม่เป็นความจริงเลย นักปราชญ์และผู้ปฏิบัติชาวพุทธได้ปฎิบัติตันตระมาก่อนฮินดูหลายศตวรรษ และก็มิใช่ปฏิบัติกันในหมู่ชาวพุทธชั้นต่ำ ผู้ที่ได้ศึกษาตันตระที่แท้จริงจึงรู้ว่า พุทธตันตระและฮินดูตันตระนั้น แม้มีคำเรียก คำกล่าว ที่คล้ายกัน และจุดประสงค์และการปฏิบัติต่างกันเป็นตรงกันข้าม
อาจารย์ศังกร นักปรัชญาฮินดูผู้ยิ่งใหญ่แห่งคริสต์ศตวรรษที่ 9 ผู้ได้เรียบเรียงหนังสือไว้เป็นรากฐานของปรัชญาไศวะ ได้ยอมรับเอาทรรศนะของนาครชุนและสาวกของนาครชุนเป็นอันมาก จนชาวฮินดูผู้เคร่งครัดระแวงว่าเขาอาจเป็นสาวกลับๆของพระพุทธศาสนา ในทำนองเดียวกัน นักตันตระฮินดูก็ได้ยอมรับเอาวิธีการ และหลักการแห่งลัทธิตันตระของพระพุทธศาสนาไปปรับปรุงใช้ตามความต้องการของตน ทรรศนะดังกล่าวนี้ไม่ใช่จะยอมรัรบกันแต่ในประเทศธิเบตเท่านั้น แม้นักปราชญ์ชาวอินเดีย เมื่อได้สำรวจตรวจสอบคัมภีณ์พระพุทธศาสนาแบบตันตระ ที่เป็นภาษาสันสฤตยุคแรกๆ และได้ทราบความสัมพันธ์ระหว่างคัมภีร์เหล่านั้น กับคัมภีร์ตันตระของฮินดู ในด้านประวัติศาสตร์ และความคิดแล้วก็ยอมรับทรรศนะนั้นเหมือนกัน
ในหนังสือ “ลัทธิลึกลับของพระพุทธศาสนา” เบนอยโตช ภัตตาจารย์ ได้สรุปว่า “อาจกล่าวได้อย่างไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ ว่าพุทธศาสนิกชนเป็นพวกแรกที่สร้างลัทธิตันตระขึ้นในศาสนาขนตน ต่อมาพวกฮินดูได้ยืมตันตระนั้นไปจากพุทธศาสนิก จึงเป็นการไร้ประโยชน์ที่กล่าวว่า พระพุทธศาสนารุ่นหลังเป็นสาขาหนึ่งของศาสนาไศวะ”
ออสติน แวดเดล เป็นอีกผู้หนึ่งที่เข้าใจผิดว่าลัทธิตันตระของฮินดู และของพระพุทธศาสนาใช้วิธีการทางไสยศาสตร์เหมือนกัน เขามักจะแสดงตัวเสมอว่า เป็นผู้เชี่ยวชาญพระพุทธศาสนาแบบธิเบต เขาแสดงความคิดเห็นว่า “ลัทธิตันตระในพระพุทธศาสนานั้น ไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากลัทธิบูชาผีสางเทวดา สิ่งที่เรียกกันว่า “มนตร์” และ “ธารณี” ก็คือคำพูดที่ไร้ความหมาย พิธีกรรมลึกลับของลัทธิตันตระ ก็เป็นเพียงการเล่นกลอย่างโง่ๆ โดยใช้ภาษาที่ไม่มีใครรู้เรื่อง และไร้ความหมาย ส่วนการบำเพ็ญโยคะแบบตันตระก็เปรียบเหมือน “กาฝาก” หรือ “ตัวพยาธิ” ซึ่งเติบโตแพร่หลายเร็วอย่างน่ากลัว แล้วก็บ่อทำลาย “ชีวิตอันร่อแร่” ของพระพุทธศาสนาบริสุทธิ์ที่มีอยู่บ้างในฝ่ายมหายาน คำสอนของมาธยมิก โดยใจความแล้ว ก็เป็นอุจเฉทวาทะที่ใช้เหตุผลผิดๆ กาลจักรก็ไม่สมควรจะถือเป็นระบบปรัชญา” (ความรู้และความเข้าใจในพุทธตันตระของไทยแต่แรกเริ่ม ได้รับจากการแปลหนังสือเรื่องพุทธศาสนาตันตระยานหรือวัชรยานของ ออสติน แวดเดลทั้งสิ้น ศรีภัทร)
เพราะเหตุที่ชาวตะวันตกได้รับความรู้ เรื่องพระพุทธศาสนาแบบธิเบตเป็นครั้งแรกจาก “ผู้เชี่ยวชาญ” เช่นนั้น เขาจึงพากันรังเกียจเกลียดชัง ลัทธิตันตระในพระพุทธศาสนาอย่างรุนแรง ผู้ทีศึกษาลัทธิตันตระ จากหนังสือที่ชาวตะวันตกเขียน ก็พลอยเกลียดลัทธินี้ตามชาวตะวันตกไปด้วย
การใช้หลักตันตระของฮินดูโดยเฉพาะ หลักของลัทธิ “ศักดิ” มาตัดสินคำสอนหรือสัญลักษณ์ต่างๆของลัทธิตันตระ ในพระพุทธศาสนานั้น ย่อมใช้ไม่ได้และเป็นการผิดพลาดย่างมหันต์ ทั้งนี้เพราะระบบทั้งสอง ใช้วิธีการหาเหตุผลแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แม้ว่าทั้งสองระบบจะใช้วิธีโยคะ ใช้ศัพท์เฉพาะหรือศัพท์ปรัชญาเหมือนกัน ก็ไม่ได้หมายความว่าพระพุทธศาสนาเป็นอันเดียวกันกับศาสนาพราหรมณ์ เพราะฉะนั้น กมาใช้ความรู้ตันตระในศาสนาฮินดู มาตีความตันตระในพระพุทธศาสนา หรือการใช้ความรู้ตันตระในพระพุทธศาสนา ไปตีความตันตระในศาสนาฮินดูจึงไม่ถูกต้อง
ไม่มีใครกล่าวหาพระพุทธเจ้าว่าทรงสอนผิด ในการที่ทรงยอมรับเทพเจ้าจากเทพนิยานฮินดู มาสนับสนุนคำสอนของพระองค์ หรือทรงใช้เทพเจ้าเหล่านั้นเป็นสัญลักษณ์ ของความดีบางประการหรือเป็นสัญลักษณ์ของระดับแห่งการบำเพ็ญสมาธิ หรือทรงใช้เทพเจ้าเหล่านั้นเป็นตัวอย่างแห่งความเป็นผู้มีจิตใจสูง แต่ถ้าพวกนักตันตระจะเจริญรอยตามพระองค์บ้าง เขาเหล่านั้นถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้บ่อนทำลายพระพุทธศาสนาอันบริสุทธิ์ เราจะเข้าใจหลักศาสนาใดๆ ไม่ได้ ถ้าเราไม่ศึกษาหลักศาสนานั้นๆด้วยจิตใจที่มีความศรัทธาและเคารพคุณธรรมเหล่า นี้ ผู้ที่ได้รับการศึกษาแล้วย่อมจะมีอยู่ด้วยกันทุกคน เพราะฉะนั้น ก่อนที่เราจะเปรียบเทียบระบบส่วนตัวของนักปราชญ์ แต่ละคนกาบลักษณะที่คล้ายคลึงกันในระบบอื่น เราต้องพิจารณาดูว่านักปราชญ์เหล่านั้น มีพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อมมาอย่างไร เขาสร้างทฤษฎีขึ้น โดยขัดแย้งกับความเป็นจริงของเขาหรือไม่ เพราะความจริงของสองสิ่งที่ดูเผินๆแล้วเหมือนกัน เมื่อพิจารณาดูให้ลึกซึ้ง มักจะมีความแตกต่างกันมาก การก้าวขึ้นในแง่หนึ่ง อาจเป็นการก้าวลงในอีกแง่หนึ่ง เพราะฉะนั้นคัพท์ปรัชญาต่างๆ ก็ดี ภาพพจน์ต่างๆก็ดี อาจจะมีคุณค่าในแง่อื่นแต่ในที่นี้หามีคุณค่าอันใดไม่
เราเห็นด้วยกับท่านภัตตาจารย์เป็นอย่างยิ่ง ที่ท่านกล่าวว่า “เมื่อมองดูแต่เพียงภายนอก ตันตระของพระพุทธศาสนากับตันตระของฮินดู ละม้ายคล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่ แต่อันที่จริงแล้ว ตันตระทั้งอสงนั้นไม่เหมือนกันเลย ทั้งในด้านสาระสำคัญ ทั้งในด้านคำสอนทางปรัชญา ทั้งในหลักศาสนา ข้อนี้ไม่ต้องสงสัย เพราะจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของพุทธศาสนิกกับพวกฮินดูแตกต่างกันอย่าง เปรียบเทียบกันไม่ได้”
ความแตกต่างที่สำคัญก็คือ ลัทธิตันตระในพระพุทธศาสนา ไม่ใช่ลัทธิศักดิ ในพระพุทธศาสนานั้น ความคิดเรื่องศักติ เรื่องอำนาจทิพย์ เรื่องสตรีเพศ ของเทพเจ้าสูงสุด (พระศิวะ) หรือเรื่องสิ่งต่างๆที่เกิดมาจากพระศิวะไม่ได้มีอยู่เลย ตรงกันข้ามในตันตระของฮินดู ความคิดเรื่องอำนาจ(ศักติ) เป็นจุดรวมแห่งความสนใจที่สำคัญ ส่วนความมุ่งหมายที่สำคัญของพระพุทธศาสนาแบบตันตระอยู่ที่ปัญญา
สำหรับพุทธศาสนิกแล้ว ศักติเป็นเพียงมายาคือ อำนาจที่สร้างความลวงขึ้น ซึ่งเราจะพ้นไปได้ก็ด้วยปัญญาเท่านั้น เพราะฉะนั้น พุทธศาสนิกจึงไม่ปรารถนาอำนาจ หรือรวมตนเองเข้าอำนาจของเอกภพ ไม่ว่าเพื่อเป็นนายรหือเป็นทาสของอำนาจเหล่านั้น แต่ตรงกันข้าม พุทธศาสนิก พยายามเปลื้องตนให้พ้นจากอำนาจเหล่านั้น เพราะอำนาจเหล่านั้นทำให้เขาต้องตกเป็นทาสของสังสารวัฏฏ์มาเป็นเวลานับไม่ ถ้วน เขาพยายามกำหนดรู้อำนาจเหล่านั้น ซึ่งทำให้เขาเวียนเกิดเวียนตายอยู่ในวัฏฏสงสาร ทั้งนี้ก็เพื่อเปลื้องตนให้พ้นไปจากวัฏฏสงสารนั้น แต่เขาก็ไม่ได้พยายามจะทำลายอำนาจเหล่านั้น เพียงแต่จะเปลี่ยนให้มันไปเป็นประทีป คือปัญญา เพื่อว่ามันอาจกลายเป็นกำลังแห่งความตรัสรู้ ซึ่งแทนที่จะสร้างความแตกต่างกันต่อไป ก็ทำให้เกิดเอกภาพ ความกลมกลืนและความสมบูรณ์
วัตถุประสงค์ของตันตระฮินดูนั้น ถ้าไม่ตรงกันข้ามกับพระพุทธศาสนาก็แตกต่างกันมากทีเดียว “กุลจุฑามณีตันตระ” แสดงว่า “เมื่อรวมเข้ากับศักติแล้ว จะเพียบพร้อมไปด้วยอำนาจ” “เพราะการรวมกันของพระศิวะกับศักตินั้นเอง โลกจึงถูกสร้างขึ้น” ตรงกันข้ามพุทธศาสนิก ไม่ต้องการสร้างโลก แต่ต้องการ ศูนยตา ซึ่งเป็นสภาวะไม่มีอะไรสร้าง ไม่มีอะไรปรุงแต่ง การสร้างทั้งปวงไม่เกี่ยวกับคูนยตา หรือ ศูนยตามีอยู่ก่อนการสร้างและพ้นจากการสร้างทั้งปวง
การรู้ศูนยตานี้ เป็นปัญญาหรือความรู้สูงสุด การบรรลุความรู้สูงสุดนี้ คือตรัสรู้ กล่าวคือ ถ้าปัญญา (ศูนยตา) หรือคุณธรรมฝ่ายสตรี ซึ่งเป็นสภาวะสถิต และครอบงำสิ่งทั้งปวง เป็นบ่อเกิดแห่งสิ่งทั้งปวง และเป็นที่รวมลงแห่งสิ่งทั้งปวงได้กลมกลืนกับคุณธรรมฝ่ายบุรุษ ซึ่งเป็นสภาวะจลนะอันมีความรักและความกรุณาไม่มีประมาณ เป็นอุบายเพื่อบรรลุปัญญาและศูนยตาแล้ว บุคคลก็จะบรรลุความเป็นพุทธะโดยสมบูรณ์ ปัญญาที่ปราศจากศรัทธา ความรู้ปราศจากความรัก และเหตุผลที่ปราศจากความกรุณา ย่อมนำไปสู่ความศูนย์เปล่า ความร้ายแรงความสลายแห่งจิตใจ และความว่างเปล่า ส่วนศรัทธาที่ปราศจากเหตุผล ความรักที่ปราศจากความรู้ และความกรุณา ที่ปราศจากปัญญา ย่อมนำไปสู่ความยุ่งยาก ความเสื่อมสลาย แต่ในที่ใดคุณธรรมทั้งสองฝ่ายรวมกันในที่ใด ความกรุณากับเหตุผลรวมกัน ศรัทธากับปัญญารวมกัน ความรักสูงสุดกับความรู้สึกซึ้งที่สุดรวมกัน ในที่นั้นย่อมมีความสมบูรณ์ และบรรลุความตรัสรู้อันสูงสุด
เพราะฉันนั้น กระบวนการแห่งความตรัสรู้จึงแสดงด้วยสัญลักษณ์ที่ชัดเจนที่สุด มี่มนุษยธรรมที่สุดและสากลที่สุด นั่นคือ การรวมกันระหว่างชายกับหญิง ด้วยความรักอันสุงสุด ในความรักนั้น อุบายแสดงเป็นเพศชาย ปัญญาแสดงเป็นเพศหญิง ตรงกันข้ามกับตันตระของฮินดู ซึ่งศักติแสดงเป็นสตรี และศิวะแสดงเป็นบุรุษ
ในการใช้สัญลักษณ์ของพุทธศาสนานั้น ผู้รู้(พุทธะ) รวมเป็นอันเดียวกันกับความรู้ของตน เช่นเดียวกับบุรุษและภรรยาของเขา รวมเป็นอันเดียวกันด้วยความรัก และการรวมเป็นอันเดียวกันนี้ ก่อให้เกิดความสุขสูงสุดอันอธิบายไม่ได้ เพราะฉะนั้น ธยานีพุทธะ (พระพุทธเจ้าในอุดมคติซึ่งปรากฏในการทำสมาธิ) และธยานีโพธิสัตว์จึงถูกแสดงว่ารวมกับปัญญาของตน ปัญญานั้นใช้สัญลักษณ์แทนเป็นรูปเทพี ซึ่งเป็นที่รวมแห่งความรู้อันสูงสุด ส่วนธยานีพุทธะ และธยานีโพธิสัตว์ใช้สัญลักษณ์แทนรูปเทพเจ้า ซึ่งเป็นที่รวมแห่งอุบายให้ถึงความตรัสรู้หรือเป็นที่รวมแห่งความรัก และความกรุณาหาประมาณมิได้
นี้ไม่ได้เป็นการกลับสัญลักษณ์ของฮินดูตามใจชอบ แต่เป็นการเป็นการประยุกต์หลักซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อระบบตันตระ ของพระพุทธศาสนาทั้งหมด เพราะในสัญลักษณ์ของฮินดูนั้น “ความเป็นทิพย์แสดงด้วยสัญลักษณ์เพศชาย การเข้าถึงความเป็นทิพย์ แสดงด้วยสัญลักษณ์เพศหญิง สัญลักษณ์ทั้งสองนั้นจะต้องแสดงอย่างชัดเจน มิฉะนั้นเพศแห่งความคิด ซึ่งเขามุ่งหมายจะแสดงให้เป็นรูปธรรมในพระพุทธศาสนา จะไม่ลงรอยกับสัญลักษณ์ของฮินดู”
ในทำนองเดียวกัน ตันตระของฮินดูเป็นการประยุกต์ความคิดสำคัญๆของศาสนาฮินดูซึ่งมีอยู่เท่ากัน แม้ว่าตันตระเหล่านั้น เลียนแบบวิธีการของพุทธศาสนา ทุกแห่งที่จะเหมาะกับความประสงค์ของเขา แต่วิธีอันเดียวกันเมื่อนำไปประยุกต์ด้วยทรรศนะตรงกันข้าม ก็ต้องนำไปสู่ผลอันตรงกันข้าม อย่างแน่นอน ไม่จำเป็นต้องหาเหตุผลทางไสยศาสตร์เช่นนั้น เพื่อให้ลงรอยกับเพศทางไวยากรณ์ คือปัญญา (เพศหญิง) และ อุบาย (เพศชาย)
แต่การหาเหตุผลเช่นนั้น เป็นเพียงผลของการเดาผิดๆ ว่า ตันตระในพระพุทธศาสนาเลียนแบบมาจากตันตระของฮินดู ถ้าเราสามารถเปลื้องตนเองจากความเข้าใจผิดนี้ได้เร็วเท่าใด ก็เห็นได้ชัดเจนเท่านั้นว่า ทรรศนะเรื่องศักตินั้น มิได้มีอยู่ในพระพุทธศาสนาเลยๆ
พวกเถรวาทจะตกใจ ถ้าคำว่า อนัตตา (สันกฤตเรียกอนาตมัน) ถูกแปลความหมายในในทางตรงกันข้าม คือ ให้มีความหมายเหมือนกับคำว่าอาตมันของพราหมณ์ หรืออธิบายไปในทำนองว่า พวกเถรวาทยอมรับความคิดเรื่องอาตมัน (เนื่องจากพระพุทธศาสนา เป็นเพียงสาขาหนึ่งของศาสนาพราหมณ์) ฉันใด พุทธศาสนิกชาวธิเบตก็ฉันนั้น จะรู้สึกตกใจ เมื่อมีใครมาตีความหมายศาสนาของเขาผิดๆว่า เหมือนศักติของฮินดู เพราะคำว่าศักติไม่เคยใช้ในคัมภีร์ของธิเบต และคำว่าศักตินั้นมีความหมายตรงกันข้ามกับสิ่งที่เขาต้องการแสดงโดยใช้ศัพท์ ว่า ปัญญาหรือสตรีเพศ ซึ่งเป็นคู่กับธยานีพุทธะ และธยานีโพธิสัตว์
ระบบเทวนิยมสุดโต่ง ซึ่งเต็มไปด้วยความคิด เรื่องพระเจ้าผู้สร้างนี้ใครๆ ไม่อาจจะเปลี่ยนมาเป็นระบบอเทวนิยม ซึ่งปฏิเสธเรื่องพระเจ้าผู้สร้างอย่างเด็ดขาด ตามอำเภอใจได้ ด้วยความสับสนในการใช้ศัพท์ จึงได้เกิดความเข้าใจผิดขึ้นว่า อภิพุทธะของตันตระยุคต่อมานั้น หาใช่อะไรอื่นไม่ หากแต่เป็นพระเจ้าผู้สร้างในรูปใหม่ ซึ่งนับว่าทรรศนะเช่นนี้ตรงกันข้ามกับทรรศนะในพระพุทธศาสนา อย่างไรก็ตาม อภิพุทธะก็เป็นสัญลักษณ์แห่งสกลภาพอกาลิกภาพ และสัมบูรณภาพแห่งดวงจิตอันตรัสรู้แล้ว หรืออย่างที่ กูเอนเธอร์ กล่าวไว้อย่างห้าวหาญว่า “คำพูดที่ว่าเอกภาพหรือมนุษย์เป็นอภิพุทธะ เป็นเพียงการแสดงประสบการณ์ทั่วไป ที่ยังไม่ชัดเจนพอ อันที่จริงอภิพุทธะไม่ใช่พระผู้เป็นเจ้า ผู้เอาโลกเป็นกระดานหมากรุก และเล่นหมากรุกเพื่อฆ่าเวลาของพระองค์ อภิพุทธะไม่ใช่เอกเทวนิยม อันจะเพิ่มเติมจากพระพุทธศาสนาอเทวนิยมยุคแรก ความเข้าใจเช่นนั้น เป็นความผิดพลาดของนักนิรุกติศาสตร์ พระพุทธศาสนาไม่นิยมสร้างทฤษฎี แต่พยายามขุดค้นลงไปในห้วงลึกแห่งจิตของเรา และพยายามทำแสงอันริบหรี่ ให้สว่างจ้าไปข้างหน้า เพราะฉะนั้นอภิพุทธะ ถ้าจะแปลให้ถูกต้องอย่างที่สุด ก็ต้องแปลว่า “ผู้เปิดเผยธรรมชาติอันแท้จริงของมนุษย์”
เพราะความสับสนระหว่าง ลัทธิตันตระในพระพุทธศาสนา กับลัทธิศักติในตันตระของฮินดู จึงได้เกิดความเข้าใจผิดขึ้น ซึ่งทำให้คนรุ่นหลังไม่เข้าใจ พระพุทธศาสนาแบบวัชรยานและสัญลักษณ์ของวัชรยาน ทั้งภาพเขียนและคัมภีร์ โดยเฉพาะคัมภีร์เรื่องสิทธะ มาจนกระทั่งทุกวันนี้ คัมภีร์สิทธะนั้นใช้สัญลักษณ์พิเศษอย่างหนึ่ง คือสิ่งที่สูงที่สุดแสดงในรูปของสิ่งที่ต่ำที่สุด สิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดแสดงในรูปของสิ่งที่ธรรมดาสามัญที่สุด สิ่งที่เป็นโลกุตตระ แสดงในรูปของสิ่งที่เป็นโลกีย์อย่างที่สุด ความรู้อันลึกซึ้งที่สุด แสดงด้วยถ้อยคำที่เปิ่นๆที่สุด การแสดงเช่นนี้ไม่ใช่เป็นภาษาของนักปฏิบัติเท่านั้น แต่เป็นการแสดงให้คนทั่วๆไป รู้สึกทึ่งและงงงวย ซึ่งนับเป็นสิ่งจำเป็น ในการสร้างวุฒิปัญญาทางศาสนา และปรัชญาในสมัยนั้น
พระพุทธเจ้า ทรงปฏิวัติประเพณีนิยม ที่แสดงความใจแคบ คือให้อภิสิทธิแก่พวกพราหมณ์ฉันใด พวกสิทธะก็ปฏิวัติความสุขสบายของตนเองคือ การอยู่ในวัดที่มุงบัง อันเป็นเหตุไม่ให้รู้ความจริงฉันนั้น ภาษาของพวกเขา เป็นภาษาที่ผิดธรรมดาสามัญ เช่นเดียวกับชีวิตของพวกเขา ผู้ที่ถือเอาคำพูดของเขาตามตัวอักษร ถ้าไม่ปฏิบัติผิด โดยพยายามแสวงหาอำนาจทางไสยและความสุขทางโลก ก็จะต้องเลิกปฏิบัติ เพราะเห็นคำดุพระพุทธเจ้าด่าบูรพาจารย์ เพราะฉะนั้นจึงไม่น่าแปลกอะไร ที่พอพระพุทธศาสนาเสื่อมศูนย์ไปจากอินเดีย คัมภีร์นั้นก็ถูกลืม หรือกลายเป็นลักทธิตันตระที่ถือความสัมพันธ์ทางเพศเป็นสำคัญ
ไม่มีอะไรผิลพลาดยิ่งไปกว่า การยึดถือว่าการปฏิบัติทางจิตของตันตระในพระพุทธศาสนา เหมือนกับลัทธิตันตระอันเสื่อมทรามดังกล่าวข้างต้น ตันตระในพระพุทธศาสนานั้น เราจะรู้ลึกซึ้งไม่ได้โดยการศึกษาเพียงทฤษฎีกล่าวคือ เพียงทำการเปรียบเทียบหรือศึกษาคัมภีร์เก่าแก่ หากแต่เราจะรู้ได้โดยการลงมือปฏิบัติ ด้วยการเข้าถึงประเพณีของตันตระซึ่งยังคงมีอยู่ และด้วยวิธีทำสมาธิ อย่างที่ปฏิบัติกันในธิเบต มงโกเลีย และในนิกายบางนิกายของญี่ปุ่น เช่น นิกายชินงอน นิกายเทนได เป็นต้น เกี่ยวกับนิกายทั้งสองที่กล่าวนั้น เกลสแนป ได้ให้ข้อสังเกตว่า “พระโพธิสัตว์ที่เป็นสตรี ซึ่งปรากฏรูปในหนังสือ มัณฑละ เช่นปรัชญาปารมิตา และจุณฑิ เป็นบุคคลที่ไม่มีเพศ และยึดถือกันมาแต่โบราณว่า พระโพธิสัตว์เหล่านี้ งดเว้นความสัมพันธ์ทางเพศอย่างเด็ดชาด” ในเรื่องนี้นิกายทั้งสองแตกต่างจากนิกายต่างๆในเบงกอล เนปาลและธิเบตซึ่งย้ำถึงหลักธรรมฝ่ายบุรุษและสตรี
การพูดถึงเบงกอล เนปาล และธิเบตรวมกันในที่นี้แสดงว่า ลัทธิตันตระในเบงกอล และเนปาลมีลักษณะเหมือนกับลัทธิตันตระในธิเบต แม้ผู้เขียนจะเห็นความจำเป็นในการอธิบาย ให้เห็นความแตกต่างระหว่าง ลัทธิตันตระกับลัทธิศักดิ แต่เขาก็ยังอธิบายไม่ชัดเจนพอ เพราะลัทธิตันตระในพระพุทธศาสนา ก็ใช้สัญลักษณ์เป็นบุรุษเพศและสตรีเพศเหมือนกัน แต่หาได้ตั้งหลักธรรมฝ่ายสตรีขึ้น เหมือนลัทธิศักติไม่ กลับใช้ตรงกันข้ามกับลัทธิศักติ เช่นปัญญา วิทยา หรือมุทรา ตามที่กล่าวมานี้ นับว่าเป็นการปฏิเสธความคิดของ ลัทธิศักติ และลัทธิเพศสัมพันธุ์
แม้ว่าหลักธรรมฝ่ายสตรี และฝ่ายบุรุษจะเป็นที่ยอมรับกันในลัทธิตันตระแห่งวัชรยาน และเป็นส่วนสำคัญแห่งสัญลักษณ์ของวัชรยาน แต่วัชรยานก็ตรงกันข้ามกับลัทธิฝักใฝ่ในกามรมณ์ เช่นเดียวกับเครื่องหมายบวกกับเครื่องหมายลบ ฉะนั้นการใช้หลักธรรมสตรี และฝ่ายบุรุษ จึงนับว่ามีหลักฐานทั้งในทรรศนะที่มีเหตุผลและไม่มีเหตุผล
ในธิเบต ธยานีพุทธะ และธยานีโพธิสัตว์ทั้งที่เป็นบุรุษ และสตรีถือกันว่า เป็นบุคคลที่แทบไม่มีความรู้สึกทางเพศ ในนิกายต่างๆของญี่ปุ่นที่ได้กล่าวข้างต้นก็ถืออย่างนี้เหมือนกัน สำหรับชาวธิเบตแล้ว แม้การรวมกันของธยานีพุทธะเหล่านั้น มีความเกี่ยวข้องอย่างแนบแน่นกับความจริงอันสูงสุด ในการปฏิบัติเพื่อความตรัสรู้ ฉะนั้นจึงเป็นการพ้นจากความสัมพันธ์กับกามารมณ์ทางกายโดยสิ้นเชิง
เราต้องไม่ลืมว่า ภาพแสดงของสัญลักษณ์เหล่านี้ ไม่ได้ถือว่าเป็นภาพมนุษย์ หากแต่เป็นการแสดงประสบการณ์ และญาณทัสสนะในการทำสมาธิ ให้เป็นรูปร่างขึ้น ในสภาวะเช่นนั้น ไม่มีอะไรที่เอาจเรียกได้ว่ากามารมณ์ มีแต่เพียงธรรมชาติสองประการ ซึ่งควบคุมการทำงานทั้งกายและทางใจ ธรรมชาติ2ประการนั้น จะข้ามพ้นได้ก็เฉพาะในสภาวะที่มันรวมกันในที่สุด กล่าวคือในการบรรลุศูนยะตา นี้เป็นสภาวะซึ่งเรียกว่า “มหามุทรา” ซึ่งเป็นชื่อระบบการทำสมาธิระบบหนึ่งในธิเบต ในลัทธิตันตระในพระพุทธศาสนาแบบอินเดียยุคแรกๆ มหามุทราถูถือว่าเป็นสตรีเพศอันนิรันดร ดังจะเห็นได้จากคำจำกัดความของ อัทวยวัชระ ว่า “คำว่า มหา กับ มุทรา รวมกันเป็นคำว่า มหามุทรา มหาทุราไม่ใช่อะไรสิ่งหนึ่ง แต่พ้นจากการครอบงำของ สิ่งอันมองเห็นได้ มหามุทราส่องแสงเหมือนกับท้องฟ้าอันสงบในเวลาเที่ยงระหว่างฤดูใบไม้ร่วง มหามุทราเป็นเครื่องสนับสนุนความสำเร็จทั้งมวล มหามุทราเป็นเอกภาพแห่งสังสารวัฏฏ์กับนิพพาน มหามุทรา คือความกรุณาซึ่งไม่จำกัดอยู่แก่วัตถุสิ่งใด มหามุทราเป็นเอกภาพแห่งความสุขอันยิ่งใหญ่
แม้ในหนังสือ ปรัชโญบายวินิศจัยสิทธิ ของอนังควัชระ จะกล่าวว่า “สาธกะควรได้รับการบำเรอจากสตรีทุกคน เพื่อได้เสวยมหามุทรา” แต่ข้อความนี้ ก็เข้าใจไม่ได้ด้วยความหมายทางกาย แต่อาจประยุกต์ได้กับความรักชั้นสูง ซึ่งไม่จำกัดอยู่ในวัตถุสิ่งเดียวและซึ่งสามารถมองเห็นคุรภาพของสตรีทั้งปวง ไม่ว่าในตัวเราเอง หรือในผู้อื่น เช่นคุณภาพของทิพยมารดา (ปรัชญาปารมิตา หรือโลกุตตรปัญญา)
ข้อความอีกตอนหนึ่ง มีใจความน่าตกใจ ซึ่งจะถือตามตัวอักษรไม่ได้ ข้อความนั้นมีอยู่ว่า “สาธกะผู้มีความสัมพันธ์ทางเพศกับมารดาของตนเอง กับพี่สาวน้องสาวของตนเอง กับบุตรสาวของตนเอง และกับหลานสาวของตนเอง จะประสบความสำเร็จในความพยายาม เพื่อจุดหมายปลายทางขั้นสุดท้ายอย่างง่ายดาย”
การยึดถือคำว่า มารดา พี่สาวน้องสาว บุตรสาว และหลานสาวตามตัวอักษรในเรื่องนี้ เป็นสิ่งไร้ความหมาย เหมือนอย่างถือเอาตามตัวอักษรในคาถาธรรมบท (คาถาที่294) ว่า “บุคคลผู้ฆ่าบิดา มารดาพระราชา ผู้กษัตริย์ 2 พระองค์ และทำลายราชอาณาจักรพร้อมด้วยประชาชนแล้ว จะเป้นพราหมณ์ พ้นจากบาปทั้งปวง” ในคาถาธรรมบทนั้น คำว่าบิดามารดาหมายถึงอัสมิมานะและตันหา พระราชาสองพระองค์หมายถึงอุจเฉททิฏฐิ และสัสสตทิฏฐิ ราชอาณาจักรพร้อมด้วยประชาชน หมายถึงอายตนะ 12 และพราหมณ์ หมายถึงภิกษุผู้หลุดพ้น
การกล่าวว่า พุทธศาสนิกฝ่ายตันตระ ส่งเสริมให้มีการ่วมเพศระหว่างญาติ และส่งเสริมสิ่งที่ผิดศีลธรรมย่อมเป็นสิ่งที่น่าหัวเราะ เช่นเดียวกับการกล่าวหาพุทธศาสนิกฝ่ายเถรวาทว่า ทำมาตุฆาต ปิตุฆาตและประกอบอาชญากรรมอันร้ายแรงอื่นๆ ถ้าเราพยายามสำรวจประเพณีตันตระ ตามแบบแผนที่แท้จริง ดังที่มีอยู่ในวัดและอาศรมของธิเบตนับเป็นจำนวนพันๆแล้วเราจะเห็นว่า การที่ทฤษฎีปัจจุบันพยายามดึงตันตระลงมาหาความเกี่ยวข้องกับกามารมณ์นั้น เป็นการกระทำที่ผิดและไร้ค่าอย่างสิ้นเชิง
ตามทรรศนะของลัทธิตันตระ ข้อความที่กล่าวแล้วข้างต้น จะมีความหมายก็เฉพาะในการใช้ศัพท์ทางโยคะเท่านั้น
สตรีทุกคนในโลก มีธาตุทุกอย่าที่รวมกันเข้าเป็นหลักธรรมฝ่ายสตรีซึ่งเป็นแหล่งก่อกำเนิดของ บุคคลทั้งทางจิตและทางกาย อันตรงกับสิ่งที่พระพุทะ
เจ้าตรัสเรียกว่า “โลก” ส่วนฝ่ายตรงกันข้าม ก็มีหลักธรรมฝ่ายบุรุษมีจำนวนเท่านกับหลักธรรมฝ่านสตรีเหล่านั้น หลักธรรมฝ่ายสตรี 4 ประการ ได้แก่ธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม และสิ่งที่เป็นคู่กับธาตุเหล่านี้ คือ จิตตจักร หรือระดับวิญญาณในร่างกายมนุษย์ในจิตตจักรแต่ละขั้น จะต้องมีการรวมกัน ระหว่างหลักธรรมฝ่ายบุรุษกับหลักธรรมฝ่ายสตรี ก่อนที่จะถึงขั้นที่ 5 อันเป็นขั้นสูงสุด ถ้าเราประยุกต์ คำว่ามารดา พี่สาว น้องสาว บุตรสาว เป็นต้น กับคุณธรรมสำคัญของมหาภูตธาตุอันทรงพลังเหล่านี้ เราจะเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
กล่าวอีกนัยหนึ่ง แทนที่จะต้องแสวงหา การรวมกันกับสตรีภายนอกตัวเรา เราก็แสวงหาสตรีจากภายในตัวเราเอง โดยรวมธรรมชาติฝ่ายบุรุษกับสตรีเข้าด้วยกันโดยการทำสมาธิ ข้อนี้แสดงไว้ชัดเจนแล้วในหลัก 6 ประการของติโลปะหลัก 6 ประการนี้ เป็นรากฐานแห่งวิธีบำเพ็ญโยคะที่สำคัญที่สุดของ นิกาย กาจูปา และเป็นหลักที่มิลาเรปาใช้ปฏิบัติ แม้ว่าเราไม่อาจอธิบายรายละเอียดของโยคะนี้ได้ แต่เราได้คัดลอกข้อความสั้นๆมาพิสูจน์ความเป็นของเราดังนี้
“อำนาจของขันธ์ 5 ตามธรรมชาติอันแท้จริง เป็นพุทธภาวะเพศชายซึ่งปรากฏทางจิตประสาทฝ่ายซ้าย อำนาจของธาตุ 5 ตามธรรมชาติอันแท้จริง เป็นพุทธภาวะเพศหญิง อันปรากฏทางจิตประสาทฝ่ายขวา เมื่ออำนาจอันประกอบด้วย พุทธภาวะทั้งสองรวมกันลงมาสู่ประสาทกลาง ความตรัสรู้ก็ค่อยๆ เกิดขึ้น” บุคคลผู้ตรัสรู้นั้นก็ได้บรรลุพรพิเศษของมหามุทรา คือการรวมกันของบุรุษเพศและสตรีเพศ (อุบาย และปัญญา) ในพุทธภาวะอันสูงสุด
ดังนั้น เพียงเราสามารถเห็นความสัมพันธ์ ระหว่างร่างกายกับจิตใจ เห็นปฏิกิริยา ระหว่างร่างกายกับจิตใจโดยได้สัดส่วนกันพอดี และสามารถเอาชนะ “ตน” และ “ของตน” ความรู้สึกเห็นแก่ตัว และทรรศนะที่แฝงไว้ด้วยความเห็นแก่ตัว ตลอดถึงความรังเกียจเดียดฉันท์ อันก่อให้เกิดมายา คือตัวตนแยกๆ กัน เราก็บรรลุพุทธภาวะได้
ตามที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า ลัทธิตันตระในพระพุทธศาสนานั้น ไม่ใช่เพียงแต่วิวิฒนาการมาจากนิกายวิชญาณวาท และโยคาจารเท่านั้น ยังเป็นผลทางตรรกวิทยา และผลสุดท้ายของหลักสำคัญของพระพุทธศาสนา กล่าวคือกฎปฏิจจสมุปบาท แม้อริยสัจจ์ 4 และมรรคมีองค์ 8 จะเป็นพหุลานุสาสนีของพระพุทธเจ้า แต่ก็เป็นหลักทั่วๆไป ไม่ได้สร้างแนวคิดทางศาสนาขึ้นใหม่ ความจริงเรื่องทุกข์และความจริงว่า ทุกข์อาจดับได้ด้วยการดับความอยาก อันประกอบด้วยความเห็นแก่ตัว (ตัณหา) นั้น เป็นหลักทั่วไปในศาสนาต่างๆของอินเดีย คือ ในศาสนาอื่น ก็มีสอนเหมือนกัน มรรคมีองค์ 8 ก็เป็นการกล่าวซ้ำ สิ่งที่นักปฏิบัติชาวอินเดียเชื่อถือกันอยู่แล้ว หรือเป็นการกล่าวซ้ำสิ่งที่อาจเรียกได้ว่า เป็นหลักทั่วไปของคนที่นับถือศาสนา โดยไม่จำกัดว่าศาสนาใดๆ
แต่การที่พระพุทธศาสนาแตกต่างจากศาสนาอื่นหรือ เด่นกว่าศาสนาอื่นทั้งหมดอยู่ที่ ทรรศนะว่า โลกนี้ไม่ขึ้นอยู่กับพระเจ้าผู้สร้าง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับโชคชะตา หากแต่ขึ้นอยู่กับกฎแห่งความสัมพันธ์ ระหว่างวัตถุกับจิตใจ หรือกฎปฏิจจสมุปบาท กฎนี้ไม่ใช่เพียงเหตุผลที่สืบเนื่องกันเป็นสายโซ่ ซึ่งเป็นการสะดวกสำหรับประยุกต์กับความเป็นไปในชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่ยังเป็นทรรศนะที่แสดงว่า ไม่มีอะไรแยกอยู่เป็นหน่วยหนึ่งในตัวเอง หรือโดยตัวเองในกาลหรือในอวกาศ แต่ขึ้นอยู่กับสภาวะต่างๆ และเกี่ยวข้องกับทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ดังนั้นเราจึงไม่อาจกล่าวได้ว่ามัน “มี” หรือ “ไม่มี” “เป็น” หรือ “ไม่เป็น”
สมจริงดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในสังยุตตนิกายว่า “ดูก่อนกัจจานะ โลกนี้ติดอยู่กับสิ่งสองประการคือ “ความมี” และ “ความไม่มี” ผู้ใดเห็นความเกิดขึ้น ของสิ่งทั้งหลายในโลกตามความเป็นจริงและด้วยปัญญา “ความไม่มี” อะไรในโลกจะไม่มีแก่ผู้นั้น ดูก่อนกัจจานะ ผู้ใดเห็นความดับของสิ่งทั้งหลายในโลกตามความเป็นจริงและด้วยปัญญา “ความมี” อะไรในโลกจะไม่มีแก่ผู้นั้น
จากพระพุทธดำรัสนี้ ทำให้เราสามารถเข้าใจคำสอน เรื่องอนัตตาของพระพุทธเจ้าได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้น เมื่อพระอัสสชิ ได้รับคำขอร้องจากพระสารีบุตร ให้ย่อคำสอนของพระพุทธเจ้าลงในคาถาเดียว ท่านจึงไม่กล่าวถึง อริยสัจจ์ 4 หรือมรรคมีองค์ 8 แต่กล่าวถึงปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเป็นธรรมที่ลึกซี้งที่สุด และเมื่อนาครชุนได้พื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ท่านก็ได้ใช้กฎปฏิจจสมุปบาทเป็นรากฐานของพระพุทธศาสนา ซึ่งปรากฏอยู่ในคาถาแห่งหนังสือ มูลมัธยมก
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงแสดงปฏิจจสมุปบาท อันไม่มีความดับ ไม่มีความเกิด ไม่มีความขาดศูนย์ ไม่มีความยั่งยืน ไม่ใช่สิ่งเดียว ไม่ใช่หลายสิ่ง ไม่มีการมา ไม่มีการไป เป็นความสงบกิเลสเครื่องเนิ่นช้า เป็นสิ่งประเสริฐ ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ประเสริฐกว่าศาสดาทั้งปวง
คำว่า “ประปัญจะ” หรือ “กิเลสเครื่องเนิ่นช้า” หรือความเป็นไปต่างๆ” นี้เป็นไวพจน์ของคำว่า “มายา” หรือ “ความลวงอันเกิดจากศักติ” หรือ “อำนาจสร้างโลกอย่างไม่ลืมหูลืมตา” อำนาจนี้เองที่นำเราดิ่งลงไปในความมีความเป็น และความเกิดความตาย เราจะต้องตกอยู่ในอำนาจของมายานี้เรื่อยไป ถ้าเราไมม่สร้างปัญญา หรือความรู้เห็นธรรมดาของโลกตามเป้นจริงให้เกิดขึ้น การเห็นโลกตามความเป็นจริง ก็หมายถึการเห็นตัวเราเองตามความเป็นจริง เพราะธรรมดาของโลก ไม่ได้แตกไปจากธรรมดาของตัวเองโลกภายในและโลกภายนอก ถ้าจะเปรียบก็เหมือนผ้าผืนเดียวกัน มีสองด้าน ด้านหนึ่งเป็นชั้นนอกอีกด้านเป็นชั้นใน แต่ทั้งสองด้านนั้นก็ทอด้วยด้ายเส้นเดียวกัน โลกภายในและโลกภายนอกก็มีสภาพเช่นนั้น เพราะประกอบด้วยสิ่งอันเดียวนั่นเอง
ความคิดเช่นนี้ ไม่มีที่ใดแสดงไว้อย่างห้าวหาญ เหมือนในตันตระของพระพุทธศาสนา คำว่า “ตันตระ” เองก็หมายความว่าผสม คือสิ่งผสมทั้งหลายกับการกระทำเข้าด้วยกันหรือการอาศัยกันของสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่หรือความสืบต่อกันของเหตุและผลเป็นลูกโซ่ หรือความคลี่คลายขยายตัวของประเพณี ซึ่งเหมือนกับเส้นด้าย รวมกันเข้าเป็นผืนผ้านั้นเอง เพราะฉะนั้นคำว่า “ตันตระ” จึงหมายถึง ประเพณี หรือสันตติ ของวิญญาณ อย่างไรก็ตาม คัมภีร์ซึ่งมีชื่อว่า “ตันตระ”ในพระพุทธศาสนามีคำสอนลึกลับต่างๆ และพยายามจะสร้างความสัมพันธ์ภายในระหว่างสิ่งทั้งหลาย โดยการฝึกหัดจิตในการฝึกหัดนั้น ยันตระ มันตระ และมุทรา รูปเสียง และสัมผัส กับ กาย วาจา และใจ จะต้องร่วมกัน เพื่อบรรลุถึงความสมบูรณ์ขั้นสุดท้ายหรือความตรัสรู้
ดังนั้นในการใช้ศัพท์ต่างๆของ คุรุกัมโปปะ จึงอาจกล่าวได้ว่า ตันตระในพระพุทธศาสนามีปรัชญา ที่ประมวลความรู้ทั้งหมดไว้ คือเป็นระบบการทำสมาธิ ซึ่งสร้างจิตตานุภาพให้เกิดขึ้น หรือเป็นศิลปะแห่งการครองชีพที่เราสามารถใช้กาย วาจา ใจ ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินไปสู่ความหลุดพ้น