พระคัมภีร์ลลิตวิสตร

พระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์พุทธประวัติฝ่ายมหายาน

ศาสตราจารย์ ร.ต.ท.แสง มนวิทูร เปรียญ

แปลเป็นภาษาไทย

บทนำของผู้แปล

     อธิบดีกรมศิลปากร (ธนิต อยู่โพธิ์) เมื่อท่านยังมิได้เกษียณอายุ ท่านสั่งข้าพเจ้าให้แปลพระคัมภีร์ลลิตวิสตรภาษาสันสกฤตออกมาเป็นภาษาไทย ข้าพเจ้าแปลจบแล้ว อธิบดีกรมศิลปากร (ธนิต อยู่โพธิ์) พ้นหน้าที่ราชการโดยเกษียณอายุ เมื่อ พ.ศ. 2511 ต่อมา ข้าพเจ้าปรารภถึงการพิมพ์หนังสือเรื่องนี้ให้คุณหญิงดุษฎีมาลา มาลากุลทราบ ท่านรับเป็นธุระช่วยเหลือติดต่อกับอธิบดีกรมศิลปากร(เชื้อ สาริมาน) ก็ได้รับความเห็นชอบ จัดการพิมพ์ขึ้นจึงสำเร็จรูปเป็นหนังสือที่ท่านอ่านอยู่ในขณะนี้

     พระคัมภีร์ลลิตวิสตรนี้ เป็นพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในนิกายมหายาน พุทธศาสนานิกายมหายานในเนปาลมีพระคัมภีร์พุทธศาสนาอยู่ 9 พระคัมภีร์คือ 1 ลิลิตวิสฺตร  2 อษฺฏสาหสฺริกา ปฺรชฺญาปารมิตา  3 คณฺฑวฺยูห สูตร  4 ทศภูมิก หรือ ทศภูมีศฺวร     5สมาธิราช หรือจนฺทฺรปฺรทีป สูตร  6 ลงฺกาวตาร สูตร  7สทฺธรฺมปุณฺฑรีก สูตร  8 ตถาคตคุหฺยก   9 สวฺรณปฺรภาส สูตร

     พระคัมภีร์ลลิตวิสตรนี้ เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ไวปุลฺย สูตร หรือมหานิทาน ลลิต แปลว่า การเล่นสนุกสำราญหรือการกรีฑา วิสฺตร แปลว่า กว้างขวาง พิสดาร ลลิตวิสตร หมายถึงชีวประวัติและงานของพระพุทธเจ้าอย่างกว้างขวางพิสดาร

     พระคัมภีร์นี้ ตามเนื้อเรื่องว่า เป็นพระธรรมเทศนาที่ออกจากพระโอษฐ์ของพระพุทธ ส่วนผู้นำพระธรรมเทศนาบทนี้มาบอกคือ พระอานนท์ ซึ่งมีคำขึ้นต้นเหมือนพระสูตรทั่วไปในนิกายหีนยาน หากแต่เป็นภาษาสํสกฤตเท่านั้น คือขั้นต้นว่า เอวํ มยา ศฺรุตมฺ เอกสฺมินฺสมเย ภควานฺ ศฺราสฺตยํ วิหรติ สฺม เชตวเน' นาถปณฺฑทสฺยาราเม มหตา ภิกฺษุสํเฆน สารฺธํ ทฺวาทศภิรฺภิกฺษุสหไสระ ในนิกายหีนยานก็เริ่มต้นด้วยว่า เอวํ เม สุตํ เอกํ สมยํ ภควา สาวตถิยํ วิหรติ เชตวเน อนาถาปิณฺฑิกสฺส อาราเม มหตา ภิกขุสํเฆน สทธึ ปญจมตเตหิ ภิกขุสเตหิ ฯ เป ฯ เป็นต้น และในนิกายหีนยาน เมื่อเรื่มต้นว่า เอวํ เม สุตํ เอกํ สมยํ ภควา ฯ เป ฯ แล้ว ก็กล่าวต่อไปว่า พระพุทธประทับอยู่กับพระภิกษุจำนวนเท่านั้นเท่านี้แล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระภิกษุทั้งหลายขานรับแล้วพระองค์ก็แสดงธรรมเลยทีเดียว แต่ในพระคัมภีร์ลลิตวิสตรนี้ เมื่อได้กล่าวคำเริ่มพระสูตรว่า เอวํ มยา ศรุตม แล้ว ก็บรรยายภาพของพระพุทธที่ประทับอยู่กับพระภิกษุ และพระโพธิสัตว์ ทรงเข้าสมาธิชื่อพุทธาลังการวยูหะในยามกลางราตรี และทรงเปล่งพระรัศมีชื่อชญานาโลกาลังการะออกจากกลุ่มพระเกศาสว่างทั่วเทวพิภพ ขึ้นไปจนถึงชั้นศุทธาวาส เทพเจ้าตื่นตกใจ เมื่อทราบว่าอะไรเป็นอะไรแล้วก็เริ่มร้องเพลงถวายสดุดีพระพุทธ ครั้นแล้ว องค์อิศวรกับเทพอื่นๆก็เข้าไปเฝ้าพระพุทธที่วิหารเชตวัน น้อมเศียรอภิวาทพระบาทพระพุทธแล้ว กราบทูลอาราธนาให้พระองค์แสดงไวปุลยสูตร ซึ่งเรียกว่า ลลิตวิสตร เพื่อให้สัตวโลกบรรลุความหลุดพ้นและประสบมงคลต่างๆ พระพุทธทรงรับด้วยพระอาการดุษณีภาพ เทพเหล่านั้นก็ดีใจ โปรยปรายดอกไม้ทิพย์แสดงความดีใจ ต่อจากนี้พระองค์ก็ทรงแสดงลลิตวิสตร เริ่มต้นตั้งแต่พระองค์เป็นเทพบุตรสถิตย์อยู่บนสวรรค์ชั้นดุษิต

     ลลิตวิสตรนี้ แบ่งออกเป็น 27 บท เรียกว่า ปริวรรต หรืออัธยาย แต่ละอัธยายมีข้อความไม่เท่ากัน สั้นบ้างยาวบ้าง อัธยายที่ 1 เรียกว่านิทานปริวรรต ว่าด้วยเหตุที่พระพุทธทรงแสดงธรรมปริยายคือ ลลิตวิสตรนี้ โดยเล่าว่ามีเทพเจ้ามาทูลขอร้องให้พระองค์ทรงแสดงไวปุลยสูตรดั่งกล่าว พระพุทธทรงเล่าเรื่องราว โดยตรัสเป็นคำประพันธ์ว่า

ตตฺภิกฺษโว เม  ศฺฤณุเตห สรฺเว

ไวปุลฺยสูตฺรํ หิ มหานิทานมฺ

ยทฺภาษิตํ สรฺวตถาคไ ตะ ปฺราคฺ

โลกสฺย สรฺวสฺย หิตารฺถเมวมฺ ฯ

คำแปล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งปวงจงฟังมหานิทานของตถาคต

อันเป็นสูตรที่กว้าขวางไพบูลย์

ซึ่งพระตถาคตทั้งปวงได้ตรัสแสดงในครั้งก่อนๆ แล้ว

เพื่อประโยชน์ชาวโลกทั้งปวงดั่งนี้แล ฯ

     อัธยายที่ 2 ว่าด้วยทรงพระอุตสาหะที่จะเสด็จอุบัติในมนุษยโลกแล้วตรัสรู้เป็นพระพุทธ

     อัธยายที่ 3 ว่าด้วยพระองค์ทรงเลือกตระกูลที่จะเสด็จไปบังเกิดว่าควรจะเกิดในตระกูลไหน พระมารดาพระบิดาเป็นคนเช่นไร

     อัธยายที่ 4ว่าด้วยหัวข้อแสงสว่างแห่งธรรมมีอะไรบ้าง ซึ่งทรงแสดงธรรมครั้งสุดท้ายขณะที่ประทับอยู่ในสวรรค์ชั้นดุษิต

     อัธยายที่ 5 ว่าด้วยการจุติจากสวรรค์ชั้นดุษิตของพระองค์

     อัธยายที่ 6 ว่าด้วยเสด็จลงสู่พระครรภ์พระนางมายาประทับอยู่ในวิมานแก้วในพระครรภ์พระมารดา

     อัธยายที่ 7 ว่าด้วยทรงสมภพที่ป่าลุมพินีใต้ต้นมะเดื่อ เมื่อเชิญเสด็จเข้าสู่พระนครแล้วได้รับการตั้งพระนามว่า สรฺวารฺถสิทธ  และหลังประสูติแล้วได้ 7 วัน พระนางมายาถึงก็กาละ  อสิตมหาฤษีกับนรทัตผู้เป็นหลานชายเข้าไปเยี่ยม เมื่อตรวจพิจารณาดูลักษณะพระกุมารแล้วพยากรณ์ว่า พระกุมารจะได้เป็นพระราชาจักรพรรดิ์ หรือไม่ก็จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธ เอกอัครประเสริฐเลิศในมนุษย์โลกและเทวโลก

     อัธยายที่ 8 ว่าด้วยการนำพระกุมารไปเทวสถาน พอพระกุมารย่างพระบาทเข้าไป เทวรูปที่ตั้งอยู่ก็ล้มลงหมด

     อัธยายที 9 ว่าด้วยเครื่องประดับ มีคนนำเครื่องประดับไปถวายพระกุมาร พระกุมารแต่งพระองค์ด้วยเครื่องประดับแล้ว เครื่องประดับต่างๆอับหมองไป เพราะพระกายของพระกุมารรุ่งโรจน์กว่า ขับให้เครื่องประดับหมองไป

     อัธยายที่ 10 ว่าด้วยพระกุมารเสด็จไปโรงเรียนพร้อมด้วยเด็กตั้งหมื่น พระกุมารบอกชื่อหนังสือให้อาจารย์วิศวามิตรสอน แต่ชื่อหนังสือเหล่านั้น อาจารย์ไม่รู้ เด็กตั้งหมื่นเรียนหนังสือกับอาจารย์โดยการช่วยเหลือของพระกุมาร ตัวหนังสือที่เด็กอ่านแต่ละตัวออกเสียงเป็นธรรมภาษิตและบทปรัชญาไปหมด

     อัธยายที่ 11 ว่าด้วยพระกุมารเสด็จเยี่ยมหมู่บ้าชาวนา ประทับนั่งที่โค่นต้นหว้าเข้าถึงจตุรธยาน เงาต้นหว้าไม่คล้อยไปตามตวงตะวัน พระฤษี 5ตนเหาะมา ไม่อาจเหาะผ่านไปได้ต้องลงพื้นดิน เห็นพระกุมารประทับนั่งอยู่ใต้ต้นหว้า ต่างพากันเข้าไปน้อมตัวลงทำอัญชลีกราบไหว้พระกุมาร พระบิดาตามไปพบ ก็ทรงอภิวาทพระกุมารแล้วพระกุมารก็เสด็จกลับ

     อัธยายที่ 12 ว่าด้วยทรงแสดงศิลป และได้รับการอภิเษกพระนางโคปาเป็นอัครมเหษี

     อัธยายที่ 13 ว่าด้วยการเตือน คือพระพุทธใน 10 ทิศและเทพทั้งหลาย เตือนพระกุมารให้ออกมหาภิเนษกรมณ์โดยแทรกคำเตือนมาในเสียงดนตรี

     อัธยายที่ 14 ว่าด้วยความฝัน พระกุมารได้รับคำเตือนจากเทวดาเหมือนเคลิ้มฝัน จึงทรงเล่าให้พระบิดาฟัง พระบิดาก็ทรงฝันเหมือนกัน คือฝันว่าพระกุมารทรงบรรพชา และพระบิดาทรงจัดการป้องกันมิให้พระกุมารเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ พระกุมารเสด็จชมอุทยาน ทอดพระเนตรเห็นเทวทูต 4 คือเทวดาแปลงตัวเป็น คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และบรรพชิต

     อัธยายที่ 15 ว่าด้วยพระกุมารเสด็จออกอภิเนษกรมณ์

     อัธยายที่ 16 ว่าด้วยเมื่อทรงบรรพชาแล้วเสด็จเข้าไปหา อาราฑะ กาลาปะ ทรงศึกษาธรรมจนจบ ไม่สมพระสงค์ เสด็จออกจากสำนักนั้น เสด็จไปนครราชคฤห์พบกับพระราชาพิมพิสาร พระราชาพิมพิสารแบ่งสมบัติถวาย พระองค์ไม่ยอมรับ ทรงยืนยันว่าจะแสวงหาคุณธรรมของบรรพชิต พระราชาพิมพิสารทูลขอร้องว่าถ้าพระองค์ประสบคุณธรรมของบรรพชิตแล้วขอให้แสดงให้มีส่วนรู้บ้าง

     อัธยายที่ 17 ว่าด้วยทรงประพฤติทุษกรจรรยา คือประพฤติทรมานพระองค์อันทำได้ยาก และก่อนทรงประพฤติได้เข้าไปหาดาบสชื่อ รุทรกะ รามปุตระ ทรงศึกษาสมาบัติไนวสํชญาน สํชญายตนะ เมื่อทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางตรัสรู้ จึงเสด็จออกจากสำนักรุทรกะ รามปุตระ และตอนนี้พระภัทรวรรคีย 5รูป ผู้เป็นศิษย์ของรุทรกะ รามปุตระ เห็นพระองค์ออกจากสำนักอาจารย์ ก็ปลีกตัวจากอาจารย์ติดตามพระองค์ไป โดยคิดว่า พระองค์ตรัสรู้แล้วตนจะได้ฟังธรรมได้รับความตรัสรู้ด้วย ต่อมา พระองค์อดอาหาร กลั้นลมหายใจที่เรียกว่า ทุษกรจรรยา คือประพฤติตนอันยากที่จะทำได้

     อัธยายที่ 18 ว่าด้วยเสด็จแม่น้ำไนรัญชนาแล้วเริ่มเสวยอาหาร ภัทรวรรคียเห็นพระองค์คลายความเพียรจึงผละจากและไปยังนครพาราณสี

     อัธยายที่ 19 ว่าด้วยเสด็จสู่ควงไม้โพธิ ทรงรับหญ้าหอมจากคนเกี่ยวหญ้าชื่อ สวัสติกะ ทรงนำไปปูลาดใต้ต้นโพธิแล้วประทับนั่งบนนั้น

     อัธยายที่ 20 ว่าด้วยวิมานที่ควงไม้โพธิ

     อัธยายที่ 21 ว่าด้วยการรังควานของมาร

     อัธยายที่ 22 ว่าด้วยการตรัสรู้เป็นพระพุทธ

     อัธยายที่ 23 ว่าด้วยเทวดาสรรเสริญพระพุทธ

     อัธยายที่ 24 ว่าด้วยพ่อค้า 2 คนคือ ตระปุษะ กับภัลลิกะ พบพระพุทธแล้วถวายข้าวคั่วคลุกน้ำผึ้งกับอ้อยควั่น และมหาราชทั้ง 4ถวายบาตรแก่พระพุทธเพื่อให้ทรงรับไทยธรรม

     อัธยายที่ 25 ว่าด้วยมหาพรหมศิขีทูลอาราธนาให้ทรงแสดงธรรม

     อัธยายที่ 26 ว่าด้วยการแสดงธรรมจักรแก่ภัทรวรรคียทั้งห้า

     อัธยายที่ 27บทส่งท้าย ว่าด้วยอานิสงส์แห่งพระคัมภีร์ลลิตวิสตร

     ในอัธยายที่ 7 ว่าด้วยทรงสมภพนั้น กล่าวไว้ว่าพระโพธิสัตว์อยู่ในพระครรภ์พระมารดาประกอบด้วยฤทธิปราติหาริย์เห็นปานนี้ เมื่อครบ 10 เดือน เดือนล่วงไปแล้ว พระองค์ก็เสด็จออกทางพระปรัศว์เบื้องขวาของพระมารดา ข้อความตอนนี้ ในอัธยายนั้นกล่าวว่า พระอานนท์ทูลถามว่าเมื่อพระองค์ประทับอยู่ในพระครรภ์กระทั่งเสด็จออกจากพระครรภ์ทางพระปรัศว์เบื้องขวาของพระมารดานั้น น่าอัศจรรย์ไม่เคยมี พระองค์ตรัสว่า ข้อนี้ ต่อไปภิกษุผู้มิได้อบรมกาย วาจา ใจ เป็นศรมณะมีมลทิน เป็นศรมณะจอมปลอม จะไม่เชื่อว่าเป็นเช่นนั้น อีกตอนหนึ่ง พระองค์ตรัสว่า ดูกรอานนท์ สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นประกอบด้วยกุศลมูลอันไม่ต่ำทราม จะเป็นมิตรเนื่องด้วยเป็นชาติเดียวกันกับตถาคต และตรัสว่าย่อมเป็นที่เจริญใจของมิตร ความข้อนี้เทียบกับพระกฤษณะตรัสกับพระอรชุนในคัมภีร์ภควัทคีตา อัทธยายที่ 12 ตั้งแต่โศลกที่ 12 ถึงโศลกที่ 20ความว่า ผู้ตั้งมั่นในศรัทธานับถืออาตมา(หมายถึงพระกฤษณะซึ่งเป็นองค์อาตมัน) เป็นอย่างยอด มีภักดี บำเพ็ญอมฤตธรรมตามที่กล่าวมาแล้ว ผู้นั้นเป็นยอดที่รักของอาตมา

     พระคัมภีร์ลลิตวิสตรนี้ เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่ามหานิทานเป็นสูตรเกี่ยวกับความเริ่มต้นความเป็นพระพุทธ ทำนองเดียวกับคัมภีร์มหาปุราณของฝ่ายพราหมณ์ หนังสือเช่นนี้แสดงถึงลักษณะของมหายานสูตร และบางส่วนก็เหมือนหรือคล้ายกับพระคัมภีร์ฝ่ายหีนยาน มีข้อความที่ตรงกับภาษามคธเช่นในมหาวัคค์พุทธอุทานว่า

สุโข  วิเวโก  ตุฏฐสส                 สุตธมมสส  ปสสโต

อพยาปชฌํ  สุขํ   โลเก              ปาณภูเตสุ  สญญโม

สุขา วิราคตา  โลเก                   กามานํ  สมติกกโม 

อสมิมานสส  โย วินโย               เอตํ  เว  ปรมํ  สุขํ ฯ

คำแปล

ความสงัด เป็นสุข ของบุคคลผู้สันโดษ  มีธรรมปรากฏแล้ว เห็นอยู่

ความไม่พยาบาทคือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลายเป็นสุขในโลก

ความปราศจากความกำหนัดคือความล่วงกามทั้งหลายเสียได้ เป็นสุขในโลก

การกำจัดอัสมิมานะเสียได้ นั่นแล เป็นสุขอย่างยิ่ง ฯ

ลลิตวิสตร อัธยายที่24 โศลกที่ 81-82 ว่า

สุโข วิเวกสตุษฏสย                  ศรุตธรมสย  ปศยตะ

อวยาพธยํ  สุขํ  โลเก               ปรราณิภูเตษุ  สำยตะ

สุขา  วิราคตา โลเก                 ปาปานํ  สมติกรมะ

อสมิน  มานุษยวิษเย                เอตทไว ปรมํ  สุขม ฯ

คำแปล

ความวิเวกของผู้ยินดี ฟังธรรมแล้ว เห็น(ธรรมนั้น) แล้ว ย่อมเป็นสุข

ความไม่พยาบาท สำรวมอินทรีย์ในสัตว์มีชีวิตทั้งหลายย่อมเป็นสุขในโลก

ความปราศจากกำหนัด การก้าวล่วงบาปทั้งหลายย่อมเป็นสุขในโลก

นี่แหละ (ทำได้ดังกล่าวมานี้) เป็นสุขยอดยิ่งในวิษัยของมนุษย์นี้ ฯ

ในสคาถวัคค์ สํยุตตนิกาย ว่า

กิจฺเฉน  เม  อธิคตํ                  หลนฺทานิ  ปาสิต  (ต=ตุ+ตํ= ต-มี สระอุอยู่ข้างล่าง มีสระอำอยู่ข้างบน)

ราคโทสปเรเตหิ                     นายํ  ธมฺโม  สุสมฺพุโธ

ปฏิโสตคี  นิปุณํ                     คัมฺภีรํ  ทุทฺทสํ ณ (ณ=ณุ+ณํ)

ราครตฺตา  น  ทกฺขนฺติ             ตโมขนฺเธน  อาวุฏา ฯ

คำแปล

บัดนี้ เรายังไม่ควรประกาศธรรมที่เราได้บรรลุแล้วโดยยาก

เพราะธรรมนี้อันสัตว์ผู้อันราคะและโทสะครอบงำแล้วไม่ตรัสรู้ได้ง่าย

สัตว์ผู้อันราคะย้อมแล้วถูกกองอวิชชาห่อหุ้มแล้ว

จักไม่เห็นธรรมอันละเอียดยิ่งลึกซึ้งอันจะยังสัตว์ให้ถึงธรรมที่ทวนกระแส (คือพระนิพาน) ฯ

ในลลิตวิสตร อัธยายที่ 25 โศลกที่ 19-20 ว่า

ปฺรติโศฺรคามิ  มารฺโค               คมฺภีโร  ทุรฺทฺฤโศ  มม

น  ตํ  ทฺรกฺษฺยนฺติ                    อลํ  ตสฺมาตฺ  ปฺรกาศิตุมฺ

อนุโสฺรตํ  ปฺรวาหฺยนฺเต             กาเมษุ  ปติตา ปฺรชาะ

กฺฤจฺเฉฺรณ  เม' ยํ  สํปฺราปฺตํ        อลํ  ตสฺมาตฺ  ปฺรกาศิตุมฺ ฯ

คำแปล

หนทางของเราทวนกระแส ลีก เห็นยากผู้ที่มืดด้วยราคะ

ย่อมไม่เห็นธรรมนั้น  เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรประกาศ ฯ

คนทั้งหลาย ตกอยู่ในกามทั้งหลาย ลอยไปตามกระแส

ตถาคตจะให้คนเช่นนี้บรรลุนั้นยากนัก เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรประกาศ ฯ

ในมหาวัคค์ว่า

ปาตุรโหสิ  มคเธสุ  ปุพฺเพ

ธมฺโม  อสุทฺโธ  สมเลหิ  จินฺติโต

อปาปุเรตํ  อมตสฺส  ทวารํ

สุณนฺตุ  ธมฺมํ  วิมเลนานุพุทฺธํ  ฯ

คำแปล

เมื่อก่อน ธรรมอันไม่บริสุทธิ์ อันคนมีมลทินทั้งหลายคิดแล้ว

ได้ปรากฏในมคธชนบท

ขอพระองค์ได้โปรดทรงเปิดประตูแห่งอมตธรรมนี้

ขอสัตว์ทั้งหลายจงฟังธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธผู้หมดมลทินตรัสรู้แล้ว  ฯ

ในลลิตวิสตร อัธยายที่ 25 โศลกที่ 21 ว่า

วาโท  พภูว  สมไลรฺวิจินฺติโต

ธรฺโม ' วิศุทฺโธ มคเธษุ  ปูรฺวมฺ

อมฺฤตํ  มุเน  ตทฺวิววฺฤณีษฺว  ทฺวารํ

ศฺฤณฺวนฺตุ  ธรฺมํ  วิมเลน  พุทฺธมฺ

คำแปล

ลัทธิของผู้คิดผิดโดยประกอบด้วยมลทิน

เป็นธรรมไม่ปริศุทธในชาวมคธทั้งหลายในครั้งก่อน

ข้าแต่พระมุนี เพราะฉะนั้น ขอพระองค์โปรดเปิดประตูอมฤต

คนทั้งหลายจะได้ยินธรรมและพุทธโดยจิตปราศจากมลทิน  ฯ

ในมหาวัคค์ ว่า

อารุตา  เต  อมตสฺส  ทฺวารา

เย  โสตวนฺโต  ปมุจญฺจนฺตุ  สทฺธํ

วิหํสสญฺญี  ปคุณํ  น  ภาสี

ธมฺมํ  ปณีตํ  มนุเชสุ  พฺรหฺเม  ฯ

คำแปล

เราเปิดประตูอมตะแก่ท่านแล้ว

สัตว์เหล่าใดจะฟัง จงปล่อยศรัทธามาเถิด

ดูกรพรหม เพราะเรามีความสำคัญในความลำบาก

จึงไม่แสดงธรรมที่เราคล่องแคล่วประณีต ในหมู่มนุษย์ ฯ

ในลลิตวิสตร อัธยายที่ 25 โศลกที่ 34 ว่า

อปาวฺฤตาเตษามมฺฤตสฺย  ทฺวารา

พฺรหมนฺติ  สตตํ  เย โศรตวนฺตะ

ปฺวิศนฺติ  ศฺรทฺธา  น วิเหฐสญฺญา

ศฺฤณฺวนฺติ  ธรฺมํ  มคเธษุ  สตฺตฺวาะ ฯ

คำแปล

ประตูอมฤตของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นไม่ได้ปิด

ดูก่อนพรหม ผู้ใดเป็นผู้ฟังตลอดไป ผู้นั้นมีศรัทธา

ไม่คิดเบียดเบียนกัน ย่อมเข้า(ประตูนั้น)ได้

สัตว์ทั้งหลายในมคธฟังธรรมได้ ฯ

ในมหาวัคค์ ว่า

น  เม  อาจริโย อตฺถิ                สทิโส  เม  น  วิชฺชติ

สเทวกสฺมี  โลกสฺมึ                  น  อตฺถิ  เม  ปฏิปุคฺคโล

อหํ  หิ อรหา  โลเก                  อหํ  สตฺถา  อนุตฺตโร

เอโก ' มฺหิ  สมฺมาสมฺพุทโธ        สีติภูโตสฺมิ  นิพฺพุโต

มาทิสา  เว  ชินา  โหนฺติ           เย  ปตฺตา  อาสวกฺขยํ

ชิตา  เม ปาปกา ธฺมา               ตสฺมาหํ  อุปก  ชิโน ฯ

คำแปล

อาจารย์ของเราหามีไม่ คนเช่นเราก็ไม่มี

บุคคลเสมอเหมือนเราก็ไม่มีในโลกกับทั้งเทวโลก

เพราะเราเป็นพระอรหันต์ในโลก  เราเป็นศาสดาหาศาสดาอื่นยิ่งกว่ามิได้

เราผู้เดียวเป็นพระสัมมาสัมพุทธ  เราเป็นผู้เย็นดับกิเลสได้แล้ว

บุคคลผู้ใดถึงความสิ้นอาสวะแล้ว บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ชนะเช่นเรา

ดูกรอุปกะเราชนะธรรมอันลามกแล้ว เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่าเป็นผู้ชนะ ฯ

ในลลิตวิสตร อัธยายที่ 26 โศลกที่ 1-2-3

อาจารฺโย  น  หิ  เม                 กศฺจิตฺสทฺฤโศ  เม  น  วิทฺยเต

เอโก ' หมสฺมิ  สํพุทฺธะ             ศีติภูโต  นิราศฺรวะ

อหเมวารหํ  โลเก                   ศาสฺตา  หฺยหมนุตฺตระ

สเทวาสุรคนฺธรฺเว                    นสฺติ  เม  ปฺรติปุทฺคละ

ชินา  หิ  มาทฺฤศา                   เชญยา เย  ปฺราปฺตา  อาศฺรวกฺษยมฺ

ชิตา  เม  ปาปกา                    ธรฺมาสฺเตโนปค  ชิโน  หฺยหมฺ ฯ

คำแปล

อาจารย์ใดๆ ของตถาคตไม่มีเลย ไม่มีใครจะเหมือนตถาคต

ตถาคตผู้เดียวเป็นผู้ตรัสรู เป็นความเย็น ปราศจากอาสวะ(ทุกข์,โทษ)

ตถาคตนี้แหละเป็นอรหันต์ในโลก ตถาคตเป็นศาสดาไม่มีใครยิ่งกว่า

ไม่มีบุทคลจะเปรียบตถาคตได้ทั้งในเทวดา อสูร คนธรรพ์

พึงทราบเถิดว่า ผู้เช่นตถาคตเป็นชินซึ่งถึงความสิ้นแห่งอาสวะ

ธรรมที่เป็นบาปทั้งปวงตถาคตชนะแล้ว

เพราะฉะนั้น ดูกรอุปคะ ตถาคตนี้แหละได้เข้าถึงชินแล้ว ฯ

ในมหาวัคค์ว่า

ธมฺมจกฺกํ  ปวตฺเตต (ต=ตุ+ตํ)      คจฺฉามิ  กาสินํ  ปุรํ

อนฺธภูตสฺมึ  โลกสฺมึ                   อหญฺญี  อมตทุนฺทุภินฺติ ฯ

คำแปล

เราจะไปยังบุรีแห่งชาวกาสีเพื่อประกาศธรรมจักร

เราจะตีกลองอมตะในโลกอันมืด ฯ

ในลลิตวิสตร อัธยายที่ 26 โศลกที่ 5-6 ว่า

วาราณสึ  คมิศ์ยามิ                  คตฺวา  ไว  กาศินำ  ปุริมฺ

ศพฺทหีนสฺย  โลกสฺย                 ตาฑยิเษย ' มฺฤตทุนฺทุภิมฺ

วารารสึ  คมิษฺยามิ                   คตฺวา  ไว กาศินำ  ปุริมฺ

ธรฺมจกฺรํ  ปฺรวรฺติเษย                โลเกษฺวปฺรติวรฺติตมฺ

คำแปล

ตถาคตไปบุรีของชาวกาศีทั้งหลายแล้วจะไปพาราณสี

จะตีกลองใหญ่คืออมฤต แก่โลกที่มีเสียงเลวๆ

ตถาคตไปบุรีของชาวกาศีทั้งหลายแล้ว

จะไปพาราณสีจะหมุนจักรคือธรรมซึ่งไม่มีใครหมุนในโลก

     ข้อความตามที่ได้ยกขึ้นมาเปรียบเทียบนี้ จะเห็นได้ว่าพระคัมภีร์ลลิตวิสตรนี้เป็นรูปใหม่ในพระคัมภีร์ของหีนยาน หรืออาจเป็นว่าทั้งมคธและสํสกฤตมาจากแหล่งเก่าแห่งเดียวกันซึ่งเป็นรากฐานอยู่ก่อนเช่นขึ้นต้นว่า เอวํ มยา ศฺรุตํ หรือเอวมฺเม สุตํ พระคัมภีร์ลลิตวิสตรนี้ เป็นพุทธประวัติฝ่ายมหายานนิกายสรวาสติกวาท คือนิกายที่ถือลัทธิว่า พระพุทธมีอยู่ทุกแห่งทุกเวลา  ส่วนใหญ่ของพระคัมภีร์นี้แต่งเป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง ที่เป็นร้อยแก้วใช้ประโยคเป็นคำสมาสยาวๆ คล้ายกับร่ายยาวในเวสสันดรชาดกของไทย นักปราชญ์บางคนให้ความเห็นว่า ภาคที่เป็นร้อยแก้วเป็นคำเก่าที่สุด ส่วนภาคร้อยกรองเป็นคำแต่งเพิ่มเติมขึ้นภายหลังทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองมีความหมายอย่างเดียวกัน ในสมัยนั้น มักแต่งกันแบบนี้ คือแต่งเป็นร้อยแก้วร้อยกรองผสมกัน เช่นพระเวทและอุปนิษัท คือพยายามแต่งเป็นร้อยกรองที่ย่อความไว้ การแต่งในทำนองนี้สมัยต่อมามีมากยิ่งขึ้น เช่นในสมัยพระเจ้ากนิษกะ มีหนังสือ เช่นจรกสํหิตา และ สุศรุตสํหิตา ในสมัยพระเวทและอุปนิษัทดำเนินเรื่องเป็นร้อยแก้ว ก่อนจะถึงคำร้อยกรองจะต้องนำด้วยคำว่า ตเทษ โศลโก ภวติ (ข้อน้นมีโศลกนี้ว่า) หรือโศลกา ภวนติ(มี่โศลกทั้งหลายว่า) เป็นต้น ต่อมาในสมัยหลังพระเวท ก่อนถึงคำร้อยกรองใช้คำว่า  ภวนฺติ จาตร(และในข้อนี้มีโศลกว่า) หรือ ภวนติ จาตร(และในข้อนี้ มีโศลกทั้งหลายว่า) เป็นต้น คำร้อยแก้วเก่ากว่าคำร้อยกรองเพราะเรียงถ้อยคำตามหลักไวยากรณ์ของท่านปาณินี แต่ในการแต่งฉันท์วรรณคดีซึ่งเป็นคำร้อยกรองพุทธศาสนาภาษาสํสกฤต จะใช้หลักไวยากรณ์ของท่านปาณินี ย่อมผิดพลาดไปบ้างคือต้องรักษา ครุ ลหุ ตามข้อบังคับของคณะฉันท์จึงไม่เคร่งครัดทางไวยากรณ์เท่าไรนัก จึงมีลักษณะที่เป็นตัวของตัวเอง ในพระคัมภีร์ลลิตวิสตรและรูปศัพท์บางศัพท์ก็ทำให้เป็นรูปศัพท์เฉพาะในพระคัมภีร์นั้น เช่น ทานุ ทตฺตํ แทนที่จะเป็น ทานํ ทตฺตํ (ให้ทาน) หรือคชวรุ แทนที่จะเป็น คชวระ (ช้างประเสริฐ) หรือ มา เอษุ โภกฺษฺยถ แทนที่จะเป็น มา เอษ โภก์ษยถ (อย่างใช้บาตรนี้) เป็นต้น เข้าใจว่าคงจะแต่งให้เป็นพิเศษทำนองเดียวกับภาษาพระเวทต่างกับภาษาโลกที่เป็นภาษาของคนธรรมดาทั้งนี้ เพื่อยกย่องให้เป็นคัมภีร์ชั้นสูง พระคัมภีร์ลลิตวิสตรนี้ ดำเนินตามแบบบาลีเช่นสุตตนิบาตตอนที่เป็นร้อยแก้วหลายตอน ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรก็มาจากแบบเก่า คือเดิมเป็นแบบหีนยาน แต่ในพระคัมภีร์ลลิตวิสตรนี้มีข้อความหลายตอนที่ขยายให้กว้างขวางขึ้นตามแบบของมหายาน

     พระคัมภีร์ลลิตวิสตรนี้ ไม่ปรากฏว่าเขียนขึ้นเมื่อไร แต่พอมีหลักฐานว่าเขียนขึ้นภายหลังเมื่อมีพระพุทธรูปแล้ว ในอัธยายที่ 26 ตอนที่ว่าด้วยอานิสงส์พระพุทธมีขนขุมละเส้นเพราะบูชาพระเจดีย์และพระพุทธรูป ตอนที่ว่าพระพุทธทรงมีกำลังมาก เพราะอานิสงส์บูชาพระพุทธรูปนี้แสดงว่า เมื่อเขียนพระคัมภีร์นี้ ได้มีพระพุทธรูปเกิดขึ้นแล้ว ส่วนพระพุทธรูปนั้นมีในโลกเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 5- 6 จึงเห็นได้ว่าพระคัมภีร์นี้ เขียนขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 5-6 เพราะต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 6 พระอัศวโฆษภิกษุนิกายมหายาน ได้รจนาเรื่องพุทธจริตดำเนินตามเค้าเรื่องของพระคัมภีร์ลลิตวิสตรนี้ โดยท่านนำเนื้อเรื่องจากพระคัมภีร์มาแต่งเป็นฉันท์

      พระคัมภีร์ลลิตวิสตรนี้ นักศิลปินได้นำไปทำรูปเรื่องประดับตกแต่ง สถูปบูโรบูโดในชวาเมื่อประมาณ พ.ศ.1390-1443 ภาพที่แกะสลักเหล่านั้น แสดงถึงพุทธประวัติโดยอาศัยพระคัมภีร์ลลิตวิสตรทั้งสิ้น

     พระคัมภีร์ลลิตวิสตรนี้ พิมพ์ครั้งแรกโดยบัณฑิต ราเชนทร ลาล มิตร พิมพ์ที่ บิบลิโอเถกา อินทิกา กัลกัตตา เมื่อปี พ.ศ.2420 ต่อมานักปราชญ์เยอรมันชื่อ เอส เลฟมัน พิมพ์ภาคต้น (มูลครนถ) และภาคที่ 2 (ปาฐเภท) เมื่อปี พ.ศ.2445 และ 2451 ตามลำดับ ได้พิมพ์ที่เมือง หาล ประเทศเยอรมันฉบับพิมพ์ภาคต้นถือตามต้นฉบับของอินเดียและเนปาล แต่ต้นฉบับไม่สมบูรณ์และผิดพลาด จึงได้ข้อความไม่ถูกต้องเป็นส่วนมาก ส่วนฉบับของบัณฑิต ราเชนทร ลาลมิตร นั้น พยายามแก้ไขให้ถูกตามหลักไวยากรณ์ของท่านปาณินีมากไป จึงทำให้เชื่อยากว่าจะสมบูรณ์ตามแบบเดิม และบางตอนข้อความขาดหายไป แต่ฉบับของ เอส เลฟมัน ถึงตามต้นฉบับถึง 6 ฉบับ ที่ได้จากหอสมุดในยุโรป และได้แก้ไขจากฉบับเดิมให้ดีขึ้น จึงเป็นฉบับที่เชื่อถือได้มากกว่า ฉบับพิมพ์ภาค 2 ใช้ต้นฉบับที่ได้จากหอสมุดในยุโรปและฉบับพิมพ์ของ ราเชนทร ลาล มิตร ซึ่งพิมพ์ที่กัลกัตตา อินเดีย

     ฉบับที่พิมพ์อักษรไทยนี้ พิมพ์ตามต้นฉบับของท่าน ไวโทยปาหน ศรีปรศุราม ศรมา หรือเรียกสั้นๆ ว่าดอกเตอร์ พี แอล ไวทย พิมพ์ที่มิถิลา วิทยาปีฐ ทรภํคา แคว้นพิหาร อินเดีย เมื่อ พ.ศ.2501

     พระคัมภีร์ลลิตวิสตรนี้ กล่าวกันว่า จีนแปลเป็นภาษาจีนเมื่อประมาณระหว่าง พ.ศ.543-643 เป็นครั้งแรก คือเป็นฉบับแปลเก่าที่สุด แต่ปัจจุบันนี้ หนังสือฉบับนั้นไม่มีแล้ว ต่อมา ท่านธรรมรักษ แปลในพ.ศ.851 แต่ก็แปลได้เพียง 8 อัธยายเท่านั้น ต่อมาพระภิกษุชื่อเทวกรแห่งราชถังระหว่าง พ.ศ.1163-1453 แปลเป็นภาษาจีน ฉบับนี้ถือว่าแปลได้ถูกต้อง และทิเบตแปลออกเป็นภาษาทิเบต เรียกว่า อารยลลิตวิสตร - นาม -มหายาน-สุตร ผู้แปลคือท่าน ชิมมิตร ท่านทานศีล ท่านมุนีวรม และท่าน เย เศสู สเท แปลเมื่อ พ.ศ.1443 การแปลภาษาสํสกฤตเป็นภาษาทิเบตนี้ได้ทำกันตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 14 และคัมภีร์พุทธศาสนาในทิเบต ตกอยู่ที่เมืองเซนได ประเทศญี่ปุ่น

     ฉบับที่เปลเป็นภาษาทิเบตนี้ ได้แปลออกเป็นภาษาฝรั่งเศสและพิมพ์ที่ปารีส ผู้แปลชื่อ ฟูโกซ์ แปลเมื่อ พ.ศ.2391-2392 ชาวยุโรปรู้เรื่องพุทธประวัติจากพระคัมภีร์นี้ และเซอร์ เอดวินอาโนลด์ ร้อยกรองเป็นบทกลอนภาษาอังกฤษ มีชื่อว่า ไลฟ์ ออฟ เอเซีย ก็ได้เค้าดำเนินตามพระคัมภีร์นี้ ไทยแปลจากภาษาฝรั่งเศส ชื่อท่านเลอองสอรค แปลจากอังกฤษให้ชื่อในภาษาไทยว่า ประทีปแห่งทวีปเอเซีย

     ในประเทศไทย พระคัมภีร์ลลิตวิสตรนี้ ครั้งแรกพระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์ แปลเพียง 2 อัธยาย คือ อัธยายที่ 1 และอัธยายที่ 2 พิมพ์ถวายในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระเมรุท้องสนามหลวงเมื่อ ร.ศ.129 (พ.ศ.2453) ต่อมา พระพินิจวรรณการ (แสง ศาลิตุล เปรียญ 6 ประโยค) แปลตั้งแต่อัธยายที่ 1 ถึงอัธยายที่ 7 พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพพระยาจ่าแสนยบดีศรีบริบาล(ชิต สุนทรวร) เมื่อ พ.ศ.2476) ทั้ง 2 รายนี้ ใช้ต้นฉบับของ ดร.เอส เลฟแมน ข้าพเจ้าแปลเป็นครั้งที่ 3 เมื่อ วันที่ 30 สิงหาคม 2509 แปลจบบริบูรณ์ 27 อัธยาย เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2510 การแปลครั้งนี้ ใช้ต้นฉบับของ ดร.พี แอล ไวทย ในการพิมพ์ น.ส.ก่องแก้ว วีระประจักษ์ ได้เป็นธุระในการตรวจปรู๊ฟ เพราะรู้ภาษาสํสกฤตอ่านอักษรเทวนาครี ต้นฉบับได้เป็นอย่างดี และมีความละเอียดถี่ถ้วนดี

      อนึ่งการแปล ข้าพเจ้าแปลทับศัพท์เป็นสันสกฤต เช่นปัญญา ข้าพเจ้าแปลทับศัพท์ว่า ปรัชญา สติแปลทับศัพท์ว่า สมฤติ เป็นต้น เพื่อให้ทราบหลักฐานตามเค้าเดิม

      พระคัมภีร์ลลิตวิสตรนี้ มีคุณค่ามากในแง่ประวัติศาสตร์แห่งพุทธศาสนา และในแง่ประวัติวรรณคดี เป็นหนังสือสำคัญเล่มหนึ่งในพระไตรปิฏกฝ่ายมหายาน จึงสมควรที่ทุกท่านควรอ่น

แสง  มนวิทูร

ลลิตวิสตร

โอมฺ นโม ทศทิคนนฺตาปรฺยยนฺตโลกธาตุปฺรติษฺฐ

สรฺวพุทฺธโพธิสตฺตฺวารฺยศฺราวก

ปฺรเตยกพุทเธดภฺย  '  ดีตานาคต  ปฺรตฺยุปนฺเนภฺยะ  ฯ

โอม

ความนอบน้อมของข้าพเจ้าจงมีแด่พระพุทธ พระโพธิสัตว์

พระอารยศราวก และพระปรัตเยกพุทธทั้งหลายทั้งปวง ทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน

อันประดิษฐานดำรงอยู่ในโลกธาตุ อันไม่มีเขตสุด และไม่มีขอบเขตในทิศทั้ง 10

 

พระคัมภีร์ลลิตวิสตร

พระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์พุทธประวัติฝ่ายมหายาน

ศาสตราจารย์ ร.ต.ท.แสง มนวิทูร เปรียญ

แปลเป็นภาษาไทย

บทนำของผู้แปล

     อธิบดีกรมศิลปากร (ธนิต อยู่โพธิ์) เมื่อท่านยังมิได้เกษียณอายุ ท่านสั่งข้าพเจ้าให้แปลพระคัมภีร์ลลิตวิสตรภาษาสันสกฤตออกมาเป็นภาษาไทย ข้าพเจ้าแปลจบแล้ว อธิบดีกรมศิลปากร (ธนิต อยู่โพธิ์) พ้นหน้าที่ราชการโดยเกษียณอายุ เมื่อ พ.ศ. 2511 ต่อมา ข้าพเจ้าปรารภถึงการพิมพ์หนังสือเรื่องนี้ให้คุณหญิงดุษฎีมาลา มาลากุลทราบ ท่านรับเป็นธุระช่วยเหลือติดต่อกับอธิบดีกรมศิลปากร(เชื้อ สาริมาน) ก็ได้รับความเห็นชอบ จัดการพิมพ์ขึ้นจึงสำเร็จรูปเป็นหนังสือที่ท่านอ่านอยู่ในขณะนี้

     พระคัมภีร์ลลิตวิสตรนี้ เป็นพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในนิกายมหายาน พุทธศาสนานิกายมหายานในเนปาลมีพระคัมภีร์พุทธศาสนาอยู่ 9 พระคัมภีร์คือ 1 ลิลิตวิสฺตร  2 อษฺฏสาหสฺริกา ปฺรชฺญาปารมิตา  3 คณฺฑวฺยูห สูตร  4 ทศภูมิก หรือ ทศภูมีศฺวร     5สมาธิราช หรือจนฺทฺรปฺรทีป สูตร  6 ลงฺกาวตาร สูตร  7สทฺธรฺมปุณฺฑรีก สูตร  8 ตถาคตคุหฺยก   9 สวฺรณปฺรภาส สูตร

     พระคัมภีร์ลลิตวิสตรนี้ เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ไวปุลฺย สูตร หรือมหานิทาน ลลิต แปลว่า การเล่นสนุกสำราญหรือการกรีฑา วิสฺตร แปลว่า กว้างขวาง พิสดาร ลลิตวิสตร หมายถึงชีวประวัติและงานของพระพุทธเจ้าอย่างกว้างขวางพิสดาร

     พระคัมภีร์นี้ ตามเนื้อเรื่องว่า เป็นพระธรรมเทศนาที่ออกจากพระโอษฐ์ของพระพุทธ ส่วนผู้นำพระธรรมเทศนาบทนี้มาบอกคือ พระอานนท์ ซึ่งมีคำขึ้นต้นเหมือนพระสูตรทั่วไปในนิกายหีนยาน หากแต่เป็นภาษาสํสกฤตเท่านั้น คือขั้นต้นว่า เอวํ มยา ศฺรุตมฺ เอกสฺมินฺสมเย ภควานฺ ศฺราสฺตยํ วิหรติ สฺม เชตวเน' นาถปณฺฑทสฺยาราเม มหตา ภิกฺษุสํเฆน สารฺธํ ทฺวาทศภิรฺภิกฺษุสหไสระ ในนิกายหีนยานก็เริ่มต้นด้วยว่า เอวํ เม สุตํ เอกํ สมยํ ภควา สาวตถิยํ วิหรติ เชตวเน อนาถาปิณฺฑิกสฺส อาราเม มหตา ภิกขุสํเฆน สทธึ ปญจมตเตหิ ภิกขุสเตหิ ฯ เป ฯ เป็นต้น และในนิกายหีนยาน เมื่อเรื่มต้นว่า เอวํ เม สุตํ เอกํ สมยํ ภควา ฯ เป ฯ แล้ว ก็กล่าวต่อไปว่า พระพุทธประทับอยู่กับพระภิกษุจำนวนเท่านั้นเท่านี้แล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระภิกษุทั้งหลายขานรับแล้วพระองค์ก็แสดงธรรมเลยทีเดียว แต่ในพระคัมภีร์ลลิตวิสตรนี้ เมื่อได้กล่าวคำเริ่มพระสูตรว่า เอวํ มยา ศรุตม แล้ว ก็บรรยายภาพของพระพุทธที่ประทับอยู่กับพระภิกษุ และพระโพธิสัตว์ ทรงเข้าสมาธิชื่อพุทธาลังการวยูหะในยามกลางราตรี และทรงเปล่งพระรัศมีชื่อชญานาโลกาลังการะออกจากกลุ่มพระเกศาสว่างทั่วเทวพิภพ ขึ้นไปจนถึงชั้นศุทธาวาส เทพเจ้าตื่นตกใจ เมื่อทราบว่าอะไรเป็นอะไรแล้วก็เริ่มร้องเพลงถวายสดุดีพระพุทธ ครั้นแล้ว องค์อิศวรกับเทพอื่นๆก็เข้าไปเฝ้าพระพุทธที่วิหารเชตวัน น้อมเศียรอภิวาทพระบาทพระพุทธแล้ว กราบทูลอาราธนาให้พระองค์แสดงไวปุลยสูตร ซึ่งเรียกว่า ลลิตวิสตร เพื่อให้สัตวโลกบรรลุความหลุดพ้นและประสบมงคลต่างๆ พระพุทธทรงรับด้วยพระอาการดุษณีภาพ เทพเหล่านั้นก็ดีใจ โปรยปรายดอกไม้ทิพย์แสดงความดีใจ ต่อจากนี้พระองค์ก็ทรงแสดงลลิตวิสตร เริ่มต้นตั้งแต่พระองค์เป็นเทพบุตรสถิตย์อยู่บนสวรรค์ชั้นดุษิต

     ลลิตวิสตรนี้ แบ่งออกเป็น 27 บท เรียกว่า ปริวรรต หรืออัธยาย แต่ละอัธยายมีข้อความไม่เท่ากัน สั้นบ้างยาวบ้าง อัธยายที่ 1 เรียกว่านิทานปริวรรต ว่าด้วยเหตุที่พระพุทธทรงแสดงธรรมปริยายคือ ลลิตวิสตรนี้ โดยเล่าว่ามีเทพเจ้ามาทูลขอร้องให้พระองค์ทรงแสดงไวปุลยสูตรดั่งกล่าว พระพุทธทรงเล่าเรื่องราว โดยตรัสเป็นคำประพันธ์ว่า

ตตฺภิกฺษโว เม  ศฺฤณุเตห สรฺเว

ไวปุลฺยสูตฺรํ หิ มหานิทานมฺ

ยทฺภาษิตํ สรฺวตถาคไ ตะ ปฺราคฺ

โลกสฺย สรฺวสฺย หิตารฺถเมวมฺ ฯ

คำแปล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งปวงจงฟังมหานิทานของตถาคต

อันเป็นสูตรที่กว้าขวางไพบูลย์

ซึ่งพระตถาคตทั้งปวงได้ตรัสแสดงในครั้งก่อนๆ แล้ว

เพื่อประโยชน์ชาวโลกทั้งปวงดั่งนี้แล ฯ

     อัธยายที่ 2 ว่าด้วยทรงพระอุตสาหะที่จะเสด็จอุบัติในมนุษยโลกแล้วตรัสรู้เป็นพระพุทธ

     อัธยายที่ 3 ว่าด้วยพระองค์ทรงเลือกตระกูลที่จะเสด็จไปบังเกิดว่าควรจะเกิดในตระกูลไหน พระมารดาพระบิดาเป็นคนเช่นไร

     อัธยายที่ 4ว่าด้วยหัวข้อแสงสว่างแห่งธรรมมีอะไรบ้าง ซึ่งทรงแสดงธรรมครั้งสุดท้ายขณะที่ประทับอยู่ในสวรรค์ชั้นดุษิต

     อัธยายที่ 5 ว่าด้วยการจุติจากสวรรค์ชั้นดุษิตของพระองค์

     อัธยายที่ 6 ว่าด้วยเสด็จลงสู่พระครรภ์พระนางมายาประทับอยู่ในวิมานแก้วในพระครรภ์พระมารดา

     อัธยายที่ 7 ว่าด้วยทรงสมภพที่ป่าลุมพินีใต้ต้นมะเดื่อ เมื่อเชิญเสด็จเข้าสู่พระนครแล้วได้รับการตั้งพระนามว่า สรฺวารฺถสิทธ  และหลังประสูติแล้วได้ 7 วัน พระนางมายาถึงก็กาละ  อสิตมหาฤษีกับนรทัตผู้เป็นหลานชายเข้าไปเยี่ยม เมื่อตรวจพิจารณาดูลักษณะพระกุมารแล้วพยากรณ์ว่า พระกุมารจะได้เป็นพระราชาจักรพรรดิ์ หรือไม่ก็จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธ เอกอัครประเสริฐเลิศในมนุษย์โลกและเทวโลก

     อัธยายที่ 8 ว่าด้วยการนำพระกุมารไปเทวสถาน พอพระกุมารย่างพระบาทเข้าไป เทวรูปที่ตั้งอยู่ก็ล้มลงหมด

     อัธยายที 9 ว่าด้วยเครื่องประดับ มีคนนำเครื่องประดับไปถวายพระกุมาร พระกุมารแต่งพระองค์ด้วยเครื่องประดับแล้ว เครื่องประดับต่างๆอับหมองไป เพราะพระกายของพระกุมารรุ่งโรจน์กว่า ขับให้เครื่องประดับหมองไป

     อัธยายที่ 10 ว่าด้วยพระกุมารเสด็จไปโรงเรียนพร้อมด้วยเด็กตั้งหมื่น พระกุมารบอกชื่อหนังสือให้อาจารย์วิศวามิตรสอน แต่ชื่อหนังสือเหล่านั้น อาจารย์ไม่รู้ เด็กตั้งหมื่นเรียนหนังสือกับอาจารย์โดยการช่วยเหลือของพระกุมาร ตัวหนังสือที่เด็กอ่านแต่ละตัวออกเสียงเป็นธรรมภาษิตและบทปรัชญาไปหมด

     อัธยายที่ 11 ว่าด้วยพระกุมารเสด็จเยี่ยมหมู่บ้าชาวนา ประทับนั่งที่โค่นต้นหว้าเข้าถึงจตุรธยาน เงาต้นหว้าไม่คล้อยไปตามตวงตะวัน พระฤษี 5ตนเหาะมา ไม่อาจเหาะผ่านไปได้ต้องลงพื้นดิน เห็นพระกุมารประทับนั่งอยู่ใต้ต้นหว้า ต่างพากันเข้าไปน้อมตัวลงทำอัญชลีกราบไหว้พระกุมาร พระบิดาตามไปพบ ก็ทรงอภิวาทพระกุมารแล้วพระกุมารก็เสด็จกลับ

     อัธยายที่ 12 ว่าด้วยทรงแสดงศิลป และได้รับการอภิเษกพระนางโคปาเป็นอัครมเหษี

     อัธยายที่ 13 ว่าด้วยการเตือน คือพระพุทธใน 10 ทิศและเทพทั้งหลาย เตือนพระกุมารให้ออกมหาภิเนษกรมณ์โดยแทรกคำเตือนมาในเสียงดนตรี

     อัธยายที่ 14 ว่าด้วยความฝัน พระกุมารได้รับคำเตือนจากเทวดาเหมือนเคลิ้มฝัน จึงทรงเล่าให้พระบิดาฟัง พระบิดาก็ทรงฝันเหมือนกัน คือฝันว่าพระกุมารทรงบรรพชา และพระบิดาทรงจัดการป้องกันมิให้พระกุมารเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ พระกุมารเสด็จชมอุทยาน ทอดพระเนตรเห็นเทวทูต 4 คือเทวดาแปลงตัวเป็น คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และบรรพชิต

     อัธยายที่ 15 ว่าด้วยพระกุมารเสด็จออกอภิเนษกรมณ์

     อัธยายที่ 16 ว่าด้วยเมื่อทรงบรรพชาแล้วเสด็จเข้าไปหา อาราฑะ กาลาปะ ทรงศึกษาธรรมจนจบ ไม่สมพระสงค์ เสด็จออกจากสำนักนั้น เสด็จไปนครราชคฤห์พบกับพระราชาพิมพิสาร พระราชาพิมพิสารแบ่งสมบัติถวาย พระองค์ไม่ยอมรับ ทรงยืนยันว่าจะแสวงหาคุณธรรมของบรรพชิต พระราชาพิมพิสารทูลขอร้องว่าถ้าพระองค์ประสบคุณธรรมของบรรพชิตแล้วขอให้แสดงให้มีส่วนรู้บ้าง

     อัธยายที่ 17 ว่าด้วยทรงประพฤติทุษกรจรรยา คือประพฤติทรมานพระองค์อันทำได้ยาก และก่อนทรงประพฤติได้เข้าไปหาดาบสชื่อ รุทรกะ รามปุตระ ทรงศึกษาสมาบัติไนวสํชญาน สํชญายตนะ เมื่อทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางตรัสรู้ จึงเสด็จออกจากสำนักรุทรกะ รามปุตระ และตอนนี้พระภัทรวรรคีย 5รูป ผู้เป็นศิษย์ของรุทรกะ รามปุตระ เห็นพระองค์ออกจากสำนักอาจารย์ ก็ปลีกตัวจากอาจารย์ติดตามพระองค์ไป โดยคิดว่า พระองค์ตรัสรู้แล้วตนจะได้ฟังธรรมได้รับความตรัสรู้ด้วย ต่อมา พระองค์อดอาหาร กลั้นลมหายใจที่เรียกว่า ทุษกรจรรยา คือประพฤติตนอันยากที่จะทำได้

     อัธยายที่ 18 ว่าด้วยเสด็จแม่น้ำไนรัญชนาแล้วเริ่มเสวยอาหาร ภัทรวรรคียเห็นพระองค์คลายความเพียรจึงผละจากและไปยังนครพาราณสี

     อัธยายที่ 19 ว่าด้วยเสด็จสู่ควงไม้โพธิ ทรงรับหญ้าหอมจากคนเกี่ยวหญ้าชื่อ สวัสติกะ ทรงนำไปปูลาดใต้ต้นโพธิแล้วประทับนั่งบนนั้น

     อัธยายที่ 20 ว่าด้วยวิมานที่ควงไม้โพธิ

     อัธยายที่ 21 ว่าด้วยการรังควานของมาร

     อัธยายที่ 22 ว่าด้วยการตรัสรู้เป็นพระพุทธ

     อัธยายที่ 23 ว่าด้วยเทวดาสรรเสริญพระพุทธ

     อัธยายที่ 24 ว่าด้วยพ่อค้า 2 คนคือ ตระปุษะ กับภัลลิกะ พบพระพุทธแล้วถวายข้าวคั่วคลุกน้ำผึ้งกับอ้อยควั่น และมหาราชทั้ง 4ถวายบาตรแก่พระพุทธเพื่อให้ทรงรับไทยธรรม

     อัธยายที่ 25 ว่าด้วยมหาพรหมศิขีทูลอาราธนาให้ทรงแสดงธรรม

     อัธยายที่ 26 ว่าด้วยการแสดงธรรมจักรแก่ภัทรวรรคียทั้งห้า

     อัธยายที่ 27บทส่งท้าย ว่าด้วยอานิสงส์แห่งพระคัมภีร์ลลิตวิสตร

     ในอัธยายที่ 7 ว่าด้วยทรงสมภพนั้น กล่าวไว้ว่าพระโพธิสัตว์อยู่ในพระครรภ์พระมารดาประกอบด้วยฤทธิปราติหาริย์เห็นปานนี้ เมื่อครบ 10 เดือน เดือนล่วงไปแล้ว พระองค์ก็เสด็จออกทางพระปรัศว์เบื้องขวาของพระมารดา ข้อความตอนนี้ ในอัธยายนั้นกล่าวว่า พระอานนท์ทูลถามว่าเมื่อพระองค์ประทับอยู่ในพระครรภ์กระทั่งเสด็จออกจากพระครรภ์ทางพระปรัศว์เบื้องขวาของพระมารดานั้น น่าอัศจรรย์ไม่เคยมี พระองค์ตรัสว่า ข้อนี้ ต่อไปภิกษุผู้มิได้อบรมกาย วาจา ใจ เป็นศรมณะมีมลทิน เป็นศรมณะจอมปลอม จะไม่เชื่อว่าเป็นเช่นนั้น อีกตอนหนึ่ง พระองค์ตรัสว่า ดูกรอานนท์ สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นประกอบด้วยกุศลมูลอันไม่ต่ำทราม จะเป็นมิตรเนื่องด้วยเป็นชาติเดียวกันกับตถาคต และตรัสว่าย่อมเป็นที่เจริญใจของมิตร ความข้อนี้เทียบกับพระกฤษณะตรัสกับพระอรชุนในคัมภีร์ภควัทคีตา อัทธยายที่ 12 ตั้งแต่โศลกที่ 12 ถึงโศลกที่ 20ความว่า ผู้ตั้งมั่นในศรัทธานับถืออาตมา(หมายถึงพระกฤษณะซึ่งเป็นองค์อาตมัน) เป็นอย่างยอด มีภักดี บำเพ็ญอมฤตธรรมตามที่กล่าวมาแล้ว ผู้นั้นเป็นยอดที่รักของอาตมา

     พระคัมภีร์ลลิตวิสตรนี้ เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่ามหานิทานเป็นสูตรเกี่ยวกับความเริ่มต้นความเป็นพระพุทธ ทำนองเดียวกับคัมภีร์มหาปุราณของฝ่ายพราหมณ์ หนังสือเช่นนี้แสดงถึงลักษณะของมหายานสูตร และบางส่วนก็เหมือนหรือคล้ายกับพระคัมภีร์ฝ่ายหีนยาน มีข้อความที่ตรงกับภาษามคธเช่นในมหาวัคค์พุทธอุทานว่า

สุโข  วิเวโก  ตุฏฐสส                 สุตธมมสส  ปสสโต

อพยาปชฌํ  สุขํ   โลเก              ปาณภูเตสุ  สญญโม

สุขา วิราคตา  โลเก                   กามานํ  สมติกกโม 

อสมิมานสส  โย วินโย               เอตํ  เว  ปรมํ  สุขํ ฯ

คำแปล

ความสงัด เป็นสุข ของบุคคลผู้สันโดษ  มีธรรมปรากฏแล้ว เห็นอยู่

ความไม่พยาบาทคือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลายเป็นสุขในโลก

ความปราศจากความกำหนัดคือความล่วงกามทั้งหลายเสียได้ เป็นสุขในโลก

การกำจัดอัสมิมานะเสียได้ นั่นแล เป็นสุขอย่างยิ่ง ฯ

ลลิตวิสตร อัธยายที่24 โศลกที่ 81-82 ว่า

สุโข วิเวกสตุษฏสย                  ศรุตธรมสย  ปศยตะ

อวยาพธยํ  สุขํ  โลเก               ปรราณิภูเตษุ  สำยตะ

สุขา  วิราคตา โลเก                 ปาปานํ  สมติกรมะ

อสมิน  มานุษยวิษเย                เอตทไว ปรมํ  สุขม ฯ

คำแปล

ความวิเวกของผู้ยินดี ฟังธรรมแล้ว เห็น(ธรรมนั้น) แล้ว ย่อมเป็นสุข

ความไม่พยาบาท สำรวมอินทรีย์ในสัตว์มีชีวิตทั้งหลายย่อมเป็นสุขในโลก

ความปราศจากกำหนัด การก้าวล่วงบาปทั้งหลายย่อมเป็นสุขในโลก

นี่แหละ (ทำได้ดังกล่าวมานี้) เป็นสุขยอดยิ่งในวิษัยของมนุษย์นี้ ฯ

ในสคาถวัคค์ สํยุตตนิกาย ว่า

กิจฺเฉน  เม  อธิคตํ                  หลนฺทานิ  ปาสิต  (ต=ตุ+ตํ= ต-มี สระอุอยู่ข้างล่าง มีสระอำอยู่ข้างบน)

ราคโทสปเรเตหิ                     นายํ  ธมฺโม  สุสมฺพุโธ

ปฏิโสตคี  นิปุณํ                     คัมฺภีรํ  ทุทฺทสํ ณ (ณ=ณุ+ณํ)

ราครตฺตา  น  ทกฺขนฺติ             ตโมขนฺเธน  อาวุฏา ฯ

คำแปล

บัดนี้ เรายังไม่ควรประกาศธรรมที่เราได้บรรลุแล้วโดยยาก

เพราะธรรมนี้อันสัตว์ผู้อันราคะและโทสะครอบงำแล้วไม่ตรัสรู้ได้ง่าย

สัตว์ผู้อันราคะย้อมแล้วถูกกองอวิชชาห่อหุ้มแล้ว

จักไม่เห็นธรรมอันละเอียดยิ่งลึกซึ้งอันจะยังสัตว์ให้ถึงธรรมที่ทวนกระแส (คือพระนิพาน) ฯ

ในลลิตวิสตร อัธยายที่ 25 โศลกที่ 19-20 ว่า

ปฺรติโศฺรคามิ  มารฺโค               คมฺภีโร  ทุรฺทฺฤโศ  มม

น  ตํ  ทฺรกฺษฺยนฺติ                    อลํ  ตสฺมาตฺ  ปฺรกาศิตุมฺ

อนุโสฺรตํ  ปฺรวาหฺยนฺเต             กาเมษุ  ปติตา ปฺรชาะ

กฺฤจฺเฉฺรณ  เม' ยํ  สํปฺราปฺตํ        อลํ  ตสฺมาตฺ  ปฺรกาศิตุมฺ ฯ

คำแปล

หนทางของเราทวนกระแส ลีก เห็นยากผู้ที่มืดด้วยราคะ

ย่อมไม่เห็นธรรมนั้น  เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรประกาศ ฯ

คนทั้งหลาย ตกอยู่ในกามทั้งหลาย ลอยไปตามกระแส

ตถาคตจะให้คนเช่นนี้บรรลุนั้นยากนัก เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรประกาศ ฯ

ในมหาวัคค์ว่า

ปาตุรโหสิ  มคเธสุ  ปุพฺเพ

ธมฺโม  อสุทฺโธ  สมเลหิ  จินฺติโต

อปาปุเรตํ  อมตสฺส  ทวารํ

สุณนฺตุ  ธมฺมํ  วิมเลนานุพุทฺธํ  ฯ

คำแปล

เมื่อก่อน ธรรมอันไม่บริสุทธิ์ อันคนมีมลทินทั้งหลายคิดแล้ว

ได้ปรากฏในมคธชนบท

ขอพระองค์ได้โปรดทรงเปิดประตูแห่งอมตธรรมนี้

ขอสัตว์ทั้งหลายจงฟังธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธผู้หมดมลทินตรัสรู้แล้ว  ฯ

ในลลิตวิสตร อัธยายที่ 25 โศลกที่ 21 ว่า

วาโท  พภูว  สมไลรฺวิจินฺติโต

ธรฺโม ' วิศุทฺโธ มคเธษุ  ปูรฺวมฺ

อมฺฤตํ  มุเน  ตทฺวิววฺฤณีษฺว  ทฺวารํ

ศฺฤณฺวนฺตุ  ธรฺมํ  วิมเลน  พุทฺธมฺ

คำแปล

ลัทธิของผู้คิดผิดโดยประกอบด้วยมลทิน

เป็นธรรมไม่ปริศุทธในชาวมคธทั้งหลายในครั้งก่อน

ข้าแต่พระมุนี เพราะฉะนั้น ขอพระองค์โปรดเปิดประตูอมฤต

คนทั้งหลายจะได้ยินธรรมและพุทธโดยจิตปราศจากมลทิน  ฯ

ในมหาวัคค์ ว่า

อารุตา  เต  อมตสฺส  ทฺวารา

เย  โสตวนฺโต  ปมุจญฺจนฺตุ  สทฺธํ

วิหํสสญฺญี  ปคุณํ  น  ภาสี

ธมฺมํ  ปณีตํ  มนุเชสุ  พฺรหฺเม  ฯ

คำแปล

เราเปิดประตูอมตะแก่ท่านแล้ว

สัตว์เหล่าใดจะฟัง จงปล่อยศรัทธามาเถิด

ดูกรพรหม เพราะเรามีความสำคัญในความลำบาก

จึงไม่แสดงธรรมที่เราคล่องแคล่วประณีต ในหมู่มนุษย์ ฯ

ในลลิตวิสตร อัธยายที่ 25 โศลกที่ 34 ว่า

อปาวฺฤตาเตษามมฺฤตสฺย  ทฺวารา

พฺรหมนฺติ  สตตํ  เย โศรตวนฺตะ

ปฺวิศนฺติ  ศฺรทฺธา  น วิเหฐสญฺญา

ศฺฤณฺวนฺติ  ธรฺมํ  มคเธษุ  สตฺตฺวาะ ฯ

คำแปล

ประตูอมฤตของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นไม่ได้ปิด

ดูก่อนพรหม ผู้ใดเป็นผู้ฟังตลอดไป ผู้นั้นมีศรัทธา

ไม่คิดเบียดเบียนกัน ย่อมเข้า(ประตูนั้น)ได้

สัตว์ทั้งหลายในมคธฟังธรรมได้ ฯ

ในมหาวัคค์ ว่า

น  เม  อาจริโย อตฺถิ                สทิโส  เม  น  วิชฺชติ

สเทวกสฺมี  โลกสฺมึ                  น  อตฺถิ  เม  ปฏิปุคฺคโล

อหํ  หิ อรหา  โลเก                  อหํ  สตฺถา  อนุตฺตโร

เอโก ' มฺหิ  สมฺมาสมฺพุทโธ        สีติภูโตสฺมิ  นิพฺพุโต

มาทิสา  เว  ชินา  โหนฺติ           เย  ปตฺตา  อาสวกฺขยํ

ชิตา  เม ปาปกา ธฺมา               ตสฺมาหํ  อุปก  ชิโน ฯ

คำแปล

อาจารย์ของเราหามีไม่ คนเช่นเราก็ไม่มี

บุคคลเสมอเหมือนเราก็ไม่มีในโลกกับทั้งเทวโลก

เพราะเราเป็นพระอรหันต์ในโลก  เราเป็นศาสดาหาศาสดาอื่นยิ่งกว่ามิได้

เราผู้เดียวเป็นพระสัมมาสัมพุทธ  เราเป็นผู้เย็นดับกิเลสได้แล้ว

บุคคลผู้ใดถึงความสิ้นอาสวะแล้ว บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ชนะเช่นเรา

ดูกรอุปกะเราชนะธรรมอันลามกแล้ว เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่าเป็นผู้ชนะ ฯ

ในลลิตวิสตร อัธยายที่ 26 โศลกที่ 1-2-3

อาจารฺโย  น  หิ  เม                 กศฺจิตฺสทฺฤโศ  เม  น  วิทฺยเต

เอโก ' หมสฺมิ  สํพุทฺธะ             ศีติภูโต  นิราศฺรวะ

อหเมวารหํ  โลเก                   ศาสฺตา  หฺยหมนุตฺตระ

สเทวาสุรคนฺธรฺเว                    นสฺติ  เม  ปฺรติปุทฺคละ

ชินา  หิ  มาทฺฤศา                   เชญยา เย  ปฺราปฺตา  อาศฺรวกฺษยมฺ

ชิตา  เม  ปาปกา                    ธรฺมาสฺเตโนปค  ชิโน  หฺยหมฺ ฯ

คำแปล

อาจารย์ใดๆ ของตถาคตไม่มีเลย ไม่มีใครจะเหมือนตถาคต

ตถาคตผู้เดียวเป็นผู้ตรัสรู เป็นความเย็น ปราศจากอาสวะ(ทุกข์,โทษ)

ตถาคตนี้แหละเป็นอรหันต์ในโลก ตถาคตเป็นศาสดาไม่มีใครยิ่งกว่า

ไม่มีบุทคลจะเปรียบตถาคตได้ทั้งในเทวดา อสูร คนธรรพ์

พึงทราบเถิดว่า ผู้เช่นตถาคตเป็นชินซึ่งถึงความสิ้นแห่งอาสวะ

ธรรมที่เป็นบาปทั้งปวงตถาคตชนะแล้ว

เพราะฉะนั้น ดูกรอุปคะ ตถาคตนี้แหละได้เข้าถึงชินแล้ว ฯ

ในมหาวัคค์ว่า

ธมฺมจกฺกํ  ปวตฺเตต (ต=ตุ+ตํ)      คจฺฉามิ  กาสินํ  ปุรํ

อนฺธภูตสฺมึ  โลกสฺมึ                   อหญฺญี  อมตทุนฺทุภินฺติ ฯ

คำแปล

เราจะไปยังบุรีแห่งชาวกาสีเพื่อประกาศธรรมจักร

เราจะตีกลองอมตะในโลกอันมืด ฯ

ในลลิตวิสตร อัธยายที่ 26 โศลกที่ 5-6 ว่า

วาราณสึ  คมิศ์ยามิ                  คตฺวา  ไว  กาศินำ  ปุริมฺ

ศพฺทหีนสฺย  โลกสฺย                 ตาฑยิเษย ' มฺฤตทุนฺทุภิมฺ

วารารสึ  คมิษฺยามิ                   คตฺวา  ไว กาศินำ  ปุริมฺ

ธรฺมจกฺรํ  ปฺรวรฺติเษย                โลเกษฺวปฺรติวรฺติตมฺ

คำแปล

ตถาคตไปบุรีของชาวกาศีทั้งหลายแล้วจะไปพาราณสี

จะตีกลองใหญ่คืออมฤต แก่โลกที่มีเสียงเลวๆ

ตถาคตไปบุรีของชาวกาศีทั้งหลายแล้ว

จะไปพาราณสีจะหมุนจักรคือธรรมซึ่งไม่มีใครหมุนในโลก

     ข้อความตามที่ได้ยกขึ้นมาเปรียบเทียบนี้ จะเห็นได้ว่าพระคัมภีร์ลลิตวิสตรนี้เป็นรูปใหม่ในพระคัมภีร์ของหีนยาน หรืออาจเป็นว่าทั้งมคธและสํสกฤตมาจากแหล่งเก่าแห่งเดียวกันซึ่งเป็นรากฐานอยู่ก่อนเช่นขึ้นต้นว่า เอวํ มยา ศฺรุตํ หรือเอวมฺเม สุตํ พระคัมภีร์ลลิตวิสตรนี้ เป็นพุทธประวัติฝ่ายมหายานนิกายสรวาสติกวาท คือนิกายที่ถือลัทธิว่า พระพุทธมีอยู่ทุกแห่งทุกเวลา  ส่วนใหญ่ของพระคัมภีร์นี้แต่งเป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง ที่เป็นร้อยแก้วใช้ประโยคเป็นคำสมาสยาวๆ คล้ายกับร่ายยาวในเวสสันดรชาดกของไทย นักปราชญ์บางคนให้ความเห็นว่า ภาคที่เป็นร้อยแก้วเป็นคำเก่าที่สุด ส่วนภาคร้อยกรองเป็นคำแต่งเพิ่มเติมขึ้นภายหลังทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองมีความหมายอย่างเดียวกัน ในสมัยนั้น มักแต่งกันแบบนี้ คือแต่งเป็นร้อยแก้วร้อยกรองผสมกัน เช่นพระเวทและอุปนิษัท คือพยายามแต่งเป็นร้อยกรองที่ย่อความไว้ การแต่งในทำนองนี้สมัยต่อมามีมากยิ่งขึ้น เช่นในสมัยพระเจ้ากนิษกะ มีหนังสือ เช่นจรกสํหิตา และ สุศรุตสํหิตา ในสมัยพระเวทและอุปนิษัทดำเนินเรื่องเป็นร้อยแก้ว ก่อนจะถึงคำร้อยกรองจะต้องนำด้วยคำว่า ตเทษ โศลโก ภวติ (ข้อน้นมีโศลกนี้ว่า) หรือโศลกา ภวนติ(มี่โศลกทั้งหลายว่า) เป็นต้น ต่อมาในสมัยหลังพระเวท ก่อนถึงคำร้อยกรองใช้คำว่า  ภวนฺติ จาตร(และในข้อนี้มีโศลกว่า) หรือ ภวนติ จาตร(และในข้อนี้ มีโศลกทั้งหลายว่า) เป็นต้น คำร้อยแก้วเก่ากว่าคำร้อยกรองเพราะเรียงถ้อยคำตามหลักไวยากรณ์ของท่านปาณินี แต่ในการแต่งฉันท์วรรณคดีซึ่งเป็นคำร้อยกรองพุทธศาสนาภาษาสํสกฤต จะใช้หลักไวยากรณ์ของท่านปาณินี ย่อมผิดพลาดไปบ้างคือต้องรักษา ครุ ลหุ ตามข้อบังคับของคณะฉันท์จึงไม่เคร่งครัดทางไวยากรณ์เท่าไรนัก จึงมีลักษณะที่เป็นตัวของตัวเอง ในพระคัมภีร์ลลิตวิสตรและรูปศัพท์บางศัพท์ก็ทำให้เป็นรูปศัพท์เฉพาะในพระคัมภีร์นั้น เช่น ทานุ ทตฺตํ แทนที่จะเป็น ทานํ ทตฺตํ (ให้ทาน) หรือคชวรุ แทนที่จะเป็น คชวระ (ช้างประเสริฐ) หรือ มา เอษุ โภกฺษฺยถ แทนที่จะเป็น มา เอษ โภก์ษยถ (อย่างใช้บาตรนี้) เป็นต้น เข้าใจว่าคงจะแต่งให้เป็นพิเศษทำนองเดียวกับภาษาพระเวทต่างกับภาษาโลกที่เป็นภาษาของคนธรรมดาทั้งนี้ เพื่อยกย่องให้เป็นคัมภีร์ชั้นสูง พระคัมภีร์ลลิตวิสตรนี้ ดำเนินตามแบบบาลีเช่นสุตตนิบาตตอนที่เป็นร้อยแก้วหลายตอน ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรก็มาจากแบบเก่า คือเดิมเป็นแบบหีนยาน แต่ในพระคัมภีร์ลลิตวิสตรนี้มีข้อความหลายตอนที่ขยายให้กว้างขวางขึ้นตามแบบของมหายาน

     พระคัมภีร์ลลิตวิสตรนี้ ไม่ปรากฏว่าเขียนขึ้นเมื่อไร แต่พอมีหลักฐานว่าเขียนขึ้นภายหลังเมื่อมีพระพุทธรูปแล้ว ในอัธยายที่ 26 ตอนที่ว่าด้วยอานิสงส์พระพุทธมีขนขุมละเส้นเพราะบูชาพระเจดีย์และพระพุทธรูป ตอนที่ว่าพระพุทธทรงมีกำลังมาก เพราะอานิสงส์บูชาพระพุทธรูปนี้แสดงว่า เมื่อเขียนพระคัมภีร์นี้ ได้มีพระพุทธรูปเกิดขึ้นแล้ว ส่วนพระพุทธรูปนั้นมีในโลกเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 5- 6 จึงเห็นได้ว่าพระคัมภีร์นี้ เขียนขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 5-6 เพราะต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 6 พระอัศวโฆษภิกษุนิกายมหายาน ได้รจนาเรื่องพุทธจริตดำเนินตามเค้าเรื่องของพระคัมภีร์ลลิตวิสตรนี้ โดยท่านนำเนื้อเรื่องจากพระคัมภีร์มาแต่งเป็นฉันท์

      พระคัมภีร์ลลิตวิสตรนี้ นักศิลปินได้นำไปทำรูปเรื่องประดับตกแต่ง สถูปบูโรบูโดในชวาเมื่อประมาณ พ.ศ.1390-1443 ภาพที่แกะสลักเหล่านั้น แสดงถึงพุทธประวัติโดยอาศัยพระคัมภีร์ลลิตวิสตรทั้งสิ้น

     พระคัมภีร์ลลิตวิสตรนี้ พิมพ์ครั้งแรกโดยบัณฑิต ราเชนทร ลาล มิตร พิมพ์ที่ บิบลิโอเถกา อินทิกา กัลกัตตา เมื่อปี พ.ศ.2420 ต่อมานักปราชญ์เยอรมันชื่อ เอส เลฟมัน พิมพ์ภาคต้น (มูลครนถ) และภาคที่ 2 (ปาฐเภท) เมื่อปี พ.ศ.2445 และ 2451 ตามลำดับ ได้พิมพ์ที่เมือง หาล ประเทศเยอรมันฉบับพิมพ์ภาคต้นถือตามต้นฉบับของอินเดียและเนปาล แต่ต้นฉบับไม่สมบูรณ์และผิดพลาด จึงได้ข้อความไม่ถูกต้องเป็นส่วนมาก ส่วนฉบับของบัณฑิต ราเชนทร ลาลมิตร นั้น พยายามแก้ไขให้ถูกตามหลักไวยากรณ์ของท่านปาณินีมากไป จึงทำให้เชื่อยากว่าจะสมบูรณ์ตามแบบเดิม และบางตอนข้อความขาดหายไป แต่ฉบับของ เอส เลฟมัน ถึงตามต้นฉบับถึง 6 ฉบับ ที่ได้จากหอสมุดในยุโรป และได้แก้ไขจากฉบับเดิมให้ดีขึ้น จึงเป็นฉบับที่เชื่อถือได้มากกว่า ฉบับพิมพ์ภาค 2 ใช้ต้นฉบับที่ได้จากหอสมุดในยุโรปและฉบับพิมพ์ของ ราเชนทร ลาล มิตร ซึ่งพิมพ์ที่กัลกัตตา อินเดีย

     ฉบับที่พิมพ์อักษรไทยนี้ พิมพ์ตามต้นฉบับของท่าน ไวโทยปาหน ศรีปรศุราม ศรมา หรือเรียกสั้นๆ ว่าดอกเตอร์ พี แอล ไวทย พิมพ์ที่มิถิลา วิทยาปีฐ ทรภํคา แคว้นพิหาร อินเดีย เมื่อ พ.ศ.2501

     พระคัมภีร์ลลิตวิสตรนี้ กล่าวกันว่า จีนแปลเป็นภาษาจีนเมื่อประมาณระหว่าง พ.ศ.543-643 เป็นครั้งแรก คือเป็นฉบับแปลเก่าที่สุด แต่ปัจจุบันนี้ หนังสือฉบับนั้นไม่มีแล้ว ต่อมา ท่านธรรมรักษ แปลในพ.ศ.851 แต่ก็แปลได้เพียง 8 อัธยายเท่านั้น ต่อมาพระภิกษุชื่อเทวกรแห่งราชถังระหว่าง พ.ศ.1163-1453 แปลเป็นภาษาจีน ฉบับนี้ถือว่าแปลได้ถูกต้อง และทิเบตแปลออกเป็นภาษาทิเบต เรียกว่า อารยลลิตวิสตร - นาม -มหายาน-สุตร ผู้แปลคือท่าน ชิมมิตร ท่านทานศีล ท่านมุนีวรม และท่าน เย เศสู สเท แปลเมื่อ พ.ศ.1443 การแปลภาษาสํสกฤตเป็นภาษาทิเบตนี้ได้ทำกันตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 14 และคัมภีร์พุทธศาสนาในทิเบต ตกอยู่ที่เมืองเซนได ประเทศญี่ปุ่น

     ฉบับที่เปลเป็นภาษาทิเบตนี้ ได้แปลออกเป็นภาษาฝรั่งเศสและพิมพ์ที่ปารีส ผู้แปลชื่อ ฟูโกซ์ แปลเมื่อ พ.ศ.2391-2392 ชาวยุโรปรู้เรื่องพุทธประวัติจากพระคัมภีร์นี้ และเซอร์ เอดวินอาโนลด์ ร้อยกรองเป็นบทกลอนภาษาอังกฤษ มีชื่อว่า ไลฟ์ ออฟ เอเซีย ก็ได้เค้าดำเนินตามพระคัมภีร์นี้ ไทยแปลจากภาษาฝรั่งเศส ชื่อท่านเลอองสอรค แปลจากอังกฤษให้ชื่อในภาษาไทยว่า ประทีปแห่งทวีปเอเซีย

     ในประเทศไทย พระคัมภีร์ลลิตวิสตรนี้ ครั้งแรกพระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์ แปลเพียง 2 อัธยาย คือ อัธยายที่ 1 และอัธยายที่ 2 พิมพ์ถวายในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระเมรุท้องสนามหลวงเมื่อ ร.ศ.129 (พ.ศ.2453) ต่อมา พระพินิจวรรณการ (แสง ศาลิตุล เปรียญ 6 ประโยค) แปลตั้งแต่อัธยายที่ 1 ถึงอัธยายที่ 7 พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพพระยาจ่าแสนยบดีศรีบริบาล(ชิต สุนทรวร) เมื่อ พ.ศ.2476) ทั้ง 2 รายนี้ ใช้ต้นฉบับของ ดร.เอส เลฟแมน ข้าพเจ้าแปลเป็นครั้งที่ 3 เมื่อ วันที่ 30 สิงหาคม 2509 แปลจบบริบูรณ์ 27 อัธยาย เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2510 การแปลครั้งนี้ ใช้ต้นฉบับของ ดร.พี แอล ไวทย ในการพิมพ์ น.ส.ก่องแก้ว วีระประจักษ์ ได้เป็นธุระในการตรวจปรู๊ฟ เพราะรู้ภาษาสํสกฤตอ่านอักษรเทวนาครี ต้นฉบับได้เป็นอย่างดี และมีความละเอียดถี่ถ้วนดี

      อนึ่งการแปล ข้าพเจ้าแปลทับศัพท์เป็นสันสกฤต เช่นปัญญา ข้าพเจ้าแปลทับศัพท์ว่า ปรัชญา สติแปลทับศัพท์ว่า สมฤติ เป็นต้น เพื่อให้ทราบหลักฐานตามเค้าเดิม

      พระคัมภีร์ลลิตวิสตรนี้ มีคุณค่ามากในแง่ประวัติศาสตร์แห่งพุทธศาสนา และในแง่ประวัติวรรณคดี เป็นหนังสือสำคัญเล่มหนึ่งในพระไตรปิฏกฝ่ายมหายาน จึงสมควรที่ทุกท่านควรอ่น

แสง  มนวิทูร

ลลิตวิสตร

โอมฺ นโม ทศทิคนนฺตาปรฺยยนฺตโลกธาตุปฺรติษฺฐ

สรฺวพุทฺธโพธิสตฺตฺวารฺยศฺราวก

ปฺรเตยกพุทเธดภฺย  '  ดีตานาคต  ปฺรตฺยุปนฺเนภฺยะ  ฯ

โอม

ความนอบน้อมของข้าพเจ้าจงมีแด่พระพุทธ พระโพธิสัตว์

พระอารยศราวก และพระปรัตเยกพุทธทั้งหลายทั้งปวง ทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน

อันประดิษฐานดำรงอยู่ในโลกธาตุ อันไม่มีเขตสุด และไม่มีขอบเขตในทิศทั้ง 10

 

01 เหตุแห่งพระสูตร

 

อัธยายที่ 01 

นิทานปริวรฺตะ ปฺรถมะ

ชื่อนิทานปริวรรต (ว่าด้วยเหตุบังเกิดพระสูตร)

เอวํ  มยา  ศฺรุตมฺ  ข้าพเจ้าผู้มีนามว่า อานันทะ ได้สดับมาแล้วอย่างนี้--

     เอกสฺมินสมเย  ภควานฺ  ในสมัยกาลครั้งหนึ่ง พระผู้มีภคะ(*)ทรงสำราญพระอิริยบถ อยู่ในพระอารามเชตวันอันเป็นอารามของท่านอนาถปิณฑทะในนครศราวัสตี พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ใหญ่มีจำนวนประมาณ 12000 รูป นั่นคือ ท่านชญาน  เกาณฑินยะ  ท่านอัศวชิตะ  ท่านพาษปะ  ท่านมหานาม  ท่านภัทริกะ  ท่านยศเทวะ  ท่านวิมละ  ท่านสุพาหุ  ท่านคะวำปติ  ท่านอุรุวิลวากาศยปะ  ท่านนทีกาศยปะ  ท่านคยากาศยปะ  ท่านศาริปุตระ  ท่านมหาเมาทคัลยายนะ  ท่านมหากาศยปะ  ท่านมหากาตยายนะ   ท่านกผิละ  ท่านเกาณฑินยะ  ท่านจุนันทะ  ท่านปูรณไมตรายณีปุตระ  ท่านอนิรุทธะ  ท่านนันทิยะ  ท่านกัสผิละ  ท่านสุภูติ  ท่านเรวตะ  ท่านขทิรวนิกะ  ท่านอโมฆราชะ  ท่านมหาปารณิกะ  ท่านพักกุละ  ท่านนันทะ  ท่านราหุละ  ท่านสวาคตะ  และท่านอานันทะ ฯ เช่นเดียวกัน พระองค์พร้อมด้วยประมุข คือพระภิกษุ 12000 รูป พระโพธิสัตว์ 32000 รูป สืบเนื่องด้วยสหชาต คือ เกิดคราวเดียวกันทั้งหมด เป็นผู้ถือกำเนิดบำเพ็ญบารมีแห่งพระโพธิสัตว์ทั้งปวง เป็นผู้สนุกสำราญอยู่ด้วยอภิชญาตาแห่งพระโพธิสัตว์ทั้งปวง เป็นผู้ได้รับการแตกฉาน (มีปฏิภาณ) ในสิ่งที่ทรงจำแห่งพระโพธิสัตว์ทั้งปวง เป็นผู้ได้รับมนตร์ธารณีแห่งพระโพธิสัตว์ทั้งปวง เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยประณิธาน (ความตั้งใจในอันจะเป็นพระโพธิสัตว์) ทั้งปวง เป็นผู้บรรลุถึงสัมยักคติ คือ ทางดำเนินชอบแห่งพระโพธิสัตว์ทั้งปวง เป็นผู้ที่มีความปรารถนาเพื่อจะเป็นพระโพธิสัตว์ทั้งปวง เป็นผู้หว่านโปรยความเพียรในอันจะเป็นพระโพธิสัตว์ทั้งปวง เป็นผู้บำเพ็ญภูมิธรรมแห่งพระโพธิสัตว์ทั้งปวง

 

* ผู้มีภคะ คือผู้มีสมบัติ 6 อย่าง ได้แก่ 1 ทรัพย์ 2 วีรยะ 3 ปรัชญาชญาน 4 วิรคะธรรม 5 ยศ 6 ศรีหรือสิริ คำว่า ภควาเป็นภาษามคธ ภควานฺเป็นภาษาสํสกฤต ไทยแปลว่า พระผู้มีพระภาค

 

      นั่นคือ พระองค์ทรงสำราญพระอริยาบถพร้อมด้วยพระไมตรีผู้เป็นพระโพธิสัตว์มหาสัตว์  พระธรณีศวรราชผู้เป็นพระโพธิสัตว์มหาสัตว์  พระสิงหเกตุผู้เป็นพระโพธิสัตว์มหาสัตว์  พระสิทธารถะผู้เป็นพระโพธิสัตว์มหาสัตว์  พระประศานตะจาริตระมติผู้เป็นพระโพธิสัตว์มหาสัตว์  พระประติสังวิตปราปตะผู้เป็นพระโพธิสัตว์มหาสัตว์  พระนิโตยทยุกตะผู้เป็นพระโพธิสัตว์มหาสัตว์  พระมหากรุณาจันทริณะผู้เป็นพระโพธิสัตว์มหาสัตว์  พระโพธิสัตว์เหล่านี้เป็นประมุขในจำนวนพระโพธิสัตว์ 32000 พรองค์

 

      ก็และสมัยนั้นแล พระผู้มีภคะทรงสำราญพระอิริยาบถอาศัยมหานครศรวัสตี ทรงเป็นที่สักการเคารพนับถือบูชาของพระราชผู้เป็นประชุมชน (บริษัท) ของพวกนับถือไตรสรณาคม ราชกุมาร ราชมนตรี ราชมหาอมาตย์ ราชปาทมูลิกา (ผู้เฝ้าแหนใกล้ชิตแทบพระยุคลบาทของพระราชา) ประชุมชน (บริษัท) แห่งกษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี อมาตย์ ผู้อยู่ในเมืองหลวงและอยู่ในชนบท เดียรถีย์อื่นๆ สมณะพราหมณ์ นักบวชเร่ร่อนและปริพาชกฯ พระผู้มีภคะมีปรกติได้รับของขบเคี้ยว ของกินที่กำหนดด้วยสิ่งของมีรสอร่อยและเครื่องใช้สอยคือ จีวร บาตร เสนาสนะ ยารักษาโรค อย่างเพียงพอ พระผู้มีภคะทรงได้รับลาภอันเลิศ ทรงได้รับเกียรติยศชื่อเสียงอันประเสริฐ ทรงได้รับการเอาอกเอาใจ ประคับประคองในที่ทั่วไป ด้งว่าบัวได้รับการประคับประคองด้วยน้ำ มีคำกล่าวสรรเสริญพรรณนาคุณของพระผู้มีภคะอย่างใหญ่หลวงเอิกเกริกขึ้นในโลกว่า "พระผู้มีภคะเป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองถึงพร้อมด้วยวิชชา(*) และจรณะ(**)เสด็จไปดีแล้ว (คือทรงพระดำเนินไปในทางที่ดี) ทรงรู้แจ้งโลก ทรงเป็นสารถีฝึกหัดบุรุษ (ปวงชน) อย่างยอดเยี่ยม ทรงเป็นศาสดาผู้สั่งสอนเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเป็นผู้ตรัสรู้แล้วตื่นแล้ว ทรงเป็นผู้มีภคะทรงประกอบด้วยจักษุ 5 ดวง(***) พระองค์ทรงรูแจ้งโลกนี้โลกหน้าพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ทรงรู้แจ้งด้วยพระองค์เองซึ่งหมู่สัตว์พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พร้อมทั้งสมณะและพราหมณ์ ทรงกระทำ(ความรู้)ให้ปรากฏบรรลุแล้ว ประทับอยู่แล้วๆ พระองค์ทรงแสดงสัทธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในเบื้องปลาย(สัทธรรมนั้น)ประกอบด้วย อรรถพยัญชนะ สมบูรณ์บริศุทธ และสะอาดที่สุด ได้ทรงประกาศพรหมจรรย์(สาสนา)แล้วฯ

 

* วิชชามี 8 อย่างคือ 1วิปัสสนาญาณ 2มโนมยิทธิ 3อิทธิวิธิ  4ทิพพโสต 5เจโตปริยญาณ 6ปุพเพนิสานุสติญาณ 7ทิพจักษุญาณ 8อาสวขยะญาณ

 

**จรณะมี 15 อย่าง แบบหีนยาน คือ 1สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล 2 อินทรีย์สังวร สำรวมอินทรีย์ 3โภชนมัตตัญญุตา รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร 4ชาคริยานุโยค ประกอบด้วยความเพียรตื่นอยู่เสมอ 5สัทธา มีศรัทธา 6หิริ มีความละอายใจ 7โอตัปปะ เกรงกลัวบาป 8พหุสัจจะ สดับตรับฟังเล่าเรียนมาก 9วิริยะ มีความเพียร 10สติ มีสติ 11ปัญญา มีปัญญา 12ปฐมฌาน  13ทุติยฌาน 14ตติยฌาน 15จตุตถฌาน

 

***จักษุ 5 ดวงแบบหีนยาน คือ 1มัสะจักษุ จักษุคือดวงตา 2ทิพพจักษุ จักษุทิพย์ 3ปัญญาจักษุ จักษุคือปัญญา 4พุทธจักษุ จักษุแห่งพระพุทธ 5สมันตจักษุ จักษุรอบคอบ

 

      และในครั้งนั้น พระผู้มีภคะทรงเข้าสมาธิชื่อพุทธาลังการะวยูหะ (มีขบวนประดับด้วยพระพุทธ) ในยามกลางราตรี และเมื่อพระผู้มีภคะอยู่ในระหว่างเข้าสมาธินี้ ขณะนั้นเบื้องบนพระเศียรของพระผุ้มีภคะทรงเปล่งรัศมีชื่อชญาณาโลกาลังการะ(ประดับด้วยแสงสว่าง คือ พระญาณ)อันสืบเนื่องมาจากทรงระลึกถึงพระพุทธในอดีตเปล่งออกจากช่องพระอุษณีษ(กลุ่มพระเกศา)รัศมีนั้นสว่างทั่วเทวภิภพปลุกเทพยดาในชั้นสุทธาวาสทั้งปวง และเทพยดาทั้งหลายหาประมาณมิได้มีพระผู้เป็นเจ้ามเหศวร เป็นต้น และภายหลังจากนั้น คาถา (คือถ้อยคำอันศักดิ์สิทธิ์)เป็นเครื่องปลุก ซึ่งได้เปล่งออกจากข่ายรัศมีของพระตถาคตนี้ ก็ได้เปล่งเสียงออกมาว่า

 

      1 ท่านทั้งหลาย จงอาศัยพระองค์ผู้มีรัศมีคือญาณ กำจัดความมืด ทำให้สว่าง อำนวยความสุข มีความงาม บริศุทธ มีอำนาจสูง มีกายสงบ มีจิตงามและสงบ ได้โอบทาบพระมุนีผู้เป็นสิงห์แห่งศากยฯ

 

      2 มีมหาสมุทร คือ พระปรีชาญาณ เป็นผู้บริศุทธ มีอานุภาพใหญ่ เป็นใหญ่ด้วยธรรม รอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นใหญ่กว่านักปราชญ์ทั้งหลาย เป็นเทพเจ้าเหนือเทพเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้ควรแก่การบูชาของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย เป็นผู้ตรัสรู้เองในธรรม

 

มีความชำนาญฯ

 

      3 เป็นผู้ซึ่งไม่ยอมตกอยู่ในอำนาจของจิตอันยากที่จะข่มได้ มีใจพ้นแล้วจากบ่วงมาร พระองค์มีการเห็นและการฟังอันหาโทษมิได้ในโลกนี้ พระองค์เสด็จถึงฝั่งแห่งวิโมกษ(การหลุดพ้นจากเกลศและโลก)ด้วยความสงบ และไม่เสด็จกลับมา ฯ

 

      4 ท่านทั้งหลายทั้งปวง จงเข้าหาพระองค์ด้วยความภักดี ซึ่งพระองค์เป็นแสงสว่าง เป็นธรรมอันหาสิ่งเทียบเทียมมิได้ เป็นผู้บันเทาความมืด เป็นผู้ชี้แจงให้ผู้อื่นรอบรู้นัยต่างๆมีพระกิริยาอันสงบ เป็นผู้ตรัสรู้มีปัญญาอันประมาณมิได้ฯ

 

      5 พระองค์เป็นแพทย์ ประทานยาคืออมฤต พระองค์กล้าในการตรัสเจรจาแสดงลัทธิ ทำให้พวกมิจฉาทิฏฐิเร่าร้อนไปตามกัน พระองค์เป็นพงศ์พันธุ์แห่งพระธรรมทรงปราชญ์เปรื่องในปรมัตถธรรม พระองค์เป็นผู้นำ เป็นผู้ชี้ทรงไม่มีใครยิ่งไปกว่า ดั่งนี้แล ฯ

 

      และอนึ่ง เทพบุตรผู้เป็นศุทธาวาสกายิกา (คือผู้อยู่ชั้นศุทธาวาส)ได้ปรากฏชื้นรอบด้าน ถูกตักเตือนด้วยคาถาดังกล่าวข้างบนนี้ อันมีอำนาจยิ่งด้วยรัศมีแสงสว่างแห่งญาณอันไม่เกี่ยเนื้องด้วยพุทธานุสมฤตินั้น เป็นผู้มีความสงบระงับรอบด้าน ออกจากสมาธิแล้ว ระลึกถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายซึ่งเป็นพระผู้มีภคะเหล่านั้น ผู้ก้าวล่วง(อยู่นอกเหนือ)กัลป พ้นแล้ว หาประมาณมิได้ นับมิได้ คำนวณมิได้ หาที่จะเสมอมิได้ด้วยพุทธานุภาพ มณฑลแห่งสภาอันเป็นขบวนแห่งพุทธเขตใด เทพบุตรผู้เป็นศุทธาสกยิกาทั้งหลายได้ระลึกถึงมณฑลแห่งสภาอันเป็นขบวนแห่งพุทธเขตนั้นของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น ซึ่งเป็นพระผู้มีภคะและพระธรรมทั้งหลายทั้งสิ้นฯ

 

      แลครั้งนั้น ในราตรีนั้น เทวะบุตรผู้อยู่ในชั้นศุทธาวาส  ชื่อประศานตายามิศวระ และชื่อมเหศวระ นันทะ สุนันทะ จันทนะ มหิตะ ประศานตะ และประศานตะวินีเตศวระกับเทวดาอื่นๆ ที่อยู่ในชั้นศุทธาวาสมากด้วยกัน ล้วนมีวรรณะเกินกว่าแสงสว่างใดๆได้ยังวิหารเชตวันทั้งหมดให้สว่างด้วยทิพยโอภาส (แสงสว่างทิพย์)พากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้อภิวาทพระบาททั้งสองของพระผู้มีภคะด้วยเศียรเกล้า ยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง เทวะบุตรชั้นศุทธาวาสเหล่านั้นซึ่งยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีภคะว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีภคะ มีพระสูตรอันหนึ่งซึ่งเป็นธรรมบรรยาย(ขยายความพระธรรม)มีนามว่า ลิลิตวิสตร (ความพิสดารแห่งการกรีฑาของพระพุทธเจ้า) เป็นที่รวบรวมซึ่งพระธรรมอันไพบูลย์ใหญ่ยิ่งเป็นแดนเกิดแห่งกุศลมูลของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย เป็นเครื่องแสดงพิเศษถึงห้องประทับในพิภพดุษิตอันประเสริฐ เป็นที่ก้าวลงสู่ความคิดอันแพร่หลาย เป็นที่เล่นสนุกสำราญ และเป็นเครื่องแสดงถึงอานุภาพแห่งสถานที่อุบัติของผู้มีกำเนิดสูง เป็นการระงับพิเศษซึ่งโทษอันเป็นความประพฤติของพาลชนทั้งปวง เป็นแหล่งศิลปประจำโลกทั้งปวง เป็นแหล่งการกระทำทุกอย่าง เป็นที่นับตัวอักษร จำนวนและตราประทับ เป็นที่อาศัยกระบวนรบคือกลุ่มนักฟันดาบและยิงธนู เป็นเครื่องแสดงความวิเศษเฉพาะสัตว์ทั้งปวง เป็นเครื่องแสดงซึ่งเครื่องใช้สอยอันเป็นนิสัยของชาววัง ประดับด้วยการบรรลุผลสำเร็จซึ่งผลิตจากการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ทั้งปวง เป็นกรีฑาเรื่องเล่นสนุกสำราญของพระโพธิสัตว์ เป็นเครื่องกำจัดมณฑลของมารร้ายทั้งหลาย เป็นที่รวบรวมกำลังพระตถาคต(10) ไวศารัทยะ(4) และอาเวณิก(*)18 ประการของพระตถาคต อันแสดงออกซึ่งธรรมของพระพุทธเจ้าอันหาประมาณมิได้ ซึ่งพระตถาคตองค์ก่อนๆเคยแสดงมาแล้ว นั่นคือธรรมบรรยายซื่อลลิตวิสตร ซึ่งพระตถาคตองค์ก่อนๆเคยแสดงมาแล้ว ได้แก่พระผู้มีภคะปัทโมตตระ  พระธรรมเกตุ  พระทีปังกระ  พระคุณเกตุ  พระมหากระ  พระฤษิเทวะ  พระศรีเตชะ  พระสัตยเกตุ  พระวัชรสังคตะ  พระสัพพาภิภู  พระเหมวรรณะ  พระอัตยุจจคามี  พระประวาหะสาคระ  พระปุษปะเกตุ พระวรรูปะ  พระสุโลจนะ  พระฤษิคุปตะ พระชินวักตระ  พระอุนนะตะ  พระปุษปิตะ  พระอูรณะเตชะ  พระปุษกระ พระสุรัศมิ  พระมังคละ พระสุทรศนะ พระมหาสิงหะเตชะ  พระสถิตะพุทธทัตตะ  พระสวันตคันธิ  พระสัตยธรรมวิปุลกิรติ  พระติษยะ  พระปุษยะ พระโลกสุนทระ พระวิสตีรณะเภทะ  พระรัตนกิรติ พระอุครเตชะ  พระพรหมเตชะ  พระสโฆษะ  พระสุปุษปะ  พระสุมโนชญะโฆษะ  พระสุเจษฏะรูปะ  พระประหสิตเนตระ พระคุณราศิ  พระเมฆสวระ  พระสุทรวรรณะ  พระอายุสเดชะ  พระสลีละคชะคามี  พระโลกาภิลาษิตะ  พระชิตศัตรุ  พระสัมปูชิตะ พระวิปัศจิตะ พระศิขิ พระวิศวะภู พระกกุจฉันทะ  พระกนกะมุนิ และพระกัศยปะ  บัดนี้ ขอพระผู้มีภคะโปรดแสดงพระธรรมบรรยายชื่อลลิตวิสตรนั้น เพื่อประชุมชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขของประชาชนเป็นอันมาก เพื่อทรงอนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขของพระชาชนอันใหญ่ยิ่ง เพื่อประโยชน์และความสุขของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพื่อบังเกิดขึ้นแห่งมหายานของพระตถาคตนั้น เพื่อข่มลัทธิมิจฉาทิฏฐิทั้งหมด เพื่อบังเกิดขึ้นแห่งพระโพธิสัตว์ทั้งปวง เพื่อครอบงำอำนาจของมารทั้งปวง เพื่อให้เกิดปรารภการกระทำความเพียรของบุคคลทั้งหลายผู้ดำเนินการไปสู่ความเป็นพระโพธิสัตว์  เพื่อสงเคราะห์ช่วยเหลือพระสัทธรรม เพื่อสงเคราะห์ช่วยเหลือประวัติวงศ์ของพระรัตนตรัย เพื่อกำหนดเด็ดขาดประวัติวงศ์ของพระรัตนตรัยและเพื่อแสดงให้เห็นซึ่งพุทธกิจให้ปรากฏ

 

*อาเวณิกะ ในพระบาลีลิปิกรมของพระยาปริยัติธรรมธาดา แปลไว้ว่า แผนกหนึ่งต่างหากไม่พัวพันกันแยกอยู่ต่างหาก (อฏฐารสอาเวณิกา ธมมา ธรรมทั้งหลาย 28 หมวด) อ+เวณิก ฌิ.ฯ ในปฏิสัมภิทาสัคคปกรณ์ ข้อ 68 ว่า สาวเกหิ อสาธารณานิ ตถาคตานํเยว อาเวณิกานี ญาณานิ คือ ญาณของพระตถาคตไม่ทั่วไปแก่สาวกทั้งหลายได้แก่อินทรียปโรปริยัตตญาณเป็นต้น

 

      พระผู้มีภคะทรงรับอาราธนาของเทวะบุตรเหล่านั้นด้วยพระอาการนิ่ง โดยอาศัยพระอนุเคราะห์มนุษยชนพร้อมทั้งเทพยดาฯ

 

      ครั้งนั้นแล เทวะบุตรทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีภคะทรงรับอาราธนาด้วยพระอาการนิ่งแล้ว ต่างก็มีความพอใจ ชื่นชมยินดีเป็นอย่างยิ่ง เกิดปีติโสมนัสถวายบังคมแทบพระบาทพระผู้มีพระภคะด้วยเศียรเกล้า กระทำประทักษิณ 3 รอบแล้ว โปรยผงจันทน์ทิพย์ ผงกฤษณาทิพย์ และโปรยดอกมณฑารพแล้ว หายวับไป ณ ที่นั้นฯ

 

      ครั้งนั้นแล พระผู้มีภคะทรงเปล่งพระรัศมีเป็นวงกลมพลางเสด็จเข้าไปยังอุทยานเวฬุวัน ภายหลังราตรีนั้นล่วงไปแล้ว ครั้นแล้วพระองค์ประทับนิ่งบนอาสนอันจัดไว้แล้ว มีหมู่พระโพธิสัตว์และพระสงฆ์ศรวกอยู่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภคะครั้นประทับนั่งแล้วจึงตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทพบุตรชั้นศุทธาวาสมีนามว่าประศานตายามิศวระ และเทพบุตรมีนามว่า มเหศวระ นันทะ สุนันทะ จันทนะ มหิตะ ประศานตะ และเทพบุตรมีนามว่าวินีเตศวระกับเทวะบุตรอื่นๆ ซึ่งเป็นชาวศุทธาวาสมากด้วยกัน ได้มาเฝ้าในราตรีแล้วหายไปเหมือนครั้งก่อน ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย และพระมหาศราวกนมัสการแทบสถานที่ซึ่งพระผู้มีภคะประทับอยู่แล้ว กราบทูลพระองค์ว่า ข้าแต่พระผู้มีภคะ ดั่งข้าพเจ้าทั้งหลายขอโอกาส ขอพระองค์ผู้มีภคะจงแสดงธรรมบรรยายมีนามว่า ลลิตวิสตรนั้นเถิด ธรรมบรรยายลลิตวิสตรนั้นจักเป็นประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก จักเป็นทุขแก่ชนเป็นอันมาก จักอนุเคราะห์ช่วยเหลือชาวโลกทั้งหลาย เป็นประโยชน์แก่ชนหมู่ใหญ่ เป็นประโยชน์เป็นความสุขแก่เทวดาทั้งหลาย แก่มนุษย์ทั้งหลายและแก่พระบรมโพธิสัตว์ทั้งหลายผู้มาในขณะนี้ พระผู้มีภคะทรงรับอาราธนาของพระบรมโพธิสัตว์และของพระมหาศราวกทั้งหลายเหล่านั้นด้วยพระอาการนิ่ง โดยอาศัยความอนุเคราะห์แก่โลกอันประกอบด้วยเทวดามนุษย์และอสูร

 

      ในข้อนี้ ท่านได้กล่าวไว้ว่า-

 

      6 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในคืนนั้น เมื่อพระตถาคตตั้งมั่นอยู่ในความสุข ปราศจากเกลศ มีใจตั้งมั่นในพรหมวิหารอันดีงาม จิตเป็นเอกัคตา คือ มีอารมณ์เดียว มั่นคงแล้วฯ

      7 ครั้งนั้น เทวะบุตรที่มีฤทธิ์มาก มีวรรณะปรากฏแจ่มแจ้ง มีรูปโฉมสะอาดสดใส มีความบันเทิงใจ ทำป่าเชตวันในที่นี้ให้สว่างด้วยรัศมี พากันมาสู่สำนักของตถาคตฯ

      8 เทวะบุตรมีนามว่า มเหศวร จันทระ อีศะ นันทะ ประศานตะจิตตะ มหิตะ สุนันทะ และเทวะบุตรมีนามว่า ศานตะ กับเทวะบุตรเป็นอันมากนับจำนวนเป็นโกฏิๆ เหล่านั้นฯ

      9 ได้มาไหว้พระยุคลบาทและทำประทักษิณตถาคตแล้วยืนประนมมืออยู่ในที่นี้เฉพาะพระพักตร์พระตถาคตฯ เทพบุตรเหล่านั้น ประกอบด้วยความเคารพ ทูลขอร้องตถาคตว่า ฯ

      10 ข้าแต่พระมุนี ขอพระองค์จงตรัสแสดงมหานิทาน (เรื่องใหญ่)ซึ่งมีชื่อว่า ไวปุลยสูตร สามารถประหารราคะได้นี้ ซึ่งพระตถาคตทั้งปวงได้ตรัสแสดงมาแล้วแต่ครั้งก่อนๆ เพื่อประโยชน์แก่โลกทั้งปวง ฯ

      11 เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าขอโอกาส ณ บัดนี้ ขอพระโพธิสัตว์ผู้เป็นมุนีนั้น เมื่อตรัสแสดง ขอให้ตรัสแสดงมหายานอันยิ่งใหญ่นี้ ขอให้ระงับลัทธิฝ่ายอื่นและมารด้วย เพื่อต้องการบำราบโอฆะ ฯ

      12 พระผู้มีภคะทรงรับคำอาราธนาของคณะเทวดาด้วยอาการนิ่งอยู่เฉยๆ ฝ่ายเทวดาทั้งปวง ต่างก็พอใจ มีความยินดี เฟื่องฟูใจ ได้โปรยดอกไม้ด้วยความดีใจ ฯ

13      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งปวงจงฟังมหานิทานของตถาคตชื่อไวปุลยสูตร ซึ่งพระตถาคตทั้งปวงได้ตรัสแสดงในครั้งก่อนๆแล้ว เพื่อประโยชน์แก่ชาวโลกทั้งปวง ดั่งนี้แล ฯ

อัธยายที่ 1 ชื่อนิทานปริวรรต (ว่าด้วยเหตุบังเกิดพระสูตร) ในคัมภีร์ศรีลลิตวิสตร  ดังนี้แล ฯ

02 ความพยายาม

 

อัธยายที่ 02

สมุตสาหปริวรฺโต ทฺวิตียะ

ชื่อสมุตสาหปริวรรต(ว่าด้วยความพยายาม)

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาธรรมทั้งหลายนั้น ธรรมบรรยายมีนามว่า ลลิตวิสตร อันดีงาม จัดอยู่ในประเภทพระสูตรชื่อมหาไวปุลย (มีอรรถอันไพบูลย์ใหญ่ยิ่ง) มีเท่าไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ ธรรมบรรยายมีนามว่าลลิตวิสตรอันดีงามจัดอยู่ในประเภทพระสูตรชื่อมหาไวปุลยชื่อมหาไวปุลย(มีอรรถอันไพบูลย์ใหญ่ยิ่ง)นั้น เป็นของพระโพธิสัตว์ผู้สถิตย์อยู่ในภพอันประเสริฐชื่อว่าดุษิต(สวรรค์ชั้นดุสิต)มีผู้ที่นับถือได้บูชาแล้ว ได้ปราบดาภิเษกแล้ว มีเทพยาดาตั้งแสนสดุดีชมเชยพรรณนาสรรเสริญ ได้อภิเษกแล้ว มีความตั้งใจสูง มีปัญญาอันมาจากหลักธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งปวง มีดวงตาคือญาณอันบริศุทธกว้างขวางเป็นอันดี มีปัญญากว้างขวางอันบ่มด้วยสมฤติ มติ คติ และธฤติ  บรรลุบารมีอย่างยอดยิ่งอันเป็นอุปายโกศลใหญ่ยิ่ง คือทาน ศีล กษนติ วีรยะ ธยานะ และปรัชญา(*) เป็นผู้ฉลาดในพรหมบถ(พรหมวิหาร)คือมหาไมตรี กรุณา มุทิตา อุเบกษา เป็นผู้บรรลุสุดยอดอันสมบูรณ์ยิ่งในโพธิปักษธรรมทั้งปวง คือสฤตยุปัสถานะ สัมยักปรหาณ ฤทธิปาท อินทรีย์ พละ โพธยังคะ และมรรค ซึ่งเป็นธรรมมุ่งตรงต่อชญานทรรศนะ (เห็นด้วยญาณ) เห็นแจ้งธรรมที่เป็นสังคณะ (เกลศแทรกซึม) และอาวรณะ(อวิชชาเครื่องกำบัง) แห่งอภิญญา มีพระกายประดับด้วยลักษณะ(32ประการ)และอนุพยัญชนะ(80ประการ)อันเพียบพร้อมไปด้วยบุณยสัมภาร หาประมาณมิได้ ประพฤติตามธรรมตลอดกาลนาน พูดอย่างใดทำอย่างนั้นมีวาจีกรรมไม่มดเท็จ ทีวาจาเป็นที่เชื่อถือได้ มีใจซื่อตรง ไม่คตเคี้ยวกลับกลอก ไม่มีอะไรขัดขวาง ปราศจากมานะ ความมัวเมา ความหยิ่งจองหอง ความกลัว ความทุกข์ทั้งสิ้น มีใจสม่ำเสมอในสัตว์ทั้งปวง (ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง) มีพระพุทธเจ้าตั้งแต่แสนล้านโกฏินับไม่ถ้วนเข้ามานั่งรอบๆ มีพระพักตร์อันพระโพธิสัตว์จำนวนมากตั้งแสนล้านโกฏิมองแล้วมองอีก มีพระยศเป็นที่ชื่นชมยินดีของหมู่ อินทร์ พรหม อิศวร โลกบาล เทวดา นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครุฑ กินนร งูใหญ่ รากษส เป็นผู้ฉลาดในบท ประเภท นิเทส อสังคะ ประติสัมพิทะ และอวตารชญานทั้งปวง เป็นผู้ได้รับมนตร์ธารณีอันไม่ฟุ้งสร้าน ไม่สิ้นสุดไม่มีขอบเขต เป็นภาชนะ คือ สมฤติอันรองรับพุทธภาษิตทั้งปวงได้เป็นนายพาณิชใหญ่ บรรทุกธรรมนาวาขึ้นสู่ระวางด้วยสินค้า คือ ธรรมรัตนะได้แก่ สมฤตยุปัสถาน สัมยักประหาณ ฤทธิปาท อินทรียะ พละ โพธยังคะ มรรค บารมี อุปายโกศล และบุณยมุ่งที่จะข้ามโอฆะทั้ง 4 มีความประสงค์เฉพาะหน้าที่จะกำจัดมานะ บำราบลัทธิอื่นทั้งหมดอย่างเต็มที่ ดำรงอยู่ในฐานเป็นยอดนักรบ ทำลายล้างหมู่ศัตรูคือเกลศ มีวัชราวุธอันประเสริฐ คือชญานเป็นเครื่องประหารเข็มแข็ง ทรงเป็นดอกบัวคือมหาบุรุษ มีรากเหง้า คือจิตตรัสรู้ มีลำก้านคือมหากรุณา สูงด้วยอัธยาศัย (คือมหากรุณาประจำอยู่ภายในใจ) รดด้วยน้ำคือความเพียรอันลึกซึ้ง มีช่อดอกคือความฉลาดในอุบาย มีเกสร คือโพธยังคธยาน (ฌานเป็นองค์ตรัสรู้) มีใยคือสมาธิ บัวนั้นเกิดดีแล้วในสระที่มีน้ำใสสะอาด คือหมู่แห่งคุณธรรมทั้งหลาย มีกลีบปราศจากมลทินอันแผ่กว้างดังดวงจันทร์เพ็ญไม่มีรอยรั่วคือปราศจากความมัวเมาและความถือตัว มีกลิ่นหอมตลบไปในทิศทั้งสิบกลิ่นหอมนั้นคือศีล ศรุต (การเล่าเรียนสดับฟัง) ปรสาทะ (ความเลื่อมใส) เจริญแล้วด้วยชญานในโลก ไม่เปรอะเปื้อนด้วยโลกธรรมทั้ง 8 มีกลิ่นหอมอันกระจายไปด้วยปุณยสัมภาระและชญานสัมภาระ (สะสมบุญและสะสมชญ๗นมีจำนวนมาก) เป็นบัวสัตบรรณ (100กลีบ) อันรุ่งเรืองบริศุทธพิเศษยิ่ง บานแล้วด้วยรัศมีแห่งอาทิตย์คือปรัชญาชญาน ทรงเป็นชายชาตรีสิงห์ผู้ร่ายมนตร์อย่างดียิ่งเบ่งกระแสมนตร์ออกไปคือมีฤทธิบาท 4 มีเล็บเขี้ยวอันคมดีคืออารยสัตย์ 4 มีดวงตาประกอบด้วยพรหมวิหาร 4 มีศีรษะอันสงเคราะห์ดีแล้วด้วยสังครหวัสตุ 4 มีกายสูงขึ้นตามลำดับด้วยการตรัสรู้ประตีตยสมุตปาทมีองค์ 12 มีกลุ่มขนคอคือการตรัสรู้อวิทยาอันเกิดดีแล้ว สมบูรณ์พร้อมแล้วด้วยโพธิปักษธรรม 37 ประการ มีปากอ้าหาวลมคือวิโมกษ 3 มีแววตาใสบริศุทธคือศมถะและวิทรรศนา อาศัยอยู่ในถ้ำซอกภูเขาคือธยาน วิโมกษ สมาธิ และสมาบัติ มีต้นไม้อันเจริญงอกงามดีแล้วอยู่ในสวนอุทยานคืออิริบททั้ง 4 อันแช่มช้อยละมุนละม่อม มีกำลังอันเจริญด้วยการฝึกซ้อมคือทศพล(**) (กำลัง 10)และไวศารัทยะ(***) (ความกล้าหาญ4) ปราศจากความครั่นคร้ามสยดสยองในความเจริญและความเสื่อม ระงับหมู่คณะกระต่ายป่า และมฤคคือพวกเดียรถี บรรลือมหาสีหนาทคือเปล่งเสียงประกาศ ในราตมยะ(อนัตตา) ทรงเป็นมหาบุรุษชายชาติดวงตะวันที่ส่องแสงร้อนแรงด้วยรัศมีแสงสว่างคือบุณยในหมู่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ข่มแสงหมู่หิ่งห้อยคือพวกเดียรถีด้วยรัศมีแสงสว่างคือปรัชญาอันมีวิมุกติและธยานเป็นภาคพื้น มีวีรยะ(ความเพียร) เป็นกำลังเผาผลาญเครื่องมือแห่งความมืดซึ่งได้แก่ความมืดมนคืออวิทยา ทรงเป็นมหาบุรุษเทียบเท่าดวงจันทร์ลดตัวลงในปักษ์ข้างแรม ขยายตัวขึ้นเป็นลำดับในปักษ์ข้างขึ้น เป็นที่อิ่มใจและน่าดูไม่เคืองนัยน์ตา ประดับด้วยหมู่ดวงดาวคือเทวดาตั้งแสนตน มีธยาน วิโมกษ และชญานเป็นขอบวงกลม แผ่ซ่านรัศมีจันทร์อย่างสุขสบายคือโพธยังค์(องค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้)

*ตามนิกายมหายานมี บารมี 6 อย่าง และคำว่าปรัชญาในที่นี้เป็นคำสันสกฤตเขียนว่า ปฺรชญา ตรงกบคำมคธว่า ปัญญา แปลเป็นไทยว่าปัญญาหรือความรู้ คำอังกฤษว่า Intellectual หาใช่ปรัชญาตามที่กระทรวงศึกษาธิการแปลออกมาจากคำอังกฤษว่า Philosophy ไม่

**ทศพละคือ ญาณมีกำลัง 10 อย่าง ได้แก่ 1ฐานาฐานญาณ ญาณกำหนดรู้ฐานะและอฐานะ  2 วิปากญาณ ณาณกำหนดรู้ผลแห่งกรรม  3 สัพพัตถคามีนีปฏิทาญาณ ญาณกำหนดรู้ทางไปสู่ภูมิทั้งปวง  4นานาธาตุญาณ ญาณกำหนดรู้ธาตุต่างๆ  5 นานาธิมุตติกญาณ ญาณกำหนดรู้อธิมุตคือ อัธยาศัยของสัตว์ทั้งหลายต่างๆกัน  6 อินทรียปโรปริยัตตญาณ ญาณกำหนดรู้ความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย 7 นานาติสังกิเลสาทิญาณ ญาณกำหนดรู้อาการมีความเศร้าหมองเป็นต้นแห่งธรรม มีญาณเป็นต้น  8 ปุพเพนิวาสนุสสติญาณ ญาณกำหนดระลึกขาติหนลังได้  9 จุตูปปาตญาณ ญาณกำหนดรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย ผู้เป็นต่างๆกันโดยกรรม  10  อาสวักขยญาณ ญาณรู้จักทำอาสวะให้สิ้น

***ไวศารัทยะ 4 คือ ไม่มีใครท้วงโดยธรรมในฐานะ 4 อย่างคือ 1 ปฏิญญาว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะแต่ยังมิได้ตรัสรู้  2 สํกิเลสธรรมเป็นอันตรายนิรวาณ  3 ผู้ปฏิบัติธรรมไนราณิกี คือ ธรรมเป็นเครื่องนำออกจากวัฏสงสารจะห่างไกลนิรวาณ  5 มีประหาณชญานคือชญานรู้ความสิ้นอาศวะทั้งปวง

คลี่ขยายดอกกุมุท (บัวก้านอ่อน) คือคนที่มีความรู้สามัญและที่มีความรู้พิเศษ แวดล้อมตามลำดับชั้นด้วยหมู่ดาวที่ส่องแสงคือชุมนุมชน(บริษัท) 4 จำพวก (ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา) ประกอบด้วยรัตนะคือโพธยังค์ 7 อย่าง ประกอบด้วยดวงจิตมีความรู้สึกสม่ำเสมอในสรรพสัตว์ไม่เลือกหน้า มีความรู้ตลอดปลอดโปร่งไม่มีอะไรเป็นอุปสรรคขัดขวาง ทรงประพฤติพรตและตบะคือกุศลกรรมบถ 10 ประการ ทรงตั้งพระทัยที่จะบรรลุถึงธรรมอันวิเศษมั่งคงสมบูรณ์ยิ่ง ทรงอุบัติในวงศ์สกุลแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ ซึ่งเป็นผู้ยังจักรรัตนะคือพระธรรมอันประเสริฐของพระธรรมราชาผู้ยอดเยี่ยม ให้หมุนจักรรัตนะนั้นเคลื่อนไปโดยไม่มีอะไรขัดขวาง ทรงเต็มเปี่ยมไปด้วยพระธรรมรัตนะทั้งปวง คือ ปรตีตยสมุตปาท อันลึกยากที่จะหยั่งถึง ไม่ล่วงละเมิดขอบเขตคือชญานและศีลเริ่มขึ้นอย่างใหญ่โตกว้างขวางฟังแล้วไม่รู้อิ่ม มีพระเนตรดั่งว่ากระพุ้งดอกบัวหลวงมีความรู้กว้างขวางทรงไว้ซึ่งความประเสริฐดั่งว่าทะเล มีพระหทัยเสมอด้วย ดิน น้ำ ไฟ ลม ทรงพระกำลังแข็งแรงมั่นคงไม่สะเทือนเทียมเท่าภูเขาสุเมรุ เมื่อแนะนำก็ไม่ทอดทิ้งละเลยด้วยความโกรธ มีความรู้ผ่องใสไพบูลย์ ไม่จำนน กว้างขวางเหมือนพื้นแผ่นฟ้า มีพระอัธยาศัยบริศุทธยิ่ง ทรงให้ทานเป็นอันดี ทรงประกอบความดีมาก่อนแล้ว ทรงสร้างสมภารเป็นอย่างดี ทรงประทานตราเครื่องหมายคือความสัตย์ ทรงแสวงหากุศลมูลทั้งปวง ทรงมีวาสนาได้อบรม ทรงมีกุศลมูลทั้งปวงดั่งว่า บรมคติคือทางดำเนินอันสูงสุด ทรงกลั่นเอาแต่กุศลมูลทั้งปวงอันนำมาเสร็จสรรพแล้วนั้นในกัลปซึ่งมี 7 อสงไขย(*) ทรงให้ทาน 7 อย่าง ทรงประพฤติประกอบในบุณยกริยาวัสตุ 5 อย่าง ทรงประพฤติสุจริตด้วยกาย 3 ด้วยวาจา 4 ด้วยใจ 3 ทรงประพฤติประกอบด้วยกุศลกรรมบถ 10 และการให้ทาน ทรงประพฤติฝึกฝน สัมยักประโยค(คือกัมมัฏฐาน) ประกอบด้วยองค์ 40 (**) ทรงประพฤติปฏิบัติใฝ่พระหทัยใน สัมยักปรณิธาน (คือ ในหลักสมาธิอันสุขุมโดยชอบ) ประกอบด้วยองค์ 40 ทรงประพฤติปฏิบัติใน สมยัคธยาศยะ (คือ ธรรมเป็นเครื่องอาซัยของจิตโดยชอบ ประกอบด้วยองค์ 40 ทรงประพฤติบำเพ็ญ สัมยัควิโมกษ (คือ ความหลุดพ้นจากอำนาจใดๆทั้งสิ้น อันเป็นอิสระโดยชอบ) ประกอบด้วยองค์ 40  ทรงประพฤติธรรมอันตรงต่อ สัมยัคธิมุกติ (ได้แก่ ความถูกปลดปล่อยให้เป็นอิสระไม่ขึ้นอยู่กับอำนาจใดๆทั้งสิ้นอันชอบ) ประกอบด้วยองค์ 40 ทรงประพฤติถือบวชตามอย่างในสำนักพระพุทธเจ้า สีสิบแสนโกฏินิยุตะ (***) ทรงประพฤติถวายทานในสำนักพระพุทธเจ้าห้าสิบห้าแสนโกฏินิยุตะ ทรงประพฤติบำเพ็ญอธิการ (สะสมบารมี) ในพระปรัตเยกพุทธสี่ร้อยโกฏิกึ่ง ทรงประพฤติช่วยให้สัตว์ถึงสวรรค์นิรวาณมีจำนวนนับไม่ถ้วน ทรงมุ่งต่อการตรัสรู้ อนุตตรสัมยักสัมโพธิ แต่ยังติดอยู่เพียงทรงอุบัติอีกชาติเดียว ทรงเป็นผู้ซึ่งจุติจากมนุษยโลกนี้แล้วประทับอยู่ในสวรรค์ชั้นดุษิตเป็นเทวะบุตรสูงสุดทรงพระนามว่า เศวตเกตุ มีหมู่เทพยดาทั้งปวงพากันมาบูชาโดยเข้าใจว่าเทวะบุตรเศวตเกตุองค์นี้ เมื่อสิ้นรัศมีจากสวรรค์ชั้นดุษิตแล้วจะอุบัติในโลกมนุษย์ ไม่ช้าก็จะตรัสรู้ อนุตตรสัมยักสัมโพธิ คือ ปรัชญาตรัสรู้โดยชอบอย่างสูงสุด

* อสงไขย 7 คือ นันทอสงไขย , สุนันทอสงไขย , ปฐวีอสงไขย , มัณฑอสงไขย , ธรณีอสงไขย , สารอสงไข , ปุณฑริกอสงไขย

** กัมมัฏฐาน 40 คือ กสิณ 10 อสุภ 10 อนุสสติ 10 อัปมัญญา 4 พรมหวิหาร 4 อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1 จตุธาตุววัตถานะ 1

*** นิยุตะมีมาตราว่า ร้อยโกฏิเป็นอยุตะ  ร้อยอยุตะเป็นนิยุตะ

      เมื่อพระโพธิสัตว์ประทับอย่างเป็นสุขในมหาวิมานนั้น อันตั้งอยู่บนพื้นที่ 3 หมื่น 2 พันชั้น ประดับด้วยเรือนยอดพื้นปราสาทอันมีบรรลังก์ ประตู ซุ้มประตูมีลวดลาย หน้าต่าง ยกฉัตร ธงชัย ธงปฏาก ตาข่ายกระดิ่งแก้ว ภู่ห้อยเพดาน เป็นพืดติดต่อด้วยดอกมณฑารพและมหามณฑารพ เดียรดาษกลาดเกลื่อนไปด้วยเสียงขับลำทำเพลงของนางอัปสรตั้งหมื่นแสนโกฏิ งามด้วยรัตนพฤกษ์ คือ จำปาออกดอกบานแฉล้ม แคฝอย ทองหลาง จิกน้อย จิกใหญ่ อโศก ไทย มะขาม ประดู่ กรรณิกา สารภี รัง ปกคลุมด้วยตาข่ายทองคำ งามด้วยหม้อใหญ่ใส่น้ำเต็ม งาด้วยจัดระเบียบสม่ำเสมอ มีพระพายรำเพยพัดดอกมะลิพุ่มเหมือนดวงดาวมีแสงสว่างอันเทวดาตั้งหมื่นแสนโกฏิหันหน้ามามอง เป็นเครื่องทำลายเกลศคือกำลังแห่งความยินดีในกามด้วยบทเพลงคือธรรมอันใหญ่ยิ่งไพบูลย์ เป็นเครื่องบำบัดความโกรธ ความหงุดหงิดใจ มานะ ความมัวเมา ความจองหองอันครอบงำอยู่แล้ว เป็นเครื่องให้เกิดความอิ่มใจ ความเลื่อมใส ความชื่นใจ ความเพียรสูงและสติปันไพบูลย์ พระองค์ประทับอย่างเป็นสุขแล้ว เมื่อการแสดงธรรมอันใหญ่ยิ่งนั้นดำเนินไปแล้ว ก็ได้มีคาถาเหล่านี้เปล่งออกมาด้วยการอัดตัวของกุศลกรรมในปางก่อนของพระโพธิสัตว์ โดยการบรรเลงดนตรีขับร้องของเทวดาตั้ง 8 หมื่น 4 พัน ตน เหล่านั้นอย่างเซ้งแซ่ ว่า

       1 ข้าแต่พระองค์ผู้สะสมบุณยอันไพบูลย์มีสติ มีมติ กระทำแสงสว่าง คือปัญญาหาที่สุดมิได้ องอาจแกล้วกล้าไพบูลย์ด้วยกำลังไม่มีใครเทียมเท่า ขอพระองค์จงระลึกถึงคำพยากรณ์ของพระทีปังกรพุทธเจ้า ฯ

       2 ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระหทัยหามลทินมิได้อย่างไพบูลย์ ขอพระองค์งจงทรงระลึกถึงโทษในการมัวเมาที่ได้สงบลงแล้ว เพราะละมลทินทั้ง 3 นั้นได้อย่างถึงขนาดเท่ากับเป็นผู้มีจิตงามบริศุทธปราศจากมลทินประพฤติติดต่อกันมาในภพทั้ง 3 เหมือนเส้นเชือก ฯ

       3 ข้าแต่พระองค์ผู้มีวงศ์ตระกูลสูง มีความเพียร มีกำลัง มีธยานและปรัชญา ซึ่งได้ปฏิบัติมาแล้วนับด้วยหมื่น(โกฏิฉ ปัลป ขอพระองค์จงทรงระลึกถึง ศมถะ ศีลพรต คือการสมาทานศีล กษมา(การอดทน) และทมะ(การข่มอินทรีย์) ฯ

       4 ข้าแต่พระองค์ผู้มีเกียรติหาที่สุดมิได้ เมื่อพระองค์จะทรงกรุณาต่อสรรพสัตว์ ขอพระองค์จงทรงระลึกถึงพระพุทธเจ้าทั้ง 3 นับจำนวนเป็นหมื่นๆ ซึ่งเขาได้บูชากันมาแล้ว นี่ก็ถึงเวลาแล้ว ขอพรองค์อย่าได้เพิกเฉยเสียเลย ฯ

       5 ข้าแต่พระองค์ผู้รู้วิธีจุติ ผู้กำจัดชรา มรณะ และเกลศ ผู้ปราศจากธุลีคือ เกลศ เทวดา อสูร นาค ยักษ์ คนธรรพ์ ทั้งหลายเป็นอันมากเขาตั้งตาคอยอยู่แล้ว ขอพระองค์จงจุติ จุติเถิด ฯ

       6 ถึงพระองค์จะยินดีอยู่ในที่นี้ตลอด 1000กัลป ก็ไม่มีอิ่มในทิพยสมบัติ เหมือนทะเลไม่อิ่มน้ำ ดังข้าพเจ้าขอโอกาส ขอพระองค์จงอิ่มปรัชญาและยังประชุมชนทั้งหลายผู้กระหายอยู่นานแล้วให้อิ่มปรัชญาด้วยเถิด ฯ

       7 ถึงแม้พระองค์มี(ความมี)ยศไม่ถูกติเตียน ยินดีอยู่ในสภาพเป็นที่ยินดีคือธรรม ไม่ยินดีในกามก็จริง แต่พระองค์ผู้มีพระเนตรไม่ขุ่นมัว ขอจงอนุเคราะห์โลกพร้อมทั้งเทวโลกต่อไปเถิด ฯ

       8 ถึงแม้เทพยดาตั้งหมื่นฟังธรรมของพระองค์แล้วไม่รู้อิ่มก็จริงแต่พระองค์จงมองดูสัตว์ที่อยู่ในอบายซึ่งจะได้รับความคุ้มครองป้องกันจากพระองค์อีกต่อไป ฯ

       9 ถึงแม้พระองค์มีพระเนตรแจ่มใส เห็นพระพุทธเจ้าทั้งหลายในโลกทั้ง 10 ทิศ และฟังธรรมอยู่แล้วก็จริง แต่พระองค์ก็จงจำแนกธรรมอันประเสริฐนั้นในโลกนี้ด้วย ฯ

       10 ข้าแต่พระองค์ท่าน ถึงแม้พิภพดุษิตจะงามด้วยสง่าราศีแห่งบุณยของพระองค์ก็จริง แต่พระองค์ก็จงมีพระทัยประกอบด้วยความกรุณาโปรยฝน (คือธรรม) ให้ตกลงมายังชมพูทวีปอีกต่อไปเถิด ฯ

       11 เทวดาทั้งหลายที่ยังมีรูปธาตุ คือมีรูปร่างอยู่เป็นอันมาก สละกามธาตุได้แล้วต่างพากันยินดีไปทั่วหน้า ขอให้พระองค์ประพฤติเพื่อสำเร็จผล ประสบความตรัสรู้เถิด ฯ

       12 งานของมารพระองค์กำจัดได้แล้ว พวกเดียรถีย์อื่นๆพระองค์ก็ชนะแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นที่พึ่ง เวลานี้ เป็นเวลาที่พระองค์ตรัสรู้สภาพทั้งมวล ขออย่าเพิกเฉยเสียเลย ฯ

       13 เมื่อโลกลุกโชนด้วยไฟคือเกลศ ข้าแต่พระองค์ผู้กล้าหาญ ขอพระองค์จงเป็นเหมือนเมฆฝนโปรยคืออมฤตธรรมดับไฟเกลศของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

       14       พระองค์เป็นแพทย์ มีความรู้ฉลาดในธาตุต่างๆ พระองค์เป็นผู้มีความสัตย์ เป็นแพทย์อย่างแท้จริง ขอพระองค์จงรีบบำบัดผู้ป่วยเป็นโรคมานานด้วยยาคือวิโมกษ 3 ให้เขาอยู่ในความสุขคือพระนิรวาณ ฯ

       15       สุนับจิ้งจอก เมื่อไม่ได้ยินเสียงคำรามของราชสีห์ ก็ยังไม่นึกกลัว พากันเห่าคำรามด้วยเสียงคำรามของสุนัขจิ้งจอก ขอพระองค์จงบรรลือสีหนาทของราชสีห์คือเสียงของพระพุทธเจ่า คุกคามให้สุนัขจิ้งจอกคือพวกเดียรถีย์อื่นๆสะดุ้งตกใจ ฯ

       16 พระองค์ผู้มีประทีปคือปรัชญาอยู่ในพระหัตถ์ อุบัติขึ้นมาด้วยกำลังแห่งพละและวีรยะในพื้นแผ่นดิน พระองค์จงตบแผ่นดินด้วยฝ่ายพระหัตถ์อันประเสริฐ ชนะมารเสียเถิด ฯ

       17 เทพผู้เป็นโลกบาลทั้ง 4 คอยจ้องจะถวายบาตรแก่พระองค์ อินทร์ พรหม หลายหมื่นคอยจ้องจะรับพระองค์ซึ่งเสด็จอุบัติแล้ว ฯ

       18 ข้าแต่พระองค์ผู้มีแนวความคิดดี พระองค์ทรงอุบัติในตระกูลใดจึงจะแสดงพระองค์ให้เป็นไปตามประวัติของพระโพธิสัตว์ได้ ขอพระองค์จงพิจารณาตระกูลนั้นด้วยพระยศอันใหญ่ยิ่ง ด้วยตระกูลที่สืบมาจากตระกูลประเสริฐหลายชั่วตระกูล และด้วยวงศ์ตระกูลสูงๆ

       19 ข้าแต่พระองค์ท่าน แก้วมณีจะเป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ในภาชนะใด ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระปรัชญาบริศุทธ ขอพระองค์จงโปรยฝนแก้วมณีลงในภาชนะนั้น คือธงชัยชมพูทวีป เถิด ฯ

       20 คาถาซึ่งเปล่งออกมาตามเสียงขับลำทำเพลงมากมายหลายประการดั่งนี้ กระตุ้นเตือนพระทัยประกอบด้วยพระกรุณาว่า นี่ถึงเวลาแล้วอย่าทรงเพิกเฉยเสียเลย ฯ ดั่งนี้แล ฯ

อัธยายที่ 2ชื่อสมุตสาหปริวรรต (ว่าด้วยความพยายาม) ในคัมภีร์ศรีลลิตวิสตร  ดั่งนี้แล ฯ

 

03 ตระกูลบริสุทธิ์

 

อัธยายที่ 03

กุลปริศฺทฺธิปริวรฺตสฺตฺฤตียะ

ชื่อ กุลปริศุทธิปริวรรต (ว่าด้วยตระกูลบริศุทธ)

      กระนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์เมื่เทวดาทั้งหลายเตือนว่าถึงเวลาแห่งธรรมและกล่าวสรรเสริญแล้ว พระองค์จึงเสด็จออกจากมหาวิมาน ก้าวขึ้นสู่มหาปราสาทชื่อธรรโมจจยะ ซึ่งเป็นที่พระโพธิสัตว์ประทับนั่งแสดงธรรมแก่เหล่าเทวดาชั้นดุษิตนั้น ครั้นเสด็จขึ้นไปแล้ว ทรงประทับนั่งบนบังลังก์ชื่อสุธรรม ครั้งนั้น เทวดาที่มีสภาพเสมอกันกับพระโพธิสัตว์ ประทับอยู่ในยานเท่าๆกับยานของพระโพธิสัตว์ก็พากันขึ้นสู่ปราสาทนั้นด้วย พวกพระโพธิสัตว์ที่มีประวัติมาเท่าๆกัน ประชุมกันทั้ง 10 ทิศ และเทวะบุตรผู้เป็นบริวารของพระโพธิสัตว์ทั้งหมดนั้นก็ประทับนั่งบนบังลังก์ของตนๆ ตามปัจจัยอันสมควร ไม่มีคณะนางอัปสร ไม่มีเทวะบุตรชั้นสามัญ มีแต่บริวารที่มีอัธยาศัยเสมอกันเป็นจำนวนบริวาร 68 พันโกฏิ

      ดั่งนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อนี้ไปอีก 12 ปี พระโพธิสัตว์จึงจะเสด็จลงสู่ครรภ์พระมารดา

      ครั้งนั้น เทวะบุตรชาวสวรรค์ชั้นสุทธาวาสได้มายังชมพูทวีป ทำให้เพศทิพย์หายไป แปลงตัวเป็นพราหมณ์สอนพระเวทแก่พราหมณ์ทั้งหลายว่า ผู้ใดลงสู่ครรภ์มีอาการดั่งนี้ ผู้นั้นจะประกอบด้วยลักษณะหมาบุรุษ 32 ประการ ผู้ที่ประกอบด้วยลักษณะเช่นนี้ จะมีคติ 2 อย่าง ไม่ใช่ 3 อย่าง คือ ถ้าผู้นั้นอยู่ครองเรือน จะได้เป็นพระราชาจักรพรรดิ มีมหาสมุทร 4 เป้นราชอาณาจักร เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม เป็นพระราชาเพราะธรรม และเป็นผู้ประกอบด้วยรัตนะ 7 ประการ รัตนะของพระองค์ 7 อย่างเหล่านี้ได้แก่ จักรรัตนะ หัสติรัตนะ อัศวรัตนะ สตรีรัตนะ มณีรัตนะ คฤหบดีรัตนะ ปรินายกรัตนะ

      พระราชาจักรพรรดิประกอบด้วยจักรรัตนะนั้น เป็นอย่างไร เป็นอย่างนี้ คือ เมื่อพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ในโลกนี้ได้มูรธาภิเษกแล้ว เสวยพระกระยาหารตามปรกตินั้นแล้ว ครันถึงวันดิถี 15 ค่ำ สรงน้ำดำเกล้า งดเว้นพระกระยาหาร เสด็จขึ้นไปยังปราสาทชั้นบน  แวดล้อมด้วยหญิงชาววัง จักรรัตนจะปรากฏขึ้นในทิศตะวันออก จักรรัตนทิพย์ของพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ ซึ่งได้มูรธาภิเษกแล้วนั้น มีกำ 1000 ซี่ พร้อมด้วยกง และดุม มีสีเหมือนทองคำสร้างขึ้นด้วยกรรม สูง 7 ชั่วลำตาล เห็นได้รอบบริเวณภายในเมืองเล่ากันว่า เมื่อพระราชาผู้เป็นกษัตริย์พระองค์ใดได้มูรธาภิเษกแล้ว เสวยพระกระยาหารตามปรกตินั้นแล้ว ครั้นถึงวันดิถี 15 ค่ำ สรงน้ำดำเกล้างดเว้นพระกระยาหาร เสด็จขึ้นไปยังปราสาทชั้นบน แวดล้อมด้วยหญิงชาววัง จักรรัตนทิพย์จะปรากฏขึ้นในทิศตะวันออก  พระราชาพระองค์นั้นแหละเป็นพระราชาจักรพรรดิพระองค์ทรงพระดำริว่า เราเป็นราชาจักพรรดิ์แน่หรือ ถ้ากระไร เราจะทดลองจักรรัตนทิพย์ดู ครั้นแล้วพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ ได้มูรธาภิเษกแล้ว ก็ทรงพระภูษาเฉวีงบ่าข้างหนึ่งจดพระชานุมณฑล (เข่า) เบื้องขวาลงบนแผ่นดิน ทรงปรารถนาและทรงผลักจักรทิพย์ด้วยพระหัตถ์เบื้องขวาว่าด้งนี้ จักรทิพย์ผู้มีอำนาจ จงหมุนแล่นไปโดยธรรม อย่าหมุนแล่นไปโดยอธรรม ครั้งนั้นจักรทิพย์นั้น พระราชาผู้เป็นกษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้วสั่งให้หมุนแล่นไป ก็หมุนแล่นไปทางทิศตะวันออกโดยอากาศด้วยฤทธิ์เป็นอย่างดี พระราชาจักพรรดิ์พร้อมด้วยกองพล 4 เหล่า ก็เสด็จตามไป จักรรัตนทิพย์นั้น ไปหยุดอยู่ในท้องที่แผ่นดินใด พระราชาผู้เป็นกษัตริย์ได้มูรธาภิเษกก็ประทับอยู่ในท้องที่แผ่นดินนั้นพร้อมด้วยกองพล 4 เหล่า ครั้งนั้น พระราชาผู้ปกครองท้องถิ่นที่ด้านทิศตะวันออกนั้นๆ ถือถาดเงินเต็มไปด้วยทองคำผง บ้างก็ถือถาดทองคำเต็มไปด้วยเงินผง ต้อนรับพระราชาจักรพรรดิว่า เชิญเสด็จมาเถิดพระเจ้าข้า ข้าพระองค์ขอต้อนรับพระองค์ นี่ราชสมบัติของพระองค์ มั่งคั่ง กว้างขวาง ปราศจากภยันตราย มีอาหารอุดมสมบูรณ์ น่ารื่นรมย์ คลาคล่ำไปด้วยคนจำนวนมาก ขอพระองค์ได้โปรดรับราชสมบัติของพระองค์ ซึ่งตามมาถึงแล้ว เมื่อพระราชาทั้งหลายกราบทูลดั่งนี้ พระราชาผู้เป็นกษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้ว ได้รับการเชิญให้คุ้มครองป้องกันแล้วตรัสแก่พระราชา ผู้ครองท้องที่เหล่านั้นว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายจงปกครองราชสมบัติของตนโดยธรรมเถิด อนึ่ง ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงอย่าฆ่าสัตว์มีชีวิต อย่าถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ อย่าประพฤติผิดในกาม(ความใคร่ทางเพศ) อย่ากล่าวเท็จ อย่าให้อธรรมเกิดขึ้นในแคว้นของข้าพเจ้า อย่าพอใจประพฤติอธรรม นัยว่าพระราชาวรรณะกษัตริย์ผู้ได้มูรธาภิเษกแล้ว มีชัยชนะในด้านทิศตะวันออกอย่างนี้ จักรรัตนะมีชัยชนะในด้านทิศตะวันออกแล้วก็แล่นลงสู่สมุทรด้านทิศตะวันออก ข้ามสมุทรด้านทิศตะวันออก ครั้นข้ามได้แล้ว จึงแล่นไปทางทิศโดยอากาศด้วยฤทธิ์เป็นอย่างดี พระราชาจักรพรรดิพร้อมด้วยกองพล 4 เหล่า ก็เสด็จตามไป ทรงมีชัยชนะในด้านทิศใต้เช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในก่อน แล้วทรงมีชัยชนะในด้านทิศตะวันตกและเหนือ เหมือนทรงมีชัยชนะในด้านทิศใต้ ครั้นมีชัยชนะในด้านทิศเหนือแล้ว จักรรัตนะก็หยั่งลงสู่สมุทรด้านทิศเหนือ เมื่อหยั่งลงแล้วก็ข้ามสมุทรทิศเหนือ ครั้นข้ามแล้วก็กลับมาสู่ราชธานีโดยอากาศด้วยฤทธืเป็นอย่างดี แล้วมาตั้งเพลาเบื้องบนที่ประตูภายในเมือง พระราชาผู้เป็นกษัตริย์ได้มูรธาภเษกแล้ว เป็นผู้ประกอบด้วยจักรรัตนะดังกล่าวมานี้

       พระราชาจักรพรรดิประกอบด้วยหัสติรัตนะนั้นเป็นอย่างไร เป็นอย่างนี้ คือ เมื่อพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ในโลกนี้ได้มูรธาภิเษกแล้ว หัสติรัตนะได้เกิดขึ้นเหมือนดั่งกล่าวแล้วในก่อน หัสติรัตนะนั้นเผือกล้วนมีลักษณะที่ปรากฏเป็นอย่างดี 7 อย่าง คือ กระพองเป็นสีทอง ลึงค์เป็นสีทอง เครื่องประดับเป็นทอง คลุมด้วยตาข่ายทอง มีฤทธิ์เหาะได้ มีความสุขสบายเป็นปรกติ ซึ่งพระยาช้างนี้มีชื่อว่าโพธิ และในกาลเมื่อพระราชาวรรณะกษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้ว มีพระประสงค์จะทอลองหัสติรัตนะนั้น จึงขึ้นทรงหัสติรัตนะนั้นในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น เสด็จไปรอบแผ่นดินใหญ่นี้ซึ่งมีสมุทรเป็นคูเมือง มีสมุทรล้อมรอบ แล้วเสด็จกลับมายังราชธานี เสวยพระกระยาหารมื้อเช้า พระราชาจักรพรรดิประกอบด้วยหัสติรัตนะ ดั่งกล่าวมานี้

      พระราชาจักรพรรดิประกอบด้วยอัศวรัตนะนั้นเป็นอย่างไร?

      ก็แหละเมื่อพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้ว อัศวรัตนะย่อมเกิดขึ้น เหมือนดั่งกล่าวแล้วในก่อน อัศว(ม้า)นั้นสีนิล(เขียว)หัวสีดำ มีผมเหมือนเส้นหญ้ามุญชะ (หญ้าซุ้มกระต่าย) หน้ามีสง่า ลึงค์สีทอง เครื่องประดับเป็นทองคลุมด้วยตาข่ายทอง มีฤทธิ์เหาะได้ มีความสุขสบายเป็นปรกติ ซึ่งพญาอัศวนี้มีชื่อว่า พาลาหกะ และในกาลเมื่อพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้ว มีพระประสงค์จะทดลองอัศวรัตนะจึงขึ้นทรงอัศวรัตนะในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น เสด็จเที่ยวไปรอบแผ่นดินใหญ่นี้ซึ่งมีสมุทรเป็นคูเมือง มีสมุทรล้อมรอบ แล้วเสด็จกลับมายังราชธานีเสวยพระกระยาหารมื้อเช้า พระราชาจักรพรรดิประกอบด้วยอัศวรัตนะ ดังกล่าวมานี้

      พระราชาจักพรรดิ์ประกอบด้วยมณีรัตนะนั้นเป็นอย่างไร?

      เมื่อพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ในโลกนี้  ได้มูรธาภิเษกแล้ว มณีรัตนะย่อมเกิดขึ้นเหมือนดังกล่าวแล้ว มณีรัตนะนั้นเป็นแก้วไพฑูรย์สีเขียวบริศุทธ เจียระไนเรียบร้อย 8 เหลี่ยม นัยว่าภายในเมืองทั้งสิ้นย่อมสว่างรุ่งเรืองด้วยรัศมีแห่งมณีรัตนะนั้น และในกาลเมื่อพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้วมีพระราชประสงค์จะทดลองมณีรัตนะนั้น ก็ยกมณีรัตนะขึ้นที่ยอดธงเวลาเที่ยงคืนในราตรีมีความมืดและมีหมอก และเสด็จไปพระราชอุทยาน เพื่อทอดพระเนตรพื้นที่ให้ถนัด นัยว่า กองพล 4 เหล่านั้น สว่างรอบด้วยรัศมีแห่งมณีรัตนะตลอดเนื้อที่รอบๆโยชน์หนึ่ง นัยว่าคนเหล่าใดอาศัยอยู่ในแดนรอบๆแห่งมณีรัตนะนั้น คนเหล่านั้น ได้รับแสงมณีรัตนะส่งสว่างจำกันได้ เห็นกันได้ พูดกันได้ ลุกขึ้นเถิด ท่านผู้มีหน้าแจ่มใส ทำงานกันเถิด วางของขายที่ตลาดเถิด เราเข้าใจว่ารุ่งแจ้งแล้ว ตะวันขึ้นแล้ว พระราชาผู้เป็นกษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้ว ประกอบด้วยมณีรัตนะดังได้กล่าวมานี้

      พระราชาจักรพรรดิที่ประกอบด้วยสตรีรัตนะนั้นเป็นอย่างไร?

       เมื่อพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ในโลกนี้ ได้มูรธาภิเษกแล้ว สตรีรัตนะย่อมเกิดขึ้นเหมือนดั่งกล่าวแล้ว สตรีรัตนะนั้นมีวรรณะเป็นกษัตริย์เหมือนกัน ไม่สูงเกินไป ไม่ต่ำเกินไป ไม่ผอมเกินไป ไม่ขาวเกินไป ไม่ดำเกินไป มีรูปร่างสวย น่ารัก น่าดู ขุมขนทั้งปวงแห่งสตรีรัตนะนั้นระเหยหอมออกมาเหมือนกลิ่นแก่นจันทน์ ปากมีกลิ่นระเหยหอมออกมาเหมือนกลิ่นดอกอุบล มีสัมผัสนุ่มนวลเหมือนฝักมะกล่ำเครือ ในเวลาหนาว ร่างกายของนางนั้นสัมผัสอุ่น ในเวลาร้อนสัมผัสเย็น สตรีรัตนะนั้นนอกจากพระราชาจักรพรรดิแล้ว ไม่มีความกำหนัดยินดีในบุรุษอื่นแม้แต่ด้วยใจคิด จะป่วยกล่าวไปไยถึงทำความกำหนัดในบุรุษอื่นด้วยร่างกาย พระราชาจักรพรรดิ ประกอบด้วยสตรีรัตนะดั่งกล่าวมานี้

      พระราชาจักรพรรดิประกอบด้วยคฤหบดีรัตนะนั้นอย่างไร?

      เมื่อพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ในโลกนี้ ได้มูรธาภิเษกแล้ว คฤหบดีรัตนะย่อมเกิดขึ้นเหมือนดังกล่าวแล้ว เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปรัชญา มีทิพยจักษุ คฤหบดีรัตนะนั้นเห็นขุมทรัพย์ทั้งมีเจ้าของและไม่มีเจ้าของในเนื้อที่ 1 โยชน์โดยรอบด้วยทิพยจักษุ ขุมทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของก็เอามาทำประโยชน์แก่พระราชาจักรพรรดิ พระราชาจักรพรรดิประกอบด้วยคฤหบดีรัตนะดังกล่าวนี้

      พระราชาจักรพรรดิประกอบด้วยปริณายกรัตนะอย่างไร?

      เมื่อพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ในโลกนี้ ได้มูรธาภิเษกแล้ว ปริณายกรัตนะย่อมเกิดขึ้นเหมือนดั่งกล่าวแล้ว เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปรัชญา พระราชาจักรพรรดิเพียงแต่ทรงพระดำริจะให้จัดกองทัพ ปริณายกรัตนะก็จัดกองทัพที่ควรจัดขึ้นมาแล้ว พระราชาจักรพรรดิประกอบด้วยปริณายกรัตนะดั่งกล่าวนี้

      พระราชาจักรพรรดิจักประกอบด้วยรัตนะ 7 ประการเหล่านี้ พระองค์จักมีพระโอรส 1000 องค์ ล้วนแกล้วกล้าสามารถ มีรูปร่างกำยำ ปราบปรามทหารฝ่ายปรปักษ์ได้ พระราชาจักรพรรดินั้นทรงชนะแผ่นดินทั้งหมด อันมีมหาสมุทรเป็นที่สุด ไม่ให้มีเสี้ยนหนาม โดยไม่ใช้อาชญา ไม่ใช้ศัสตรา ทรงปกครองแล้ว ถ้าไม่ทรงครองเรือนจะเสด็จออกบรรพชาเป็นผู้ไม่มีเรือน ก็จะทรงละฉันทราคะได้ กลายเป็นผู้นำ เป็นเทพไม่มีใครเทียบเท่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดั่งนี้แล

      อนึ่ง เทวะบุตรทั้งหลายอื่นๆ มายังชมพูทวีปบอกแก่พระปรัตเยกพุทธทั้งหลายว่า ข้าแต่ท่านผู้ควรเคารพ ขอท่านทั้งหลายจงชำระพุทธเกษตรคือเขตแดนของพระพุทธเจ้าให้สะอาดบริศุทธ นับจากนี้ไปอีก 12 ปี พระโพธิสัตว์ก็จะลงสู่ครรภ์พระมารดา

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้นแล มีพระปรัตเยกพุทธองค์หนึ่ง มีนามว่ามาตังคะ อยู่ที่ไหล่เขาโคลางคุละในมหานครราชคฤห์ ท่านได้ยินเสียงนั้นแล้ว จึงเดินเข้าไปในภูเขา (หิน)เหมือนเดินเข้าไปในโคลน เข้าเตโชธาตุสมาบัติแล้ว เหาะขึ้นสูง 7 ชั่วลำตาล แล้วดับขันธปรินิรวาณ ดี เสลด เอ็น กระดูก เนื้อ และเลือดของพระปรัตเยกพุทธ ที่มีอยู่นั้นทั้งหมดก็ย่อยยับไปด้วยเตโชธาตุ เหลือแต่ศีรษะอันบริศุทธตกอยู่ที่พื้นดิน และเศีรษะนั้นเป็นที่รู้จักกันว่า ฤษีบท(รอยพระฤษี) จนทุกวันนี้

      ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ยังมีอีก นัยว่าในสมัยนั้น ยังมีพระปรัตเยกพุทธ 500 องค์อยู่ในป่าฤษีปัตนะมฤคทาวะใกล้เมืองพาราณสี พระปรัตเยกพุทธเหล่านั้น ได้ยินเสียงนั้นแล้ว (เสียงเทวดาสั่งให้ทำความสะอาดพื้นที่) ก็เข้าเตโชธาตุสมาบัติแล้ว เหาะขึ้นสูง 7 ชั่วลำตาล แล้วดับขัธปรินิรวาณด้วยเตโชธาตุนั้น ดี เสลด เนื้อ กระดูก เอ็น และเลือดของพระปรัตเยกพุทธทั้งหลาย ที่มีอยู่นั้นทั้งหมด ก็ย่อยยับไปด้วยเตโชธาตุเหลือแต่ศีรษะอันบริศุทธตกอยู่ที่พื้นดิน ที่นี่จึงเรียกว่า ฤษิปัตนะ(ฤษีตก) เพราะฉะนั้น ตั้งแต่นั้นมา จึงเกิดนามเป็นที่รู้กันว่า ฤษิปัตนะ อนึ่งกวางทั้งหลายที่ได้รับอภัยทาน(ห้ามฆ่าหรือห้ามทำร้าย) ก็ได้อาศัยอยู่ในที่นี้คือที่ฤษิปัตนะนี้ เพราะฉะนั้น ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สถานที่แห่งที่อยู่ของกวางนั้นจึงมีนามเป็นที่รู้กันว่า มฤคทาวะ(ป่าเป็นที่อยู่ของกวางหรือป่ากวาง)

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ประทับอยู่ในสวรรค์ชั้นดุษิตดั่งนี้แล ได้ทรงเลือกมหาวโลกิตะ (ฐานะอันผู้มียศใหญ่ยิ่งเลือก) 4 อย่าง มหาวิโลกิตะ 4 อย่างนั้น เป็นอย่างไร? นั่นคือ เลือกกาล เลือกทวีป เลือกประเทศ เลือกตระกูล

      ดูกนภิกษุทั้งหลาย มีเหตุอะไร พระโพธิสัตว์เลือกกาล พระโพธิสัตว์ย่อมไม่ลงสู่ครรภ์พระมารดาในเวลาที่สัตว์ในโลกเริ่มจะเกิดขึ้นในเบื้องต้นกำลังจะเจริญขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้นละก็ต่อเวลาใดโลกฉลาด ตั้งอยู่ด้วยอาการอันดี รู้จักชาติ รู้จักชรา รู้จักพยาธิ รู้จักมรณะ เวลานั้นแหละ พระโพธิสัตว์จึงจะลงสู่ครรภ์พระมารดา

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีเหตุอะไร พระโพธิสัตว์เลือกทวีป พระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมไม่เกิดในปัจจันตประเทศทั้งหลาย ไม่เกิดในปุรพวิเทหทวีป ไม่เกิดในอปรโคทานียทวีป  ไม่เกิดในอุตรกุรุทวีป เมื่อเป็นเช่นนั้นละก็ย่อมเกิดในชมพูทวีปเท่านั้น

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีเหตุอะไรพระโพธิสัตว์เลือกประเทศ พระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมไม่เกิดในปัจจันตชนบททั้งหลายที่หมู่มนุษย์มีตาบอดแต่กำเนิด ประสาทเสื่อม หูหนวกและเป็นใบ้ ไม่สามารถหยั่งรู้สุภาษิตและทุภาษิต เมื่อเป็นเช่นนั้นละก็ย่อมเกิดแต่ในชนบททั้งหลายที่เป็นท่ามกลางเท่านั้น

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีเหตุอะไรพระโพธิสัตว์เลือกตระกูล พระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมไม่เกิดในตระกูลต่ำ คือตระกูลจัณฑาล ตระกูลช่างสานเสื่อ ตระกูลช่างทำรถ และตระกูลเทดอกไม้ เมื่อเป็นเช่นนั้นละก็ย่อมเกิดใน 2 ตระกูล คือตระกูลพราหมณ์และตะกูลกษัตริย์เท่านั้น  เมื่อใดโลกนับถือพราหมณ์มาก เมื่อนั้นพระโพธิสัตว์ก็เกิดในตระกูลพราหมณ์ เมือใดโลกนับถือกษัตริย์มาก เมื่อนั้นพระโพธิสัตว์จึงเกิดในตระกูลกษัตริย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ขณะนี้โลกนับถือกษัตริย์มาก พระโพธิสัตว์จึงเกิดในตระกูลกษัตริย์ อาศัยประโยชน์ที่ได้เล็งเห็นนั้น พระโพธิสัตว์ซึ่งประทับอยู่ในสวรรค์ชั้นดุษิตจึงเลือกมหาวิโลกิตะ 4 อย่าง

      และครั้นเลือกอย่างนี้แล้ว ก็นิ่งอยู่       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดังนั้นแหละ เทวะบุตรทั้งหลายเหล่านั้นจึงสอบถามเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ขึ้นว่า พระโพธิสัตว์จะตั้งอยู่ในตระกูลประเสริฐไหน ในพระมารดามีสภาพอย่างไร บรรดาพวกเทวะบุตรเหล่านั้น เทวะบุตรพวกหนึ่งพูดขึ้นว่า ตระกูลไวเทหิ ในมคธชนบทเป็นตระกูลมั่งคั่ง กว้างขวาง ปลอดภัย อาหารอุดมสมบูรณ์ นี่แหละสมควรจะเป็นที่ตั้งครรภ์พระโพธิสัตว์นั้น ฝ่ายเทวะบุตรอีกพวกหนึ่งพูดว่า ตระกูลไวเทหิไม่สมควร เพราะเหตุใด เพราะตระกูลไวเทหินั้น มารดาไม่บริศุทธ บิดาไม่บริศุทธ เป็นตระกูลไม่ยืดเยื้อ ไม่มั่นคง มีบุณยน้อย ไม่ได้อภิเษกด้วยบุณยอันไพบูรณ์ เป็นแต่เฉียดประเทศของคนที่มีตระกูลดี ไม่ดาษดาไปด้วยอุทยาน สระ และบ่อน้ำ เหมือนเมืองเล็กๆที่อยู่ชายแดน เพราะฉะนั้น ตระกูลนั้นจึงไม่สมควร

      เทวะบุตรอีกพวกหนึ่งพูดว่า นี่ก็อีก ตระกูลเกาศลมีวาหนะมาก มีบริวารมาก มีทรัพย์มาก ตระกูลนี้แหละสมควรเป็นที่ตั้งครรภ์พระโพธิสัตว์ ฝ่ายเทวะบุตรพวกอื่นพูดว่า ตระกูลเกาศลไม่สมควร เพราะเหตุใด เพราะเหตุว่า ตระกูลเกาศลนั้น มีช้างก็ตายหมด ไม่บริศุทธทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา มีแต่คนเลวอาศัย ไม่ใช่ตระกูลรุ่งเรืองไม่มีทรัพย์รัตนะและขุมทรัพย์มากมาย เพราะฉะนั้นตระกูลเกาศล จึงไม่สมควร

      เทวะบุตรพวกอื่นพูดว่า ตระกูลวังศะราชนี้มั่งคั่ง กว้างขวาง ปลอดภัย มีอาหารอุดมสมบูรณ์ ตระกูลนี้แหละสมควรเป็นที่ตั้งครรภ์พระโพธิสัตว์ ฝ่ายเทวะบุตรพวกอื่นพูดว่า ตระกูลวังศะราชนี้ ได้ไม่สมควร เพราะเหตุใด เพราะเหตุว่า ตระกูลวังศะราชนี้ เป็นตระกูลสามัญ ดุร้าย ไม่มีเดชรุ่งเรือง มีข้าศึกกระหนาบอยู่รอบข้าง การกระทำของมารดาบิดาและของตนเองไม่มีเดชอำนาจ พระราชาในตระกูลนั้นถืออุจเฉท คือลัทธิปฏิเสธบุญบาป เพราะเหตุนั้น ตระกูลวังศะราชจึงไม่สมควร

      เทวะบุตรพวกอื่นพูดว่า เมืองไวศาลีนี้ เป็นมหานครคือเป็นเมืองใหญ่ มั่งคั่งกว้างขวาง ปลอดภัย มีอาหรอุดมสมบูรณ์ น่ารื่นรมย์คลาคล่ำไปด้วยคนจำนวนมาก ประดับด้วยเรือนยอดพื้นปราสาทอันมีบัลลังก์ประตู ซุ้มประตูมีลวดลาย หน้าต่าง มีลาน สวนดอกไม้และราวไพรออกดอกสะพรั่ง อาจกล่าวได้ว่าเป็นเมืองสวรรค์ เมืองนี้แหละสมควรเป็นที่ตั้งครรภ์พระโพธิสัตว์ เทวะบุตรพวกอื่นพูดว่า เมืองนี้ก็ไม่สมควรเพราะเหตุใด เพราะเหตุว่า พวกเมืองไวศาลี ไม่รู้ลัทธินยายคือวิชาตรรกวิทยาของกันและกันไม่มีประพฤติธรรม ไม่อยู่ในอารักขาของคนชั้นสูง คนชั้นกลาง คนแก่กว่า คนเป็นผู้ใหญ่กว่า สำคัญไปคนเดียวว่า เราเป็นราชา เราเป็นราชา ไม่ยอมเป็นศิษย์ใคร ไม่เข้าหาธรรม เพราะฉะนั้น เมืองไวศาลีจึงไม่สมควร

      เทวะบุตรพวกอื่นพูดว่า ตระกูลปัชโชตนี้มีกำลังมาก มีพาหนะมาก ได้ชัยชนะเหนือหัวของเสนาพระราชาฝ่ายอื่น ตระกูลนี้แหละสมควรเป็นที่ตั้งครรภ์พระโพธิสัตว์ เทวะบุตรพวกอื่นพูดว่า ตระกูลปัชโชตก็ไม่สมควร เพราะเหตุใด เพราะเหตุว่า พวกชัชโชตโหดร้าย กลับกลอก ร้ายกาจ หยาบช้า ทำกาสับปลับ ไม่ชี้กรรม เพราะฉะนั้นตระกูลปัชโชตจึงไม่สมควรเป็นที่ตั้งครรภ์พระโพธิสัตว์

      เทวะบุตรพวกอื่นพูดว่า เมืองมถุรานี้ มั่งคั่ง กว้างขวาง ปลอดภัย มีอาหารอุดมสมบูรณ์ คลาคล่ำไปด้วยคนจำนวนมาก เป็นราชธานีของพระเจ้าสุพาหุ ตระกูรกังสะใหญ่ยิ่งกว่าตระกูลศุรเสนะ  ราชธานีนี้แหละควรเป็นที่ตั้งครรภ์พระโพธิสัตว์ แต่เทวะบุตรพวกอื่นพูดว่า ราชธานีนี้ก็ยังไม่สมควร  เพราะเหตุใด เพราะเหตุว่า พระราชาทัสยุประสูตในวงศ์ตระกูลมิจฉาทิฎฐิ การบังเกิดในตระกูลมิจฉาทิฎฐิไม่สมควรแก่พระโพธิสัตว์ผู้เกิดในภพสุดท้าย (ปัจฉิมภพ หรืออจริมภพ) เพราะเหตุนั้น ราชธานีมถุรานี้ จึงไม่สมควร

      เทวะบุตรพวกอื่นพูดว่า พระราชาในมหานครหัสตินปุระนี้ประสูติจากตระกูลวงศ์ปาณฑพ เป็นผู้กล้าหาญ มีวีรยะ (ความเพียร) ประกอบด้วยรูปร่างดีงาม บรรดาตระกูลที่ย่ำยีทหารของพระราชาฝ่ายอื่น ก็ได้แก่ตระกูลนี้ จึงสมควรเป็นที่ตั้งครรภ์พระโพธิสัตว์  เทวะบุตรพวกอื่นพูดว่า  ตระกูลนั้นก็ไม่สมควร เพราะเหตุใด เพราะเหตุว่าวงศ์ตระกูลนั้น พวกที่ประสูติแต่ตระกูลปาณฑพ สำส่อนเป็นอย่างยิ่ง พระราชายุธิษฐิระ ว่ากันว่าเป็นบุตรพระยม พระราชาภีมะเสนก็เป็นบุตรพระพาย พระราชาอรชุนก็ว่าเป็นบุตรพระอินทร์ พระนกุลและพระสหเทพก็ว่าเป็นอัศวินบุตรพระอาทิตย์ เพราะเหตุนั้น ตระกูลนั้น จึงไม่สมควรเป็นที่ตั้งครรภ์พระโพธิสัตว์

      เทวะบุตรพวกอื่นพูดว่า เมื่อมิถิลานี้เป็นที่รื่นรมย์ยิ่ง เป็นสถานที่สถิตย์แห่งพระจาสุมิตร ราชวงศ์มิถิลา พระราชาองค์นั้นประกอบด้วยพลนิกายยิ่ง คือมีทหารช้าง ทหารม้า ทหารรถ ทหารราบ มาก มีทรัพย์เครื่องอุปกรณ์ คือ เงิน ทอง แก้วมณี แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์ สังขศิลา(ไข่มุก) แก้วประพาฬ เหรียญทอง เหรียญเงิน มาก มีกำลังและความแกล้วกล้าเป็นที่ครั่นคร้ามของท้าวพญาสามนตราชทั้งปวง รักในการผูกมิตรและประพฤติธรรม ตระกูลนี้แหละสมควรเป็นที่ตั้งครรภ์แห่งพระโพธิสัตว์  เทวะบุตรพวกอื่นพูดว่า ตระกูลนี้ ไม่สมควรเป็นที่ตั้งครรภ์แห่งพระโพธิสัตว์ ถึงพระราชาพระองค์นั้นจะมีมิตรดีและประกอบในคุณธรรมอย่างว่านี้  แต่ก็ทรงชราเกินไปไม่สามารถให้เกิดบุตรได้ และทั้งมีบุตรมากเกินไปด้วย เพราะฉะนั้น ตระกูลนั้นจึงไม่สมควรเป็นที่ตั้งครรภ์พระโพธิสัตว์

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์และเทวะบุตรทั้งหลายพิจารณาเลือกราชตระกูลทั้งหลายที่สูงในชนบท 16 แห่ง อันมีอยู่ในชมพูทวีปอย่างนี้ ก็ได้มองเห็นตระกูลทั้งหลายเหล่านั้นประกอบด้วยโทษ

       เมื่อพระโพธิสัตว์และเทวะบุตรเหล่านั้น มีความคิดและมนสิการ คือครุ่นคำนึงอยูในใจ มีเทวะบุตรตนหนึ่งชื่อ ชญานเกตุธวัช เป็นผู้ไม่เปลี่ยนแปลง ทำความเด็ดเดี่ยวเพี่อโพธิญาณในมหายานนี้ เทวะบุตรผู้นั้นจึงกล่าวคำนี้แก่สภาโพธิสัตว์และเทพเป็นจำนวนมากว่า ดูกรท่านผุ้ควรเคารพ เรื่องนี้เราจะต้องเข้าไปถามพระโพธิสัตว์พระองค์นั้นว่า พระโพธิสัตว์ผู้เกิดในภพสุดท้ายจะเกิดในตระกูลที่ถึงพร้อมด้วยคุณอย่างใด ?  พระโพธิสัตว์และเทวะบุตรทั้งหลาย รับว่า สาธุ (ดีแล้ว) จึงประนมมือเดินเข้าไปหาพระโพธิสัตว์ถามว่า ข้าแต่สัตบุรุษ พระโพธิสัตว์ผู้เกิดในภพสุดท้าย จะเกิดในตระกูลรัตนะที่ถึงพร้อมด้วยคุณอย่างใด

       ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ได้พิจารณาดูคณะพระโพธิสัตว์หมู่ใหญ่และคณะเทวดานั้น แล้วดรัสว่า ดูกรท่านผู้ควรเคารพ ตระกูลที่ถึงพร้อมด้วยอาการ 64 อย่างเป็นตระกูลที่พระโพธิสัตว์ผู้เกิดในภพสุดท้ายจะไปบังเกิด อาการ 64อย่างนั้น เป็นอย่างไร นั่นคือเป็นตระกูลที่มีชื่อเสียงดี เป็นตระกูลที่ไม่ต่ำต้อย และไม่เบียดเบียนใคร เป็นตระกูลมีเชื้อชาติเป็นตระกูลมีโคตรนามสกุล เป็นตระกูลที่สมบูรณ์ด้วยยุคบรรพบุรุษ เป็นตระกูลสมบูรณ์ด้วยยุคบุรุษมีเหล่ากอ เป็นตระกูลที่สมบูรณ์ด้วยยุคบุรุษมีลักษณะดี เป็นตระกูลสมบูรณ์ด้วยบุรุษเรืองนาม เป็นตระกูลที่มีหญิงมาก มีชายมาก เป็นตระกูลไม่ครั่นคร้าม เป็นตระกูลไม่อนาถา เป็นตระกูลไม่ละโมภ เป็นตระกูลมีศีล เป็นตระกูลมีปัญญา เป็นตระกูลมีอำมาตย์คอยดูแลให้บริโภคทรัพย์สมบัติ เป็นตระกูลที่ตั้งมั่นด้วยศิลปอันไม่เป็นหมัน(มีศิลปไม่ตายด้าน) เป็นตระกูลมีผู้บริโภคทรัพย์สมบัติ และมีมิตรมั่นคง เป็นตระกูลไม่เบียดเบียนสัตว์เดียรัจฉานเป็นตระกูลกตัญญูรู้บุญคุณที่ผู้อื่นมีแก่ตน และกตเวทีรู้ตอบแทนบุญคุณ  เป็นตระกูลไม่มีฉันทาคติ ไม่มีโทษาคติ ไม่มีโมหาคติและไม่มีภยาคติ เป็นตระกูลไม่มีโทษ ไม่กลัว เป็นตระกูลไม่อยู่ด้วยความหลง เป็นตระกูลที่มีอาหารเป็นล่ำเป็นสัน เป็นตระกูลที่ฝังใจในการงาน ฝังใจในการบริจาค และฝังใจในการให้ทานเป็นตระกูลที่เชื่อถือในความพยายาม เป็นตระกูลที่มีความก้าวหน้ามั่นคง เป็นตระกูลที่มีความก้าวหน้าแข็งแรง เป็นตระกูลก้าวหน้าอย่างประเสริฐ เป็นตระกูลบูชาฤษี บุชาเทวดา บูชาเจดีย์ บูชาบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นตระกูลที่ไม่ผูกเวรกับใครเป็นตระกูลที่มีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั้ง 10 ทิศ เป็นตระกูลที่มีบริวารมาก เป็นตระกูลที่มีบริวารไม่แตกกัน เป็นตระกูลที่มีอำนาจมาก เป็นตระกูลที่มีชื่อเสียงมาก  เป็นตระกูลนับถือมารดา เป็นตระกูลนับถือบิดา เป็นตระกูลนับถือสมณะ เป็นตระกูลนับถือพราหมณ์ เป็นตระกูลมียุ้งฉางคลังเงินคลังข้าวมาก เป็นตระกูลมีเงิน ทอง แก้ว มณี แก้วมุกดา เหรียญเงิน เหรียญทอง และเครื่องอุปกรณ์ในการหาทรัพย์มาก  เป็นตระกูลมีช้าง ม้า อูฐ โค และแพระมาก เป็นตระกูลมีคนใช้หญิงชายและคนงานมาก เป็นตระกูลที่โครข่มขี่ได้ยาก เป็นตระกูลมีความประสงค์สำเร็จทุกประการ เป็นตระกูลจักรพรรดิ เป็นตระกูลสะสมคุณเป็นเครื่องช่วยเหลือกุศลแต่ปางก่อน เป็นตระกูลสืบเนื่องมาแต่ตระกูลพระโพธิสัตว์ เป็นตระกูลไม่มีโทษด้วยชาติหรือลัทธิทั้งปวงในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์ สมณะ พราหมณ์ ดูกรท่านผู้ควรเคารพ ตระกูลประกอบด้วยอาการ 64 อย่างนี้แล พระโพธิสัตว์ผู้เกิดในภพสุดท้ายจะไม่เกิด

      ดูกรท่านผู้ควรเคารพ พระโพธิสัตว์ผู้เกิดในภพสูดท้าย ย่อมลงสู่ครรภ์สตรีมีชื่อเสียง มีลักษณะดียิ่งมีการคบหาสมาคมยั่งยืนไม่ขาดวิ่น ถึงพร้อมด้วยชาติ ถึงพร้อมด้วยตระกูล ถึงพร้อมด้วยรูป ถึงพร้อมด้วยนาม(รูปงาม นามเพาะ) ถึงพร้อมด้วยตะโพกมีทรงผึ่งผาย(ตะโพกกว้าง) ยังไม่มีบุตร ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยการบริจาค มีหน้ายิ้มแย้ม ถนัดขวา ฉลาด ได้รับการขัดเกลาไว้เรียบร้อย ใจคอกว้างขวางไม่คับแคบ เป็นพระหูสูตร เป็นบัณฑิต ไม่จองหอง ไม่มีมารยา ไม่โกรธ ไม่ริษยา ไม่ตระหนี่ หนักแน่น ไม่เหลาะแหละเหลวไหล ไม่ปากร้าย ถึงพร้อมด้วยกษานติและเสารัภยะ(อดทนและเสี่ยม) ถึงพร้อมด้วยหรีและอปัตราปย(ความละอายและความเกรงกลัว) มีความกำหนัด ความเกลียดชังและหลงน้อย ปราศจากโทษแห่งสตรี(ไม่นอกใจสามี) อุทิศตนให้แก่สามีคนเดียว(ปรติวรรตา)

       พระโพธิสัตว์ผู้เกิดในภพสุดท้าย ย่อมลงสู่ครรภ์แห่งสตรีผู้ถึงพร้อมด้วยคุณทุกประการ

       ดูกรท่านผู้ควรนับถิอ พระโพธิสัตว์ผู้เกิดในภพสุดท้าย ย่อมลงสู่ครรภ์แห่งสตรีผู้ประกอบด้วยลักษณะ 32 อย่าง เหล่านี้แล

       ดูกรท่านผู้ควรนับถิอ นัยว่าพระโพธิสัตว์ไม่ลงสู่ครรภ์มารดาในเดือนข้างแรม หากแต่ว่า พระโพธิสัตว์ผู้เกิดในภพสุดท้ายลงสู่ครรภ์มารดาผู้งดเว้นอาหารในวันปัณรสีขึ้น 15 ค่ำ พระจันทร์ประกอบด้วยบุษยฤกษ์(ฤกษ์ปุยฝ้ายที่ 8 ราชาฤกษ์)

      ครั้งนั้นแล พระโพธิสัตว์และเทวะบุตรทั้งหลายเหล่านั้น ได้ฟังเรื่องตระกูลบริศุทธและมารดาบริศุทธเช่นนี้จากสำนักพระโพธิสัตว์ ต่างก็พากันคิดในใจว่า ตระกูลที่ประกอบด้วยคุณลักษณะล้วนๆอย่างที่ท่านสัตบุรุษผู้นี้ได้ชี้แจง จะเป็นตระกูลไหนหนอ เมื่อตรึกตรองอยู่ ก็นึกขึ้นได้ว่า อ้อ ศากยตระกูลเป็นตระกูลมั่งคั่ง กว้างขวาง ปลอดภัย มีอาหารอุดมสมบูรณ์ น่ารื่นรมย์ คลาคล่ำไปด้วยคนจำนวนมาก พระราชาทรงพระนามว่าศุทโธทนะ ซึ่งมีพระมารดาและพระบิดา พระชายาบริศุทธ ไม่มึความตรากตรำลำบาก รอบรู้ในอาการของตนเป็นอย่างดี รุ่งเรืองด้วยเดชคือบุณย มีตระกูลสืบเนื่องมาจากตระกูลจักรพรรดิจำนวนมากในตระกูลมหาสมมต(ตระกูลใหญ่ที่ยกย่องกันทั่วไป) มีขุมทรัพย์และรัตนะหาประมาณมิได้ เป็นผู้เล็งเห็นกรรม(เชื่อกรรม) ปราศจากความเห็นลามก เป็นพระราชาเอกในศากยวิษัยทั้งสิ้น เป็นที่บูชานับถือ เป็นที่เลื่อมใสน่าชมของหมู่ชนคือเศรษฐี คฤหบดี และอำมาตย์ทั้งหลาย  น่าเลื่อมใส น่าดู ไม่แก่เกินไป ไม่หนุ่มเกินไป มีรูปร่างงาม ประกอบด้วยคุณทั้งปวง รู้ศิลป รู้กาล รู้ตน รู้ธรรม รู้ความจริงอันถ่องแท้ รู้โลก รู้ลักษณะ เป็นพระราชาตั้งอยู่ในธรรมทรงปกครองสัตว์ทั้งหลาย ที่ได้ก่อสร้างกุศลมูลไว้โดยธรรม ประทับในมหานครชื่อ กบิลพัสตุ์ ผู้ใดที่เกิดในเมืองกบิลพัสตุ์นั้น ก็มีสภาพอย่างเดียวกัน พระราชาศุทโธทนะ มีพระเทวีทรงพระนามว่า มายา เป็นธิดาแห่งศากยบดี ทรงพระนามว่า สุประพุทธ พระนางเป็นสาวรุ่น ถึงพร้อมด้วยรูปและวัย ยังมีพระราชโอรสและพระราชธิดา ยังไม่พ้นวัยที่จะมีพระราชโอรสและพระราชธิดา มีรูปร่างงาม น่าชมเหมือนรูปวาด ประดับด้วยเครื่องตกแต่งทั้งปวงแล้วเหมือนเทพธิดา ปราศจากโทษแห่งสตรี(ไม่นอกใจสามี) มีวาจาสัตย์ ไม่พูดกระด้าง ไม่พูดหยาบคาย ไม่พูดเหลาะแหละแหลวไหล ไม่มีวาจาเป็นโทษ มีเสียงเหมือนนกดุเหว่า ไม่พูกกลับกลอก พูดอ่อนหวานน่ารัก ปราศจากความโกรธ ความมัวเมา ความถือตัว ความกระด้างและความฉุนเฉียวทั้งปวง ไม่ริษยา พูดเหมาะแห่เวลา ถึงพร้อมด้วยการบริจาค มีศีล ยินดีเฉพาะในสามี อุทิศตนให้แก่สามีคนเดียว ปราศจากการคิดคำนึงถึงชายอื่น มีพระเศียร พระกรรณ พระนาสิกได้ส่วนรับกัน มีพระเกศาเหมือนแมลงภู่ตัวประเสริฐ มีพระนลาตงาม มีพระโชนงงาม ไม่มีอาการหน้านิ่วคิ้วขมวด มีหน้ายิ้มแย้ม ปราศัยทักทายก่อน มีพระวาจาสุภาพอ่อนหวานถือเอาแต่สิ่งที่เป็นอุดมมงคล ชื่อตรง ไม่คดค้อม ไม่จองหอง ไม่มีมายา ถึงพร้อมด้วยหรี อปัตราปยะ (ความละอายและความกลัว) ไม่เหลาะแหละเหลวไหล หนักแน่น ไม่ปากร้าย ไม่พูดพร่ำเพรื่อ มีความกำหนัดความเกลียดชังและความหลงเบาบาง ถึงพร้อมด้วยกษานติและเสารัภยะ มีความรู้ระวังรักษาพระหัตถ์ พระบาท พระเนตรเป็นอย่างดี มีพระหัตถ์ พระบาทนิ่มและอ่อน มีสัมผัสนุ่มนวลเหมือนสัมผัสฝักมะกล่ำเครือ มีพระเนตรบริศุทธเหมือนกลีบดอกบัวสาย และบัวเขียวสดๆ มีพระนาสิกโด่งน่ารัก มีอวัยวะประจำอยู่ตามสภาพเป็นอันดี มีอวัยวะน้อยใหญ่ได้ส่วนสัดดีแล้ว ขัดเกลาไว้เรียบร้อยเหมือนคทาซึ่งเป็นอาวุธขององค์อินทร์ มีอวัยวะไม่มีที่ตำหนิ ริมพระโอษฐ์แดงเหมือนลูกตำลึงสุก พระทนต์งาม พระศอเรียว แต่งพระองค์ขึ้น มีพระหทัยดี มีพระเนตรบริศุทธเหมือนดอกมะลิ พระอังสาผึ่ง พระพาหาเรียวงาม พระอุทรนูนเหมือนคันธนู ประปรัศว์ไม่ผิดปรกติ วงพระนาภีลึก พระโสณี(ตะโพก) กลมกว้างเรียบและแน่นหนา มีพระวรกายเสมือนแม้นกับเพชรแท่ง มีต้นพระชงฆ์ (ขาอ่อน) เหมือนงวงช้างชิดกันเสมอ มีลำพระชงฆ์เหมือนแข้งเนื้อทราย มีฝ่าพระหัตถ์ฝ่าพระบาทเหมือนอาบด้วยน้ำครั่ง(แดง) เป็นที่น่ารื่นรมย์แก่นัยน์ตาโลก มีจักษุประสาทว่องไว เป็นที่น่าอิ่มเอิบใจและน่ารักประเสริฐเลิศด้วยรูปของสตรีรัตนะ มีรูปทรงเหมือนแสร้งนิรมิต จึงกำหนดพระนามว่า "มายา" เป็นหญิงเชียวชาญในกลาศาสตร์ (กลาศาสตร์ คือศิลป มี64 อย่าง) ประทับอยู่ท่ามกลางนางสนมกำนัลของพระศุทโธทนะมหาราช ปรากฏเหมือนนางอัปสรในสวนนันทวันพระนางมายานี้แหละสมควรเป็นพระชนนีของพระโพธิสัตว์ ความบริศุทธของตระกูลซึ่งพระโพธิสัตว์อ้างถึงนั้น จะปรากฏได้ก็แต่ในศากยตระกูลเท่านั้น

        มีคำกล่าวไว้ในข้อนี้ว่า

        1 พระโพธิสัตว์ผู้บริศุทธ ผู้สะสมธรรม ประทับบนธรรมมาสน์ในปราสาทอันสูงด้วยธรรม แวดล้อมด้วยเทพยดาผู้มีสภาพธรรมเสมอกันและพระโพธิสัตว์ ผู้มียศใหญ่ยิ่งทั้งหลาย ฯ

        2 เทวดาและพระโพธิสัตว์ทั้งหลายนั่งอยู่ในปราสาทนั้น คิดว่าตระกูลไหนหนอที่เป็นตระกูลบริศุทธ สมควรที่พระโพธิสัตว์จะไปบังเกิดและมารดาบิดาที่ไหนจะมีภาวะบริศุทธ อันสมควรที่พระโพธิสัตว์จะไปบังเกิด ฯ

        3 เมื่อได้พิจารณาตรวจดูทั่วชมพูทวีปว่า กษัตริย์ราชตระกูลใดเป็นผู้มีใจสูงก็คิดเห็นว่า กษัตริย์ทั้งหมดประกอบด้วยโทษ และเห็นแต่ศากยตระกูลเท่านั้น ที่ปราศจากโทษ ฯ

        4 พระราชาศุทโธทนะ เป็นผู้มีตระกูลสูงในราชตระกูล มีพระวรกายอันบริศุทธ ในวงศ์เจ้าแผ่นดิน เมืองกบิลพัสดุ์ก็มั่งคั่ง กว้างขวาง ไม่วุ่นวาย ประกอบด้วยคนมีความเคารพ และมีสาธุชนตั้งอยู่ในธรรม ฯ

        5 แม้สัตว์ทั้งปวงอื่นๆในเมืองกบิลพัสดุ์ก็งดงาม ประดับด้วยอุทยาน สวนสำราญ และทางเดินเล่น ฯ

        6 คนทั้งปวงประกอบด้วยมหากวี และนักรบ มีช้างแพร่หลาย มีรัตนะ 9 อย่าง ทั้งเรียนจบในวิชาธนูและเพลงอาวุธ แต่มิได้เบียดเบียนผู้อื่นเพื่อชีวิต(ไม่ฆ่าใคร) ฯ

        7 อัครมเหษีของพระเจ้าศุทโธทนะ ถึงความเป็นผู้เลิศในสตรีนับเป็นพันๆเป็นที่รื่นรมย์ใจ มีรูปร่างเหมือนแสร้งทำ พระนางทรงพระนามว่า มายาเทวี ฯ

        8 พระนางมีรูปงามเหมือนเทพกันยา มีพระวรกายได้ส่วนสัดเป็นอย่างดี มีอวัยวะงามปราศจากมลทิน เทวดาหรือมนุษย์เห็นพระนางแล้วไม่รู้อิ่มเลย ฯ

        9 พระนางนั้น ไม่กำหนัดด้วยราคะ ไม่โกรธด้วยโทษะ สุภาพเรียบร้อย อ่อนโยน มีพระวาจาชื่อตรงแช่มช้อย ไม่ก้าวร้าวหยาบคาย จับใจมีพระพักตร์อันยิ้มแย้ม ไม่มีพระพักตร์นิ่วคิ้วขมวด ฯ

        10 มีหรี อัตราปยะ ประพฤติธรรม ไม่ถือพระองค์ ไม่กระด้างไม่เหลาะแหละเหลวไหล ไม่ริษยา ไม่ไว้พระองค์(ไม่จองหอง) ไม่มีมายา ยินดีในการบริจาคพร้อมด้วยจิตเมตตา ฯ

        11 ทรงเห็นกรรม(เชื่อกรรม) ปราศจากการประพฤติผิด ตั้งอยู่ในความสัตย์ ระมัดระวังกายใจ ไม่มีกระแสดโทษแห่งสตรีซึ่งมีอยู่มากในแผ่นดิน ฯ

        12 ไม่มีหญิงใด ในมนุษยโลก คนธรรพโลก หรือเทวโลก จะเสมอด้วยพระนางมายา หญิงอื่นที่สมควรเป็นพระมารดาของพระโพธิสัตว์ผู้ฤษี(แสวงธรรม) จะมีแต่ไหน ฯ

        13 พระนางมายานั้น บำเพ็ญบารมีไม่บกพร่องได้เป็นพระมารดาของพระโพธิสัตว์มาแล้วตั้ง 500 ชาติ และพระราชาศุทโธทนะ ก็ได้เป็นบิดามาแล้วในชาตินั้นๆ เพราะฉะนั้น พระนางประกอบด้วยคุณธรรม จึงสมควรเป็นพระมารดา ฯ

        14 พระนางได้รับพร พระราชาสามีทรงอนุญาตแล้ว ให้ประพฤติพรตเหมือนพระดาบส ทรงประพฤติพรตพร้อมด้วยประพฤติธรรม พระองค์จึงประพฤติตลอดเวลา 32 เดือนตามความประสงค์ ฯ

        16 เทวดา อสูร หรือมนุษย์ ก็ตาม ที่อาจจะมองดูพระนางด้วยราคะจิตนั้นไม่มีเลย มีแต่มองดูอย่างเป็นมารดาหรือธิดาไปหมด ต่างก็ประพฤติอิริยาบถเป็นคุณงามความดีอันน่าปรารถนา ฯ

        17 ราชตระกูลอันไพศาล ย่อมเจริญด้วยเหตุแห่งศุภกรรม (กรรมดีงาม) ของพระนางมายาเทวี แม้ประเทศราชก็ไม่กำเริบ เกียรติและยศย่อมเจริญในพระเจ้าแผ่นดิน ฯ

        18 อนึ่ง พระนางมายา เป็นภาชนะที่รองรับอันสมควรฉันใดพระโพธิสัตว์ก็ย่อมเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งฉันนั้น จงเห็นว่า พระนางมายาผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติอย่างยิ่งผู้เดียว มีใจกรุณาและเป็นพระมารดาผู้ประเสริฐ ฯ

        19 ในชมพูทวีป ไม่มีหญิงอื่นที่สามารถรองรับพระเจ้าอยู่หัวได้เว้นไว้แต่พระนางมายา ผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติอย่างยิ่ง มีกำลังถึงหมื่นช้างสาร ฯ

        20 เทวะบุตรและพระโพธิสัตว์ผู้มีใจสูงเหล่านั้น เป็นผู้มีปัญญาอันไพศาล สรรเสริญพระนางมายาฝู้เป็นพระมารดาประกอบด้วยคุณสมบัติว่าเป็นผู้สมควรแก่ผู้ที่จะทำให้ตระกูลศากยชื่นชมยินดี (คือพระโพธิสัตว์) โดยนัยดังพรรณนามานี้แล ฯ

อัธยายที่ 3 ชื่อกุลปริศุทธิปริวรรต ในคัมภีร์ศรีลลิตวิสูตร  ดังนี้แล ฯ

 

04 แสงสว่างแห่งธรรม

 

อัธยายที่ 04

ธรฺมาโลกมุขปริวรฺตศฺจตุรถะ

ชื่อธรรมาโลกมุขปริวรรต(ว่าด้วยหัวข้อแสงสว่างแห่งธรรม)

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์พิจารณาตระกูลที่จะไปเกิดดั่งนี้แล้ว จึงเสด็จเข้าสู่มหาวิมานชื่ออุจจธวัช(ปักธงสูง)กว้างและยาว 64 โยชน์ ในที่อยู่สวรรค์ชั้นดุษิตอันเป็นวิมานที่พระโพธิสัตว์ประทับนั่งแสดงธรรมแก่เทวดาชั้นดุษิตทั้งหลาย ครั้นขึ้นสู่วิมานแล้ว จึงตรัสเรียกเทวะบุตรผู้อยู่ในชั้นดุษิตทั้งปวงว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายจงประชุมกัน ฟังจรรยานุศาสตร์อันเป็นธรรมานุสติ ชื่อ จุตยาการประโยค (คือ การประกอบด้วยอาการจุติเคลื่อนที่ลงไปบังเกิดในมนุษยโลก) เป็นการฟังธรรมครั้งสุดท้ายจากสำนักพระโพธิสัตว์ นัยว่าเทวะบุตรที่อยู่ในชั้นดุษิตทั้งปวง พร้อมทั้งหมู่นางอัปสร เมื่อได้ฟังคำนี้แล้ว จึงมาประชุมพร้อมปันในวิมานนั้น

       ขณะนั้น โลกธาตุที่มีประมาณกว้างขวางในมหาทวีปทั้ง 4 เป็นเพียงวงที่พระโพธิสัตว์ประทับ มีความงามวิจิต น่าดู ตกแต่งแล้ว งามยิ่งนักแล้ว จนถึงกับเทวดาชั้นกามาพจรและเทวะบุตรชั้นรูปาพจรทั้งปวงเกิดความรู้สึกในวิมานที่อยู่ของตนเป็นป่าช้าไปเสียแล้ว

      ขณะนั้น พระโพธิสัตว์ประทับนั่งบนบัลลังก์ที่ประดับด้วยผลบุณยของตนอำนวยให้บัลลังก์นั้นประกอบด้วยขาเป็นแก้วมณีและรัตนะเป็นอันมาก บุด้วยเครื่องลาดคือดอกไม้เป็นอันมาก หอมฟุ้งไปด้วยไออบเครื่องหอมทิพย์เป็นอันมาก รมควันด้วยกลิ่นจันทน์อันประเสริฐเครื่องลาดมีกลิ่นดอกไม้ทิพย์สีต่างๆเป็นอันมาก แสงสว่างอันรุ่งเรืองด้วยรัศมีตั้งแสนเกิดแต่แก้วมณีเป็นอันมาก คลุมด้วยข่ายแก้วมณีเป็นอันมากบรรลือเสียงตาข่ายลูกพรวนเป็นอันมากที่ถูกลมพัด กึกก้องด้วยการส่งเสียงระฆังแก้วตั้งหลายแสน แจ่มแจ้งด้วยข่ายแก้วตั้งหลายแสน ปกคลุมด้วยกลุ่มรัตนะตั้งหลายแสนห้อยย้อยด้วยผืนผ้าตั้งหลายแสน ประดับด้วยผืนผ้าพวงพู่พวงมาลัยตั้งหลายแสน มีนางอัปสรตั้งหลายแสน ฟ้อนรำขับร้องพรรณนาคุณตั้งหลายแสน คอยระวังรักษาแล้ว มีองค์ศักรตั้งหลายแสนมนัสการแล้ว มีพรหมตั้งหลายแสนนอบน้อมแล้ว  มีพระโพธิสัตว์นับหลายหมื่นแสนโกฏิรักษาแล้ว มีพระพุทธเจ้าหลายหมืนแสนโกฏิในทิศทั้งสิบนำมาแล้ว บัลลังก์นี้ผุดขึ้นด้วยอานิสงส์แห่งบุณยที่ได้บำเพ็ญบารมีเหมื่นแสนโกฏิแห่งกัลปอันนับไม่ถ้วน ดั่งนั้นแหละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ประทับนั่งแล้วบนบัลลังก์อันประกอบด้วยบุณยอย่างนี้ จึงตรัสเรียกเทพบริษัทหมู่ใหญ่นั้นว่า ดูกรท่านผู้ควรเคารพทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงพิจารณาดูกายของพระโพธิสัตว์ซึ่งประดับด้วยลักษณะแห่งบุณยตั้ง 100 อย่าง จงพิจารณาดูพระโพธิสัตว์ทั้งหลายในทิศบูรพา ทิกษิณ ปัศจิม อุตตระ เบื้องล่าง เบื้องบน โดยรอบ มีจำนวนประมาณไม่ถ้วน นับไม่ถ้วน คำนวณไม่ถ้วน พระโพธิสัตว์เหล่าใดประทับอยู่ในพิภพชั้นดุษิตอันประเสริฐ พระโพธิสัตว์เหล่านั้นทั้งสิ้น บ่ายหน้าเฉพาะการเกิดครั้งสุดท้าย มีหมู่เทวดาแวดล้อม ประกาศธรรมโลกมุข เป็นเครื่องรื่นเริงแห่งเทวดา อันเป็นลักษณะแห่งการจุติ เทพสภาทั้งปวงได้เห็นพระโพธิสัตว์เหล่านั้นด้วยการอธิษฐาน(ตั้งใจ)ของพระโพธิสัตว์ ครั้นเห็นแล้วได้ประนมกระพุ่มมือนมัสการด้วยเป็ญจางคประดิษฐ์ต่อพระโพธิสัตว์ แล้วต่างก็เปล่งอุทานอย่างนี้ว่า สาธุ กาอธิษฐาน (ตั้งใจ) ของพระโพธิสัตว์นี้เป็นอจินไตย? :ซึ่งเราทั้งหลายก็ได้แต่เพียงมองเห็นเท่านั้นเอง

      ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ตรัสเรียกเทวะบริษัทหมู่ใหญ่นั้นอีกว่า ดูกรท่านผู้ควรเคารพ ถ้ากระนั้น ท่านจงฟังธรรมาโลกมุขอันเป็นเครื่องรื่นเริงของเทวดา อันเป็นลักษณะแห่งการจุติ ซึ่งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายกล่าวแก่เทวะบุตรเหล่านี้ ดูกรท่านผู้ควรเคารพทั้งหลาย ธรรมาโลกมุขอันพระโพธิสัตว์จำเป็นต้องแสดงในเทวะสภา ณ สมัยกาลจะจุตินั้น มีอยู่ 108 ประการ ธรรมาโลกมุข 108 ประการนั้น คืออะไรบ้าง? ดูกรท่านผู้ควรเคารพ ศรัทธา อย่างไรเล่าเป็นธรรมาโลกมุข ซึ่งเป็นไปเพื่อจิตใจอันตั้งมั่นไม่ถูกทำลาย ประสาทะ คือความเลื่อมใสเป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อยังจิตที่ขุ่นมัวให้ผ่องใส ปราโมทยะ คือความยินดีเป็นธรรมาโลกมุข  เป็นไปเพื่อผลสำเร็จ ปรีติ คือความอิ่มใจเป็นธรรมาโลกมุข  เป็นไปเพื่อจิตใจบริศุทธ กายสังวร การสำรวยระวังกายเป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อกายสุจริต 3 อย่าง(ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม) วากสังวร การสำรวมระวังวาจาเป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อเว้นวจีทุจริต 4 อย่าง(ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ) มนะสังวร การสำรวมระวังใจเป็นธรรมาโลกมุข  เป็นไปเพื่อละความโลภอยากได้ ความพยายามปองร้ายมีความเห็นผิด พุทธานุสมฤติ เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อความบริศุทธในการเห็นพระพุทธเจ้า ธรรมนุสมฤติ เป็นธรรมาโลกมุข  เป็นไปเพื่อความบริศุทธในการแสดงธรรม สังฆานุสมฤติ เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อก้าวไปสู่ความปฏิบัติตามหลักเหตุผลตามแนวตรรกวิธี จาคานุสมฤติ ระลึกถึงการบริจาค เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อละทิ้งอุปธิทั้งปวง สีลานุสมฤติ ระลึกถึงศีล เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อบำเพ็ญความอุตสาหะ เทวตานุสมฤติ ระลึกถึงเทวดา เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีใจสูง ไมตรี ความรัก เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อทำให้มีขึ้นซึ่งบุณยกิริยาวัตถุอันเป็นอุปธิทั้งปวง กรุณา ความสงสารเป็นธรรมาโลกมุข  เป็นไปเพื่อความไม่เบียดเบียนกันเป็นอย่างยิ่ง มุทิตา ความพลอยดีใจ เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อผลักความริษยาออกไป อุเบกษา ความวางเฉย เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อเกลียดชังกาม อนิตยปรัตยเวกษะ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อระงับกามราคะ รูปราคะ อรูปราคะ ทุขปรัตยเวกษะ การพิจารณาเห็นความทุกข์ เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อความหวัง อนาตมปรัตยเวกษะ การพิจารณาเห็นความสงบ เป็นธรรมาโลกมุข  เป็นไปเพื่อความไม่ท้อถอยในการประพฤติสงบระงับ หรีความละอายเป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อความระงับจิตภายใน อปัตราปยะ ความเกรงกลัว เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อความระงับภายนอก สัตยะ ความสัตย์ เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อพูดไม่ผิดแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภูตะ ความเป็นจริง เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อพูดไม่ผิดแก่ตน(ไม่หลอกตัวเอง) ธรรมจรณะ การประพฤติธรรม เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อมีธรรมเป็นที่พึ่ง ตริศรณคมนะ การนับถือพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อระงับอบายทั้ง3 กฤตัชญตา เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อความไม่พินาศแห่งกุศลที่ได้ทำไว้แล้ว กฤตเวทิตา เป็นธรรมาโลกมุข  เป็นไปเพื่อให้ผู้นับถือ อาตมัชญตา ความเป็นผู้รู้ตน เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อไม่ยกตน สัตวัชญตา ความเป็นผู้รู้จักสัตว์ เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อความเห็นใจสัตว์อื่น ธรรมัชญตา ความเป็นผู้รู้ธรรม เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม กาลัชญตา ความเป็นผู้รู้กาล เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อไม่ทอดทิ้งให้เสียเวลาเปล่าโดยไม่ทำอะไร นิหตมานตา ความเป็นผู้ไม่ถือตัว เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อบำเพ็ญความรู้ อัปรติหตจิตตา ความเป็นผู้มีจิตปลอดโปร่ง เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อความไม่ประพฤติชั่ว อธิมุกติ ความหลุดพ้นไม่ข้องใจในอะไร เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อความไม่สงสัยเป็นอย่างยิ่ง อศุภปรัตยเวกษะ  การพิจารณาเป็นอศุภารมณ์คืออารมณ์ไม่งาม เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อละกามวิตก อัพยาปาทะ ความไม่พยาบาท เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อละพยาบาทวิตก อโมหะ ความไม่หลงเป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อกำจัดอัญญาณ(ความไม่รู้)ทั้งปวง ธรรมารถิกตา ความเป็นผู้ปรารถนาในธรรม เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อประโยชน์เป็นที่พึ่ง ธรรมกามตา ความเป็นผู้ใคร่ในธรรม เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่ออาศัยความยึดเหนี่ยวโลก ศรุตปรเยษฏิ การขวนขวายในการเล่าเรียนหรือการสดับฟัง เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อพิจารณาธรรมอย่างละเอียดถี่ถ้วน สัมยักประโยคะ การประกอบตนไว้ในทางที่ชอบ เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อการปฏิบัติชอบ นามรูปปริชญา  ความรู้กำหนดนามและรูป เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อพ้นจากความเกี่ยวข้องทั้งปวง เหตุทฤษฏิสมุทธาตะ การถอนทิฏฐิ(ความเห็น)ในเหตุ เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อยถดเหนี่ยวความหลุดพ้นด้วยวิชชา อนุนยประติฆปรหาณะ การละความฉุนเฉียวด้วยความประพฤติสุภาพเรียบร้อย เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อไม่ประพฤติลุ่มๆดอนๆ สกันธเกาศัลยะ ความฉลาดในขันธ์ เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อความรู้ทุกข์ ธาตุสมตา ความเป็นผู้เห็นทุกอย่างสักแต่ว่าเป็นธาตุ เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อละสมุทัย(เหตุให้เกิดความทุกข์) อายตนาปกรษณะ การรั้งอายตนะภายในและภายนอกให้แยกจากัน เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อมรรคภาวนาคือทำให้มรรคบังเกิดขึ้น อนุตปาทกษานติ การอดกลั้นไม่ให้เกลศเกิดขึ้น เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อเห็นแจ้งนิโรธ กายคตนุสมฤติ การระลึกพิจารณาร่างกาย เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อกายวิเวก(แยกตัวเองออกจากหมู่คณะ) เวทนาคตานุสมฤติ การระลึกพิจารณาเวทนาคือจิตกำลังรับความรู้สึก เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อระงับอารมณ์ที่ทำให้รู้สึกทั้งปวง จิตตคตานุสมฤติ การระลึกพิจารณาจิต  เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อจะให้พิจารณาจิตว่าเป็นเหมือนมายาคือกลับกลอกหรือเล่นกล ธรรมคตานุสมฤติ การระลึกพิจารณาธรรม(อารมณ์ที่เกิดขึ้นแก่จิต)  เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อชญานอันแจ่มใส จัตวาริสัมยักประหาณะ (เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว เพียรทำให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน เพียรรักษากุศลนั้นไว้ไม่ให้เสื่อม)  เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่ออกุศลธรรมทั้งปวง และเพื่อบำเพ็ญกุศลทั้งปวงให้เกิดขึ้นเต็มที่ จัตวารฤทธิปาทะ อิทธิบาท 4 (ฉันทะ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น วิริยะ เพียรพยายามเพื่อให้ได้สิ่งนั้น จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น วิมังสา พิจารณาเหตุผลได้ไม่ได้ในสิ่งนั้น) เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อทำให้กายและจิตเบาลง ศรัทเธนทริยะ มีอินทรีย์คือ ศรัทธา  เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อความเอาใจใส่ผู้อื่น (ผู้ที่ตนศรัทธา) วีรเยนทริยะ มีอินทรีย์ คือความเพียร  เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อชญานอันเกิดจากความคิดดียิ่ง สมฤตีนทริยะ มีอินทรีย์คือสมฤติ  เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อการงานที่ทำไว้ดีแล้ว สมาธีนทริยะ มีอินทรีย์คือสมาธิ เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อจิตหลุดพ้นจากเกลศ ปรัชเญนทริยะ มีอินทรีย์คือ ปรัชญา เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อชญานเครื่องพิจารณา ศรัทธาพละ มีพละ(กำลัง)คือศรัทธา เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อต่อต้านมารและรี้พลของมาร วีรยพละ มีพละคือ วีรยะ(ความเพียร) เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อความไม่เปลี่ยนแปลงกลับกลาย สมฤติพละ มีพละคือสมฤติ  เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อความไม่ลบเลือนสูญหาย สมาธิพละ มีพละคือ สมาธิ  เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อละวิตกทั้งปวง ปรัชญาพละ มีพละคือ ปรัชญา  เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อความไม่หลงมงาย สมฤติสัมโพธยังคะ  เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อรู้ธรรมตามความจริง ธรรมประวิจยสัมโพธยังคะ เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อบำเพ็ญธรรมทั้งปวง วีรยสัมโพธยังคะ  เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อความรู้ละเอียดลึกซั้ง ปรีติสัมโพธยังคะ  เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อให้ได้สมาธิ หรือเพื่อปรับปรุงจิตให้เป็นสมาธิ ประศรัพธิสัมโพธยังคะ  เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อหน้าที่อันได้ทำไว้แล้ว สมาธิสัมโพธยังคะ  เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อรู้ระดับอันเสมอกัน(จิตไม่เปลี่ยนอารมณ์หรืออยู่ในอารมณ์เดียว) อุเบกษาสัมโพธยังคะ   เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายต่อการเกิดขึ้นทั้งปวง สัมยัคทฤษฏิ มีความเห็นชอบ เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อก้าวลงสู่นยายคือหลักตรรกวิทยาอันว่าด้วยความรู้ตามแนวเหตุผล สัมยักสังกัลปะ ดำริชอบ  เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อละความยึดมั่น ความคิดผิดพลาด ความตัดสินใจผิด สัมยักวาค วาจาชอบ เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อรู้มติ(ลักษณะ)แห่งตัวหนังสือ เสียงพูดภาษาความหมาย และเสียงกระแอมไอ ขากเสลดทั้งปวง สัมยักรรมมานตะ การงานชอบ เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อความไม่มีกรรมและไม่มีผลแห่งกรรม(คือเมื่อไม่ทำก็ไม่มีผล) สัมยักคาชีวะ อาชีพชอบ  เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อการแสวงหาทั้งปวง สัมยักวยายามะ ความพยายามชอบ เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อข้ามไปให้ถึงฝั่งโน้น สัมยักสมฤติ สมฤติชอบ  เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อไท้พิจารณาอะไรโดยไม่มีสติ สัมยักสมาธิ สมาธิชอบ เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อยึดหน่วงสมาธิด้วยจิตไม่กำเริบ โพธิจิต คือจิตรู้ เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อไม่ตัดวงศ์รัตนะทั้ง 3 (รัตนตรัย) อาศยะ คือความมีใจสุง เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อยึดหน่วงพระพุทธ พระธรรมอันใหญ่ยิ่งเป็นต้น ประโยคะ คือการปฏิบัติธรรม เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อบำเพ็ญกุศลธรรมทั้งปวง ทานปารมิตา คือทานบารมิตา (คุณเครื่องบำเพ็ญคือทาน)  เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อความบริศุทธ แก่งพระวรกายพระพุทธเจ้าอันประกอบด้วยลักษณะและอนุพยัญชนะ(อวัยวะส่วนย่อย)และเพื่อจุดจี้คนตระหนี่ ศีลปารมิตา คือศีลบารมิตา  เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อเว้นอบายทั้งปวงอันไม่มีกำหนดเวลา และจุดจี้คนทุศีลทั้งหลาย กษานติปารมิตา คือกษานติบารมี  เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อละพยาบาททั้งปวงและโทษะความโกรธ มานะความถือตัว มทะความเมา ทรรปะความกระด้างทั้งหมด และเพื่อจุดจี้คนมีใจพยาบาททั้งหลาย วิรยะปารมิตา คือวีรยะบารมิตา  เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อให้ข้ามพ้นจากความไม่ยินดีในธรรมที่เป็นกุศลมูล และเพื่อจุดจี้คนเกียจคร้าน ธยานปารมิตา คือธยานบารมิตา  เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อให้เกิดชญานและอภิชญา และเพื่อจุดจี้คนที่มีใจฟุ้งซ่าน ปรัชญาปารมิตา คือปรัชญาบารมิตา เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อละทิฐิ ที่ยึดเหนี่ยวความมืดมิด คืออวิทยาและโมหะ และเพื่อจุดจี้คนมีปรัชญาทราม อุปายเกาศละ คือความฉลาดในอุบาย เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อเห็นอิริยาบถของคนตามที่ได้หลุดพ้นแล้ว และเพื่อไม่กำจัดธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งปวง จัตวาริสังครหวัสตุ คือสังคหวัสดุ 4 (ทาน การให้ ปริยวัทยะ พูดเพาะ อรรถกริยา ประพฤติเป็นประโยชน์ สมานรรถตา เฉลี่ยประโยชน์ให้เท่ากัน) เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อช่วยเหลือคนทั้งหลาย และเพื่อพิจารณาถึงธรรมสมบัติ(การได้รับธรรม) ของผู้ที่บรรลุปรัชญาตรัสรู้ สัตวะปริปาก คือการอบรมบ่มคน เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อความสุขของตน และเพื่ออดกลั้นความทุกข์ สัทธรรมปริครหะ   คือการรับพระสัทธรรม  เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อละเกลศของคน ปุณยสัมภาร คือการเจริญบุณญ  เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อการดำรงชีพของคนทั้งปวง ชญานสัมภาร คือการเจริญชญาน(ความรู้)  เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อบำเพ็ญกำลังทั้ง 10 (ทศพลชญาน) ศมถสัมภาร คือการเจริญศมถะ  เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อยึดหน่วงสมาธิของพระตถาคต วิทรรศนาสัมภาร คือการเจริญวิทรรศนา เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อยึดหน่วงปรัชญาจักษุ ปรติสัมพิทวตาร คือการหยั่งลงสู่ปรัชญาที่รอบรู้  เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อยึดหน่วงธรรมจักษุ ปรติศรณาวตาร คือการหยั่งลงสู่ที่พึ่งโดยเฉพาะ  เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อความบริศุทธแห่งพุทธจักษุ ธารณีปรติลัมภ คือการยึดหน่วงมนตร์ธารณี  เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อความจดจำพุทธภาษิตทั้งปวง ประติภานปรติลัมภ คือการยึดหน่วงปฏิภาณ(เชาวน์)  เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อความยินดีในสุภาษิตของคนทั้งหลาย อานุโลมิกธรรมกษานติ คือความอดทนต่อธรรมโดยอนุโลม  เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อดำเนินตามธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งปวง อนุตปัตติกธรรมษานติ คือความอดทนต่อธรรมที่ยังไม่เกิด  เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อยึดหน่วงคำพยากรณ์ อไววรรติกภูมิ คือมีภูมิอันไม่เปลี่ยแปลง  เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อบำเพ็ญธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งปวง ภูเมรภูมิสังกรานติชญาน คือชญานผ่านภูมิไปตามลำดับชั้นอภิเษก  เป็นธรรมาโลกมุข เป็นไปเพื่อแสดงการลงมาเกิด การเสด็จออกบรรพชา การประพฤติทุษกรจรรยา การเสด็จเข้าไปสู๋โพธิมณฑล การผจญมาร การตรัสรู้ใต้ร่มโพธิ ดำเนินการธรรมจักร และมหาปรินิรวาณ ดูกรท่านผู้ควรนับถือทั้งหลาย ธรรมาโลกมุข 108 นี้ ซึ่งพระโพธิสัตว์จำเป็นต้องประกาศในเทวสภาในสมัยกาลจะจุติ

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่เท่านั้น นัยว่าเมื่อพระโพธิสัตว์แสดงธรรมาโลกมุขนี้อยู่เทพบุตรทั้งหลาย 84000 ในเทวสภานั้น ได้เกิดความสำนึกในความตรัสรู้ เทพบุตรอีก 32000 ผู้มีบุพกรรมได้ทำมาแล้ว ก็ได้ยึดหน่วงขมักเขม้นในธรรมที่ยังไม่เกิด เทวบุตรอีก 36 พันโกฏิเกิดธรรมจักษุอันบริศุทธปราศจากธุลีไม่มีมลทิน และสวรรค์ชั้นดุษิตทั้งหมดก็ปกคลุมด้วยดอกไม้ทิพย์ประมาณเพียงเข่า

      ดั่งนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ได้ตรัสคาถาเหล่านี้ในเวลานั้น เพื่อให้เทวสภาทั้งหลายชื่นชมยินดีมีประมาณมาก ดั่งต่อไปนี้

      1 ในกาลใด พระบุรุษสิงห์ผู้เป็นนายก (ผู้นำ)จุติจากที่ประทับสวรรค์ชั้นดุษิต ตรัสเรียกเทวดาทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายจงละความประมาทเสียให้หมด ฯ

      2 ท่านผู้มีศรีทั้งหลาย กระบวนการแห่งความยินดีอันเป็นทิพย์ใดๆ ที่ท่านทั้งหลายคิดไว้แล้วด้วยใจ ท่านผู้มีศรีทั้งหลาย จงฟังผลแห่งกรรมนี้ ซึ่งเป็นผลแห่งกรรมดีงามทั้งปวง ฯ

      3 เพราะฉะนั้น ท่านผู้มีความกตัญญู จงจัดสรรค์ซึ่งการสะสมความดีงามอันไม่เคยมีแก่ท่านทั้งหลายไว้ในที่นี้ จงอย่าไปอบายซึ่งไม่มี ความสุขสบายและไม่ดีอีกเลย ฯ

      4 และธรรมใดที่ท่านเกิดความเคารพ ฟังแล้วในสำนักของเราขอให้ท่านทั้งหลายจงปฏิบัติธรรมนั้น ก็จะถึงความสุขอันเที่ยงแท้หาที่สุดมิได้ ฯ

      5 สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง กามทั้งหลายไม่ยั่งยืน ไม่แน่นอน ไม่ควรใส่ใจ มันเป็นมายาเหมือนพยับแดด เปรียบเหมือนฟ้าแลบและต่อมน้ำเหลาะแหละเหลวไหล ฯ

      6 ความอิ่มด้วยความยินดีในกามคุณทั้งหลายย่อมไม่มี เหมือนดื่มน้ำเค็ม ปัญญาอันประเสริฐ อยู่เหนือโลก ปราศจากธุลีนั้นอิ่มได้ ฯ

      7 การฟ้อนรำขับลำทำเพลงซึ่งเหมือนลูกคลื่นก็ดี การอยู่ร่วมด้วยนางฟ้าทั้งหลายก็ดี การเสพเมถุน ซึ่งเหมืนความใคร่ในสิ่งซึ่งเป็นธรรมเนียมประเพณีก็ดี ไม่มีความอิ่ม ฯ

      8 สหายก็ดี มิตรก็ดี ญาติพี่น้องก็ดี บริวารก็ดี ที่ได้ทำดีต่อกันไว้ก็ตามไป ไม่ได้ เว้นไว้แต่กรรม จะติดตามไปเบื้องหลังเพราะทำไว้ดีแล้ว ฯ

      9 เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงประกอบด้วยความสามัคคี มีจิตเมตตาซึ่งกันและกัน มีจิตเป็นประโยชน์ซึ่งกันและกัน ประพฤติสิ่งที่เป็นธรรมประพฤติสุจริต จะได้ไม่เดือดร้อน ฯ

      10 จงระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และไม่ประมาทพึงยินดีในการศึกษาสดับตรับฟังในศีลในทาน ประกอบกับความสุภาพ เรียบร้อยด้วยขันดี ฯ

      11 จงพิจารณาธรรมเหล่านี้ คือทุขะ อนิตยะ อนาตมา ด้วยปัญญาอันละเอียดลึกซึ้ง ธรรมเหล่านี้ประกอบด้วยเหตุและปัจจัย ไม่มีเจ้าของเป็นไปโดยความโง่เขลาเบาปัญญา ฯ

      12 ท่านทั้งหลาย จงดูฤทธิ ความไหวพริบ และคุณคือชญานของข้าพเจ้าอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นไปเพราะเหตุแห่งกรรมดีงามทั้งปวง เพราะศีล เพราะศรุตะ คือการเล่าเรียนและการสดับฟังทั้งปวง และเพราะอัปรมาทะ คือความไม่ประมาท ฯ

      13 ท่านทั้งหลาย จงศึกษาตามข้าพเจ้าด้วยศีล ศรุตะ อัปรมาทะ ให้ทาน ทมะ คือการฝึกตน และสังยมะ(สังยมะ คือการบังคับกิริยาต่างๆที่อาศัยอิริยาบถเป็นเครื่องนำ คือไม่ใช้อิริยาบถไปในการเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ใช้อริยาบถในการพูดเท็จ ลักทรัพย์ เสพกาม และรับสิ่งของเกินความจำเป็น) ธรรมเหล่านี้ เป็นประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นประโยชน์แก่สิ่งที่มีประโยชน์และเป็นประโยชน์แก่มิตร ฯ

      14 เสียงพูดเสียงร้องไม่สามารถจะให้เกิดกุศลธรรมได้ ท่านทั้งหลายจงเริ่มปฏิบัติ พูดอย่างไร จงทำอย่างนั้น ฯ

      15 มันไม่ใช่โอกาสของผู้อื่น แต่มันเป็นโอกาสของตนเอง ท่านทั้งหลายจงพยายามด้วยความขมักเขม้นด้วยตนเองทุกเมื่อเถิด ไม่ใช่ว่าใครทำให้แก่กันได้และเมื่อไม่ทำ ก็ไม่สำเร็จ ฯ

      16 จงระลึกเนืองๆ ถึงทุกข์ในโลกที่ได้รับมาแล้วเป็นเวลานานผู้หยุดแล้ว (ไม่มีตัณหา)และผู้ไม่มีราคะ จะบรรลุได้โดยลำดับ ความผิดจะนำเขาไปไม่ได้ ฯ

      17 เพราะฉะนั้น ท่านได้ขณะอันดี ได้กัลยาณมิตร ได้อยู่ในประเทศอันสมควร ได้ฟังธรรมอันดีแล้ว ก็จงระงับดับเกลศทั้งหลายมีราคะ เป็นต้น ฯ

      18 ท่านทั้งหลาย จงปราศจากมานะ คือความถือตัว มทะ คือความมัวเมา ทรรปะคือความกระด้าง จงเป็นคนดี ซื่อตรง อ่อนโยน ไม่จองหอง มุ่งหน้าแต่จะไปนิพพาน จงประพฤติธรรมเพื่อตรัสรู้มรรค เถิด ฯ

      19 จงกำจัดซึ่งความมืดอันมัวหมอง คือโมหะ เสียให้หมดสิ้นด้วยประทีป คือปัญญา ละจงทำลายซึ่งข่ายคือโทษะพร้อมทั้งความอาฆาตด้วยวัชราวุธ (พระแสงเพชร)ชือชญาน ฯ

      20 ประโยชน์อะไรที่ข้าพเจ้าจะพูดธรรมอันประกอบด้วยประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้มากไป ท่านทั้งหลายไม่ตั้งอยู่ในที่นั่น การละเมิดธรรมไม่มีในที่นั้น ฯ

      21 ข้าพเจ้าพึงถึงความตรัสรู้อย่างไร ก็จะโปรยธรรมอันไปถึงอมตะ ท่านจงมีจิตบริศุทธเข้ามาเพื่อฟังธรรมอันประเสริฐอีกเถิด ดั่งนี้แล ฯ

อัธยายที่ 4 ชื่อธรรมาโลกมุขปริวรรต ในคัมภีร์ลลิตวิสตร ดั่งนี้แล ฯ

 

05 การจุติ

 

 

อัธยายที่ 05

 

ปฺรจลปริวรฺตะ ปญฺจมะ

 

ชื่อปรจลปริวรรต (ว่าด้วยการจุติ)

 

      กระนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ได้ชี้แจงด้วยธรรมกถานี้ยังที่ประชุมแห่งเทวดาหมู่ใหญ่นั้น ให้เต็มใจรับ ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ให้อดทน แล้วตรัสเรียกที่ประชุมแห่งเทวดาอันควรแก่ความเป็นมงคล ว่า ดูกรท่านผู้ความเคารพ ข้าพเจ้าจะไปสู่ชมพูทวีปละนะ ข้าพเจ้าประพฤติจรรยาของพระโพธิสัตว์องค์ก่อนๆได้เชื้อเชิญสัตว์ทั้งหลายด้วยสังคหะวัตถุ 4 ประการ คือทาน การให้ ปริยะวัทยะ พูดเพราะ อรรถกริยา ทำสิ่งที่มีประโยชน์ สมานอรรถตา มีประโยชน์เสมอกัน ดูกรท่านผู้ควรเคารพทั้งหลาย ความอกตัญญูก็ดี ข้าพเจ้าไม่ตรัสรู้สัมยักสัมโพธิก็ดี นั้นเป็นการไม่สมควรแก่ข้าพเจ้า

 

      ครั้งนั้น เทวะบุตรทั้งหลายที่อยู่ในชั้นดุษิต ต่างก็ร้องไห้กอดบาทพระโพธิสัตว์ไว้แล้วพูดว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นสัตบุรุษ(คนดี) ภพดุษิตนี้แหละ สิ้นท่านเสียแล้ว จะไม่รุ่งเรือง ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ตรัสแก่ที่ประชุมเทวดาหมู่ใหญ่นั้นว่า พระไมเตรยะโพธิสัตว์ (พระศรีอารยเมตไตรย) องค์นี้จะแสดงธรรมแก่ท่านทั้งหลาย ครั้นแล้วพระโพธิสัตว์ก็เปลื้องผ้าโพกพระเศียรจากพระเศียรของพระองค์วางไว้บนพระเศียรของพระไมเตรยะโพธิสัตว์แล้วตรัสอย่างนี้ว่า ดูกรสัตบุรุษ ต่อจากลำดับข้าพเจ้า ท่านจะตรัสรู้อนุตตรสัมยักสัมโพธิ

 

      ครั้นนั้น พระโพธิสัตว์ให้พระไมเตรยะโพธิสัตว์ประทับในภพดุษิต ตรัสเรียกเทพชุมนุมหมู่ใหญ่นั้นอีกว่า ดูกรท่านผู้ควรเคารพทั้งหลาย ข้าพเจ้าจะลงสู่ครรภ์พระมารดาโดยรูปอย่างไร ในที่ชุมนุมนั้น เทวดาบางพวก ก็ทูลว่า ดูกรท่านผู้ควรเคารพพระองค์เสด็จลงสู่ครรภ์พระมารดาโดยรูปเด็กชาย บ้างก็ว่าโดยรูปอินทร์ บ้างก็ว่าโดยรูปพรหม บ้างก็ว่าโดยรูปมหาราชิกะ บ้างก็ว่าโดยรูปไวศรวณะ บ้างก็ว่าโดยรูปคนธรรพ์  บ้างก็ว่าโดยรูปกินนร บ้างก็ว่าโดยรูปงูใหญ่ บ้างก็ว่าโดยรูปครุฑ ในที่นั้น มีเทวะบุตรผู้หนึ่งเป็นจำพวกรูปพรหม ชื่อ อุครเตชะ ชาติก่อนเป็นฤษีจุติมา เป็นผู้ไม่เปลี่ยนแปลงต่ออนุตตรสัมยักสัมโพธิ ท่านทูลดั่งนี้ว่า รูปที่มาในมนตร์ เทท ศาสตร์ ปาฐะ(บทเรียน)ของพราหมณ์เป็นอย่างไร พระโพธิสัตว์จะลงสู่ครรภ์พระมารดาก็ควรจะเป็นโดยรูปอย่างนั้น แต่รูปอย่างนั้นเป็นเช่นไร? รูปอย่างนั้นเป็นช้างประเสริฐขนาดใหญ่ มี 6 งางามเหมือนตาข่ายทอง ศีรษะย้อมดีแล้ว มีรูปชัดเจนหยดย้อย พระโพธิสัตว์เป็นผู้รู้ชัดในเวทและศาสตร์ของพราหมณ์ ได้พังคำนั้นแล้วก็ยอม และจะต้องเพิ่มลักษณะจากข้อนี้ด้วย เป็นว่าต้องประกอบด้วยลักษณะ 32 ประการ

 

      กระนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ประทับอยู่ในสวรรค์ชั้นดุษิตได้พิจารณาดูการที่จะไปบังเกิด จึงเห็นบุพนิมิต 8 อย่าง ในพระราชวังของพระราชาศุทโธทนะดั่งต่อไปนี้ บุพนิมิต 8 อย่างนั้น เป็นอย่างไร นั่นคือ สถานที่นั้นปราศจากหญ้า ตอ หนาม กรวด โคลน เป็นสถานที่สะอาด รดน้ำไว้ดีเล้ว แผ้วกวาดแล้วเป็นอย่างดี ไม่สกปรก ไม่มีผง ฝุ่น ปราศจากเหลือบยุง แมลงวัน บุ้ง งู โรยดอกไม้ เป็นพื้นที่เรียบเหมือนฝ่ามือ พระราชวังตั้งอยู่ในที่นั้น นี่เป็นบุพนิมิตปรากฏข้อแรก

 

      หมู่นกทั้งหลายที่อยู่ในขุนเขาหิมพานต์ เป็นต้นว่า นกพิลาป นกแขกเต้า นกขุนทอง นกดุเหว่า หงส์ นกกระเรียน นกยูง นกจากพราก นกกุณาล(นกดุเหว่าลาย นกการเวก นกชีวันชีวกะ(นกกระทาดง) ซึ่งมีปีกลายงาม ร้องเพราะจับใจมาก จับอยู่ที่ตำหนักเรือนยอด และปราสาทอันมีบัลลังก์ ประตู ซุ้มประตู หน้าต่าง ในพระราชวังของพระราชาศุทโธทนะต่างมีความร่าเริง เกิดปิติโสมนัส เปล่งเสียงตามชนิดของตนๆนี่เป็นบุพนิมิตปรากฏข้อ 2

 

      ไม้ดอกไม้ผลต่างๆมีในฤดูต่างๆในสวนสำราญอันน่ารื่นรมย์ ในป่าอันน่ารื่นรมย์ ในอุทยานอันน่ารื่นรมย์ ไม้ทั้งหมดเหล่านั้น  มีทั้งดอกบาน ดอกตูม นี่เป็นบุพนิมิตปรากฏข้อ 3

 

      สระใหญ่ มีน้ำไว้บริโภค ของพระราชาศุทโธทนะ สระทั้งปวงนั้น ดาษดาไปด้วยบัวหลวง มีใบตั้งหมื่นแสนโกฏิเป็นเอนก แต่ละใบโตเท่าล้อเกวียน นี่เป็นบุพนิมิตปรากฏข้อ 4

 

      น้ำมันเนย น้ำมันงา น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำตาลกรวดทั้งหลายที่อยู่ในภาชนะ ในพระราชวังของพระราชาศุทโธทนะ บริโภคเท่าไรก็ไม่หมด ปรากฏว่าเต็มอยู่ตามเดิมนี่เป็นบุพนิมิตปรากฏข้อ 5

 

      เครื่องดุริยภัณฑ์ทั้งหลายภายในพระราชวังองค์ใหญ่ ที่เป็นประธานของพระตำหนักทั้งหลายของพระราชาศุทโธนทะ เป็นต้นว่า กล่องใหญ่ กลองเล็ก บัณเฑาะว์ ขลุ่ย พิณใหญ่ ปี่ พิณเล็ก ได้รับการบรรเลงพร้อมเพียงกัน เครื่องทั้งหมดนั้นไม่มีใครกระทบ แต่เปล่งเสียเพราะจับใจออกมาเอง นี่เป็นบุพนิมิตปรากฏข้อ 6

 

      ภาชนะแห่งรัตนะทั้งหลาย เป็นต้นว่า ทองคำ เงินตรา แก้วมณี แก้วมุกดา ไพฑูรย์ ศังขศิลา(ไขมุก) แก้วประพาฬทั้งหมดเหล่านั้น เปิดออกเต็มที่ ก็ยังแจ่มใสบริศุทธบริบูรณ์ สุกปลั่ง นี่เป็นบุพนิมิตปรากฏข้อ 7

 

      พระราชวัง สว่างรอบด้าน ด้วยแสงสว่างแจ่มใสบริศุทธ ทำให้ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ทรามลง ทำให้กายใจเกิดสั่นสะท้าน นี่เป็นบุพนิมิตข้อ 8

 

      ส่วนพระนางมายา มีพระวรกายสรงสนานทาแป้งหมดจดแล้ว พระพาหาตกแต่งงามด้วยเครื่องอาภรณ์ต่างๆทรงพระภูษาเนื้อนิ่มงาม ได้ปีติปราโมทย์และความเลื่อมใสพร้อมด้วยสตรีประมาณหมื่น แวดล้อมด้วยสตรีจำนวนนั้นนำหน้าเข้าไปสู่สำนักพระราชาศุทโธนทะผู้ประทับอย่างเป็นสุขในปราสาทอันมีการขับร้องฟ้อนรำ ประทับนั่งบนอาสนอันดียิ่ง ประดับด้วยข่ายแก้ว ณ เบื้องขวา มีพระพักตร์อันยิ้ม ไม่หน้านิ่วคิ้วขมวด มีพระพักตร์เบิกบาน ได้ทูลพระราชาศุทโธนทะ ด้วยคำประพันธ์ดังต่อไปนี้

 

      1 ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ผู้ปกครองแผ่นดิน ขอพระราชทานโอกาสได้โปรดฟังหม่อมฉัน  หม่อมฉันทูลขอพระองค์ ขอพระนฤบดีได้โปรดประทานพร โปรดตั้งพระทัย อย่างที่จะให้หม่อมฉันมีความรื่นเริงใจ พระองค์ทรงฟังคำของหม่อมฉันแล้วจงมีพระทัยเอิบอิ่มเฟื่องฟู ฯ

 

      2 ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ หม่อมฉันมีจิตเมตตาในโลก จะขอรับปฏิบัติพรตและศีลอันประเสริฐ ขอรักษาอุโบสถมีองค์ 8 เว้นการเบียดเบียนสัตว์มีชีวิตทั้งหลาย จะมีภาวะบริศุทธอยู่ทุกเมื่อ หม่อมฉันจะรักสัตว์อื่นเหมือนรักตน ฯ

 

      3 ข้าแต่พระนฤบดี หม่อมฉันมีใจเว้นจากการเป็นโจร เสื่อมคลายจากความเมาและความโลภ ไม่ประพฤติผิดในกามทั้งหมด ตั้งอยู่ในความสัตย์ ไม่พูดส่อเสียด ละเว้นพูดพล่อยๆอันไม่ดีงาม ฯ

 

      4 ละพยาบาท โทษะ โมหะ และความเมาทั้งสิ้น ความโลภมุ่งแต่จะได้ทั้งหลายทั้งปวงก็ปราศจากแล้ว มีความพอใจอยู่แต่ในทรัพย์ของตนหม่อมฉันประพฤติแต่สิ่งที่ชอบ ไม่อยู่โดยการหลอกลวง ไม่มีความริษยา ประพฤติแต่กุศลกรรมบถ 10 ประการ ฯ

 

      5 ข้าแต่พระนรินทร์ ขอพระองค์ได้โปรด อย่าได้มีความปรารถนากามคุณในหม่อมฉันเลย เพื่อที่หม่อมฉันจะได้มีความยินดีในศีล และในการประพฤติพรต และเพื่อที่หม่อมฉันจะได้ระวังรักษาเป็นอย่างดี ข้าแต่พระนฤบดี ขอพระองค์อย่าได้เป็นผู้ไม่มีบุณยเลย เพื่อที่จะได้ทรงยินดีตามที่หม่อมฉันรักษาศีล บำเพ็ญพรต รักษาอุโบสถ ตลอดกาลนาน ฯ

 

      6 ข้าแต่พระนฤบดี นี่เป็นความพอใจของหม่อมฉัน ขอพระองค์จงรีบเสด็จเข้าไปประทับอยู่บนปราสาทชั้นยอดสุด พระตำหนักที่มีรูปหงส์ ในวันนี้หม่อมฉันจะมีพระสหายเป็นบริวารบันเทิงอยู่ด้วยความสุขทุกเมื่อ ในพระแท่นบรรทมอันอ่อนนุ่ม ที่เกลื่อนกลาดไปด้วยดอกไม้มีกลิ่นหอม ฯ

 

      7 ไม่มีกรมวัง ไม่มีเด็กชาย ไม่มีสตรีสามัญ อยู่ต่อหน้าหม่อมฉัน ไม่มีรูปที่ไม่ถูกใจหม่อมฉัน ไม่มีเสียงและกลิ่นที่ไม่ถูกใจ นอกจากจะได้ยินเสียงอันไพเราะเป็นเสียงอ่อนหวานน่ารัก ฯ

 

      8คนเหล่าใดต้องโทษกักขังและถูกจองจำ ขอพระองค์ได้โปรดปล่อยคนเหล่านั้นเสียให้หมด ประทานเงินทองเครื่องแต่งตัวทำให้เขาเป็นคนมีทรัพย์ และทรงประทานเสื้อผ้า ข้าว น้ำ รถใช้สอย ม้า และยวดยานพาหนะ ตลอด 7 คืนนี้ เพื่อความสุขแก่โลก ฯ

 

      9 ขอไม่ให้ มีการทะเลาะวิวาท และไม่พูดจารุนแรงด้วยความโกรธ ขอให้มีจิตเมตตารักใคร่ซึ่งกันและกัน มีจิตสุภาพเรียบร้อยติดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กันและกัน ในเมืองนี้ ขอให้มีแต่ชายและเด็กชายน่ารัก และเทวดาทั้งหลาย จงถึงความปีติยินดีรื่นเริงเป็นไปด้วยประโยชน์ ฯ

 

      10 ขอไม่ให้มีข้าราชการต้องราชอาญา และไม่ได้รับอาชญาชั่วร้าย ไม่มีการเบียดเบียน และไม่ขู่ตวาดเฆี่ยนตีกัน ขอพระองค์ได้โปรดมีพระทัยผ่องใส มีพระทัยเกื้อกูลและเมตตา ได้โปรดทอดพระเนตรประชุมชนทั้งหมดเหมือนพระโอรสเอก ฯ

 

      11 ฝ่ายพระราชา (ศุทโธทนะ)ทรงสดับคำอันสูงอย่างยิ่งแล้วตรัสว่า ทั้งหมดนี้ จงเป็นไปตามความปรารถนาของเธอ เธอได้ปรารถนาสิ่งต่างๆ ที่คิดไว้ดีแล้วด้วยใจ ถ้าเธอขอร้อง ฉันก็จะให้สิ่งที่เธอเลือกนั้นแก่เธอ ฯ

 

      12 พระเจ้าแผ่นดินองค์ประเสริฐ ทรงบังคับราชบริพารของพระองค์ให้ทำความเจริญในปราสาทชั้นสุดยอดอันประเสริฐ ให้ดาษดาไปด้วยดอกไม้ให้งาม ให้มีกลิ่นธูป และของหอมอันประเสริฐ ประดับด้วยฉัตร ธงปตาก และรเบียบต้นตาล เป็นแถวเป็นแนว ฯ

 

      13 นักรบประมาณสองหมื่น สวนเสื้อเกราะวิจิตรงดงาม ถือลูกศรเหล็ก หลาวศร หอก และมีดดาบ แวดล้อมพระองค์ผู้ทรงราชย์ มีเสียงดนตรีเพราะจับใจ ตั้งอยู่ในความกรุณา ป้องกันรักษาพระเทวีเพื่อไม่ให้หวาดกลัว ฯ

 

      14 ส่วนพระนางเทวี มีสตรีทั้งหลายแวดล้อมเหมือนเทพกันยา(นางฟ้า) มีพระวรกายสรงสนานทาแป้งทรงพระภูษาอันประเสริฐแล้ว ก็เสด็จขึ้นไปประทับเหมือนสะไภ้พระพาย  โดยมีเครื่องดนตรีอันบรรเลงทั้งพันคนมีเสียงเพราะจับใจ ฯ

 

      15 ประทับนั่ง ณ พระแท่นบรรทมอันพึงใจ มีขาทำด้วยแก้วอย่างดีงามวิจิตรบรรจงมีค่ามาก ดังว่าของทิพย์ โรยไว้ด้วยดอกไม้ต่างๆ ทรงสยายพระเกศา ซึ่งปักปิ่นแก้ว ประทับอยู่ที่พระแท่นบรรทม เหมือนนางเทพกันยา อยู่ในสวนมิสกวัน (ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์) ฯ

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล องค์มหาราชทั้ง 4 องค์สักกะจอมเทวดา เทวะบุตรในสวรรค์ชั้นสุยาม เทวะบุตรชั้นดุษิต เทวะบุตร ชั้นสุนิรมิต  เทวะบุตรชั้นประนิรมิตวศวรรดี เทพสารถวาหะ เทพมารปุตรพรหม เทพสหัมบดีพรหมผู้สูงส่ง เทพสุพรหมปุโรหิต เทพประภาวยูหะพรหม  เทพอาภัสระพรหม เทพมเหศวร เทพอยู่ในชั้นศุทธาวาส เทพอยู่ในชั้นนิษฐ์ และเทพอยู่ในชั้นอกนิษฐ์เหล่านี้และเทพอื่นๆ จำนวนแสนได้ประชุมกันแล้ว กล่าวแก่กันและกันว่า ดูกรท่านผู้ควรเคารพทั้งหลาย มันเป็นการไม่สมควร เราจะพึงเป็นผู้อกตัญญู ซึ่งเราทั้งหลายละทิ้งพระโพธิสัตว์ให้ไปผู้เดียวไม่มีเพื่อน ดูกรท่านผู้ควรเคารพทั้งหลาย บรรดาพวกเรา ใครสามารถติดตามร่วมกันเป็นนิตย์กับพระโพธิสัตว์ตั้งแต่ลงสู่ครรภ์ อยู่ในครรภ์ ประสูติ อยู่ในภูมิเยาว์วัย (เป็นเด็กอ่อน) เล่นหัวกันตอนเป็นเด็ก ดูการฟ้อนรำในพระราชวัง ออกอภิเนษกรมณ์(ออกบวช) ขำเพ็ญทุษกรจรรยาย่างเข้าสู่โพธิมณฑล ผจญมาร ตรัสรู้โพธิญาณ แสดงธรรมจักร จนกระทั่งมหาปรินิรวาณด้วยจิตคิดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ด้วยจิตสนิทสนม ด้วยจิตรักด้วยจิตไม่ตรี ด้วยจิตสุภาพเรียบร้อย แล้วกล่าวคาถานี้ขึ้นมาในเวลานั้นว่า

 

      16 ใครเล่ามีใจยินดีเป็นนิตย์ สามารถติดตามพระโพธิสัตว์ ผู้มีรูปร่างประเสริฐ ใครมีเดชแห่งบุณย ด้วยยศ ด้วยวาจา ปรารภเพื่อติดตามพระโพธิสัตว์ด้วยตนเอง ฯ

 

      17 ผู้ใด ปรารถนาเพื่อจะรื่นรมย์อยู่เป็นนิตย์ในเทพบุรีของเทวดาด้วยทิพยสุข ด้วยนางอัปสรอันดียิ่ง ด้วยกามคุณ จงติดตามพระโพธิสัตว์ผู้มีพระพักตร์เหมือนดวงจันทร์ปราศจากมลทิน ฯ

 

      18 และผู้ใด ปรารถนาเพื่อจะรื่นรมย์ในป่ามิสกวันอันงาม ในเทพบุรีเป็นแหล่งกำเนิดทิพย์ มีกองดอกไม้เหมือนผงทองคำ จงติดตาม พระโพธิสัตว์ผู้ทรงเดชอันปราศจากมลทิน ฯ 

 

      19 ผู้ใด ปรารถนาเพื่อจะรื่นรมย์ในรถอันวิจิตร หรือในสวนนันทวัน สะพรั่งไปด้วยดอก และใบมณฑารพ พรักพร้อมไปด้วยเทพกันยา จงติดตามพระมหาบุรุษ ฯ

 

      20 ผู้ใด ปรารถนาจะเป็นใหญ่ หรือเป็นอิสระในสวรรค์ชั้นยามาหรือชั้นดุษิต หรือเพื่อให้มีผู้นับถือในโลกทั้งปวง ก็จงติดตาม พระโพธิสัตว์ผู้มียศหาที่สุดมิได้นี้ ฯ

 

      21 ผู้ใด ปรารถนาเพื่อจะรื่นรมย์ในสวรรค์ชั้นนิรมิตหรือในชั้นปรนิรมิตวศวรรดี อันงามด้วยอาการบริโภคกามคุณทั้งปวงด้วยใจ ก็จงติดตามพระโพธิสัตว์ ผู้ทรงคุณอันเลิศนี้ ฯ

 

      22 ผู้จะเป็นใหญ่ในโลกมาร แต่ไม่ใจร้าย ถึงฝั่งแห่งความเป็นใหญ่ด้วยวิธีการทั้งปวง เป็นเจ้าแห่งกามภพ ถึงฝั่งแห่งความเป็นผู้มีอำนาจจงไปกับพระโพธิสัตว์ผู้กระทำประโยชน์ ฯ

 

      23 อนึ่ง ผู้มีมติ(แนวความคิด)เพื่อจะระงับกามธาตุไปอยู่ในสวรรค์ชั้นพรหม ทรงไว้ซึ่งอำนาจแห่งแสงสว่างมีประมาณ 4 อย่าง (คือ ประกอบด้วยธยาน 4) จงติดตามพระโพธิสัตว์ผู้เป็นมหาบุรุษไปในวันนี้ ฯ

 

      24 และผู้ใด มีความคิดที่จะอยู่ในมนุษย์ ปรารถนาในวิษัยพระราชาจักรพรรดิ อันประเสริฐไพบูลย์ จงติดตามพระโพธิสัตว์ผู้ทรงไว้ซึ่งบุณยอันกว้างขวยาง เป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะ ไม่มีภัย ให้ซึ่งความสุข ฯ

 

      25 อนึ่ง ผู้ใดจะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน เป็นลูกเศรษฐีมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีกองทรัพย์ใหญ่โต มีบริวารมาก ทำลายหมู่ศัตรูได้ ผู้นั้นจงไปกับพระโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นผู้กระทำประโยชน์ ฯ

 

      26 ผู้ใคร่จะมีรูปงาม มีโภคสมบัติ และมีความเป็นอิสระ มีชื่อเสียง มียศ มีกำลังมาก มีคุณความดี พูดจามีคนนับถือ มีความเจริญ มีเสียงคนรับฟัง จงไปตามพระโพธิสัตว์ ผู้เป็นใหญ่กว่าพรหม ผู้มีปัญญาฯ

 

      27 ผู้ใด ปรารถนากามทิพย์ และผู้ใดปรารถนากามของมนุษย์ปรารถนาความสุขทั้งปวงในภพทั้ง 3 ปรารถนาความสูขในธยาน และความสุขในวิเวก ผู้นั้นจงติดตามพระโพธิสัตว์ผู้เป็นใหญ่ในธรรม ฯ

 

      28 และผู้ใด ปรารถนาจะละราคะ โทษะ และปรารถนาจะละเกลศ มีใจระงับ สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน ผู้นั้น จงไปตามพระโพธิสัตว์ ผู้ทรงปราบปรามจิตได้ แล้วโดยเร็ว ฯ

 

      29 ผู้ปรารถนาเพื่อจะเป็น ไศกษะ อไศกษะ และพระปรัตเยกโพธิ และสรวัชญชญาน  บรรลือด้วยทศพลชญาน (ชญาน 10) ดังราชสีห์ จงไปตามพระโพธิสัตว์ ผู้มีพระคุณเหมือนทะเล เป็นผู้รู้ ฯ

 

      30 ผู้คิดจะปิดทางอบาย เปิดทางทั้ง 6 (ปรามิตา6) และถึงอมฤตะ(นิรวาณ) ด้วยการเดินไปในทางทั้ง 8(มรรค8) จงติดตามพระโพธิสัตว์ผู้กระทำที่สุดแห่งทางเดิน ฯ

 

      31 ผู้ใด ปรารถนาเพื่อจะบูช่าพระสุคต และพระธรรม ปรารถนาเพื่อถึงซึ่งหมู่แห่งคุณทั้งหลาย ในการเล่าเรียนสดับตรับฟัง และความกรุณาในพระสุคต และพระธรรมเหล่านั้น ผู้นั้น จงไปตามพระโพธิสัตว์นี้ ผู้มีพระคุณดังว่าทะเล ฯ

 

      32 ผู้ใด ปรารถนาเพื่อจะปลดเครื่องผูกพันเพื่อสิ้นทุกข์คือชาติ ชรา มรณะ และผู้ใดปรารถนาเพื่อจะประพฤติให้ถึงที่สุดทางดำเนินอันบริศุทธ ผู้นั้น จงติดตามพระโพธิสัตว์ผู้เป็นสัตว์บริศุทธ ฯ

 

      33 ผู้ใด ปรารถนาจะเป็นที่ชอบใจ เป็นที่อิ่มใจ เป็นทีรักในโลกทั่วไป เป็นผู้มีลักษณะดี เป็นผู้สะสมคุณอันประเสริฐ และเพื่อจะปลดเปลื้องตนและผู้อื่น ผู้นั้นจงไปติดตามพระโพธิสัตว์ผู้น่ารัก และเป็นผู้รู้ ฯ

 

      34 ผู้ใด ปรารถนา ศีล สมาธิ ปัญญา อันลึกซึ้ง เห็นยาก เข้าถึงยาก ปรารถนาจะเป็นผู้รู้ และเพื่อได้วิมุกติ ผู้นั้นจงไปตามพระโพธิสัตว์ผู้เป็นนายแพทย์โดยเร็ว ฯ

 

      35 ผู้ใด ปรารถนาคุณธรรมอย่างนี้ และอย่างอื่นอีกหลายอย่างเพื่อเข้าถึงความสุข และความหยุด(นิรวาณ) เพื่อความสำเร็จผลในการบำเพ็ญภูมิธรรมทั้งปวง ผู้นั้น จงตามพระโพธิสัตว์ผู้มีสิทธิ (ความสำเร็จผล)และพรต (การปฏิบัติ)ซึ่งเป็นผู้รู้ฯ

 

      นัยว่า เทพยดาทั้งหลายได้ฟังคำนี้แล้ว คือ เทพยดาชั้นจาตุรมหาราช 8 หมื่น 4พัน ชั้นดาวดึงส์แสนหนึ่ง ชั้นยามาแสนหนึ่ง ชั้นดุษิตแสนหนึ่ง ชั้นนิรมาณรตีแสนหนึ่ง ชั้นปรนิรมิตวศวรรดีแสนหนึ่ง ชั้นมารที่ทำบุญแก้ตัวในชาติก่อน หกหมื่น ชั้นพรหม 6หมือน8พัน จนกระทั่งถึงเทพยดาในชั้นอกนิษฐ์อีกหลายแสน จึงได้ประชุมกันขึ้น และเทพยดาอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก มากจาทิศบูรพา ทักษิณ ประจิม อุดร หลายแสน ก็ได้ประชุมกัน เทวะบุตรซึ่งเป็นใหญ่กว่าเทพยดาเหล่านั้น ก็ได้กล่าวกับเทพบริษัทใหญ่นั้น เป็นคำประพันธ์ว่า

 

      36 ข้าแต่ท่านผู้เป็นเทวดาใหญ่ทั้งหลาย ขอเชิญท่านทั้งหลายจงฟังคำนะ ความรู้ในเรื่องกรรมในโลกนี้เป็นความจริงอันถ่องแท้อย่างไรล่ะ เราทั้งหลายจะติดตามพระโพธิสัตว์ ผู้ละกามได้แล้ว ไม่มีความยินดี มีความสุขในธยานอย่างเด่นชัด ผู้เป็นสัตว์บริศุทธที่สุดนี้ ฯ

 

      37 เราทั้งหลาย จะบูชาพระโพธิสัตว์ผู้ย่างพระบาทก้าวลงประทับในพระครรภ์ ผู้มีพระหทัยสูง ผู้สมควรได้รับการบูชา ผู้ใหญ่ยิ่ง ผู้เป็นพระฤษี(ผู้แสวงหาคุณธรรม) ผู้อันบุณยทั้งหลายรักษาดีแล้ว มีผู้อื่นรักษาแล้ว ผู้ซึ่งได้อวตาร(ได้จุติลงมาเกิด) ไม่มีใจประทุษร้าย ฯ

 

      38 เมื่อพระโพธิสัตว์ผู้มีพระคุณดังทะเล ตรัสพรรณนาคุณทั้งหลายด้วยพระวาจาดังเครื่องสังคึตดนตรีอันบรรเลงแล้วเป็นอย่างดี เราทั้งหลายจะได้ประพฤติตามพระวาจา ซึ่งทำให้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายยินดีทั่วกัน และซึ่งจะทำให้คนฟังเกิดมีใจน้อมไปในโพธิอันประเสริฐ ฯ

 

      39 เราทั้งหลาย จะทำเรือนให้แก่พระเจ้าแผ่นดิน โปรยปรายดอกไม้ไว้ อบควันไม้กฤษณาให้มีกลิ่นหอม ซึ่งเทวดาหรือมนุษย์ดมแล้วจะมีใจปลอดโปร่ง หายไข้ เป็นสุข ไม่มีโรค ฯ

 

      40 ข้าแต่ท่านผู้เป็นดวงจันทร์งามกว่าดวงจันทร์ทั้งหลาย เรามาช่วยกันทำเมืองกบิลพัสตุ์นั้น ให้เกลื่อนกลาดไปด้วยดอกไม้งามสะพรั่งอยู่ในภาชนะ คือดอกมณฑารพ ดอกปาริชาต เพื่อบูชาพระโพธิสัตว์ผู้เฟื่องฟูด้วยกุศลกรรมในชาติก่อนๆ

 

      41 ตราบใด พระโพธิสัตว์อยู่ในพระครรภ์ ไม่เปื้อนเปรอะด้วยมลทินทั้ง 3 ตราบใดพระโพธิสัตว์ผู้ทำให้ชรา มรณะหมดสิ้นไป ประสูติแล้ว ตราบนั้น เราทั้งหลายจะมีใจผ่องใส จะได้ติดตามพระองค์ไป นี่เป็นความรู้ เราทั้งหลายจะทำการบูชาพระองค์ผู้ทรงไว้ซึ่งความรู้ ฯ

 

      42 ลาภไพบูลย์ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายก็ได้แล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจะเห็นพระองค์ย่างไปด้วยพระชานุ(เข่า) นี้ 7 ย่าง ข้าพเจ้าจำต้องเอาน้ำหอมสรงพระโพธิสัตว์ผู้เป็นสัตว์บริศุทธยิ่ง ซึ่งองค์อินทร์และมือพรหมประคองอยู่ ฯ

 

      43 ตราบใด พระโพธิสัตว์ยังท่องเที่ยวอยู่ในโลก ประทับอยู่ในหมู่นางกำนัล ถูกกามเกลศทำร้าย ตราบนั้น พระโพธิสัตว์ละราชสมบัติทั้งหมดเสด็จออกบรรพชาตราบนั้น เราทั้งหลายจะมีใจผ่องใส จะได้ติดตามพระองค์ไป ฯ

 

      44 ตราบใด พระโพธิสัตว์ถือหญ้าเข้าไปยังลานแผ่นดิน และตราบใด พระโพธิสัตว์สัมผัสโพธิ(ตรัสรู้) กำจัดมารได้แล้ว พรหมจำนวนหมื่น อาราธนาให้แสดงธรรมจักร ตราบนั้น เราทั้งหลายจะทำการบูชาอย่างกว้างขวางแก่พระสุคต ฯ

 

      45 ตราบใด พระโพธิสัตว์เสด็จไปทรงกระทำพุทธกิจในโลกมนุษย์ทรงแนะนำสัตว์ทั้งหลายนับตั้งหมื่นโกฏิในอมฤตธรรม เสด็จสู่ทรงนิรวาณ อันมีภาวะเย็น ตราบนั้น เราทั้งปวงจะไม่ยอมละพระฤษีผู้มีพระทัยโอบอ้อมอารี ฯ

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล นางเทพกันยาทั้งหลาย ผู้เป็นใหญ่ในกามธาตุ แลดูรูปโฉมที่ปรากฏของพระโพธิสัตว์แล้ว เกิดปริวิตกขึ้นว่า นางสาวเช่นไรหนอ จะทรงไว้ซึ่งพระโพธิสัตว์ผู้เป็นสัตว์บรุศุทธประเสริฐยิ่ง นางเทพกันยาเหล่านั้น ก็เกิดความอัศจรรย์ใจกันขึ้น ต่างก็ถือดอกไม้ ธูป เทียน ของหอมพวงมาลัย เครื่องชโลมทา ผงจันทน์ ผ้าอันดียิ่ง เป็นผู้ได้อัตภาพสำเร็จด้วยใจทิพย์ ดำรงอยู่ในฐานะตามวิบาก(ผล)แห่งบุณย แล้วก็หายตัวไปจากเมืองสวรรค์ในขณะนั้น นุ่งผ้าห้อยชายประดับด้วยรัศมีรุ่งเรืองงามบริศุทธิ มีลำแขนประดับด้วยเครื่องอาภรณ์ทิพย์ พากันไปในพื้นอากาศชี้นิ้วไปทางพระนางมายาผู้ประทับอยู่บนพระแท่นบรรทม ในมหาปราสาทของนฤบดีผู้ทรงคุณธรรมอันเป็นพระตำหนักของพระราชาศุทโธทนะ ซึ่งประดับด้วยอุทยานนับแสนในมหานครกบิลพัสตุ์เหมือนเมืองสวรรค์ แล้วพูดกันเองด้วยคำพระพันธ์เหล่านี้ว่า

 

      46 นางอัปสรทั้งหลาย ซึ่งอยู่ในเมืองสวรรค์แลดูรูปพระโพธิสัตว์อันรื่นรมย์ใจแล้ว เกิดความคิดนี้ขึ้นในครั้งนั้นว่า สตรีที่จะเป็นมารดาแห่งพระโพธิสัตว์ เป็นหญิงเช่นไรหนอ ฯ

 

      47 และนางอัปสรทั้งหลายเหล่านั้น มือถือดอกไม้เกิดความสงสัยเข้าไปสู่พระราชวังของพระเจ้าอยู่หัว ถือดอกไม้และเครื่องชโลมทา ไหว้ด้วยกระพุ่มมือทั้ง 10 นิ้ว ฯ

 

      48 นางอัปสรเหล่านั้น นุ่งผ้าห้อยชาย มีรูปงาม ไหว้แล้วชี้นิ้วมือขวาไปยังพระนางมายาผู้ประทับอยู่ ณ พระแท่นบรรทม พลางกล่าวว่าดีแล้ว เธอทั้งหลายจงพิจารณารูปร่างของสตรีมนุษย์ฯ

 

      49 เราทั้งหลายในที่นี้คิดทะนงตน และพวกอื่นก็คิดทะนงตนเหมือนกันว่า นางอัปสรมีรูปร่างงามเป็นที่รื่นรมย์ใจอย่างยิ่ง แต่เมื่อพิจารณาดูพระเทวีแห่งพระเจ้าแผ่นดินนี้ จะเห็นร่างกายทิพย์ด้วยไป ฯ

 

      50 อนึ่ง มารดาของบุคคลผู้ประเสริฐยิ่งนี้ ประกอบด้วยคุณสมบัติเหมือนางรติเทวี (เทวีแห่งความรัก ชายาของกามเทพ) และเป็นเหมือนแก้วมณีรองรับภาชนะทองคำ และเป็นเหมือนพระเทวีผู้รับสนองพระเป็นเจ้าทั้ง 3 (พระสรัสวดี พระอุมา พระลักษมี) ฯ

 

      51 จงดูอวัยวะตั้งแต่พระหัตถ์ พระบาท จนถึงพระเศียร เป็นที่รื่นรมย์ใจเกิดกว่าอวัยวะทิพย์ ดูไม่อิ่ม มีแต่จะทำให้จิตใจยินดีขึ้นอีกด้วย ฯ

 

      52 พระพักตร์อันประเสริฐของพระนาง แจ่มจำรัสเหมือนดวงจันทร์ในอากาศ ทั้งรัศมีพระวรกายก็โชติช่วง เหมือนดวงอาทิตย์อันสุกสว่าง และเหมือนดวงจันทร์อันปราศจากมลทิน และรัศมีแห่งพระวรกายนั้นซ่านออกจากอัตภาพ ฯ

 

      53 และพระฉวีผิดพรรณของพระเทวีก็เปล่งปลั่งเหมือนทอง และเงินเนื้อบริศุทธิ์ พระนางมีมวยพระเกศาเหมือสีแมลงภู่ตัวประเสริฐ พระเกศาบนพระเศียรของพระนางอ่อนละมุนระเหยหอม ฯ

 

      54 และพระเนตรทั้ง 2 ของพระนางเหมือนกลีบบัวหลวง พระทนต์บริศุทธเหมือนดวงดาวในท้องฟ้า พระอุทรไม่ใหญ่ โค้งเหมือนคันธนู พระปรัศว์(สีข้าง)หนา พระมังสานูนเต็มไม่เห็นรอยข้อต่อ ฯ

 

      55 ต้นพระชงฆ์(ขาอ่อน) พระชงฆ์และพระเพลาของพระนางเรียวงามเป็นลำดับเหมือนงวงช้าง ฝ่าพระหัตถ์ และฝ่าพระบาทเรียบเสมอ ย้อมไว้งามดี พระรูป พระโฉมนี้ ไม่ต่างกับนางเทพกันยา ฯ

 

      56 นางอัปสรทั้งหลาย พิจารณาดูพระเทวีมากอย่างดั่งนี้แล้ว ได้โปรยดอกไม้ ทำประทักษิณ(เดินเวียนรอบขวา) พระนางผู้น่ารักนัก ผู้มียศผู้จะเป็นพระมารดาของพระชินเจ้า แล้วจึงกลับไปยังเทพบุรีในขณะนั้นอีก ฯ

 

      57 ขณะนั้น ท้าวโลกบาลทั้ง 4 ผู้อยู่ในทิศทั้ง 4 คณะเทวดาคือองค์อินทร์เทพอยู่ในชั้นสุยาม และเทพอยู่ในชั้นปรนิรมิต กุมภัณฑ์ รากษส อสูร นาค และกินนรทั้งหลายได้กล่าวว่า ฯ

 

      58 ท่านทั้งหลายจงไปก่อน ไปทำการรักษาคุ้มครองพระโพธิสัตว์ผู้สูงสุดกว่าคนทั้งหลาย ผู้เป็นบุรุษประเสริฐ อย่าทำใจประทุษร้ายในโลกและอย่าทำการเบียดเบียนมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

 

      59 พระนางมายาเทวีประทับอยู่ในพระตำหนักอันประเสริฐองค์ใด ท่านทั้งหลายทั้งปวงพ้อมทั้งบริษัท จงพร้อมเพรียงกันไปยืนอยู่บนท้องฟ้าตรงพระตำหนักนั้น มือถือดาบ ธนู ลูกศร หอก และพระขรรค์ คอยดูแลไว้ ฯ

 

      60เทวะบุตรทั้งหลาย ทราบเวลาที่พระโพธิสัตว์จุติแล้ว มีใจรื่นริงยินดี ได้พากันไปยังที่ประทับของพระนางมายา ต่างก็ถือดอกไม้ และเครื่องชโลมทา กราบไหว้ ด้วยกระพุ่มมือทั้ง 10 นิ้ว ฯ

 

      61 ทูล(พระโพธิสัตว์)ว่า จุติเถิด จุติเถิด พระองค์ผู้เป็นใหญ่กว่าคนทั้งหลาย พระองค์ผู้เป็นสัตว์บริศุทธ วันนี้ถึงเวลาของพระองค์แล้ว พระองค์ผู้มีพระวาจาเหมือนสีหนาท พระองค์จงเกิดความกรุณาปรานีในโลกทั้งปวงนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออัญเชิญพระองค์ เพราะเหตุแห่งธรรมทาน ฯ

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ในกาลสมัย พระโพธิสัตว์จะจุติ มีพระโพธิสัตว์ในสวรรค์ชั้นดุษิตติดอยู่อีกชาติเดียว ทั้งหมดมีจำนวนมากหลายแสนองค์ อยู่ในทิศบุรพาดได้เข้าไปเฝ้าพระโพธิสัตว์เพื่อบูชา เช่นเดียวกัน ในทิศทั้ง 10 แต่ละทิศมีพระโพธิสัตว์อยูในสวรรค์ชั้นดุษิต ติออยู่ชาติเดียว ทั้งหมดจำนวนมากหลายแสนองค์ ก็เข้าไปเฝ้าพระโพธิสัตว์เพื่อบูชา เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกากับนางอัปสร 8ล้าน 4แสน ได้บรรเลงดนตรีขับร้องฟ้อนรำเข้าไปเฝ้าพระโพธิสัตว์เพื่อบูชา

 

      ขณะนั้นแล พระโพธิสัตว์ประทับนั่งบนบัลลังก์ศรีครรภ์ ในมหากูฎาคารเรือนยอดใหญ่ซึ่งเกิดขึ้นด้วยบุณยทั้งมวลเป็นที่สำหรับชี้แจงแก่เทวดาและนาคทั้งปวงกาบพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย มีเทวดา นาค ยักษ์ หมื่นแสนโกฏิ แวดล้อมพระองค์นำหน้าเสด็จเคลื่อน(จุติ)จากสวรรค์ชั้นดุษิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระโพธิสัตว์เคลื่อน(จุติ)แสงสว่างเช่นนั้น ก็ได้เปล่งออกจากพระวรกาย ซึ่งทำให้โลกธาตอันกว้างใหญ่ไพศาลคือมนุษย์โลกและเทวโลกแจ่มแจ้งด้วยแสงสว่างเกิดกว่าแสงสว่างทิพย์ที่เคยส่องสว่างอย่างมโหฬารมาแล้วแม้โลกันตร์โลกอันเป็นโลกทุกข์ ได้รับความทุกข์เบียดเบียนแล้ว มืดมิดด้วยอันธการ(ความมืด) ถึงดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มากก็ปานนั้น มีอานุภาพมากก็ปานนั้น มีอิทธิพลมากก็ปานนั้น ก็ยังทำโลกันตร์โลกนั้นให้สว่างด้วยแสงสว่างให้มีสีด้วยสี ให้มีเดช(อำนาจ)ด้วยเดช ให้อบอุ่น ให้รุ่งเริงไม่ได้ สัตว์ที่เกิดในโลกันตร์โลกนั้น แม้แต่แขนของตนที่เหยียดออกไปก็มองไม่เห็น แม้กระนั้น ในสมัยที่พระโพธิสัตว์เคลื่อน(จุติ)นั้น ได้ปรากฏแสงสว่างมโหฬารส่องไปยังโลกันตร์โลกนั้นได้ถึงกับทำให้สัตว์ซึ่งเกิดในที่นั้น ประจักษ์แจ้งขึ้นด้วยแสงสว่างนั้นได้ ต่างก็เห็นกันอย่างถนัดชัดเจน จำกันได้ ต่างก็พูดออกมาอย่างนี้ว่า ดูกรพรรคพวก จะมีสัตว์อื่นมาเกิดที่นี่ไหม จะมีไหม พรรคพวก

 

      อนึ่ง โลกธาตุ คือโลกมนุษยโลกและเทวโลกนี้ ได้มีมหานิมิต 18  อาการ 6มหานิมิต 18 นั้นคือ อกัมปัต สั่น ปรากัมปัต สั่นทั่ว สัมปรากัมปัต สั่นพร้อม อเวธัต ไหว ปราเวธัต ไหวทั่ว สัมปราเวธัต ไหวพร้อม อจลัต กระเทือน ปราจลัต กระเทือนทั่ว สัมปราจลัต กระเทือนพร้อม อักษุภยัต  ปั่นป่วน ปรากษุภยัต ปั่นป่วนทั่ว สัมปรากษุภยัต  ปั่นป่วนพร้อม อรณัต ดัง ปรารณัต ดังทั่ว สัมปรารณัต ดังพร้อม อครชัต คำรณ ปราครชัต คำรณทั่ว สัมปราครชัต คำรณพร้อม ยุบตอนสุด พองตอนกลาง ยุบตอนกลาง พองตอนสุด ยุบทิศตะวันออก พองทิศตะวันตก ยุบทิศตะวันตก พองทิศตะวันออก ยุบทิศใต้ พองทิศเหนือ ยุบทิศเหนือ พองทิศใต้ ในเวลานั้นได้ยินเสียงหัวเราะ เสียงแสดงความยินดี เสียงแสดงความเลื่อมใส เสียงแสดงความเอาใจใส่ เสียงแสดงความสุข เสียงแสดงการตื่นเต้น เสียงไม่สาดเสียเทเสีย เสียงไม่ระคายหู เสียงไม่ทำให้สะดุ้งกลัว การเบียดเบียนกันก็ดี ความสะดุ้งตกใจก็ดี ความกลัวก็ดี ความครั่นคร้ามก็ดี ไม่มีแก่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งในขณะนั้นเลย รัศมีของดวงอาทิตย์ดวงจันทร์ก็ดี รัศมีของพรหมณ์อินทร์และโลกาบาลทั้งหลาย ไม่ปรากฏในขณะนั้นอีกเลย สัตว์ที่เกิดในนรก กำเนิดเดียรัจฉาน ยมโลกทั้งปวง ได้ปราศจากทุกข์ ในขณะนั้น ต่างก็เพียบพร้อมด้วยความสุขทั่วหน้า ความกำหนัด ความเกลียด ความหลง ความริษยา ความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความโกรธ ความพยาบาท ความเดือดเนื้อร้อนใจ มิได้เบียดเบียนสัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งเลย ในขณะนั้นสัตว์ทั้งปวง มีจิตเมตตารักใคร่ มีจิตมุ่งประโยชนต่อกัน เข้าใจอยู่แต่ว่าเป็นมารดาบิดาของกันและกันดนตรีตั้งหมื่นแสนโกฏิทั้งเป็นของเทวดาและของมนุษย์ ไม่มีใครไปกระทบ ก็ดังขึ้นเองไพเราะจับใจ เทวดาตั้งหมื่นแสนโกฏิ ก็ช่วยกันนำมหาวิมานนั้นโดยจับด้วยมือ แบกด้วยบ่า และทูนด้วยศีรษะ นางอัปสรตั้งแสน ก็บรรเลงเครื่องสังคีตของตนๆไปยืนอยู่ข้างหน้าข้างหลังทั้งซ้ายทั้งขวา ได้ร้องเพลงสรรเสริญพระโพธิสัตว์ คลอกับเสียงดนตรี ว่า

 

      62 บูชาอันไพบูลย์ ได้มีขึ้นในวันนี้แก่พระองค์ผู้สะลมศุภกรรมไว้ในปางก่อน ผู้สร้างกุศลมากเป็นเวลานาน ผู้ชำระนัยแห่งสัตยธรรมให้บริศุทธสะอาด ฯ

 

      63 พระองค์ ได้ให้บุตรธิดาที่รักเป็นทานมาหลายโกฏิกัลปในปางก่อน ดอกไม้ทิพย์จึงโปรยปรายลงมาด้วยผลแห่งการบำเพ็ญทานนั้น ฯ

 

      64 ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่ พระองค์ได้ชั่งเนื้อของตนให้เป็นทาน เพราะเหตุแลกกันเนื้อนกที่พระองค์รัก จึงทำให้เปรตได้ข้าวน้ำในโลกเปรต ฯ

 

      65 พระองค์ได้ประพฤติพรต คือรักษาศีลไม่ขาดวิ่นมาหลายโกฏิกัลปในปางก่อน ผลที่ได้รักษาศีลนั้น จึงทำให้อบายทั้งหลายอันไม่มีเวลาสิ้นสุด สะอาดขึ้นมา ฯ

 

      66 พระองค์เจริญกษานติธรรม เพื่อเหตุแห่งความตรัสรู้มาหลายโกฏิปัลปในปางก่อน ผลที่ได้เจริญกษานตินั้น จึงทำให้เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายมีจิตเมตตากัน ฯ

 

      67 พระองค์เจริญวีรยะ(ความเพียร) สูงสุดไม่ย่อท้อมาหลายโกฏิกัลปในปางก่อน ผลที่ได้เจริญวีรยะนั้น จึงทำให้พระวรกายสง่างามเหมือนภูเขาเมรุ ฯ

 

      68 พระองค์เจริญธยาน เพราะจะกำจัดเกลศมาหลายโกฏิกัลปในปางก่อน ผลที่ได้เจริญธยานนั้น จึงทำให้เกลศไม่เบียดเบียนชาวโลก ฯ

 

      69 พระองค์เจริญปรัชญาเป็นเครื่องตัดเกลศมาหลายโกฏิกัลปในปางก่อน ผลที่ได้เจริญปรัชญานั้น จึงมีแสงสว่างรุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่ง ฯ

 

      70 ข้าพเจ้า นอบน้อมพระองค์ผู้มีพระเมตตาห่อหุ้ม ผู้ฆ่าเกลศ ผู้มีน้ำพระหทัยสูงาด้วยความกรุณาต่อสรรพสัตว์ ผู้ถึงความบันเทิง ผู้ใหญ่ยิ่ง ผู้มีอุเบกขา ผู้เป็นพรหม ผู้เป็นพระสุคต(ผู้เสด็จดีแล้ว) ฯ

 

      71 ข้าพเจ้า นอบน้อมพระองค์ผู้เป็นพระมุนี ผู้มีปรัชญาสว่างเหมือนอุกลาบาตที่ตกจากฟ้า ผู้มีเดชสูง  ผู้ชำระโทสะและโมหะอันบดบังสิ่งทั้งปวงให้สะอาดบริศุทธ ผู้มีจักษุ ผู้เป็นนายกแห่งมนุษยโลก ผู้ชี้ทาง ฯ

 

      72 ข้าพเจ้า นอบน้อมพระองค์ผู้ฉลาดในฤทธิบาทและในอภิชญาอันประเสริฐ ผู้เห็นความจริง ผู้มีประโยชน์อันใหญ่ยิ่ง ผู้ยังคนอื่นให้ศึกษา ผู้ข้ามด้วยพระองค์เองได้แล้ว และยังผู้อื่นให้ข้ามได้ด้วย ผู้เป็นปราชญื ผู้เป็นพระสุคต ฯ

 

      73 พระองค์เป็นผู้ฉลาดในอุบายทั้งปวงและในอภิชญาอันประเสริฐ ทรงเห็นการจุติคือ สิ่งที่จุติแล้ว และยังไม่จุติ พระองค์เป็นอยู่ในภพที่ประกอบด้วยโลกธรรม แต่ไม่เปรอะเปื้อนเพราะโลกธรรมอย่างใดเลยๆ

 

      74 เขาได้เห็น ได้ยิน ก็เป็นลาภอย่างยิ่งของเขาอย่างอจินไตย(อย่างคิดไม่ถึง) แล้ว จะป่วยกล่าวไปไยถึงการที่เขาได้สดับธรรมนอกเหนือไปกว่านั้น พระองค์ทำให้เขามีศรัทธา มีปีติอันไพบูลย์ ฯ

 

      75 พิภพดุษิตเรื่อยเฉื่อยไปหมดทุกอย่างพอพระองค์มาอุบัติในบุรีชมพูทวีป ก็จะทำให้สัตว์มีชีวิตหมื่นโกฏิ ตรัสรู้ ตื่นจากเกลศอย่างอจินไตย ฯ

 

      76 เมื่ออันมั่งคั่งกว้างขวาง ไม่มีใครรุกราน จะถึงซึ่งความคลาคล่ำไปด้วยเทวดาหมื่นโกฏิในครั้งนั้น ในพระราชวังจะได้ยินแต่เสียงนางอัปสรบรรเลงดนตรีไพเราะ ฯ

 

      77 พระนางเพียบพร้อมไปด้วยบุณย และอำนาจด้วยกรรมดีงามเป็นศรี ประกอบด้วยรูปร่างงามอย่างยิ่ง ซึ่งมีพระราชบุตรองค์นี้เป็นผู้มั่งคั่งรุ่งเริงด้วยสิริในโลกทั้งสาม ฯ

 

      78 คอนอยู่ในเมืองประเสริฐ (กบิลพัสดุ์) จะไม่มีความโลภ ความโกรธทะเลาะวิวาทกันอีกเลย ทั้งหมดจะมีเมตตาจิต พร้อมด้วยความเคารพ จะจำเริญด้วยเดชของพระโพธิสัตว์ผู้เป็นคนประเสริฐ ฯ

 

      79 ราชวงศ์ของพระเจ้าแผ่นดินอันเกิดแต่ราชตระกูลจักรพรรดิ์จะเจริญขึ้นเมืองจะได้รับการเรียกชื่อว่ากบิล จะมั่งคั่งเด็มไปด้วยคลังแห่งรัตนะ ฯ

 

      80 หมู่ยักษ์ รากษส กุมภัณฑ์ คุยหกะ เทพ ทานพ พร้อมทั้งหมู่อินทร์ทั้งหลาย ซึ่งอยู่ระหว่างรักษาพระโพธิสัตว์ผู้เป็นคนประเสริฐ จะถึงซึ่งโมกษะ(ความรอดพ้น) โดยไม่ช้า ฯ

 

      81 เราทั้งหลาย ประกอบด้วยความรักและเคารพ สรรเสริญ พระโพธิสัตว์ผู้สะสมบุณยกุศล ผู้เป็นนายก ขอให้เปลี่ยนมาเป็นผู้ตรัสรู้จงทั้งหมด เหมือนพระองค์ผู้สูงสุดกว่าคนทั้งหลายโดยเร็ว เทอญ ฯ

 

อัธยายที่ 5 ชื่อปรจลปริวรรต (ว่าด้วยการจุติ)ในคัมภีร์ศรีลลิตวิสตร ดั่งนี้แล ฯ

06 สู่พระครรภ์

 

 

อัธยายที่ 6

 

ครฺภาวกฺรานฺติปริวรฺตะ ษษฺฐ

 

ชื่อ ครรภาวักรานติปริวรรต (ว่าด้วยการลงสู่พระครรภ์)

 

       กระนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้นฤดูน้ำค้างผ่านไปแล้ว เป็นเดือนวิศาขะ(เดือน6) ประกอบด้วยดาววิศาขะ เป็นกาลสมัยวสันต์(*) ซึ่งเป็นฤดูประเสริฐ ต้นไม้ผลิใบอันประเสริฐ ออกดอกบานประเสริฐยิ่งนัก ไม่หนาว ไม่ร้อน ไม่มีฝุ่นมืดมัว มีหญ้าสดอ่อนนุ่มประจำอยู่เป็นอันดี พระโพธิสัตว์ผู้ประเสริฐในภพทั้ง 3 ผู้ที่โลกบูชาทรงพิจารณาดูแล้วจึงจุติจากสวรรค์ชั้นดุษิต โดยประกอบด้วยปุษยฤกษ์ (ฤกษ์ที่ 8) ราชาฤกษ์) สู่พระครรภ์พระมารดาผู้รักษาศีลอุโบสถในวันเพ็ญ 15 ค่ำ ตามสมัยฤดูกาล ทรงมีสมฤติสัมปรชานะ เป็นเหมือนช้างเผือกมี 6งา เศียรเหมือนหัวอินทรโคปกา (**) มีไพรงาเป็นสีทอง มีอวัยวะใหญ่น้อยครบทุกอย่าง มีอินทรีย์(***) ไม่บกพร่อง ลงสู่พระครรภ์พระมารดาเบื้องขวา ครั้นลงสู่พระครรภ์แล้ว ก็ประทับอยู่เบื้องขวา ไม่ประอยู่เบื้องซ้ายเด็ดขาด พระนางมายาเทวีบรรทมหลับสบาย ได้ทรงพระสุบินนี้ว่า

 

*     วสันต์ คือฤดูใบไม้ผลิ นับแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 4ถึงวันกลางเดือน 6 ตามคตินิยมของอินเดีย

 

**   อินทรโคปกา แปลว่าแมลงทับ หัวสีแดง เหมือนรัศมีทอง

 

*** อินทรีย์มี 2 ชนิด คือ 1ชญาเนนทรีย์ ได้แก่อินทรีย์รับรู้ คือตา หู จมูก ลิ้น กาย  2 กรรเมนทรีย์ได้แก่อินทรีย์ทำงาน คือ มือ เท้า ปาก ท้อง คุญหฐาน

 

      1 ช้างตระกูลสูง สีเหมือนหิมะหรือเงินยวง มี 6 งา เท้างาม งวงงาม ศีรษะแดงงาม ได้เข้ามาสู่พระอุทร ช้างนั้นเดินงาม มีข้อต่อ ตามร่างกายมั่นคงเหมือนเพชร ฯ

 

      2 ความสุขของเราเช่นนี้ ไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยิน ไม่เคยได้รับเลย เป็นความสุขกายสบายจิตเหมือนตั้งอยู่ในธยาน ฯ

 

      ครั้งนั้นแล พระมายาเทวี ทรงเครื่องประดับและทรงพระภูษาหลวมๆ มีกายและจิตสุขสบายร่าเริง ได้รับปรีดาปราโมทย์และผ่องใส เสด็จลุกจากพื้นพระแท่นบรรทมอันประเสริฐ แวดล้อมด้วยหมู่นารี เสด็จนำหน้าย่างลงจากชั้นยอดปราสาท อันประเสริฐ เสด็จไปสู่สวนอโศก ครั้นประทับนั่งอย่างเป็นสุขในสวนอโศกแล้ว ทรงส่งพนักงานสื่อข่าวไปยังพระราชาศุทโธทนะว่า ขอพระราชาผู้ประเสริฐได้โปรดเสด็จมาพระเทวีใคร่จะเฝ้า

 

       ครั้งนั้น พระราชาศุทโธทนะทรงสดับคำแล้ว มีพระทัยยินดี จนเนื้อเต้น เสด็จลุกจากอาสนอันเจริญ มีอมาตย์หมู่สมันตราชพระญาติวงศ์แวดล้ม เสด็จเข้าไปยังสวนอโสก และครั้นแล้วไม่อาจเสด็จเข้าไปในสวนอโศกได้ ทรงรู้สึกว่าพระองค์ดูจะหนักเกินไป ได้แต่ประทับอยู่ที่ประตูสวนอโศก ทรงคิดอยู่สักครู่หนึ่ง จึงได้ตรัสเป็นคำประพันธ์ในเวลานั้นว่า

 

      3 เมื่อเราเผชิญหน้านักรบในสมรภูมิ ไม่รู้สึกว่าร่างกายจะสู้หนัก เช่นวันนี้ วันนี้เราไม่สามารถจะเข้าไปสู่เรือนตระกูลของตน ร่างกายของเราวันนี้เป็นอย่างไร เราจะถามใคร? ดังนี้ ฯ

 

      4 พระโพธิสัตว์ผู้มีใจสูง ประกอบด้วยคุณธรรมคือพรตและตบะผู้ควรบูชาในโลกทั้ง 3 ได้ซึ่งพระไมตรีและพระกรุณา ทรงอภิเษกแล้วด้วยบุณยและชญานเป็นเจ้าคนจุติ(เคลื่อน) ในเมืองดุษิต มาเกิดในพระครรภ์พระมายา เป็นพระโอรสของพระองค์

 

      5 ครั้งนั้น พระนฤบดีประนมพระหัตถ์ทั้ง 10นิ้ว ผงกพระเศียรของพระองค์เสด็จเข้าไป ประกอบด้วยพระกิริยาอาการอันสุภาพ ทรงพิจารณาเห็นพระนางมายาว่า ยังมีมานะและไว้พระองค์อยู่ จึงตรัสว่า บอกมาเถิด ฉันจะทำตาม เธอต้องการอะไร จะใช้อะไรบอกมา ฯ

 

พระนางเทวีทูลตอบว่า

 

      6 ช้างประเสริฐ สีเหมือนหิมะหรือเงินยวงยิ่งกว่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ เท้างาม ได้สัดได้ส่วนเป็นอันดี มี 6 งา มีใจสูง  มีข้อต่อมั่นคงเหมือนเพชร รูปงาม เข้ามาในท้องหม่อมฉัน ขอพระองค์จงสดับเหตุของช่างนั้น ฯ

 

      7  หม่อมฉันเห็นโลกมนุษย์สว่างไม่มืดมัว  เทพยดาตั้งหมื่นพร้อมทั้งยาน พากันสรรเสริญ ความโกรธ ความเคือง และความหลงทั้งหมด ไม่มีแก่หม่อมฉัน หม่อมฉันเกิดมีความพร้อมเพรียงด้วยความสุขอย่างคนเข้าธยาน มีจิตใจสงบ ฯ

 

      8 หม่อมฉันขอประทานโอกาส ขอพระนฤบดีได้โปรดพาพราหมณ์มาที่นี่โดยเร็ว  ซึ่งเป็นผู้ทำนายฝันตามคัมภีร์พระเวท  และรู้วิธีในบ้านเรือนทั้งหลาย ให้พยากรณ์(ทำนาย) ฝันของหม่อมฉันให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง ความฝันของหม่อมฉันนี้ จะเป็นอย่างไร จะดีหรือจะร้ายแก่ตระกูล ฯ

 

      9 พระเจ้าแผ่นดินได้ทรงฟังคำนี้แล้ว ทรงนำพราหมณ์ผู้รู้พระเวทและอ่านตำรามากมาในขณะนั้น พระนางมายา ประทับอยู่เบื้องหน้า(พราหมณ์เหล่านั้น) ได้ตรัสกับพราหมณ์ทั้งหลายว่า  ฉันฝันไปในวันนี้ ท่านทั้งหลายจงสดับเหตุแห่งความฝันนั้น ฯ

 

      10 ช้างประเสริฐสีเหมือนหิมะหรือเงินยวงยิ่งกว่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ เท้างาม ได้สัดได้ส่วน มี6งา มีใจสูง มีข้อต่อมั่นคง เหมือนเพชร รูปงาม เข้ามาในท้องฉัน ท่านจงฟังเหตุของช้างนั้นฯ

 

      11 พราหมณ์ทั้งหลายได้ฟังคำนี้แล้ว จึงทูลอย่างนี้ว่า ขอพระนางจงมีปีติไพบูลย์ คิดเสียเถิดว่า ความร้ายไม่มีแก่ตระกูล พระนางจะเกิดโอรส มีอวัยวะประด้บด้วยลักษณะดี มีตระกูลสูง เป็นราชตระกูล เป็นจักรพรรดิ์ มีพระหทัยสูง ฯ

 

      12 พระโอรสนั้น จะละบ้านเมือง ละราชสมบัติที่เป็นกาม และละเหย้าเรือน มุ่งต่อบรรพชา จะเป็นพระพุทธช่วยเหลือโลกทั้งปวง พระองค์จะเป็นผู้ควรแก่ทักษิณาทาน ในโลกทั้งสาม และจะยังโลกทั้งปวงให้อิ่มด้วยอมฤตรส อันประเสริฐ ฯ

 

      13 พราหมณ์ทั้งหลาย ได้ทูลคำพยากรณ์อย่างสุภาพแล้วบริโภคอาหารของพระเจ้าแผ่นดิน และรับเครื่องนุ่งห่มทั้งหลาย ครั้นแล้วก็กลับไป ฯ

 

      กระนั้นแล ดูกระภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระราชาศุทโธทนะ ได้ทรงฟังจากพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้ลักษณะและนิมิต ผู้ศึกษาเล่าเรียนเรื่องฝันมาแล้ว มีพระทัยร่าเริงยินดี จึงประทานเลี้ยงพราหมณ์เหล่านั้นด้วยของเคี้ยวของบริโภคอันอร่อย และอนุญาตให้พราหมณ์ออกปากขอพระราชทานได้ ประทานเครื่องนุ่งห่มเสร็จ จึงอนุญาตให้พราหมณ์กลับได้  ในเวลานั้นพระองค์โปรดให้สิ่งของเป็นทาน ที่ประตูเมืองทั้ง 4 และที่ทาง 4 แพร่งในเมืองทั่วไป ในมหานครกบิลพัสด์ ผู้ต้องการอาหารให้อาหาร ผู้ต้องการเครื่องดื่มให้เครื่องดื่ม ผู้ต้องการผ้าให้ผ้า  ผู้ต้องการยานพาหนะให้ยานพาหนะ และให้ของหอม พวงมาลัย เครื่องชโลมทา เครื่องนอน ที่อยู่อาศัย จนกระทั่งผู้ต้องการเครื่องประกอบอาชีพก็ให้เครื่องประกอบอาชีพ เพื่อกระการบูชาพระโพธิสัตว์

 

      ครั้งนั้นแล ดูกระภิกษุทั้งหลาย พระราชาศุทโธทนะทรงปริวิตกขึ้นว่า มายาเทวีอยู่ในตำหนักไหนจึงจะอยุ่เป็นสุข ไม่ลำบาก ขณะนั้น มหาราชทั้ง 4 ได้เข้ามาหาพระราชาศุทโธทนะ ทูลอย่างนี้ว่า

 

      14 ข้าแต่พระนฤบดี พระองค์จงมีความขวนขวายน้อย อยู่เฉยๆจะได้เป็นสุข ข้าพเจ้าทั้งหลายนี้แหละ จะสร้างตำหนักให้พระโพธิสัตว์เอง ฯ

 

      ครั้งนั้นแล องค์ศักรผู้เป็นใหญ่แก่เทวดาทั้งหลาย ได้เข้าไปหาพระราชาศุทโธทนะ ทูลอย่างนี้ว่า

 

      15 วิมานของโลกบาลทั้ง 4 เลวไป วิมานขั้นดาวดึงส์ดีที่สุด ข้าพเจ้าจะให้ตำหนักเสมอด้วยเวชยันต์แก่พระโพธิสัตว์ ฯ

 

      ครั้งนั้นแล เทวบุตรสุยาม เข้าไปหาพระราชาศุทโธทนะ ทูลอย่างนี้ว่า

 

      16 องค์ศักรตั้งโกฏิ เห็นที่อยู่ของข้าพเจ้าแล้ว แปลกใจ ข้าพเจ้าจะให้ที่อยู่ชั้นสุยาม แก่พระโพธิสัตว์ผู้มีสิริ ฯ

 

      ครั้งนั้นแล เทวบุตรดุษิต เข้าไปหาพระราชาศุทโธทนะ ทูลอย่างนี้ว่า

 

      17 เทพผู้มียศใหญ่ อยู่ในวิมานใดมาก่อน ข้าพเจ้าจะให้วิมานนั้นอันเป็นที่รื่นรมย์ แก่พระโพธิสัตว์ ฯ

 

      ครั้งนั้นแล เทวบุตรสุนิรมิต (นิรมาณรดี) เข้าไปหาพระราชาศุทโธทนะ ทูลอย่างนี้ว่า

 

      18 ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ข้าพเจ้าจะน้อมนำเรือนแก้วอันสำเร็จด้วยใจมาให้ เพื่อบูชาพระโพธิสัตว์ผู้มีสิริ ฯ

 

      ครั้งนั้นแล เทวบุตรปรนิรมิตวศวรรดี เข้าไปหาพระราชาศุทโธทนะ ทูลอย่างนี้ว่า

 

      19 วิมานทั้งหลาย ดำรงอยู่ในกามธาตุ ถึงจะงามสักเพียงไร เมื่อมาเทียบกับวิมานของข้าพเจ้า ก็หมดสง่า ฯ

 

      20 ข้าพเจ้าจะให้วิมานแก้วอันงามนั้น แก่พระองค์ผู้มีสิริ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้าแผ่นดิน ข้าพเจ้าจะนำวิมานนั้นมา เพื่อบูชาพระโพธิสัตว์ ฯ

 

      21 ข้าพเจ้าน้อมนำมาซึ่งวิมาน อันดาษดาไปด้วยดอกไม้ทิพย์อบด้วยกลิ่นหอมทิพย์ ซึ่พระเทวีจะได้ประทับ ฯ

 

      ครั้งนั้นแล  ดูกระภิกษุทั้งหลาย เทพยดาในสวรรค์ชั้นกามาพจรผู้เป็นใหญ่ทั้งปวง ก็ได้เนรมิตเรือนตามสวรรค์ชั้นของตนๆ ในมหานครกบิลพัสดุ์ เพื่อบูชาพระโพธิสัตว์ แม้พระราชาศุทโธทนะ ก็ให้สร้างเรือนดีกว่าเรือนมนุษย์ แต่ไม่ดีถึงวิมานทิพย์ พระบรมโพธิสัตว์ ทรงแสดงให้พระนางมายาเทวี ปรากฏพระองค์อยู่ในเรือนนั้นๆ ทั้งหมดด้วยอานุภาพแห่งมหาวยูหสมาธิ (*) พระโพธิสัตว์เข้าสู่พระครรภ์แล้วก็นั่งขัดสมาธิเบื้องขวาในพระครรภ์พระมายาเทวี เทพยดาผู้เป็นใหญ่ทั้งหมดแต่ละตนก็เข้าใจอย่างนี้ว่า พระมารดาของพระโพธิสัตว์ประทับอยู่ในเรือนของเราไม่ใช่เรือนของผู้อื่นในที่นี้มีกล่าวไว้ว่า

 

* สมาธิที่เพ่งต่อวิมานเป็นอารมณ์

 

      22 พระโพธิสัตว์ประทับอยู่ในสมาธิด้วยมหาวยูหสมาธิ อันเป็นอจินไตย (คิดไม่ถึง) ทรงเนรมิตแล้วซึ่งรูปเนรมิต ให้อยู่ครบทุกเรือนตามความประสงค์ของเทพยดาทั้งหลาย และให้ครบตามปรารถนาของพระเจ้าแผ่นดินด้วย ฯ

 

      ครั้งนั้น พระอานนท์ผู้มีอายุ ได้ทูลพระผู้มีภคภโดยอานุภาพของพระพุทธเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีภคะ เป็นการอัศจรรย์ที่พระตถาคตได้ตรัสไว้ว่า มาตุคาม(ผู้หญิง) น่าเกลียด คือข้อที่พระผู้มีภคะผู้สูงกว่าชาวโลกทั้งปวง เป็นพระโพธิสัตว์มาก่อนแล้ว จุติจากหมู่เทวดาชั้นดุษิต ลงมาสู่พระครรภ์เบื้องขวาของพระมารดา(อันมีกลิ่นเหม็น) ในที่อยู่ของมนุษย์ ข้าแต่พระผู้มีภคะ ข้าพระองค์ไม่อาจกราบทูลอย่างที่พระองค์เคยพยากรณ์ไว้ พระผู้มีภคะตรัสว่า ดูกรอานนท์ เธอปรารถนาจะห็นวิมานแก้วอันเป็นเครื่องอาศัยของพระโพธิสัตว์ คือเครื่องอาศัยของพระโพธิสัตว์เมื่ออยู่ในพระครรภ์ของพระมารดาหรือ พระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีภคะ  นี่ถึงเวลาแล้ว ข้าแต่พระสุคต นี่ถึงเวลาแล้ว ที่พระตถาคตจะทรงแสดงเครื่องอาศัยของพระโพธิสัตว์นั้นอันจะทำให้ข้าพระองค์ได้เห็นแล้วรู้สึกอิ่มใจ

 

      ครั้งนั้นแล ทรงกระทำนิมิตอันเป็นเหตุให้สหาบดีพรหมกับพรหม 68 แสน อันตรธานจากพรหมโลกลงมาปรากฏเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภคะ สหาบดีพรหมอภิวาทพระบาทพระผู้มีภคะด้วยศีรษะแล้ว ทำประทักษิณเวียนขวา 3 รอบ ยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง แล้วปประนมกรถวายนมัสการพระผู้มีภคะ ในขณะนั้นแล พระผู้มีภคะทรงทราบแล้ว จึงตรัสเรียกสหาบดีพรหมว่า ดูกรพรหมท่ารับเครื่องอาศัยของพระโพธิสัตว์สำหรับใช้ 10 เดือนไว้หรือ ซึ่งเป็นเครื่องอาศัยของตถาคตผู้เป็นพระโพธิสัตว์มาแล้วเมื่ออยู่ในพระครรภ์พระมารดา พรหมทูลว่าใช่แล้ว พระผู้มีภคะ ใช่แล้ว พระสุคต  พระผู้มีภคะตรัสว่า ดูกรพรหม เดี๋ยวนี้ เครื่องอาศัยนั้นอยุ่ที่ไหน? ขี้ให้ดูทีหรือ? พรหมทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีภคะ เครื่องอาศัยนั้นเดี๋ยวนี้อยู่ในพรหมโลก พระผู้มีภคะตรัสว่า ดูกรพรหม ถ้ากระนั้น ท่านจงชี้ให้ดู ซึ่งเครื่องอาศัยขอพระโพธิสัตว์สำหรับใช้ 10 เดือน คนทั้งหลายเขาจะได้รู้ว่า เครื่องอาศัยของพระโพธิสัตว์ทำดีเพียงใด

 

      ครั้งนั้นแล สหาบดีพรหม จึงพูดกับพรหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงคอยอยู่ก่อนจนกว่าเราจะนำวิมานแก้วอันเป็นเครื่องอาศัยของพระโพธิสัตว์มา

 

      ครั้งนั้นแล สหาบดีพรหมน้อมเศียรอภิวาทพระบาทพระผู้มีภคะ แล้วจึงหายตัวไปต่อพระพักดร์พระผู้มีภคะ ไปประดิษฐานอยู่ในพรหมโลกในขณะนั้น

 

      ครั้งนั้นแล สหาบดีพรหมได้กล่าวคำนี้กับสุพรหมเทวบุตรว่า ดูกรท่านผู้ควรเคารพ ไปเถิดท่าน จงร้องประกาศให้ได้ยินตั้งแต่พรหมโลกนี้จนถึงพิภพดาวดึงส์ว่า เราทั้งหลายจะนำวิมานแก้ว เครื่องอาศัยของพระโพธิสัตว์ไปสู่สำนักพระตถาคต ใครใคร่เห็นก็จงรีบมา

 

      ครั้งนั้นแล สหาบดีพรหมพร้อมด้วยเทวดา 84 หมื่นแสนโกฏิ ช่วยกันประคองวิมานแก้ว เครื่องอาศัยของพระโพธิสัตว์ ประดิษฐานในพรหมวิมานสูง 300 โยชน์ มีเทวดาตั้งหลายหมื่นแสนโกฏิแวดล้อมโดยรอบแล้วนำลงมายังชมพูทวีป

 

      ก็ในสมัยนั้นแล เทวดาชั้นกามาพจร ทั้งหลายได้ประชุมใหญ่เพื่อจะไปในสำนักพระผู้มีภคะ และนัยว่าวิมานแก้วซึ่งเป็นเครื่องอาศัยของพระโพธิสัตว์นั้นได้ถูกตกแต่งงดงามด้วยผ้าทิพย์ พวงมาลัยทิพย์ ของหอมทิพย์ ดอกไม้ทิพย์ เครื่องประโคมทิพย์ เครื่องใช้สอยทิพย์ มีเทวดาที่ขึ้นชื่อลือนามแวดล้อม องค์อินทร์ผู้เป็นใหญ่แก่เทวดาทั้งหลายยืนอยู่ขนเขาสุเมรุ เอาใบตาลและร่มป้องหน้าแต่ไกลที่เดียว ทอดสายตาไปไกลอย่างเห็นหัวไรๆ หรือเพ่งด้วยการกระพริบตาถี่ๆ ก็ไม่สามารถเพื่อจะเห็นได้ เพราะอะไรจึงไม่เห็น เพราะเทวดาที่ขึ้นชื่อลือนาม และพรหมทั้งหลายคือเทวดาพวกอื่น เทวดาชั้นดาวดึงส์ เทวดาชั้นยามา ชั้นดุษิต ชั้นนิรมาณรดี ชั้นปรนิรมิตวศวรรดี ก็ไม่สามารถเพื่อจะเห็นได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงองค์ศักรผู้เป็นใหญ่แก่เทวดาทั้งหลาย เทวดาทั้งหลายเหล่านั้นแล ต่างก็งวยงงหลงไหลกันไปหมด

 

      ครั้งนั้นแล พระผู้มีภคะจึงบันดาลให้เสียงกึกก้องกังวาลแห่งเครื่องรปะโคมทิพย์นั้นหายไป นั่นเป็นเพราะเหตุใด เพราะเหตุว่ามนุษย์ชาวชมพูทวีปทั้งหลายจะพากันเป็นบ้าพร้อมกัน เพราะได้ยินเสียงนั้น

 

      ครั้งนั้นแล มหาราชทั้ง 4เข้าไปหาองค์ศักร ผู้เป็นใหญ่แก่เทวดาทั้งหลายทูลกว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นใหญ่แก่เทวดาทั้งหลาย ข้าพเจ้าจะทำอย่างไร ข้าพเจ้าไม่ได้เห็นวิมานแก้ว อันเป็นเครื่องอาศัยของพระโพธิสัตว์ องค์ศักรจึงพูดกับเทวดาทั้ง 4นั้นว่า ดูกรท่านผู้ควรเคารพทั้งหลาย ข้าพเจ้าจะทำอย่างไร แม้ข้าพเจ้าก็ไม่ได้เห็น ดูกรท่านผู้ควรเคารพทั้งหลาย แต่ว่าเราจะคอยดูเมื่อเข้าไปใกล้พระผู้มีภคะ มหาราชทั้ง 4 นั้นจึงทูลว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นใหญ่แก่เทวดาทั้งหลาย ถ้ากระนั้น ท่านจงทำอย่างที่จะให้เห็นเร็วๆเข้าเถิด องค์ศักรพูดว่า คอยสักครู่เถิด ท่านผู้ควรเคารพ ชั่แต่ให้เทวบุตรทั้งหลายหลั่งไหลกันเข้าไปชื่นชมพระผู้มีภคะก่อน ดังนั้น มหาราชทั้ง 4 จึงพากันไปยืนอยู่ที่หนึ่ง ดูพระผู้มีภคะด้วยอาการสอดส่ายศีรษะ

 

      ครั้งนั้นแล สหาบดีพรหมกับเทวดา 84 หมื่นแสนโกฏิ ประคองวิมานแก้วอันเป็นเครื่องอาศัยของพระโพธิสัตว์นั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีภคะ นัยว่า วิมานแก้วอันเป็นเครื่องอาศัยของพระโพธิสัตว์นั้น งาม น่าเลื่อมใส น่าดู เป็นรูป 4 เหลี่ยม 4 มุม และเบื้องบนประดับด้วยเรือนยอด มีขนาดอย่างนี้คือ สุงเท่าเด็กเกิดได้ 6 เดือน ท่ามกลางเรือนยอดนั้นตั้งบังลังก์ไว้ มีแผ่นฝากว้างยาวเท่าเด็กเกิดได้ 6 เดือน นัยว่า วิมานแก้วกลางอันเป็นเครื่องอาศัยของพระโพธิสัตว์นั้น มีสีและทรวดทรงอย่างนี้ ซึ่งหาเหมือนไม่ได้ในโลกใดๆ ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก โดยทรวดทรงหรือสี นัยว่า แม้เทวดาทั้งหลายเห็นวิมานแก้วนั้นแล้ว ก็พากันอัศจรรย์ใจ นัยน์ตาพร่า และวิมานแก้วนั้นเมื่อสหาบดีพรหมนำเข้าไปสู่สำนักพระตถาคต ก็สว่างแผดแสงรุ่งเรืองอย่างยิ่งเหมือนทองซึ่งช่างทองผู้ฉลาดไล่มลทินซ้ำๆ ซากๆ จนเสร็จเรียบร้อยปราศจากฝ้าสาแหรกเรือนยอดนั้น รุ่งเรืองแล้ว (ในสมัยนั้น)อย่างนี้ นัยว่า บัลลังก์ที่ประดิษฐานไว้ในวิมานแก้ว อันเป็นเครื่องอาศัยของพระโพธิสัตว์นั้น หาเหมือนไม่ได้ในโลก ทั้งเทวโลก โดยสีและทรวดทรง เว้นแต่ปล้องพระศอขอพระโพธิสัตว์ เครื่องนุ่งห่มที่มหาพรหมใช้นุ่งห่มมา ก็ไม่รุ่งเรืองเมื่ออยู่ต่อหน้าบัลลังก์ของพระโพธิสัตว์นั้น กลายเป็นกระดำกระด่างไป เหมือนตากลมตากฝน  นัยว่าเรือนยอดนั้นล้วนแล้วด้วยแก่นจันทน์อุรศสาร(ไม่จันทน์ชนิดหนึ่ง)ซึ่งควรค่าเท่าแผ่นิดนทองแผ่นหนึ่ง ได้แก่โลกธาตุตั้งพันโลกธาตุ เรือนยอดนั้นฉาบทาด้วยแก่นจันทร์อุรคสารชนิดนั้นโดยรอบ เรือนยอดองค์ที่ 2 ซึ่งอยู่ภายในเรือนยอดองค์แรกนั้น แต่ไม่ติดต่อเนื่องถึงกัน ก็ทำเช่นเดียวกัน คือฉาบทาด้วยแก่นจันทน์อุรคสาร แม้เรือนยอดองค์ที่ 3 ซึ่งอยู่ภายในเรือนยอดองค์ที่ 2 แต่ ไม่ติดต่อเนื่องถึงกัน ก็ทำเช่นเดียวกัน ส่วนบัลลังก์นั้นตั้งอยู่ในเรือนยอดองค์ที่ 3 ซึ่งล้วนแล้วด้วยของหอม ถูกห่อหุ้มไว้ด้วยการฉาบทาแก่นจันทน์อุรคสาร  นัยว่าสีของแก่นจันทน์อุรคสารนั้นเป็นอย่างนี้คือ เป็นสีแก้วไพฑูรย์เขียวซึ่งเป็นแก้วตระกูลสูง ดอกไม้ที่เหนือกว่าดอกไม้ทิพย์ใดๆเท่าที่มีอยู่รอบๆเบื้องบนเรือนยอดซึ่งมีกลิ่นหอมนั้น นัยว่ามีมากด้วยผลแห่งกุศลมูลในปางก่อนของพระโพธิสัตว์เกิดขึ้นในเรือนยอดนั้น วิมานแก้วอันเป็นเครื่องอาศัยของพระโพธิสัตว์มั่นคง แข็งแรงไม่แตกหักอุปมาเหมือนเพชร สัมผัสนุ่มนวลเหมือนสัมผัสฝักมะกล่ำเครือ วิมานในพิภพของเทวดาทั้งหลายชั้นกามาพจร ไม่ว่าชั้นไหน ย่อมปรากฏอยู่ในวิมานแก้วเครื่องอาศัยของพระโพธิสัตว์นั้น

 

      และพระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาในยามราตรี ดอกบัวใหญ่ขนาด 68 แสนโยชน์ จดตั้งแต่พื้นน้ำใต้บาดาลชำแรกแผ่นดินใหญ่ขึ้นมาจนถึงพรหมโลกก็ได้ปรากฏขึ้นภายใต้ราตรีนั้น แต่ไม่มีใครเห็น นอกจากพระองค์ผู้เป็นสารถีฝึกหัดคนพระผู้สูงสุดกว่าคน กับมหาพรหม 10 แสน โอชะก็ดี ฟองมันก็ดี รสก็ดี บรรดาที่มีอยู่ในโลกธาตุ คือมนุษยโลก  และเทวโลกนี้ ล้วนแต่มีหยาดโอชะอยู่ในดอกบัวใหญ่นั้น

 

      มหาพรหมจึงใส่หยาดโอชะนั้นลงในภาชนะแก้วไพฑูรย์งาม น้อมเข้าไปถวายพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ทรงรับของนั้นบริโภคเพื่ออนุเคราะห์มหาพรหม ไม่มีใครในจำพวกสัตวนิกายที่จะบริโภคหยาดโอชะนั้นให้ย่อยง่ายเป็นอย่างดี เว้นแต่พระโพธิสัตว์ผู้เกิดในชาติสุดท้าย บำเพ็ญโพธิสัตว์ภูมิทุกอย่างมาแล้ว หยาดโอชะนั้นปรากฏแก่พระโพธิสัตว์ด้วยผลแห่งกรรมอะไร? นัยว่า เมื่อพระโพธิสัตว์ประพฤติโพธิสัตวจรรยาในปางก่อนตลอดกาลนาน ได้ให้ยาแก่ผู้ป่วยไข้ทั้งหลาย ได้ทำให้ผู้มีความปรารถนาได้รับผลเต็มตามความปรารถนา ไม่ละสรณาคม และได้ให้ดอกไม้อย่างดี ได้ให้ผลไม้อย่างดี ได้ให้สิ่งที่มีรสอย่างดี แก่พระตถาคต แก่เจดีย์ของพระตถาคต แก่สาวกของพระตถาคต แก่มารดาบิดาก่อนแล้ว ตนจึงบริโภคภายหลังเป็นนิตย์ มหาพรหมได้น้อมหยาดโอชะนั้นเข้าไปถวายแก่พระโพธิสัตว์ด้วยผลแห่งกรรมนั้น

 

      สถานที่เป็นแหล่งมั่วสุมการเล่น เป็นที่ยินดีด้วยคุณแห่งมายา ชั้นเหนือๆขึ้นไปไม่ว่าอย่างไร๐ ย่อมมีในเรือนยอดนั้นแล สิ่งทั้งปวงเหล่านั้นที่เกิดขึ้นในเรือนยอดนั้นย่อมปรากฏแก่พระโพธิสัตว์ด้วยผลแห่งกุศลกรรมในปางก่อน

 

      ผ้าคู่หนึ่ง(นุ่ง  ห่ม) ชื่อศตสหัสรวยุห (แสนขบวน) ก็ได้เกิดมีขึ้นในเรือนยอดนั้น ในสัตวนิกายไม่มีใครมี ไม่ปรากฏแก่ใคร เว้นแต่พระโพธิสัตว์ผู้เกิดในภพสุดท้าย รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อันใหญ่ยิ่งไรๆอันจะไม่ปรากฏในเรือนยอดนั้น หามีไม่ถ้าว่าเรือนยอดเครื่องอาศัย เป็นเครื่องอาศัยได้ดีอย่างนี้ สำเร็จเรียบร้อย  ทั้งภายในภายนอกอย่างนี้ ตั้งอยู่เป็นอย่างดีอย่างนี้ และอ่อนนุ่มอย่างนี้แล่วไซร้ นั่นก็คือมีสัมผัสนุ่มนวลเหมือนสัมผัสฝักมะกล่ำเครือ โดยเหตุเพียงยกตัวอย่าง แต่จะหาอะไรเปรียบเทียบไม่ได้เลย นัยว่านี่เป็น่ธรรมดา นี่เป็นความรู้สึก สำเร็จด้วยความอุตสาหะแต่ปางก่อนของพระโพธิสัตว์โดยแท้ พระโพธิสัตว์ผู้เป็นมหาสัตว์พึงเกิดในมนุษยโลกและออกอภิเนษกรมณ์(บรรพชา)ตรัสรู้อนุตตรสัมยักสัมโพธิ พึงหมุนจักรคือธรรมให้เป็นไป พอพระโพธิสัตว์เกิดในพระครรภ์ของพระมารดา ในเรือนยอด ในวิมานแก้วก็ตั้งขึ้นในพระครรภ์เบื้องขวาของพระมารดานั้นปรากฏอยู่ภายหลังพระโพธิสัตว์จึงจุติจากดุษิตมาประทับนั่งบนบัลลังก์ในเรือนยอดนั้น กายของพระโพธิสัตว์ผู้เกิดในภพสุดท้ายมิได้ตั้งขึ้นเป็น กลละ(*) อัพพุทะ ฆนะ เปสิ แต่ปรากฏเป็นร่างกาย มีอวัยวะน้อยใหญ่ ประทับนั่งเลยทีเดียว พระนางมายาเทวี พระมารดาของพระโพธิสัตว์ระหว่างหลับก็รู้ว่าช้างใหญ่กุญชรลงสู่พระครรภ์แล้ว

 

* กลละ คือหยดน้ำใสซึ่งเป็นหยดแรกที่จะก่อตัวขึ้นเป็นคน อัพพุทะ คือ กลละนั้นค่อยแค่นเข้า ฆนะ คืออัพพุทะ นั้นเป็นก้อน เปสิ คือฆนะนั้นเป็นชิ้นเนื้อ เหล่านี้คือ ต้นกำเนิดของคนเริ่มปฏิสนธิในครรภ์มารดา

 

      นัยว่า เมื่อพระโพธิสัตว์ประทับนั่งแล้วเช่นนั้น องค์ศักรผู้เป็นใหญ่แก่เทวดาทั้งหลาย มหาราชทั้ง 4 มหายักษ์เสนาบดี 28 ตระกูล ยักษ์ที่ชื่อว่าคุหยกาธิบดีเพราะเกิดในสำนักขององค์อินทร์ เทพเหล่านั้น เมื่อทราบว่าพระโพธิสัตว์อยู่ในพระครรภ์ของพระมารดา ต่าก็พากันมาประชุมติดตามอยู่เสมอ นางเทพยาดา 4 ตน มีชื่อว่า อุตขลี สมุตขลี ธวชะวตี และประภาวตี เป็นผู้คอยรับใช้พระโพธิสัตว์ นางเทพยดาเหล่านี้ เมื่อทราบว่าพระโพธิสัตว์อยู่ในพระครรภ์ของพระมารดา ก็ประชุมกันระวังรักษาอยู่เสมอ แม้องค์ศักรผู้เป็นใหญ่แก่เทวดา กับเทวบุตรประมาณ 500 เมื่อทราบว่าพระโพธิสัตว์อยู่ในพระครรภ์ของพระมารดา ก็ประชุมกันคอยติดตามอยู่เสมอ

 

      นัยว่า เมื่อพระโพธิสัตว์อยู่ในพระครรภ์ของพระมารดา พระกายปรากฏดั่งนี้ คือกองไฟใหญ่บนยอดเขาในเวลาราตรีประกอบด้วยความมืดและหมอก และเห็นไกลตั้งแต่โยชน์หนึ่งถึง 5 โยชน์  ฉันใด เมื่อพระโพธิสัตว์อยู่ในพระครรภ์ของพระมารดาอัตภาพปรากฏอยู่ฉันนั้น  มีแสงสว่าง รูปงาม น่าเลื่อมใส น่าชม พระองค์ประทับนั่งบนบังลังก์ในเรือนยอดนั้น งามยิ่งนัก  เหมือนทองคำธรรมชาติประดับด้วยแก้วไพฑูรย์ ส่วนพระมารดาของพระโพธิสัตว์เมื่อเพ่งดู ก็เห็นพระโพธิสัตว์อยู่ในพระครรภ์ นั่นคือ พระโพธิสัตว์อยู่ในพระครรภ์พระมารดา ย่อมส่องสว่างซึ่งเรือนยอดแก้วองค์แรกนั้นให้สว่างด้วย สิริ เดช และวรรณะ ครั้นแล้วส่องเรือนยอดทาแก่นจันทน์หอมองค์ที่ 2 ให้สว่าง ครั้นส่องเรือนยอดทาแก่นจันทน์หอมองค์ที่ 2ให้สว่างแล้ว ส่องเรือนยอดแก้วองค์ที่ 3ให้สว่าง ครั้นส่องเรือนยอดแก้วองค์ที่ 3 ให้สว่างแล้ว จึงส่องอัตภาพของพระมารดาสว่างไปทั่วร่าง อุปมาเหมือนสายฟ้าใหญ่ แลบจากยอดเมฆซ่านออกไปทำให้เกิดแสงสว่างใหญ่โต และแสงสว่างแห่งพระมารดาทำให้อาสนที่นั่งสว่างไปด้วยแสงสว่างแห่งอาสนนั้น ทำให้บ้านเรือนทั้งหมดสว่าง แสงสว่างที่ซ่านออกจากบ้านรือนนั้น  ทิศตะวันออกสว่าง   ทิศทักษิณ  ทิศประจิม  ทิศอุดร  เบื้องล่างและเบื้องบน 10 ทิศ  โดยรอบก็เป็นเช่นเดียวกัน คือสว่าง  แต่ละทิศสว่างไป  ไกลประมาณโกรศหนึ่ง (1000วา) พระโพธิสัตว์อยู่ในพระครรภ์ของพระมารดา ย่อมสว่างด้วยแสงสว่างคือสิริ เดช และวรรณะ

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาราชทั้ง 4 มหายักษ์เสนาบดี 28 กับยักษ์ประมาณ 500 ก็มาในสมัยเวลาเช้า เพื่อเข้าเฝ้า เพื่อไหว้ เพื่อเข้ามานั่งใกล้ และเพื่อฟังธรรมพระโพธิสัตว์ ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ทรงทราบว่าเทวดาเหล่านั้นมาแล้ว จึงยกพระหัตถ์เบื้องขวาขึ้น ชี้อาสนให้เทวดาเหล่านั้นมีโลกบาลเป็นต้น นั่งลงบนอาสนที่จัดไว้แล้วแลเห็นพระเศียรพระโพธิสัตว์ซึ่งอยู่ในพระครรภ์พระมารดาเหมือนทองคำ พระหัตถ์เคลื่อนไหวกระดุกกระดิกได้ ยกขึ้นได้ วางลงได้ เทวดาเหล่านั้นก็ได้รับปีติปราโมทย์ และความเลื่อมใสต่างถวายมนัสการพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ทรงทราบว่าเทวดาเหล่านั้นนั่งแล้ว จึงทำเทวดาเหล่านั้นให้เห็น ให้รับเอา ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยถ้อยคำอันเป็นธรรม เมื่อเทวดาเหล่านั้นใคร่จะทูลลากลับ พระโพธิสัตว์ทรงทราบความคิดของเขาเหล่านั้นด้วยพระหทัยแล้ว จึงยกพระหัตถ์เบื้องขวาขึ้นส่าย คือส่ายไปส่ายมาแต่ไม่กระทบกระเทือนถึงพระมารดา ครั้งนั้นมหาพรหมทั้ง 4 นั้นรู้ว่าพระโพธิสัตว์อนุญาตให้เราไปได้แล้ว ต่างก็กระทำประทักษิณพระโพธิสัตว์และพระมารดาพระโพธิสัตว์ 3รอบ แล้วก็พากันกลับไปนี่คือเหตุ นี่คือปัจจัย ที่พระโพธิสัตว์ส่ายพระหัตถ์ไปมาในราตรีสงัด เมื่อพระองค์ส่ายพระหัตถ์อีกทรงมีสมฤติสัมปรชานะ แล้ววางพระหัตถ์นั้นลง นอกจากนี้ใครๆ มาเพื่อเข้าเฝ้าพระโพธิสัตว์ จะเป็นหญิงก็ตาม ชายก็ตาม เด็กชายก็ตาม เด็กหญิงก็ตาม พระโพธิสัตว์ทรงทักก่อน ให้ได้รับความบรรเทิงใจ พระมารดาของพระโพธิสัตว์จึงทักภายหลัง

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์อยู่ในพระครรภ์พระมารดาดั่งนี้แล เป็นผู้ฉลาดในการทักทายปราศรัยให้ได้รับความบรรเทิง จะเป็นเทวดาก็ตาม นาคก็ตาม ยักษ์ก็ตาม มนุษย์ก็ตาม อมนุษย์ก็ตาม ไม่มีใครที่สามารถทักทายปราศรัยพระโพธิสัตว์ก่อน มีแต่พระโพธิสัตว์ทักเขาก่อน แล้วก็พระมารดาของพระโพธิสัตว์ทักต่อมาในภายหลัง

 

      นัยว่า เมื่อสมัยเวลาเช้าผ่านไปแล้ว ถึงสมัยเวลากลางวัน คราวนี้ องค์ศักรผู้เป็นใหญแก่เทวดาทั้งหลาย ก็ก้าวเข้ามา และเทวบุตรชั้นดาวดึงส์ก็พรากันก้าวเข้ามาเพื่อเข้าเฝ้า เพื่อไหว้ เพื่อเข้านั่งใกล้พระโพธิสัตว์ และมาเพื่อฟังธรรม พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นองค์ศักรและเทวบุตรเหล่านั้นมาแต่ที่ไกลอย่างนี้แล้ว จึงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวาสีเหมือนทองทักทายองค์ศักรผู้เป็นใหญ่แก่เทวดาทั้งหลาย และเทวบุตรชั้นดาวดึงส์เหล่านั้นให้ได้รับความบรรเทิง แล้วชี้อาสนให้  ดูกรภิกษุทั้งหลาย องค์ศักรผู้เป็นใหญ่แก่เทวดาทั้งหลายไม่อาจขัดพระบัญชาของพระโพธิสัตว์ได้ องค์ศักรผู้เป็นใหญ่แก่เทวดาทั้งหลาย กับเทวบุตรอื่นๆจึงต้องนั่งลงบนอาสนอันจัดไว้ พระโพธิสัตว์ทรงทราบว่าเทวบุตรเหล่านั้นนั่งแล้ว จึงให้เห็นให้รับเอา ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยถ้อยคำอันเป็นธรรม พระโพธิสัตว์ส่ายพระหัตถ์ไปทางไหน พระมารดาของพระโพธิสัตว์ก็หันพระพักตร์ไปทางนั้น ครั้นแล้วเทวะบุตรเหล่านั้นก็คิดว่า พระโพธิสัตว์ทักทายเรา แต่ละตนรู้สึกอย่างนี้ว่า พระโพธิสัตว์สนทนากับเรา พระโพธิสัตว์ทักทายเรา ดั่งนี้แล

 

      แสงสว่างในเรือนยอดนั้นแล ได้ปรากฏแก่องค์ศักรผู้เป็นใหญ่แก่เทวดาทั้งหลายและปรากฏแก่เทวดาชั้นดาวดึงส์อีกด้วย เมื่อพระโพธิสัตว์อยู่ในพระครรภ์ของพระมารดาไม่มีสิ่งอื่นจะบริศุทธอย่างนี้เหมือนเครื่องอาศัยของพระโพธิสัตว์อีกเลย  ดูกรภิกษุทั้งหลาย คราวใด องค์ศักรผู้เป็นใหญ่แก่เทวดาทั้งหลาย และเทวบุตรองค์อื่นๆ จะกลับไปคราวนั้น พระโพธิสัตว์ทรงทราบปริวิตกแห่งจิตใจของเทวดาเหล่านั้นด้วยพระทัยของพระองค์ จึงทรงยกพระหัตถ์เบื้องขวาขึ้นส่าย คือส่ายไปมาแล้ว มีสมฤติสัมปรชานะ แล้ววางพระหัตถ์ลง แต่ไม่กระทบกระเทือนพระมารดา คราวนั้น องค์ศักรผู้เป็นใหญ่แก่เทวดาทั้งหลาย และเทวดาชั้นดาวดึงส์องค์อื่นๆก็ทราบว่าพระโพธิสัตว์อนุญาตให้เราไปได้ แล้วเทวดาทั้งหลายเหล่านั้นจึงกระทำประทักษิณ 3 รอบ ต่อพระโพธิสัตว์และพระมารดาของพระโพธิสัตว์แล้ว พากันกลับไป

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเวลาสมัยเวลากลางวันผ่านไปแล้ว ถึงสมัยเวลาเย็น ครั้งนั้นสหาบดีพรหมมีเทวบุตรชั้นพรหมนับจำนวนหลายแสนแวดล้อม นำหน้าถือหยาดโอชะอันเป็นทิพย์นั้น เข้าไปเฝ้าพระโพธิสัตว์เพื่อเยี่ยม เพื่อไหว้ เพื่อเข้าไปนั่งใกล้พระโพธิสัตว์และเพื่อฟังธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ทรงต้อนรับสหาบดีพรหมพร้อมด้วยบริวารที่มานั้น และพระองค์ทรงยกพระหัตถ์เบ้องขวาสีเหมือนทองทักทายสหาบดีพรหมกับเทวบุตรชั้นพรหมให้ได้รับความบันเทิง แล้วชี้อาสนทั้งหลายให้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สหาบดีพรหมไม่อาจขัดพระบัญชาของพระโพธิสัตว์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สหาบดีพรหมกับเทวบุตรชั้นพรหมองค์อื่นๆ จึงต้องนั่งบนอาสนอันจัดไว้  พระโพธิสัตว์ทรงทราบว่าเทวบุตรเหล่านั้นนั่งแล้วจึงให้เห็น ให้รับเอา ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยถ้อยคำอันเป็นธรรม พระโพธิสัตว์ทรงส่ายพระหัตถ์ไปทางใด พระมารดาของพระโพธิสัตว์ก็หันพระพักต์ไปทางนั้น ครั้นแล้วเทวบุตรเหล่านั้น แต่ละตนก็คิดว่า พระโพธิสัตว์สนทนากัเราทักทายเรา คราวใด สหาบดีพรหมกับเทวบุตรชั้นพรหมองค์อื่นๆ ใคร่จะกลับไป คราวนั้น พระโพธิสัตว์ทรงทราบปริวิตกแห่งจิตใจของเทวบุตรเหล่านั้นด้วยพระหทัยของพระองค์ จึงยกพระหัตถ์เขื้องขวาสีเหมือนทองขึ้นส่าย คือส่ายไปส่ายมา ครั้นส่ายไปส่ายมาแล้ว ค่อยๆ ส่ายด้วยอาการอ่อนลงจนหยุด แต่ไม่กระทบกระเทือนพระมารดาครั้นแล้วสหาบดีพรหมและเทวบุตรชั้นพรหมองค์อื่นๆก็ทราบว่า พระโพธิสัตว์อนุญาตให้เรากลับไปได้แล้ว เทพบุ่ตรเหล่านั้นจึงกระทำประทักษิณ 3 รอบ ต่อพระโพธิสัตว์และพระมารดาของพระโพธิสัตว์แล้วพากันกลับไป

 

      พระโพธิสัตว์ทรงมีสมฤติสัมปรชานะแล้ววางพระหัตถ์ลง

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์จำนวนหลายแสนมาแต่ทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบน  ทิศทั้ง 10 ติดต่อกัน เพื่อเข้าเฝ้า เพื่อไหว้ เพื่อเข้าไปนั่งใกล้พระโพธิสัตว์ เพื่อฟังธรรม เพื่อให้พระโพธิสัตว์บรรเลเพลงคือธรรม พระโพธิสัตว์จึงเปล่งรัศมีออกจากพระวรกาย เนรมิตบัลลังก์อันเป็นกลุ่มรัศมีให้แก่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายที่มานั้น ครั้นแล้วก็ให้พระโพธิสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นนั่งบนอาสนเหล่านั้น ครั้นทราบว่าพระโพธิสัตว์เหล่านั้นนั่งแล้วจึงทรงไต่ถาม และให้พระโพธิสัตว์เหล่านั้นซักถามปัญหาเกี่ยวกับมหายาน(*) ของพระโพธิสัตว์ที่มีความสงสัยทั้งส่วนใหญ่และส่วนย่อย แต่คนอื่นไม่เห็รพระโพธิสัตว์เหล่านั้น เว้นแต่เทวบุตรที่มีส่วนเสมอกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี่คือเหตุ นี่คือปัจจัยที่พระโพธิสัตว์ทรงเปล่งรัศมีออกจากพระกายในราตรีสงัด

 

* พึงสังเกตว่า ในคัมภีร์ลลิตวิสตรนี้ มีใช้คำว่ามหายาน ขึ้นแล้ว

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระโพธิสัตว์อยู่ในพระครรภ์พระมารดา พระนางมายาเทวีไม่รู้สึกหนักพระการ นอกจากจะรู้สึกเบา นิ่ม สบาย เท่านั้น และพระนางไม่ได้รับทุกข์ที่ทรงพระครรภ์เลย และพระนางไม่ถูกไฟคือราคะ ไฟคือโทษะ ไฟคือโมหะเผาผลาญ พระนางไม่คิดคำนึงถึงกามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก และพระนางไม่รู้สึกหนาว ร้อน หิว กระหาย มืด ยุ่ง หม่นหมองเลย หรือจะเห็นก็หาไม่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสอันไม่ชอบใจ ย่อมไม่มาปรากฏแก่พระนางเลย พระนางไม่ทรงสุบินร้าย มายาของหญิงคือ ความอวด ความริษยา และเกลศของหญิง ไม่เบียดเบียน พระนางเลย พระมารดาพระโพธิสัตว์ครั้งนั้นสมาทานศีล 5 ทรงรักษาศีล ตั้งอยู่ในกุศลกรรมบถ 10 ราคะจิตในบุรุษคนใดคนหนึ่งไม่เกิดแก่พระมารดาของพระโพธิสัตว์เลย  หรือจะมีบุรุษคนใดคนหนึ่งเกิดราคะจิตในพระมารดาของพระโพธิสัตว์ก็หาไม่ เทวดา นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครุฑ หญิง ชาย เด็กชาย เด็กหญิง ทั้งหลาย ที่ภูติสิง บรรดาที่อยู่ในมหานครกบิลพัสดุ์อันประเสริฐก็ดี หรือในชนบทอื่นก็ดี พอมาเห็นพระมารดาของพระโพธิสัตว์ก็กลับได้สมฤติสำนึกตน อมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น ก็รีบหนีไปทันที ผู้ใดที่โรคต่างๆมาถูกต้อง คือโรคสันนิบาตเกิดแก่ลม ดี เสลด(ตรีทูต) โรคในจักษุ โรคในหู โรคในจมูก โรคในลิ้น โรคในปาก โรคในฟัน โรคในคอ โรคฝีในคอ โรคฝีในอก โรคเรื้อน โรคกลาก โรคหืด โรคลมบ้าหมู โรคไข้ โรคฝีหรือต่อมที่คอ โรคผดผื่น โรคพุพอง เป็นต้น เบียดเบียน พระมารดาของพระโพธิสัตว์วางพระหัตถ์เบื้องขวาลงบนศีรษะของผู้นั้น พอวางพระหัตถ์ลงเท่านั้น เขาเหล่านั้นก็หายเจ็บไข้กลับไปบ้านของตนๆได้ ที่สุดพระนางมายาเทวีถอนหญ้าหรือกอไม้เล็กๆ จากแผ่นดินส่งให้คนไข้ พอคนไข้รับก็หายจากโรค หายพิการ เมื่อใดพระนางมายาเทวีเพ่งดูพระปรัศว์เบื้องขวาของพระองค์ เมื่อนั้นก็แลเห็นพระโพธิสัตว์อยู่ในพระครรภ์ เหมือนเห็นดวงหน้าในวงแว่นใสสะอาด ครั้นแล้วก็มีพระหทัยยินดี เฟื่องฟู ดีพระหทัยเกิดปีติโสมนัส

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่เท่านั้น เมื่อพระโพธิสัตว์อยู่ในพระครรภ์ของพระมารดา ดนตรีทิพย์ก็บรรลือเสียงโดยการตั้งขึ้นประชุมกัน (บรรเลง) ต่อเนื่องกันไปตลอดคืนตลอดวัน ดอกไม้ทิพย์ทั้งหลายก็โปรยลงมา ฝนก็ตกตามฤดูกาล ลมก็พัดตามกลาเวลา ฤดูและนักษัตรก็เป็นไปตามกาลเวลา ราชอาณาจักรปลอดภัย มีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ ประชาชนก็ใจดีไม่วุ่นวาย พวกศากยและคนอื่นๆในมหานครกบิลพัสดุ์อันประเสริฐก็กิน ดื่ม (รื่นเริง) เล่น เที่ยวเตร่ ให้ทาน ทำบุญอยู่ด้วยการเล่นเป็นสุขสำราญทุกมุมเมืองเหมือนอยู่ในกลีบบัว แม้พระราชาศุทโธทนะ ก็ทรงประพฤติพรหมจรรย์หลีกจากราชการแห่งราชอาณาจักร ทรงประพฤติธรรมเหมือนอยู่ในตโปวัน(ป่าบำเพ็ญพรต) อันบริศุทธยิ่ง

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์อยู่ในพระครรภ์ของพระมารดาประกอบด้วยฤทธิปราติหารย(แสดงฤทธิ์ต่างๆ) เห็นปานฉะนี้ ในครั้งนั้น พระผู้มีภคะตรัสเรียก พระอานนท์ผู้มีอายุว่า ดูกรอานนท์ เธอเห็นวิมานแก้วเครื่องอาศัยของพระโพธิสัตว์ไหม ซึ่งพระโพธิสัตว์ร่างเริงอยู่ในพระครรภ์ของพระมารดานั้น? พระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีภคะ ข้าพระองค์เห็นแล้ว ข้าแต่พระสุคต พระตถาคตทรงแสดงแล้วซึ่งวิมานแก้ว เครื่องอาศัยของพระโพธิสัตว์แก่พระอานนท์ผู้มีอายุ แก่องค์ศักรผู้เป็นใหญ่แก่เทวดาทั้งหลาย แก่เทพโลกบาลทั้ง 4 และแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายอื่นๆ นอกจากพระอานนท์ผู้มีอายุและเทพเหล่านั้น บรรดาผู้ที่ได้เห็นต่างก็มีความร่าเริงมีใจเฟื่องฟู มีใจยินดี บันเทิงใจ เกิดปีติโสมนัส ฝ่ายสหาบดีพรหมนั้นได้อัญเชิญวิมานแก้วกลับไปไว้ในเทวโลกอีกเพื่อเป็นเจดีย์(ที่ระลึก)

 

      ครั้งนั้นแล พระผู้มีภคะตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายอีกว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์เมื่ออยู่ในพระครรภ์พระมารดาได้อบรมบ่มอินทรีย์ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายให้แก่กล้าในชญาน 3(*) ถึง 3แสน 6หมื่น ซึ่งมีคำกล่าวไว้ในที่นี้ว่า

 

* ชญาน 3 คือ โพธิสัตวชญาน ปรัตเยกพุทธชญาน และศราวกชญาน

 

      23 พระโพธิสัตว์ผู้เป็นสัตว์อันเลิศ ประทับอยู่ในพระครรภ์ของพระมารดา แผ่นดินพร้อมทั้งป่าดวงก็ไหวมีวิการ 6 อย่าง รัศมีงามดั่งทองก็เปล่งออก อบายทั้งปวงก็ถูกชำระทำให้สะอาด  หมู่เทวดาทั้งหลายต่างก็พากันดีใจว่าจะถึงคลังแห่งธรรมแล้ว ฯ

 

      24 พระโพธิสัตว์ผู้เป็นวีระ เป็นนายกพิเศษเสด็จขึ้นประทับในมหาวิมาน มีทรวดทรงงามด้วยรัตนะเป็นอเนก ซึ่งเต็มไปด้วยแก่นจันทน์ มีกลิ่นหอมที่สุด รุ่งเรืองอยู่ รัตนะมีค่าที่เต็มในโลกมนุษย์ก็จะไปเท่ากับแก่นจันทน์ที่นำมาเพียงหนึ่งกรรษ(*) เท่านั้น ฯ

 

* กรรษเป็นมาตรทองเท่ากับ 16 มาษ หรือหนักเท่าเมล็ดถั่วเขียว 16 เมล็ด

 

      25 โลกธาตุที่เป็นเทวโลก มีหยาดโอชะแห่งดอกบัว ได้ผุดขึ้นเพื่อพระโพธิสัตว์ผู้เป็นบ่อเกิดแห่งคุณธรรม โดยการนำมาไว้ในวิมานนั้น หยาดโอชะแห่งดอกบัวนั้น ขึ้นไปในพรหมโลกด้วยเดชแห่งบุณยถึง 7 ราตรี พรหมได้ถือเอาหยาดโอชะนำมาถวายพระโพธิสัตว์ ฯ

 

      26 ไม่มีผู้ใดในหมู่สัตว์ทั้งปวงบริโภคหยาดโอชะนั้นแล้วย่อยได้ เว้นแต่พระโพธิสัตว์ผู้ยิ่งใหญ่ เหมือนกัลปของพรหม หยาดโอชะโดยเดชแห่งบุณยนี้ทนอยู่ได้หลายกัลป  พระโพธิสัตว์บริโภคแล้ว กายจะถึงความบริศุทธ จิตจะถึงความตรัสรู้ ฯ

 

      27 องค์ศักร พรหม เทพโลกบาล ผลัดกันมาสู่สำนักของพระโพธิสัตว์วันละ 3 เวลา เพื่อบูชาพระโพธิสัตว์ผู้เป็นนายก ครั้นไหว้แล้วบูชาแล้ว ก็ฟังธรรมอันประเสริฐ แล้วจึงทำประทักษิณกลับไปตามที่ควรฯ

 

      28 พระโพธิสัตว์ทั้งหลายในโลกธาตุใคร่จะฟังธรรม ก็พากันมาพระโพธิสัตว์เหล่านั้นนั่งบนอาสนที่เป็นกลุ่มรัศมีซึ่งองค์พระนายกชี้ให้พระโพธิสัตว์ทั้งหลายฟังธรรมอันเป็นยานประเสริฐที่สุดจากกันและกัน ต่างมีจิตยินดี กล่าวสรรเสริญแล้วก็ไป ฯ

 

      29 ครั้งนั้น หญิง และเด็กทั้งหลายที่ได้รับทุกข์ถูกผีสิง จิตใจฟุ้งซ่าน เปลือยกาย ขมุกขมอมด้วยฝุ่น เขาเหล่านั้นทั้งหมด พอเห็นพระนางมายาแล้วก็สว่าง ได้ความรู้สึกประกอบด้วยสมฤติ มติ และคติ กลับไปสู่เรือนของตน ฯ

 

      30 ผู้ใดเป็นโรคสันนิบาต(ประชุม) เกิดแต่ลม  ดี  เสลด (ตรีทูต) โรคในจักษุ โรคในหู ทั้งกายและจิตถูกโรภเบียดเบียน ถูกพยาธิหลายอย่างหลายชนิดรบกวน พอพระนางมายาวางพระหัตถ์ลงบนศีรษะ โรคก็สร่างปราศจากคร่ำคร่า ฯ

 

      31 หรือแม้ว่าพระนารงมายากำหญ้าถอนจากแผ่นดินส่งให้ ผู้เป็นโรคทั้งปวงรับแล้วก็สร่างจากความเดือนร้อน ปราศจากคร่ำคร่า ได้รับความสบายหายพิการกลับไปสู่เรือนของตน เมื่อพระโพธิสัตว์อยู่ในพระครรภ์ได้เป็นทั้งยาและนายแพทย์ ฯ

 

      32 เวลาใดพระนางมายาพิจารณาดูร่างของพระองค์ ก็ได้แลเห็นพระโพธิสัตว์ประทับอยู่ในพระครรภ์ พระโพธิสัตว์ผู้เป็นที่พึ่งประดับด้วยลักษณะดีงาม เหมือนดวงจันทร์ในอากาศมีดาวแวดล้อม ฯ

 

      33 ราคะ โทษะ โมหะ ไม่เบียดเบียนพระโพธิสัตว์ กามฉันทะ(ใคร่ในกาม) ริษยา และคิดให้ร้ายผู้อื่น ก็ไม่มี พระองค์มีจิตยินดี ร่างเริง อิ่มเอิบ ตั้งอยู่ในโสมนัส ความหิวกระหาย ความหนาว ความร้อน ไม่เบียดเบียนพระองค์เลยฯ

 

      34 และดนตรีทิพย์ ไม่มีใครไปแตะต้องก็ดังขึ้นเอง เป็นนิตยกาล(ตลอดเวลา) ดอกไม้ทิพย์มีกลิ่นดีเลิศงามก็โปรยลงมา เทวดาก็เห็นมนุษย์และมนุษย์ก็เห็นอมนุษย์ ต่างไม่เบียดเบียนให้ร้ายซึ่งกันและกันในการเห็นนั้น ฯ

 

      35 สัตว์ทั้งหลาย(คน) ย่อมรื่นรมย์เล่นหัวและให้ข้าวน้ำเปล่งเสียงแสดงความสุขมีใจร่าเริงยินดี ฝนก็ตกตามฤดูกาล ระงับฝุ่นละอองทำให้อากาศแจ่มใส ไม่ยืนต้น ดอกไม้ และไม้ล้มลุกทั้งหลาย ก็งอกงามในกาลนั้นฯ

 

      36 ฝนรัตนะก็โปรยมาในพระราชวังตลอด 7 ราตรี คนยากจนเข็ญใจได้รับทานที่มีผู้ให้ไปบริโภค ไม่มีใครยากจนเข็ญใจ ไม่มีใครทุกข์ยาก ต่างบันเทิงใจเหมือนอยู่ในนันทวันยอดเขาสุเมรุฯ

 

      37 พระราชาศุทโธทนะกับศากยทั้งหลาย รักษาอุโบสถศีลไม่ทำราชการแห่งราชอาณาจักร ประพฤติแต่ธรรมอย่างเดียว พระองค์เสด็จไปสู่ปราสาทซึ่งเป็นเหมือนตโปวัน(ป่าบำเพ็ญพรต) ตรัสถามพระนางมายาเทวีว่า แน่ะนางผู้ทรงไว้ซึ่งสัตว์ประเสริฐ(พระโพธิสัตว์) ร่างกายของเธอเป็นอย่างไร เป็นสุขสบายดีอยู่หรือ ?ฯ

 

อัธยายที่ 6 ชื่อครรภาวักรานติปริวรรต (ว่าด้วยการลงสู่พระครรภ์) ในคัมภีร์ศรีลลิตวิสตร ดั่งนี้แล ฯ

07 สมภพ

 

 

 

อัธยายที่ 7

 

ชนฺมปริวรฺตะ สปฺตมะ

 

ชื่อชมนปริวรรต(ว่าด้วยทรงสมภพ)

 

     กระนั้นแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อล่วงไปแล้วได้ 10 เดือน กาลสมัยที่พระโพธิสัตว์จะบังเกิดใกล้เข้ามาแล้ว บุพนิมิต 32 ประการก็ปรากฏขึ้น ในอุทยานพระราชวังของพระราชาศุทโธทนะ บุพนิมิต 32 ประการ คืออะไรบ้า? คือ ดอกไม้ทั้งปวงแย้มแต่ไมบาน และดอกบัวอุบล บัวปทุม บัวกุมุท บัวปุณฑริก ที่ขึ้นอยู่ในสระทั้งหลายก็ขยายกลีบ แต่ไม่บาน ไม้ดอกไม้ผลทั้งหลายที่เกิดจากพื้นดินมีแต่ดอกแย้ม แต่ไม่ผลิตผล ต้นรัตนได้ปรากฏขึ้นในที่ 8 แห่ง ขุมรัตนะตั้งแสนก็ผุดขึ้น แสดงให้เห็นแหล่งที่อยู่ทั้งหลาย และหน่อรัตนะทั้งหลายก็ปรากฏขึ้นภายในบุรี น้ำหอมเย็นและร้อนอบด้วยน้ำมันหอมก็พุขึ้นมา ลูกราชสีห์ทั้งหลาย พากันมาจากข้างภูเขาหิมพานต์ ก็บรรลือเสียงกระทำประทักษิณนครกบิลพัสดุ์อันประเสริฐ แล้วยืนอยู่ริมประตูเมือง แต่มิได้เบียดเบียนทำร้ายใคร ลูกช้างเผือก 500 พากันมา แล้วเอาปลายงวงเกาพระบาททั้งสองของพระราชาศุทโธทนะ เทพทารก(เทวบุตร)ทั้งหลายคาดเข็มขัด ก็สำแดงให้เห็นผลัดเปลี่ยนนั่งตักกันในบุรีของพระราชาศุทโธทนะ นางนาคทั้งหลายสำแดงให้เห็นกึ่งตัวในพื้นอากาศ ถือเครื่องบูชาต่างๆห้อยลงมา นางนาคตั้งหมื่นกำหางนกยูงแสดงให้เห็นอยู่ในอากาศ หม้อเต็มด้วยน้ำตั้งหมื่นก็สำแดงการประทำประทักษิณมหานครกบิลพัสดุ์  นางเทพกันยาตั้งหมื่นถือคนโทน้ำหอมเทินศีรษะมาสำแดงให้ปรากฏ นางเทพกันยาตังหมื่นยืนถือฉัตร ธงชัย ธงปตาก มาสำแดงให้ปรากฏ นางอัปสรมากตั้งแสน มายืนสำแดงตนให้ปรากฏด้วยเป่าสังข์ ตีกลองใหญ่ กลองชนะ(กลองเล็ก ไกวบัณเฑาะว์ เคาะระฆัง ลมก็หยุดมิได้พัด แม่น้ำทั้งปวงมิได้ไหลและมิได้พัดพา วิมานของจันทร์ อาทิตย์ และหมู่ดาวนักษัตรทั้งหลาย ก็มิได้พาไป (ไม่เคลื่อนที่) เวลานั้นเป็นเวลาประกอบด้วยปุษยฤกษ์ พระราชวังของพระราชาศุทโธทนะก็พราวไปด้วยข่ายแก้ว ส่วนไฟมิได้ร้อน แก้วมณีทั้งหลายก็ปรากฏห้อยอยู่ที่เรือนยอดปราสาท ซุ้มทวาร คลังผ้า และคลังรัตนะต่างๆก็ปรากฏว่าปิดหมด เสียงกา นกฮูก แร้ง มหาป่า หมาจิ้งจอก ได้หายไปหมด ได้ยินแต่เสียงที่ดีๆ ตัดขาดจากคนบ้านนอก และกรรมกรทั้งปวงพื้นดินที่สูงๆ ต่ำๆ ก็เรียบราบเสมอกัน ทางเดินสี่แพร่ง ถนนหลวง ร้านตลาดที่เป็นประธานก็เกลี้ยงเกลาเหมือนขัดด้วยฝ่ามือ ดาษดาไปด้วยดอกไม้สง่างาม หญิงครรภ์แก่ทั้งปวงก็คลอดง่าย เทวดาในป่าสาละวัน(ป่ารัง)ทั้งปวงก็เนรมิตกายสำแดงตนอยู่บนใบไม้ นมัสการอยู่ บุพนิมิตทั้งหลาย 32 ประการได้ปรากฏแล้ว

 

    ครั้งนั้นแล พระนางมายาเทวีทรงทราบกาลสมัยประสูติพระโพธิสัตว์ จึงเข้าไปเฝ้าพระราชาศุทโธทนะในราตรียามต้น ด้วยอานุภาพแห่งเดชของพระโพธิสัตว์ ได้ทูลเป็นคำประพันธ์ว่า

 

    1 ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์ได้โปรดทรงฟังคำ  ซึ่งเป็นความคิดของหม่อมฉัน คือความคิดอันเกิดขึ้นแล้วโดยปัจจุบันทันด่วนถึงอุทยาน ถ้าพระองค์ไม่ดุ ไม่กริ้ว ไม่เข้าพระหทัยผิด หม่อมฉันจะไปยังพื้นทีอุทยานเป็นที่เล่นสนุกสนานโดยด่วน ฯ

 

    2 พระองค์ก็ทนทุกข์ในการบำเพ็ญพรตนี้มาแล้ว ทรงประกอบพระหทัยในธรรมหม่อมฉันตั้งครรภ์สัตว์บริศุทธประทับมานานแล้ว สาละพฤกษ์(ไม้รัง) ที่รู้กันว่าเป็นไม้ประเสริฐ ออกดอกแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐหม่อมฉันควรจะไปสู่พื้นที่อุทยาน ฯ

 

    3 ฤดูวสันต์(ฤดูใบไม้ผลิ) เป็นฤดูประเสริฐ ควรแก่การประดับของหญิงทั้งหลาย ระงมไปด้วยเสียงประเสริฐแห่งแมลงภู่ นกดุเหว่าส่งเสียงกู่ขับร้อง เป็นสถานที่สะอาดงามวิจิตร มีเกสรดอกไม้ปลิวว่อน หม่อมฉันขอโอกาสได้โปรดประทานพระกระแสสั่งให้หม่อมฉันไป อย่างหน่วงเหนี่ยวไว้เลยฯ

 

    4 พระเจ้าแผ่นดินได้ทรงฟังคำของพระนางเทวีนี้แล้ว ก็ทรงยินดีมีพระหทัยบรรเทิง ตรัสแก่ที่ประชุมทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายจงจัดแถวพาหนะคือม้า ช้าง และรถ จงตกแต่งสวนสุมพินีให้มั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยคุณปันประเสริฐ ฯ

 

    5 จงจัดผูกช้างสีเมฆเหมือนภูเขาเขียวให้ได้ 2 หมื่น และจัดพระยาช้างฉัททันต์ (6 งา) สีข้างงามด้วยห้อยระฆัง คลุมด้วยข่ายทองงามวิจิตรด้วยแก้วแกมสุวรรณฯ

 

    6 จงจัดม้า 2 หมื่น มีผมงามเหมือนหญ้ามุญชะ(หญ้าซุ้มกระต่าย) สีข้างประดับด้วยเครื่องทอง ห้อยข่ายลูกพรวน มีกำลังเร็วเหมือนลมพัด ซึ่งเป็นพาหนะของพระเจ้าแผ่นดินฯ

 

    7 จงจัดหมู่คน 2 หมื่นโดยเร็ว เลือกที่เป็นนักรบกล้าหาญ กระหายสงคราม ถือดาบ ธนู ลูกศร หอก บ่วงบาศ พระขรรค์ จงรักษามายาเทวีกับพวกบริวารโดยไม่ประมาทฯ

 

    8 จงทำอุทยานลุมพินี ให้เหมือนราดรด้วยแก้วและทอง ประดับต้นไม้ด้วยผ้ารัตนะต่างๆ ให้เหมือนอุทยานนันทวันของเทวดาทั้งหลายอันวิจิตรงามด้วยดอกไม้ต่างๆเมื่อจัดเสร็จแล้ว จงมาบอกเราโดยเร็วฯ

 

    หมู่คนทั้งหลายรับคำนี้แล้ว ก็ตระเตรียมพาหนะและประดับอุทยานลุมพินี โดยทันใดนั้น

 

    หมู่คนทั้งหลาย ทูลว่า

 

    9 ชโย ชโย ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่แก่คนทั้งหลาย ขอพระองค์จงรักษาพระชนมายุไว้ให้ยืนนาน ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ข้าพระองค์ทำตาม พระดำรัสเสร็จทุกอย่างแล้ว ขอพระองค์จงทอดพระเนตรเถิดฯ

 

    10 ฝ่ายพระราชาผู้เป็นใหญ่ประแก่คนทั้งหลายนั้น ทรงดีพระทัย เสด็จไปสู่พระตำหนักอันประเสริฐ ตรัสกับพระสนมประจำพระองค์ทั้งหลายว่า นางใดเต็มใจ และใคร่จะให้เรารัก นางนั้นจงแต่งตัวทำตามคำสั่งของเราฯ

 

    11 พวกเจ้าจลุกขึ้นนุ่งห่มผ้าที่มีกลิ่นหอมอันประเสริฐ มีสีตามสภาพงาม ให้เป็นที่น่ารัก ละมุนละไม จงห้อยสร้อยมุกดาหารไว้ที่ทรวงอก จงแสดงการประดับเครื่องอาภรณ์ให้พร้อมสรรพในวันนี้ ฯ

 

    12 จงไกวบัณเฑาะว์ ตีกลองชนะ (กลองเล็ก) ดีดพิณ เป่าขลุ่ย บรรเลงดนตรีตั้งแสดให้ไพเราะ ทำให้นางฟ้าทั้งหลายยินดีมาก แม้เทวดาทั้งหลายได้ยินเสียงไพเราะแล้ว ก็อยากฟังฯ

 

    13 มายาเทวีจะสถิตย์ในรถอันประเสริฐแต่ผู้เดียว บุรุษหรือสตรีอื่นๆอย่าขึ้นไปบนรถนั้น นารีสวมเสื้อสีต่างๆลากรถนั้นไป อย่าให้นางเห็นสิ่งสกปรก อย่าให้นางได้ยินเสียงไม่เพราะหูฯ

 

    14 ได้ยินเสียงกึกก้องกองทหารอันมีสิริและงดงาม คือ ทหารม้า ทหารช้าง ทหารรถ และทหารราบ คอยอยู่ที่ประตูเมืองของพระเจ้าแผ่นดินเหมือนได้ยินเสียงมหาสมุทรกำเริบ................ฯ

 

    15 พอพระนางมายาเสด็จออกจากพระตำหนักถึงริมประตูเมืองพนักงานก็ตีระฆังขึ้นตั้งแสนเพื่อถวายชัยมงคลฯ

 

    16 รถอันวิจิตรนั้น พระเจ้าแผ่นดิน(ศูทโธทนะ) ให้ประดับด้วยด้นไม้แก้ว 4 มุม มีใบ มีดอก มีหงส์ นกกะเรียน นกยูง บรรลือเสียงเป็นที่เพราะจับใจฯ

 

    17 ไวชยันต์รถนั้น ยกฉัตร ธงชัย ธงปตาก คลุมด้วยผ้าทิพย์ มีข่ายห้อยลูกพรวนอันประเสริฐ มีนางฟ้าในอากาศพากันมองดูรถนั้น แล้วก็ให้ได้ยินเสียงประกาศไพเราะอันเป็นทิพย์สรรเสริญพระนางฯ

 

    18 พอพระนางมายานั้นขึ้นประทับบนจอมพระแท่น พื้นแผ่นดินมนุษย์โลกก็ไหวหวั่นด้วยวิการ 6 เทพยดาก็โปรยดอกไม้ ท้องฟ้าปั่นป่วน ดังออกมาว่า วันนี้ผู้ประเสริฐที่สุดในโลกจะเกิดในอุทยานลุมพินีฯ

 

    19 เทพโลกบาลทั้ง4มาลากรถนั้น แม้องค์อินทร์ผู้เป็นเจ้าสวรรค์ก็มาทำความสะอาดในหนทาง  พรหมก็ออกหน้าคอยห้ามทุรชน เทวดาตั้งแสนพากันประนมมือนอบน้อมฯ

 

    20 พระเจ้าแผ่นดิน(ศูทโธทนะ) ร่างเริงบรรเทิงพระทัยเมื่อทอดพระเนตรดูขบวนนั้น เทวดาใหญ่น้อยทั้งหลายมีพฤติการประจักษ์อย่างไร ก็ประจักษ์แก่พระองค์อย่างนั้น โลกบาลทั้ง 4 พรมห เทวดา พร้อมด้วยองค์อินทร์ กระทำการบูชาอันไพบูลย์ ก็ประจักษ์อย่างชัดเจนฯ

 

    21 ไม่มีสัตว์ในภพ 3 จะทนต่อการบูชานี้ได้ เทวดา นาค องค์สักกะ พรหม และเทพโลกบาล (ถ้าได้รับการบูชาอย่างนี้) ศีรษะจะแตก และชีวิตจะดับแต่พระโพธิสัตว์ผู้เป็นอติเทพ ย่อมทนต่อการบุชานี้ได้ทุกอย่างฯ

 

    กระนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระนางมายาเทวีแวดล้อมด้วยรถม้า 8 หมื่น 4 พัน ล้วนประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง และแวดล้อมด้วยทหารราบ 8 หมื่น 4 พันล้วนแร่งกล้า ห้าวหาญ รูปงาม สวมเกราะหนังมั่นคงทะมัดทะแมง เสด็จนำหน้านางศากยกันยา 6 หมื่น สรศากยแก่หนุ่มและกลางคน 4 หมื่น ล้วนบังเกิดในตระกูลญาติของพระราชาศุทโธทนะ ดุแลรักษาแล้ว และแวดล้อมด้วยนางสนมกำนัลของพระราชาศุทโธทนะ 6 หมื่น ล้วนขับกล่อมประโคมดนตรีบรรเลงสังคีต และแวดล้อมด้วยเทพกันยา 8หมื่น 4พัน แวดล้อมด้วยนาคกันยา คนธรรพ์กันยา กินนรกันยา อสุรกันยา พวกละ 8 หมื่น 4 พัน ทั้งนี้ล้วนประดับด้วยเครื่องอลังการตามขบวนต่างๆ บรรเลงเพลงต่างๆ กล่าวสรรเสริญพลางตามเสด็จพระนางเมื่อเสด็จออกไป อุทยานลุมพินีรดด้วยน้ำหอมโปรยดอกไม้ทิพย์ไปจนทั่ว ต้นไม้ทั้งปวงในป่าอันประเสริฐนั้น ย่อมแตกใบผลิดอกออกผลในสมัยใช่ฤดูกาล และเทวดาทั้งหลายก็มาประดับสวนนั้นให้ นั่นคือเหมือนประดับสวนมิสกวันของเทวดาทั้งหลาย

 

    ครั้งนั้นแล พระนางมายาเทวี เสด็จเข้าไปสู่ป่าลุมพินิวัน แล้วเสด็จลงจากรถประเสริฐนั้น แวดล้อมไปด้วยสาวมนุษย์และสาวเทวดา ทรงประพาสจากต้นไม้นี้ สู่ต้นไม้นั้น ทรงดำเนินจากป่านี้สู่ป่านั้น ทอดพระเนตรจากพุ่มไม้นี้สู่พุ่มไม้นั้น เป็นลำดับไปจนถึงต้นมะเดื่อ(ปลกษวฤกษ) ต้นไม้งามบวรดั่งแก้ว มีกิ่งแบ่งแยกออกเป็นสัดส่วน ทรงใบและก้านสม่ำเสมอ มีดอกไม้ต่างๆ ทั้งเป็นทิพย์และเป็นของมนุษย์บานสะพรั่งห้อยด้วยผ้าสี่ต่างๆ มีกลิ่นต่างๆ ล้วนหอมดีเลิศประเสริฐยิ่งนักช่วงโชติไปด้วยแสงแก้วมณีอันวิจิตรหลากหลาย มีโคน ลำต้น กิ่ง ใบ ประดาบประดาด้วยรัตนะทั้งปวงมีกิ่งแผ่ขยายแยกย้ายเป็นอันดี ตั้งต้นอยู่ในพื้นดินซึ่งเป็นภูมิภาคราบเสมอเหมือนฝ่ามือมีหญ้าเขียวสด แผ่ขยายแยกย้ายงามดีออกไปเป็นพืดงามดีสัมผัสนุ่มนวลเหมือนสัมผัสฝักมะกล่ำเครือ(*) พระมารดาของพระพุทธเคยประทับมาแล้ว เป็นที่ตั้งวงดนตรีบรรเลงเพลงขับร้องของเทวดา งามบริศุทธปราศจากมลทิน เทพยดาชั้นศุทธาวาสตั้งแสน ได้มาน้อมชฎาและมกุฎยอบลงมาน้อมคำนับกราบไหว้ด้วยเศียรเกล้า ด้วยใจนับถือ พระนางได้เสด็จไปยังไม่มะเดื่อต้นนั้น

 

* ฝักมะกล่ำเครือ ศัทพืซ่า กาจิลินทิก มอเนีย วิลเลียมแปลไว้ว่า ไม้เถาเมืองร้อนตระกูลหนึ่ง มีใบแยกจากกึ่งกลาง 2 แถวอย่างใบแค มีดอกสีเกือบม่วง ที่โคนตอกเป็นกระบอก 4 ลอน และมี่ฝักแบนๆ

 

    ครั้งนั้น ไม้มะเดื่อต้นนั้น ได้น้อมลงมาคำนับ ด้วยอานุภาพของพระโพธิสัตว์ พระนางมายาเทวีจึงเหยียดพระหัตถ์ขวา ปรากฏเหมือนสายฟ้าอันอยู่ในพื้นอากาศยึดกิ่งมะเดื่อแหงนมองอากาศที่มีน้ำฉ่ำ ทรงประทับยืนอย่างชดช้อย ครั้นแล้ว นางอัปสร 60 แสนจากสวรรค์ชั้นกามาพจรเข้าไปเฝ้าทำการรับใช้ในที่ใกล้ๆพระนางเทวีในครั้งนั้น

 

    พระโพธิสัตว์อยู่ในพระครรภ์พระมารดาประกอบด้วยฤทธิปราติหารยเห็นปานนี้ครั้นครบ 10 เดือนล่วงไปแล้ว พระองค์ก็เสด็จออกจากพระปรัศว์(สีข้าง)เบื้องขวาของพระมารดา ทรงมีสมฤติสัมปรชานะ ไม่เปรอะเปื้อนด้วยครรภ์มลทิน (สิ่งสกปรกในครรภ์)ไม่เหมือนคนอื่นบางคนที่เขาพูดถึงครรภ์มลทินของคนอื่น

 

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้นแล องค์อินทร์ผู้เป็นใหญ่แก่เทวดาทั้งหลาย และสหัมบดีพรหม ได้มายินอยู่เบื้องหน้า ซึ่งทั้ง 2 องค์นั้น เกิดความเคารพพระโพธิสัตว์อย่างยิ่งมีสมฤติสัมปรชานะ ช่วยกันรับพระโพธิสัตว์ซึ่งอยู่ภายในผ้าไหมทิพย์ด้วยอวัยวะใหญ่น้อยทุกส่วน

 

    เรือนยอดที่พระโพธิสัตว์ประทับเมื่อยู่ในพระครรภ์มารดานั้นสหัมบดีพรหมและเทวบุตรชั้นพรหมกายิกาได้อัญเชิญน้อมนำไปยังพรหมโลกเพื่อให้เป็นเจดีย์และเพื่อบูชา มนุษย์ใดๆไม่ได้อุ้มพระโพธิสัตว์เลย เพราะเทวดาอุ้มพระโพธิสัตว์ก่อนเพือน

 

    ขณะนั้น  พระโพธิสัตว์ พอเกิดออกมาแล้วก็ทรงหย่อนพระบาทลงสู่แผ่นดินในระหว่างที่พระโพธิสัตว์หย่อนพระบาทลงมานั้น ดอกบัวใหญ่ก็ชำแรกมหาปฐพีปรากฏขึ้นมา พระยานาคทั้ง 2คือ นันทะ และอุปนันทะ มีกายกึ่งหนึ่งอยู่ในอากาศ เนรมิตท่อน้ำ 2 ท่อ คือ น้ำเย็นกับน้ำร้อนสรงสนานพระโพธิสัตว์ องค์สักกะ พรหม โลกบาลที่มาก่อน และเทวบุตรอื่นเป็นอันมากหลายแสน พอพระโพธิสัตว์เกิดออกมาแล้ว ก็สรงสนานด้วยน้ำหอมต่างๆและโปรยปรายด้วยดอกไม้ไข่มุก จามรี 2 องค์ ฉัตรแก้ว 1องค์ ปรากฏขึ้นในอากาศ พระโพธิสัตว์ประทับอยู่ในดอกบัวใหญ่นั้น ทอดพระเนตรดูทิศทั้ง 4 (ครั้นทอดพระเนตรดูทิศทั้ง 4 แล้ว ) ทรงทอดพระเนตรอย่างราชสีห์มองและอย่างมหาบุรุษมอง

 

    ก็ในสมัยนั้นแล พระโพธิสัตว์เห็นโลกธาตุ คือ มนุษย์โลก และเทวโลกทั้งหมดพร้อมทั้งเมือง ตำบล หมู่บ้าน ราษฎร และเมืองหลวง พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ด้วยทิพย์จักษุ ซึ่งปรากฏเป็นจักษุทิพย์เห็นได้ตลอด ไม่มีอะไรกำบัง อันเกิดจากผลแห่งกุศลมูลในปางก่อน ทรงทราบจิตและความเป็นมาของสัตว์ทั้งปวงแล้ว ครั้นทราบแล้วจำสำรวจดูว่า มีบ้างไหม สัตว์ผู้ใดเหมือนเรา ด้วยศีล สมาธิ ปรัชญา หรือด้วยการประพฤติในกุศลมูล?  เมื่อพระโพธิสัตว์ไม่ทรงเห็นว่า สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งในโลกธาตุคือ มนุษย์โลกและเทวโลกจะเทียบเท่าพระองค์แล้ว ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ก็ปราศจากความกลัว ไม่สะดุ้งตกพระทัยเหมือนสิงห์ไม่พรั่นพรึง ทรงระลึก ทรงคิดแต่สิ่งที่คิดไว้ดีแล้ว ทรงทราบจิตและความเป็นมาของสัตว์ทั้งปวง พระองค์ไม่มีใครประคอง ทรงหันพระพักตร์ไปทรงทิศตะวันออก ย่างพระบาทไป 7 ก้าว แล้วตรัสว่า เราจะเป็นผู้ถึงก่อน ซึ่งธรรมที่เป็นกุศลมูลทั้งปวง ฉัตร(ร่ม)กว้างสีขาวเป็นทิพย์ ไม่มีใครถือ แซ่ขนจามรี 2 องค์(ไม่มีใครถือ) ก็ตามพระโพธิสัตว์ซึ่งเสด็จไป พระโพธิสัตว์ย่างพระบาทไปในที่ใดๆดอกบัวหลวงทั้งหลายก็ปรากฏในที่นั้นๆ พระองค์ทรงหันพระพักตร์ไปทางทิศทักษินย่างพระบาทไป 7 ก้าว แล้วตรัสว่า เราจะเป็นผู้ควรแก่ทักษิณา(ทานที่ผู้ให้เพื่อผลอันเจริญ)ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พระองค์หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก ย่างพระบาทไป 7 ก้าวทรงหยุดอยู่ในก้าวที่ 7 แล้วตรัสพระวาจาขึ้นมาลอยๆอย่างไม่ใช่ขอพระองค์เหมือนสิงห์ว่า เราเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา เราจะทำที่สุดแห่งทุกข์คือชาติ ชรา มรณะ พระองค์หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ ย่างพระบาทไป 7 ก้าว แล้วตรัสว่า เราเป็นผู้สูงสุดของสัตว์ทั้งปวงไม่มีใครยิ่งกว่า พระองค์หันพระพักตร์ไปทางทิศเบื้องล่าง ย่างพระบาทไป 7 ก้าว แล้วตรัสว่าเราจะกำจัดมารและเสนามาร เราจักโปรยฝนคือธรรมพร้อมกับบำบัดไหนรกของสัตว์นรกทั้งหลาย ซึ่งสัตว์นรกทั้งหลายจะได้เพียบพร้อมไปด้วยความสุขพระองค์หันพระพักตร์ไปทางทิศเบื้องบน ย่างพระบาทไป 7 ก้าว และแหงนไปดูเบื้องบน แล้วตรัสว่า เราจะเป็นผู้ที่สัตว์ทั้งปวงควรแหงนดู ระหว่างที่พระโพธิสัตว์ตรัสวาจานี้ และในสมัยนั้นโลกธาตุคือ มนุษยโลก และเทวโลกก็ได้แผ่ซ่านไปด้วยพระสุรเสียง อันนี้คือความเป็นธรรมได้แก่ความรู้ยิ่ง ซึ่งเกิดจากผลแห่งกรรมของพระโพธิสัตว์

 

    กาลใด พระโพธิสัตว์ผู้เกิดในชาติสุดท้ายเกิดขึ้นแล้ว และกาลใด พระโพธิสัตว์ตรัสรู้สัมยักสัมโพธิ กาลนั้นฤทธิปราติหารยเห็นปานนี้เหล่านี้ก็ย่อมบังเกิดขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นัยว่า ในสมัยนั้น สัตว์ทั้งหลายเกิดขุมขนชูชัน เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ในโลกซึ่งน่ากลัว ขนลุกขนพอง ดนตรีทั้งหลายทั้งของทิพย์และของมนุษย์ ไม่มีใครไปแตะต้องก็บรรเลงขึ้นเอง ต้นไม้ทั้งหลายที่เป็นไปตามฤดูกาล มาในสมัยนั้นก็ผลิดอกออกผลในโลกธาตุคือมนุษยโลกและเทวโลกและเสียงเมฆก็ได้ยินมาจากอากาศอันแจ่มใสละอองฝนอันละเอียดยิ่ง ก็โปรยลงมาอย่างช้าๆจากอากาศปราศจากเมฆ ลมมีกลิ่นหอมพัดมากระทบทำให้เป็นสุขอย่างยิ่ง และโชยมาอย่างแผ่วเบา เจือด้วยละอองฝน ดอกไม้ ผ้า เครื่องประดับ ผงจันทน์หอมอันเป็นทิพย์ต่างๆ ก็พัดตลบไป และทุกทิศก็ปราศจากความมืด ฝุ่น หมอกควัน น้ำค้าง สดใส แจ่มแจ้ง ได้ยินแต่เสียงประกาศของมหาพรหมเป็นเสียงลึกๆไม่มีใครเหมือน มาจากอากาศเบื้องบน และได้มีแสงสว่างเหนือกว่าแสงสว่างของจันทร์ อาทิตย์ องค์สักกะ พรหม โลกบาล โลกธาตุคือมนุษยโลก และเทวโลกก็แจ่มแจ้งด้วยรัศมีสีสรรพ์ตั้งร้อยตั้งพันเป็นอเนก เมื่อกระทบรัศมีนั้นเกิดความสุขอย่างยิ่ง และรัศมีนั้นทำให้เกิดความสุขกายสุขจิตของสัตว์ทั้งปวง ล่วงพ้นวิษัยโลก นัยว่าระหว่างเมื่อพระโพธิสัตว์เกิด สัตว์ทั้งปวงเพียบพร้อมไปด้วยความสุขแต่อย่างเดียวปราศจากความรัก (กำหนัด) ความชัง ความกระด้าง ความหดหู่ ความทุกข์ ความกลัว ความโลภ ความริษยา ความตระหนี่ทั้งปวง เว้นจากการกระทำอกุศลทั้งปวงความป่วยไข้ของสัตว์ทั้งหลายผู้ที่ป่วยไข้ ก็สงบระงับไป ความหิวกระหายของสัตว์ผู้หิวกระหาย ก็สงบไป และสัตว์ที่เมาด้วยของมึนเมา ก็สร่างเมาหายเมา ผู้ที่เป็นบ้าคลั่งก็ได้สติ ผู้มีจิกษุพิการ ก็ได้จักษุดีดั่งเดิม ผู้มีหูพิการก็ได้หูดีตั่งเดิม ผู้ที่มีอินทรีย์พิการโดยเสียอวัยวะน้อยใหญ่ ก็หายอินทรีย์พิการ สัตว์ผู้ยากจนก็ได้ทรัพย์ สัตว์ที่ถุกกักขังจองจำด้วย เครื่องกักขังจองจำ ก็หลุดจากเครื่องกักขังจองจำ ความทุกข์ของสัตว์นรกทั้งปวงนับตั้งแต่อเวจีนรกเป็นต้น อันเกิดจากเหตุทั้งปวงก็ระงับในขณะนั้นความทุกข์ของสัตว์เดรัจฉานทั้งหลายกมีกินกันเองเป็นต้น ก็ระงับ ความทุกข์ของสัตว์ทั้งหลายผู้อยู่ในยมโลก(เปรต)อันเกิดจากความหิวกระหาย ก็ได้สงบระงับไป

 

    และกาลใด พระโพธิสัตว์พอเกิดแล้วย่างไป 7 ก้าว กาลนั้น พระพุทธเจ้าผู้มีภคะ (*) ทั้งหลาย ซึ่งอยู่ในโลกธาตุทั้ง 10 ก็อธิษฐานประเทศคือแผ่นดินตรงนั้นให้ล้วนแล้วไปด้วยความแข็งเหมือนเพชร โดยหน่วงเหนี่ยวเอาความเป็นธรรมคือความเพียรและกำลังอย่างใหญ่หลวง ซึ่งเกิดด้วยความประพฤติสุจริตมาตั้งหมื่นแสนโกฏิปัลปนับไม่ถ้วน  ซึ่งทำให้แผ่นดินใหญ่ตรงประเทศนั้นไม่มีใครทำให้ยุบลงได้ ดูกรภิกษุทั้งหลายพระโพธิสัตว์พอเกิดแล้วย่างไป 7 ก้าว ก็ประกอบด้วยกำลังและแรงกระตุ้นถึงเพียงนั้นในครั้งนั้นภูมิประเทศโลกันตร์ก็แจ่มแจ้งด้วยแสงสว่างอย่างใหญ่หลวง และในคราวนั้นเสียงขับร้องฟ้อนรำ ก็ได้มีขึ้นอย่างใหญ่หลวง ในสมัยนั้น เมฆฝนที่เป็นดอกไม้ ผงจันทน์หอม พวงมาลัย รัตนะ เครื่องประดับ และผู้ก็ตกลงมาหาประมาณมิได้ สัตว์ทั้งหลายต่างเพียบพร้อมไปด้วยความสุขเป็นอย่างยิ่ง นี่เป็นกิริยาโดยสังเขป เป็นอจินไตย ซึ่งในครั้งเมื่อพระโพธิสัตว์ปรากฏในโลก โลกทั้งปวงได้สูงขึ้น

 

* ผู้มีภคะ หมายถึงผู้มีสมบัติ 6 ประการ คือทรัพย์ วีรยะ ชญาน ไวราคยะ ยศ ศรีหรือสิริ

 

      ครั้งนั้นแล พระอานนท์ผู้มีอายุ ลุกขึ้นจากอาสน ห่มผ้าอุตราสงค์เฉียงบ่าข้างหนึ่ง คุกมณฑลเข่าขวาลงยังพื้นดิน ประนมอัญชนีพระผู้มีภคะแล้ว ทูลพระผู้มีภคะว่า ข้าแต่พระผู้มีภคะ พระตถาคตเป็นผู้อัศจรรย์ของสัตว์ทั้งปวง พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์ยังประกอบด้วยอัพภูตธรรม(สภาพที่ไม่เคยมีไม่เคยเป็น) โดยแท้จะป่วยกล่าวไปใยเมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมยักสัมโพธิ ข้าพระองค์นั้นขอถึงพระผู้มีภคะเป็นสรณะ 4 ครั้ง 5 ครั้ง 10 ครั้ง 50 ครั้ง 100 ครั้ง ข้าแต่พระผู้มีภคะ ข้าพระองค์ขอถึงพระพุทธผู้มีภคะเป็นสรณะแม้ตั้งหลายแสนครั้ง

 

    เมื่อพระอานนท์ทูลดั่งนี้แล้ว พระผู้มีภคะจึงตรัสแก่พระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ต่อไปในทางข้างหน้า จะมีภิกษุบางพวกมิได้อบรมกาย มิได้อบรมจิต มิได้อบรมศีล มิได้อบรมปรัชญา เป็นพาลไม่เป็นบัณฑิต ถือตัวจัด ยกตน หัวสูง ไม่สำรวม จิตใจฟุ้งซ่าน พัวพันอยู่ด้วยความสงสัย มากไปด้วยความกินแหนง ไม่มีศรัทธา เป็นสมณะมีมลทิน เป็นสมณะจอมปลอม เขาเหล่านั้นจะไม่เชื่อว่าพระโพธิสัตว์ลงสู่พระครรภ์มีความบริศุทธเห็นปานนี้ เขาจะประชุมกันแล้วพูดกันว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงดูเถิดท่านทั้งหลาย นัยว่า เมื่อพระโพธิสัตว์ อยู่ในพระครรภ์ของพระมารดาเกลือกกลั้วด้วยฟองอุจจาระปัสสาวะ แต่กลับวิเศษเกินกว่ามนุษย์ธรรมดาเช่นนี้ กลับพูดว่าพระโพธิสัตว์นั้นออกมาจากพระครรภ์เบื้องขวาของพระมารดา ไม่เปรอะเปื้อนด้วยครรภ์ มลทิน เรื่องนี้เราไม่บูชา ดั่งนี้ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น คนงมงายเหล่านั้นไม่รู้ดอกว่า กายของผู้ทำกรรมดีทั้งหลาย ย่อมไม่เป็นไปในฟองอุจจาระปัสสาวะ การลงสู่ครรภ์ของสัตว์ผู้ทำความดีเช่นนั้น  มีแต่ความเจริญโดยแท้ จริงอยู่พระโพธิสัตว์ผู้ประทับอยู่ในพระครรภ์เกิดมาในมนุษยโลกก็เพื่ออนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย เป็นเทวดาเสียแล้วจะหมุนธรรมจักรให้เป็นไปไม่ได้ นั่นเพราะเหตุไร ? ดูกรอานนท์ เพราะจะไม่ให้สัตว์ทั้งหลายถึงความท้อใจคือท้อใจว่าพระตถาคตเป็นผู้มีภคะ เป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นเทวดา พวกเราไม่สามารถที่จะบำเพ็ญให้ถึงฐานะของพระตถาคตได้ ธรรมของคนงมงายเหล่านั้น ซึ่งเป็นโจร จักไม่มีอย่างนี้ว่า พระโพธิสัตว์เป็นสัตว์อจินไตย(คิดไม่ถึง) พระโพธิสัตว์นั้น เราทั้งหลาย ประมาณ(ชั่ง ตวง วัด) มิได้ ดั่งนี้ ดูกรอานนท์ พวกนั้นเขาจะไม่เชื่อพุทธฤทธิปราติหารยในครั้งนั้น จะป่วยกล่าวไปไยถึงการที่เขาจะเชื่อพระโพธิสัตว์ปราติหารยของตถาคตเมื่อครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่เล่า ดูกรอานนท์ คอยดูเถิด คนงมงายพวกนั้น เขาจะปรับปรุงตกแต่งปุณยภิสังสการให้มากขึ้นได้อย่างไร เขาปฏิเสธธรรมทั้งหลายของพระพุทธเสียแล้ว เขาได้ถูกอามิสคือลาภสักการครอบงำเสียแล้ว ติดอยู่ในอุจจาระ ถูกลาภสักการครอบงำไว้แล้ว มีชาติต่ำทราม

 

    พระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีภคะ ต่อไปในทางข้างหน้า ขออย่าให้มีภิกษุอย่างนี้แก่ข้าพระองค์เลย ซึ่งเขาละทิ้งสูตรอันเจริญอย่างนี้เหล่านี้เสีย และแล่นไปเป็นปฏิปักษ์

 

    พระผู้มีภคะตรัสว่า ดูกรอานนท์ ภิกษุอยางนี้นั้น ละทิ้งและคัดค้านสูตรเสียแล้ว เขาจะปรับปรุงตกแต่งอภิสังสการอันเป็นบาปอื่นๆเป็นอเนกประการ พวกนี้จะไม่มีประโยชน์ด้วยความเป็นสมณะ (บวชเสียผ้าเหลือง)

 

    พระอานนท์ทูลว่า ข้อแต่พระผู้มีภคะ คนที่เป็นอสัตบุรุษเช่นนั้น จะมีคติ(ทางไป) อย่างไร?

 

    พระผู้มีภคะตรัสว่า คติใด เป็นไปเพื่อทำให้ความตรัสรู้ของพระพุทธสูญหายไปและเป็นไปเพื่อติเตียนพระพุทธผู้มีภคะทั้งใน อดีต อนาคต ปัจจุบัน คตินั้นแหละพวกเขาจะไปกัน

 

    ครั้งนั้นแลพระอานนท์ผู้มีอายุ เกิดขุมขนชูชัน พูดขึ้นว่า นโม พุทธาย (แปลว่าข้าพเจ้าขอนมัสการพระพุทธ) แล้วทูลพระผู้มีภคะว่า ข้าแต่พระผู้มีภคะ ข้าพระองค์ตัวชาไปหมดแล้ว เพราะได้ยินเหตุการณ์ของพวกอสัตบุรุษเหล่านี้

 

    พระผู้มีภคะตรัสว่า ดูกรอานนท์ คนงมงายพวกนั้น จะไม่มีมารยาทเรียบร้อยเลย สัตว์เหล่านั้นจะมีมรรยาทไม่สม่ำเสมอเขาเหล่านั้นจะตกอเวจีมหานรกเพราะมรรยาทไม่สม่ำเสมอนั้น นั่นเพราะเหตุอะไร ? ดูกรอานนท์ ใครผู้ใด เป็นภิกษุก็ตามภิกษุณีก็ตาม อุบาสกก็ตาม อุบาสิกาก็ตาม เมื่อฟังสูตรทั้งหลายเห็นปานนี้แล้ว ไม่ปลงใจ ไม่เชื่อ ไม่ตรัสรู้ เขาเหล่านั้นจุติแล้วจะตกอเวจีมหานรก ดูกรอานนท์ ใครๆอย่าประมาณตถาคตเลย นั่นเป็นเพราะเหตุไร? ดูกรอานนท์ ตถาคต ใครๆประมาณไม่ได้ มีความลึก ความกว้าง ยากที่จะหยั่งถึง ดูกรอานนท์ ใครผู้ใดฟังสูตรเห็นปานนี้แล้วเกิดปีติปราโมทย์ เขาเหล่านั้นได้ลาภ คือความเสือมใส ชีวิตของเขาไม่เปล่าประโยชน์ความเป็นมนุษย์ของเขาไม่เปล่าประโยชน์ และเขาเหล่านั้น เป็นผู้ประพฤติประโยชน์เขาได้ยึดถือสาระไว้แล้ว เขาพ้นแล้วจากอบายทั้ง3เขาเหล่านั้นจะเป็นบุตรของตถาคต เขาได้บรรลุกิจการทั้งปวงแล้ว คือการทำกิจการสำเร็จแล้ว เขาเหล่านั้นยึดเหนี่ยวศรัทธาโดยความไม่เปล่าประโยชน์ ก้อนข้าวของราษฎรเขาเหล่านั้น แบ่งเอามาด้วยดี เขาเป็นผู้เลื่อมใสต่อสัตว์ผู้เลิศ เขาตัดบ่วงมารได้แล้ว คงกันการคือสังสารวัฏ เหล่านั้นข้ามพ้นแล้ว ลูกศรคือความโศก เขาก็ถอนออกได้แล้ว วัตถุที่ควรปราโมทย์ยินดี เขาก็ถึงแล้วโดยลำดับ สรณาคมทั้งหลายเขาก็รับไว้ดีแล้ว เขาทั้งหลายเป็นผู้ควรแก่ทักษิณา (ทานที่ให้เพื่อผลอันเจริญ)และผู้ควรบูชา และเขามีความปรากฏอันยากที่จะได้ในโลก เขาเป็นผู้ควรแก่ทักษิณา ซึ่งควรจดจำไว้ นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร? จริงดั่งว่า เขาเหล่านั้นเชื่อธรรมของตถาคตซึ่งไม่เป็นศัตรูของโลกทั้งสิ้นในโลกทั้งปวง ดูกรอานนท์ สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นประกอบด้วยกุศลมูลอันไม่ต่ำทราม ดูกรอานนท์ เขาเหล่านั้นจะเป็นมิตรเนื่องด้วยเป็นชาติเดียวกันกับตถาคต นั่นเป็นเพราะเหตุไร ? ดูกรอานนท์ บางคนเป็นที่รักเป็นที่เจริญใจเพราะฟังเสียง ไม่ใช่เพราะเห็นรูป ดูกรอานนท์ บางคนเป็นที่รักเป็นที่เจริญใจเพราะเห็นรูป แต่ไม่ใช่เพราะฟังเสียง ดูกรอานนท์บางคนเป็นที่รักเป็นที่เจริญใจเพราะทั้งเห็นรูปและฟังเสียง ดูกรอานนท์เธอจงเข้าใจว่าตถาคต เป็นที่รักเป็นที่เจริญใจของคนทั้งหลายบางคนด้วยการฟังเสียง หรือด้วยการเห็นรูปก็ตาม พวกเธอพึงเข้าใจในข้อนี้ว่า ผู้จะเป็นมิตรทั้งหลายเหล่านั้น ไม่ใช่เนื่องด้วยเป็นชาติเดียวกันกับตถาคต เขาเหล่านั้นต้องเป็นผู้ที่ตถาคตได้เห็นแล้ว ได้ปลดเปลื้องจากเกลศและทุกข์ให้แล้ว เขาเหล่านั้นมีส่วนแห่งคุณสม่ำเสมอ มีส่วนแห่งคุณของตถาคต ตถาคตได้ทำการช่วยเหลือ เขาแล้ว เขาได้ถึงตถาคตเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกแล้ว ตถาคตได้เข้าใกล้เขาแล้ว นั่นแหละจึงเป็นมิตรกันได้ ดูกรอานนท์ เมื่อครั้งตถาคตประพฤติโพธิสัตว์จรรยาในครั้งก่อนๆมีบางคนขออภัยจากสำนักตถาคต เมื่อเขามาขออภัย ตถาคตก็ให้อภัยแก่เขาเหล่านั้นจะป่วยกล่าวไปไยถึงตถาคตได้ตรัสรู้สัมยักสัมโพธิแล้ว ดูกรอานนท์ การประกอบในศรัทธา เป็นการที่ควรทำ ตถาคตบอกให้รู้ข้อนี้ไว้ ดูกรอานนท์ เวลาที่ตถาคตทำกิจให้แก่เธอทั้งหลาย ตถาคตได้ชำระลูกศรคือมานะ(ความถือตัว)เสียแล้ว ดูกรอานนท์ คนทั้งหลายโดยการฟังข่าวของมิตรยังเดินทางไประหว่างร้อยโยชน์ได้มิใช่หรือครั้นไปถึงแล้วก็ได้รับความสุข เพราะพบมิตรที่ไม่เคยเห็นกัน จะป่วยกล่าวไปใยถึงผู้ที่อาศัยตถาคตปลูกกุศลมูลทั้งหลาย ดูกรอานนท์ ตถาตตเป็นอรหันต์ เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ย่อมรู้ว่าสัตว์เหล่านั้นเป็นมิตรดั้งเดิมของตถาคตทั้งหลาย เขาเหล่านั้นเป็นมิตรของเราทั้งหลายดั่งนี้ นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร ดูกรอานนท์ นัยว่า มิตรย่อมเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของมิตร มิตรเป็นที่รักของมิตรด้วยวิธีใด มิตรก็ย่อมเป็นที่รักของมิตร(แม้ด้วยวิธีนั้น) เป็นอันว่ามิตรย่อมเป็นที่รักเป็นที่เจริญใจของมิตรนั้น (มิตรจิต มิตรใจ)  เพราะฉะนั้นแล ดูกรอานนท์ตถาคตบอกให้รู้ แจ้งให้รู้ว่า  เธอทั้งหลายจงทำเพียงศรัทธาให้เกิดขึ้นว่า เราจะไม่ติเตียน ในสำนักแห่งพระตถาคตผู้เป้นอรหันต์ ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ทั้งหลาย ในอนาคตพระตถาคตเหล่านั้นรู้ว่าเราทั้งหลายเป็นมิตรของท่านสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างไร ท่านก็จะได้ทำให้เต็มได้ ดูกรอานนท์เหมือนกับว่า ใครก็ตามมีลูกชายคนเดียว กำลังอยู่ในวัยอันเจริญ จะต้องได้รับคามโอบอุ้มประคับประคองเป็นอย่างดี เขาผู้นั้นมีเพื่อนฝูงมาก เมื่อเขาตายไป บุตรของเขาก็ไม่ลำบาก เพื่อนฝูงของบิดาเขาจะช่วยกันประคับประคองต่อไป ดูกรอานนท์ ตถาคตก็เหมือนกัน ใครก็ตามเชื่อถถือตถาคต ตถาคตก็ต้องช่วยเหลือเขา (เขาเหล่านั้น) เป็นเพื่อนของตถาคตถึงตถาคตเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึก และตถาคตมีมิตรมาก มิตรของตถาคตเหล่านั้น พูดจริง ไม่พูดเท็จ ตถาคตไม่ติเตียนมิตรที่พูดจริง ซึ่งเขาเป็นมิตรของตถาคต และพระตถาคตทั้งหลายในอนาคต ก็เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ดูกรอานนท์ การประกอบในศรัทธาเป็นการที่ควรทำ ตถาคตจะบอกเธอทั้งหลายให้รู้แจ้งในข้อนี้

 

      เพราะฉะนั้นแล เมื่อพระโพธิสัตว์เกิดแล้ว นางอัปสร (นางฟ้า) ทั้งหลายที่อยู่ในฟากฟ้าตั้งหลายหมื่นแสนโกฏิ จึงโปรยปรายดอกไม้ ธูป เครื่องหอม พวงมาลัย เครื่องชโลมทา ผ้า เครื่องประดับอันเป็นของทิพย์ไปยังพระนางมายาเทวี ท่านกล่าวไว้ในข้อนี้ว่า

 

      22 นางเทพอัปสรทั้งหลาย มีรัศมีเหมือนทอง งามหมดจด บริศุทธเปล่งแสงออกดังดวงจันทร์  และดวงอาทิตย์ นับจำนวนตั้ง 60 แสน ส่งเสียงกังวาลไพเราะ เข้าไปสู่อุทยานลุมพินีนั้น ได้พูดกับพระนางมายาเทวีในขณะนั้นว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า พระแม่เอย่าเป็นทุกข์ไปเลย จงมีความยินดีเถิด หม่อมฉันทั้งหลายจะคอยดูแลรับใช้พระแม่เจ้าฯ

 

      23 โปรดบอกมาเถิด หม่อมฉันทั้งหลายจะต้องทำอะไรในกิจการอะไร พระแม่เจ้ามีกิจการอะไร พวกหม่อมฉันมีความสามารถดี จะคอยดูแลรับใช้พระแม่เจ้าหม่อมฉันมีความรักใคร่พระแม่เจ้า ขอพระแม่เจ้าจงมีพระหทัยสูง ประกอบด้วยความยินดี และขออย่าเกิดมีความลำบากเลย วันนี้พระแม่เจ้าประสูติพระกุมารน้อยเป็นแพทย์สูงสุด บำบัดความแก่ และความตายฯ

 

      24 พระแม่เจ้าจะประสูติพระโอรสนี้สูงสุดในโลก กึกก้องในสวรรค์และในมนุษย์ เหมือนสุมทุมพุ่มไม้รังออกดอกบานสะพรั่งเหล่านี้ และเหมือนเทวดาตั้งพัน ยืนไกวแขนอยู่ข้างๆ และเหมือนแผ่นดินพร้อมด้วยมหาสมุทรกระเทือนด้วยวิการทั้ง 6ฯ

 

      25 และเหมือนทองที่มีแสงสุกปลั่ง บริศุทธ งาม รุ่งเรือง ดนตรีตั้งร้อย ไม่มีใครไปแตะต้อง ก็ดังขึ้นเองในอากาศ ไพเราะจับใจ และเหมือนดั่งว่าเทพยดาผู้บริศุทธตั้งร้อยตั้งพัน งดงามปราศจากราคะความกำหนัดยินดีในกาม มีจิตใจแช่มชื่น พากันมานมัสการพระโพธิสัตว์ผู้มีประโยชน์ในคนในโลกทั้งปวง ในวันนี้ฯ

 

      26 องค์สักกะ พรหม เทพโลกบาล และเทวดาอื่นๆ มีใจยินดีแช่มชื่น ได้มายืนประนมมืออยู่ข้างๆ พระโพธิสัตว์ผู้เป็นชายชาติสิงห์นั้นมีพรตอันบริศุทธ(ทรงชำแรก)พระครรภ์ออกมาแล้ว พระองค์มีพรตอันบริศุทธเหมือนภูเขาทอง เสด็จออกมาแล้วเป็นพระนายก(ผู้นำ)ฯ

 

      27 แม้องค์สักกะ และพรหมทั้ง 2 นั้น ก็เอามือรับพระมุนีอาณาเขตตั้งแสนสั่นสะเทือน เปล่งรัศมีออกมางาม แม้สัตว์ในอบายทั้ง 3 ก็มีความสุข ไม่มีทุกข์เลย เทวดาตั้งแสน ก็โปรยดอกไม้ ทำให้ท้องฟ้าหมุนคว้างฯ

 

      28 แผ่นดินตรงที่พระโพธิสัตว์ผู้ประกอบด้วยกำลังคือความเพียรประทับอยู่ ก็แข็งเหมือนเพชร(ได้มีแล้วในครั้งนั้น) ดอกบัวงามวิจิตรก็ผุดขึ้นมาตรงที่นายกประทับอยู่ด้วยพระบาททั้งสอง (มีรูปเครื่องหมายกงจักร)พระโพธิสัตว์ย่างไปได้ 7 ก้าว ก็เปล่งพระสุรเสียงกังวาลที่สุดเหมือนเสียงพรหม พระองค์เป็นหมอสูงสุดบำบัดชราและมรณะ เป็นสัตว์สูงสุดเสด็จแล้วฯ

 

      29 พรหมสูงสุด องค์สักกะผู้สูงสุดกว่าเทวดาทั้งหลาย ยืนอยู่ในพื้นฟ้า สรงสนานองค์พระนายกด้วยน้ำหอมสะอาด งาม และใส แม้นาครราชยืนอยู่ในอากาศไข) ท่อน้ำเย็น น้ำร้อนสองท่องาม เทวดาตั้งแสนก็สรงสนานพระผู้เป็นนายกด้วยน้ำหอมฯ

 

      30 เทพโลกบาลทั้ง4รีบเข้าไปรับด้วยแขนอันงาม พื้นแผ่นดินมนุษยโลกนี้ ก็สันสะเทือนเคลื่อนไหวอยู่ไปมาฯ

 

      31 และอบายทั้งหลาย ไม่มีใครไปทำความสะอาด ก็เปล่งแสงสว่างอันงาม เขาเหล่านั้น(ขาวอบาย)ก็ระงับจาเกลศ และความทุกข์ในเมื่อพระนายกพิเศษของโลกเกิดแล้วฯ

 

      32 เมื่อพระนายกของคนเกิดแล้วในโลกนี้ เทวดาทั้งหลายก็ชัดดอกไม้ไปยังพระองค์ผู้มีความเพียรเป็นพระกำลัง เมื่อพระองค์ผู้กล้าย่างพระบาทไปได้ 7ก้าวฯ

 

      33 เมื่อพระโพธิสัตว์วางพระบาททั้ง 2 ลงที่ใด ดอกบัวอันประเสริฐงาม ประดับด้วยรัตนะทั้งปวง ก็ผุดขึ้นมารับตถาคตที่นั้นฯ

 

      34 พระโพธิสัตว์เสด็จไปได้ 7 ก้าว คราวใด คราวนั้น ก็ทรงเปล่งพระสุรเสียงเหมือนเสียงพรหม พระองค์บังเกิดขึ้นมาเหมือนหมอผู้ประเสริฐบำบัดชราและมรณะฯ

 

      35      พระโพธิสัตว์ผู้คงแก่เรียนมองไปยังทิศแล้วเปล่งพระวาจาซึ่งมีความหมายว่า เราเจริญที่สุด ประเสริฐที่สุด กว่าสัตวโลก(เป็นนายกพิเศษในโลก) และชิตนี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา(ดังนี้)ฯ

 

      36 เมื่อพระนายกของคนเปล่งพระวาจาอันน่ารื่นเริงแล้ว เทวดาทั้งหลายพร้อมทั้งเทพโลกบาล องค์อินทร์ มีจิตเสื่อมใสได้บูชาพระโพธิสัตว์ผู้กระทำประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกทั้งหลาย ด้วยการสรสนานด้วยน้ำหอมอันประเสริฐฯ

 

      37 อนึ่ง พระยานาคประชุมพร้อมเพรียงกันสรงสนาน (พระโพธิสัตว์) ด้วยท่อน้ำใหญ่อันเลิศมีกลิ่นหอม เทวดาอื่นๆตั้งหมื่น(ยืน)อยู่ในอากาศ ก็เอาน้ำหอมสรงสนานพระสวยัมภู(พระโพธิสัตว์)เพราะพระองค์เป็นผู้ชนะอันเลิศฯ

 

      38 ร่มขาวกว้าง และจามรอันงาม ก็ตามไปในอากาศ เทวดาทั้งหลายก็พากันสรงสนานพระโพธิสัตว์ผู้เป็นคนดีเลิศฯ

 

ตระกูล 500 ก็ประสูติ

 

      39 ฝ่ายเจ้าหน้าที่ ก็รีบไปทูลพระราชาศุทโธทนะด้วยความดีใจว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์จงทรงพระเจริญไพบูลย์เถิด พระโอรสประดับด้วยลักษณะเกิดแล้ว พระโอรสนี้เป็นใหญ่กว่าพระราชาจักรพรรดิ์ปรากฏ(เป็นความเจริญ) แก่ลุลรัตนะ(ตระกูลประเสริฐ) อันใหญ่ยิ่งและไม่มีศัตรูโต้ตอบ เป็นฉัตรเอกในชมพูทวีปฯ

 

      40 เจ้าหน้าที่คนที่ 2 ไปแล้ว ทูลถามเกี่ยวกัน (พระราชา) ศุทโธทนะโดยลำดับว่า ข้าแต่พระนฤบดี ขอพระองค์จงทรงพระเจริญไพบูลย์ในตระกูลกษัตริย์แห่งศากยทั้งหลายเถิด พระโอรสเกิดแล้ว บุตร 2 หมื่น 5 พันก็เกิดแล้ว ในเรือนแห่งศากยทั้งหลาย ล้วนแต่ยังเป็นเด็กล่อนจ้อนเสมอกัน แต่ประกอบด้วยกำลัง ยากที่ผู้อื่นจะกำจัดได้ฯ

 

      41 เจ้าหน้าที่คนอื่น ก็ทูลว่า ข้าแต่พระนฤบดี ขอพระองค์โปรดฟังคำแสดงความยินดีของข้าพระองค์ บุตรของมหาดเล็กเกิดแล้ว 800 คน มีกุมารชื่อฉันทกะเป็นประธาน อนึ่ง ม้า 10000 ก็เกิดแล้วเป็นเพื่อนของม้ากัณฐกะ (คือม้ากัฐกะเป็นประธาน) ม้าเหล่านั้นเป็นประธานอันประเสริฐของม้าทั้งหลาย มีแสงเหมือนทอง ผมเหมือนหญ้ามุญชะ (หญ้าซุ้มกระต่าย)เป็นม้าประเสริฐฯ

 

      42 และพระราชาสามนต์ที่ปกครองอาณาจักรอยู่ชายแดนอีก 20000 ก็เกิดบุตร 20000 เหมือนกัน ข้าแต่พระนฤบดี ขอเชิญเสด็จไปโดยลำดับตามพื้นบาทวิถี สาธุ ขอให้พระองค์ผู้ประเสริฐจงมีชัยชนะ  ข้าแต่พระนฤบดี ขอพระองค์ประทานคำสั่งมาเถิด ข้าพระองค์จะไป หรือจะให้ข้าพระองค์ทำอะไร  พระองค์จงประทับอยู่ที่นี่เถิด จงเสด็จมาถึงแค่นี้เถิด ข้าพระองค์เป็นมหาดเล็กรับใช้ ขอพระนฤบดีจงมีชัยชนะฯ

 

      43 ช้างตระกูลสูงสุดอีก 20000 รุ่งเรืองด้วยตาข่ายทองได้รีบเข้าไปสู่พระราชวัง แผดเสียงอยู่ในอากาศตกลูก 6000 เป็นลูกช้างดำ และช้างกระ มีช้างชื่อโคเป็นประธาน เมื่อพระโพธิสัตว์ผู้เป็นเทวดาสูงสุดกว่าเทวดาทั้งหลาย ประสูติแล้ว นี่คือความเจริญในพระราชวังฯ

 

      44 อนึ่ง ข้าแต่พระนฤบดี ขอพระองค์โปรดเสด็จไป ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่(เป็นใหญ่ด้วยเดชแห่งบุญ) ขอพระองค์โปรดทอดพระเนตรทุกสิ่งทุกอย่างด้วยพระองค์เอง มนุษย์ และเทวดาทั้งหลายพากันดีใจ เพราะเห็นคุณในการเกิดแห่งพระโพธิสัตว์ พระชินเจ้าทั้งหลายผู้มีความเจริญ มีความตรัสรู้อันประเสริฐ ไม่เศร้าโศก ทรงดำรงอยู่เร็วไป(คืออยู่ไม่นาน)ฯ

 

      กระนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระโพธิสัตว์เกิดแล้ว ก็มีการบริจาคทานอันยิ่งใหญ่ในขณะนั้น ตระกูล 500ก็ประสูติบุตร หญิงสาวทั้งหลายหมื่นนาง มีนางยโศวดีเป็นประธาน ทาสี(หญิงรับใช้) 800 ทาส(ชายรับใช้) 800 มีนายฉันทกะเป็นประธาน ฬา 10000 ลูกม้า 10000 มีกัณฐกะเป็นประธาน ช้าง 5000 ตกลูกเป็นช้างสีน้ำตาล 5000 สิ่งทั้งปวงเหล่านี้ พระราชาศุทโธทนะโปรดให้ขึ้นบัญชีไว้เป็นของพระราชทานเพื่อให้เป็นของเล่นของพระกุมาร

 

      ในท่ามกลางแสนโกฏิแห่งทวีปทั้ง 4 ไม้โพธิได้ปรากฏขึ้นบนพื้นดิน และภายในทวีป(ชมพูทวีป)ได้ปรากฏมีป่าไม้จันทน์ขึ้น ด้วยอานุภาพของพระโพธิสัตว์ เพื่อเป็นเครื่องอาศัยใช้สอยของพระโพธิสัตว์ ขุมทรัพย์ 5000 ก็ผุดขึ้นจากพื้นดินให้แลเห็นชอบ อันใดที่พระราชาศุทโธทนะมีพระประสงค์ อันนั้น พระองค์ก็ได้สมประสงค์สำเร็จพร้อมทุกประการ ดั่งนี้แล

 

      ครั้งนั้นแล พระราชาศุทโธทนะทรงพระดำริว่า เราจะตั้งชื่อกุมารว่าอะไร แล้วก็ทรงพระดำริต่อไปว่า อย่ากระนั้นเลย เราจะตั้งชื่อกุมารนี้ว่า สรฺวารฺถสิทธ เพราะเหตุว่าพอกุมารนี้เกิด ความประสงค์ของเราก็สำเร็จหมดทุกอย่าง ครั้นแล้ว พระราชาได้ทรงกระทำสักการพระโพธิสัตว์  ด้วยเครื่องสักการเป็นอันมาก แล้วทรงตั้งชื่อว่า กุมารนี้จงมีชื่อว่า สรวารถทิทธ (สัพพัตถสิทธะ)

 

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระโพธิสัตว์เกิดแล้ว สีข้างแห่งพระครรภ์ของพระมารดาไม่มีบาดเจ็บ ไม่ถูกกระทบกระเทือน เป็นปรกติเหมือนเดิม บ่อน้ำพุได้ปรากฏแล้วในภพทั้ง 3 ใช่แต่เท่านั้น ยังมีสระโปกขรณี(สระบัว) นำมันหอม นางอัปสร 5000 ประคองภาชนะน้ำมันอบด้วยกลิ่นหอมทิพย์ เข้าไปเฝ้าพระมารดาพระโพธิสัตว์ ไต่ถามถึงความไม่ลำบากพระกายในการที่พระโพธิสัตว์เกิดง่าย นางอัปสร 5000 ประคองเครื่องชโลมลูบไล้ทิพย์ เข้าไปเฝ้าพระมารดาพระโพธิสัตว์ ไต่ถามถึงความไม่ลำบากพระกาย ในการที่พระโพธิสัตว์เกิดง่าย นางอัปสร 5000 ประคองหม้อน้ำเต็มด้วยน้ำทิพย์ เข้าไปเฝ้าพระมารดาพระโพธิสัตว์ ไต่ถามถึงความไม่ลำบากพระกายในการที่พระโพธิสัตว์เกิดง่าย นางอัปสร 5000 ประคองผ้าทิพย์สำหรับเด็กเข้าไปเฝ้าพระมารดาพระโพธิสัตว์ไต่ถามถึงความไม่ลำบากพระกายในการทีพระโพธิสัตว์เกิดง่าย นางอัปสร 5000 ประคองเครื่องแต่งตัวทิพย์สำหรับเด็ก เข้าไปเฝ้าพระมารดาพระโพธิสัตว์ ไต่ถามถึงความไม่ลำบากพระกายในการที่พระโพธิสัตว์เกิดง่าย นางอัปสร 5000 ขับกล่อมประสานเสียงบรรเลงดนตรีทิพย์ เข้าไปเฝ้าพระมารดาพระโพธิสัตว์ไต่ถามถึงความไม่ลำบากพระกายในการทีพระโพธิสัตว์เกิดง่าย และจนกระทั่งฤษีทั้งหลายในชมพูทวีปนี้ ได้อภิญญา5(*)นอกพระพุทธศาสนา ท่านทั้งปวงเหล่านั้น ได้เหาะมายืนอยู่ข้างหน้าพระราชาศุทโธทนะ ต่างก็เปล่งเสียง ชโย สวัสดี(จงชนะ จงเจริญ)

 

* อภิญญา 5 คือ 1 อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ  2 ทิพโสต หูทิพย์  3 เจโตปริยญาณ รู้ความคิดของผู้อื่น  4 ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ รู้ระลึกชาติหนหลังได้  5 ทิพจักษุ ตาทิพย์ คือรู้จุติและการเกิดของสัตว์ทั่วไป

 

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์พอเกิดแล้ว ก็ได้รับสักการะ ได้รับความเคารพ ได้รับความนับถือ ได้รับการบูชา ด้วยการร้องลำทำเพลง ประโคมดนตรีทั้งเป็นของเทวดาและเป็นของมนุษย์ในป่าลุมพินี ตลอด 7 วัน มีการเรียกร้องเชื้อเชิญด้วยของเคี้ยวของกินมีรสอร่อยทั้งหลาย และพวกศากยทั้งปวงก็ประชุมกันเปล่งเสียงแสดงความยินดี ต่างก็พากันให้ทาน ทำบุญ เลี้ยงดูพราหมณ์ 32 แสนทุกวันใคร ต้องการอย่างไรก็ให้อย่างนั้น  และองค์สักกะผู้เป็นใหญ่แก่เทวดาทั้งหลายกับพรหมได้แปลงตัวเป็นคนธรรพ์มานั่งบนอาสนอันเลิศในที่ประชุมพราหมณ์ ได้กล่าวเป็นคำประพันธ์ว่า

 

      45 อบายทั้งหลาย สงบระงับแล้วด้วยประการใด โลกทั้งปวงมีความสุขด้วยประการใด พระโพธิสัตว์ ผู้นำความสุขอันเที่ยงแท้เกิดขึ้นแล้วและยังโลกให้ตั้งอยู่ในความสุขด้วยประการนั้นๆฯ

 

      46 อนึ่ง แสงสว่างเกิดจากแสงสว่างแห่งบุณย อันเที่ยงแท้ปราศจากความมืด ด้วยประการใด ครอบงำแสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์ดวงจันทร์และเทวดา มิให้ส่องสว่าง ด้วยประการนั้นฯ

 

      47  ตนตาบอดก็มองเห็น คนหูหนวกก็ได้ยิน คนบ้าคลั่งก็ได้สติ พระองค์เป็นเจดีย์ของโลกฯ

 

      48 พระงองค์เป็นอย่างที่เกลศเบียดเบียนไม่ได้ โลกเกิดไมตรีต่อกัน พระองค์เป็นผู้ควรบูชาของพรหมตั้งโกฏิ โดยไม่ต้องสงสัยฯ

 

      49 พระองค์เป็นเหมือนไม้รังมีดอกบาน และเหมือนแผ่นดินที่ราบเรียบ เป็นผู้ควรบูชาของโลกทั้งปวงอย่างยั่งยืน พระองค์รู้หมดทุกสิ่งทุกอย่างฯ

 

      50 เป็นเหมือนโลกที่ปราศจากความยุ่งยากสับสน และเหมือนดอกบัวใหญ่ ที่ผุดขึ้นมา พระองค์จะมีเดชมาก จะเป็นที่พึ่งของโลก  โดยไม่ต้องสงสัยฯ

 

      51 พระองค์เป็นเหมือนลมอ่อนๆ อบอวลไปด้วยทิพยสุคนธ์ พระองค์จะเป็นแพทย์บำบัดโรคของคนทั้งหลายฯ

 

      52 พระองค์เหมือนเทวดาเหล่านี้ตั้งร้อยในรูปธาตุ (ชั้นรูปพรหม) ที่ปราศจากราคะแล้ว เทวดาเหล่านั้นจะทำอัญชลีนมัสการพระองค์พระองค์จะเป็นผู้ควรแก่ทักษิณาฯ

 

      53 พระองค์กระทำให้มนุษย์เห็นเทวดา เทวดาเห็นมนุษย์ ต่างก็มิได้เบียดเบียนซึ่งกันและกัน พระองค์จะเป็นเหมือนหัวหน้าพ่อค้าเดินทางฯ

 

      54 พระองค์ทำให้ไฟดับ ทำให้แม่น้ำทั้งหลายหยุดไหล ทำให้แผ่นดินกระเทือนอย่างสุขุม พระองค์เป็นผู้เห็นความจริงอันถ่องแท้ฯ

 

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระโพธิสัตว์เกิดแล้วได้ 7 ราตรี พระนางมายาเทวีผู้เป็นพระมารดา ก็กระทำกาลกิริยา พระนางซึ่งถึงกาละแล้วนั้น ได้บังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นัยว่า พระนางมายาเทวีถึงกาละเป็นความผิดของพระโพธิสัตว์ของพวกเธอทั้งหลายอย่างนี้ แต่พวกเธอทั้งหลายอย่าเข้าใจอย่างนี้เลยนั่นเป็นเพราะเหตุใด? เพราะเหตุว่า นั่นเป็นกำหนดอายุของพระนางเป็นอย่างยิ่งแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถึงพระโพธิสัตว์ทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว พอเกิดได้ 7 ราตรี พระมารดาก็กระทำกาลกิริยา นั่นเป้นเพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า เมื่อพระโพธิสัตว์ทรงพระเจริญขึ้นมา มีอินทรีย์บริบูรณ์เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ พระมารดาก็จะมีหทัยแตกดับ

 

      กระนี้แหละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในวันที่ 7 พระโพธิสัตว์เสด็จเข้าสู่มหานครกบิลพัสดุ์โดยกระบวนพยุหใหญ่ยิ่งกว่าเมื่อครั้งพระนางมายาเทวีเสด็จจากมหานครกบิลพัสดุ์สู่อุทยาน(ลุมพินี)ตั้งแสนโกฏิเท่า เมื่อพระโพธิสัตว์เสด็จเข้าไปนั้น มีผู้นำหม้อน้ำเต็มด้วยน้ำหอมไปข้างหน้า 5000คน หญิงสาว 5000คนถึอหางนกยูงเดินไปข้างหน้า หญิงสาวอีก 5000 คนถือทางตาลเดินไปข้างหน้า หญิงสาวอีก 5000คน ถือคนโทน้ำหอมเดินไปข้างหน้ารดถนนไปพลาง หญิงสาวอีก 5000คน ถือผ้าโพกพระเศียร(อุษณีษ)เดินไปข้างหน้า หญิงสาวอีก 5000คน ถือพวงมาลัยสดงามเดินไปข้างหน้า และหญิงสาวอีก 5000คน ถือเครื่องประดับอันเจริญล้วนแล้วด้วยรัตนะเดินไปข้างหน้า ทำความสะอาดถนนไปพลาง  หญิงสาวอีก 5000 คน ถืออาสน(เครื่องรองนั่ง) อย่างดีเดินไปข้างหน้า พราหมณื 5000 คน ถือระฆังส่งเสียงมงคลเดินไปข้างหน้า ช้าง 20000 ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวงเดินไปข้างหน้า ม้า 20000 คลุมด้วยเครื่องอลังการทองอย่างดีเดินไปข้างหน้า รถ 80000 ประดับด้วยฉัตร ธงชัย ธงปตาก ตาข่ายแขวนลูกพรวนตามหลัง พระโพธิสัตว์ ทหารราบ 40000 แกล้วกล้า อาจหาญ รูปงาม สวมเสือเกราะมั่นคงทะมัดทะแมงเดินตามพระโพธิสัตว์ที่เสด็จไป กระบวนพยุหต่างๆมากหลายของเทวบุตรชั้นกามาพจร ชั้นรูปพจร ที่อยู่ในท้องฟ้าตั้งหมื่นแสนโกฏินับไม่ถ้วน ตามบูชาพระโพธิสัตว์ รถประเสริฐซึ่งพระโพธิสัตว์ประทับนั้น เทวบุตรชั้นกามาพจรทั้งหลายช่วยกันประดับด้วยกระบวนพยุหมากมายใหญ่หลวง นางเทพกันยา 20000 ประดับด้วยเครื่องประดับพร้อมสรรพถือสายพวนรัตนะลากรถนั้นไป ท่ามกลางระหว่างนางอัปสร 2คน มีหญิงสาวมนุษย์ 1 คนคั่น ท่ามกลางหญิงสาวมนุษย์ 2คน มีนางอัปสร 1 คนคั่น นางอัปสรก็ไม่เหม็นสาปหญิงมนุษย์ และหญิงมนุษย์เห็นรูปนางอัปสรแล้วก็ไม่หลงไหลเคลิบเคลิ้ม ทั้งนี้เป้นด้วยอานุภาพแห่งเดชของพระโพธิสัตว์

 

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลายศากยประมาณ 500 ได้สร้างตำหนัก 500 เพื่อพระกุมารสัพพัตถสิทธะ ในบุรีกบิลพัสดุ์อันประเสริฐ อุทิศต่อพระโพธิสัตว์ ศากยเหล่านั้น ยืนอยู่ที่ประตูตำหนักของตนๆ ประนมมือน้อมกายลงแสดงความเคารพพระโพธิสัตว์ผู้เสด็จเข้าสู่พระนคร และทูลว่า ข้าแต่สัพพัตถสิทธะผู้เจริญ ของเชิญเสด็จเข้าตำหนักนี้เถิด ข้าแต่เทพผู้เป็นใหญ่กว่าเทวดาผู้เจริญ ขอเชิญเสด็จเข้าตำหนักนี้เถิด ข้าแต่พระผู้เป็นสัตว์บริศุทธผู้เจริญ ขอเชิญเสด็จเข้าตำหนักนี้เถิด ข้าแต่พระผู้เป็นสารถีประเสริฐผู้เจริญ ขอเชิญเสด็จเข้าตำหนักนี้เถิด ข้าแต่พระผู้ทำปีติและปราโมทย์ผู้เจริญ ขอเชิญเสด็จเข้าตำหนักนี้เถิด ข้าแต่พระผู้มียศไม่มีที่ติผู้เจริญ ขอเชิญเสด็จเข้าตำหนักนี้เถิด ข้าแต่พระผู้มีจักษุรอบด้านผู้เจริญ ขอเชิญเสด็จเข้าตำหนักนี้เถิด ข้าแต่พระผู้ไม่มีใครเสมอผู้เจริญ ขอเชิญเสด็จเข้าตำหนักนี้เถิด ข้าแต่พระผู้คุณและเดชไม่มีใครเหมือน มีพระกายประดับด้วยลักษณะและอนุพยัญชนะ(ลักษณะส่วนย่อยของร่างกาย) ผู้เจริญ ขอเชิญเสด็จเข้าตำหนักนี้เถิด ครั้นแล้ว เพราะอาศัยเหตุนี้ พระกุมารผู้ยังประโยชน์ทั้งปวงให้สำเร็จ จึงทรงพระนามว่า สรวารถสิทธ

 

      พระราชาศุทโธทนะให้พระโพธิสัตว์เข้าในตำหนักทุกแห่ง เพื่อเอาใจศากยเหล่านั้น สิ้นเวลาถึง 4 เดือน จึงให้พระโพธิสัตว์เสด็จเข้าในตำหนักของพระองค์ พระโพธิสัตว์เสด็จขึ้นสู่มหาปราสาทชื่อ นานารัตนพยุห ศากยผู้เฒ่าๆทั้งหลายในที่น้นจึงประชุมกัน พิจารณาความเห็นว่า สตรีคนไหนที่สามารถเลี้ยงดู เป็นเพื่อนเล่ารักใคร่พระโพธิสัตว์ด้วยจิตเอื้อเฟื้อ ด้วยจิตเมตตา ด้วยจิตเป็นคุณ ด้วยจิตสุภาพอ่อนโยนในที่นั้น มีหญิงสาวศากยประมาณ 500 คน แต่ละคนพูดอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า จะบำรุงเลี้ยงพระกุมาร ในที่นั้น มีศากยผู้เฒ่าๆพูดกันว่า สตรีทั้งปวงเหล่านี้ ยังสาว ยังใหม่ ยังหนุ่มเหน้า ยังรุ่น ยังเมในรูป และในความเป็นสาวอยู่ เขาเหล่านี้ไม่สามารถบำรุงเลี้ยงพระโพธิสัตว์ตลอดเวลาได้ แต่ว่า พระนางมหาประชาบดีโคตมีนี้แหละ เป็นน้องหญิงของพระมารดาพระกุมาร พระนางนี้สามารถจะบำรุงเลี้ยงดูพระกุมารให้ได้รับความสุขเป็นอย่างดีและจะรับสนองพระราชาศุทโธทนะอีกด้วย ศากยทั้งปวงเหล่านั้นพร้อมใจกันอย่างนี้แล้ว จึงมอบหน้าที่ให้พระนางมหาประชาบดีโคตมี ดังนั้นแล พระนางมหาประชาบดีโคตมีจึงบำรุงเลี้ยงพระกุมาร พระราชาศุทโธทนะจึงแต่งตั้งสาวรับใช้อีก 32 คน เพื่อประโยชน์แด่พระโพธิสัตว์นั้น คือสาวรับใช้เกี่ยวกับร่างกาย 8 คน สาวรับใช้เกี่ยวกับน้ำนม 8 คน สาวรับใช้เกี่ยวกับทำความสะอาดร่างกาย 8 คน สาวรับใช้เกี่ยวกับการเล่นหัว 8  คน

 

      ครั้งนั้น พระราชาศุทโธทนะได้ประชุมคณะศากยทั้งหมด พิจารณาว่า พระกุมารนี้ จะเป็นพระราชาจักรพรรดิ์หรือจะออกบรรพชา

 

      ในสมัยนั้น มีพระฤษีตนหนึ่ง ได้สำเร็จอภิญญา 5 อาศัยอยู่ข้างขุนเขาหิมพานต์กับมาณพผู้เป็นหลานชื่อนรทัต พระมหาฤษีได้เห็นปราติหารยของพระโพธิสัตว์เพียงแต่เกิดออกมาเท่านั้น แปลกประหลาดเป็นอันมาก ไม่เคยมีมาแล้ว  ได้เห็นเทวบุตรทั้งหลายที่อยู่ในท้องฟ้าท่องเที่ยวไปมนอากาศ ประกาศให้ได้ยินคำว่า พุทธะและเห็นเทวบุตรทั้งหลายท่องเที่ยวไปบรรเทิงใจจากที่นี่ที่นั่น จึงเกิดความคิดขึ้นว่า อย่ากระนั้นเลยเราต้องพิจารณาดูสิ่งนี้ แล้วท่านอสิตมหาฤษีก็เล็งทิพยจักษุไปทั่วชมพูทวีป ก็แลเห็นพระกุมารในพระราชวังของพระราชาศุทโธทนะ ในมหาบุรีกบิลพัสดุ์อันประเสริฐซึ่งได้เกิดมาแล้ว รุ่งเรืองด้วยเดชคือบุณยตั้งร้อย  โลกทั้งปวงบูชาแล้ว มีพระวรกายประดับด้วยมหาปุรุษลักษณะ 32 ประการ ครั้นเห็นแล้วจึงเรียกนรทัตมาณพมาว่า ดูกรมาณพ เจ้ารู้ไหมว่า มหารัตนะ(แก้วดวงใหญ่)เกิดขึ้นแล้วในโลก พระกุมารในพระราชวังของพระราชาศุทโธทนะ โนมหานครกบิลพัสดุ์เกิดแล้ว รุ่งเรืองด้วยเดชคือบุณยตั้งร้อย โลกทั้งปวงบูชาแล้วด้วยมหาปุรุษลักษณะ32 ประการ ถ้าพระกุมารนั้นอยู่ครองเรือน ก็จะเปป็นพระราชาจักรพรรดิ์ประกอบด้วยองค์ 4 เป็นผู้ชนะพิเศษ เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม เป็นพระธรรมราชา รัตนะ 7 ประการ ของพระราชาจักรพรรดิ์นั้น นั่นคือ จักรรัตนะ หัสติรัตนะ อัศวรัตนะ มณีรัตนะ สตรีรัตนะ คฤหบดีรัตนะ ปริณายกรัตนะ พระกุมารนั้นสมบูรณ์ด้วยรัตนะ 7 ประการอย่างนี้ และจะมีโอรส 1000 องค์ แกล้วกล้า อาจหาญ รูปงาม สามารถย่ำยีทหารฝ่ายอื่น พระกุมารนั้นจะครอบงำชนะมหาปฐพีมณฑล มีมหาสมุทรเป็นคูเมือง ด้วยกำลังเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ โดยปราศจากการลงโทษ และโดยปราศจากศาสตรา จะครองราชสมบัติโดยไอศวรยาธิปติถ้าพระกุมารนี้ออกจากเรือนไปสู่ความไม่มีเรือน จะได้เป็นตถาคต อรหันสัมยักสัมพุทธะ เป็นผู้นำ ไม่ต้องมีผู้อื่นนำ เป็นศาสดา เป็นผู้ตรัสรู้ในโลก เพราะฉะนั้นเราทั้ง 2 ควรเข้าไปเฝ้าเพื่อจะเยี่ยมพระกุมารนั้นในกาลบัดนี้

 

      ครั้งนั้นแล พระอสิตมหาฤษีกับนรทัตผู้เป็นหลานได้เหาะโลดลอยไปในพื้นอากาศเหมือนพระยาหงส์ ตรงไปยังมหานครกบิลพัสดุ์ ครั้นถึงแล้ว สำรวมฤทธิ์ไว้แล้วจึงเดินเข้าไปยังมหานครกบิลพัสดุ์เข้าไปยังพระนิเวศน์ของพระราชาศุทโธทนะ ยืนอยู่ที่ประตูพระราชวังแห่งพระราชาศุทโธทนะ

 

      กระนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระอสิตมหาฤษี ได้แลเห็นคนหลายแสนซึ่งประชุมกันอยู่ที่ประตูพระราชวังของพระราชาศุทโธทนะ ครั้งนั้นแล พระอสิตมหาฤษีได้เข้าไปพูดกับยามประตูว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ท่านจงไปทูลพระราชาศุทโธทนะว่า ฤษีมายืนอยู่ที่ประตู  ยามประตูรับทราบคำของอสิตมหาฤษีว่า ขอรับกระผม ดังนี้ จึงเข้าเฝ้าพระราชาศุทโธทนะ ครั้นถึงแล้วได้ประนมมือทำอัญชลีกรรม ทูลพระราชาศุทโธทนะว่า ข้าแต่พระนฤบดี ขอพระองค์โปรดทราบ พระฤษีชราแก่แล้ว เป็นผู้เฒ่า ยืนอยู่ที่ประตู และพูดว่า ใคร่จะเฝ้าพระราชา ครั้งนั้น พระราชาศุทโธทนะจึงได้จัดอาสนเพื่อพระอสิตมหาฤษี แล้วตรัสสั่งบุรุษนั้นว่า พระฤษีเข้ามาได้ บุรษนั้นจึงกลับออกไปจากสำนักพระราชาแล้ว บอกพระอสิตมหาฤษี เชิญเข้าไปได้

 

      คร้งนั้นแล อสิตมหาฤษีเข้าไปยังที่พระราชาศุทโธทนะประทับอยู่นั้น ครั้นแล้วจึงยืนอยู่เบื้องหน้า ทูลพระราชาศุทโธทนะว่า ชโย ชโย มหาราช ขอพระองค์จงทรงพระชนม์ยืนนาน จงปกครองประชาชนยั่งยืน จงเสวยราชสมบัติโดยธรรม

 

      ครั้งน้น พระราชาศุทโธทนะ ได้ทรงทำการบูชาด้วยคำร้อยกรองอันบูชาพระอสิตมหาฤษี และทรงประคองอัญชลีกรรมว่า สาธุ ดียิ่งแล้ว แล้วตรัสเชิญให้อาสนเมื่อทรงทราบว่าพระอสิตมหาฤษีนั่งเรียบร้อยแล้ว ทรงแสดงความเคารพยอบพระกายลงตรัสถามว่า ข้าแต่พระฤา ข้าพเจ้าจำไม่ได้ว่าได้พบกับพระคุณเจ้า ฉะนั้น พระคุณเจ้ามาที่นี่โดยประสงค์อะไร ประโยชน์อะไรหรือ?

 

      เมื่อพระราชตรัสดั่งนี้แล้ว พระอสิตมหาฤษีจึงทูลพระราชาศุทโธทนะว่า ข้าแต่มหาราช พระโอรสของพระองค์เกิดแล้วมิใช่หรือ อาตมาใคร่จะเห็น จึงมาที่นี่

 

      พระราชาตรัส ข้าแต่มหาฤษี กุมารยังหลับอยู่ โปรดคอยสักครู่ จนกว่ากุมารจะตื่น

 

      พระฤษีพูด ข้าแต่มหาราช มหาบุรุษเช่นนี้หลับไม่นาน สัตบุรุษเช่นนี้มีปรกติตื่นอยู่เสมอ

 

      ดั่งนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ทรงทำเครื่องหมายการตื่นนอนเพื่ออนุเคราะห์พระอสิตมหาฤษี ครั้งนั้นแล พระราชาศุทโธทนะ จึงประคองพระกุมารสรวารถสิทธ ด้วยมือทั้ง 2 อย่างดีเลิศ แล้วนำมายังสำนักสำนักพระอสิตมหาฤษี

 

      ดั่งนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระอสิตมหาฤษี แลดูพระโพธิสัตว์เห็นพระวรกายพระโพธิสัตว์งามวิจิตรด้วยอนุพยัญชนะ(ลักษณะส่วนย่อย) 80 อย่าง  ประกอบด้วยมหาปุรุษลักษณะ 32 ประการ เป็นพระวรกายที่งามเกินกว่ากายขององค์สักกะ พรหมโลกบาล มีเดชเกิดกว่าเดชของดวงอาทิตย์ตั้งแสนดวง งามทั่วทุกอวัยวะ  ครั้นเห็นแล้ว จึงเปล่งอุทานออกมาว่า โอ พระกุมารองค์นี้เป็นบุทคลอัศจรรย์ ปรากฏในโลก โอ พระกุมารองค์นี้ เป็นบุทคลมหัศจรรย์ปรากฏในโลก ครั้นแล้ว จึงลุกขึ้นจากอาสนกระทำกระพุ่มมือกราบลงที่พระบาทั้ง 2 ของพระโพธิสัตว์แล้วทำประทักษิณ แล้วประคองพระโพธิสัตว์ไว้บนตักก้มลงเพ่งพินิจอยู่ พระอสิตมหาฤษีนั้น ได้เห็นมหาปุรุษลักษณะ 32 ประการ ของพระโพธิสัตว์ ซึ่งแสดงว่า บุรุษบุทคลผู้ประกอบด้วยมหาปุรุษลักษณะนี้จะมีคติเป็น 2 จะมิได้เป็นอย่างอื่น คือถ้อยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระราชาจักรพรรดิ์ ประกอบด้วยองค์ 4 โดยไอศวรยาธิปติดั่งได้กล่าวมาก่อนแล้ว ถ้าออกจากเรือนไปสึ่ส่ความไม่มีเรือน จะได้เป็นพระตถาคต มีชื่อเสียงกึกก้องเป็นพระสัมยักสัมพุทธะ พระอสิตมหาฤษี ครั้นดูพระกุมารนั้นแล้ว ก็ร้องไห้น้ำตาไหลสะอึกสะอื้น

 

      พระราชาศุทโธทนะ ทอดพระเนตรเห็นพระอสิตมหาฤษีร้องไห้ และน้ำตาไหลสะอึกสะอื้น ครั้นแล้วก็เกิดมีขุมพระโลมาลุกชูชัน  กระอักกระอ่วนพระทัย มีพระทัยสลดหดหู่ ตรัสกับพระอสิตมหาฤษีว่า  ข้าแต่พระฤษี อะไรกันนี่ พระคุณเจ้าร้องไห้น้ำตาไหล และสะอึกสะอื้น ขอย่างมีความกงวลยุ่งใจใดๆ เกี่ยวแก่กุมารเลย

 

      พระราชาศุทโธทนะตรัสดังนี้แล้ว พระอสิตมหาฤษีจึงทูลพระราชาศุทโธทนะว่า ข้าแต่มหาราช อาตมามิได้ร้องไห้ด้วยเหตุแห่งพระกุมารดอก และแม้ความกังวลยุ่งใจใดๆ เกี่ยวแก่พระกุมารนี้ก็ไม่มี แต่อาตมาร้องไห้กับตนเอง นั่นเป็นเพราะเหตุใด? ข้าแต่มหาราช เพราะอาตมา ชราแล้ว แก่แล้ว เป็นผู้เฒ่าแล้ว แต่พระกุมารสรวรถสิทธนี้จะตรัสรู้อนุตตรสัมยักสัมโพธิอย่างแน่นอน  และครั้นตรัสรู้แล้วก็หมุนอนุตรธรรมจักรให้เป็นไป  ซึ่งสมณะหรือพราหมณ์ เทวดาหรือมาร  หรือคนอื่นๆใดอันมีธรรมร่วมกันในโลกหมุนไม่ได้ พระองค์จะแสดงธรรม เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขของโลกพร้อมทั้งเทวดา ซึ่งเป็นธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง และงามในที่สุด พระองค์จะประกาศธรรมพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ(เนื้อความ) มีพยัญชนะถูกต้องดีบริบูรณ์ บริศุทธ สะอาดอย่างสิ้นเชิง สัตว์ทั้งหลายผู้มีการเกิดขึ้นมาแล้วเป็นธรรมดาได้ฟังธรรมนั้นจากพระกุมารนี้แล้ว ก็จะปลดเปลื้อง(พ้น) จากการเกิด เช่นเดียวกัน เขาจะปลดเปลื้องจาก ชรา พยาธิ  มรณะ โศกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส(ความเหนื่อยใจ) พระองค์จะทำความชุ่มเย็นด้วยน้ำฝนคือพระสัทธรรมให้แก่สัตว์ทั้งหลายผู้เร่าร้อนด้วยไฟคือความรัก ความชัง ความหลง จักนำสัตว์ทั้งหลายผู้แล่นไปสู่ป่าชัฏคือ ทิฏฐิผิดต่างๆ ผู้ดำเนินไปในทางผิด ให้เข้ามาสู่ทางนิรวาณ  โดยทางตรง จะกระทำสัตว์ทั้งหลายผู้ที่ถูกมัดด้วยเครื่องมือคือเกลศ ได้แก่เครื่องกักกันคือ  กรงขัง ตะราง ในสังสารวัฏ ให้หลุดพ้นจากเครื่องผูดมัด พระองค์จะทำให้สัตว์ทั้งหลายผู้มีนัยน์ตาถูกแผ่นแห่งความมืดและหมอกคืออัญญาณหุ้มไว้แล้ว ให้เกิดปรัชญาจักษุ พระองค์จะถอนลูกศรของสัตว์ทั้งหลายที่ถูกศรคือเกลศเสียบอยู่แล้ว ข้าแต่มหาราช ข้อนี้เปรียบเหมือนดอกมะเดื่อจะเกิดขึ้นในโลกยากยิ่งนักฉันใด ช้าแต่มหาราช พระพุทธทั้งหลายผู้มีภคะก็ฉันนั้น  จะเกิดขึ้นในโลกก็ยางยิ่งนัก นับด้วยหลายหมื่นโกฏิกัลป พระกุมารนี้จะได้ตรัสรู้อนุตตรสัมยักสัมโพธิ ตรั้นตรัสรู้แล้ว ก็จะทำให้สัตว์ทั้งหลายนับด้วยหมื่นแสนโกฏิให้ข้ามพ้นฝั่งจากทะเลคือสังสารวัฏให้ตั้งอยู่ในอมฤตะ และพวกอาตมาจะไม่ทันเห็นพระพุทธรัตนะนั้น ด้วยเหตุนี้แล ข้าแต่มหาราช อาตมาจึงร้องไห้ มีใจหดหู่ ถอนหายใจยาว อาตมมิได้คิดร้ายพระกุมารนี้ในความสุขสำราญ

 

      ข้าแต่มหาราช ลักษณะของพระกุมารมีมาในคัมภีร์มนตร์และเวทของอาตมาว่า พระกุมารสรวารสิทถธจะไม่ได้ครองฆราวาส นั่นเพราะเหตุไร ข้าแต่มหาราช เพราะพระกุมารสรวารถสิทธประกอบด้วยมหาปุรุษลักษณะ คือลักษณะของมหาบุรุษ 32 ประการ มหาปุรุษลักษณะ 32 ประการนั้น คืออะไรบ้าง? ,มหาปุรุษลักษณะ 32 ประการนั้น คือ ข้าแต่มหาราช พระกุมารสรวารถสิทธ (1) อุษณีษศีรษะ มีพระเศียรรูปเหมือนโพกผ้า หรือเหมือนสวมมงกุฎ คือพระเศียรสูง   พระกุมารสรวารถสิทธประกอบด้วยมหาปุรุษลักษณะนี้เป็นข้อต้น (2) ภินนาญชนมยูรกลาปาภินีลวลลิตปรทกษิณาวรตเกศะ พระเกษาแยกเส้นกันสีเขียวเข้าเหมือนสียาป้ายขอบตาหรือสีดอกอัญชัญ หรือสีโคนหางนกยูง ขมวดเวียนขวา (3) สมวิปุลลลาฏะ พระนลาฏ(หน้าผาก)กว้างเรียบ (4) อูรณาภรุโวมเธยชาตาหิมรชตปรกาศา ข้าแต่มหาราช ขนอ่อนเกิดที่หว่างคิ้ว (อุณาโม) ของพระกุมารสรวารถสิทธ สีขาวเหมือนน้ำค้างหรือเงินยวง (5) โคเปกษมเนตระ  พระเนตรมีขอบเหมือนขอบตาวัว (6) อภินีลเนตระ พระเนตรสีเขียวเข้ม  (7) สมจตวารึศททนตะ มีพระทนต์ (ฟัน) 40 ซี่เท่าๆกัน  (8) อวิรลทนตะ ซี่พระทนต์ชิดกัน (9) ศุกลทนตะ พระทนต์ขาวสะอาด (10) พรหมสวร ข้าแต่มหาราช พระกุมารสรวารถสิทธมีเสียงไพเราะเหมือนเสียงพรหม (11) รสรสาครวาน ปรายพระชิวหารู้รสไว (12) ปรภูตตนุชิหวะ  พระชิวหาแผ่ออกได้มาก (13) สีหหนุ พระหนุ(คาง) เหมือนคางราชสีห์ (14 สุสํวฤตตสกรธะ มีพระกายสำรวมอินทรีย์เป็นอย่างดี  (15)  สปโตตสทะ มีพระมังสา(เนื้อ)อูมนูน 7 แห่ง  (16)จิตานุตรำสะ พระอังสา (ไหปลาร้า) มีเนื้อเต็ม  (17) สูกษม สุวรณรณจวิ พระฉวี(ผิว)ละเอีดยมีสีเหมือนสีทอง (18) สถิโต ' นวนตปรลมพพาหุ พระกายยืนตรงไม่คดค้อม พระพาหา(แขน) ยาว  (19) สึหปูรวารธกายะ พระกายท่อนบนเหมือนท่อนขนของราชสีห์ (20)  นยโครธปริมณฑโล ข้าแต่มหาราชพระกุมารสรวารถสิทธมีปริมณฑลเหมือนปริมณฑลของต้นไทย  (21) เอไกกโรมา มีพระโลมา(ขน)ขุมละเส้น  (22) อุรธวาคราภิปรทกษิณาวรตโรมา พระโลมาเวียนขวา ปลายพระโลมาชี้ขึ้นบน  (23) โกโศปคตพสติคุหยะ พระคุยหะ(เครื่องเพศ) ซ่อนอยู่ในฝัก  (24) สุวิวรติโตรุ ต้นพระชงฆ์(ขาท่อนบน)กลมงาม (25) เอเณยมฤคราชชงฆะ พระชงฆ์(ขาท่อนล่าง)เหมือนแข้งพระยาเนื้อทราย (26) ทีรฆางคุลิ นิ้วพระหัตถ์ นิ้วพระบาทยาว  (27) อายตปารษณิปาทะ ประปรัษณี(ซ่นเท้า) ยาว  (28) อุตสงคปาทะ พระบาทลาดขึ้นสูง  (29) มฤทุตรุณหสตปาทะ พระหัตถ์พระบาทนุ่มสด  (30) ชาลางคุลีหสตปาทะ นิ้วพระหัตถ์นิ้วพระบาท และพระหัตถ์พระบาทมีรูปลายตาข่าย 31 ทีรฆางคุลิรธะกรมตลโยร จเกรชาเต จิเตร สหสราเร สเนมิเก สนาภิเก ข้าแต่มหาราช พระบาททั้ง 2 ของพระกุมารสรวารถสิทธ ลาดต่ำลงโดยลำดับ นิ้วพระบาทยาว เกิดมีลายกงจักรอันวิจิตร (สีขาวมีประกายเหมือนเปลวไฟ) มีซี่ 1000 พร้อมด้วยกงและดุม  (32) สุปรติษฐิตสมปาโท ข้าแต่มหาราช พระกุมารสรวารถสิทธ มีพระบาทแนสนิทกับพื้นเป็นอย่างดี ข้าแต่มหาราช พระกุมารสรวารถสิทธ  ประกอบด้วยมหาปุรุษลักษณะ 32 ประการนี้ ข้าแต่มหาราช ลักษณะชนิดนี้ มิได้มีแก่พระราชาจักรพรรดิ์ทั้งหลาย แต่ลักษณะเช่นนี้ย่อมมีแก่พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย

 

      ข้าแต่มหาราช ยังมีอีก อนุพยัญชนะ (อวัยวะส่วนปลีกย่อย) 80 ประการในพระกายของพระกุมารสรวารถสิทธ ประกอบด้วยลักษณะทั้งหลาย ซึ่งพระกุมารสรวารถสิทธไม่ควรอยู่ครองเรือนเป็นฆราวาส พระองค์จะเสด็จออกบรรพชาโดยแน่แท้ ข้าแต่มหาราช อนุพยัญชนะ 80 ประการนั้นคืออะไร? อนุพยัญชนะ 80 ประการนั้น คือ ข้าแต่มหาราช พระกุมารสรวารถสิทธ (1) ตุงคนขะ มีเล็บนูน ข้าแต่มหาราช พระกุมารสรวารถสิทธ (2) ตามรนขะ เล็บแดง (3) สนิคธนขะ เล็บอ่อนเป็นเงางาม  (4) วฤตตางคุลิ นิ้วพระหัตถ์นิ้วพระบาทกลม (5)  อนุปูรวจิตรางคุลิ นิ้วพระหัตถ์นิ้วพระบาทงามเรียว (6) คูฒศิระ พระเศียรราบเรียบ (7) คูฒคุลผะ  พระโคปกะ(ตาตุ่ม)ราบเรียบ  (8) ฆนสนธี  ข้อต่อมั่นคงแข็งแรง (9) อวิษมปาทะ พื้นพระบาทเสมอกัน (10) อายตปารษณิศะ  มีซ่นพระบาทยาว ข้าแต่มหาราช พระกุมารสรวารถสิทธ (11) สนิคธปาณิเลขะ มีลายพระหัตถ์ละเอียด งาม (12) ตุลยปาณิเลขะ มีลายพระหัตถ์เท่ากัน (ทั้งสองข้าง) (13)คัมภีรปาณิเลขะ มีลายพระหัตถ์ลึก (14) อชิหมปณิเลขะ มีลายพระหัตุ์ไม่คด (15) อุปูรวปาณิเลขะ มีลายพระหัตุ์เรียวตามลำดับ  (16) พิมโพษฐะ มีริมพระโอษฐ์แดงดั่งผลตำลึงสุก  (17) โนจจาวจศพทะ พระสุรเสียงไม่ดัง  (18) มฤทุตรุณตามรชิหวะ มีพระชิวหาอ่อนและแดงสด (19) คชครชิตาภิสตนิตเมฆสวรมธุรมญชุโฆษะ มีพระสุรเสียงก้องเหมือนช้างร้อง และเมฆกระหึ่ม แต่หวาน และอ่อนโยนไพเราะ  (20)  ปริปูรณวยญชนะ ตรัสได้ชัดเจนถูกต้องเต็มตามพยัญชนะ ข้าแต่มหาราช พระกุมารสรวารถสิทธ (21) ปรลมพพาหุ มีพระพาหายาว  (22) ศุจิคาตรวสุ ตุสํปนนะ สมบูรณ์ด้วยพระกายวัสดุอันสะอาดบริศุทธ  (23) มฤทุคาตระ มีพระกายนิ่ม  (24) วิศาลคาตระ มีพระกายกว้าง  (25) อทีนคาตร มีพระกายไม่ซูบซีดแดลูเป็นสง่าบ่งว่าเป็นผู้มีบุญ  (26) อนุปูรโวนนตคาตร มีพระกายสูงเรียวขึ้นเป็นลำดับ  (27) สุสมาหิตคาตระ มีพระกายตั้งขึ้นมั่นคงเป็นอย่างดี  (28) สุวิภกตคาตร มีพระกายได้ส่วนสัดดี  (29) ปฤถุวิปุลสุปริปูรณชานุมณฑละ มีพระชานุมณฑล(ตัก)หนา กว้าง เต็ม เป็นอันดี  (30)วฤตตคาตร มีพระกายกลม   ข้าแต่มหาราช พระกุมารสรวารถสิทธ (31) สุปริมฤษฏคาตร มีพระกายเกลี้ยงเกลาดี (32) อชิหมวฤษภคาตร มีพระกายเหมือนโคผู้ (33) อนปูรวคาตร มีพระกายเรียวไปเป็นลำดับ  (34) คมภีรนาภิ มีนาภีเลีก  (35) อชิหมนาภิ มีนาภีไม่บิดเบี้ยว  (36) อนุปูรวนาภิ พระนาภีมีกลีบเป็นชั้นๆลึกลงไปโดยลำดับ (37) ศุจยาจาระ มีระเบียบมรรยาทสะอาดงาม  (38) ฤษภวตสมนตปรสาทิกะ กิริยาท่าทางงามเหนือนโคตัวผู้  (39) ปรมสุวิศุทธวิติมิราโลกสมนตปรภะ มีพระกายบริศุทธผุดผ่องเหมือนดวงอาทิตย์ฉายแสงในที่มืด (40) นาควิลมพิตคติ ทรงพระดำเนินแช่มช้อยเหมือนช้างเดิน ข้าแต่มหาราช พระกุมารสรวารถสิทธ (41) สีหวิกรานตคติ ทรงย่างกรายองอาจเหมือนสิงห์ (42) (ษภวิกรานตคิต ทรงย่างกรายองอาจเหมือนโคผู้ (43) หํสวิกรานตคติ ทรงย่างกรายละมุนละม่อมเหมือนหงส์ย่างก้าว  (44) อภิปรทกษิณาวรตคติ ทรงพระดำเนินมีมารยาทแสดงท่าเคารพอย่างดียิ่ง (45) วฤตตกุกษิ พระอุทร(ท้อง)กลม (46) มฤษฏกุกษิ  พระอุทรเกลี้ยงเกลา (47) อชิหมกุกษิ พระอุทรไม่คดค้อม (48) จาโปทระ พระอุทรนูนโค้งเหมือนคันธนู (49) วยปคตฉนทโทษะนีลกาลกาทุษฏศรีระ พระกายปราศเครื่องทำให้รัก และเครื่องทำให้ชัง (คือปราศจากเครื่องเสริมสวย และเครื่องเปรอะเปื้อน) และปราศจากเครื่องประทุษร้ายผิวคือปานและไผ (50) วฤตตทํษฏระ มีพระทาฐะ (เขี้ยว) ซี่กลม ข้าแต่มหาราช พระกุมารสรวารถสิทธ (51) ตีกษณทํษฏระ มีพระทาฐะคม (52) อนุปูรวทํษฏระ พระทาฐะเรียวเป็นลำดับ (53) ตุงคนาสะ พระนาสิก(จมูก)โด่ง (54) ศุจินยนะ พระเนตรแจ่มใสสะอาด (55) วิมลนยนะ พระเนตรไม่ขุ่นมัว (56) ปรหสิตนยนะ พระเนตรยิ้มแย้มร่าเริง (57) อายตนยนะ พระเนตรยาว (58) วิศาลนยนะ พระเนครกว้าง (59) นีลกุลวยทลสทฤศนยนะ พระเนตรเหมือนกลีบบัวเขียว  (60)สหิตภรู พระโขนง(คิ้ว)ดก ข้าแต่มหาราช พระกุมารสรวารถสิทธ (61 จิตรภรู มีพระโขนงงาม  (62)อสิตภรู พระโขนงดำ  (63) สํคตภรู พระโขนงต่อกัน (64) อนุปูรวภรู พระโขนงเรียวเป็นลำดับ (65) ปีนคณฑะ พระกโปล(แก้ม)เต็ม  (66) อวิษมคณฑะ พระกโปลเท่ากันทั้งสองข้าง  (67) วยปคตคณฑโทษะ พระกโปลปราศจากโทษ(คือไม่เป็นริ้วรอยสิวฝ้า)  (68) อนุปหตกรุษฏะ ไม่แสดงพระพักตร์เหี้ยมเกรียม  (69) สุทิทิเตนทริยะ มีประสาทอินทรีย์รับความรู้ไว  (70)สุปริปูรเณนทริยะ มีอินทรีย์ครบบริบูรณ์ (คือมีตา หู จมูก ลิ้น กายหรือผิวหนัง ใจ บริบูรณ์ดี) ข้าแต่มหาราช พระกุมารสรวารถสิทธ  (71)สํคตมุขลลาฏะ มีพระนลาต(หน้าผากรัรบกับพระพักตร์  (72) ปริปูรโณตตมางค มีพระเศียรอูมเต็ม (73) อสิตเกศะ มีพระเกศาดำ  (74) สหิตเกศะ มีพระเกศาดก (สุสํคตเกศะ มีพระเกศะรวามกันเป็นเกลียว)  (75) สุรภิเกศะ มีพระเกศาหอม  (76) อปรุษเกศะ มีพระเกศาไม่หยาบ  (77) อนากุลเกศะ มีพระเกศาไม่ยุ่ง  (78) อนุปูรวเกศ มีพระเกศาเรียงเส้นเป็นลำดับ  (79) สุกุญจิตเกศะ มีพระเกศางอหยิกเป็นอันดี  (80)ศรีวตส สวสติก นนทยาวรตรธมาน สํสถานเกศะ มีพระเกศาเจริญงามขมวดเวียนขวาเหมือนรูปสวสดิกะซึ่งเป็นศรีวัตสะ(เครื่องหมายกากบาท) ข้าแต่มหาราช พระกุมารสรวารถสิทธ ประกอบด้วยอนุพยัญชนะ 80 อย่างเหล่านี้ ซึ่งพระกุมารสรวารถสิทธไม่ควรครองเรือนเป็นฆราวาส จะต้องเสด็จออกบรรพชาโดยแน่แท้

 

      ครั้งนั้นแล พระราชาศุทโธทนะได้ฟังคำพยากรณ์พระกุมาร จากสำนักของพระอสิตมหาฤษี ทรงยินดี มีพระทัย เฟื่องฟู ดีพระทัย  บรรเทิงพระทัย เกิดปีติโสมนัสจึงเสด็จลุกขึ้นจากอาสน กราบลงแทบพระบาททั้ง 2 ของพระโพธิสัตว์ แล้วตรัสเป็นคำประพันธ์นี้ว่า

 

      55 เทวดาพร้อมทั้งองค์อินทร์ กราบไหว้ลูก และพระฤษีก็ได้ บูชาลูก ดูกรลูกผู้เจริญ แม้พ่อก็ได้กราบไหว้ลูกผู้เป็นแพทย์ของโลกฯ

 

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชาศุโธทนะ ได้เลี้ยงดูพระอสิตมหาฤษีกับนรทัตผู้เป็นหลานด้วยอาหรารอันสมควร  ครั้นเลี้ยงดูและถวายเครื่องนุ่งห่มแล้วก็กระทำประทักษิณ ครั้งนั้นแล พระอสิตมหาฤษีก็หลีกออกจากที่นั้น โดยสำแดงฤทธิ์(เหาะไป)ทางอากาศ ไปยังที่ซึ่งเป็นอาศรมของตน

 

      ครั้นคนทั้ง 2 ไปแล้ว นคนทั้ง 2 นั้น พระอสิตมหาฤษีได้พูดกับมาณพนรทัตว่า ดูกรนรทัต เมื่อใด เจ้าได้ยินว่า พระพุทธเกิดแล้วในโลก เมื่อนั้น เจ้าจงไปบวชในศาสนาของพระพุทธนั้น นั่นจะเป็นไปเพื่อความต้องการ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่เจ้าตลอดกาลนาน

 

      มีคำกล่าวในข้อนี้ว่า

 

      56 พระอสิตมหาฤษี ผู้อยู่ในหุบเขา เห็นหมู่เทวดาที่ไปในพื้นฟ้าเปล่งเสียงว่า พุทธะ ท่านก็ถึงซึ่งปีติอย่างยิ่ง ท่านผู้เจริญทั้งหลาย บทว่าพุทธะ นี้ นำมาซึ่งความยินดีแก่สัตว์ทั้งหลาย มิใช่หรือ กายของเราก็จะถึงความหมดจดสดใส และจิตของเราก็จะถึงความสุขสงบอย่างยิ่ง

 

      57 ส่วนเทวดา อสูร ครุฑ และกินนร จะเป็นอย่างไร ได้ยินบทว่าพุทธะ นี้แล้ว ก็จะเกิดปีติและบรรเทิงใจ มิใช่หรือ พระอสิตมหาฤษีแลดูทิศทั้ง 10 ภูเขา แผ่นดิน มหาสมุทร ด้วยตาทิพย์ ก็ได้เห็นความอัศจรรย์ต่างๆเป็นอันมาก ในแผ่นดิน ในภูเขา ในมหาสมุทรฯ

 

      58 รัศมีนี้ รุ่งเรือง งามดี ทำตัวให้ร่าเริงยินดี เกิดขึ้นแล้วเหมือนหน่อแก้วประพาฬแวววาวอยู่ขนยอดเขา และเหมือนต้นไม้ที่เต็มไปด้วยดอกบานสะพรั่ง ประดับด้วยผลต่างๆ การบังเกิดขึ้นแห่งรัตนะงามวิเศษยิ่ง จะมีใตไตรภพชั่วขณะ ฯ

 

      59 เหมือนแผ่นดินสว่างเรียบราบเสมอกันหมด เหมือนฝ่ามือปราศจากสิ่งสกปรก และเหมือนเทวดาที่มีใจร่าเริงยินดีท่องเที่ยวไปยังท้องฟ้าในอากาศ การบังเกิดขึ้นแห่งบ่อเกิดพระธรรมในชมพูทวีป ได้แก่พระชินรัตะ(พระพุทธ)ซึ่งเปรียบเหมือนรัตนะของแปลกประหลาดลอยอยู่ในพิภพของพระยานาคในมหาสมุทร ฯ

 

      60 สัตว์ทั้งหลายในอบาย มีความสงบ ปราศจากทุกข์ ประกอบด้วยความสุข คณะเทวดาทั้งหลายที่อยู่ในท้องฟ้า ก็จะประกอบด้วยความร่าเริงยินดี ได้ยินเสียงวิเศษแห่งเครืองสังคีตทิพย์ ด้วยมีใจแช่มชื่น สิ่เหล่านี้เป็นนิมิต(เครื่องหมาย)ของผู้ซึ่งดังว่าดวงแก้วใด ผู้ซึ่งดังว่าดวงแก้วนั้น ปรากฏแล้วในภพทั้ง 3ฯ

 

      61 พระอสิตมหาฤษี มองดูสถานที่ซึ่งเรียกว่าชมพูทวีปนี้ด้วยทิพยจักษุ ท่านได้เห็นพระกุมารอันเพียบพร้อมไปด้วยลักษณะ และเดชคือบุณย มีกำลังดังองค์นารายณ์ เกิดขึ้นแล้วในที่อยู่ของพระราชาศุโธทนะในบุรีอันประเสริฐมีชื่อว่ากบิล ครั้นเห็นแล้วก็ดีใจ มีใจเฟื่องฟูเจริญด้วยเรี่ยวแรงฯ

 

      62 ท่านเกิดความอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่งจึงขมีขมันรีบเร่ง พร้อมด้วยศิษย์ของท่านมายังบุรีอันประเสริฐมีชื่อว่ากบิล ยืนอยู่ที่พระทวารของพระเจ้าแผ่นดิน พระฤษีผู้ชรา เห็นคนเป็นอันมากนับตั้งแต่หมื่นโกฏิติดตามกันไป จึงพูดกับยามเฝ้าพระทวารของพระราชาว่า ดูกรสารถี ท่านจงรีบไปทูลพระราชาให้ทรงทราบว่ามีฤษีมายืนอยู่ทีพระทวารฯ

 

      63 ยามเฝ้าพระทวารได้ยินแล้ว จึงรีบเข้าไปสู่พระราชวัง ทูลเรื่องนั้นแต่พระราชาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ มีพระดาบสมายืนอยู่ที่ประตู ท่านชรมมาก เป็นพระฤษีแก่หง่อม และพระฤษีผู้ประเสริฐนั้นพอใจจะเข้ามาในพระราชวัง ของพระเจ้าแผ่นดินผู้ประเสริฐ จงมีพระกระแสตรัสสั่งก่อนว่า อนุญาตให้ท่าน(พระฤษี)เข้าได้

 

      64 พระนฤบดีให้จัดอาสนถวายแก่พระฤษี แล้วตรัสว่า ไปเถิดเราให้เข้ามาได้ พระอสิตมหาฤษี ได้ฟังคำของสารถี(ยามเฝ้าพระทวาร)แล้วมีความยินดี มีปีติประกอบด้วยความสุข พระฤาผู้ประเสริฐยินดีในความสุขเพื่อจะได้เห็นสัตว์ผู้สูงสุดนั้น เหมือนผู้มุ่งหวังกระหายน้ำเย็น หรือผู้หิวอาหารฯ

 

      65 จึงพูดว่า ข้าแต่พระเจ้าแผ่นดินผู้เจริญ ขอพระองค์จงมีชัยชนะเถิด ขอพระองค์จงดีพระทัยรักษาพระชนมชีพให้ยืนนาน ทำให้เจริญเถิด แล้วท่านผู้มีจิตฝึกฝนดีแล้วก็นั่งสำรวมอินทรีย์อย่างแก่กล้า พระราชาทรงนมัสการแล้ว ตรัสกับพระอสิตมหาฤษีนั้นอย่างอ่อนน้อมว่า พระคุณเจ้ามาในพระราชวังด้วยเหตุใด โปรดบอกมาเร็วๆเถิดพระมุนีฯ

 

      66 (พระมหาฤษีทูลว่า)ข้าแต่พระนฤบดี พระโอรสของพระองค์เกิดมามีรูปร่างประเสริฐนัก บรรลุถึงบารมีแล้ว มีเดชใหญ่หลวง ประกอบด้วยลักษณะ 32 ประการ มีกำลังดังองค์นารายณ์ อาตมาใคร่จะเห็นพระกุมารสรวารถสิทธนั้น ข้าแต่พระนฤบดี อาตมภาพมาเพื่อประโยชน์อย่างนี้ กิจการอย่างอื่นของอาตมาไม่มีฯ

 

      67 (พระราชาศุโธทนะตรัสว่า) สาธุ ข้าพเจ้าขอต้อนรับพระคุณเจ้าขอมาเถิด ข้าพเจ้าอิ่มใจหาประมาณมิได้ เพราะได้เห็นพระคุณเจ้า กุมารผู้ให้ความประเสริฐนั้นยังหลับอยู่ ไม่อาจเห็นได้ในขณะนี้  ถ้าจะให้ดีขอพระคุณเจ้าโปรดรออยู่ที่นี่สักครู่ก่อน  จะได้เห็นกุมารผู้ปราศจากมลทินเหมือนดวงจันทร์ปราศจากมลทินในวันเต็มดวง และประดับด้วยหมู่ดาวทั้งหลายฯ

 

      68 เมื่อพระกุมารผู้เป็นสารถีองค์ประเสริฐมีรัศมีเหมือนดวงจันทร์เต็มดวงนั้นตื่นแล้ว พระราชาได้ทรงประคองพระกุมารผู้มีพระวรกายรุ่งเรืองเหมือนไฟ มีรัศมียิ่งกว่ารัศมีดวงอาทิตย์ ตรัสว่า ข้าแต่พระฤษี นี่อย่างไรละพระคุณเจ่าโปรดดูพระกุมารผู้ที่มนุษย์และเทวดาทั้งหลายบูชาแล้ว ผู้เปรียบเหมือนพิมพ์ทองอันประเสริฐ พระอสิตมหาฤษีแลเห็นพระบาททั้ง 2 ของพระกุมารนั้นมีรูปกงจักรเป็นเครื่องหมายงามฯ

 

      69 แล้วท่านจึงลุกขึ้นจากอาสน ทำกระพุ่มมือแล้วไหว้พระบาท(พระกุมาร)ประคองไว้บนตัก ท่านเป็นผู้เชียวชาญในคัมภีร์พยากรณ์คนใหญ่คนโตเพ่งพิจารณาดูก็ได้เห็นพระกุมารประกอบด้วยลักษณะประเสริฐ มีพระกำลังเหมือนองค์นารายณ์ ท่านจึงผงกศีรษะท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในคัมภีร์พระเวท เห็นพระกุมารนั้นมีคติ 2 อย่างฯ

 

      70 คือจะเป็นพระราชาจักรพรรดิ์ มีกำลัง หรือจะเป็นพระพุทธสูงสุดในโลก แล้วท่านก็หลั่งน้ำตาออกมา มีกายและใจหดหู่เหี่ยวแห้ง สะอึกสะอื้น พระเจ้าแผ่นดินผู้ประเสริฐ ตกพระทัย ตรัสถามว่า ท่านพราหมณ์ร้องไห้ทำไม พระอสิตมหาฤษีอย่าเห็นอันตรายบังเกิดมีแก่สรวารถสิทธของข้าพเจ้าเลยฯ

 

      71 ข้าแต่พระฤษี พระคุณเจ้าจงพูดไปตามจริง พระคุณเจ้าร้องไห้ทำไม จะมีเหตุการณ์ดีหรือร้าย (พระฤษีทูลว่า) ข้าแต่พระราชาผู้เจริญเหตุร้ายไม่มี และจะไม่มีอันตรายในที่นี้แก่พระกุมารสรวารถทิทธของพระองค์ ข้าแต่พระนฤบดี อาตมาเสียใจให้แก่ตนเองว่า ชราแล้ว แก่หง่อมแล้วพระกุมารนี้จะได้เป็นพระพุทธ โลกบูชาแล้ว จะแสดงธรรมฯ

 

      72 อาตมาไม่ได้เห็น ไม่ได้รับความอิ่มใจ อาตมาร้องไห้เพราะเรื่องนี้ อาการ 32 ซึ่งมีลักษณะประเสริฐ ปราศจากมลทิน มีในกายของผู้ใด ผู้นั้น จะมีคติเป็น 2 ไม่มีคติอื่นเป็นที่ 3  ข้าแต่องค์นฤบาล(ผู้ปกครองคน)ขอพระองค์จงทรงทราบอย่างนี้ คือพระกุมารนี้จะเป็นพระราชาจักรพรรดิ์ผู้มีกำลัง หรือจะเป็นพระพุทธผู้สูงสุดในโลกฯ

 

      73 พระกุมารนี้ จะไม่มีความประสงค์ในกามคุณ  แต่จะได้เป็นพระพุทธ พระนฤบดีนั้นได้ทรงฟังคำพยากรณ์ของพระฤษีแล้ว ทรงได้รับปีติและความสุข ลุกขึ้นจากพระราชอาสน ทรงกระทำกระพุ่มพระหัตถ์ไหว้พระบาททั้ง 2 (ของพระกุมาร)ตรัสว่า ลูกมีกำลังดี เทวดาทั้งหลายก็บูชาแล้วเป็นอย่างดี และพรฤษีทั้งหลายก็สรรเสริญฯ

 

      74 ดูกรลูกผู้เป็นหัวหน้าพ่อค้าเดินทาง  พ่อนี้ขอไหว้ลูกผู้ที่โลกทั้งปวงในไตรภพบูชาแล้ว ส่วนพระอสิตมหาฤษี ก็พูดกับนรทัตว่า ดูก่อนหลาน หลานจงบรรเทิงใจ ฟังลุงพูด เมื่อใดหลานได้ยินว่าพระกุมารนี้ตรัสรู้เป็นพระพุทธ และหมุนจักรให้แก่โลก เมื่อนั้นหลานจงบรรพชาในศาสนาของพระมุนีนี้ นั่นแหละหลานจะถึงความพ้นทุกข์ฯ

 

      75 พระมุนีผู้ประเสริฐไหว้พระบาททั้ง 2(ของพระกุมาร) ทำประทักษิณ แล้วทูลว่า ข้าแต่พระนฤบดี การได้พระโอรสของพระองค์เช่นนี้ นับว่าเป็นลาภอันไพบูลย์อย่างดี พระกุมารนี้จะยังโลกทั้งเทวโลก และมนุษยโลกให้เอิบอิ่มด้วยธรรม ว่าแล้ว พระฤษีผู้ประเสริฐก็ออกจากเมืองกบิลพัสดุ์ ไปอยู่ในอาศรมของตนในป่า ดั่งนี้แลฯ

 

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย  พอพระโพธิสัตว์เกิดแล้ว เทวบุตรมเหศวรจึงเรียกเทวบุตรผู้อยู่ในชั้นศุทธาวาสแล้วกล่าวว่า  ดูกรท่านผู้ควรเคารพทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ผู้เป็นมหาสัตว์ได้ทำกรรมดีไว้แล้วตั้งหมื่นแสนโกฏิกัลปนับไม่ถ้วน มีทาน ศีล กษานติ วีรยะ ธยาน ปรัชญา อุปาย สุต จรณะ พรต ตบะ  เป็นการประพฤติสุจริต  มีจิตประกอบด้วยมหาไมตรี มหากรุณา มหามุทิตา มีอุเบกษาเป็นยอดสูงอำนวยประโยชน์ และความสุขให้แก่สัตว์ทั้งปวง ผูกกระชับด้วยเสื้อเกราะเครื่องป้องกันคือวีรยะอันมั่นคง ได้ก่อสร้างกุศลมูล ซึ่งพระชิน(พุทธ)องค์ก่อนๆกระทำมาแล้วประดัด้วยบุณยลักษณะตั้งร้อย กล้าหาญในการสะสมกระทำความดี ทำลายอาณาจักรผู้อื่นได้สมบูรณ์ด้วยอัธยาศัยสะอาดบริศุทธดี ประพฤติสุจริต มีมหาชญาน(ปัญญาใหญ่ยิ่ง)เป็นธงสัญญลักษณ์ ทำลายมารและพลมาร เป็นหัวหน้านำพ่อค้าเดินทางของมนุษยโลก และเทวโลก เทวดาและมนุษย์ขูชาแล้ว เป็นผู้บูชามหายัชญ สะสมบุญไว้พรั่งพร้อม มีความประสงค์ถอนตัวออกจากทุกข์ ทำลายชาติ ชรา มรณะ มีกำเนิดเกิดดีแล้ว เป็นเชื้อสายราชตระกูลอิษวากุ เป็นผู้ยังโลกให้ตรัสรู้ เป็นพระโพธิสัตว์มหาสัตว์เกิดขึ้นแล้วในมนุษยโลก อีกไม่ช้า พระองค์จะได้ตรัสรู้อนุตตรสัมยักสัมโพธิ อย่างไรก็ตาม เราทั้งหลายจะไปอภิวาทนับถือ บูชาสดุดีพระองค์ท่าน เพื่อละเสียซึ่งความถือตัว ความมัวเมาและความกระด้างของเทวบุตรทั้งหลายผู้ที่ถูกความถือตัวครอบงำ เทวบุตรทั้งหลายเหล่านั้น เห็นพวกเราอภิวาท เขาเหล่านั้นก็จะไหว้ นับถือ ชูชา พระโพธิสัตว์บ้าง นั่นก็จะเป็นไปเพื่อความต้องการประโยชน์ ความสุข ตลอดกาลนานจนกว่าจะบรรลุอมฤต(นิรวาณ) พระราชาศุโธทนะก็ได้ยินเสียง ชโย สวัสดี และพวกเราก็จะไปพยากรณ์พระโพธิสัตว์ด้วยคำพยากรณ์อันแม่นยำ ดั่งนี้แล

 

      ครั้นแล้ว เทวบุตรมเหศวร มีเทวบุตร12แสน แวดล้อม ก็นำหน้า แปล่งรัศมีสว่างทั่วนครกบิลพัสดุ์แล้วเข้าไปสู่พระราชวังของพระราชาศุโธทนะ ครั้นแล้วจึงแจ้งให้คนเฝ้ายามประตูทราบ เมื่อได้รับอนุญาตจากพระราชาแล้ว จึงเข้าไปสู่ราชตระกูลน้อมเศียรลงกราบพระบาทพระโพธิสัตว์ ห่อผ้าอุตราสงค์(ผ้าพาดบ่า) เฉียงบ่าข้างหนึ่งทำประทักษิณ ทำพร้อมกับเทวบุตรนับจำนวนหลายแสน แล้วอุ้มพระโพธิสัตว์ขั้นบนตัก ปลอบพระราชาศุโธทนะว่า ดูกรมหาราช พระองค์จงยินดี มีปีติอย่างยิ่งเถิดนั่นเพราะเหตุไร ดูกรมหาราช เพราะเหตุว่า กายของพระโพธิสัตว์ประดับด้วยลักษณะและอนุพัญชนะที่ดี และพระกุมารจะครอบงำ อสูรโลกพร้อมทั้งเทวโลกและมนุษยโลก ด้วยวรรณะ ด้วยเดช ด้วยยศ และด้วยบุณยสมบัติ ดูกรมหาราชพระโพธิสัตว์จะตรัสรู้อนุตตรสัมยักสัมโพธิ โดยไม่ต้องสงสัย

 

       กระนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวบุตรมเหศวรพร้อมด้วยเทพบุตรชั้นศุทธาวาสได้เข้าใกล้ชิดทำการบูชาใหญ่ยิ่งต่อพระโพธิสัตว์แล้ว พยากรณ์ พระโพธิสัตว์ด้วยคำพยากรณ์อันแม่นยำแล้วก็หลีกไปสู่ภพของตนอีก

 

       ในที่นี้มีคำกล่าวไว้ว่า

 

       76 เมื่อพระโพธิสัตว์ผู้เป็นมหาสมุทรแห่งคุณความดี ดังว่าสาครเกิดขึ้นแล้ว เทพสุเรศวร(มเหศวร)ทราบแล้ว มีใจเฟื่องฟู ตรัสว่า เราทั้งหลาย กว่าจะได้ฟังธรรมอันยากที่จะหาฟังได้  ก็นับตั้งแต่โกฏกัลปอย่างไรก็ดี ท่านทั้งหลายจงมาเถิด เราจะพากันไปบูชาพระโพธิสัตว์ผู้เป็นจอมปราชญ์พระองค์นั้นฯ

 

       77 เทพเจ้าผู้บริศุทธทั้งหลาย จำนวน 12000ถ้วน ประดับเมาลีด้วยมาลีรัตนะ ล้วนเป็นผู้มีอำนาจ รีบเข้าไปสู่บุรีกบิลพัสดุ์อันประเสริฐแต่ละตนมีเมาลีห้อยลงยาวงาม ยืนอยุ่ที่พระทวารของพระนรบดี

 

       78 เทพเจ้าเหล่านั้น ได้พูดกับยามเฝ้าพระทวารด้วยสำเนียงเป็นที่เจริญใจว่า ขอท่านจงเข้าไปยังท้องพระโรง กราบทูลให้พระนฤบดีทรงทราบยามเฝ้าพระทวารได้ยินคำพูดแล้วจึงเข้าไปในพระราชวัง หมอบยอบถวายบังคมพระนฤบดีแล้ว กราบทูลว่าฯ

 

       79 ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์จงทรงชัยชนะ จงประครองประชาราษฎร์เป็นนิตย์ จงมีพระชนม์ยืนนาน ได้มีคนมายืนอยู่ที่พระทวาร ท่าทางเป็นคนมีบุณยกว้างขวาง มีราศีบริศุทธ ประดับเมาลีด้วยมณีรัตนะ ล้วนเป็นผู้มีอำนาจ ในหน้าอิ่มเหมือนจันทร์เพ็ญ มีราศีหมดมลทินเหมือนด้วงจันทร์ฯ

 

       80 ข้าแต่พระนฤบดี เขาเหล่านั้นไม่เห็นมีเงาเลย ได้ยินแต่เสียงพูด เสียงฝีเท้าก็ไม่ได้ยิน เมื่อเดินบนแผ่นดินก็ไม่มีฝุ่น ใตรแลดูเขา ก็ไม่รู้อิ่ม ฯ

 

       81 เขาเหล่านั้น ร่างกายมีสง่าราศีรุ่งเรืองไพบูลย์ยิ่ง วาจาก็เพราะจับใจ ไม่พูดเหมือนคนทั้งหลาย ริริยามารยาทสุภาพเรียบร้อยลึกซึ้ง และมีท่าทางดี ข้าพระองค์สงสัยว่าเขาเหล่านั้นจะเป็นพวกเทวดา ไม่ใช่มนุษย์ฯ

 

       82 มือถือดอกไม้อย่างดี พวงมาลัยเครื่องชโลมลูบไล้และเส้นไหมมองด้วยความเคารพ ข้าแต่นฤบดี เขาเหล่านั้น คงจะเป็นเทวดามาเยี่ยมบูชาพระกุมารผู้เป็นอธิเทพเหมือนเทพทั้งหลาย โดยไม่ต้องสงสัยฯ

 

       83 พระราชา (ศุทโธทนะ) ได้ทรงฟังคำกราบทูลแล้ว มีพระทัยเฟื่องฟูเป็นอย่างยิ่ง จึงตรัสว่า ไปเถิด ไปบอกให้ท่านผู้เจริญเหล่านั้นเข้ามาในพระราชวัง ฤทธิ์เช่นนี้ ตามที่เจ้าบอกถึงคุณสมบัติและอำนาจของเขาเหล่านั้น ต้องไม่ใช่ฤทธิ์ของมนุษย์อย่างใดๆ เลยๆ

 

       84 ยามเฝ้าพระทวารถวายบังคมแล้ว กลับออกมาบอกเทพเจ้าว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระเจ้าแผ่นดินทรงอนุญาตแล้ว ขอเชิญเข้าไปได้ เทพเจ้าเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีแล้ว มือถือพวงมาลัยอย่างดี เข้าไปสู่พระราชวัง ซึ่งเป็นที่ประทับของพระนฤบดีฯ

 

       85 พระนฤบดีเห็นเทพเจ้าผู้ประเสริฐเหล่านั้นเข้ามายังพระราชวังแล้ว ก็เสด็จลุกขึ้นทรงต้อนรับ ทรงประคองพระหัตถ์ทำอัญชลี(ประนมมือไหว้) ตรัสว่า อาสนเหล่านี้มีอยู่ เชิงอาสนประดับรัตนะ ขอท่านผู้เจริญทั้งหลาย โปรดนั่งบนอาสนนี้ เพื่ออนุเคราะห์แก่ความรู้ฯ

 

       86 เทพเจ้าเหล่านั้น ปราศจากความถือตัว และความกระด้าง นั่งบนอาสนทั้งหลายแล้วพูดว่า ข้าแต่พระนฤบดี โปรดฟัง พวกเรามาที่นี่เพื่อต้องการเยี่ยมบุตรของพระองค์ซึ่งเกิดแล้ว มีบุณยหนาแน่น มีกายบริศุทธ มีพระบาทเกิดมาดีแล้วฯ

 

       87 พวกข้าพเจ้าเป็นผู้รู้การ(ศาสตร์) รู้สังเกตลักษณะแห่งลักษณะดีว่า คติ(ทางไป) และประโยค(ความประพฤติ)ของเขาเหล่านี้จะเป็นอย่างไร ข้าแต่แพระเจ้าแผ่นดินผู้ประเสริฐ เพราะฉะนั้น พระองค์จงละความหนักใจเสีย ข้าพเจ้าขอถือโอกาส ขอชมพระกุมาร ผู้มีร่างกายประดับด้วยลักษณะอันงามวิจิตรฯ

 

       88 พระราชาศุทโธทนะ นั้น แวดล้อมด้วยหมู่สตรี ทรงดีพระทัยทรงประคองพระกุมารซึ่งไม่มีใครเสมอ มีพระฉวีวรรณดังเปลวไฟอันรุ่งเรือง นำเข้าไปใกล้เทพเจ้าผู้ประเสริฐ ซึ่งมีพระเมาลีห้อยลงยาวงาม พอพระราชาศุทโธทนะก้าวออกจากพระทวาร พื้นแผ่นดินมนุษยโลก ก็ไหวสะเทือนฯ

 

       89 เทพเจ้าเหล่านั้น เห็นพระนขา(เล็บ) ของพระนายก(โพธิสัตวื)แดงเรียว แผ่นนขาสะอาดงามบริศุทธ เทพเจ้าผู้มีรูปร่าง มีเมาลีห้อยลงยาวงามเหล่านั้น ก็รีบลุกขึ้น ต่างน้อมเศียรอภิวาทพระกุมารผู้มีรัศมีปราศจากมลทินโดยลำดับฯ

 

       90 ลักษณะทั้งหลายที่เห็น และที่ได้สังเกต พระมิ่งขวัญที่เป็นเดช คือบุณยอยุ่บนจอมพระเศียรที่ได้แลเห็น พระเนตรทีอำนาจ พระอุณาโลมและพระเกศาที่เห็น ล้วนแต่แสดงว่าจะได้ตรัสรุ้พระโพธิชนะมารโดยไม่ต้องสงสัยฯ

 

       91 เทพเจ้าเหล่านั้น ก็สรรเสริญพระราชกุมาร ผู้มีคุณความดีตามที่เห็นว่ามีประโยชน์ และเพี่งดูคุณความดีทั้งหลายแห่งพระกุมารผู้ปราศจากเกลศ บันเทาความมืด จริงอยู่ ความปรากฏของสัตว์ผู้เป็นรัตนะซึ่งสละข้าศึก คือ ชาติ ชรา มรณะและเกลศ กว่าจะมีได้ก็นานเหลือเกินฯ

 

       92 ภพทั้ง 3 ลุกโพลงไปทั่ว ถูกไฟทั้ง 3 (ไฟราคะ ไฟโทษะ ไฟโมหะ)(เผาผลาญแล้ว ด้วยการสีไม้สีไฟ อันมีความใคร่(สำกลป)และความกำหนัด (ราค) เป็นอารมณ์ พระองค์เป็นผู้มีปรัชญา จะแผ่ขยายเมฆฝน คือธรรม ปกคลุมมนุษยโลก ดับความร้อนคือเกลศด้วน้ำฝนคือมมฤตฯ

 

       93 พระองค์มีพระวาจาประกอบด้วยไมตรี ประกอบด้วยกรุณา มีพระวาจาอ่อนหวาน มีพระสุรเสียงไพเราะดังเสียงพรหม มีพระวาจาไพเราะจับใจ ยังมนุษยโลกและเทวโลกให้รอบรู้ และให้ตรัสรู้ ข้าแต่พระผู้มีภคะ ของพระองค์จงเปล่งพระสุรสิงหนาทแสดงความตรัสรู้อันยิ่งใหญ่ โดยเร็วเถิดฯ

 

       94 ขอพระองค์จงบำราบหมู่เดียรถีย์ เจ้าลัทธิชั่วร้าย มีความเห็นวิปริต ผู้จมอยู่ในเรือนจำคือความกำหนัดในภพ ให้เขาเหล่านั้นต้องอยู่ในที่สุดแห่งภพ(นิรวาณ) ให้เขาฟังธรรมแสดงว่าภพอาศัยเหตุเป็นของศูนย์(สิ้นอาวิชชา ภพก็ศูนย์)ให้เขาเหล่านั้น หนีไปเหมือนฝูงสุนัขป่าหนีราชสีห์ฯ

 

       95 จงทำลายแผ่นอวิทยาเป็นดังว่าควัน คือตัวเกลศใหญ่ ยังชุมชนให้เข้าไปอยู่ในที่สว่างอันถาวร จงกำจัดซึ่งอัธการ(ความมืด)ใหญ่แห่งโลกทั่วไป ด้วยแสงไฟคือ ชญาน และด้วยสายฟ้า คือแสงแห่งปรัชญาฯ

 

       96 เมื่อสัตว์บริศุทธเช่นนี้เกิดขึ้นมาในโลกนี้อย่างไม่เคยมี จึงนับว่าเป็นลาภอันไพบูลย์ของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลายซึ่งได้รับแล้วเป็นอย่างดี ทางไปสู่อบายจะถูกปิด ทางไปสู่สวรรค์จะถูกขยายออก จะถึงได้โดยสัตว์ประเสริฐ ซึ่งได้ตรัสรู้แล้วฯ

 

       97 เทพเจ้าเหล่านั้นก็โปรยทิพยโกสุมลงในเมืองกบิลพัสดุ์นี้ แล้วทำประทักษิณ และสดุดีโดยความเคารพ เปล่งวาจาว่า พุทธ สุพุทธ(พระพุทธเป็นพระพุทธที่ดี)แล้วก็พากันไปในท้องฟ้า ประกอบด้วยการเยื้องกายอันงดงามฯ

 

อัธยายที่ 7 ชื่อชนมปริวรรต (ว่าด้วยทรงอุบัติ) ในคัมภีร์ลลิตวิสตร ดั่งนี้แล ฯ

 

08 วิหารเทวรูป

อัธยายที่ 8

 

เทวกุโลปนยนปริวรฺโต ' ษฏมะ

 

ชื่อเทวกุโลปนยนปริวรรต (ว่าด้วยการนำไปสู่วิหารเทวรูป)

 

       กระนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์เกิดแล้ว ตกเวลาราตรี หญิง 20000 ก็คลอดกุมารในตระกูลกษัตริย์ พราหมณ์ เจ้าแขวง คฤหบดีมหาศาล ในยามราตรีนั้นเอง มารดาบิดาของกุมารทั้งปวงเหล่านั้น ได้ถวายแก่พระโพธิสัตว์เพื่อให้ปฏิบัติบำรุงและรับใช้พระโพธิสัตว์ พระราชาศุทโธทนะก็ได้ประทานหญิงสาวอีก 20000 คน เพื่อให้ปฏิบัติบำรุง และรับใช้พระโพธิสัตว์ มิตร อมตย์ ญาติสาโลหิตก็ได้ถวายหญิงสาว 20000 คนเพื่อให้ปฏิบัติบำรุง และรับใช้พระโพธิสัตว์

 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ศากยทั้งหลายที่เป็นผู้เฒ่าผู้แก่ ได้ประชุมกันแล้วเข้าเฝ้าพระราชาศุทโธทนะ ทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ พระองค์ควรทราบว่า จะต้องนำพระกุมารไปสู่วิหาร พระราชาดตรัสว่าดีแล้ว เราจะต้องนำกุมารไปสู่วิหาร ถ้ากระนั้นต้องตกแต่งพระนคร ประดับประดาถนนหลวง ทางสี่แพร่ง ตลาด ถนน ซอย ที่สำคัญๆให้งดงาม ห้ามกันคนที่ไม่เป็นมงคล คือคนตาข้างเดียว คนง่อย คนหูหนวก คนตาบอดสองข้าง คนใบ้ คนจรจัด คนมีรูปร่างพิกลพิการ คนมีอินทรีย์ไม่ครบถ้วน  นำเอาคนที่มีลักษณะเป็นมงคลเข้ามา จงให้ตีกลองประกาศงานทำบุณย เคาะระฆัง ประกาศงานมงคล จงให้ประดับตกแต่งประตูเมืองอันประเสริฐ จงให้บรรเลงประโคมดนตรีส่งเสียงไพเราะเจริญใจ จงให้ประชุมพระราชาประเทศราชทั้งปวง จงรวบรวมคณะเศรษฐี คฤหบดี อมาตย์ คนเฝ้าประตูให้อยู่ในที่แห่งเดียวกัน จงให้เทียมรถสำหรับหญิงสาว จงให้จัดตั้งหม้อใส่น้ำเต็ม จงให้ประชุมพราหมณ์ทั้งหลายผู้สังวัธยายมนตร์ จงให้ตกแต่งวิหารทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจการทั้งหมดตามที่ได้กล่าวมาแล้วก็ได้ทำเสร็จเรียบร้อยด้วยประการฉะนี้แล

 

       ครั้นแล้ว พระราชาศุทโธทนะ เสด็จเข้าสู่พระราชวังของพระองค์ ตรัสเรียกพระนางมหาประชาบดีโคตมีมา แล้วตรัสว่า เธอจงตกแต่งกุมาร เราจะพาไปวิหารพระนางมหาประชาบดีโคตมี รับสนองพระโองการว่า สาธุ (พระเจ้าข้า) แล้วจึงประดับประดาพระกุมาร

 

       ขณะเมื่อพระกุมารกำลังได้รับการประดับประดา มีพระพัตกตร์แช่มชื่น ปราศจากหน้านิ่วคิ้วขมวด ตรัสกับพระมารดาสะใภ้(แม่เลี้ยง) ด้วยพระวาจากอ่อนหวานอย่างยิ่งว่า ข้าแต่พระมารดา เขาจะพาลูกไปไหน  พระนางมหาประชาบดีโคตมีตรัสตอบว่า เขาจะพาไปวิหารน่ะซิลูก ครั้นแล้ว พระกุมาร ได้แต่อมยิ้ม มีพระพักตร์แช่มชื่น ตรัสกับพระมารดาสะใภ้(แม่เลี้ยง) เป็นคำประพันธ์ว่า

 

       1 เมื่อลูกเกิดในโลกนี้ มนุษย์โลกก้ไหวหวั่น องค์ศักร(อินทร์) พรหม อสูร พระยานาค จันทร์ อาทิตย์ และไวศรวณะ ขันธกุมาร ก็ได้พากันมาน้อมเศียรนมัสการตามลำดับฯ

 

       2 เทวดาอื่นๆเหล่าไหน จะสูงวิเศษไปกว่าลูก ข้าแต่พระมารดา วันนี้พระมารดาไหว้ลูกในที่นี้ ลูกจะต้องเป็นเทวดาเหนือเทวดาทั้งหลายสูงสุดกว่าเทวดาทั้งปวง เทวดาเท่ากันกับลูกไม่ได้ หรือจะเหนือกว่าลูกได้อย่างไร ฯ

 

       3 ข้าแต่พระมารดา ชุมนุมชนเห็นลูกแล้ว พึงถึงปีติเป็นไปตามโลกเขาจะมีใจเฟื่องฟูต่อลูก จะกระทำความเคารพนับถือเหลือประมาณ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจะรู้ว่า กุมารนี้เป็นเทวดาเหนือเทวดาทั้งหลายฯ

 

       กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อถนนหลวง ทางสี่แพร่ง และร้านตลาดที่สำคัญๆ ภายในเมืองถูกตกแต่งงดงามหาประมาณมิได้ ปรากฏเฉพาะหน้าด้วยสีสรรทั้งปวงอันเป็นการเฉลิม และเป็นมิ่งมงคล พระราชาศุทโธทนะจึงให้ประดับรถของพระกุมาร แวดล้อมไปด้วยคณะพราหมณ์ เจ้าแขวง เศรษฐี คฤหบดี อมาตย์ พระราชาประเทศราช คนเฝ้าประตู มิตรและญาติ ทรงนำหน้า พาพระกุมารไปโดยหนทางที่อบอวลไปด้วยควันธูป เดียรดาษไปด้วยแก้วมุกดา และดอกไม้ เดินแถวด้วยขบวนทหารม้า หหารช้าง ทหารรถ และทหารราบ ยกธงชัย และงปตาก ประโคมด้วยดนตรี ต่างๆ เทวดาแสนหนึ่ง ขับรถพระโพธิสัตว์ เทพบุตร และนางอัปสรหลายหมื่นแสนโกฏิไปในท้องฟ้าได้โปรยดอกไม้ลงมา และประโคมดนตรีทั้งหลาย พระราชาศุทโธทนะทรงนำพระกุมารเข้าไปสู่วิหารด้วยราชพยุหขบวนใหญ่ ด้วยราชฤทธิ์ใหญ่ยิ่ง และด้วยราชานุภาพใหญ่ยิ่ง ด้วประการฉะนี้แล ในขณะที่พระบิดาให้ประทีป พื้นที่พระโพธิสัตว์ย่างประบาทขวาเข้าไป เหล่าเทวรูปอื่นๆซึ่งไม่มีจิตใจในวิหารนั้น คือรูปศิวะ สกันทะ นารายณ์ กุเวร จันทร์ อาทิตย์ ไวศรพณะ ศกร พรหม โลกบาล เป็นต้น เทวรูปเหล่านั้นลุกขึ้นจากสถานที่ของตนๆล้มลง ณ พื้นที่ที่พระโพธิสัตว์ย่างพระบาท เทวดา และมนุษย์ตั้งแสนในที่นั้น ต่างก็เปล่งเสียงร้องอื้ออึงคะนึงนับเป็นแสนๆ โดยส่งเสียงเป็นอันเดียวกันแสดงความยินดีว่า ฮิ้ว ฮิ้ว ต่างก็โยนผ้าขึ้นมหานครกบิลพัสดุ์ก็ไหวหวั่นไปด้วยอาการพิเศาประเสริฐยิ่งทั่วทุกแห่ง ฝนดอกไม้ทิพย์ตกลงมา ดนตรีตั้งแสนไม่มีใครไปแตะต้อง ก็บรรลือสั่นขึ้นมา เทวรูปที่เป็นตัวแทนของเทพเจ้าทั้งหลายองค์ใด เทพเจ้าองค์นั้นๆก็ได้กล่าวคำเป็นบทประพันธ์เหล่านี้ เพื่อแสดงสภาพของตนๆว่า

 

       4 ขุนเขาเมรุเป็นบรรพตประเสริฐ จะไม่อ่อนน้อมต่อเมล็ดพันธุ์ผักกาดเลย หรือว่ามหาสมุทรเป็นที่อยู่ของนาคราช จะไม่อ่อนน้อมต่อน้ำในรอยเท้าโคเลย ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ซึ่งส่องแสง ได้ส่องแสงแล้วจะไม่อ่อนน้อมต่อหิ่งห้อยเลย ทำไมผู้มีปรัชญามีบุณย มีตระกูล จึงไม่อ่อนน้อมต่อเทวดาทั้งหลายฯ

 

       5 จริงอยู่ โลกอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใดแล้ว ได้ลาภ ได้สวรรค์ ได้นิรวาณ ท่านผู้นั้นต้องเป็นสยัมภู (ผู้เป็นเอง)ที่สุดในโลก เหมือนภูเขาสุเมรุ มหาสมุทร ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ ฉันใด เทวดาในเทวโลกและมนุษย์บางคน อาศัยความทะนงตนก็ฉันนั้น ซึ่งทีแท้เขาเป็นเหมือนเมล็ดพันธัผักกาด  น้ำในรอยเท้าโค หรือหิ่งห้อยฯ

 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อตถาคต ผู้มหาสัตว์เสด็จเข้าไปในวิหารนี้ กำลังทอดพระเนตรอยู่ ดวงจิตของเทวบุตรทั้งหลายตั้ง 32 แสน ก็ได้ผุดขึ้นในอนุตตรสัมยักสัมโพธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ ถูกเขาพาไปสู่วิหาร พระองค์ทรงเพิกเฉยด้วยอาการใด อาการนั้น มีเหตุ มีปัจจัย ดั่งนี้แล

 

อัธยายที่ 8 ชื่อเทวกุโลปนยนปริวรรต (ว่าด้วยการนำไปสู่วิหารเทวรูป)ในคัมภีร์ศรีลลิตวิสตระ ดั่งนี้แล

 

 

09 เครื่องประดับ

 

 

อัธยายที่ 9

 

อาภรณปริวรฺโต ทศมะ

 

ชื่อ อาภรณปริวรรต (ว่าด้วยเครื่องประดับ)

 

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พราหมณ์ผู้หนึ่งชื่ออุทยนะ เป็นปุโรหิตของพระราชา และเป็นบิดาของอุทายิ (พระอุทายี) เขามีพราหมณ์ประมาณ 500 แวดล้อมเข้าไปเฝ้าพระราชาศุโธทนะ ในกาลเมื่อดวงจันทร์เสวยจิตรานักษัตรฤกษ์ซึ่งอยู่ถัด หัสตนักษัตรฤกษ์(*) ลงมา แล้วทูลว่า ขอพระองค์จงทำเครื่องประดับให้แก่พระกุมารตามที่ทรงทราบ(ว่าอย่างไหนจะดี) พระราชาตรัสกับพราหมณ์นั้นว่า ถูกแล้วจะต้องทำให้ดีดยิ่ง

 

* จิตรานักษัตรอยู่คาบเส้นในเรือนราศีกันย์กับตุล

 

       ในครั้งนั้น พระราชาศุโธทนะ ตรัสสั่งให้ศากยทั้งหลายประมาณ 500 คนทำเครื่องประดับประมาณ 500 อย่าง นั่นคือ เครื่องประดับมือ เครื่องประดับเท้า เครื่องประดับศีรษะ  เครื่องประดับคอ เครื่องประดับเป็นแหวน เป็นตุ้มหู สายสร้อย เข็มขัดทอง ร่างแหผู้ลูกพรวน ร่างแหประดับแก้ว รองเท้าประดับแก้วมณี เครื่องตกต่างล้วนรัตนะต่างๆ ไข่มุก ทองกร มกุฎอย่างงาม ศากยทั้งหลายเหล่านั้น ครั้นทำเสร็จแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระราชาศุโธทนะ ในวันดวงจันทร์ประกอบด้วยปุษยฤกษ์(*) แล้วทูลว่า นี่อย่างไรล่ะ ข้าแต่พระนฤบดี ตกแต่งพระกุมารได้แล้ว พระราชาตรัสว่า ท่านทั้งหลายได้ชื่อว่า ตกแต่งและบูชากุมารแล้ว แม้เราก็ได้ชื่อว่า ทำเครื่องประดับให้(แก่กุมาร)แล้ว ศากยทั้งหลายทูลว่า ขอให้พระกุมารจงผูกเครื่องประดับของข้าพระองค์ทั้งหลายสัก 7 คือ 7 วัน ไว้ในพระทัย ความพยายามของข้าพระองค์ทั้งหลายจะได้ไม่เสียเปล่า เพราะเหตุนั้น

 

* ปุษยฤกษ์อยู่ในเรือนราศีกรกฎ

 

       ครั้นคืนนั้นสิ้นสุดแล้ว ดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว พระโพธิสัตว์ เสด็จออกไปสู่อุทยานชื่อ วิมลพยุหะ ในวันนั้น ในการเสด็จนั้น พระนางประชาบดีโคตมี อุ้มพระโพธิสัตว์ไว้ในตัก สตรีทั้งหลายประมาณ 8 หมื่นก็ได้มาชะเง้อมองพระพักตร์พระโพธิสัตว์ พราหมณ์ทั้งหลาย 5000 ได้มาชะเง้อมองพระโพธิสัตว์ เครื่องประดับทั้งหลายที่ทำโดยศากยราชผู้ชำนาญ ได้ผูกติดพระกายพระโพธิสัตว์ เครื่องประดับที่ผูกเรียงไว้ตามลำดับนั้น ได้อับหมองไปเสียแล้ว เพราะรัศมีพระกายของพระโพธิสัตว์ เครื่องประดับเหล่านั้นไม่สุก ไม่เปล่งปลั่ง ไม่รุ่งเรือง เหมือนเอาก้อนเขม่าไปวางไว้ข้างหน้าทองชมพูนท มันไม่สุก ไม่เปล่งปลั่ง ไม่รุ่งเรือง เช่นเดียวกับเครื่องประดับทั้งหลายเหล่านั้น พอกระทบรัศมีพระกายของพระโพธิสัตว์เข้า ก็ไม่สุก ไม่เปล่งปลั่ง ไม่รุ่งเรือง เครื่องประดับหลากหลายใดๆที่ผูกติดพระกายพระโพธิสัตว์ เครื่องประดับนั้นๆ อับหมองไปเหมือนก้อนเขม่า

 

       เทพธิดาผู้รักษาอุทยานในที่นั้นมีนามว่าวิมลา นางได้แสดงอัตภาพของตนเองให้เป็นผู้โหยหิว ยืนอยู่เบื้องหน้า กล่าวกับพระราชาศุโธทนะ และพวกศากยหมู่ใหญ่นั้น ด้วยคำเป้นบทประพันธ์ว่า

 

       1 แผ่นดินในมหนุษยโลก พร้อมทั้งเมืองหลวงและหัวเมืองทั้งหมดนี้ได้สะสมทองคำไว้เต็มที่ งดงามปราศจากมลทิน แต่จะถูกลบล้างเพราะทองคำชมพูนทเพียงกากณึกเดียว (ทองหนัก 1 เม็ดมะกล่ำ)มันจะสิ้นรัศมีทองอื่นๆนั้น ก็จะปราศจากรัศมีและสิริฯ

 

       2 โลกทั้งหมดเมื่อเทียบกับทองคำชมพูนท ก็กลายเป็นก้อนเขม่าไปรัศมีในขุมขนพระกุมารผู้เป็นนายก เพียบพร้อมไปด้วยหิริและสิริก็เปล่งปลั่ง เครื่องประดับไม่สุก ไม่เปล่งปลั่ง ไม่งาม และไม่ซ่านออก เมื่อพระกายของพระสุคตของเราทั้งหลายมีรัศมี เครื่องประดับก็เหมือนก้อนเขม่าฯ

 

       3 พระกุมารของเราทั้งหลายนี้ ประดับแล้วด้วยเดชของพระองค์เพียงพร้อมไปด้วยคุณความดีตั้งร้อย มีพระกายหมดจดดี รุ่งเรืองด้วยเครื่องประดับของพระองค์ แสงสว่างดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ก็ดี ดวงดาวก็ดี และความแวววามของแก้วมณีก็ดี รัศมีขององค์ศักระและของพรหมก็ดีย่อมไม่สว่างเมื่ออยู่ต่อหน้าพระกุมารผู้สว่างด้วยกลุ่มแห่งสิริฯ

 

       4 ลักษณะทั้งหลายในพระการของพระกุมารใด อันงามวิจิตรไปด้วยผลแห่งศุภกรรมในชาติปางก่อน จะป่วยกล่าวไปไย ถึงเครื่องประดับของพระกุมารนั้น อันต่ำทรามที่ทำด้วยเครื่องมือของคนอื่นๆ

 

       5 ขอพระองค์จงประทานเครื่องประดับทั้งหลายเหล่านี้ ซึ่งงามดีปราศจากมลทินให้แก่มหาดเล็กรับใช้นั้นซึ่งมีนามว่าฉันทกะ ผู้เป็นสหชาติ(เกิดพร้อมกันกับพระกุมาร) เมื่อได้ประดับตกแต่งดีแล้ว จะเป็นความงามแห่งราชตระกูล อนึ่งขอให้ศากยราชทั้งหลายยินดี มีความพิศวงงงงวย ร่าเริงบันเทิงใจ และความเจริญอันไพบูลย์สุงสุด จะมีแก่ผู้ยินดีในศากยตระกูลฯ

 

       นางเทพธิดานั้น ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็โปรยดอกไม้ทิพย์ไปยังพระโพธิสัตว์แล้วหายวับไป ณ ที่นั้น

อัธยายที่ 9 ชื่ออาภรณปริวรรต (ว่าด้วยเครื่องประดับ) ในคัมภีร์ศรีลลิตวิสตร ดั่งนี้แลฯ

10 เยี่ยมโรงเรียน

อัธยายที่ 10

ลิปิศาลาสํทรฺศนปริวรฺโต ทศมะ

ชื่อลิปิศาลาสันทรรศนะปริวรรต(ว่าด้วยการเสด็จเยี่ยมโรงเรียน)

       กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระกุมารได้เติบใหญ่แล้ว ครั้งนั้นพระกุมารได้รับการพาไปสู่โรงเรียน(ลิปิศาลา) ด้วยสิ่งของเป็นมงคลประมาณแสน มีเด็กประมาณหมื่นแวดล้อม พระดองค์ได้รับเป็นหัวหน้า ด้วยรถหมื่นหนึ่งบรรทุกของเคี้ยวของกิน ของอร่อย และบรรทุกเงินทองไปด้วย ซึ่งแยกย้ายพักอยู่ตามถนนหลวง ทางสี่แพร่งร้านตลาดที่สำคัญๆในมหานครกบิลพัสดุ์ มีดนตรี 8 แสน ก้องกังวาลอยุ่ มีฝนดอกไม้โปรยลงมา มีหญิงสาวตั้งแสนประดับด้วยเครื่องประดับพร้อมสรรพยืนอยู่ที่ระเบียงประตู ซุ้มประตู หน้าต่าง ตำหนัก เรือนยอด และพื้นประสาท หญิงสาวเหล่านั้นมองดูพระโพธิสัตว์ และซัดดอกไม้ไป เทพธิดา 8 พันประดับอาภรณ์ เครื่องประดับหลวมๆถือไม้กวาดแก้ว แผ้วกวาดหนทางเดินไปข้างหน้าพระโพธิสัตว์ เทวดา นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครุฑ กินนร งูใหญ่ มีกายถึ่งหนึ่ง ห้อยแผ่นพวงมาลัยดอกไม้จากพื้นท้องฟ้า หมู่ศากยทั้งปวงนำหน้าพระราชาศุทโธทนะเดินไปข้างหน้าพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ได้รับการพาไปยังโรงเรียนด้วยกระบวนหยุหอย่างนี้

      ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ก็เสด็จเข้าสู่โรงเรียน ครั้นนั้นพระอาจารย์ของเด็กชื่อวิศวามิตร ทนไม่ได้ต่อสง่าราศีและเดชของพระโพธิสัตว์ นั่งก้มหน้าอยู่ที่พื้นดินแล้วฟุบลง เทวบุตรที่อยู่ชั้นดุสิต ชื่อศุภางคะ  เห็นพระอาจารย์ฟุบลงเช่นนั้น ก็พยุงให้ลุกขึ้นด้วยฝ่ามือขวา ครั้นแล้วก็ยืนอยู่ในอากาศได้พูดด้วยคำเป็นบทประพันธ์กับพระราชาศุทโธทนะ และประชุมชนหมู่ใหญ่นั้นว่า

 

      1 ศาสตร์ทั้งหลายใดๆอย่อมดำเนินไปในมนุษยโลก คือเลข หนังสือ การคำนวณและตำราธาตุ(วิทยาศาสตร์) การเรียนศิลปเป็นของโลกมีมากประมาณมิได้  พระโพธิสัตว์ศึกษาในศาสตร์นั้นตลอดเวลาหลายโกฏิกัลปมาก่อนแล้วฯ

 

      2 แต่ว่า พระกุมารเจริญตามรอยเขา (เด็กเหล่านั้น) จึงได้เสด็จมาโรงเรียนทรงศึกษา เพื่อศิษย์ทั้งหลาย เพื่อบ่มอินทรีย์เด็กเป็นอันมมากให้ไปในยานอนเลิศ และเพื่อแนะนำคนอื่นๆให้ได้รับอมฤตฯ

 

      3 พระกุมารรู้วิธีในสัตยบถ 4 ประการ อันเหนือโลก คนทั้งหลายเป็นไปในกุศล เพราะอาศัยเหตุด้วยประการใด และเข้าจะดับเกลศให้สิ้นไป ดำรงอยู่เป็นความเยือกเย็น ด้วยประการใด พระองค์ทรงรู้วิธีในประการนั้นๆ จะป่วยกล่าวไปไยถึงความรู้เพียงอักษรศาสตร์ฯ

 

      4 วิศวามิตรไม่ใช่อาจารย์ของพระกุมารนี้ ที่เหนือกว่าในโลกทั้ง 3 พระกุมารนี้ประเสริฐที่สุดในเทวดา และมนุษย์ทั้งปวง ท่านทั้งหลายยังไม่รู้แม้ชื่อแห่งหนังสือซึ่งจะต้องศึกษาตลอดหลายโกฏิกัลปมาก่อนแล้วฯ

 

      5 พระกุมารนั้น ทรงไว้ซึ่งจิต(รู้ใจ)ของสัตว์โลกทั้งหลาย อันวิจิตรพิสดารต่างๆ มีอายุยังน้อย เป็นผู้บริศุทธและรู้คติของความว่าง ไม่มีรูปปรากฏ (นิรวาณ) จะป่วยกล่าวไปไยถึงการจะรู้รูปหนังสือที่ปรากฏเป็นตัวอักษรฯ

 

      เทวบุตรนั้น ครั้นพูดอย่างนี้แล้วจึงบูชาพระโพธิสัตว์ด้วยดอกไม้ทิพย์ แล้วหมายไปในที่นั้น  นางนมและพวกนางกำนัลทั้งหลายโปรดให้พักอยู่ที่นั่น ศากยราชนอกนี้มีพระราชาศุทโธทนะเป็นประธานกลับไปแล้ว

 

      ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ถือกระดานชนวนทำด้วยไม้จันทน์อุรคสาร  คลุมด้วยผ้าตาดทองของพระฤษีอันเป็นทิพย์(*) ประดับด้วยแก้วมณีรัตนะรอบด้าน พูดกับพระอาจารย์วิศวามิตรว่า ข้าแต่พระอาจารย์ผู้เจริญ  ท่านจะให้ข้าพเจ้าเรียนหนังสืออย่างไหน คือหนังพรหมี หนังสือขโรษฏิ หนังสือปุษกรสารี หนังสืออังคะ หนังสือวังคะ หนังสือมคธ หนังสือมังคัละ(เบงคอล) หนังสืออังคุลียะ หนังสือศการิ หนังสือพรหมวลิ หนังสือปารุษยะ หนังสือทราวิฑะ หนังสือกิราต หนังสือทากษิณยะ หนังสืออุคระ หนังสือสังขยา หนังสืออนุโลม หนังสืออวมูรธะ(บางบับว่าอัทธธานุ) หนังสือทรทะ หนังสือขาษยะ หนังสือจีน หนังสือลูน หนังสือหูณ หนังสือมัธยากษระวิสตระ หนังสือปุษปะ หนังสือเทว หนังสือนาค  หนังสือยักษ์ หนังสือคนธรรพ์ หนังสือกินนร  หนังสือมโหรคะ(งูใหญ่) หนังสืออสูร หนังสือครุฑ หนังสือมฤคจักร หนังสือวายสรุต (เสียงการ้อง หน้งสือเภามเทวะ  หนังสืออันตรีกษเทวะ หนังสืออุตตรกุรุทวีป หนังสืออปรโคฑานี หนังสือปูรววิเทหะ หนังสืออุตเกษปะ หนังสือเกษปะ หนังสือวิเกษปะ  หนังสือปรเกษปะ หนังสือสาคระ หนังสือวัชระ หนัสือเลขประติเลขะ หนังสืออนุทรุตะ หนังสือศาสตราวรรตะคณนาวรรตะ หนังสืออุตเกษปาวรรตะ หนังสือเกษปาวรรตะ หนังสือปาทลิขิตะ หนังสือวิรุตตระปทสันธิ หนังสือยาวัททโศตตระปทสันธิ  หนังสือมัธยาหาริณี  หนังสือสรวรุตะสังครหณี หนังสือวิทยานุโลมาวิมิศริตะ หนังสือฤาตปัสตัปตาวโรจมานำธรณีเปรกษิณี หนังสือคคนเปรกษิณี หนังสือที่ผลิตจากต้นไม้ล้มลุก หนังสือที่รวบรวมสิ่งเป็นสาระทั้งปวง หนังสือรูปตัวสัตว์  และหนังสือได้จากเสียงร้องของสัตว์ ข้าแต่พระอาจารย์ผู้เจริญ บรรดาหนังสือ 64 อย่างนี้ ท่านจะให้ข้าพเจ้าเรียนหนังสืออย่างไหน?

 

      ครั้งนั้นวิศวามิตรอาจารย์ของเด็ก ยิ้มอยู่ในหน้าด้วยความประหลาดใจ ปลงความถือตัวและความกระด้างได้แล้ว จึงพูดเป็นคำประพันธ์นี้ว่า 

 

      6 น่าอัศจรรย์ พระกุมารเจริญตามรอยโลกของคนบริศุทธในโลกมาโรงเรียนเพื่อศึกษาศาสตร์ทั้งปวงฯ

 

      7 ชื่อหนังสือใดที่เรายังไม่รู้จัก พระกุมารนี้มาโรงเรียนเพื่อศึกษาหนังสือนั้นจนจบฯ

 

      8 หน้าตาหัวหูหนังสือนั้น เรายังไม่เห็นแล้ว เราจะสอนพระกุมารนี้ให้รู้จบได้อย่างไรฯ

 

      9 พระกุมารผู้เป็นเทพเจ้าของเทวดาทั้งหลาย เป็นอติเทพ(เทพเจ้าผู้ใหญ่ยิ่ง)สูงสุดกว่าเทวดาทั้งปวง เป็นผู้มีอำนาจและไม่มีใครเทียมเท่า ประเสริฐที่สุดไม่มีบุคคลจะเสมอเหมือนฯ

 

      10 แต่เราจะสอนพระกุมาร ให้ได้รับการศึกษาอันอาศัยโลกทั้งปวง โดยพิเศษในบุบายแห่งปรัชญา ด้วยอานุภาพของพระกุมารนี้ฯ

 

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เด็กตั้งหมื่นเรียนหนังสือพ้อมกับพระโพธิสัตว์ในการเรียนนั้น เด็กทั้งหลายเหล่านั้น อ่านทั้งหลายเหล่านั้น อ่านอักษรแม่บทโดยอาศัย(ความช่วยเหลือของ)พระโพธิสัตว์ ในคราวใด เด็กเหล่านั้นจะอ่นตัวอักษรว่า อ ในกาลนั้นกลายเป็นออกเสียงว่า อนิตยะ(ความไม่เที่ยง) เมื่อจะอ่านตัว อา กลายเป้นออกเสียงว่าอาตมปรหิตะ(ประโยชน์ตนและผู้อื่น) เมื่อจะอ่านตัว อิ กลายเป็นออกเสียงว่า อินทรยไวกัลยะ(อินทรีย์บกพร่อง)เมื่อจะอ่านตัว อี กลายเป็นออกเสียงว่า อีติพหุลํชคต(โลกมากไปด้วยอันตราย) เมื่อจะอ่านตัว อุ กลายเป็นออกเสียงว่า อุปทรวพหุลํ ชคต(โลกมากไปด้วยอุปัทวะ เมื่อจะอ่านตัว อู กลายเป็นออกเสียงว่า อุนสตตวํ(สัตว์หรือคนมีความพร่องอยู่ คือไม่เต็ม) เมื่อจะอ่านตัว เอ กลายเป็นออกเสียงว่า เอษณาสมุตถานโทษะ(โทษเกิดจากการแสวงหา) เมื่อจะอ่านตัว ไอ กล่าวเป็นออกเสียงว่า ไอรยาปถะเศรยาน(อิริยาบถประเสริฐ) เมื่อจะอ่านตัว โอ กลายเป็นออกเสียงว่า โอฆะ(คือทะเลได้แก่เกลศ)  เมื่อจะอ่านตัว เอา กลายเป็นออกเสียงว่า เอาปปาทกะ(เกิดขึ้น) เมื่อจะอ่านตัว อํ กลายเป็นออกเสียงว่าอโมฆตปตติ(เกิดมาไม่เสียเปล่า) เมื่อจะอ่านตัว อะ กลายเป็นออกเสียงว่า อสตงคมน(การดับ) เมื่อจะอ่านตัว ก กลายเป็นออกเสียงว่า กรมวิปาปาวตาระ (หยั่งลงสู่ผลกรรม) เมื่อจะอ่านตัว ข กลายเป็นออกเสียงว่าขสม สรว ธรมะ(ธรรมทั้งปวงเสมอด้วยอากาศ) เมื่อจะอ่านตัว ค กลายเป็นออกเสียงว่า  คมภีรธรมปรตีตยสมุตปาทาวตาระ (หยั่งลงสู่ปรตีตยสมุตปาทะซึ่งเป็นธรรมอันลึกซึ้ง) เมื่อจะอ่านตัว ฆ กลายเป็นออกเสียงว่า ฆนปฏลาวิทยา โมหานุธการ วิธมนะ (กำจัดความมืดแห่งอวิทยาซึ่งเป็นแท่งและเป็นแผ่นทึบคือโมหะ) เมื่อจะอ่านตัว ง กลายเป็นออกเสียงว่า  องควิศุทธิ (ความบริศุทธแห่งอวัยวะร่างกาย) เมื่อจะอ่านตัว จ กลายเป็นออกเสียงว่า จตุรารยสตยะ อารยสัตย 4) เมื่อจะอ่านตัว ฉ กลายเป็นออกเสียงว่า ฉนทราคปรหาณะ (ประหารความใคร่และความกำหนัด) เมื่อจะอ่านตัว ช กลายเป็นออกเสียงว่า  ชรามรณสมมติกรมณะ (ระงับชราและมรณะ) เมื่อจะอ่านตัว ฌ กลายเป็นออกเสียงว่า ฌษธวชพลนิครหณะ (ข่มกำลังของกาม) เมื่อจะอ่านตัว ญ กลายเป็นออกเสียงว่า ชญาปนะ (บอกให้รู้) เมื่อจะอ่านตัว ฏ กลายเป็นออกเสียงว่า ปโฏปจเฉทนะ (การตัดขาดซึ่งแผ่นทึบคือ อวิทยา) เมื่อจะอ่านตัว ฐ กลายเป็นออกเสียงว่า ฐปนียปรศนะ (ตั้งปัญหา) เมื่อจะอ่านตัว ฑ กลายเป็นออกเสียงว่า ฑุมรมารนิครหณะ (ข่มการทะเลาะวิว่ทและมาร) เมื่อจะอ่านตัว  ฒ กลายเป็นออกเสียงว่า มีฒวิษยา (อารมณ์เป็นเครื่องไหลผ่าน) เมื่อจะอ่านตัว ณ กลายเป็นออกเสียงว่า เรณุเกลศ (ละอองคือเกลศ) เมื่อจะอ่านตัว ต กลายเป็นออกเสียงว่า ตถาตาสํเภท (ความจริงไม่ต่างกัน) เมื่อจะอ่านตัว ถ กลายเป็นออกเสียงว่า ถามพลเวคไวศารทยะ  (ความองอาจคือ แรง กำลัง ความว่องไว) เมื่อจะอ่านตัว ท กลายเป็นออกเสียงว่า ทานทมสํยมเสารมยะ (ความงาม คือทาน การข่มกรรเมนทรีย์(*) ความสำรวมระวังชญาเนนทรีย์ (**) ) เมื่อจะอ่านตัว ธ กลายเป็นออกเสียงว่า ธนมารยาณำสปตวิธม (อารยาทรัพย์ 7 ) เมื่อจะอ่านตัว น กลายเป็นออกเสียงว่า นามรูปปริชญา(กำหนดรู้นามรูป) เมื่อจะอ่านตัว ป กลายเป็นออกเสียงว่า ปรมารถ (ความหมายอันสูงสุด) เมื่อจะอ่านตัว ผ กลายเป็นออกเสียงว่า ผลปราปติสากษาตกริยา (การบรรลุผลคือการทำให้ปรากฏ) เมื่อจะอ่านตัว พ กลายเป็นออกเสียงว่า พนธนโมกษะ (พ้นจากเครื่องผูกมัด) เมื่อจะอ่านตัว ภ กลายเป็นออกเสียงว่า ภววิภวะ(ภพและวิภพ) เมื่อจะอ่านตัว ม กลายเป็นออกเสียงว่า มทมาโนปศมนะ (ระงับความเมาและความถือตัว) เมื่อจะอ่านตัว ย กลายเป็นออกเสียงว่า ยถารวทธรมปรติเวธะ (แทงตลอดธรรมตามความจริง) เมื่อจะอ่านตัว ร กลายเป็นออกเสียงว่า รตยรติประมารถรติ (ความยินดี ความไม่ยินดี ความยินดีที่เป็นปรมัตถ เมื่อจะอ่านตัว ล กลายเป็นออกเสียงว่า ลตาเฉทนะ (ตัดเถาวัลย์คือเครื่องผูกพัน) เมื่อจะอ่านตัว ว กลายเป็นออกเสียงว่า วรยานะ (ยานประเสริฐ) เมื่อจะอ่านตัว ศ กลายเป็นออกเสียงว่า ศมถวิปศยนา (ศมถะและวิปัศยนา) เมื่อจะอ่านตัว ษ กลายเป็นออกเสียงว่า ษฑายตนนิครหณาภิชญชญานาวาปติ (บรรลุอภิชญาชญานด้วยการข่มอายตนะ 6) เมื่อจะอ่านตัว ส กลายเป็นออกเสียงว่า สรวชญชญานาภิสํโพธนะ (ตรัสรู้สรรพัชญาชญาน) เมื่อจะอ่านตัว ห กลายเป็นออกเสียงว่า หตเกลศวิราคะ (การปราศจากราคะคือเกลศที่ถูกกำจัดแล้ว) เมื่อจะอ่านตัว กษ กลายเป็นออกเสียงว่า  กษณปรยตตาภิลาปยสรวธรมะ (ธรรมทั้งปวง คือความปรารถนาในกาลสิ้นสุดลงแห่งกาละ)

 

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เด็กทั้งหลายเหล่านั้น อ่านแม่บท ได้ออกเสียงเป็นธรรมที่สำคัญๆตั้งแสนนับไม่ถ้วนที่เป็นตัวประธาน โดยอานุภาพของพระโพธิสัตว์

 

      เพราะฉะนั้น เด็ก 32000 คน ได้รับการอบรมโดยลำดับ โดยพระโพธิสัตว์ซึ่งอยู่ในโรงเรียน และเด็กจำนวนนั้นได้มีจิตเกิดขึ้นในอนุตตรสัมยักสัมโพธิ นี่คือเหตุนี่คือปัจจัย ซึ่งพระโพธิสัตว์ผู้เป็นนักศึกษารนไปโรงเรียน

 

อัธยายที่ 10 ซึ่อปิศาลาสันทรรศนะปริวรรต(ว่าด้วยการเสด็จเยี่ยมโรงเรียน) ในคัมภีร์ศรีลลิตวิสตร

 

*กรรเมนทรีย์ ได้แก่ มือ เท้า ปาก ท้อง อวัยวะเพศ

** ชญาเนนทรีย์ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย

 

11 หมู่บ้านชาวนา

 

อัธยายที่ 11

กฺฤษิคฺรามปริวรฺต  เอกาเทศะ

ชื่อกฺฤษิคฺรามปริวรฺต (ว่าด้วยหมู่บ้านชาวนา)

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย จนกระทั่งพระกุมารเจริญวัย ในสมัยต่อมาภายหลัง ครั้งหนึ่งพระกุมาร ได้เสด็จไปเพื่อทอดพระเนตรหมู่บ้านชาวนาพร้อมด้วยบุตรอำมาตย์ อื่นๆหลายคน ครั้นทอดพระเนตรการทำนาแล้ว จึงเสด็จเข้าไปยังอุทยานอีกแห่งหนึ่ง ในอุทยานนั้น พระโพธิสัตว์ประทับอยู่ลำพังพระองค์เดียว มีพระทัยประกอบด้วยความรู้ เสด็จย่างพระบาท(จงกรม) ไปพลางพิจารณาไปพลาง ได้ทรงเห็นต้นหว้าต้นหนึ่งน่าเลื่อมใส น่าชม พระโพธิสัตว์ จึงบทรงนั่งขัดสมาธิใต้ร่มเงาต้นหว้านั้น  ครั้นแล้วจิตของพระโพธิสัตว์ก็ได้ถึงไอกาครตา คือมีกระแสอารมณ์เดียว และได้ถึงวิเวกคือแยกจิตออกจากกามทั้งหลายที่เป็นอกุศลธรรมอันลามก ทรงบรรลุปรถมธยาน ที่ประกอบด้วยวิตรรก วิจาร และปีติสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วพระองค์ทรงบรรลุทวิตียธยาน เพราะระงับวิตรรกวิจารเสียได้ เพราะมีจิตผ่องใส เพราะมีจิตเป็นเอโกติภาวะ ไม่มีวิตรรก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วพระองค์ทรงวางเฉย เพราะความไม่ยินดีในปีติ ทรงมีสมฤติปรชานะอยู่ และพระองค์ทรงเสวยสุขทางกาย แล้ว พระองค์ผู้ควรเคารพ ทรงแจ่มแจ้งวางเฉย มีสมฤติ อยู่เป็นสุข ทรงบรรลุตฤตียธยานอันปราศจากปีติ แล้วพระองค์ทรงบรรลุจตุรถธยาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่อุเบกษา มีสมฤติ และความบริศุทธ เพราะละสุขและทุกข์ และเพราะเสามนัสยเทารมนัสเดิมตั้งอยู่ไม่ได้

      ขณะนั้น ยังมีพระฤษีพาเหียร(ภายนอกพุทธศาสนา) 5 ตน สำเร็จอภิชญา 5 มีฤทธิ์เดินทางมาในอากาศจากทิศใต้ จะไปทิศเหนือ เมื่อพระฤษีเหล่านั้นเหาะไปเบื้องบนราวไพรที่พระโพธิสัตว์ประทับ ก็เป็นเหมือนถูกสกด ไม่สามารถจะเหาะไปได้ เกิดขุมขนซาบซ่าน ได้กล่าวเป็นคำประพันธ์ดังต่อไปนี้

      1 ในที่นี้ เราทั้งหลาย สามารถทำลายภูเขาที่มียอดเป็นแก้วมณีหรือเป็นเพชร และเขาเมรุซึ่งสูงสุดกว้างขวางให้อัตรธานไปได้ในชั่วขณะเดียว เหมือนช้างทำลายหมู่ต้นมะม่วงที่รกรุงรัง ในที่นี้เราทั้งหลายอาศัยเบื้องบนอาจไปได้ในเมืองสวรรค์ เมืองยักษ์ เมืองคนธรรพ์ โดยไม่ขัดข้อง แต่บัดนี้เรามาถึงราวไพรแล้ว สง่าราศีของใครทำกำลังฤทธิ์ให้หยุดชะงักไปเล่า ท่านผู้เจริญ ดั่งนี้ ฯ

       ครั้งนั้นเทพธิดาตนหนึ่ง ซึ่งอยู่ที่ราวไพรนั้น ได้กล่าวเป็นคำประพันธ์กับพระฤษีเหล่านั้น ว่า

      2 พระกุมารเกิดในราชตระกูลแห่งพระเจ้าแผ่นดิน เป็นพระโอรสแห่งศากยราช มีรัศมีเหมือนแสงอาทิตย์อ่อน มีรัศมีเหมือนสีกระพุ้งดอกบัวซึ่งบานแล้ว มีพระพักตร์งามเหมือนดวงจันทร์ เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก ทรงเป็นผู้รู้ พระองค์อาศัยป่านี้เข้าธยาน เทวดา คนธรรพ์ พระยานาค และยักษ์ บูชาแล้ว พระองค์ทรงบำเพ็ญคุณให้เจริญมาแล้วตั้งร้อยโกฏิภพสง่าราศีของพระองค์ทำกำลังฤทธิ์ให้หยุดชะงัก ดั่งนี้ฯ

      ดั่งนั้น พระฤษีเหล่านั้น จึงมองลงมาเบื้องล่างก็ได้เห็นว่า พระกุมารรุ่งเรืองอยู่ด้วยสง่าราศี และเดช พระฤษีเหล่านั้นจึงคิดว่า นี่ใครหนอนั่งอยู่(ที่นั่น?) เป็นไวศรวัณเจ้าแห่งทรัพย์ใช่ไหม หรือว่าเป็นอัศวินมาระ(กามเทพ)เจ้าแห่งกาม หรือเป็นพระยานาค หรือเป็นองค์อินทร์ผู้ทรงวัชระ หรือเป็นรุทระเจ้าแห่งกุมภัณฑ์ หรือเป็นกฤษณะผู้มีอุตสาหะใหญ่ยิ่ง หรือเป็นจันทร์เทพบุตร หรือเป็นอาทิตย์มีรัศมีตั้งพัน หรือเป็นพระราชาจักรพรรดิ์? และในเวลานั้นพระฤษีเหล่านั้นได้กล่าวคำเป็นบทประพันธ์ดังต่อไปนี้

      3 พระกุมารองค์นี้ มีรูปร่างเกินกว่าไวศรวัณ พิเศษกว่ากุเพระ พระกุมารองค์นี้มีรูปเหมือนองค์อินทร์ผู้ทรงวัชระ และเหมือนจันทร์ สุริยะ หรือเหมือนกามเทพผู้เป็นเจ้าแห่งกาม หรือเหมือนรุทระหรือกฤษณะ พระกุมารองค์นี้ มีสง่าราศี มีอวัยวะงามวิจิตรด้วยลักษณะหาค่ามิได้ หรือจะเป็นพระพุทธ ดังนี้ฯ

      ครั้นแล้ว นางเทพธิดานั้น ก็ได้ตอบพระฤษีเหล่านั้นด้วยคำเป็นบทประพันธ์ ว่า

      4 สง่าราศีใด อาศัยอยู่ในไวศรวัณ หรืออยู่ในองค์พันเนตร(องค์อินทร์) หรืออยู่ในดลกบาลทั้ง 4 หรือยู่ในพระยาอสูร(พระพิโรจน์หรือเวปจิตติ) หรืออยู่ในสหัมบดีพรหม อยู่ในกฤษณะ สง่าราศีนั้นเมื่อมาเผชิญกับพระโอรสศากยแล้ว ย่อมไม่ถึงส่วนเสี้ยวแม้แต่น้อยหนึ่งเลยฯ

      ครั้งนั้นแล เมื่อพระฤษีทั้งหลายได้ยินคำของนางเทพธิดานั้นแล้ว ก็ได้ลงมายืนที่พื้นดิน เห็นพระโพธิสัตว์ผู้รุ่งเรืองดังกองไฟ ด้วยกายไม่หวั่นไหวกำลังเข้าธยานอยู่พระฤษีเหล่านั้นได้เพ่งพินิจพระโพธิสัตว์แล้ว สรรเสริญด้วยคำเป็นบทประพันธ์ ในพระฤษีทั้ง 5ตนนั้นฤษีตนหนึ่งกล่าวว่า

      5 เมื่อโลกเร่าร้อนด้วยไฟคือเกลศ พระกุมารองค์นี้แล ปรากฏเป็นธารน้ำลึก จะยังโลกนั้นให้ประสบธรรม ซึ่งโลกจะได้รับความรื่นรมย์ฯ

      อีกตนหนึ่งกล่าวว่า

      6 เมื่อโลกมืดด้วยอัญญาน(อวิทยา) พระกุมารองค์นี้ ปรากฏเป็นดวงประทีป จะยังโลกนั้นให้ประสบธรรม ซึ่งโลกจะได้รับแสงสว่างฯ

      อีกตนหนึ่งกล่าวว่า

      7 เมื่อโลกอยู่ในมหาสมุทรคือความโศกอันเป็นที่กันดาร พระกุมารองค์นี้ ปรากฏเป็นสำเภาอันประเสริฐสุด จะยังโลกนั้นให้ประสบธรรม ซึ่งทำให้ข้ามพ้นมหาสมุทรได้ฯ

      อีกตนหนึ่งกล่าวว่า

      8 เมื่อโลกทั้งหลายถูกผูกมัดด้วยเครื่องผูกมัดคือเกลศ พระกุมารองค์นี้ปรากฏเป็นผู้แก้ จะยังโลกนั้นให้ประสบธรรม ซึ่งทำให้โลกพ้นจากเครื่องผูกมัดฯ

      อีกตนหนึ่งกล่าวว่า

      9 เมื่อโลกทั้งหลายลำบากด้วย ชรา พยาธิ พระกกุมารองค์นี้ปรากฏเป็นหมอวิเศษ จะยังโลกน้นให้ประสบธรรม ซึ่งแก้ไขให้โลกพ้นจากการเกิดและการตายฯ

      ครั้งนั้นแล พระฤษีเหล่านั้นสรรเสริญพระโพธิสัตว์ ด้วยคำเป็นบทประพันธ์อันไพเราะ แล้วทำประทักษิณพระโพธิสัตว์ 3 รอบ แล้วจึงหลีกไปโดยทางอากาศแม้พระราชาศุทโธทนะ เมื่อไม่ทรงเห็นพระโพธิสัตว์ ก็ไม่ทรงสบายพระหทัยเพราะพระโพธิสัตว์ พระองค์จึงตรัสว่า กุมารไปไหน? เราไม่เห็นกุมารในที่นั้นหมู่มหาชนต่างพากันวิ่งวุ่นเสาะหาพระกุมาร ต่อมา อำมาตย์คนสุดท้าย ก็พบพระกุมารทรงนั่งขัดสมาธิเข้าธยานอยู่ที่ร่มเงาต้นหว้า ในเวลานั้น เงาไม้ทั้งปวงคล้อยไปแล้ว แต่เงาต้นหว้าไม่ละพระกายพระโพธิสัตว์ อำมาตย์ผู้นั้น เห็นแล้ว อัศจรรย์ใจ มีความชื่นชมยินดี จิตใจเพื่องฟู มีใจเป็นสุขสันติบรรเทิง เกิดปีติโสมนัส จึงรีบเร่งขมีขมันเข้าเฝ้าพระราชาศุทโธทนะกราบทูลด้วยคำเป็นบทประพันธ์ว่า

      10 ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์จงทอดพระเนตร พระกุมารนี้ ทรงเข้าธยานที่ร่มเงาต้นหว้า ทรงงามด้วยสง่าราศี และด้วยเดชเหมือนองค์ศักระ(องค์อินทร์) หรือพรหม

      11 เงาของต้นไม้ที่พระกุมารผู้มีลักษณะประเสริฐประทับนั่งอยู่นั้น ไม่ละพระกุมารผู้เป็นบุรุษประเสริฐสุด กำลังเข้าธยานอยู่ฯ

      ครั้งนั้น พระราชาศุทโธทนะได้เสด็จไปยังต้นหว้านั้น พระองค์ทอดพระเนตรเห็น พระโพธิสัตว์รุ่งเรืองด้วยสง่าราศี และเดช ครั้นแล้วพระองค์จึงตรัสเป็นบทประพันธ์ ตั่งต่อไปนี้

      12 กุมารนี้ประทับอยู่เหมือนไฟบนภูเขา และเหมือนดวงจันทร์มีหมู่ดาวห้อมล้อม เมื่อเราเห็นกุมารเข้าธยานรุ่งเรืองด้วยเดช ร่างกายของเราสั่นไปหมดฯ

      13 ในคราวที่พระองค์เกิดเป็นมุนี ในคราวที่พระองค์ทรงเข้าธยาน มีเดชรุ่งเรืองเหมือนเปลวไฟ ข้าแต่พระผู้เป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระผู้เป็นนายกพิเศษ ข้าพเจ้าขอไหว้พระบาททั้งสองของพระองค์แม้หนึ่งครั้งสองครั้ง ฯ

      ในที่นั้นเด็กที่หาตรีผลา(สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม) ส่งเสียงเอะอะ อำมาตย์ทั้งหลาย พูดกับเด็กเหล่านั้นว่า อย่าเอะอะไป อย่าเอะอะไป เด็กเหล่านั้นได้ พูดว่า อะไรกันนี่ อำมาตย์ทั้งหลายจึงพูดว่า

      14 เงาต้นไม้นั้น ไม่ละพระกุมารสรวารถสิทธ ผู้เป็นโอรสของพระเจ้าแผ่นดิน ผู้มีรัศมีในอากาศ มีลักษณะงามประเสริฐ  ทรงไว้ซึ่งความเลิศ กำลังเข้าธยานไม่ไหวติงเหมือนภูเขาอยู่ในวงกลมถูกปกคลุมด้วยความมืดรางๆ(เงา) ฯ

      ในข้อนี้ท่านกล่าวไว้ว่า

      15 เมื่อย่างเข้าเดือนเชษฐมาส(มิถุนายน) วสันตฤดู(ฤดูใบไม้ผลิ) หน้าร้อน ดอกไม้กำลังบาน ดาษดาไปด้วยดอกไม้ใบไม้อ่อนก้องกังวาลไปด้วยเสียงนกกระเรียน นกยูง นกแก้ว นกสาลิกา เจ้าหญิงศากยทั้งหลายผู้เจริญยิ่ง ย่อมพากันออกมาเดินเล่น ฯ

      16 มีเด็กหญิงทั้งหลายแวดล้อมพูดชวนพระโพธิสัตว์ด้วยความรัก ว่า ข้าแต่พระกุมาร ถ้ากระไร เราไปเที่ยวป่าเพื่อชมป่ากันเถอะ พระองค์จะประทับอยู่ในวังเหมือนพราหมณ์ทำไม มิฉะนั้นเราจะไปหาสาวชาวนากันเถอะๆ

      17 พระกุมารผู้เป็นสัตว์บริศุทธยิ่ง แวดล้อมไปด้วยสนมกำนัลประมาณ 500 มิได้กราบทูลให้พระมารดาพระบิดาทรงทราบ พระมารดาพระบิดไม่ทรงทราบ เสด็จออกไปยังหมู่ชาวนาในเวลาเที่ยง ฯ

      18 มีสุมทุมพุ่มหว้าต้นหนึ่ง แผ่กิ่งก้านสาขากว้างขวางออกไปเป็นอันมาก อยู่ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นหมู่บ้านของพระเจ้าแผ่นดินผู้ประเสริฐพระกุมารผู้ตื่น(รู้)อยู่เสมอ ล่วงพ้นจากความทุกข์ทอดพระเนตรเห็น ทรงพระตำหนิว่า ชาวนามีทุกข์มาก ฯ

      19 พระองค์เสด็จเข้าไปสู่ร่มเงาต้นหว้า มีพระหทัยควบคุมไว้แล้วทรงเอาหญ้าปูเป็นอาสนที่โคนต้นหว้าด้วยพระองค์เอง แล้วจึงนั่งขัดสมาธิทำพระกายให้ตรง พระโพธิสัตว์ทรงเข้าธยานทั้ง 4 เป็นอย่างดี ฯ

      20 พระฤษี 5 ตนไปทางอากาศ ไม่สามารถเพื่อจะผ่านยอดหว้าได้ พระฤษีเหล่านั้นทนอยู่ไม่ได้ และสิ้นความถือตัวความกระด้าง จึงแลไปข้างล่างพร้อมกันหมด ด้วยคิดว่า ฯ

      21 เราทั้งหลาย สามารถชำแรกภูเขาเมรุอันประเสริฐ และจักรวาลทั้งหลายไปได้ เราได้ด้วยกำลังเร็ว แต่พวกเราเหล่านั้นไม่สามารถข้ามต้นหว้าไปได้ ใครนี่หนอ เป็นตัวการณ์ในที่นี้ วันนี้จะมีใครในที่นี้ ฯ

      22 พรฤษี(เหล่านั้น)ได้ลงมายืนอยู่ที่พื้นดิน แล้วมองไปเห็นพระโพธิสัตว์ โอรสศากยที่โคนต้นหว้านั้น มีแสงสว่าง มีเดช มีรัศมี เหมือนรัศมีทองชมพูนท นั่งขัดสมาธิเข้าธยานอยู่ในที่นั้น ฯ

      23 พระฤษีเหล่านั้น มีความนับถือประนมมือสับนิ้วขนศีรษะน้อมตัวลงทำอัญชลีกรรรมกราบลงโดยลำดับ (พูดว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้มีกำเนิดดี สาธุ พระองค์เป็นประธานที่ดีของโลกด้วยความกรุณา ของพระองค์จงตรัสรู้โดยเร็ว จงนำสัตว์ทั้งหลายไปในอมฤต ฯ

      24 เงาดวงอาทิตย์ปกคลุมไม่ละพระสุคต พุ่มหว้าอันประเสริฐย้อยลงมาเหมือนใบบัว เทพยดาหลายพันยืนประนมมืออยู่แล้ว ต่างก็กราบไหว้พระบาททั้งสองของพระองค์ผู้ทำให้หมดสงสัย ฯ

      25 ส่วนคนในพระราชวังของพระราชาศุทโธทนะ ก็ค้นหาไต่ถามกันว่า พระกุมารของเราไปไหน แล้วทูลพระมารดาสะใภ้ว่า ได้ค้นหาแล้วไม่พบ แล้วพากันไปทูลถามพระนรบดีว่า พระกุมารไปไหน ฯ

      26 พระราชาศุทโธทนะ ละล่ำละลักถามพระสนมกำนัล ยามเฝ้าประตู และคนอื่นๆรอบด้านว่า กุมารของเราออกไปข้างนอก ใครเห็นบ้าง พวกเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระนฤบดี ได้ยินว่า พระกุมารผู้ประเสริฐ เสด็จไปหมู่บ้านชาวนา ฯ

      27 พระราชาศุทโธทนะกระงกกระเงิ่นรีบเสด็จออกไปพร้อมด้วยศากยทั้งหลาย มุ่งหน้าเสด็จเข้าไปสู่ภูเขาหมู่บ้านชาวนา ได้ทองพระเนตรเห็นพระกุมารผู้กระทำประโยชน์ รุ่งเรืองอยู่ด้วยสง่าราศี เหมือนดวงอาทิตย์ตั้งโกฏิ พลุ่งขึ้น ฯ

      28 พระองค์ทิ้งพระมกุฎ พระขรรด์ และฉลองพระบาท ประนมนิ้วทั้ง 10 ไว้เหนือพระเศียร ทรงอภิวาทพระกุมารนั้น ตรัสว่า สาธุ พระฤษีผู้ใหญ่ยิ่ง ได้พูดไว้เป็นความจริงแท้ว่า พระกุมารจะเสด็จออกภิเนษกรมณ์(ออกบวช) เพราะเหตุแห่งความตรัสรู้อันประจักษ์แจ้ง ฯ

      29 เทวดาที่เลื่อมใสทั้งหลาย 1200 ถ้วน และหมู่แห่งศากยทั้งหลาย 500 ได้เห็นความสำเร็จแห่งมหาสมุทรคือคุณในพระสุคต พากันกล่าวว่า พระองค์ทรงอุบัติมาเพื่อความตรัสรู้ ด้วยพระหทัยอันแน่วแน่ ฯ

      30 พระกุมารนั้น ยังแผ่นดินมนุษยโลกให้สะเทือนโดยไม่เหลือ ทรงมีสมฤติ สัมปรชานะ ต่อจากนั้น ทรงตื่นอยู่ด้วยสมาธิ พระองค์เป็นพรหมผู้ประเสริฐ มีความรุ่งเรืองได้เรียกพระบิดามาว่า ข้าแต่พ่อ ต่อไปนี้พ่อจงเลิกแสวงหาลูกจากหมู่บ้านชาวนาเสียเถิด ฯ

      31 ถ้าใครทำทอง ลูกจะโปรยทองมาให้ ถ้าใครทำผ้า ลูกนี่แหละจะให้ผ้า หรือว่าใครทำข้าว ลูกนี่แหละจะโปรยข้าวมาให้ ข้าแต่พ่อผู้เป็นใหญ่แก่คนทั้งหลาย ขอพ่อจงจัดการให้ดี ในชาวโลกทั้งปวง ฯ

      32 พระองค์ทรงตักเตือนพระบิดาหับหมู่ชนแล้ว ในขณะนั้น ทรงทอดพระเนตรไปยังพระบุรีอันประเสริฐอีก พระกุมารผู้เป็นสัตว์บริศุทธยิ่งได้เสด็จตามประชาชนมาประทับอยู่ในพระบุรี มีพระหทัยประกอบด้วยเนษกรมณ์(คิดจะออกบวช) ดังนี้ ฯ

อัธยายที่ 11 ชื่อกฤษิครามปริวรรต (ว่าด้วยหมู่บ้านชาวนา) ในคัมภีร์ศรีลลิตวิสตร ดั่งนี้แล ฯ

 

12 แสดงศิลป

 

อัธยายที่ 12

ศิลฺปสํทรฺศนปริวรฺโต  ทฺวาทศะ

ชื่อศิลปสันทรรศนปริวรรต (ว่าด้วยแสดงศิลป)

      กระนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระกุมารเจริญวัยขึ้นแล้ว พระราชาศุทโธทนะ ครั้งหนึ่งประทับนั่งอยู่ในหอประชุมพร้อมด้วยหมู่ศากยทั้งหลาย ในที่นั้นศากยทั้งหลายชั้นเฒ่าๆได้ทูลพระราชาศุทโธทนะว่า ข้อที่พระองค์พึงทรงทราบก็คือ พระกุมารสรวารถสิทธนี้ พราหมณ์ผู้เป็นโหร และเทวดาผู้ทำนายแม่นยำ ได้พยากรณ์ไว้อย่างนี้ว่า ถ้าพระกุมารออกอภิเนษกรมณ์ จะได้เป็นตถาคตอรหันตสัมยักสัมพุทธ แต่ถ้าไม่ออกอภิเนษกรณ์ ก็จะได้เป็นพระราชาจักรพรรดิ์ ทรงชนะกองทัพ 4 เหล่า เป็นพระธรรมราชาตั้งอยู่ในธรรม ประกอบด้วยรัตนะ 7 ประการ รัตนะ 7 ประการเหล่านี้จักมีแต่พระราชาจักรพรรดิ์นั้น คือจักรรัตนะ หัสติรัตนะ อัศวรัตนะ มณีรัตนะ นารีรัตนะ คฤหบดีรัตนะ ปรินายกรัตนะ รัตนะ 7 ประการเป็นอย่างนี้ พระราชาจักรพรรดิ์ จะมีโอรส 1000 องค์ ล้วนแกล้วกล้าสามารถ มีรูปกำยำ ย่ำยีทหารฝ่ายอื่นได้ พระราชาจักรพรรดิ์นั้นจะชนะเลิศ จะทรงปกครองผืนแผ่นดินนี้โดยไม่มีอาชญา ไม่มีศัสตราพร้อมด้วยธรรม เพราะฉะนั้นเราจะต้องทำที่ประทับให้แก่พระกุมาร ในที่ประทับนั้นจะต้องห้อมล้อมด้วยหมู่สตรี พระกุมารจะได้อยู่ด้วยความยินดี จะได้ไม่ออกอภิเนษกรณ์ เมื่อทำได้ตั่งนี้ วงศ์จักรพรรดิ์ของเราทั้งหลาย จะได้ไม่ขาดสูญ พระราชาตั้งโกฏิจะได้นับถือเราหมด และปราศจากโทษ

      ครั้งนั้น พระราชาศุทโธทนะตรัสว่า เมื่อจะทำอย่างนี้ ก็ต้องให้พระกุมารนั้นพิจารณาดูนางสาวคนไหน ที่สมควรแก่พระกุมาร

      ในที่ประชุมนั้น มีศากยประมาณ 500 แต่ละองค์กล่าวว่า ธิดาของข้าพเจ้าสมควรแก่พระกุมาร ธิดาของข้าพเจ้ารูปงาม

      พระราชา (ศุทโธทนะ) ตรัสว่า กุมาร (ของเรา)เข้าถึงยาก (เอาใจยาก) นั่นเราต้องรู้จักกุมารไว้ก่อนแล้ว ธิดาของท่านคนไหนจะถูกใจกุมาร

      ครั้นแล้ว ศากยทั้งหมดเหล่านั้น ก็ประชุมกันแล้วบอกความงามของธิดาเหล่านั้นแก่พระกุมาร พระกุมารตรัสกับศากยเหล่านั้นว่า โปรดฟังคำตอบในวันที่ 7

      ครั้นแล้ว พระโพธิสัตว์ทรงพระดำริว่า

      1 เรารู้อยู่แล้วว่า กามมีโทษหาที่สุดมิได้  เป็นต้นเค้าประกอบด้วยสงคราม ประกอบด้วยจองเวร ประกอบด้วยความโศก และความทุกข์ กระทำให้เกิดภัย เช่นกับใบไม้ที่เป็นพิษ และเช่นกับคนถือดาบ ฯ

      2 เราไม่มีความกำหนัดยินดีในกามคุณ และไม่ชอบอยู่ท่ามกลางเรือนที่มีสตรี ไฉนหนอเราจะอยู่ในป่านิ่งๆ มีจิตสงบด้วยสมาธิสุขในธยาน ดังนี้ ฯ

      พระโพธิสัตว์นั้น ทรงเริ่มต้นพิจารณาด้วยอุปายโกศล (ความฉลาดในอุบาย) ทรงพิจารณาถึงการอบรมบ่มนิสัยสัตว์ทั้งหลาย เกิดมหากรุณาขึ้นมาในเวลานั้น ทรงตรัสเป็นคำประพันธ์ดังต่อไปนี้

      3 ดอกบัวทั้งหลาย ย่อมเจริญขึ้นในโคลนตมที่เลอะเทอะ พระราชาย่อมได้รับการนับถือบูชาในท่ามกลางฝูงชน ด้วยการโปรดดอกบัวนั้น เมื่อใดพระโพธิสัตว์ทั้งหลายได้รับกำลังแห่งบริวาร เมื่อนั้นพระองค์ย่อมนำสัตว์ตั้งหมื่นโกฏิไปในอมฤต ฯ

      4 อนึ่ง พระโพธิสัตว์เหล่าใดในอดีตเป็นผู้มีความรู้ เคยมีเมีย มีลูก มีบ้านเรือนมาแล้ว แต่ไม่กำหนัดในราคะ ไม่คลาดจากความสุขในธยาน ผิฉะนั้นเราจะศึกษาในคุณสมบัติ ของพระโพธิสัตว์เหล่านั้น ฯ

      5 และหญิง ไม่ใช่คนสามัญ เป็นผู้เกื้อกูลแก่เรา ไม่มีความริษยามีคุณสมบัติคือพูดคำสัตย์ หญิงใด คิดที่จะอำนวยความสำเร็จลุล่วงให้แก่เราไม่มีความประมาท บริศุทธดีด้วยรูป ด้วยกำเนิด ด้วยตระกูล และด้วยโคตร ฯ

      6 พระกุมารได้เขียนเป็นคำประพันธ์ว่า นางที่ประกอบด้วยคุณประโยชน์ หญิงใดเป็นอย่างนี้ พระบิดาจงเลือกหญิงนั้นให้หม่อมฉัน หม่อมฉันไม่ต้องการคนสามัญ คนไม่สังวรณ์ระวังตัว หญิงใดมีคุณดังกล่าว พระบิดาจงเลือกหญิงนั้นให้หม่อมฉัน ฯ

      7 หญิงใดมีรูปร่าง และวัยอันประเสริฐ แต่ไม่เมาในรูป มีจิตเมตตา เหมือนแม่สะใภ้ (พระนางประชาบดีโคตมี) ยินดีในการเสียสละ มีปรกติให้ทานแก่สมณะพราหมณ์ ข้าแต่พระบิดา ขอพระองค์โปรดเลือกหญิงเช่นนั้นให้หม่อมฉันฯ

      8 หญิงใดไม่มีความเล่นตัว ไม่ใช่สาวเทื้อ (สาวที่ไม่มีใครแต่งงานอยู่จนแก่เป็นสาวทึมทึก) ไม่มีโทษในตัว ไม่จองหอง ไม่ริษยา ไม่มีมายา ไม่คลาดจากความเที่ยงตรง (ชื่อสัตย์) ไม่อภิรมย์ยินดี ในผู้ชายอื่นแม้ในระหว่างหลับฝันไป ยินดีแต่สามีของตน นอนไม่ประมาท ฯ

      9 ไม่หยิ่งผยอง ไม่ลำพอง ไม่คะนอง ไม่มีมานะถือตัว และปราศจากการถือตัวแม้กับคนรับใช้ก็ยอม ไม่ติดสุรา ไม่ติดรสอาหาร  ไม่ติดเสียงและกลิ่น ไม่มีความโลภ ปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่นยินดีแต่ทรัพย์ของตน ฯ

      10 ตั้งอยู่ในความสัตย์ ไม่กลับกลอก บิดพริ้ว ไม่ลำพองพองตัว ปิดบังความอายด้วยเสื้อผ้า ไม่ถือมงคลตื่นข่าว ประกอบอยู่ในธรรมทุกเมื่อ มีความบริศุทธด้วยกาย วาจา ใจ ทุกเมื่อ ฯ

      11 และไม่มากไปด้วยความเกียจคร้าน และไม่หลงถือตัวประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณา ทำอะไรเรียบร้อยดี ประพฤติธรรมทุกเมื่อ รักพ่อผัวแม่ผัวเหมือนรักองค์ศาสดา ยอมตัวเป็นทาสีภรรยา(เมื่อชนิดเป็นคนรับใช้) รักสามีเหมือนรักตนเอง ฯ

      12 รอบรู้ในศาสตร์ เฉลียวฉลาด และรู้จักคำนวณ นอนภายหลัง ลุกขึ้นจากการนอนก่อน ประพฤติตามความเมตตา แม้มีฐานะเป็นแก่ก็ไม่ปดลูก ข้าแต่พระนฤบดี ขอพระองค์ โปรดเลือกหญิงเช่นนี้ให้หม่อมฉัน ฯ

      ครั้งนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชาศุทโธทนะได้อ่านคำประพันธ์นี้แล้ว จึงเรียกปุโรหิตมาตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ ท่านจงไปในมหานครกบิลพัสดุ์ จงเข้าไปยังบ้านเรือนทั้งหมด พิจารณาดูหญิงสาว นางสาวคนใดมีคุณสมบัติเหล่านี้ จะเป็นนางสาวกษัตริย์ หรือนางสาวพราหมณ์ นางสาวไวศยะหรือนางสาวศูทรก็ตาม จงแจ้งนางสาวนั้นให้เราทราบ นั่นเป็นเพราะเหตุไร? เพราะกุมารไม่ต้องการตระกูล ไม่ต้องการโคตร กุมารต้องการคุณสมบัติอย่างเดียว

      และในขณะนั้น พระองค์ได้กล่าวเป็นคำประพันธ์ดั่งต่อไปนี้

      13 นางสาวคนใดมีคุณสมบัติเหล่านี้ จะเป็นพราหมณ์ เป็นกษัตริย์ เป็นไวศยะ หรือเป็นศูทร ท่านจงแจ้งหญิงนั้นให้เราทราบ ฯ

      14 กุมารของเราไม่สนใจตระกูล ไม่สนใจโคตร ใจของกุมารนั้นยินดีอยู่แต่ในคุณสมบัติ ในความชื่อสัตย์ และในธรรมนั้น ดังนี้ ฯ

      ครั้งนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุโรหิตนั้น ได้ถือเอาคำประพันธ์ที่เขียนไว้นั้นไปในมหานครกบิลพัสดุ์ พิจารณาดูจากเรือนนี้สู่เรือนนั้น เดินสำรวจหญิงสาว ยังไม่พบหญิงสาวที่ประกอบด้วยคุณสมบัติอย่างที่ว่า (และยังไม่พบหญิงสาวประกอบด้วยคุณสมบัตินั่นเทียว) ปูโรหิตนั้นเที่ยวไปโดยลำดับ แล้วย่างเข้าสู่นิเวศน์ของเจ้าทณฑปาณีผู้เป็นศากย  จึงเข้าไปสู่นิเวศน์นั้น ได้หญิงสาวคนหนึ่ง มีรูปงามน่าเลื่อมใส น่าดู ประกอบด้วยผิวพรรณดังว่านิลุบล(บัวเขียว)งามอย่างยิ่ง ไม่สูงเกินไป ไม่เตี้ยเกินไป ไม่อ้วนเกินไป ไม่ผอมเกินไป ไม่ขาวเกินไป ไม่ดำเกินไป กล่าวได้ว่าเป็นสตรีรัตนะตั้งอยู่ในปฐมวัย

      ขณะนั้น เด็กหญิงนั้นได้จับเท้าทั้งสองของปุโรหิตไว้แล้วพูดว่า ข้าแต่พราหมณืท่านมีธุระอะไร

      ปุโรหิต พูดว่า

      15 พระโอรสของพระราชาศุทโธทนะสวยงามอย่างยิ่ง ทรงไว้ซึ่งลักษณะดี 32 ประการ ประกอบด้วยคุณและเดช พระองค์ได้เขียนคำประพันธ์ไว้ดังนี้ เพื่อคุณสมบัติของหญิงสาวทั้งหลาย หญิงสาวคนใดมีคุณสมบิตเหล่านี้แล้ว นางจะได้เป็นหม่อม(เมีย)ของพระองค์ท่านแล ดังนี้ ฯ

      ปุโรหิตนั้น มอบลายพระหัตถ์นั้นแก่นาง

      ครั้งนั้น เด็กหญิงนั้น อ่านลายพระหัตถ์ที่เป็นคำประพันธ์นั้นแล้วก็ยิ้มออกมาแล้วกล่าวเป็นคำประพันธ์กับปุโรหิตนั้นวา

      16 ข้าแต่พราหมณ์ คุณสมบัติอันสมควรทั้งหมด ย่อมมีอยู่ในข้าพเจ้า พระกุมารผู้มีความสุภาพเรียบร้อย มีรูปร่างสวยงามนั้น จงเป็นสามีของข้าพเจ้า ถ้าท่านไม่ประวิงการไว้แล้ว ขอท่านจงบอกแก่พระกุมารเถิด ข้าพเจ้าจะไม่อยู่กับคนสามัญชั้นต่ำ ดังนั้น ฯ

      ครั้งนั้นแล ปุโรหิตนั้น เข้าเฝ้าพระราชาศุทโธทนะ กราบทูลเนื้อความนั้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ หญิงสาวซึ่งสมควรแก่พระกุมารนั้น ข้าพระองค์ได้พบแล้ว ตรัสว่า หญิงนั้นเป็นลูกของใคร กราบทูลว่า นางเป็นธิดาของเจ้าทัณฑปาณีผู้เป็นศากยนั่นเอง

      ครั้งนั้น พระราชาศุทโธทนะทรงพระดำริว่า กุมาร ยากที่จะเข้าถึง และเขาเชื่อมั่นในความงาม โดยมากหญิงที่ไม่มีคุณสมบัติ มักจะเข้าใจว่าตนมีคุณสมบัติ อย่ากระนั้นเลย เราจะให้เขาจัดทำพวกมาลัยดอกอโศก กุมารจะให้พวงมาลัยดอกอโศกนั้น แก่เด็กหญิงทั่วไปโดยลำดับ ในการนั้น จักษุของกุมารจดจ่ออยู่ในเด็กหญิงคนใด เราจะเลือกเด็กหญิงคนนั้นให้แก่กุมาร

      ครั้นแล พระราชาศุทโธทนะจึงตรัสสั่งให้ทำพวงมาลัยดอกอโศก ล้วนแล้วด้วยทอง เงิน และรัตนะต่างๆ ครั้นทำเสร็จแล้ว ตรัสสั่งให้ตีระฆังป่าวประกาศในมหานครกบิลพัสดุ์ว่า ในวันที่ 7 พระกุมารจะแสดงพระองค์ และจะประทานพวงมาลัยดอกอโศกแก่เด็กหญิงทั้งหลาย ในการนี้ ขอให้เด็กหญิงทั้งหวงมาประชุมกันที่หอประชุม

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้นถึงวันที่ 7 พระโพธิสัตว์เสด็จเข้าไปยังหอประชุม ประทับนั่งบนอาสนอันเจริญ แม้พระราชาศุทโธทนะ ทรงแต่งตั้งสายลับไว้ว่า จักษุของกุมารจดจ่ออยู่ในเด็กหญิงคนใด จงบอกเด็กหญิงคนนั้นแก่เรา

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เด็กหญิงในมหานครกบิลพัสดุ์มีอยู่เท่าใด ทั้งหมดเหล่านั้นก็พากันไปยังหอประชุมที่พระโพธิสัตว์ประทับอยู่ เมื่อชมพระโพธิสัตว์ และเพื่อรับพวงมาลัยดอกอโศก

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ทรงประทานพวงมาลัยดอกอโศกแก่เด็กหญิงทั้งหลายเหล่านั้นตามที่ได้พากันมาแล้ว แต่เด็กหญิงเหล่านั้นไม่สามารถเพื่อจะทนต่อสง่าราศี และเดชของพระโพธิสัตว์ได้ ครั้นรับพวงมาลัยดอกอโศกแล้ว ต่างก็รีบหลีกไปโดยเร็ว ฯ

      ครั้งนั้น นางสาวศากยคนหนึ่งชื่อโคปา เป็นธิดาของเจ้าทัณฑปาณีผู้เป็นศากยนางนำหน้า มีหมู่ทาสีแวดล้อม ได้เข้าไปยังที่หอประชุมที่พระโพธิสัตว์ประทับอยู่ ครั้นเข้าไปแล้ว ก็ได้ยืนอยู่ที่หนึ่ง มองพระโพธิสัตว์อย่างไม่กระพริบตา ดังนั้น พอพวงมาลัยดอกอโศกทั้งปวง พระโพธิสัตว์ประทานแล้ว นางจึงเข้าไปหาพระโพธิสัตว์ มีใบหน้ายิ้มแย้ม พูดกับพระโพธิสัตว์อย่างนี้ว่า ข้าแต่พระกุมาร เขาเหล่านั้น เท่ากับถูกหม่อมฉันไล่ออกไป พระองค์รังเกียจหม่อมฉันหรือไม่

      พระกุมารตรัส ฉันไม่รังเกียจเธอ เธอมาทีหลังเขาต่างหาก และแล้วพระองค์ก็ถอดพระธำมรงค์ราคาหลายแสนประทานให้แก่นาง

      นางทูลว่า ข้าแต่พระกุมาร หม่อมฉันควรแก่ของสิ่งนั้นจากสำนักของพระองค์หรือ ตรัสว่า ของเหล่านี้เป็นเครื่องประดับของเรา เธอจงรับไว้ นางทูลว่า หม่อมฉันจะประดาบพระกุมารไม่ได้หรือ? หม่อมฉันจะขอประดับพระกุมาร ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วนางหลีกไป

      ครั้นแล้ว สายลับทั้งหลายเหล่านั้นก็เข้าไปเฝ้าพระราชาศุทโธทนะ กราบทูลให้ทรงทราบเรื่องราวนั้นว่า ข้าแต่พระนฤบดี นางสาวศากยคนหนึ่งชื่อโคปา เป็นธิดาของเจ้าทัณฑปาณีผู้เป็นศากย จักษุของพระกุมารจดจ่ออยู่ที่นางนั้น และทั้งสองได้สนทนากันอยู่ครู่หนึ่ง

      พระราชาศุทโธทนะ ทรงฟังคำนั้นดั่งนี้แล้ว จึงส่งปุโรหิตให้เป็น ทูตไปหาเจ้าทัณฑปาณีผู้เป็นศากยว่า นางที่เป็นธิดาของท่านนั้น จงยกให้แก่กุมารของเราเถิด

      เจ้าทัณฑปาณี ตรัสว่า พระกุมารตรัสว่า พระกุมารผู้ควรเคารพเจริญอยู่ด้วยความสุขในพระราชวัง และธรรมเนียมแห่งตระกูลของเราทั้งหลายมีว่า จะต้องให้ธิดาแก่ผู้มีศิลป ผู้ไม่มีศิลปไม่ให้ อนึ่ง พระกุมาร ไม่รู้ศิลป ไม่รู้วิธีในการรบการต่อสู้ด้วยกลศาสตร์ (ชั้นเชิงศิลป)ในการใช้ดาบและธนู ดังนั้นเราจะให้ธิดาแก่คนที่ไม่รู้ศิลปได้อย่างไร ฯ

      ถ้อยคำนี้ ปุโรหิตได้กราบทูลให้พระราชาศุทโธทนะทรงทราบดั่งนี้แล้ว พระราชาศุทโธทนะจึงทรงพระปริวิตกว่า เรื่องนี้เราได้รับเตือนจากผู้มีธรรมเนียมประเพณีเสมอกันถึง 2 ครั้งแล้ว คำที่เราพูดว่า ทำไม ศากยกุมารทั้งหลายจึงไม่เข้าใกล้ลูกของเรา ก็ได้รับคำตอบว่า จะให้เข้าใกล้อึ่งอ่างได้อย่างไร บัดนี้พระราชาศุทโธทนะ นั่งซบเซาด้วยทรงปริวิตกอย่างนี้แล้ว

      พระโพธิสัตว์ทรงทราบข่าวนั้นแล้ว จึงเข้าเฝ้าพระราชาศุทโธทนะ ครั้นแล้วจึงทูลว่า ข้าแต่พระนฤบดี ทำไม พระองค์ประทับยืนมีพระทัยหดหู่อย่างนี้

      พระราชาตรัส อย่าถามเลยลูก

      พระกุมารทูลว่า ข้าแต่พระนฤบดีพระองค์ควรบอกเรื่องทุกประการโดยแท้ พระโพธิสัตว์ทูลถามพระราชาศุทโธทนะจนกระทั่งถึง 3 ครั้ง

      ครั้นแล้ว พระราชาศุทโธทนะ จึงตรัสบอกเรื่องนั้นแด่พระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ได้ทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว จึงทูลว่า ข้าแต่พระนฤบดี มีไหมใครๆในนครนี้ สามารถที่จะเข้ามาแสดงศิลปกับหม่อมฉันได้ ?

      ครั้นแล้ว พระราชาศุทโธทนะ มีพระพักตร์ชื่นบานตรัสกับพระโพธิสัตว์ว่า ดูกรลูก ลูกสามารถเข้ามาแสดงศิลปได้อีกหรือ ? พระโพธิสัตว์ทูลว่า ข้าแต่พระนฤบดีหม่อมฉันสามารถเข้ามาแสดงได้อย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น ขอให้พระองค์ประชุมพวกที่รู้ศิลปทั้งปวง หม่อมฉันจะเข้ามาแสดงศิลปด้วยตนเอง ต่อหน้าพวกที่รู้ศิลปเหล่านั้น

      ครั้นแล้ว พระราชาศุทโธทนะ ตรัสสั่งให้ตีฆ้องร้องป่าวในมหานครกบิลพัสดุ์ อันประเสริฐว่า ในวันที่ 7 กุมารจะเข้ามาแสดงศิลปด้วยตนเอง ขอให้ผู้รู้ศิลปทั้งหลายพึงไปประชุมกันที่นั่น

      ในวันที่ 7 ศากยกุมารทั้งหลายประมาณ 500 ได้ประชุมกันที่นั้น และนางสาวศากยชื่อโคปาธิดาของทัณฑปาณีผู้เป็นศากย ได้ยกธงชัย และธงปตากล่าวว่า ใครก็ตามชนะในการรบการต่อสู้ด้วยกลศาสตร์ในการใช้ดาบและธนู ธงนี้จะเป็นของผู้นั้น

      ในที่นั้น กุมารชื่อเทวทัต ก็ได้ออกจากนครนำหน้าศากยกุมารทั้งปวง อนึ่ง ช้างเผือกมีจำนวนมากได้เข้าไปสู่นคร เพื่อประโยชน์แก่พระโพธิสัตว์ในที่นั้น กุมารเทวทัตเมาด้วยความริษยา และด้วยความทะนงตนว่ามีกำลังสามารถ เขาจึงเอามือซ้ายจับงวงช้างตัวประเสริฐนั้นไว้แล้วแบมือขวาตบลงทีเดียว ช้างตาย ฯ

      ในขณะที่ช้างตายแล้วนั้น กุมารชื่อสุนทรนันทะได้ย่างเข้ามาเห็นช้างนั้นตายอยู่ ที่ประตูเมือง จึงถามว่า นี่ใครฆ่าช้าง มหาชนที่นั้น บอกว่า กุมารเทวทัต กุมารสุนทรนันทะ พูดว่า เทวทัตทำไม่ดี แล้วจึงจับช้างที่หางลากไปจากประตูเมือง

      ในขณะนั้น พระโพธิสัตว์ขึ้นอยู่บนรถเสด็จเข้ามา ได้เห็นช้างตายตัวนั้น ตรัสถามว่า นี่ใครฆ่าช้าง มหาชนทูลว่า กุมารเทวทัต พระองค์ตรัสว่า เทวทัตทำไม่ดี แล้วตรัสถามต่อไปว่า ใครลากช้างออกมาจากประตุเมืองนี้อีก มหาชนทูลว่า กุมารสุนทรนันทระ พระองค์ตรัสว่า สุนทรนันทะทำดีแล้ว แต่ว่าสัตว์ตัวนี้ตัวมันใหญ่ เมื่อมันเน่าแล้วจะเหม็นไปทั่วนคร

      ครั้นแล้ว พระกุมาร พระบาทข้างหนึ่งอยู่บนรถเหยียดพระบาทข้างหนึ่งลงบนแผ่นดิน เอาพระอังคุฐพระบาท(นิ้วหัวแม่เท้า) คีบช้างนั้นที่หางเหวี่ยงข้ามกำแพงไป 7ชั้น และคู 7 คู ตกลงในที่ประมาณโกรศ (1000วา) ภายนอกนคร สถานที่ซึ่งช้างตกนั้นเป็นโพรงใหญ่ เรียกกันว่า หัสติคต (ช้างตกหรือช้างไปถึง) ตราบเท่าทุกวันนี้

      เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายในที่นั้น ได้ส่งเสียงเฮฮาตั้งแสนอื้ออึงแสดงความบรรเทิงร่าเริง ได้โยนผืนผ้าขึ้นไป และเทพบุตรทั้งหลายที่ไปในอากาศ ได้กล่าวเป็นคำประพันธ์ดังต่อไปนี้

      17 พระกุมารนี้ได้เหวี่ยงพระยาช้างพ้นคูเมืองไปถึง 7 คู ออกไปนอเมืองของตน ด้วยพระอังคุฐพระบาท เหมือนพระยาช้างเมามันเดินไปเอง ฯ

      18 พระกุมารนี้ จะเหวี่ยงร่างกายอันตั้งขึ้นแล้วครั้งเดียวออกไปนอกเมือง คือ นอกโลก ด้วยพระปรีชาดี ด้วยกำลังแห่งมานะ และด้วยกำลังแห่งปรัชญา ฯ

      ครั้งนั้นแล ศากยกุมารทั้งหลายประมาณ 500 พากันออกจากนครเข้าไปยังพื้นแผ่นดินซึ่งเป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่ง ซึ่งศากยกุมารทั้งหลายแสดงศิลป แม้พระราชาศุทโธทนะก็เสด็จเข้าไปยังผืนแผ่นดินซึ่งศากยผู้เฒ่าๆทั้งหลายรออยู่ และมหาชนจำนวนมากรออยู่ คนทั้งหมดเหล่านั้น อยากดูศิลปพิเศษของพระโพธิสัตว์ของศากยกุมารทั้งหลายอื่นๆ

      ศากยกุมารทั้งหลายในที่นั้น ถูกบังคับแล้วนั่นเอง จึงรู้หนังสืออย่างเฉียบแหลม ศากยกุมารเหล่านั้น ย่อมประเสริฐในทางหนังสือพร้อมกับพระโพธิสัตว์ ในที่นั้นอาจารย์วิศวามิตรถูกศากยเหล่านั้นแต่งตั้งให้เป็นพยายยืนยันว่า ท่านนั้นจงพิจารณาดูทีหรือว่า ในที่นี้ กุมารคนไหนจะประเสริฐในความรู้หนังสือ ไม่ว่าจะเป็นวิชาเลข หรือสุดยอดวิชาหนังสือเป็นส่วนมาก ครั้งนั้นอาจารย์วิศวามิตรได้พิจารณาแล้วได้เห็นว่าพระโพธิสัตว์มีความแตกฉานในวิชาหนังสือ จึงกล่าวเป็นคำประพันธ์ว่า

      19 ตัวหนังสือไม่ว่าจะเป็นชนิดใด มีอยู่เพียงใดในมนุษยโลก เทวโลก คนธรรพโลก หรืออสุเรนทรโลก พระกุมารนี้ เป็นสัตว์บริศุทธเรียนจบในโลกทั้งปวงนั้น ฯ

      20 แม้นามทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย และข้าพเจ้า เราไม่รู้จะเขียนสิ่งเหล่านั้นได้ เราไม่รู้จักตัวอักษร พระกุมารนี้รู้จักเขียนสิ่งเหล่านั้น เป้นมนุษย์ในดวงจันทร์ ข้าพเจ้าพิจารณาในข้อนี้แล้ว เห็นว่า พระกุมารนี้ย่อมรุ่งเรือง ฯ

      ศากยทั้งหลายกล่าวว่า พระกุมารประเสริฐในวิชาหนังสือไปก่อนเถิด และพระกุมารควรประเสริฐในวิชาคำนวณของผู้เชี่ยวชาญด้วย ในที่นั้น มีมหาอำมาตย์ผู้หนึ่งชื่อ อรรชุน เป็นศากย จบวิชาคำนวณ อำมาตย์ผู้นั้น ถูกแต่งตั้งให้เป็นพยานว่าท่านนั้น จงพิจารณาดูทีหรือว่า ในที่นี้ กุมารคนไหนจะประเสริฐในวิชาคำนวณ พระโพธิสัตว์ก็ตั้งโจทย์ขึ้นในที่นั้น ยังมีศากยกุมารคนหนึ่งคิดคำนวณ แต่คำนวณไม่ได้ ศากยกุมารตั้งแต่คนหนึ่ง สองคน สามคน สี่คน ห้าคน สิบคน ยี่สิบคน สามสิบคน สี่สิบคน ห้าสิบคน จนถึงห้าร้อยคน คิดคำนวณ แต่คำนวณไม่ได้ในทันทีทันใด ครั้นแล้วพระโพธิสัตว์ตรัสว่า ท่านทั้งหลาย ตั้งโจทย์ขึ้น ข้าพเจ้าจะคิดคำนวณบ้าง ในที่นั้นมีศากยกุมารคนหนึ่ง ตั้งโจทย์ขึ้นแก่พระโพธิสัตว์ แต่ตนเองคำนวณไม่ได้ แล้วศากยกุมารตั้งแต่สองคน สามคน สี่คน ห้าคน สิบคน ยี่สิบคน สามสิบคน สี่สิบคน ห้าสิบคน จนถึงห้าร้อยคน ก็ตั้งโจทย์ขึ้นในทันใดนั้น แต่ตนเองคำนวณไม่ได้ให้พระโพธิสัตว์คิดคำนวณ

      พระโพธิสัตว์ตรัสว่า อย่าถกเถียงกันเลย ให้ทั้งหมดรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แล้วตั้งโจทย์ให้แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะคำนวณ ศากยมุมารในที่นั้น 500 คนจึงตั้งโจทย์ขึ้นซึ่งเคยมีมาแล้วด้วยอุทาหรณ์ปรประกอบด้วยถ้อยคำเป็นอันมาก ส่วนพระโพธิสัตว์เป็นผู้ไม่งมงาย ทรงคำนวณแล้ว ศากยมุมารทั้งหมดคำนวณ  คำนวณไม่ได้ แต่พระโพธิสัตว์คำนวณได้ถูกต้องแล้ว

      ครั้งนั้น มหาอำมาตย์นักคำนวณ ชื่อ อรรชุน ถึงความอัศจรรย์ใจ จึงกล่าวเป็นคำประพันธ์ดั่งต่อไปนี้

      21 สาธุ ข้าแต่พระองค์ผู้มีปรัชญา ศากยกุมาร 500 คนเหล่านี้ เป็นผู้ชำนาญในทางคำนวณ ตั้งปัญหาถามแล้ว พระกุมารทรงรู้ได้รวดเร็ว ฯ

      22 และพระกุมารนี้มีปรัชญา มีความรู้ มีชญาน มีสมฤติ  มีความคิด เช่นนี้ วันนี้ พระองค์ทรงศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ มีปัญญาดังว่ามหาสมุทร ฯ

      ครั้นแล้ว หมู่แห่ศากยทั้งหมด เข้าไปพบอาจารย์ ได้รับความอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่ง และกล่าวคำนี้เป็นเสียงเดียวกันว่า ดูกรท่านทั้งหลายผู้เจริญ พระกุมารสรวารถสิทธ ชนะแล้ว ชนะแล้ว แล้วทั้งหมดก็ลุกขึ้นจากอาสน ทำกระพุ่มมืออัญชลีกรรมไหว้พระโพธิสัตว์แล้ว กราบทูลกับพระราชาศุทโธทนะว่า ข้าแต่มหาราชเป็นลาภของพระองค์แล้ว ที่พระองค์ได้คนดีอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระองค์ มีความแคล่วคล่องว่องไว มีปฏิภาณในการไต่ถามอย่างนี้

      ครั้งนั้น พระราชาศุทโธทนะ ตรัสกับพระโพธิสัตว์ว่า ดูกรลูก ลูกสามารถให้คำที่จะกำจัดแนวความคิดอันฉลาดในวิชาคำนวณกับมหาอำมาตย์นักคำนวณซื่ออรรชุนได้ไหม? พระองค์ทูลว่า ถ้ากระนั้น ให้เขาคำนวณมา ครั้งนั้น มหาอำมาตย์นักคำนวณ อรรชุน ทูลพระโพธิสัตว์ว่า ข้าแต่พระกุมาร พระองค์ทรงทราบคติของการคำนวณเกินกว่าร้อยโกฏิจึงถูกจำกัด ?(คือนับไม่เกินร้อยโกฏิ) พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ร้อยโกฏิเรียกชื่อว่า อยุตะ ร้อยอยุตะเรียกชื่อว่า นิยุตะ ร้อยนิยุตะเรืยกชื่อว่า กงกระ ร้อยกงกระเรียกชื่อ่า วิวระ ร้อยวิวระเรียกชื่อว่า อักโขภยะ ร้อยอักโขภยะเรียกชื่อว่า วิวาหะ ร้อยวิวาหะเรียกชื่อว่า อุตสังคะ ร้อยอุตสังคะเรียกชื่อว่า พหุละ ร้อยพหุละเรียกชื่อว่า นาคพละ ร้อยนาคพละเรียกชื่อว่า ติฏิลมภะ ร้อยติฏิลมภะเรียกชื่อว่า วยสถานปรชญปติ ร้อยวยสถานปรชญปติเรียกชื่อว่า เหตุหิละ ร้อยเหตุหิละเรียกชื่อว่า กรกุ ร้อยกรกุเรียกชื่อว่า เหตวินทริยะ ร้อยเหตุวิทริยะเรียกชื่อว่า สมาปตลัมภะ ร้อยสมาปตลัมภะ เรียกชื่อว่า คณนาคติ ร้อนคณนาคติเรียกชื่อว่านิรวทยะ  ร้อยนิรวทยะเรียกชื่อว่า มุทราพละ ร้อยมุทราพละเรียกชื่อว่า สรวพละ ร้อยสรวพละเรียกชื่อว่า วำสํชญาคติ ร้อยวิสำชญาคติเรียกชื่อว่า สรวสํชชญา ร้อยสรวสํชญาเรียกชื่อว่าวิภูตงคมา ร้อยวิภูตงคมาเรียกชื่อว่า ตลลกษณะ ตลลกษณะนี้บวกจำนวนขึ้นอีกแสนเท่า(คูณด้วยแสน) เป็นระยะที่ขุนเขาสุเมรุถึงความสลายดั่งนี้และ  นับจำนวนยิ่งกว่านี้อีกเท่าเรียกชื่อว่า ธวชาครวตี ซึ่งบวกจำนวนในการนับขึ้นอีกแสนเท่า จะเท่ากับเม็ดทรายในแม่น้ำคงคถึงความสลาย (คือนายเท่าจำนวนนับนี้เม็ดทรายในแม่น้ำคงคาจึงจะหมดสิ้นไป) นับจำนวนยิ่งกว่านี้อีกเท่าเรียกชื่อว่าธวชาครนิศามณี นับจำนวนยิ่งกว่านี้อีกเท่าเรียกชื่อว่า วาหนปรชญปติ  นับจำนวนยิ่งกว่านี้อีกเท่า เรียกชื่ว่า อิงคา นับจำนวนยิ่งกว่านี้อีกกเท่าเรียกชื่อว่า กุระฏุ นับจำนวนยิ่งกว่านี้อีกเท่า เรียกชื่อว่า กุรุฏาวิ นับจำนวนยิ่งกว่านี้อีกเท่าเรียกชื่อว่า สวรวนิเกษปา ซึ่งบวกจำนวนในการนับขึ้นอีกแสนเท่า จะเท่าเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา 10 แม่น้ำถึงความสลาย นับจำนวนยิ่งกว่านี้อีกเท่า เรียกชื่อว่า อครสารา ซึ่งบวกจำนวนในการนับอีกแสนเท่า จะเท่ากับเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา 100 โกฏิลำน้ำถึงความสลาย  การนับจำนวนละอองของปรมาณู ที่บวกเพิ่มขึ้นอีกเท่าซึ่งเท่ากับการนับให้พระตถาคตดำรงอยู่  และการนับให้พระโพธิสัตว์โฉมหน้าเข้าไปสู่ธรรมาภิเษกทั้งปวง (ตรัสรู้) ณ ควงไม้โพธิอันเลิศประเสริฐดำรงอยุ่ ไม่มีสัตว์อื่นใด รวมอยู่ในสัตวนิกาย (คือเฉพาะพระตถาคตกับพระโพธิสัตว์กำลังตรัสรู้ มีจำนวนมากเท่าละอองปรมาณูที่มากกว่าจำนวนที่นับมาแล้ว) ผู้ใด รู้การนับดั่งนี้ นอกจากเรา หรือผู้เช่นเรา ผู้นั้นจะต้องเป็นผู้เกิดในภพสุดท้าย เป็นพระโพธิสัตว์ ออกจากการอยู่ครองเรือน

      อำมาตย์อรรชุนทูลว่า ข้าแต่พระกุมาร การนับคำนวณละอองปรมาณู จะจำกัดได้ไหม? พระโพธิสัตว์ตรัสว่า เจ็ดละอองปรมาณูเป็นหนึ่ง อณู เจ็ดอณูเป็นหนึ่ง ตรุติ เจ็ดตรุติเป็นหนึ่ง วาตายนรชะ(ละอองที่ผ่านหน้าต่าง) เจ็ดวาตายนรชะเป็นหนึ่ง ศศรชะ เจ็ดศศรชะเป็นหนึ่ง เอฑกรชะ เจ็ดเอฑกรชะเป็นหนึ่ง โครชะเป็นหนึ่ง ลิกขารชะ (ละอองคลิกขาหรือละอองไข่เหา) เจ็ดลิกขารชะเป็นหนึ่ง สรษปะ(เมล็ดพันธุ์ผักกาด) เจ็ดสรษปะเป็นหนึ่ง ยวะ (เมล็ดข้าวเปลือก) เจ็ดยวะเป็นหนึ่ง อังคุลิปรวะ(ข้อนิ้วมือ) สิบสองอังคุลิปรวะเป็นหนึ่ง วิตสติ(คืบ) สองวิตสติเป็นหนึ่ง หสตะ(ศอก) สีหสตะเป็นหนึ่ง ธนุ(วา) พันธนุเป็นหนึ่ง โกรศ ระยะเห็นธงปักในหนทาง (บางแห่งว่าธงชาวมคธ) สี่โกรศเป็นหนึ่งโยชน์ ในข้อนี้ใครรู้จำนวนโยชน์ของท่านทั้งหลาย? โยชน์หนึ่งมีละอองปรมาณูเท่าไร?

      มหาอำมาตย์อรรชุนได้พูดว่า ข้าแต่พระกุมาร ข้าพเจ้าเองก็ฟั่นเฟือนไปเสียแล้ว จะป่วยกล่าวไปไยถึงคนอื่นที่มีความรู้น้อยอีกเล่า ขอให้พระกุมารโปรดแสดงถึงจำนวนโยชน์ ว่าโยชน์หนึ่งมีละอองปรมาณูเท่าไร พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ในข้อนี้ จำนวนโยชน์หนึ่งมีละอองปรมาณูหนึ่งหมื่นอโกษภยะถ้วน กับห้าล้านสามสิบแสนหมื่นโกฏิกับหกพันโกฏิหนึ่งหมื่นสองพัน เมื่อบวกละอองปรมาณูตามจำนวนมีประมาณเท่านี้เป็นจำนวนหนึ่งโยชน์ ชมพูทวีปนี้มี 7000 โยชน์ ตามวิธีคำนวณนี้ โคทานียทวีปมี 8000 โยชน์ ปูรววิเทหะทวีปมี 9000 โยชน์ อุตตระกุรุทวีปมี 10000 โยชน์ การนับโลกธาตุ คือ ทวีปทั้ง 4เป็น 100โกฏิถ้วน โดยทำโลกธาตทวีปทั้ง 4นี้ให้เป็นประธานด้วยวิธีคำนวณนี้ นับมหาสมุทรเป็น 100 โกฏิ จักรวาลน้อยจักรวาลใหญ่ 100 โกฏิ ขุนเขาสุเมรุ 100 โกฏิ เทพชั้นจาตุมหาราช 100 โกฏิ เทพชั้นดาวดึงส์ 100โกฏิ เทพชั้นยามา 100 โกฏิ เทพชั้นดุษิต 100 โกฏิ เทพชั้นนิรมาณรดี 100 โกฏิ เทพชั้นปรนิรมิตวศวรรดี 100 โกฏิ  พรหมกายิกา 100 โกฏิ พรหมปุโรหิต 100 โกฏิปรหมปารษัทย 100 โกฏิ มหาพรหม 100 โกฏิ ปรตตาภา 100 โกฏิ อปรมาณาภา 100 โกฏิ อาภาสวรา 100 โกฏิ ปริตตศุภา 100 โกฏิ อปรมาณศุภา 100 โกฏิ ศุภกฤตสนะ 100 โกฏิ อนถรก 100 โกฏิ ปุณยประสวา 100 โกฏิ พฤหัตผลา 100 โกฏิ อสํชญิสตตว 100 โกฏิ อพฤหา 100 โกฏิ อตปา 100 โกฏิ สุทฤศา 100 โกฏิ สุทรรศนา 100 โกฏิ เทพอกนิษฐา 100 โกฏิ นี่เรียกว่าโลกธาตุ ตริสาหสรมหาสาหสระ (โลกธาตุคือมนุษยโลกและเทวโลก) ซึ่งใหญ่โตกว้างขวาง นั่นคือร้อยโยชน์มีประมาณเพียงไร (ละอองปรมาณูในโลกธาตุคือมนุษยโลกและเทวโลก) พันโยชน์มีประมาณเพียงไร โกฏิโยชน์มีประมาณเพียงไร นยุตะโยชน์มีประมาณเพียงไร ฯลฯ อัครสาราของโยชน์ (ปรโกฏิของโยชน์) มีประมาณเพียงไร คือพูดว่า ละอองปรมาณูเหล่านี้มีประมาณเพียงไร การนับจำนวนเวียนเป็นวงกลมของการนับนั้น ท่านเรียกว่า อสงเขยย (อ่านว่า อสังขะเยยะ คืออสงไขย (แปลว่านับไม่รู้จบ นับไม่ครบ นับไม่ถ้วน) เพราะฉะนั้นละอองปรมาณูในโลกธาตุคือมนุษยโลกและเทวโลกจึงเป็นอสงเขยยที่สุด(นับไม่ถ้วนเป็นอย่างยิ่ง)

      เมื่อพระโพธิสัตว์กำลังแสดงการนับให้เป็นไปนี้ มหาอำมาตย์นักคำนวณชื่ออรรชุน และหมู่ศากยทั้งหมดได้มีความดีใจเฟื่องฟู มีใจยินดี บรรเทิงใจ ถึงความอัศจรรย์ใจอย่างประหลาด เขาเหล่านั้นทั้งหมดมีผ้าเหลืออยู่คนละผืนๆ ได้พากันคลุมพระโพธิสัตว์ด้วยเครื่องประดับคือผ้าที่เหลืออยู่นั้น

      ครั้งนั้นแล มหาอำมาตย์นักคำนวณชื่ออรรชุน ได้กล่าวเป็นคำประพันธ์ดังต่อไปนี้

      23 ร้อยโกฏิเป็นอยุตะ ร้อยอยุตะเป็นนยุตะ ร้อยนยุตะเป็นนิยุตะ ร้อยนิยุตะเป็นกงกระ  และร้อยกงกระเป็นพิมพระ ร้อยพิมพระ เป็นอโกษภิณี ความรู้ของข้าพเจ้ายิ่งกว่านี้ คือยิ่งกว่าอโกษภิณีนี้ไม่มีความรู้เฉพาะการนับที่เกินมติความหมาย(อรรถมติ)ย่อมี่แก่พระกุมารนี้ ฯ

      อีกประการหนึ่ง ข้าแต่ศากยทั้งหลายผู้เจริญ

      24 โลกธาตุคือมนุษยโลก อาศัยละอองปรมาณู เหมือนป่าหญ้า และไม้ล้มลุกอาศัยหยาดน้ำ พระกุมารผู้เดียว ทรงแนะนำด้วยการตรัสออกมาใครๆก็ต้องพิศวง พร้อมด้วยศากยกุมาร 500 คน ฯ

      เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายในที่นั้น นับจำนวนแสนต่างก็ส่งเสียงเฮฮาตั้งแสนอื้ออึงแสดงความบรรเทิงร่าเริง เทพบุตรทั้งหลายที่อยู่บนพื้นอากาศ ได้กล่าวเป็นคำประพันธ์ดังต่อไปนี้

      25 สัตว์ทั้งหมดมีประมาณเพียงใด ย่อมประกอบด้วยความไม่เที่ยง 3 ประการ คือจิต 1 ความเข้าใจในพฤติการณืของจิต 1 วิตก(ความตรีกตรอง)1 ผู้ใดเลวหรือดี เสียสละหรือไม่เสียสละ ผู้นั้นย่อมรู้สิ่งทั้งหมดในความเปลี่ยนแปลงของจิตอย่างเดียว ฯ

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศากยกุมารทั้งปวง ได้เป็นผู้พ่ายแพ้แล้วพระโพธิสัตว์เท่านั้น ประเสริฐยิ่ง ในขณะนั้นพระโพธิสัตว์เท่านั้น โลดขึ้นแล้ว ลอยแล้ว ว่องไวแล้ว ประเสริฐยิ่ง เทวบุตรทั้งหลายที่อยู่บนอากาศได้กล่าวคำประพันธ์ตั่งต่อไปนี้

      26 และท่านทั้งหลายผู้ทำกายและจิตทำให้เบา โปรดฟังความวิเศษของพระกุมารนั้นผู้ว่องไวตลอดโกฏิกัลป ด้วยประกอบคุณคือการบำเพ็ญพรตและตบะ ด้วยการสำรวมระวังด้วยกำลังแห่งการอดกลั้น ด้วยการฝึกตนให้อยู่ในอำนาจ และด้วยเมตตา ฯ

      27 ท่านทั้งหลายในที่นี้จงดูพระกุมารผู้เป็นพระโพธิสัตว์ไปสู่บ้านของท่าน พระกุมารนี้แม้จะไมในทิศทั้ง 10 ในขณะนี้ คนทั้งหลายมีประมาณไม่สิ้นสุดในโลกธาตุจะประทำอามิษบูชา (บูชาด้วยสิ่งของ) ด้วยแก้วมณีและทองทั้งหลายอันวิจิตรเหมือนบูชาต่อพระชินผู้หาประมาณมิได้ ฯ

      28 ท่านทั้งหลาย ไม่รู้ทางไปและทางมาของพระองค์ พระกุมารนี้มีฤทธิ์มาก่อนแล้ว ความพิศวงอะไรจะแล่นไปในโลกนี้ พระกุมารนี้ไม่มีใครเทียม โดยพระกำเนิด ท่านทั้งหลายจงทำความเคารพในพระกุมารนี้

      ศากยทั้งหลายในที่นั้น ต่างก็พูดว่า ในการต่อสู้ พระกุมารต้องประเสริฐก่อนและอยากจะรู้นัก ในที่นั้นพระโพธิสัตว์ประทับอยู่ ณ ที่หนึ่ง และศากยกุมารประมาณ 500 เหล่านั้น ก็ต่อสู้กันขึ้นในทันใดนั้น

      กระนี้แหละ ศากยกุมาร 32 คนในสนามกรีฑา ครั้งนั้น ศากยนันทะ และศากยอานันทะ เข้าไปหาพระโพธิสัตว์ในสนามกรีฑา พระโพธิสัตว์ได้เอามือแตะเขาทั้งสองนั้นเบาๆเขาทั้งสองทานกำลังและเดชของพระโพธิสัตว์ไม่ได้  ถึงกับล้มลงที่พื้นดิน ลำดับนั้นเทวทัตกุมาร วางท่าหยิ่งและถือตัว มั่นคงด้วยมีกำลังมาก และรุนแรงด้วยถือตัวว่าเป็นศากย  ชิงดีและริษยาพระโพธิสัตว์ ทำประทักษิณสยามกีฬาครบถ้วนแล้วเยื้องกรายเข้าไปผลักพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ไม่ซวนเซ จับเทวทัตกุมารด้วยมือขวาอย่างเล่นๆไว้โดยเร็ว แล้วแกร่งไปในอากาศ 3 รอบ เพื่อจะปราบความถือตัว แล้วเหวี่ยงไปที่พื้นดิน โดยไม่มีเจตนาร้าย แต่ด้วยจิตเมตตา และร่างกายของเทวทัตกุมารไม่เป็นอันตราย

      ครั้นแล้วพระโพธิสัตว์จึงตรัสว่า อย่าวิวาทกันเลย ทั้งหมดควรเป็นพวกเดียวกัน บัดนี้ก็ได้มายังสนามกรีฑาแล้ว

      ครั้งนั้น ศากยทั้งหลายมีความยินดีหมดทุกคน แล้วพากันเข้าไปผลักพระโพธิสัตว์ เขาเหล่านั้นถูกพระโพธิสัตว์แตะค่อยๆท่านสง่าราศรี เดช กำลังกาย และเรี่ยวแรงของพระโพธิสัตว์ไม่ได้ พอพระโพธิสัตว์กระทบเข้าเท่านั้น ต่างก็ล้มลงที่พื้นดินเทวดาและมนุษย์ตั้งแสนในที่นั้น ต่างก็ส่งเสียง ฮิ้ว ฮิ้ว ตั้งแสนแสดงความบรรเทิงร่าเริง และเทวบุตรทั้งหลายที่ไปในอากาศ ก็ได้โปรยฝนดอกไม้ลงมาเป้นอันมาก แล้วได้กล่าวเป็นคำประพันธ์เป็นเสียงเดียวกัน ดังต่อไปนี้

      29 สัตว์ทั้งหลายนับจำนวนแสนในทิศทั้งสิบมีประมาณเพียงใด สัตว์ทั้งหลายมีประมาณเพียงนั้นไม่คู่ควรกับนักมวยตัวยง เขาเหล่านั้นเพียงแต่ถูกพระกุมารผู้ประเสริฐกว่าคนทั้งหลายกรกะทบเข้าก็ล้มลงที่พื้นดินทันทีเสียแล้ว ฯ

      30 ภูเขาเมรุที่มั่นคง และจักรวาลที่แข็งแกร่ง และภูเขาอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งในทิศทั้งสิบ พอพระกุมารเอามือไปจับ ก็กลายเป็นแก้วมณีป่นไปเสียแล้ว มันน่าพิศวงอะไรอย่างนี้  ในโลกเป็นที่อาศัยของมนุษย์อันหาสาระมิได้ ฯ

      31 พระกุมารนั้น ผจญมารผู้เป็นนักมวยร้ายกาจมากพร้อมด้วยกำลังเสนามารพร้อมด้วยม้า ที่ควงต้นโพธิอันประเสริฐอันเป็นยอดธงชัยด้วยกำลังแห่งไมตรี เพียงแต่มารจะไปกระทบพระองค์ผู้เป้นเผ่าพันธุ์แห่งพระกฤษณะ พระองค์ก็ตรัสรู้อนุตรธรรม (ธรรมที่ไม่มีอะไรจะยิ่งกว่า) พร้อมด้วยสิ้นเกลศเสีย แล้วดังนี้

      พระโพธิสัตว์เท่านั้นทรงทำได้อย่างนี้ จึงวิเศษ ฯ

      ครั้งนั้น ทัณฑปาณี ได้พูดกับศากยกุมารทั้งหลายว่า สิ่งที่อยากเห็นก็ได้เห็นแล้ว เอาละ บัดนี้พระกุมารจะแสดงการยิงธนู บรรดาศากยกุมารเหล่านั้น ศากยกุมารอานันทะให้เอกกลองเหล็กไปตั้งเป็นเป้าไกล 2 โกรศ(2000วา) ลำดับนั้นศากยกุมารเทวทัตให้เอากลองเหล็กไปตั้งไวไกล 4 โกรศ ศากยสุทรนันทะ ให้เอากลองเหล็กไปตั้งไว้ไกล 6โกรศ ทัณฑปาณีให้เอากลองเหล็กไปตั้งไว้ไกล 2โยชน์ พระโพธิสัตว์ให้เอากลองเหล็กไปตั้งไว้ไกล 10 โกรศ ในระหว่างกลองเหล็กนั้น ยังเอาตาล 7ต้นและรูปหมูประกอบด้วยเครื่องยนต์ไปวางไว้อีก ในที่นั้น ศากยกุมารอานันทะยิงกลองในระยะไกล 2 โกรศ แต่ไม่อาจยิงไกลไปกว่านั้นได้ ศากยกุมารเทวทัตยิงกลองที่อยู่ไกล 4 โกรศ ไม่อาจยิงไกลไปกว่านั้นได้ ศากยสุนทรนันทะยิงกลองที่อยู่ไกล 6 โกรศ ไม่อาจยิงไกลไปกว่านั้นได้ ทัณฑปาณี ยิงกลองที่อยู่ไกล 2 โยชน์ แต่เจาะไม่เข้า และไม่อาจยิงไกลไปกว่านั้นได้ ในที่นั้น ลูกธนูใดๆที่พระโพธิสัตว์ยิงไปแล้ว ลูกธนูนั้นเจาะทะลุทุกลูก ครั้นแล้วพระโพธิสัตว์จึงตรัสกับพระบิดาว่า ข้าแต่พระนฤบดี จะมีไหมในนครนี้ ธนูอื่นๆที่หม่อมฉันไก่งไม่ไหว และจะต้องใช้กำลังกายเรี่ยวแรงมาก พระราชาตรัสว่า มีซิลูก พระกุมารตรัส นั่นอยู่ที่ไหนพระเจ้าข้า พระราชาตรัสว่า ก็ปู่ของลูกอย่างไรละ ทรงพระนามว่า สิงหหนุ ธนูของพระองค์ท่านนั้น จะต้องเซ่นด้วยของหอมและพวงมาลัยในเทวสถาน ธนูนั้นไม่มีใครสามารถโก่งขึ้นได้สักเล็กน้อย จะป่วยกล่าวไปไยถึงจะโก่งจนเต็มที่ได้ พระโพธิสัตว์ตรัสว่า นำธนูนั้นมาเถิดพระเจ้าข้า หม่อมฉันอยากรู้นัก

      ครั้นแล้วเขาก็นำธนูนั้นมา ศากยกุมารทั้งหลายในที่นั้น ต่างก็พยายามด้วยความอุตสาหะอย่างยิ่ง แต่ก็ไม่สามารถเพื่อจะโก่งธนูนั้นได้สักเล็กน้อย จะป่วยกล่าวไปไยถึงจะโก่งจนเต็มที่ได้ ต่อจากนั้น ศากทัณฑปาณีกำนำธนูนั้นมา ครั้นแล้วศากยทัณฑปาณี ทำให้เกิดกำลังกายเรี่ยวแรงทั้งหมดเริ่มโก่งธนูนั้น แต่ก็ไม่อาจ ดังนั้น เขาจึงนำธนูไปให้พระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ทรงถือธนูนั้นไว้ ไม่เสด็จลุกจากอาสนประทับนั่งพับเพียบ พระหัตถ์ซ้ายจับธนูไว้ พระหัตถ์ขวาโก่งธนูด้วยนิ้วพระหัตถ์นิ้วเดียว เมื่อพระองค์โก่งธนู มหานครกบิลพัสดุ์ก็ดังไปทั่ว และคนในนครก็กระเทือนไปหมด ต่างถามกันว่า นี่เสียงอะไรอย่างนี้ อีกฝ่ายหนึ่งพูดว่า พระกุมารสรวารถสิทธโก่งธนูของพระเจ้าปู่อย่างไรละ นี่เป็นเสียงของธนูนั้น เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายในที่นั้น ต่างก็ส่งเสียงเฮฮาตั้งแสนแสดงความบันเทิงร่าเริง และเทวบุตรที่ไปในอากาศได้กล่าวเป็นคำประพันธ์กับพระราชาศุทโธทนะ และหมู่คนเป็นอันมากนั้นว่า

      ธนูนั้น อันพระมุนีโก่งได้เต็มที่แล้ว ด้วยประการใด พระองค์ไม่ได้เสด็จลุกจากอาสน และไม่ทรงเหยียบแผ่นดิน พระมุนี จะถึงความสมบูรณ์ และจะถึงความชนะมารและเสนามารโดยเร็ว ไม่ต้องสงสัยด้วยประการนั้น ฯ

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์โก่งธนูนั้นได้เต็มที่แล้ว ทรงหยิบลูกธนู ยิงไปด้วยกำลังแรงเห็นปานนั้น ลูกธนูได้ทะลุกลองของศากยอานันทะ ของศากยเทวทัต ของศากยสุนทรนันทะ ของศากยทัณฑปาณี ไปทั้งหมด และทะลุกลองเหล็กของพระองค์เองในระยะไกล  10 โกรศ ทะลุตาล 7ต้น ทะลุรูปหมูเหล็กประกอบด้วยเครื่องยนต์แล้วลูกธนูนั้นเข้าไปยังพื้นดิน ไม่มีรอยให้เห็น สถานที่ลูกธนูเจาะพื้นดิน เข้าไปนั้น เป็นบ่อกลม เรียกกันว่า ศรกูป(บ่อศร)ตราบเท่าทุกวันนี้ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายในที่นั้น ต่างก็ส่งเสียง ฮิ้ว ฮั้ว ตั้งแสนแสดงความบรรเทิงร่าเริง และหมู่ศากยทั้งหมด พากันพิศวงงงงวย ถึงซึ่งความอัศจรรย์ใจไปตามๆกันว่า น่าอัศจรรย์ พวกเราไม่น่าจะทำได้เลย นี่แหละคือความฉลาดในศิลปเช่นนี้ และเทวบุตรที่ไปในอากาศได้กล่าวกับพระราชาศุทโธทนะ และหมู่คนเป็นอันมากนั้นอย่างนี้ว่า มนุษย์ทั้งหลายมีความพิศวงอะไรในเหตุการณ์นี้ นั่นเพราะเหตุไร?

      33 พระกุมารนั้นประทับแล้วบนอาสนของพระพุทธองค์ก่อนๆบนพื้นแผ่นดิน ทรงถือธนูคือความสงบพร้อมด้วยลูกธนูคือคนอันว่างเปล่า (อนัตตา) ทรงชนะข้าศึกคือเกลศ และทรงทำลายข่ายคือทฤษฎี จะถึงซึ่งบรมคติ ปราศจากอุลีคือเกลศ และปราศจากความเศร้าใจ อันเป็นยอดแห่งความตรัสรู้ ฯ

      เทพบุตรเหล่านั้น ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงโปรยดอกไม้ทิพย์ลงมายังพระโพธิสัตว์แล้วหลีกไป

      พระโพธิสัตว์พระองค์เดียวเท่านั้น วิเศษเด่นกว่าผู้อื่น ในสรรพกรรมและศิลปศาสตร์ทั้งหลายอันเป็นของโลกมนุษย์ เกินกว่าของทิพย์และของมนุษย์ทั้งหลาย ทุกๆอย่างเช่นเป็นต้นว่าก่อนอื่นกระโดดสูงไกล วิชาเขียนหนังสือ คำนวณ เลข วิชาธนู ขี่คอช้าง ขี่หลังม้า ขี่รถ ศิลปศาสตร์ในการใช้ธนู ความทน แรง การใช้แขน การใช้ขอ การใช้บ่วงบาศ การลอดเข้า ลอดออก การดำมุด การต่อย การเตะ การทำรายด้วยจับผมกระชาก การตัดให้ขาด การต่อยให้แตก การขยี้ การผ่า วิธีโขลก วิธีบด วิธีออกเสียง ทุบ การพนันขันต่อ แต่งกาพย์กลอน ร้อยกรอง วาดเขียน เขียนรูป ปั้นรูป ปั้นตุ๊กตา การใช้ไฟ การดีดพิณ ขับร้อง รำ ร้องเพลง อ่าน พูด ตลก แสดงท่ารำฟ้อน แปลงรูป ร้องพวงมาลัย นวดหรือขัดสี ย้อมแก้วมณี ย้อมผ้า เล่นกล ทำนายฝัน ทำนายเสียงนก  รู้ลักษณะสตรี รู้ลักษณะบุรุษ รู้ลักษณะม้า รู้ลักษณะช้าง รู้ลักษณะโค รู้ลักษณะแพะ รู้ลักษณะที่ผสมกันหรือลักษณะที่ปนกัน รู้ลักษณะความเป็นใหญ่ของเกาฏภศาสตร์(ว่าด้วยกริยา อากัป วิกัปของกวีหรือว่าด้วยคัมภีร์ใดที่เป็นประโยชน์ของกวี) รู้นิฆัณฑุศาสตร์ (อักขราภิธานศัพท์) รู้นิคม(ศาสตร์คู่มือพระเวท) รู้คัมภีร์ปุราณ รู้คัมภีร์ประวัติศาสตร์ รู้คัมภีร์พระเวท รู้คัมภีร์ไวยากรณ์ รู้คัมภีร์ศึกษา(การอ่านออกเสียง) รู้การอ่านฉันท์ รู้พิธีการบูชายัญ รู้โชยติศาสตร์ รู้คัมภีร์สางขยะ รู้คัมภีร์โยคะ รู้คัมภีร์ไวศิกะ(มายาหญิง) รู้คัมภีร์ไวเศษิกะ(ตำราตรรกศาสตร์) รู้วิชาเศรษฐศาสตร์  รู้ลัทธิจารวากหรือลัทธิโลกายัต(แนะตามแนวของพระพฤหัสบดีถือวัตถุเป็นใหญ่ ตายแล้วสูญ) รู้ในเหตุการณ์แปลกประหลาด รู้ลักษณะแห่งปีศาจ รู้เสียงเนื้อเสียงนก รู้วิชาว่าด้วยเหตุ รู้วิชาทดน้ำหรือสูบน้ำ รู้วิชาปั้นขี้ผึ้ง รู้วิชาเย็บปัก รู้วิธีทำลาย รู้วิชาปรุใบไม้ รู้วิธีปรุงของหอม

      ครั้งนั้นแล ศากยทัณฑปาณี ได้ยกศากยกันยาชื่อโคปาซึ่งเป็นธิดาของตนให้แก่พระโพธิสัตว์ในคราวนั้น  และเธอนั้นเป็นผู้ที่พระราชาศุทโธทนะได้เลือกให้แล้วแก่พระโพธิสัตว์ตามลำดับ

      ในที่นั้นแล พระโพธิสัตว์ได้ถึงท่ามกลางสตรีแปดหมื่นสี่พันคน พระองค์แสดงตนเป็นผู้มีการเล่นสนุกอันเริงรมย์ มีสตรีคอยปฏิบัติบำเรออยู่ เป็นไปตามกระแสโลก บรรดาสตรีแปดหมื่นสี่พันคนนั้นทั้งหมด ศากยกันยาชื่อโคปา ได้รับการอภิเษกเป็นอัครมเหสี

      ในที่นั้นแล พระนางโคปาศากยกันยาเห้นใครๆแล้วไม่ปิดหน้า ไม่ว่าจะเป็นพระมหาปชาบดี พระราชาศุทโธทนะ หรือนางสนมกำลัล คนเหล่านั้นพากันเพ่งเล็งพระนาง วิพากษ์วิจารณ์กันว่า ธรรมดาว่าสาวหน้าใหม่เขาย่อมซ่อนตัว แต่นี่กลับเปิดเผยทุกเมื่อ ครั้งนั้นพระนางโคปาศากยกันยา ทราบเรื่องนั้นแล้ว จึงยืนเบื้องหน้านางสนมกำนัลทั้งปวง กล่าวเป็นคำประพันธ์ดั่งต่อไปนี้

      34 คนดีย่อมเปิดเผยปรากฏตัวใน ที่นั่ง ที่ยืน ที่เดิน จึงจะงามเหมือนแก้วมณีส่องแสงอยู่ที่ยอดธง จึงจะสว่าง ฯ

      35 คนดีไปก็งาม มาก็งาม คนดียืนหรือนั่งงามทั้งนั้น ฯ

      36 คนดี พูดก็งาม นิ่งก็งาม เหมือนนกการเวก งามทั้งรูป งามทั้งเสียง ฯ

      37 จะนุ่งห่มด้วยผ้าคากรอง หรือผ้าเลวๆร่างกายจะซูบผอม ขาเป็นผู้มีคุณธรรม ประดาบด้วยคุณธรรม ย่อมงามด้วยเดชของตน ฯ

      38 คนดี ไม่มีบาป ย่อมงามด้วยประการทั้งปวง คนชั่ว ประพฤติบาป ถึงจะประดับประดาสักเพียงไร ก็ย่อมไม่งาม ฯ

      39 ผู้ใด พูดเพราะ แต่มีอกุศลอยู่ในใจของตนเอง เหมือนหม้อน้ำอมฤต แต่หยอดยาพิษไว้ ผู้นั้น มีใจกระด้างเหมือนภูเขาหิน ยากที่จะแตะต้องได้ การเห็นผู้เช่นนี้ เหมือนเห็นงูพิษหรือแมลงป่อง ฯ

      40 ผู้พร้อมที่จะถึงความเคารพทุกอย่าง เป็นผู้อ่อนโยน พึงเป็นที่อาศัยรอดชีวิตของชาวโลกทั้งปวง เป็นดังว่าบุณยสถานในที่ทั้งปวง เป็นคนดีเสมอไป เหมือนหม้อที่เต็มไปด้วยนมเปรี้ยว นมสด การเห้นด้วยจิต บริศุทธซึ่งบุคคลเช่นนั้น เป็นมงคลดี ฯ

      41 ผู้ใดเว้นจากบาปมิตร(เพื่อนชั่ว) ตลอดเวลานาน คบแต่กัลยณมิตร(เพื่อนดี) ที่ประเสริฐ เว้นจากบาป อยู่ในธรรมของพระพุทธ การเห็นผู้เช่นนั้นเป็นมงคลดีมีผล ฯ

      42 ผู้ใด ระวังกาย ระวังโทษทางกายไว้ดีแล้ว ผู้ใดระวังวาจาไม่ใช้วาจาสามหาว(พูดพล่อยๆ)ทุกเมื่อ คุ้มครองรักษาอินทรีย์ และสุภาพเรียบร้อยเป็นอย่างดีมีใจผ่องใส อะไรจะมาปิดหน้าเขาผู้เช่นนั้นได้ ฯ

      43 ถ้าเขาปิดอัตภาพ(ร่างกาย)ด้วยผ้าตั้งพันผืน แต่จิตของเขาเปิดเผย ไม่มีความกระดาก ไม่มีความอาย  และไม่มีคุณธรรมเช่นนี้ ไม่มีวาจาสัตย์ เขาจะเป็นคนเปลือยยิ่งกว่าในโลกเปลือย เที่ยวไป ฯ

      44 หญิงใด คุ้มครองรักษาจิตไว้ สำรวมระวังอินทรีย์อยู่เสมอ ไม่มีใจเกี่ยวข้องในชายอื่น ยินดีในสามีของตน หญิงนั้น ย่อมมีแสงสว่างเปิดเผย  เช่นกับดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ จะปิดหน้าเช่นนั้นไว้ทำไม ฯ

      45 พระฤษีผู้ใหญ่ยิ่งเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้าและของหมู่เทพยดาผู้มีกุศลรู้จิตของผู้อื่น ก็เหมือนจะรู้ว่าข้าพเจ้ามีศีล มีคุณธรรม มีความสำรวมระวัง ไม่มีความประมาท เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจะต้องคลุมหน้าของข้าพเจ้าทำไม ฯ

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชาศุทโธทนะ ได้ทรงสดับคำประพันธ์ทั้งหมดเช่นนี้ของพระนางโคปาศากยกันยา อันแสดงถึงปฏิภาณ ครั้นแล้วพระองค์มีความชื่นชม มีพระทัยเฟื่องฟู มีพระทัยยินดี บันเทิงพระทัย บังเกิดปีติโสมมัส  ทรงคลุมพระนางโคปาศากยกันยาด้วยผ้านุ่งผ้าห่มคู่หนึ่ง อันประดับด้วยรัตนะเป็นเอนก มีราคาตั้งแสนโกฏิและพวงมาลัยทองอันประดับด้วยแก้วมุกดาสีแดง มีกำเนิดจากแก้วมุกดาหาร แล้วทรงเปล่งอุทานดั่งต่อไปนี้ ฯ

      46 ลูกชายของเราประดับด้วยคุณธรรมทั้งหลายฉันใด ศากยกันยาผู้นี้ก็ย่อมสวยงามด้วยคุณธรรมฉันนั้น ทั้งสองนั้นเป็นสัตว์บริศุทธยิ่งได้มารวมกันแล้ว ย่อมสมกันเหมือนน้ำมันเนยกับฟองน้ำมันเนยฯ ดั่งนี้ฯ

      (ศากยทั้งหลายมีพระโพธิสัตว์เป็นประมุข ก็หลีกไปสู่บุรีของตนตามลำดับเหมือนครั้งก่อน)

อัธยายที่ 12 ชื่อศิลปสันทรรศนปริวรรต (ว่าด้วยแสดงศิลป) ในคัมภีร์ศรีลลิตวิสตร ดั่งนี้แล ฯ

 

13 การเตือน

 

อัธยายที่ 13

สํโจทนาปริวรฺต  สฺตฺรโยทศะ

ชื่อ สัญโจทนาปริวรรต(ว่าด้วยการเตือน)

      กระนี้แล       ดูกรภิกษุทั้งหลาย นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครุฑ กินนร มโหรค(งูใหญ่) องค์ศักร(อินทร์) พรหม โลกบาลทั้งหลายพร้อมด้วยเทวดาเป็นอเนกซึ่งถึงความขวนขวายในการทำบูชาพระโพธิสัตว์ ได้มาแสดงความยินดีด้วยเสียงของตนเองต่อองค์พระโพธิสัตว์ผู้อยู่ในท่ามกลางสนมกำนัล

      ในที่นั้น       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยต่อมา เทวดา นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครุฑ กินนร มโหรค(งูใหญ่) องค์ศักร(อินทร์) พรหม โลกบาลทั้งหลายเป็นอันมาก ได้มีความปริวิตกอย่างนี้ว่า สัตบุรุษพระองค์นี้จะชักช้ามาภายในบุรีนานนักหนอ สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ที่ได้บ่มมาแล้ว(บำเพ็ญบารมิตา) เป็นเวลานาน ย่อมบัญญัติเทศนาธรรมแก่ผู้บรรลุโพธิด้วยสังคหวัตถุ 4 อย่าง คือ การให้ มีวาจาเป็นที่น่ารัก ทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ เฉลี่ยประโยชน์ให้เท่ากัน สังคหวัตถุทั้ง 4นี้ เป็นที่รองรับธรรม ตั้งขึ้นทั้งหมดพร้อมกับผู้บรรลุโพธินั้นทีเดียว และพระโพธิสัตว์ ภายหลังจะออกอภิเนษกรมณ์ และจะตรัสรู้อนุตตรสัมยักสัมโพธิ

      ครั้นแล้ว เขาเหล่านั้น ประกอบด้วยความเคารพ ประกอบด้วยความเอาใจใส่ประนมมือแล้วนมัสการพระโพธิสัตว์ และคำนึงด้วยความปรารถนาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจะเห็นสัตว์บริศุทธประเสริฐยิ่ง ออกอภิเนษกรมณ์ ครั้นแล้วประทับนั่งที่โคนต้นมหาทุมราช(ต้นโพธิ) นั้น บำราบมารพร้อมด้วยแสนามาร แล้วตรัสรู้อนุตตรสัมยักสัมโพธิ ประกอบด้วยกำลังแห่งพระตถาคต 10 ประการ และประกอบด้วยไวศารัทยะ(*)แห่งพระตถาคต 4 ประการ และประกอบด้วยอาเวณิกธรรม(**) 18 หมวด ซึ่งเป็นธรรมของพระพุทธ ทรงยังจักรคือธรรมให้หมุนเป็นไปอันสูงสุดมีอาการ 12 ทรงยังมนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลก และอสูรโลกให้ชื่นชมยินดีด้วยสุภาษิตตามอัธยาศัยของสัตว์โดยทำนองลีลาแห่งพระพุทธ

* ไวศารัทยะ มี 4 คือ พระตถาคตไม่เห็นว่าใครๆจักท้วงพระองค์ได้โดยธรรมในฐานะ 4 คือ

      1 ท่านปรติชญาว่าเป็นสัมยักสัมพุทธ ธรรมเหล่านี้ ท่านยังไม่รู้แล้ว

      2 ท่านปรติชญาว่า อาสวะเหล่านี้ของท่าน ยังไม่สิ้นแล้ว

      3 ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่อาจทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง

      4 ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชนอย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบแห่งคนผู้ทำลาย

** อาเวณิกธรรม คือ ธรรมที่แยกอยู่ต่างหากไม่พัวพันกิน อฏฐารสอาเวณิกาธมมา อาเวณิกธรรม 18 หมวด ในปฏิสัมภิทามัคคปกรณ์ว่า สาวเกหิ อสาธารณนิ ตถาคตนํเยว อาเวณิกานิ ถาณานิ.....ญานเฉพาะพระตถาคตผู้เดียว ไม่ทั่วไปแก่สาวกทั้งหลาย

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในที่นั้น พระโพธิสัตว์ทรงเป็นผู้นำประชุมชนอื่นๆติดต่อกันมาตั้งหลายกัลปนับไม่ถ้วนเป็นเวลานาน ทรงเป็นอาจารย์ด้วยพระองค์เองในธรรมที่เป็นโลกิยและโลกุตรทั้งปว ทรงรู้กาล รู้เวลา รู้สมัยในการประพฤติธรรมที่เป็นกุศลมูลทั้งปวงตลอดเวลานาน ทรงรู้การจุติ(การตาย) ทรงประกอบด้วยอภิชญา 5 พระองค์ ทรงลำพองด้วยฤทธิบาท มีความฉลาดในอินทรีย์ทั้งปวง ทรงรู้กาล และอกาล(กาลควรและไม่ควร) ทรงทันต่อเวลาไม่ล่วงเลยเมื่อถึงเวลา เหมือนคลื่นไม่ล่วงเลยฝั่งมหาสมุทรพระองค์ประกอบด้วยกำลังชญาณแห่งอภิชญา ทรงรู้ทุกสิ่งทุกอย่างด้วยพระองค์เองว่า นี่เป็นคราวที่ข่ม นี่เป็นคราวที่จะยกย่อง นี่เป็นคราวที่จะสงเคราะห์ นี่เป็นคราวที่จะอนุเคราะห์ นี่เป็นคราวที่จะเฉย ที่เป็นคราวที่จะพูด นี่เป็นคราวที่จะนิ่ง(หยุดพูด)  นี่เป็นคราวที่จะออกบวช (เรนษกรมณ์) นี่เป็นคราวที่จะบวช นี่เป้นคราวที่จะสังวัธยาย(ปริกรรมคาถา หรือเจริญภาวนา) นี่เป็นคราวที่จะพิจารณาโดยละเอียดถี่ถ้วน นี่เป้นคราวที่จะแยกตนออกจากหมู่ นี่เป็นคราวที่พวกกษัตริย์จะเข้าเฝ้า ฯลฯ จนถึงนี่เป็นคราวที่พวกพราหมณ์ คฤบดีจะเข้าเฝ้า นี่เป็นคราวที่พวกเทวดา นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครุฑ กินนร มโหรค องค์ศักร(อินทร์) พรหม โลกบาล ภิกษุ ภิกษุณี  อุบาสก อุบาสิกา  จะเข้าเฝ้า นี่เป็นคราวที่จะแสดงธรรม นี่เป็นคราวสนทนาปราศรัยกัน(คุยกัน) พระโพธิสัตว์ทรงรู้กาลตลอดเวลาในที่ทั้งปวง และทรงทันต่อเวลา

      ก็และครั้งนั้นแล       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาแห่งพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ผู้เกิดมาในภพสุดท้าย จำเป็นที่พระพุทธทั้งหลายผู้มีภคะ ซึ่งประทับอยู่ในโลกธาตุทั้ง 10ทิศ พึงตักเตือน ด้วยธรรมที่เป็นประธานอย่างนี้เหล่านี้ ดังว่าบรรลือด้วยสังคีตดุริยางค์ เป็นต้น

      ในที่นี้ มีคำกล่าวไว้ว่า

      1 ผู้ใด เป็นยอดสัตวย์(ยอดคน)เพราะวิเศษในโลก 10 ทิศนั้น ด้วยดุริยางค์ที่น่ายินดีในโลกนั้น คาถาทั้งหลายเหล่านี้อันไพเราะ น่ายินดีที่ขับร้องขึ้นแล้ว ย่อมตักเตือนเขาผู้นั้น ซึ่งเป็นคนประเสริฐดียิ่ง ฯ

      2 พระโพธิสัตว์พระองค์นี้ เห็นสัตวย์ทั้งหลาย เต็มไปด้วยทุกข์ตั้งร้อยอย่าง จึงทำความเอาใจใส่ต่อสัตว์เหล่านั้นมาก่อนแล้ว เป็นที่หลบหลีก เป็นที่ป้องกันในการทำตนให้เป็นที่พึ่งของโลก กระทำที่พึ่งและประโยชน์อย่างยิ่ง ฯ

      3 เป็นผู้ยังประโยชน์ให้ลุล่วง มีความแกล้วกล้า มีความจำดี ประพฤติดี เอาใจใส่ในประโยชน์แก่โลก ได้มีแล้วในกาลก่อน พระองค์รู้กาล รู้เวลา รู้สมัยของพระองค์ ออกอภิเนษกรมณ์(ออกบวช)เป็นฤษีผู้ประเสริฐยิ่ง ฯ

      4 ทรงสละทรัพย์อันประเสริฐ สละศีรษะ มือ และเท้า แก่ผู้ต้องการในกาลก่อนจะได้เป็นพระพุทธ ผู้ด้ดสันดานมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย เป็นผู้เลิศแก่โลก สะสมคุณธรรมตั้งร้อย ฯ

      5 พระองค์ทรงประพฤติพรต และตบะด้วยศีล พระองค์กระทำประโยชน์ให้แก่โลก เพราะความอดกลั้น พระองค์สะสมคุณธรรมอันดีงามด้วยความเพียร พระองค์ไม่เสื่อมทรามในธยานและปรัชญาในไตรภพ ฯ

      6 พระสุคตทั้งหลายซึ่งเป็นผู้ไม่ซาบซ่านด้วยความโกรธ ไม่มาไปด้วยมลทินทั้งปวง ได้มากระจ่างแจ้งในพระองค์ผู้มีพระไมตรี พระสุคตเหล่านั้นได้รู้สิ่งต่างๆในความไม่จริง อันปราศจากคุณธรรมที่ดีงาม ฯ

      7 พระองค์มีพระหทัยสะสมความดีงามในบุณย และชญาน ทรงรู้ในการเข้าธยาน มีตบะ(อำนาจ) ปราศจากธุลีคือเกลศส่องสว่างทั่วทิศทั้ง 10 นี้ ปราศจากมลทิน เหมือนดวงจันทร์พ้นจากเมฆ ฯ

      8 พระสุคตอื่นๆ เหล่านั้น งามหลายอย่าง วาจาซึ่งเป็นเสียงของพระชิน(พระพุทธ) เหมือนจะก้องกังวาลด้วยเสียงดุริยางต์ซึ่งตักเตือนพระโพธิสัตว์ที่เทวดาและมนุษย์บูชาแล้วว่า   พระองค์เสด็จอภิเนษกรมณ์นี่เป็นสมัยของพระองค์แล้ว ดังนี้ ฯ

      อนึ่งเล่า       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระโพธิสัตว์ประทับอยู่ในพระราชวัง  ซึ่งเป็นประธานอันประเสริฐนั้น เพียบพร้อมด้วยเครื่องอุปกรณ์ทั้งปวงเกิดขึ้นแล้ว อนุกูลแก่การอยู่เป็นสุขตามความปรารถนา เหมือนพิภพเมื่องอมร(เทวดา) มี่ระเบียงประตูซุ้มประตูมีลวดลาย หน้าต่างตำหนัก เรือนยอด และปราสาทอันประเสริฐดียิ่ง ซึ่งแบ่งสันปันส่วนไว้ต่างๆ ล้วนประดับด้วยรัตนะอันวิจิต ประดับด้วยการยกฉัตรธงชัย  ธงปตาก ตาข่าย ลูกพรวนรัตนะเป็นอเนก  ห้อยด้วยพวงมาลัยผ้าไหมจำนวนแสน ระย้าย้อยไปด้วยแก้วมุกดาหาร แซมด้วยรัตนะต่างๆ งามด้วยผ้าประดับรัรตนะอันวิจิตรสลับกัน แขวนเชือกพวงมาลัยผ้าเป็นกลุ่ม มีหม้อเผาเครื่องหอมตลบอบอวล เพดานประดับด้วยผ้าทำเป็นรูปลูกเห็บ ดาษดาไปด้วยดอกไม้ทุกฤดูมีกลิ่นหอมอย่างยิ่ง และงามดี พื้นน้ำมากไปด้วยบัวขาวและบัวสดๆอยู่ในสระ หมู่นกต่างๆเช่น นกพิราบ นกแก้ว นกสาริกา นกดุเหว่า หงส์ นกยูง นกจากพราก นกดุเหว่าลาย นกการเวก นกกระทาดง เป็นต้น ส่งเสียงร้องไพเราะ พื้นดินล้วนแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์เขียว ทุกชิ้นดูเป็นแวววาว น่ารื่นรมย์ ไม่อิ่มตา ทำให้เกิดปีติ และปราโมทย์เป็นอย่างยิ่ง เมื่อพระโพธิสัตว์ประทับอยู่ในพระราชวังซึ่งเป็นประธานอันประเสริฐ อาศัยอยู่ในเรือนคือพระราชวังอันกว้างขวาง มีพระกายไม่สกปรก ไม่เปรอะเปื้อน ปราศจากมลทิน ทรงประดับด้วยพวงมาลัยไข่มุก พระกายลูบไล้ด้วยเครื่องลูบไล้มีกลิ่นหอมอย่างประเสริฐ พระสรีระห่อหุ้มด้วยพระภูษาขาวงาม ไม่เปรอะเปื้อน สะอาดปราศจากมลทิน เสด็จขึ้นสู่พื้นพระที่(พื้นที่นอน) อันตกแต่งด้วยเครืองตกแต่งอย่างดี คือผ้าเนื้อละเอียดดังว่าผ้าทิพย์ชั้นจัดไว้ดีแล้ว อ่อนนุ่มสัมผัสสบายนุ่มนวน เหมือนสัมผัสฝักมะกล่ำเครือทรงเผชิญกับนางสนมกำนัลผู้มีรูปงาม ไม่มีโทษ ดูไม่สกปรก ประพฤติกิริยาอาการงามด้วยประการทั้งปวงดังว่านางเทพธิดา ทรงตื่นอยู่ด้วยเสียงบรรเลงสังข์ กลองใหญ่ กลองเล็ก บัณเฑาะว์ กระจับปี่ พิณใหญ่ พิณน้อย ดังกึกก้องดุจจะเย้ยเพลงสวรรค์ และเสียงขลุ่ยโหยหวลก้องกังวาล ประโคมด้วยดนตรีขับกล่อมนานาประการ เหล่านารีก็ปลุกพระโพธิสัตว์ด้วยเสียงขลุ่ยโหยหวลก้องกังวาลซึ่งเป็นเสียงหวาน นุ่มนวล ไพเราะจับใจหมู่นารีเหล่านั้นเตือนพระโพธิสัตว์ด้วยเสียงขลุ่ยและดนตรีอันโหยหวลก้องกังวาลทั้งหลายเหล่านั้น โดยอธิษฐาน(อาศัย)ถึงพระพุทธทั้งหลาย ผู้ประทับอยู่ในทิศทั้ง 10 คำเตือนนั้นเปล่งออกมาเป็นบทประพันธ์ ดั่งต่อไปนี้

      9 นารีใดมีใจยินดี มีจิตผ่องใส ใช้เสียงหวานของขลุ่ยเป็นที่รื่นรมย์ใจ ดังออกมาเป็นบทประพันธ์ดั่งต่อไปนี้ ซึ่งสละสลวยไพเราะด้วยประการต่างๆ เพราะการดลบันดาลของพระชินผู้สูงสุดประทับอยู่ในทิศทั้ง 10 ฯ

      10 บทประพันธ์เหล่านั้นว่า พระโพธิสัตว์องค์นี้มีความเอาใจใส่ได้ประดับพระองค์ด้วยความเพียร มองดูอยู่เสมอซึ่งประชุมชนผู้หาที่พึ่งมิได้นี้  พระองค์ทรงเศร้าโศกเพราะชรา มรณะ และเพราะทุกข์อื่นๆจึงตรัสรู้ซึ่งบทอันไม่ชรา และไม่เศร้าโศกต่อไป ฯ

      11 เพราะฉะนั้น พระองค์ผู้ยังประโยชน์ให้ลุล่วง เสด็๗อภิเนษกรมณ์จากบุรีอันประเสริฐนี้โดยเร็วเพลัน เสด็จก้าวเข้าไปสู่ประเทศที่มีพื้นดิน อันประฤษีแต่ปางก่อนแบ่งแยกไว้แล้ว ตรัสรู้แล้วซึ่งชญานของพระชินอันไม่มีใครเที่ยบเทียม ฯ

      12 ข้าแต่พระองค์ผู้แสวงหาคุณธรรมอันใหญ่หลวง พระพุทธทั้งหลายแต่ปางก่อนได้เสียสละทรัพย์ รัตนะอันวิจิตร และเสียสละมือ เท้าและชีวิตอันเป็นที่รักมาแล้ว คราวนี้เป็นสมัยของพระองค์ พระองค์จงแจกธรรมดังว่ามหาสมุทรอันหาที่สุดมิได้ในโลก ฯ

      13 ศีลของพระองค์งาม ไม่มีมลทิน ไม่ขาดวิ่น พระองค์ทรงประดับพระองค์ด้วยธรรมอันประเสริฐ ติดต่อกันมาตั้งแต่ก่อน ข้าแต่พระองค์ผู้แสวงหาคุณธรรมอันใหญ่หลวง ไม่มีใครเกินหรือเสมอพระองค์ได้ด้วยศีล พระองค์ยังเศร้าโศกเกลศต่างๆในโลกฯ

      14 พระองค์จงประพฤติตั้งร้อยครั้ง (ทำให้มาก)ในกษานติ กษานติของพระองค์มีหลายอย่างในโลก ยากที่จะพูดได้ พระองค์มีความอดทน ความข่มใจ มีใจยินดีในกษานติ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่แก่คนทั้งหลาย ขอพระองค์จงกระทำความคิดในการเสด็จอภิเนษกรมณ์ ฯ

      15 ขอให้ความเพียรของพระองค์จงมั่นคงอย่างเคลื่อนที่ อย่าไหวหวั่น พระสุคตทั้งหลายเหล่านั้นเป็นอันมากแต่ปางก่อน ท่านได้ผจญมารผู้โอหังพร้อมด้วยเสนามาร ขอพระองค์จงเหือดแห้ง(เหินห่าง) จากอบายทั้ง 3ทั่วกัน ฯ

      16 พระองค์ประพฤติพรตและตบะเพื่อประโยชน์ของผู้ใด ทรงเผาเกลศที่เป็นโทษและเป็นความหม่นหมอง พระองค์จงหลั่งฝนอมฤตลงมาพึงยังผู้นั้นซึ่งไม่มีที่พึ่ง มีความหิวกระหายมานาน ให้อิ่มหนำสำราญ ฯ

      17 พระพุทธทั้งหลาย คิดถึงถ้อยคำอันประเสริฐในครั้งก่อนนั้น (คือพระธรรม)จึงเสด็จอภิเนษกรมณ์จากบุรีอันประเสริฐโดยเร็ว ได้ตรัสรู้ซึ่งบทอันไม่ตายและไม่เศร้าโศก ขอพระองค์พึงยังผู้ที่เร่าร้อนด้วยควาหิวกระหาย ให้อิ่มหนำสำราญ ในรสอมฤตธรรมฯ

      18 พระองค์มีความฉลาดในการปฏิบัติดูแลด้วยปรัชญา ความรู้ ของพระองค์หนาแน่น กว้างขวาง ไม่มีที่สุด ขอพระองค์จงกระทำความดีงามแห่งแสงสว่างคือปรัชญาแก่คนโง่ทั้งหลาย ผู้ตั้งอยู่ในคลองแห่งความสงสัย ฯ

      19 พระองค์จงประพฤติตั้งร้อยครั้ง (ทำให้มาก) ในความไมตรี กรุณา มุทิตา และอุเบกษาอันประเสริฐ พระองค์จงประพฤติในความประพฤติอันประเสริฐเพื่อผู้ใด จงแจกความประพฤติของโลก แก่ผู้นั้นเทียว ฯ

      20 คำประพันธ์อันวิจิตรประดับด้วยดอกไม้คือคุณธรรมส่งเสียงดังออกมาเป็นข้อความต่างๆจากดนตรี โดยเดชของพระชินทั้งหลาย ซึ่งประทับอยู่ในทิศทั้ง10 ดั่งนี้ เตือนพระกุมารผู้อยู่ในแท่นบรรทม ฯ

      21 เมื่อใด นางสาวผู้บรรเทิง  กระทำความยินดี สายงามเป็นอย่างดี ส่งเสียงไพเราะ ในการขับร้องพร้อมด้วยดนตรีทั้งหลาย เมื่อนั้น พระชินในทิศทั้ง 10 ผู้ปราบเทวดา และมนุษย์ทั้งหลายให้เชื่อง ได้ส่งเสียง ตามเสียงอันประเสริฐร้องคลอไปกับดนตรีนั้น ว่า ฯ

      22 พระองค์จงทำประโยชน์ที่พระองค์ได้ทำมาแล้ว แก่คนทั้งหลายมีจำนวนมาก จงประพฤติคุณธรรมของตน ในคติทั้งหลายอันเป็นพระชิน จงระลึก จงระลึก จงประพฤติพรตและตบะที่เคยประพฤติมาแล้วครั้งก่อนๆ  จงไปสู่ต้นโพธิอันประเสริฐโดยเร็ว แล้วสัมผัส(ตรัสรู้) ซึ่งบทอันเป็นอมฤต ฯ

      23 มนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย มีความหิวกระหายเป็นอย่างยิ่งแล้ว ปราศจากคุณธรรมของพระชิน ความรู้ที่มีอยู่ในพระองค์ สามารถที่จะให้รสอมฤต(แก่เทวดา และมนุษย์เหล่านั้น) ได้ ดูกรนฤบดี พระพุทธผู้ทรงพระคุณคือกำลัง 10 อย่าง ที่ชนทั้งหลายบูชาแล้ว จะมอบอมฤตให้ไว้ในพระองค์โดยเร็ว ฯ

      24 เมื่อพระองค์สละได้แล้ว ซึ่งบุรี แก้วแหวนเงินทอง มิตรสหาย ภรรยา บุตร แผ่นดิน พร้อมทั้งนครและชนบท  พระองค์สละแล้วแม้ซึ่งศีรษะมือเท้า นัยน์ตาของตนเอง ผู้ใดกระทำประโยชน์ในโลก  ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้ยินดีแล้วในคุณธรรมของพระชิน ฯ

      25 ดูกรนฤบดีผู้เจริญในบุรี ผู้เป็นโอรสแห่งคนประเสริฐ คนใดเขาออกปาก(ขอ)ต่อหน้าพระองค์ว่า จงให้แผ่นดินนี้พร้อมทั้งนครและชนบทแก่ข้าพเจ้า ขอท่านจงสละสิ่งนั้นให้แก่เขาเถิด แล้วจงบรรเทิง อย่ามีใจโกรธเคืองเขาเลย ฯ

      26 ดูกรนฤบดีผู้เจริญในบุรี ผู้ใดเป็นพราหมณ์โดยกำเนิด เป็นครูจงปฏิบัติดูแลผู้นั้น อย่ามีความเกลียดชังอาฆาตเขาต่อไปเลย คนเป็นอันมาก สถาปนา(ตั้ง) พราหมณ์ผู้ประเสริฐไว้ในความสุขสบาย เขาตายไปจากภพนั้นแล้วจะได้ที่อยู่ในเมืองสวรรค์ ฯ

      27 ดูกรโอรสแห่งนฤบดีผู้เจริญในบุรี ผู้เป็นฤษีองค์ประเสริฐ เจ้านายผู้วิวาทบาดหมางพระองค์ใด ตัดพระโลมาของพระองค์(ตัดสัมพันธ์)หรือกระทำกิริยาฉันญาติในพระองค์ พระองค์อย่ามีใจโกรธเคืองเขาเลย ฯ

      28 ขอพระองค์จงคือถึงลูกของฤษี ผู้ที่อยู่ในบุรีของพระองค์ยินดีในการประพฤติพรต แบกของหนักขึ้นภูเขา ถูกพระเจ้าแผ่นดินประหาร ถูกยิงด้วยลูกศรอาบยาพิษ ดูกรนฤบดี พระองค์จงเอ็นดูเขา อย่ามีใจโกรธเคืองเขาเลย ฯ

      29 ดูกรพระองค์ผู้เจริญในบุรี ผู้ทรงคุณธรรม มาณพผู้เป็นเจ้าแห่งมฤค อยู่ที่ภูเขา ที่แม่น้ำมีน้ำมาก มีใจกรุณาคนที่ทำประโยชน์ให้แก่ พระองค์ วางพระองค์ไว้บนบก พระองค์จงเอาใจใส่ อย่ามีใจโกรธเคือง ศัตรูของพระองค์เลย ฯ

      30 ดูกรพระองค์ผู้ประเสริฐในนคร ผู้เจริญในบุรี เพราะเหตุที่พระองค์สละบุตร แก้วมณีของพระองค์ตกไปในมหาสมุทรอันกว้าง มันจะไหลไปเองหรือขว้างมันไปในมหาสมุทร พระองค์ผู้มีกำลังแข็งแรง ผู้เกรงต่อการเบียดเบียนได้แล้วซึ่งทรัพย์ คือแก้วมณีนั้นคืนมา ฯ

      31 ดูกรพระองค์ผู้เป็นคนดีในบุรีของพระองค์ พราหมณ์เป็นฤษีผู้ประเสริฐเข้าไปหาพระองค์ ขอร้องว่า ขอให้เป็นที่พึ่งแก่ข้าพเจ้า เมื่อพราหมณ์ฤษีพูดว่า ขอให้นำศัตรูของข้าพเจ้าไป ถึงพระองค์จะละร่างกายของพระองค์ด้วยตนเอง พระองค์ก็อย่าละพราหมณ์นั้นเสียเลย ฯ

      32 พระองค์จงคิด ฤษีเข้ามาที่ต้นไม้ที่อาศัยในบุรี พูดอย่างสุภาพเพื่อให้นับต้นไม้นี้ว่ามีเท่าไร พระองค์ทราบดีแล้ว นับได้ถูกต้องแล้วว่าหน่อไม้ในที่นั้นมีเท่าไร วาจาของพระองค์แต่งขึ้นไม่คลาดเคลื่อนเป็นอย่างนั้นฯ

      33 ดูกรพระองค์ผู้มีตระกูลดี ผู้ทรงคุณธรรมดี คนที่อาศัยพุ่มไม้ในบุรีถึงจะทรุดโทรม ก็ไม่ละความระลึกถึงในครั้งก่อนได้  ดูกรพระองค์ผู้เป็นเจ้าคน คนเขาจะปราโมทย์เพราะระลึกถึงคุณของพระองค์ เหมือนระลึกถึงพุ่มไม้อันประเสริฐ ซึ่งกระทำมิ่งขวัญให้ในครั้งก่อน ฯ

      34 ดูกรพระองค์ผู้มีคุณมาก ผู้ทรงคุณธรรม เพราะประพฤติในทางคุณความดี พระองค์จงสละแผ่นดินพร้อมด้วยนครเสีย เวลานี้เป็นเวลาของพระองค์ พระองค์จงยังโลกให้ตั้งอยู่ในการประพฤติคุณธรรมของพระชินโดยเร็วเถิด ฯ

      35 การยินดีในหญิงสาว เสื้อผ้าอันดีงาม ร่างกายอันประดับแล้วดนตรีอันดียิ่งจับใจในการร้องประสานเสียง  คำประพันธ์วิจิตรอันพระชินทั้งหลายตรัสมาจากทิศทั้ง 10 ความก้องกังวาลแห่งเสียงอันไพเราะในการบรรเลงด้วยเสียงดนตรีทั้งหลาย ย่อมมีด้วยประการนี้แล ฯ

      36 ความตั้งใจของพระองค์ เป็นแสงสว่างของโลกมาหลายกัลปแล้ว พระองค์จะได้เป็นผู้คุ้มครองป้องกันในโลกอันตกอยู่ในอำนาจของชรา และมรณะ ดูกรพระองค์ผู้เป้นนรสิงหะ(คนมีความองอาจ) ขอพระองค์จงระลึกถึงความตั้งใจครั้งก่อนๆ ซึ่งได้ประดับพระองค์แล้ว ดูกรพระองค์ผู้เป็นใหญ่กว่าคนทั้งหลาย เวลานี้เป็นสมัยของพระองค์เพื่อเสด็จอภิเนษกรมณ์ ฯ

      37 ทานเป็นอันมาก พระองค์ก็ได้ให้มิใช่น้อยในโลกนี้ ตลอดเวลาหลายพันโกฏิภพ เงิน ทอง แก้ว ผ้าอย่างดี รัตนะอันวิจิตร มือ เท้า นัยน์ตา ลูกที่รัก พระองค์ก็ได้ให้แล้ว ราชอาณาจักรอันมั่งคั่ง พระองค์ได้สละแล้ว และพระองค์ไม่กริ้วโกรธผู้ขอเลย ฯ

      38 ดูกรพระองค์ผู้เป็นราชามาตั้งแต่เป็นเด็ก พระองค์เคยเป็นหมูป่าอาศัยอยู่ในดวงจันทร์ มีใจประกอบด้วยความสงสาร และความกรุณา มีแก้วมณีเป็นปิ่น มีดวงจันทร์เป็นประทีป พระองค์เป็นประมุขมามากแล้ว ด้วยประการฉะนี้ เป็นผู้กล้าหาญมั่นคง เป็นยอดดวงตาของพระราชา(พระบิดา) เป็นพระราชามามากหลายพันโกฏิ ยินดีแล้วในการให้ทานพระองค์ได้ทำทุกอย่างมาแล้ว ฯ

      39 พระสุคตทั้งหลายยังพระองค์ให้ประพฤติในการรักษาศีลตลอดหลายกัลป  ศีลของพระองค์บริศุทธเหมือนแก้วมณีปราศจากมลทินความประพฤติของพระองค์เหมือนจามรี(ระวังรักษาขน) จงรักษาศีล ให้เหมือนรักษาเด็ก พระองค์จงกระทำซึ่งประโยชน์อันไพบูลย์ในโลกนี้ด้วยความยินดีในศีลเถิด ฯ

      40 พระองค์เป็นช้างประเสริฐในโลกนี้ ศัตรูผู้เป็นพรานยิงเอาด้วยธนู พระองค์เกิดมีความสงสาร กรุณาในพรานผู้โหดร้าย ปิดอุโมงค์ไว้(พรานซ่อนอยู่ในอุโมงค์ พระโพธิสัตว์เอาเท้าปิดไว้ไม่ให้ช้างอื่นเห็น) พระองค์สละงางามน่าปรารถนาให้แก่พรานนั้น แต่ไม่ยอมสละศีล พระองค์ทรงเป็นประมุขมามากแล้วด้วยประการฉะนี้ ทรงรักษาศีลเพื่อเขาเหล่านั้น เป็นอันมาก ฯ

      41 ชนทั้งหลายพร้อมด้วยพระองค์มีความทุกข์ตั้งหลายพัน ได้รับคำพูดเผ็ดร้อนเป็นอันมาก ได้รับการฆ่าและการจองจำ เพราะยินดีในกษานติ(ความอดทน)ชนเหล่านั้นประพฤติตามเดิม คือมีกษานติ กลับได้รับความสุขกันหมด การฆ่าและการจองจำของพระองค์เหล่านั้น ไม่มีในที่นี้อีกเลย และนั่นคือกษานติของพระองค์ ฯ

      42 คราวใดหมีผู้เป็นที่พึ่งเจริญในภูเขาอันเป็นที่อยู่ประเสริฐดาษดาไปด้วยหิมะและน้ำ ในกาลนั้น คนจับพระองค์ผู้กลัวภัย พระองค์ประพฤติด้วยความสุขสบาย โดยผลไม้และเผือกมันต่างๆ หมีนั้นนำผู้ฆ่าไปจากพระองค์โดยเร็ว และนั่นคือกษานติของพระองค์ ฯ

      43 พระองค์มีวีรยะ(ความเพียร) ตั้งมั่นไม่ไหวหวั่นไม่กระเทือน มีพรตตบะ มีคุณธรรมและชญานต่างๆแสวงหาความตรัสรู้มารวศวรรดี (ทำให้ตกอยู่ในอำนาจ) ก็หมดกำลังด้วยกำลังความเพียรของพระองค์ ดูกรพระองค์ผู้เป็นนรสิงหะ (คนมีความองอาจ) ในโลกนี้ในเวลานี้เป็นสมัยของพระองค์เพื่อเสด็จอภิเนษกรมณ์ ฯ

      44 ม้าประเสริฐของพระองค์ในบุรีนี้ มีสีงามเหมือนสีทอง พระองค์เกิดความกรุณาขี่ม้าเสด็จไปทวีปรกษสในทางอากาศโดยเร็ว ช่วยคนที่ถึงความวิบัติในที่นั้นให้อยู่ในทางปลอดภัย  พระองค์เป็นประมุขมามากแล้ว ด้วยประการฉะนี้ ทรงกระทำความเพียรเพื่อเขาเหล่านั้นเป็นอันมาก ฯ

      45 ยอดแห่งผู้เข้าธยานคือการระงับปราบปรามเกลศด้วยทมะ(การข่มใจ)และศมถะ พระองค์ทรงข่มจิตที่ไหวหวั่นฉับพลัน ที่ยินดีและโลเล (ไม่มั่นคง) ด้วยอารมณ์ทั้งหลาย ทรงประกอบด้วยคุณธรรม ของพระองค์ในโลกนี้ ด้วยทรงยินดีในการเข้าธยานเพื่อประโยชน์แก่โลก ดูกรพระองค์ผู้เป็นสัตว์ประเสริฐ ในโลกนี้ เวลานี้เป็นสมัยของพระองค์เพื่อเข้าธยาน ฯ

      46 พระองค์เป็นฤษีในครั้งก่อน ตั้งอยู่ดีแล้วในความยินดี เข้าธยาน มนุษย์ทั้งหลายเมื่อไม่มีพระเจ้าแผ่นดิน ได้ช่วยกันอภิเษกพระองค์ในราชสมบัติ พระองค์ก็ยังมนุษย์เหล่านั้นให้มีศีล 10 เขาเหล่านั้นได้ตั้งอยู่แล้วในทางแห่งพรหม(พรหมจรรย์) ครั้งนั้น พวกมนุษย์เหล่านั้นตายแล้วได้ไปบังเกิดเป็นพระพรหมสิ้นด้วยกัน ฯ

      47 พระองค์ทรงรู้วิธีในอาคติชญาน(รู้ที่มา)ต่างๆในทิศน้อยทิศใหญ่ทั้งหลายทรงประพฤติในความรู้เสียงทั้งหลาย ในความรู้อินทรีย์ทั้งหลายในโลก พระองค์จบฝั่งในแนวเขตที่สุด ในวินัยอันเป็นเครื่องนำไปซึ่งเกลศให้พินาศ ดูกรพระองค์ผู้เป็นโอรสกษัตริย์ เวลานี้ เป็นสมัยของพระองค์ เพื่อเสด็จอภิเนษกรมณ์ในโลกนี้ ฯ

      48 ครั้งก่อน ชุมนุมชนทั้งหลายผู้มีความเห็นผิด ตกยากอยู่ในทุกข์ต่างๆเป็นอันมาก มีชรา มรณะ เป็นต้น เกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ครั้นพบพระองค์เข้าแล้วต่างก็ติดตามไปด้วยตนเองในหนทางตรง พระองค์ผู้มีประโยชน์อันใหญ่ยิ่งในโลกนี้ จงกำจัดความมืดคือโมหะ ฯ

      49 บทประพันธ์ประกอบด้วยคุณมีความไพเราะต่างๆ อันวิจิตรด้วยประการนี้ ครั้นแล้ว เมื่อเสียงทั้งหลายดังออกมาพร้อมด้วยเสียงดนตรีทั้งหลาย ด้วยอำนาจของพระชิน ปลุกพระโพธิสัตว์ผู้กล้าหาญว่า พระองค์ เห็นชุมนุมชนผู้เพียบไปด้วยความทุกข์ในโลกนี้แล้ว อย่าทรงเพิกเฉย เวลานี้เป็นสมัยของพระองค์เพื่อเสด็จอภิเนษกรมณ์ เพื่อตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐในโลกนี้ ฯ

      50 นารีทั้งหลายแต่งตัวด้วยผ้าอันวิจิตร รัตนะ ไข่มุก เครื่องหอม และพวงมาลัย มีจิตผ่องใส  มีความรัก มีความยินดี ปลุกพระโพธิสัตว์ ผู้เป็นยอดสัตว์ ด้วยการบรรเลงดนตรีทั้งหลาย ดนตรีกับคำประพันธ์ผสมเป็นรูปเดียวกันเปล่งออกมาด้วยอานุภาพของพระชิน ว่า ฯ

      51 พระองค์เป็นผู้บริจาค ได้บริจาคแล้วเพื่อประโยชน์แก่เขาผู้นั้น มิใช่กัลปเดียว เป็นการบริจาคได้ยาก เป็นผู้รอบรู้ มีศีล มีกษานติ มีวีรยะ มีธยาน เจริญปรัชญา เวลาของพระองค์เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่โลกพระองค์ได้ปรากฏขึ้นมาแล้ว ณ กาลบัดนี้ ข้าแต่พระนายก(ผู้นำ) พระองค์จงคิดรู้การเสด็จอภิเนษกรมณ์โดยเร็ว อย่าชักช้าอยู่เลย ฯ

      52 พระองค์เป็นผู้บริจาค มีพระเกศาประดับด้วยรัตนะ พระภูษาประดับด้วยทองและเงิน พระองค์บูชายัชญมาแล้วในชาตินั้นๆ มิใช่ชาติเดียว บริจาคแล้วซึ่งภรรยา บุตร ธิดา ร่างกาย ราชสมบัติและชีวิต พระองค์บริจาคหาประมาณมิได้ อันยากที่ใครจะบริจาค เพราะเหตุแห่งการตรัสรู้ ฯ

      53 พระองค์ได้ประดับแล้ว ซึ่งบุณยอันไม่อนาถา(บุญที่มั่งคั่ง) ดูกรราชา พระองค์มีสง่าราศีอันลือนาม พระองค์เป็นผู้สืบสายราชาอีกษวากุ และทรงไว้ซึ่งผู้สืบสายราชาอีกษวากุ เป็นเผ่าพันธุ์พระกฤษณะ และเผ่าพันธุ์พรหมทัต เป็นราชสีห์ ทรงบูชายัชญตั้งพัน ทรงคิดแต่ธรรม มีสง่าราศีดังว่าเปลวไฟ มีทรัพย์มั่นคง คิดถึงประโยชน์เป็นอย่างดี ผู้ใดเป็นสัตว์อนาถา พระองค์ก็บริจาคให้แก่ผู้นั้นซึ่งยากที่ใครบริจาคได้ ฯ

      54 พระองค์เป็นสุดโสมบัณฑิต มีความเพียรรุ่งเรือง มีบุณยเป็นรัศมี พระองค์เป็นผู้มีการบริจาคใหญ่ยิ่ง มีกำลังมาก เป็นผู้มีกฤตัชญ เป็นราชฤษีมีพระรูปโฉมงามเหมือนดวงจันทร์ เป็นผู้กล้าหาญ เป็นผู้เจริญในความสัตย์ ดูกรพระราชา พระองค์แสวงหาคำสุภาษิต และยินดียิ่งในแนวความคิดที่ดี ฯ

      55 พระองค์มีรัศมีเหมือนดวงจันทร์ เสด็จไปสู่สถานที่ประเสริฐยิ่งเป็นปรกติ มีผงจันทน์หอม เป็นใหญ่ในทิศ เป็นผู้กล้าให้ เป็นราชาแคว้นกาศี มีรัตนะเป็นปิ่น บรรลุถึงความสงบระงับ ดูกระพระองค์ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน พระองค์บริจาคให้แก่ผู้อื่นที่มาหา ยากที่ใครจะบริจาคได้ เหมือนเม้ดฝน คือการบริจาคของพระองค์ที่โปรยลงมานั่นได้แก่เม็ดฝนคือธรรมแลฯ

      56 พระองค์เห็นสัตว์ผู้เป็นสาระ(พระพุทธ)ในครั้งก่อนๆ อุปมาเหมือนทรายในแม่น้ำคงคา กระทำพุทธบูชาต่อสัตว์ผู้เป็นสาระ(พระพุทธ) เหล่านั้น ด้วยความคิดหาประมาณมิได้ พระองค์กำลังแสวงหาความตรัสรู้อันเลิศประเสริฐ เพราะเหตุแห่งความหลุดพ้นของสัตว์ทั้งหลาย นี่ก็ถึงเวลาแล้ว ดูกรพระองค์ผู้กล้าหาญ พระองค์จงเสด็จอภิเนษกรมณ์ จากบุรีอันสูงสุดเถิด ฯ

      57 ครั้งแรก พระองค์บูชาพระพุทธอโมฆทรรศี ด้วยดอกศาละ ต่อมาพระองค์เห็นพระพุทธวิโรจนะแล้วมีจิตเลือมใส พระองค์ถวายผลสมอผลหนึ่ง แล้วประโคมด้วยเสียงกลองใหญ่ พระองค์ชูคบเพลิงถือไว้ให้เห็นเรือนไม้จันทน์(พระคันธกุฎี) ฯ

      58 พระองค์เข้าไปในบุรีแล้วเห็นผงจันทน์หอม จึงสาดกำแห่งผงจันทน์ ถวายสาธุการ (แสดงความนับถือ) แก่พระพุทธผู้เป็นใหญ่เพราะธรรม ซึ่งแสดงธรรมแล้ว พระองค์เห็นพระพุทธสมันตทรรศี แล้วกล่าววาจาว่า นโม นมะ (ขอนมัสการอย่างมีเกียรติ) ได้ซัดพวงมาลัยทองไปยังพระพุทธผู้มีพระกายรุ่งเรืองเหมือนเปลวไฟด้วยจิตยินดี ฯ

       59 พระองค์ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ได้จูงมือสองกุมารให้แก่ธรรมธวชีเฒ่าขอทานที่ริมฝั่งสระ และถวายดอกอโศกแก่พระพุทธชญานเกตุ ถวายเครื่องดื่มคือข้าวยวาคุแก่พระพุทธสารถิ ถวายทานดวงประทีปแก่พระพุทธรัตนสิขี ถวายผลไม้ล้มลุก(ผัก) แก่พระพุทธปัทมสัมภวะ และถวายแก้วมุกดาหารแก่พระพุทธสรรพาภิภู ถวายทานดอกบัวแก่พระพุทธสาคระ ฯ

       60 ถวายทานด้วยกั้นเพดานแก่พระพุทธปัทมครรภิ ถวายที่นอนในฤดูฝนแก่พระพุทธสิงหะ ถวายทานน้ำมันเนยแก่พระพุทธศาเลนทรราช ถวายนมสดแด่พระพุทธปุษปิตี ถวายดอกบานไม่รู้โรยแดงแก่พระพุทธยโศทัตตะ ถวายอาหารแก่พระพุทธสัตยทรรศี นอบน้อมร่างกายแก่พระพุทธชญานเมรุ ถวายจีวรแก่พระพุทธนาคทัตตะ ฯ

       61 ถวายไม้จันทน์หอมอันดียิ่งกำมือหนึ่งด้วยความปรารถนาเพื่อบูชาถวายแก่พระพุทธอัจยุตคามิ ถวายทานดอกบัวแก่พระพุทธมหาวิยูหะ ถวายพระพุทธรัศมิราชะด้วยรัตนะทั้งหลาย และถวายทองกำมือหนึ่งแก่พระศากยมุนี(องค์ก่อน) และสรรเสริญพระพุทธอินทรเกตุ ถวายต่างหูแก่พระพุทธสูรยานนะ และถวายแผ่นทองแก่พระพุทธสุมตี

       62 ถวายแก้มณีแก่พระพุทธนาคาภิภู ถวายที่นอนปูผ้าแก่พระพุทธปุษยะ ถวาย ร่มประดับรัตนะแก่พระไภษัชยราชะ ถวายอาสนะ(ผ้าปูนั่ง) แก่พระพุทธสิงหเกตุ ถวายข่ายแก้วแก่พระพุทธกาศยปผู้ทรงพระคุณอันดียิ่ง ผู้ตรัสได้ทุกอย่าง ถวายผงจันทน์หอมอย่างดี ไข่มุก และดอกมะลิแก่พระพุทธอรรจิเกตุ ฯ

       63 ถวายเรือนยอด และพวงมาลัยแก่พระพุทธอักโษภยราช ผู้ที่โลกบูชาแล้ว บริจาคราชสมบัติ และของหอมทั้งปวงยากที่ใครจะเอาชนะได้แก่พระพุทธตครสิขิ บริจาคตนเองประทีปใหญ่และเครื่องประดับแก่พระพุทธปัทโมตตระ ถวายดอกไม้งาม และประทีปทำด้วยดอกอุบลแก่พระธรรมเกตุ ฯ

       64 สัตว์ผู้เป็นสาระ(พระพุทธ)องค์อื่นๆใดเสด็จมา พระองค์ก็เคยบูชามาแล้ว การบูชาอันวิจิตรมีชนิดต่างๆ พระองค์ก็ได้ทำมาในชาติอื่นๆแล้ว พระองค์ จงระลึกถึงการบูชาของพระองค์ต่อพระพุทธในอดีตซึ่งเป็นพระศาสดา จงออกอภิเนษกรมณ์ อย่าเพิกเฉยต่อสัตว์อนาถาผู้เต็มไปด้วยความโศกเลย ฯ

       65 เพียงแต่เห็นพระพุทธทีปังกร พระองค์ก็ได้กษานติเป็นอย่างยิ่ง อภิชญา 5 อันไม่คลาดเคลื่อนโดยอนุโลม พระองค์ก็ได้แล้ว ด้วยการคิดที่จะบูชาพระพุทธผู้เป็นเอกแต่องค์เดียวยิ่งกว่าที่กล่าวมาแล้ว พระองค์ได้ผ่านมาแล้วถึงอสงไขยกัลปในโลกธาตุทั้งปวง ฯ

       66 กัลปสิ้นไปหาประมาณมิได้ โดพยพระองค์ปราศจากพระพุทธอัตภาพของพระองค์ทั้งหมดไปอยู่ที่ไหน ภาวะทุกสิ่งทุกอย่างย่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ไม่มีอะไรที่จะปรับปรุงให้เป็นของเที่ยงแท้ได้ กาม ราชสมบัติและโภคะเป็นของไม่เที่ยง ขอพระองค์จงเสด็จอภิเนษกรมณ์ จากบุรีอันสูงสุด เถิด ฯ

       67 ชรา พยาธิ มรณะ อันทารุณ เป็นภัยใหญ่หลวงมาถึงแล้ว ไฟที่มีเดชร้ายแรง น่ากลัวในเวลาสิ้นกัลป (ไฟประลัยกัลป) ภาวะทุกสิ่งทุกอย่างย่อมสิ้นไปเป็นธรรมดาไม่มีอะไรที่จะปรับปรุงให้เป็นของเที่ยงแท้ก็ได้สัตว์ถึงความทุกข์ยากเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ผู้ทรงคุณธรรม จงเสด็จอภิเนษกรมณ์ เถิด ฯ

       68 เสียงหมู่นารี เสียงแตรงอน ดนตรีต่างๆ ปลุกพระโพธิสัตว์ผู้เป็นใหญ่แก่มนุษย์ทั้งหลายซึ่งอยู่ในที่บรรทมอย่างเป็นสุข นั่นคือเสียงดนตรีนี้ดังออกมาว่า ฯ

       69 ภพทั้ง 3 ลุกโพรงแล้วด้วยความทุกข์คือ ชรา พยาธิ ภพทั้ง 3 นี้ถูกไฟคือมรณะไหม้แล้ว หาที่พึ่งมิได้ โลกที่ลุ่มหลงอยู่ทุกเมื่อ ถือเอาภพเป็นที่พึ่ง จึงเที่ยววนเวียนเหมือนแมลงภู่ตกอยู่ในหม้อ ฯ

       70 ภพทั้ง 3 ไม่ยั่งยืนเหมือนฤดูศรทะ(ฤดูร้อน)โลกเหมือนโรงละคอนเคลื่อนที่เหมือนลูกคลื่น รีบรวดเร็วเหมือนลูกคลื่น อายุอันแข็งแกร่งในโลกล่วงไปเหมือนฟ้าแลบ ฯ

      71 ชุมนุมชนในมนุษยโลก เทวโลก และอบายโลกทั้ง 3 (รวมเป็น 5โลก ตกอยูในอำนาจแห่งตฤษณาในภพ และอวิทยา ผู้ไม่รู้วนเวียนอยู่ในคติทั้ง 5 เหมือนจักรหมุนของช่างหม้อ ฯ

      72 โลกนี้ ติดอยู่ในบ่วงกลโดยรูปที่ดีงาม กับเสียงเพราะกลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสสบายดี เหมือนลิงติดบ่วงของพรานดักเนื้อ ฯ

      73 กามคุณทั้งหลายประกอบด้วยภัย ประกอบด้วยสงคราม ทำให้มีศัตรู มีโศกมาก มีอันตรายมาก เสมอด้วยคนถือดาบ เหมือนใบไม้มีพิษ พระอารยชนท่านละได้เหมือนละหม้อคูถ ฯ

      74 กามคุณทั้งหลาย ทำให้คิดถึง และมีความโศก ทำให้มืดมน ทำให้เป็นเหตุแห่งภัย เป็นต้นเค้าแห่งความทุกข์เสมอ ทำให้เจริญขึ้นด้วยเถาวัลย์คือ ตฤษณาในภพ ประกอบด้วยภัย ประกอบด้วยสงครามทุกเมื่อ ฯ

      75 คนที่ถูกไฟสุมลุกโพรงขึ้นมา ประกอบด้วยภัย ฉันใด พระอารยชนท่านรู้ว่ากามเหล่านี้ก็ฉันนั้น มันเหมือนหล่มใหญ่ เหมือนคนกระชับดาบ เหมือนคมมีดฉาบน้ำผึ้ง ฯ

      76 นักปราชญ์รู้ว่า กามเหล่านี้เหมือนบ่อน้ำมันเนย เหมือนหม้อคูถ เหมือนหอก เหมือนไข่งู เหมือนสุนัข เหมือนโครงกระดูก ประกอบด้วยภัยเป็นเบื้องหน้า ฯ

      77 อารยชนรู้ว่า กามคุณทั้งหลายเหล่านี้เหมือนดวงจันทร์ในน้ำ เหมือนรูปจำลอง(ไม่ใช่ตัวจริง) เหมือนเสียงฟ้าลั่น เหมือนแสงสว่างแวบเดียว เหมือนโรงละคร และเหมือนความฝัน ฯ

      78 กามคุณทั้งหลายเหล่านี้ ประกอบด้วยขณะ ประกอบด้วยอำนาจ เหมือนเล่นกล เหมือนพยับแดด หลอกหลอน เหมือนฟองต่อมน้ำ ไม่มีจริง ผู้รู้ทั้งหลาย รู้ว่ามันถูกยกขึ้นกำหนดไว้ ฯ

      79 ในวัยแรก มันมีรูป น่ารัก น่าใคร่ รู้กันว่ามันยังเยาว์อยู่ ร่างกายที่ถูกอำนาจทุกข์คือชราพยาธิกำจัดแล้ว ต่างก็พากันหมางเมินเหมือนมฤคเมินต่อห้วยแล้ง ฯ

      80 ผู้ที่มีเงินทอง มีข้าวเปลือกมาก มีกำลังทรัพย์มากถึงจะรู้กันว่าคนนี้ประพฤติเป็นพาล ก็น่ารักน่าใคร่ พอทรัพย์หมด ถึงความทุกข์ยากแล้ว คนทั้งหลายต่างก็หมางเมิน เหมือนเมินต่อป่าร้าง ฯ

      81 คนที่ชอบให้ และทำความยินดี(ให้แก่ผู้อื่น) เหมือนพุ่มไม้ มีดอกและพุ่มไม้มีผล แต่พอหมดทรัพย์ เดือดร้อนด้วยชราทุกข์ กลายเป็นคนขอทาน ทีนี้ไม่มีใครรัก เสมอด้วยแร้ง ฯ

      82 ผู้เป็นใหญ่ มีกำลังทรัพย์ มีรูปงาม มีอินทรีย์น่ารักน่าสมาคม เป็นผู้ทำความยินดี(ให้แก่ผู้อื่น) พอมีความเดือดร้อนเพราะชราพยาธิทุกข์หมดทรัพย์แล้วที่นี้ไม่มีใครรัก เหมือนกับความตายไม่มี่ใครชอบ ฯ

      83 คนถูกชราทำให้แก่ มีวัยอันล่วงเลยแล้ว เหมือนพุ่มไม้ถูกฟ้าผ่า คนที่แก่เพราะชราเหมือนเรือนที่ประกอบด้วยภัย ดูกรพระมุนี โปรดบอกมาเร็วๆถึงวิธีที่จะออกจากชรา ฯ

      84 หมู่ชายหญิงเหี่ยวแห้งเพราะชราเหมือนเถายางทรายยังป่าไม้รังทึบให้แห้งแล้ว ชรานำไปซึ่งความเพียร ความบากบั่นและความว่องไวชราเหมือนคนจมโคลน ฯ

      85 ชรา ทำให้รูปงามกลายเป็นไม่งาม ชรา นำไปซึ่งอำนาจ นำไปซึ่งกำลังและความเข็งแรง นำไปซึ่งความสุขทุกเมื่อ กระทำให้เสื่อม ชราทำให้ตาย ชรานำไปซึ่งน้ำเลี้ยงคือความกระชุ่มกระชวย ฯ

      86 โลกเหมือนมฤคถูกไฟลุกโพลง ประดับแล้วด้วยโรคตั้งหลายร้อยชนิดและด้วยพยาธิทุกข์อันหนาแน่น จงเห็นโลกอันถึงชราพยาธิ พระองค์จงแสดงถึงการออกจากทุกข์โดยเร็วเถิด ฯ

      87 หิมะในฤดูหนาวจำนวนมาก นำเอาน้ำเลี้ยงต้นหญ้า ไม้กอ ไม้ล้มลุกในป่าไป ฉันใด พยาธิ และชราก็นำเอาน้ำเลี้ยงคือความกระชุ่มกระชวยไป ฉันนั้น อินทรีย์รูปร่างและกำลัง(เมื่อพยาธิและชรามาถึงแล้ว) ย่อมเสื่อมไป ฯ

      88 พยาธิกับโรค ย่อมกระทำให้เงินทอง ข้าวเปลือก ทรัพย์สมบัติจำนวนมากหมดสิ้นไป และกระทำความเดือดร้อน กระทำการบั่นทอนกระทำสิ่งที่น่ารักให้เป็นสิ่งที่น่าชัง กระทำความเร่าร้อนเหมือนดวงอาทิตย์ในอากาศ ฯ

      89 การตาย การเคลื่อนที่ การจุติ และการกระทำกาละ เป็นการพรากทรัพย์และบุทคลอันเป็นที่รักทุกเมื่อ การไปแล้วไม่กลับมาอีกก็ดี การไม่ไปอีกก็ดีมันเหมือนใบและผลของพุ่มไม้ และเหมือนกระแสน้ำ

      90 ความตาย กระทำให้สิ่งที่ตกอยู่ในอำนาจ กลายเป็นไร้อำนาจ ความตายย่อมพาไป เหมือนแม่น้ำพาไม้ไป ความตายไม่มีเพื่อน คนตายย่อมไปตามลำพัง ไม่มีเพื่อน  ผลแห่งกรรมของตน จะมีอำนาจพิเศษติดตามไปได้ ฯ

      91 ความตาย ย่อมจับสัตว์มีชีวิตจำนวนหลายร้อย เหมือนเงือกน้ำพาเอกหมู่สัตว์ไป และเหมือนครุฑพาเอานาคไป หรือเหมือนราชสีห์พาเอาช้างไป และเหมือนเปลวไฟพาเอาหญ้าไม้ล้มลุก และหมู่สัตว์ไป ฯ

      92 โลกกระทำหรือตั้งใจ เพื่อจะให้พ้นจากโทษหลายร้อย เช่นนี้พระองค์จงระลึกถึงการประพฤติอุตสาหะครั้งก่อนๆนั้น เวลานี้เป็นกาลของพระองค์เพื่อจะเสด็จอภิเนษกรมณ์ ฯ

      93 หมู่นารีมีความแช่มชื่นยินดี ปลุกพระมหามุนีด้วยดนตรีทั้งหลาย ในกาลใดคำประพันธ์อันวิจิตร ก็ได้เปล่งออกมา ยังพระสุคตให้รู้สำนึกจากเสียงดนตรี ในกาลนั้น ฯ

      94 เสียงดนตรีนั้นทำให้พบกับสิ่งที่ทำไว้ดีแล้วทั้งปวงโดยเร็วว่าอายุกาลของ พระองค์ปรากฏว่า ดำรงอยู่ไม่นานเหลือฟ้าแลบ เวลานี้เป็นสมัยของพระองค์เพื่อเสด็จอภิเนษกรมณ์ประพฤติพรตที่ดีฯ

      95 สังสการทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน เหมือนหม้อดิบ (ยังไม่ได้เผา) รังแต่จะแตกทำลาย เหมือนขอทานเล่นกล  เหมือนบ้านเมืองเต็มไปด้วยฝุ่น อยู่ได้ชั่วคราว ฯ

      96 สังสการเหล่านี้ ได้รับความรบกวนเป็นธรรมดา เหมือนโบกปูนในเวลาฝนตกมันเลือนไปได้ เหมือนลูกคลื่นซัดทราย อาศัยปัจจัยมีสภาพอ่อนแอ ฯ

      97 สังสการทั้งหลายเหมือนเปลวประทีป เกิดเร็วดับเร็วเป็นธรรมดา ไม่มีความมั่นคง อุปมาเหมือนลม ไม่มีแก่นสารเหมือนฟองน้ำอ่อนแอ ฯ

      98 สังสการทั้งหลายไม่มีในโลกนี้ เป็นของศูนย์ พิจารณาเห็นเหมือนท่อกล้วย ทำจิตให้งวยงงเหมือนเล่นกล เหมือนขโมยพูดเบาๆ ฯ

      99 สังสการทั้งหลาย ถึงซึ่งการปรับปรุงทุกอย่างเป็นไปด้วยเหตุและปัจจัยทั้งหลาย อาศัยซึ่งกันและกันเพราะหตุ พาลชนย่อมไม่รู้ข้อนี้ ฯ

      100 อาศัยหญ้ามุญชะ จึงเกิดเป็นบรรณศาลา ขวั้นเชือกต้องใช้กำลังความพยายาม(การกระทำ)เครื่องมือทำหม้อ ย่อมเป็นไปได้ด้วยจักรหมุน ไม่มีอะไรโดยลำพังสิ่งเดียวจะเป็นไปได้ ฯ

      101 อนึ่ง ความเป็นไปแห่งกำเนิดทุกอย่าง ย่อมอาศัยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันของแต่ละอย่าง จะมีในสิ่งเดียวกันทั้งก่อนและหลังไม่ได้ ฯ

      102 เหมือนเมื่อมีพืช จึงแตกหน่อ อันใดเป็นพืช  อันนั้นไม่ใช่หน่อ พืชไม่ใช่หน่อ แต่หน่อนั้นจะไม่แตกจากพืชก็หาไม่ สังสการทั้งหลายมีความขาดสูญอย่างนี้โดยความเป็นสิ่งไม่ยั่งยืนเป็นธรรมดา ฯ

      103 สังสการทั้งหลาย มีอวิทยาเป็นปัจจัย มันไม่มีความเจริญอันถ่องแท้ในสังสการ จริงอยู่สังสการ และอวิทยาเป็นของศูนย์ มันไม่มีในโลกนี้โดยปรกติอย่างเดียวกัน ฯ

      104 มันปรากฏเป็นตัวพิมพ์ถอดจากแม่พิมพ์ พ้นแม่พิมพ์แล้วจะไม่ได้อะไรเลย สังสการจะมีในอวิทยานั้นก็หาไม่ และจะเที่ยงแท้ก็หาไม่สังสการทั้งหลายเที่ยงที่จะขาดศูนย์โดยแท้ ฯ

      105 และเพราะรูปอาศัยจักษุแล้วเกิดจักษุวิชญานขึ้นในที่นี้ รูปไม่ได้อยู่ในจักษุ แต่เมื่อพ้นรูปเสียแล้ว ก็ไม่มีอะไรในจักษุ ฯ

      106 รูปเหล่านี้เป็นไนราตมยะ(อนัตตา) และเป็นอศุภะ(ไม่งาม) แต่กลับไปกำหนดเอาว่า รูปเป็นอาตมาเป็นตัวเป็นตน และศภะตรงกันข้าม ฯ กลับกำหนดเอาสั่งที่ไม่มีให้มีขึ้น จากนั้นจักษุวิชญานก็เกิดขึ้น ฯ

      107 เห็นการดับและแดนเกิดของวิชญาน คือ ทั้งเกิดและทั้งดับแห่งวิชญาน วิชญานไม่มีอนาคตไปไหน เห็นในโยคะว่าวิชญานเป็นสภาพศูนย์เหมือนเล่นกล ฯ

      108 ไม้สีไฟอันล่าง 1 อันบน 1 มือพยายามสี 1 เมื่อรวมกันทั้ง 3 อย่างไฟจึงเกิดขึ้นเพราะปัจจัยอย่างนี้ ความมุ่งหมายอันทำขึ้นแล้วก็พลันดับไปโดยแท้ ฯ

      109 และบัณฑิตบางคนค้นหาว่า  มาในหนทางไหน  หรือไปในหนทางไหนค้นหาในทิศใหญ่น้อยทุกทิศ เขาไม่มีการมา และไม่ได้การไป ฯ

      110 สกันธ ธาตุ อายตนะทั้งหลายเป็นมูลเดิม มีกรรมเป็นปัจจัย คือตฤษณาอวิทยา และเมื่อรวมกันเข้า เป็นการชี้บอกว่าเป็นสัตว์เป็นบุทคล สัตว์บุทคลนั้น ไม่ใช่ปรมารถ (คือไม่ใช่ความหมายขั้นสุดท้าย) ฯ

      111 อักษรทั้งหลาย อาศัยคอ ริมฝีปาก เพดาน ฟัน และลิ้น ไม่ใช่อยู่ที่คอ ไม่ใช่อยู่ที่เพดาน (ที่เดียว) และลำพังแต่อักษรตัวเดียว(ไม่ผสมสระ) ก็ออกเสียงไม่ได้ ฯ

      112 อักษรเหล่านั้น อาศัยการผสมกัน จึงออกเสียงตามอำนาจตัวสะกดเป็นคำพูดได้ ความคิดและคำพูดไม่ปรากฏเป็นรูป สิ่งที่อยู่ภายในย่อมไม่ได้จากสิ่งภายนอก ฯ

      113 บัณฑิตพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของคำพูด เสียงร้องและเสียงดัง และเห็นวาจาทั้งหมดเปรียบเหมือนยอมรับว่าประกอบด้วยกาละและเทศะทุกเมื่อ ฯ

      114 และเหมือนการเล่นดนตรี ต้องถึงพร้อมด้วยองค์ 3 คือ อาศัยเครื่อง อาศัยมือ และอาศัยความพยายาม(การกระทำ) เสียงจึงดังออกมาจากขลุ่ย และกลอง เป็นต้น คือเสียงเกิดจากเครื่องดนตรีเหล่านั้น ฯ

      115 และบัณฑิตบางคน ค้นหาว่าเสียงมาจากไหน หรือจะไปไหนโดยการค้นในทิศใหญ่ทิศน้อยทั้งปวง ก็ยังไม่พบการไปและการมาของเสียง ฯ

      116 สังสการทั้งปวงเป็นไปด้วยเหตุและปัจจัย พระโยคีเห็นสังสการไม่มีในโลกนี้ เป็นสิ่งว่างเปล่าจากการเห็นจริง ฯ

      117 สกันธ อายตนะ ธาตุ ทั้งหลายศูนย์ทั้งภายใน ศูนย์ทั้งภายนอก ศูนย์จากความเป็นสัตว์จากความเป็นตัวตน ปราศจากที่อยู่อาศัยมีลักษณะ เป็นสภาพทรงไว้ มีสภาพเหมือนอากาศ ฯ

      118 ลักษณะแห่งสภาพทรงไว้เช่นนี้ พระองค์ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองตามพระอัธยาศัยเพราะการเห็นพระที่ปังกรพุทธแล้ว พระองค์ยังเทวดาและมนุษย์ให้ตรัสรู้ ฯ

      119 โลกถูกเผาด้วยราคะ โทษะอันกำหนดว่าเป็นความพิปริตและไม่จริงพระผู้เป็นนายกคือผู้นำ ไขน้ำเย็นเสมอด้วยเมฆคือความกรุณาอันเป็นลำธารแห่งน้ำอมฤต ฯ

      120 พระองค์ผู้เป็นบัณฑิต ได้ทำการให้ทานมาแล้วตั้งหลายโกฏิกัลป บรรลุความตรัสรู้อันสูงสุด  ทำการรวบรวมอารยทรัพย์ให้แก่สัตว์ทั้งหลาย ฯ

      121 ผู้มิใช่อารยะ ไม่มีทรัพย์ ยากจน ระลึกถึงความทุกข์ที่เคยผ่านมาแล้วนั้น ดูกรพระองค์ผู้เป็นสารถีฝึกหัดสัตว์ทั้งหลาย ขอพระองค์อย่างเพิกเฉยเสียเลย จงรวบรวมอารยทรัพย์ให้แก่เขาทั้งหลายเหล่านั้น ฯ

      122 พระองค์รักษาศีลเป็นอันดีทุกเมื่อ เพื่อปิดอบายภูมิ จะแสดงสวรรค์และประตูแห่งอมฤตอันสูงสุด แก่สัตว์จำนวนหลายโกฏิ ฯ

      123 พระองค์ระลึกถึงภูมิแห่งนรกที่เคยผ่านมาแล้วนั้น ปิดประตูนรก ไขประตูสวรรค์และนิรวาณ  จงเจริญรุ่งเรืองตามแนวความคิดของผู้มีศีล ฯ

      124 พระองค์รักษากษนติไว้แล้วทุกเมื่อ เพื่อระงับปรติฆะ(ความหงุดหงิดในใจ) และความโกรธต่อสัตว์ทั้งหลาย ยังสัตว์ทั้งหลายผู้แหวกว่ายอยู่ในสมุทร คือภพสงสาร ให้ดำรงอยู่บนบกคือศิวะ(นิรวาณ) อันปราศจากภยันตราย และปราศจากความร้อน ฯ

      125 พระองค์ระลึกถึงอกุศล คือ การจองเวร พยาบาท วิหิงสา(คิดเบียดเบียน) ที่เคยผ่านมาแล้วนั้น ขออย่างเพิกเฉยต่อสัตว์ผู้ประพฤติวิหิงสาเสียเลย จงนังสัตวโลกนี้ให้ดำรงอยู่ในภูมิกษานติเถิด ฯ

      126 พระองค์บำเพ็ญความเพียร เพื่อจะให้มีลมพัดเรือใบคือ ธรรม พาสัตว์โลก ให้ข้ามพ้นจากสมุทรคือภพสงสารให้ดำรงอยู่บนบกคือศิวะอันปราศจากภยันตรายและปราศจากความเร่าร้อน ฯ

      127 พระองค์ระลึกถึงสัตว์โลกที่เป็นดังว่าลุ่มหลงด้วยโอฆะทั้ง 4 (*) พระองค์บากบั่นด้วยกำลังความเพียรรวดเร็วยังสัตว์ทั้งหลายผู้นำตัวเองไม่ได้ ให้ว่ายข้าม พ้นไปได้ ฯ

* โอฆะทั้ง 4 คือ กามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ

      128 พระองค์อบรมปรัชญาที่ได้ทำมาแล้ว ระงับเกลศด้วยธยานด้วยคดว่าจะยังจิตที่มีอินทรีย์พลุกพล่าน มีอินทรีย์สามัญ ให้ตั้งอยู่ในทางของพระอารยะบ้าง ฯ

      129 พระองค์ระลึกถึงความประพฤติที่เคยผ่านมาแล้วนั้นว่า เราเป็นสัตวโลกอย่ายุ่งด้วยข่ายคือเกลศทั้งหลายในโลกนี้เลย ขอพระองค์จงอย่าเพิกเฉยต่อสัตว์ที่ถูกเกลศขยี้ จงยังหมู่สัตว์เหล่านี้ให้ต้งอยู่ธยาไนกาคระ(ธยานมีอารมณ์สุดยอด เป็นอารมณ์เดียว เถิด ฯ

      130 ปรัชญาที่มีอยู่ในพระองค์ ได้อบรมมาก่อนแล้ว เมื่อสัตวโลกถูกห่อหุ้มด้วยความมืดมนอนธการคือโมหะและอวิทยา พระองค์จะให้ทรรศนะอันถูกต้องในจักษุซึ่งจะได้มองเห็นธรรมตั้งหลายร้อย ฯ

      131 พระองค์ระลึกถึงความประพฤติที่เคยผ่านมาแล้วนั้น เมื่อลัตวโลกถูกห่อหุ้มด้วยความมืดมนอนธการคือโมหะและอวิทยา พระองค์จงให้ธรรมจักษุ(ดวงตาเห็นธรรม) อันปราศจากมลทิน ไม่มีเขม่ามัวหมอง ด้วยแสงสว่างอย่างดี คือปรัชญาอันประเสริฐ ฯ

      132 บทประพันธ์ที่เปล่งออกมาเช่นนี้เป็น เสียงบรรเลงดนตรีของนารีทั้งหลาย ซึ่งเมื่อได้ฟังแล้ว ปราศจากความง่วงหงาหาวนอน และจะส่งจิตไปในความตรัสรู้อันดีเลิศดังนี้แล ฯ

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ผู้ประทับอยู่ท่ามกลางภายในพระราชวัง ไม่ว่างเว้น จากการได้ยินธรรมที่ยังไม่เคยได้ยิน ไม่ว่างเว้นจากการพิจารณา ธรรมที่ได้ยินมาแล้ว นั่นเป็นเพราะเหตุใด? ดูกรภิกษุทั้งหลาย จริงอยู่ พระโพธิสัตว์เป็นผู้มีคารวะตลอดเวลานาน และเมื่อธรรมทั้งหลายกำลังพูดกันอยู่ พระองค์ต้องการธรรม ใคร่ในธรรม มีความพอใจ ยินดีในธรรมโดยพระอัธยาศัย พระองค์ไม่อิ่มในการแสวงหาธรรม พระองค์พร้อมที่จะประกาศธรรมตามที่ได้ยินมา พระองค์เป็นเจ้าแห่งการให้ทานธรรมผู้ใหญ่ยิ่ง ไม่มีใครสูงกว่า เป็นผู้แสดงธรรมโดยไม่เห็นแก่อามิษ(เครื่องกัณฑ์) ไม่ตระหนี่ด้วยการให้ทาน ปราศจากความเย่อหยิ่งต่ออาจารย์ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม กล้าในการปฏิบัติธรรม มีธรรมเป็นที่อาศัย มีธรรมเป็นเครื่องป้องกัน มีธรรมป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นที่พึ่งโดยเฉพาะ มีธรรมเป็นที่ปรารถนา ได้ขุมทรัพย์คือธรรมมีกษานติเป็นของขวัญ มีจริตเป็นปรัชญาบารมิตา ถึงซึ่งคติคือความฉลาดในอุบาย(ฉลาดในทรงเจริญ)

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในที่นั้น พระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาเห็นอริยาบถตามความสะดวกของนางสนมกำนัลทั้งปวงด้วยลีลาอันฉลาดในอุบายยิ่งใหญ่ยิ่ง ทรงคล้อยไปตามธรรมดาแห่งกิริยาที่เป็นไปตามโลกของพระโพธิสัตว์ครั้งก่อนๆ ซึ่งพ้นวิษัยแห่งโลกได้แล้ว ทรงทราบเป็นอย่างดีถึงโทษของกามตลอดเวลานาน ทรงเห็นความสุขจากการไม่มีความใคร่เพราะอำนาจสัตว์มีบารมิตาแก่กล้า ทรงเห็นความเป็นใหญ่ในโลกอันไม่มีอะไรเปรียบปาน ด้วยกำลังพิเศษอันมีบุณยสมภารเกิดแต่การสะสมกุศลมูลอันหาประมาณมิได้ทรงพิจารณาเห็นความสุขเกิดจากความยินดีในกามอันล่วงพ้นวิษัยแห่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นที่น่ายินดีน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง ประกอบด้วย รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อันปเป็นสาระวิจิตรด้วยประการต่างๆ อันประเสริฐทรงเห็นจิตของตนเองอยู่ในอำนาจเพราะความยินดีในกามทั้งปวงไม่สิ้นสุดในวิษัยของตนเอง ทรงบ่มสัตว์ทั้งหลายผู้ที่สะสมกุศลมูล ช่วยเหลือกำลังแห่งความตั้งใจแต่ตั้งเดิมด้วยการอยู่ร่วมเสมอกัน ทรงประทับอยู่ท่มกลางภายในบุรีด้วยจิตไม่หม่นหมองด้วยมลทินคือเกลศของโลกทั้งปวง ทรงพิจารณาถึงเวลาสุกงอมแห่งธาตุของสัตว์ทั้งหลายตามที่ได้เชื้อเชิญไว้ ในสมัยนั้นพระโพธิสัตว์ทรงระลึกถึงสัญญาครั้งเดิมนับประมาณมาก และมุ่งหน้าต่อธรรมทั้งหลายของพระพุทธ และทรงสำแดงกำลังแห่งความตังใจให้ปรากฏ และทรงก้าวลงสู่มหากรุณารในสัตว์ทั้งหลาย ทรงคิดถึงความหลุดพ้นของสัตว์ทั้งหลาย ทรงพิจารณาเห็นว่า สมบัติทั้งปวงมีความวิบัติเป็นที่สุด และทรงเห็นโลกว่ามากไปด้วยอุปัทวภัยเป็นอเนก และทรงตัดบ่วงแห่งมารผู้กาลี  ทรงยกพระองค์ให้พ้นจากการจองจำคือวัฏสงสาร ทรงส่งจิตไปในนิรวาณ

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในที่นั้น พระโพธิสัตว์ทรงทราบดีถึงโทษแห่งวัฏสงสารตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงที่สุดนั่นเทียว พระองค์ไม่มีพระประสงค์อันใด ด้วยพระอัธยาศัยอันดียิ่ง พระเองค์ไม่มีพระประสงค์อันใดโดยขึ้นแก่อุปทาน (ความยึดมั่นถือมั่น) ทั้งปวงพระองค์มู่งหน้าต่อธรรมของพระพุทธและนิรวาณ เบือนหน้าหนีจากวัฏสงสารยินดีในธรรมที่เป็นทางความประพฤติของพระตถาคต ไม่สร้างทางที่เป็นความประพฤติอันเป็นวิษัยของมาร มีปรกติเห็นโทษแห่งภพอันลุกโพลง ทรงปรารถนาเพื่อจะรื้อถอน พระองค์จากธาตุทั้งสาม(กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ) มีกุศลเป็นเครื่องรื้อถอนโทษและทุกข์ในวัฏสงสาร ทรงมุ่งหวังเพื่อบรรพชา  ทรงปรารถนาเพื่อเสด็จออกอภิเนษกรมณ์จมพระองค์อยู่ในวิเวก ทุ่มเทพระองค์ลงในวิเวก หนักไปในวิเวกก่อน มุ่งหน้าสู่ป่าน้อย ป่าใหญ่ จำนงต่อความสงบสงัด ทรงปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่พระองค์เองและผู้อื่น ทรงกล้าปฏิบัติไม่มีใครยิ่งกว่า ทรงใคร่ต่อประโยชน์โลก ใคร่ต่อประโยชน์เกื้นกูล ใคร่ต่อความสุข ใคร่ต่อความปราศจากอันตราย ทรงอนุเคราะห์แก่โลก ทรงแสวงหาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ มีปรกติอยู่ด้วยไม่ตรี ทรงประกอบด้วยมหากรุณา ทรงฉลาดในสังครหะวัสตุ มีพระทัยไม่ทุกข์ร้อน ยิ้มแย้มอยู่เสมอ มีกุศลที่จะบ่มและแนะนำสัตว์ทั้งหลาย มีพระหทัยประกอบด้วยความรักในสัตว์ทั้งปวงเหมือนลูกคนเดียว ทรงเสียสละปราศจากความมุงหมาต่อพัสดุทั้งปวง ทรงยินดีในการให้ทาน ประกอบด้วยการบริจาค มีฝ่าพระหัตถ์สะอาด กล้าในการบริจาค ทรงบูชายัชญมาแล้ว มีบุณยมั่งคั่งเป็นอันดี มีบุณยรวบรวมไว้ดีแล้ว มีพระหทัยขัดเกลาแล้ว ปราศจากมลทินไม่มีความตระหนี่ข่มไว้ดีแล้ว ไม่มีใครจะยิ่งกว่า ทรงเป็นเจ้าแห่งมหาทาน และทรงให้ทานแล้วไม่หวังผล ทรงกล้าในการให้ทาน มีพระเกียรติปรากฏในการปราบปรามข้าศึกคือหมู่เกลศที่เป็นตัวศัตรูทั้งปวงมีความอยาก ความมักมาก ความโลภ ความเกลียด ความมัวเมา ความถือตัว ความหลงและความตระหนี่เป็นประธาน ทรงก้าวหน้าเพราะเกี่ยวกับเกิดความคิดในการตรัสรู้มีพระหทัยเป็นไปในมหาปริตยาค ทรงอาบน้ำแต่งพระองค์ตั้งท่าเตรียมพร้อม ทรงอนุเคราะห์แก่โลก ทรงแสวงหาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ มีความเพียรเป็นดังว่าเสื้อเกราะองอาจเหิมฮีกด้วยกำลังแห่งมหากรุณาอันเป็นที่หน่วงเหนี่ยวความรอดพ้นของสัตว์ทั้งหลาย มีจิตสม่ำเสมอในสัตว์ทั้งปวงไม่เปลี่ยนแปลง มีการให้เป็นที่น่ายินดีด้วยการเสียสละ มีความบรรเทิงพระทัยในอัธยาศัยแห่งสัตว์ทั้งหลายตามความปรารถนา ทรงเป็นภาชนะที่รองรับความตรัสรู้ เจาะแจ้งซึ่งธรรมอันยังไม่ได้ขบคิดตามเวลา ตั้งพระหทัยในการน้อมลงสู่ความตรัสรู้ มีธงไม่เอนเอียงทรงชำระมณฑล(หมู่) แห่งสตรีให้สะอาดทรงให้ทานและปริตยาค  มีเครื่องประหารคือชญานอันประเสริฐแข็งเหมือนเพชรทรงปราบปรามข้าศึกคือเกลศได้เป็นอย่างดี ทรงปฏิบัติตามจารีตแห่งคุณคือศีล มีการงานทางกายวาจาใจอันพระองค์ทรงรักษาไว้ด้วยพระองค์เอง ทรงเห็นโทษและภัยแม้มีประมาณน้อย ทรงมีศีลบริศุทธเป็นอย่างดี มีพระหทัยไม่หมองมัว ปราศจากมลทินไม่สกปรก มีพระหทัยไม่หวั่นไหวต่อเสียงเลวทั้งปวง ต่อผู้ที่มาหาเลวๆต่อเสียงคำพูดเลวๆต่อเสียงร้องไห้ คำด่า คำนินทา  หรือคำดูถูก การเฆี่ยนดี คำขู่ตวาด การฆ่า ถูกจับจองจำ ถูกขับไล่และเกลศรอบด้าน ถึงพร้อมด้วยขันติ(ความอดทน) และเสารัมภวะ(ความสงบเสงี่ยม) มีพระหทัยไม่แตกร้าว ไม่เบียดเบียนใคร ไม่พยาบาท มีพระหทัยห่วงใยและปรารภความเพียรเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและต้องการแก่สัตว์ทั้งปวง มีพระเนตรมู่งมองแต่ธรรมที่เป็นกุศลมูลทั้งปวงซี่งพระองค์ได้ยึดมั่นแล้ว มีสมฤติไม่พลั้งเผลอ ตั้งมั่นอยู่ในปรัชญาอันดีงาม มีพระหทัยไม่ฟุ้งซ่าน ทรงกระทำใจในซึ่งธยานเป็นเอกาคร(มีอารมณ์เดียว) ทรงฉลาดในการสะสมธรรม ได้แสงสว่างแล้ว ปราศจากความมืดมนอนธการ มีพระหทัยเจริญในการเห็นว่าตนไม่เที่ยงเป็นทุกข์และไม่งาม ทรงครุ่งคิดบริกรรม (คิดทบทวน) ถึงโพธิปักษาธรรมทั้งหมดซึ่งเป็นความจริงของพระอารยะ คือ สมฤตยุปัสถาน สัมยักปรหาณ ฤทธิบาท  อินทรีย์ พละ โพธยังค และมรรค มีความรู้ใสสะอาดอันเกิดจากศมถะและวิปัศยนา ทรงเห็นความจริงแห่งปรตีตยสมุตปาท ทรงลีลาเยื้องกรายอย่างงามยิ่งด้วยวิโมกษ 3 อัน ไม่มีอะไรเป็นปัจจัย นอกจากตรัสรู้สัตย์ ทรงพิจารณาเห็นธรรมทั้งปวงเป็นเหมือนมายา(เล่นกล)พยับแดด ความฝัน เงาดวงจันทร์ในน้ำ

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ทรงมีปรกติอย่างนี้ คือ คงอยู่สำราญในธรรมอย่างนี้ ทรงอยู่สำราญมีตนอยู่ในคุณธรรมอย่างนี้ ทรงอยู่สำราญด้วยการประกอบประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลายอย่างนี้ พระองค์ได้ถูกตักเตือนด้วยคำเป็นบทประพันธ์อันแผ่ซ่านด้วยการบรรเลงดนตรีอาศัยพระพุทธในทิศทั้ง 10 อันใหญ่ยิ่งด้วยประมาณมาก มุ่งหน้าต่อธรรมที่เป็นประธาน4 อย่าง ซึ่งเป็นการบ่มอินทรีย์นางสนมกำนัลของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายครั้งก่อนๆ  ผู้ถึงภพครั้งสุดท้ายในเวลานั้น ธรรมที่เป็นประธาน 4 อย่างนี้คืออะไร? คือทาน การให้ ปริยวจนะ คำพูดที่น่ารัก อรรถกริยาการทำแต่สิ่งที่มีประโยชน์ สมานารถตา ความมีประโยชน์เสมอกัน และพระโพธิสัตว์ทรงมู่งหน้าต่อธรรมที่เป็นประธานที่ชื่อว่าความบริศุทธอันระบายออกซึ่งกิริยาที่ประกอบสังครหะวัสตุ 4 อย่าง และทรงมุ่งหน้าต่อธรรมที่เป็นประธานที่ชื่อว่าความตั้งใจรองรับเชื้อสายของพระไตรรัตนะ เป็นวิษัยแห่งการไม่เปลี่ยนแปลงอันรับไว้ด้วยกำลังแห่งความตั้งจิตมั่นคงในสรวัชญตา(ความตรัสรู้) อันไม่พินาศอันตรธาน และทรงมู่งหน้าต่อธรรมที่เป็นประธานที่ชื่อว่าการหยั่งลงสู่มหากรุณาแห่งอัธยาศัยในการปริตยาค(เสียสละ) แก่สัตว์ทั้งปวง และทรงมุ่งหน้าต่อธรรมที่เป็นประธานที่ชื่อมหาพยุหะ(กระบวนใหญ่) อันนำมาซึ่งการรวมพิเศษแห่งกำลังของสังสาร คือชญาน(ความรู้) อันนำมาซึ่งประโยชน์ต่างๆในบทแห่งธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งความตรัสรู้ พระโพธิสัตว์มุ่งหน้าต่อธรรม 4 อย่างเหล่านี้ ทรงปรับปรุงทำให้สำเร็จลุล่วงเช่นนั้น ในเวลานั้นเพื่อบ่มอินทรีย์นางสนมกำนัลทั้งปวง ได้มีธรรมที่เป็นประธานตั้งแสน มีรูปเป็นอย่างเดียวกันนี้ ดังออกมาด้วยอานุภาพแห่งพระโพธิสัตว์โดยเสียงเพลงทั้งหลายเหล่านั้น ที่ปรับปรุงขึ้นอันทำให้สำเร็จลุล่วงไปอย่างนี้ นั่นคือ

      133 ด้วยฉันนะ (ความมุ่งหมายอันแรงกล้า) ด้วยอาศยะ(ใจ) ด้วยอัธยาศัย (ความพึงพอใจ) และด้วยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย จิต(ความนึกคิด) ย่อมเกิดขึ้นในความตรัสรู้ชั้นสุดยอดอันประเสริฐ และในเสียงที่บรรเลงดนตรี ย่อมปรากฏเป็นรูปขึ้นมา ฯ

      134 เสียงดังออกมา ทำให้ระลึกถึงศรัทธา ปรสาทะ(ความยินดีอธิมุกติ(ความรอดพ้น) ความเคารพ ความปราศจากการถือตัว  มีใจอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ ทั้งการต่าถาม การแสวงหากึกุศล(นิรวาณ) ฯ

      135 เสียงเป็นไปในการให้ทาน ในทมะ(การข่มอินทรีย์) ในสํยมะ (การอดกลั้น) ในศีล และเสียงแสดงถึงกษานติ(ความอดทน) เสียงแสดงวีรยะ (ความเพียร) เสียงระบายออกซึ่งธยาน และเสียงแสดงสมาธิและเสียงดังออกมาแสดงปรัชญาแห่งอุบาย ฯ

      136 เสียงดังออกมาแสดงความไมตรี กรุณา มุทิตา อุเบกขา อภิชญา เสียงดังออกมาแสดงการบ่มอินทรีย์สัตว์ทั้งหลายด้วยการรวบรวมสังครหะสัสดุทั้ง 4 ฯ

      137 เสียงแสดงประเภทแห่งสมฤตยปัสถาน (การตั้งสติ)และสัมยักปรหาณฤทธิปาท อินทรีย์ 5ประเภทแห่งพละ5 โพธยังค เสียงดัง ออกมาพร้อมเสียงดนตรี ฯ

      138 เสียงแสดงประเภทแห่งมรรคประกอบด้วยองค์  8 และเสียงแสดงศมถะและวิปัศยนา เสียงแสดงความไม่เที่ยง ความเดือดร้อนด้วยทุกข์ความเป็นตัวตนเสียงดังออกมาพร้อมเสียงดนตรี แสดงความเดือดร้อนด้วยอศุภ (ความไม่งาม) ฯ

      139 เสียงแสดงถึงวิราคธรรม(ธรรมที่ปราศจากความกำหนัด) เสียงแสดงถึงวิเวก เสียงแสดงถึงกษยชญาน (ความรู้ในการสิ้นไปแห่งตัณหา) เสียงแสดงถึงอนุตบาท(ความไม่เกิด) และเสียงแสดงถึงอนิโรธ (ความไม่ดับ) และแสดงถึงอนาลย (ความไม่มีอยู่) เสียงดังออกมาพร้อมคนตรัสแสดงถึงนิรวาณ ฯ

      140 เสียงดังออกมาพร้อมเสียงดนตรีอย่างนี้ เป็นอานุภาพแห่งความตรัสรู้ซึ่งหญิงสาวได้ฟังแล้ว ศีกษาแล้ว ย่อมตั้งอยู่ในความตรัสรู้อันเป็นความมีจริงยอดเยี่ยม ฯ

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ผู้ประทับอยู่ท่ามกลางนางสนมกำนัลทั้งหลายได้ทรงอบรมบ่มอินทรีย์ในอนุตตรสัมยักสัมโพธิแก่สตรีเหล่านั้นประมาณ 84000และเทวดาทั้งหลายประมาณหลายแสนซึ่งมาประชุมกันอยู่ในที่นั้น

      อนึ่ง ในสมัยที่เป็นกาลออกอภิเนษกรมณ์แห่งพระโพธิสัตว์ เทวบุตรตนหนึ่งอยู่ในชั้นดุษิตชื่อหรีเทพ เทวบุตรตนนั้นแวดล้อมด้วยเทวบุตร 32000 ตน นำหน้าเข้าไปเฝ้ายังปราสาทใกล้ชิดพระโพธิสัตว์เพื่ออนุตตรสัมยักสัมโพธิในราตรีอันสงัดเงียบ ครั้นแล้ว ทั้งๆที่อยู่บนพื้นอากาศนั่นเอง ได้กล่าวด้วยคำเป็นบทประพันธ์กับพระโพธิสัตว์ว่า

      141 ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษสีหะ การจุติพระองค์ก็แสดงแล้วและการบังเกิดอันสูงศักดิ์พระองค์ก็แสดงแล้ว พระองค์ยังแสดงความประพฤติที่ได้ทำมาเป็นลำดับในโลกแก่นางสนมกำนัล ฯ

      142 เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก  พระองค์ก็ได้ทรงบ่มอินทรีย์มาแล้ว ต่างก็ได้บรรลุถึงซึงธรรม วันนี้ขอให้เป็นกาลสมัยในการเสด็จอภิเนษกรมณ์เถิด ฯ

      143 พระองค์ไม่แก้สิ่งที่ผูกแล้ว และไม่ชี้ทางแก่คนตาบอด แต่แก้สิ่งที่หลุดได้ ชี้ทางแก่คนตาดี ฯ

      144 สัตว์เหล่าใด ตกเป็นทาสของกาม มีความใคร่ในบ้านเรือนทรัพย์สมบัติ บุตร ภรรยา สัตว์เหล่านั้น กำลังศึกษาจากพระองค์ พึงกระทำความปรารถนาในความเห็นในการออกอภิเนษกรมณ์ ฯ

      145 โลกพร้อมทั้งมนุษย์ และเทวดารู้จักพระองค์แล้ว ย่อมละความเป็นใหญ่ ความเล่นละเลิงในกาม ทวีปทั้ง 4 และรัตนะทั้ง 7 พากันออกอภิเนษกรมณ์ ฯ

      146 ถึงแม้ว่า พระองค์ยังทรงพระสำราญด้วยความสุขในธยานยังไม่ทรงยินดีด้วยธรรม แต่ทรงยินดีในกามก็จริง พระองค์ก็ได้ทรงปลุกเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายหลายร้อยให้ตื่นจากหลับมานาน ฯ

      147 วัยรุ่นนี้ ตกไปแล้ว เหมือนกำลังเร็วของฟ้าแลบที่ตกลงบนภูเขาหรือในแม่น้ำ ผู้ที่มีวัยล่วงเลยไปแล้ว(แก่เสียแล้ว) ถึงจะคิดออกอภิเนษกรมณ์ก็ย่อมไม่งาม ฯ

      148 นั่นเป็นการดีแล้ว พระองค์จงเสด้จอภิเนษกรมณ์ในวัยรุ่นอันประเสริฐซึ่งเป็นปฐมวัยมีรูปยังเป็นหนุ่มอยู่ พระองค์จงก้าวข้ามความสงสัยเพื่อประโยชน์แก่หมู่เทพยดาทั้งหลาย ฯ

      149 ความอิ่มในการยินดีต่อกามคุณ ย่อมไม่มี เหมือนมหาสมุทรไม่อิ่มน้ำเขาเหล่านั้นซึ่งมีปรัชญาอิ่มแล้ว เป็นอารยะชนสูงกว่าใครๆ ในโลก ปราศจากธุลีคือเกลศ ฯ

      150 ในที่นี้พระองค์เป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของพระราชาศุทโธทนะ และขอราษฎรมีพระพักตร์งามเหมือนดอกบัว ขอจงคิดถึงความเห็นในการเสด็จอภิเนษกรมณ์ ฯ

      151 สัตว์ที่เร่าร้อนด้วยเครื่องเผาผลาญคือเกลศ ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูกพันอันมั่นแก้ไม่หลุด ข้าแต่พระองค์ผู้มีความกล้าไม่มีตัวจับขอพระองค์จงยังเขาเหล่านั้นให้ตั้งอยู่ในทางปลดเปลื้องได้โดยเร็วซึ่งเป็นทรงสงบฯ

      152 สัตว์เป็นโรคเดือดร้อนมานาน พระองค์เป็นหมอผู้ฉลาดในธาตุทั้งหลายจงยังเขาให้ตั้งอยู่ในความสุขสบายคือนิรวาณด้วยการประกอบยาคือธรรมโดยพลันเถิด ฯ

      153 สัตว์ทั้งหลายไม่มีนัยน์ตา เป็นผู้มืดอย่างที่สุด ถึงมีนัยน์ตาก็เกลือกกลั้วไปด้วยโมหะ(ความหลงงมงาย)ถูกข่ายคือเกลศมัดไว้แล้ว ขอ พระองค์จงชำระจักษุของมนุษย์ และเทวดาทั้งหลายด้วยแสงประทีปคือปรัชญาโดยเร็วเถิด ฯ

      154 เทวดา อสูร นาค ยักษ์ คนธรรพ์ ทั้งหลายเป็นอันมากต่างคอยจ้องดูการบรรลุโพธิสูงสุดไม่มีอะไรเที่ยมเท่าแล้วจะฟังธรรม ฯ

      155 และพระยานาคผู้ถือการนอนเป็นพรตก็จ้องดูการสำเร็จอันพระองค์ได้ตรัสออกไปแล้วในความสัมฤทธิ์ผลของพระองค์ เขาจะทำการบูชาไม่สิ้นสุดพร้อมด้วยชาวบุรีของเขา ฯ

      156 โลกบาลทั้ง 4 พร้อมทั้งกองทัพ เขาเหล่านั้นคอยจ้องดูพระองค์ ด้วยคิดว่าจะถวายบาตร 4 ใบแก่พระองค์ผู้ตรัสรู้แล้วที่ต้นโพธิ ฯ

      157 พรหม ผู้มีความประพฤติสงบเสงี่ยม มีวาจาประกอบด้วยไมตรี และมีกรุณา ก็คอยจ้องดูเพื่อคอยอาราธนาพระองค์ผู้เป็นใหญ่แก่คนทั้งหลายยังจักร(คือธรรม)ให้หมุนเป็นไปอันไม่มีอะไรสูงกว่า ฯ

      158 และเทวดาทั้งหลาย แม้มีบารมิตาแก่กล้าควรแก่การตรัสรู้กิจะได้แวดล้อมมณฑลแห่งต้นโพธิ ปรารถนาจะให้พระองค์ตรัสรู้โพธิด้วยคิดว่าสัตยธรรม(อริยสัจจ)นี้ จะเกิดขึ้นแล้ว ฯ

      159 จริงอยู่ พระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมแสดงสัตยธรรมกระทำภายในบุรี แต่พระองค์จงถึงก่อน อย่าถึงภายหลังพระโพธิสัตว์เหล่านั้นเลย ฯ

      160 ขอพระองค์จงระลึกถึงคำพยากรณ์ของพระพุทธทีปังกรด้วยน้ำเสียงไพเราะมีกังวาลไพเราะ ขอพระองค์จงเป็นจริงดังนั้นอย่าได้คลาดจงเปล่งเสียงกังวาลอย่างพระชินเถิด ฯ

อัธยายที่ 13ชื่อสัญโจทนาปริวรรต(ว่าด้วยการเตือน)ในคัมภีร์ศรีลลิตวิสตร ดั่งนี้แล ฯ

 

14 ฝัน

 

อัธยายที่ 14

สฺวปฺนปริวรฺต  ศฺจตุรฺทศะ

ชื่อสวัปนปริวรรต(ว่าด้วยฝัน)

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์อันเทวบุตรผู้นั้นตักเตือนแล้ว จึงทรงเล่าความฝันนี้แก่พระราชศุทโธทนะ ซึ่งพระราชศุทโธทนะทรงบรรทมหลับแล้ว ก็ได้ทรงฝันไปในระหว่างหลับเหมือนกันว่า พระโพธิสัตว์แวดล้อมด้วยหมู่เทวดาเสด็จอภิเนษกรมณ์ในราตรีอันสงัด และฝันเห็นว่า เมื่อพระโพธิสัตว์เสด็จอภิเนษกรมณ์แล้วก็ได้บรรพชานุ่งห่มด้วยผ้าย้อมน้ำฝาด พระองค์ตื่นบรรทมแล้ว ทรงรีบรุดตรัสถามกรมวังว่า กุมารอยู่ในวังหรือเปล่า? กรมวังทุลว่า อยู่ พะยะค่ะ

      ครั้นแล้ว ลูกศรคือความโศก ได้เสียบแทงพระหทัยของพระราชศุทโธทนะภายในบุรีว่า กุมารนี้ จักเสด็จอภิเนษกรมณ์ ซึ่งบุรพนิมิตเหล่านี้ปรากฏแล้ว

      พระองค์ทรงปริวิตกอย่างนี้ว่า จะต้องมีกฎเด็ดขาดว่ากุมารต้องไม่ออกไปสู่สถานที่อุทยานไม่ว่าเวลาไหน กุมารยินดีอยู่ในท่ามกลางหมู่สตรีทั้งหลาย รื่นรมย์อยู่ในที่นี้โดยแท้ กุมารจะได้ไม่เสด็จอภิเนษกรมณ์

      ครั้นแล้วพระราชศุทโธทนะ โปรดให้สร้างปราสาท 3 องค์เป็นไปตามฤดูเพื่อพระกุมารประทับอยู่ คือปราสาทสำหรับฤดูร้อน ปราสาทสำหรับฤดูฝน และปราสาทสำหรับฤดูหนาวมีความอบอุ่นตามธรรมชาติ ปราสาทแต่ละองค์มีบันไดใช้บุรุษ 500 คน ยกขึ้นยกลง เมื่อบุรุษทั้งหลายเหล่านั้นยกขึ้นยกลงอยู่เช่นนั้น เสียงได้ยินไปไกลถึงกึ่งโยชน์(8กม.) ว่าพระกุมารยังไม่ได้อภิชญา อย่าเสด็จอภิเนษกรมณ์เลย และโหรผู้คงแก่เรียนทั้งหลายทำนายว่า พระกุมารจะเสด็จอภิเนษกรมณ์ทางประตูมงคล ดังนั้น พระราชาโปรดให้ทำบานประตูใหญ่สำหรับประตูมงคล บานประตูแต่ละข้างใช้บุรุษ 500 เปิดปิด เมื่อบุรุษ 500 คนเป็ดปิดประตูนั้น เสียงไปไกลถึงกึ่งประโยชน์ และเสียงนั้น ยังประมวลมาซึ่งกามคุณทั้ง 5 เช่นนั้นก่พระกุมาร หญิงสาวทั้งหลายขับร้อง ฟ้อนรำ บำเรอพระกุมารอยู่ที่นั่นตลอดกาลทีเดียว

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ตรัสกับสารถีว่า แนะสารถีเร็วเข้าจงจัดรถ เราจะไปสถานที่อุทยาน ครั้นแล้ว สารถีเข้าเฝ้าพระราชศุทโธทนะทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ พระกุมารจะเสด็จสู่สถานที่อุทยาน

      ครั้งนั้น พระราชศุทโธทนะทรงปริวิตกว่า เราไม่เคยอนุญาตให้กุมารออกไปสู่สถานที่อุทยานเพื่อชมภูมิประเทศอันงามไม่ว่าเวลาไหน อย่ากระนั้นเลย เราจะอนุญาตให้กุมารออกไปสู่สถานที่อุทยาน ครั้นแล้ว กุมารก็จะถูกแวดล้อมด้วยหมู่สตรีจะอยู่ด้วยความยินดีจะไม่เสด็จอภิเนษกรมณ์

      ดังนั้น พระราชศุทโธทนะ โปรดให้ตีระฆังประกาศทั่วพระนครด้วยความรักและความนับถือพระโพธิสัตว์มากว่า  ในวันที่ 7 กุมารจะออกไปสู่สถานที่อุทยาน (เพื่อชมภูมิประเทศอันงาม) สิ่งที่ไม่เจริญใจ (ของน่าเกลียด) ทั้งปวงในที่นั้น) ท่านทั้งหลายต้องนำออกไปเสียอย่าให้กุมารเห็นสิ่งปติกูล(สิ่งสกปรก) และสิ่งที่เจริญใจทั้งปวง เป็นอารมณ์ที่น่ารื่นรมย์ ท่านทั้งหลายต้องนำมาไว้

      ครั้นถึงวันที่ 7พระนครก็ได้ถูกตกแต่งทั่ว สถานที่อุทยานถูกตกแต่งให้งดงามดาดเพดานด้วยผ้าสีต่างๆ ประดับประดาด้วยฉัตร ธงชัย ธงปตาก หนทางที่พระโพธิสัตว์จะเสด็จออกไป ได้รดน้ำ ปราบพื้นเรียบ และราดด้วยน้ำหอม โรยไข่มุกและดอกไม้ ตั้งหม้อเผาเครื่องหอมมีกลิ่นหอมต่างๆงามด้วยหม้อใส่น้ำเต็ม ยกตั้งต้นกล้วยและต้นไม้แผ่เป็นพืดไปด้วยเพดานสีงามต่างๆ มีข่ายลูกพรวนแก้ว และห้อยพวงไขมุกเต็มพวงและกึ่งพวงสลับกัน จัดขบวนจตุรงคเสนาห้อมล้อมเพื่อประดับภายในบุรีของพระกุมาร ครั้งนั้น เทพเจ้าชั้นศุทธาวาสคอยจ้องเพื่อนำพระโพธิสัตว์มา เมื่อพระโพธิสัตว์เสด็จออกไปสู่สถานอุทยาน ทางประตูพระนครด้านทิศตะวันออก พร้อมด้วยขบวนหมู่ใหญ่ ณ ที่นั้น ครั้งนั้นด้วยอานุภาพแห่งพระโพธิสัตว์ ในหนทางนั้น เทพชั้นศุทธาวาส แสดงเป็นชายชราแก่หง่อม ร่างกายมีเส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง ฟังหลุด ร่างกายมีเนื้อหนังย่นเป็นกลีบ ผมหงอกหลังโกง กายคดค้อมเห็นซี่โครง ร่างกายเป็นรอยริ้วถือไม้เท้า ยันไว้ข้างหน้า ร้อนรนล่วงเลยวัยแล้ว คอฝีดมีเสียงดังครืดครืด มีกายหนักไปข้างหน้าต้องใช้ไม้เท้ายันไว้ ร่างกายสั่นเทิ้ม พร้อมด้วยอวัยวะใหญ่น้อยทั้งปวงให้ปรากฏเบื้องหน้าแห่งหนทาง

      ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ทรงทราบแล้ว ได้ตรัสกับสารถีว่า

      1 ดูกรสารถี ชายทุรพล เรียวแรงน้อย เนื้อและเลือดเหี่ยวแห้ง มีหนังและเอ็นห่อหุ้มไว้ ศีรษะขาวโพลน ฟันซี่ห่าง มีรูปอวัยวะผ่ายผอมเดินยันด้วยไม้เท้าย่างไม่สะดวก พลั้งๆพลาดๆเขาเป็นอะไร? ฯ

สารถีทูลว่า

      2 ชายคนนั้นนั่นแหละ ทูลกระหม่อม ถูกชราครอบงำ มีอินทรีย์เสื่อมสิ้นแล้วมีความทุกข์อย่างยิ่ง เสื่อมกำลังและความเพียร ญาติพี่น้องดูถูกเหยียดหยาม เป็นคนอนาถา ไม่มีความสามารถในกิจการ เขาถูกทอดทิ้งเหมือนท่อนไม้ในป่า ฯ

พระโพธิสัตว์ตรัสว่า

      3 คนชรานี้นั้น เป็นธรรมเนียมประจำตระกูลหรือ จงบอกเราไปตามควรหรือว่า เขาเป็นกันอย่างนี้ทั่วโลก บอกคำนั้นมาเร็วๆตามความเป็นจริง เราได้ยินเนื้อความอย่างนั้นแล้ว จะได้คิดพิจารณาเหตุผลในที่นี้ ฯ

สารถีทูลว่า

      4 ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ นั่นไม่ใช่ธรรมเนียมประจำตระกูล ไม่ใช่ธรรมเนียมประจำตัวราษฎร ความชราชนะวัยรุ่นของคนทั่วโลกถึงพระองค์ก็เช่นเดียวกัน พระชนนี พระชนก หมู่พระวงศาคณาญาติก็ไม่พ้นไปจากชราได้ ทางไปอย่างอื่นของคนไม่มีเลย ฯ

พระโพธิสัตว์ตรัสว่า

      5 ทุด ! สารถี ความรู้ของคนโง่ก็คือความไม่รู้ ซึ่งเขาประมาทมัวเมาด้วยวัยรุ่นมองไม่เห็นความชรา กลับรูของเราเถิด เราจะเข้าบุรีอีก เราซึ่งมีชราอาศัยอยู่ จะมีประโยชน์อะไรด้วยความยินดีในการเล่น ฯ

      ครั้นแล้วพระโพธิสัตว์ก็กลับรถอันประเสริฐเสด็จเข้าสู่บุรีอีก     

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ครั้นต่อมาสมัยอื่นพระโพธิสัตว์เสด็จออกไปสู่สถานที่อุทยานทางประตูพระนครด้านทิศใต้ พร้อมด้วยขบวนหมู่ใหญ่ พระองค์ได้เห็นคนคนหนึ่งมีพยาธิครอบงำอยู่ในหนทาง ไฟธาตุแตก ร่างกายหมดกำลังจมอยู่ในปัสสวะอุจจาระของตนเอง ไม่มีที่ป้องกัน ไม่มีที่พึ่ง ถ่ายอุจจาระปัสสวะด้วยความลำบาก พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นเข้าอีก ทรงทราบแล้ว ได้ตรัสถามสารถีว่า

      6 ดูกรสารถี คนมีร่างกายบอบบางผิวพรรณผิดปกติ มีอินทรีย์ ไม่สมประกอบ ถ่ายมาก อวัยวะทั้งปวงเหือดแห้ง ท้องไส้ปั่นป่วน ถึงความเจ็บปวด อยู่ในปัสสวะ อุจจาระของตนเอง น่ารังเกียจ เขาเป็นใคร

สารถีทูลว่า

      7 คนนั้นแหละ ทูลกระหม่อม เขาเป็นคนป่วยหนัก เขาไปใกล้ภัยคือพยาธิ จะถึงความตายเป็นที่สุด ปราศจากอำนาจคือความไม่มีโรค ปราศจากกำลังเรี่ยวแรงไม่มีที่ป้องกัน ไม่มีเกาะเป็นที่พึ่ง และไม่มีอนาคต ฯ

พระโพธิสัตว์ตรัสว่า

      8 ความไม่มีโรค เป็นเหมือนเล่นสนุกในความฝัน ภัยคือพยาธินี้ร้ายแรงเช่นนี้ นักปราชญ์ใดเล่า  เมื่อเห็นอย่างนี้แล้ว จะเกิดความยินดีในการเล่นอันมีอยู่หรือจะเกิดความเข้าใจว่าสวยงาม ฯ

      ครั้งนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์กลับรถอันประเสริฐเข้าสู่บุรีอีก

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์เสด็จออกจากพระนคร ไปสู่สถานอุทยานทางประตูด้านทิศตะวันตก โดยกาลสมัยอื่นพร้อมด้วยขบวนหมู่ใหญ่ พระองค์ได้เห็นคนตาย กระทำกาลกิริยาแล้ว เขายกไว้บนแคร่ เอาผ้าดาดเป็นเพดาน มีหมู่ญาติพี่น้องแวดล้อม ทุกคนร้องไห้น้ำตาตก ร่ำไรรำพัน เดินตามไปเบื้องหลังด้วยการสยายผม ศีรษะคลุกฝุ่น ดีอก ส่งเสียงร้องดังๆ พระโพธิสัตว์ครั้นทอดพระเนตรเห็นเข้าอีกแล้ว ทรงทราบแล้ว ได้ตรัสถามสารถีว่า

      9 ดูกรสารถี คนที่เขาหามไปบนแคร่มีผมและเล็บตั้งขึ้น คนทั้งหลายซัดฝุ่นไปยังร่าง แวดล้อมตีอกอยู่ เปล่งคำพล่ำเพ้อรำพันต่างๆเขาเป็นอะไร ฯ

สารถีทูลว่า

       10 คนนั้นแหละ ทูลกระหม่อม เขาตายแล้ว ในชมพูทวีป เขาจะไม่เห็นมารดาบิดาบุตรภรรยาอีก และเขาจะไม่ละโภคสมบัติบ้านเรือน(มารดาบิดา) และหมู่มิตรญาติพี่น้องหาได้ไม่ เขาถึงปรโลกแล้วจะไม่เห็นญาติพี่น้องอีกเลย ฯ

พระโพธิสัตว์ตรัสว่า

      11 ทุด ! วัยรุ่น ถูกชราหลอมให้ละลายไปหมดแล้ว ทุด ! ความไม่มีโรค ถูกพยาธิต่างๆบั่นทอนแล้ว ทุด ! ชีวิต ถึงจะเป็นนักปราชญ์ก็อยู่ได้ไม่นาย ทุด ! ความประสงค์ในความใคร่ของคนที่เป็นบัณฑิต ฯ

      12 ทว่าความชราไม่มี พยาธิไม่มี ความตายก็ย่อมไม่มี ถึงกระนั้นก็ยังมีความทุกข์ใหญ่อยู่อีก คือต้องแบกขันธ์ 5 ไว้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงชรา พยาธิ มรณะ ซึ่งคอยติดตามอยู่เสมอ เราควรกลับใจ คิดถึงแต่ความรอดพ้นดีกว่า ฯ

      ครั้นแล้วแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ก็กลับรถอันประเสริฐนั้นเสด็จเข้าสู่บุรีอีก

      กระนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์เสด็จออกจากพระนครไปสู่สถานที่อุทยาน ท่างประตูทิศเหนือ โดยกาลสมัยอื่น เทวบุตรทั้งหลาย เหล่านั้น ก็นิรมิตเป็นพระภิกษุในหนทางนั้น ด้วยอานุภาพแห่งพระโพธิสัตว์นั้นเอง พระโพธิสัตว์ทรงทอดพระเนตรเห็นพระภิกษุนั้น ผู้มีอินทรีย์สงบ มีอินทรีย์ฝึกหัดแล้ว มีอินทรีย์สำรวม แล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ มีจักษุไม่สอดส่าย มองดูชั่วแอกเกวียน ผ่องใสด้วยอิริยาบถน่าเลื่อมใส ผ่องใสด้วยการก้าวหน้าและถอยหลังน่าเลื่อมใส จะมองลงหรือมองไปรอบๆก็น่าเลื่อมใส จะเหยียดหรือจะหดอวัยวะก็น่าเลื่อมใส ครองสังฆาฏิ บาตรและจีวรน่าเลื่อมใส ยืนอยู่ในหนทาง พระโพธิสัตว์ครั้นทอดพระเนตรเห็นแล้วทรงทราบแล้ว ได้ตรัสกับสารถีอีกว่า

      13 ดูกรสารถี ผู้ที่มีจิตสงบระงับ ไม่มีจักษุช้อนขึ้น ถึงการมองชั่วแอกเกวียน นุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาด มีความประพฤติเรียบร้อยสงบเสงี่ยม ถือบาตรและไม่ฟุ้งซ่าน หรือลำพอง เขาเป็นใคร ฯ

สารถีทูลว่า

      14 บุรุษผู้นั้นแหละ ทูกกระหม่อม ชื่อว่า พระภิกษุ ท่านละความใคร่ในกาม ประพฤติอ่อนโยนดี ถึงซึ่งบรรพชา แสวงหาตนอันสงบปราศจากความยินดียินร้าย อาศัยเลี้ยงชีพด้วยการประพฤติบิณฑบาต ฯ

พระโพธิสัตว์ตรัสว่า

      15 สาธุ คำที่ท่านพูดนี้ เป็นที่ถูกใจเรา ขึ้นชื่อว่าบรรพชา นักปราชญ์ทั้งหลายสรรเสริญเสมอ เพราะเป็นประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น เป็นชีวิตที่มีความสุข และเป็นเหมือนผลไม้ทั้งอร่อยและทั้งเป็นอมฤต ฯ

      ครั้นแล้วแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ก็กลับรถอันประเสริฐนั้นเสด็จเข้าสู่บุรีอีก

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชาศุทโธทนะทรงเห็นและทรงได้ยินว่าสภาพอย่างนี้ได้ตักเตือนพระโพธิสัตว์ พระองค์โปรดให้สร้างกำแพงมีขนาดใหญ่และโปรดให้ขุดคูเมือง และโปรดให้ทำประตูมั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันรักษาพระโพธิสัตว์แล้วทรงแต่งตั้งคนดูแลรักษาไว้  ทรงกำชับพวกทหารให้ตระเตรียมพาหนะไว้ และให้สวมเสื้อเกราะไว้ โปรดให้ตั้งขบวนทหารกองใหญ่ขึ้น 4 กอง ประจำที่ประตูและทาง แยกทั้ง 4 แห่ง เพื่อป้องกันรักษาพระโพธิสัตว์ เพื่อให้ข้าราชบริพารทั้งหลายรักษาพระโพธิสัตว์นั้น ตลอดคืนตลอดวันว่า อย่าให้พระโพธิสัตว์เสด็จอภิเนษกรมณ์ และทรงออกคำสั่งภายในพระราชวังว่า อย่าให้ขาดการบรรเลงดนตรีเลย ควรให้มีการสนุกสนานรื่นเริงกันตลอดรุ่ง และจงแสดงชั้นเชิงของสตรีผูกกุมารไว้อย่างที่จะมีใจกำหนัดยินดี ไม่ให้กุมารออกไปบรรพชา

      ในข้อนี้ท่านกล่าวไว้ว่า

      16 พระราชาศุทโธทนะทรงแต่งตั้งบุรุษมือถือดาบและอาวุธและทหารช้างทหารม้าทหารรถ และทหารสวมเสื้อเกราะขี่ช้างที่มีกำลังไว้ที่ประตู มีคู เครื่องซัด (ขีปนาวุธ) มีซุ้มประตู และโปรดให้ก่อกำแพงใหญ่  ประตูลงกลอนทำการขันชะเนาะไว้มั่นคง เวลาปิดเปิดเสียงดังไกลไปตั้งโกรศ (1000วา)

      17 หมู่ศากยทั้งปวง ไม่นิ่งนอนใจ พากันป้องกันรักษาตลอดคืนตลอดวัน และเสียงผลนิกายจำนวนมากนั้น กึกก้องได้ยินไปไกล ชาวพระนครก็มีใจระแวง มีใจสะดุ้งกลัวด้วยปรารถนาว่า ขออย่าให้พระกุมารผู้กล้าหาญเสด็จไปเลย ขอให้ศากยวงศ์นี้ อย่าขาดสูญเพราะการเสด็จไปของพระกุมารผู้ทรงอุบัติในศากยตระกูลเลย ฯ

      18 และพวกวัยรุ่นถูกบังคับว่า ให้บรรเลงดนตรีตลอดไป อย่างดเสียเลย และให้ยึดที่มั่นอย่างที่จะผูกใจพระกุมารด้วยการยินดีในการเล่นหรือใสตรีแสดงสตรีมายาด้วยประการต่างๆเป็นอันมาก อันเป็นทีน่าปรารถนายิ่ง จงกระทำการป้องกันรักษา อย่าให้เกิดอันตรายคืออย่าให้พระกุมารผู้กล้าหาญเสด็จไป ฯ

      19 ในเวลาที่พระองค์จะเสด็จออกไป นิรมิตเหล่านี้ได้เกิดขึ้นแก่สารถีก่อน คือ หงศ์ นกกระเรียน นกยูง นกสาลิกา นกแก้ว นกเหล่านั้นไม่ส่งเสียง ที่ปราสาท หน้าต่าง ซุ้มประตูอันประเสริฐ และที่เตียงใหญ่ไม่มีลมพัด คนทั้งหลายมีลิ้นกระด้าง เศร้าใจยิ่ง ไม่มีความสุข ต่างนั่งคอตก ซบเซา ฯ

      20 บัวขาว บัวหลวงในสระบัวที่งาม กลับเหี่ยว และร่วงโรย ต้นไม้ที่เขียวชอุ่ม กลับแห้งแล้ง ปราศจากดอก ไม่ผลิดอกอีกต่อไป  พิณใหญ่ พิณน้อย ขลุ่ย เครื่องดนตรีอันงาม ก็หยุดลงทันทีในครั้งนั้น กลองใหญ่ กลองเล็ก ที่ใช้มือตี ถูกตีแล้วก็ไม่ดัง ฯ

      21 พระนครนั้น ได้เกิดความระแวงทั่วไป ทีแต่ซบเซาหาวนอนเป็นอันมาก ไม่มีใครฟ้อนรำ ทำเพลง ไม่มีใครมีใจรื่นเริงยินดีต่อไปอีก แม้พระราชาผู้มีพระหทัยหนักแน่นที่สุด ก็ยังทรงพระวิตก ซบเซาว่า โธ่ โธ่ ศากยตระกูล มั่งคั่ง กว้างขวาง อย่าต้องลุกเป็นไฟเลย ฯ

      22 เมื่ออยู่ในที่นอนเดียวกัน คือพระนางโคปาและองค์กษัตริย์ได้ประทับอยู่แล้ว พระนางโคปาได้ฝันเห็นในเวลากลางคืนกึ่งราตรีว่า แผ่นดินนี้ได้ไหวไปทั่วพร้อมทั้งยอดภูเขา ต้นไม้ถูกลมพัดล้มลงกับพื้นดิน แล้วกลับเอาโคลนชี้ขึ้นข้างบน ฯ

      23 ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ตกจากฟ้าลงมายังแผ่นดินพร้อมทั้งมีดาวประดับอยู่ และเห็นเส้นผมถูกตัดด้วยพระหัตถ์เบื้องขวา พระมกุฎถูกทำลาย แล้วพระกรทั้งสองและพระบาททั้งสองถูกตัดขาด เองเปล่าเปลือย และเห็นพระองค์มีสร้อยมุกดาหารและเข็มขัดแก้วมณี ถูกตัดขาด ฯ

      24 เห็นเท้าทั้ง4 ของพระแท่นถูกตัดขาด พระองค์บรรทมอยู่ขนพื้นดิน  คันฉัตรมีลวดลาย งามโสภา เห็นถูกตัดขาดอยู่ที่แผ่นดิน เครื่องประดับทั้งปวงเหล่านั้นซึ่งทำให้ลุ่มหลงเหมือนหลุมพลางสำหรับดักช้างก็ตกกระจัดกระจายเครื่องประดับของพระสวามี พร้อมทั้งพระภูษาและพระมกุฎตกอยู่บนพระแท่นบรรทม น่าอัศจรรย์ใจ ฯ

      25 เห็นอุกกาบาตออกไปจากพระนคร พระนครก็ถูกครอบงำด้วยความมืด เห็นในฝันว่า ข่ายแก้วอันงามถูกตัดขาด สร้อยมุกดาหารตกลงมาห้อยอยู่โตงเตง มหาสมุทรกำเริบ (มีคลื่นจัด) เห็นภูเขาเมรุไหวหวั่นจากสถานที่ในครั้งนั้นฯ

      26 ได้เห็นศากยกันยาเป็นเช่นนั้นในระหว่างความฝันของผู้หลับพระนางครั้นฝันเห็นแล้ว และตื่นขึ้นมา มีนัยน์ตาร้องไห้ ได้ทูลกับพระสวามีของพระนางว่า ทูลกระหม่อม อะไรจะมีแก่หม่อมฉัน หม่อมฉันหลบฝันไปเช่นนี้ ของพระองค์โปรดทำนาย ความจำของหม่อมฉันหมุนเวียนไปหมด ไม่เห็นอะไรเลยใจของหม่อมฉันเดือดร้อนด้วยความโศกซ้ำๆซากๆฯ

      27 พระโพธิสัตว์มีน้ำเสียงเพราะเหมือนเสียงนกการเวกและเสียงกังวาลเหมือนเสียงกลอง มีพระสุรเสียงดีเหมือนเสียงพรหม ตรัสบอกพระนางโคปาว่า เธอจงดีใจเถิด ไม่มีความชั่วร้ายอะไรแก่เธอดอก สัตว์เหล่าใดเคยประพฤติทำบุณยมาแล้ว สัตว์เหล่านั้น ก็จะฝันอย่างนี้ ใครอื่นฝันไปอย่างนี้ในระหว่างหลับ เขาจะปลดเปลื้องความทุกข์เป็นอันมากได้ ฯ

      28  เธอซึ่งฝันเห็นแผ่นดินไหว ยอดภูเขาตกลงที่แผ่นดิน เทวดา นาค รากษส หมู่ภูตทั้งปวงจะบูชาอย่างประเสริฐแก่เขา ฯ

      29 เธอซึ่งฝันเห็นต้นไม้กลับเอาโคนขึ้นข้างบน ฝันเห็นตัดผมด้วยพระหัตถ์เบื้องขวา ดูกรโคปา เธอจะตัดข่ายคือเกลศและยกข่ายคือทฤษฎีได้อย่างดียิ่งโดยเร็ว ฯ

      30 เธอซึ่งฝันเห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ตก ฝันเห็นดาวนักษัตรตก ดูกรโคปา เธอจะชนะศัตรูคือเกลศโดยเร็ว เธอจะถูกเขาบูชายกย่องสรรเสริญ มีความเจริญในโลก ฯ

      31 เธอซึ่งฝันเห็นมุกดาหารอับหมอง ฝันเห็นร่างกายทั้งหมดเปลือยเปล่าและแตกหัก  ดูกรโคปา เธอจะละร่างสตรีโดยเร็วแล้วจะกลายเป็นบุรุษไปในไม่ช้า ฯ

      32 เธอซึ่งฝันเห็นพระแท่นมีเท้าขาด ฝันเป็นคันฉัตรที่งามด้วยรัตนะหักโค่น ดูกรโคปา เธอจะข้ามโอฆะทั้ง 4 ได้โดยเร็ว แล้วเธอจะเห็นฉันเป็นฉัตรองค์เดียวในไตรโลก ฯ

      33 เธอซึ่งฝันเห็นเครื่องประดับลอยน้ำไป ฝันเห็นมกูฎและผ้าของฉันอยู่บนพระแท่น ดูกรโคปา เธอจะได้เห็นฉันมีร่างกายประดับด้วยลักษณะทั้ง 4 อันโลกทั้งปวงสดุดีแล้ว ฯ

      34 เธอซึ่งฝันเห็นประทีปตั้งร้อยโกฏิดวง(อุกกาบาต) ออกไปจากพระนคร และพระนครนั้นมืด ดูกรโคปา เธอฉันจะทำให้โลกทั้งปวงให้สว่างด้วยปรัชญา ในความมืดคือโมหะและอวิทยา ฯ

      35เธอซึ่งฝันเห็นมุกดาหารแตกหัก และฝันเห็นสร้อยทองคำอันงามขาดวิ่น ดูกรโคปา เธอจะตัดข่ายคือเกลศ และยากสายสร้อยคือความรู้อย่างดียิ่งฯ

      36 ดูกรโคปา เธอซึ่งกระทำความเคารพด้วยความเคารพอย่างสูงอยู่เป็นนิตย์ ทุคคติและความโศกจะไม่มีแก่เธอ เธอจะได้ปีติปราโมทย์โดยเร็วฯ

      37 แต่ก่อน ฉันให้ทานอย่างประณีต รักษาศีล เจริญภาวนา มีความอดทน เป็นนิตย์ เพราะฉะนั้น ผู้ที่ได้ความเลื่อมใสต่อฉัน เขาทั้งหมดนั้นจะได้ปรีติและปราโมทย์ นะ นางผู้เจริญฯ

      38 ฉันได้ปรับปรุงมาแล้วตั้งโกฏิกัลปหาที่สุดทิได้ ฉันได้ชำระทำความสะอาดทางตรัสรู้อย่างประณีต เพราะฉะนั้น ผู้ที่กระทำความเสื่อมใสตัอฉัน บรรดาเขาทั้งหมดนั้น จะเว้นเด็ดขาดจากอบายทั้ง 3 ฯ

      39 เธอจงประสบความร่าเริง อย่าให้เกิดความทุกข์เลย จงประสบความยินดี และให้เกิดความปีติ เธอจะได้ลาภคือปีติและปราโมทย์โดยเร็ว ดูกรโคปา นอนเสียเถิด นิรมิต(ความฝัน)ของเธอเป็นความเจริญฯ

      40 ฉันซึ่งเพียบไปด้วยบุณยและเดช นอนอยู่ในห้องแห่งสิริและเดช ดูกรนางผู้เจริญ เธอฝันเห็นสิ่งเหล่านี้ในความฝันซึ่งเป็นบุรพนิมิตขอเขาผู้นั้นซึ่งเป็นผู้ที่สะสมกรรมดีงามไว้แต่ชาติก่อน ซึ่งเป็นคนประเสริฐ โนสมัยกาลออกอภิเนษกรมณ์ฯ

      41 และเธอซึ่งฝันเห็นว่าถูกตัดมือตัดเท้า เห็นน้ำในมหาสมุทรทั้ง 4 ปั่นป่วน เห็นเธอเอาศีรษะทูนพระแท่นอันวิจิตรซึ่งมีทรัพย์สินทั้งหมดนี้ และทูนภูเขาเมรุซึ่งเป็นภูเข้าอันประเสริฐ ฯ

      42 ในความฝันครั้งนั้น เธอได้เห็นแสงสว่างแผ่ซ่านออก และเห็นความมืดมนอนธการอันใหญ่ยิ่งในโลก และเห็นยกฉัตรสูงขึ้นบนพื้นดินจดโลกทั้ง 3 สัมผัสด้วยแสงสว่าง ทุกข์ทั้งหลายตกไปแล้ว มีความสงบ 

      43 เธอฝันเห็น รูปเขียนสัตว์ 4 เท้าสีดำงาม กลายเป็นเท้าเดียวงาม นกประหลาด 4 สี กลายเป็นสีเดียว กองคูถสกปรกที่สุด น่าเกลียดแต่เดินผ่านไปในกองคูถนั้น ไม่เปรอะเปื้อนฯ

      44 แล้วได้เห็นในฝันต่อไปอีก คือเห็นแม่น้ำมีน้ำเต็มเปี่ยมและมีสัตว์เป็นอันมากนับจำนวนตั้งหมื่นโกฏิ ลอยไปในน้ำพระองค์นำเรือข้าไปพาสัตว์เหล่านั้นไปยังฝั่งอื่น พระสวามีนั้นได้ยังสัตว์เหล่านั้นให้อยู่บนบกเป็นอย่างดี ไม่มีภัยไม่มีความโศกฯ

      45 แล้วได้ฝันเห็นอีกว่า คนเป็นอันมากเป็นโรคภัยไข้เจ็บเดือดร้อน หมดอำนาจที่จะพยาบาลให้หายโรค หมดกำลังเรี่ยวแรง พระสวามีเป็นนามแพทย์ได้ให้ยาเป็นอันมากปลดเปลื้องโรคภัยไข้เจ็บแก่สัตว์นับเป็นหมื่นฯ

      46 จริงอยู่ พระสวามีนั้นนั่งอยู่บนบรรลังก์เบื้องหลังภูเขาเมรุ เมื่อเทพยดาทั้งหลายผู้เป็นศิษย์ประนมมือไหว้อยุ่ พระองค์ได้ประกาศสงคราม และเห็นพระองค์เองเป็นผู้ชนะ แล้วก็กล่าวคำแสดงชื่นชมยินดีของเทพยดาทั้งหลายในท้องฟ้าฯ

      47 พระโพธิสัตว์ทรงเห็นในความฝันอย่างนี้ ควรเป็นมงคลที่ดีแห่งพรต และการบำเพ็ญพรต เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายได้สดับแล้วเกิดมีความยินดียิ่ง  ผู้นี้จะเป็นเทพเจ้าของคนและของเทวดาทั้งหลายโดยไม่นาน ดั่งนี้แลฯ

อัธยายที่ 14 ชื่อสวัปนปริวรรต(ว่าด้วยฝัน) ในคัมภีร์ศรีลลิตวิสตร ดั่งนี้แล้ ฯ

 

15 อภิเนษกรมณ์

 

อัธยายที่ 15

อภินิษฺกฺรมณปริวรฺตะ ปญฺจทศะ

ชื่ออภินิษกรมณปริวรรต (ว่าด้วยเสด็จอภิเนษกรมณ์)

      ครั้งนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ทรงปริวิตกดังนี้ว่า เป็นการไม่สมควรเลยที่เราจะเป็นคนอกตัญญู โดยที่เราไม่กราบทูลให้พระราชาศุทโธทนะทรงทราบ และยังไม่ได้รับอนุญาตจากพระบิดาแล้วจะออกอภิเนษกรมณ์ในราตรีดึกสงัด พระองค์เสด็จออกจากประสาทที่ประทับของพระองค์ไปประทับที่พื้นปราสาทของพระราชาศุทโธทนะ แต่พอพระโพธิสัตว์ประทัป ปราสาทนั้น ก็เปล่งแสงสว่างแผ่ซ่านไปหมดในครั้งนั้นพระราชาทรงตื่นบรรทม ได้ทอดพระเนตรเห็นแสงสว่างนั้น ครั้นแล้ว พระองค์จึงเรียกกรมวังมาเร็วๆว่า ดูกรกรมวังผู้เจริญ ตะวันขึ้นแล้วหรือ ซึ่งนี่มันเป็นแสงสว่างแจ่มแจ้ง? ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ วันนี้ยังไม่พ้นกึ่งคืน ขอเดชะ อีกประการหนึ่ง

      1 แสงสว่างดวงตะวัน พุ่มไม้และกำแพงก็ต้องมีเงา ร่างกายก็รู้สึกร้อนเป็นธรรมดา หงส์ นกยูง นกแก้ว นกกระเหว่า นกจักรพากก็ต้องส่งเสียงร้องในกาลสมัยตะวันแรกขึ้นฯ

      2 ข้าแต่ผู้ประเสริฐแก่คนทั้งหลาย แต่แสงสว่างนี้เป็นสุขสบายใจเป็นที่ยินดี ทำความงาม ไม่ร้อน กำแพงและต้นไม้ไม่มีเงาจับ น่าสงสัยชะรอย ผู้ทรงคุณธรรมจะมาถึงที่นี่ในวันนี้ฯ

      3 พระนฤบดีทรงทอดพระเนตรไปยังทิศทั้ง 10อย่างท้อพระทัยทรงเห็นพระโพธิสัตว์ผู้มีพระเนตรเหมือนดอกบัวนั้นแล้ว พระโพธิสัตว์ไม่ปรารถนาจะให้พระบิดาเสด็จลุกขึ้นจากแท่นบรรทม พระองค์มีพระปรัชญาบริสุทธิ์เกิดความเคารถพระบิดาฯ

       4 พระองค์ประทับอยู่เบื้องหน้าพระบิดา ได้กราบทูลพระบิดาว่า ขอพระองค์อย่างทรงกระทำอันตราย และความลำบากแก่หม่อมฉันเลย ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ กาลสมัยเป็นที่ออกอภิเนษกรมณ์ สมควรแก่หม่อมฉันแล้ว ได้โปรดเถิด ข้าแต่พระนฤบดี ขอพระองค์ทรงประทานอภัยโทษแก่ประชาชนและราษฎรฯ

      5 พระนฤบดี(ศุทโธทนะ) มีพระเนตรเต็มไปด้วยน้ำตา ได้ตรัสกับพระโพธิสัตว์ว่า ลูกกลับใจได้ ก็จะมีประโยชน์อยู่ข้าง ลูกจะขอพรอะไรกับพ่อ บอกมา พ่อจะให้หมด ขอจงอนุเคราะห์ราชตระกูล ทั้งพ่อและราษฎรเหล่านี้ด้วยฯ

      6 พระโพธิสัตว์ ได้กราบทูลพระบิดาด้วยพระวาจาอ่อนหวานว่า ทูลกระหม่อม ลูกปรารถนาพร 4 อย่าง ขอได้โปรดประทานพรนั้นแก่ลูกด้วย ถ้าฝ่าพระบาทสามารถ ขอได้โปรดพระราชทานเถิด ให้พรนั้นอยุ่ในอำนาจของลูกแล้ว ฝ่าพระบาทจะเห็นลูกอยู่ในพระราชวังเป็นนิตย์ ลูกไม่ออกอภิเนษกรมณ์ฯ

       7 ข้าแต่พระบิดผู้ประเสริฐ ลูกปรารถนาไม่ให้ย่างเข้าสู่ความชราให้ตั้งอยู่ในวัยรุ่นมีผิวพรรณงดงามอยู่เป็นนิตย์ และถึงความไม่มีโรคไม่มีพยาธิ และให้อายุไม่มีประมาณ ไม่ตาย(และขอให้มีสมบัติไพบูลย์ อย่ามีวิบัติฯ)

      8 พระราชาผู้เดือดร้อนด้วยความทุกข์เป็นอย่างยิ่ง ทรงฟังคำ(นั้น)แล้ว ตรัสว่า ดูกรกุมาร ลูกขอสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ พ่อไม่มีอำนาจในสิ่งเหล่านั้น ความกลัวเกิดชรา พยาธิ มรณะ และความวิบัติ เป็นสิ่งที่มีประจำกัลป แม้พระฤษีทั้งหลาย ก็ไม่พ้นโดยแท้ฯ

      9 พระโพธิสัตว์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ เมื่อพระองค์ไม่ประทานพร 4 ข้อในครั้งนี้ คือไม่มีชราพยาธิ มรณะ และไม่มีความวิบัติ ข้าแต่พระนฤบดี ถ้ากระนั้นของพระองค์โปรดฟังพรข้ออื่นอีกสักข้อ คือ เมื่อลูกตายแล้วขออย่าต้องให้ลูกเกิดอีกเลย ฯ

      10 พระราชาศุทโธทนะได้ทรงฟังคำทูลของพระโพธิสัตว์ ผู้เป็นคนประเสริฐนี้แล้ว ตรัสว่า ดูกรลูก ลูกได้กระทำความปรารถนาน้อยเสียแล้ว ลูกตัดความรักได้ พ่อขออนุโมทนา ลูกกระทำประโยชน์ปลดเปลื้องเป็นอิสระในโลกนี้ ความคิดซึ่งเป็นความปรารถนาของลูกจงเต็มเปี่ยมเถิดฯ

      ครั้งนั้นแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ก้าวกลับมาขึ้นปราสาทของพระองค์ประทับนั่งบนพระแท่นบรรทม ไม่รับรู้ใครจะไปหรือใครจะมา

      กระนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชาศุทโธทนะ เมื่อราตรีล่วงไปแล้วทรงประชุมคณะศากยราชทั้งหมดแล้ว ทรงแจ้งเรื่องราวนั้นให้ทราบว่า กุมารปรารถนาจะเสด็จอภิเนษกรมณ์ ดังนั้น เราจะทำอย่างไร? พวกศากยทั้งหลายทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ พวกเราจะช่วยกันรักษา นั่นเป็นอย่างไร? คือกลุ่มศากยหมู่ใหญ่อย่างหนึ่งและแยกเป็นคนๆไปอย่างหนึ่ง พระโพธิสัตว์จะมีความสามารถเพื่อเสด็จอภิเนษกรมณ์ได้อย่างไร ในที่นั้นศากยกุมาร 500 คน มีอาวุธครบทุกคน ได้ฝึกหัดยุทธวิธีมาแล้ว ได้ศึกษาวิชาธนูและอาวุธแล้ว ประกอบด้วยกำลังแข็งแรงมาก พร้อมด้วยศากยทั้งหลายเหล่านั้นและพระราชาศุทโธทนะ ให้ไปตั้งอยู่ที่ประตูพระนคร ด้านทิศตะวันออกเพื่อรักษาพระโพธิสัตว์และศากยกุมารแต่ละคนมีพลรถ 500เป็นบริวาร พลรถแต่ละคนมีพลราบ 500 เป็นบริวาร ได้ตั้งอยู่แล้ว เพื่อรักษาพระโพธิสัตว์ เช่นเดียวกันที่ประตูพระนครด้านทิศใต้ ทิศตะวันตก ทิศเหนือ มีศากยกุมารด้านละ500 มีอาวุธครบทุกคน ได้ฝึกหัดยุทธวิธีมาแล้ว ได้ศึกษาวิชาธนูมาแล้ว ประกอบด้วยกำลังแข็งแรงมาก และศากยกุมารแต่ละคนมีพลรถ 500เป็นบริวาร พลรถแต่ละคนมีพลราบ 500 เป็นบริวาร ได้ตั้งอยู่แล้ว เพื่อรักษาพระโพธิสัตว์ ศากยเฒ่าๆทั้งหลายได้อยู่ที่ทางสี่แพร่งทั้งปวง และที่ถนนที่เรียงรายด้วยต้นหมาก เพื่ออารักขา และพระราชาศุทโธทนะถูกแวดล้อมพร้อมด้วย ศากยกุมาร 500 เสด็จออกหน้าให้ศากยกุมารเหล่านั้นขึ้นขี่ช้างม้าอยู่ยามที่ประตูบ้านของตน ส่วนพระมหาปชาบดีโคตมี  ตรัสเรียกสาวใช้มาว่า

      11 พวกเธอจงจุดประทีปให้สว่าง จงตั้งแก้วมณีขนยอดธงทุกแห่ง จงแขวนพวงไข่มุกที่มีแสงสว่างทำในเรือนทุกหลังๆ ฯ

      12 จงประกอบสังคีต(บรรเลงดนตรีร้องระบำรำฟ้อน) ในคืนนี้จงตื่น ไม่ง่วง จงรักษาพระกุมารไว้โดยวิธีไม่ให้พระกุมารรู้ตัว และไม่เสด็จไป

      13 เธอทั้งปวง จงสวมเกราะคอยช่วงชิงตามยุทธวิธี ถือดาบ ธนู ลูกศร หอก โตมร (คทาเหล็ก) ต่างกระทำความพยายามใหญ่ยิ่งเพื่อรักษาพระราชโอรสผู้เป็นที่รัก ฯ

      14 เธอทั้งหลายจงปิดประตูทั้งหมดซึ่งเป็นประตูยนต์อย่างดี ไม่มีลิ่มสลัก มีบานมั่นคง และอย่าเปิดในสมัยใช่กาละ อย่าให้พระกุมารผู้เป็นสัตว์ประเสริฐเสด็จไปจากที่นี่ ฯ

      15 เธอทั้งหลาย จงถือไม้ง่ามประดับดวงแก้วและพวงมุกดาประดับดอกไม้ที่ปากง่าม จงถือโซ่ตรวนเครื่องพันธนา มีพวงมาลัยเข็มขัดประทับตราผูกลูกพรวนไว้ให้มั่นคงฯ

      16 ถ้าพระกุมารผู้มีประโยชน์แก่คนและเทวดาทั้งหลาย จะเสด็จอภิเนษกรมณ์โดยรีบด่วนซึ่งเหมือนการไปของช้างเมามันไซร้ พระกุมารจะเสด็จไปไม่ได้ด้วยประการใด พวกเธอต้องใช้กำลังป้องกันไว้ด้วยประการนั้นๆ

      17 นางใด มีอำนาจ จงล้อมพระแท่นบรรทมของพระกุมารผู้ปราศจากมลทิน และอย่าได้ง่วงเหงาหาวนอน จงตั้งตารักษาพระกุมารซึ่งว่องไวเหมือนตั้กแตน ฯ

      18 จงคลุมพระราชวังนี้ไว้ด้วยข่ายแก้ว เพื่อรักษาพระกุมารผู้เป็นเจ้าแผ่นดิน และจงเป่าขลุ่ยตลอดคืนนี้ รักษาพระกุมารผู้ผ่องใส ฯ

      19 จงคอยปลุกกันไว้ อย่าปล่อยให้หลับ ช่วยกันรักษาตลอดคืนนี้ อย่าให้พระกุมารเสด็จอภิเนษกรมณ์ละราษฎรและราชสมบัติเสียเลย ฯ

      20 เมื่อพระกุมารนี้เสด็จออกไปเสียแล้ว ราชตระกูลทั้งหมดนี้ก็จะปราศจากความรื่นรมย์ วงศ์แห่งพระเจ้าแผ่นดินซึ่งสืบต่อกันมานานก็จะพึงขาดสูญ ฯ ดังนี้แล ฯ

      ครั้นนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหายักษ์เสนาบดี 28 ตน ยักษ์หารีตีบุตร 500 ตน มีปาญจิกยัชญเสนาบดีเป็นหัวหน้า ได้ประชุมกันในที่แห่งหนึ่ง ได้พิจารณาความเห็นกันอย่างนี้ว่า ดูกรุท่านผู้ควรเคารพ วันนี้ พระโพธิสัตว์จะเสด็จอภิเนษกรมณ์ ท่านทั้งหลายควรจะขวนขวายในการกระทำบูชาพระโพธิสัตว์นั้น

      และมหาราชทั้ง 4 ได้เข้าไปยังราชธานี อลกวดี เรียกที่ประชุมยักษ์หมู่ใหญ่นั้นมาว่า ดูกรท่านผู้ควรเคารพทั้งหลาย วันนี้ พระโพธิสัตว์จะเสด็จอภิเนษกรมณ์ พวกท่านทั้งหลาย จะต้องรองรับเท้าม้าตัวประเสริฐของพระโพธิสัตว์ซึ่งจะพึงเสด็จ อภิเนษกรมณ์ และเทพธิดาตนหนึ่งพูดกับที่ประชุมยักษ์ว่า

      21 พระโพธิสัตว์นั้น เป็นเพชรเข็งไม่ร้าวสลาย เป็นองค์นารายณ์ เป็นองค์อาตมัน(พรหม) เป็นครู ประกอบด้วยกำลังความเพียร ไม่หวาดหวั่น เป็นผู้สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ มหาเมรุซึ่งเป็นภูเขาอันประเสริฐ ใครจะสามารถยกขึ้นแบกในท้องฟ้าได้ ส่วนพระโพธิสัตว์ เป็นภูเข้าเมรุคือคุณของพระชิน(พุทธ) ไม่หนักอย่างหิน อาศัยบุณยและชญาน ก็จะมีผู้สามารถนำไปได้บ้างฯ

ไวศรวณะพูดว่า

      22 คนใดหยิ่งจองหอง การปกครองคนนั้นก็หนัก คนใดตั้งอยู่ในความรักและความเคารพ คนนั้นก๋อให้เกิดความเบา ผู้ประกอบอัธยาศัย(ใจดี) และความเคารพ เขาจะกลายเป็นคนเบาเหมือนนกบินหรือเหมือนปุยนุ่นฯ

      23 ข้าพเจ้าจะออกหน้า และพวกท่านจงแบกม้าไป ในการเสด็จอภิเนษกรมณ์จของพระโพธิสัตว์ เราจะสะสมบุณยได้มากฯ

      ครั้งนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย องค์ศักรผู้เป็นใหญ่แก่เทวดาทั้งหลาย ได้เรียกเทวดาชั้นดาวดึงส์มาว่า ดูกรท่านผู้ควรเคารพทั้งหลาย วันนี้พระโพธิสัตว์จะเสด็จอภิเนษกรมณ์ ในการนี้ ท่านทั้งหลายทั้งหมดต้องขวนขวายในการกระทำบูชา

      ในที่นั้น เทพบุตรตนหนึ่งชื่อศานตมติ เขาพูดอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าจะเข้าฝันหญิงชายเด็กชายเด็กหญิงในมหานครกบิลพัสดุ์ เทพบุตรคนหนึ่งชื่อลลิตพยูหะ เขาพูดอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าจะลบล้างเสียงของม้าช้าง ฬา อุษฐ โค กระบือ หญิงชาย เด็กชาย เด็กหญิงทั้งหมด

      เทพบุตรตนหนึ่งชื่อพยูหมติ เขาพูดอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าจะทำทางพยุหะ(ทางในกระบวนแห่)ในพื้นอากาศ กว้างประมาณ 7 ชั่วคันรถ ให้แวดล้อมด้วยราชวัติ มีบังสูรย์ยกฉัตรธงชัยธงปตาก แวววาวไปด้วยแสงแก้วมณี ดาษดาไปด้วยดอกไม้ต่างๆ ตั้งกระถางเผาเครื่องหอมต่างๆ ซึ่งเป็นทางที่พระโพธิสัตว์เสด็จอภิเนษกรมณ์

      พระยาช้างตนหนึ่งชื่อไอราวัณ เขาพูดอย่างนี้ว่า ส่วนข้าพเจ้าก็จะสร้างเริอนยอดประมาณ 32 โยชน์ที่งวงของตนเอง ซึ่งมีนางฟ้าอยู่บนนั้น กระทำการปฏิบัติบำเรอด้วยการขับร้องและประโคมดนตรีเครื่องใหญ่ คือบรรเลงเครื่องดนตรีฟ้อนร้ำและร้องส่ง

      ส่วนองค์ศักรผู้เป็นให่แก่เทวดาทั้งหลาย พูดขึ้นเออย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าจะเปิดประตูทั้งหลาย และชี้หนทาง

      เทพบุตรชื่อ ธรรมจารี พูดว่า ข้าพเจ้าจะทำภายในบุรีให้ผิดปรกติ

      เทพบุตรชื่อสัญโจทกะ พูดว่า ข้าพเจ้าจะปลุกพระโพธิสัตว์ให้ลุกจากพระแท่นบรรทม

      ในที่นั้น พระยานาคชื่อ วรุณ พระยานาคชื่อ มนัสวี พระยานาคชื่อ สาคระ พระยานาคชื่อ อนวตัปตะ และพระยานาคคู่ คือนันทะ อุปนันทะ พูดอย่างนี้ว่า แม้พวกข้าพเจ้าทั้งหลายก็จะนิรมิตเมฆฝนที่ตกตามฤดูกาลแล้วจะโปรยผงจันทน์อุรคสาร เพื่อกระทำบูชาพระโพธิสัตว์

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดา นาค ยักษ์ คนธรรพ์ ได้มีความคิดตั้งใจแน่วแน่ และสัญญากันอย่างนี้ พระโพธิสัตว์ผู้ตั้งมั่นอยู่ในความคิดเป็นธรรม อยู่ในท่ามกลางภายในบุรี ประทับอยู่บนพระแท่นบรรทม เป็นสุขในปราสาทมีดนตรีประโคม ทรงคิดถึงแนวความประพฤติของพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ และทรงระลึกถึงประโยชน์ของพระโพธิสัตว์ทั้งปวง มีบทแห่งประณิธาน(ความตั้งใจจะเป็นพระพุทธเจ้า) ครั้งเดิมเป็นประธาน 4 อย่าง หัวข้อบทแห่งปณิธานครั้งเดิม 4 อย่างนั้น คืออะไร? คือความปรารถนาความเป็นใหญ่ ซึ่งเกิดขึ้นเอง (ไม่มีใครแต่งตั้งให้เป็นใหญ่ ด้วยความปรารถนาเป็นสรวัชญ อาบน้ำชำระกายแล้วทรงเครื่องสนามรบด้วยความดำริว่า เราเห็นสัตว์ทั้งหลายทุกข์ยาก อนิจจาเอ๋ย เราจะทำลายเรือนจำ คือโลกของผู้อาศัยอยู่ในโลกถูกเขาใส่ๆไว้ในเรือนจำใหญ่ และในเครื่องพันธนาการคือโลก เสียงร้องเพื่อให้ปลดเปลื้องจากเครื่องพันธนาการและข้าพเจ้าจะปลดเปลื้องสัตว์ที่ถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำ ประกอบด้วยโซตรวนอันมั่นคงด้วยตัณหา นี่คือหัวข้อบทแห่งประณิธานครั้งเดิมข้อต้น

      อนิจจาเอ๋ย สัตว์ที่ถูกเขาใส่ไว้ในดงชัฎอันมืด ได้แก่อวิทยาอันใหญ่ยิ่งคือโลก มีนัยน์ตาถูกหุ้มด้วยความมืด คือ แผ่นแห่งอัญญาณ เว้นแล้วจากปรัชญาจักษุ มีความมืด คือ อวิทยาและโมหะ เราจะทำความสว่างคือธรรมอันใหญ่ยิ่งให้แก่เขา และเราจะนำประทีปคือชญานเข้าไป อันจะนำออกไปซึ่งความขุ่นมัวคือแผ่นแห่งความมืดอันใหญ่ยิ่งกำจัดซึ่งความมืดมนอนธการคืออวิทยาทั้งปวง พึงชำระปรัชญาจักษุให้สะอาด ด้วยการประกอบยา คือ วิโมกษถาชญาน และพรต อันเป็นสุข และด้วยการประกอบด้วยอุปาย ปรัชญาชญาน  นี่คือหัวข้อประณิธานครั้งเดิมข้อที่ 2

      อนิจจาเอ๋ย เมื่อโลกยกธงคือมานะ (ความถือตัว) ตั้งมั่นอยู่ในอหังการมมังการ(ถือว่าเป็นเราเป็นของเรา) มีใจดำเนินตามความยึดถืออันเกิดแต่ตัวตน อันมีสัญญาจิต และทฤษฏิวิบัติ(คือเห็นผิดเป็นชอบ) และพิการ ไม่ถือสังครหะวัสตุ เราพึงทำการลดธงคืออัสมิมานะ(การถือว่าเป็นเราเป็นเขา) ลง ด้วยการแนะนำอารยมรรค นี่คือหัวข้อบทประณิธานครั้งเดิม ข้อที่ 3 ดังนี้แล

      อนิจจาเอ๋ย เมื่อโลกหงอยเหงา เกิดระคนด้วยความซบเซาไม่รวบรัดในสิ่งที่เป็นคุณ ไม่ขะมักเขม้น แต่กลายเป็นความขะมักเขม้น สืบต่อท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปโลกอื่นจากโลกอื่นมาโลกนี้ ไม่ยอมหยุดจากสังสารวัฏ ได้ขึ้นไปสู่ความหมุนเวียนเหมือนดวงไฟ(แกว่งไฟให้หมุนรอบตัว) เราพึงประกาศธรรมอันอิ่มด้วยปรัชญา ประกอบด้วยความสงบแก่เขา นี่คือหัวข้อบทประณิธานครั้งเดิม ข้อที่ 4 ดั่งนี้แล หัวข้อขทประณิธานครั้งเดิมเหล่านี้รวมเป็น 4 ข้อ

      และในขณะนั้น เทวบุตรทั้งหลายชั้นศุทธาวาส พร้อมด้วยธรรมจารีเทวบุตร ได้ช่วยกันทำภายในบุรีให้ผิดปรกติคลาดเคลื่อนไปหมด เทวบุตรเหล่านั้นอยู่บนอากาศแสดงภายในบุรีให้เป็นสิ่งที่น่าทิ้งขว้างและน่าเบื่อหน่าย ได้พูดกับพระโพธิสัตว์ด้วยคำ เป็นบทประพันธ์ว่า

      24 ครั้งนั้น เทวบุตรทั้งหลายผู้มีฤทธิ์มาก ได้พูดกับพระโพธิสัตว์ผู้มีพระเนตรยาวเหมือนดอกบัว บานว่า พระองค์ผู้ประทับอยู่ในท่ามกลางป่าช้า จะเกิดความยินดีได้อย่างไร ฯ

      25 และพระโพธิสัตว์นั้น เทพยดาผู้เป็นใหญ่ตักเตือนแล้ว ทรงทอดพระเนตรภายในบุรีนั้น น่าเบื่อหน่าย ทรงพระดำริว่า เราอยู่ในท่ามกลางป่าช้าจริงๆ ฯ

      พระโพธิสัตว์ ทรงทอดพระเนตรแล้วซึ่งหมู่นารีทั้งปวง ครั้นแล้วทรงเห็นว่านารีในที่นั้นบางคน่อนจ้อนจากเครื่องนุ่งห่ม บางคนสยายผม บางคนเครื่องประดับกระจายเรี่ยราด บางคนมีเทริด(กระบังหนา) หลุด บางคนมีร่างกายมิได้ปกปิดด้วยการเปิดไหล่ บางคนไม่หุบปาก บางคนตาเหลือก บางคนละเมอบ่นพึงพำ บางคนขบฟันดังกรอดๆ บางคนหน้าถอดสี บางคนมีรูปไม่คงเดิม บางคนห้อยแขน บางคนสลัดเท้า บางคนชูศีรษะ บางคนปากเบี้ยว บางคนศีรษะตก บางคนร่างกายคดงอ บางคนกรนดังครอกๆ บางคนซุกกลองเล็ก บางคนมีศีรษะกับร่างกายยกเยื้องกัน บางคนเอามือเกาะเครื่องบรรเลงถือพิณน้อยพิณใหญ่ บางคนกัดขลุ่ยดังกรอดๆ บางคนสั่งตีผลักเครื่องประโคม บางคนทำตาปริบๆ บางคนมีเสียงอยู่ในลำคอ พระโพธิสัตว์พิจารณาเห็นสนมกำนัล ซึ่งอยู่ในพื้นที่นั้นมีอาการผิดแปลกต่างๆเกิดความเข้าใจว่าเป็นป่าช้า ท่านกล่าวไว้ในข้อนี้ว่า

      26 พระผู้เป็นที่พึ่งของโลกนั้น ทรงเห็นหมู่นารีเหล่านั้นแล้วสลดพระทัย ทรงถอนใจใหญ่ หยั่งลงสู่ความกรุณานี้ว่า  พูดโธ่เอ๋ย หมู่นารีเหล่านี้ถึงแล้วซึ่งความทุกขเวทนา เราจะต้องบรรพชา คนเราจะพบความยินดีในหมู่รากษสได้อย่างไร ฯ

      27 คนที่ถูกความมืดคือโมหะอย่างยิ่งห่อหุ้มแล้ว มีความคิดชั่วๆเข้าใจกามคุณซึ่งปราศจากคุณว่าเป็นสิ่งที่มีคุณ เขาจะไม่ได้ความหลุดพ้นเลย เหมือนนกที่ตกไปอยู่กลางกรง ฯ

      ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ ทรงพิจารณาดูนางสนมกำนัลโดย ธรรมาโลกมุข(หัวข้อแสงสว่างแห่งธรรม) นี้อีก ทรงแสดงความเศร้าต่อสัตว์ทั้งหลายด้วยความเศร้าคือมหากรุณาว่า
คนโง่เหล่านั้นในโลกนี้ย่อมถูกฆ่าเหมือนสัตว์ที่โรงฆ่าสัตว์
คนโง่เหล่านั้นในโลกนี้ย่อมกำหนัดยินดี เหมือนไม่เกลียดชังหม้อที่งามแต่เต็มไปด้วยอุจจาระ 

คนโง่เหล่านั้นในโลกนี้ย่อมเมาเหมือนช้างเมามันกลางน้ำ 

คนโง่เหล่านั้นในโลกนี้ย่อมถูกกั้นเหมือนโจรถูกกั้นท่ามกลางคุก  

คนโง่เหล่านั้นในโลกนี้ยินดียิ่งแล้วเหมือนหมูในท่ามกลางของสกปรก  

คนโง่เหล่านั้นในโลกนี้หวงแหนแล้วเหมือนสุนัขหวงแหนในท่ามกลางกระดูกกระโหลก  

คนโง่เหล่านั้นในโลกนี้ตกลงไปแล้วเหมือนตั๊กแตนในเปลวไฟ 

คนโง่เหล่านั้นในโลกนี้ถูกมัดเหมือนลิงติดตัง 

คนโง่เหล่านั้นในโลกนี้เดือดร้อนเหมือนปลาถูกยกขึ้นจากน้ำ  

คนโง่เหล่านั้นในโลกนี้ย่อมติดอยู่เหมือนแพะติดในหลักฆ่า  

คนโง่เหล่านั้นในโลกนี้ย่อมถูกเสียบเหมือนนักโทษถูกเสียบบนยอดหลาว  

คนโง่เหล่านั้นในโลกนี้ย่อมจมอยู่เหมือนช้างแก่ติดหล่ม  

คนโง่เหล่านั้นในโลกนี้จะถึงความวิบัติเหมือนเรือสำเภาแตกกลางมหาสมุทร  

คนโง่เหล่านั้นในโลกนี้จะตกลงไปเหมือนคนตาบอดแต่กำเนิดตกเหว  

คนโง่เหล่านั้นในโลกนี้จะถึงความวนเวียนเหมือนน้ำตกอยู่ในกระแสบาดาล(น้ำวน) 

คนโง่เหล่านั้นในโลกนี้จะกลายเป็นคว้นเหมือนแผ่นดินใหญ่(โลก)ในคราวสิ้นกัลป  

คนโง่ทั้งหลายย่อมหมุนเวียนไปโดยแท้ไม่หยุดเหมือนแผ่นจักรของช่างปั้นหม้อ  

คนโง่เหล่านั้นในโลกนี้ย่อมวนเวียนเหมือนคนตาบอดแต่กำเนิดไปในระหว่างภูเขา  

คนโง่เหล่านั้นในโลกนี้ย่อมหมุนไปรอบๆเหมือนสุนัขถูกเสือตรึงไว้  

คนโง่เหล่านั้นในโลกนี้ย่อมเหี่ยวแห้งเหมือนหญ้าและไม้ยืนต้นในคราวฤดูร้อน  

คนโง่เหล่านั้นในโลกนี้ย่อมเสื่อมลงเหมือนดวงจันทร์ข้างแรม  

คนโงทั้งหลายย่อมถูกกินโดยแท้เหมือนงูถูกครุฑกิน
คนโง่ทั้งหลายย่อมถูกยึดโดยแท้เหมือนเรือถูกมังกรยึดไว้
คนโง่ทั้งหลายย่อมถูกปล้นโดยแท้เหมือนพ่อค้าเกวียนถูกหมู่โจรปล้น
คนโง่ทั้งหลายย่อมถูกทำลายโดยแท้เหมือนศาลาถูกลมพายุพัดทำลาย
คนโง่ทั้งหลายย่อมถูกฆ่าเหมือนสัตว์ถูกงูพิษฆ่าแล้ว
คนโง่ทั้งหลายไม่มีความเข้าใจ ย่อมได้รับบาดเจ็บโดยแท้เหมือนเด็กๆถูกคมมีดที่ทาน้ำผึ้งบาดเอา
คนโง่ทั้งหลายย่อมล่องลอยไปโดยแท้ เหมือนท่อนไม้ถูกกระแสน้ำพัดให้ลอยไป
คนโง่ทั้งหลายย่อมเล่นสนุกโดยแท้เหมือนทารกเล่นปัสสวะอุจจาระของตน
คนโง่ทั้งหลาย ย่อมหมุนกลับโดยแท้เหมือนช้างถูกขอทำให้หมูนกลับ
คนโง่ทั้งหลายย่อมถูกผูกพันโดยแท้เหมือนเด็กๆถูกการเล่นผูกพันไว้
คนโง่ทั้งหลายในโลกนี้ ย่อมทิ้งขว้างซึ่งกุศลมูลทั้งหลายเหมือนทรัพย์ของนักเลงการพนัน
คนโง่ทั้งหลายย่อมถูกเขากินโดยแท้เหมือนพ่อค้าถูกรากษสกิน

      พระโพธิสัตว์ทรงใคร่ครวญถึงนางสนมกำนัลโดยอาการ 32 ดังนี้เล้ว ทรงพิจารณาอศุภสัชญาในร่างกาย นำมาซึ่งปรติกูลสัชญา(หมายรู้ว่าสกปรก) เกิดความหมายรู้ในการน่าเกลียดทรงพิจารณาร่างกายของตนเอง ทรงเห็นโทษแห่งร่างกาย ทรงยกความตั้งมั่นในกายออกจากกาย ทรงพิจารณาศุภสัชญา(หมายรู้ว่างาม) แล้วก้าวเข้าสู่อศุภสัชญา(หมารู้ว่าไม่งาม) ทรงเห็นเบื้องบนตั้งแต่ศีรษะลงจนถึงพื้นเท้าเบื้องต่ำว่ามีแต่สิ่งไม่งามเกิดขึ้น เป็นแดนเกิดแห่งสิ่งไม่งาม เป็นที่ไหลออกแห่งสิ่งไม่งาม เป็นนิตย์ พระองค์ทรงตรัสเป็นคำประพันธ์ในเวลานั้น ดังต่อไปนี้

      28 ร่างกายเบื้องบนตั้งแต่ศีรษะลงมาถึงพื้นเท้าเบื้องต่ำงอกขึ้นในนาคือกรรม เกิดด้วยน้ำตฤษณา(ความปรารถนาหรือความอยาก) ทำให้มีความหมายรู้ว่าเป็นร่างกายของตน เปลี่ยนแปลงไปได้ด้วยน้ำตา เหงื่อ เศลษม์ น้ำมูตรของเปียก ระคนด้วยหยาดเลือด เต็มไปด้วยกระเพาะมูตร หนอง มันข้น และมันสมอง และเต็ไปด้วยโทษทั้งหลาย ถ่ายเทของภายในออกเป็นนิตย์ และทั้งหมดมีกลิ่นเหม็นต่างๆนาๆ ฯ

      29 ร่างกายนี้ มีกระดูก ฟัน กราม ขน เปลี่ยนแปลงได้ มีหนังหุ้มไว้ และมีขน ประกอบด้วยลำไส้ ม้าม ตับ มันข้น เตโชธาตุ และเส้นประสาท อันอ่อนแอน่าสงสารถูกตรึงไว้ด้วยไขสันหลังและเอ็นทำให้เคลื่อนไหวได้เหมือนเครื่องยนต์ มีเนื้อทำให้แลดูงามเกลื่อนกล่นไปด้วยพยาธิต่างๆระคนไปด้วยความโศก มีความหิวกระหายคอยเบียดเบียนเป็นที่อาศัยของสัตว์ทั้งหลาย มีช่องเป็นอันมาก มีมรณะและชราอาศัยอยู่ ใครเล่าเมื่อเห็นร่างกายนี้ พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วจะเข้าใจว่าร่างกายซึ่งเสมอด้วยข้าศึกจะเป็นของของตน ฯ

      พระโพธิสัตว์ ทรงมีสมฤติพิจารณากายในร่างกายอย่างนี้

      และเทวบุตรทั้งหลายที่ไปในอากาศได้พูดกับธรรมจารีเทวบุตรว่า ดูกรท่านผู้ควรเคารพ อะไรนี่? พระสิทธารถ หนวงเวลาพิจารณานางสนมกำนัล และพิจารณาแล้วก็เกิดความร้อนใจ และก็ยังจ้องมองอยู่อีก หรือว่า พระองค์เป็นเหมือนทะเลมีน้ำเชี่ยวไหลลึกเราไม่อาจถือเอาข้อสังเกตของพระองค์ได้ อนึ่งขออย่างให้ใจของพระองค์ผู้ไม่มีความประสงค์ ติดอยู่ในอารมณ์เลย และพระองค์ซึ่งเทวดาทั้งหลายเตือนแล้ว ขออย่าให้ลืมปรติชญาเดิมเสียเลย

      ธรรมจารีเทวบุตรพูดว่า ท่านพูดอะไรอย่างนี้? พวกท่านประพฤติเพื่อความรู้ ประจักษ์(ตรัสรู้ ของพระโพธิสัตว์องค์นี้มาก่อนแล้วมิใช่หรือ ท่านไม่ร่วมกันเช่นนั้นหรือ เมื่อพระโพธิสัตว์จะเสียสละด้วยการเสด็จอภิเนษกรมณ์แล้ว จะป่วยกล่าวไปไยในบัดนี้อีกถึงความประสงค์ของพระโพธิสัตว์ เมื่อครั้งอยู่ในภพก่อนๆ

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระโพธิสัตว์ได้ตกลงพระหทัยแน่นอนแล้ว มีพระหทัยสังเวช(สลดใจ)แล้ว มีพระปรัชญาตั้งมั่น ทรงเยื้องกรายไม่โอ้เอ้ชักช้าเสด็จลงจากพระแท่นบ่ายพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ประทับอยู่แล้ว ในปราสาทที่มีเครื่องสังคีต ทรงดึงลงซึ่งข่ายแก้วด้วยพระหัตถ์เบื้องขวา แล้วเสด็จไปถึงสุดปราสาท ทรงประนมนิ้วพระหัตถ์ทั้งสิบระลึกถึงพระพุทธเจ้าทั้งปวง และทรงกระทำนมัสการพระพุทธเจ้าทั้งปวง แล้วทรงเงยพระพักตร์ทอดพระเนตรบนอากาศ ทรงเห็นเทพพหัสนัยน์(องค์อินทร์) ผู้เป็นใหญ่ของเทวดาทั้งหลายอยู่บนอากาศ มีเทวดาตั้งแสนแวดล้อมประคองดอกไม้ ธูป ของหอม พวงมาลัย ผงจันทน์ เครื่องทาตัว ผ้า ฉัตร ธงชัย ธงปตาก ตุ้มหู พวงแก้วมุกดาหาร กำลังยืนน้อมกายนมัสการพระโพธิสัตว์ และทรงเห็นเทพโลกบาลทั้งสี่ อันมีหมู่ยักษ์รากษสคนธรรพ์นาคแวดล้อม แต่งตัวเตรียมรบ สวมเสื้อเกราะทะมัดทะแมง มือถือดาบ ธนู ลูกศร หอก โตมร(คทาเหล็ก) ตรีศูล(หอกสามง่าม) ประกอบด้วยลีลา (ท่าทีเยื้องกาย)พระเศียรทรงมกุฎแก้วมณี กำลังยืนนมัสการพระโพธิสัตว์ ทรงเห็นแม้จันทรเทวบุตรและสุริยเทวบุตรทั้งสองยืนอยู่สองข้างซ้ายขวาและทรงเห็นดาวฤกษ์ปุษยผู้เป็นใหญ่กว่าดาวฤกษ์ทั้งหลาย  ปรากฏขึ้นแล้ว และถึงเวลากึ่งราตรีแล้ว ครั้นแล้ว พระโพธิสัตว์ จึงทรงเรียกสารถีชื่อ ฉันทกะมาว่า

      30 ฉันทกะไปกันเถอะ อย่าชักช้าเลย จงให้พระยาม้าที่ประดับแล้วแก่เรา ความสำเร็จทั้งปวงที่เป็นมงคลจะถึงแก่เรา ความสำเร็จประโยชน์จะถึงวันนี้เที่ยงแท้ ฯ

      ครั้งนั้น สารถีฉันทกะฟังพระดำรัสนี้แล้ว มีความร้อนใจ จึงทูลอย่างนี้ว่า

      31 ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระโขนงเบิกบานงาม ผู้มีพระเนตรงามเหมือนกลีบดอกบัว ผู้เป็นสิงห์แห่งนรชน ผู้งามเหมือนจันทร์เพ็ญในสรทกาลผู้ซึ่งเหมือนดวงจันทร์ยังดอกบัวกุมุท(บัวสาย)ให้ยินดี พระองค์ จะเสด็จไปไหน ฯ

      32 พระองค์ผู้มีพระพักตร์เหมือนดอกบัวสด อ่อน กำลังบานในหนองบัว และเหมือนดวงอาทิตย์แรกขึ้นมีรัศมีเหมือนสีทอง พระองค์มีความงามสุกใสเหมือนดวงจันทร์ปราศจากมลทิน เหมือนไฟใช้บูชาด้วยน้ำมันเนยเครื่องบูชาไฟ มีความสุกสว่างรุ่งเรืองเหมือนแสงฟ้าแลบ มีปรกติทรงดำเนินด้วยลีลา(ท่าที่เยื้องกราย) เหมือนลีลาของช้างซับมัน ทรงย่างพระบาทงาม ฯ

พระโพธิสัตว์ตรัสว่า

      (ต้นฉบับไม่มีเลข33)

      34 ดูกรฉันทกะ แต่ก่อนเราสละมือ เท้า นัยน์ตา เพื่อประโยชน์ใด เช่นเดียวกันเราสละศีรษะ ลูก เมียผู้เป็นที่รัก ราชสมบัติ เงิน ทอง ที่อยู่อาศัยเต็ไปด้วยรัตนะ ช้าง ม้าวิ่งเร็วเหมือนลม มีกำลังแกล้วกล้า ฯ

      35 เรารักษาศีล เจริญกษานติ มีความยินดีในกำลังแห่งวีรยะ ธยานปรัชญาทำมาตั้งหลายโกฏิกัลป แต่ก็เพื่อบรรลุถึงความสงบ คือโพธิและศิวะ(นิรวาณ)นั้นๆเวลาในขณะนี้ปรากฏแก่เราว่า เป็นเวลาแห่งการปลดปล่อยซึ่งสัตว์ทั้งหลาย ให้ออกจากกรง คือชราและมรณะฯ

      สารถีฉันทกะทูลว่า ข้าแต่องค์อารยบุตร(บุตรผู้ควรบูชา)เกล้ากระหม่อมได้ยินเหมือนเมื่อฝ่าพระบาทพอทรงอุบัติออกมานั่นเทียว พวกพราหมณ์ผู้เป็นโหรทำนายได้เข้าเฝ้าเพื่อจะดู และพวกพราหมณ์เหล่านั้น ได้ทำนายต่อหน้าพระราชาศุทโธทนะว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ความเจริญงอกงามจะมีแก่ราชตระกูลของพระองค์ พระราชาศุทโธทนะตรัสถามว่า อะไร? พราหมณ์เหล่านั้นจึงทูลตอบว่า

     36 พระกุมารองค์นี้เป็นพระโอรสของพระองค์ ซึ่งทรงอุบัติมาแล้ว บุณยลักษณะตั้งร้อย มีบุณยคุ้มครอง พระกุมารจะได้เป็นราชาจักรพรรดิ์ เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง 4 จะประกอบด้วยทรัพย์ 7 ประการฯ

      37 ถ้าพระกุมารจะมองดูโลกว่าประกอบด้วยความทุกข์อีกแล้วไซร้ พระกุมารก็จะละนางสนมกำนัลเสด็จอภิเนษกรมณ์ จะบรรลุโพธิ อันเป็นทางให้ถึงความไม่แก่และไม่ตาย จะทรงปรกครองประชาชนเหล่านี้ด้วยข่ายคือธรรมฯ

      อย่างไรก็ตาม ข้าแต่องค์อารยบุตร คำพยากรณ์นั้นมีอยู่พะยะค่ะ มิใช่ไม่มีแต่ว่าขอฝ่าพระบาททรงฟังคำของเกล้ากระหม่อมผู้ปรารถนาเป็นประโยชน์ก่อน พระโพธิสัตว์ตรัสถามว่า อะไร?สารถีฉันทกะทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ บางคนในโลกนี้เริ่มบำเพ็ญพรต และตบะหลายวิธี นุ่งหนังสัตว์ เกล้าผมเป็นเมาลีรุงรัง นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้และขนสัตว์ ไว้เล็บผมหนวดยาว ทนพยายามตากย่างร่างกายหลายวิธี และเริ่มบำเพ็ญพรตตบะอย่างแรงกล้า ตรัสถามว่า เขาทำทำไม?  ทูลตอบว่า พวกเหล่านั้นเขาคิดว่า เราทั้งหลายจะได้รับสมบัติของเทวดาและมนุษย์ ข้าแต่องค์อารยบุตร และสมบัตินั้น พระองค์ก็ได้แล้ว คือราชสมบัตินี้ มั่งคั่ง ขยายออกไปใหญ่โต อยู่เย็นเป็นสุข มีอาหารหาง่าย เป็นที่น่ารื่นรมย์ เกลื่อนกล่นไปด้วยมนุษยชนเป็นอันมาก และอุทยานเหล่านี้ ประเสริฐเลิศ ประดับด้วยดอกไม้ผลไม้หลายอย่าง มีหมู่นกต่างๆขันคูและมีสระใหญ่งามไปด้วยดอกบัวอุบล บัวปทุม บัวกุมุท บัวบุณฑรีก มีหงส์ นกยูง นกดุเหว่า นกจากพราก นกกระเรียน นกกาบบัว ขันคู ที่ริมสระติดกันเป็นพืดด้วยไม้พุ่มต่างๆเช่น เป็นต้นไม้มะม่วง ไม้อโศก ไม้จำปา ต้นบานไม่รู้โรย ต้นงา ต้นหญ้าฝรั่น(ไม้เหล่านี้) กำลังออกดอกสะพรั่ง ประดับด้วยรัตนะ ต้นไม้ สวนดอกไม้ต่างๆล้อมด้วยรั้วลูกกรงแก้ว ติดลูกดานเป็นประจำ ปกคลุมด้วยข่ายแก้ว ใช้สอยได้ตามฤดูกาล เป็นที่อยู่อย่างสุขสบายในหน้าร้อน หน้าฝน หน้าแล้ง หน้าหนาว มีมหาปราสาท  เหมือนสระและทะเล และเช่นเดียวกันกับภูเขาไกลาส เสมอด้วยปราสาทไวชยันต(ขององค์อินทร์) (และเสมอด้วยเทพสภาชื่อธรรมสุธรรมเกษม เป็นชนิดที่ปราศจากความเศร้าโศก ประดับด้วยเฉลียงประตู ซู้มประตูมีลวดลาย หน้าต่างตำหนักเรือนยอดและพื้นปราสาท มีลมพัดต้องข่ายกระดิ่งแก้ว ข้าแต่องค์อารยบุตร นางสนมกำนัลก็ล้วนแต่ศึกษาดีมีความชำนาญในการประกอบการบรรเลงพิณเล็ก บัณเฑาะว์ พิณใหญ่ ขลุ่ย ส่งเสียงดังกึกก้องดังจะเย้ยเพลงสวรรค์ ประโคมสังคีตคือ ดีกลองเล็กกลองใหญ่ ฟ้อนรำขับร้อง ประพฤติการพูดจา ชวนให้แช่มชื่นขบขันให้สนุกรื่นเริง อ่อนหวานไพเราะ ข้าแต่ฝ่าพระบาทผู้ประเสริฐ ฝ่าพระบาทยังทรงพระเยาว์ ยังไม่ล่วงเลยวัยหนุ่ม ยังเป็นหนุ่มอ่อนสดอยู่ มีพระสรีระอ่อนละมุน อยู่ในวัยเด็ก พระเกศาดำ สนุกสนานด้วยกาม ยังไม่เต็มที่ ขอพระองค์จงอภิรมย์ชมชื่นให้เหมือนเทพสหัสนัยน์ (องค์อินทร์)ผู้เป็นอธิบดีของหมู่อมรทั้งหลายและเป็อธิบดีของหมู่ไตรทศ(*)ก่อน ครั้นพระองค์ทรงพระชราแล้วภายหลังจึงออกอภิเนษกรมณ์ และสารถีฉันทกะ ได้ทูลเป็นคำประพันธ์ในเวลานั้นต่อไปนี้

* ไตรทศ ผู้มีสภาพความเป็นไป 3 อย่างคือ 1 มีสัมภวะ(แดนเกิด) 2 มีภาวะ (ความเป็นเทวดา) 3 มีมรณะ (ความตาย) ซึ่งหมายถึงเทวดา

      39 ขอฝ่าพระบาทจงทรงชื่นชมยินดีกับผู้รู้วิธี ทำให้เกิดความยินดีเหมือนอธิบดีของหมู่อมรทั้งหลายในโลกของไตรทศ(องค์อินทร์) ภายหลัง เมื่อฝ่าพระบาททรงพระชราจึงเริ่มประพฤติพรตและตบะฯ

      พระโพธิสัตว์ตรัสว่า อย่าเลยฉันทกะ กามทั้งหลายเหล่านี้ไม่เที่ยงแท้จริงๆ มันไม่ยั่งยืน ไม่แน่นอน มีความเปลี่ยนแปลงไปได้เป็นธรรมดา รวดเร็ว ไม่มั่นคงเสมอด้วยความเร็วของลูกคลื่น ไม่อยู่ในอำนาจของใคร ตั้งอยู่ได้ไม่นานเหมือนหยดน้ำเป็นเครื่องทำให้พร่ำเพ้อครวญคราง ไม่มีแก่นสารเหมือนกไหมัดเปล่าๆ อ่อนแอเหมือนต้นกล้วย มีสภาพแตกได้ง่ายเหมือนภาชนะดินดิบ เป็นอยู่ชั่วขณะแล้วก็ไม่เป็นจริงเหมือนสระน้ำน้อยๆตั้งอยู่ไม่นาน เหมือนผ้าแลบในท้องฟ้า เปลี่ยนแปลงไปสู่ความทุกข์เหมือนอาหารปนยาพิษ ขีดเส้นไม่ให้ความสุขเหมือนเครือไม้เลื้อย เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเหมือนต่อมน้ำ ตั้งขึ้นด้วยสัชญาวิปรยาสเหมือนพยับแดด จัดสรรค์ขึ้นให้จิตตวิปรยาสเหมือนดูเขาเล่นกล ทำให้ไม่อิ่มเพราะประกอบด้วยความยึดถือด้วยทฤษฎิวิปรยาสเหมือนความฝัน กามทั้งหลายเต็มได้ยากเหมือนทะเล ทำให้กระหายเหมือนดื่มน้ำเค็มแตะต้องยากเหมือนศีรษะงู บัณฑิตทั้งหลายเว้นแล้วเหมือนเว้นเหวใหญ่ กามทั้งหลายประกอบด้วยภัย ประกอบด้วยสงคราม ประกอบด้วยทุกขเวทนา ประกอบด้วยโทษ นักปราชญ์ทั้งหลาย รู้ดั่งนี้ เว้นแล้ว ติเตียนแล้ว ผู้มีปรัชญาทั้งหลายตำหนิแล้ว พระอารยะทั้งหลายเว้นแล้ว ผู้รู้ทั้งหลายติเตียนแล้ว พาลชนผู้ไม่รู้ทั้งหลายซ่องเสพแล้ว และพระองค์ตรัสเป็นคำประพันธ์ในเวลานั้นดังต่อไปนี้

      40 กามทั้งหลายเหมือนศีรษะงู ผู้รู้ทั้งหลายเว้นแล้วเหมือนเว้นหม้อใส่อุจจาระ เหมือนเว้นของไม่สะอาด ผู้รู้ทั้งหลายติเตียนแล้ว ดูก่อนฉันทกะ ความงามทั้งปวงสิ้นแล้ว เพราะรู้แล้ว ความยินดีเพราะกามย่อมไม่เกิดแก่เราฯ

      ครั้งนั้น สารถีฉันทกะ เหมือถูกหอกแทง ร้องไห้อยู่ ครั้นแล้ว น้ยน์ตาก็ชุ่มด้วยน้ำตามีความทุกข์ ได้ทูลคำอย่างนี้ว่า

      41 ฝ่าพระบาทผู้เทวะ บางคนในโลกนี้เขาเริ่มประพฤติพรตอย่างแรงกล้ามีหลายอย่าง เพื่อประโยชน์ของผู้ใด เขานุ่งหนังสัตว์เกล้าผมเป้นกระเซิงรุงรัง ไวผมไว้เล็บยาวมาก และไว้หนวดมานาน (ยาว) นุ่งผ้าเปลือกไม้ มีอวัยวะซูบผอม อาศัยพรตหลายอย่าง ผละบริโภคอาหารผัก ข้าวโพด ข้าวเจ้า บางพวกแหงนหน้าหรือก้มหน้าไม่พูด(ทำเป็นใบ้) บางพวกอาศัยพรตอย่างโคฯ

      42 แต่ว่า เขาเหล่านั้นคิดว่า เราเป็นผู้ประเสริฐสุด เลิศสุดในโลก จะได้เป็นราชาจักรพรรดิผู้ประเสริฐ และเป็นผู้ปกครองโลก จะได้เป็นองค์ศักรทรงวัชราวุธ  เป็นผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่ของเทวดาทั้งหลาย เป็นผู้นิรมิตได้ และเป็นผู้จำนงต่อความสุขในธยานในพรหมโลกฯ

       43 ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐที่สุดกว่าคนทั้งหลาย ราชสมบัติของพระองค์นี้นั้น กว้างขวางมั่งคั่ง และมีอาหารหาง่าย มีอุทยานและปราสาทรุ่งเรืองเสมอด้วยพิมานไวชยันต เป็นที่น่ายินดีด้วยเสียงขลุ่ยและเสียงพิณด้วยเพลงและขับร้องล้วนแต่ สตรีที่ได้รับการศึกษาในการประกอบการฟ้องรำขับร้องในเรือนสตรีเอง ฝ่าพระบาทจงบริโภคซึ่งกามทั้งหลายเหล่านี้อย่าเสด็จไปจากการบริโภคกามเลยฯ

พระโพธิสัตว์ตรัสว่า

      44 ดูกรฉันทกะ เธอจงฟังในระหว่างชาติก่อนๆเราได้รับความทุกข์ตั้ร้อยอย่างได้รับการจองจำ การขัดขวาง การเฆี่ยนดี การขู่ตวาด ก็เพราะกามเป็นเหตุ จะไม่งมงายในการปรับปรุงใจให้ดีขึ้น ฯ

      45 แต่ก่อน เราตกอยู่ในอำนาจของความประมาท และเกลือกกลั้วด้วยโมหะ มีข่ายคือทฤษฎีคลุมไว้แล้ว เป็นความมืด สิ่งเหล่านี้ เป็นผู้ทำให้ยืดถือสัชญาว่าเป็นตัวเป็นตน ล่วงพ้นความรู้เสียแล้ว เพราะความไม่รู้ธรรม ฯ

      46 กามทั้งหลาย เป็นของไม่มั่นคงไหวหวั่นอยู่เป็นนิตย์ เสมอด้วยเมฆ เช่นเดียวกับฟ้าแลบ อุปมาเหมือนหยดน้ำบนเหล็กแดง ว่างเปล่า ไม่มีสาระ ไม่มีตน และกามทั้งหลายเหล่านี้มีสภาพศูนย์โดยประการทั้งปวง ฯ

      47 กามไม่ย้อมใจเราในอารมณ์ทั้งหลาย ฉันทกะ เธอจะให้พระยาม้าตัวที่ดียิ่ง ตกแต่งเครื่องแต่งตัวม้าแล้วแก่เรา มงคลซึ่งเราคิดไว้แต่ก่อนสมบูรณ์แก่เราแล้ว เราจะเป็นมุนีผู้เป็นธรรมราชา เป็นใหญ่ในธรรมทั้งปวง จะถึงความเป็นเอกอรรคบุทคลของคนทั้งปวงฯ

สารถีฉันทกะทูลว่า

      48 ฝ่าพระบาทจะไม่ทรงเหลียวแลพระแม่เจ้าโคปา ผู้มีพระเนตรเหมือนกลีบบัวบาน มีสร้อยไข่มุกงาม ทรงประดับมณีรัตนะ เหมือนฟ้าแลบออกจากก้อนเมฆในท้องฟ้า ทรงงามพิเศษอยู่บนพระที่บรรทมหรือฯ

      49 และฝ่าพระบาทจะไม่พอพระทัยต่อเสียงขลุ่ย บัณเฑาะว์ ที่ส่งเสียงกังวานแลเสียงกลองเล็ก(กองชนะ) กับปี่ และเครื่องดนตรีขับรำทำเพลง และเสียงนกจะโกระ (นกกระทาดง) เสียงบันลือของนกการเวกเหมือนที่อยู่ของกินนรทั้งหลาย หรือฯ

      50 ฝ่าพระบาทจะไม่ทรงเหลียวแลดอกมะลิซ้อน ดอกอุบล ดอกมะลิลา และดอกจำปา พวงมาลัยมีกลิ่นหอม ดอกไม้อันประเสริฐที่จัดไว้แล้ว กลิ่นไม้กฤษณาที่เผาเป็นควัน และการลูบไล้ของหอมอันประเสริฐเหล่านั้น หรือฯ

      51 ฝ่าพระบาทจะไม่ทรงเหลียวแลกลิ่นแห่งของหอม  และกับข้าวของเสวยที่สำเร็จรูปเป็นอย่างดี มีรสประณีต รสน้ำเจือนำตาลกรวดปรุงแล้วอย่างดี หรือ ขอเดชะ ฝ่าพระบาทจะเสด็จไปไหนฯ

      52 ฝ่าพระบาทจะไม่ทรงเหลียวแลน้ำสรงอุ่นๆ ในยามหนาวและจันทร์อุรคสารเหล่านั้นในยามร้อนและพระภูษาเมืองกาศีอันงามนั้น หรือ ขอเดชะ ฝ่าพระบาทจะเสด็จไปไหนฯ

      53 (ขอเดชะ) กามคุณทั้ง 5เหล่านี้และเป็นของฝ่าพระบาทดังว่าอุบัติขึ้นด้วยบุณยของเทวดาในสวรรค์ ฝ่าพระบาทจงยินดี ประกอบด้วยความชื่นชมและความสุข แต่ครั้นแล้ว ฝ่าพระบาทผู้เลิศในตระกูลศากยก็จะเสด็จไปป่าเสียฯ

พระโพธิสัตว์ตรัสว่า

      54 ดูกรฉันทกะ กามคุณทั้งหลายคือ รูป เสียง กลิ่น รส สปรัศ หลายอย่างต่างๆกัน เราได้บริโภคมาแล้ว  ตลอดได้บริโภคมาแล้ว ตลอดกัลปไม่สิ้นสุดหาประมาณมิได้ ทั้งที่เป็นของเทวดา และเป็นของมนุษย์ แต่มันไม่รู้จักอิ่มในคราวที่พระโอรสองค์ประเสริฐของพระเจ้าแผ่นดินทรงครองความเป็นใหญ่ เป็นพระราชาจักรพรรดิในทวีปทั้ง 4ประกอบด้วยรัตนะ 7 ประการ อยู่ในท่ามกลางเรือนสตรี เราซึ่งได้ครองความเป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นสุยามาเป็นเจ้าแห่งไตรทศ (เทวดา) จุติแล้ว ได้มาเกิดที่นี่ บรรดาสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นทั้งหลาย เราได้ถูกสร้างขึ้นแล้ว(เกิดเป็นคนขึ้นแล้ว) มีอหังการและถือเป็นตัวเป็นตนสูงสุดด้วยสง่าราศีนี้ เราก็ได้บริโภคมาก่อนแล้ว จักรพรรดิในเมืองเทวดา  และความเป็นใหญ่ในเมืองมาร เราก็ได้ครองมาแล้ว กามทั้งหลายอันมั่งคั่งประเสริฐ เราก็ได้บริโภคมาแล้ว แต่ไม่รู้จักอิ่ม ทำไมวันนี้ เธอจะให้เราอิ่มด้วยการเสพสิ่งที่เลวทราบอีก ไปกันเถอะ เราไม่มีสถานที่เช่นนั้นฯ

อีกประการหนึ่ง

      55 ดูกรฉันทกะ เราได้พิจารณาเห็นว่าโลกนี้เป็นทุกข์ ตั้งอยู่ในท่ามกลางโลกแห่งความโศกและความกันดาร(เดินยาก) ไหลลอยไปในความยุ่งยากแห่งเกลศ และความโหดร้ายทุกเมื่อ ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่ยึดเหนี่ยว ในความมืดคือโมหะและอวิทยา ถูกภัยคือชรา พยาธิ มรณะ เบียดเบียน ถูกความทุกข์คือ ชาติ(ความเกิด) กำจัดแล้ว เราโดยสารธรรมนาวา(เรือคือธรรม) ในโลกนี้ บรรทุกไม้และสัมภาระ (สิ่งของเครื่องใช้) คือ กำลังแห่งมหาตยาคะ (การเสียสละใหญ่) ศีล พรต กษานติ และวีรยะ ได้รวบรวมสิ่งเป็นสาระอันหนักด้วยอัธยาศัยที่แข็งแกร่ง เราได้ขึ้นไปบนเรือนี้ด้วยตนเอง  ยังตนให้ข้ามมหาสมุทรคือสังสารวัฏ แล้วเราจะยังโลกนับจำนวนหาที่สุดมิได้ ให้ข้ามมหาสมุทรคือโลกอันยากที่จะข้ามได้ ซึ่งเป็นโลกแห่งความโศกและความกันดาร เกลื่อนกล่นไปด้วยคลื่นคือโทษะและด้วยปลาร้ายคือราคะ จิตของเราเป็นอย่างนี้ ฯ

      56 ดังนั้น เราจึงยังตนให้ข้ามมหาสมุทรคือภพ ซึ่งประกอบด้วยข้าศึกคือปลาร้ายได้แก่ทฤษฎีและรากษสคือเกลศนี้ ครั้นข้ามได้ด้วยตนเองแล้ว จึงยังโลกมีจำนวนหาที่สุดมิได้ ให้อยู่บนบก ไม่มีชราและมรณะ เป็นสถานที่สุขเกษมฯ

      ครั้งนั้น สารถีฉันทกะร้องไห้หนักขึ้น ทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ นั่นเป็นความแน่นอนของผู้ซึ่งเป็นไปในความมั่นคงแล้วหรือ ทูกกระหม่อม

พระโพธิสัตว์ตรัสว่า

      57 ดูกรฉันทกะ เธอจงฟังความแน่นอนของเรา เพื่อให้สัตว์ทั้งหลายหลุดพ้น เพื่อยังประโยชน์ให้เกิดขึ้น ความแน่นอนของเราไม่เรรวนไม่เขยื้อน ไม่เปลี่ยนแปลง มั่นคง เหมือนขุนเขาเมรุยากที่จะโงนเงนฯ

สารถีฉันทกะทูลว่า ความแน่นอนของฝ่าพระบาทผู้เป็นโอรสองค์ประเสริฐ เป็นอย่างไร?

พระโพธิสัตว์ตรัสว่า

      58 สายฟ้าคือวัชราวุธ(อาวุธองค์อินทร์) และขวาน หอก ศร (ของรามสูร) ในฤดูฝน ฝ้าผ่าอันรุ่งโรจน์และเหล็กหลอมละลาย ยอดภูเขาที่มีไฟลุกโพลง (สิ่งเหล่านี้) จะตกลงบนหัวเรา เราก็ไม่คิดที่จะปรารถนาบ้านเรือนอีกเลยฯ

      59 ครั้งนั้น เทพยดาที่อยู่ในอากาศ ต่างก็แสดงความร่าเริงบันเทิงใจ โปรยฝนดอกไม้ลงมา กล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ชนะ พระองค์มีความคิดวิเศษยิ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นที่พึ่ง พระองค์เป็นผู้ทรงประทานอภัยในโลกฯ

      59 (ต้นฉบับเลขซ้ำกัน) ใจของผู้ประเสริฐ ย่อมไม่ถูกย้อมเหมือนอากาศไม่ถูกย้อมด้วยความมืด ด้วยฝุ่นละออง ด้วยควัน และด้วยหมอก พระองค์ไม่เปรอะเบื้อนในความสุขซึ่งเกิดแต่อารมณ์ ทรงเป็นผู้ปราศจากมลทินเหมือนบัวสด ที่เกิดในน้ำ (แต่ไม่เปียกน้ำ)ฯ

      ครั้งนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศานตมติเทวบุตร กับลลิตพยูหะเทวบุตร ทราบความตกลงพระหทัยแน่นอนของพระโพธิสัตว์แล้ว  ได้ทำให้ หญิง ชาย เด็กชาย เด็กหญิงทุกคนในมหานครกบิลพัสดุ์หลับสนิท และทำให้เสียงทั้งปวงหายไป

      ครั้งนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย  พระโพธิสัตว์ทรงทราบว่าชาวเมืองทั้งหมดหลับสนิทแล้ว และทรงทราบว่าเวลาเที่ยงคืนใกล้เข้ามาแล้ว ทั้งทรงทราบว่า ดวงจันทร์ประกอบด้วยปุษยฤกษ์ ทรงทราบว่าขณะนี้เป็นเวลาเสด็จอภิเนษกรมณ์แล้ว จึงทรงเรียกสารถีฉันทกะมาถว่า ดูกรฉันทกะ บัดนี้เธออย่าทำให้เราท้อใจ จงแต่งตัวมากัณฐกะแล้วให้เรา อย่าชักช้า

      และนี่เป็นพระวาจาที่พระโพธิสัตว์เปล่งอุทานขึ้นในลำดับนั้น ครั้นแล้ว ในขณะนั้นนั่นเองเทพโลกบาลทั้งสี่ได้ยินพระวาจาของพระโพธิสัตว์ จึงไปสู่พิภพของตนๆแล้วด่วนๆออกจากพิมานของตนๆมายังมหานครกบิลพัสดุ์อีก เพื่อกระทำการบูชาพระโพธิสัตว์

      ในบรรดาเทพโลกบาลเหล่านั้น ธฤตราษฏระมหาราช ผู้เป็นอธิบดี(เป็นใหญ่)ของคนธรรพ์มาทางทิศตะวันออก พร้อมด้วยคนธรรพ์หลายหมื่นแสนโกฏิ บรรเลงดนตรีฟ้องรำขับร้องต่างๆครั้นมาถึงแล้ว ก็กระทำประทักษิณมหานครกบิลพัสดุ์แล้วนมัสการพระโพธิสัตว์ อาศัยยืนอยู่ ณ ทิศตะวันออกตามทางที่มา

      วิรูฒกะมหาราช มาทางทิศใต้  พร้อมด้วยกุมภาณฑะหลายหมื่นแสนโกฏิ ซึ่งมีมือห้อยด้วยสร้อยมุกดาหารต่างๆถือแก้วมณีต่างๆและอุ้มหม้อน้ำเต็มไปด้วยน้ำหอมกลิ่นต่างๆครั้นมาถึงแล้วก็กระทำประทักษิณมหานครกบิลพัสดุ์ แล้วนมัสการพระโพธิสัตว์  อาศัยยืนอยู่ ณ ทิศใต้ตามทางที่มานั่นเอง

      วิรูปากษะมหาราช มาทางทิศตะวันตกพร้อมนาคหลายหมื่นแสนโกฏิ ซึ่งมีมือห้อยด้วยสร้อยมุกดาหารต่างๆ ถือแก้วมณีต่างๆทำให้เมฆฝนผงไม้จันทน์และดอกไม้ตั้งขึ้น และมีลมจากทิศต่างๆพัดอย่างอ่อนๆด้วยกลิ่งหอม ครั้นมาถึงแล้ว ก็กระทำประทักษิณมหานครกบิลพัสดุ์ แล้วนมัสการพระโพธิสัตว์ อาศัยยืนอยู่ ณ ทิศตะวันตก ตามทางที่มานั่นเอง

      กุเพระมหาราช มาทางทิศเหนือ พร้อมด้วยยักษ์หลายหมื่นแสนโกฏิ ซึ่งถือแก้วมณีโชติรส (แก้วมณีมีรัศมีสว่าง)และมือถือเทียน มือถือโคมไฟสว่างจ้า และถือเครื่องประหารต่างๆ เช่น เป็นต้น ธนู ดาบ ลูกศร หอก โตมร(กระบองเหล็ก) หอกสามง่าม จักร หลาวเหล็ก เกาทัณฑ์ แต่งตัวรัดกุม ครั้นมาถึงแล้วก็กระทำประทักษิณมหานครกบิลพัสดุ์แล้วนมัสการพระโพธิสัตว์ อาศัยยืนอยู่ ณ ทิศเหนือตามทางที่มานั่นเอง

      และองค์ศักรผู้เป็นใหญ่แก่เทวดาทั้งหลายมาพร้อมกับเทพชั้นดาวดึงส์ ซึ่งถือดอกไม้ของหอมพวงมาลัย ผงจันทน์เครื่องทาเครื่องแต่งตัวฉัตร ธงชัย ธงปตาก ตุ้มหู และเครื่องประดับอันเป็นทิพย์ ครั้นมาถึงแล้ว ก็กระทำประทักษิณมหานครกบิลพัสดุ์ แล้วพร้อมด้วยบริวารนมัสการพระโพธิสัตว์ยืนอยู่ ณ อากาศเบื้องบนตามทางที่มานั่นเอง

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารถีฉันทกะได้ยินถนัดซึ่งพระวาจาของพระโพธิสัตว์ มีนัยน์ตาเต็มไปด้วยน้ำตา ทูลพระโพธิสัตว์ดังนี้ว่า ข้าแต่พระอารยบุตรฝ่าพระบาททรงทราบกาล ทรงทราบเวลา ทรงทราบสมัย และนี่ก็ใช่กาลใช่สมัยที่จะเสด็จไป เพราะฉะนั้น ฝ่าพระบาทจะตรัสให้ข้าพระองค์ทำอย่างไร?

      พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ฉันทกะ นี่เป็นกาล(ถึงคราวแล้ว)

      สารถีฉันทกะทูลว่า ข้าแต่พระอารยบุตร เป็นกาลของใคร?

พระโพธิสัตว์ว่า

      60 กาลใดที่เราปรารถนา เราค้นหามานานแล้วเพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลายเราจะได้บรรลุการตรัสรู้ซึ่งบทอันเป็นทางไม่แก่และไม่ตาย เราจะปลดเปลื้องโลก กาลนั้นได้ปรากฏแล้ว ฯ

นี่เป็นธรรมในข้อนี้

ท่านกล่าวไว้ในข้อนี้ว่า

      61 เทวดาประจำพื้นดิน (ภูมิเทพ) เทวดาประจำอากาศ และเทพโลกบาลกับองค์ศักรผู้เป็นใหญ่แก่เทวดาทั้งหลายพร้อมด้วยยักษ์ เทพ ชั้นยามา ชั้นดุษิตา ชั้นนิรมิตา และเทพชั้นปรนิรมิตาทั้งหลายฯ

      62 เทพวรุณผู้เอาใจใส่ แม้นาคราช ผู้เป็นเผ่ามกร ปราศจากความเดือดร้อน เทพทั้งหลายเหล่านั้นมาประชุมกันแล้ว เพื่อบูชาในคราวเสด็จอภิเนษกรมณ์ของพระองค์ผู้ประเสริฐกว่าคนทั้งหลายฯ

      63 เทพทั้งหลายใดในชั้นรูปาวจร ประพฤติความสงบ พร้อมกับมีธยานเป็นโคจร (มีธยานเป็นที่ประพฤติ) เทพทั้งหลายเหล่านั้น มาประชุมกันแล้วเพื่อบูชาพระผู้สูงสุดกว่าคนทั้งหลาย ซึ่งเป็นผู้ควรบูชาของโลกทั้ง 3ฯ

      64 พระพุทธเจ้าทั้งหลายในทิศทั้ง 10 ซึ่งทรงเป็นผู้ช่วยเหลือพระโพธิสัตว์ผู้ประพฤติบุรพจารี (ประพฤติบารมิตามาแต่ครั้งก่อน) ก็ได้เสด็จมาเพื่อจะดูการเสด็จอภิเนษกรมณ์ของพระชินว่า เราจะทำการบูชาตามสมควร ฯ

      65 แม้พระมหาตมัน (ศิวะ)ผู้เป็นอธิบดีของคุยหกะ(*) ทั้งหลาย มีวัชราวุธรุ่งเรือง ยืนอยู่ในอากาศ มีร่างกายแต่งตัวรัดกุม แล้วกล้าด้วยกำลังความเพียร มือถือวัชราวุธส่องแสงโชติช่วง ฯ

      66 เทพบุตรทั้งสองคือจันทร์และอาทิตย์ ได้มายืนขนาบขวาซ้ายประนมนิ้วทั้ง 10 ทำอัญชลี เทพทั้งหลายเหล่านั้นคอยติดตามส่งเสียงว่า เสด็จอภิเนษกรมณ์แล้ว ฯ

      67 และปุษยนักษัตรพร้อมทั้งคณะ ได้ทำตนเป็นผู้สนใจ ได้ทำตนเป็นผู้สนใจ มายืนอยู่เบื้องหน้าของพระโพธิสัตว์ผู้สูงสุดกว่าคน เปล่งเสียงดังแสดงความดีใจว่า ฯ

      68 ในวันนี้ ความสำเร็จ ความดีงาม และมงคลทั้งปวง จงมีแด่พระองค์ทั้งเป็นปุษยนักษัตร ทั้งเป็นสมัยควรเพื่อเสด็จไป แม้ข้าพเจ้าก็จะไปพร้อมกับพระองค์ ขอพระองค์ผู้ไม่มีใตรเหนือกว่า จงประหารราคะเสียเถิด ฯ

      69 และเทวบุตรผู้ตักเตือน ก็ได้เตือนแล้ว ขอพระองค์ผู้สูงส่งด้วยกำลังและความเพี่ยรจงลุกขึ้นโดยเร็วเถิด จงยังสัตว์ทั้งปวงผู้ถูกความทุกข์ประหารแล้ว ให้ข้ามพ้นจากความทุกข์ทั้งหลาย เวลาแห่งการเสด็จอภิเนษกรมณ์ปรากฏแก่พระองค์แล้ว ฯ

      70 เทวดาทั้งหลายตั้งพันโกฏิ มาประชุมกันแล้ว ยังฝนดอกไม้ให้ตกลงด้วยความดีใจ และพระองค์ประทับนั่งบนพระแท่นอันประเสริฐ มีเทวดาทั้งหลายแวดล้อม มีเดชรุ่งเรืองกำลังส่องแสงสว่าง ฯ

 

      71 พวกสตรี เด็กชาย และบุรุษ ตลอดจนเด็กหญิงในพระนครคนทั้งหมดนั้น นอนกันแล้ว ต่างมีใจเหน็ดเหนื่อย ปล่อยให้เคลื่อนไปแต่อริยาบถ ช้าง ม้า โค นกสาลิกา  นกแก้ว นกกระเรียน และนกยูง เหล่านั้นก็นอนกันหมดแล้ว ต่างมีใจเหน็ดเหนื่อย เขาจะไม่เห็นรูปของพระองค์ ฯ

      72 และพวกศากยทั้งหลายให้ลูกๆยืนถือกระบองเพชรอันแข็งแกร่ง เขาเหล่านั้นต่างก็ถูกสะกดให้หลับอยู่บนหลังช้าง หลังม้า และในรถ ทั้งหลาย และที่ซุ้มประตูอันประเสริฐพระราชา ราชกุมาร และคนของพระเจ้าแผ่นดิน ก็หลับกันหมุด แม้หมู่นารีทั้งหลาย ก็หลับผ้าผ่อนหลุดลุ่ยไม่ตื่น ฯ

      73 พระโพธิสัตว์มีพระสุรเสียงเหมือนเสียงพรหม ตกแต่งพระองค์น่ารัก มีพระสุรเสียงดังเหมือนเสียงนกการเวก เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว ถึงเวลากึ่งคืน พระองค์ตรัสกับสารถีฉันทกะว่า ดีแล้ว ฉันทกะ เธอจงให้ม้ากัณฐกะ ซึ่งตกแต่งไว้เองงามแล้วแก่เรา อย่าทำอันตราย จงให้เราเสียเร็วๆถ้าเธอเข้าใจความรักของเรา ฯ

ฉันทกะฟังแล้ว มีนัยน์ตานองด้วยน้ำตา ทูลพระลูกเจ้านั้นว่า

      74 สารถีฉันทกะทูลถามว่า ข้าแต่พระบาทผู้เป็นสารถีประเสริฐซึ่งเป็นผู้ฝึกสัตว์ ฝ่าพระบาทจะเสด็จไปไหน ฝ่าพระบาทจะมีธุระอะไรกับม้า ฝ้าพระบาททรงทราบกาล ทรงทราบสมัย ทรงประพฤติธรรม กาลนี้ใช่กาลที่จะเสด็จไปไหนๆ ประตูปิดลงกลอนแน่น สำหรับฝ่าพระบาทใครจะเปิดประตูให้ฝ่าพระบาท ครั้งนั้น อางค์ศักรเปิดประตูเหล่านั้นออก  เพราะอำนาจแห่งเจตนาของใจ สารถีฉันทกะเห็นแล้วก็หัวเราะ  และกลับเป็นทุกข์หลั่งน้ำตาอีก พระโพธิสัตว์ทรงข้าพ้นออกมาได้ ตรัสว่า อนิจจาเอ๋ยใครจะช่วยเหลือเรา ส่วนเราก็จะทำอย่างไร เราจะวิ่งไปทิศไหน พระวาจาที่พระโพธิสัตว์ผู้ทรงไว้ซึ่งอำนาจสูงตรัสแล้ว ใครๆก็ไม่อาจทนอยู่ได้ ฯ

      75 อนิจจาพวกทหาร 4 กองพลนั้นมีกำลังมกา เขาจะทำอย่างไรในที่นี้? พระราชา พระราชกุมาร คนของพระเจ้าแผ่นดิน เขาเหล่านั้นไม่รู้เหตุการณ์นี้ และหมู่สตรีผู้นอนอยู่ สตรีผู้มีเกียรติถูกเทวดา สะกดให้หลับแล้ว  อนิจจา ความตั้งพระทัยของพระโพธิสัตว์ ซึ่งได้คิดไว้แต่ก่อนๆจะบรรลุ จะสำเร็จหรือ ฯ

      76 เทวดาพันโกฏิ มีใจยินดี ได้บอกกัสารถีฉันทกะนั้นว่า ดีแล้วฉันทกะ เธอจงให้ม้าตัวประเสริฐ อย่าให้พระกุมารผู้เป็นายลำบากเลย กลองใหญ่ สังข์ กลองเล็กและเครื่องดนตรีตั้งโกฏิ เทวดาทั้งหลายประโคมขึ้นแล้ว บุรีอันประเสริฐก็ยังถูกเทวดาทั้งหลายสะกดให้หลับ ไม่มีใครรู้เหตุการณ์นี้เลย ฯ

      77 ดูกรฉันทกะ (เทวดาบอก) เธอจงดูบนอากาศ แจ่มใส งามด้วยแสงทิพย์ เธอจงดูพระโพธิสัตว์ตั้งหลายพันโกฏิมาเพื่อบูชา เธอจงดูองค์ศักรสามีของพระนางศจี มีกำลังพลแวดล้อมยืนอยู่ที่ประตูสง่างาม จงดูแม้ซึ่งเทวดาและอสูร หมู่ของกินนรซึ่งมาเพื่อบูชา ฯ

      78 สารถีฉันทกะ ได้ฟังคำของเทวดาทั้งหลายแล้ว จึงร้องเรียกม้านั้นมาว่า พระผู้เป็นสารถีประเสริฐซึ่งเป็นผู้ฝึกสัตว์ เสด็จมาแล้ว เจ้าจักพาพระองค์เสด็จไปก่อน แล้วสารถีฉันทกะน้นนำม้านั้น ซึ่งมีสีเป็นมัน มีกีบเป็นสีทองตกแต่งไว้เองด้วยความหมาย น้อมเข้าไปถวายให้เป็น พาหนะของพระโพธิสัตว์ผู้ทรงคุณธรรมดังว่ามหาสมุทร ตนเองร้องไห้ดวงใจเป็นทุกข์ ฯ

      79 แล้วกราบทูลว่า ม้าของพระองค์ตัวนี้ มีลักษณะประเสริฐเป็นผู้กระทำประโยชน์ เกิดมาดีแล้ว งาม ฝ่าพระบาทเสด็จไปเถิด ความตั้งพระทัยซึ่งทรงคิดไว้แต่ก่อนๆขอจงสำเร็จแก่ฝ่าพระบาทเถิด ศัตรูผู้กระทำอันตรายจงหลีกเว้นไปเถิด ขอให้พรตคือความอยากสงบจงสำเร็จเถิด และขอฝ่าพระบาทจงประทานความสุขแก่โลกทั้งปวงและแก่สวรรค์ เพื่อศานติ ฯ

      80 แผ่นดินไหวไปทั่วด้วยวิการทั้ง 6 ในขณะที่พระโพธิสัตว์ลุกขึ้นจากพระแท่นที่บรรทม เสด็จขึ้นทรงพระยาม้ามีศักดิ์สูงสุด ซึ่งงามเหมือนจันทรมณฑลเต็มดวง เทพโลกบาลมีมือสะอาดเหมือนดอกบัวปราศจากมลทิน นำหน้าม้ามีศักดิ์สูงสุด และองค์ศักรองค์พรหมทั้งสอง ชี้ทางเบื้องหน้าพระโพธิสัตว์ว่า ทางนี้แหละพะยะค่ะ ฯ

      81 พื้นแผ่นดินเปล่งรัศมีออกโดยพระโพธิสัตว์นั้น มีผิวสดใสปราศจากมลทินส่องสว่างแล้ว ครั้งนั้นสัตว์ในอบายทั้งปวง ต่างสงบมีความสุขสบาย ไม่มีความทุกข์แผ้วพาน มีดอกไม้ในฤดูฝน(ดอกมะลิลา) ดนตรีตั้งโกฏิ เทวดาและอสูรทั้งหลายในสนามต่างพากันสรรเสริญ พวกเหล่านั้นทั้งหมด ทำประทักษิณบุรีอันประเสริฐแล้วประกอบด้วยความยินดีพากันไป ฯ

      82 เทวดาในบุรีประเสริฐสุด อนาถใจ พากันไปเฝ้าพระมหาบุรุษ ยืนอยู่เบื้องหน้า มีใจของพึ่งพระกรุณา ส่งเสียงร้องเรียกพระมหาบุรุษผู้มีพระพักตร์เหมือนดอกบัวว่า ฯ

      83 แผ่นดินบุรีทั้งหมดจะระคนด้วยความมืด พระนครปราศจากพระองค์แล้ว จะไม่งาม ข้าพเจ้าไม่ยินดีทำความปรีติอย่างไรเลย เมื่อพระราชวังนี้นั้นพระองค์ละไปแล้ว ฯ

      84 จะไม่ได้ยินเสียงร้องในหมู่นก จะไม่ได้ยินเสียงขลุ่ยไพเราะในหมู่นางสนมกำนัล และจะไม่ได้ยินเสียงขับร้องอันเป็นเสียงแสดงมงคลซึ่งปลุกพระองค์ให้ตื่นบรรทม อีกแล้ว นะพระองค์ผู้มียศไม่สิ้นสุด ฯ

      85 จะไม่ได้เห็นหมู่เทวดาและนำสิทธิ์ทั้งหลายทำการบูชาพระองค์ตลอดคืนวันอีกแล้ว จะไม่ได้ดมกลิ่นทิพย์อีกแล้ว เมื่อพระองค์เสด็จจากไป และเมื่อหมู่เกลศถูกทำลายแล้ว ฯ

      86 และพระราชวังพระองค์ละแล้ววันนี้ ก็จะเหมือนพวงมาลัยปราศจากผู้ทัดทรง รังแต่จะเหม็นสะไอ ข้าแต่พระองค์ผู้มีสิริบนพระเศียร โรงละคอนที่สร้างไว้ ก็จะทให้ข้าพเจ้าเกรงว่าจะไม่มีอีก เมื่อพระองค์เสด็จไปเสียแล้ว ฯ

      87 พระองค์ทรงนำไปเสียแล้วซึ่งโอชะ(รสอร่อย) และกำลังในบุรีทั้งหมด พระนครนี้จะมีทางเดินไม่สม่ำเสมอ  ไม่งาม กำลังแห่งจักรพรรดิ ตามที่ฤษีทำนายไว้นั้นไม่จริงเสียแล้ว ฯ

      88 แผ่นดินที่มีกำลัง และกำลังของศากยทั้งหลาย จะกลายเป็นไม่มีกำลัง พระองค์ตัดวงศ์ในราชตระกูลนี้เสียแล้ว ความหวังในคณะศากยทั้งหลายศูนย์สิ้นแล้ว เมื่อมีพุ่มไม้คือบุณยเป็นพุ่มไม้ใหม่ พระองค์ก็เสด็จจากไปเสียแล้ว ฯ

      89 ข้าพเจ้นี่แหละ จะไปตามทางกับพระองค์ เหมือนพระองค์เสด็จไปโดยไม่มีมลทิน โดยปราศจากมลทิน และทรงเกิดความสงสาร ความกรุณา ขอพระองค์จงทอดพระเนตรพระราชวังนี้ ฯ

      90 พระโพธิสัตว์ผู้มีปรัชญา ได้ทรงทอดพระเนตรพระราชวังแล้ว ทรงเปล่งพระวาจามีพระสุรเสียงไพเราะว่า  เรายังไม่บรรลุการกระทำให้สิ้นชาติและมรณะ จะไม่เข้ามายขังบุรีกบิลพัสดุ์ ฯ

      91 ตราบใด เรายังไม่ได้ตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐ อันเป็นทางให้ถึงความไม่แก่ และไม่ตาย เป็นอมฤตเป้นอย่างดีแล้ว เราจะไม่ทำพระนครกบิลพัสดุ์ซึ่งเป็นประธาน ให้เป็นที่นั่งที่นอนและที่เดินตราบนั้น ฯ

      92 ในขณะที่พระโพธิสัตว์ผู้เป็นประธานของโลกนั้นเสด็จออกไปหมู่นางฟ้าทั้งหลายเหล่านั้นที่ไปในอากาศ ต่างก็สรรเสริญว่า พระองค์เป็นทักษิณียบุทคล(*)ผู้ใหญ่ยิ่ง พระองค์เป็นเนื้อนาบุณยผู้ใหญ่ยิ่ง พระองค์เป็นเนื้อนาของผู้ต้องการบุณย พระองค์เป็นผู้ประทานผลไม้อมฤต ฯ

ทิกษิณียบุทคล คือ คนที่ควรแก่การถวายสิ่งของเพื่อผลอันเจริญหรือเพื่ออุทิศผลไปให้แก่ผู้ที่ตายไปแล้ว หรือนัยหนึ่ง ได้แก่คนที่ควรเคารพกราบไหว้

      93 พระองค์ตั้งพระทัยต่อการตรัสรู้ ด้วยทาน(การให้) ทมะ(ระวัง กรรเมนทรีย์) (*) สํยมะ (ระวัง ชญาเนนทรีย์) (**)  มาแล้วหลายโกฏิกัลปเป็นอันมาก  พระองค์มีพระหทัยกรุณาสัตว์ทั้งหลาย พระองค์มีศีลบริศุทธ มีพรตดี ทรงประพฤติไม่ขาดตกบกพร่อง พระองค์ไม่มีความใคร่ ไม่ปรารถนาโภคสมบัติ แลทรงเป็นผู้รักษาศีลเป็นปกติ ฯ

* กรรเมนทรีย์ ได้แก่ อินทรีย์ทำงาน คือ มือ เท้า ปาก ท้อง อวัยวะเพศ

** ชญาเนนทรีย์ ได้แก่อินทรีย์รู้ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย

      94 พระองค์ถือลัทธิกษานติทุกเมื่อ พระองค์เคยถูกตัดอวัยวะแขนขา พระองค์ไม่โกรธไม่อาฆาตเพื่ออาฆาตเพื่อป้องกันสัตว์ทั้งหลาย พระองค์มีความเพียงทุกเมื่อ พระองค์ไม่มีความท้อถอยมาหลายโกฏิกัลป  พระองค์ตั้งพระหทัยบูชาโพธิ ทรงทำยัชญ (บำเพ็ญพรต) นับตั้งโกฏิกัลป ฯ

      95 พระองค์ทรงเข้าธยานเป็นปกติ ทรงเป็นผู้มีจิตสงบระงับ ทรงเพ่งพิจารณาถึงเกลศทั้งปวง ทรงปลดปล่อยสัตว์ทั้งหลายนับจำนวนตั้งโกฏิพระองค์ไม่ติด(อยู่ในอะไร) ทรงเป็นปราชญ์ ทรงมีจิตพ้นแล้วจากความผิดที่เกิดขึ้นจากเจตนาทั้งหลาย ทรงเป็นผู้ชนะแล้ว ทรงถึงสวยัมภู(ตรัสรู้เอง) ฯ

      96 พระองค์มีไมตรีจิตทุกเมื่อ ทรงถึงฝั่งด้วยพระกรุณา ทรงมีมุทิตา ทรงเพ่งต่ออุเบกษา(ความวางเฉย)  ทรงรู้วิธีในทางพรหม(พรหมวิหาร) พระองค์เป็นเทวดาเหนือเทวดาทั้งหลาย ทรงเป็นผู้ควรที่เทวดาทั้งหลายพึงบูชา ทรงมีจิตงามปราศจากมลทินบริศุทธ ทรงถึงฝั่งด้วยการประกอบในคุณธรรม ฯ

      97 ทรงเป็นที่พึ่งของผู้เดือดร้อนด้วยด้วยภัยทั้งหลาย ทรงเป็นประทีปของผู้ไม่มีตาดีทั้งหลาย ทรงลบล้างอุปัทวอันตรายทั้งหลาย ทรงเป็นแพทย์บำบัดโรคเรื้อรัง ทรงเป็นพระราชาแท้จริง คือเป็นพระราชาเพราะธรรมทรงเป็นองค์อินทร์(ผู้เป็นใหญ่) มีเนตรพันหนึ่ง ทรงเป็นพรหมผู้สวยัมภู (ตรัสรู้เอง) ทรงมีกายและจิตประเสริฐ ฯ

      98 พระองค์เป็นนักปราชญ์ มีพระปรัชญามาก ทรงเป็นวีรบุรุษมีจิตพิจารณา กล้าหาญ ทรงเป็นผู้ทำลายเกลศ ทรงชัยชนะไม่มีใครชนะได้ ทรงชนะศัตรู ทรงเป็นสีหะละความกลัว ทรงเป็นช้างมีจิตฝึกหัดดีแล้ว ทรงเป็นโคผู้เป็นประธานในคณะ ทรงมีความอดกลั้น ละความโกรธได้ ฯ

      99 ทรงเป็นดวงจันทร์เปล่งรัศมี ทรงเป็นดวงอาทิตย์ส่องแสงสว่าง ทรงเป็นอุลกะ(ก้อนไฟตกจากฟ้า) ทำความสว่างโชติช่วง  ทรงพ้นจากความมืดทั้งปวง ทรงเป็นเหมือนดอกบัวไม่มีอะไรเปรอะเปื้อน ทรงเป็นเหมือนดอกไม้มีกลีบได้ระเบียบดี ทรงเป็นภูเขาเมรุไม่ไหวหวั่น ทรงเป็นพระอาจารย์ ทรงเป็นแผ่นดินเป็นที่อาศัยเลี้ยงชีพ ทรงเป็นเหมือนรัตนะไม่หวั่นไหว ฯ

      100 พระองค์ทรงชนะเกลศมาร พระองค์ทรงชนะสกันธมาร พระองค์ทรงชนะมฤตยุมารเทวะ บุตร (มาร) พระองค์ก็ทรงชนะแล้ว พระองค์เป็นหัวหน้าพ่อค้าเกวียนผู้ใหญ่ยิ่ง พระองค์จะชี้ทางอันประเสริฐมีองค์ 8 ให้แก่ผู้ตั้งอยู่ในทางผิดในไม่ช้า ฯ

      101 พระองค์ก็เป็นผู้ทำลายชรามรณะและเกลศ พระองค์พ้นแล้วจากความมืดมนอธการ พระองค์โด่งดังทั้งในมนุษยโลกและในเทวโลก พระองค์ทรงเป็นชินพระผู้ชนะ ทรงถึงสวยัมภู มีผู้สรรเสริญได้สรรเสริญแล้วหาประมาณมิได้ พระองค์ทรงไว้ซึ่งรูปบุรุษอย่างประเสริฐ ซึ่งชาวโลกสรรเสริญพระองค์ว่ามีบุณยเหมือนสีหะผู้ฉลาด ฯ

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์เสด็จอภิเนษกรมณ์แล้ว  ล่วงพ้นไปแล้วล่วงพ้นศากยทั้งหลาย ล่วงพ่นความหลอกลวง ทรงแนะนำพรานเบ็ดผู้แข็งแรงทั้งหลายในตำบลหนึ่ง ในที่ไกลออกมาได้ 6 โยชน์ ในที่นั้น เวลารู่งสว่างก็ปรากฏแก่พระโพธิสัตว์ ครั้นแล้วพระโพธิสัตว์เสด็จลงจากม้า ประทับบนพื้นดิน ทรงสละเทวดา นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครุฑ กินนร งูใหญ่ เป็นอันมากนั้นไป ครั้นแล้ว พระองค์ทรงพระดำริว่า เครื่องอาภรณ์เหล่านี้ และม้ากัณฐกะ เราจะมอบให้ในมือของสารถีฉันทกะ

      ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เรียกสารถีฉันทกะมาแล้วตรัสว่า ไปเถิดเธอ ฉันทกะเธอจงเอาเครื่องอาภรณ์เหล่านั้น และม้ากัณฐกะกลับไป สถานที่ซึ่งสารถีฉันทกะกลับนั้น ได้ประดิษฐานเจดีย์ไว้ และเจดีย์นั้นเรียกว่า ฉันทกะนิวรรตนะเจดีย์ คือเจดีย์ฉันทกะกลับ

      พระโพธิสัตว์ทรงพระดำริอีกว่า เมาลี และการบรรพชาจะทำอย่างไร พระองค์ตัดพระเมาลีด้วยมีด แล้วโยนขึ้นไปในอากาศ พระเมาลีนั้นเทวดาชั้นดาวดึงส์ได้มารับเอาไปเพื่อบูชา จึงมีการบูชาพระเมาลีในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จนกระทั่งทุกวันนี้  แม้ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น ก็ได้ประดิษฐานเจดีย์ไว้ และเจดีย์นั้นเรียกว่า จุฬาประดิครหณะเจดีย์ คือ เจดีย์รับพระเมาลีแม้ทุกวันนี้

      พระโพธิสัตว์ทรงพระดำริอีกว่า การบรรพชาและผ้าแคว้นกาศี จะทำอย่างไรถ้าเราได้ผ้าย้อมน้ำฝาดสมควรแก่ผู้อยู่ป่าก็จะดี  ครั้งนั้น เทวดาชั้นศุทธาวาสคิดขึ้นว่า เราควรทำผ้าย้อมน้ำฝาดถวายพระโพธิสัตว์ ในบรรดาเทพเหล่านั้น เทวะบุตรผู้หนึ่ง หายจากรูปทิพย์แปลงรูปเป็นพรานป่า  นุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาด มายืนอยู่เบื้องหน้าพระโพธิสัตว์ ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ตรัสกับเขาว่า ดูกรท่านผู้ควรนับถือ ถ้าท่านจะให้ผ้าย้อมน้ำฝาดทั้งหลายแก่เรา เราจะให้ผ้าแคว้นกาศีเหล่านี้แก่ท่าน พรานป่านั้นพูดว่า ผ้าของท่านเหล่านั้นงาม แต่ผ้าเหล่านี้เป็นผ้าของข้าพเจ้า พระโพธิสัตว์ตรัสว่า เราขอท่านเถอะ ครั้นแล้ว เทวะบุตรผู้แปลงรูปเป็นพรานป่านี้ ก็ถวายผ้าย้อมน้ำฝาดแก่พระโพธิสัตว์แล้วรับผ้าแคว้นกาศี ครั้งนั้น เทพบุตรผู้นั้นเกิดความเคารพเทิดทูกนผ้าเหล่านั้นไว้บนศีรษะด้วยมือทั้งสอง แล้วจากที่นั้นไปยังเทวโลก เพื่อบบูช่าผ้าแคว้นกาศีเหล่านั้น การกระทำแลกเปลี่ยนผ้ากันนั้น สารถีฉันทกะก็เห็น แม้ในสถานที่นั้นก็ได้ประดิษฐานเจดีย์ไว้ เจดีย์นั้น เรียกว่า กาษายัครหณเจดีย์  คือเจดีย์รับผ้าย้อมน้ำฝาด แม้ทุกวันนี้

      ในกาลเมื่อพระโพธิสัตว์ทรงตัดพระเมาลี ทรงครองผ้าย้อมน้ำฝาด เทวบุตรตั้งแสน ยินดีร่างเริงดีใจโยนผ้าเปล่งเสียงบันลึกกึกก้องว่า ดูกรท่านผู้ควรเคารถทั้งหลายผู้เจริญสรวารถสิทธกุมารบรรพชาแล้ว พระองค์ จะตรัสรุ้อนุตตรสัมยักสัมโพธิแล้ว จะยังจักรคือธรรมให้หมูน จะทรงปลดเปลื้องสัตว์ทั้งหลาย ผู้ที่มีชาติ(ความเกิด) เป็นธรรมดานับไม่ถ้วน ให้พ้นจากชาติ กระทั่งปลดเปลื้องให้พ้นจาก ชรา พยาธิ มรณะ โศกะ ปริเทวะ ทุกขะ เทารมนัส อุปายาส ให้ข้ามพ้นจากมหาสมุทรคือสังสารวัฏ มาถึงฝั่งให้ดำรงอยู่ในที่ปราศจากอันตรายที่สุด ไม่มีภัย ไม่มีโศก ไม่มีอุปัททวอันตราย เป็นบรมคติ ปราศจากธุลีคือเกลศ เป็นอมฤตและเป็นธรรมธาตุ เสียงบันลือนั้นดังขึ้นไปกระทั่งถึงชั้นอกนิษฐโดยเสียงสืบๆต่อกันไป

      ลำดับนั้น นางสนมกำนัลทั้งหลาย เมื่อไม่เห็นพระกุมาร ต่างก็ค้นหาในประสาทฤดูร้อน ฤดูหนาว ฤดูฝน ในที่อยู่ ในบ้านเรือน คราวใดที่หาไม่เห็น คราวนั้นก็เป็นเหมือนนางนกออกโดดเดี่ยวอยู่เดียวดาย ส่งเสียงไห้หากัน ฉะนั้น ในบรรดานางสนมกำนัลเหล่านั้น บ้างก็เร่าร้อนด้วยความโศกเป็นที่สุด ร้องไห้ว่า โธ่พ่อไปไหน บ้างก็ร้องไห้ว่าพี่ไปไหน บ้างก็ร้องไห้ว่าโธ่พระผู้เป็นที่พึ่งไปไหน บ้างก็ร้องไห้ว่าโธ่ผัวไปไหนบ้างก็ร้องไห้ด้วยการพร่ำเพ้อรำพันด้วยถ้อยคำแสดงความรักต่างๆบ้างก็ร้องไห้ด้วยทอดกายกลิ้งเกลือกไปต่างๆ บ้างก็ร้องไห้ด้วยการจับดึงทึ้งผม บ้างก็ร้องไห้ด้วยการมองดูหน้าซึ่งกันและกัน บ้างก็ร้องไห้ด้วยการทำตาประหลับประเหลือก บ้างก็ร้องไห้ด้วยการเอาผ้าปิดหน้าตนเอง บ้างก็ร้องไห้ด้วยการเอามือตบขา บ้างก็ร้องไห้ด้วยการเอามือตีอก บ้างก็ร้องไห้ด้วยการเอามือตบแขน บ้างก็ร้องไห้โดยเอาฝุ่นโรยบนศีรษะ บ้างก็ร้องไห้โดยมีศีรษะเปรอะฝุ่น บ้างก็สยายผมออกแล้วถอนผม บ้างก็ชูแขนขึ้นไปแล้วร้องไห้เสียงดัง บ้างก็ร้องไห้วิ่งไปโดยเร็วเหมือนกวางถูกยิงด้วยลูกธนู บ้างก็ร้องไห้โอนเอนเหมือนต้นกล้วยต้องลมโอนเอน บ้างก็ล้มลงที่พื้นดิน ปิ้มว่าจะขาดใจ บ้างก็ร้องไห้ดิ้นเร่าๆบนพื้นดิน เหมือนปลาถูกยกขึ้นด้วยแห บ้างก็ร้องไห้ล้มฟาดลงบนแผ่นดินโดยเร็วเหมือนต้นไม้ถูกตัดโคน

      ส่วนพระราชาทรงสดับเสียงนั้นแล้ว ครัสเรียกศากยทั้งหลายมาว่า นั่นอะไรเราได้ยินเสียงในวังดังลั่น ศากยทั้งหลาย ทราบเรื่องแล้ว ทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชพระกุมารนั่นเที่ยวไม่ปรากฏอยู่ในวังเสียแล้ว พระราชาตรัสว่า  เร็ว ไปปิดประตูนคร เราจะค้นหากุมารภายในนคร ศากยเหล่านั้น ได้ค้นหาทั้งภายในภายนอก เมื่อค้นหาทั้งภายในและภายนอกก็มิได้พบ

      แม้มหาประชาบดีโคตมีก็ทรงพระกันแสงกลิ้งไปบนพื้นดิน ทูลกับพระราชาศุทโธทนะ ข้าแต่พระมหาราช พระองค์จงทำหม่อมฉันให้มีสภาพเท่ากันกับพระโอรส (หมายความว่าทำให้หม่อมฉันสูญหายไปเสีย) โดยเร็วเถิด

      ครั้นแล้วพระราชาทรงส่งม้าใช้ไปยังทิศทั้ง 4ว่า ไปเถิด คราบใดยังไม่พบกุมาร ตราบนั้นยังไม่ต้องมา ฝ่ายโหรผู้ชำนาญ ได้พยากรณ์ว่า พระโพธิสัตว์จะเสด็จอภิเนษกรมณ์ทางประตูมงคล เมื่อม้าใช้เหล่านั้นไปทางประตูมงคลก็ได้เห็นฝนดอกไม้ที่ตกลงมาในระหว่างทาง ม้าใช้เหล่านั้นคิดว่าพระกุมารเสด็จออกไปแล้วโดยทางนี้ ม้าใช้เหล่านั้นเดินไปในระหว่างทางหน่อยหนึ่ง ก็ได้พบเทพบุตรนั้น ซึ่งเทิดทูนผ้าแคว้นกาศีของพระโพธิสัตว์ไว้บนศีรษะเดินมา ม้าใช้เหล่านั้นคิดว่าผ้าเหล่านี้นั่นเที่ยวเป็นผ้าแคว้นกาศีของพระกุมาร ขออย่าให้เป็นว่าบุรุษผู้นี้ฆ่าพระกุมารเพื่อต้องการผ้าเหล่านี้เลย เราจะต้องจับตัวให้ได้ ม้าใช้เหล่านั้นเห็นสารถีฉันทกะจูงม้าและถือเครื่องอาภรณ์มาตามหลังเทวบุตรนั้นอีก ครั้นแล้ว ม้าใช้เหล่านั้นจึงพูดกันเองว่า นี่พวกเรา อย่าผลุนผลัน อย่าเพิ่งไถ (อย่าเพิ่งจับ) นั่น สารถีฉันทกะจูงม้ามาด้วย เราจะถามเขาดู

      ม้าใช้เหล่านั้น ถามสารถีฉันทกะว่า นี่ ฉันทกะ ขออย่างให้เป็นว่าบุรุษผู้นี้ ฆ่าพระกุมารเพื่อต้องการผ้าแคว้นกาศีเลย สารถีฉันทกะพูดว่า นั่นหามิได้ แต่ว่า เขาผู้นี้ให้ผ้าย้อมฝาดแก่พระกุมาร และพระกุมารก็ได้ประทานผ้ากาศีแก่เขาผู้นี้ต่างหาก ครั้นแล้วเทวบุ่ตรนั้น เทิดทูนผ้าเหล่านั้นไว้บนศีรษะด้วยมือทั้งสอง แล้วจากที่นั้นไปสู่เทวโลก เพื่อบูชาผ้าแคว้นกาศีเหล่านั้น

      และม้าใช้เหล่านั้น ถามสารถีฉันทกะอีกว่า นั่น ท่านเข้าใจอย่างไร ฉันทกะเราไปกันเถิดอาจทำให้พระกุมารเสด็จกลับมาได้ สารถีฉันทกะตอบว่า อย่างเลยพระกุมารมีความเพียรและความบากบั่นเข้าแข็ง พระองค์ไม่เสด็จมาดอก และพระองค์ได้ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ตราบใด เรายังไม่ตรัสรู้อนุตตรสัมยักสัมโพธิธิ ตราบนั้น เราจะไม่เข้ามาสู่มหานครกบิลพัสดุ์อีกเลย พระกุมารตรัสไว้อย่างไร พระวาจานั้นจะต้องเป็นอย่างนั้น นั่น เพราะเหตุไร เพราะพระกุมารมีความเพียร และความบากบั่นเข็มแข็ง พระองค์จึงไม่เสด็จกลับมา

      ครั้นแล้ว สารถีฉันทกะ ก็จูงม้ากับถือเอาเครื่องอาภรณ์ทั้งหลายเข้าไปสู่ภายในบุรี และเครื่องอาภรณ์เหล่านั้น มหานามได้เอาไปประดับให้แก่อนิรุทธศากยกุมารผู้เจริญเป็นเวลาช้านาน คนอื่นที่ขัดสีเทวรูปนารายณ์เพื่อขัดสีกายของมหานารายณ์ ไม่อาจทรงไว้ซึ่งเครื่องอาภรณ์เหล่านั้นได้ คราวใดที่ใครสามารถประดับเครื่องอาภรณ์เหล่านั้น คราวนั้น พระนางมหาประชาบดีโคตมีเป็นต้องคิดว่า  ตราบใดเราเห็นเครื่องอาภรณ์เหล่านี้ ตราบนั้นความโศกจักมีในใจของเรา อย่ากระนั้นเลย เราจะขว้างทิ้งเครื่องอาภรณ์เหล่านี้ลงในสระเสีย ครั้นแล้ว พระนางมหาประชาบดีโคตมี ก็ขว้างทิ้งเครื่องอาภรณ์ทั้งหลายเหล่านั้นลงในสระ สระนั้นเรียกว่า อาภรณปุษกริณี คือสระเครื่องอาภรณ์ แม้ทุกวันนี้

ในที่นี้มีคำกล่าวไว้ว่า

      102 ในคราวนี้พระโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นผู้กล้าหาญ เป็นผู้รู้ เสด็จอภิเนษกรมณ์นครกบิลพัสดุ์ทั้งหมด ตื่นขึ้นแล้ว ทุกคนเข้าใจว่าพระกุมารเสด็จไปสู่ที่บรรทม ต่างก็หัวเราะต่อกระซิกซึ่งกันและกัน ต่างได้รับความบันเทิงใจ ฯ

      103 พระนางโคปา และสตรีในเรือนทั้งหลายื่นขึ้นแล้วก็ได้แต่มองที่นอน ไม่มีใครเห็นพระโพธิสัตว์  ต่างก็เปล่งเสียงร้องไห้ออกมาดังๆ ในพระราชวังของพระเจ้าแผ่นดินว่า โอ้พวกเราถูกลวงเสียแล้ว พระโพธิสัตว์เสด็จไปไหน ฯ

      104 นั่นแหละ พระราชาทรงสดับแล้ว ถึงกับล้มลงบนพื้นดินทรงพระกระแสเสียงดังลั่นว่า โอลูกเอกของพ่อ แล้วพระองค์ก็อ่อนเปียกไปต้องรดน้ำในหม้อ นางศากยหลายร้อยคอยปลอบเอาใจฯ

      105 พระนางโคปา ออกจาพระเท่นบรรทม ก็ล้มลงที่พื้นดิน ทิ้งพระเกศาและดึงเครื่องประดับบนพรเศียรลงรำพันว่า โอบุรีของเราปราศจากพระผู้นำเสียแล้ว สิ่งเป็นที่รักทั้งปวงอยู่ไม่นานเลย  ต้องมาพลัดพลากจากกัน ฯ

      106 พระองค์เป็นรูป เป็นรูปที่งาม มีอวัยวะปราศจากมลทิน งามวิจิตร สดใส บริศุทธ เป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจในโลก เป็นโชคประเสริฐ เป็นผู้ควรบูชาในเทวโลก และในมนุษยโลก  พระองค์เสด็จไปไหนเสียเล่า ละทิ้งหม่อมฉันไว้บนที่นอน ฯ

      107 หม่อมฉันจะไม่ดื่มน้ำ ไม่ดื่มน้ำหวาน  จะไม่เพลิดเพลิน จะนอนบนแผ่นดิน จะไว้ผมรุงรังเป็นกระเซิง เลิกอาบน้ำ จะบำเพ็ญพรตตบะตราบเท่าที่หม่อมฉันยังไม่เห็นพระโพธิสัตว์ผู้ทรงพระคุณ ฯ

      108 อุทยานทั้งปวง ไม่มีผลไม้ ไม่มีใบไม้ ไม่มีดอกไม้ สร้อยไข่มุกที่บริศุทธก็เสมอกับความมืดมัวเป็นละอองเป็นฝุ่น บ้านเรือนหมดความงาม บุรีก็เหมือนกลางดวง เพราะเหตุที่พระผู้เป็นคนประเสริฐเลิศละไปเสียแล้ว ฯ

      109 โธ่ การบรรเลงเพลงขับร้อง เสียงกึกก้องวังวานไพเราะยิ่ง โธ่ สตรีในเรือนมีเครื่องประดับร่วงโรย โธ่ เบื้องบนอากาศแผ่ไปด้วยข่ายทองไปไหนเสีย เราจะไม่ได้เห็นพระองค์ผู้ไม่ปราศจากธำรงคุณ ฯ

      110 และพระมารดาสะใภ้(พระมหาประชาบดีโคตมี) ถึงความยากลำบากเป็นอย่างยิ่ง ทรงปลอบเราผู้เป็นนางกษัตริย์ซญึ่งร้องไห้ว่า พระผู้ประเสริฐเลิศบุรุษตรัสไว้ว่า พระองค์จะทำความปลดเปลื้องจากชราและมรณะ ฯ

      111 และพระองค์จะเป็นมหาฤษีสะสมกุศลตั้งพัน เมื่อพระองค์เสด็จไปไกล 6 โยชน์ ในเศษราตรี (จวนสว่าง) พระองค์ประทานม้าตัวประเสริฐ กับเครื่องประดับแก่สารถีฉันทกะ สารถีฉันทกะรับแล้ว จึงกลับไปบุรีกบิลพัสดุ์ ฯ

      112 พระมารดา พระบิดาของข้าพเจ้าได้ปลอบด้วยคำว่า กุมารไปแล้ว ไม่ควรเศร้าโศกอีก พระองค์จะตรัสรู้โพธิแล้ว จะมาที่นี่อีก เมื่อพวกเจ้าได้ฟังธรรมแล้ว ก็จะมีจิตใจสงบระงับ ฯ

      113 สารถีฉันทกะ ร้องไห้ทูลกับพระนายกว่า ความมีอำนาจและกำลัง หรือความบากบั่นของข้าพองค์ไม่มี หมู่พระญาติของพระเจ้าแผ่นดินจะประหารข้าพระองค์เสีย จะถามข้าพระองค์ว่า ฉันทกะเจ้าพาพระโพธิสัตว์ผู้ทรงคุณไปไหน ฯ

      114 พระโพธิสัตว์ตรัสว่า อย่าสะดุ้งตกใจเลย ฉันทกะ หมู่ญาติของเราเขาจะมีความยินดี เมื่อเขารู้จากเธอว่า เราจะเป็นศาสตร์ เขาจะยินดีทุกเมือ เรามีความรักในเธอ ฯ

      115 สารถีฉันทกะ นำม้าตัวประเสริฐ และเครื่องประดับมาถึง อุทยานของพระผู้เป็นคนประเสริฐเลิศ คนเฝ้าอุทยานเกิดกำลังความบันเทิงได้พูดกับศากยทั้งหลายด้วยน้ำเสียงแสดงความยินดีว่า ฯ

      116 พระกุมารพระองค์นี้ ม้าตัวประเสริฐและสารถีฉันทกะ มาถึงอุทยานแล้ว ไม่ควรจะเศร้าโศกอีก พระราชาทรงสดับแล้ว มีหมู่ศากยทั้งหลายแวดล้อมเสด็จไปถึงอุทยาน เกิดกำลังความบันเทิง ฯ

      117 พระนางโคปา ทรงทราบว่า พระโพธิสัตว์ มีมาพะมติ(ความเห็น) มั่นคง พระนางไม่ทรงยินดี และไม่เชื่อคำพูด (ของใคร) เพราะพระกุมารเสด็จออกไปแล้ว เมื่อไม่บรรลุโพธิแล้ว จะพึงเสด็จมาที่นี่อีก นั่นเป็นไม่ได้ ฯ

      118 ส่วนพระราชา ทอดพระเนตรเห็นม้าตัวประเสริฐกับสารถีฉันทกะแล้ว ทรงพระกันแสงอออกมาดังๆ ล้มลงบนพื้นดิน ตรัสว่า โธ่ ลูกของเราไปไหน กำลังประโคมดนตรี  เพราะดีอยู่ลูกไปไหน ละราชสมบัติเสียทั้งหมด ฯ

      119  พูดกับเราในที่นี้ให้ดี ฉันทกะ โพธิสัตว์ทำอะไรและไปไหน ใครนำไป ใครเปิดประตูให้ หมู่เทวดาทั้งหลายทำการบูชาโพธิสัตว์นั้นอย่างไร ฯ

      120 สารถีฉันทกะ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ขอพระองค์โปรดฟังคำข้าพระพุทธเจ้า เมื่อชาวเมืองทั้งหลายทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่หลับสนิดแล้วในราตรี พระโพธิสัตว์นั้นมีพระสุรเสียงน่ารักตรัสกับข้าพระพุทธเจ้าว่า ฉันทกะ จงให้พระยาม้าแก่เราเร็วๆ ฯ

      121 ข้าพระพุทธเจ้าปลุกหมู่ผู้ชาย และหมู่ผู้หญิง แต่เขาเหล่านั้นหลับ หลับสนิทไม่ได้ยินเสียง ข้าพระพุทธเจ้านั้น ร้องไห้พลางถวายพระยาม้าไป พุดโธ่เอ๋ย พระโพธิสัตว์ผู้กระทำประโยชน์ เสด็จไปตามพระประสงค์แล้ว ฯ

      122 องค์ศักรเปิดประตูยนต์ โลกบาลทั้งสี่รองรับเท้าม้า เมื่อพระโพธิสัตว์ผู้กล้าทรงม้าแล้ว ทวยเทพก็ตามเสด็จไป พระองค์ทรงเสด็จไปโดยทางซึ่งเป็นอากาศกว้างขวางมาก ฯ

      123 รัศมีเปล่งออกปราศจากความมืดมนอนธการ ดอกไม้ทั้งร่วงหล่นลง ดนตรีตั้งร้อยก็ดังขึ้น เทวดาและนางฟ้าทั้งหลายต่างก็สรรเสริญ หมู่เทวดาทั้งหลายพากันแวดล้อมไปทางอากาศ ฯ

      124 สารถีฉันทกะ รับม้าตัวประเสริฐ และเครื่องประดับแล้วเขาก็ร้องไห้กลับเข้าไปภายในบุรี ฝ่ายพระนางโคปาเห็นม้าตัวประเสริฐกับสารถีฉันทกะแล้ว สิ้นความรู้สึก ล้มลงบนพื้นแผ่นดิน หมู่นารีทั้งปวงจำนวนมาก ต่างก็พยายามเอาน้ำมาโสรดสรงพระนางศากย และทูลว่า พระแม่เจ้าผู้ถึงความโศก อย่าเพิ่งสิ้นพระชนม์เสียเลย วิปโยคทุกข์ (ทุกข์ในการจากไป) เป็นอันมาก ได้มีแล้วแก่กษัตริย์ผู้เป็นที่รักทั้งสองพระองค์ ฯ

      125 พระนางศากย (โคปา) ผู้มีความทุกข์อย่างยิ่ง พอมีกำลังขึ้นก็เหนี่ยวคออัศวราชซึ่งเป็นม้าตัวประเสริฐ ทรงระลึกถึงความสนุสำราญในกามกรีฑาแต่ครั้งหลัง ทรงรำพรรณด้วยถ้อยคำต่างๆถึงซึ่งความโศก ทรงรำพรรณว่า ฯ

      127 โอพระองค์ผู้ทำความรักให้เกิดขึ้นในหม่อมฉัน โอ้พระองค์ของหม่อมฉันผู้ประเสริฐเลิศบุรุษ  มีพระพักตร์เหมือนดวงจันทร์ปราศจากมลทิน โอ้พระองค์ของหม่อมฉันมีรูปร่างงาม โอ้พระองค์ของหม่อมฉันผู้ทรงลักษณะประเสริฐ ทรงพระอำนาจปราศจากมลทินฯ

      128 โอ้ พระองค์ของหม่อมฉัน  ผู้ทรงอุบัติมาดีแล้ว มีอวัยวะหาที่ติมิได้ ทรงเฟื่องฟูขึ้นโดยลำดับไม่มีใครเสมอ โอ้พระองค์ของหม่อมฉันผู้เป็นยอดของคุณธรรม มนุษย์และเทวดาบูชาแล้ว ทรงประกอบด้วยพระกรุณาเยี่ยมยอด ฯ

      129 โอ้พระองค์ของหม่อมฉัน ผู้ประกอบด้วยกำลังเหมือนเรี่ยวแรงของนารายณ์ ทรงกำจัดหมู่ศัตรู   โอ้พระองค์ของหม่อมฉันผู้มีพระสุรเสียงก้องกังวาลไพเราะ มีพระสุรเสียงไพเราะเหมือนเสียงนกการเวก มีพระสุรเสียงไพเราะเหมือนเสียงพรหม ฯ

       130 โอ้พระองค์ของหม่อมฉัน ผู้มีพระเกียรติยศชื่อเสียงหาที่สุดมิได้ โอ้พระองค์ของหม่อมฉัน ทรงเฟื่องฟูขึ้นด้วยบุณยตั้งร้อย ทรงบุณยปราศจากมลทิน โอ้พระองค์ของหม่อมฉัน ผู้มีคำพรรณนาหาที่สุดมิได้ ทรงประดับด้วยหมู่คุณธรรม ทรงกระทำให้หมู่ฤษีปรีติยินดี ฯ

      131 โอ้พระองค์ของหม่อมฉัน ทรงมีพระกำเนิดอุบัติมาดีแล้วที่ป่าลุมพินีอันสูงสุดมีเสียงภู่ผึ้งบรรเลง  โอ้พระองค์ของหม่อมฉัน ผู้มีพระนามกึกก้อง เขาบูชาแล้วในเทวโลกและในมนุษยโลก ทรงเป็ฯสุมทุมพุ่มพระชญานอันไพบูลย์ ฯ

      132  โอ้พระองค์ของหม่อมฉัน ผู้มีพระชิหวารู้รสเป็นอย่างยอด มีพระโอฐแดงเหมือนผลตำลึกสุก มีพระเนตรเหมือนดอกบัว มีพระฉวีเหลืองเหมือนสีทอง  โอ้พระองค์ของหม่อมฉัน ผู้มีพระทนต์ขาวสะอาดประกอบด้วยมีพระทนต์ขาวเหมือนนมโค และเหมือนหิมะ ฯ

      133  โอ้พระองค์ของหม่อมฉัน ผู้มีพระนาสิกงาม พระองค์มีพระโขนงงาม พระโขนงมีพระอุณาโลม (ขนอ่อน) อยู่ระหว่างพระพักตร์ปราศจากมลทิน โอ้พระองค์ของหม่อมฉัน ผู้มีบั้นพระองค์กลมงาม มีพระอุทรโค้งเหมือนคันธนู มีพระชงฆ์เรียวเหมือนแข้งเนื้อทราย และมีพระสะเอวกลมฯ

      134  โอ้พระองค์ของหม่อมฉัน พระอุรู (ขาอ่อน) เหมือนงวงข้าง มีพระกรและพระบาทงามบริศุทธ มีพระนขา (เล็บ) แดง ดังนั้นเครื่องประดับของพระองค์จึงทำขึ้นด้วยบุณยทั้งหลาย (ทำด้วยสิ่งบริศุทธทั้งหลาย) พระองค์ทรงทำความยินดีให้แก่พระเจ้าแผ่นดิน ฯ

      135 โอ้การบรรเลงดนตรีขับกล่อมในหม่อมฉัน พระองค์ทรงลูบไล้ด้วยดอกไม้อันประเสริฐในฤดูอันงามบวร(ฤดูวสันต) โอ้ กลิ่นดอกไม้ในหม่อมฉัน นางสนมกำนัลกระทำความรื่นเริงยินดีด้วยการบรรเลงดนตรีขับกล่อม ฯ

      136 โอ้ ม้ากัณฐกะ เจ้าเกิดมาดีแล้ว เป็นสหายของสามีของฉัน เจ้าพาพระองค์ท่านไปไหน โอ้ ฉันทกะ เธอช่างไม่มีความกรุณาเสียเลย เมื่อเธอจะนำพระองค์ผู้ประเสริฐสุดของตนไป เธอไม่ปลุกฉันเลย ฯ

      137 พระองค์ผู้ทรงกระทำประโยชน์พระองค์นี้ เมื่อจะเสด็จไปในระหว่างนั้น ทำไมพระองค์จะตรัสบอกหม่อมฉันสักคำเดียวไม่ได้หรือตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ พระองค์ผู้ทรงเป็นสารถีฝึกหัดคน ทรงประกอบด้วยพระกรุณา เสด็จจากบุรีอันประเสริฐไปเสียแล้ว ฯ

      138 พระองค์ผู้ทรงกระทำประโยชน์ ทำไมหรือ พระองค์จึงเสด็จไป และพระองค์เสด็จออกจากราชตระกูลนี้ เพราะเหตุใด เทวดาที่สิงอยู่ในป่าและสุมทุมพุ่มไม้เป็นผู้มีโชค ซึ่งเป็นพระสหายนั้น ได้โดยเสด็จพระองค์ไปในทิศไหน ฯ

      139 พระองค์เป็นผู้มีความรักใคร่ในหม่อมฉันซึ่งเป็นผู้มีความทุกข์มาก พระองค์เป็นผู้ชี้บอกขุมทรัพย์  พระองค์เป็นผู้ประทานลูกตาแก่หม่อมฉันผู้ถูกควักลูกตา พระองค์เป็นผู้ที่ชนทั้งปวงรักใคร่  พระมารดา พระบิดาทรงสรรเสริญพระองค์อยู่เป็นนิตย์ พระองค์เป็นผู้ควรบูชา ฯ

      140  พระองค์ท่านละท่านทั้งหลายเหล่านั้นไปแล้ว จะเสด็จกลับมาสู่ความยินดีทางกามในสตรีเหล่านั้นอีกไหม โอ้อกเอ๋ย ความพลัดพลากจากสิ่งเป็นที่รัก ไม่เที่ยงเหมือนสภาพของการเล่นละคร ฯ

      141 ผู้โง่เขลา อาศัยทฤษฎีวิปรยาส (เห็นผิด) ด้วยการถือเอาตามสัชญา(ความหมายรู้เอาเอง) จึ้งต้องเกิดและตาย  จะป่วยกล่าวไปไยไม่ต้องมีคำที่จะพูดถึง เพื่อนใดๆในการปรุงแต่งชรา และมรณะ ฯ

      142 ความอยากรู้พระองค์เต็มเปี่ยมแล้ว จะบรรลุความตรัสรู้อันประเสริฐอย่างสูงสุดที่พุ่มไม้อันประเสริฐที่สุด (ไม่โพธิ) ครั้นตรัสรู้โพธิอันหมดจดปราศจากธุลีแล้ว พระองค์ก็จะเสด็จมาในบุรีอันประเสริฐนี้ ณ ที่นี้อีก ฯ

      143 สารถีฉันทกะ ลำบากใจเป็นอย่างยิ่งด้วยการฟังคำของพระนางโคปา จึงทูลตอบไปด้วยเสียงเครือประกอบด้วยน้ำตาว่า ข้าแต่พระแม่เจ้าโคปา หม่อมฉันขอประทานโอกาสได้โปรดฟังคำของหม่อมฉัน ฯ

      144 ในราตรีดึกสงัดเวลาสองยาม เมื่อหมู่นารีทั้งปวงหลับสนิทแล้ว ครั้งนั้น พระองค์ผู้สูงส่งด้วยบุณยตั้งร้อย ได้ตรัสเรียกหม่อมฉันให้นำม้าไปถวาย ฯ

      145 หม่อมฉันได้ฟังพระวาจาในขณะนั้นแล้ว พิจารณาดูพระแม่เจ้าซึ่งซึ่งบรรทมหลับสนิทบนพระแท่นบรรทม ได้ส่งเสียงดังขึ้นในที่นั้นว่า พระแม่เจ้าโคปา ตื่นพระบรรทมเถิด ทูลกระหม่อมซึ่งเป็นที่รักของพระแม่เจ้าจะเสด็จแล้วฯ

      146 เทวดากั้นกระแสเสียงปลุกนั้นไว้ ไม่มีสตรีใดตื่นแม้แต่คนเดียว หม่อมฉันร้องไห้ถวายพระยาม้าด้วยการตกแต่งเสร็จแล้วแก่ทูลกระหม่อมผู้สูงสุดกว่าคนทั้งหลายฯ

      147 ม้ากัณฐกะผู้ทำประโยชน์ด้วยการเสียสละ มีเดชสูง เสียงของม้านั้นดังไปไกลประมาณ 1000 วา แต่ไม่มีใครในบุรีอันประเสริฐได้ยิน ทั้งนี้เพราะเทวดาทั้งหลายสะกดให้หลับแล้ว ฯ

      148 พื้นแผ่นดินที่สูงขึ้นด้วยทองเงินและแก้วมณี ถูกเท้าม้ากระทบอย่างแรง เสียงนั้นทั้งเพราะทั้งน่ากลัวและชัดเจน แต่ไม่มีมนุษย์คนใดได้ยินเลย ฯ

      149 ภายในพระนครนั้น มีแสงสว่างประกอบด้วยแสงดาว ดวงจันทร์สถิตย์อยู่บนนภากาศ เทวดานับจำนวนโกฏิ ทำอัญชลีกรรมอยู่บนอากาศ ต่างน้อมลงอภิวาทด้วยเศียรเกล้า ฯ

      150 พวกยักษ์รากษส ห้อมล้อมแล้ว เทพโลกบาลทั้งสี่ผู้มีฤทธิ์มากได้ประคองเท้าทั้งสี่ของม้าไว้ นำพระโพธิสัตว์ผู้บริศุทธปราศจากมลทินดุจเกสรบัวไป ฯ

      151 พระโพธิสัตว์ผู้สูงส่งด้วยเดชแห่งบุญยตั้งร้อย ทรงประทับม้ามีสีเหมือนดอกบัว พื้นแผ่นดินก็ไหวขึ้นด้วยวิการทั้ง 6 แผ่ไปยังพุทธเกษตร(แดนแห่งพระพุทธ) มีรัศมีปราศจากมลทิน ฯ

      152 องค์ศักรผู้เป็นที่เคารพของเทวดาทั้งหลาย เป็นสวามีของพระนางศจีเทพกันยาก็ได้มาเป็ดประตูเมืองในขณะนั้นด้วยตนเอง พระโพธิสัตว์มีเทวดาตั้งพันโกฏินำหน้าเสด็จไปแล้ว มีเทวดาและนาคบูชาแล้ว ฯ

      153 ม้ากัณฐกะ ซึ่งเกิดในที่นี้เพียงแต่ให้สัชญา ก็นำพระโลกนาถไปในระหว่างอากาศ เมื่อพระสุคตเสด็จไป ผู้นำเสด็จก็คือหมู่เทพ และทานพทั้งหลาย พร้อมทั้งองค์อินทร์ฯ

      154 นางฟ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญคุณพระโพธิสัตว์ในการบรรเลงขับร้องอันฉลาด นางฟ้าเหล่านั้นเป็นอันมาก เป็นผู้จูงบังเหียนม้าไปแล้วเปล่งเสียงดังไพเราะ ยั่วยวนใจ ฯ

      155 ม้ากัณฐกะ พาพระโลกนายกไปเร็วๆ ทำให้หม่อมฉัน เกิดความลำบาก แต่หม่อมฉันก็ไม่กลั้วต่ออบายและทุคติ เพราะได้เทิดทูนพระโลกนาถไว้ ฯ

      156 เทพยดาแต่ละองค์ปรีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง หม่อมฉันนำพระโลกนายกไป ทั้งๆที่ไม่รู้ทิศทางอะไรเลย และไม่ถูกเท้าเทวดาตั้งโกฏิเหยียบย่ำฯ

      157 ทอดพระเนตรเถิดพระแม่เจ้า ม้ากัณฐกะ อยู่ในทางนี้ ในระหว่างอากาศซึ่งงามวิจิตรประดับด้วยราชวัฏแก้วอันวิจิตร มีกลิ่นเผาเครื่องหอมคือ แก่นจันทน์ทิพย์อันประเสริฐ ฯ

      158 ม้ากัณฐกะนั้น ดังว่าถูกนิรมิตในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ด้วยกรรมดีงาม มีหมู่นางฟ้าแวดล้อมแล้ว นำหน้าไป พระแม่เจ้าจะได้ทรงรื่นรมย์ด้วยความยินดีในกามอันเป็นทิพย์ ฯ

      159 ข้าแต่พระแม่เจ้าโคปา หม่อมฉันขอประทานโอกาส พระแม่จ้าอย่างทรงกันแสงอีกเลย พระแม่เจ้าจงทรงยินดี ทรงดีพระทัยอย่างยิ่งเถิด ขอพระแม่เจ้าจงมีพระทัยหนักแน่นต่อทูลกระหม่อมผู้สูงสุดกว่าคนทั้งหลาย โดยกาลไม่นาน พระองค์จะทรงบรรลุความตรัสรู้ มีหมู่เทวดายกให้เป็นหัวหน้า ฯ

      160 ข้าแต่พระแม่เจ้าโคปา ผู้ใดทำกรรมดีไว้ พระแม่เจ้าไม่ควรร้องไห้ถึงผู้นั้นเลย และทูลกระหม่อมสูงส่งด้วยเดชแห่งบุณยตั้งร้อยความที่ใครๆจะดีใจ ไม่ควรร้องไห้ถึง ฯ

      161 พระนางโคปาพร่ำเพ้ออยู่ตลอด 7 ราตรี พระนางไม่อาจสลัดความรู้สึกออกไปได้ซึ่งเป็นความรู้สึกที่มีในพระราชา ณ ที่นั้น (เหมือนกัน)ในเมื่อพระโพธิสัตว์อันมนุษย์และเทวดาบูชาเสด็จอภิเนษกรมณ์ไปแล้ว ฯ

      162 (สารถีฉันทกะทูลต่อไปว่า) การไม่ควรคิดถึง เป็นลาภแก่พระแม่เจ้าอย่างยิ่ง ผู้ที่ทำประโยชน์ใดปรากฏขึ้นแล้วในโลก หม่อมฉันคิดว่า ประโยชน์ นั้นย่อมได้แก่ตนเองด้วย เพราะว่า พระแม่เจ้าจะได้รับประโยชน์นั้นเหมือนทูลกระหม่อมผู้สูงสุดกว่าคนทั้งหลาย ฯ

อัธยายที่ 15 ซื่ออภินิษกรมณปริวรรต(ว่าด้วยเสด็จอภิเนษกรมณ์) ในคัมภีร์ศีลลิตวิสตร  ดั่งนี้แลฯ

 

16 พระเจ้าพิมพิสาร

 

อัธยายที่ 16

 

พิมฺพิสาโรปสํกฺรมณปริวรฺตะ  โษฑศะ

 

ชื่อพิมพิสาโรปสังกรมณปริวรรต (ว่าด้วยการเข้าไปหาพระราชาพิมพิสาร)

 

      ดั่งนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารถีฉันทกะได้กระทำการแถลงว่าเป็นการตั้งหทัยของพระโพธิสัตว์ทำให้บรรเทาความโศกของพระราชาศุทโธทนะ พระนางโคปา นางศากยทั้งหลาย นางสนมกำนัลทั้งปวง และคณะศากยทั้งหลาย

 

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ทรงประทานผ้าแคว้นกาศีแก่เทวบุตรผู้แปลงรูปเป็นพรานป่า แล้วทรงรับผ้าย้อมน้ำฝาดของเทวบุตรพรานป่านั้นโดยคำขอร้องทรงถือการบรรพชาเป็นไปตามโลกด้วยพระองค์เองโดยแท้ เพื่ออนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลายเพื่อบ่มบารมีของสัตว์ทั้งหลาย

 

      ครั้นแล พระโพธิสัตว์เสด็จเข้าไปยังอาศรมของนางพราหมณ์ณีศากี นางได้เชิญ(ต้อนรับ) พระโพธิสัตว์ ด้วยที่พักและภัตตาหาร ต่อจากนั้น พระโพธิสัตว์เสด็จไปยังอาศรมของนางพราหมณีปัทมา แม้นางนั้น ก็ได้เชิญ(ต้อนรับ) พระโพธิสัตว์ด้วยที่พักและภักตาหารเช่นเดียวกัน

 

      ต่อจากนั้น พระองค์เสด็จไปยังอาศรมของพรหมฤษีชื่อ เรวัต แม้พรหมฤษีนั้น ก็ได้เชิญ (ต้อนรับ) พระโพธิสัตว์เช่นเดียวกัน แม้ทตฤมทัณฑิกบุตรผู้ครองราชย์ ก็ได้เชิญ (ต้อนรับ) พระโพธิสัตว์ เช่นเดียวกันนั่นเทียว

 

      กระนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ได้เสด็จไปถึงมหานครไวศาลีโดยลำดับ

 

      ในสมัยนั้นแล อาราฑะ กาลาปะ(ดาบส) อาศัยมหานครไวศาลีอยู่กับสาวกหมู่ใหญ่ พร้อมด้วยศิษย์ 300 คน อาราฑะนั้นแสดงธรรมแก่คิษย์ทั้งหลายด้วยพรตพร้อมกับอากึจันยายตนะ ท่านเห็นพระโพธิสัตว์มาแต่ไกล เกิดความอัศจรรย์ใจ จึงเรียกศิษยทั้งหลายมาว่า ดูซิ ดูซิ เธอทั้งหลาย ดูรูปของท่านผู้นี้ ศิษย์เหล่านั้น พูดว่า นั่นซิ ข้าพเจ้าก็ดูรูปนั้นแล้ว รูปนั้นน่าพิศวงเหลือเกิน

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้ว ตถาคตก็เข้าไปยังที่อยู่ของอาราฑะ กาลาปะ แล้วพูดกับอาราฑะ กาลาปะว่า อาราฑะ กาลาปะ ผู้เจริญ ข้าพเจ้าประพฤติพรหมจรรย์ อาราฑะ กาลาปะได้พูดว่า ข้าแต่พระโคตมผู้เจริญ พระองค์เป็นกุลบุตรผู้มีศรัทธา จงประพฤติในสิ่งซึ่งเรียกว่า ธรรม เช่นนั้น ย่อมบรรลุผลตามกฏเกณฑ์โดยไม่ยาก

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคต มีความปริวิตกว่า เรามีฉันทะ(ความพอใจ) วีรยะ(ความเพียร) สมฤติ (ความระลึก)สมาธิ(ความตั้งใจแน่วแน่) ปรัชญา (ความรอบรู้) ทำอย่างไรหนอ ลำพังเราผู้เดียวไม่ประมาท มีความเพียรเผลเกลศมีความเพียรคร่าไปจึงจะบรรลุธรรมนั้นด้วยการทำให้ประจักษ์แจ้งทันตาเห็น (ในชาตินี้)

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้วแล ตถาคตผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียรเผาเกลศ มีความเพียรคร่าเกลศไป ก็ได้รู้ยิ่งเห็นจริงธรรมนั้น ทำให้ประจักษ์แจ้งทันตาเห็นโดยไม่ยาก

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้นนั้นแล ตถาคตไปยังที่อยู่ของอาราฑะ กาลาปะแล้วพูดว่า อาราฑะ ผู้เจริญ ธรรมที่ท่านบรรลุทำให้ประจักษ์แจ้งทันตาเห็นมีเท่านี้หรือ? อาราฑะ กาลาปะ พูดว่า ข้าแต่พระโคตมผู้เจริญมีเท่านี้แหละ ตถาคตจึงพูดกับอาราฑะ กาลาปะว่า ท่านผู้เจริญ ธรรมนั้น ข้าพเจ้ากระทำให้ประจักษ์แจ้งทันตาเห็นบรรลุแล้ว อาราฑะ กาลาปะ พูดว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เป็นอันว่า ข้าพเจ้า รู้ธรรมใด แม้พระองค์ก็รอบรู้ธรรมนั้น พระองค์รู้ธรรมใด แม้ข้าพเจ้าก็รู้ธรรมนั้น เพราะฉะนั้นแหละเราทั้งสองมาช่วยกันบริหารคณะศิษย์เหล่านี้เถิด

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย  อาราฑะ กาลาปะนับถือตถาคตด้วยความนับถืออย่างยิ่ง และแต่งตั้งตถาคตโดยมีความหมายเท่ากัน(ให้เป็นอาจารย์เหมือนกัน) ในอันเตวาสี (คณะศิษย์) ทั้งหลาย

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตนั้นเกิดความปริตกขึ้นอย่างนี้ว่า ธรรมของอาราฑะ นี้แล ไม่เป็นธรรมนำออกจากสังสารวัฏ นำออกไม่ได้ ดังนั้น จะเป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์อย่างเด้ดขาดได้อย่างไร ทำอย่างไรหนอ เราจะเที่ยวแสวงหาธรรมยิ่งกว่านี้

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ครั้นแล้วตถาคตอยู่ในนครไวศาลี ตามความพอใจแล้วย่างไปในแคว้นมคธ ตถาคตนั้นประพฤติจริยา(การท่องเที่ยว) อยู่ในแคว้นมคธหลายแห่งแล้วจึงเดินทางไปสู่นครราชคฤห์ของชาวมคธทั้งหลาย แล้วเข้าไปยังที่ขุนเขาปาณฑพ ในที่นั้นตถาคตอาศัยอยู่ข้างขุนเขาปาณฑพลำพังผู้เดียว ไม่มีเพื่อน ไม่มีสหาย(ผู้ช่วยเหลือ) แต่มีเทวดาหลายหมื่นแสนโกฏิคอยดูแลรักษา ต่อแต่นั้น ตถาคตอาศัยอยู่อย่างปกติทรงบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังมหานครราชคฤห์ทางประตูด้านตโปทะ(*)ด้วยการก้าหน้าและถอยหลัง การทอดสายตา การเหยียดออก และคู้เข้า น่าเลื่อมใส การทรงผ้าสังฆฏิ บาตร จีวร น่าเลื่อมใส มีอินทรีย์ไม่ฟุ้งซ่าน มีใจไม่ส่งไปภายนอก มองชั่วแอกเหมือนหลับตา และเหมือนประคองบาตรเต็มไปด้วยน้ำมัน(เดินประคองไม่ให้น้ำมันกระฉอก) ในที่นั้น คนชาวนครราชคฤห์ทั้งหลาย เห็นตถาคตแล้ว ต่างก็สงสัยกันว่านี่เป็นพรหมเป็นองค์ศักรผู้เป็นใหญ่แก่เทวดาทั้งหลาย ใช่ไหม หรือว่าเป็นไวศรวัณ หรือว่าเป็นเทพยดารักษาภูเขา

 

* ตโปทะ พุน้ำอุ่น เรียกตโปธาราม ปัจจุบันนี้สร้างเป้นวัดฮินดู มีน้ำไหลผ่านทำเป็นที่เก็บน้ำให้ไหลลงเบี้องล่างเป็นชั้นๆชั้นบนพวกวรรณสูงใช้อาบชั้นล่าง พวกวรรณะต่ำอาบ น้ำนี้ใช้ทั้งอาบ ดื่ม ซักผ้า มีคนไปที่นั่นกันมาก อยู่ในราชคฤห์

 

      ในที่นี้มีคำกล่าวไว้ว่า

 

      1 ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ ทรงไว้ซึ่งความปราศจากมลทิน มีเดช หาที่สุดมิได้ ทรงบรรพชาด้วยพระองค์เอง มีพระทัยสงบระงับ ฝึกฝนพระองค์แล้ว ประพฤติภิกขาจารประทับอยู่ข้างขุนเขาปาณฑพ ฯ

 

      2 พระโพธิสัตว์ทรงทราบว่ารุ่งแจ้งแล้ว ทรงนุ่งห่มน่าดูเป็นอย่างยิ่ง ถือบาตร มีพระหทัยมั่นคง เสด็จเข้าไปยังมหานครราชคฤห์พร้อมด้วยบิณฑบาต ฯ

 

      3 ณ ที่นั้น หมู่ชายหญิงมองเห็นพระองค์ผู้มีอาการ 32 มีลักษณะเหมือนทองหรือเงิน ซึ่งเป็นธาตุดี ไม่มีความอิ่มด้วยการดูเสียเลย ฯ

 

      4 พระองค์ประดับด้วยการครองผ้าดังว่ารัตนะ เสด็จไปในถนน เกิดสิริแผ่ซ่านติดตามพระองค์ไป คนไปตามหลังพระองค์โดยสิริของพระองค์ปกคลุม ถามกันว่า นี่เป็นใครกันหนอ ไม่เคยเห็นเลย มีแสงสว่างส่องทั่วบุรี ฯ

 

      6 คนโดยมาก เมื่อมองเห็นรูปพระโพธิสัตว์ผู้เลิศบุรุษ ต่างก็ไม่ได้ ซึ้อขายกัน นักเลงก็ไม่ดื่มน้ำเมา คนก็ไม่ยินดีในบ้านเรือนและในถนนหนทาง ฯ

 

      7 มีคนรีบไปยังพระราชวัง ได้กราบทูลพระราชพิมพิสารให้ทรงยินดีว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ พระองค์ได้ลาภอย่างยิ่งแล้ว  พรหมมาเที่ยวบิณฑบาตในบุรีนี้ด้วยตนเอง ฯ

 

      8 บ้างก็กราบทูลว่า เป็นองค์ศักรเทวราช บ้าก็กราบทูลว่า เป็นเทวบุตรชั้นสุยามะ บ้างก็ว่าเป็นเทวบุตรชั้นสำตุษิต บ้างก็ว่าเป็นเทวบุตรชั้นนิรมิต บ้างก็ว่า เป็นเทวดาชั้นสินิรมิต ฯ

 

      9 บ้างก็ว่า เป็นจันทร์และอาทิตย์ บ้างก็ว่าเป็นราหู บ้างก็ว่าเป็นเวมจิตรีผู้มีกำลัง ต่างก็ถกเถียงคัดค้านกัน  บ้างก็ว่าเป็นเทพผู้สิงอยู่ที่ขุนเขาปาณฑพ ฯ

 

      10 พระเจ้าแผ่นดิน (พิมพิสาร) ทรงสดับคำนี้แล้ว มีพระทัยเฟื่องฟู ประทับอยู่ที่พระแกล ทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์ ผู้เป็นสัตว์ประเสริฐ รุ่งเรืองด้วยสง่าราศี เหมือนทองคำซึ่งเป็นธาตุดี ฯ

 

      11 พระราชาพิมพิสาร ใคร่จะทรงถวายอาหารบิณฑบาต จึงตรัสสั่งราชปุรุษให้คอยดูพระโพธิสัตว์ว่าจะเสด็จไปไหน ครั้นราชปุรุษเห็นพระโพธิสัตว์เสด็จไปยังภูเขาอันประเสริฐจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ท่านผู้นั้นไปทางข้างภูเขา ฯ

 

      12 พระราชาพิมพิสารทรงทราบว่ารุ่งแจ้งแล้ว พระองค์ผู้เป็นใหญ่กว่าคนทั้งหลายมีชนเป็นอันมากแวดล้อมแล้วเสด็จเข้าไปในเชิงขุนเขาปาณฑพ ทอดพระเนตรเห็นเขานั้นรุ่งเรืองด้วยสิริ ฯ

 

      13 แล้วทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์ผู้น่าเคารพอย่างยิ่งประทับนั่งไม่หวั่นไหวเหมือนภูเขาเมรุ ประทับนั่งโดยสวัสดีอยู่บนหญ้าซึ่งงอกแผ่ไปยังแผ่นดิน ฯ

 

      14 พระราชาทรงน้อมเศียรนมัสการแทบพระบาท(พระโพธิสัตว์)ทรงตรัสวาทะสมเหตุผลด้วยพระวาจากหลายอย่างหลายประการว่า ข้าพเจ้าขอถวายราชสมบัติกึ่งหนึ่งจากราชสมบัติทั้งหมดแก่ท่าน และถวายบิณฑบาตด้วยกามคุณทั้งหลาย ขอท่านโปรดยินดีในที่นี้ ฯ

 

      15 พระโพธิสัตว์ตรัสพระวาจาอย่างสุภาพว่า ดูกรมหาบพิตรผู้เป็นเจ้าแผ่นดิน พระองค์จงรักษาพระชนมายุให้ยืนนาน ส่วนอาตมภาพเว้นแล้วจากคามปรารถนาราชสมบัติ เป็นบรรพชิต เมินเสียแล้วเพราะเหตุแห่งศานติฯ

 

      16 มหาบพิตรยังหนุ่มอยู่ในเยาว์วัย มีพระกายงามเหมือนทอง ยังว่องไว ยังปรารถนาทรัพย์อย่างกว้างขวาง และหมู่นารี จงอยู่ในราชสมบัติที่ประทับแก่อาตมภาพนี้ เสวยกามเถิด ฯ

 

      17 พระราชาของชาวมคธได้ทูลพระโพธิสัตว์ว่า ข้าพเจ้ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งเพราะพบกับท่าน ขอท่านจงมีอายุในราชสมบัติทั้งปวงร่วมกับข้าพเจ้า ข้าพเจ้าถวายแด่ท่านแล้ว ขอท่านจงเสวยกามให้มากเถิด ฯ

 

      18 ท่านอย่าอยู่ในป่าเปลี่ยวอีกเลย อย่าอยู่บนหญ้าที่พื้นดินอีกเลยกายของท่านละเอียดอ่อนยิ่งนัก ขอท่านจงอยู่ในราชสมบัติของข้าพเจ้านี้ เสวยกามเถิด ฯ

 

      19 พระโพธิสัตว์ตรัสพระวาจาอย่างสุภาพว่า ดูกร มหาบพิตรผู้ปกครองแผ่นดิน ขอพระองค์จงเที่ยงตรง อนุเคราะห์ต่อสิ่งทีเป็นประโยชน์ควรแก่ความรัก ขอความสวัสดีจงมีแด่มหาบพิตรเป็นนิตย์เถิด ส่วนอานมภาพไม่มีความประสงค์ด้วยกามคุณทั้งหลายแล้วฯ

 

      20 กามเสมอด้วยยาพิษ มีโทษไม่สิ้นสุด ทำให้ตกนรก เกิดในกำเนิดเปรต และในกำเนิดเดียรัจฉาน กามไม่ใช่สิ่งประเสริฐ ผู้รู้ทั้งหลายติเตียนแล้ว อาตมภาพละกามนั้นซึ่งเหมือนกลืนก้อนเหล็กที่ถูกไฟเผาจนแดง ฯ

 

      21 กามเหมือนผลไม้ร่วงจากต้น เหมือนก้อนเมฆในอากาศล่องลอยไป ไม่ยั่งยืน ไหวพริ้วเหมือนลม โปรยความงามไว้ทั้งหมดด้วยความหลอกลวง ฯ

 

      22 เมื่อไม่ได้กามก็ย่อมเดือดร้อน ครั้นได้แล้วก็ไม่รู้อิ่มบริโภคไม่เป็นก็เกิดทุกข์มาก กามมันร้ายกาจนัก ฯ

 

      23 ดูกร มหาบพิตรผู้ปกครองแผ่นดิน กามที่เป็นทิพย์ ที่เป็นของมนุษย์อย่างประณีต คนๆเดียวได้ไว้ทั้งหมด แต่ก็ยังไม่อิ่ม ยัง(อยาก)ได้ต่อไปอีก ฯ

 

      24 ดูกรมหาบพิตรผู้ปกครองแผ่นดิน ส่วนผู้ใดเป็นอารยะ มีอินทรีย์สงบและฝึกฝนแล้ว ไม่มีอาสวะ(เกลศโทษ) มีความรู้สึกสมบูรณ์ในธรรม เป็นนักปราชย์มีปัญญา ผู้นั้นอิ่มแล้ว อิ่มแล้วเป็นอย่างดี เขาจะไม่มีความพอใจใดๆ ในกามคุณทั้งหลายอีกต่อไป ฯ

 

      25  ดูกรมหาบพิตรผู้ปกครองแผ่นดิน เมื่อบริโภคกาม เบื้องต้นและที่สุดย่อมไม่มีแก่เขาผู้จัดสรรไว้ดีแล้ว ความกระหาย ย่อมเจริญขึ้นเมื่อบริโภคกาม เหมือนคนดื่มน้ำเค็ม (ไม่หายอยาก) ฯ

 

      26  ดูกรมหาบพิตรผู้ปกครองแผ่นดิน ถ้ากระไรละก็ จงทอดพระเนตรร่างกาย มันไม่ยั่งนืน ไม่มีสาระ มันเป็นเครื่องยนต์แห่งความทุกข์ ปากแผลทั้ง 9 มีสิ่งปฏิกูลไหลอยู่เสมอ ดูกรพระองค์ผู้เป็นใหญ่แก่คน ความพอใจและความกำหนัดกาม ไม่มีแก่อาตมภาพ ฯ

 

      27 อาตมภาพ ละกามได้อย่างกว้างขวาง และสตรีตั้งพันที่น่าดูน่าชม อาตมภาพพ้นไปแล้ว ไม่มีความยินดี ในภพทั้งหลาย ใคร่จะบรรลุโพธิคือความตรัสรู้อันประเสริฐ ซึ่งเป็นบรมคติอย่างยิ่ง ฯ

 

พระราชา (พิมพิสาร) ตรัสว่า

 

      28 ข้าแต่พระภิกษุ ท่านไปไหนในทิศใด เกิดที่ไหน ใครเป็นบิดา มารดาของท่าน ท่านเป็นวรรณะกษัตริย์หรือวรรณะพราหมณ์ หรือเป็นพระราชา ข้าแต่พระภิกษุ ถ้าไม่รู้สึกหนักใจ ขอท่านขอกมาให้ถี่ถ้วนฯ

 

พระโพธิสัตว์ตรัสว่า

 

      29  ดูกรมหาบพิตรผู้ปกครองแผ่นดิน พระองค์โปรดฟัง บุรีกบิลพัสดุ์แห่งศากยทั้งหลาย มั่งคั่งไพบูลย์ที่สุด พระราชาพระนามว่าศุทโธทนะเป็นพระบิดาของอาตมภาพ แต่ตัวของอาตมภาพเป็นบรรพชิตปรารถนาคุณธรรม ฯ

 

พระราชา (พิมพิสาร) ตรัสว่า

 

      30 สาธุ ในที่สุด ความคิดเห็นของฝ่าพระบาท เป็นความคิดเห็นที่ดีมาก ซึ่งเป็นพระชนม์ชีพของฝ่าพระบาท แม้หม่อมฉัน ก็ยอมเป็นศิษย์ของฝ่าพระบาท ขอฝ่าพระบาท โปรดประทานอภัยให้แก่หม่อมฉันที่ได้มีเจตนาเชื้อเชิญฝ่าพระบาท(ให้ครองราชย์) ซึ่งฝ่าพระบาทปราศจากความกำหนัดในกามเสียแล้ว ฯ

 

      31 ข้าแต่ฝ่าพระบาทผู้เจริญ ถ้าฝ่าพระบาทบรรลุโพธิคือความตรัสรู้ ข้าแต่ฝ่าพระบาทผู้เจริญ ขอฝ่าพระบาทโปรดให้หม่อมฉันถึงความเป็นเจ้าแห่งธรรมบ้าง อนึ่ง บุรีของหม่อมฉันก็จะได้ลาภอันประเสริฐ นั่นคือฝ่าพระบาทผู้เป็นสวยัมภู ได้ประทับอยู่ในนครของหม่อมฉันนี้ ฯ

 

      32 พระราชา (พิมพิสาร) ถวายนมัสการพระบาทซ้ำอีกแล้วกระทำประทักษิณด้วยความเคารพ พระผู้เป็นใหญ่กว่านรชน มีราชบริพารของพระองค์แวดล้อม เสด็จเข้าสู่นครราชคฤห์อีก ฯ

 

      33 พระโลกนาถ เสด็จเข้าไปในบุรีมคธ ทรงสำราญพระอิริยาบถตามพระหทัยปรารถนา มีพระหทัยสงบระงับแล้ว ทรงกระทำตามความปรารถนาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แล้วพระองค์ผู้เป็นใหญ่กว่านรชนทั้งหลาย ได้เสด็จไปริมฝั่นแม่น้ำในรัญชนา (ฉบับบาลีว่า เนรัญชรา) ฯ

 

อธิยายที่ 16 ชื่อพิมพิสาโรปสังกรมณปรวรรต (ว่าด้วยการเข้าไปหาพระราชาพิมพิสาร) ในคัมภีร์ศรีลลิตวิสตร ดั่งนี้แล ฯ

  

17 การกระทำที่ยาก

 

อัธยายที่ 17

 

ทุษกรจรฺยาปริวรฺตะ  สปฺตทศะ

 

ชื่อทุษกรจรรยาปริวรรต (ว่าด้วยประพฤติการกระทำที่ทำยาก)

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้นแล ดาบสชื่อรุทรกะ รามบุตร อาศัยนครราชคฤห์อยู่ด้วยศิษย์หมู่ใหญ่ พร้อมด้วยศิษย์ 700 คน รุทรกะ รามบุตรนั้นแสดงธรรมแก่ศิษย์เหล่านั้นด้วยพรตพร้อมกับไนวสํชญานนาสํชญายตนะ (มีสํชญาอย่างละเอียด) ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ได้พบรุทรกะ รามบุตรผู้เป็นหัวหน้าคณะสงฆ์ ผู้เป็นอาจารย์ของคณะ ผู้ประสงค์จะให้ศิษย์ทั้งหลายรู้ ผู้มีชนเป็นอันมากบูชาแล้ว ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบัณฑิต ครั้นพบกันแล้วพระองค์คิดว่า รุทรกะ รามบุตร ผู้นี้แหละ เป็นหัวหน้าคณะสงฆ์ เป็นอาจารย์ของคณะ เป็นผู้ประสงค์จะให้ศิษย์ทั้งหลายรู้ เป็นผู้ซึ่งมีชนเป็นอันมากบูชาแล้ว เป็นผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบันฑิต ถ้าเราเข้าไปสู่สำนักของท่านผู้นี้เริ่มประพฤติพรตและตบะไซร้ ท่านผู้นี้จะไม่รู้ความวิเศษในสำนักของเรา จะไม่รู้โดยประจักษชญาน จะกลายเป็นไม่ให้โทษแก่ผู้ที่ยังมีปรัตยัยปรุงแต่ง ผู้ประกอบด้วยอาศรวะผู้ประกอบด้วยอุปาทาน ผู้ที่ได้สมาธิในธยานทั้งหลาย อย่ากระนั้นเลยเราจะต้องเข้าไปแสดงอุปายตามสมควรที่จะให้ท่านมีประจักษชญาน เราจะต้องแสดงให้เห็นว่าสมาธิอันเป็นโลกีย์ของผู้มีธยานเป็นอารมณ์ และของผู้ที่หยั่งลงสู่สมาบัติ ยังไม่เป็นการถอนออกจากทุกข์ได้ อย่ากระนั้นเลย เราจะเข้าไปสู่สำนักของรุทรกะ รามบุตรแสดงตนเป็นศิษย์ เพื่อให้บังเกิดคุณพิเศษในสมาธิของตน จะได้ชี้ให้เห็นว่า สมาธิของผู้ที่ยังมีปรัตยัยปรุงแต่งทั้งหลายยังไม่เป็นแก่นสาร

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระโพธิสัตว์ มั่นพระหทัยต่ออำนาจแห่งประโยชน์นี้แล้ว จึงเข้าไปยังสถานที่รุทรกะ รามบุตรอยู่ ครั้นแล้ว จึงตรัสคำนี้กับรุทรกะ รามบุตรว่า ดูกรท่านผู้ควรเคารพ ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือว่า ท่านรู้ธรรมที่ใครแสดง

 

      เมื่อพระโพธิสัตว์ตรัสอย่างนี้แล้ว  รุทรกะ รามบุตร จึงพูดกับพระโพธิสัตว์อย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้ควรเคารพ ข้าพเจ้าไม่มีศาสดาใดๆดอก แต่ว่า ข้าพเจ้าตรัสรู้โดยชอบ(อย่างถูกต้อง) ซึ่งธรรมของข้าพเจ้านี้ด้วยตนเอง พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ท่านตรัสรู้อะไร ? รุทรกะ รามบุตรตอบว่า ทางแห่งสมาบัติที่เป็นไนวสํชญานาสํชญายตนะ พระโพธิสัตว์ตรัสว่า  ข้าพเจ้าจะได้ทางแห่งสมาธิที่เป็นอววาทานุศาสนียะ จากสำนักของท่านไหม ?รุทรกะ รามบุตรตอบว่า ได้ ข้าพเจ้าจะให้อววาทเท่าที่จะให้ได้

 

      ครั้นแล้ว พระโพธิสัตว์เสด็จไปสู่ที่สงัด ประทับนั่งขัดสมาธิ เมื่อพระโพธิสัตว์ทรงกระทำความเพียรสม่ำเสมอ ด้วยบุณยพิเศษ ด้วยชญานพิเศษ ด้วยผลพิเศษแห่งการประพฤติสุจริตในครั้งก่อน ด้วยการสะสมพิเศษซึ่งสมาธิทั้งปวง สมาบัติตั้งร้อยชนิด ทั้งที่เป็นโลกียะ และทั้งที่เป็นโลกุตตระทั้งปวงมีธยานเป็นประธาน ก็ปรากฏขึ้น พร้อมทั้งเหตุ พร้อมทั้งอุเทเทศ(คำอธิบาย) เหมือนกับปรากฏขึ้นโดยเป้นไปตามอำนาจจิตของพระองค์ ครั้นแล้ว พระโพธิสัตว์ทรงมีสมฤติสัมปรชานะ เสด็จลุกขึ้นจากอาสนะเข้าไปยังที่รุทรกะ รามบุตรอยู่ ครั้นแล้ว จึงตรัสกับรุทรกะ รามบุตรอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้ควรเคารพ ทางแห่งสมาบัติที่เป็นไนวสํชญานาสํชญายตนะอย่างอื่นยิ่งกว่านี้ มีอีกไหม ? รุทรกะ รามบุตรตอบว่า ไม่มีแล้ว

 

      ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ทรงพระดำริว่า รุทรกะ ไม่มีศรัทธา วีรยะ สมฤติ ปรัชญา เสียเลย เราต่างหากมีศรัทธา วีรยะ สมฤติ ปรัชญา

 

      ครั้นแล้ว พระโพธิสัตว์ จึงตรัสกับรุทรกะ รามบุตรอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้ควรเคารพ ธรรมซึ่งท่านได้มอบหมายให้ไว้นั้นเราได้บรรลุแล้ว รุทรกะ รามบุตรได้พูดว่า ถ้ากระนั้น มาเถอะ ท่านกับข้าพเจ้า ช่วยกันปกครองคณะ ดั่งนี้แล้ว แต่งตั้งพระโพธิสัตว์ในความหมายเสมอกัน และให้มีฐานะเป็นอาจารย์เท่ากัน พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ดูกรท่านผู้ควรเคารพ ทางนี้ ไม่เป็นไปในความหยุด ไม่เป็นไปเพื่อไวราคะ(ปราศจากกำหนัด) ไม่เป็นไปเพื่อนิโรธ (ความดับสนิทแห่งทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่ออภิชญา(ความตรัสรู้) ไม่เป็นไปในสัมโพธิ(ปัญญาตรัสรู้) ไม่เป็นไปเพื่อศรมณะ ไม่เป็นไปเพื่อพราหมณ์ ไม่เป็นไปเพื่อนิรวาณ

 

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาถึง รุทรกะ รามบุตร พร้อมทั้งศิษย์ จนกระทั่งทรงทราบว่าไม่ควร จึงทรงออกหากโดยทรงดำริว่า  เราพอกันที่กับดาบสผู้นี้

 

      ก็ในสมัยนั้นแล ภัทรวรรคียห้ารูป ได้ประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักรุทรกะ รามบุตรท่านทั้ง 5 นั้น คิดกันว่าเราพากเพียรพยายามมาเป็นเวลานานเพื่อประโยชน์แห่งธรรมใด เราไม่สามารถเพื่อบรรลุที่สุดหรือขอบเขตแห่งธรรมนั้นได้ ที่สุดหรือขอบเขตแห่งธรรมนั้นพระศรมณะโคดมได้กระทำให้ปรากฏเพื่อบรรลุได้ด้วยความลำบากเล็กน้อยและที่สุดหรือขอบเขตแห่งธรรมนั้น ก็ยังไม่เป็นที่พอใจของพระศรมณะโคดมและพระสรมณะโคดมท่านยังแสวงหาให้ยิ่งขึ้นไปอีก ไม่ต้องสงสัย พระสรมณะโคดมนี้จะต้องเป็นศาสดาในโลก และพระองค์จะต้องแจกจ่ายที่สุดหรือขอบเขตแห่งธรรมนั้นแก่เราทั้งหลายด้วย เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้ ภัทรวรรคียทั้งห้า ก็ปลีกตรนออกจากสำนักรุทรกะ รามบุตรติดตามพระโพธิสัตว์ไป

 

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ประทับอยู่ในนครราชคฤห์ตามความปรารถนาแล้ว เสด็จดำเนินจาริกไปในแคว้นมคธหลายแห่ง พร้อมด้วยภัทรวรรคียทั้งห้า

 

      ในสมัยนั้นแล จากระหว่างทางนครราชคฤห์และจากระหว่างท่างมณฑลคยายังมีชนคณะหนึ่งเล่นมหรสพ และชนคณะนี้ได้นิมนต์พระโพธิสัตว์พร้อมทั้งภัทรวรรคียทั้งห้า ด้วยการถวายที่อยู่และถวายภักตาหาร

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระโพธิสัตว์ทรงประพฤติปฏิบัติอยู่ในแคว้นมคธ แล้วเสด็จไปยังมณฑลคยาแห่งชนชาวมคธทั้งหลาย บรรลุถึงคยาตามลำดับ ดูกรภิกษุทั้งหลายในคยานั้นแล พระโพธิสัตว์ผู้ตั้งพระหทัยบำเพ็ญเพียร ทรงสำราญอิริยาบถอยู่ในคยาศีรษะ(คยาตอนบน) เมื่อพระองค์ประทับอยู่ในที่นั้น มีอุปมา (ข้อเปรียบเทียบ) แจ่มแจ้งขึ้น 3 ข้อ ซึ่งพระองค์ไม่เคยได้ยินและไม่เคยได้รู้มากเลย อุปมา 3 ข้อนั้น เป็นอย่างไร ? คือ ศรมณะพรหมณ์เหล่าใดก็ตาม มีกายห่างจากกาม และมีจิตห่าง จากกรรมอยู่ แต่ศรมณะพราหมณ์เหล่านั้น ยังมีความยินดีในกาม มีความกำหนัดในกาม มีความพอใจในกาม มีความใคร่ในกาม มีความกระหายในกาม มีความเคลิบเคลิ้มในกาม มีความเร่าร้อนในกาม แม้ความยินดีเป็นต้นนั้น ไม่รู้จักจบสิ้นสุดในกาม ไม่รู้จักสงบถึงแม้ว่าศรมณะพราหมณ์เหล่านั้น จะเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์ซึ่งเกี่ยวกับกามได้คลาดไปจนตนเสียแล้ว และเกี่ยวกับทำให้ร่างกายร้อนรน เป็นเวทนาร้ายแรง เข็มแข็ง เผ็ดร้อนไม่เป็นที่พึงพอใจก็ตาม ถึงกระนั้นศรมณะพราหมณ์เหล่านั้นก็ยังไม่ควรที่จะกระทำให้แจ้งอลมารยชญานทรรศนะ(*) อันพิเศษ เพราะอุตตริมนุษยธรรม(**) นั่นเอง นั่นเหมือนคนต้องการไฟแสวงหาความสว่าง ค้นหาความสว่าง เข้าเอาไม้สดมาเล้วเอาไม่สีไฟอันบนสดจุ่มน้ำแล้วสี เขาก็ยังไม่ควรที่จะทำให้ไฟเกิดขึ้นได้ ซึ่งยากที่จะให้ไฟเกิดขึ้น เช่นเดียวกัน ศรมณะพราหมณ์เหล่านี้ มีกายห่างจากกาม และมีจิตห่างจากกามอยู่ แต่ศรมณะพราหมณ์เหล่านี้ยังมีความยินดีอยู่ในกาม มีความกำหนัดในกาม มีความพอใจในกาม มีความใคร่ในกาม มีความเคลิบเคลิ้มในกาม มีความเร่าร้อนในกาม ความยินดีเป็นต้นนั้นไม่รู้จักสิ้นสุดในกาม ไม่รู้จักสงบ ถึงแม้ว่าศรมณะพราหมณ์เหล่านั้น จะเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์ซึ่งเกี่ยวกับกามได้คลาดไปจากตนเสียแล้วและเกี่ยวกับทำให้ร่างกายร้อนรนเป็นเวทนาร้ายแรง เข็มแข็ง เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่พึงพอใจก็ตาม ถึงกระนั้น ศรมณะพราหมณ์เหล่านั้น ก็ยังไม่ควรที่จะกระทำให้แจ้งอลมารยชญานทรรศนะอันพิเศษ เพราะอุตตริมนุษยธรรมนั่นเอง นี้เป็นอุปมาข้อที่ 1ของพระโพธิสัตว์แจ่มแจ้งขึ้น

 

* อลํ อารยชญาน ทรรศนะ การเห็นด้วยญาณของพระอริยะว่าพอแล้ว ได้แก่อรหัตผลญาณ คือการบรรลุอาหัตหรือเป็นอรหันต์
** ธรรมชั้นสูงยิ่งของมนุษย

      และพระโพธิสัตว์ทรงดำริต่อไปว่า ศรมณะพราหมณ์เหล่านี้ใดๆ มีกายและจิตห่างจากกามอยู่ แต่ศรมณะพราหมณ์เหล่านั้น ยังมีความยินดีในกาม ฯลฯ คนหาความสว่าง เขาเอาไม้สดวางไว้บนบก แล้วเอาไม้สีไฟอันบนสดมาสี เขายังไม่ควรที่จะทำให้ไฟเกิดขึ้นได้ เช่นเดียวกัน ศรมณะพราหมณ์เหล่านี้ใดๆ ก็ยังไม่ควรที่จะกระทำให้แจ้งอลมารยชญานทรรศนะอันพิเศษ เพราะอุตตริมนุษยธรรม นี้เป็นอุปมาข้อที่ 2 แจ่มแจ้งขึ้น ซึ่งพระองค์ไม่เคยได้ยินและไม่เคยรู้มาเลย

 

      ข้ออื่นอีก คือมีศรมณะพราหมณ์เหล่าใดๆ ซึ่งมีกายและจิตห่างจากกามอยู่ศรมณะพราหมณ์เหล่านั้นยังมีความยินดีในกาม ฯลฯ แต่ความยินดีเป็นต้นของศรมณะพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นย่อมสงบ ศรมณะพราหมณ์เหล่านั้นจะเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์ซึ่งเกี่ยวกับกามได้คลาดไปจากตนเสียแล้ว และเกี่ยวกาบทำให้ร่างกายร้อนรนเป็นเวทนาร้ายแรง เข็มแข็ง เผ็ดร้อนก็ตาม ถึงกระนั้น ศรมณะพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมควรโดยแท้ที่จะกระทำให้แจ้งอลมารยชญานทรรศนะอันพิเศษ เพราะอุตตริมนุษยธรรมนั่นเหมือนคนในโลกนี้ต้องการไฟ แสวงหาความสว่าง ค้นหาความสว่าง เขาเอาไม้แห้งมาแล้ว เอาไม้สีไฟอันบนแห้งวางไว้บนบกมาสี เขาควรที่จะให้กลับเป็นไฟ ซึ่งยากที่จะให้เกิดไฟขึ้น เช่นเดียวกัน ศรมณะพราหมณ์เหล่านี้ใดๆฯลฯ เสวยเวทนา และศรมณะพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมควรโดยแท้ที่จะกระทำให้แจ้งอลมารยชญานทรรศนะอันพิเศษ เพราะอุตตริมนุษยธรรม นี่เป็นอุปมาข้อที่ 3 แจ่มแจ้งขึ้น ซึ่งพระองค์ไม่เคยได้ยินและไม่เคยรู้มาเลย

 

      ครั้งนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า เรานี่แหละ บัดนี้มีกายห่างจากกามอยู่ และมีจิตห่างจากกาม เรายังมีความยินดีในกาม ฯลฯ ความยินดีเป็นต้นของเรานั้น ย่อมสงบ เราเสวยอันเป็นทุกข์ซึ่งเกี่ยวกับกามได้คลาดไปจากเราเสียแล้ว และเกี่ยวกับทำให้ร่างกายร้อนรน เราได้เสวยเวทนา นั่นแหละเราจึงควรที่จะกระทำให้แจ้งอลมารยชญานทรรศนะอันพิเศษ เพราะอุตตริมนุษยธรรม

 

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ประทับอยู่ในคยาตามพระประสงค์แล้ว ทรงจงกรมตามลำดับให้เป็นการออกกำลังพระชงฆ์ที่ภูเขาคยาศีรษะ แล้วเสด็จไปยังอุรุพิลวาเสนาปติคามกะ (หมู่บ้านของเสนาบดีชื่ออุรุพิลวา) บรรลุถึงที่นั้นโดยลำดับในที่นั้นพระองค์ทอดพระเนตรเห็นแม่น้ำไนรัญชนา มีน้ำใส มีท่าดี และประดับด้วยสุมทุมพุ่มไม้ดังว่าปราสาท และมีหมู่บ้านเป็นที่โคจรอยู่รอบๆ พระหทัยของพระโพธิสัตว์เลื่อมใสในที่นั้น สถานที่นี้เป็นที่พอใจของกุลบุตรผู้ต้องการทำความเพียร และเราก็ต้องการทำความเพียร อย่ากระนั้นเลย เราจะอยู่ในที่นี้ละ

 

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า เราหยั่งลงสู่ชมพูทวีปนี้ในเวลาที่มีความกำหนัดยินดีในกามคุณทั้ง 5 เมื่อสัตว์ทั้งหลายพ้นจากความเลวทรามแล่นไปในทฤษฎิต่างๆอันเป็นวิธีการที่จะได้บุณยซึ่งมีอยู่ดกดื่น ยึดมั่นในการถือก้อนแห่งร่างกายเป็นหลัก และพากันแสวงหาความบริศุทธทางกายด้วยการทรมานให้ร้อนรนกระวนกระวาย(ษาตปนปริตาปนะ) ด้วยวิธีต่างๆ คนเขลาทั้งหลายย่อมบัญญัติขึ้นนั่นคือคนเขลาทั้งหลายย่อมเข้าใจเอาเองถึงความบริศุทธว่าจะมีได้ด้วยการพิจารณามนตร์ ด้วยการกินอาหารในมือตนเอง โดยการไม่ออกปากขอไม่เรียกร้อง ด้วยไม่กินปลาและเนื้อ กินแต่เผือกมันหลายอย่างตลอดปี ด้วยการเว้นจากดื่มสุราเมรัย (เหล้าและอุที่ใช้แกลบหมักเป็นน้ำเมา) ด้วยการรับภิกษาหารตระกูลเดียวเพียง 1 ครั้ง 3 ครั้ง 5ครั้ง 7 ครั้ง ด้วยการกินและดื่ม เผือกมัน ผลไม้ สาหร่าย ใบหญ้าคา (แฝก)ขึ้วัว เยี่ยววัว ข้าปายสะนมเปรี้ยว น้ำมันเนย น้ำอ้อย แป้งดิบ ด้วยการทำแหนบปากนกพิลาปไว้ทำความสะอาด (ถอนขน )และด้วยการอยู่อย่างชาวบ้านหรือชาวป่า ด้วยการประพฤติพรตอย่างโค เนื้อ ม้า หมู ลิง และด้วยการประพฤติพรตอย่างช้าง ด้วยการโคจรไม่ช้ำสถานที่ ด้วยอยู่ในวีราสนะ คืออยู่กลางแจ้ง นิ่งไม่พูดอยู่กับที่ ด้วย พูดเพียงคำเดียวถึง 7 คำ บริโภคอาหารครั้งเดียว ด้วยการอดอาหารในระหว่างวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง อดอาหาร 4 วัน 5 วัน 6 วัน ถือพรตจันทรายนะ(*) อดอาหารปักษ์หนึ่งเดือนหนึ่งด้วยการถือตามปักษ์แร้งปักษ์นกเค้า (แร้งกินแต่กลางวัน นกเค้ากินแต่กลางคืน) ด้วยการมีใบมีดหรือปลายศรเป็นอาสนะ (นั่งบนใบมีดหรือนั่งบนปลายลูกศร)นุ่งผ้าเปลือกไม้ ผ้าทอด้วยหญ้าคา (ผ้าคากรอง) ผ้าขนอูษฏร์ ผ้าขนแกะ ผ้าผมคนและหนังสัตว์ และด้วยการนอนบนผ้าเปียกหรือบนจอมตาข่าย(เอาข่ายมากองเหมือนจอมปลวกแล้วนอนบนนั้น) ด้วยการนอนบนขี้เถ้า บนกรวด บนหิน บนแผ่นกระดาน บนหนาม บนหญ้า บนสากดำข้าว และด้วยการนอนห้อยหัวลง นอนขดตัว นอนบนที่ราบ ด้วยการอยู่ครั้งเดียว  2 ครั้ง 3 ครั้ง 4 ครั้ง 5 ครั้ง 6ครั้ง 7 ครั้ง และมากครั้ง(ในที่แห่งเดียว) ด้วยการเปลือยกายด้วยวิธีที่กำหนดสถานที่ และมิได้กำหนดและด้วยการไว้ผม ไว้เล็บ ไว้หนวดยาว หรือไว้ผมเป็นกระเซิง ด้วยอาหารมีประมาณเท่าผลพุทรา เมล็ดงา เมล็ดข้าวสาร ด้วยการทาตัวด้วยขี้เถ้า เขม่า งดเว้นความผ่องใสฉาบทาด้วยเขม่าฝุ่นโคลน ด้วยการไว้ขนผมยาวเหมือนหญ้ามุญชะ ไว้เล็บ นุ่งห่มผ้าที่ได้ด้วยการขอ ห้อยหัวกระโหลก และด้วยการดื่มน้ำในกา ซึ่งเป็นน้ำร้อน และกรองน้ำข้าวด้วยผ้าขนสัตว์ ด้วยการมีไว้ซึ่งถ่านไฟ ผ้าย้อมน้ำฝาด ไม้กางเขน (สำหรับพักแขน) มีดโกน เตาสำหรับติดไฟบูชายัชญ ไม้เท้าปลายเป็นรูปหัวกะโหลก คนเขลาทั้งหลายย่อมบำเพ็ญตบะด้วยการประพฤติตบะ 5 อย่าง คือดื่มควัน ดื่มไฟ เพ่งดวงอาทิตย์ ยืนเท้าเดียว ยืนเท้าเดียวชูมือ คนเขลาทั้งหลายย่อมค้นหาคติ(อุปาย) คือย่างไฟแกลบเหมือนนิกุมภะ(**)เป็นตัวอย่าง เข้าไปสู่เปลวไฟเหมือนเผาศิลาให้สุกและไปตายที่ท่าทะเลทราย เหมือนคนเขลาทั้งหลายย่อมเข้าใจเอาเองถึงความปริศุทธว่าจะมีได้ด้วยการทำโองการ(***) วษัฏการ(*4) สวธาการ(*5) สวาหาการ(*6) คำอวยพรอาเศียรพจน์) ประชุมสรรเสริญ (สดุดีจยนะ) คำเชื้อเชิญ เรียนและจำบทมนตร์ภาวนา และสำคัญว่าตนบริศุทธ จึงอาศัยพึ่งวิธีการเหล่านี้ นั่นคือ เขาเหล่านั้นพากันกราบไหว้ พรหม องค์อินทร์ รุทระ วิษณุ เทวี(สรัสวดีชายาพรหม) กุมาระ(สกันธกุมาร) มาตฤ (เทพมารดาคือลักษมี) กาตยายนี (คือ นางอุมาชายาศิวะ) จันทร์ อาทิตย์ ไวศรวณะ วรุณะ วาสวะ อัศวิน นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครฑ กินนร งูใหญ่ รากษส พร้อมทั้งเปรต ภูติ กุมภัณฑ์ ปีศาจ ผู้เป็นคณบดี (หัวหน้า) บริษัทกุมภัณฑ์และเทพฤษี ราชฤษี พรหมฤษี เขาเข้าใจว่าผู้ที่ออกนามเหล่านั้นยิ่งประเสริฐ และเขาเหล่านั้น อาศัยพึ่งดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ และอาศัยภูเขา แม่น้ำ ลำคลอง สระ หนอง บึง ทะเล ลำห้วย ทะเลสาป บ่อ ต้นไม้ พุ่มไม้ เถาวัลย์ หญ้า สถานที่ สโมสร ป่าช้า ทางสี่แพ่ง ตลาด เขาเหล่านั้น  ย่อมกราบไหว้เสาเรือน สากมือ ดาบ ธนู ขวาน ลูกศร หอก ตรีศูล(หอก 3 ใบ) และเขาเข้าใจเอาเองถึงสิ่งที่เป็นมงคลว่าจะมีได้เด้วยนมเปรี้ยว น้ำมันเนยเมล็ดพันธุ์ผักกาด ข้าวเหนียว ด้ายมงคลผูกมือ หญ้าแพรก เพชรพลอย ทอง เงิน เป็นต้น ผู้เขลาทั้งหลาย ย่อมทำแหล่งบำเพ็ญบุณยทั้งหลายเหล่านี้ ดั่งกล่าวมานี้ และผู้กลัวภัยในสังสารวัฏทั้งหลาย ย่อมอาศัยแหล่งบำเพ็ญบุณยทั้งหลาย

 

* พรตจันทรายนะ คือ อดอาหารเพิ่มขึ้นและลดลงตามดวงจันทร์ วันขึ้นค่ำ 1 กินอาหาร 1 คำ ขึ้น 2 ค่ำ กินอาหาร 2 คำ ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ กิน 15 คำ วันแรม 1 ค่ำ ลดเสีย 1คำ แรม 2 ค่ำลดเสีย 2คำ ถึงวัน 15 ค่ำไม่กินเลย แล้วเริ่มวันขึ้น 1 ค่ำ กิน 1คำต่อไปอีก

 ** นิกุมภะ ลูกยักษ์กุมภกรรณ

 *** โองการ คือ กล่าวนำบทภาวนาและทำเลขยันต์

4* วัษฏการ อุทานใช้ทำบูชาบวงสรวงเทวดาด้วยไฟ

5* สวธาการ อุทานใช้เมื่อเส้นเครื่องเส้นแต่เทพบรรพบุรุษหรือปิตฤ

6* สวาหาการ อุทานใช้ในการบูชาบวงสรวงเครื่องสังเวยแต่เทวดา

      และมีคนอื่นบางคนในโลกนี้ เข้าใจว่าคนกลับไปสู่สวรรค์ นิรวาณด้วยแหล่งบำเพ็ญบุณยทั้งหลายเหล่านั้นของตน ดังนั้นเขาจึงเดินทางผิด เขารู้ว่าเป็นศรณะ(ที่พึ่ง) ในสิ่งที่ไม่เป็นศรณะ เข้ารู่ว่าเป็นมงคลในสิ่งที่ไม่เป็นมงคล เขาเข้าใจความบริศุทธในความไม่บริศุทธ อย่ากระนั้นเลย เราควรได้พรตและตบะพิเศษเช่นนั้น ซึ่งเป็นวิธีที่จะบำราบลัทธิอื่นทั้งหมดได้  แล้วเราจะแสดงผลแห่งกรรมและกิริยาของสัตว์ทั้งหลาย ผู้ปฏิเสธกรรมและกิริยา เราจะกระทำให้เทวดาที่เป็นธยานโคจร (อรูปพรหม) และรูปาวจร(รูปพรหม) เว้นจากการยึดถือธยานเป็นของวิเศษ

 

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ทรงพระดำริอย่างนี้แล้ว ทรงประพฤติทุษกรจรรยา คือความประพฤติที่ยากจะประพฤติได้อย่างอุกฤษฏ์ ซึ่งยากที่ใครจะทำได้ เพราะทรงกระทำพรตและตบะยากที่สุดตลอด 6 ปี เพราะเหตุไรจึงเรียกว่า ทุษกรจรรยา เพราะความประพฤตินั้นทำยาก ดังนั้น จึงเรียกว่าทุษกรจรรยา สัตว์ใดๆยังธยานอันแน่วแน่ (อาสผานกธยาน) ให้ถึงพร้อมเป็นมนุษย์ก็ตาม หรืออมนุษย์ก็ตาม ซึ่งสามารถเพื่อจะประพฤติอันทำได้ยาก นอกจากพระโพธิสัตว์ผู้มีภพเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว หามีในหมู่สัตว์ไม่ ทำไมจึงเรียกว่าแน่วแน่ ? พระองค์เข้าสมาบัติเริ่มต้นแต่จตุรถธยาน ทรงกลั้นลมหายใจเข้า ลมหายใจออก กลั้นได้อย่างสนิท ธยานนั้นไม่มีกำหนด ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่หวั่นไหว ไม่เคลื่อนที่ ไม่กระดิก ตามได้ทุกแห่ง ไม่เกาะเกี่ยวในที่ทั้งปวง ธยานนั้น มิใช่ว่าบางคราวใครๆก็เข้าได้ จะต้องมีความเป็นศิษย์มาก่อน หรือไม่มีความเป็นศิษย์ก็ต้องเป็นพระปรัตเยกพุทธหรือพระโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญจรรยา จึงจะเข้าได้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าแน่วแน่ และอากาศนั้นไม่หวั่นไหว ไม่มีการกระทำ ไม่เปลี่ยนแปลง แผ่ไปได้ทั่ว ดังนั้นแล ธยานนั้นเสมอด้วยอากาศเพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าแน่วแน่

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระโพธิสัตว์ทรงประทับนั่งขัดสมาธิบนแผ่นดินอันเป็นอสํสกฤต (ไม่มีใครทำขึ้น) เพื่อแสดงให้ชาวโลกอัศจรรย์ใจ เพื่อทำลายความกระด้างของเดียรถีย์(ผู้ถือศาสนาอื่น) ทั้งหลาย เพื่อบำราบลัทธิอื่นทั้งหลาย เพื่อให้เป็นเครื่องพิจารณาของเทวดาทั้งหลาย เพื่อให้สัตว์ทั้งหลายผู้ถือลัทธิอุจเฉททฤษฏิ และศาศวตทฤษฏิ และผู้ปฏิเสธกรรมและกิริยา หยั่งลงสู่กรรมและกิริยา (ให้นับถือกรรมและกิริยา) เพื่อให้เอาใจใส่ต่อผลบุณญ เพื่อแสดงผลธยาน เพื่อแบ่งองค์ธยาน เพื่อแสดงกำลังเรียวแรงของกาย เพื่อให้จิตเกิดความกล้าหาญ ครั้นแล้ว พรองค์ใช้จิตข่มบีบบังคับกายของพระองค์

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นเมื่อตถาคตข่มบีบบังคับกายเช่นนั้น ในราตรีฤดูหนาว 8 ราตรี เหงื่อไหลออกจากรักแร้ทั้ง 2 ข้าง และไหลออกจากหน้าผาก หยดลงที่พื้นดิน กายยังไม่อยู่ในอำนาจ(ยังไม่เชื่อง) เร่าร้อนมีไอตัวออกเหมือนคนมีกำลังมากจับบีบคอคนมีกำลังน้อย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เช่นเดียวกัน  เมื่อตถาคตใช้จิตข่มบีบบังคับกายนี้ เหงื่อไหลออกจากรักแร้ทั้ง 2 ข้าง และไหลออกจากหน้าผากหยดลงพื้นดิน ไม่อยู่ในอำนาจ เร่าร้อน มีไอตัวออก

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตนั้นมีปริวิตกว่า ไฉนหนอ เราจะเพ่งธยานแน่วแน่ของเราได้ ดูกรภิกษุทั้งหลายต่อจากนั้น ตถาคตเพ่งธยานอันแน่วแน่ ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกได้ถูกกลั้นทางปากและทางจมูก เกิดมีเสียงดังลั่นขึ้นจากช่องหูทั้ง 2ข้างเหมือนเครื่องปั่นน้ำมันเนยกำลังปั่น มีเสียงดังลั่นขึ้น  ดูกรภิกษุทั้งหลาย เช่นเดียวกัน เมื่อตถาคตกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออกทางปาก และทางจมูก เกิดมีเสียงดังลั่นขึ้นทางช่องหูทั้ง 2 ข้าง

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตนั้นมีปริวิตกต่อไปว่า ไฉนหนอเราจะเพ่งธยานแน่วแน่ให้ยิ่งขึ้นได้ ดูกรภิกษุทั้งหลายต่อจากนั้น ตถาคตปิดปากจมูกและหูไว้แล้ว เมื่อสิ่งเหล่านั้นถูกปิด ลมเบื้องบนก็เสียดแทงกระโหลกศีรษะเบื้องสูง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นเหมือนคนแทงกะโหลกศีรษะด้วยหอกแหลม ดูกรภิกษุทั้งหลาย เช่นเดียวกัน เมื่อ ตถาคตปิดปาก จมูก และหูไว้แล้ว ลมหายใจเข้าลมหายใจออก ก็เสียดแทงกะโหลก ศีรษะเบื้องสูง

 

      เทวดาตนหนึ่งในที่นั้น เห็นอาการนั้นแล้ว จึงพูดกับพระโพธิสัตว์อย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าเสียดาย พระกุมารสิทธารถนี้ถึงกาละเสียแล้วหนอ เทวดาอื่นๆพูดว่า พระกุมารยังไม่ถึงกาละแต่อยู่ในธยานอันก้าวหน้า พระองค์ควรเป็นอย่างนี้ และได้กล่าวคำเป็นบทประพันธ์ขึ้นในเวลานั้นว่า

 

      1 พระกุมารผู้เป็นครรภ์แห่งราชาศากยนี้ เมื่อความมุ่งหมายยังไม่สมบูรณ์ในป่านี้ก็อย่าทำโลกทั้ง 3 ให้เป็นทุกข์ เป็นอนาถาเลย พระองค์จะกระทำกาละก็เพื่ออกฤตะ(นิรวาณ)เท่านั้น ฯ

 

      2 โอ้ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยประติชญามั่นคง พระองค์ได้เชิ้อเชิญ (พระโพธิสัตว์) ด้วยการบูชายัชญ คือพระสัทธรรม แต่ก่อนเราทั้งหลายพึ่งพระองค์ในพิภพดุษิต ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นสัตว์บริศุทธ ประติชญาของพระองค์นั้นไปไหนเสีย ฯ

 

      ครั้งนั้น เทวบุตรทั้งหลายไปในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์  บอกเนื้อความนี้แก่พระนางมายาว่าพระกุมารถึงกาละเสียแล้ว ครั้งนั้น พระนางมายามีหมู่นางอัปสรแวดล้อมเสด็จเข้าไปหาพระโพธิสัตว์ที่ริมฝั่งแม่น้ำไนรัญชนาในเวลากึ่งราตรี พระนางเห็นพระโพธิสัตว์มีร่างกายเหี่ยวแห้ง ดูดังว่าจะถึงกาละ พระนางมีน้ำพระเนตรสะอึกสะอื้นเริ่มทรงพระกรรแสง ทรงตรัสคำเป็นบทประพันธ์นี้ ในเวลานั้นว่า

 

      3 ลูกของแม่ เมื่อลูกประสูติในป่าลุมพินี ลูกมีอำนาจเหมือนราชสีห์ เดินไปเองได้ 7 ก้าว

 

      4 มองไปยังทิศทั้ง 4 แล้วเปล่งวาจาอย่างไพเราะว่า ชาตินี้ เป็นชาติสุดท้ายของเรา วาจานั้นยังไม่สมบูรณ์แก่ลูก ฯ

 

      5 พระอสิตดาบสก็ทำนายว่า ลูกจะได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก คำพยากรณ์ของพระอสิตดาบสนั้นผิดพลาดเสียแล้ว ไม่เห็นจริงเลย ฯ

 

      6 ลูกไม่ได้เสวยสมบัติจักรพรรดิ์อันเป็นที่รื่นรมย์ใจ ลูกไม่ได้บรรลุโพธิ ลูกจะตายเสียในป่าฯ

 

      7 แม่จะพยายามเพื่อลูกทำไม แม่จะมีความทุกข์ร้อนร้องไห้ไปทำไม ใครจะให้ชีวิตแก่ลูกของแม่ซึ่งมีลมปราณอยู่เล็กน้อย ฯ

 

พระโพธิสัตว์ ตรัสว่า

 

      8 นี่ท่านร้องไห้หนักด้วยความกรุณา สยายผม สิ้นความงาม ท่านที่ยืนบนพื้นดินมีความบากบั่น ร้องไห้หนักถึงบุตรทำไม ฯ

 

พระนางมายา ตรัสว่า

 

      9 แม่ได้อุ้มลูกไว้ในท้อง เหมือนอุ้มเพชรไว้ตลอด 10 เดือน ลูกเอย แม่นี้เป็นแม่ของลูก มีความทุกข์นัก คร่ำครวญอยู่ ฯ

 

      ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ ตรัสปลอบว่า แม่ปลอบลูกไม่ให้กลัว แม่จะทำความสงบให้มีผลแก่แม่เอง การเสียสละเพื่อพุทธ ไม่เป้นโมฆะ ลูกจะทำคำพยากรณ์ของอสิตดาบสให้ปรากฏขึ้นมา และลูกจะทำคำพยากรณ์ของพระทีปังกรพุทธให้ปรากฏ (ตรัสเป็นคำประพันธ์ว่า)

 

      10 แม้แผ่นดิน จะกระจัดกระจายไปตั้งร้อยชิ้น และเขาเมรุจะเป็นเขา(สัตว์) แก้วลอยอยู่ในน้ำ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ และหมู่ดาวจะตกลงบนแผ่นดิน แต่คนส่วนมากเขาไม่ยอมให้ลูกตาย เพราะฉะนั้นแม่อย่าเสียใจในกิจการนี้เลย  แม่จะได้เห็นความตรัสรู้เป็น พุทธ ไม่นานเลย ฯ

 

      พระนางมายาเกิดขนพองสยองเกล้าจากการฟังพร้อมกัน ทรงโปรยดอกมันทารพไปยังพระโพธิสัตว์ กระทำประทักษิณ 3 รอบ แล้วเสด็จไปยังพิภพของพระองค์โดยมีเครื่องดนตรีบรรเลงอยู่

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตนั้น คิดอย่างนี้ว่า มีศรมณะพราหมณ์บางคนซึ่งเข้าใจว่าความบริศุทธย่อมมีได้ด้วยบริโภคอาหารน้อย อย่ากระนั้นเลย เราจะปฏิบัติด้วยการบริโภคอาหารน้อย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตกำหนดให้บริโภคอาหารมีปริมาณเท่าผลพุทราผลเดียว ไม่ใช่สองผล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคงเข้าใจว่า ผลพุทราในครั้งนั้นใหญ่มาก ไม่ควรเข้าใจเช่นนั้น ผลพุทราครั้งนั้นก็เท่ากับผลพุทราครั้งนี้นั่นเทียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อตถาคตบริโภคอาหารมีปริมาณเท่าผลพุทราผลเดียว มิใช่สองผลนั้น ร่างกายก็ซูบผอมกำลังน้อยลงด้วยประการฉะนี้  ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นเหมือนปล้องไม้เตย หรือปล้องถ่านไฟฉันใด อวัยวะน้อยใหญ่ของตถาคตก็ฉันนั้น ซี่โครงของตถาคตเหมือนกระดองปู นั่นเหมือนโรงไว้พาหนะ หรือโรงช้างเก่าคร่ำคร่าหลังคาเปิดทั้ง 2 ข้าง ภายในโรงย่อมโปร่งโหลงเหลงฉันใด ซี่โครงของตถาคตทั้ง 2 ข้างภายในร่างกายก็โปร่งโหลงเหลงฉันนั้น นั่นเหมือนลอนผมสูงๆต่ำๆ ไม่เสมอกันฉันใด กระดูกสันหลังของตถาคตก็สูงๆต่ำๆไม่เสมอกัน ฉันนั้น นั่นเหมือนตัดน้ำเต้าขมยังอ่อนๆย่อมเหี่ยว หดหู่ เกิดเป็นหลืบย่นๆฉันใด ศีรษะก็ฉันนั้น เหี่ยว หดหู่เกิดเป็นหลืบย่นๆ นั่นเป็นดาวหลุม(กูปตารกา) ในเดือนปลายฤดูร้อนย่อมไปไกลๆยากฉันนั้น  นั่นเหมือนรอยตีนแพะหรือรอยตีนอูษฏร์ฉันใด รักแร้ ท้อง ทรวงอก เป็นต้นของตถาคตก็ฉันนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้นตถาคตคิดว่าจะเอามือลูบท้องลูบเข้าก็กระทบกระดูกสันหลังนั่นเทียว ครั้นลุกขึ้นก็คะมำค้อมลง ครั้นแล้วออกเดินก็ล้ม ครั้นลุกขึ้นก็ลำบาก ร่างกายก็ขมุกขะมอมเมื่อเอามือลูบตัว ขนเน่าก็หลุดร่วงจากกาย ร่างกายครั้งก่อนมีผิวพรรณงดงามก็หายหมด ที่เป็นเช่นนั้นเพราะมีความเพียรแรกกล้าและเพราะมีใจตั้งมั่น และคนที่อยู่บ้านเป็นที่โคจร(เที่ยวบิณฑบาต) ของตถาคตรอบๆบอกให้รู้กันว่า ท่านผู้เจริญ พระศรมณะโคดมดำไปแล้ว หนอ ท่านผู้เจริญ พระศรมณะโคดมคล้ำไปแล้วหนอ ท่านผู้เจริญ พระศรมณะโคดมมีพระฉวีพร้อยไปแล้วหนอผิวพรรณที่งดงามเปล่งปลั่งแต่ก่อนของพระศรมณะโคดมนั้นหายหมดแล้ว

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตนั้นได้เกิดความคิดนี้ขึ้นว่า ไฉนหนอ เราจะปฏิบัติด้วยการบริโภคอาหารน้อยพอประมาณให้ยิ่งขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตกำหนดให้บริโภคอาหารมีปริมาณเท่าข้าวสารเมล็ดเดียว ไม่ใช่สองเมล็ด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคงเข้าใจว่า เมล็ดข้าวสารในครั้งนั้นใหญ่มาก ไม่ควรเข้าใจเช่นนั้น เมล้ดข้าวสารในครั้งนั้นก็เท่ากับเมล็ดข้าวสารในครั้งนี้นั่นเทียว  ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อตถาคตบริโภคอาหารมีประมาณเท่าเมล็ดข้าวสารเมล็ดเดียวนั้น ร่างกายก็ได้ปรากฏขึ้นทันที คือคนเขาพูดกันว่า ท่านผู้เจริญ พระศรมณะโคดมมีพระฉวีพร้อยไปตั้งแต่ครั้งก่อน ร่างกายของพระศรมณะโคดมนี้ แต่ก่อนมีผิวพรรณงดงามก็หายไปหมดแล้ว  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตนั้นคิดอย่างนี้ว่า ไฉนหนอเราจะปฏิบัติด้วยการบริโภคอาหารน้อยพอประมาณให้ยิ่งขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตกำหนดให้บริโภคอาหาร มีประมาณเท่างาเมล็ดเดียว ไม่ใช่สองเมล็ด ฯลฯ จนกระทั่งร่างกายของพระศรมณะโคดมมีผิวพรรณงดงามหายไปหมดแล้ว

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลายตถาคตนั้นคิดอย่างนี้ว่า มีศรมณะพราหมณ์บางคนซึ่งเข้าใจว่า ความบริศุทธย่อมมีได้ด้วยการไม่บริโภคอาหาร อย่ากระนั้นเลย เราจะปฏิบัติด้วยการไม่บริโภคอาหารทั้งหมดด้วยประการทั้งปวง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้ว ตถาคตดำรงอยู่ด้วยการไม่บริโภคอาหาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อตถาคตไม่บริโภคอาหารนั้นร่างกายได้เหี่ยวแห้งลงมาก ผ่ายผอม กำลังน้อยลง นั่นเหมือนปล้องไม้เตย หรือปล้องถ่านไฟ ต่อจากนั้น อวัยวะน้อยใหญ่ของตถาคตก็ผอมลง 2 เท่า 3เท่า 4 เท่า 5เท่า 10 เท่า นั่นเหมือนกระดองปู หรือกลอน(สีข้าง)โรงไว้พาหนะ กระดูกสันหลังเหมือนลอนผมสองลอน กระโหลกศีรษะเหมือนน้ำเต้าขม ดาวคือดวงตาทั้งสองเหมือนดาวหลุม(กูปตารกา) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตนั้นคิดว่าจะลุกขึ้นให้ดี ก็คะมำค้อมลงและล้มทั้งลุกขึ้นก็ลำบาก ร่างกายของตถาคตก็ขมุกขะมอม เมื่อเอามือลูบขนที่โคนเน่าก็หลุดร่วงร่างกายของตถาคตที่มีผิวพรรณงดงามเปล่งปลั่งก็หายไปหมด  ที่เป็นเช่นนั้นเพราะมีความเพียรแรงกล้า และความมีใจตั้งมั่น คนที่อยู่บ้านเป็นที่โคจรของตถาคตรอบๆบอกให้รู้กันว่า ท่านผู้เจริญ พระศรมณะโคดมดำไปแล้วหนอ ท่านผู้เจริญ พระศรมณะโคดมคล้ำไปแล้วหนอ ท่านผู้เจริญ พระศรมณะโคดมมีพระฉวีพร้อยไปแล้วหนอ ผิวพรรณที่งดงามเปล่งปลั่งแต่ก่อนของพระศรมณะโคดมนั้นหายหมดแล้ว

 

      แม้พระราชาศุทโธทนะครั้งนั้นก็ส่งทูตไปในสำนักพระโพธิสัตว์ทุกๆวัน

 

      กระนี้แลดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ทรงแสดงบทอันคล้อยตามทุษกรจรรยา(ความประพฤติที่ทำยาก) ตลอด 6 ปี ด้วยการบริโภคอาหารมีประมาณเท่างาเมล็ดเดียว เท่าพุทราผลเดียว เท่าข้าวสารเมล็ดเดียว เพื่อแสดงกิริยาน่าอัศจรรย์แก่โลก เพื่อให้สัตว์ทั้งหลายผู้ปฏิเสธกรรมและกิริยาตั้งแต่ครั้งก่อนหยั่งลง(นับถือ) สู่กรรมและกิริยาเพื่อให้เกิดการสะสมบุณย เพื่อแสดงคุณแห่งมหาชญาน(ความรู้มาก) และเพื่อจำแนกองค์แห่งธยานทั้งหลาย พระโพธิสัตว์มีพระหทัยไม่ย่อท้อตลอด 6 ปี โดยประการที่ประทับนั่งโดยท่าขัดสมาธิ และไม่เปลี่ยนอิริยาบถ ไม่หลบแดดเข้าร่ม ไม่ออกจากร่มไปหาแดด ไม่ทำการป้องกันลม แดด และฝน ทั้งไม่ขับไล่เหลือบ ยุง งู ทั้งหลาย ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสวะ ขากเศลษม์ สั่งน้ำมูก ไม่ทำการคู้เข้าและเหยียดออก ไม่ประทับด้วยสีข้าง ท้อง และหลัง (คือไม่นอนตะแคง นอนคว่ำ นอนหงาย ) เมฆใหญ่ตั้งขึ้นในวันฟ้าฝนในปีฟ้าฝน ในฤดูแล้ง ฤดูร้อน ฤดูหนาว ก็ตกลงที่พระกายของพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์มิได้กระทำการป้องกัน โดยที่สุด แม้ด้วยมือเลย  และไม่ปกป้องอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่ยึดถืออินทรีย์ทั้งหลาย ใครมาที่นั่นจะเป็นเด็กชายชาวบ้าน หรือเด็กหญิงชาวบ้าน คนเลี้ยงวัว คนเลี้ยงปศุสัตว์ คนหาหญ้า คนหาฟืน คนหามูลโค (เอาไปตากแห้งทำเชื้อเพลิง) ย่อมเข้าใจพระโพธิสัตว์ว่าเป้นผีคลุกฝุ่น(*) พากันมาเล่นสนุกด้วย  และเอาฝุ่นทาองค์พระโพธิสัตว์

 

* ศัพท์ว่า ปำศุปีศาจ แปลตามพยัญชนะว่า ผีคลุกฝุ่น แต่ไม่ใช่ผีจริง เช่นเดียวกับผีบุญไม่ใช่ผีจริง ผีคลุกฝุ่นน่าจะหมายถึงคนบ้าๆบอๆ เหมือนเจ้าเงาะในเรื่องสังข์ทอง

 

      ในที่นั้น พระโพธิสัตว์มีร่างกายบกพร่องลดน้อยอ่อนกำลังลงเป็นไปตลอด 6 ปีนั้น เอาหญ้าหรือสำลีใส่เข้าไปในช่องพระกรรณของพระโพธิสัตว์ มันจะออกมาทางช่องพระนาสิก ใส่เข้าในในช่องพระนาสิก มันจะออกมาทางช่องพระกรรณ ใส่เข้าไปในช่องพระกรรณ มันจะออกมาทางพระโอษฐ์ ใส่เข้าไปทางพระโอษฐ์ มันจะออกมาทางพระกรรณและพระนาสิก ใส่เข้าไปในพระนาสิก มันจะออกมาทางพระกรรณพระนาสิกพระโอษฐ์ ใครๆที่เป็นเทวดา นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครุฑ กินนร งูใหญ่ มนุษย์หรืออมนุษย์ ประจักษ์ในคุณของพระโพธิสัตว์ เขาเหล่านั้นอธิษฐานทำการบูชาพระโพธิสัตว์ตลอดคืน ตลอดวัน และกระทำปณิธาน(ตั้งใจพยายามเป็นพระพุทธเจ้า

 

      ในที่นั้น พระโพธิสัตว์ผู้แสดงทุษกรจรรยาโดยเวลา 6 ปี นั้น ทรงสะสมบารมิตาด้วยยานทั้ง 3ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายตลอด 12 แสนโกฏิเต็ม

 

ในที่นี้มีคำกล่าวไว้ว่า

 

      11 พระโพธิสัตว์ผู้ประกอบด้วยคุณธรรม เสด็จอภิเนษกรมณ์จากบุรีทรงดำริประกอบด้วยอุปายบังเกิดขึ้น เพื่อความต้องการและประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลายว่า ฯ

 

      12 เมื่อโลกมีอัธยาศัยในอธรรมอันเลวทรามในเวลามีความกำหนัดยินดีในกามคุณทั้ง 5 เราเกิดมาในโลกชมพูทวีปซึ่งทรงการประพฤติธรรม ฯ

 

      13 สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ประกอบด้วยความทะเยอทะยาน และสิ่งที่ไม่เป็นมงคลทั้งหลาย เกลื่อนกล่นด้วยหมู่เดียรถีย์ คนเขลาทั้งหลายย่อมเข้าใจว่าความบริศุทธมีได้ด้วยการกระทำพยายามทางกาย ฯ

 

      14 มีการเข้าไปในไฟ ตกทะเลทราย  เอาฝุ่นและขี้เถ้าเป็นต้นทาตัว ประพฤติเป็นคนเปลือย ประกอบด้วยตบะโยคะ (ประพฤติตบะ) 5 อย่าง เพื่อจะทำหายให้เร่าร้อนฯ

 

      15 ผู้ไม่รู้ทั้งหลาย การทำการพิจารณา(บริกรรม)มนตร์บางคนกินอาหารในมือตนเอง (ไม่ใช้ภาชนะ) ไม่รับน้ำจากปากหม้อหรือกระโหลก ไม่รับน้ำในระหว่างที่เป็นสุขสบายฯ

 

      16 ผู้ใดพูดฟังไม่เข้าใจ พูดไม่มีประโยชน์ เขาไม่ตั้งอยู่ในคำของผู้นั้น เขารับภิกษาในตระกูลครั้งเดียว เขาเข้าใจว่าตนบริศุทธในโลกนี้(ด้วยการกระทำดั่งกล่าวมาแล้ว)ฯ

 

      17 เขาเหล่านั้น เว้นน้ำมันเนย น้ำมันงา น้ำอ้อย นมเปรี้ยว นมสด ปลา เนื้อ กินแต่หญ้า ผัก กินใยบัว ข้าว ฯ

 

      18 กินเผือกมัน ผลไม้ ใบไม้ นุ่งห่มด้วยผ้าทอด้วยหญ้าคา หนังสัตว์ ผ้าทอด้วยขนสัตว์ อีกพวกหนึ่งเที่ยวเปลือยกาย ผู้เขลาทั้งหลายเข้าใจว่า นี่เป็นความจริง นอกนั้นเป็นความหลงใหลฯ

 

      19 เขายกมือชูขึ้น เกล้าผมสูงและยุ่งเป็นกระเซิง เขาทำลายหนทางเสียแล้ว  ตั้งอยู่ในที่ใช่หนทาง ใคร่จะไปสุคติ ฯ

 

      20 เขานอนบนหญ้า บนสากตำข้าว บนขี้เถ้า และนอนบนหนาม นอนขดตัวเข้าธยาน บางคนยืนเท้าข้างเดียวแหงนหน้าดูดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ฯ

 

      21 ไหว้น้ำพุ สระ บ่อ ทะเล มหาสมุทร ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ต้นไม้ ภูเขาดิน ภูเขาหิน หม้อ แผ่นดินฯ

 

      22 ผู้เขลาเหล่านั้น ทำความสะอาดร่างกายด้วยเหตุการณ์ต่างๆแวดล้อมด้วยมิถยาทฤษฏิ ย่อมตกลงในอบายทั้งหลายโดยเร็วพลัน ฯ

 

      23 อย่ากระนั้นเลย  เราจะเริ่มประพฤติพรตและตบะ ทำทุษกรจรรยาให้กล้าแข็ง ซึ่งเทวดาหรือมนุษย์ทำได้ยาก ไม่อาจประพฤติได้ฯ

 

      24 เราจะเข้าธยานแน่วแน่เป็นสถานที่มั่นคงเหมือนเพชร ซึ่งเป็นธยานที่แม้พระปรัตเยกชินไม่สามารถแสดงได้ ฯ

 

      25 มีเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายในโลกนี้เป็นเดียรถีย์ พอใจด้วยพรตแห่งตฤษณา ยินดีด้วยพรตและตบะอันทำยาก กล้าแข็งยิ่งนัก เพราะเหตุจะบ่มเขาเหล่านั้นฯ

 

      26 พระโพธิสัตว์เข้าไปในที่ซึ่งไม่ได้ปูลาด นั่งขัดสมาธิแล้ว แสดงวิธีการบริโภคอาหารด้วยประมาณเท่าผลพุทรา  เท่าเมล็ดงา เท่าเมล้ดข้าวสาร ฯ

 

      27 ละลายลมหายใจ เว้นลมหายใจออก และไม่หวั่นไหวต่อผู้มีกำลังทรงเข้าธยานแน่วแน่ ซึ่งเป็นธยานประเสริฐตลอด 6ปี ฯ

 

      28 ไม่กำหนดข้อถูก ไม่กำหนดข้อผิด ไม่หวั่นไหว ไม่ใส่ใจถึงที่โคจร(เที่ยวบิณฑบาต) ทรงเข้าธยานซึ่งเป็นธยานแน่วแน่ ซึ่งไม่สั่นสะเทือนเหมือนอากาศธาตุ ฯ

 

      29 พระองค์ไม่หลบแดดเข้าไปสู่ที่ร่มเงา และไม่ออกไปหาแดด ไม่หวั่นไหวเหมือนเขาเมรุ ทรงเข้าธยานแน่วแน่ ฯ

 

      30 ไม่บังลมและฝน ไม่ป้องกันเหลือบ ยุง งู ทรงประพฤติโดยไม่หวั่นไหว ทรงเข้าธยานแน่วแน่ ฯ

 

      31 และทรงเข้าธยานแน่วแน่ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ตนเอย่างเดียวทรงมีจิตกรุณาผู้อื่น เพื่อความไพบูลย์ของโลก ฯ

 

      32 เด็กชาวบ้าน คนเลี้ยงโค คนหาฟืน คนหาหญ้า เห็นพระโพธิสัตว์แล้วเข้าใจว่าเป็นผีคลุกฝุ่น พากันเอาฝุ่นมาทาพระโพธิสัตว์ ฯ

 

      33 เขาเหล่านั้น เอาสิ่งสกปรกมารเรี่ยราย ทำด้วยเหตุการณ์ต่างๆ พระโพธิสัตว์มิได้หวั่นไหวหรือหลบหลีก ทรงเข้าธยานแน่วแน่ ฯ

 

      34 พระองค์ไม่ชะโงกหน้าหรือหงายหลัง ไม่ยันอะไรไว้ เพื่อจะรักษาพระกาย ไม่อุจจาระ ปัสสาวะเลย ไม่สะดุ้งกลัวเสียงทั้งหลาย ไม่มองดูสิ่งอื่น ฯ

 

      35 เนื้อและเลือดเหือดแห้งไป ยังเหลืออยู่แต่หนัง เส้นเอ็น และกระดูก ท้องติดสันหลังเป้นหระเปาะเหมือนผมมวย ฯ

 

      36 เทวดา อสูร นาค ยักษ์ คนธรรพ์ ที่ได้ทำบุณยไว้ ผู้รู้คุณของพระองค์อย่างประจักษ์ ย่อมทำการบูชาพระองค์ตลอดคืนตลอดวัน ฯ

 

      37 เขาเหล่านั้นทำความตั้งใจไว้ว่า ขอให้เราเป็นเหมือนพระโพธิสัตว์โดยเร็วพลันเถิด และให้เหมือนพระโพธิสัตว์ผู้มีจิตดังว่าอากาศทรงเข้าธยานแน่วแน่ ฯ

 

      38 พระองค์เข้าธยานไม่ใช่เพื่อประโยชน์ตนอย่างเดียว ไม่ใช่ลิ้มรสธยาน ไม่ใช่รู้สึกเป็นสุข แต่พระองค์รู้สึกกรุณาผู้อื่น จะกระทำประโยชน์ไพบูลย์ในโลก ฯ

 

      39 ลัทธิอื่นๆ พวกเดียรถีย์มีมติแลวทราม กระทำเป็นจุดดำพระองค์กำจัดแล้ว ทรงแสดงหลักกรรมและกิริยา ซึ่งเป็นวาจาที่กล่าวไว้ในพุทธสมัยพระกาศยปะ

 

      40 ความตรัสรู้ของพระกรกุจฉันทะ กว่าจะตรัสรู้ได้ในโลกนี้ก็แสนยาก นับด้วยหลายกัลป พระองค์เข้าธยานแน่วแน่ก็เพื่อประโยชน์แก่ชุมชนดังนี้แล ฯ

 

      41 พระองค์ได้รับการฝึกฝนมาดีแล้ว 12แสนโกฏิ เต็มด้วยยานทั้ง 3 ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเอาพระทัยใส่ต่อยานทั้ง 3 นั้นมีความคิดดี ทรงเข้าธยานแน่วแน่ได้ ฯ

 

อัธยายที่ 17 ชื่อทุษกรจรรยาปริวรรต (ว่าด้วยประพฤติการกระทำที่ทำยาก) ในคัมภีร์ศรีลลิตวิสตร ดั่งนีแลฯ

 

18 แม่น้ำไนรัญชนา

 

 อัธยายที่ 18

 ไนรญชนาปริวรฺโต  ' ษฺฏทศะ

 ชื่อไนรัญชนาปริวรรต(ว่าด้วยเสด็จสู่แม่น้ำไนรัญชนา)

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย มารผู้ชั่วร้าย ได้ติดตามเบื้องหลังพระโพธิสัตว์ ผู้ประพฤติทุษกรจรรยาตลอด 6 ปี คอยดูโอกาสแสวงหาโอกาส แต่ไม่ได้โอกาสใดๆในเวลาไหนเลย เมื่อมันไม่ได้โอกาส ก็หมดหวัง มีความเดือดร้อน หลีกไป

 

ในที่นี้มีคำกล่าวไว้ว่า

 

      1 ป่าอันน่ารื่นรมย์ มีต้นไม้ พุ่มไม้ และไม้เลื้อย ด้านตะวันออกในอุรุวิลวามีแม่น้ำไนรัญชนา ฯ

 

      2 ในที่นั้น พระโพธิสัตว์ทรงประกอบด้วยความเพียร เพื่อละเกลศ มีความกล้า มั่นคงอยู่เป็นนิตย์ เสด็จก้าวเข้าไป เพื่อบรรลุความไม่มีอันตรายเพราะปฏิบัติโยคะ (โยคเกษม(*) ) ด้วยความเพียร ฯ

 

      3 มารได้เข้าไปพูดด้วยวาจาอ่ออนหวานว่า ข้าแต่ศากยบุตร ลุกขึ้นเถิด ประโยชน์อะไรด้วยการทรมานกายของพระองค์ ฯ

 

      4 ชีวิตของคนเป็นๆประเสริฐ พระองค์ยังเป็นอยู่ ย่อมประพฤติธรรมได้ จริงอยู่ คนเป็นๆย่อมทำสิ่งที่ทำแล้วให้เศร้าโศกได้ ฯ

 

      5 พระองค์ซูบผอม ไม่มีสีสรรค์ อนาถา ในที่สุดพระองค์ก็ตาย ความตายมีตั้งพันส่วน พระองค์รอดชีวิตมีอยู่ส่วนเดียวฯ

 

      6 เมื่อคนให้ทาน บูชาไฟอยู่เป็นนิตย์ บุณยจะมีมาก พระองค์จะทำอะไรในเมื่อตายแล้ว ฯ

 

      7 พระองค์จงข่มจิตอันยากที่จะทำได้เพื่อละทางทุกข์ยากเสีย มารได้กล่าววาจากับพระโพธิสัตว์ในครั้งนั้นอย่างนี้ ฯ

 

* ตามความหมายในรูปภาษาบาลีโยคเกษม หมายไปอีกอย่างคือหมายว่า เกษมจากโยคะ คือปราศจากภัยจากโยคะทั้ง 4 โยคะทั้ง 4 ได้แก่ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา

 

      8 ครั้นแล้ว พระโพธิสัตว์ได้ตรัสตอบมารผู้มีวาทะเช่นนั้นว่า ดูกรมารผู้ช่วยร้าย ท่านผูกพันความประมาทไว้  ท่านมาด้วยประโยชน์ของตน ฯ

 

      9 ดูกรมาร เราไม่มีความต้องการด้วยบุณยแม้สักน้อย ท่านควรพูดอย่างนี้กับคนที่เขาต้องการบุณย

 

      10 เราไม่คำนึงถึงความตาย เพราะว่า ชีวิตความตายเป็นที่สุดเราจะไม่ทำตามท่าน จะตั้งหน้าประพฤติพรหมจรรย์ ฯ

 

      11 จริงอยู่ ลมนี้พึงพัดกระแสน้ำให้แห้งได้ เลือดในกายพึงแห้งไปก็จะเป็นไรมี เราได้อุทิศตัวแล้ว ฯ

 

      12 แต่เมื่อเลือดแห้งไปแล้ว ต่อจากนั้น เนื้อก็แห้งลง เมื่อเนื้อหมดไปแล้ว จิตย่อมผ่องใสมาก ความพอใจปฏิบัติธรรม ความเพียร และสมาธิ ย่อมตั้งลงมั่นมาก ฯ

 

      13 เมื่อเราบรรลุเจตนาอันสูงสุดอยู่ จิตย่อมไม่มองดูร่างกาย แต่กลับมองดูความบริศุทธของสัตว์ ฯ

 

      14 เรามีความพอใจปฏิบัติธรรมและความเพียร แม้ปรัชญาของเราก็มี เราไม่มองดูร่างกายนั้น ความพยายามเป็นต้น ย่อมทำให้เราเคลื่อนไหวในโลก ฯ

 

      15 ความตาย เป็นผู้นำเอาชีวิตไป ดีแล้ว ทุด เรื่องของชาวบ้าน เราจะไม่อาศัยเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิต  ความตายในสงครามดีกว่าที่จะแพ้เขาแล้วมีชีวิตอยู่ ฯ

 

      16 ผู้ไม่กล้าหาญ ย่อมไม่ชนะกองทัพ และถึงชนก็ย่อมไม่ภูมิใจต่อความชนะนั้น ส่วนผู้กล้าหาญ ย่อมชนะกองทัพได้ ดูกรมารเราจะชนะท่านโดยเร็ว ฯ

 

      17 กองทัพของท่าน คือ กาม(ความอยาก) เป็นข้อที่ 1 ความริษยาเป็นข้อที่ 2 ความหิวกระหายเป็นข้อที่ 3 เสนาของท่านคือตฤษณา(ความทะยานอยาก)เป็นข้อที่ 4 ฯ

 

      18 สัตยานมิทธะ (ความง่วงเหงาหาวนอน) เป็นข้อที่5 เสนาของท่าน คือความกลัว กล่าวว่า เป็นข้อที่ 6 วิจิกิตสา (ความลังเลไม่แน่ใจ) เป็นข้อที่ 7 เสนาของท่านคือความโกรธและหลุ่คุณท่าน (หรือหน้าไหว้หลังหลอก) เป็นข้อที่ 8 ฯ

 

      19 เครื่องปรุงแต่งคือความโลภและความสรรเสริญ ยศที่ได้โดยทางที่ผิด การยกตนข่มขี่ผู้อื่นๆ

 

      20 เหล่านี้ เป็นกองทัพของมาร พัวพันกับอกุศล ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ศรมณะ พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น หยั่งลงในธรรมเหล่านี้ปรากฏอยู่ ฯ

 

      21 กองทัพของท่า ลบหลู่โลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก เราจะทำลายกองทัพของท่านนั้นด้วยปรัชญาเหมือนทำลายภาชนะดินดิบด้วยน้ำฯ

 

      22 เรามีสมฤติตั้งมั่น อบรมให้มีปรัชญาเจริญขึ้น ประพฤติด้วยความรู้สึกตัว ดูกรมารผู้มีความคิดชั่ว ท่านจะทำอะไรได้ ฯ

 

      เมื่อพระโพธิสัตว์ตรัสอย่างนี้ มารผู้ชั่วร้าย มีความทุกข์ เสียใจ ไม่มีความยินดี มีแต่ความเดือดร้อน หายวับไปในที่นั้น

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ทรงพระดำริว่า ใครผู้ใดเป็นศรมณะก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตาม ในอดีต อนาคต ปรัตยุบัน เสวยเวทนาอันเข้าถึงตนของตนซึ่งไม่ยั่งยืน เป็นเวทนาทำให้ร่างกายเร่าร้อน เป็นทุกข์ ร้ายแรง เข็มแข็ง เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่พอใจ ศรมณะ พราหมณ์เหล่านั้น ชื่อได้ว่าเสวยทุกข์อย่างยิ่งถึงขนาด

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตคิดว่า เรากระทำให้แจ้งไม่ได้ซึ่งอลมารยชญานทรรศนะอันพิเศษเพราะอุตตริมนุษยธรรมใดๆด้วยจรรยา (ความประพฤติ)นี้ ด้วยประติปทา(ข้อปฏิบัติ) นี้ นี้ไม่ใช่ทางตรัสรู้ นี้ไม่ใช่ทางหมดสิ้นแดนเกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ ในอนาคต น่าจะมีทางแห่งการตรัสรู้นอกจากนี้ เพื่อหมดสิ้นแดนเกิดแห่ง ชาติ ชรา มรณะ ในอนาคต

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตคิดว่า (เมื่อครั้ง) ตถาคตนั่งอยู่ใต้เงาต้นหว้าในอุทยานของพระบิดา ได้เข้าปรถมธยานอันเป็นวิเวก(สวัด) จากกามทั้งหลาย เป็นวิเวกจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ประกอบด้วยวิตรรกะ ประกอบด้วยวิจาระ มีปรีติและสุขอันเกิดจากวิเวก เป็ที่ปรีติยินดีอย่างยิ่ง จนกระทั่งได้เข้าถึงจตุรถธยาน เป็นที่ปรีติยินดีอย่างยิ่ง ทางนั้นน่าจะเป็นทางตรัสรู้ เพื่อไม่เกิด เพื่อหมดสิ้นแดนเกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ เมื่อคิดตามข้อนั้นแล้ว  ตถาคตก็เกิดความรู้ขึ้นว่า นั้นเป็นทางแห่งความตรัสรู้

 

      ตถาคตคิดว่า ทางนั้นผู้ได้รับมีกำลังน้อยก็ไม่สามารถเพื่อตรัสรู้ได้ ถ้าเรามีกำลังน้อยมู่งหวังด้วยกำลังแห่งอภิชญานเข้าไปสู่มณฑลแห่งความตรัสรู้ เราจะไม่ได้อนุเคราะห์ประชุมสุดท้ายภายหลัง เพราะนั้นไม่ใช่ทางแห่งความตรัสรู้ อย่ากระนั้นเลยเราควรกินอาหารอันเป็นของคนหิว ทำให้ร่างกายเกิดกำลังแข็งแรง  เราจะได้เข้าไปสู่มณฑลแห่งความตรัสรู้ในภายหลัง

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในที่นั้น เทวบุตรที่หมดหวังทั้งหลายรู้ปริวิตกแห่งใจตถาคตได้เข้ามาหาตถาคตพูดว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นสัตปุรุษ พระองค์อย่าเสวยอาหารอันเป็นของคนหิวเลย ข้าพเจ้าทั้งหลายจะหยอดโอชะลงไปในขุมขนของพระองค์

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตคิดว่า เราได้ประติชญานตนไว้แล้วว่าจะไม่กินอะไร และคนที่อยู่ในบ้านเรือนเป็นที่โคจรรอบๆ เขาก็รู้ว่าพระศรมณะโคตมดูเหมือนไม่กินอะไร เทวบุตรที่หมดหวังเป็นอย่างยิ่ง จะหยอดโอชะลงในขุมขนของเรา เราก็จะพึงเป็นคนมีมุสาวาทอย่างบรม ครั้นแล้ว พระโพธิสัตว์ทรงปฏิเสธเทวบุตรทั้งหลายเพื่อหลีกเลี่ยงมุสาวาท น้อมจิตลงเพื่อบริโภคอาหารอันเป็นของคนหิน

 

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์แหวกว่าย (ประพฤติ) อยู่ในพรต และตบะตลอด 6 ปี เสด็จลุกขึ้นจากอาสนะนั้นแล้วจึงเปล่งพระวาจาออกมาว่า เราจะกินอาหารอันเป็นของคนหิว นั่นคือน้ำเยื่อถั่วเขียวต้ม (ซุปถั่วเขียว) น้ำเยื่อถั่วเหลืองต้ม (ซุปถั่วเหลือง) ผสมน้ำอ้อย เมล็ดข้าวสุกบด(ข้าวยวาคุ)

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ภัทรวรรคียทั้งห้า คิดว่า พระศรมณะโคตมไม่สามารถทำให้แจ้งซึ่งอลมารยชญานทรรศนะอันพิเศษ เพราะอุตตริมนุษยธรรมใดๆด้วยจรรยาและประติปทานั้นๆได้ บัดนี้ พระองค์เสวยอาหารอันเป็นของคนหิว กลายเป็นผู้ประกอบด้วยสุขัลลิกานุโยค(ประกอบตนให้ชุ่มอยู่ในความสุข) ไปเสียแล้วหรือ และเข้าใจว่าพระศรมณะโคตมนนั้นไม่ฉลาด ยังเขลาอยู่ จึงพากันหลีกออกจากสำนักของพระโพธิสัตว์ ภัทรวรรคียทั้ง 5 นั้น ไปยังนครพาราณสี อยู่ในป่าฤษิปตนะมฤคทาวะ(ป่าฤษิปตนะเป็นทีอยู่ของกวาง)

 

      นางกุมารีทั้งหลาย 10 คนซึ่งเป็นธิดาชาวบ้าน ได้เข้าไปหาพระโพธิสัตว์ผู้ทรงกระทำทุษกรจรรยาในที่นั้นตั้งแต่แรกทีเดียว เพื่อเห็น เพือนมัสการ และเพื่อรับใช้แต่ภัทรวรรคียทั้งห้า ได้คอยรับใช้อยู่แล้ว และคอยอำนวยการถวายอาหารมีประมาณเท่าผลพุทราผลเดียว เท่าเมล็ดงา เทาเมล็ดข้าวสาร ธิดาชาวบ้านเหล่านั้นคือ กุมารี ชื่อพลา พลคุปตา สุปริยา วิชยเสนา อติมุกตกมลา สุนทรี กุมภการี อุลุวิลลิการ ชฏิลิกา และสุชาดา นางกุมารีเหล่านี้ ทำน้ำเยื่อต่างๆเหล่านั้นทั้งหมดน้อมเข้าไป ถวายพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์เสวยน้ำเยื่อเหล่านั้นแล้ว เสด็จไปในหมู่บ้านที่โคจรโดยลำดับเพื่อบิณฑบาต พระองค์ได้มีผิวพรรณ รูปร่าง และกำลังดีขึ้นแล้ว  เพราะฉะนั้น พระโพธิสัตว์จึงปรากฏอย่างดียิ่งว่า พระศรมณะงามเป็นพระมหารศรมณะแล้ว

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในบรรดาหญิงสาวเหล่านั้น สาวสุชาดาเป็นธิดาของหัวหน้าหมู่บ้าน เมื่อพระโพธิสัตว์ทรงประพฤติทุษกรจรรยาเพราะเหตุจะระงับร่างกายเพื่อแหวกว่าย (ประพฤติ) ในพรตและตบะของพระโพธิสัตว์ ยางได้ถวายอาหารแก่พราหมณ์ 108 ให้บริโภคทุกวัน และนางตั้งใจอย่างนี้ว่า พระโพธิสัตว์บริโภคอาหารของเราแล้วจะได้ตรัสรู้อนุตตรสัมยักสัมโพธิ

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อตถาคตประพฤติทุษกรจรรยาอยู่ 6 ปีนั้น ผ้าย้อมน้ำฝาดได้เก่าคร่ำคร่าไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตคิดว่าถ้าเราได้ผ้าเกาบิน(*) เครื่องปกปิดสักผืนก็จะดี

 

* ผ้าเกาบิน คือ ผ้าชิ้นเล็กสำหรับปิดบังของลับ

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในครั้งนั้นนางราธาเป็นทาสี ผหญิงรับใช้) ของสาวสุชาดาธิดาหัวหน้าหมู่บ้านได้ตายลง เขาเอาผ้าศาณะ(ผ้าป่าน) ห่อนำไปยังศมศาน(ป่าช้า)แล้วทิ้งไว้ ตถาคตได้เห็นผ้านั้นแล้ว เป็นผ้าปำศุกูล (*) ครั้นแล้ว ตถาคต ก้าวเท้าซ้ายไปยังผ้าปำศุกูลนั้น เหยียดมือขวาก้มลงหยิบผ้า

 

*ปำศุกูล คือ ผ้าคลุกฝุ่น หมายถึงผ้าสกปรกที่เขาทิ้งแล้ว

 

      ครั้งนั้น เทวดาที่อยู่ในภาคพื้นแผ่นดิน (ภุมเทพ) ก็ป่าวประกาศแก่เทวดาที่อยู่ในชั้นอากาศว่า ดูกรผู้ควรเคารพทั้งหลาย เหตุการณ์นี้น่าอัศจรรย์ แปลกประหลาดพระโพธิสัตว์ผู้เกิดในตระกูลมหาราช สละสมบัติจักรพรรดิ์ นัอมจิตลงในผ้าปำศุกูลเทวดาที่อยู่ในชั้นอากาศได้ยินเสียงของเทวดาที่อยู่ในภาคพื้นแผ่นดินแล้ว ก็ป่าวประกาศแก่เทวดาที่อยู่ชั้นจาตุมหาราช เทวดาที่อยู่ในชั้นจาตุมหาราชก็ป่าวประกาศแก่เทวดาที่อยู่ในชั้นดาวดึงส์ เทวดาที่อยู่ในชั้นดาวดึงส์ก็ป่าวประกาศแก่เทวดาที่อยู่ในชั้นยามา  เทวดาที่อยู่ในชั้นยามาก็ป่าวประกาศแก่เทวดาที่อยู่ในชั้นดุษิต เทวดาที่อยู่ในชั้นดุษิตก็ป่าวประกาศแก่เทวดาที่อยู่ในชั้นนิรมาณรดี เทวดาที่อยู่ในชั้นนิรมาณรดีก็ป่าวประกาศแก่เทวดาที่อยู่ในชั้นปรนิรมิตวศวรรดี เทวดาที่อยู่ในชั้นปรนิรมิตวศวรรดีก็ป่าวประกาศจนถึงชั้นรุปพรหม ดั่งนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในขณะนั้น โอกาสนั้น ครู่นั้น เสียงโฆษณาจนกระทั่งถึงชั้นอกนิษฐ ได้เป็นเสียงกึกก้องเป็นอันเดียวกันว่า ดูกรท่านผู้ควรเคารทั้งหลาย เหตุการณ์นี้แปลกประหลาด พระโพธิสัตว์ผู้เกิดในตระกูลมหาราช สละราชสมบัติจักรพรรดิ์ น้อมจิตลงในผ้าปำศุกูล

 

      ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์คิดขึ้นอีกว่า ผ้าปำศุกูลเราก็ได้แล้ว ถ้าได้น้ำก็จะดี ทันใดนั้นเทวดาในที่นั้นได้เอามือตบแผ่นดิน ในที่นั้นเกิดเป็นสระใหญ่ขึ้นมา สระใหญ่นั้นยังเรียกว่า ปาณิหตา(ตบด้วยมือ)แม้ทุกวันนี้

 

      พระโพธิสัตว์คิดอีกว่า น้ำเราก็ได้แล้ว ถ้าได้หินสักแผ่นหนึ่งเราจะซักผ้าปำศุกูลนี้ก็จะดี ทันใดนั้นองค์ศักรได้เอาแผ่นหินมาวางไว้ ครั้นแล้ว พระโพธิสัตว์จึงซักผ้าปำศุกูล

 

      ครั้งนั้น องค์ศักรเทวราชทูลพระโพธิสัตว์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นสัตปุรุษขอพระองค์จงประทานผ้าปำศุกูลนี้แก่หม่อมฉัน หม่อมฉันจะซักถวาย ครั้นแล้วพระโพธิสัตว์ไม่ได้มอบผ้าปำศุกูลนั้นแก่องค์ศักร ทรงซักด้วยพระองค์เพื่อแสดงให้เห็นว่า บรรพชิตทำกิจด้วยตนเอง พระองค์คิดว่าจะต้องเหน็จเหนื่อย ลำบากกายเสด็จลงไปในสระใหญ่แล้วจะขึ้นมา มารผู้ชั่วร้ายมีความริษยา อธรรมครอบงำแล้วนิรมิตขอบสระให้สูงขึ้นที่ริมขอบสระนั้นมีต้นกกุภะใหญ่(ต้นรกฟ้า) พระโพธิสัตว์ทรงคล้อยตามเทวดาในที่นั้นและคล้อยตามโลก จึงตรัสกับเทวดาว่า ดูกรเทพยดา ท่านจงนำกิ่งไม้มาเทวดาได้โน้มกิ่งไม้เข้าไปถวายแล้ว พระโพธิสัตว์ทรงเหนี่ยวกิ่งไม้นั้นเสด็จขั้นมา ครั้นเสด็จขึ้นมาได้แล้ว ทรงพาดผ้าปำศุกูลนั้นไว้ภายใต้ต้นกกุภะนั้น แล้วทรงเย็บจนเสร็จ ผ้าปำศุกูลนั้น เรียกกันว่า สินะ(เย็บ) แม้ทุกวันนี้

 

      ครั้งนั้น เทวบุตรตนหนึ่งอยู่ชั้นศุทธาวาส ชื่อ วิมลประภะ ได้น้อมถวายจึวรทิพย์มีสีแดงเป็นสีน้ำฝาดตามที่กำหนดไว้ เป็นศรมณะสารูป(ควรแก่สมณะ) แด่พระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ทรงรับจีวรเหล่านั้นแล้ว รุ่งเข้าทรงห่มจีวรคลุมด้วยผ้าสังฆาฏิ ทรงบ่ายพระพักตร์ตรงไปยังหมู่บ้านเป็นที่โคจร เทวดาทั้งหลายในที่นั้นได้มาบอกสาวสุชาดาธิดาหัวหน้าหมู่บ้านนันทิกะในตำบลอุรุวิลวาเสนาปติ ในเวลาเที่ยงคืนว่า เจ้าจะได้ชื่อว่าบูชามหายัชญเพื่อผู้ที่แหวกว่าย(ประพฤติ)ในพรตแล้ว เขาจะกินอาหารอันเป็นของคนหิวทำให้รูปงาม และเจ้าก็ทำความตั้งใจไว้แล้วว่าพระโพธิสัตว์บริโภคอาหารของเราแล้วจะได้ตรัสรู้อนุตตรสัมยักสัมโพธิ กิจการอันใดที่เจ้าควรทำ ก็จงกระทำเถิด

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล สาวสุชาดาธิดาหัวหน้าหมู่บ้าน ได้ยินคำของเทวดาเหล่านั้นแล้ว จึงรีบถือเอาฟองโอชะที่ได้จากการกลั่นกรองจับเอาแต่เนื้อๆแห่งนมโค 1000ตัว แบ่งแยกน้ำนมสู่กันกินถึง 7 ทอด(*) แล้วหุงด้วยข้าวสารใหม่ ในกะทะใหม่ เตาใหม่ ทำให้สำเร็จเป็นอาหาร และขณะที่กำลังทำนั้น ปูรวนิรมิตเหล่านี้ปรากฏขึ้น คือในน้ำนมนั้นแล ปรากฏเป็นรูปมงคล เช่น ศรีวัตส สวัสติก(**) รูปก้นหอยเวียนขวา รูปดอกบัวบานเป็นต้น ครั้นแล้ว นางจึงคิดว่าปูรวนิรมิตเหล่านี้ ปรากฏขึ้นพระโพธิสัตว์บริโภคอาหารนี้แล้วจะบรรลุอนุตตรสัมยักสัมโพธิโดยไม่ต้องสงสัย และมีโหรผู้รู้วิธีสามุทรชญาน(รู้กว้างขวางเหมือนทะเล) ได้มาถึงสถานที่นั้น แม้โหรนั้นก็พยากรณ์การบรรลุอมฤตะเช่นกันนั่นเทียว ครั้นแล้วสาวสุชาดาหุงข้าวปายสะนั้นด้วยกะทะจนสุกแล้วโรยดอกไม้พรมน้ำหอมจัดอาสนะไว้เรียบร้อยแล้วเรียกสาวรับใช้ชื่ออุตรามาว่า ดูกรอุตรา จงไปพาเอาพราหมณ์มา ฉันจะคอยดูข้าวมธุปายสะนี้ไว้ นางรับคำว่า เจ้าค่ะ คุณ จึงไปทางทิศตะวันออก นางเห็นพระโพธิสัตว์ในที่นั้น นางไปทางทิศใต้ก็เห็นพระโพธิสัตว์นั่นแหละ  นางไปทางทิศตะวันตกและทิศเหนือก็เช่นเดียวกัน ได้เห็นพระโพธิสัตว์นั่นแหละในที่นั้นๆ ก็ในสมัยนั้นแล เทวบุตรชั้นศุทธาวาส ได้สะกดพวกเดียรถีย์ฝ่ายอื่นไว้ทั้งหมด จึงไม่มีใครปรากฏ ครั้นแล้ว นางจึงมาบอกกับนายว่า คุณด๊ะไม่มีผู้อื่น จะเป็นศรมณะหรือพราหมณ์ปรากฏเลย เว้นแต่ ดิฉันไปในทิศไหนๆก็พบแต่ศรมณะรูปงามในที่นั้นๆ สาวสุชาดา พูดว่า ไปเถิดอุตรา ท่านผู้นั้นแหละคือพราหมณ์ ท่านผู้นั้นแหละคือสรมณะ สิ่งที่ได้ตระเตรียมไว้นี้ ก็เพื่อประโยชน์แก่ท่านผู้นั้นนั่นแหละไปพาท่านมาเถิด สาวรับใช้อุตรารับคำว่า เจ้าค่ะ คุณ แล้วไปหมอบแทบพระบาทของพระโพธิสัตว์ พูดว่า คุณสุชาดาใช้ให้มาเชิญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์เสด็จไปยังเรือนของสาวสุชาดาธิดาหัวหน้าหมู่บ้าน ประทับนั่งบนอาสนะที่จัดไว้แล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล สาวสุชาดาธิดาหัวหน้าหมู่บ้านน้อมภาชนะทองเต็มด้วยข้าวมธุปายสะถวายแด่พระโพธิสัตว์

 

* ในปฐมสมโพธิ์ว่า เอาวัวมา 500 ตัว ให้กินชะเอมแล้วแบ่งกึ่ง รีดนมกึ่งหนึ่งให้อีกกึ่งหนึ่งดื่ม แล้วแบ่งลงอีกกึ่งหนี่ง รีดนมกึ่งหนึ่งให้อีกกึ่งหนึ่งดืม โดยวิธีนี้จนเหลือครั้งสุดท้าย ครั้งที่ 7 แล้วรีดนมจากครั้งที่ 7 สุดท้ายนี้ ผสมข้าวสารกวนมธุปายาส

 ** ศรีวัตส สวัสติก คือ รูปคฤหะพิเศษ ขมวดเป็นก้นหอยเวียนขวา

 

      ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์คิดว่า อาหารนี้ สาวสุชาดาได้น้อมเข้ามาถวาย เราบริโภคอาหารนี้แล้วจักบรรลุอนุตตรสัมยักสัมโพธิในวันนี้โดยไม่ต้องสงสัย

 

      ครั้นแล้ว  พระโพธิสัตว์ทรงรับอาหารของสาวสุชาดานั้น แล้วตรัสกับสาวสุชาดาธิดาหมู่บ้านว่า ดูกรนางผู้มีโชค ภาชนะทองนี้จะทำอย่างไร? นางทูลว่าจงเป็นของท่าน พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ภาชนะเช่นนี้ไม่มีประโยชน์แก่อาตมา นางทูลว่าสุดแต่ท่านจะทำเถิด ข้าพเจ้าถวายอาหารแก่ใครๆไม่ยกเว้นภาชนะเลย

 

      ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ทรงถือเอาบิณฑบาตนั้นเสด็จออกจากอุรุวิลวาไปยังนาคนที(แม่น้ำนาค) แล้วเข้าไปสู่แม่น้ำไนรัญชนาในเวลาเช้า วางบิณฑบาตนั้นกับผ้าจีวรทั้งหลายไว้ในที่แห่งหนึ่ง เสด็จลงสู่แม่น้ำไนรัญชนาเพื่อทำให้ร่างกายชุ่มเย็น

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระโพธิสัตว์สรงน้ำ เทวบุตรตั้งหลายแสน กวนแม่น้ำด้วยผงจันทน์อย่างดีกับแป้งเครื่องลูบไล้อันเป็นทิพย์ และซัดดอกไม้สีต่างๆ อันเป็นทิพย์ลงในน้ำซึ่งเป็นไปในการกระทำบูชาพระโพธิสัตว์

 

      ในครั้งนั้น แม่น้ำไนรัญชนาดาษดาไปด้วยของหอมและดอกไม้อันเป็นทิพย์ลอยไป เทวดาตั้งหมื่นแสนโกฏิได้ตักเอาน้ำหอมซึ่งพระโพธิสัตว์สรงสนานนำไปยังพิภพของตนๆ เพื่อเป็นเจดีย์และเพื่อบูชา สาวสุชาดาธิดาหัวหน้าหมู่บ้านถือว่าพระเกศาและศมัศรุของพระโพธิสัตว์ที่ตกอยู่เป็นสิ่งมงคล ได้รวบรวมเก็บไว้ เพื่อเป็นเจดีย์และเพื่อบูชา

 

      และพระโพธิสัตว์เสด็จขึ้นจากแม่น้ำแล้วทอดพระเนตรเห็นเกาะทราย ทรงใคร่เพื่อเสด็จไปประทับ ครั้งนั้นนาคกันยา(ลูกสาวนาค)ในแม่น้ำไนรัญชนาโผล่จากพื้นดินน้อมภัทราอาสนะ(อาสนะอันเจริญ) ประดับแก้วมณีถวายแด่พระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ประทับนั่งบนอาสนะนั้นแล้วทรงเสวยข้าวมธุปายสะนั้นจนอิ่ม เพื่อทรงอนุเคราะห์สาวสุชาดาธิดาหัวหน้าหมู่บ้าน ครั้นเสวยเสร็จแล้ว ไม่ทรงใยดีต่อภาชนะทองนั้น ทรงโยนลงในน้ำ พอโยนภาชนะทองนั้นลง พระยานาคชื่อสาครเกิดความสนใจนับถือมากรับได้แล้วบ่ายหน้าสู่พิภพของตน ประดิษฐานไว้โดยคิดว่าเป็นของควรบูชา ครั้นนั้นองค์ปุรันทระ(องค์อินทร์) ผู้พันเนตร นิรมิตเป็นครุฑปากเพชร ปรารภเพื่อจะนำภาชนะทองนั้นจากสำนักของพระยานาค เมื่อไม่สามารถ จึงกลับเป็นรูปของตน (ตามเดิม) ขอภาชนะนั้นแล้วนำไปยังพิภพดาวดึงส์เพื่อบูชา และเพื่อเป็นเจดีย์ ครั้นนำไปได้แล้ว จึงเล่นมหรสพชื่อ ปาตรียาตรา (การเดินทางของภาชนะ) และแม้ทุกวันนี้ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ยังมีการฉลองภาชนะทุกๆปี ส่วน ภัทราอาสนะนั้น นาคกันยาผู้นั้นเก็บเอาไปเพื่อเป็นเจดีย์และเพื่อบูชา

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์เสวยอาหารอันเป็นของคนหิวจนหมดแล้ว ในขณะนั้น ร่างกายของพระโพธิสัตว์ปรากฏมีผิวพรรณงามวิเศษยิ่งด้วยกำลังบุณย และกำลังปรัชญา มหาปุรุษลักษณะ 32 และอนุพยัญชนะ 80 มีรัศมีแผ่ออกแล้ว

 

ในที่นี้มีคำกล่าวว่า

 

      23 พระผู้มีภคะทรงแหวกว่ายในพรต (ทรงประพฤติพรตมา)6 ปี ทรงมีความเห็นอย่างนี้ว่า เรานั้นแม้ร่างกายจะซูปผอมอย่างนี้ แต่ก็มีกำลังธยาน อภิชญา และชญาน เราควรไปที่ใต้สาขาโคนต้นโพธิเพื่อตรัสรู้สรวัชญตา(ความเป็นสัพพัญญู) เพราะว่า เราไม่อนุเคราะห์เสียแล้ว ประชุมชนภายหลังก็จะเป็นอยู่อย่างนี้ ฯ

 

      24 แต่เราบริโภคอาหารอันประเสริฐ อันเป็นของคนหิว เพื่อทำให้เกิดกำลังในร่างกาย เราควรไปที่ใต้สาขาโคนต้นโพธิเพื่อตรัสรู้สรวัชญตา(ความเป็นสัพพัญญู) เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยบุณยอันประเสริฐ เพ่งต่อชญานความตรัสรู้ด้วยความปรารถนา บอกแก่เราอย่างนี้ว่า พระองค์ไม่มีกำลังกาย ไม่สามารถเพื่อตรัสรู้อมฤตะได้ ฯ

 

      25 ธิดาหัวหน้าหมู่บ้านชื่อสุชาดา ประพฤติดีมาก่อนแล้ว นางบูชายัชญอยู่เป็นนิตย์ด้วยความตั้งใจ เมื่อพระนายกเสร็จธุระเรื่องพรตแล้ว นางได้พิจารณาคำเตือนของเทวดาในครั้งนั้น จึงถือเอาข้าวมธุปายสะ เข้าไปริมฝั่งแม่น้ำด้วยใจชื่นชมยินดี ยืนอยู่ใกล้แม่น้ำไนรัญชนา ฯ

 

      26 พระฤษีนั้น ได้ทำความประพฤติดีมาแล้วตั้งกัลป มีอินทรีย์สงบระงับแล้ว มีเทวดาหมู่นาคแวดล้อมแล้ว เสด็จมายังแม่น้ำไนรัญชนา พระองค์เป็นผู้ป้องกันอย่างดีเลิศ เป็นสัตว์ผู้บรรลุถึงฝั่ง มีความคิดเมื่อสรงน้ำ พระองค์ทรงคิดถึงมติ (แนวความคิด) แล้วเสด็จลงสรงน้ำในแม่น้ำ พระมุนี มีความบริศุทธปราศจากมลทิน ทรงอนุเคราะห์โลก ฯ

 

      27 เทวดาทั้งหลายประมาณพันโกฏิ มีใจยินดี สาดน้ำหอมและโรยผงเครื่องหอม กวนน้ำในแม่น้ำ เพื่อให้พระโพธิสัตว์ผู้เป็นสัตว์สูงสุด สรงน้ำ พระโพธิสัตว์ผู้สรงน้ำได้สรงน้ำเสร็จแล้ว ปราศจากมลทิน ประทับที่ริมฝั่งอย่างมั่นคง เทวดาตั้งพันได้นำเอาน้ำที่พระโพธิสัตว์สรงไปเพื่อบูชาในพระองค์ผู้เป็นสัตว์สูงสุด ฯ

 

      28 เทวบุตรตนหนึ่งถวายผ้าย้อมน้ำฝาดอันสะอาด งาม เหล่านั้น พระผุ้มีภคะทรงครองจีวรอันสมควร แล้วประทับที่ริมฝั่งแม่น้ำ นางนาคกันยานั้นผุดขึ้นมา มีใจยินดี นำภัทราอาสนะมาถวายในที่ซึ่งพระองค์ประทับนั่ง มีพระหทัยสงบ ทรงทอดพระเนตรประชาโลก ฯ

 

      29 สาวสุชาดานั้น ถวายอาหารในภาชนะทองแด่พระองค์ผู้มีความคิด นางมีใจปันเทิงไหว้พระบาทแล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นสารถีฝึกหัดคน ขอพระองค์จงบริโภคอาหารของข้าพเจ้าเถิด พระโพธิสัตว์ผู้มีความคิด ทรงบริโภคอาหารจนอิ่มแล้วโยนภาชนะลงในน้ำ องค์ปุรันทระผุ้เป็นที่เคารพของเทวดาทั้งหลาย ได้ถือเอาภาชนะนั้นไป ด้วยคิดว่าเราจะกระทำการบูชา ฯ

 

      30 อาหารอันประเสริฐอันเป็นของคนหิวซึ่งพระชินบริโภคในขณะนั้น ทำให้เกิดกำลังกาย และตั้งมั่นอยู่ด้วยเดชและสิริเหมือนแต่ก่อนและทรงแสดงธรรมกถาแก่สาวสุชาดา และทรงกระทำประโยชน์มากให้แก่คนทั้งหลาย แล้วเสด็จสู่พุ่มต้นโพธิเหมือนราชสีห์ เหมือนหงส์ย่าง และเหมือนการเดินของช้าง ฯ

 

อัธยายที่ 18 ชื่อไนรัญชนาปริวรรต(ว่าด้วยเสด็จสู่แม่น้ำไนรัญชนา ในคัมภีร์ศรีลลิตวิสตร ดั่งนี้แลฯ

 

19 สู่ควงโพธิ์

 

อัธยายที่ 19

 

โพธิมณฺฑคมนปริวรฺต  เอโกนวึศะ

 

ชื่อ โพธิมัณฑคมนปริวรรต (ว่าด้วยเสด็จไปสู่ควงโพธิ)

 

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์สรงน้ำในแม่น้ำไนรัญชนาและเสวยแล้ว เกิดกำลังพระกายและเรียวแรงขึ้นแล้ว เสด็จไปยังโคนพระยาพุ่มไม้มหาโพธิ ในสถานที่แผ่นดินประกอบด้วยอาการ 16 อย่าง และประกอบด้วยคติมีชัยนั้นคติของพระมหาบุรุษทั้งหลายนั้น ได้แก่

 

อนุจจลิตคติ    คือคติ การออกบรรพชาตามร่องรอยอดีตพุทธ

 

อินทริเยษฏิคติ    คือคติ ความใคร่ต่อการบำเพ็ญอินทรีย์

 

สุสังสถิตคติ    คือคติ ตั้งมั่น

 

เมรุราชคติ    คือคติ เหมือนเขาเมรุ

 

อชิหมคติ    คือคติ ตรงไปตรงมา

 

อกุฏิลคติ    คือคติ ไม่คต

 

อนุปัทรุตคติ    คือคติ ไม่มีอันตราย

 

อวิลัมพิตคติ    คือคติ ไม่ยึดหน่วง

 

อลุฑิตคติ    คือคติ ไม่ก่อกวน

 

อัสขลิตคติ    คือคติ ไม่พลั้งพลาด

 

อสังฆฏิตคติ    คือคติ ไม่เสียดสี

 

อลีนคติ    คือคติ ไม่ซ่อนเร้น(เปิดเผยไม่มีความลับ)

 

อจปลคติ    คือคติ ไม่กลับกลอก

 

สลีลคติ    คือคติ ประกอบด้วยลีลาเยื้องกรายงาม

 

วิมลคติ    คือคติ ปราศจากมลทิน

 

ศุภคติ    คือคติ ดีงาม

 

อโทษคติ    คือคติ ไม่มีโทษะ

 

อโมหคติ    คือคติ ไม่มีโมหะ

 

อรักตคติ    คือคติ ไม่มีราคะ

 

สิงหคติ    คือคติ เหมือนราชสีห์

 

หํสราชคติ    คือคติ เหมือนพระยาหงส์

 

นาคราชคติ    คือคติ เหมือนพระยานาค

 

นารายณคติ    คือคติ เหมือนองค์นารายณ์

 

ธรติตลสังสฤษฏคติ    คือคติ สร้างพื้นแผ่นดิน

 

สหสราจักรธรณีตลจิตรคติ    คือคติ มีพื้นแผ่นดินอันงามวิจิตรเหมือนล้อประกอบด้วยกำ(ซี่ล้อ)

 

ชาลังคุลิตามระนขคติ    คือคติ นิ้วมือมีเส้นเป็นตาข่ายและเล็บแดง

 

ธรณีตลนิรนาทคติ    คือคติ พื้นแผ่นดินบันลือลั่น

 

ไศลราชสังฆฏนคติ    คือคติ ขุนเขาหินกระทบกัน

 

อุตกูลนิกูลสมกรจรณคติ     คือคติ มือเท้าเรียบเสมอนูนในที่ควรนูน ลึกในที่ควรลึก

 

ชาลานตราภารัศมยุตสรชนสัตวสังสปฤศนสุคติคมนคติ    คือคติ การเปล่งรัศมีแสงสว่างเป็นดังว่าตาข่ายกระทบสัตว์ทั้งหลายอันจะไปสู่สุคติ

 

วิมลปัทมกระมนิกษิปณคติ    คือคติ การย่างก้าวไปบนดอกบัวอันปราศจากมลทิน

 

ปูรวศุภสุจริตคมนคติ    คือคติ การถึงความประพฤติดีงามในครั้งก่อน

 

ปูรวพุทธสิงหาภิคมนคติ    คือคติ การเข้าไปหาพระพุทธเจ้าผู้เป็นดังราชสีห์ในครั้งก่อนๆ

 

วัชรทฤฒาเภทยาศยคติ    คือคติ มีใจมั่นคงไม่แตกสลายเหมือนเพชร

 

สรโวปายคติ    คือคติ มีอุบายทั้งปวง

 

สรวาปายทุรคติปิถิตคติ    คือคติ ปิดกั้นทุรคติแห่งอบายทั้งปวง

 

สรวสัตวสุขสัญชนนคติ    คือคติ ยังความสุขของสัตว์ทั้งปวงให้เกิดขึ้น

 

โมกษปถสันทรรศนคติ    คือคติ การชี้ทางนิพพาน

 

มารพลาพลกรณคติ    คือคติ การลดกำลังของมารให้เสื่อมลง

 

กุคณิคณปรประวาทิสหธรรมนิคระหนคติ     คือคติ การข่มนักบวชต่างลัทธิของคณะพวกไม่ดี

 

ตมปฏลเกลศวิธมนคติ    คือคติ กำจัดเกลศที่เป็นปึกแผ่นแห่งความมืดมน

 

สังสารปักษาปักษกรณคติ    คือคติ การกระทำฝ่ายโลกและไม่ใช่ฝ่ายโลก

 

ศักระพรหมมเหศวรโลกปาลาภิภวคติ    คือคติ ครอบงำองค์ศักรพรหมมเหศวรโลกบาล

 

ตริสาหัสระมหาสาหัสไรกศูรคติ    คือคติ ความกล้าหาญอย่างเอกในเทวโลกและมนุษยโลก

 

สวยัมภวนภิภูตคติ    คือคติ สวยัมภู(ความเป็นเอง)ไม่ถูกใครครอบงำ

 

สรวัชญชญานาภิคมนคติ    คือคติ เข้าถึงสรวัชญชญาน

 

สมฤติมติคติ    คือคติ เกี่ยวกับสมฤติและมติ

 

สุคติคมนคติ    คือคติ กาไปสู่สุคติ

 

ชรามรณประศมนคติ    คือคติ การระงับดับชราและมรณะ

 

ศิววีรชามลาภยนิรวาณปุรคมนคติ    คือคติ การไปสู่บูรีนิรวาณเกษมปราศจากธุลีไม่มีมลทินไม่มีภัย

 

      พระโพธิสัตว์เสด็จเข้าไปสู่ควงต้นโพธิด้วยคติดั่งกล่าวมานี้

 

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ระหว่างแม่น้ำไนรัญชนาและควงไม้โพธินั้นเทพบุตรทั้งหลายได้ทำความสะอาดด้วยลมและฝน เทวบุตรประจำฝน รดด้วยน้ำหอมและโปรยปรายด้วยดอกไม้ ต้นไม้เหล่านั้นในโลกธาตุคือเทวโลกและมนุษยโลก ได้น้อมยอดไปทางควงต้นโพธิทั้งนั้น คนทั้งหลายแม้เป็นเด็กชายเด็กหญิงเกิดในวันนั้น นอนหลับหันศีรษะไปทางควงต้นโพธิ ภูเขาทั้งหลายมีภูเขาสุเมรุเป็นประธานในโลกธาตุคือเทวบุตรและมนุษยโลกทั้งหมด โน้มไปทางควงต้นโพธิ เทวบุตรชั้นกามพจรทั้งหลายช่วยกันสร้างถนนกว้างประมาณโกรศหนึ่ง (1000วา) เริ่มตั้งแต่แม่น้ำไนรัญชนาถึงควงต้นโพธิ สองข้างทางซ้ายขวานิรมิตเป็นราชวัฏแก้ว 7 ประการ เบื้องบนสูง 7 ชั่วลำตาล คลุมด้วยข่ายแก้วในเบื้องบน ประดับด้วยฉัตรธงชัยธงปตากอันเป็นทิพย์ นิรมิตต้นตาลแก้ว 7 ประการห่างกันชั่วยิงลูกธนูตก ตั้งขึ้นในระหว่างราชวัฏนั้น โยงจากตาลต้นนี้ไปยังตาลต้นที่สองด้วยสายประดับแก้ว ระหว่างกลางต้นทั้งสอง นิรมิตสระใหญ่เด็มด้วยน้ำหอม โรยด้วยทรายทอง ดาษดวยบัวอุบล(*) บัวปัทมะ(**) บัวกุมุท(***)บัวบุณฑริก(****) ล้อมรอบด้วยราชวัฏ ประกอบด้วยบันได้แก้วไพฑูรย์ แก้วมณี มีนกกาน้ำหงส์ นกจากพราก นกยูง คูขัน มีนางฟ้าแปดหมื่นรดทางนั้นด้วยน้ำหอม นางฟ้าอีกแปดหมื่นโปรยมุกดาและดอกไม้ทิพย์มีกลิ่นหอม และเบื้องหน้าต้นตาลทั้งหมดปักธงแก้ว ในธงแก้วทั้งหมด มีนางฟ้าแปดหมื่นถือห่อผงจันทน์อย่างดียิ่ง ถือกระถางธูปเดินตามแบบนาฏศิลป ในธงแก้วทั้งหมด มีนางฟ้ะงละห้าพันยืนบรรเลงเพลงสวรรค์

 

* อุบล - บัวกินสาย  ** ปัทมะ - บัวหลวง  *** กุมุท - บัวขาว  **** บุณฑริก - บัวหม่น

 

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ โดยมีพื้นดินไหวอยู่ ทรงเปล่งรัศมีหมื่นแสนโกฏิ มีดนตรีตั้งแสนบรรเลงอยู่ มีฝนดอกไม้ตกลงพรั่งพรูห่าใหญ่ มีนางฟ้าเดินเตร่ตั้งแสน มีกลองใหญ่ประโคมอยู่ตั้งแสน มีเมฆคำรณ มีม้า ช้าง วัว เปล่งเสียง มีนกแก้ว นกสาลิกา นกดุเหว่า นกการเวก นกกระทาดง หงส์ นกกระเรียน นกยูง นกจากพราก ตั้งแสนทำประทักษิณ มีสิ่งเป็นมงคลตั้งแสนน้อมเข้าไป พระโพธิสัตว์เสด็จไปสู่ควงต้นโพธิด้วยกระบวนหนทางเช่นนี้เป็นอเนก พระองค์ใคร่เพื่อตรัสรู้โพธิในราตรีใดราตรีนั้นพรหมชื่อวศวรรดี ผู้เป็นอธิบดี(เป็นใหญ่) ในเทวโลกและมนุษยโลก ได้ตรัสเรียกสหบดีพรหมและประษาทพรหมมาว่า ดูกรท่านผู้ควรเคารพ ข้อที่ควรรู้ คือพระโพธิสัตว์นี้นั้น เป็นพระมหาสัตว์ สวมเกราะใหญ่เตรียมสู้รบ สร้างขึ้นซึ่งประติชญานอันใหญ่ยิ่งสวมเกราะมั่นคงเตรียมสู้รบ มีใจไม่ลำบากทุกข์ร้อน แจ่มแจ้งในจรรยาของพระโพธิสัตว์ทั้งปวงถึงฝั่งในบารมิตาทั้งปวง ถึงความเป็นผู้มีอำนาจในภูมิพระโพธิสัตว์ทั้งปวง มีความบริศุทธพิเศษยิ่งในอัธยาศัยพระโพธิสัตว์ทั้งปวง คล้อยไปในอินทรีย์ของสัตว์ทั้งปวงเข้าไปอย่างง่ายดายในที่เร้นลับของพระตถาคตทั้งปวง ข้ามพ้นกรรมบถของมารทั้งปวง ไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัยในกุศลมูลทั้งปวง เป็นผู้ที่พระตถาคตทั้งปวงหมายใจไว้แล้ว เป็นผู้ชี้ทางรอดพ้นในสัตว์ทั้งปวง เป็นเพื่อนเดินทางผู้ใหญ่ยิ่ง เป็นผู้ทำการกำจัดมณฑล(ขอบเขต)ของมารทั้งปวง กล้าหมาญในเทวโลกและมนุษยโลก เป็นผู้บริการยาคือธรรมทั้งปวงเป็นมหาราชแห่งแพทย์ติดเนื่องกับแผ่นพื้นวิมุกติ(ความรอดพ้น) เป็นมหาราชในธรรม เป็นผู้เปล่งรัศมีคือปรัชญาอันใหญ่ยิ่ง เป็นมหาราชแห่งธง (สัญญลักษณ์) ไม่เปรอะเปื้อนด้วยโลกธรรม 8 เป็นดอกบัวใหญ่ เป็นผู้บันเทิงในการทรงจำธรรมทั้งปวง เป็นมหาสาคร มีความสุภาพเรียบร้อยปราศจากความหงุดหงิด ไม่หวั่นไหว ไม่กระทั่งกระเทือน ปราศจากมลทิน มีความบริศุทธยิ่ง ตรัสภาษาของพระองค์ได้คล่องแคล่ว มีความรู้ปราศจากมลทิน เป็นแก้วมณีดวงใหญ่ เป็นไปในอำนาจแห่งธรรมทั้งปวง มีจิตมุ่งต่อการงานทั้งปวง เป็นมหาพรหม เป็นโพธิสัตว์ ก้าวเข้าไปสู่ควงต้นโพธิ  เป็นผู้ใคร่เพื่อกำจัดมารและเสนามาร เป็นผู้ใคร่เพื่อตรัสรู้อนุตตรสัมยักสัมโพธิเพื่อบำเพ็ญธรรมให้เต็มที่ของพระพุทธ คือ ทศพลชญาน(กำลัง10) ไวศารัทย(ความแกล้วกล้าองอาจ) อาเวณิกธรรม 18 เพื่อหมุน มหาธรรมจักร เพื่อบันลือสีหนาทเพื่อให้สัตว์ทั้งปวงอิ่มหนำด้วยการให้ธรรมเป็นทาน เพื่อชำระให้ผ่องใสซึ่งธรรมจักษุ(ดวงตาในธรรม) ของสัตว์ทั้งปวง เพื่อข่มคำติเตียนทั้งปวงด้วยประพฤติธรรมร่วมกันเพื่อแสดงปรติชญาเดิมว่าบรุบูรณ์แล้ว เพื่อไม่ตกอยู่ในอำนาจของใครเพราะพระองค์มีความเป็นใหญ่ในธรรมทั้งปวง ดูกรท่านผู้ควรเคารพทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย ทั้งปวงควรเข้าไปใกล้ ขวนขวายกระทำกิจการเพื่อบูชาพระโพธิสัตว์

 

      ครั้งนั้นแล มหาพรหมวศวรรดี ได้กล่าวเป็นบทประพันธ์นี้ในเวลานั้นว่า

 

      1 ผู้ใดรู้ทางอันประเสริฐในความมีสิริโดยเดช และโดยบุณย และมีไมตรี กรุณา มุทิตา อุเบกษา รู้เข้าธยานได้ ผุ้นั้นผ่านการประพฤติ(ชอบ)มาแล้วตั้งพันกัลป เดินเข้าไปสู่พุ่มไม้โพธิ ท่านทั้งหลายจงกระทำการบูชา พระมุนีนั้น ผู้สำเร็จในพรตน่าสรรเสริญ ให้ดี ฯ

 

      2 คนเรายึดถือพระองค์เป็นที่พึ่งแล้วไม่ได้รับภัยในทุรคติ ไม่มีโอกาสในทุรคติ จะได้รับความสุขที่ตนปรารถนาในสวรรค์ทั้งหลาย และจะถึงที่อยู่ของพรหมอันไพบูลย์ พระองค์ประพฤติทุษกรจรรยาถึง 6 ปี กำลังเสด็จไปสู่พุ่มไม้โพธิ เราทั้งหลายทั้งปวงจงมีใจยินดีสุงกระทำการบูชาพระองค์ให้ดี ฯ

 

      3 พระองค์เป็นพระราชา เป็นพระเจ้าองค์ประเสริฐในเทวโลกเป็นพระเจ้าในธรรม เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ไม่มีใครเทียมเท่าพระองค์ได้ในเมืองอินทร์เมืองพรหม ในเมืองจันทร์เมืองอาทิตย์ เมื้อพระองค์ประสูติ พื้นดินหมื่นโกฏิ ประกอบด้วยวิการ 6 อย่าง(*) ไหวแล้ววันนี้ พระองค์เสด็จไปสู่พุ่มไม้ใหญ่อันประเสริฐ เพื่อผจญมารและเสนามาร

 

* วิการ 6 อย่างคือ 1 อกัมปัต - สั่น 2อเวธัย - ไหว  3 อจลัต - กระเทือน  4 อักษุภยัต - ปั่นป่วน  5อรณัต - ดัง  6อครชัต - คำณณ

 

      4 เราทั้งหลายแม้โดจการอยู่ในพรหมโลกนี้ ไม่อาจมองดู พระเศียรของพระองค์ได้ พระกายของพระองค์ทรงไว้ซึ่งลักษณะอันประเสริฐเลิศ ประดับด้วยอาการ 32 พระวาจาของพระองค์น่ารักไพเราะ หวานพระสุรเสียงดีเหมือนเสียงพรหม จิตของพระองค์สงบระงับ ปราศจากโทษเราทั้งหลายถึงพระองค์เพื่อบูชา ฯ

 

      5 พระองค์มีมติ(ความคิด) เพื่อละความสุขเป็นนิตย์ในพิภพพรหมและพิภพอินทร์ และมีมติเพื่อตัดเถาวัลย์เครื่องผูกมัดคือเกลศทั้งปวง และเพื่อตัดข่ายคือเกลศนั้น ผู้ที่ยังไม่ได้สดับจะได้สัมผัส(ตรัสรู้) อมฤตะนี้อย่างดียิ่ง ซึ่งเป็นการตรัสรู้เฉพาะตน เป็นบรมคติ หรือถ้าปรารถนาความเป็นพุทธก็จงบูชาพระองค์ผู้เป็นนายกในโลกทั้ง 3 ฯ

 

      6 พระองค์สละทรัพย์สมบัติพร้อมทั้งมหาสมุทร(*)และรัตนะทั้งหลายหาที่สุดมิได้  สละปราสาท ตำหนักมีพระแกลรูปดอกไม้ตูม และยานพาหนะเทียมม้าคู่ทั้งหลาย ทรงสละอุทยานมีภาคพื้นประดับแล้วมีดอกไม้พวงมาลัย บ่อสระอันงาม พระองค์ท่านมีพระหัตถ์ พระบาท พระเศียรเบื้องสูง และพระเนตรมุ่งหน้าเสด็จไปสู่ควงต้นโพธิ ฯ

 

* หมายถึงพระองค์ละสมบัติจักรพรรดิ์มีสมุทรทั้ง 4 เป็นขอบเขต

 

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาพรหมผู้เป็นใหญ่ในเทวโลกและมนุษยโลกทรงปกครองโลกธาตุคือเทวโลกและมนุษยโลกนี้ ในขณะนั้นทรงปกครองคลุมโลกธาตุให้ปราศจากก้อนหินกรวดทรายเรียบราบปรากฏเหมือนฝ่ามือโรยให้หนาขึ้นด้วยแก้วมณีมุกดาไพฑูรย์ศังขศิลาแก้วประพาฬทองเงิน ทรงปกครองคลุมโลกธาตุคือเทวโลกและมนุษยโลกนี้ด้วยหญ้าเขียวสดอ่อนนุ่มขดเวียนขวาเหมือนขนดเชือก สัมผัสอ่อนนุ่มนวลเหมือนสัมผัสฝักมะกล่ำเครือ และครั้งนั้นมหาสมุทรทั้งปวงได้ขึ้นมาตั้งอยู่บนพื้นดิน สัตว์น้ำทั้งหลายไม่มีใครเบียดเบียนแต่อย่างใด และองค์ศักร(อินทร์) พรหมเทพโลกบาลทั้งหลายในทิศทั้ง 10 เห็นโลกธาตุที่ประดับประดาแล้วนี้ ก็ได้ประดับประดาพุทธเกษตร(อาณาเขตแห่งพระพุทธ) ตั้งแสนเพื่อทำการบูชาพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ทั้งหลายจัดวิมานบูชาเกินกว่าการบูชาของเทวดาและของมนุษย์ ได้พากันตกแต่งประดับประดาพุทธเกษตรทั้งหลายในทิศทั้ง 10 หาประมาณมิได้ เพื่อบูชาพระโพธิสัตว์ พุทธเกษตรทั้งหลายเหล่านั้นทั้งหมด ปรากฏเป็นเหมือนพุทธเกษตรอันเดียว และประดับด้วยเครื่องอลงกรณ์ มีขบวนต่างๆพุทธเกษตรคือสถานที่เป็นนามธรรม (ไม่มีรูป) ไม่ใช่จักรวาลอื่น ไม่ใช่กาลพรรพต ไม่ใช่จักรวาลน้อยจักรวาลใหญ่ พุทธเกษตรเหล่านั้นทั้งหมดปรากฏว่า พระโพธิสัตว์ขยายออกได้โดยไม่มีอันตราย และ เทวบุตรผู้รักษาควงต้นโพธิ 16 ตน คือ เทวบุตร ชื่อ อุต์ขลี่  สุตขลี  ประชาบดี  ศูรพละ  เกยูรพละ  สุประติสถิตะ  มหินธระ  อวภาสกระ  วิมละ  ธรรเมศวระ  ธรรมเกตุ  สิทธปาตระ  อประติหตเนตระ  มหาวยูหะ  ศีลวิศุทธเนตระ  ปัทมะปรภะ  นี้คือ เทวบุตรผู้รักษาควงต้นโพธิ 16 ตนแล  เทวบุตรเหล่านี้ทั้งหมดต่างได้รับความอดทนอันไม่เปลี่ยนแปลงช่วยกันประดับตกแต่งควงต้นโพธิ เพื่อบูชาพระโพธิสัตว์ รอบควงต้นดพธิ 80 โยชน์ ล้อมด้วยราชวัฏรัตนะ 7 อย่าง  ล้อมด้วยต้นตาล 7 แถว ล้อมด้วยข่ายกระดิ่งรัตนะ 7 ข่าย ล้อมด้วยเส้นเชือกรัตนะ 7 เส้น ดาษดาด้วยแผ่นทองชมพูนทประดับรัตนะ 7 อย่าง เส้นเชือกและดอกบัวทองชมพูนท เผาไม้จันทน์อันประเสริฐมีกลิ่นหอมกระจากออก คลุมด้วยข่ายรัตนะ ต้นไม้นาๆชนิดในโลกธาตุทั้งหลายต่างๆทั้ง 10 ทิศที่เขาบูชาเป็นของเทวดาและของมนุษย์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมปรากฏขึ้นที่ควงต้นโพธินั้นและบุบผาชาติทิ่เกิดในน้ำและบนบกมีชนิดต่างๆทั้ง 10 ทิศ ทั้งหมดนั้นย่อมปรากฏที่ควงต้นโพธินั้น พระโพธิสัตว์ทั้งหลายในโลกธาตุต่างๆทั้ง 10 ทิศ ย่อมพากันประดับควงต้นโพธิด้วยขบวนแห่งสัมภาระ(เครื่องประดับ) คือ บุณยและชญานหาประมาณมิได้แม้พระโพธิสัตว์เหล่านั้นย่อมปรากฏในควงต้นโพธินั้นด้วย

 

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิมานเช่นนั้น เทวบุตรผู้รักษาควงต้นโพธิได้นิรมิตขึ้นแล้วที่ควงต้นโพธิ เทวดา นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร เห็นวิมานนั้นแล้ว เกิดความเข้าใจว่าที่อยู่ของตนกลายเป็นป่าช้าไป และครั้นเห็นวิมานนั้นแล้ว เกิดความสนใจเพื่อให้ที่อยู่ของตนเป็นดั่งนั้นบ้างและพากันเปล่งอุทานอย่างนี้ว่าโอ ดีแท้ อานิสงส์ผลบุณยน่าอัศจรรย์ และเทวดาผู้ประจำต้นโพธิ 4 ตน คือเทวดา ชื่อ เวณุ วัลคุ สุมนะ และ โอชปติ เทวดาทั้ง 4 นี้ เป็นเทวดาประจำต้นโพธิ สร้างต้นโพธิขึ้นมาเพื่อบูชาพระโพธิสัตว์ ทำให้สมบูรณ์ด้วยราก สมบูรณ์ด้วยลำต้น สมบูรณ์ด้วยกิ่ง ใบ ดอก และผล สมบูรณ์ด้วยทางขึ้นทางลง ประกอบด้วยปราสาท น่าดู มีพื้นกว้าง 80 คืบ สูงเท่ากันวงรอบก็เท่ากัน วิจิตร ต้องตา ต้องใจ ล้อมด้วยราชวัฏรัตนะ 7 ชั้น เรียงรายด้วยต้นตาลรัตนะ 7 แถว ห้อยกระดิ่งรัตนะ 7 แถว แวดวงรอบป้องกันด้วยเชือกรัตนะ 7 ชั้น แพรวพราวไปด้วยต้นปาริชาตกะ และต้นโกวิทาร(ทองหลางใบมน) ดูแล้วไม่อิ่มตา และพื้นแผ่นดินตรงนั้นตั้งเป็นโลกธาตุคือเทวโลกและมนุษยโลกนั่นคงยิ่งนักเปรียบด้วยเพชรแข็งเป็นเพชรทุบไม่แตก ซึ่งพระโพธิสัตว์ผู้ประสงค์จะตรัสรู้โพธิประทับนั่งแล้ว

 

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์เสด็จเข้าไปสู่ควงต้นโพธิ แสงสว่างอย่างว่าก็เปล่งออกจากพระกาย ซึ่งเป็นแสงสว่างที่ทำให้พวกตกอยู่ในอบายทั้งปวงพากัน สงบระงับถูกปิดบังสภาพที่เป็น อกษณะ (*) ทั้งปวง และการเสวยทุกข์ในทุรคติได้เหือดแห้งไป (คือไม่มีทุกขเวทนา) สัตว์เหล่าใดมีอินทรีย์บกพร่อง สัตว์เหล่านั้นทั้งหมดได้รับความมีอินทรีย์บริบูรณ์ ผู้เจ็บป่วยทั้งหลาย ก็หายจากการเจ็บป่วย ผู้เดือดร้อนด้วยความกลัว ก็ได้รับความปลอบโยนให้กายกลัว และผู้ต้องจองจำ ก็พ้นจากเครื่องจองจำ สัตว์ผู้ยากจนขัดสน ก็กลับเป็นผู้มีโภคะ  ผู้เร่าร้อนด้วยเกลศ ก็หายความเร่าร้อนสัตว์ผู้หิว ก็มีท้องเต็ม และผู้กระหาย ก็ปราศจากความกระหาย สตรีมีครรภ์ก็คลอดง่าย ผู้ที่ทรุดโทรมไม่มีแรง ก็ถึงพร้อมด้วยเรี่ยวแรง ในครั้งนั้นไม่มีใครถูกเบียดเบียนด้วยความรัก ความเกลียดชัง โมหะ โกรธ โลภ อุปสรรค พยาบาท อีรษยา ตระหนี่ ในครั้งนั้น ไม่มีใครตาย ไม่มีใครจุติ ไม่มีใครเกิด และสัตว์ทั้งปวงในครั้งนั้นมีไมตรีจิต คิดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อกัน หมายรู้กันว่าเป็นเหมือนมารดาบิดา

 

* อกษณะ คือ สภาพที่ใช่กาลใช่โอกาส ปิดบังสภาพที่เป็นกษณะ หมายความว่าเปิดโอกาสให้เป็นได้ มีได้และเปิดโอกาสให้มีพระพุทธเจ้าตรัสรู้ มีความเป็นมนุษย์ มีอินทรีย์ไม่พิการบกพร่องและได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า

 

ในที่นี้ มีคำกล่าวว่า

 

      7 นรกแลดูน่ากลัวกระทั่งถึงอเวจีเป็นที่สุด ความทุกข์ของสัตว์(นรก) ทั้งหลายสงบงะงับ สัตว์ทั้งหลายได้รับความรู้สึกเป็นสุข ฯ

 

      8 สัตว์ทั้งหลายกระทั่งถุงผู้ที่อยู่ในกำเนิดเดียรัจแนเป็นที่สุด ต่างทำร้ายประหารซึ่งกันและกัน สัตว์เหล่านั้นพอกระทบแสงสว่างของพระมหามุนี กลับเกิดมีไมตรีจิต ฯ

 

      9 เปรตทั้งหลาย กระทั่งถึงโลกเปรต มีความหิวกระหายบีบคั้นกลับได้ข้าวและน้ำ เพราะเดชของพระโพธิสัตว์ ฯ

 

      10 สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ถูกปิดบังสภาพที่เป็นเอกษณะ การเสวยทุกข์ในทุรคติได้เหือดแห้งไป ต่างมีความสุข และสัตว์ทั้งปวงเพียบพร้อมด้วยความสุขอันเป็นทิพย์ ฯ

 

      11 และผู้ใดมีอินทรีย์บกพร่อง ตา หู เสื่อม ก็เกิดสมบูรณ์ด้วยอินทรีย์ทั้งปวง มีอวัยวะทั้งปวงงาม ฯ

 

      12 สัตว์ทั้งหลาย ถูกเบียดเบียนด้วยความรักและความเกลียดชัง เป็นต้น ทุกเมือ ครั้งนั้น  สัตว์ทั้งปวงก็เกิดมีเกลศสงบระงับเพียบพร้อมไปด้วยความสุขฯ

 

      13 คนที่เป็นบ้ากลับมีสมฤติ และคนยากจนกลับเป็นคนมีทรัพย์ คนป่วยไขกลับพ้นจากโรค คนที่ถูกจองจำกลับพ้นจากเครื่องจองจำ ฯ

 

      14 ไม่มีอุปสรรค ไม่มีความตระหนี่ ไม่มีพยาบาท และไม่มีสู้รบ ต่างทำความดีให้แก่กัน มีไมตรีจิต ตั้งอยู่แล้วในครั้งนั้น ฯ

 

      15 และในครั้งนั้น ความรักของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมมีต่อกันเหมือนความรักของมารดาบิดาในบุตรและความรักของบุตรในมารดาบิดา ฯ

 

      16 พื้นที่ทั้งหลาย 10 ทิศโดยรอบ มีจำนวนเท่าทรายในแม่น้ำคงคา ถูกกระทบด้วยข่ายแสงสว่างของพระโพธิสัตว์เป็นอจินไตย ฯ

 

      17 และจักรวาล ไม่ปรากฏเป็นกาลบรรพต(ภูเขาดำ คือความมืด) อีกต่อไป จักรวาลทั้งหมดเป็นพื้นที่กว้างขวางปรากฏเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ

 

      18 พื้นที่ทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยสรรพรัตนะปรากฏเป็นเหมือนกระจ่างอยู่ในฝ่ามือ ถุกตกแต่งแล้วเพื่อบูชาพระโพธิสัตว์ ฯ

 

      19 เทวดา 16 ตน เข้าไปเฝ้าควงต้นโพธิ ตกแต่งควงต้นโพธิรอบบริเวณ 80 โยชน์ ฯ

 

      20 วิมานใหญ่ใดๆในเนื้อที่ตั้งโกฏิหาที่สุดมิได้ วิมานเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมปรากฏในที่นั้นด้วยเดชของพระโพธิสัตว์ ฯ

 

      21 เทวดา นาค ยักษ์ กินนร งูใหญ่ รู้สึกว่าวิมานของตนๆเป็นเหมือนป่าช้า ฯ

 

      22 เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เห็นวิมานเหล่านั้นแล้ว พากันพิศวงงงงวย เปล่งอุทานว่า ดีแท้ นี่คือผลแห่งบุณยพระโพธิสัตว์ได้วิมานเช่นนี้ ฯ

 

      23 เขาไม่ต้องทำความเพียรด้วยกาย วาจา ใจ ประโยชน์ทั้งปวงที่เขามุ่งหมาดปรารถนาย่อมสำเร็จแก่เขาผู้นั้น ฯ

 

      24 เหมือนกรรมที่เขาบำเพ็ญประพฤติมาแต่ครั้งก่อน ด้วยความประสงค์ต่อผลอย่างอื่นๆผลเช่นนี้ ย่อมถึงแก่เขาเพราะกรรมนั้น ฯ

 

      25 ควงต้นโพธิ เทวดาผู้ประจำต้นโพธิ 4 ตน ตกแต่งแล้ว ดังนั้น จึงประเสริฐสุด เหมือนไม้ปาริชาตกะในสวรรค์ ฯ

 

      26 วิมานซึ่งมีคุณสมบัติทั้งปวงเหล่านั้น อันเทวดาทั้งหลายตกแต่งเพื่อพระโพธิสัตว์ไม่มีใครสามารถสรรเสริญด้วยวาจาได้ ฯ

 

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พิภพของนาคราชชื่อ กาลิกะ ได้สว่างด้วยรัศมีนั้นที่เปล่งออกจากพระกายของพระโพธิสัตว์ เพราะพระองค์เกิดความสุขแจ่มใสทางกายและทางจิตอันหมดจดปราศจากมลทิน เพราะพระองค์ยังสัตว์ทั้งปวงให้เกิดความสุขปรีติความเลื่อมใสและปราโมทย์เพราะคลายจากเกลศทั้งปวง นาคราชกาลิกะ เห็นแล้วยืนอยู่เบื้องหน้าบริวารของตน ได้กล่าวเป็นคำประพันธ์เหล่านี้ ในเวลานั้นว่า

 

      27 (การเห็นรัศมีครั้งนี้) เหมือนเห็นรัศมีงามในพระกรกุจฉันทะพุทธ และเห็นรัศมีงามในพระกนกะพุทธ ซึ่งเหมือนกับเห็นรัศมีปราศจากมลทินในพระกาศยปะพุทธ ผู้เป็นพระธรรมราชาหาโทษมิได้ รัศมีแห่งชญาน มีลักษณะประเสริฐ กระทำประโยชน์ได้เกิดขึ้นแล้วโดยไม่ต้องสงสัยซึ่งทำให้พิภพของข้าพเจ้านี้สว่างไสวดังว่าประดับด้วยประกายทอง ฯ

 

      28 แสงสว่างนี้ไพบูลย์ปรากฏอยู่ในพิภพ(ของข้าพเจ้า) ไม่ใช่แสงสว่างของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ไม่ใช่แสงไฟ ไม่ใช่แสงแก้วมณีไม่ใช่แสงฟ้าแลบอันปราศจากมลทิน และไม่ใช่แสงดาวทั้งหลาย ไม่ใช่แสงสว่างขององค์อินทร์ ไม่ใช่แสงสว่างของพรหม และไม่ใช่แสงสว่างของอสูร แต่ก่อนพิภพของข้าพเจ้าเต็มไปด้วยความืด ด้วยกรรมอย่างอุกกฤตโดยส่วนเดียว ฯ

 

      29 แต่วันนี้ พิภพของข้าพเจ้านี้  สว่างงามเหมือนสว่างด้วยแสงอาทิตย์เวลาเที่ยง ความปรีติก็เกิดขึ้นในใจ กายก็เป็นสุข เนื้อตัวก็เย็นอย่างประหลาด ร่างกายของข้าพเจ้าที่เกลือกกลั้วอยู่กับทรายมันร้อน แต่นี่ไม่ร้อน มันกลับเย็น พระโพธิสัตว์ผู้ประพฤติบารมิตามาหลายโกฏิ เสด็จไปยังพุ่มต้นโพธิ ปรากฏขึ้นแล้ว ฯ

 

      30 ท่านทั้งหลายจงรีบถือเอาดอกบุนนาคงามๆ ผ้างามๆหอมๆ และกำไลประดับมุกดาหาร และผงจันทน์หอมสำหรับจุด(ธูปไม้จันทน์)อย่างดี จงทำสังคีตประโคมกลองใหญ่กลองเล็กอย่างดีต่างๆดีแล้ว ท่านทั้งหลายไปเถิด พวกท่านทั้งหมดพึงไปบูชาพระโพธิสัตว์ผู้กระทำประโยชน์ ผู้ควรบุชา ฯ

 

      31 กาลิกะนาคราชนั้น  ลุกขึ้นแล้วพร้อมด้วยนางนาคทั้งหลายมองไปยังทิศทั้ง 4 และได้เห็นพระโพธิสัตว์เหมือนภูเขาเมรุ  ประดับดีแล้วด้วยเดช มีหมู่เทพแลมานพ และพรหมองค์อินทร์และยักษ์ทั้งหลายห้อม้อมกระทำการบูชาพระโพธิสัตว์นั้น เขา(นาคราช) มีใจยินดีด้วยคิดว่า พระโพธิสัตว์นี้จะทรงชี้หนทางให้ ฯ

 

      32 จริงอยู่ นาคราชนั้นมีความยินดีแล้ว บันเทิงยิ่งแล้ว และได้บูชาพระโพธิสัตว์ผู้สูงสุดกว่าโลก นมัสการพระบาททั้งสองแล้ว ยืนอยู่เบื้องหน้าของพระมุนีด้วยการกระทำความเคารพ บางนาคมีใจเฟื่องฟูยินดีแล้วพากันกระทำการบูชาพระมุนี และชโลมลูบด้วยของหอม ซัดดอกไม้ประโคมดนตรีทั้งหลาย ฯ

 

      33 นาคราชกระทำอัญชลี (ประณมมือ) บันเทิงยินดียิ่งนักแล้วด้วยพระคุณอันแท้จริง แล้วกล่าวว่า การเห็นพระนายกผู้มีพระพักตร์ดุจดวงจันทร์ในวันเพ็ญ ผู้สูงสุดกว่าโลก เหมือนข้าพระองค์ได้เห็นนิรมิตดี ข้าพระองค์เคยเห็นพระฤษีมาแล้ว วันนี้พระองค์ทรงกำจัดมาร และพลมารเหล่านั้นของพระองค์แล้ว พระองค์ก็จะได้ซึ่งปท (จุดหมายปลายทาง) อันน่าปรารถนา ฯ

 

      34 การข่มอินทรีย์ การให้ทาน การระงับอินทรีย์ การเสียสละของพระองค์ทั้งหมด ได้มีแล้วในครั้งก่อนๆเพื่อประโยชน์ใด การข่มอินทรีย์ ศีล ไมตรี กรุณา กำลังแห่งกษานติ พระองค์ได้ทำให้มีขึ้นแล้วเพื่อประโยชน์ใด การข่มอินทรีย์ ความเพี่ยร การยินดีในการเข้าธยาน ปรัชญาที่เป็นดวงประทีป  พระองค์ทำแล้วเพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นๆทั้งหมดจะติดตามให้ผลสมบูรณ์แก่พระองค์ พระองค์จะถึงความชนะในวันนี้ ฯ

 

      35 เพราะเหตุที่พุ่มต้นโพธิพร้อมด้วยใบดอกพร้อมด้วยผลน้อมกิ่งลงมา เพราะเหตุที่หม้อน้ำตั้งพันมีน้ำเต็ม กระทำประทักษิณ  เพราะเหตุที่หมู่นางฟ้าทั้งหลายมีความบันเทิงใจเปล่งเสียงออกมาเบาๆ เพราะเหตุที่หงส์และฝูงนกกระเรียนบินมาในอากาศประกอบด้วยลีลาอันงามต่างก็มีใจยินดีกระทำประทักษินพระฤษี(พระโพธิสัตว์) พระองค์จะได้เป็นพระอรหันต์ในวันนี้แล้ว ฯ

 

      36 รัศมีเหมือนสีทอง งาม แผ่ไปตั้งร้อยเกษตร(*) และอบายทั้งหมดสงบระงับ หมู่สัตว์ทั้งหลายพ้นจากความทุกข์ เพราะเหตุที่พิภพจันทร์และอาทิตย์มีฝนตก ลมก็พัดโชยมาอ่อนๆ พระองค์ผู้เนหัวหน้าคนเดินทางในภพทั้ง 3 เป็นผู้ปลดเปลื้องชาติและชรา จะบรรลุในวันนี้ ฯ

 

* เกษตร คือทุ่งนา หมายถึงเขตแดนของพระพุทธเจ้าที่แผ่อานุภาพไปถึง

 

      37 เพราะเหตุที่พระองค์ละความยินดีในกาม เทวดาทั้งหลายพรหม พรหมปุโรหิต และเทพเจ้าทั้งหลายมาเฝ้าเพื่อบูชาพระองค์ พระองค์จงเข้าธยานอันเป็นสุขเถิด ใครก็ตามในภพทั้ง 3 และในบุรีทั้งปวงก็ได้มาเฝ้าแล้วในที่นี้ พระองค์ผู้เป็นราชาแห่งแพทย์ในภพทั้ง 3 เป็นผู้ปลดเปลื้องชาติและชรา จะบรรลุในวันนี้ ฯ

 

      38 เทวดาทั้งหลายได้ชำระทำความสะอาดหนทางที่พระองค์จะเสด็จไปในวันนี้ พระผู้มีภคะกรกุจฉันทะพุทธ พระกนกะพุทธ พระกาศยปะพุทธ ก็ได้เสด็จไปโดยหนทางนี้เหมือนกัน หรือเหมือนดอกบัวบริศุทธปราศจากมลทิน งาม ชำแรกแผ่นดิน ซึ่งพระองค์ทอดพระบาทลงด้วยกำลังแรงแห่งย่างก้าว พระองค์เป็นอรหันต์ในวันนี้ ฯ

 

      39 มารตั้งหลายหมื่นพันโกฏิเหมือนทรายในแม่น้ำคงคา มารเหล่านั้นไม่สามารถทำให้พระองค์เคลื่อนที่ หรือหวั่นไหวจากกกต้นโพธิได้ยัชญาทั้งหลายต่างๆตั้งหมื่นพันเหมือนทรายในแม่น้ำคงคา ยัชญาเหล่านั้นพระองค์บูชาแล้วเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่โลก พระองค์จะรุ่งเรืองในโลกนี้ด้วยยัชญนั้นๆ ฯ

 

      40 นักษัตร (ดาวฤกษ์) ทั้งหลายพร้อมด้วยดวงจันทร์ พร้อมด้วยดวงดาวและดวงอาทิตย์ตกจากฟ้าลงมายังแผ่นดิน และมหาคีรี(ภูเขาเมรุ) อันประเสริฐเคลื่อนจากที่ของตน และมหาสมุทรจะเหือดแห้งธาตุทั้ง 4  อย่างใดอย่างหนึ่ง ต่างคอยดูปุรุษผู้ตรัสรู้โดยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ถ้าพระองค์ไม่เสด็จไปสู่โคนพระยาพุ่มไม้(ต้นโพธิ) ก็จะไม่พึงบรรลุไม่พึงยังปรัชญาตรัสรู้ให้เกิดขึ้น ฯ

 

      41 เป็นลาภที่ข้าพระองค์ได้รับอย่างดี ข้าแต่พระผู้เป็นสารถี(ผู้ฝึก) ซึ่งพระองค์มีความเจริญอันไพบูลย์ที่ข้าพระองค์เห็นแล้ว ข้าพระองค์ทำบูชาแล้ว และกล่าวสรรเสริญพระคุณแล้ว พระองค์ทรงพยายามเพื่อ ตรัสรู้ นางนาคทั้งปวงและข้าพระองค์พร้อมทั้งลูกๆจะพึงพ้นจากกำเนิดนี้ ข้าพระองค์ผู้เสด็จดำเนินเหมือนช้างซับมัน พระองค์จะเสด็จอย่างไรพวกข้าพระองค์ก็จะไปอย่างนั้น ฯ ดังนี้แล ฯ

 

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาลิกะนาคราช มีอัครมเหษี ชื่อ สุวรรณประภา พระนางสุวรรณประภานั้นมีนางนาคห้อมล้อมมากหลาย  ถือฉัตรรัตนะต่างๆถือผ้าต่างๆถือมุกดาหารต่างๆ ถือแก้วมณีต่างๆ ถือพวงมาลัยและผอบใส่เครื่องลูบไล้ซึ่งเป็นของเทวดาและของมนุษย์ ถือหม้อน้ำหอมต่างๆบรรเลงดนตรีและเครื่องสังคีตต่างๆ ออกหน้าโปรยปรายด้วยฝนคือต้นไม้รัตนะต่างๆไปยังพระโพธิสัตว์ซึ่งกำลังเสด็จไป

 

และสรรเสริญด้วยคำประพันธ์อันไพเราะว่า

 

      42 ข้าแต่มหาฤษี ข้าพระองค์ขอนมัสการพระองค์ผู้ไม่พรั่น ไม่สะดุ้ง ไม่กลัว ไม่หวาดเสียว ไม่หลบ ไม่ขลาด ร่าเริง ลำพอง ไม่รัก ไม่เกลียด ไม่หลง ไม่โลภ ไม่กำหนัด วิมุตแล้ว (พ้นพิเศษ) ฯ

 

      43 พระองค์เป็นผุ้พยาบาล เป็นผู้ผ่าตัดเนื้อร้าย เป็นผู้แนะนำ เป็นผู้พรมน้ำมนตร์ เป็นแพทย์ที่ดีของชาวโลก เป็นผู้ปลดเปลื้องจากทุกข์ทั้งหลาย ทรงรู้ว่าผู้ไม่มีที่หลบหลีก ไม่มีที่ป้องกัน ไม่มีที่พึ่ง ทรงเป็นที่หลบหลี่ก เป็นที่ป้องกัน เกิดขึ้นในโลกทั้ง 3 ฯ

 

      44 หมู่เทพเจ้าเลื่อมใส ยินดี โปรยฝนดอกไม้ใหญ่ลงมาจากท้องฟ้า ด้วยประการใดเทพเจ้าเหล่านี้ กระทำการโยนผ้าใหญ่ผ้าน้อย ด้วยประการใด พระชินเจ้าจะบรรลุถึงด้วยประการใด ขอพระองค์จงกระทำความยินดีในวันนี้ด้วยประการนั้นเถิด ฯ

 

      45 พระองค์เสด็จเข้าไปสู่พุ่มซึ่งเป็นจอมไม้ (ต้นโพธิ) ประทับนั่ง ไม่หวาดเสียว ทรงชนะมาร และเสนามาร ทรงกำจัดข่ายคือเกลศตรัสรู้ซึ่งโพธิประเสริฐเลิศอันสงบ เหมือนพระชินเจ้าองค์ก่อนๆเหล่านั้นได้ตรัสรู้แล้ว ฯ

 

      46 พระองค์ทรงกระทำสิ่งที่ทำยากตั้งหลายโกฏิ เพื่อปลดเปลื้องโลก เพื่อประโยชน์ของผู้ใด ความหวังของผู้นั้น คือของพระองค์เต็มเปี่ยมแล้ว ถึงเวลาแล้ว พระองค์เสด็จเข้าไปสู่พุ่มซึ่งเป็นจอมไม้ จงสัมผัส(ได้รับ)โพธิอันเลิศ ฯ ดังนี้แล ฯ

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระโพธิสัตว์ทรงรำพึงอย่างนี้ว่า พระตถาคตองค์ก่อนๆเหล่านั้น ประทับนั่งที่ไหนจึงตรัสรู้อนุตตรสัมยักสัมโพธิ ครั้นแล้วทรงคิดได้ว่า  พระตถาคตองค์ก่อนๆประทับนั่งบนที่ลาดด้วยหญ้า

 

      ขณะนั้นแล เทวดาชั้นศุทธาวาสตั้งแสนอยู่ในอากาศ รู้ความปริวิตกในจิตของพระโพธิสัตว์ด้วยจิต(ของตน) นั่นเที่ยว จึงกล่าววาจาอย่างนี้ว่า นั่นถูกแล้ว สัตปุรุษ นั่นถูกแล้ว สัตปุรุษ พระตถาคตองค์ก่อนๆทั้งหลายเหล่านั้น นั่งบนที่ลาดด้วยหญ้า ตรัสรู้อนุตตรสัมยักสัมโพธิ

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นคนเกี่ยวหญ้าชื่อ สวัสติกะ ข้างขวาหนทาง เกี่ยวหญ้าเขียวสด นุ่ม อ่อน งาม ม้วนเป็นวงกลม บิดขวาเหมือนคอนกยูง สัมผัสอ่อนนุ่มนวลเหมือนสัมผัสฝักมะกล่ำเครือ มีกลิ่นหอม สีงาม น่าเจริญใจ พระโพธิสัตว์ครั้นทอดพระเนตรเห็นแล้ว เสด็จเลี่ยงออกจากทางเข้าไปยังคนเกี่ยวหญ้า ชื่อ สวัสติกะอยู่ ครั้นแล้ว ตรัสสนทนาปราศศรัยกับคนเกี่ยวหญ้า ชื่อ สวัสติกะ ด้วยพระวาจาอ่อนหวานพระวาจานั้นมีอำนาจบังคับอยู่ในคำพูด ทำให้ผู้ฟังเข้าใจ เข้าใจง่ายเป็นความสุขอย่างเดียวของโลกเป็นอเนก ไพเราะ น่าฟัง นุ่มนวล ชวนให้ระลึกถึงเร้าใจ ทำให้ยินดี ทำให้รักใคร่ ไม่กระด้าง ชัดเจน ไม่หยาบ ไม่กลับกลอก สุภาพ หวาน ฟังสบายหู ไม่มีเงื่อนงำทางกายและจิต บรรเทาความขุ่นมัวที่เป็นโทษ คือ ราคะ โทษะ โมหะ มีสำเนียงเพราะเหมือนเสียงนกการเวก ก้องกังวาลเหมือนเสียงนกดุเหว่า และนกกระทาดวง มีเสียงบันลือดังเหมือนเสียงประโคมกลองใหญ่ ไม่เสียดสี มีความสัตย์ ใสสะอาด เป็นจริง มีเสียงบันลือเหมือนเสียงพรหม เหมือนกำลังเร็วแห่งเสียงทะเลเหมือนเสียงน้ำเซาะหิน เป็นที่ยินดีของเจ้าเทวดา(องค์อินทร์) และเจ้าอสูร (เวปจิตหรือพิโรจน์) เป็นเสียงลึก หยั่งถึงยาก เป็นวาจาลดกำลังของมารให้หมดกำลังย่ำยีลัทธิอื่น เป็นกำลังเร็วแห่งเสียงราชสึห์ เป็นวาจากึกก้องเหมือนเสียงม้า และเสียงช้างบันลือ เหมือนเสียงบันลือของนาค เป็นเสียงคำรณเหมือนเสียงฟ้าร้อง แผ่ไปทั่วพุทธเกษตรทั้งปวง 10 ทิศ ปลุกสัตว์ด้วยการนำออก ไม่เร็ว ไม่ตะกุกตะกัก ไม่ยืดยาดประกอบด้วยประโยชน์ สมควร พูดถูกกาล ไม่ล้าสมัย มัดรวมธรรมไว้ตั้งแสน สุภาพอ่อนโยน ไม่ข้องอยู่ในอะไร  มีประติภาน(ไหวพริบ) ตั้งไว้แล้ว เป็นเสียงเดียว ตกแต่งเสียงทั้งปวง ทำให้รู้ความปรารถนาทั้งหมดได้ ทำให้เกิดความสุขทั้งปวง ชี้ทางแห่งความรอดพ้น (โมกษ) เป็นวาจากกล่าวถึงเครื่องอุปกรณ์แห่งมรรค ไม่ล่วงละเมิดประชุมชนทำให้ประชุมชนมีความยินดี เป็นไปตามแนวภาษิตของพระพุทธเจ้าทั้งปวง พระโพธิสัตว์มีพระวาจากอย่างนี้ ตรัสกับคนเกี่ยวหญ้าชื่อ สวัตวติกะ ด้วยคำเป็นบทประพันธ์ ว่า

 

      47 ดูกรสวัสติกะ เธอจงให้หญ้าแก่อาตมาโดยเร็ว วันนี้ อาตมาต้องการมากด้วยหญ้าทั้งหลาย อาตมาจะผจญมารพร้อมด้วยเสนามาร แล้วจะสัมผัส(ตรัสรู้) ปรัชญาเครื่องตรัสรู้อันเป็นความสงบไม่มีอะไรยิ่งกว่า ฯ

 

      48 เมื่ออาตมากระทำมาตั้งพันกัลป คือให้ทาน ฝึกฝนอินทรีย์ สงบระงับอินทรีย์ เสียสละ มีศีลและพรต มีตบะ มีความรอบรู้เป็นอย่างดี เพื่อผู้ใด วันนี้อาตมาจะถึงความสำเร็จเพื่อผู้นั้น ฯ

 

      49 ด้วยกำลักษานติ กำลังวีรยะ(ความเพียร) กำลังธยาน กำลังชญาน กำลังบุณย กำลังอภิชญา และกำลังวิโมกษ วันนี้ อาตมาจะถึงความสำเร็จเพื่อผู้นั้น ฯ

 

      50 ด้วยกำลังปรัชญา กำลังอุปาย(ปัญญาเครื่องอาศัยเอาชัยชนะข้าศึก) กำลังถึงพร้อมด้วยฤทธิ์และไมตรี และกำลังความรู้แตกฉาน ความสัตย์ วันนี้อาตมาจะถึงความความสำเร็จเพื่อเขาทั้งหลายเหล่านั้น ฯ

 

      51 เป็นกำลังแห่งบุณยของท่านหาที่สุดมิได้ ซึ่งท่านให้หญ้าแก่อาตมาวันนี้ ไม่มีเหตุการณ์อื่นของท่านจะมาอีกแล้ว แม้ท่านซึ่งเป็นผู้ปกครองชั้นเยี่ยมจะได้รับ ฯ

 

      52 คนเกี่ยวหญ้าชื่อ สวัสดิกะ ฟังคำไพเราะอ่อนหวานของพระนายกแล้ว มีความยินดีและดีใจ ร่างเริง บันเทิงใจ ถือเอากำหญ้าสัมผัสนุ่มนวล อ่อนละมุนงาม ยืนอยู่เบื้องหน้า กล่าววาจาด้วยบันเทิงใจว่า ฯ

 

      53 ถ้าจะได้อมฤตะซึ่งเป็นจุดประเสริฐ เป็นความตรัสรู้ เป็นความสงบสูงสุด ยากที่จะเห็นได้ เป็นทางของพระชินองค์ก่อนๆ ด้วยหญ้าทั้งหลายไซร้ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นทะเลแห่งคุณอันใหญ่ยิ่ง ขอพระองค์ผู้มียศหาประมาณทิได้ โปรดหยุดก่อน ข้าพเจ้านี้แหละจะตรัสรู้อมฤตะซึ่งเป็นจุดประเสริฐ เป็นคนแรก ฯ

 

      54 (พระโพธิสัตว์ตรัสว่า) ดูกรสวัสติกะ ท่านยังไม่ได้ปรัชญาเครื่องตรัสรู้นั้นด้วยการนอนบนหญ้าอันประเสริฐ โดยไม่ได้ประพฤติพรต และตบะ ซึ่งทำยากโดยประการต่างๆมาหลายกัลป เมื่อใดท่านขึ้นไปสู่ปรัชญา บุณยอุปาย (เครื่องอาศัยเอชนะศัตรู) มีความคิดแล้ว เมื่อนั้นภายหลังพระชินผู้เป็นมุนี พยากรณ์แล้ว ท่านจึงจะเป็นผู้ปราศจากธุลี ฯ

 

      55 ดูกรสวัสติกะ ถ้าปรัชญาตรัสรู้นี้สามารถให้แก่ผู้อื่นได้ไซร้ก็น่าจะปั้นก้อนให้แก่สัตว์ทั้งหลาย จงอย่าเข้าใจผิด เมื่อใดท่านรู้ว่าอาตมาบรรลุความตรัสรู้แล้ว อาตมาได้รับอมฤตะแล้ว เมื่อนั้นท่านจงมาฟังคำที่ประกอบด้วยธรรม แล้วท่านจะเป็นผู้ปราศจากธุลี ฯ

 

      56 พระนายก ทรงรับกำหญ้าอันอ่อนนุ่มอย่างดียิ่งแล้ว เสด็จดำเนินเคลื่อนที่ไปบนแผ่นดินเหมือนท่าเดินของราชสีห์หรือหงส์ เทวดาหมู่นาค กระทำอัญชลีแล้ว ต่างมีใจบันเทิง พูดว่า วันนี้พระโพธิสัตว์จะผจญมารและเสนามารแล้ว จะสัมผัสอมฤตะ ฯ

 

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระโพธิสัตว์เสด็จเข้าไปสู่ต้นโพธิ ต้นโพธิอีกแปดหมื่นต้น เทวบุตรและพระโพธิสัตว์ทั้งหลายได้ตกแต่งแล้ว พระโพธิสัตว์ประทับนั่งแล้วที่ต้นโพธินี้ ถึงซึ่งโพธิตรัสรู้แล้วดั่งนี้แล ยังมีต้นโพธิทั้งหลาย บางต้นล้วนแล้วด้วยดอก สูงได้หมื่นโยชน์ บางต้นล้วนแล้วด้วยกลิ่นหอม สูงได้สองหมืนโยชน์บางต้นล้วนแล้วด้วยไม่จันทน์หอม สูงได้สามหมื่นโยชน์  บางต้นล้วนแล้วด้วยผ้า สูงได้ห้าหมื่นโยชน์ บางต้นล้วนแล้วด้วยรัตนะ สูงได้แสนโยชน์ บางต้นล้วนแล้วด้วยรัตนะพร้อมสรรพ สูงได้หมื่นแสนโยชน์ บางต้นล้วนแล้วด้วยรัตนะ สูงได้พันหมื่นโกฏิโยชน์ ที่โคนต้นโพธิทุกต้นได้แต่งตั้งสิงหาสนะ(บรรลังก์มีรูปสิงห์) ไว้ตามสมควร ตกแต่งด้วยผ้าเงินต่างๆ บางต้นแต่งตั้งปัทมาสนะ(อาสนะรูปดอกบัว) บางต้นแต่งตั้งคันธาสนะ(อาสนะไม้จันทน์หอม) บางต้นแต่งตั้งรัตนาสนะ (อาสนะแก้ว)ชนิดต่างๆและพระโพธิสัตว์ทรงเข้าสมาธิชื่อ ลิลิตวยูหะ (ขบวนงาม) และเมื่อพระโพธิสัตว์เข้าสมาธิตามลำดับ พระองค์เข้าสมาธิของพระโพธิสัตว์ ชื่อลลิตวยูหะ ครั้นแล้วในขณะนั้นนั่นแล พระโพธิสัตว์ประทับนั่งบนสิงหาสนะที่โคนต้นโพธิเหล่านั้นทุกต้นทรงแสดงให้ปราฏกด้วยพระการประดับด้วยลักษณะ และอนุพยัญชนะ พระโพธิสัตว์แต่ละองค์ก้บเทวบุตรทั้งหลายรู้กันอย่างนี้ว่า พระโพธิสัตว์องค์ที่ประทับนั่งบนสิงหาสนะเป็นของข้าพเจ้า  ไม่ใช่ของผู้อื่น เทวดาทั้งหลายเหล่านั้น รู้อย่างไร สัตว์นรก สัตว์เดียรัจฉาน ยมโลกทั้งหลาย ก็รู้อย่างนั้น เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้เกิดตามคติและสัตว์ทั้งหลายทั้งหมดด้วยกัน ย่อมมองเห็นพระโพธิสัตว์ประทับอยู่บนสิงหาสนะที่โคนต้นโพธิ

 

      ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ ทรงถือกำหญ้าเสด็จเข้าไปยังต้นโพธิเพื่อให้สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยต่ำเกิดมีความยินดีในความตรัสรู้ ครั้นเสด็จเข้าไปถึงแล้ว ทรงกระทำประทักษินต้นโพธิ 7 รอบ แล้วจึงลาดเครื่องลาดคือหญ้าอันเจริญทุกด้านที่ภายนอกโคนต้นโพธิอันเป็นหลักชัยด้วยพระองค์เอง แล้วทรงนั่งขัดสมาธิเหมือนราชสีห์เหมือนผู้กล้า เหมือนผู้มีกำลังมาก เหมือนผู้มีความเพียรมั่นคง เหมือนผู้มีเรียวแรง เหมือนนาค เหมือนผู้มีอำนาจ เหมือนสวยัมภู(ผู้เป็นเอง) เหมือนผู้ประกอบด้วยชญาน เหมือนผู้ยอดเยี่ยม เหมือนผู้วิเศษ เหมือนผู้สุงส่ง เหมือนผู้มียศ เหมือนผู้มีชื่อเสียง เหมือนผู้ให้ทาน เหมือนผู้ให้ศ่ล เหมือนผู้มีกษานติ เหมือนผู้มีความเพียร เหมือนผู้มีธยาน เหมือนผู้มีปรัชญา เหมือนผู้มีชญาน เหมือนผู้มีบุณย เหมือนผู้กำจัดข้าศึกคือมาร เหมือนสัมภาระ(บารมิตาธรรมเป็นเครื่องอุดหนุน) ทรงประทับนั่งบนเครื่องลาดคือ หญ้านั้น บ่ายพระพักตร์สู่ทิศตะวันออก ตั้งพระกายตรง ตั้งสมฤติเฉพาะหน้า และทรงกระทำสมาทาน(ถือมั่น) มั่นคงเช่นนี้ว่า

 

57 อิหาสเน  ศุษฺยตุ  เม  ศรีรํ

 

ตฺวคสฺถิมำสํ  ปฺรลยํ  จ  ยาตุ

 

อป์ราปฺย  โพธึ  พหุกลฺปทุรฺลภํ

 

ไนวาสนาตฺกายมตศฺจลิษยเต ฯ

 

คำแปล  ร่างกายเรา จงเหือดแห้งไปในอาสนะนี้ และหนัง กระดูก เนื้อ จงถืงความย่อยยับไปเถิด เมื่อยังไม่บรรลุโพธิอันแสนยากที่จะได้ตลอดเวลาหลายกัลป จักไม่เคลื่อนกายและใจ จากอาสนะ ฯ กระนั้นแล ฯ

 

อัธยายที่ 19 ชื่อโพธิมัณฑคมนปริวรรค (ว่าด้วยเสด็จไปสู่ควงไม้โพธิ)ในคัมภีร์ศรีลลิตวิสตร ดั่งนี้แล ฯ

 

20 วิมานควงโพธิ์

 

อัธยายที่ 20

 

โพธิมณฺฑวฺยูหปริวรฺโต  วึศติตมะ

 

ชื่อโพธิมัณฑวยูหะปริวรรต (ว่าด้วยวิมานควงต้นโพธิ)

 

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาชั้นกามาพจรทั้ง 6 ชั้น ได้มายืนอยู่ ณ ทิศตะวันออกเบื้องหน้าของพระโพธิสัตว์ ซึ่งประทับนั่งอยู่ที่ควงต้นโพธิโดยคิดว่าใครๆอย่างทำอันตรายใดๆ แก่ พระโพธิสัตว์ ทิศใต้ ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ก็เช่นเดียวกันเทวดาทั้งหลายได้คอยระวังรักษาอยู่แล้ว

 

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ประทับนั่งแล้วที่ควงต้นโพธิในเวลานั้น  พระองค์ทรงเปล่งรัศมี ชื่อ โพธิสัตวะสัญโจทนี (กระตุ้นเตือนพระโพธิสัตว์) ซึ่งเป็นรัศมีที่ทำให้พุทธเกษตร (เขตแห่งพระพุทธเจ้า) ทั้งปวงมีธรรมธาตุเป็นยอด อันจะประมาณจะนับมิได้ มีอากาศธาตุเป็นที่สุดสว่างไสวในทิศทั้ง 10 โดยรอบ

 

      ครั้งนั้นแล พระโพธิสัตว์ผู้เป็นมหาสัตว์ พระนามว่า ลลิตวยูหะ ถูกรัศมีนั้นกระตุ้นเตือนแล้วจากพุทธเกษตรของพระตถาคตพระนามว่าวิมลประภาส ในโลกธาตุปราศจากมลทินด้านทิศตะวันออก องค์พระโพธิสัตว์ลลิตวยูหะ มีพระโพธิสัตว์ทั้งหลายเกินกว่าที่จะนับแวดล้อมแล้ว ได้นำหน้าเข้าไปที่ควงต้นโพธิและที่พระโพธิสัตว์ประทับ ครั้นแล้ว ได้กระทำการแสดงอย่างยอดยิ่งด้วยฤทธิ์เพื่อทำการบูชาพระโพธิสัตว์ในเวลานั้น พุทธเกษตรทั้งปวงมีอากาศธาตุเป็นที่สุดในทิศทั้ง 10 ได้ปรากฏเป็นเพียงบริเวณเดียวแห่งแก้วไพบูลย์เขียวบริศุทธด้วยการแสดงอย่างยอดยิ่งด้วยฤทธิ์นั้น แสดงให้เห็นพระโพธิสัตว์ประทับนั่งอยู่ที่ควงต้นโพธิ เบื้องหน้าของสัตว์ทั้งหลายผู้เข้ามาถึง (เกิด) คติ 5 (*) สัตว์เหล่านั้นชี้นิ้วไปทางเดียวกันตรงไปยังพระโพธิสัตว์ บอกซึ่งกันและกันว่านี้ใครเป็นสัตว์งามอย่างนี้ นี้ใครเป็นสัตว์สง่าอย่างนี้ พระโพธิสัตว์ทรงนิรมิตซึ่งพระโพธิสัตว์จำลองทั้งหลายไว้เบื้องหน้าของสัตว์ทั้งหลาย (ผู้เข้าถึงคติ 5) เหล่านั้น พระโพธิสัตว์จำลองเหล่านั้นได้กล่าวเป็นคำประพันธ์เหล่านี้ในที่นั้นๆว่า

 

      1 ความนึกคิดที่ถอนความขุ่นมัว คือความรักและความชัง แสงสว่างที่ทำให้กายมีแสงสว่างเปล่งออกไปทั่วทิศทั้ง 10 ทะเลแห่งกัลปที่รวบรวมสมาธิ ชญาน อันเป็นบุณย เจริญแล้ว ของท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น คือพระศากยมุนี มหามุนีองค์ประเสริฐ  ทิศทั้งปวงย่อมรุ่งเรืองๆ ดังนี้แล ฯ

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระโพธิสัตว์ ผู้เป็นมหาสัตว์พระนามว่ารัตนฉัตรกูฎสัตทรรศนะถูกรัศมีนั้นกระตุ้นเตือนแล้วจากพุทธเกษตรของพระตถาคต พระนามว่า รัตนารจิษะ แห่งโลกธาตุซึ่งมีวิมานรัตนะด้านทิศใต้ มีพระโพธิสัตว์ทั้งหลายเกินกว่าที่จะนับแวดล้อมแล้ว ได้นำหน้าเข้าไปที่ควงต้นโพธิและที่พระโพธิสัตว์ประทับ ครั้นแล้วก็กางกั้นสถานที่เฉพาะบริเวณทั้งหมดนั้นด้วยฉัตรแก้วคันหนึ่ง เพื่อกระทำบูชาพระโพธิสัตว์ องค์ศักร พรหม และโลกบาลทั้งหลาย ได้พูดคำนี้ซึ่งกันและกันในที่นั้นว่านี่เป็นผลของอะไร วิมานฉัตรแก้วเช่นนี้ นี้ ปรากฏแล้วด้วยผลอะไร ครั้นแล้วจึงเปล่งคำประพันธ์นี้จากฉัตรแก้วนั้นว่า

 

      2 ใครให้ฉัตรหมื่นพันโกฏิและให้ของหอม ให้รัตนะ ด้วยจิตไมตรีในสัตว์หาประมาณมิได้ ใครดำรงอยู่ในธรรมอันหยุดแล้ว ท่านผู้นี้นั้นมีลักษณะประเสริฐ กระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ มีกำลังเหมือนนารายณ์ ท่านผู้นี้นั้น(พระรัตนฉัตรกูฏสันทรรศนะ) เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งคุณธรรม เข้าไปสู่โคนต้นโพธิเพื่อทำบูชาพระโพธิสัตว์นั้นฯ ดั่งนี้ ฯ

 

      ครั้งนั้นแล พระโพธิสัตว์ผู้เป็นมหาสัตว์พระนามว่า อินทรชาลี  ถุกรัศมีนั้นกระตุ้นเตือนแล้วจากพุทธเกษตรของพระตถาคต พระนามว่าปุษปาวลิวนราชิกสุมิตาภิชญะแห่งโลกธาตุสีดอกจัมปา ด้านทิศตะวันตก มีพระโพธิสัตว์ทั้งหลายเกินกว่าที่จะนับแวดล้อมแล้ว ได้นำหน้าเข้าไปที่ควงต้นโพธิและที่พระโพธิสัตว์ประทับ ครั้นถึงแล้ว ก็คลุมสถานที่เฉพาะบริเวณทั้งหมดด้วยข่ายแก้วผืนหนึ่ง เพื่อกระทำบูชาพระโพธิสัตว์ เทวดา นาค ยักษ์ คนธรรพ์ ทั้งหลาย ในทิศทั้ง 10 ได้พูดกันในที่นั้นอย่างนี้ว่า ขบวนรัศมีเช่นนี้ เป็นของใคร ครั้นแล้ว จึงเปล่งคำประพันธ์นี้จากข่ายแก้วนั้นว่า

 

      3 ธงรัตนะเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะ เป็นที่ยินดีในโลกทั้ง 3สูงกว่ารัตนะมีชื่อเสียงเป็นทียินดี ยินดีแล้วในธรรมดีงาม และผู้ถึงความเพียร จะไม่ตัดซึ่งรัตนะทั้ง 3 (รัตนตรัย) ท่านผู้นั้นถึงซึ่งความประเสริฐ จะบรรลุโพธิบูชาพระโพธิสัตว์นั้น ฯ ดังนี้ ฯ

 

      ครั้งนั้นแล พระโพธิสัตว์ผู้เป็นมหาสัตว์พระนามว่า วยูหราช ถูกรัศมีนั้นกระตุ้นเตือนแล้วจากพุทธเกษตรของพระตถาคต พระนามว่าจันทรสูรยชิหมีกรประภะ แห่งโลกธาตุเป็นที่วนเวียนของดวงอาทิตย์ด้านทิศเหนือ มีพระโพธิสัตว์ทั้งหลายเกินกว่าที่จะนับแวดล้อมแล้วได้นำหน้า เข้าไปสู่ที่ควงต้นโพธิและที่พระโพธิสัตว์ประทับ ครั้นแล้ว แสดงขบวนคุณแห่งพุทธเกษตรทั้งหมดเหล่านั้นในสถานที่เฉพาะบริเวณนั้นในโลกธาตุทั้งปวง จนทั่วทิศทั้ง 10 มีพระโพธิสัตว์ทั้งหลายบางองค์กล่าวในที่นั้นอย่างนี้ว่า

 

      4 ใครชำระกายให้สะอาด้วยบุณยและชญานจำนวนมาก ใครชำระวาจากให้สะอาด ด้วยพรตและตบะ ด้วยสัตยธรรม ใครชำระจิตให้สะอาดด้วยหิริ(ความละอายบาป) และธฤติ(ความมั่นคง) ด้วยกรุณาและไมตรี ท่านผู้นี้นั้น เข้าไปสู่ต้นโพธิบูชาพระศากยผู้เลิศดังนี้ ฯ

 

      ครั้งนั้นแล พระโพธิสัตว์ผู้เป็นมหาสัตว์พระนามว่า คุณมติ ถูกรัศมีนั้นกระตุ้นเตือนแล้วจากพุทธเกษตรของพระตถาคต พระนามว่า คุณราชประภาสะ แห่งโลกธาตุอันเป็นบ่อเกิดคุณธรรมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีพระโพธิสัตว์ทั้งหลายเกินกว่าที่จะนับแวดล้อมแล้วได้นำหน้า เข้าไปสู่ที่ควงต้นโพธิและที่พระโพธิสัตว์ประทับ ครั้นแล้วนิรมิตเรือนยอดเป็นขบวนแห่งคุณธรรมทั้งปวงในสถานที่เฉพาะบริเวณนั้น เพื่อกระทำบูชาพระโพธิสัตว์ บริวารทั้งหลายของพระโพธิสัตว์องค์นั้น ได้กล่าวอย่างนี้ว่า

 

      5 เทวดา อสูร ยักษ์ งูใหญ่ ทั้งหลาย ประกอบด้วยกลิ่นหอมคือคุณธรรมอยู่เสมอ ด้วยคุณทั้งหลายของท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น เป็นผู้มีคุณธรรมยังตระกูลแห่งความรุ่งเรืองด้วยคุณธรรมให้เกิดขึ้น เป็นทะเลแห่งคุณธรรมได้เข้าไปแล้วที่กกโพธิฯ ตั่งนี้ ฯ

 

      ครั้งนั้นแล พระโพธิสัตว์ผู้เป็นมหาสัตว์พระนามว่า รัตนสัมภาวะ ถูกรัศมีนั้นกระตุ้นเตือนแล้วจากพุทธเกษตรของพระตถาคต พระนามว่า รัตนยัษฏิ แห่งโลกธาตุเป็นแดนเกิดรัตนะ ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีพระโพธิสัตว์ทั้งหลายเกินกว่าที่จะนับแวดล้อมแล้วได้นำหน้า เข้าไปสู่ที่ควงต้นโพธิและที่พระโพธิสัตว์ประทับ ครั้นแล้ว นิรมิตปราสาทรัตนะนับจำนวนไม่ถ้วนในสถานที่เฉพาะบริเวณนั้น เพื่อกระทำบูชาพระโพธิสัตว์และได้เปล่งคำประพันธ์นี้ออกมาจากปราสาทรัตนะนั้นว่า

 

      6 ท่านผุ้ใดสละแผ่นดิน พร้อมทั้งมหาสมุทร และสละรัตนะทั้งหลายเป็นอันมาก และสละปราสาท ตำหนักมีหน้าต่าง และยาน(*) ทั้งหลายอันเทียมแล้ว และปราสาทที่สร้างแล้ว พวงมาลัยดอกไม้อย่างงาม สวนสระน้ำและสภา(ที่ประชุม) ท่านผู้นั้น มีมือ มีเท้า มีศีรษะ มีตา ยืนอยู่แล้วที่ควงต้นโพธิ ฯ ดังนี้ ฯ

 

* ในฉบับราเชนทรลาลมิตรว่า ยานมีม้าเทียมทั้งคู่

 

      ครั้งนั้นแล พระโพธิสัตว์ผู้เป็นมหาสัตว์พระนามว่า เมฆกูฏาภิครรชิตสวระ ถูกรัศมีนั้นกระตุ้นเตือนแล้วจากพุทธเกษตรของพระตถาคต พระนามว่าเมฆราช แห่งโลกธาตอันมีเมฆ ในทิศตะวันตก  มีพระโพธิสัตว์ทั้งหลายเกินกว่าที่จะนับแวดล้อมแล้วได้นำหน้า เข้าไปสู่ที่ควงต้นโพธิและที่พระโพธิสัตว์ประทับ ครั้นแล้ว นิรมิตเมฆขนาดหนักเป็นไปตามฤดูกาล ยังฝนผงไม้จันทน์อุรคสาร ให้ตกลงในสถานที่เฉพาะบริเวนนั้น เพื่อกระทำบูชาพระโพธิสัตว์ และเปล่งคำประพันธ์นี้ออกมาจากเมฆนั้นว่า

 

      7 เมฆคือธรรม เขยื้อนแล้ว แสงสว่างน้อมไปในวิทยาในไตรภพทั้งปวง ฝนคือสัทธรรมและวิราคะ (ความปราศจากกำหนัด) และอมฤตะอันระคนเคล้านิรวาณ ตกลงแล้ว ท่านผู้นั้นจะตัดเถาวัลย์เครื่องผูกมัดคือราคะเกลศทั้งปวง ซึ่งเป็นความคิดนึกในใจ ท่านถูกฤทธิ์แห่งธยานแห่งพละ และแห่งอินทรีย์ทั้งหลายทำให้บานแล้ว จะถวายการกระทำด้วยศรัทธา ฯ ดังนี้ ฯ

 

      ครั้งนั้นแล พระโพธิสัตว์ผู้เป็นมหาสัตว์พระนามว่า เหมชาลาลังกฤต ถูกรัศมีนั้นกระตุ้นเตือนแล้วจากพุทธเกษตรของพระตถาคต พระนามว่ารัตนัจฉัตราภยุทคตาวภาสะ แห่งโลกธาตุอันปกคลุมด้วยข่ายทองในทิศเหนือ มีพระโพธิสัตว์ทั้งหลายเกินกว่าที่จะนับแวดล้อมแล้วได้นำหน้า เข้าไปสู่ที่ควงต้นโพธิและที่พระโพธิสัตว์ประทับ ครั้นแล้วนิรมิตพระโพธิสัตว์จำลองประดับด้วยลักษณะ 32 ประการในเรือนยอดและปราสาทรัตนะนั้นๆทั้งปวง เพื่อกระทำบูชาพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์จำลองทั้งหมดนั้นถือพวงมาลัยดอกไม้เป็นของแทวดาและของมนุษย์น้อมกายเข้าไปยังพระโพธิสัตว์ประทับ ห้อยพวงมาลัยเหล่านั้นไว้แล้ว พระโพธิสัตว์จำลองเหล่านั้น ได้กล่าวคำประพันธ์เหล่านี้ว่า

 

      8 ท่านผู้ใด สรรเสริญพระพุทธเจ้าในอดีตตึ้งหมื่น ยังศรัทามากให้เกิดขึ้นด้วยความเคารพ กล่าวคำไพเราะดังว่าเสียงกังวาลของพรหม เข้าไปสู่ควงไม้โพธิข้าพเจ้าขอนมัสการท่านผู้นั้น เหนือศีรษะ ฯ ดังนี้ ฯ

 

      ครั้งนั้นแล พระโพธิสัตว์ผู้เป็นมหาสัตว์พระนามว่า รัตนครรภ ถูกรัศมีนั้นกระตุ้นเตือนแล้วจากพุทธเกษตรของพระตถาคต พระนามว่า สมันตทรรศินะ แห่งโลกธาตุอันเห็นได้รอบด้าน ในทิศเบื้องต่ำมีพระโพธิสัตว์ทั้งหลายเกินกว่าที่จะนับแวดล้อมแล้วได้นำหน้า เข้าไปสู่ที่ควงต้นโพธิและที่พระโพธิสัตว์ประทับ ครั้นแล้ว แสดงดอกบัวทองชมพูนท ผุดขึ้นในสถานที่เฉพาะบริเวณล้อมแล้วด้วยแก้วไพฑุรย์นั้น เพื่อกระทำบูชาพระโพธิสัตว์แสดงเป็นหญิงครึ่งตัวนั่งอยู่ในฝักบัวเหล่านั้น มีรูปร่างงาม ประดับด้วยเครื่องประดับพร้อมสรรพ มือทั้งหลาย ทั้งซ้าย ขวา ประคองเครื่องประดับต่างๆ เช่นเป็นต้นว่ากำไลทอง สายสร้อย มุกดาหารร้อยเชือกทอง น้อมกายเข้าไปยังควงไม้โพธิและที่พระโพธิสัตวืประทับ ห้อยพวงมาลัยกลีบดอกไม้ หญิงเหล่านั้นได้กล่าวคำประพันธ์เหล่านี้ว่า

 

      9 ท่านผู้ใดมีความเคารพครู พระพุทธเจ้า พระสาวก และพระปรัตเยกพุทธทุกเมื่อ ท่านผู้นั้น ปราศจากมานะ มีศีลดีงาม เที่ยงตรง เป็นผู้นำทุกเมื่อ และนอบน้อมพระโพธิสัตว์ผู้ทรงพระคุณนั้น ฯ

 

      ครั้งนั้นแล พระโพธิสัตว์ผู้เป็นมหาสัตว์พระนามว่า คคนคัญชะ ถูกรัศมีนั้นกระตุ้นเตือนแล้วจากพุทธเกษตรของพระตถาคต พระนามว่า คเณนทระแห่งโลกธาตุซึ่งมีท้องฟ้าอันประเสริฐในทิศเบื้องบน มีพระโพธิสัตว์ทั้งหลายเกินกว่าที่จะนับแวดล้อมแล้วได้นำหน้า เข้าไปสู่ที่ควงต้นโพธิและที่พระโพธิสัตว์ประทับ ครั้นแล้ว ได้มีดอกไม้ เครื่องเผา(ธูป) ของหอม พวงมาลัย เครื่องชโลมทา ผงไม้จันทน์หอม จีวร ผ้า เครื่องประดับ ฉัตร ธงชัย ธงปตาก ธงหางยาว รัตนะ มณี  ทองเงิน มุกดาหาร พลม้า พลช้าง พลรถ พลราบ ยานพาหนะ ต้นไม้มีดอก เด็กชาย เด็กหญิงถือใบไม้ ดอกไม้ ผลไม้ อันไม่เคยเห็นและไม่เคยได้ยิน มีอยู่ในพุทธเกษตรทั้งปวง กระทั่งในทิศทั้ง 10 ตั้งอยู่ในอากาศ เพื่อกระทำบูชาพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ทั้งปวงได้ยังฝนดอกไม้ให้ตกจากพื้นอากาศห่าใหญ่ แก่ เทวดา นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครุฑ กินนร งูใหญ่ องค์ศักรพรหมเทพโลกบาล มนุษย์ อมนุษย์ และทำให้เกิดปีติและความสุขแก่สัตว์ทั้งปวง และไม่กระทำภัยหรือเบียดเบียนแก่สัตว์ใดๆเลย

 

ในที่นี้มีคำกล่าวไว้ว่า

 

      10 โอรสของพระพุทธทั้งหลายใดในทิศทั้ง 10 โอรสเหล่านั้นย่อมมีโดยนัยพิศดาร เข้าเฝ้าพระโพธิสัตว์ เพื่อบูชาพระโพธิสัตว์ผู้กระทำประโยชน์ในที่นี้พึงทราบความเปรียบเทียบของโอรสของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น ผู้มีการก้าวหน้าและถอยหลังอย่างองอาจดี ฯ

 

      11 และใครมาแล้วในท้องฟ้า คำรามเหมือนฟ้าร้อง ห้อยพวงไข่มุกตั้งพันหมืน และใครมาแล้วทรงมกุฏมียอดห้อยรัตนะ แสดงวิมานล้วนแล้วด้วยดอกไม้อากาศ ฯ

 

      12 และใครมาแล้ว บันลือเสียงเหมือนราชสีห์ขนแผ่นดินบันลือเสียง เสียสละด้วยศูนยวิโมกษ(*) อนิมิตตวิโมกษ(**) อปรณิธิวิโมกษ(***)และใครมาแล้ว มีความร่าเริงเหมือนวัวคะนอง ใครๆเหล่านั้น โปรยดอกไม้งามซึ่งไม่เคยเห็นแล้ว ฯ

 

* ศูนยวิโมกษ - พ้นโดยถือว่าทุกสิ่งศูนยหมด
** อนิมิตตวิโมกษ - พ้นโดยถือว่าไม่มีเครื่องหมายหรือไม่มีตัวการณ์ 

*** อปรณิธิวิโมกษ - พ้นโดยถือว่า ไม่มีที่ตั้ง 

      13 และใครมาแล้วร้องดังในอากาศเหมือนกวางร้อง แสดงตนเองตั้งพันชนิด และใครมาแล้ว เต็มเปี่ยมเหมือนดวงจันทร์ในท้องฟ้า เรียกหาคุณอันเป็นเครื่องประดับของบุตรพระสุคต ฯ

 

      14 และใครมาแล้ว เปล่งรัศมีเหมือนดวงอาทิตย์ กระทำพิภพของมารทั้งหมดให้บิดเบี้ยว และใครมาแล้ว มีธงปราศจากมลทินเหมือนคทาขององค์อินทร์ บัดนี้สะสมบุณยสมภารอยู่ที่ควงต้นโพธิฯ

 

      15 บางพวกก็ทอดแหแก้วมณีลงมาจากอากาศงามเหมือนดวงจันทร์เปล่งรัศมีอ่อนๆซึ่งเป็นจันทร์งาม บ้างก็โปรยดอกมันทารพ พวงมาลัย ดอกมะลิ และดอกจัมปา เฉพาะพระโพธิสัตว์ผู้ประทับอยู่ที่ควงต้นโพธิ ฯ

 

      16 และใครมาแล้ว แผ่นดินกระเทือน แผ่นดินไหว ด้วยการเดิน ทำความปรีติให้แก่ประชาชน และใครมาแล้ว แบกภูเขาเมรุด้วยฝ่ามือ ยกกระพุ่มดอกไม้ขึ้นวางไว้บนอากาศ ฯ

 

      17 ใครมาแล้ว ทูนมหาสมุทรทั้ง 4 ไว้บนศีรษะ ยกแผ่นดินขึ้นรดด้วยน้ำหอมอันประเสริฐ และใครมาแล้วถือคทารัตนะอันงาม เข้าไปเฝ้า พระโพธิสัตว์ยืนอยู่ในที่ไกล ฯ

 

      18 และใครมาแล้ว เป็นพรหม  มีสภาพสงบเสงี่ยม มีความสงบ มีใจสงบเสงี่ยม เข้าธยานยืนอยู่ เปล่งเสียงอย่างจับใจออกจากขุมขนของเขาเหล่านั้น มีไมตรี กรุณา มุทิตา อุเบกษา เป็นเกณฑ์ ฯ

 

      19 และใครมาแล้ว เหมือนพระพาย และเหมือนองค์ศักร เขาเหล่านั้นอันเทวดาทั้งหลายตั้งพันหมื่นยกให้นำหน้า เข้าไปที่กกต้นโพธิ ประคองอัญชลี แสดแก้วมณีงามเกี่ยวเนื่องติดต่อกับองค์ศักร ฯ

 

      20 และใครมาแล้ว เหมือนผู้รักษาทิศทั้ง 4 มีคนธรรพ์รากษส กินนรทั้งหลายแวดล้อมแล้ว แจ่มแจ้งด้วยสายฟ้า ยังฝนดอกไม้ให้ตกอยู่ สรรเสริญพระโพธิสัตว์ผู้วีรบุรุษด้วยเสียงร้องของคนธรรพ์และกินนร ฯ

 

      21 และใครมาแล้ว ประคองต้นไม้ที่มีดอกมีผล ประกอบกับกำลังส่งกลิ่นหอมอันประเสริฐของตอกไม้ เป็นผู้รู้ มีกายบริศุทธ ดำรองอยู่ตามสภาพนั้นๆประดับแล้ว คอยซัดดอกไม้อยู่ ฯ

 

      22 และใครมาแล้ว เด็ดดอกไม้ไปถือไว้ พร้อมด้วยดอกบัวหลวง บัวอุบล(บัวสาย) และบัวบุณฑริก(บัวขาว) ทรงไว้ซึ่งลักษณะดี 32 ประการ ดำรงอยู่ในกลีบดอกบัวหลวง มีใจไม่เปรอะเปื้อน เป็นผู้รู้สรรเสริญพระโพธิสัตว์ฯ

 

      23 และใครมาแล้ว มีกายใหญ่โตเหมือนเขาเมรุ ยืนอยู่บนอากาศสละตนเอง ซัดพวงมาลัยดอกไม้เป็นอัตรา ปกคลุมเนื้อที่ตั้งพันเกษตร(ทุ่งนา) ของพระชิน ฯ

 

      24 และใครมาแล้ว มีไฟประลัยกัลปอยู่ในนัยน์ตาทั้ง  2 อับทั้งแสดงความเสื่อมและความเจริญ ประกาศความสุขเพราะประพฤติธรรมมากในร่างกายของเขาเหล่านั้น สัตว์จำนวนหมื่นได้ยินคำประกาศนั้นแล้ว ต่างก็ละตฤษณาทั้งหลาย ฯ

 

      25 และใครมาแล้ว มีเสียงกังวาลเสมอด้วยเสียงกินนร มีปากงาม(แดง) เหมือนตำลึงสุก มีใบหน้าอิ่มเอิบเหมือนนางสาวประดับดีแล้ว มีไข่มุกงาม หมู่เทวดามองดูแล้วไม่อิ่ม ฯ

 

      26 และใครมาแล้ว มีกายไม่แตกสลายเหมือนกายเพชร กายเบื้องล่างใช้เท้าที่เดินได้ยืนหยุดอยู่ และใครมาแล้ว มีหน้าอิ่มเอิบเหมือนดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ มีรัศมีสว่างเหมือนแสงดาว กำจัดโทษคือเกลศ ฯ

 

      27 และใครมาแล้ว ประดับด้วยรัตนะ มีรัตนะในฝ่ามือ ปกคลุมพื้นที่เป็นอันมาก ตั้งพันโกฏิเกษตร(ทุ่งนา) ยังฝนคือรัตนะประเสริฐและดอกไม้มีกลิ่งหอมดียิ่งให้ตก เพื่อสรรเสริญพระโพธิสัตว์ผู้มีประโยชน์แก่สัตว์จำนวนมาก เพื่อความสุข ฯ

 

      28 และใครมาแล้ว เป็นคลังรัตนะในแผ่นดินใหญ่ มีขนตั้งหมื่นเส้นสว่างอยู่ มีประติภาน มีความคิด มีความรู้ดี ปลุกประชุมผู้มัวเมา ประมาท ฯ

 

      29 และใครมาแล้ว ถือกลองใดเท่าภูเขาเมรุ ตีกลองดังกึกก้องจับใจในอากาศ ซึ่งมีเสียงดังไปไกลในทิศทั้ง 10 ตั้งโกฏิเกษตร(ทุ่งนา)ว่า วันนี้พระศาสดาจะตรัสรู้ตามลำดับ เพื่อตรัสรู้อมฤตะ ฯ ดังนี้ ฯ

 

อัธยายที่ 20ชื่อโพธิมัณฑวยูหะปริวรรต (ว่าด้วยวิมานควงต้นโพธิ) ในคัมภีร์ศรีลลิตวิสตร ดั่งนี้แล ฯ

 

21 มารรังควาน

 

อัธยายที่ 21

 

มารธรฺษณปวรฺต  เอกวึศะ

 

ชื่อ มารธรรษณปริวรรต (ว่าด้วยการรังควานของมาร)

 

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิมานเช่นนี้ พระโพธิสัตว์ทั้งหลายทำขึ้นแล้วที่ควงไม้โพธิ เพื่อทำการบูชาพระโพธิสัตว์ และพระโพธิสัตว์ก็ได้เห็นวิมานที่ประดับควงต้นโพธิทั้งหมด ที่ควงต้นโพธินั้นในพุทธเกษตรทั้งปวงของพระพุทธผู้มีภคะในอดีต อนาคต และปรัตยุบัน ทั่วทั้ง 10 ทิศ ด้วยพระองค์เอง

 

      ครั้งนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เมื่อพระโพธิสัตว์ประทับนั่งอยู่ที่ควงต้นโพธิ ได้มีปริวิตกนี้ว่า มารชั่วร้าย เป็นใหญ่ มีอิสระ มีอำนาจ มีอยู่ในกามธาตุ(*)นี้แล มันไม่สมควรแก่เราซึ่งเราจะตรัสรู้อนุตตรสัมยักสัมโพธิ เพราะมันไม่รู้ ไฉนหนอ เราจะตักเตือนมารชั่วร้ายได้ สัตว์ทั้งปวง เช่นเทวดาชั้นกามาพจร เป็นต้น ในอาณาจักรนั้นจะถูกมันบำราบ อีกประการหนึ่ง เทวบุตรในชั้นมารที่เป็นพวกของมาร แต่มีกุศลมูลได้ปลูกฝังไว้ก่อน เทวบุตรเหล่านั้น เห็นเรามีท่าทางเยื้องกรายเหมือนราชสีห์ ก็จะทำจิตนึกถึงอนุตตรสัมยักสัมโพธิ

 

*กามธาตุ คือ โลกที่มีกามเป็นพื้น หรือโลกที่ประกอบด้วยอารมณ์กามคุณ คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

 

      ครั้งนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ทรงคิดอย่างนี้แล้ว จึงเปล่งรัศมีดวงหนึ่ง ชื่อ รัศมีกำจัดมณฑลสรรพมาร ออกจากขุมพระอุณาโลม(ขนอ่อน)ที่อยู่ระหว่างพระโขนง ซึ่งเป็นรัศมีที่ฉวัดเฉวียนเขย่าแสงสว่างในพิภพของมารทั้งปวงในโลกธาตุ คือเทวโลก และมนุษยโลกให้สั่นสะเทือน และรัศมีนี้ ได้แผ่ไปด้วยแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งในโลกธาตุคือเทวโลกและมนุษยโลกทั่วไป และมารชั่วร้ายได้ยินเสียงเช่นนี้ด้วยแสงสว่างนั้น ดั่งนี้ว่า

 

      1 จริงอยู่ในโอรสของพระราชาศุทโธทนะเป็นสัตว์บริศุทธยิ่งประพฤติสะสมบารมิตานับจำนวนด้วยกัลป ได้สละราชสมบัติแล้ว พระองค์เสด็จออกแล้ว ทรงกระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์มุ่งต่ออมฤตะ วันนี้เสด็จเข้าไปสู่พุ่มต้นโพธิทรงกระทำความเพียร ฯ

 

      2 พระองค์ข้ามด้วยตนเองแล้ว ยังผู้อื่นให้ข้ามด้วย พระองค์พ้นด้วยตนเองแล้ว ยังผู้ให้พ้นด้วย พระองค์ปลอดโปร่งด้วยตนเองแล้ว ยังผู้อื่นให้ปลอดโปร่งด้วย พระองค์หยุดตนเองแล้ว ยังผู้อื่นให้หยุดด้วย ฯ

 

      3 พระองค์ทรงกระทำให้อบายทั้ง 3 ว่างเปล่าโดยไม่เหลือ จะทรงกระทำให้บุรีเต็มไปด้วยมนุษย์ผู้กล้าหาญ พระองค์จะประทาน ชญาน อภิชญา อมฤตะเป็อย่างยอด และความสุข พระองค์ทรงกระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ได้รับอมฤตะ ฯ

 

      4 ดูกรมาร พระองค์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระกฤษณะ จะทรงกระทำบุรีของท่านให้ว่างเปล่า ทรงกระทำผู้ไม่มีกำลัง ผู้เสื่อมกำลังให้เป็นผู้มีกำลัง ผู้ไม่มีพรรคพวกให้เป็นผู้มีพรรคพวก ท่านจะไม่รู้ว่า เราไปไหน หรือเราทำอะไร ในคราวที่พระสวยัมภู(พระผู้เป็นเอง คือพระพุทธ) ทรงโปรยฝนคือธรรม ด้วยพระองค์เอง ฯ

 

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย มารชั่วร้ายได้รับคาถาเป็นเครื่องกระตุ้นเตือนนี้ กระตุ้นเตือนแล้ว ได้หลับฝันเห็นลักษณะ 32 ประการ ลักษณะ 32 ประการนั้น คืออะไร นั่นคือ ได้เห็นพิภพของตนเต็มไปด้วยความมืด  เห็นพิภพของตนเกลื่อนกล่นไปด้วยก้อนกรวดและก้อนหิน เห็นตนเองมีความสะดุ้งกลัว หวาดหวั่นหนีไปในทิศทั้ง 10 เห็นตนเองมีมกฏหล่น ตุ้มหูแตกละเอียด เห็นตนเองมีริมฝีปากคอ และเพดานแห้งผาก เห็นตนเองมีดวงใจร้อนรน เห็นอุทยานมีใบไม้ดอกไม้และผลไม้เหี่ยวแห้ง เห็นสระบัวปราศจากน้ำ แห้งแล้ง เห็นฝุงนกในที่นี้ เช่น หงส์ นกกระเรียน นกยูง นกการเวก นกดุเหว่า นกกรทาดง เป็นต้น มีปีกยับยี่ เห็นเครื่องดนตรีทั้งหลาย เช่น กลองใหญ่ ศังข์ กลองเล็ก กลองรบ พิณกลาง พิณใหญ่ พิณเล็ก และเครื่องประกอบการตี เป็นต้น แตกสลาย ตกลงที่พื้นดิน เห็นผู้ที่รักและบริวาร ละทิ้งมาร (ตนเอง) มีหน้าสลด ปลีกตนไป ซบเซาอยู่ เห็นอัครมเหษี และนางมารตกจากที่นอนลงไปยังพื้นดินเอามือทั้ง 2บีบขมับ เห็นผู้ซึ่งเป็นบุตรของมาร(ของตน)มีความเพียรที่สุด มีกำลังที่สุด มีเดชที่สุด และมีปรัชญาที่สุด กำลังนมัสการพระโพธิสัตว์นั้น ซึ่งเสด็จไปสู่ควงต้นโพธิอันประเสริฐเลิศ เห็นลูกสาวของตนคร่ำครวญอยู่ว่า โธ่พ่อ โธ่พ่อ เห็นตนมีเสื้อผ้าและร่างกายหม่นหมอง เห็นตนเองมีศีรษะโรยฝุ่นและมีสีเหลืองซูบซึดปราศจากสง่าราศี เห็นตำหนักเรือนยอดหน้าต่างซุ้มประตูสกปรก ด้วยธุลีตกลง เห็นผู้ซึ่งเป็นเสนาบดีของมาร(ของตน) และยักษ์รากษสกุมภัณฑ์  คนธรรพ์ผู้เป็นใหญ่ทั้งหมดเหล่านั้นเอามือกุมศีรษะร้องไห้คร่ำครวญหนีไป และเทวดาผู้ซึ่งเป็นใหญ่ในเทพชั้นมามาพจรทั้งหลายเหล่านั้น คือ ธฤตราษฏร วิรูฒกะ วิรูปากษะ ไวศรวณะ องค์ศักร สยามะ สันตุษิตะ สุนิรมิตะ วศวรรดี เป็นต้น มารชั่วร้ายได้เห็นเทวดาเหล่านั้นทั้งหมดอ่อนน้อมพร้อมทั้งหันหน้าไปทางพระโพธิสัตว์ และดาบของมารนั้น(ของตนเอง)ไม่มีฝักในท่ามกลางสนามรบ เห็นตนเองถูกสบประมาท ไม่มีความดีงาม เห็นตนเองถูกบริวารของตนทอดทิ้ง เห็นหม้อที่เต็มไปด้วยสิ่งเป็นมงคลตกที่ประตู เห็นพราหมณ์นารท และได้ยินเสียงที่ไม่เป็นมงคล เห็นนายประตูผู้มีความสุข และพูดให้ได้ยินเสียงอันไม่เป็นสุข เห็นท้องฟ้าเต็มไปด้วยความมืด เห็นพระศรี(พระลักษมี) ผู้อาศัยอยู่ในชั้นกามภพร้องไห้  เห็นความเป็นใหญ่ของตนสิ้นความเป็นใหญ่เสียแล้ว เห็นพรรคพวกของตนไม่ได้เป็นพรรคพวกเสียแล้ว เห็นข่ายแก้วมณีมุกดา อยู่ดีๆตกลงมาแตกสลาย เห็นพิภพมารทั้งหมดไหวหวั่น และได้เห็นต้นไม้ถูกตัดล้มลงมากั้นไว้ และได้เห็นขบวนเสนามารทั้งหมดล้มลงต่อหน้า

 

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย มารชั่วร้าย ได้หลับฝันเห็นลักษณะ 32 ดั่งกล่าวมานี้ ครั้นตื่นขึ้นแล้วมีความสะดุ้งกลัว หวาดหวั่น จึงประชุมบริวารทั้งหมด ครั้นรู้ว่า เสนาบดี นายประตูพร้อมด้วยกำลังและหมู่คณะเหล่านั้นประชุมกันแล้ว จึงได้กล่าวด้วคำเป็นบทประพันธ์เหล่านี้ว่า

 

      5 มารครั้นเห็นความฝันแล้ว มีความเดือดร้อนด้วยความทุกข์ เรียกผู้ซึ่งเป็นบุตรและบริวารกับทั้งเสนาบดีมารซึ่อสีหหนุมาแล้ว มารผู้เป็นเฝ่ากฤษณะถามมารทั้งปวงเหล่านั้นว่า ฯ

 

      6 เพลงที่แต่งด้วยคำประพันธ์เราได้ยินจากอากาศในวันนี้ว่า พระโพธิสัตว์ผู้มีอวัยวะงามด้วยลักษณะประเสริฐ เกิดแล้วในตระกุลศากยทั้งหลาย ประพฤติพรต ยากที่จะทำได้อย่างรุนแรงตลอด 6 ปี กระทำความเพียรมาแล้ว เข้าไปสู่พุ่มต้นโพธิ ฯ

 

      7 ถ้าหากว่า พระโพธิสัตว์นั้น ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองแล้ว ก็จะยังสัตว์เป็นอันมากตั้งหมื่นโกฏิให้ตรัสรู้ พระโพธิสัตว์นั้นจะกระทำพิภพของเราให้ว่างเปล่าไม่เหลือเลยในคราวที่พระองค์ได้รับอมฤตะอันสัมผัสความเยือกเย็น ฯ

 

      8 ถ้ากระไร เราพร้อมด้วยกำลังไพร่พลเป็นอันมากไปฆ่าศรมณะนั้นที่โคนต้นโพธิต้นหนึ่ง เร็วเข้าเถิด ท่านจงระดมเสนา 4 เหล่า ถ้าท่านปรารถนาจะเป็นที่รักของเรา อย่าชักช้า ฯ

 

      9 โลกเต็มไปด้วยพระปรัตเยกพุทธ และพระอรหันต์ทั้งหลายยังสัตว์ทั้งหลายให้ดิบสนิท กำลังของเราไม่มี กำลังของเราอ่อนแอ พระศรมณะนั้นจะเป็นธรรมราชา ถึงซึ่งความชนะอีกองคืหนึ่ง วงศ์ของพระชินนั้นไม่ถ้วน จะไม่ขาดสายเลย ฯ

 

      ครั้งนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุตรของมารผู้หนึ่งชื่อ สารถวาหะ เขาได้พูดกับมารชั่วร้ายด้วยคำเป็นบทประพันธ์ว่า

 

      10 ข้าแต่พ่อ ทำไมพ่อมีหน้าแปลกไป หน้าของพ่อซีดเซียว ดวงใจเลื่อนลอย ร่างการของพ่อสั่น พ่อได้ยินอะไรมา หรือเห็นอะไรมา บอกเร็วหน่อยซิพ่อ ลูกรู้ความจริงแล้ว จะได้คิดให้ถูกกับเหตุการณ์ ฯ

 

      11 มารได้ฟังแล้ว จึงพูดว่า ฟังซิ ลูกของพ่อ พ่อเห็นความฝันชั่วร้าย น่ากลัวอย่างยิ่ง วันนี้พ่อจะเล่าความฝันทั้งหมดในที่ประชุมนี้ไม่ให้เหลือ พวกลูกทั้งหลายจะตกตะลึกล้มลงที่พื้นดิน ฯ

 

สารถวาหะ พูดว่า

 

      12 ในเวลารบกัน ถ้าชนะ ก็ไม่มีโทษ แต่ถ้าในเวลารบกัน ผู้ใดถูกฆ่าตาย ผู้นั้นมีโทษ  ส่วนพ่อ เห็นนิรมิตอย่างนี้ในระหว่างฝัน มุ่งต่อความเจริญ ขออย่าถึงความเสื่อมในการรบเลย ฯ

 

มารได้พูดว่า     

 

      13 ความรู้ของผู้ซึ่งเป็นไปในความมั่นคง เป็นประสิทธิภาพ(ความสำเร็จผล) ในสงครามของคน ถ้าไม่ชักช้า มีความมั่นคง ทำกิจไว้ดีแล้วยังไม่ชนะ ความเห็นของเราพร้อมทั้งบริวารจะมีอำนาจอะไร เราจะไม่ยกเท้าขึ้นวางบนศีรษะของเรา ฯ

 

สารถวาหะ พูดว่า

 

      14 จริงอยู่ กำลังไพร่พลจะมีกว้างขวาง แต่อ่อนแอมาก  ผู้กล้าหาญ มีกำลัง ไม่ย่อท้อในการสู้รบ มีคนเดียวก็ยังเอาชนะได้ ถ้าเทวโลกเต็มไปด้วยแสงหิ่งห้อย ดวงอาทิตย์ดวงเดียว ทำการเปล่งรัศมี ก็ย่อมทับแสงหิ่งห้อยนั้นได้ ฯ

 

      15 ผู้ใดมีมานะ(ถือตัว) มีโมหะ (ความโง่) และไม่มีปรัชญา เครื่องพิจารณา บางที่เขาไม่อาจวางยารักษา (เอาชนะ) ผู้ปราศจากโลภ ผู้มีปรัชญาได้ ฯ

 

      กระนี้และ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มารชั่วร้าย  ทำตามคำของสารถวาหะ จัดเสนามีองค์ 4 ขนาดใหญ่ เลือกที่เป็นนักเลงกล้าหาญในสงครามมีกำลังมาก น่ากลัว เป็นที่ขนลุกขนพอง เทวดาและมนุษย์ไม่เคยเห็นไม่เคยได้ยินมาแล้ว เปลี่ยนแปลงหน้าตาด้วยวิธีต่างๆมีอาการแปลกๆตั้งหมื่นแสนโกฏิ มีหัวเป็นนาคตั้งร้อย มือและเท้าตั้งพัน ร่างกายคดค้อม โพกศีรษะ ถือดาบ ธนู ลูกศร หอก โตมร(กระบองเหล็ก) ขวาน หอกใบข้าว สากตำข้าวซึ่งใช้เป็นอาวุธ ไม้กระบอง บ่วง คทา(กระบองสั้นปลายเป็นลูกตุ้ม) จักร วัชระ(ตรีศูลหรือสามง่าม) และหลาวเหล็ก มีกายสวมเสื้อเกราะอย่างดี มีศีรษะ มือ เท้า ตา อันแปลกประหลาด ศีรษะ ตา ปาก มีไฟลุกโพลง ท้อง ฝ่ามือ เท้า พิปริต ใบหน้ามีไฟพลุ่งขึ้น หน้าตาผิดแปลกที่สุด ฟันประหลาดซี่ใหญ่ๆแลบลิ้น เป็นแผ่นหนากว้างมาก ลิ้นยาวเหมือนงวงช้าง กว้างเหมือนแผ่นเสื่อ ตาแดงก่ำเต็มไปด้วยพิษร้ายแห่งงูเห่าเหมือนกาบจะลุกออกมาเป็นไฟ ในพวกนั้น บ้างก็คายพิษงูออกมา บ้างก็กอบพิษงูเอามากิน บ้างก็ทิ้งเนื้อ เลือด มือ เท้า ศีรษะ ตับ ไส้พุง ขี้ ของมนุษย์เอามากินเหมือนครุฑโฉบนาคจากมหาสมุทร บ้างก็มีรูปแปลกสูงใหญ่น่ากลัมีสีน้ำตาล สีดำ สีเขียว สีแดง สีดำแดง มีไฟลุกไพลง บ้างก็ถอนขนลุกเป็นไฟ จากขุมขนอันแปลกประหลาด ทำชำเลืองตาผิดปกติ บ้างก็มีตาผิดปกติ มีไฟลุกล้อมรอบ บ้างก็ยกภูเขาซึ่งลุกเป็นไฟขึ้นมาวางทับภูเขาบนลูกอื่นด้วยคะนอง บ้างก็ถอนต้นไม้ทั้งรากทั้งโคนวิ่งตรงมายังพระโพธิสัตว์ บ้างก็มีหูเหมือนแพะ มีหูเหมือนกระด้ง มีหูเหมือนหูช้าง มีหูยาน มีหูเหมือนหูหมู บ้างก็มีหูเหมือนหมาป่า บ้างก็ท้องป่องเหมือนท้องมาน ไม่มีเรี่ยวแรง นิรมิตกระดูกข้อต่อให้โปนเป็นกระดูกขึ้นมา ดั้งจมูกหัก ท้องเหมือนหม้อข้าว(ท้องป่อง) มีเท้าบนกระโหลกศีรษะ มีหนังเนื้อเลือดแห้ง หู จมูก มือ เท้า ตา ศีรษะขาดวิ่น บ้างก็ฉีกทึ้งศีรษะซึ่งกันและกันด้วยความกระหายเลือด บ้างก็มีเสียแตกผิดปกติ น่ากลัว หยาบเครือ ทำเสียงไม่ชัด ดังมาก ว่า ผุด ผุด ปจุด ผุลุ ผุลุ บ้างก็พูดว่า เอามา เอาไปฆ่าเสีย ประหารเสีย มัดไว้ จับให้ได้ ตัดเสีย สับเสีย ขยี้เสีย เหวี่ยงไปเสีย ทำลายเสีย ซึ่งศรมณะโคดมนี้ พร้อมทั้งต้นโพธิ มารทั้งหลายพูดอย่างนี้ บ้างก็มีหน้าผิดปกติ เป็นสัตว์ดุร้ายน่ากลัว เป็นสัตว์ต่างๆคือเป็นมหาป่าหมู ลา โค ช้าง ม้า อูษฏร์ ความยดุ กระด่าย จามรี แรด ศรภะ(*)ล้วนแต่น่ากลัว บ้างก็มีตัวเหมือนราชสีห์ เสือโคร่ง หมี หมู ลิง เสือเหลือง แมว แพะ แกะ งู พังพอน ปลา มังกร จระเข้ เต่า กา แร้ง นกเค้า ครุฑ เป็นต้น บ้างก็มีรูปแปลกประหลาด บ้างก็มีหัวเดียว บ้างก็มีสองหัว ถึงร้อยหัวพันหัว บ้างก็ไม่มีหัวบ้างก็มีแขนเดียว ถึงร้อยแขนพันแขน บ้างก็ไม่มีแขน บ้างก็มีตีนเดียว บ้างก็มีตั้งแต่ร้อยตีนถึงพันตีน บ้างก็ไม่มีตีน บ้างก็ทำให้งูพิษเลื้อยออกจากหู ปาก จมูก ตา ช่องสะดือ บ้างก็ถือเครื่องประหารต่างๆ เช่น ดาบ ธนู ลูกศร หอก หอกใบข้าว ขวาน จักร โตมร หลาวเหล็ก วัชระ ลูกดอกซึ่งใช้เป็นอาวุธ เป็นต้น วนเวียนร่ายรำขู่ตะคอกพระโพธิสัตว์ บ้างก็ตัดเอานิ้วคนมาร้อยเป็นพวงมาลัยสวม บ้างก็เอากระโหลกศีรษะและกระดองศีรษะมาร้อยเป็นพวงมาลัยสวม บ้างก็เอางูพิษมาพันตัว บ้างก็เอากระดองศีรษะมาไว้บนช้าง ม้า อูษฏร์ ลา และควาย บ้างก็เอาหัวลงเบื้องต่ำยกตีนไว้เบื้องบนบ้างก็มีขนแหลมเหมือนเข็ม บ้างก็มีขนเหมือนขนโค ลา หมู พังพอน แพะ แกะ แมว ลิง หมาป่า หมาจิ้งจอก คายพิษออกมา กลืนกินก้อนเหล็กเผาไฟลุกแดงโชน พ่นออกมาเป็นควัน ยังฝนทองแดงและเหล็กลุกเป็นไฟให้ตกลงมา สาดฝนสายฟ้าเปล่งสายฟ้าให้ฝ่าลงมา โปรยทรายที่ร้อนยังเมฆดำให้เกิดขึ้น ทำให้เกิดลมและฝน ยังเมฆฝนลูกศรให้ตกลงมา แสดงราตรีอันมืดดำ ร้องเสียงดังวิ่งไปยังพระโพธิสัตว์ บ้างก็ควงก้อนหิน ยังภูเขาใหญ่ให้ตก กวนมหาสมุทร กระโดดขึ้นไป โยกภูเขาใหญ่ วิ่งไปยังขุนเขาเมรุ หนีลงมา ทุ่มทอดอวัยวะน้อยใหญ่ หมุนตัวไป หัวเราะลั่น เอามือตบอกทุบอกทึ้งผม มีหน้าเหลือง และมีตัวเขียว ศีรษะมีไฟลุกโพลง ผมตั้งชัน วิ่งไปที่นี่ที่นั่นเร็วๆมีตาน่ากลัว หลอกหลอนพระโพธิสัตว์ให้กลัว และบ้างก็แปลงเป็นยายแก่ร้องไห้เข้าไปหาพระโพธิสัตว์ พูดอย่างนี้ว่า โอลูก โธ่ลูกของฉัน ลุกขึ้น ลุกขึ้น หนีไปเสีย เร็วๆ บ้างก็เป็นรูปรากษส รูปปีศาจ มีตาข้างเดียว เป็นง่อยทุพพลภาพ เป็นเปรตหิวจัดชูมือ หน้าตาผิดปรกติ คร่ำครวญ แสดงความกลัว ยังความสะดุ้งตกใจให้เกิดขึ้น วิ่งเข้าไปเบื้องหน้าพระโพธิสัตว์ พื้นที่แผ่ไปด้วยเสนามาร มีสภาพอย่างนี้ อันตั้งขึ้นแล้ว ทั้งยาวทั้งกว้าง วัดดดยรอบ 80 โยชน์ ซึ่งเป็นเนื้อที่ของมารแต่ละคนแผ่ไปทั้งด้านขวางและด้านบนด้วยเสนาของมารชั่วร้าย ครอบคลุมไปถึงเทวโลกตั้งร้อยโกฏิ

 

* ศรภะ สัตว์ในนิยายมีแปดเท้า แข็งแรงยิ่งกว่าราชสีห์ บางแห่งแปลว่าช้างหนุ่ม

 

ในที่นี้มีคำกล่าวไว้ว่า

 

      16 ยักษ์ กุมภัณฑ์ งูใหญ่ รากษส เปรต ปีศาจ ซึ่งมีอยู่ในโลกนั้น มีรูปแปลกประหลาด น่ากลัวที่สุด ทั้งหมดเหล่านั้น นิรมิตในที่นั้นด้วยความหลอกหลอน ฯ

 

      17 บ้างก็มีหัวเดียว บ้างก็มีสองหัว บ้างก็มีสามหัว จนถึงพันหัว บ้างก็มีหน้ามาก บ้างก็มีแขนเดียว บ้างก็มีสองแขน บ้างก็มีสามแขน จนถึงพันแขน บ้างก็มีแขนมาก บ้างก็มีตีนเดียว บ้างก็มีสองตีน บ้างก็มีสามตีน บ้างก็มีตีนมากจึงถึงพันตีน ฯ

 

      18 บ้างก็มีหน้าเขียวตัวเหลือง บ้างก็มีหน้าเหลืองตัวเขียว บ้างก็มีหน้าอย่างหนึ่งตัวอย่างหนึ่ง เข้าไปสู่กองทัพของมารแห่งเดียว ฯ

 

      19 ทำให้ลมพัด ทำให้ฝนตก ทำให้ฟ้าผ่าตั้งแสนครั้ง บดบังเทวโลก ปกคลุมต้นไม้ ใบโพธิไม่กระดิก ฯ

 

      20 ฝนตกโปรยเม็ดฝนลงมา กระแสน้ำไหลไปยังพื้นที่ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำ สิ่งน่ากลัวจำนวนมาก ย่อมมีอย่างนี้ในที่ซึ่งต้นไม้ไร้เจตนาล้มลงฯ

 

      21 พระโพธิสัตว์ผู้มีพระพัตกร์ทรงไว้ซึ่งสิริ (สง่าราศี) คุณลักษณะและเดชทอดพระเนตรเห็นรูปน่ากลัวยิ่งนักแหล่านั้นแล้ว ซึ่งดำรงอยู่ในที่ทั้งปวงมีรูปแปลกประหลาดต่างๆ มีพระหทัยไม่สั่นสะเทือนเหมือนภูเขาเมรุนั่นเทียว ฯ

 

      22 พระองค์ทอดพระเนตรเห็นสภาวะธรรมเสมอด้วยมายา (เล่นกล) เสมอด้วยความฝันและเสมอด้วยอากาศ ทรงพิจารณานัยแห่งธรรมเช่นนี้ ทรงตั้งมั่น เข้าธยานดำรงอยู่ในธรรม ฯ

 

      23 พระองค์ถอนภาวะที่ว่าเป็นเรา เป็นของเรา ทรงตั้งมั่นอยู่ในความจริงอันถ่องแท้ พระองค์ตั้งอยู่ในความยืดมั่นเพราะเกรงต่อความจะไม่ตรัสรู้ พิจารณาวนเวียนไปในตน ฯ

 

      24 และพระศากยบุตร อาศัยธรรมซึ่งเป็นอภาวะโดยสภาพตั้งมั่นแล้วด้วยความรู้ มีจิตว่างเปล่าเหมือนอากาศ ประกอบไว้ดีแล้ว เห็นมารชั่วร้ายพร้อมเสนามาร จิตของพระองค์ไม่หมุนเวียน ฯ

 

      กระนี้แล ดูกรภิกุทั้งหลาย มารชั่วร้ายมีบุตรอยู่พันหนึ่ง บรรดาบุตรมารเหล่านั้น บุตรมารที่เลื่อมใสในพระโพธิสัตว์ มีสารถวาหะเป็นหัวหน้า ได้อยู่ฝ่ายขวาของมาร บุตรมารที่เป็นฝ่ายมารได้อยู่ฝ่ายซ้ายของมารชั่วร้าย บรรดามารเหล่านั้น มารชั่วร้ายได้เรียกบุตรของตนเหล่านั้นมาว่า เราจะรังควานพระโพธิสัตว์ด้วยกำลังพลอย่างไร บรรดาบุตรมารเหล่านั้น บุตรมารชื่อ สารถวาหะ อยู่ฝ่ายขวา สารถวาหะนั้น ได้เสนอตอบบิดาด้วยคำเป็นบทประพันธ์ว่า

 

      25 ผู้ใด อยากจะปลุกพระยานาคซึ่งนอนหลับ ผู้ใดอยากจะปลุกพระยาช้างซึ่งนอนหลับ ผู้ใดอยากจะปลุกพระยาเนื้อ(ราชสีห์) ซึ่งนอนหลับ ผู้นั้น อาจอยากจะปลุกพระผู้จอมคน(พระโพธิสัตว์) ซึ่งนอนหลับได้ ฯ

 

บุตรมารชื่อ ทุรมติอยู่ฝ่ายซ้าย ทุรมตินั้น พูดอย่างนี้ว่า

 

      26 ใจของต้นไม้ที่มีแก่นมากในโลกย่อมเบิกบานด้วยการเอาใจใส่ดูแล เราซึ่งมีตาบอดนั้นจะมีความสามารถอะไร หรือว่าผู้ที่ถูกมฤตยูกำจัดแล้วในโลก จะทำให้ฟื้นขึ้นมาได้อย่างไร ฯ

 

บุตรมารชื่อ มธุรนิรโฆษะอยู่ฝ่ายขวา พูดว่า

 

      27 แก่นอะไรจะมีในต้นไม้ในโลกนี้ เพราะฉะนั้นท่านจึงพูดได้ ข้าพเจ้าเห็นแล้วทำลายเสีย ในมนุษย์ทั้งหลายจะมีความมั่นคงอะไร ถ้าท่านทำลายภูเขาเมรุได้ด้วยการมองดู พระศรมณะนี้จะไม่ถูกท่านทำลายด้วยการลืมตาดู ฯ

 

      28 ผู้ใด ปรารถนาจะว่ายข้ามมหาสมุทรด้วยแขนทั้งสองข้าง และปรารถนาดื่มน้ำมหาสมุทร คงไม่มีในหมู่มนุษย์ ผู้ใด เข้าไปมองหน้าพระศรมณะซึ่งหามลทินมิได้นั้น ก็สามารถทำได้ แต่ก็ข้าพเจ้าขอพูดว่ามันเป็นการยาก ฯ

 

บุตรมารชื่อ ศตพาหุ อยู่ฝ่ายซ้าย พูดว่า

 

      29 ในตัวของข้าพเจ้ามีแขนถึงร้อย แขนข้างเดียวยิงลูกศรได้ตั้งร้อยลูก พ่อ ลูกจะขอทำลายร่างกายของศรมณะ พ่อจงเป็นสุข ไปกันเถอะอย่าชักช้าเลย ฯ

 

บุตรมารชื่อ สุพุทธิ อยู่ฝ่ายขวา พูดว่า

 

      30 ถ้าท่านมีแขนตั้งร้อย มันจะวิเศษอะไร แขนมีขนย่อมไม่มีประโยชน์อะไร ต่อให้ถือหอกทุกแขนก็ทำอะไรพระศรมณะด้วยแขนนั้นไม่ได้ ฯ

 

เพราะเหตุไร?

 

      31 ยาพิษ ศัสตรา และไฟ ไม่เข้าไปในร่างกายของพระมุนีผู้มีไมตรี นั้น ศัสตราทั้งหลายที่ซัดไป ย่อมกลายเป็นดอกไม้ เพราะว่าความไมตรีของพระองค์ท่านเป็นความสูงสุดในโลก ฯ

 

      32 ผู้ใด ในสวรรค์ ในพื้นดิน และในน้ำ หนาแน่นด้วยความเป็นพาล เป็นคุหยกะ(ผี) หรือเป็นตน ถือดาบ ถือขวาน เขาเหล่านั้นพอไปถึงพระผู้เป็นจอมคนผู้มีกำลังความอดทน ถึงเขาจะมีกำลังยอดเยี่ยมก็กลายเป็นผู้มีกำลังอ่อนแอไปหมด ฯ

 

บุตรมารชื่อ อุครเตชา อยู่ฝ่ายซ้าย พูดว่า

 

      33 ข้าพเจ้าไปภายใน จะเข้าไปทำลายร่างกายอันงามของศรมณะนี้ เหมือนไฟเผาต้นไม้แห้งพร้อมทั้งกิ่งก้านให้แหลกลาน ฯ

 

      34 ถ้าท่านเผาภูเขาเมรุได้ทั้งหมด หรือไปภายในแทรกเข้าไปสู่แผ่นดินได้ ผู้เช่นท่านก็เหมือนทรายในแม่น้ำคงคา ไม่อาจเผาพระศรมณะผู้มีปรัชญาเหมือนเพชรได้เลย ฯ

 

อีกประการหนึ่ง

 

      45 ภูเขาทั้งปวงจะโยกคลอน น้ำทะเลจะเหือดแห้ง ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์จะตกดิน แผ่นดินจะย่อยยับไป ฯ

 

      36 พระศรมณะนั้น ทรงปรารภ กระทำเพื่อประโยชน์แก่โลกทรงประติชญาไว้อย่างแน่นอนว่า เมื่อยังไม่บรรลุโพธิอันประเสริฐ จะไม่ลุกไปจากพุ่มไม้ใหญ่ (ต้นโพธิ) ฯ

 

บุตรมารชื่อ ทีรฆพาหุ อยู่ฝ่ายซ้าย พูดว่า

 

      37 ข้าพเจ้าอยู่ในพิภพ(สถานที่อยู่)ของท่านในที่นี้ จะลูบคลำที่อยู่ของดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์และดวงดาวทั้งหลายได้ทั้งหมด ฯ

 

      38 ข้าพเจ้าจะย่างไปตักน้ำจากมหาสมุทรทั้ง 4 ข้าแต่พ่อ ข้าพเจ้าจะจับตัวศรมณะนั้น ภายหลังเมื่อน้ำมหาสมุทรหมดสิ้นแล้ว ฯ

 

      39 ข้าแต่พ่อ กองทัพนี้ของยกไว้ พ่ออย่าเดือดร้อนด้วยความโศกเลย ข้าพเจ้าจะถอนศรมณะพร้อมทั้งต้นโพธิให้สิ้นไปในทิศทั้ง 10ด้วยฝ่ามือฯ

 

บุตรมารชื่อ ประสาทประติลัพธะ อยู่ฝ่ายขวา พูดว่า

 

      40 ทรนงตัวด้วยความมัวเมา จะขยี้และทำร้ายแผ่นดินพร้อมทั้งเทวดา อสูร คนธรรพ์ พร้อมทั้งมหาสมุทรและภูเขาด้วยฝ่ามือทั้งสองก็ได้ ฯ

 

      41 วิธีของท่านมีตั้งพันอย่าง เสมอด้วยทรายในแม่น้ำคงคา แต่ท่านจะไม่ทำขนของพระโพธิสัตว์ผู้มีความมั่นคงนั้นให้ไหวได้ ฯ

 

บุตรมารชื่อ ภยังกะ อยู่ฝ่ายซ้าย พูดว่า

 

      42 ข้าแต่พ่อ จริงอยู่ ความกลัวของพ่ออย่างหนักจะมีเพื่อประโยชน์อะไร พ่อซึ่งอยู่ในท่ามกลางเสนาจะกลัวอะไร เสนาของพ่อนั้นไม่ต้องมีผู้ช่วยเหลือที่ไหน เพราะฉะนั้น พ่อจะกลัวทำไม ฯ

 

      43 ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ในโลก ไม่ได้มีเป็นหมู่ พระเจ้าจักรพรรดืก็ไม่มีเป็นหมู่ และราชสีห์ทั้งหลายก็ไม่มีเป็นฝูง ข้าแต่พ่อ พระโพธิสัตว์ก็ไม่เป็นหมู่ พระโพธิสัตว์องค์เดียว สามารถผจญมารได้ ฯ

 

บุตรมารชื่อ อวตารเปรกษยะ อยู่ฝ่ายซ้าย พูดว่า

 

      44 ไม่ต้องหอกหลาว ไม่ต้องคทา ไม่ต้องดาบ ไม่ต้องพลช้าง พลม้า ไม่ต้องพลรถ ไม่ต้องพลราบ ข้าพเจ้าจะฆ่าศรมณะผู้เป็นนักเลงนั่งอยู่องค์เดียวนั้นเสีย พ่ออย่าคิดวนเวียนอะไรไปเลย ฯ

 

บุตรมารชื่อ บุณยาลังการะ อยู่ฝ่ายขวา พูดว่า

 

      45 พระศรมณะนั้น มีกายเหมือนกายพระนารายณ์ หรือเหมือนเมฆที่ตัดไม่ขาด ทรงสวมเสื้อเกราะด้วยกำลังกานติ ทรงถือดาบคือวีรยะอันมั่นคง ทรงพาหนะคือวิโมกษ 3  ทรงถือธนูคือปรัชญา นะพ่อ จริงอยู่พระศรมณะนั้นจะชนะมารลเสนามารด้วยกำลังบุณย ฯ

 

บุตรมารชื่อ อนิวรรตยะ อยู่ฝ่ายซ้าย พูดว่า

 

      46 ไม่ไหม้ป่าไปถึงหญ้า เผาไหม้แล้ว ย่อมไม่หวนกลับ ลูกศรที่ผู้เรียนจบยิงไปแล้วย่อมไม่กลับ สายฟ้า ผ่าลงในท้องฟ้าแล้วย่อมไม่กลับไม่มีสถานที่ที่ข้าพเจ้าไม่ชนะศากยบุตรได้ ฯ

 

บุตรมารชื่อ ธรรมกาม อยู่ฝ่ายขวา พูดว่า

 

      47 ไฟไหม้ไปถึงหญ้าสด ย่อมกลับ ลูกศรไปถึงยอดภูเขา ย่อมกระท้อนกลับ สายฟ้าผ่าไปถึงแผ่นดิน ก็ยังเลยไปเบื้องต่ำ พระศรมณะนี้เมื่อยังไม่บรรลุอมฤตะอันเป็นความสงบจะไม่กลับเลย ฯ

 

เพราะเหตุใด ?

 

      48 ข้าแต่พ่อ เขายังอาจเขียนรูปภาพในอากาศได้ กระทั่งสรรพสัตว์บางพวกตั้งจิตไว้ดวงเดียวได้ ยังไม่สามารถใช้บ่วงตักดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ลมไว้ได้ ข้าแต่พ่อ ใครๆไม่สามารถจะให้พระโพธิสัตว์เคลื่อนไปจากควงไม้โพธิได้ ฯ

 

บุตรมารชื่อ อนุปศานตะ อยู่ฝ่ายซ้าย พูดว่า

 

      49 ข้าพเจ้าจะเผาภูเขาเมรุใหญ่ด้วยจักษุที่มีพิษ จะทำน้ำและมหาสมุทรให้เป็นขึ้เถ้า ข้าแต่พ่อ พ่อจงดูต้นโพธิและศรมณะ ข้าพเจ้าจะทำทั้ง2อย่างนั้นให้เหมือนขี้เถ้าด้ายจักษุในวันนี้ ฯ

 

บุตรมารชื่อ สิทธารถะ อยู่ฝ่ายขวา พูดว่า

 

      50 ถ้าทุกสิ่งนั้นเต็มไปด้วยพิษ เทวโลกอันประเสริฐก็จะลุกเป็นไฟ ความปราศจากพิษอย่างเด็ดขาด เพราะคายพิษออกหมดทั้งนี้เพราะพิจารณาเห็นบ่อเกิดแห่งคุณความดี ฯ

 

      51 และในภพทั้ง 3 ย่อมร้ายแรงด้วยพิษทั้งหลาย คือ ราคะ โทษะ และโมหะ  พิษเหล่านี้ย่อมไม่มีในกายและในจิตพระโพธิสัตว์เหมือนโคลนตมและฝุ่นละอองไม่มีในท้องฟ้าฉะนั้น ฯ

 

      52 ......

 

ข้าแต่พ่อ เพราะฉะนั้น เราควรกลับให้หมด ฯ

 

บุตรมารชื่อ รติโลละ อยู่ฝ่ายซ้าย พูดว่า

 

      53 มีดนตรีบรรเลงทั้งพัน มีนางฟ้าแต่งตัวงามตั้งพันโกฏิ พ่อจะนำศรมณะผู้สูงสุดกว่าคนทั้งหลายมาได้ก็ด้วยการประเล้าประโลม  จริงอยู่ข้าพเจ้าจะกระทำศรมณะให้ยินดีในกาม ตออยู่ในอำนาจของพ่อ ฯ

 

บุตรมารชื่อ ธรรมรติ อยู่ฝ่ายขวา พูดว่า

 

      54 พระศรมณะนั้น มีความยินดีในธรรมทุกเมื่อ พระองค์มีความยินดีในความอุตสาหะ มีความยินดีในธยาน และมีความยินดีเพื่ออมฤตะมีความยินดีในไมตรีที่จะปลดเปลื้องสัตว์ทั้งหลาย พระองค์ไม่ทรงกระทำความพอใจยินดีในราคะ ฯ

 

บุตรมารชื่อ วาตชวะ อยู่ฝ่ายซ้าย พูดว่า

 

      55 ข้าพเจ้า พึงกลืนดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ได้โดยฉับไว และพึงกลืนลมซึ่งพัดอยู่ในอากาศได้ ข้าแต่พ่อ วันนี้แหละ  ข้าพเจ้าจะจับศรมณะ เหมือนกำลูกศรมีพู่แล้วโปรยไปตามลม ฯ

 

บุตรมารตนหนึ่งชื่อ อจลมติ อยู่ฝ่ายขวา เขาพูดอย่างนี้ว่า

 

      56 ความร้ายแรงด้วยกำลังเร็วของท่านนั้นมีอย่างไร ถ้าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเขามีเหมือนอย่างนั้น และเขาสามัคคีกัน ความสามารถของท่านเพื่อทำร้ายบุทคลผู้ไม่มีใครเทียบได้ ก็ย่อมไม่มี ฯ

 

บุตรมารชื่อ พรหมมติ อยู่ฝ่ายซ้าย พูดว่า

 

      57 ความร้ายแรงทั้งหมด จะพึงมีแก่(เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย) ผู้เช่นนั้นก็ได้ ความร้ายแรงนั้น จะไม่ทำกับผู้ทำลายมานะของพ่อได้บ้างหรือ จะป่วยกล่าวไปไย คนๆเดียวจะทำอะไรพ่อได้ เพราะว่ากิจการทั้งปวงย่อมสำเร็จได้ด้วยการรวมกันเป็นหมู่ฯ

 

      58 เราไม่เคยเห็นการรวมกันเป็นหมู่ของราชสีห์ แม้การรวมกันเป็นหมู่ของสัตว์มีเขา ก็ไม่เห็นมี การรวมเป็นหมู่ของผู้มีเดช  มีสัตย์ มีความบากบั่น เป็นปุรุษเลิศ ย่อมไม่มี ฯ

 

บุตรมารชื่อ สรรพจัณฑาละ อยู่ฝ่ายซ้าย พูดว่า

 

      59 ข้าแต่พ่อ ควรมอันรุ่งโรจน์ พ่อไม่ได้ฟังแล้ว เนื่องด้วยบุตรของพ่อเหล่านี้แผดเสียงบันลือ ประกอบด้วยความเพียร ความเร็ว และกำลัง ข้าพเจ้าทั้งหลายจะรีบไปกำจัดศรมณะเสีย ฯ

 

บุตรมารชื่อ สิงหนาที อยู่ฝ่ายขวา พูดว่า

 

      60 อันที่จริง สุนัขจิ้งจอกทั้งหลายจำนวนมากภายในป่า เมื่อราชสีห์ไม่มีในที่นี้ มันย่อมแผดเสียงบันลือ แต่เมื่อมันได้ยินเสียงบันลือของราชสีห์แล้ว มีความหวาดกลัวสะดุ้งตกใจ พากันหนีกระจัดกระจายไปทุกทิศ ฯ

 

      61 บุตรมารทั้งหลายนี้ เหมือนพ่อ ไม่เป็นบัณฑิต ยังไม่ได้ยินเสียงบันลือของปุรุษผู้สุงสุด เขามีความคิดเห็นของตนเอง จองหองมากพากันแผดเสียงบันลือ เมื่อมนุษย์สิงห์บันลือแล้ว เขาเหล่านั้นต่างก็ไม่มีอยู่ ฯ

 

บุตรมารชื่อ อุศจินติตจินติ อยู่ฝ่ายซ้าย พูดว่า

 

      62 ข้าพเจ้าคิดสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมเจริญ รุ่งเรืองในที่โดยฉับพลันทำไมศรมณะนั้นจึงไม่เห็นข้อนี้ ศรมณะนั้นโง่เง่า หรือไม่ก็ไม่มีความรู้ นั่นคือ เขาจะต้องรีบลุกหนีไป ฯ

 

บุตรมารชื่อ สุจิตติตารถะ อยู่ฝ่ายขวา พูดว่า

 

      63 พระศรมณะนี้ไม่โง่เง่าหรือไร้ความกล้าหาญดอก ท่านนั่นแหละโง่เง่าไม่รู้จักสำรวมระงับ ท่านไม่รู้ความเพียรของพระศรมณะนี้ พระศรมณะนี้จะชนะพวกท่านทั้งปวงด้วยกำลังแห่งปรัชญา ฯ

 

      64 เนื่องด้วยบุตรมารทั้งหลายเหมือนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา เนื่องด้วยท่านทั้งหลายประกอบด้วยความเพียรเท่านี้ ท่านทั้งหลายไม่สามารถเพื่อทำขนเส้นหนึ่งของพระศรมณะให้ไหวได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงการจะคิดฆ่าพระองค์ ฯ

 

      65 ในที่นี้ ท่านทั้งหลายอย่าคิดฆ่าพระศรมณะเลย ควรมีจิตเลื่อมใสพร้อมด้วยความนับถือ กลับเสียเถิด อย่าทำสงครามเลย พระศรมณะนั้นจะเป็นราชาในภพทั้ง 3 ฯ

 

 ฯ เปยาลมฺ ฯ (พึงทราบโดยนัยพิสดาร แต่ยุติไว้เพียงนี้)

 

      ด้วยประการดังนี้ บุตรมารเหล่านั้นทั้งหมด มีพันถ้วน มีทั้งฝ่ายขวา และฝ่ายดำ ได้กล่าวคำเป็นบทประพันธ์กับมารชั่วร้ายเป็นคนละข้อๆไป

 

      ครั้งนั้นแล เสนาบดีของมารชั่วร้ายชื่อ ภัทรเสน เขาได้กล่าวคำเป็นบทประพันธ์กับมารชั่วร้ายว่า

 

      66 ใครๆที่ติดตามท่าน (มาร) ไป จะเป็นองค์ศักร เทพโลกบาล หมู่กินนร จอมอสูร และจอมครุฑก็ตาม ต่างได้กระทำอัญชลีน้อมนมัสการพระศรมณะนั้น ฯ

 

      67 อีกประการหนึ่ง พรหมอาภัสราผู้เป็นเทพบุตร ซึ่งติดตามไปและเทวดาชั้นศุทธาวาสทั้งหลายทั้งปวง ได้น้อมมนัสการพระศรมณะนั้น ฯ

 

      68 และบุตรของท่านเหล่านี้ มีปรัชญาเฉลียวฉลาด  มีกำลังมาก ก็ตามเข้าไปยังหทัยของพระโพธิสัตว์ มนัสการอยู่ ฯ

 

      69 เสนามารเหล่านี้ มียักษ์เป็นต้น มีจำนวนมาก แผ่ไปถึง 80 โยชน์ มองเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง มีจิตเลื่อมใสต่อพระโพธิสัตว์ผู้ปราศจากโทษแล ฯ

 

      70 เนื่องด้วยพระโพธิสัตว์ เห็นกองทัพเหล่านี้ ซึ่งน่ากลัวที่สุด ดุร้าย ทำได้ต่างๆร้ายแรง ไม่แปลกพระทัย ไม่เขยื้อน ความชนะจะมีแก่พระองค์ในวันนี้โดยเที่ยงแท้ ฯ

 

      71 กองทัพเหล่านี้ ตั้งอยู่ในที่ใด นกเค้าและสุนัขป่าร้องลั่นในที่นั้น เสียงร้องของกา และลา ทำให้หมดความขมักเขม่นไปโดยเร็ว ฯ

 

      72 ดูซิท่าน นกกระเรียนที่สำราญร่าง หงส์ นกดุเหว่า นกยูง พากันทำประทักษิณพระโพธิสัตว์ ความชนะจะมีแก่พระองค์ในวันนี้โดยเที่ยงแท้ ฯ

 

      73 กองทัพเหล่านี้ ตั้งอยู่ในที่ใด เขม่าและฝุ่นละอองทั้งหลายย่อมโปรยลงในที่นั้น ท่านจงทำฝนดอกไม้ให้ตกลงในพื้นดิน จงกลับคำเสียเถิด ฯ

 

      74 กองทัพเหล่านี้ ตั้งอยู่ในที่ใด ขวากหนามย่อมเกลื่อนกล่นมากมูลพูนกอง ในที่นั้น ท่านจงทำฝนทองปราศจากมลทินให้ตกลงในพื้นดินพึงหยุดความขมักเขม่นเสียด้วยปรัชญาเถิด ฯ

 

      75 ท่านเห็นในความฝันครั้งก่อน ถ้าท่านไม่ไป(ไม่กลับ)มันจะปรากฏขึ้น พระฤษี(พระโพธิสัตว์) จะทำเสนาให้เป็นขี้เถ้า โดยความแหลกลานเหมือนทำกับขี้เถ้า ฯ

 

      76 เพราะเหตุที่พระราชาผู้เป็นฤษีองค์ประเสริฐนั้น โกรธกับพระราชาพรหมทัต ได้มีมาแล้ว ทำให้ป่าทัณฑกะถูกไฟไหม้ ถึงกับหญ้าไม่เกิดด้วยฝนจำนวนมาก ฯ

 

      77 ฤษีทั้งหลายเหล่าใดในโลกทั้งปวง ประพฤติพรตประกอบด้วยตบะ พระโพธิสัตว์นี้ยังเป็นใหญ่กว่าฤษีเหล่านั้น เป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง ฯ

 

      78 ท่านไม่เคยได้ยินดอกหรือ ลักษณะงามในกายของพระโพธิสัตว์รุ่งโรจน์ และพระองค์เสด็จออกจากพระราชวัง จะเป็นพระพุทธชนะเกลศ ฯ

 

      79 พระชินบุตรทั้งหลาย (พระศราวก) สร้างรูปเช่นนี้ไว้ให้ปรากฏ เพื่อบูชา จริงอยู่ พระโพธิสัตว์ผู้เป็นสัตว์ประเสริฐ ทรงรับการบูชานั้นโดยแท้ ฯ

 

      80 เนื่องด้วยพระอุณาโลมบริศุทธที่สุด รุ่งโรจน์ พระองค์กระทำให้ฉวัดเฉวียนไปในที่ตั้งหมื่นโกฏิเกษตร พระองค์ทรงทำลายกำลังของมารได้โดยไม่ต้องสงสัย ฯ

 

      81 เนื่องด้วยพระเศียรของพระองค์ เทวดาทั้งหลายไม่อาจมองดูได้รูปพรหม (พรหมมีรูป) ทั้งหลายก็ไม่อาจมองดูได้ พระองค์จะบรรลุความเป็นสรวัชญ ไม่ใช่เวลาอื่นแท้เทียว ฯ

 

      82 เนื่องด้วย ภูเขาเมรุ จักรวาล ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ องค์ศักร พรหม ต้นไม้ ภูเขาประเสริฐ ทั้งหมดน้อมลงยังพื้นดิน ฯ

 

      83 พระโพธิสัตว์ ปราศจากความสงสัย มีกำลังแห่งบุณย มีกำลังแห่งปรัชญา มีกำลังแห่งชญาณ มีกำลังแห่งกษานติ และมีกำลังแห่งวีรยะ ฝ่ายมารไม่มีกำลัง ฯ

 

      84 ช้างขยี้ภาชนะดิบ (ยังไม่ได้เผา) ฉันใด ราชสีห์ขยี้สุนัขป่า ฉันใด หรือดวงอาทิตย์เมื่อเทียบกับหิ่งห้อย ฉันใด พระสุคตเมื่อเทียบกับกองทัพของมาร ก็ฉันนั้น ฯ

 

บุตรมารอีกตนหนึ่งได้ยินคำนั้นแล้ว มีตาแดงเข้มเพราะโกรธมาก ได้พูดว่า

 

      85 ท่านพูดสรรเสริญคนคนหนึ่งเกินประมาณ อันที่จริงคนคนเดียวจะสามารถทำอะไรได้ ท่านมองดูกองทัพที่มีกำลังมาก ไม่น่ากลัวดอกหรือ ฯ

 

ทันใดนั้น บุตรมารชื่อ มารประมรรทกะ อยู่ฝ่ายขวา พูดว่า

 

      86 ในโลก ดวงอาทิตย์ ไม่มีกิจที่จะต้องช่วยเหลือ ดวงจันทร์ ราชสีห์ พระเจ้าจักรพรรดิ์ก็ไม่มีกิจที่จะต้องช่วยเหลือ พระโพธิสัตว์ที่ประทับนั่งอย่างแน่นอนที่ใต้ต้นโพธิก็ไม่มีกิจที่จะต้องช่วยเหลือ ฯ

 

      ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ ทรงส่ายพระพักตร์เสมอด้วยดอกบัวบาน เพราะเหตุที่จะทรงกระทำให้มารอ่อนกำลัง มารชั่วร้าย เห็นพระโพธิสัตว์แล้วหนีไป และมารเข้าใจว่าเสนาของเรานับถือพระโพธิสัตว์เสียแล้วดังนั้น จึงถอยหนี แล้วหวลกลับมาอีกพร้อมด้วยบริวารยกชูเครื่องประหารต่างๆ และยกภูเขาโตเท่าภูเขาเมรุขึ้นเบื้องบนพระโพธิสัตว์ และพวกมารเหล่านั้น ทุ่มเครื่องประหารและภูเขาเหล่านั้นลงบนพระโพธิสัตว์มันกลายเป็นวิมานตั้งอยู่ในเพดานดอกไม้ และมารที่มีตาเป็นพิษ มีงูพิษ มีลมหายใจเป็นพิษ ก็พ่นเปลวไฟออกมา พิษและมณฑลเปลวไฟ ตั้งอยู่เป็นประภามณฑล(รัศมีวงกลม)ของพระโพธิสัตว์

 

      ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ ทรงลูบพระเศียรด้วยพระหัตถ์ขวา มารแลเห็นแล้ว หัวหน้าฝ่ายขวาของมารคิดว่า มีดาบในพระหัตถ์ของพระโพธิสัตว์ดั่งนี้หนีไปแล้วไม่ได้หนีไปไกลเท่าไร ดั้งนั้นจึงกลับมาอีก ครั้นกลับมาแล้ว ก็ยกชูเครื่องประหารหลายอย่าง  คือ ดาบ ธนู หอก โตมร(คทาเหล็ก) ขวาน อาวุธปาลงเบื้องต่ำ สาก หลาวเหล็ก คทา จักร วัชระ (ตรีศูลหรือสามง่าม) ฆ้อน ท่อนไม้ ก้อนหิน บ่วง ก้อนเหล็ก ซึ่งน่ากลัวมาก ทุ่มลงเบื้องบนพระโพธิสัตว์ เครื่องอาวุธเหล่านั้น พอยกขึ้นทุ่ม ก็เป็นเหมือนพวงมาลัยดอกไม้หลายอย่าง เป็นเหมือนเพดานดอกไม้สถิตอยู่และดอกไม้แก้วมุกดาทั้งหลายก็เกลื่อนกลาดแผ่นดิน พวงมาลัยและเครื่องแขวนทั้งหลาย ก็ประดับต้นโพธิแล้ว มารชั่วร้ายเห็นขบวนการเหล่านั้นปรากฏแก่พระโพธิสัตว์มีใจได้รับประทุษฐร้านด้วยความริษยาและความตระหนี่ ได้พูดกับพระโพธิสัตว์ว่า เฮ้ยราชกุมาร ลุก ลุก ไปเสวยราชสมบัติเสียเถิด บุณยของท่านยังมีอยู่ ท่านจะบรรลุโมกษะได้ที่ไหน

 

      ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ได้ตรัสกับมารชั่วร้ายดวยพระวาจาเฉียบแหลมลึกซึ้ง ดังกังวาลสุภาพอ่อนหวานว่า ดูกรมารชั่วร้าย ท่านถึงความเป็นใหญ่ในกามด้วยยัชญพิธี (*) ปราศจากอุปสรรคครั้งเดียว  ส่วนเราได้บูชายัชญปราศจากอุปสรรคตั้งหมื่นแสนโกฏิยัชญพิธีเป็นอันมาก เราตัดมือเท้าควักลูกตาตัดศีรษะให้แก่คนยากจนทั้งหลาย เราได้ยกบ้านเรือนทรัพย์สมบัติข้าวเปลือกที่นอนที่อยู่อาศัยที่เดินเล่นอุทยานทั้งหลายโดยอเนกให้แก่ผู้ขอทั้งหลายด้วยความปรารถนา เพื่อจะเปลื้องสัตว์ทั้งหลายให้รอดพ้น

 

* ยัชญพิธี หรือ ยัชญ คือ การบูชายัญ พิธีการบูชาพลีทาน พรือการให้ทาน หรือถวายเครื่องสักการะแก่ผู้ควรเคารพ

 

      ครั้งนั้นแล มารชั่วร้าย ได้พูดตอบพระโพธิสัตว์ด้วยคำเป็นบทประพันธ์ว่า

 

      87 ยัชญพิธีปราศจากโทษ ปราศจากอุปสรรคในภพก่อนที่เราบูชาแล้วท่านก็เป็นพยานได้ในที่นั้นๆ แต่ในที่นี้พยานของท่านไม่มีสักน้อยท่านแพ้แล้วด้วยการกล่าววาจาพล่อยๆอะไรออกมา

 

      พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ดูกรมารชั่วร้าย แม่นม(แผ่นดิน)ผู้อุ้มชูทุกสิ่งทุกอย่างนี้ (ภูตธาตรี) เป็นหลักฐานของเรา

 

      ครั้นแล้ว พระโพธิสัตว์ ทรงแผ่จิตมีไมตรีกรุณาเป็นเบื้องหน้าไปยังมารและพรรคพวกของมาร ไม่ครั่นคร้ามเหมือนราชสีห์ ไม่สะดุ้งตกพระหทัย ไม่ครั่นคร้าม ไม่กลัว ไม่อ่อนแอ ไม่ปั่นป่วนพระหทัย  ไม่สะทกสะท้าน ปราศจากความกลัวขนลุกขนพอง ทรงลูบพระกายของพระองค์ด้วยพระหัตถ์ขวา ซึ่งสะสมเครื่องอุปกรณ์คือกุศลมูลหาประมาณมิได้ตลอดกัลปไม่สิ้นสุด (พระหัตถ์ขวานั้น) อ่อน นุ่ม นิ่ม ประดับด้วยเล็บแดงงดงามที่สุด ปกคลุมด้วยเพดานข่าย มีศังข์ ธงชัย ปลา กลศ (หม้อน้ำ) สวัสติกะ ขอช้าง จักร คทา อยู่กลางพระหัตถ์ แล้วทรงตบแผ่นดินประกอบด้วยพระอาการแช่มช้อย และได้ตรัสเป็นบทประพันธ์นี้ในเวลานั้นว่า

 

      88 แผ่นดิน เป็นที่ดำรงอยู่ของสัตว์โลกทั้งปวง ไม่เป็นของฝ่ายไหน สม่ำเสมอในสิ่งที่เคลื่อนได้ และสิ่งที่เคลื่อนไม่ได้แผ่นดินนี้เป็นประมาณของเรา ความเท็จของเราไม่มี แผ่นดินจงให้ความเป็นพยานแก่เราในที่นี้ ฯ

 

      และมหาปฤถิวีนี้ พอพระโพธิสัตว์สัมผัสแล้วได้สั่น ได้สั่นทั่ว ได้สั่นพร้อมได้ดัง ได้ดังทั่ว ได้ดังพร้อม ด้วยวิการทั้ง 6 นั่นเหมือนถาดทองเหลือง(*) ของชาวมคธ เมื่อเอาไม้ตี ย่อมดัง ดังครวญครางฉันใด มหาปฤถิวี เมื่อพระโพธิสัตว์เอาพระหัตถ์ตบ ก็ดัง ดังครวญครางฉันนั้น

 

* ศัพท์ว่ากำสปาตรี คำว่า กำส หรือ กาสฺย แปลว่าทองเหลือง แต่อันที่จริงได้แก่ ทองแดง ทองขาว หรือทองห้าว หรือทองล่องหินที่เขาทำขันน้ำ เรียกว่าขันล่องหิน

 

      89 มารชั่วร้ายผู้กระด้างพร้อมทั้งกองทัพ ได้ยินเสียงของนางเมทินี(แผ่นดิน)นั้นแล้ว มีความสะดุ้งกลัว ตกใจแล้ว พากันหนีไปหมดเหมือนสุนัขจิ้งจอกในป่าได้ยินเสียงบันลือของราชสีห์หรือกาหรือเมื่อก้อนดินตกลงมา ก็หนีไปโดยเร็ว ฯ

 

      ครั้งนั้นแล มารชั่วร้าย มีความทุกข์ เสียใจ ใจไม่อยู่กับตัว หน้าด้าน ไม่ยอมแพ้ เพราะมานะยังไม่ยอมกลับ ยังไม่หนี ยืนกลับหลังหันมาเรียกเสนาที่อยู่เบื้องหลังว่าท่านทั้งหลายจงสามัคคีกัน รออยู่สักครู่ก่อน จนกว่าเราจะสั่ง ถ้าเราสามารถทำให้ศรมณะนั้นลุกขึ้นด้วยความสุภาพเรียบร้อยได้ สัตว์ประเสริฐอย่างนี้อย่าเพิ่งพินาศไปเร็วพลันเลย

 

      ครั้งนั้นแล มารชั่วร้ายเรียกธิดาของตนมาว่า เจ้าทั้งหลายผู้เป็นสาว จงไป จงเข้าไปยังควงต้นโพธิ จงทดลองพระโพธิสัตว์ดูว่า เป็นผู้มีราคะหรือไม่มีราคะ  โง่หรือฉลาด ตาบอดหรือตาดี เจริญหรือเสื่อม ขลาดหรือปราดเปรื่อง นางฟ้าเหล่านั้นได้ยินคำนี้แล้ว จึงเข้าไปยังที่ซึ่งมีควงต้นโพธิและที่ซึ่งพระโพธิสัตว์ประทับนั่งอยู่ ครันเข้าไปถึงแล้ว ยืนอยู่เบื้องหน้าพระโพธิสัตว์ แสดงมายาสตรี 32 อย่าง นั่นคืออย่างไร? อาการ 32 เป็นอย่างไร ? นั่นคือ บ้างก็นังหน้าไว้กึ่งหนึ่งในที่นั้น บ้างก็แสดงนมให้ตั้งแข็ง บ้างก็แสดงระเบียบฟันด้วยการหัวเราะกึ่งหนึ่ง บ้างก็ชูแขนแสดงรักแร้อันบิด บ้างก็แสดงริมฝีปากเปรียบเทียบกับผลตำลึงสุก บ้างก็หรีตาชำเลืองมองพระโพธิสัตว์ ครั้นสบตากันแล้วรีบหลับตา บ้างก็แสดงนมทำลับๆล่อๆ บ้างก็แสดงผ้านุ่งหลวมๆให้ตะโพกพร้อมทั้งเครื่องประดับสะเอว บ้างก็แสดงตะโพกโดยนุ่งผ้าแพรบางๆพร้อมทั้งให้เครื่องประดับสะเอว บ้างก็ขยับลูกพรวนที่ข้อเท้าให้มีเสียงดัง ฌณะ ฌณะ(ดัง แฉะ แฉะ) บ้างก็แสดงรอยเจิมจุดเดียวที่หว่างนม บ้างก็แสดงการเปลือยกึ่งขาอ่อน บ้างก็แสดงให้นกพิลาป นกแก้ว นกสาลิกา เกาะที่ศีรษะและบ่าของตน บ้างก็มองพระโพธิสัตว์ด้วยการใช้หางตากึ่งหนึ่งบ้างก็นุ่งห่มมาดีแล้วทำเป็นหลุดหลุ่ย  บ้างก็สั่นเครื่องประดับเอว บ้างก็เดินกรีดกรายไปยังที่นี่ที่นั่นเหมือนเดินวนเวียน บ้างก็ฟ้อนรำ บ้างก็ขับร้อง  บ้างก็ชมดชม้อย และทำอาย บ้างก็โยกขาอ่อนเหมือนต้นกล้วยต้องลม บ้างก็เปล่งเสียงลึกๆ บ้างก็นุ่งห่มเรียบร้อยเดินสั่นกระดิ่งหัวเราะไป บ้างก็ทึ่งเสื้อผ้าและเครื่องประดับลงบนแผ่นดิน บ้างก็แสดงเครื่องประดับทั้งปวงเปิดเผยองค์ที่ลับ บ้างก็แสดงแขนชโลมลูบด้วยของหอม บ้างก็แสดงต่างหูชโลมลูบด้วยของหอม บ้างก็คลุม หน้าด้วยเครื่องคลุม และเปิดออกให้เห็นเป็นระยะๆ บ้างก็หัวเราะเบิกบานเล่นสนุกซ้อมความจำ  แล้วยืนอยู่เหมือนอายอีก บ้างก็แสดงเป็นหญิงสาว เป็นหญิงมีบุตรแล้ว และเป็นหญิงกลางคน บ้างก็เชื้อเชิญพระโพธิสัตว์ด้วยการประกอบกาม บ้างก็เอาดอกไม้บานโปรยพระโพธิสัตว์ และยืนอยู่เบื้องหน้าดูใจพระโพธิสัตว์ และจ้องดูพระพักตร์ว่า พระองค์จะมองดูด้วยอินทรีย์แห่งความกำหนัด หรือว่าจะห่างไกล จะสบตาหรือไม่นางฟ้าทั้งหลายเหล่านั้น เห็นพระพักตร์พระโพธิสัตว์บริศุทธ ปราศจากมลทินเหมือนมณฑลดวงจันทร์พ้นจากราหู เหมือนดวงอาทิตย์แรกขึ้น เหมือนหลักชัยล้วนแล้วด้วยทอง เหมือนดอกบัวบาน  เหมือนไฟรดด้วยน้ำมันเนย ไม่ไหวหวั่นเหมือนเขาเมรุเหมือนจักรวาลพลุ่งขึ้น เหมือนช้างสำรวมอินทรีย์ มีจิตสงบระงับแล้ว

 

      ครั้งนั้น นางฟ้าธิดามาร ได้กล่าวบทประพันธ์เหล่านี้มีประมาณมาก เพื่อประเล้าประโลมพระโพธิสัตว์ว่า

 

      90 ในฤดูประเสริฐ คือฤดูวสันต์(*)ได้มาถึงแล้ว  เป็นที่รื่นรมย์ที่รัก ต้นไม้ผลิตอกออกใบสะพรั่ง รูปของพระองค์เป็นรูปดี รูปงามวิจิตรด้วยลักษณะดี ทำให้ผู้อื่นตกอยู่ในอำนาจได้ฯ

 

* ฤดูวสันต์ คือฤดูใบไม้ผลิ นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 4 ถึงกลางเดือน 6

 

      91 เราเกิดมาดีแล้ว ตั้งมั่นอยู่ดีแล้ว เป็นเหตุแห่งความสุข เป็นที่สรรเสริญของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ลุกขึ้นไว เสวยวัยกำลังหนุ่มเหน้า ความตรัสรู้ยากที่จะได้ จงกลับพระหทัยเสียเถิดฯ

 

      92 พระองค์มองดูนางเทพกันยาที่ตกแต่งงามดีแล้วก่อน ที่ได้เตรียมตัวประดับประดามาแล้ว เพราะพระองค์เป็นเหตุ ใครมองดูรูปนางฟ้านี้แล้ว จะไม่กำหนัดยินดีในราคะ แม้จะมีชีวิตเหี่ยวแห้งเหมือนตันไม้เฒ่าบ้างหรือ ฯ

 

      93 พระเกศาอ่อนนุ่ม หอมดี ประกอบด้วยกลิ่นหอมประเสริฐ ทรงมงกุฎและแผ่นต่างหู มีพระพักตร์เป็นผู้คงแก่เรียน มีพระนลาฏงาม มีพระพักตร์ผัดเครื่องลูบไล้ไว้งาม มีพระเนตรงามกว้างบริศุทธเหมือนดอกบัว ฯ

 

      94 มีพระพักตร์เหมือนดวงจันทร์เต็มดวง มีพระโอษฐ์บนล่างเหมือนผลตำลึงสุกงาม มีพระทนต์งามขาวสะอาดเหมือนศังข์

 

เหมือนดอกมะลิและหิมะ ที่รัก พระองค์จงดูนางผู้มีความกระสันอย่างแรงกล้าในเมถุนกรรม ฯ

 

      95 ผู้ซึ่งมีนมแข็งอวบตั้งตรง ท่ามกลางองค์มีรอยขึด 3 รอย งามดี มีเนินตะโพกงารมแผ่กว้างเป็นอย่างดี นาถ พระองค์จงดูนางผู้มากด้วยความรักยิ่งฯ

 

      96 ผู้ซึ่งมีขาอ่อนเหมือนงวงช้าง แขนสวมกำไลอยู่เป็นนิตย์ตะโพกมีการประดับด้วยเข็มขัดสายห้อยอันประเสริฐ นาถ พระองค์จงดูนางรับใช้ของพระองค์เหล่านี้ ฯ

 

      97 ผู้ซึ่งเดินช้าๆเหมือนการเดินทางหงส์ เจรจาไพเราะจับใจน่ารักนัก ผู้ซึ่งประดับเป็นอย่างดีเช่นนี้เป็นผู้ฉลาดยิ่งในเมถุนกรรมอันเป็นทิพย์ ฯ

 

      98 ผู้ซึ่งศึกษาการขับร้องฟ้อนรำ มีรูปร่างงาม เกิดขึ้นเพื่อเหตุแห่งเมถุนกรรม ถ้าพระองค์ไม่ทรงปรารถนานางซึ่งมีความกระสันอย่างแรงกล้าในกาม พระองค์จะถูกเขาหลอกลวงอย่างหนักอย่างแรงกล้าในโลกนี้แล ฯ

 

      99 ถ้าใครเห็นขุมทรัพย์แล้วหนีไป เขาเป็นคนไม่รู้จักความสุข เกิดแต่ทรัพย์ มีใจโง่เขลา ผู้ใดไม่เสพหญิงผู้มีความรักมาหาด้วยตนเอง ผู้นั้นเป็นผู้ไม่รู้จักราคะ(ความใคร่) พระองค์เหมือนกันนั่นเทียวแล ฯ ดั่งนี้ ฯ

 

      ครั้งนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์มิได้หลับพระเนตร มีพระพักตร์เบิกบาน พระโอษฐ์ยิ้มแย้มไม่บิดเบี้ยว ไม่มีราคะ ไม่มีโทษะ ไม่มีโมหะ เพราะมีอินทรีย์ไม่กำเริบ มีพระวรกายมิได้ตกแต่ง ไม่สะเทือนเหมือนภูเขาหิน ไม่เหลวไหล ไม่แตกร้าว  ไม่ถูกบีบคั้น  ตรัสตอบธิดามารเหล่านั้นด้วยพระวาจาสุภาพอ่อนหวานก้องกังวาลเกินกว่าเสียงพรหม น่าจับใจไพเราะด้วยกระแสเสียงดังเหมือนเสียงนกการเวก เพราะพระองค์มีชญานเป็นประธาน ด้วยความรู้อันมั่นคง ด้วยการอยู่ใตบังคับของพระองค์เอง และเพราะพระองค์ละเกลศได้อย่างเด็ดขาด(ตรัสตอบ) ด้วยคำเป็นบทประพันธ์หลายบทว่า

 

      100 ดูกรนางผู้เจริญ กามทั้งหลายรวบรวมไว้ซึ่งทุกข์เป็นอันมาก เป็นรากเหง้าแห่งทุกข์ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่าธยานและตบะอันมั่นคงของผู้ไม่มีปรัชญา ผู้ไม่อิ่มด้วยกามคุณในสตรีทั้งหลายย่อมเสื่อมไปเราจะทำให้ผู้ไม่มีปรัชญาทั้งหลายอิ่มด้วยปรัชญา ฯ

 

      101 เพราะเสพกาม ตฤษณาทั้งหลายจึงเจริญขึ้นอีก เหมือนใครคนหนึ่งดื่มน้ำเกลือ แน่ะนางผู้เจริญ คนในโลกนี้ ไม่ได้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น แต่เราได้เป็นผู้ขวนขวายเพื่อประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่นแล้ว ฯ

 

      102 รูปร่างของเธอเปรียบเสมอด้วยฟองน้ำหรือต่อมน้ำ เปลี่ยนแปลงได้ตามความคิดนึกของตนเหมือนการเล่นกล และเหมือนฝันสนุก ไม่ยั่งยืน ไม่เต็มที่ เป็นที่ล่อจิตคนพาลคนไม่มีปรัชญาทุกเมื่อ ฯ

 

      103 ตา มีหนังหุ้มเช่นเดียวกับต่อมน้ำ แข็งเป็นก้อนเลือดโปนออกมาเหมือนเป็นฝีหัวใหญ่ ท้อง สะสมมูตรและอุจจาระเปียกไปด้วยของไม่สะอาด เป็นเครื่องยนต์แห่งความทุกข์ที่เกิดขึ้นด้วยกรรมเกลศ ฯ

 

      104 คนเขลา อ่อนความรู้และไม่มีความรู้ ย่อมกำหนดที่อาศัยเป็นไปต่างๆโดยความงาม เขาย่อมท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏ อันเป็นมูลแห่งความทุกข์ตลอดกาลนาน จะเสวยเวทนาที่เป็นทุกข์มากอยู่ในนรก ฯ

 

      105 ตะโพก ถ่ายเทสิ่งที่มีกลิ่นเหมืนสกปรก มีขาอ่อนและแข้งติดต่อกันไปตามลำดับเหมือนเครื่องยนต์ เรามองเห็นเธอเป็นเหมือนเล่นกลเธอย่อมเป็นไปโดยประการต่างๆ เพราะเหตุปรัตยัย ฯ

 

      106 เราเห็นกามคุณทั้งหลายว่าปราศจากคุณ และเสื่อมจากคุณเป็นทางนอกเหนือและเป็นกาผิดจากทางของอารยชญาน (ชญานของพระอารยะ) เสมอด้วยเปลวไฟมีพิษและเหมือนงูใหญ่โกรธ คนพาล สยบอยู่ในกามคุณนี้แล เข้าใจว่าเป็นสุข ฯ

 

      107 ผู้ใดตกเป็นทาสกามแห่งหญิงทั้งหลาย ผู้นั้นอยู่นอกทางศีลอยู่นอกทางธยาน มีมติเลวทราม อยู่ห่างไกลชญาน ปั่นป่วนในความกำหนัด ละความยินดีในธรรม รื่นรมย์อยู่ด้วยกามทั้งหลาย ฯ

 

      108 เรามิได้อยู่ร่วมด้วยราคะและมิได้อยู่ร่วมด้วยโทษะ มิได้อยู่ร่วมด้วยกาลซึ่งไม่เที่ยง ไม่งาม ไม่ใช่ตัวตน และเราไม่ร่วมด้วยความใคร่ ความปรารถนาที่น่ายินดีซึ่งควรเว้น จิตของเราพ้นแล้วเหมือนลมในอากาศ ฯ

 

      109 สัตว์โลกในโลกนี้ สมบูรณ์ด้วยกามเช่นนี้ กัลปพร้อมทั้งสัตวโลกทั้งหลายนั้นจะต้องอยู่กันอย่างยัดเยียด ราคะ โทษะ โมหะ ไม่มีแก่เราแน่ะนางผู้เจริญ เราเป็นชิน (ผู้ชนะ) มีใจเสมอด้วยอากาศ ฯ

 

      110 ถึงแม้ว่า ในโลกนี้ นางฟ้าซึ่งปราศจากเลือดและกระดูกปราศจากมลทินอย่างยิ่ง สวยงาม นางฟ้าทั้งหลายเหล่านั้นทั้งหมด ก็ยังตั้งอยู่ในภัยอันใหญ่ยิ่ง เป็นผู้ปราศจากภาวะที่เที่ยง ไม่มีความเที่ยงแท้แน่นอน ฯ

 

      ครั้งนั้นแล นางฟ้าธิดามารเหล่านั้น เป็นผู้ศึกษามาดีแล้ว เกิดราคะความเมามัว และความหยิ่งในมายาสตรีมีอัตรามาก และแสดงอารมณ์ที่น่าปรารถนา ตกแต่งร่างกายแสดงมายาสตรีประเล้าประโลมพระโพธิสัตว์

 

ในที่นี้มีคำกล่าวไว้ว่า

 

      111 ธิดามารทั้งหลาย เป็นหญิงสาวประเสริฐประกอบด้วยความยินดีในตฤษณา มีความยินดีในเมถุนกรรม อ่อนหวาน งามยิ่ง ด่วนเข้าไปหา เหมือนลมพัด นางเหมือนหน่ออ่อนๆและเหมือนเถาวัลย์อ่อนๆ ฟ้องรำประเล้าประโลมพระราชบุตรผู้เสด็จไปยังกอพุ่มไม้(ต้นโพธิ)ว่า ฯ

 

      112 ฤดูนี้ เป็นสมัยวสันต์กาลประเสริฐเลิศ เป็นฤดูประเสริฐหญิงชายพากันรื่นเริงหรรษา ไม่มีความมืดและฝุ่นผง ระคนไปด้วยหมู่นก โดยเสียงร้องของนกดุเหว่า หงส์และนกยูง เป็นการปรากฏเพื่อเสวยความยินดีในกามคุณของกามเทพ ฯ

 

      113 พระองค์ยินดีในศีลตั้งพันกัลป ประพฤติพรตและตบะ ไม่ไหวหวั่นเหมือนขุนเขาเมรุ มีพระวรกายเหมือนดวงอาทิตย์อ่อน มีพระวาจาก้องเหมือนฟ้าลั่น และไพเราะ บันลือเหมือนราชสีห์บันลือ ทรงกระทำประโยชน์ในโลก ตรัสพระวาจาประกอบด้วยประโยชน์ ฯ

 

      114 ทรงวิวาทกับกาม จองเวร ทะเลาะกับกามซึ่งกระทำภัยคือมรณะ ซึ่งพาลชนซ่องเสพ ผู้รู้เว้นแล้วทุกเมื่อ สัตว์บุทคลถึงความตายในที่ใด ที่นั้นพระสุคตทั้งหลายถึงความไม่ตาย พระองค์จะชนะมาร เป็นพระอรหันต์ มีกำลัง 10 (*)ในวันนี้ ฯ

 

*กำลัง 10 คือ ทศพลชญาน

 

      115 ธิดามาร ผู้มีหน้างามเหมือนดอกบัว แสดงมายาอยู่ ได้ยินพระวาจาแล้ว ทูลว่า พระองค์จะเป็นพระราชา เป็นเจ้าแผ่นดินผู้เป็นใหญ่องค์ประเสริฐ ทรงพระกำลัง เมื่อคณะหญิงสาวประเสริฐบรรเลงดนตรีตั้งพัน ประโยชน์อะไรด้วยการครองเพศเป็นมุนีของพระองค์ เลิกเสียเถิด จงเสวยความยินดีเถิด ฯ

 

พระโพธิสัตว์ตรัสว่า

 

      116 เราจะเป็นราชาในภพทั้ง 3 ในพื้นฟ้าและพื้นดินโดยชอบธรรม เป็นอิศวระ ประกาศธรรมจักร เป็นทศพล เป็นผู้มีกำลัง มีบุตรที่เป็นไศกษยะ(*)นับจำนวนตั้งหมื่น ประชุมกันเนืองนิตย์นอบน้อมแล้ว ไม่ยินดีด้วยอารมณ์ทั้งหลาย ใจมีความยินดีเหมือนกัน แต่ยินดีในธรรม ฯ

 

*ไศกษยะ ได้แก่ ผู้อยู่ในภูมิอารย 3 จำพวก คือโสดา สกทาคามี อนาคามี อไศกษยะ ได้แก่ ผู้ตั้งอยู่ในภูมิอรหัต

 

ธิดามารเหล่านั้นทูลว่า

 

      117 ตราบใด วัยรุ่นยังไม่คล้อยไป ยังอยู่ในปรถมวัย ตราบใดพยาธิยังไม่ก้าวเข้ามา และความชรายังไม่มีแก่พระองค์ ตราบใด พระองค์ยังทรงไว้ซึ่งรูปงามและวัยรุ่น และวัยก็ยังเป็นสุขอยู่ ตราบนั้นซิหนอพระองค์จงเสวยความยินดีในกาม มีพระพักตร์ยิ้มแย้ม ฯ

 

      118 ตราบใด กษณะอันประเสริฐยากที่จะได้เป็นอมฤตะเราได้แล้วในวันนี้ และตราบใด กษณะอันชั่วช้าในบุรีของอสูรและของเทวดาทั้งหลายเราเว้นเสียแล้ว และตราบใด ร่างกายยังไม่กำเริบด้วยชราพยาธิและมรณะตราบนั้น เราจะทำทางที่ดี เป็นทางไปสู่บุรีที่ไม่มีภัย(อภยบุรี) ฯ

 

      119 พระองค์อันเทวดาผู้ประเสริฐในสวรรค์ชั้น ยามา สยามาและดุษิตสรรเสริญแล้ว เหมือนเจ้าแห่งไตรทศ(*)มีนางฟ้าในเมืองสวรรค์ห้อมล้อม และพระองค์ทรงตกอยู่ในอำนาจหญิงสาวในเมืองมาร ยินดีในกามกระทำความยินดีอย่างไพบูลย์กับพวกข้าพเจ้าทุกเมื่อ จงเสวยกามสนุกสนาน ฯ

 

* ไตรทศ แปลว่าผู้มีความเป็นไป 3 อย่าง คือ 1 สัมภวะ การเกิดปรากฏขึ้น 2 ภาวะ มีสภาพเป็นอยู่ 3 มรณะ การจุติหรือตาย ได้แก่เทวดา คือเทวดาไม่มีแก่และไม่ป่วยไข้ เมื่อเกิดก็เกิดเป็นตัวตนขึ้นมา เมื่อจุติก็หายวับไป ไม่ป่วยเสวยทุกขเวทนา

 

พระโพธิสัตว์ตรัสว่า

 

      120 กาม ปรวนแปรเหมือนน้ำค้างที่ใบหญ้าตอนเช้า เหมือนเมฆฤดูศรทะ(*) และเหมือนความโกรธของนางนาค  (โกรธง่ายหายเร็ว) เป็นเหตุแห่งภัยอย่างร้ายแรง องค์ศักรและเทพชั้นยามาชั้นดุษิต ก็ตกอยู่ในอำนาจมาร เมื่อปรารถนานารีแล้วถึงความวิบัติ ใครเล่าจะยินดีในกามฯ

 

* ฤดูศรทะ คือฤดูที่ตกอยู่ในเดือนพฤศจิกายน และเดือนที่ดวงจันทร์ ใกล้หมู่ดาวอัศวินี หรือฤดูใบไม้ร่วง

 

ธิดามารเหล่านั้นทูลว่า

 

      121 พระองค์จงทอดพระเนตรนางผู้นี้กำลังบานแย้ม เหมือนต้นไม้ประเสริฐมีหน่ออ่อนๆ ร้องเสียงหวานเหมือนเสียงร้องของนกดุเหว่าและนกกระทาดง น่ารักเหมือนหน่อไผ่อ่อนๆเขียวสดน่ารักงอกขึ้นบนพื้นดิน ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นนรสิงหะ พระองค์จะเสพ จะรื่นรมย์ กับนางสาวทั้งหลายในป่า หรือไม่ฯ

 

พระโพธิสัตว์ตรัสว่า

 

      122 ไม่มีหน่อเหล่านี้ เพราะอำนาจแห่งฤดูกาล ผึ้งทั้งหลายมีความหิวและกระหายก็บินไปสู่ดอกไม้ ดวงอาทิตย์โผล่ขึ้นมายังพื้นดิน จะแผดเผาให้เหือดแห้งเมื่อใด เมื่อนั้นอมฤตะซึ่งพระชินในปางก่อนบริโภคแล้วจะปรากฏแก่เราในที่นี้ฯ

 

ธิดามารเหล่านั้นทุลว่า

 

      123 ขอพระองค์จงทอดพระเนตรนางผู้มีหน้าเหมือนด้วงจันทร์เหมือนดอกบัวสดๆก่อน นางมีวาจาไพเราะจับใจ สุภาพ มีฟังขาวเหมือนหิมะ และเงินยวง นางเช่นนี้หาได้ยาก จะหาในเมืองสวรรค์และในเมืองมนุษย์ได้ที่ไหน นางเหล่านั้นซึ่งเทวดาผู้ประเสริฐยังต้องการอยู่เสมอพระองค์จงรับเอานางนี้ไว้เถิดฯ

 

พระโพธิสัตว์ตรัสว่า

 

      124 เราเห็นตอรกลางวันของร่างกายสกปรก เต็มไปด้วยหมู่หนอนค่ำคร่า ต่ำทราม แตกง่าย และถึงความไม่มีสุขสภาพใด กระทำความสุขอย่างยอดยิ่งให้แก่โลกทั้งเคลื่อนที่ได้ และเคลื่อนที่ไม่ได้เราจะได้สภาพนั้นอยันไม่ตาย ซึ่งพุทธิชนทั้งหลยแล้ว

 

บูชาแล้วฯ

 

      125 ธิดามารเหล่านั้น งามน่าปรารถนาด้วยมายาศิลป 64 อย่าง น่าชิม ผูกลูกพรวน และเครื่องประดับสะเอว ยินยอมแล้วมีเครื่องนุ่งห่มหลุดลุ่ย ถูกศรคือกาม มีหน้าแย้มสรวล พร้อมด้วยความยียวน ทุลว่า ข้าแต่อารยบุตร ถ้าพระองค์ไม่คบ พระองค์จะทำอะไรผิดไปกระมังฯ

 

      126 พระโพธิสัตว์ ทรงทราบโทษในภพทั้งปวง ทรงกำจัดธุลีคือเกลศแล้ว ตรัสว่า กามทั้งหลาย เช่นกับมีด หอก หลาว ประกอบด้วยอุปมาเหมือนน้ำผึ้ง และมีดโกน เหมือนหัวงู และไฟสุมขอน(*) เรารู้แล้วในที่นี้ เพราะฉะนั้น เราจึงละหมู่นารีซึ่งเป็นหญิงสาว ผู้ผลาญคุณความดีฯ

 

      127 ธิดามารเหล่านั้น ไม่สามารถประเล้าประโลมพระสุคตผู้เสด็จลีลาเหมือนลูกช้า ด้วยการกระทำคุณสมบัติของหญิงสาวตั้งหลายหมื่นอย่างก็เกิดมีความละอาย มีหรีโอตระปาตตะ หมอบลงแล้วแทบพระบาทของพระมุนี เกิดความเคารพ ความยินดี ความรัก กระทำประโยชน์ในการสดุดีทั้งหลายฯ

 

      128 พระโพธิสัตว์ มีพระพักตร์เหมือนดวงจันทร์ในฤดูศรทะ เช่นเดียวกับกระพุ่งดอกบัวปราศจากมลทิน และเช่นเดียวกับไฟบูชายัชญ เมื่อหยอดน้ำมันเนยลงไปเหมือนภูเขาทอง ยังความคิดที่คิดไว้ให้สำเร็จ ทรงประพฤติในประณิธานของพระองค์ตั้งร้อยชาติ พระองค์ข้ามพ้นด้วยพระองค์เองแล้ว ยังสัตว์โลกที่ถึงความวิบัติให้ข้าพ้นด้วยฯ

 

      129 ธิดามารเหล่านั้น สดุดีพระองค์ผู้เสมือนดอกรรณิกาและดอกจำปา ด้วยวิธีเป็นอันมาก กระทำประทักษิณพระองค์ผู้ไม่ไหวหวั่นเหมือนภูเขา อย่างเคารพยอดยิ่ง แล้วไปซบศีรษะลงที่บิดา พูดคำนี้ว่าข้าแต่พ่อ ศัตรูของผู้เป็นครูเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายกลัวต่อพระโพธิสัตว์แล้ว

 

      130 ดูซิ พระองค์มีพระเนตรเหมือนกลีบบัว มีพระพักตร์ยิ้มแย้มพระองค์มองไปยังคน ไม่ทรงมีความกำหนัด และไม่ทรงสยิ้วพระพักตร์ ภุเขาเมรุอาจไหวได้ มหาสมุทรอาจแห้งได้ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อาจตกลงมาได้ แต่พระองค์ เห็นโทษ ไม่ตกอยู่ในอำนาจหญิงสาวในไตรภพฯ

 

      ครั้งนั้นแล มารชั่วร้าย ได้ยินคำนี้แล้ว มีความทุกข์เหลือขนาด เสียใจ ไม่มีใจอยู่กับตัว มีใจประทุษร้าย เรียกธิดาของตนเหล่านั้นมาว่า เจ้าผู้เจริญทั้งหลาย ทำไมเจ้าไม่อาจจะทำให้พระโพธิสัตว์นั้นลุกขึ้นจากควงต้นโพธิหรือ อย่าโง่เลย อย่าไม่รุ้อะไร ทำไมพระโพธิสัตว์ไม่เห็นรูปร่างงามของพวกเจ้าดอกหรือ ?

 

      ครั้งนั้นแล ธิดามารเหล่านั้น ตอบบิดาของตนด้วยคำเป็นประพันธ์ ว่า

 

      131 พระโพธิสัตว์พูดสุภาพ ไพเราะ แต่ไม่มีความรัก และพิจารณาดูสิ่งลี้ลับอย่างลึกซึ้ง และไม่เป็นผู้ประทุษร้าย ประพฤติภิกษาจารและประพฤติพรหมจรรย์ และมิได้โง่เขลา พระวรกายเต็มทุกอย่าง พระหทัยลึกมากฯ

 

      132 พระองค์รู้โทษของอิสตรีทั่วไป โดยไม่ต้องสงสัย มีพระหทัยเว้นจากกามทั้งหลาย และไม่มีความยินดีในราคะ พระองค์ไม่มีในสวรรค์หรือในแผ่นดิน ในที่นี้ ไม่ว่าพระองค์จะเป็นมนุษย์หรือเทวดา เพราะความประพฤติในจิตของพระองค์ มีความรอบรู้ฯ

 

      133 ข้าแต่พ่อ มายาสตรีที่แสดงไว้ในที่นั้น  ทำให้ใจของผู้มีราคะนั้น เหลวงไปได้ พระโพธิสัตว์เห็นมายาสตรีนั้นแล้ว จิตของพระองค์ไม่กระเทือนแม้แต่น้อย พระองค์ไม่ไหวหวั่น ตั้งมั่นเหมือนขุนเขาศิลาฯ

 

      134 พระองค์เพียบพร้อมด้วยเดชแห่งบุณยตั้งร้อย เต็มไปด้วยเดชแห่งคุณ ทรงประพฤติในศีลและในตบะหลายโกฏิกัลป พรหมและเทพจดาผู้มีเดชดีงามซึ่งเป็นสัตว์บริศุทธ ต่างก็สยบศีรษะลงแทบพระบาทนมัสการพระองค์ฯ

 

      135 พระองค์ทรงกำจัดมารและเสนามารทั้งหลายได้โดยไม่ต้องสงสัย จะทรงบรรลุซึ่งโพธิอันเลิศตามมติของพระชินปางก่อน ข้าแต่พ่อ พ่ออย่าพอใจเลย อย่าพอใจในสงครามหรือในการวิวาท เมื่อผู้มีกังทั้งหลายทำสงครามกัน กาทำสงครามนี้ ก็จะมีแต่ความลำบากมากฯ

 

      136 ข้าแต่พ่อ พ่อจงดูพระโพธิสัตว์เป็นหมื่นๆทรงมณีรัตน์เป็นปิ่น อยู่กันด้วยความเคารพในท้องฟ้า มีถือถือแก้ว ร่างกายสวมพวงมาลัยดอกไม้อันวิจิตร พระทศพลทั้งหลาย คอยดูแลอยู่แล้วเพื่อการบูชาฯ

 

      137 อันใด มีเจตนาหรือไม่ก็ตาม เป็นต้นไม้ ภูเขา ครุฑ องค์อินทร์จอมเทวดา ยักษ์ ได้หันหน้านอบน้อมพระองค์ผู้เปรียบเหมือนภูเขาซึ่งมีคุณ วันนี้ กลับดีกว่า นะพ่อนะฯ

 

อีกประการหนึ่ง

 

      138 ผู้ไม่ข้ามหาสมุทรนั้น ก็ไม่ถึงฝั่ง ผู้ไม่ขุดต้นไม้นั้น ก็ถอนรากเหง้าไม่ขึ้น ผู้ไม่รบกวนเขา เขาก็พอทนได้ต่อไป เขาเสียใจด้วยวิธีใด ไม่ควรทำเขาด้วยวิธีนั้นฯ

 

      ครั้งนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น เทพธิดารักษาต้นโพธิ 8ตน นั่นคือ ศรี วฤทธิ ตปา เศรยสี วิทุ โอโชพลา สัตยวาทินี และสมังคินี เทพธิดาเหล่านี้ นั้น บูชาพระโพธิสัตว์ เพิ่มพูนสง่าราศี พระโพธิสัตว์ด้วยอาการ 16สรรเสริญขึ้นว่า

 

      139 ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นสัตว์บริศุทธ พระองค์งามเหมือนดวงจันทร์ในปักษ์ข้างขึ้น ข้าแต่พระองค์ผู้มีความรู้บริศุทธ พระองค์รุ่งเรืองเหมือนดวงอาทิตย์กำลังขึ้นฯ

 

      140  ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นสัตว์บริศุทธ พระองค์เบิกบานเหมือนบัวกลางน้ำ  ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นสัตว์บริศุทธ พระองค์ทรงบันลือสิงหนาทเหมือนราชสีห์เที่ยวไปตามราวไพรฯ

 

      141  ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นสัตว์เลิศ พระองค์ตระหง่านเหมือนขุนเขากลางมหาสมุทร  ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นสัตว์บริศุทธ พระองค์เด่นเหมือนภูเขาจักรวาลฯ

 

      142  ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นสัตว์เลิศ พระองค์ยากที่ใครจะหยั่งถึงเหมือนมหาสมุทร เต็มไปด้วยรัตนะ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นที่พึ่งของโลก พระองค์มีปรัชญากว้างขวางเหมือนอากาศไม่มีขอบเขตฯ

 

      143  ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นสัตว์บริศุทธ พระองค์มีปรัชญาตั้งมั่นเป็นอย่างดีเหมือนพื้นดินเป็นทีอาศัยของสัตว์ทั้งปวง  ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นสัตว์เลิศ พระองค์มีปรัชญาไม่ขุ่นมัวเหมือนสระอโนดาต มีน้ำใสอยู่เสมอฯ

 

      144  ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นสัตว์เลิศ พระองค์มีปรัชญาไม่มีที่อยู่ประจำเหมือนลมไม่ติดขัดทุกเมื่อในโลกทั่วไป  ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นสัตว์เลิศ พระองค์ยากที่ใครจะเข้าถึงเหมือนพระราชาผู้มีเดชมาก ละอหังการได้ทั้งหมดฯ

 

      145  ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นสัตว์เลิศ พระองค์มีกำลังเหมือนนารายณ์ ยากที่ใครจะดูถูกได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นที่พึ่งของโลก พระองค์มีสมาทาน(ยึดมั่น)มั่นคง ว่าจะไม่ลุกจากควงต้นโพธิฯ

 

      146  ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นสัตว์เลิศ พระองค์ไม่เสด็จกลับเหมือนมือขององค์อินทร์ชูวัชระไว้  ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นสัตว์เลิศ พระองค์ได้ลาภเป็นอย่างดี จะเพียบพร้อมด้วยทศพลไม่นานฯดังนี้ฯ

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทพธิดาผู้รักษาต้นโพธิ ได้เพิ่มพูนสง่าราศี พระโพธิสัตว์มีอาการ16ดั่งนี้แล

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลายในที่นั้น เทวบุตรชั้นศุทธาวาสได้ทำมารชั้วร้ายให้อ่อนกำลังด้วยอาการ 16 อย่าง อาการ16 อย่างนั้น เป็นไฉน? นั่นคือ

 

      147 ดูกรมารชั่วร้าย ท่านถูกกำจัดแล้วเหมือนนกกระเรียนแก่ซบเซาอยู่  ดูกรมารชั่วร้าย ท่านอ่อนกำลังแล้วเหมือนช้างแก่ติดหล่มฯ

 

      148 ดูกรมารชั่วร้าย ท่านเหลือผู้เดียว แพ้แล้วเหมือนความยินยอมของคนกล้า ดูกรมารชั่วร้าย ท่านไม่มีเพื่อน เหมือนคนเดือนร้อนด้วยโรค(คนป่วย) ถูกเขาทิ้งไว้ในดงฯ

 

      149 ดูกรมารชั่วร้าย ท่านหมดกำลังแล้วเหมือนโคถึกลำบากด้วยของบรรทุก ดูกรมารชั่วร้าย ท่านถูกเขาทั้งแล้ว เหมือนต้นไม้ถูกลมถอนฯ

 

      150 ดูกรมารชั่วร้าย ท่านตั้งอยู่ในทางผิด เหมือนสารถีพลาดจากถนน ดูกรมารชั่วร้าย  ท่านเป็นผู้อนาถาเสื่อมสิ้นแล้ว เหมือนคนเข็ญใจ มีแต่ความริษยาฯ

 

      151 ดูกรมารชั่วร้าย ท่านปากร้ายเหมือนนกกาคะนอง ดูกรมารชั่วร้าย ท่านถูกมานะครอบงำเหมือนคนอกตัญญูดื้อด้านฯ

 

      152 ดูกรมารชั่วร้าย วันนี้ ท่านจะต้องหนีเหมือนสุนัขป่าหนีเสียงบันลือของราชสีห์ ดูกรมารชั่วร้าย วันนี้ ท่านจะต้องถูกกำจัดเหมือนนกถูกลมเวรัมภวาต(ลมบ้าหมู) ซัดแล้วฯ

 

      153 ดูกรมารชั่วร้าย ท่านไม่รู้กาละ เหมือนผู้ภิกษาจารสิ้นบุณย ดูกรมารชั่วร้าย วันนี้ ท่านจะต้องถูกเขางดเว้น(บอกศาลา) เหมือนภาชนะแตกเต็มไปด้วยฝุ่นผงฯ

 

      154 ดูกรมารชั่วร้าย วันนี้ ท่านจะต้องถูกพระโพธิสัตว์บำราบเหมือนงูถูกบำราบด้วยมนตร์ ดูกรมารชั่วร้าย ท่านหมดกำลังแล้วด้วยประการทั้งปวง เหมือนนักเลงโตถูกตัดมือเท้าแล้วฯ

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวบุตรชั้นศุทธาวาส ได้กระทำมารชั่วร้ายให้อ่อนกำลังด้วยอาการ 16 อย่าง ดังนี้แล

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวบุตรบำรุงต้นโพธิได้ตัดขาดมารชั่วร้ายด้วยอาการ 16 อย่าง อาการ16อย่าง เป็นไฉน? นั่นคือ

 

      155 ดูกรมารชั่วร้าย วันนี้จะแพ้พระโพธิสัตว์ เหมือนทหารฝ่ายข้าศึกแพ้ผู้กล้าหาญ ดูกรมารชั่วร้าย วันนี้จะถูกพระโพธิสัตว์ปราบเหมือนผู้กำลังน้อยถูกผู้มีกำลังมากปราบฯ

 

      156 ดูกรมารชั่วร้าย วันนี้ ท่านจะถูกพระโพธิสัตว์ครอบงำเหมือนแสงหิ่งห้อยถูกรัศมีดวงอาทิตย์ครอบงำ ดูกรมารชั่วร้าย วันนี้จะถูกพระโพธิสัตว์กำจัดเหมือนกำหญ้ามุญชะ(หญ้าซุ้มกระต่าย) ถูกพายุกำจัดฯ

 

      157 ดูกรมารชั่วร้าย วันนี้ท่านจะสะดุ้งกลัวโดยพระโพธิสัตว์เหมือนสุนัขจิ้งจอกสะดุ้งกลัวโดยราชสีห์ ดูกรมารชั่วร้าย วันนี้ท่านจะถูกพระโพธิสัตว์ทำให้ล้มเหมือนต้นมหาสาละรากขาดฯ

 

      158 ดูกรมารชั่วร้าย วันนี้ท่านจะย่อยยับดดยพระโพธิสัตว์ เหมือนนครของข้าศึกย่อยยับโดยมหาราชา ดูกรมารชั่วร้าย วันนี้ท่านจะเหือดแห้งโดยพระโพธิสัตว์ เหมือนน้ำในรอยเท้าโคเหือดแห้งโดยแดดจัดฯ

 

      159 ดูกรมารชั่วร้าย วันนี้ท่านจะหนีโดยพระโพธิสัตว์ เหมือนนักเลงอันธพาลพ้นโทษ  ดูกรมารชั่วร้าย วันนี้ท่านจะแตกตื่นโดยพระโพธิสัตว์ เหมือนฝูงผึ้งแตกตื่นโดยไฟไหม้ฯ

 

      160 ดูกรมารชั่วร้าย วันนี้ท่านจะยุ่งใจโดยพระโพธิสัตว์ เหมือนพระธรรมราชากับราษฎรชั่วร้าย ดูกรมารชั่วร้าย วันนี้ท่านจะซบเซาโดยพระโพธิสัตว์ เหมือนนกกระเรียนแก่ขนปีกลุ่ยฯ

 

      161 ดูกรมารชั่วร้าย วันนี้ท่านจะสิ้นเนื้อประดาตัวโดยพระโพธิสัตว์ เหมือนคนหมดเสบียงกรังในดงกันดาร ดูกรมารชั่วร้าย วันนี้ท่านจะโอดครวญโดยพระโพธิสัตว์ เหมือนคนสำเภาแตกในมหาสมุทรฯ

 

      162 ดูกรมารชั่วร้าย วันนี้ท่านจะต้องฉิบหายวายวอด เหมือนหญ้าและไม้ยืนต้นต้องไฟบรรลัยกัลป ดูกรมารชั่วร้าย วันนี้ท่านจะต้องกระจัดกระจายโดยพระโพธิสัตว์ เหมือนยอดภูเขากระจัดกระจายโดยมหาวัชระ(ถูกฟ้าผ่า)ฯ

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวบุตรผู้ปฏิบัติบำรุงต้นโพธิได้ตัดขาดมารร้ายด้วยอาการ 16 อย่าง ดั่งนี้แล แต่มารชัวร้ายก็ยังไม่กลับ

 

ในที่นี้ มีคำกล่าวไว้ว่า

 

      163 หมู่เทวดาได้ยินคำกล่าวขานของเทวบุตรเหล่านั้น มารนั้นยังไม่กลับ และพูดว่าท่านทั้งหลายจงตัดขาด จงฆ่า จงรบกวนศรมณะนี้เสีย อย่าไว้ชีวิตเลย ศรมณะนั้นข้ามด้วยพระองค์เองแล้วจะยังผู้อื่นให้ข้ามพ้นวิษัยของเราด้วย เราพูดไว้บ้างแล้วว่า ความพ้นอย่างอื่น ย่อมไม่มี ควรให้ศรมณะลุกขึ้นก้าวหนีไปเสีย ฯ

 

      164 ขุนเขาเมรุอาจเคลื่อนจากที่ สัตวโลกทั้งปวงอาจไม่มี หมู่ดาวทั้งปวงพร้อมทั้งดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ อาจตกจากฟ้าลงมายังแผ่นดิน ผู้มีฤทธิ์อาจทำสัตว์ทั้งปวงให้มีความคิดนึกอย่างเดียวกัน มหาสมุทรอาจแห้ง แต่เราผู้เข้าไปสู่โคนต้นทุมราช(ต้นโพธิ) จะไม่เคลื่อนตามวิธีของเราฯ

 

มารพูดว่า

 

      165 ข้าพเจ้าเป็นผู้ใหญ่ในกาม เทวดาพร้อมทั้งหมู่ทานพ มนุษย์และสัตว์เดียรัจฉานที่อยู่ในโลกทั้งปวงนี้ ข้าพเจ้าแผ่ไปถึง เขาเหล่านั้นตกอยู่ในอำนาจของข้าพเจ้าทั้งสิ้น พระองค์จงลุกขึ้น พระองค์อยู่ในวิษัยของข้าพเจ้าจงทำตามคำฯ

 

พระโพธิสัตว์ตรัสว่า

 

      166 ถ้าท่านเป็นใหญ่ในกาม แต่ท่านก็ไม่เป็นใหญ่ต่อผู้คงแก่เรียน เราเป็นใหญ่ในธรรม ท่านจงดูเราให้แน่ชัด ถ้าท่านไม่ไปสู่ทุรคติท่านก็เป็นใหญ่ในกามได้ แต่เราไม่อยู่ในอำนาจของท่านซึ่งคอยดูอยู่ เราจะบรรลุโพธิ ฯ

 

      167 ข้าแต่ศรมณะ พระองค์องค์เดียว ทำอะไรอยู่ในป่า พระองค์ปรารถนาสิ่งใด สิ่งนั้นเมื่อทำถูกแล้วก็ได้ง่าย ความปรารถนาของพระดาบสภฤคุและอังคีรสเป็นต้นนั้น ยังไม่บรรลุขทอันประเสริฐ(โมกษ) พระองค์เป็นมนุษย์ธรรมดา จะบรรลุได้ที่ไหน ฯ

 

พระโพธิสัตว์ตรัสว่า

 

      168 ตบะอันไม่มีใครรู้มาก่อนนั้น ฤษีทั้งหลายผู้มีความรู้ ถูกความโกรธครอบงำแล้ว  ผู้ใคร่ต่อเทวโลก ผู้มีความสงสัยในตนว่า เที่ยงหรือไม่เที่ยง และผู้อ้างโมกษ(นิรวาณ)ว่ามีสถานที่ มีการไปถึง มีที่ตั้ง ได้บำเพ็ญแล้ว ฯ

 

      169 ฤษีเหล่านั้น ปราศจากความหมายอย่างถ่องแท้ กล่าวถึงอาตมันว่า ซ่านไปทั่วทุกแห่ง บ้างก็ว่าอาตมันเที่ยงแท้ บ้างก็ว่าอาตมันมีรูป บ้างก็ว่าอาตมันไม่มีรูป และบ้างก็ว่าอาตมันไม่มีคุณสมบัติแห่งคุณสมบัติทั้งหลาย และบ้างก็ว่าอาตมันเป็นผู้ทำอะไรได้ บ้างก็ว่าทำอะไรไม่ได้ ฯ

 

      170 เราอยู่บนอาสนะในที่นี้ จะบรรลุโพธิอันปราศจากธุลีคือเกลศ ดูกรมาร เราจะชนะท่านผู้ซึ่งถูกทำลายแล้วพร้อมทั้งไพร่พลพร้อมทั้งกองทัพและเราเว้นแล้วซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดและการเกิดแห่งโลกนี้ นิรวาณเป็นความระงับทุกข์และเป็นความเย็น ฯ

 

      171 มารโกรธแล้ว ประทุษร้ายแล้ว เดือดดาลแล้ว และพูดคำหยาบคายออกมาอีกว่า จงจับพระโคดม พระโคดมนั่นแหละพระองค์เดียวอยู่ในป่า ท่านทั้งหลายจงจับให้ได้ จงไปทำให้ตกอยู่ในอำนาจต่อหน้าเราโดยเร็วโดยมอบตัวให้เรา จงไปเร็ว จงทำต่างๆใส่ตรวนคู่อย่างทาสชั้นต่ำไว้ที่ประตูรือนของเรา เราจะดูศรมณะนี้ด้วยตนเอง ว่าเขามีความเร่าร้อนด้วยความทุกข์เป็นทาสของเทวดาทั้งหลาย วิ่งสิ่งเสียงร้องไปต่างๆนาๆโดยเร็ว ฯ

 

พระโพธิสัตว์ตรัสว่า

 

      172  ท่านอาจใช้เท้าเขียนรูปภาพในอากาศ กระทำแปลกๆหลายอย่างเป็นอันมาก โดยทำให้เป็นอย่างๆไป ท่านอาจให้คนวิ่งไปยังทิศน้อยทิศใหญ่โดยเร็ว ให้มัดลมไว้ด้วยบ่วงด้วยความพยายามเป็นอย่างดี ท่านอาจกระทำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ให้มืด มืดตื้อ มืดมิด ให้อากาศและในพื้นดินในวันนี้ แต่ผู้เช่นท่านต่อให้ป่าวร้องบริวารจำนวนมากก็ไม่อาจยังเราให้เคลื่อนจากพุ่มไม้ได้ ฯ

 

      173 พยุหแสนยาของมารมีกำลังนั้นตั้งขึ้นแล้วด้วยเสียงศังข์ เสียงกลองใหญ่ กลองเล็ก แสดงความโอดครวญ ใครเห็นกองทัพของมารซึ่งมีความกลัวอย่างยิ่ง ก็จะร้องว่า โธ่บุตรเอ๋ย โธ่ลูกเอ๋ย โธ่ที่รักเอ๋ย ทำไมจึงศูนย์สิ้นเสียแล้ว ฯ

 

      174 พระโพธิสัตว์ผิวเหลืองเหมือนทองชมพูนท และเหมือนกระพุ้งกลีบดอกจำปา ละเอียดอ่อน เทวดาและมนุษย์สรรเสริญแล้ว เป็นผู้ควรบุชา หมู่ยักษ์รากษสพูดว่าวันนี้ ท่านจะถึงความพินาศในสงคราม ท่านจะตกอยู่ในอำนาจของมาร เหมือนดวงจันทร์ตกอยู่ในอำนาจของราหู ฯ

 

      175 พระสุคต ตรัสกับหมู่ยักษ์รากษสเหล่านั้นด้วยพระสุรเสียง เหมือนเสียงพรหมและเหมือเสียงนกการเวกว่า ผู้ใดเป็นผู้ไม่รู้ ปรารถนาจะให้อากาศสะดุ้งกลัว ผู้นั้น พึงปรารถนาจะจับเราจากต้นโพธิตามวิธีของเขานั้น ฯ

 

      176 และผู้ใด เอาเชือกวงล้อมรอบเทวโลก และวิดน้ำมหาสมุทรด้วยเส้นขน และทำลายภูเขาประเสริฐล้วนแล้วด้วยเพชรได้ชั่วเวลาฉับพลันแต่ผู้นั้นจะเบียดเบียนเราผู้อยู่ที่ต้นโพธิไม่ได้ ฯ

 

      177 มารผู้มีจิตประทุษร้ายคอยอยู่ตลอดยุค(*) มือถือดาบคมไม่ใส่ฝัก พูดว่า ดูกรศรมณะ ลุกขึ้นเร็ว ไปเสียตามความคิดเห็นของเราวันนี้ อย่าต้องให้เราตัดไม้เรียวสดๆ เฆี่ยนท่านเลย ฯ

 

* ยุคมี 4 คือ กฤตยุค  ไตรดายุค  ทวาปรยุค  และกลียุค

 

พระโพธิสัตว์ตรัสว่า

 

      178 เทวโลกและพื้นดินทั้งหมดนี้ ถ้าเต็มไปด้วยมาร ดาบมีอยู่ในมือของมารทั้งปวง เหมือนภูเมรุอันประเสริฐมีอยู่ในมือของมารทั้งปวง มารเหล่านั้น ถ้าไม่สามารถจะยังเส้นขนของเราให้ไหวได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงจะฆ่าเรา ท่านอย่างประทุษร้ายเราเลย เราระลึกถึงท่านผู้อ่อนแอ ตกอยู่ในแม่น้ำไม่มีฝั่ง ฯ

 

      179 มารทั้งหลาย เจาะยอดภูเขาหินให้มีไฟลุกโพลงขึ้น ขว้างต้นไม้พร้อมทั้งรากทั้งโคน และขว้างเหล็กแดง และแปลงตัวเป็น อูษฎร์ โค ช้าง มีหน้าตาน่ากลัว เป็นงูพิษ พระยานาค มีตาเป็นพิษร้ายแรง ฯ

 

      180 มารทั้งหลาย ตั้งขึ้นมาเหมือนเมฆคำรณอยู่ในทิศทั้ง 4 เป็นฟ้าผ่าลงมา และเป็นฝนเหล็กแดงตกลงมา จะทำลายพื้นแผ่นดิน ขยี้ต้นไม้ด้วยดาบหอกขวานที่คม และลูกศรพร้อมทั้งอาบยาพิษ ฯ

 

      181 บ้างก็เอามือตั้งหลายร้อยมือยกศรตั้งร้อย บ้างก็เอาปากคาบงูพิษ พ่นพิษเป็นไฟ บ้างก็จับสัตว์น้ำทั้งหลายในทะเลมีมังกรเป็นต้น บ้างก็เป็นครฑฆ่านาค ฯ

 

      182 บ้างก็มีตาโปนเหมือนภูเขาสุเมรุ บ้างก็โกรธขว้างภูเขาให้เป็นไฟไหม้ร้อน และบ้างก็มายังพื้นแผ่นดินทำให้แผ่นดินไหว บ้างก็วิ่งไปเบื้องต่ำกระโดดโลดเต้นด้วยความคะนอง ฯ

 

      183 บ้างก็ล้มลงเบื้องหน้าเบื้องหลัง เบื้องซ้าย เบื้องขวา ของพระโพธิสัตว์แล้ว พูดว่าอนิจจา ลูกของท่าน บ้างก็มีมือเท้าพิปริต มีศีรษะเป็นไฟลุกโพลง พ่นไฟออกทางตาสว่างเหมือนสายฟ้า ฯ

 

      184 ฝ่ายพระโพธิสัตว์ผู้เป็นสัตว์บริศุทธ เห็นกองทัพของมารเหล่านั้นทำกิริยาอาการผิดแปลกต่างๆเหมือนเล่นกล ทรงเห็นว่า ไม่มีมารอยู่ในที่นั้น ไม่มีกองทัพ ไม่มีโลก ไม่มีตัวตน โลกทั้ง 3 หมุนเวียนเหมือนดวงจันทร์ ฯ

 

      185 ตาไม่ใช่หญิงชายและไม่ใช่ตัวตน หู จมูก ลิ้น และกาย ก็เช่นเดียวกัน(ไม่ใช่ตัวตน) ตัวตนศูนยทั้งภายในภายนอก ธรรมเหล่านี้ อาศัยปรัตยัยเกิดขึ้น ล่วงพ้นผู้ทำและผู้รับรู้ ฯ

 

      186 เรานั้น กระทำวาจาให้เป็นจริง พูดจริงทุกเมื่อ ซึ่งธรรมเหล่านี้อันเป็นสภาพศูนยในโลกนี้ตามคำจริง คนเหล่าใด มีความสุภาพ เป็นฝ่ายประพฤติตามในวินัย คนเหล่านั้นเห็นอาวุธในมือ(ผู้อื่น) เหมือนพวงมาลัย ฯ

 

      187 เรามีตาข่ายเลิศประดับในมือขวา มีเล็บแดงงาม มีลายกงจักรซึ่งมีซี่ตั้งพันบันเทิงด้วยบุณยอันงามเหมือนรัศมีทองชมพูนท ตั้งแต่พระเศียรถึงพระบาทมีสัมผัสนุ่มนวล ฯ

 

      188 เหยียดพระหัตถ์ออกเหมือนสายฟ้าในอากาศ พูดออกไปเป็นคำที่มีอำนาจเป็นพยานของเรา ยัชญพิธีของเราอันวิจิตรเราได้บูชามาแล้ว ในครั้งก่อนตั้งหมืนกัลป ยาจกไม่ได้แค่นได้เราเลย เราก็ให้ไปแล้ว ฯ

 

      189 น้ำเป็นพยานของเรา ไฟและลมก็เช่นเดียวกันเป็นพยานของเรา พรหมประชาบดีพร้อมทั้งดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ซึ่งมีแสงสว่างก็เช่นเดียวกันเป็นพยานของเรา พระพุทธทั้งหลายซึ่งอยู่ในทิศทั้ง 10 เหล่านั้นก็เป็นพยานของเรา องค์แห่งความตรัสรู้ตั้งขึ้นด้วยศีลและพรตในตัวเราก็เป็นพยานของเราฯ

 

      190 ทานของเราก็เป็นพยาน ศีลและกษานติก็เช่นเดียวกัน วีรยะก็เป็นพยาน ธยานและปรัชญาก็เช่นเดียวกัน อภิชญามีจำนวน 4 ของเรา ก็เป็นพยานของเราได้เช่นเดียวกัน การประพฤติเพื่อตรัสรู้ตามลำดับทั้งหมดของราก็เป็นพยานในที่นี้ ฯ

 

      191 สัตว์ทั้งหมดในทิศทั้ง 10 มีประมาณเพียงใด อันใดที่เป็นบุญยเป็นกำลัง เป็นศีลและเป็นชญาน ในสัตว์มีประมาณเพียงนั้น ยัชญใดๆไม่จำกัดเขตที่คนชั่วในกลียุคบูชาแล้ว สิ่งเหล่านั้นไม่ถึงส่วนเสี้ยวแห่งเส้นผมของเราผู้มีสมฤติ ฯ

 

      192 พระโพธิสัตว์นั้น เอาพระหัตถ์แตะพื้นดินประกอบด้วยพระอาการแช่มช้อย แผ่นดินนี้ก็ดังขึ้นเหมือนเสียงตีถาดทองเหลือง มารได้ยินเสียงแล้ว ก็จากแผ่นดินไป ได้ยินแต่คำว่า ฆ่า จับ เผ่ากฤษณะ ฯ

 

      193 มารมีตัวชุ่มด้วยเหงื่อ สิ้นเดชแล้ว หน้าถอดสี เห็นตนเองมีความชราครอบงำ ทุกอก ร้องไห้ เดือดร้อนด้วยภัย เป็นผู้อนาถา ใจหมุนเวียน ใจของมารถึงโมหะ (สิ้นสติสมฤดี) แล้ว ฯ

 

      194 รากษส กุมภัณฑ์ ปีศาจ กลัวพากันวิ่งหนี หลงไม่ได้ทาง ไม่มีที่หลบหลีกป้องกัน หลับตา ร้องไห้ เหมือนนกกำลังจะตกลงในไฟเผา ฯ

 

      195 แม่ พี่หญิง น้องหญิง บิดา บุตร และพีชายน้องชาย ต่างถามกันในที่นั้นว่า เห็นเขาที่ไหนหรือ เขาไปไหน รบกัน เบียดเบียนกัน เช่นนั้น เราจะต้องถึงความวิบัติ ชีวิตหมดโอกาส ฯ

 

      196 กองทัพมารนั้น กว้างขวางใหญ่โต ไม่กระเทือน แตกกระจายแล้วก็ห่างไกลกันไป รวมกันไม่ติดตลอด7วัน ต่างก็เสื่อมโทรม เมื่อพบกัน ได้แต่พูดว่า รอดชีวิตได้ก็ยังดี ฯ

 

      197 ในครั้งนั้น เทพธิดาประจำต้นโพธิ ทำความกรุณา ตักน้ำมาจากท่าน้ำรดพระโพธิสัตว์ผู้เป็นเผ่ากฤษณะแล้วบอกว่า เฮ้ยมาร รีบลุกขึ้นไปเสีย  อย่าชักช้า สำหรับผู้ยกของหนักเหล่านั้นย่อมเป็นอย่างนี้เอง ฯ

 

มารพูดว่า

 

      198 เราได้รับทุกข์ภัย ความวิบัติ ความโศก ความพินาศ เสียงแช่งด่า ความอัปยศอดสู และความอนาถา พ่ายแพ้แก่พระโพธิสัตว์ผู้บริศุทธยิ่งในวันนี้ เพราะไม่ฟังคำอ่อนหวานมีประโยชน์ของลูก ฯ

 

      199 ผู้ที่ทำผิดในผู้ที่ไม่มีความผิดนั้น ย่อมได้รับโทษเป็นอเนก คือภัย ทุกข์ วิบัติ อนาถา เสียงแช่งด่า ถูกฆ่า และถูกจองจำ เพราะความเป็นผู้ไม่รู้ ฯ

 

      200 เทวดา อสูร ครุฑ รากษส จอมกินนร พรหม ศักร เทพชั้นปรนิรมิต จนถึงเทพชั้นอกนิษฐ์ พากันพูดว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ชนะผู้กล้าหาญในโลก ความชนะของพระองค์ซึ่งเป็นอยู่เช่นนี้นั้น มารและเสนามาร ได้หนีจากพระองค์ไปแล้ว ฯ

 

      201 เทวดาต่างพากันให้มุกดาหาร หางนกยูง ธงชัย ฉัตร ธง ปตาก ดอกไม้ ผงเนื้อไม้ กฤษณา จันทน์ เป็นฝนตกลงมา และพูดว่าจงบรรเลงดนตรีอย่างหนัก และการชนะข้าศึกด้วยความไม่เบียดเบียน (ชนะมือเปล่า)ของพระองค์ผู้กล้าหาญ เป็นความชนะสดใสที่พุ่มไม้(โพธิ) ฯ

 

      202 และพระองค์จะได้โพธิในวันนี้ ณ อาสนะประเสริฐนี้โดยแท้ และจะได้รับทศพลที่เป็นอาเวณิกธรรม (พุทธการธรรม) และวันนี้พระองค์ผู้กล้าหาญจะได้รับพุทธวิษัยทั้งหมด พระองค์ชนะมารชั่วร้าย และพรรคพวกของมารกมากมาย ด้วยพระไมตรี ฯ

 

      203 เมื่อมารทำการรังควานเป็นไปในสนามรบในโลกนี้ ผู้ใดเห็นความแกล้วกล้าของพระองค์ผู้พร้อมที่จะตรัสรู้ และผู้ใดเห็นใจซึ่งตั้งอยู่ในความตรัสรู้เป็นพระพุทธองค์ประเสริฐ ผู้นั้นคือผู้บำเพ็ญบารมีบารมิตามาแล้ว 60 หมื่นโกฏิกัลป ฯ ดั่งนี้ ฯ

 

อัธยยาที่ 21 ซื่อมารธรรษณปริวรรต (ว่าด้วยการรังควานของมาร) ในคัมภีร์ศรีลลิตวิสตร ดั่งนี้แล ฯ

 

22 การตรัสรู้

 

 

อัธยายที่ 22

 

อภิสํโพธนปริวรฺโต  ทวาวึศะ

 

ชื่ออภิสัมโพธนะปริวรรต (ว่าด้วยการตรัสรู้)

 

      กระนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ทรงกำจัดมารผู้เป็นข้าศึก ทำลายเสี้ยนหนามแล้ว ทรงมีความชนะอันได้ชนะแล้วในสงครามอันยอดเยี่ยม ทรงยกฉัตรธงชัย ธงปตากขึ้นแล้ว ทรงเข้าถึงประถมธยาน มีจิตเป็นวิเวก(แยกออก) จากกามทั้งหลาย มีจิตเป็นวิเวก (แยกออก) จากอกุศลธรรมอันชั่วร้ายทั้งหลาย มีจิตประกอบด้วยวิตรรกะ มีจิตประกอบด้วยวิจาระ มีปรีติและสุขอันเกิดแต่จิตเป็นวิเวก แล้วทรงเข้าถึงทุติยธยานอยู่ ไม่มีวิตรรกะ ไม่มีวิจาระเพราะจิตเป็นเอโกติภาวะ (มีอารมณ์เดียวอยู่เหนืออารมณ์อื่นๆ) ทั้งนี้เพราะจิตสงบอารมณ์โดยระงับจิตที่ประกอบด้วยวิตรรกะและจิตที่ประกอบด้วยวิจาระ มีปรีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ และพระองค์มีอุเบกษา(เพิกเฉย) อยู่เพราะไม่มีความยินดีในปรีติ มีสมฤติมีสัมปรชานะ รับรู้ความรู้สึกเป็นสุขทางกาย ตามที่พระอารยะได้ปรากฏมาแล้ว คือมีอุเบกษา มีสมฤติอยู่เป็นสุข และพระองค์เข้าถึงตฤตียธยานอยุ่ ไม่มีปรีติ และพระองค์เข้าถึงจตุรถธยาน อยู่ ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะถึงความสิ้นสุดแห่งเสามนัสย และเทวมนัสยครั้งก่อนๆ ทั้งนี้เพราะละความสุขและละความทุกข์ได้แล้ว มีอุเบกษา มีสมฤติ มีความบริศุทธ

 

      ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ เมื่อจิตตั้งมั่นเช่นนั้น บริศุทธสะอาด เปล่งรัศมี ไม่มีเกลศเครื่องยั่วยวน ปราศจากเกลศแล้ว เป็นจิตอ่อนเหมาะแก่กิจการทั้งหลาย ถึงความไม่ไหวหวั่น (แน่วแน่) ทรงมีจักษุทิพย์ในราตรีมระถมยาม (ยามต้น) นำจิตเข้าไป น้อมจิตเข้าไป ด้วยกิริยาอันมีวิทยาคือชญานทรรศนะปรากฏ

 

      ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายด้วยจักษุทิพย์บริศุทธพ้มวิษายมนุษย์ซึ่งกำลังตาย กำลังเกิด ผิวดี ผิวชั่ว ถึงที่ดี ถึงที่ชั่ว เลว ประณีต ทรงรู้สัตว์ทั้งหลายเป็นไปตามกรรม ว่า แน่ะท่านผู้เจริญ สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้หนา ประกอบด้วยกายทุจริต ประกอบด้วยวาคและมโนทุจริต ติเตียนพระอารยะทั้งหลาย มีมิถยาทฤษฏิ สัตว์เหล่านั้น เมื่อกายแตกดับ มีความตายในเบื้องหน้า ย่อมเกิดในอบายทุรคติ ตกในนรก เพราะเหตุสมาทานธรรมที่เป็นกรรมทิถยาทฤษฏิ สัตว์เหล่านี้ เป็นผู้ประกอบด้วยกายสุจริต ประกอบด้วยวาค และมโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอารยะทั้งหลาย มีสัมยัคทฤษฎิ สัตว์เหล่านั้น เมื่อกายแตกดับ ย่อมเกิดในสุคติในโลกสวรรค์ เพราะเหตุสมาทานกรรมที่เป็นกรรมสัมยัคทฤษฏิ

 

      ดังนี้แล พระองค์ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายด้วยจักษุทิพย์บริศุทธิพ้นวิษัยมนุษย์ กำลังตาย กำลังเกิด ผิวดี ผิวชั่ว ถึงที่ดี ถึงที่ชั่ว เลว ประณีต เป็นไปตามกรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ ทรงกระทำวิทยาให้ปรากฏในราตรีประถมยาม (ยามต้น) อย่างนี้แล ทรงทำลายความมืด ยังความสว่างให้เกิดขึ้น เม่มีเกลศเครื่องยั่วยวน ปราศจากเกลศแล้ว เป็นจิตอ่อน เหมาะแก่กิจการทั้งหลาย ถึงความไม่ไหวหวั่น (แน่วแน่) ทรงทำจิตเข้าไป น้อมจิตเข้าไป ด้วยการกระทำให้แจ้ง วิทยาคือปูรวนิวาสานุสมฤติชญานทรรศนะ(*)ในมัธยมยาม (ยามกลาง) ทรงระลึกถึงชาติที่เคยอยู่มาแล้วหลายอย่าง ของตนเองด้วย ของสัตว์ทั้งหลายด้วย นั่นคือ ทรงระลึกตั้งแต่ชาติหนึ่ง สองชาติ สามชาติ สี่ชาติ ห้าชาติ สิบชาติ ยี่สิบชาต สามสิบชาติ สี่สิบชาติ ห้าสิบชาติ ร้อยช้าต พันชาติ แสนชาติ หลายแสนชาติ โกฏิชาติ ร้อยโกฏิชาติ พันโกฏิชาติ หมื่นโกฏชาติ หลายพันโกฏิชาติ หลายแสนโกฏิชาติ หลายหมื่นแสนโกฏิ จนถึงสํวรรตกัลป(**) วิวรรตกัลป(***) แม้สํวรรตกัลป และ วิวรรตกัลป หลายสํวรรตกัลป วิวรรตกัลป เราเกิดในชาตินั้นมีชื่ออย่างนั้น มีโคตร(นามสกุล) อย่างนั้น มีชาติอย่างนั้น มีวรรณะ(*) อย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น มีอายุเท่านั้น มีขนาดเท่านั้น ดำรงอยู่นานเท่านั้น มีสุขทุกข์อย่างนั้น เราตายจากนี่ไปเกิดที่นั่น ตายจากที่นั่นมาเกิดที่นี่ ทรงเห็นชาติที่เคยอยู่มาแล้วของตนเองด้วยของสัตว์ทั้งหลายด้วย  มีหลายอย่างพร้อมทั้งลักษณะอาการ พร้อมทั้งยกขึ้นมาแสดงได้ดั่งนี้แล

 

* ปูรวนิวาสานุสมฤติชญานทรรศนะ คือ การเห็นด้วยชญานระลึกชาติหนหลังที่เคยอยู่มาแล้ว
** สํวรรตกัลป คือ กัลปที่อายุขัยของมนุษย์เจริญขึ้น ตั้งแต่เจ็ดวันขึ้นไปจนถึงหมื่นปี
*** วิวรรตกัลป คือ กลัปที่อายุขัยของมนุษย์ลดลงตั้งแต่หมื่นปีจนถึงเจ็ดวัน
**** วรรณะ หมายถึง ผิวพรรณเช่น ผิวขาว ผิวเหลือง และหมายถึงพวก คือพวกกษัตริย์ พวกพราหมณ์ พวกเวศย์ พวกศูทรร์

 

      ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ ผู้มีจิตตั้งมั่นเช่นนั้น บริศุทธ สะอาด เปล่งรัศมี ไม่มีเกลศเครื่องยั่วยวน ปราศจากเกลศแล้วเป็นจิตอ่อน เหมาะแก่กิจการทั้งหลาย ถึงความไม่ไหวหวั่น (แน่วแน่) ทรงนำจิตเข้าไป น้อมจิตเข้าไป ด้วยการกระทำให้แจ้งซึ่งวิทยาคือ อาศรวักษยชญานทรรศนะ(*) ถึงซึ่งความสิ้นสุดแห่งเหตุเป็นแดนเกิดทุกข์ในราตรีที่มีการนอนหลับเป็นปรกติ คราวอรุณไขแสงในราตรีปัศจิมยาม  พระโพธิสัตว์ทรงคิดว่า โลกนี้มาถึงแล้ว ยากจริงหนอ เพราะเหตุจะต้องเกิดจะต้องชรา (ทรุดโทรม) จะต้องตายจะต้องจยุติ (เคลื่อนที่) จะต้องอุปบัท(เข้าไปเกิด) ครั้นแล้วก็ไม่รู้จักรื้อถอนกองทุกข์ใหญ่ล้วนๆมีชรา พยาธิ มรณะ เป็นต้นนั้นได้ อนิจจาเอ๋ย ไม่มีใครรู้จักกระทำให้สิ้นสุดกองทุกข์ใหญ่ล้วนๆ มีชรา พยาธิ มรณะ ทั้งปวงนั้นได้

 

* อาศรวักษยชญานทรรศนะ คือ การเห็นด้วยชญานถึงความสิ้นอาสวะ

 

      ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ทรงคิดว่า เพราะมีอะไร ชรา มรณะจึงมี และก็ชรา มรณะ มีอะไรเป็นปรัตยัย ? พระองค์ทรงคิดว่า เพราะมีชาติ ชรามรณะจึงมี ชรามรณะมีชาติเป็นปรัตยัย

 

      ครั้นแล้ว พระโพธิสัตว์ทรงคิดอีกว่า เพราะมีอะไร ชาติจึงมี และก็ชาติมีอะไรเป็นปรัตยัย? พระองค์ทรงคิดว่า เพราะมีภพ ชาติจึงมี และก็ชาติมีภพเป็นปรัตยัย

 

      ครั้นแล้ว พระโพธิสัตว์ทรงคิดอีกว่า เพราะมีอะไร ภพจึงมี และก็ภพมีอะไรเป็นปรัตยัย? พระองค์ทรงคิดว่า เพราะมีอุปทาน ภพจึงมี จริงอยู่ ภพมีอุปาทานเป็นปรัตยัย

 

      ครั้นแล้ว พระโพธิสัตว์ทรงคิดอีกว่า เพราะมีอะไร อุปทานจึงมี และก็อุปาทานมีอะไรเป็นปรัตยัย? พระองค์ทรงคิดว่า เพราะมีตฤษณา อุปาทานจึงมี จริงอยู่ อุปาทานมีตฤษณาเป็นปรัตยัย

 

      ครั้นแล้ว พระโพธิสัตว์ทรงคิดอีกว่า เพราะมีอะไร ตฤษณาจึงมี และตฤษณามีอะไรเป็นปรัตยัย ? พระองค์ทรงคิดว่า เพราะมีเวทนา ตฤษณาจึงมี และตฤษณามีเวทนาเป็นปรัตยัย

 

      ครั้นแล้ว พระโพธิสัตว์ทรงคิดอีกว่า เพราะมีอะไร เวทนาจึงมี ก็เวทนามี อะไรเป็นปรัตยัย? พระองค์ทรงคิดว่า เพราะสปรรศ เวทนาจึงมี จริงอยู่ เวทนามีสปรรศเป็นปรัตยัย

 

      ครั้นแล้ว พระโพธิสัตว์ทรงคิดอีกว่า เพราะมีอะไร สปรรศจึงมี และก็สปรรศมีอะไรเป็นปรัตยัย? พระองค์ทรงคิดว่า เพราะมีอายตนะ 6 สปรรศจึงมี จริงอยู่สปรรศมีอายตนะ 6 เป็นปรัตยัย

 

      ครั้นแล้ว พระโพธิสัตว์ทรงคิดอีกว่า เพราะมีอะไร อายตนะ 6 จึงมี และก็อายตนะ 6 มีอะไรเป็นปรัตยัย? พระองค์ทรงคิดว่า เพราะมีนามรูป อายตนะ 6 จึงมีจริงอยู่ อายตนะ 6มีนามรูปเป็นปรัตยัย

 

      ครั้นแล้ว พระโพธิสัตว์ทรงคิดอีกว่า เพราะมีอะไร นามรูปจึงมี และก็นามรูปมีอะไรเป็นปรัตยัย? พระองค์ทรงคิดว่า เพราะมีวิชญาน นามรูปจึงมี จริงอยู่ นามรูปมีวิชญานเป็นปรัตยัย

 

      ครั้นแล้ว พระโพธิสัตว์ทรงคิดอีกว่า เพราะมีอะไร วิชญานจึงมี และก็วิชญานมีอะไรเป็นปรัตยัย? พระองค์ทรงคิดว่า เพราะมีสำสการทั้งหลาย วิชญานจึงมี และวิชญานมีสํสการเป็นปรัตยัย

 

      ครั้นแล้ว พระโพธิสัตว์ทรงคิดอีกว่า เพราะมีอะไร สัสการทั้งหลายจึงมี และก็สํสการทั้งหลายมีอะไรเป็นปรัตยัย ? พระองค์ทรงคิดว่า เพราะมีอวิทยาสํสการทั้งหลายจึงมี จริงอยู่ สํสการทั้งหลายมีอวิทยาเป็นปรัตยัย

 

      กระนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ทรงคิดว่า อวิทยาเป็นปรัตยัยให้เกิดสํสการ สํสการเป็นปรัตยัยให้เกิดวิชญาน วิชญานเป็นปรัตยัยให้เกิดนามรูป นามรูปเป็นปรัตยัยให้เกิดอายตนะ 6 อายตนะ 6 เป็นปรัตยัยให้เกิดสปรรศ สปรรศเป็นปรัตยัย ให้เกิดเวทนา เวทนาเป็นปรัตยัยให้เกิดกฤษณา ตฤษณาเป็นปรัตยัยให้เกิดอุปาทาน(ความยึดถือ)อุปาทานเป็นปรัตยัยให้เกิดภพ ภพเป็นปรัตยัยให้เกิดชาติ ชาติเป็นปรัตยัยชรา มรณะ โศกะ ปริเทวะ ทุกขะ เทามนัสย อุปายาส (ความน้อยใจ) เหตุเป็นแดนเกิดกองทุกข์ใหญ่ล้วนๆนี้ ย่อมมีดั่งนี้ เหตุที่เป็นแดนเกิด เรียกว่าสมุทัย

 

      กระนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะพระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาด้วยปรัชญาในธรรมที่ไม่เคยได้ยินมาแล้ว เพราะกระทำมามาก จึงเกิดธยาน เกิดจักษุ เกิดวิทยา เกิดภูริ (ปรัชญาหนาแน่น) เกิดเมธา(ความรู้) เกิดปรัชญา ปรากฏอาโลก(แสงสว่าง) เพราะไม่มีอะไร ชรา มรณะ จึงไม่มี หรือว่า เพราะดับอะไร ชรา มรณะจึงดับ พระโพธิสัตว์ทรงคิดว่า เพราะชาติไม่มี ชรา มรณะ จึงไม่มี เพราะชาติดับ ชรา มรณะจึงดับ

 

      ครั้นแล้ว พระโพธิสัตว์ทรงคิดอีกว่า เพราะไม่มีอะไร ชาติจึงไม่มี หรือว่าเพระดับอะไร ชาติจึงดับ ? พระโพธิสัตว์ทรงคิดว่า เพราะภพไม่มี ชาติจึงไม่มี เพราะภพดับ ชาติจึงดับ

 

      ครั้นแล้ว พระโพธิสัตว์ทรงคิดอีกว่า เพราะไม่มีอะไร ธรรมทั้งหลายตลอดจนสํสการทั้งหลายโดยพิศดาร จึงไม่มี หรือว่าเพราะดับอะไร สังขารจึงดับ? พระองค์ทรงดิดว่า เพราะอวิทยาไม่มี สํสการทั้งหลายจึงไม่มี เพราะอวิทยาดับ สํสการทั้งหลายจึงดับ เพราะสํสการทั้งหลายดับ วิชญานจึงดับ จนถึงเพราะชาติดับ ชรา มรณะ โศกะ ปริเทวะ ทุกขะ เทมนัสยะ อุปายาสจึงดับ การดับกองทุกขืใหญ่ล้วนๆนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

 

      กระนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะพระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาในธรรมที่ไม่เคยได้ยินมาแล้ว เพราะกระทำมามาก จึงเกิดชญาน เกิดจักษุ เกิดวิทยา เกิดภูริ เกิดเมธา เกิดปรัชญา ปรากฏอาโลก (แสงสว่าง)  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ตถาคตนั้นรู้ตามความจริงว่า นี่คือทุกข์ รู้ตามความจริงว่านี่คืออาศรวสมุทัย(*) (เหตุเป็นแดนเกิดทุกข์) นี่คืออาศรวนิโรธ (ความดับทุกข์) นี่คืออาศรวนิโรธมินีประติปทา(ประติปทาเป็นเครื่องถึงความดับทุกข์) รู้ตามความจริงว่านี่เป็นกามาศรวะ (ทุกข์เกิดแต่กาม) นี่เป็นภวาศรวะ(ทุกข์เกิดแต่ภพ) นี่เป็นอวิทยาศรวะ(ทุกข์เกิดแต่อวิทยานี่เป็นทฤษฏยาศรวะ(ทุกข์เกิดแต่ทฤษฏิ) รู้ตามความจริงว่า อาศรวะทั้งหลายในที่นี้ย่อมดับโดยไม่เหลือ อาศรวะในที่นี้ย่อมถึงความไม่สว่าง ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ โดยไม่เหลือรู้ตามความจริงว่า นี่คืออวิทยา นี่คืออววิทยสมุมัย (เหตุเป็นแดนเกิดอวิทยา)นี่คืออวิทยานิโรธ (ความดับอวิทยา) นี่คืออวิทยานิโรธคามินีประติปทา(ประติปทาเป็นเครื่องถึงความดับอวิทยา) รู้ตามความจริงว่า อวิทยาในที่นี้ย่อมถึงความไม่สว่าง ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้โดยไม่เหลือเศษ ฯลฯ รู้ตามความจริงว่านี่คือสํสการนี่คือสํสการสมุทัย(เหตุเป็นแดนเกิดสํสการ) นี่คือสํสการนิโรธ(ความดับสํสการ) นี่คือสํสการนิโรธคามินีประติปทา(ประติปทาเป็นเครื่องถึงความดับสํสการ) รู้ตามความจริงว่า นี่คือวิชญาน นี่คือวิชญานสมุทัย (เหตุเป็นแดนเกิดวิชญาน) นี่คือวิชญานนิโรธ(ความดับวิชญาน) นี่คือวิชญานนิโรธคามินีประติปทา(ประติปทาเป็นเครื่องถึงความดับวิชญาน รู้ตามความจริงว่า นี่คือนามรูป นี่คือนามรูปสมุทัย (เหตุเป็นแดนเกิดนามรูป) นี่คือนามรูปนิโรธ (ความดับนามรูป) นี่คือนามรูปนิโรธคามินีประติปทา (ประติปทาเป็นเครื่องถึงความดับนามรูป) รู้ตามความจริงว่า นี่คือษฑายตน(อายตนะ6) นี่คือษฑายตนสมุทัย (เหตุเป็นแดนเกิดอายตนะ) นี่คือษฑายตนนิโรธ(ความดับอายตนะ6) นี่คือษฑายตนนิโรธคามินีประติปทา(ประติปทาเป็นเครื่องถึงความดับอายตนะ6) รู้ตามความจริงว่า นี่คือสปรรศ(สัมผัส) นี่คือสปรรศสมุทัย (เหตุเป็นแดนเกิดสัมผัส) นี่คือสปรรศนิโรธ(ความดับสัมผัส) นี่คือสปรรศนิโรธคามินีประติปทา(ประติปทาเป็นเครื่องถึงความดับสัมผัส) รู้ตามความจริงว่า นี่คือเวทนา นี่คือเวทนาสมุทัย (เหตุเป็นแดนเกิดเวทนา) นี่คือเวทนานิโรธ (ความดับเวทนา) นี่คือเวทนานิโรธคามินีประติปทา(ประติปทาเป็นเครื่องถึงความดับเวทนา) รู้ตามความจริงว่า นี่คือ ตฤษณา นี่คือตฤษณาสมุทัย(เหตุเป็นแดนเกิดตฤษณา) นี่คือตฤษณานิโรธ (ความตับตฤษณา) นี่คือตฤษณานิโรธคามินีประติปทา(ประติปทาเป็นเครื่องถึงความดับตฤษณา) รู้ตามความจริงว่า นี่คืออุปาทาน(ความยึดถือ) นี่คืออุปาทานสมุทัย(เหตุเป็นแดนเกิดอุปาทาน) นี่คืออุปาทานนิโรธ(ความดับอุปาทาน)นี่คืออุปาทานนิโรธคามินีประติปทา(ประติปทาเป็นเครื่องถึงความดับอุปาทาน) รู้ตามความจริงว่า นี่คือภพ นี่คือภวสมุทัย (เหตุเป็นแดนเกิดภพ)  นี่คือภวนิโรธ(ความดับภพ) นี่คือภวนิโรธคามินีประติปทา(ประติปทาเป็นเครื่องถึงความดับภพ)รู้ตามความจริงว่า นี่คือชาติ นี่คือชาติสมุทัย(เหตุเป็นแดนเกิดชาติ) นี่คือชาตินิโรธ (ความดับชาติ) นี่คือชาตินิโรธคามินีประติปทา(ประติปทาเป็นเครื่องถึงความดับชาติ) รู้ตามความจริงว่า นี่คือชรา นี่คือชราสมุทัย(เหตุเป็นแดนเกิดชรา) นี่คือชรานิโรธ (ความดับชรา) นี่คือชรานิโรธคามินีประติปทา(ประติปทาเป็นเครื่องถึงความดับชรา) รู้ตามความจริงว่า นี่คือมรณะ(ความตาย) นี่คือมรณสมุทัย(เหตุเป็นแดนเกิดมรณะ) นี่คือมรณนิโรธ(ความดับมรณะ) นี่คือมรณนิโรธคามินีประติปทา(ประติปทาเป็นเครื่องถึงความดับมรณะ) รู้ตามความจริงว่า นี่คือ โศกะ ปริเทวะ ทุข เทามนัสย อุปายาส เหล่านี้ มีเหตุเป็นแดนเกิดแห่งกองทุกข์ใหญ่ล้วนๆนี้ เป็นอย่างนี้ตลอดถึงมีความดับทุกข์ รู้ตามความจริงว่า นี่คือทุกข์ นี่คือทุกขสมุทัย(เหตุเป็นแดนเกิดทุกข์) นี่เป็นทุกข์นิโรธ(ความดับทุกข์) นี่คือทุกขนิโรธคามินีประติปทา(ประติปทาเป็นเครื่องถึงความดับทุกข์)

 

*อาศรวะ แปลว่าทุกข์

 

      ดั่งนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลายในราตรีที่มีการนอนหลับเป็นปรกติ คราวอรุณไขแสงในราตรียามสุดท้าย  พระโพธิสัตว์ผู้เป็นปุรุษขวนขวายช่วยเหลือ เป็นสัตปุรุษ(คนดี)  เป็นอติปุรุษ(คนสำคัญ) เป็นมหาปุรุษ(คนใหญ่) เป็นปุรุษฤษภะ(ปุรุษเลิศ)เป็นปุรุษนาค(ปุรุษประเสริฐ)  เป็นปุรุษสิงหะ(ปุรุษสิงห์) เป็นปุรุษปุควะ(ปุรุษดียิ่ง) เป็นปุรุษศูระ(ปุรุษกล้า) เป็นปุรุษบุณฑริก(ปุรุษบัวบุณฑริก) เป็นปุรุษไธรยะ(ปุรุษมั่นคง) เป็นปุรุษฝึกฝึกหัดคนไม่มีใครยิ่งกว่า รู้ ตรัสรู้ บรรลุ เห็นทำให้ปรากฏชัดด้วยอารยชญาน อันเป็นความจริงอย่างนี้ ทรงครัสรู้อนุตตรสัมยักสัมโพธิบรรลุวิทยา 3ครบถ้วนนั้น ด้วยปรัชญาประกอบด้วยจิตดวงเดียว ในขณะเดียว(แวบเดียว)

 

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น เทพยดาทั้งหลายพากันกล่าวว่า ดูกรท่านผุ้ควรเคารพทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงโปรยดอกไม้ลงไป พระผู้มีภคะ ตรัสรู้แล้ว ในที่นั้นเทวบุตรที่เคยเห็นพระพุทธมาแล้วมาร่วมประชุมในที่นั้น ได้พูดขึ้นว่า ดูกรท่านผู้ควรเคารพทั้งหลาย อย่าเพิ่งโปรยดอกไม้ก่อน จนกว่าพระผู้มีภคะจะทำเครื่องหมาย(นิรมิต)ให้ปรากฏ แม้พระสัมยักสัมพุทธองค์ก่อนๆก็ ได้ทรงกระทำเครื่องหมายแล้วทรงสร้างนิรมิตขึ้น

 

      ครั้งนั้นแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตทราบว่าเทวบุตรเหล่านั้น มีความเห็นแตกต่างกัน จึงลอยขึ้นไปสู่อากาศสูงประมาณ 7 ชั่วต้นตาล ประทับอยู่บนอากาศนั้นเปล่งอุทานนี้ว่า

 

      1 ฉินฺนวรฺตฺโมปศานฺตรชะ ศุษฺกา อาสฺรวา น ปุนะ สฺรวนฺติ|

 

         ฉินฺเน วมรฺตฺนิ  วรฺตต ทุขสฺยโษ' นฺต  อุจฺยเต ฯ  อิติ ฯ||

 

         คำแปล หนทางตัดขาดแล้ว ฝุ่นธุลีระงับแล้ว  อาสรวะ(*) ทั้งหมดเหือดแห้งแล้ว ไม่ไหลได้อีก เมื่อหนทางตัดขาดแล้ว ทางแห่งความทุกข์นั้น เรากล่าวว่าสิ้นสุดแลงแล้ว ดังนี้ ฯ

 

*อาสรวะ การไหล

 

      ครั้งนั้น เทวบุตรเหล่านั้น ก็โปรยดอกไม้ทิพย์ลงมายังตถาคต ครั้นแล้ว เครื่องบูชาที่เป็นดอกไม้ทิพย์ มีสูงประมาณถึงเข่า

 

      กระนั้นแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อตถาคตรู้แล้ว สิ้นความมืดมนอนธการชำระล้างตฤษณา ล่วงพ้นทฤษฏิ ไม่มีเกลศกำเริบ ทำลายหอก พ้นขวากหนาม ลดธงคือมานะ(ความถือตัว) ยกธงคือธรรมขึ้น ไขอนุศัย(*) ออกแล้ว ตรัสรู้ธรรมอันถ่องแท้หยั่งลงรู้ที่สุดแห่งสิ่งที่เป็นอยู่ทั้งหลาย รอบรู้ธรรมธาตุ แยกธาตุแห่งสัตว์ทั้งหลายได้สรรเสริญหมู่ที่เป็นสัมยัคทฤษฏิแน่วแน่ ติเตียนหมู่ที่เป็นมิถยาทฤษฏิแน่วแน่ ช่วยเหลือหมู่ที่มีทฤษฏิยังไม่แน่วแน่ แยกอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย กำหนดรู้ประวัติของสัตว์ทั้งหลาย หยั่งลงรู้พยาธิของสัตว์ทั้งหลาย รู้สมุตถานโรคของสัตว์ทั้งหลาย ประกอบยาคืออมฤตะ ทรงบังเกิดเป็นแพทย์ เป็นผู้ปลดเปลื้องจากทุกข์ทั้งปวง เป็นผู้ให้สัตว์ทั้งหลายตั้งอยุ่ในความสุขคือนิรวาณ ทรงประทับนั่งอยู่ในห้องแห่งพระตถาคตบนอาสนะแห่งพระตถาคตผู้เป็นธรรมราชา ทุกคนถูกผูกมัดแต่พระองค์เป็นฝ่ายแก้ เสด็จเข้าไปสู่นครสรวัชญตา (ความตรัสรู้ทุกอย่าง) ทรงประทับอยู่ร่วมด้วยพระพุทธทั้งปวง ไม่แตกต่างจากความตรัสรู้ซึ่งแผ่ไปด้วยธรรมธาตุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตนั่งที่ควงต้นโพธินั้น นั่นเอง ในสัปดาห์ที่หนึ่งด้วยการพิจารณาว่าเราตรัสรู้อนุตตรสัมยักสัมโพธิในที่นี้ เรากระทำที่สุดแห่งชาติ ชรา มรณะ ซึ่งเป็นธรรมชาติไม่ประเสริฐดีเลิศได้แล้ว

 

* อนุศัย แปลว่า ความเสียใจ หรือความเสียดาย ความอาฆาต เกลศนอนอยู่ในใจ หรืออนุศัย 7 ตามแบบ บาลีฝ่ายหีนยาน คือ 1 กามราคะ 2ปฏิฆะ 3ทิฏฐิ 4 วิจิกิจฉา 5 มานะ  6 ภรราคะ  7อวิชชา

 

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงลำดับต่อไป พระโพธิสัตว์ตรัสรู้สรวัชญตาแล้ว  และขณะนั้นสัตว์ทั้งปวงในโลกธาตุทั้งสิ้นทั้ง 10 ทิศ ได้เพียบพร้อมด้วยความสุขอย่างยิ่งในขณะนั้น จังหวะนั้น ครู่นั้น และโลกธาตุทั้งปวง แจ่มแจ้งด้วยแสงสว่างใหญ่ยิ่ง สัตว์บาปที่อยู่ในโลกกันตนรกเหล่านั้น มีบาปแผ่ไปแล้วก็เหมือนเดิม คือมืด และโลกธาตุทั้งสิ้น 10 ทิศ ได้มีอาการทั้ง 6 คือสั่น สั่นทั่ว สั่นพร้อม ไหว ไหวทั่ว ไหวพร้อม กระเทือน กระเทือนทั่ว กระเทือนพร้อม  ปั่นป่วน ปั่นป่วนทั่ว ปั่นป่วนพร้อม ดัง ดังทั่ว ดังพร้อม คำรณ คำรณทั่ว คำรณพร้อม และพระพุทธเจ้าทั้งหมด ให้สาธุการแก่ตถาคต ผู้ตรัสรู้แล้ว และส่งเครื่องบัง (ฉัตร) อันเป็นธรรม ซึ่งเป็นเครื่องบังที่โลกธาตุคือเทวโลกและมนุษยโลกใช้บังด้วยแตรรัตนะเป็นอันมาก กระแสรัศมีเช่นนี้ เปล่งออกจากฉัตรรัตนะทั้งหลายเหล่านั้น ซึ่งโลกธาตุทั้งหลายสว่างทั้ง 10 ทิศ ด้วยแสงสว่างหาประมาณมิได้ นับไม่ถ้วน พระโพธิสัตว์ทั้งหลายในทิศทั้ง 10 และเทวบุตรทั้งหลายต่างก็เปล่งเสียงแสดงความยินดีว่า สัตว์บัณฑิต เกิดขึ้นแล้ว ดอกบัวมีแล้วในสระคือชญาน ไม่เปรอะเปื้อนด้วยโลกธรรมทั้งหลาย ภพคือธรรมธาตุ ขยายตัวไปยังเมฆ คือมหากรุณา กลายเป้นฝนตกลงมาโดยทั่วถึง พืชคือกุศลมูลทั้งปวงมีหน่อที่เป็นยาของคนได้งอกขึ้นในวินัยคือฝนธรรม(ธรรมวรรษวินัย) เจริญขึ้นแก่หน่อคือ ศรัทธา อำนวยผลคือวิมุติ

 

      ในที่นี้ท่านได้กล่าวไว้ว่า

 

      2 จริงอยู่ พระพุทธผู้เป็นปุรุษสิงห์นั้น พระองค์ชนะมารพร้อมพลมาร บ่ายพระพักตร์สู่ธยานเป็นประธาน เป็นศาสดาโดยยิ่งตราบใดพระองค์มีวิทยา 3ถึงพร้อมด้วยกำลัง 10 ตราบนั้น พื้นที่หลายโกฏิเกษตรทั้ง 10 ทิศไหวแล้ว ฯ

 

      3 ผู้ใดเป็นพระโพธิสัตว์ ใคร่ในธรรม มาในบุรี หมอบลงแทบพระบาท พูดว่า ขอพระองค์อย่าทรงลำบากเลย ข้าพเจ้าเห็นชัดแล้ว มารและเสนามารเช่นไรกลัวนักแล้ว มารและเสนามารเช่นนั้น แตกพ่ายแล้วด้วยกำลังแห่งปรัชญาบุณยและกำลังแห่งความเพียร ฯ

 

      4 และพระพุทธหมื่นพุทธเกษตร ส่งฉัตรทั้งหลายมาถวาย สาธุ ข้าแต่พระมหาปุรุษ พระองค์ผจญมารพร้อมทั้งเสนามารแล้ว พระองค์บรรลุถึงบทอันประเสริฐ เป็นอมฤตะ ปราศจากความโศก ขอพระองค์โปรดยังฝนคือพระสัทธรรมให้ตกลงในภพทั้ง3 โดยเร็วเถิด ฯ

 

      5 และพระพุทธทั้งหลายในทิศทั้ง 10 ทรงเหยียดพระพาหา(แขน)ตรัสด้วยพระวาจาดังว่าเสียงร้องของนกการเวกว่า พระองค์ตรัสรู้โพธิเหมือนกัน เป็น โพธิบุริศุทธ เท่าเทียมเสมอกัน เหมือนน้ำมันเนยกับฟองน้ำมันเนยฯ

 

      ครั้งนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย นางอัปสรชั้นกามาพจร ได้ทราบว่า พระตถาคตผู้ประทับนั่ง ณ ควงต้นโพธิบรรลุอภิชญา สมบูรณ์เต็มตามความมุ่งหมาย ชนะสงครามแล้ว มารผู้เป็นศัตรูพ่ายแพ้แล้ว ยกฉัตร ธงชัย ธงปตากแล้ว เป็นผู้กล้าหมาย เด่นในความมีชัย เป็นปุรุษชั้นมหาปุรุษ เป็นแพทย์สูงสุด ผ่าเอกหอกใหญ่ออกได้ เป็นราชสีห์ปราศจากความกลัวและขนพองสยองเกล้า เป็นช้างฝึกหัดดีแล้ว มีจิตปราศจากมลทิน สละมลทินทั้ง 3ได้แล้ว เป็นนายแพทย์ บรรลุภาวะแห่งวิทยา 3 ตามลำดับ เป็นผู้ถึงฝั่ง ข้าโอฆะทั้ง 4(*) ได้แล้ว เป็นกษัตริย์ทรงไว้ซึ่งฉัตรรัตนเอก เป็นพราหมณ์ของโลกทั้ง 3 ลอยบาปเสียแล้ว เป็นภิกษุผู้ทำลายเปลือกไข่แห่งอวิทยาเป็นศรณะผู้ล่วงพ้นความข้องทั้งปวง เป็นพราหมณ์คงแก่เรียน กำจัดเกลศได้แล้ว เป็นผู้กล้าลดธงของผู้อื่นได้ เป็นผู้มีกำลังทรงไว้ซึ่งกำลัง 10 เป็นดังว่าเหมือนรัตนะสมบูรณ์ด้วยรัตนะคือธรรม(ธรรมรัตนะ) ทั้งปวง จึงบ่ายหน้าสู่ควงต้นโพธิกล่าวคำสรรเสริญพระตถาคตด้วยบทประพันธ์เหล่านี้ว่า

 

* โอฆะทั้ง 4คือ กามโอฆะ ภวโอฆะ ทฤษฏิโอฆะ อวิทยาโอฆะ

 

      6 พระมหาปุรุษนั้น ทรงชนะมารและเสนามารที่โคนทุมราช (ต้นโพธิ) ทรงประทับมั่นไม่ไหวหวั่นเหมือนภูเขาเมรุ ไม่หวาดหวั่น ไม่หนี ทรงตรัสรู้โพธิด้วยการให้ทาน ด้วทมะ (การข่มอินทรีย) และด้วยสํยมะ (การสำรวมอินทรีย์ ตั้งหลายโกฏิกัลปมิใช่น้อย เพราะฉะนั้น, พระองค์จึงงามในวันนี้ ฯ

 

      7 ด้วยศีล พรต ตบะ ตั้งหลายโกฏิกัลปนี้ องค์อินทร์ พรหม จึงเวียนไปยังต้นโพธิประเสริฐ ด้วยเสื้อเกราะคือกำลังแห่งกษานติตั้งหลายโกฏิกัลปนี้ พระองค์จึงอดกลั้นความทุกข์ทั้งหลายได้ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงสุกปลั่งเหมือนสีทอง ฯ

 

      8 พระองค์เบือนหน้าหนีจากหน้าของมารด้วยกำลังความเพียรและความบากบั่นตั้งหลายโกฏิกัลปนี้ เพราะฉะนั้นพระองค์จึงชนะมารและเสนามาร ด้วยธยานอภิชญาและชญานตั้งโกฏิกัลปนี้ พระองค์ผู้เป็นจอมมุนีอันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว เพราะฉะนั้นแหละ เขาจึงบูชาพระองค์ในวันนี้ ฯ

 

      9 พระองค์ประคับประคองสัตว์นับจำนวนโกฏิด้วยการสะสมปรัชญาและศรุตะ(การเรียน) ตั้งหลายโกฏิกัลปนี้ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงบรรลุโพธิฉับไว พระองค์ชนะสกันธมาร มฤตยุมาร เกลศมาร พระองค์ชนะเทวบุตรมาร เพราะฉะนั้นความโศกจึงไม่มีแก่พระองค์ ฯ

 

      10 พรองค์นี้แล เป็นเทพของเทวดาทั้งหลาย (เป็นผู้ที่แม้เทวดาทั้งหลายควรบูชา) เป็นผู้ควรแก่การบูชาในไตรโลก ทรงประทานที่นาแห่งพืชผลเป็นอมฤตะแก่ผู้ต้องการบุณยทั้งหลาย พระองค์เกิดเป็นผู้ควรแก่ทักษิณา(*) อันประเสริฐด้วยวัตถุบริศุทธ พระองค์ได้รับโพธิอันประเสริฐใด โพธิของพระองค์ผู้สูงสุดนั้น ไม่มีความพินาศเสื่อมเสีย ฯ

 

      11 พระอุณาโลม (ขนอ่อนหว่างคิ้ว) ของพระองค์รุ่งเรืองแผ่ไปตลอดหลายโกฏิเกษตร ฉวัดเฉวียนเหมือนดวงจันทร์และดวงอาทิตย์มีแสงสว่างในที่มืด พระองค์นี้แล มีพระรูปพระโฉมงดงาม มีพระรูปประเสริฐ มีพระรูปเป็นอย่างดี มีลักษณะประเสริฐ ทรงแสวงหาแต่สิ่งที่มีประโยชน์ ควรแก่การบูชาของโลก 3 ฯ

 

* ทักษิณา คือ ท่านที่ถวายโดยหวังอุทิศผลให้แก่ผู้ตาย หรือทานที่ถวายเพื่อผล คือความเจริญรุ่งเรือง

 

      12 พระองค์มีพระเนตรบริศุทธยิ่ง เห็นสิ่งต่างๆได้มาก เป็นสวยัมภู (เกิดเอง เป็นเอง) และมีร่ารงกายเป็นกายแห่งคุณความดี มีจิตเป็นความรู้ พระองคืมีพระกรรณ(หู)บริศุทธยิ่ง ได้ยินเสียงหาที่สุดมิได้ซึ่งเป็นเสียงเทวดา เสียงมนุษย์ เสียพระพุทธ และเสียงพระธรรม ฯ

 

      13 พระองค์มีพระชิหวา(ลิ้น)ใหญ่ มีกังวาลไพเราะเหมือนเสียงนกการเวก เราทั้งหลายจะฟังธรรมของพระองค์ท่าน ซึ่งเป็นอมฤตะ เป็นเครื่องถึงความสงบระงับ พระองค์เห็นมารและเสนามารแล้ว ใจของพระองค์ไม่สะทกสะท้าน และยังเห็นหมู่เทวดาอีก พระองค์ไม่ดีใจ มีใจมั่นคงดี ฯ

 

      14 มารและเสนามารชนะพระองค์ไม่ได้ด้วยศัตราหรือลูกศร พระองค์ผู้เหมือนนักมวยตัวฉกาจ ทรงชนะมารและเสนามารนนั้นด้วยความสัตย์ด้วยพรต และด้วยตบะ พระองค์มีใจไม่ไหวหวั่น มีกายไม่สั่นสะเทือน พระองคืไม่รักไ/ม่ชังในระหว่างเขาเหล่านั้น ฯ

 

      15 เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่าใด ฟังธรรมจากพระองค์แล้วย่อมถึงซึ่งการปฏิบัติ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่าได้ลาภเป็นอย่างดี พระพุทธทรงสรรเสริญพระองค์ว่าเป็นผู้มีบุญยในกองบุณยและเดชเราทั้งปวงจะเป็นเหมือนพระองค์ผู้เป็นดวงจันทร์ในมนุษย์ ฯ

 

      16 พระองค์ผู้เป็นปุรุษฤษภะ (ปุรุษเลิศ) เป็นพระนายก ตรัสรู้โพธิแล้ว ทรงชนะมารแล้ว ยังหมื่นแห่งกษัตริย์ชาตินักรบให้สั่นสะเทือน ข้าพเจ้าขอถึงธรรมที่พระนายกตรัสแล้วเป็นคำประพันธ์ครั้งแรก (ธรรมจักร) ด้วยพระสุรเสียงเหมือนเสียงพรหม และเหมือนเสียงนกการเวก ฯ

 

      17 ความสุขเป็นผลของบุญย ผลักความทุกข์ทั้งปวง ย่อมสำเร็จตามความปรารถนาของผู้มีบุญย สัมผัสโพธิ และชนะมารโดยเร็ว และดำเนินในทางแห่งความสงบ ถึงความหยุด และความเย็น ฯ

 

      18 เพราะฉะนั้น ใครยังไม่อิ่มในการทำบุณย และใครฟังธรรมที่เป็นอมฤตะยังไม่อิ่ม ใครอยู่ในป่าอันเป็นที่สงัดยังไม่อิ่ม ใครยังไม่อิ่มในการทำประโยชน์ ฯ

 

      19 เราทั้งหลายจงแบมือขอร้องพระโพธิสัตว์ ทำการบูชา ไม่ไปสู่เกษตร(แดน)ของตนๆ และเราทั้งหมดจงอภิวาทกราบไหว้พระบาทของพระตถาตคแล้วไปตามทางต่างๆ อันเป็นเกษตรของตนๆ ฯ

 

      20 เราทั้งหลายเห็นมารและเสนามารเหล่านั้นซึ่งมีอาการอันใหญ่ยิ่งคึกคะนอง และเห็นกรีฑาของพระตถาคตแล้วจึงตั้งจิตไม่มีอะไรเที่ยมไว้ในพระโพธิสัตว์ เพื่อความตรัสรู้ ขอให้ชนะมารแล้วสัมผัสอมฤตะธรรมพร้อมด้วยกำลัง ฯ

 

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อตถาคตตรัสรู้แล้วประทับนั่งบนบรรลังก์ที่โคนต้นโพธิกรีฑาของพระพุทธ ได้มีแล้วในขณะนั้นโดยหาประมาณมิได้ ซึ่งยากที่จะแสดงได้แม้ตั้งกัลป

 

ในที่นี้มีคำกล่าวไว้ว่า

 

      21 ดอกบัวบานเหมือนฝ่ามือแบพลุ่งขึ้นด้วยข่ายแห่งรัศมี ตั้งอยู่เป็นอันดีที่แผ่นดิน เทวดาตั้งแสนนอบน้อมควงต้นโพธิ นิรมิตนี้เป็นข้อแรก ที่พระพุทธผู้บันลืออย่างราชสีห์ ทรงแสดงแล้ว ฯ

 

      22 พุ่มไม้ตั้งสามแสน นอบน้อมที่ควงต้นโพธิ ภูเขาประเสริฐเป็นอันมากและขุนเขาเมรุ ก็เช่นเดียวกัน คือนอบน้อมที่ควงต้นโพธิ พรหมและองค์ศักร พากันไปนอบน้อมพระทศพล นี่คือกรีฑาของพระพุทธผู้เป็นนรสีห์ที่ควงต้นโพธิ ฯ

 

      23 พระชินวร ทรงแผ่รัศมีจากอาตมภาพของพระองค์มีพระรัศมีตั้งแสนไปยังเกษตรทั้ง 3 (โลก3) อยายมีความสงบ ครั้นแล้ว อกษณะ(*) ทั้งหลายก็ได้ถูกชำระไห้สะอาดหมดจด ในขณะนั้น ครู่นั้น ไม่มีโทษคือความมัวเมาทั้งหมดใดๆ เบียดเบียนสัตว์ ฯ

 

*อกษณะ คือ ขณะที่ไม่สมควร เช่น ขณะที่ไม่มีพระพุทธ ขณะที่อินทรีย์พิการบกพร่อง ขณะที่อยู่ในภูมิประเทศไม่เจริญฯลฯ

 

      24 นี้คือกรีฑาของพระพุทธผู้เป็นนรสีห์ ซึ่งประทับอยู่บนอาสนะมีบ่วงแห่งพระอุณาโลมซึ่งมีแสงสว่างดังว่าแสงสว่างของดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์แก้วมณี ไฟ และสายฟ้าเป็นแสงสว่างทิพย์ ครอบงำสิ่งที่มีแสงสว่างทั้งหลายแต่ไม่ร้อน ใครๆในโลกนี้ไม่กล้ามองพระเศียรของพระศาสดาเลย ฯ

 

      25 นี้คือกรีฑาของพระพุทธ ผู้เป็นนรสีห์ซึ่งประทับอยู่บนอาสนะ คือ แผ่นดินพอฝ่าพระหัตถ์กระทบก็ไหวไปทั่ว ซึ่งทำให้เสนามารปั่นป่วนมาแล้วเหมือนปุยฝ้าย ถึงกับขุนมารจับลูกศรขีดบนแผ่นดินนี้ ก็เป็นกรีฑาของพระพุทธผู้เป็นนรสีห์ประทับอยู่บนอาสนะ ฯดังนี้ฯ

 

อัธยายที่ 22 ชื่ออภิสัมโพธนะปริวรรต (ว่าด้วยการตรัสรู้) ในคัมภีร์ศรีลลิตวิสตร ตั่งนี้แล ฯ

 

23 การสรรเสริญ

 

 

อัธยายที่ 23

 

สํสฺตวปริวรฺตสฺตฺรโยวึศะ

 

ชื่อสังสตวะปริวรรต (ว่าด้วยการสรรเสริญ)

 

      ครั้งนั้นแล เทวบุตรชั้นศุทธาวาสทั้งหลาย กระทำปร่ะทักษิณพระตถาคตผู้ประทับนนั่งอยู่ที่ควงต้นโพธิ โปรยฝนคือผงจันทน์ทิพย์ลงมาแล้วสรรเสริญด้วยคำเป็นบทประพันธ์เหมาะสมอย่างดียิ่งว่า

 

      1 พระโลกนาถ เป็นแสงสว่างในโลก ทรงกระทำแสงสว่าง ทรงอุบัติขึ้นแล้วทรงประทานจักษุให้แก่โลกผู้ตาบอด ทรงเป็นผู้เผด็จศีก ฯ

 

      2 พระองค์ท่านชนะสงคราม มีความปรารถนาสมบูรณ์ด้วยบุณยและสมบูรณ์ด้วยธรรมฝ่ายกุศล พระองค์จะทรงทำให้โลกอิ่มหนำฯ

 

      3 พระโคดมเสด็จขึ้นจากปลักตมแล้ว โดยปราศจากอันตรายประทับอยู่บนบก ทรงยกสัตว์อื่นๆ ให้ข้ามพ้นจากมหาสมุทร ฯ

 

      4 พระองค์เสด็จขึ้นได้แล้ว มีปรัชญามาก ไม่มีใครในโลกทั้งหลายเสมอพระองค์ พระองค์ไม่เปรอะเปื้อนด้วยโลกธรรม เหมือนดอกบัวอยู่ในน้ำ ฯ

 

      5 โลกนี้หลับมานาน ห่อหุ้มด้วยกองแห่งความมืด พระองค์ท่านสามารถเพื่อปลุกให้ตื่นด้วยแสงประทีปคือปรัชญา ฯ

 

      6 เมื่อชีวโลก(โลกของผู้มีชีวิต) เร่าร้อนมานาน ถูกเกลศและพยาธิเบียดเบียน พระองค์เป็นนายแพทย์ทรงอุบัติขึ้นมาแล้ว ทรงปลดเปลื้องให้พ้นจากพยาธิทั้งปวง

 

      7 อกษณะทั้งหลายจะศูนยไปเพราะพระองค์ผู้เป็นที่พึ่งทรงอุบัติขึ้นมาแล้ว มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย จะประกอบด้วยความสุข ฯ

 

      8 ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นปุรุษฤษภะ(ปุรุษเลิศ) ผู้ใดเห็นพระองค์ผู้นั้นจะถึงความสุภาพดีงาม จะไม่ต้องไปสู่ทุรคติตลอดพ้นกัลปโดยแท้ ฯ

 

      9 ท่านเหล่านั้นจะฟังธรรม จะเป็นบัณฑิต และจะเป็นผู้ปราศจากโรค จะเป็นผู้ลึกซึ้ง(เฉียบแหลม) สิ้นอุปธิ(*) เป็นผู้คงแก่เรียน ฯ

 

* อุปธิ คือ สิ่งที่เข้าใกล้ทำให้อีกสิ่งหนึ่งเปลี่ยนอาการโดยไม่เปลี่ยนอาการเดิม เช่น คนเข้าใกล้ไฟฟ้าหลอดสีแดง ร่างกายคนจะแดงโดยไม่ต้องเปลี่ยนสีร่างกายเดิม สีแดงของไฟฟ้านั้นคือ อุปธิ ในขุททกนิกายจุลลวัคค์กล่าวไว้ว่า อุปธิมี 4 อย่าง คือ กาม เกลศ ขันธ์ อภิสังขาร แต่อีกนัยหนึ่งท่านว่ามี 10 คือ ตฤษณา ทฤษฏิ เกลศ กรรม ทุจริต อาหาร ปฏิฆะ อุปาทินนกธาตุ 4 อายตนะภายใน วิญญาณ 6 ฯ

 

      10 ท่านทั้งหมด ตัดเครื่องผูกพันคือเกลศแล้วจะรอดพ้นโดยเร็วปราศจากอุปทานแล้ว จะถึงความดีงามซึ่งเป็นการบรรลุผลอันประเสริฐ ฯ

 

      11 ท่านเหล่านั้น เป็นผู้ควรแก่ทักษิณาในโลก รับเครื่องบูชาได้ทักษิณาที่ถวายในท่านเหล่านั้นจะไม่ต่ำทราม และจะเป็นเหตุแห่งนิรวาณของสัตว์ทั้งหลาย ฯ

 

      ดั่งนี้แล ดูกระภิกษุทั้งหลาย เทวบุตรชั้นศุทธาวาสทั้งหลายสรรเสริญตถาคตยืนประณมมืออยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ประณมมือนมัสการตถาคต

 

      ครั้งนั้นแล เทวบุตรชั้นอาภัสรา บูชาตถาคตผู้นั่งอยุ่ที่ควงต้นโพธิด้วยดอกไม้ เครื่องเผาเอาควันหอม (ธูป) พวงมาลัยเครื่องลูบทาฉัตรธงชัย ธงปตากมีประการต่างๆอันเป็นทิพย์แล้วทำประทักษิณ 3 รอบ และสรรเสริญด้วยคำเป็นบทประพันธ์อย่างดียิ่งว่า

 

      12 เมื่อพระมุนีตรัสรู้ธรรมอันล้ำลึกแล้ว ก็มีเสียงไพเราะ เพลงขับร้องของพระมุนีผู้ประเสริฐด้วยเสียงไพเราะเหมือนเสียงพรหม ถึงประโยชน์ยอดเยี่ยมคือโพธิอันประเสริฐเลิศ ครั้นเสียงทั้งปวงถึงฝั่งแล้ว(จบลงแล้ว) ข้าพเจ้าขอนมัสการพระองค์ ฯ

 

      13 พระองค์เป็นผู้ป้องกัน เป็นที่พำนัก เป็นที่ยึดหน่วง เป็นที่พึ่ง เป็นผู้มีจิตกรุณาไมตรีในโลก พระองค์เป็นนายแพทย์สูงสุดแท้เทียว ซึ่งถอนหอกออกได้ พระองค์เป็นผู้พยาบาล ทรงกระทำประโยชน์อย่างยิ่ง ฯ

 

      14 การเห็นพร้อมกันซึ่งพระองค์ผู้ทรงกระทำที่พึ่ง ข่ายทองคำคือไมตรีกรุณา พระองค์ยกนำมาแล้ว พระองค์ผู้เป็นที่พึ่งทรงไขท่อธารแห่งอมฤตะ พระองค์ทรงระงับดับความเดือนร้อนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

 

      15 พระองค์เป็นเหมือนดอกบัว ไม่เปรอะเปื้อนในภพทั้ง3 พระองค์เป็นเหมือนภูเขาเมรุ ไม่โยกคลอนและไม่ไหวหวั่น พระองค์เป็นเหมือนเพชร มีประติชญาไม่กลับกลอก พระองค์เป็นเหมือนดวงจันทร์ทรงไว้ซึ่งคุณทั้งปวงอันเลิศ ฯ

 

      ดั่งนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทพชั้นอาภัสราสรรเสริญตถาคตแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่งประณมนมัสการตถาคต

 

      ครั้งนั้นแล เทพชั้นพรหมกาย(รูปพรหม) มีสุพรหมเทพบุตรเป็นประมุขได้คลุมตถาคตผู้ประทับนั่งที่ควงต้นโพธิด้วยข่ายรัตนะอันประดับด้วยแก้วมณีตั้งหลายหมื่นแสนโกฏิดวง ทำประทักษิณ 3 รอบ แล้วสรรเสริญด้วยคำเป็นบทประพันธ์เหมาะสมดียิ่งว่า

 

      16 ข้าพเจ้าขอไหว้เหนือศีรษะ ซึ่งพระองค์ผู้มีปรัชญางามปราศจากมลทิน ทรงไว้ซึ่งแสงสว่างและเดช ทรงไว้ซึ่งลักษณะ 32 ประการอันดีเลิศ เป็นผู้มีสมฤติ ทรงไว้ซึ่งคุณและชญาน ไม่มีความเหน็ดเหนื่อย ฯ

 

      17 ข้าพเจ้าขอไหว้พระองค์ผู้ไม่มีมลทิน ผู้ปราศจากมลทิน ผู้ปราศจากมลทินจากมลทินทั้ง 3 ผู้ลือนามในโลกทั้ง 3 บรรลุวิทยา 3มีวโมกษประเสริฐ(*) 3 อย่าง ทรงประทานจักษุ (**) 3 ปราศจากมลทิน ฯ

 

* วิโมกษ 3 อย่าง คือสุญญตวิโมกษ อนิมิตวิโมกษ อประนิธิวิโมกษ
** จักษุ 3 คือ พุทธจักษุ ปรัชญาจักษุ สมันตจักษุ

 

      18 พระองค์ถอนความขุ่นมัวคือโทษ มีใจฝึกฝนดีแล้ว เสด็จขึ้นไปสู่ความเอ็นดูกรุณา ทรงกระทำประโยชน์ให้แก่โลก เป็นมุนีบันเทิงแล้วเสด็จขึ้นไปสู่ใจอันสงบ ทรงปลดเปลื้องทวยะมติ(*) ทรงยินดีในอุเบกษา(ความวางเฉย)ฯ

 

* ทวยะมติ ความรู้ที่เป็นคู่ๆ ได้แก่ โลกธรรม เช่น ได้ลาภ เสื่อมลาภ  ได้ยศ เสื่อมยศ  สุข ทุกข์  เป็นต้น

 

      19 เสด็จขึ้นไปสู่ พรต ตบะ ทรงกระทำประโยชน์ให้แก่โลก ทรงประพฤติธรรมด้วยพระองค์เอง ทรงประพฤติบริศุทธยิ่ง บรรลุถึงฝั่ง(ถึงนิรวาณ) ทรงเป็นผู้แสดงสัตยธรรมทั้ง 4 ยินดีในการปลดเปลื้อง ทรงพ้นแล้ว และทรงเปลื้องสัตวโลกคนอื่นให้พ้นด้วย ฯ

 

      20 มารในโลกนี้มีกำลังและความเพียรมาหาแล้ว พระองค์ทรงชนะด้วยปรัชญา ความเพียร และไมตรีของพระองค์ พระองค์บรรลุอมฤตะอันเป็นบทประเสริฐ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอไหว้พระองค์ผู้ย่ำยีมารและเสนามารผู้ชั่วร้าย ฯ

 

      ดั่งนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทพชั้นพรหมกาย(รูปพรหม) มีสุพรหมเทวบุตรเป็นประมุขสรรเสริญตถาคตด้วยคำเป็นบทประพันธ์อย่างดียิ่ง ยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่งประณมนมัสการตถาคต

 

      ครั้นนั้นแล บุตรมารทั้งหลายที่เป็นฝ่ายขาว (ฝ่ายขวา) ได้เข้าไปยังที่ประทับตถาคต ครั้นแล้ว ก็กางกั้นตถาคตด้วยฉัตรและเพดานมหารัตนะ ประณมมือสรรเสริญตถาคตด้วยคำเป็นบทประพันธ์เหมาะสมอย่างดียิ่งว่า

 

      21 ข้าพเจ้าเห็นประจักษ์ในกำลังของพระองค์ ซึ่งกว้างขวางอย่างยิ่ง เสนาของมารก็น่ากลัว ซึ่งเสนาของมารนั้นเป็นมหาภัยเฉพาะหน้า พระองค์ก็ชนะแล้วในชั่วขณะเดียว พระองค์ไม่เสด็จลุกขึ้น พระกายไม่สะทกสะท้านหรือออกพระโอษฐ์เลย ข้าพเจ้าขอไหว้พระองค์ซึ่งโลกทั้งปวงบุชาแล้ว เป็นพระมุนีผู้ประสิทธิ์ประโยชน์ทั้งปวง ฯ

 

      22 มารทั้งหลายมีตั้งพันหมื่นโกฏิมิใช่น้อย มีประมาณด้วยอนู(เมล็ดทราย)ในแม่น้ำคงคา มารเหล่านั้นไม่สามารถจะให้พระองค์เคลื่อนจากเส้นขนานต้นโพธิและให้สั่นสะเทือนได้ ยัชญทั้งหลายตั้งพันหมื่นมิใช่น้อย เหมือนทรายในแม่น้ำคงคา พระองค์ผู้ประทับอยู่ที่เส้นขนานต้นโพธิก็ได้บูชามาแล้ว เพราะฉะนั้น พระองค์จึงรุ่งโรจน์ในวันนี้ ฯ

 

      23 อนึ่งพระชายาผู้มีความรักอย่างยิ่ง และพระโอรสอันเป็นที่รักกับผู้รับใช้หญิงชาย ทั้งอุทยาน บ้านเมือง หมู่บ้านราษฎร ราชสมบัติ พร้อมทั้งนักสนมทั้งหลาย พระหัตถ์พระเศียรซึ่งเป็นอวัยวะเบื้องบนพระเนตรพระชิหวา พระองค์ก็เสียสละมาแล้ว พระองค์ทรงประพฤติจรรยาเพื่อตรัสรู้อันประเสริฐ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงรุ่งโรจน์ในวันนี้ ฯ

 

      24 พระองค์ตรัสไว้มากว่า เราจะเป็นพระพุทธ จะยังสัตว์ตั้งหลายหมื่นโกฏิตน ที่ถูกมหาสมุทรคือความทุกข์พัดพาไปแล้วให้ข้ามพ้น พระองค์มีจิตประกอบด้วยชญานและปรัชญา ซึ่งเป็นยอดอินทรีย์ เป็นสัทธรรมนาวาด้วยพระองค์เอง และนาวานี้นั้น พระองค์บรรทุกสัตว์ทั้งหลายเต็มลำ ตั้งพระทัยจะให้ข้ามพ้นฯ

 

      25 พระองค์ทรงสรรเสริญบุณย มีลัทธิเลิศ ทรงประทานจักษุแก่โลก พวกเราทั้งหมดมีใจเฟื่องฟูยินดี ปรารถนาสรวัชญตา (ปรารถนาพุทธภูมิ) พวกเราจำกำจัดพรรคพวกของมารนั้นอย่างนี้แล้ว ตรัสรู้สรรวัชญตา ฯ

 

      ดั่งนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุตรมารสรรเสริญตถาคตแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่งประณมนมัสการตถาคต

 

      ครั้งนั้นแล เทพบุตรชั้นปรนิรมิตวศวรรดี มีเทวบุตรตั้งแสนมิใช่น้อยแวดล้อมออกหน้าโปรยดอกบัวสีเหมือนทองชมพูนทลงมายังตถาคต สรรเสริญต่อหน้าด้วยคำเป็นบทประพันธ์อย่างดียิ่งว่า

 

      26 ขอนบด้วยศีรษะซึ่งพระผู้มีภคะ ผู้ไม่ถูกเบียดเบียน ไม่ถูกรบกวน มีพระวางจาไม่เคลื่อนที่ ปราศจากความมืดและธุลีคือเกลศถึงคติอันเป็นอมฤตะ ไม่มีความลี้ลับ ไม่มีใครเทียบเท่าในการกระทำให้เป็นสง่าราศี ทั้งในเทวโลกและในมนุษยโลก มีความรุ่งเรืองอย่างยิ่งและมีสมฤติ ฯ

 

      27 พระองค์ทรงกระทำให้เกิดความยินดี ทรงเผด็จศึก ทรงย่ำยีธุลีและมลทิน ยังเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายให้รื่นรมย์ด้วยพระวาจาแจ่มแจ้งเป็นอย่างดี ทรงเบิกบาน กว้างขวาง มีพระกายประเสริฐด้วยแสงสว่าง ทรงเป็นดังว่าเจ้าแห่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พระองค์ทรงชนะโลกนี้แล้ว ฯ

 

      28 ทรงย่ำยีผู้อยู่ในคณะอื่น (เดียร์ถีย์ ทรงฉลาดในความประพฤติอย่างดียิ่ง ขอพระองค์จงเป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายทรงกำจัดมติฝ่ายอื่น ทรงประพฤติอย่างดียิ่ง ทรงจำแนกกรรม มีความคิดเห็นอันละเอียดอย่างยิ่ง ทรงเสด็จเที่ยวไปในทางที่จะไปถึงทศพล(กำลัง 10 อย่าง) นี้ ฯ

 

      29 ทรงสละการถือเอาภพสามัญ ซึ่งเป้นความไม่คงที่และเป็นทุกข์อย่างใหญ่หลวง ทรงแนะนำเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายในวินัยตามพระมติ(ความคิดเห็น) ทรงเสด็จเที่ยวไปยังทิศทั้ง 4 เหมือนมีดวงจันทร์ในอากาศ ขอจงมีจักษุ เป็นที่ยึดหน่วง ในภพนี้คือในภพทั้ง 3 ฯ

 

      30 ขอพระองค์จงเป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย และพระองค์ไม่พลั้งพลาดในอารมณ์ พระองค์ยังเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายให้รื่นรมย์ พระองค์มีความยินดีอันงาม ทรงเว้นแล้วจากความยินดีในการในวันคืน ในหมู่คน ในภพทั้ง3 ไม่มีใครเสมอพระองค์ พระองค์เป็นที่พึ่ง เป็นคติ เป็นที่ยืดหน่วงของสัตว์โลกในโลกนี้แล ฯ

 

      ดั่งนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวบุตรชั้นปรนิรมิตวศวรรดีทั้งหลาย มีวศวรรดีเทพเป็นประมุข

 

สรรเสริญตถาคตแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่งประณมนมัสการตถาคต

 

      ครั้งนั้นแล เทวบุตรชั้นสุนิรมิตเป็นหัวหน้า มีหมู่เทวดาแวดล้อม คลุมตถาคตด้วยพวงมาลัย ล้วนแล้วด้วยแผ่นรัตนะต่างๆสรรเสริญต่อหน้าด้วยคำเป็นบทประพันธ์อย่างดียิ่งว่า

 

      31 พระองค์ท่านเป็นแสงสว่างคือธรรมพลุ่งขึ้นแล้ว ตัดแล้วซึ่งมลทิน 3 อย่าง ทรงประหารซึ่งโมหะ ทฤษฏิ อวิทยา เพียงพร้อมด้วย หรี(ความละอายใจ) และศรี ยังหมู่สัตว์ผู้ยินดีในทางผิดนี้ให้ดำเนินในทางอมฤตะ พระองค์ทรงอุบัติในโลกนี้เป็นเจดีย์ที่เขาบูชาในเทวโลกและในมนุษยโลก ฯ

 

      32 พระองค์เป็นนายแพทย์ผู้วางยาบำบัดโรค ทรงประทานความสุขอันเป็นอมฤตะ ทรงบำบัดพยาธิทั้งปวงแห่งร่างกายอันอาศัยอยู่ในบุรีคือการสะสม ทฤษฏิ เกลศ และอวิทยา ให้ดำเนินในทางของพระชิน(พระพุทธ)องค์ก่อนๆเพราะฉะนั้น พระองค์จึงเป็นนายแพทย์สูงสุด เป็นนายกเสด็จเที่ยวไปยังพื้นแผ่นดิน ฯ

 

      33 แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงดาว และแสงแก้วมณีโชติช่วงรัศมีองค์ศักรและพรหม ย่อมไม่สว่างต่อหน้าศิริอันหนาแน่น (ของพระองค์ได้) พระองค์ทรงกระทำแสงสว่างคือปรัชญา ทรงกระทำความสว่างเพียบพร้อมไปด้วยแสงสว่างคือศรี ข้าพเจ้าประจักษ์แล้ว ขอน้อมเศียรนบในพระชญานของพระองค์ซึ่งแปลกประหลาด ฯ

 

      34 พระองค์ตรัสความจริง เมื่อเขาพูดไม่จริง พระองค์เป็นผู้นำพิเศษ มีพระวาจาไพเราะเป็นอย่างดี ทรงฝึกฝนมาแล้ว มีใจสงบ ทรงชนะอินทรีย์ มีใจระงับแล้ว เป็นพระศาสดา ทรงสั่งสอนหมู่เทวดาและมนุษย์ผู้ควรสั่งสอน ข้าพเจ้าขอไหว้พระองค์ผู้ศากยมุนี เป็นปุรุษเลิศ ซึ่งเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ฯ

 

      35 พระองค์ทรงไว้ซึ่งถ้อยคำอันให้ความรู้อย่างดีเลิศ ยังเทวดาและมนุษย์ในภพทั้ง 3 ให้รู้ซึ่งธรรมอันควรรู้ ทรงเป็นผู้แสดงวิทยา 3 วิโมกษ 3 ทรงประหารมลทินิ 3 ให้ปราศจากมลทิน ข้าแต่พระมุนี พระองค์ทรงรู้จักผู้ที่ควรโปรดและไม่ควรโปรดในวินัยตามพระมติ ข้าพเจ้าขอไหว้พระองค์ซึ่งไม่เคยมีในเทวโลก ทรงได้รับการบูชาแล้วในเทวโลกและมนุษยโลก ฯ

 

      ดั่งนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวบุตรชั้นสุนิรมิตพร้อมด้วยบริวาร สรรเสริญตถาคตแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่งประณมนมัสการตถาคต

 

      ครั้งนั้นแล สันตุษิตะเทวบุตร พร้อมด้วยเทวดาชั้นดุษิตทั้งหลาย ได้เข้าไปหายังที่ตถาคตอยู่ ครั้นแล้ว คลุมตถาคตผู้นั่งอยู่ที่ควงต้นโพธิด้วยข่ายผ้าทิพย์ผืนใหญ่ แล้วสรรเสริญต่อหน้าด้วยคำเป็นบทประพันธ์อย่างดียิ่งว่า

 

      36 พระองค์ผู้ประทับในที่ซึ่งเคยอยู่มาแล้วในสวรรค์ชั้นดุษิต ในที่นั้น พระองค์ทรงแสดงธรรมอันใหญ่ยิ่ง ไม่ทรงตัด(งดเว้น) การพร่ำสอนนั้น แม้ทุกวันนี้เทวบุตรทั้งหลายก็ยังประพฤติธรรมอยู่ ฯ

 

      37 ข้าพเจ้าทั้งหลายได้รับการพบเห็นแล้ว ยังไม่อิ่ม ฟังธรรมแล้วยังไม่พบความอิ่ม ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นมหาสมุทรแห่งคุณความดี พระองค์เป็นประทีปของโลก ข้าพเจ้าขอไหว้พระองค์ด้วยศีรษะและด้วยใจ ฯ

 

      38 พระองค์เคลื่อนจากสวรรค์ชั้นดุษิต พระองค์ทรงชำระให้สะอาดซึ่งอกษณะทั้งปวงทุกเมื่อ คราวที่พระองค์เสด็จเข้าไปสู้เส้นขนานต้นโพธิ พระองค์ระงับดับเกลศของโลกทั้งปวง ฯ

 

      39 และพระองค์ทรงกระทำการตรัสรู้โพธิอันใหญ่ยิ่ง โพธินั้นพระองค์บรรลุแล้วเพราะชนะมาร ความตั้งใจของพระองค์สมบูรณ์แล้วเพราะตบะ ขอพระองค์จงยังจักรอันใหญ่ยิ่งให้หมุนโดยพลันเถิด ฯ

 

      40 สัตว์หลายพันในทิศทั้งหลาย ยินดีในธรรม และฟังธรรม ขอพระองค์จงยังจักรอันใหญ่ยิ่งให้หมุนโดพลันเถิด ขอพระองค์จงปลดเปลื้องสัตว์ตั้งพัน (ให้พ้นจากทุกข์) ในภพทั้งหลายเถิด ฯ

 

      ดั่งนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย สันดุษิตเทวบุตรพร้อมด้วยบริวารสรรเสริญตถาคตแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่งประณมนมัสการตถาคต

 

      ครั้งนั้นแล เทพชั้นสุยามทั้งหลาย มีสุยามเทวบุตรเป็นประมุข เข้าไปหายังที่ตถาคตอยู่ ครั้นแล้ว ได้บูชาตถาคตผู้นั่งอยู่ที่ควงต้นโพธิด้วยดอกไม้เครื่องเผาเอาควันของหอม พวงมาลัย เครื่องลูบทาต่างๆแล้วสรรเสริญต่อหน้าด้วยคำเป็นบทประพันธ์อย่างดียิ่งว่า

 

      41 ไม่มีใครที่ไหนในระหว่างจะเสมอเหมือนพระองค์ด้วยศีล สมาธิ ปรัชญา พระองค์ฉลาดในอธิมุกติ(การบรรลุ) วิมุกติ  (การหลุดพ้นจากเกลศ) ข้าพเจ้าขอไหว้พระองค์ผู้เป็นตถาคตด้วยศีรษะ ฯ

 

      42 พระองค์ทอดพระเนตรเห็นขบวนงดงามที่ควงต้นโพธิ ซึ่งเทวดาทั้งหลายทำแล้ว นั่นไม่สมควรแก่ใครคนอื่นเหมือนกับพระองค์ที่เทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ฯ

 

      43 พระองค์ท่านมิได้ทรงอุบัติมาโดยไร้ประโยชน์ ซึ่งอันที่จริงพระองค์ทรงสะสมประโยชน์เป็นอันมากยากที่ใครจะทำได้ พระองค์ทรงชนะมารชั่วร้าย พร้อมทั้งเสนามาร พระองค์ทรงบรรลุโพธิอันเยี่ยมยอด ฯ

 

      44 พระองค์ทรงกระทำแสงสว่างทั้ง 10 ทิศ โลกทั้ง 3 รุ่งเรือง แล้วด้วยประทีปคือปรัชญา พระองค์ทรงขับไล่ความมืด ทรงประทานจักษุอันสูงสุดในโลก ฯ

 

      45 เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พูดสรรเสริญกันมาตั้งหลายกัลป แต่ไม่มีภายในเส้นขนของพระองค์เลย (พระองค์ไม่ยินดี) ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นมหาสมุทรแห่งคุณความดี พระองค์มีพระเกียรติซื่อเสียงในโลก ข้าพเจ้าทั้งหลายขอไหว้พระองค์ผู้เป็นตถาคตด้วยศีรษะ ฯ

 

      ดั่งนี้แล เทวดาทั้งหลายมีสุยามเทวบุตรเป็นประมุข สรรเสริญตถาคตแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่งประณมนมัสการตถาคต

 

      ครั้งนั้นแล องค์ศักรผู้เป็นใหญ่แก่เทวดาทั้งหลาย พร้อมด้วยเทวดาชั้นดาวดึงส์ บูชาตถาคตด้วยขบวนแห่งดอกไม้ เครื่องเผาเอาควัน ประทีป(ธูปเทียน)ของหอม พวงมาลัย ผงจันทน์ เครื่องลูบทา จีวร ฉัตร ธงชัย ธงปตากต่างๆสรรเสริญด้วยคำเป็นบทประพันธ์อย่างดียิ่งว่า

 

      46 ข้าแต่พระมุนี พระองค์เป็นผู้ไม่พลั้งพลาด ไม่มีโทษ ดำรงอยู่ด้วยดีทุกเมื่อเหมือนภูเขาเมรุ มีชื่อเสียงประกาศทั้ง 10 ทิศ มีแสงสว่าง คือชญาน ประกอบด้วยบุณยและเดช ข้าแต่พระมุนี พระพุทธองค์ก่อนๆตั้งแสน บูชาพระองค์แล้วในความวิเศษซึ่งพระองค์ชนะมารและเสนามารที่พุ่มต้นโพธิ ฯ

 

      47 พระองค์ทรงกระทำศีล ศรุตะ(การสดับฟัง) สมาธิ ปรัชญา มีธงชัยคือชญาน ทรงกำจัดชรา มรณะ เป็นนายแพทย์สูงสุด ทรงประทานจักษุแก่โลก ข้าแต่พระมุนี พระองค์ละมลทิน 3 ได้ทั้งหมด มีอินทรีย์สงบระงับ มีจิตสงบระงับ ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์เป็นที่พึ่ง พระองค์เป็นศากยดีเลิศ เป็นพระธรรมราชาในโลก ฯ

 

      48 พระองค์ทรงประพฤติเพื่อโพธิ ไม่มีใครเทียมเท่าหาที่สุดมิได้สูงสุดด้วยความเพียรและกำลัง ทรงมีอุปายด้วยกำลังปรัชญา มีกำลังไมตรี  กำลังบุณยเกี่ยวกับพรหมวิหาร(ไมตรี กรุณา มุทิตา อุเบกษา) ทรงถึงกำลังอันไม่มีใครเทียมเท่าหาที่สุดมิได้ พระองค์ดำเนินไปสู่โพธิ ทรงไว้ซึ่งกำลังคือทศพล (กำลัง 10 ) วันนี้ พระองค์ประทับอยู่ที่โคนต้นโพธิอีก ฯ

 

      49 ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นสัตว์ มีคุณหาที่สุดมิได้มารและเสนามารเห็นพระองค์แล้วมีความสะดุ้งหวาดกลัว ข้าแต่พระศรมณะผู้รุ่งเรืองพระองค์ประทับอยู่ที่ควงต้นโพธิขออย่างถูกเบียดเบียนเลย พัวะ ภัยจงไม่มีแก่พระองค์ และการไหวหวั่นทางกายไม่มีแก่พระองค์ พระองค์ทรงชนะมารและเสนามาร ผู้สิ้นฝีมือมีภาระหนักสะทกสะท้านแล้ว ฯ

 

      50 พระพุทธองค์ก่อนๆ บรรลุโพธิอันประเสริฐบนบรรลังก์ฉันใด พระองค์ตรัสรู้เท่ากัน เสมอกัน ไม่เป็นอย่างอื่น ฉันนั้น พระองค์มีมนัสสม่ำเสมอ มีจิตสม่ำเสมอ พระองค์บรรลุถึงกำลังคือความเป็นสรวัชญ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงเป็นสวยัมภู(ผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง เป็นผู้สูงสุดในโลก เป็นบุญยเกษตร (เนื้อนาบุณย) ในโลก ฯ

 

      ดั่งนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย องค์ศักรผู้เป็นใหญ่แก่เทวดาทั้งหลาย พร้อมด้วยเทวบุตรชั้นดาวดึงส์ สรรเสริญตถาคตแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่งประณมมือกระทำนมัสการตถาคต

 

      ครั้งนั้นแล มหาราชทั้ง 4 พร้อมด้วยเทวบุตรชั้นจาตุมหาราช ได้เข้าไปยังที่ตถาคตอยู่ ครั้นแล้ว ถือมุกอย่างดี ดอกจำปา ดอกมะลิ ดอกมะลิวัลย์ ข้าวตอก พวงมาลัย มีนางฟ้าตั้งแสนแวดล้อม กระทำบูชาตถาคตด้วยการระบำบรรเลงทิพยสังคีต แล้วสรรเสริญด้วยคำเป็นบทประพันธ์เหมาะสมอย่างดียิ่งว่า

 

      51 พระองค์มีพระวาจาไพเราะเป็นอย่างดี มีกระแสเสียงจับใจทรงกระทำความสงบ มีจิตผ่องใสเหมือนดวงจันทร์ มีพระพักตร์ยิ้มแย้ม มีพระชิหวาใหญ่ ทรงกระทำให้เกิดความยินดีอย่างยิ่ง ข้าแต่พระมุนี ข้าพเจ้าขอนมัสการพระองค์ ฯ

 

      52 พระองค์ตรัสด้วยเสียงไพเราะดีในโลกทั้งปวง ควรแก่ความรักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย เสียงของพระองค์ทรงเปล่งออกมีกระแสไพเราะ ครอบงำเสียงพูดในที่ทั้งปวง ฯ

 

      53 พระองค์ทรงสงบระงับราคะ โทษะ โมหะ ที่เป็นเกลศเครื่องเศร้าหมอง ยังความยินดีให้เกิดขึ้นแก่เทพยดาทั้งหลายผู้บริศุทธ มีพระหทัยไม่ขุ่นมัว ทรงพิจารณาธรรม ข้าแต่พระอารยะ คนทั้งหลายทั้งปวง ย่อมไว้วิมุกติจากพระองค์แล ฯ

 

      54 ทั้งพระองค์ไม่ดูถูกผู้ไม่รู้ และพระองค์ไม่เมาด้วยความเมาในความรู้ พระองค์ไม่ยกตนและไม่ถ่อมตน ตั้งพระองค์ไว้ดีแล้วเหมือนภูเขากลางมหาสมุทร ฯ

 

      55 พระองค์เห็นปานนี้มีอยู่ในที่ใดในสัตว์โลก ที่นั้นเป็นลาภอันมนุษย์ทั้งหลายได้แล้วเป็นอย่างดี เหมือนดอกบัวมีพระสรัสวดีประทับอยู่ย่อมอำนวยทรัพย์สมบัติฉะนั้น และพระองค์จะประทานธรรมในโลกทั้งปวง ฯ

 

      ดั่งนี้แล เทวดาชั้นมหาราช มีมหาราชทั้ง 4 เป็นประมุขสรรเสริญตถาคตผู้ประทับนั่งอยู่ที่ควงต้นโพธิแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่งประณมมือนมัสการตถาคต

 

      ครั้งนั้นแล เทวดาอยู่ในอากาศเข้าไปสู่นำนักตถาคต ประดับอากาศทั้งหมด ในการกระทำบูชาความตรัสรู้ด้วยข่ายรัตนะ ด้วยข่ายลูกพรวน ด้วยฉัตรรัตนะทั้งหลาย ด้วยธงชัยและธงปตากทั้งหลาย ด้วยพวงมาลัยแผ่นทั้งหลาย ด้วยต่างหูรัตนะทั้งหลาย ด้วยเทวดากึ่งตนถือมุกดาหารพวงมาลัยดอกไม้ต่างๆด้วยอรรธจันทร์(หางนกยูง) ได้มอบตนแก่ตถาคต ครั้นแล้วสรรเสริญต่อหน้าด้วยคำเป็นบทประพันธ์อย่างดียิ่งว่า

 

      56 ข้าแต่พระมุนี ที่อยู่ของข้าพเจ้ามีในโอกาสอย่างแน่แท้ข้าพเจ้าเห็นสัตว์ทั้งหลายในโลกประพฤติอย่างไร ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นสัตว์บริศุทธ พระองค์มุ่งต่อความประพฤติของพระองค์ ข้าพเจ้าไม่เห็นความพลั้งพลาดของพระองค์สักขณะจิตเดียวฯ

 

      57 พระโพธิสัตว์ทั้งหลายใดมาบูชา พระโพธิสัตว์ทั้งหลายนั้นพร้อมด้วยพระพุทธผู้เป็นนายกของมนุษย์ปรากฏเต็มอากาศ ความเสื่อมและความอัปยศไม่มีแก่พระองค์ และพระองค์นั้นแลมีอาตมภาพอยู่ทั่วอากาศ ฯ

 

      58 เทวดาทั้งหลายใด ขมวดมุ่นมวยผม โปรยดอกไม้ลงมาจากอากาศ เทวดาเหล่านั้น ตกอยู่ในพระกายของพระองคืโดยไม่เหลือ เหมือนแม่น้ำไหลเข้าไปในมหาสมุทร ฯ

 

      59 ข้าพเจ้าทั้งหลายเห็นฉัตรและต่างหู พวงมาลัย และพวงมาลัยดอกจำปามุกดาหาร ดวงจันทร์และอรรถจันทร์ เทวดาทั้งหลายซัดลงมามิใช่เอาไว้ตกแต่ง ฯ

 

      60 ในที่นี้ ไม่มีอวกาศแห่งจักรวาล มีแต่อวกาศแผ่ไปด้วยเทวดาทั้งหมด เทวดาทั้งหลายทำการบูชาพระองค์ผู้เป็นมนุษย์สูงสุด พระองค์ไม่มีความมัวเมา หรือความสนเท่ห์เลย ฯ

 

      ดั่งนี้แล เทวดาอยู่ในอากาศสรรเสริญตถาคตผู้ประทับนั่งอยู่ที่ควงต้นโพธิแล้วลงมายืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ประณมมือนมัสการตถาคต

 

      ครั้งนั้นแล เทวดาอยู่ภาคพื้นทำพื้นแผ่นดินทั้งหมดในการทำบูชาตถาคต ชำระสิ่งเปรอะเปื้อนให้สะอาดหมดจด  ประพรมด้วยน้ำหอมและโรยดอกไม้ ขึงเพดานกว้างด้วยผ้าต่างๆมอบตนแก่ตถาคตแล้วสรรเสริญด้วยคำเป็นบทประพันธ์อย่างดียิ่งว่า

 

      61 เทวโลกดำรงอยู่หนาแน่นไม่แตกกันเหมือนเพชร พระพุทธนี้ประทับอยู่ที่ควงต้นโพธิด้วยความยืดมั่นเหมือนเป็นเพชรว่า หนัง เนื้อ ไขข้อ ของข้าพเจ้าจงแห้งไปที่นี้เสียเถิด เมื่อยังไม่สัมผัสโพธิจะไม่ลุกจากที่นี้ ฯ

 

      62 พระโพธิสัตว์ทั้งหลายผู้เป็นนรสีห์ (ผู้เป็นใหญ่ ) ประกอบด้วยอานุภาพมาก ไม่ได้ทำเทวโลกทั้งหมดนี้ให้เป็นที่ตั้งมั่น เทวโลกทั้งปวงนี้เหลือเศษกระจัดกระจายแล้ว พระโพธิสัตว์ทั้งหลายเช่นนั้น มีกำลังศักดานุภาพมากได้มาแล้ว ซึ่งทำให้พื้นที่โกฏิเกษตรไหวหวั่นด้วยฝ่าบาทที่เหยียบย่าง ฯ

 

      63 พระบรมสัตว์ทรงเหยียบย่างบนพื้นแผ่นดินใด พื้นแผ่นดินนั้นเป็นลาภที่ภูมิเทพได้รับเป็นอันดีอย่างใหญ่หลวง แผ่นดินในที่ดินมีละอองพระบาท แผ่นดินในที่นั้นทั้งหมดสว่างในโลก เทวดาทั้งหลายประหลาดใจว่า กายอะไรเกิดจากพระองค์ ฯ+

 

      64 ร่างใหญ่หนักตั้งแสนจนกระทั่งร่างเล็กจิ๋ว พื้นแผ่นดินจะทรงไว้ได้ พื้นแผ่นดินทรงไว้ได้ พื้นแผ่นดินทรงโลกไว้ตลอดจนกระทั่งเครื่องเลี้ยงชีวิต ข้าพเจ้าทรงไว้ซึ่งแผ่นดินทั้งปวงและเทวโลก ข้าพเจ้าขอถวายแผ่นดินทั้งหมดแด่พระองค์ พระองค์จงทรงบริโภค(ใช้สอย)แผ่นดินนี้ตามความปรารถนา ฯ

 

      65 ผู้ใด นั่ง ยืน เดิน หรือนอน มีในที่ใด ผู้ใด เป็นบุตรพระสุคต เป็นศราวกพระโคดมท แม้ผู้ใดกล่าวธรรมกถาหรือฟังธรรมกถานั้น  ข้าพเจ้าขอน้อมกุศลมูลของเขาทั้งหมดนั้นลงในโพธิ ฯ

 

      ดั่งนี้แล เทวดาอยู่ภาคพั้นทั้งหลายสรรเสริญตถาคตผู้ประทับนั่งอยู่ที่ควงไม้โพธิ ประณมมือนมัสการตถาคต

 

อัธยายที่ 23 ชื่อสัสตวะปริวรรต (ว่าด้วยการเสรรเสริญ) ในคัมภีร์ ศีลลิตวิสตร ดั่งนี้แล ฯ

 

 

24 ตระปษะกับภัลลิกะ

 

อัธยายที่ 24

 

ตฺรปุษภลฺลิกปริวรฺตศฺจตุรฺวึศะ

 

ชื่อตระปุษะภัลลิกะปริวรรต (ว่าด้วยพานิชชื่อตระปษะกับภัลลิกะ)

 

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว เทวดาทั้งหลายสรรเสริญอยู่ยังไม่ลุกจากบรรลังก์ ลืมตามองดูทุมราช(ต้นโพธิ) มีปรีติในธยานเป็นอาหาร เสวยสุข และปรีติประทับนั่งอยู่ที่โคนต้นโพธิตลอด 7 ราตรี

 

      ครั้นล่วงไปสัปดาห์หนึ่ง เทวบุตรชั้นกามาพจรถือหม้อน้ำหอมจำนวนหมื่นเข้าไปยังที่ตถาคตอยู่ แม้เทวบุตรชั้นรูปาพจรก็ถือหม้อน้ำหอมจำนวนหมื่นเข้าไปยังที่ตถาคตอยู่ ครั้นแล้วก็เอาน้ำหอมอาบต้นโพธิและตถาคต เทวดา นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร ครุฑ กินนร งูใหญ่ มีจำนวนเกินกว่าที่จะนับได้เอาน้ำหอมที่ตกจากกายของตถาคตลูบไล้ร่างกายของตนๆ ยังจิตให้เกิดขึ้นในอนุตตรสัมยักสัมโพธิ แม้กลับเข้าไปอยุ่ในที่อยู่ของตนแล้ว เขาเหล่านั้นมีเทวดาเป็นต้น ก็ยังไม่ปราศจากกลิ่นน้ำหอมนั้น และด้วยกลิ่นหอมนั้นทำให้ไม่เกิดความกำหนัด และไม่มีความเปลี่ยนแปลงในอนุตตรสัมยักสัมโพธิด้วยความปรีติปราโมทย์นั้น และด้วยเกิดความคำนึงที่เคารพในตถาคต

 

      ครั้งนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวบุตรชื่อ สมันตกุสุมะ ได้เข้าประชุมในที่ประชุมนั้นด้วย สมันตกุสุมะเทวบุตรนั้น หมอบลงแทบเท้าทั้งสองของตถาคต ประณมมือพุดคำนี้กับตถาคตว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีภคะ พระตถาคตประกอบด้วยสมาธิใด ประทับอยู่ได้ตั้ง 7 ราตรี ไม่ลุกจากบรรลังก์ สมาธินี้ชื่ออะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวบุตรนั้นพูดอย่างนี้แล้ว ตถาคตจึงตอบคำนี้กาบเทวบุตรนั้นว่า ดูกรเทวบุตร ตถาคตประกอบด้วยสมาธิใด อยู่ได้ตั้ง 7 ราตร่ ไม่ลุกจากจากบรรลังก์ สมาธินี้ชื่อว่า ปรีตยาหารวยูหะ (ขบวนการที่มีปรีติเป็นอาหาร)

 

      ครั้งนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมันตกุสุมะเทวบุตรได้สรรเสริญตถาคตด้วยคำเป็นบทปะพันธ์ว่า

 

      1 พระองค์ผู้มีรูปล้อรถในฝ่าพระบาท มีพระบาทแนบเนียน(จรดพื้นสนิทแนบเนียน) มีซี่ล้อพันซี่ มีเดชอยู่ในกลีบดอกบัวเกิดในน้ำคือพระบาท มีพระบาทเหยียบย่ำบนมกุฎเทวดาทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอไหว้พระบาททั้ง 2 ของพระองค์ผู้เป็นกลุ่มก้อนแห่งศรี ฯ

 

      2 เทวบุตรนั้น มีจิตบันเทิงอยู่ในกาลนั้น ไหว้ซึ่งพระบาททั้ง 2 ของพระสุคตได้ทูลคำนี้ กับพระสุคตผู้ทำลายความเห็นผิด ผู้ทรงกระทำความสงบแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

 

      3 พระองค์ยังให้เกิดความยินดีในตระกูลศากย ทรงกระทำที่สุด(ให้หมดสิ้น) แห่งราคะ โทษะ โมหะ ทรงกระทำที่สุดแห่งความเปรี้ยว (ตรงกับนำนวนไทยว่าขมขี่น) ทรงนำความสงสัยแห่งมนุษย์และเทวดาทั้งหลายให้สิ้นไป ฯ

 

      4 ทรงขวนขวายช่วยเหลือผู้อื่น เป็นพระพุทธมีกำลัง 10 ทรงรู้ปริมาณทั้งปวง ทรงชนะที่ง้วนแห่งแผ่นดินไม่ลุกจากบรรลังก์ตลอด 7 วัน ฯ

 

      5 อนึ่งพระนรสีห์ทอดพระเนตรมองดู โดยไม่หลับพระเนตรตลอด 7 วัน ทรงทอดพระเนตรแล้ว มีพระจักษุบริศุทธ มีพระจักษุเหมือนกลีบดอกบัวบาน ฯ

 

      6 อนึ่ง พระองค์ไม่ลุกจากบรรลังก์ที่โคนทุมราช (ต้นโพธิ)ตลอด 7 วัน ด้วยเหตุใด เหตุนั้น เป็นความตั้งใจ หรือว่า เหตุนั้นทั้งหมด ย่อมมีแก่พระพุทธผู้เป็นราชสีห์ประกาศลัทธิ ฯ

 

      7 สาธุ พระองค์ผู้มีพระทนต์เรียบเสมอและสะอาด กลิ่นพระโอษฐ์ของพระทศพล(ผู้มีกำลัง 10 )หอม ตรัสพระวาจาไม่คลาดเคลื่อน ขอได้โปรดกระทำปรีติให้แก่มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฯ

 

      8 พระองค์ผู้มีพระพักตร์เหมือนดวงจันทร์ ตรัสกับเทพบุตรนั้นว่า ดูกรอมรบุตร เมื่อตถาคตพูด เธอจงฟัง ตถาคตจะพูดสักอย่างหนึ่งสำหรับปรัศนานี้ ฯ

 

      9 พระราชาใดๆทรงอภิเษกแล้ว โดยหมู่พระญาติในที่ใดพระราชานั้นๆไม่ทรงละสถานที่นั้นตลอด 7 วัน นี่แหละเป็นธรรมดาของพระราชาทั้งหลาย ฯ

 

      10 แม้พระทศพลก็เช่นเดียวกัน อภิเษกแล้ว ย่อมรุ่งเรือง มีความตั้งใจสมบูรณ์แล้วในคราวใด คราวนั้นทรงชนะแล้วที่ง้วนแห่งแผ่นดิน ย่อมไม่ทำลายบรรลังก์(*) ตลอด 7 วัน ฯ

 

* บรรลังก์ในที่นี้คือการนั่งขัดสมาธิเพชร ไม่ทำลายบรรลังก์คือไม่เลิกการนั่งท่าขัดสมาธิเพชรนั้น

 

      11 นักรบผู้กล้าหาญ มองดูหมู่ข้าศึกที่พ่ายแพ้โดยไม่เหลือฉันใด แม้พระพุทธทั้งหลาย ก็มองดูเกลศที่พระองค์กำจัดแล้วที่ควงต้นโพธิฉันนั้น ฯ

 

      12 กามและโกรธเหล่านั้น มีโมหะเป็นแดนเกิด เป็นความปรากฏตัว (รูปร่าง) ของโลกในโลกนี้ พระองค์ทำให้พินาศสิ้นแล้วเหมือนความปรากฏตัวของโจร ซึ่งโจรทั้งหลายถูกเขาล้มล้างโดยไม่เหลือที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      13 ความถือตัวต่างๆ ความทุกข์ต่างๆอันอาศัยอยู่ในบุรีคือร่างกาย ตถาคตได้กำจัดแล้ว อาศรวะ(*)ทั้งปวง ตถาคตละแล้ว และชญานอันเลิศได้เกิดขึ้นพร้อมแล้วที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

* อาศรวะ แปลว่า ความทุกข์ หรือโทษ

 

      14 ภวตฤษณานั้นเป็นเหมือนตะไกรตัดกามซึ่งเป็นสิ่งไม่ควรทำและภวตฤษณานี้ เป็นเพื่อนเที่ยวไปด้วยกัน และอวิทยาซึ่งเกิดขึ้นโดยมีอนุศัย(*)เป็นมูล ตถาคตเผาเสียแล้วด้วยไฟคือชญานอันเฉียบแหลมที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

*อนุศัญ เกลศที่นอนประจำอยู่ในสันดานมีในคัมภีร์ฝ่ายหีนยาน 7 อย่างคือ 1 กามราคะ ความกำหนัดในกาม 2 ปฏิฆะ ความหงุดหงิดได้แก่โทษะ 3 ทฤษฏิ ความเห็นผิด 4 วิจิกิจฉา ความลังเล 5 มานะ ความถือตัว 6ภวราคะ ความกำหนัดในภพ 7 อวิทยา ความเขลาไม่รู้จริง

 

      15 โทษอันไม่งามที่ว่า เป็นเรา เป็นของเรา ซึงมีรากหยั่งลงลึกปมอันมั่นคง คือนิวรณ์(*)ตถาคตตัดแล้วด้วยศัสตราคือชญานที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้  ฯ

 

*นิวรณ์ มี 5 อย่างคือ 1กามฉันทะ ความพอใจในกาม  2พยาปาทะ ความพยาบาทปองร้าย  3ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน  4อทัจจกุกกุจจะ ฟุ่งซ๋านและรำคาญ  5 วิจิกิจฉา ลังเลไม่แน่ใจในทางปฏิบัติ

 

      16 การพร่ำเพ้อของท่านมาถึงแล้วเป็นเวลานาน มีความวินาศเป็นที่สุด สกันธ์ทั้งหลายพร้อมด้วยอุปาทาน ตถาคตรู้แล้วด้วยชญานที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      17 ความมัวเมาในทวยธรรม(โลกธรรม)ของท่าน การถือผิดๆ ซึ่งจบลงด้วยนรกขุมใหญ่ ตถาคตถอนเสียแล้วโดยไม่เหลือ และจะไม่รู้เกิดอีกที่ง้วนแห่งแผ่นดิน ฯ

 

      18 โจรป่าคือนิวรณ์ ตถาคตเผาเสียแล้วด้วยไฟคือกุศลมูล วิบรรยาสา(*) 4 อย่าง ตถาคตเผาเสียแล้วโดยไม่เหลือที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

*วิบรรยาสา ความเห็นวิปริต เห็นผิดเป็นชอบ

 

      19 ระเบียบตรรก ซึ่งเรียบเรียงไว้ในสํชญาสุตรนั้น เป็นเรื่องนอกทาง ตถาคตเปลี่ยนแปลงโดยไม่เหลือด้วยระเบียบอันงามคือ โพธยังคะ(*)ที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

* โพธยังคะ องค์เป็นเครื่องตรัสรู้มี 7 อย่าง คือ 1 สมฤติ ความจำ 2ธรรมวิจยะ  3วีรยะ ความเพียรประติบัท  4ปรีติ ความปรีติ  5ปัสสัทธิ  ความระงับหรือข่มใจ  6 สมาธิ ใจเป็นสมาธิแน่วแน่  7 อุเปกษา ความวางเฉย หรือเพ่งสมาธินั้น

 

      20 โมหะ 65 ซึ่งเข้าใจยาก และมละคือมลทิน 30 และอฆะ คือบาป 40 ตถาคตตัดเสียแล้วที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      21 อสังวฤตคือการไม่สังวรหรือไม่ห่อหุ้ม 16 และธาตุ 18 กฤจฉระคือความทุขข์หรือความชั่ว 25 ตถาคตตัดแล้วด้วยความตั้งมั่นที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      22 รชะคือธุลีละออง 20 ตระได้แก่แพหรือทุ่นคือเครื่องข้ามน้ำ 28 ซึ่งเป็นเครื่องทำให้เกิดความสะดุ้งกลัวของโลก ตถาคตผ่านพ้นมาแล้วที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ เพราะกำลังความเพียรและทำความบากบั่น ฯ

 

      23 และพุทธนรรทิตะได้แก่ธรรมเป็นเครื่องบันลือความตรัสรู้ 500 ตถาคตตรัสรู้แล้วที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ธรรมทั้งหลายครบแสน ตถาคตก็ได้ตรัสรู้ ฯ

 

      24 อนุศัย 98 พร้อมทั้งรากเหง้าเป็นที่สุด เป็นหน่อที่จะให้เกลศอื่นๆเกิดขึ้น ตถาคตเผาแล้วด้วยไฟคือชญานที่ง้วนแห่งแผ่นดิน ฯ

 

      25 ความสงสัย มีความคิดเห็นขัดแย้งกันเองเป็นแดนเกิด เกิดจากทฤษฏิและความเขลา มีความไม่ดีไม่งามเป็นมูล แม่น้ำคือตฤษณามีกำลังเร็ว 3 อย่าง ตถาคตได้ทำให้เหือดแห้งแล้วด้วยแสงแดดคือชญาน ฯ

 

      26 ป่าคือเกลศมีความโกหกตอแหลและความเลิกละ มีมายา มาตสรรยะ (ความตระหนี่) โทษะ และอีรษยา (ความริษยา) เป็นต้น สิ่งเหล่านั้น ตถาคตตัดแล้ว เผาแล้วด้วยไฟคือวินัยที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      27 คำติเตียนพระอริยะเจ้า ซึ่งเป็นต้นเค้าแห่งวิวาท (พูดแก่งแงถกเถียงทะเลาะกัน) ในความหมายไม่เสมอกัน ดึงมาในทางทุรคติ เหล่านั้น ตถาคตสำรอกออกแล้วด้วยยาสำรอก(ทำให้อาเจียร) คือชญานอันประเสริฐที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      28 ตถาคตอาศัยชญานอันมีคุณ และสมาธิ จึงดับ(ทำให้ถึงที่สุด)การร้องไห้ การคร่ำครวญ ความโศก ความร่ำไรรำพรรณได้โดยไม่เหลือที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      29 มหาสมุทรคือเกลศ ครันถะคือเกลศเครื่องร้อยกรองที่ไม่มีสมาธิ ความโศก หอกเครื่องทิ่มแทงคือเกลศ ความเมาและความประมาททั้งปวง ตถาคตอาศัยนัยแห่งความสัตย์และสมาธิชนะแล้วที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      30 พงชัฏคือเกลศ ต้นไม้คือภพมีรากเหง้างอกอยู่ตลอดกัลปตถาคตตัดแล้วด้วยขวานคือสมฤติ เผาแล้วด้วยไฟคือชญานโดยไม่เหลือที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      31 มารผู้มีอำนาจในโลกทั้ง 3 มีกำลังมาก มีใจจองหอง เป็นจอมของพวกแทตย์ เพราะความเป็นใหญ่(อำนาจ) ตถาคตได้กำจัดแล้วด้วยมีดดาบคือชญานที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      32 ตฤษณาเป็นดั่งตาข่าย มีเพื่อนเที่ยวไปกัน 26มีกำลังมาก ตถาคตตัดแล้วด้วยมีดดาบคือปรัชญา เผาเสียแล้วด้วยไฟคือชญานที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      33 เกลศที่เป็นมูลรากพร้อมด้วยอนุศัยเหล่านั้น เป็นแดนเกิดทุกข์และโศก ตถาคตถอนเสียแล้วโดยไม่เหลือด้วยคมไถ(ผาล)คือกำลังปรัชญาที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      34 ตถาคตได้ชำระจักษุคือปรัชญาของสัตว์ผู้บริศุทธโดยปกติให้สะอาด ด้วยยาหยดตาคือชญาน และได้ทำลายแผ่นโมหะที่กว้างขวางใหญ่ยิ่งแล้วที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      35 ตฤษณาอันกว้างขวางเป็นที่โลดเล่นของมังกรคือความเมาเป็นไปในธาตุทั้ง 4 เป็นมหาสมุทรแห่งภพ ตถาคตตากให้แห้งแล้วด้วยแสงแดดคือสมฤติและศมถะที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      36 ไฟคือความมัวเมาปราศจากการพิจารณา เกิดจากกองไม้คืออารมณ์ ตถาคตดับไม่ให้ลุกโพลงด้วยน้ำเย็นคือรสแห่งวิโมกษ ฯ

 

      37 แผ่นแห่งอนุศัยฉายแสงแห่งรสอร่อยปราศจากเสียงห่งวิตรรก ตถาคตกำจัดแล้วด้วยความเร็วแห่งลมคือกำลังแห่งวีรยะ (ความเพียร) นำไปสู่ความย่อยยับที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      38 ข้าศึกที่เที่ยวไปกับจิตเป็นไพรีติดตามในภพใหม่มีกำลังมากตถาคตอาศัยสมฤติและสมาธิอันปราศจากมลทิน กำจัดแล้วด้วยมีดดาบคือปรัชญาที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      39 มารและเสนามารผู้มีกำลังและมีความเพียร ยกธงชัยดีเลิศรุ่งเรืองด้วยทัพช้าง ทัพม้า ทัพรถ มีรูปที่แปลกประหลาดนั้น ตถาคตอาศัยไมตรีกำจัดแล้วที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      40 ม้าคืออินทรีย์ 6 มั่งคั่งด้วยกามคุณทั้ง 5 มัวเมาและคลั่งไคล้อยู่เสมอ ตถาคตอาศัยสมาธิอันดีงามมัดไว้แล้วโดยไม่เหลือที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      41 ตถาคตอาศัยสมาธิอันไม่มีอะไรขัดขวาง บรรลุถึงการทำให้เขาคืนดีกันกับป้องกันการประหัตประหาร มีการเลิกละการทะเลาะวิวาทเป็นที่สุดที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      42 ความถือตัวทั้งภายในและภายนอกทั้งหมดได้เสื่อมสิ้นแล้วและทั้งความเจริญความเสื่อมทั้งหมดนั้นเป็นสภาพศูนย ตถาคตอาศัยสมาธิจึงรู้อย่างนี้ที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      43 สิ่งทั้งปวง ทั้งที่เป็นของมนุษย์และที่เป็นของเทวดา น่าใคร่ น่าปรารถนา มีภพดีเลิศเป็นที่สุด ตถาคตอาศัยสมาธิอันไม่กลับคืนจึงสละได้โดยไม่เหลือที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      44 เครื่องผูกพันในภพทุกภพทั้งปวงเหล่านั้นในโลกนี้ ตถาคตอาศัยวิโมกษ 3 อย่างจึงละได้โดยสิ้นเชิงด้วยกำลังแห่งปรัชญาทที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      45 สตรีทั้งหลายที่เป็นต้นเหตุ ตถาคตชนะแล้วเพราะเล็งเห็นเหตุนั่นแล ตถาคตรู้ว่าไม่เที่ยงในสิ่งที่เขาว่าเที่ยง รู่ว่าเป็นทุกข์ในสิ่งที่เขาว่าเป็นสุข ซึ่งมีอยู่ในตนที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      46 การถือเอากรรม เกิดจากสมุทัย (เหตุเป็นแดนเกิด) มีอายตนะ 6 เป็นมูล ตถาคตตัดขาด ด้วยการประหารความเห็นที่ว่าทุกอย่างเป็นของเที่ยง ที่โคนทุมราช(ต้นโพธินี้) ฯ

 

      47 ตถาคตทำลายความมืดคือโมหะ ซึ่งเป็นความขุ่นมัว เป็นการกระทำทุจริตระคนดัวยความกระด้างและความโกรธ กระทำความมืดมานานในตัวเอง ให้มีแสงสว่างด้วยแสงแดดคือชญานที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      48 มหาสมุทรคือสังสาร ที่มีมังกรคือราคะและความมัวเมา มีลูกคลื่นและน้ำคืตฤษณา ถือเอาซึ่งทฤษฏิผิด ตถาคตข้ามด้วยเรือคือกำลังความเพียรที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      49 ตถาคตได้ตรัสรู้เป็นพุทธ ซึ่งเผาราคะเทวษะ (ความรัก ความชัง) โมหะ และวิตรรกในจิตอันเป็นเหมือนตั๊กแตนตกลงในไฟที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      50 การเคลื่อนไปข้างหน้าของจิตหาประมาณมิได้ ได้มีแล้วตั้งหมื่นโกฏิกัลป ทางเดินในสังสารลำบาก ตถาคตทำให้ไม่เหนื่อยไม่มีความร้อนที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      51 อมฤตะใด อันลัทธิอื่นทั้งปวงไม่ได้รับ เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก เป็นการสิ้นสุดชรามรณะโสกและทุกข์ อมฤตะนั้น ตถาคตตรัสรู้แล้วที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      52 สกันธและอายตนะเป็นทุกข์ ความทุกข์มีตฤษณาเป็นแดนเกิดในเพราะเหตุใด เหตุนั้นจะไม่เกิดอีกต่อไป ตถาคตได้ไปถึงบุรีอันไม่มีภัยที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      53 ข้าศีกภายในตนจำนวนมากทั้งหมดเหล่านั้น ตถาคตตรัสรู้แล้วและเครื่องผูกมัดทั้งหลายอันจะนำไปสู่ภพใหม่ ตถาคตได้ทำการเผาเสียแล้วที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      54 รัตนะทั้งหลายเป็นอันมาก พร้อมทั้งเนื้อและนัยน์ตา ตถาคตสละแล้วตั้งหมื่นโกฏิกัลปเพราะเหตุแห่งอมฤตะ เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้น ตถาคตตรัสรู้แล้วที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      55 ความตรัสรู้ ของผู้ซึ่งมีเสียงไพเราะน่าอภิรมย์โด่งดังในโลกทั้งหลายอันพระพุทธครั้งก่อนๆหาประมาณมิได้ตรัสรู้แล้ว ความตรัสรู้นั้น ตถาคตตรัสรู้แล้วที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      56 ความศูนยของโลก มาถึงแล้วโดยทุกสิ่งทุกอย่าง อาศัยปรัตยัยเกิดขึ้นติดตามดูจิต เหมือนบุรีของคนธรรพ์ในพยับแดด ความศูนยนั้น ตถาคตตรัสรู้แล้วที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      57 นัยน์ตาประเสริฐของตถาคตนั้นแล บริศุทธที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้  ซึ่งเห็น (โลก) ธาตุได้ทั้งหมดเหมือนเห็นผลไม้ที่วางอยู่กลางฝ่ามือ ฯ

 

      58 การระลึกถึงที่เคยอยู่มาก่อน วิทยา 3 ตถาคตได้บรรลุแล้วที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ตถาคตระลึกชาติตั้งหมื่นกัลปหาประมาณมิได้ เหมือนตื่นจากหลับ ฯ

 

      59 ตถาคตให้ความสว่างแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายที่มีความวิปริตสํชญา(เข้าใจผิด)มีวิปริยาสา (ความเห็นผิดเป็นชอบ) เหล่านั้นและตถาคตไม่คลาดเคลื่อน ตถาคตได้ดื่มฟองอมฤตะแล้วที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      60 ตถาคตมีกำลัง 10 เพื่อสัตว์โลก มีไมตรีในสัตว์ทั้งปวงนั้นชนะแล้วด้วยกำลังแห่งไมตรี ดื่มฟองอมฤตะแล้วที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      61 ตถาคตมีกำลัง 10 เพื่อสัตว์ใด มีความกรุณาในสัตว์ทั้งปวงนั้นชนะแล้วด้วยกำลังแห่งความกรุณาดื่มฟองอมฤตะแล้วที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      62 ตถาคตมีกำลัง 10 เพื่อสัตว์ใด มีมุทิตา(ความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี) ในสัตว์ทั้งปวงนั้น ชนะด้วยกำลังแห่งมุทิตา ดื่มฟองอมฤตะแล้วที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      63 ตถาคตมีกำลัง 10 เพื่อสัตว์ใด มีอุเปกษา (ความวางเฉย) ตั้งหมื่นกัลปในสัตว์นั้น ชนะมารนั้นด้วยกำลังแห่งอุเปกษา ดื่มฟองอมฤตะแล้วที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      64 พระทศพล (ผู้มีกำลัง 10) ผู้เป็นชินสีห์ (ราชสีห์ผู้ชนะแล้ว) ในครั้งก่อนมากกว่าทรายในแม่น้ำคงคา ดื่มอันใด ตถาคตได้ดื่มอันนั้น คือฟองอมฤตะที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      65 เมื่อมารพร้อมด้วยเสนามารมาถึงที่นี้ ตถาคตพูดว่า ยังไม่ถึงฝั่งแห่งชราและมรณะจะไม่ลุกจากบรรลังก์ ฯ

 

      66 ตถาคตทำลายอวิทยาด้วยวัชระอันเข็งคือชญานอันรุ่งโรจน์และถึงความเป็นผู้มีกำลัง 10จากนั้นจึงทำลายบรรลังก์ ฯ

 

      67 อาศรวะทั้งหลายของตถาคตสิ้นแล้วโดยไม่เหลือ ตถาคตบรรลุถึงความเป็นอรหันต์แล้ว มารและเสนามาร ตถาคตทำลายแล้ว จากนั้นแหละ ตถาคตจึงทำลายบรรลังก์ ฯ

 

      68 ประตูแห่งนิวรรณ์ 5 ตถาคตทำลายหมดแล้วที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ เถาวัลย์คือตฤษณา ตถาคตตัดขาดแล้ว ดังนั้น ตถาคตจึงทำลายบรรลังก์ที่ง้วนแห่งแผ่นดินนี้ ฯ

 

      69 ครั้นแล้ว พระมนุษยจัทนร์(พระพุทธ)นั้นเสด็จลุกขึ้นจากอาสนะด้วยพระอาการชดช้อย ประทับนั่งบนภัทรสนะ (นั่งขัดสมาธิราบ) อันเป็นมหาอภิเษกที่ถูกปิดบัง(ใครมองไม่เห็น) ฯ

 

      70 หมู่เทวดาทั้งหลาย ต่างก็โสรจสรงพระโลกพันธุ์(พระพุทธ)ผู้บรรลุบารมิตาอันมีคุณสมบัติคือกำลัง 10 ด้วยน้ำหอมต่างๆ ตั้งพันผอบรัตนะ ฯ

 

      71 เทวดาตั้งหมื่นโกฏิห้อมล้อมด้วยการบรรเลงดนตรีตั้งพัน กระทำการบูชาอันไม่มีใครเทียม พร้อมด้วยนางอัปสรทั้งหลาย โดยพร้อมเพรียงกัน ฯ

 

      72 เทวบุตรทั้งหลาย พูดอย่างนี้ว่า พระชิน ไม่ทำลายบรรลังก์ที่ง้วนแห่งแผ่นดินตลอด 7 วัน พร้อมด้วยเหตุใกล้ พร้อมด้วยปรัตยัยและพร้อมด้วยเหตุไกล ฯ

 

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตผู้มีอภิสัมพุทธโพธิ ได้นั่งอยู่ในอาสนะนั้นตลอดสัปดาห์ต้น ด้วยคิดว่าเราได้ตรัสรู้ซึ่งอนุตตรสัมยักสัมโพธิ ในที่นี้ กระทำที่สุดแห่งทุกข์คือ ชาติ ชรา มรณะ ด้วยอนาวร(*) อันเดีเลิศในที่นี้ ในสัปดาห์ที่ 2 ตถาคตเดินจงกรม (เดินช้าๆ) ในที่จงกรมยาว เป็นากรสังเคราะห์โลกธาตุคือเทวโลกและมนุษยโลก ในสัปดาห์ที่ 3 ตถาคตมองดูควงต้นโพธิโดยไม่กระพริบตา ด้วย คิดว่า เราตรัสรู้อนุตตรสัมยักสัมโพธิแล้วในที่นี้ กระทำที่สุดแห่งทุกข์คือชาติ ชรา มรณะ ด้วยอนาวรอันดีเลิศ ในสัปดาห์ที่ 4 ตถาคต เดินจงกรมเป็นจงกรมของคนหนุ่ม ยึดเส้นทางจากตะวันออกไปตะวันตก

 

* อนาวร คือ ชญานที่ไม่มีอะไรขัดขวางสกัดกั้น

 

      ครั้งนั้นแล มารชั่วร้าย ได้เข้ามยังที่ตถาคตอยู่ ครั้นแล้วได้พูดกับตถาคตว่า ข้าแต่พระผู้มีภคะ ขอพระองค์จงปรินิรวาณเสียเถิด ข้าแต่พระสุคต ขอพระองค์จงประนิวาณเสียเถิด เวลานี้เป็นสมัยเพื่อปรินิวาณของพระผู้มีภคะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้นมารพูดอย่างนี้แล้ว ตถาคตจึงพูดคำนี้กับมารชั่วร้าย ดูกรมารชั่วร้าย ตถาคตยังไม่ปรินิวาณ เมื่อยังไม่มีภิกษุเป็นเถระประติบัทกฤตยโดยเคร่งครัดแล้ว ฉลาด อ่อนโยน คงแก่เรียน เป้นพหูสูตร ประติบัทธรรมสมควรแก่ธรรม มีความสามารถแสดงความรู้ซึ่งเป็นของอาจารย์(อาจารยวาท)ได้ด้วยตนเอง และมีความมุ่งหมายที่จะใช้ธรรมกำราบลัทธิอื่นซึ่งเกิดอยู่เนืองๆสามารถแสดงธรรมพร้อมด้วยปราติหารย ดูกรมารชั่วร้าย ตถาคตยังไม่ปรินิรวาณ เมื่อตถาคต ยังไม่ได้ประดิษฐานวงศ์แห่งพุทธะ ธรรมมะ สังฆะ ในโลก โพธิสัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ ยังไม่ได้รับพยากรณ์ในการตรัสรู้อนุตตรสัมยักสัมโพธิ ดูกรมารชั่วร้าย ตถาคยังไม่ปรินิวาณ เมื่อตถาคตยังไม่มีบริษัท(*) 4 ที่ประติบัทกฤตยโดยเคร่งครัดแล้ว อ่อนโยน ฉลาด คงแก่เรียน กระทั่งถึงสามารถแสดงธรรมพร้อมด้วยปราติหารย

 

* บริษัท 4 คือ ชุมนุมผู้ที่นับถือพระพุทธ 4 จำพวก ได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา

 

      ครั้งนั้นแล มารชั่วร้าย ฟังคำนี้แล้ว หลีกออกไปยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง มีความทุกข์ เสียใจ เดือดร้อน ก้มหน้า เอาไม้ขีดแผ่นดิน ด้วยคิดว่า เขาพ้นวินยเราเสียแล้ว

 

      ครั้งนั้นแล ธิดามาร 3ตน นั้น คือ รติ อรติ  และตฤษณา(รติศฺจารติศฺจตฤษฺณา จ) ได้กล่าวคำเป็นบทประพันธ์กับมารชั่วร้ายว่า

 

      73 ข้าแต่พ่อ พ่อเสียใจทำไม ถ้าพ่อพูดหมายถึงเขา ข้าพเจ้าจะมัดเขาด้วยบ่วงราคะ(ความกำหนัด)เหมือนมัดช้างแล้วพามา ฯ

 

      74 ข้าพเจ้า จะพาเขาผู้นั้นมาโดยเร็ว ทำให้อยู่ในอำนาจของพ่อ

 

มารพูดว่า

 

      75 พระสุคต เป็นพระอรหันต์ในโลก ไม่ไปสู่อำนาจราคะ เขาพ้นวิษัยของพ่อเสียแล้ว เพราะฉะนั้น พ่อจึงโศกมาก ฯ

 

      ครั้นแล้วธิดามารทั้ง 3 นั้น ไม่รู้กำลังตถาคตผู้เป็นพระโพธิสัตว์มาแล้ว  เพราะความสับปลับ(ความไม่รอบคอบ) ของสตรี พอได้ฟังคำบิดา ก็แปลงตัวเป็นสาวรุ่นสาวกลางคน และสาวมีบุตรแล้ว ในการกระทำลวงตา พากันเข้ามายังสำนักของตถาคต แล้วแสดงสตรีมายาทั้งปวงอย่างมาก ตถาคตมิได้สนใจนางเหล่านั้น ธิดามารเหล่านั้นกลายเป็นหญิงชราคร่ำคร่าไป ครั้นแล้ว นางเหล่านั้น พากันไปยังสำนักบิดาพูดว่า

 

      76 ข้าแต่พ่อ พ่อพูดแก่ลูกเป็นความจริง ลูกนำเขามาด้วยราคะไม่ได้ เขาพ้นวิษัยของลูกเสียแล้ว เพราะฉะนั้นลูกจึงโศกมาก ฯ

 

      77 ถ้าพระโคดมนั้นเห็นรูปร่างที่ลูกนิรมิตแล้วไซร้ ครั้นแล้วหัวใจของพระโคดมนั้นก็น่าจะระเบิด เพื่อความพินาศของพระโคดม ฯ

 

กระนั้นดีแล้ว ข้าแต่พ่อ พ่อจงทำร่างกายอันชราแก่ง่อมของลูกนี้ให้หายไป

 

มารพูดว่า

 

      78 พ่อไม่เห็นคนในโลกซึ่งเคลื่อนที่ได้ และเคลื่อนที่ไม่ได้ ที่สามารถทำให้พระโคดมเปลี่ยนแปลงได้ ฯ

 

      79 ลูกจงรีบไปทูลขอโทษที่ตนทำไว้ต่อพระมุนี ร่างกายทั้งหมดจะได้กลับเป็นอย่างเดิม ตามความคิด ฯ

 

      ครั้นแล้ว ธิดามารเหล่านั้นไปขอขมาตถาคตว่า ข้าแต่พระผู้มีภคะ ขอพระผู้มีภคะ โปรดรับการขอโทษของข้าพเจ้าทั้งหลายเถิด ขอพระสุคตโปรดรับการขอโทษของข้าพเจ้าทั้งหลายเถิด ซึ่งข้าพเจ้าทั้งหลายทำตามความโง่ ความเขลา ความไม่รอบรู้ ความไม่ฉลาด ความไม่รู้ขอบเขต ข้าพเจ้าทั้งหลายสำนึกกรรมอันตนพึงทำต่อพระผู้มีภคะ  ครั้นแล้ว ตถาคตได้กล่าวคำเป็นบทประพันธ์กับธิดามารเหล่านั้นว่า

 

      80 พวกเธอเอาเล็บไปขีดภูเขา เอาฟันไปขบเหล็ก เอาหัวไปชนภูเขา เขาขาไปหยั่งทะเลลึก ฯ

 

      เพราะฉะนั้น ตถาคตรับการขอโทษของพวกเธอซึ่งยังเป็นเด็ก นั่นเพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่าผู้ใดเห็นโทษโดยความเป็นโทษ แสดงโทษ(ขอโทษ) และจะถึงการสังวร(ไม่ทำต่อไป) ผู้นั้นเจริญในธรรมวินัยเป็นของพระอารยะ

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสัปดาห์ที่ 5 ตถาคตอยู่ในพิภพของมุจิลินทนาคราช เป็นวันฟ้าวันฝนตลอดสัปดาห์ ครั้งนั้นแล มุจิลินนาคราชออกจากที่อยู่ของตน พ้นกายตถาคตด้วยขนด 7 รอบ แผ่พังพานบังไว้ โดยคิดว่า ลมหนาวอย่าแผ้วพานพระกายของพระผู้มีภคะ เลย นาคราชเป็นจำนวนมาก แม้ในทิศตะวันออกอีกทิศหนึ่ง ก็มาพันกายตถาคตด้วยขนด 7 รอบ แผ่พังพานบังไว้ โดยคิดว่า ลมหนาวอย่าแผ้วพานพระกายของพระผู้มีภคะ เลย นาคราชมาจากทิศใต้ ทิศตะวันตก และทิศเหนือก็เช่นเดียวกับนาคราชในทิศตะวันออก พ้นกายตถาคตด้วยขนด 7 รอบ แผ่พังพานบังไว้ โดยคิดว่า ลมหนาวอย่าแผ้วพานพระกายของพระผู้มีภคะ เลย และขนดนั้นตั้งอยู่ด้วยความสูงแห่งกองขนดของนาคราชเหมือนขุนเขาเมรุ ความสุขเช่นที่มีแก่นาคราชทั้งหลายเหล่านั้นย่อมมี เพราะอยู่ใกล้กายตถาคตตลอด 7 คืน  7 วัน ซึ่งนาคราชทั้งหลายเหล่านั้นไม่ได้รับมาก่อนเลย ครั้นล่วงสัปดาห์นั้นไปแล้ว นาคราชทั้งหลายทราบว่าพ้นวันฟ้าวันฝนแล้ว จึงคลายขนดออกจากกายตถาคต ไหว้บาทตถาคตด้วยศีรษะ(กราบ)ทำประทักษิณ 3 รอบ แล้วไปสู่พิภพของตนๆแม้มุจิลินทนาคราช ไหว้บาทตถาคตด้วญศีรษะ ทำประทักษิณ 3 รอบ แล้ว เข้าไปสู่ที่ของตน

 

      ในสัปดาห์ที่ 3 ตถาคตจากพิภพของมุจิลินทไปสู่โคนต้นนิโครธ(*)ของคนเลื้ยงแพะ มีอยู่ในระหว่างพิภพของมุจิลินทกับไม้นิโครธของคนเลื้ยงแพะ ที่ริมฝั่งแม่น้ำไนรัญชนา มีพวกปริพาชกผู้เฒ่าเร่ร่อนเป็นศราวกของอาชีวกนิครนถ์ ชื่อโคตมะ(**)เป็นต้น เห็นตถาคตแล้ว พากันพูดว่า เออก็วันฟ้าวันฝนนี้ พระโคตมะผู้มีภคะยังเวลาให้ผ่านไปด้วยความสุขเป็นอย่างดี

 

* นิโครธ แปลเป็นไทยว่าไม่ไทรหรือไม้กร่าง ไม้เสียบ ไม้เรือด
** โคตมะ เจ้าลัทธิ ปรัชญานิกายหนึ่งคือ นฺยาย ว่าด้วยวิชาตรรกศาสตร์ก็ชื่อนี้เหมือนกัน

 

      ครั้งนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคต ได้เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

 

      81  สุโข   วิเวกสฺตุษฺฏสฺย  ศฺรุตธรฺมสฺย  ปศฺยตะ|

 

            อวฺยาพธฺยํ  สุขํ  โลเก ปราณิภูเตษุ   สํยตะ||

 

      คำแปล  ความวิเวกของผู้ยินดี ฟังธรรมแล้วเห็น(ธรรมนั้น)แล้ว ย่อมเป็นสุข ความไม่ผูกพยาบาท สำรวมอินทรีย์ ในสัตว์มีชีวิตทั้งหลาย ย่อมเป็นสุขในโลก ฯ

 

      82 สุขา  วิราคตา  โลเก ปาปานํ  สมติกฺรมะ |

 

           อสฺมินฺ  มานุษฺยวิษเย  เอตทฺว  ปรมํ  สุขมฺ ||

 

      คำแปล ความปราศจากกำหนัด การก้าวล่วงบาปทั้งหลาย ย่อมเป็นสุขในโลกนี่แหละ(ทำได้ดังกล่าวมานี้) เป็นสุขยอดยิ่งในวิษัยของมนุษย์นี้ ฯ

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ตถาคตเห็นโลกหมกไหม้ เร่าร้อนไปด้วยชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โศก ปริเทวะ ทุกขะ เทามนัสย อุปายาส ในที่นั้นตถาคตได้เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

 

      83 อยํ  โลกะ  สํตาปชาตะ  ศพฺทสฺปรฺศรสรูปคนฺไธ |

 

           ภยภีโต  ภยํ  ภูโย  มารฺคเต  ภวตฺฤษฺณยา  ||

 

      คำแปล โลกนี้เกิดความเดือดร้อนด้วยเสียง สปรรศ รส รูป กลิ่น เดินทางไปสู่ความกลัวเพราะเป็นภัย อันเกิดแต่ความใคร่ในภพ(ภวตฤษณา) ฯ

 

      ในสัปดาห์ที่ 7 ตถาคตอยู่ที่โคนต้นตารายณ(*)ก็ในสมัยนั้นแล พณิช(พ่อค้า) สองคนพี่น้องอยู่อุตตราบถ(ทางเหนือ) ชื่อ ตระปุษะ กับ ภัลลิกะ ทั้งสองเป็นบัณฑิตลาดขนสินค้าต่างๆมีความร่ำรวยมาก จากทางใต้ไปทางเหนือกับพวกพ่อค้าหมู่ใหญ่ มีเกวีนน 500 บรรทุกสินค้าเต็ม เขามีโคลากเกวียน 2 ตัว ชื่อสุชาตะตัวหนึ่ง ชื่อ กีรติตัวหนึ่ง เป็นโคแสนรู้ เขาทั้งสองไม่มีภัยติดขัด ที่ใดโคลากเกวียนตัวอื่นลากไปไม่ได้ ที่นั้นโคลากเกวียน 2 ตัวนั้นใช้ได้ และที่ใดมีภัยเฉพาะหน้า ที่นั้นโคลากเกวียน 2 ตัวนั้นจะหยุดนิ่งเหมือนผูกไว้กับหลัก โคลากเกวียน 2 ตัวนั้นไม่ลากเกวียนด้วยการลงปฏัก แต่ทั้ง 2 ลากเกวียนด้วยดอกอุบลกำหนึ่ง หรือด้วยพวงมาลัยดอกมะลิเกวียนทั้งหมดของพ่อค้าเหล่านั้นหยุดอยู่กับที่ไม่เคลื่อน เพราะเทวดาที่สิงอยู่ในป่าไม้โพธิใกล้ต้นตารายณ วัตถุทั้งหลายมีผ้าเป็นต้น และเครื่องเกวียนทั้งปวงฉีกขาดบุบสลาย ล้อเกวียนจมลงในแผ่นดินถึงดุม เกวียนเหล่านั้นแม้พยายามทุกอย่างก็ไม่เคลื่อน พ่อค้าเหล่านั้นมีความสนเท่ห์และกลัวว่าในที่นี้มีเหตุอะไรหนอ นี่เป็นความผิดปรกติอะไร ซึ่งเกวียนเหล่านี้เกยแห้ง พณิชทั้ง 2 นั้นเอาโคลากเกวียน 2 ตัว คือสุชาตะ กับ กีรติเข้าเทียม แม้โคลากเกวียวนทั้ง 2 นั้นให้ลากด้วยดอกอุบลกำหนึ่ง และด้วยพวงมาลัยดอกมะลิก็ไม่ยอมลาก พ่อค้าเหล่านั้นคิดกันว่าคงจะมีภัยอะไรสักอย่างหนึ่งอยู่ข้างหน้าไม่ต้องสงสัยซึ่งโคทั้งสองนี้ไม่ลาก พณิชทั้ง 2 จึงส่งม้าใช้ไปล่วงหน้า ม้าใช้กลับมาแล้วไม่ปรากฏว่ามีภัยอะไร เทวดานั้นปรากฏตนขึ้นปลอบว่าอย่ากลัวเลย  แม้โคทั้ง 2 นั้นลากเกวียนไปทางที่ตถาคตอยู่ จนกระทั่งพ่อค้าเหล่านั้นเห็นตถาคตลุกโพลงเหมือนไฟประดับด้วยมหาปุรุษลักษณะ 32 ประการ รุ่งเรืองอยู่ด้วยสง่าราศี เหมือนดวงอาทิตย์แรกขึ้น พ่อค้าเหล่านั้นครั้นเห็นแล้วมีความสนเท่ห์ว่านี่พรหมมาถึงที่นี่หรือ หรือว่าองค์ศักรผู้เป็นใหญ่แก่เทวดาทั้งหลาย หรือว่าเป็นไวศรวณะ หรือเป็นอาทิตย์และจันทร์ เป็นเทวดาประจำภูเขา หรือว่าเป็นเทวดาประจำแม่น้ำ องค์ใดองค์หนึ่ง ลำดับนั้น ตถาคตแสดงผ้าย้อมน้ำฝาดให้ปรากฏ พ่อค้าทั้งหลายจึงพูดว่า พับผ้าย้อมน้ำฝาดนี้เป็นของบรรพชิต ผ้าของเราไม่มีอย่างนี้ พ่อค้าเหล่านั้นได้ความเลื่อมใสแล้ว จึงพูดกันอย่างนี้ว่า เวลานี้จะเป็นเวลาบริโภคของบรรพชิต มีอะไรบ้างไหม ? แล้วพูดว่า ข้าวคั่วคลุกน้ำผึ้งและอ้อยควั่น(**)มีอยู่ พ่อค้าเหล่านั้นนำเอาข้าวคั่วคลุกน้ำผึ้งและอ้อยควั่นเข้ามายังที่ตถาคตอยู่ ครั้นแล้วน้อมศีรษะลงกราบบาทตถาคต ทำประทักษิณ 3 รอบ แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่งแล้ว พ่อค้าเหล่านั้นจึงพูดกับ ตถาคตว่า ข้าแต่พระผู้มีภคะ ขอพระองค์โปรดรับบิณฑบาตของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่ออาศัยความอนุเคราะห์แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย

 

* มคธเป็นราชายตนะ แปลเป็นไทยว่า ไม้เกด
** อ้อยควั่น ท่านผูกศัพท์ว่า ลิขิตกา อิกฺษวะ

 

      ครั้งนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตคิดอย่างนี้ว่า การที่ตถาคตรับบิณฑบาตด้วยมือทั้ง 2 นี้ไม่ดีเลย พระตถาคตผู้เป็นพระสัมยักสัมพุทธครั้งก่อนๆ ท่านรับด้วยอะไร ? แล้วตถาคตก็ทราบว่าท่านรับด้วยบาตร

 

      กระนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขณะนั้นมหาราชทั้ง 4 มาจากทิศทั้ง 4 ทราบว่าเวลานี้เป็นเวลาแห่งโภชนะของตถาคต จึงถือบาตรทำด้วยทองมา 4 ใบ น้อมเข้ามาถวายแต่พระผู้มีภคะ ขอพระองค์โปรดรับบาตร (4ใบ) ทำด้วยทอง เพื่ออาศัยความอนุเคราะห์แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตถาคตเห็นว่าบาตรเหล่านี้ไม่สมควรแก่ศรมณะ จึงไม่รับ เช่นเดียวกันคือ มหาราชทั้ง 4 ถือบาตรเงินล้วน 4 ใบบาตรแก้วไพฑูรย์ล้วน 4 ใบ บาตรแก้วผลึกล้วน 4 ใบ บาตรแก้วทับทิมล้วน 4 ใบ บาตรเพชรล้วน 4 ใบน้อมเข้ามาถวายแก่ตถาคต ตถาคตเห็นว่าบาตรเหล่านี้ไม่สมควรแก่ศรมณะ จึงไม่รับ ครั้นแล้วมหาราชทั้ง 4 ถือบาตรรัตนะทั้งหมดล้วน 4 ใบ น้อมเข้าไปถวายตถาคต ตถาคตเห็นว่าบาตรเหล่านี้ไม่สมควรแก่ศรมณะ จึงไม่รับ

 

      ครั้งนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตคิดอย่างนี้อีกว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ พระตถาคตผู้เป็นพระอรหันสัมยักสัมพุทธะครั้งก่อนๆ ทรงรับบาตรชนิดไหน?  แล้วตถาคตก็ทราบว่าท่านทรงรับบาตรทำด้วยศิลา ตถาคตคิดอยู่แต่ในใจอย่างนี้

 

      ครั้งนั้นแล ไวศรวณะเป็นมหาราช เชิญมหาราชมาอีก 3 ตนว่า ดูกรท่านผู้ควรเคารพทั้งหลาย บัดนี้แล เทวบุตรผู้มีกายสีเขียวให้บาตรทำด้วยศิลา 4 ใบอีกแล้วเรื่องนี้ เราคิดอย่างนี้ว่า เราจะใช้บาตรนี้ ครั้นแล้ว เทวบุตรผู้มีกายสีเขียว ชื่อไวโรจนะ เขาพูดอย่างนี้กับเราว่า

 

      84 ท่านทั้งหลายอย่าใช้บาตรนี้เป็นภาชนะ จงตั้งบาตรเหล่านี้ไว้เป็นเจดีย์ของท่าน ต่อเมื่อพระชินทรงพระนามว่า ศากยมุนีปรากฏขึ้นแล้วจงน้อมนำบาตรนี้เข้าไปถวายแก่พระองค์ ฯ

 

      85 ข้าแต่ท่านผู้ควรเคารพทั้งหลาย เวลานี้เป็นเวลาสมควรแล้วที่จะน้อมเข้าไปให้เป็นเครื่องใช้ของพระศากยมุนี เราทั้งหลายจะถวายบาตร เหล่านี้มอบไว้เป็นที่บูชาพร้อมด้วยการบันลือเสียงสังคีตดนตรี ฯ

 

      86 บาตรนั้น เป็นภาชนะซึ่งเป็นธรรมล้วน ไม่แตก แต่ภาชนะที่เป็นศิลาล้วนเหล่านี้แตกได้ ผู้อื่นไม่ควรรับ ถ้ากระไรเราไปเพื่อถวายบาตรนี้แก่พระศากยมุนรีเถิด ฯ

 

      ครั้งนั้นแล มหาราชทั้ง 4 มีชนของตนๆเป็นพวรรพวก มีดอกไม้เครื่องเผาเอาควันของหอม พวงมาลัย เครื่องลูบทาบรรเลงเครื่องดนตรี ทั้งร้องรับขับประโคมเครื่องสังคีต ถือบาตรเหล่านั้นด้วยมือของตนๆเข้าไปยังที่ตถาคตอยู่ ครั้นแล้วทำบูชาตถาคต น้อมนำบาตรเหล่านั้นที่เต็มด้วยดอกไม้ทิพย์ถวายแก่ตถาคต

 

      ครั้งนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีความดำริว่า ก็มหาราชทั้ง 4 นี้แล มีศรัทธา มีความเลื่อมใส น้อมนำบาตรศิลา 4 ใบมาให้เรา และบาตรศิลาทั้ง 4 ใบก็ไม่ควรแก่เรา เมื่อเป็นดั่งนั้นเรา จะรับบาตรศิลาของผู้เดียว อีก 3 ท่านก็จะเสียใจอย่ากระนั้นเลย เราจะรับบาตรทั้ง 3 ใบนี้แล้วอธิษฐานให้เป็นบาตรศิลาใบเดียว ครั้งนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตยื่นมือขวาออกไปแล้วกล่าวคำเป็นบทประพันธ์กับมหาราชไวศรวณะว่า

 

      87 ท่านจงน้อมนำภาชนะให้แก่พระสุคต ท่านจะถึงซึ่งภาชนะ(ส่วนเหมาะสม) ในยานดีเลิศ ด้วยการถวายภาชนะโดยความอ่อนน้อมต่อตถาคต สมฤติ และมติ  จะไม่เสี่ยมโดยแท้แล ฯ

 

      ครั้งนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตรับบาตรจากสำนักของมหาราชไวศรวณะเพื่ออาศัยความอนุเคราะห์ ครั้นแล้วได้กล่าวคำเป็นบทประพันธ์กับมหาราชธฤตราษฏรว่า

 

      88 ผู้ใดถวายภาชนะแก่ตถาคต สมฤติ ปรัชญา ของผู้นั้นจะไม่เสื่อมเลย และจะผ่านเวลาด้วยความสุขอย่างยิ่ง กระทั่งตรัสรู้บทซึ่งเป็นความเย็น(นิรวาณ)ฯ

 

      ครั้งนั้นแล ตถาคตรับบาตรากสำนักของมหาราชธฤตราษฏร เพื่ออาศัยความอนุเคราะห์ ครั้นแล้วได้กล่าวคำเป็นบทประพันธ์กับมหาราชวิรูฒกะว่า

 

      89 ท่านถวายภาชนะบริศุทธแก่ตถาคตผู้มีจิตบริศุทธ ท่านจะเป็นผู้มีจิตบริศุทธโดยเร็ว จะถูกเขาสรรเสริญในเทวโลกและมนุษยโลก ฯ

 

      ครั้งนั้นแล ตถาคตรับบาตรจากสำนักของมหาราชวิรูฒกะ เพื่ออาศัยความอนุเคราะห์ ครั้นแล้วได้กล่าวคำเป็นบทประพันธ์กับมหาราชวิรูปากษะว่า

 

      90 ท่านถวายด้วยศรัทธา ซึ่งภาชนะที่ไม่แตกร้าวแก่ตถาคตผู้มีศีลไม่ขาดวิ่น มีความประพฤติไม่ขาด มีจิตไม่ขาด บุณยและทักษิณาของท่านจะไม่ขาด ฯ

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตรับบาตรจากสำนักมหาราชวิรูปากษะ เพื่ออาศัยความอนุเคราะห์ ครั้นแล้ว อธิษฐานให้เป็นบาตรใบเดียวด้วยกำลังแห่งอธิมุกติ (ความหลุดพ้นจากเกลศ) แล้วเปล่งอุทานนี้ในเวลสนั้นว่า

 

      91 ทตฺตานิ  ปาตฺราณิ ปุเร  ภเว  มยา

 

          ผลปูริตา  ปฺรมณิยา  จ  กฤตฺวา |

 

          เตเนมิ  ปาตฺราศฺจตุระ  สุสํสฺถิตา

 

          ททนฺติ  เทวาศจฺตุโร  มหรฺทฺธิกา |

 

      ตถาคตให้บาตรทั้งหลายในภพก่อน กระทำให้มีผลเต็มที่ด้วยสิ่งที่น่ารักด้วยผลแห่งการกระทำนั้น ตถาคตมีบาตรตั้งอยู่ 4 ใบ เทพผู้มีฤทธิ์มาก 4 ตนถวาย ฯ

 

ในที่นี้ มีคำกล่าวไว้ว่า

 

      92 พระพุทธนั้น ทรงมีปรัชญา ทรงแลดูต้นโพธิอันประเสริฐตลอด 7 ราตรี เป็นการแลดูความหมายยอดเยี่ยม และแผ่นดินไหวแล้ว ด้วยประการทั้ง 6 พระพุทธผู้เป็นนรสีห์มีการเสด็จเหมือนราชสีห์ ทรงลุกขึ้นแล้ว ฯ

 

      93 ทรงเสด็จไปสู่โคนต้นตารายณตามลำดับ มีพระยานนาคเอาขนดแวดวงโดยรอบ ทรงประทับนั่งไม่ไหวหวั่นเหมือนภูเขาเมรุ พระมุนีทรงเข้าทยานและสมาธิ ฯ

 

      94 และในกาลนั้น ตระปุษะ ภัลลิกะ สองพี่น้องพร้อมด้วยหมู่พ่อค้ามีเกวียน 5 เล่มเหล่านั้นเต็มไปด้วยทรัพย์เข้าไปในป่าสาละกำลังมีดอกเต็ม ฯ

 

      95 ล้อเกวียนได้จมลงในแผ่นดินทันทีประมาณแค่เพลาเกวียนด้วยเดชแห่งพระมหาฤษี(พระพทธ) พ่อค้าเหล่านั้นเห็นล้อเกวียนจมอยู่เช่นนั้น มหาภัยเกิดขึ้นแล้วแก่หมู่พ่อค้า ฯ

 

      96 พ่อค้าเหล่านั้นมีมือถือดาบ ศร และหอก ทำเป็นค้นหากวางในป่า ว่านั่นมันเป็นอะไร เขาเหล่านั้นเห็นพระชิน ผู้มีพระพักตร์เหมือนดวงจันทร์ในสารทกาล เหมือนดวงอาทิตย์พ้นเมฆ ฯ

 

      97 เขาเหล่านั้นหายโกรธแล้ว มหดความกระด้าง ประณมมือขนศีรษะ สงสัยแล้วถามว่านั่นเป็นใคร เทวดากล่าววาจาลงมาจากฟ้าว่า นี่แหละเป็นพระพุทธผู้ทรงกระทำประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก ฯ

 

      98 พระองค์ไม่ได้เสวยข้า น้ำ มา 7 คืน 7 วันแล้ว ด้วยจิตกรุณานี้ ถ้าท่านทั้งหลายปรารถนาความสงบเกลศของตนไซร้ จงยังพระองค์ผู้มีกายจิตเจริญแล้วให้บริโภคเถิด ฯ

 

      99 พ่อค้าเหล่านั้นได้ยินเสียงไพเราะนั้นแล้วไหว้และทำประทักษิณพระชิน ครั้นแล้วเขาเหล่านั้นมีปรีติพร้อมด้วยสหายทั้งหลายคิดจะถวายบิณฑบาตแก่พระชิน

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ในสมัยนั้น ฝูงโคของพ่อค้าตระปุษะ ภัลลิกะ เข้าไปในตลาดในเมือง ครั้งนั้นโคเหล่านั้นหลั่งน้ำนมออกมาเป็นฟองน้ำมันเนย ในกาลนั้น ในสมัยนั้น คนเลี้ยงโคทั้งหลายจึงถือเอาฟองน้ำมันเนยนั้นเข้าไปยังที่ตระปุษะ ภัลลิกะอยู่ ครั้นแล้วก็บอกสภาพนี้ว่า ท่านทั้งหลายเกิดเป็นผู้วิเศษแล้ว เพราะเหตุที่โคทั้งหมดเหล่านี้หลั่งน้ำมนออกมาเป็นฟองน้ำมันเนย เพราะฉะนั้น ที่เป็นดั่งนี้ ท่านมีความสุขหรือไม่เล่า ?

 

      ในเรื่องนี้ พวกพราหมณ์ที่โลภมากพูดอย่างนี้ว่า ที่เป็นดั่งนั้นไม่เป็นมงคลแก่พราหมณ์ทั้งหลาย ต้องบูชามหายัชญ

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ในสมัยนั้นแล พราหมณ์ชื่อ ศิบัณฑี เคยเป็นยาติสายโลหิตของตระปุษะ ภัลลิกะ ผู้เป็นพ่อค้า ไปเกิดอยู่ในพรหมโลก พรหมศิขัณฑีนั้นจำแลงเป็นพราหมณ์ ได้กล่าวกับพ่อค้าเหล่านั้นด้วยคำเป็นบทประพันธ์ว่า

 

      100 ความตั้งใจของท่านทั้งหลายในครั้งก่อนขอให้พบพระโพธิสัตว์ผู้เป็นตถาคต ขอให้พระตถาคตบริโภคชนะของเราทั้งหลายแล้วยังจักรคือธรรมให้หมุน(แสดงธรรมจักร)ฯ

 

      101 ความตั้งใจของท่านทั้งหลายนี้นั้นสมบูรณ์แล้ว ได้พบพระโพธิสัตว์ผู้เป็นตถาคต ท่านน้อมนำอาหารเข้าไปถวาย พระตถาคตบริโภคแล้วยังจักรคือธรรมให้หมุน (แสดงธรรมจักร)ฯ

 

      102 โคของท่านทั้งหลายหลั่งน้ำนมออกมาเป็นน้ำมันเนย ถือว่าเป็นมงคลดี เป็นฤกษ์ดี นั่นเป็นอานุภาพของพระมหาฤษี(พระพุทธ)ผู้มีบุณยกรรมนั้น ฯ

 

      103 พรหมศิขัณฑีเตือนพ่อค้าอย่างนี้แล้ว ก็ไปสู่เทวโลก พ่อค้าทั้งปวงมีใจเฟื่องฟู ได้เรียกตระปุษะมาว่า ฯ

 

      104 คราวใด โค 1000 ตัว มีน้ำนม ฉะนั้น คราวนั้นท่านจงนำน้ำนมนั้นไม่ให้เหลือใส่โอชะเลิศลงไป พ่อค้าเหล่านั้นทำน้ำนมนั้นสำเร็จเป็นโภชนะ(อาหาร)โดยความเคารพ ฯ

 

      105 ถาดรัตนะชื่อจันทระมีค่าแสนปละ(*) ขัดสะอาดปราศจากมลทินใส่เครื่องไทยธรรม เต็มด้วยโภชนะ ฯ

 

* ปละหนึ่ง เท่ากับราคา 1 ชั่ง คือ 80 บาท

 

      106 แล้วถึงน้ำผึ้งและถาดรัตนะเข้าไปยังโคนต้นตารายณ ที่พระศาสดาประทับ ทูลว่า ขอพระองค์โปรดรับความภักดี และโปรดอนุเคราะห์ข้าพเจ้าทั้งหลาย ฯ

 

      107 พระศาสดาทรงทราบเจตนาเดิมของสองพี่น้อง ซึ่งไปจากต้นโพธิ ทรงรับบริโภคแล้วเพื่ออนุเคราะห์ ครั้นบริโภคเสร็จแล้วทรงโยนถาดขึ้นไปบนพื้นฟ้า ฯ

 

      108 อนึ่ง เทวราชชื่อ สุพรหม ได้รับถาดรัตนะประเสริฐนั้นไว้สหายกับพวกเทวดาอื่นๆ บูชาถาดนั้นในพรหมโลกแม้ทุกวันนี้ ฯ

 

      109 ทิศทำความสวัสดีและมงคลทิพย์ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ประทักษิณทั้งปวงซึ่งทำกับศาสดา จงเป็นประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายโดยพลัน ฯ

 

      110 ศรีจงมีแก่ท่านทั้งหลาย ศรีอยู่ในมือขวาจงมีในมือซ้ายของท่านทั้งหลาย ศรีในอวัยวะทั้งปวงเหมือนพวงมาลัย จงสถิตบนศีรษะของท่านทั้งหลาย

 

      111 ทิศทั้ง 10  จงเป็นมหาลาภแก่พ่อค้าทั้งหลายผู้แสวงหาทรัพย์ผู้เดินทาง ผู้มาถึง และพ่อค้าเหล่านั้นจงตั้งอยู่ในความสุข ฯ

 

      112 ท่านทั้งหลายไปทิศตะวันออกด้วยกิจการใดๆ ดาวฤกษ์ทั้งหลายจงคุ้มครองรักษาท่านทั้งหลายซึ่งอยู่ในทิศนั้น ฯ

 

      113 ทิศตะวันออกมีดาวฤกษ์เหล่านี้ คือกฤติกา โรหิณี มฤคศิระ อรรทระ ปุนรรวสุ ปุษยะ และอาเศลษะ

 

      114 ดาวฤกษ์ ดวงนี้เป็นโลกบาล(คุ้มครองรักษาโลก)อันลือนาม เทวดาที่สิงอยู่ในภาคตะวันออก จงป้องกันรักษาด้วยประการทั้งปวง ฯ

 

      115 และราชาผู้เป็นใหญ่ของดาวฤกษ์เหล่านั้นมีชื่อปรากฏว่าธฤตราษฏร ขอให้ธฤตราษฏรผู้เป็นเจ้าคนธรรพ์ทั้งปวงนั้น จงป้องกันรักษาพร้อมด้วยอาทิตยเทพ ฯ

 

      116 แม้บุตรของธฤตราษฏรนั้นก็มีมาก มีชื่ออินทระอย่างเดียวกัน เป็นผู้ฉลาด มีถึง 801 ตน มีกำลังมาก แม้บุตรทั้งหลายเหล่านั้น จงคุ้มครองรักษาท่านทั้งหลายโดยให้ปราศจากโรค และโดยให้มีความสุข ฯ

 

      117 ในภาคทิศตะวันออก มีเทกุมารี 8 นาง ชื่อชยันตี วิชยันดี สิทธารถา อปราชิตา ฯ

 

      118 นันโทตตรา นันทิเสนา นันทินี นันทิวรรธนี แม้เทพกุมารีเหล่านั้น จงคุ้มครองรักษาท่านทั้งหลายโดยให้ปราศจากโรค และโดยให้มีความปลอดภัย ฯ

 

      119 ในภาคทิศตะวันออกแลมีเจดีย์(*)ชื่อจาปละ พระชิน(พระพุทธ)ทั้งหลายประทับอยู่แล้ว และพระอรหันต์ทั้งหลายผู้อภิบาลรักษารู้กันแล้ว แม้เจดีย์นั้นจงคุ้มครองรักษาท่านทั้งหลายโดยให้ปราศจากโรค และโดยให้มีความปลอดภัย ฯ

 

* ฉบับของราเชนทฺรลาล ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1877 ว่าใช้ศัพท์ว่า เจฏิกำ แปลว่า เทวดารับใช้ แต่ในฉบับนี้ใช้ศัพท์ว่า เจติยํ ซึ่งแปลว่าเจดีย์

 

      120 และทิศทั้งหลายจงเกษม(ปลอดภัย)แก่ท่านทั้งหลาย และอย่าให้ท่านทั้งหลายถึงความชั่วเลย ขอให้ท่านทั้งหลายจงได้ประโยชน์ จงกลับถึงบ้าน เทพยดาทั้งปวงป้องกันรักษาแล้วฯ

 

      121 ท่านทั้งหลายไปทิศใต้ด้วยกิจการใดๆ ดาวฤกษ์ทั้งหลายจงคุ้มครองรักษาท่านทั้งหลายซึ่งอยู่ในทิศนั้น ฯ

 

      122 ทิศใต้มีดาวฤกษ์เหล่านี้ คือ มฆะ และผลคุณะ 2 ดวง(*)หัสตะ ผละจิตราเป็นที่ 5 สวาติและวิศาขะ ฯ

 

*ผาลคุณะมี 2 ดวง คือ ปูรวผาลคุณะ กับอุตตรผาลคุณะ

 

      123 ดาวฤกษ์ 7 ดวงตั่งนี้เหล่านั้น เป็นโลกบาลอันลือนามประจำอยู่ในภาคใต้  ดาวฤกษ์เหล่านั้นจงป้องกันรักษาท่านทั้งหลายด้วยประการทั้งปวง ฯ

 

      124 และราชาผู้ยิ่งใหญ่ของดาวฤกษ์เหล่านั้น เป็นที่รู้กันว่า วิรูฒกะเป็นใหญ่แก่กุมภัณฑ์ทั้งปวง จงป้องกันรักษาพร้อมด้วยยมะเทพ ฯ

 

      125 แม้บุตรของวิรูฒกะนั้นก็มีมาก มีชื่ออินทระอย่างเดียวกันเป็นผู้ฉลาด มีถึง 801 ตน มีกำลังมาก แม้บุตรทั้งหลายเหล่านั้น จงคุ้มครองรักษาโดยให้ปราศจากโรค และโดยให้มีความปลอดภัย ฯ

 

      126 ในภาคทิศใต้นี้ มีเทพกุมารี 8 นาง ชื่อ ศริยามตี ยศมดี ยศปราปตา ยโศธรา ฯ

 

      127 สุอุตถิตา สุประถมา สุประพุทธา สุขาวหา แม้เทพกุมารี เหล่านั้น จงคุ้มครองรักษาโดยให้ปราศจากโรค และโดยให้มีความปลอดภัย ฯ

 

      128 ในภาคทิศใต้นี้ มีเจดีย์นั้นจงคุ้มครองรักษาท่านทั้งหลายโดยให้ปราศจากโรค และโดยให้มีความปลอดภัย ฯ

 

      129 ทิศทั้งหลายจงเกษมแก่ท่านทั้งหลาย และอย่าให้ท่านทั้งหลายถึงความชั่วเลย ขอให้ท่านทั้งหลายจงได้ประโยชน์ จงกลับถึงบ้านเทพยดาทั้งปวงป้องกันและรักษาแล้วฯ

 

      130 ท่านไปทิศตะวันตกด้วยกิจการใดๆ ดาวฤกษ์ทั้งหลายจงคุ้มครองรักษาท่านทั้งหลายซึ่งอยู่ในทิศนั้น ฯ

 

      131 ดาวฤกษ์มี 7 ดวง คืออนุราธา เชษฐา มูละผู้มีความเพียรมั่นคง อาษาฒะ 2 ดวง(*) อภิชะ ศรวณะ ฯ

 

* อาษาฒะมี 2 ดวง คือปูรวะอาษาฒะ และ อุตตระอาษาฒะ

 

      132 ดาวฤกษ์ 7 ดวง ดั่งนี้เหล่านั้น เป็นโลกบาลอันลือนามประจำอยู่ในภาคตะวันตก ดาวฤกษ์เหล่านั้นจงป้องกันรักษาท่านทั้งหลายทุกเมื่อ ฯ

 

      133 และราชาผู้เป็นใหญ่ของดาวฤกษ์เหล่านั้นเป็นที่รู้กันว่าวิรูปากษะ วิรูปากษะนั้น เป็นใหญ่แก่นาคทั้งปวง จงป้องกันรักษาพร้อมด้วยวรุณะเทพ ฯ

 

      134 แม้บุตรทั้งหลายของวิรูปากษะนั้นก็มีมาก  มีชื่ออินทระอย่างเดียวกัน เป็นผู้ฉลาด มีถึง 801 ตน มีกำลังมาก แม้บุตรทั้งหลายเหล่านั้น จงคุ้มครองรักษาท่านทั้งหลายโดยให้ปราศจากโรค และโดยให้มีความปลอดภัย ฯ

 

      135 ในภาคทิศตะวันตกนี้มีเทพกุมารี 8 นาง ชื่อ อลัมพุศา มิศรเกศี ปุณฑริกา และอรุณา ฯ

 

      136 เอกาทศานวมิกา ศีตา กฤษณา และเทราปที แม้เทพกุมารีเหล่านั้น จงคุ้มครองรักษาท่านทั้งหลายโดยให้ปราศจากโรค และโดยให้มีความปลอดภัย ฯ

 

      137 ในภาคทิศตะวันตกนี้ มีภูเขาชื่ออัษฏังคะ เป็นสถานที่ตั้งแห่งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ จงให้ประโยชน์ 8 อย่าง(*)แก่ท่านทั้งหลายแม้ภูเขานั้น จงคุ้มครองรักษาท่านทั้งหลายโดยให้ปราศจากโรค และโดยให้มีความปลอดภัย ฯ

 

* ประโยชน์ 8 อย่าง ท่านใช้ศัพท์ว่า อษฺฏมรฺถํ  แต่ในฉบับของราเชนฺทรลาล ใช้ศัพท์ว่า อิษฺฏมรฺถํ แปลว่าซึ่งประโยชน์ที่ตนปรารถนา

 

      138 และทิศทั้งหลายจงเกษมแก่ท่านทั้งหลาย และอย่าให้ท่านทั้งหลายถึงความชั่วเลย ขอให้ท่านทั้งหลายจงมีประโยชน์ จงกลับถึงบ้านเทพดาทั้งปวงป้องกันรักษาแล้ว ฯ

 

      139 ท่านทั้งหลายไปทิศเหนือด้วยกิจการใดๆ ดาวฤกษ์ทั้งหลายจงคุ้มครองรักษาท่านทั้งหลายซึ่งอยู่ในทิศนั้นฯ

 

      140 ดาวฤกษ์มี 7 ดวง คือธนิษฐา ศตภิษา และดาวฤกษ์อื่น 2 ดวง คือปูรวะ และอุตตระ(*) เรวตี อัศวินี และภรณี ฯ

 

* ได้แก่ ปูรวะภัทรปทะ และ อุตตระภัทรปทะ

 

      141 ดาวฤกษ์ 7 ดวงตั่งนี้เหล่านั้น เป็นโลกบาลอันลือนามประจำอยู่ในภาคเหนือ ดาวฤกษ์เหล่านั้นจงป้องกันรักษาท่านทั้งหลายทุกเมื่อ ฯ

 

      142 และราชาเป็นใหญ่ของดาวฤกษณ์เหล่านั้น ชื่อกุเพระ ใช้คนเป็นพาหนะ เป็นใหญ่แก่ยักษ์ทั้งปวง จงป้องกันรักษาพร้อมด้วยมาณภัทระเทพ ฯ

 

      143 แม้บุตรของกุเพระ นั้น ก็มีมาก มีชื่ออินทระอย่างเดียวกัน เป็นผู้ฉลาด มีถึง 801ตน มีกำลังมาก แม้บุตรทั้งหลายเหล่านั้น จงคุ้มครองรักษาท่านทั้งหลายโดยให้ปราศจากโรค และโดยให้มีความปลอดภัย ฯ

 

      144 ในทิศเหนือนี้ มีเทพกุมารี 8 นาง ชื่อ อิลาเทวี สุราเทวี ปฤถวี และปัทมาวดี ฯ

 

      145 อาศา ศรัทธา หิรี ศิรี แม้เทพกุมารีเหล่านั้น เป็นผู้ใกล้ชิดมหาราช(กุเพระ) จงคุ้มครองรักษาท่านทั้งหลายโดยให้ปราศจากโรค และโดยให้มีความปลอดภัย ฯ

 

      146 ที่อยู่ของยักษ์และภูตทั้งหลายชื่อจิตรกูฏ และสุทรรศนะ แม้ที่อยู่นั้น จงคุ้มครองรักษาท่านทั้งหลายโดยให้ปราศจากโรค และโดยให้มีความปลอดภัย ฯ

 

      147 และทิศทั้งหลายจงเกษมแก่ท่านทั้งหลาย และอย่าให้ท่านทั้งหลายถึงความชั่วเลย ขอให้ท่านทั้งหลายจงได้ประโยชน์ จงกลับถึงบ้าน เทพยดาทั้งปวงป้องกันรักษาแล้ว ฯ

 

      148 ดาวฤกษ์มี 28 ดวง มี4ทิศ ทิศละ 7 ดวง และมีเทพกันยา 32 นาง มี 4ทิศ ทิศละ 8 นาง ฯ

 

      149 ศรมณะมี 8 พราหมณะ(มี 8) ชาวนิคมในชนปท (มี 8)เทวดามี 8 เขาเหล่านั้นพร้อมทั้งองค์อินทร์ จงป้องกันรักษาท่านทั้งหลายด้วยประการทั้งปวง ฯ

 

      150 เมื่อท่านทั้งหลายไป ขอจงมีความสวัสดี เมื่อท่านทั้งหลายกลับ ของจงมีความสวัสดี ท่านทั้งหลายจงเห็นญาติมีความสวัสดี ญาติทั้งหลายจงเห็นท่านมีความสวัสดี ฯ

 

      151 ยักษ์ทั้งหลายพร้อมด้วยองค์อินทร์ มหาราชทั้งหลาย (โลกบาลทั้ง 4 อนุเคราะห์พระอรหันต์แล้ว ท่านทั้งหลายไปในที่ทั้งปวงมีความสวัสดีแล้ว จะบรรลุอมฤตะ อันเป็นความเกษม(ปลอดภัย) ฯ

 

      152 พราหมณ์ทั้งหลายได้รับการป้องกันรักษาโดยองค์อินทร์ป้องกันรักษา แล้วท่านทั้งหลายได้รับการอนุเคราะห์ทุกเมื่อ โดยผู้มีจิตวิมุกติแล้ว โดยผู้ไม่มีอาสวะและโดยนาคและยักษ์ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงคุ้มครองรักษาอายุไว้ได้ตลอดร้อยปีฯ

 

      153 พระโลกนาถผู้เป็นที่เคารพของผู้ทำความเคารพทั้งหลายเป็นผู้ชี้เป็นผู้นำและเป็นผู้พิเศษของผู้ทำความเคารพเหล่านั้นหาผู้เปรียบมิได้ท่านจะเป็นพระชิน(พระพุทธ) มีนามว่า มธุสัมภวะด้วยกุศลกรรมนี้ ฯ

 

      154 นี้คือคำพยากรณ์ครั้งแรกของพระชินผู้นำพิเศษของโลกโดยไม่ขัดข้อง พระโพธิสัตว์เป็นอันมากซึ่งเมื่อได้รับคำพยากรณ์ในความตรัสรู้โพธิแล้ว ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในภายหลัง ฯ

 

      155 สองพี่น้องพร้อมด้วยสหายเหล่านั้น ได้ฟังคำพยากรณ์ของพระชินนี้แล้ว มีจิตเฟื่องฟูด้วยปรีติอย่างยิ่ง ถึงซึ่งพระพุทธและพระธรรมเป็นศรณะ(ที่พึ่งที่ระลึก)ดั่งนี้ ฯ

 

อัธยายที่ 24 ชื่อตระปุษะภัลลิกะปริวรรต(ว่าด้วยพาณิชชื่อตระปุษะกับภัลลิกะ) ในคัมภีร์ศีลลิตวิสตร

 

25 เชิญแสดงธรรม

 

 

อัธยายที่ 25

 

อเธยษณาปริวรฺตะ  ปญฺจวึศะ

 

ชื่ออัธเยษณาปริวรรต (ว่าด้วยการเชิญให้แสดงธรรม)

 

      กระนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อตถาคตอยู่ที่โคนต้นตารายณ แรกตรัสรู้อยู่ในที่วิเวกองค์เดียว พักผ่อนแล้ว ได้คิดถึงข้อนี้เกี่ยวกับความเป็นไปของโลกว่า ธรรมที่เราตรัสรู้นี้ลึกหนอ เป็นอภิสัมพุทธะ(รู้ด้วยการตรัสรู้) เป็นความสงบ สงบภายนอก สงบภายใน ประณีต ยากที่จะเห็นได้ ยากที่จะตรัสรู้ ไม่ใช่ตรรก ไม่เป็นไปในทางตรรก เป็นความเพียงพอของพระอารยะ เป็นสภาพที่บัณฑิตผู้เชี่ยวชาญพึงรู้ ดับด้วยความรับรู้อื่นๆหมด มีความหมายอย่างยิ่ง(เป็นปรมรรถ) ไม่มีที่อยู่ประจำธรรมนั้น มีความเย็น ไม่มีการยึดถือ ไม่มีการถือมั่น ไม่มีความหวั่นไหว ไม่พึงยังสิ่งอื่นให้หวั่นไหว ไม่มีใครสร้างขึ้น ล่วงพ้นวิษัย 6 อย่าง(*) ไม่อยู่ในกัลปเจริญ ไม่อยู่ในกัลปเสื่อม ไม่ใช่สิ่งที่เรียกร้องเอาได้ ไม่มีเสียงดัง ไม่เสียงก้อง ไม่มีอุทาหรณ์(ไม่มีตัวอย่าง) ชี้ไม่ถูก ไม่ถูกอะไรกระทบ ระงับเครื่องหน่วงเหนี่ยวทั้งปวง ตัดขาดซึ่งศมถธรรม ได้รับความศูนยตามลำดับ เป็นธรรมสิ้นตฤษณา สิ้นราคะ เป็นธรรมดับสนิท เป็นนิรวาณ ถ้าเราจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น ถ้าเขาไม่รู้ เราก็จะเหนื่อยเปล่า เป็นการพยายามผิดและเทศนาธรรมไม่ถูกเวลาอย่ากระนั้นเลย เราขวนขวายน้อย อยู่นิ่งๆดีกว่าว แล้วทรงตรัสคำเป็นบทประพันธ์นี้ในเวลานั้นว่า

 

* วิษัย 6 อย่างคือ  1 อกมฺปตฺ กระเทือน  2 อเวธตฺ สั่น  3 อจลตฺ ไหว  4 อกุษุภฺยตฺ กำเริบ  5 อรณตฺ ดัง  6 อคฺรชตฺ คำรณ หรือวิการ 6 ก็เรียก

 

      1 ธรรมที่เราบรรลุ ลึก สงบ ไม่เป็นรชะ(*) เป็นแสงสว่าง เป็นอมฤตะ เป็นอสังสกฤตะ(ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้น) เราจะไม่แสดงเพื่อความรู้ของผู้อื่น อย่ากระนั้นเลย เราอยู่นิ่งๆในป่าบำเพ็ญพรตดีกว่า ฯ

 

* รชะ หมายถึงการย้อม ทำให้เกิดความต้องการ เกิดเป็นกรรม คือ เกิดการกระทำซึ่งเป็นกิริยา จัดเป็นส่วนหนึ่งของวัฏ คือกรรมวัฏ

 

      2 จริงอยู่ ธรรมนี้ไม่มีทางแห่งคำพูด ไม่เปรอะเปื้อน เป็นสวภาวธรรมเหมือนอากาศ จิตใจพ้นจากวิจาร(คิด) เป็นความอัศจรรย์อย่างใหญ่ หลวงยิ่งในความรู้ ฯ

 

      3 และไม่อาจประมวลมาด้วยตัวอักษรทั้งหลาย อยู่โดยไม่อยู่อย่างไร้ความหมาย พระชิน(พระพุทธ) ครั้งก่อนๆเป็นสัตว์ได้สร้างบารมิตามาแล้ว ท่านเหล่านั้นฟังธรรมนี้แล้ว ย่อมเชื่อถือธรรม ฯ

 

      4 ธรรมย่อมไม่มีแก่คนบางคนในโลกนี้ คือธรรมนั้นไม่มีแก่ผู้ที่ถือว่าภาวะไม่มี(นาสติกทฤษฏิ) และไม่มีแก่ผู้ที่รู้ว่ากิริยาของเหตุสืบต่อกันอยู่เรื่อย(ศาศวทฤษฏิ) ธรรมย่อมไม่มีแก่เขาในโลกนี้ ซึ่งเป็นอัสติกและนัสติกฯ

 

      5 เมื่อเราประพฤติอยู่ในสำนักของพระพุทธครั้งก่อน ตั้งแสนกัลปหาประมาณมิได้ ที่ใดไม่มีอาตมะ(ตน)ไม่มีสัตวะ ไม่มีชีวะ กษานติ คือความพากเพียรอดนทนี้เรายังไม่ได้รับในที่นั้นฯ

 

      6 คราวใดเราได้รับความเพียรอดทนในที่นั้นแล้ว คราวนั้น เราไม่ตายและไม่เกิดเป็นอะไรในโลกนี้ ธรรมทั้งปวงเหล่านี้ เป็นปรกฤติ(ปรกติ) ปราศจากตัวตน เป็นธรรมดาทั่วไป พระพุทธทรงพระนามทีป(ทีปังกร) ได้พยากรณ์เราแล้วในครั้งนั้นฯ

 

      7 ความกรุณาของเราในโลกทั้งปวงหาที่สุดมิได้ และเรามิได้มองสิ่งอื่นยิ่งไปกว่าความกรุณา เมื่อใดประชุมชนพากันเสื่อมใสในพรหม เราถูกพรหมนั้นเชิญแล้วจะยังจักรให้หมุน ฯ

 

      8 ธรรมเนียมนี้เราถือแล้วอย่างนี้ ถ้าพรหมย่างเข้ามาหมอบขอร้องเรา เราจะแสดงธรรม อันปราศจากธุลี เจริญก้าวหน้า สัตว์ผู้รู้และผู้มีอาการดี ก็ยังมีอยู่ ฯ

 

      กระนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กษณะนั้น ตถาคตเปล่งรัศมีออกจากกลุ่มขนอูรณา(อูรณาโกศะ) ซึ่งเป็นรัศมีแผ่ไปด้วยแสงสว่างเหมือนสีทอง เป็นรัศมีอันใหญ่ยิ่งในโลกธาตุคือเทวโลกและมนุษยโลก

 

      ครั้งนั้นแล ผู้เป็นใหญ่ในโลกธาตุคือเทวโลกและมนุษย์โลกทั้ง 10 ชั้น ได้มีใจทราบความคิดของตถาคตด้วยพุทธานุภาพว่า พระผู้มีภคะมีจิตน้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อยในการไม่เทศนาธรรม จึงคิดขึ้นว่า ถ้ากระไร เราพึงไปเฝ้าพระตถาคตทูลเชิญเพื่อให้ทรงหมุนจักรคือธรรม

 

      ครั้งนั้นแล มหาพรหมศิขีเรียกว่าเทวบุตรซึ่งเป็นรูปพรหมอื่นๆ เหล่านั้นมาในเวลานั้นว่า ดูกรท่านผู้ควรเคารพทั้งหลาย โลกจะฉิบหายเสียแล้วหนอ โลกจะพินาศเสียแล้ว เพราะเหตุที่พระตถาคตผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมยักสัมโพธิแล้วน้อมจิตไปเพื่อความขวนขวายน้อยในการไม่เทศนาธรรม อย่ากระนั้นเลย เราทั้งหลายพากันไปเฝ้าพระตถาคตผู้เป็นพระอรหันสัมยักสัมพุทธะ แล้วทูลอาราธนาเพื่อให้หมุนจักรคือธรรม

 

      ครั้งนั้นแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาพรหมศิขีมีพรหมณ์ 68 แสนแวดล้อมออกหน้าเข้าไปยังที่ตถาคตอยู่ ครั้นแล้ว น้อมเศียรลงไหว้บาทของตถาคต ประณมมือพูดคำนี้กับตถาคตว่า ข้าแต่พระผู้มีภคะโลกนี้จะฉิบหายเสียแล้วหนอ ข้าแต่พระผู้มีภคะโลกนี้จะย่อยยับเสียแล้วหนอ เพราะเหตุที่พระตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมยักสัมโพธิแล้วน้อมจิตเพื่อความขวนขวายน้อยในการไม่เทศนาธรรม เพราะฉะนั้น ดังจะขอโอกาศ ขอพระผู้มีภคะจงเทศนาธรรม ของพระสุคตจงเทศนาธรรม สัตว์ทั้งหลายผู้มีอาการดี และพอจะสอนให้รู้ได้เป็นอย่างดี มีความสามารถ เป็นผู้สมควร มีกำลังเหมาะ เพื่อรู้จักความหมายแห่งสุภาษิตของพระผู้มีภคะ กํยังมีอยู่ และได้กล่าวคำเป็นบทประพันธ์นี้ในเวลาว่า

 

      9 พระองค์ทรงถือซึ่งมณฑลใหญ่ยิ่งดีเลิศแห่งชญาน และทรงเปล่งรัศมีไปในทิศทั้ง 10 ทรงคลี่ดอกบัวคือคนด้วยแสงอาทิตย์คือชญานอันชี้แจงแสดงไขแก่เขาเหล่านั้น มีแสงสว่างคือ วาที(ลัทธิ)แต่ทรงเพิกเฉยเสีย ประทับอยู่ ฯ

 

      10 ทรงเชิญสัตว์ทั้งหลายด้วยอารยธนะ ทรงปลอบสัตว์หลายโกฏิ การผูกพัดโลกไว้นั้นไม่ควรแก่พระองค์ พระองค์ทรงเพิกเฉยต่อโลกด้วยความนิ่งดูดาย ฯ

 

      11 ขอพระองค์จงตีกลองคือธรรมอันสูงสุด และจงเป่าศังข์คือสัทธรรม จงให้ยกมหาธรรมยูปะ หลักบูชา ธรรมอันใหญ่ยิ่ง จงจุดประทีป คือธรรมอันใหญ่ยิ่ง ฯ

 

      12 ขอพระองค์จงพรมน้ำคือธรรมเป็นประธาน จงยังสัตว์เหล่านี้ผู้อยู่ในมหาสมุทรคือภพให้ข้ามพ้น ขอพระองค์จงปลดเปลื้องสัตว์เหล่านี้ผู้มีความลำบากด้วยพยาธิอันใหญ่ยิ่ง เมื่อสัตว์ทั้งหลายเร่าร้อนด้วยไฟคือเกลศ ขอพระองค์จงกระทำการดับ ฯ

 

      13 ขอพระองค์จงชี้ทางแห่งความสงบ ซึ่งเป็นความเกษม ปลอดภัย ปราศจากความชรา ไม่มีความโศก เมื่อสัตว์ทั้งหลายไม่มีที่พึ่ง ตั้งอยู่ในทางผิดจากการถึงทางนิรวาณ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นที่พึ่ง ของพระองค์จงกระทำความกรุณา ฯ

 

      14 ขอพระองค์จงเปิดประตูแห่งวิโมกษ ชี้ให้เห็นนัยแห่งธรรมนั้น ซึ่งไม่กำเริบ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นที่พึ่งของคนตาบอดแต่กำเนิด ขอพระองค์จงชำระล้างจักษุในธรรมอันสูงสุด ฯ

 

      15 ผู้ใดปลดเปลื้องซาติและชราของโลก ซึ่งไม่มีในพรหมโลก ไม่มีในเทวโลก ไม่มีในยักษโลก ไม่มีในคนธรรพโลก และไม่มีในมนุษยโลก ผู้นั้น มิใช่อื่น นอกจากพระองค์ พระองค์คือมนุษย์จันทระ(ดวงจันทร์ของมนุษย์) ฯ

 

      16 ข้าแต่พระธรรมราช ข้าพเจ้าเป็นผู้เชิญพระองค์โดยคล้อยตามเทวดาทั้งปวง แม้ข้าพเจ้ามีบุณยอย่างนี้ ก็จะพึงหมุนจักรคือธรรมอันประเสริฐ ฯ

 

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตรัรบนิมนตร์ของพรหมศิขีด้วยอาการดุษณีภาพ ด้วยการยึดถือความอนุเคราะห์เพื่อสงเคราะห์โลกพร้อมทั้งเทวดามนุษย์อสูร

 

      ครั้งนั้นแล มหาพรหมศิขี ทราบการรับนิมนตร์ด้วยอาการดุษณีภาพของตถาคตแล้ว จึงโปรยผงจันทน์และกฤษณาลงที่ตถาคต เกิดความปรีติปราโมทย์แล้วหายตัวในในที่นั้น

 

      ครั้งนั้นแล เมื่อมหาพรหมศิขีเชิญตถาคตบ่อยๆ เพื่อให้เกิดความตั้งขึ้นซึ่งแสงสว่างเห่งะรรม ตถาคตไปในที่วิเวกผู้เดียว พักผ่อนอีกแล้ว มีความตรึกตรองขึ้นในจิต เพื่อความเจริญแห่งกุศลมูล และเพื่อยึดถือธรรมที่ลึกโอฬาร อย่างนี้ว่า ธรรมที่เราตรัสรู้นี้ ลึกนัก สุขุม ละเอียด ยากที่จะตรัสรู้ ไม่ใช่ตรรก ไม่เป็นไปในทางตรรก เป็นสภาพที่บัณฑิตผู้เชี่ยวชาญพึงรู้ ไม่เป็นศัตรูต่อโลกทั้งปวง เห็นยาก สละอุปธิทั้งปวง ระงับสํสการทั้งปวง ตัดความมืดทั้งปวง หยั่งลงสู่ความศูนย เป็นความสิ้นตฤษณา ปราศจากราคะ เป็นนิโรธ(ดับทุกข์และตฤษณา) เป็นนิรวาณ ถ้าเราจะแสดงธรรมนี้ไซร์ ผู้อื่นจะไม่ปรากฏแก่เรา(ไม่รู้จะแสดงแก่ใคร) ความเบียดเบียนนั้นพึงมีแก่เราเป็นอย่างยิ่ง อย่ากระนั้นแลย เราจะอยู่อย่างผู้ขวนขวายน้อย

 

      ครั้งนั้นแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาพรหมศิขีรู้ปริวิตกในจิตเช่นนั้นของตถาคตอีก ด้วยพุทธานุภาพ จึงเข้าไปยังที่องค์ศักรผู้เป็นใหญ่แก่เทวดาทั้งหลายสถิตอยู่ ครั้นแล้ว ได้พูดกับองค์ศักรผู้เป็นใหญ่แก่เทวดาทั้งหลายว่า ดูกรเกาศิกะ (นามองค์อินทร์) โปรดทราบข้อซึ่งพระตถาคตผู้เป็นอรหันสัมยักสัมพุทธะ น้อมจิตไปเพื่อความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปในเทศนาธรรม ดูกรเกาศิกะ โลกนี้จะไม่ควรหนอ ดูกรเกาศิกะ โลกนี้จะไม่ควรอย่างยิ่งหนอ ดูกรเกาศิกะ โลกนี้จะถูกใส่ลงในความมืดถือมหาอวิทยา(ความไม่รู้อย่างใหญ่) ซึ่งขึ้นชื่อว่า เมือพระตถาคตผู้เป็นอรหันสัมยักสัมพุทธะ น้อมจิตไปเพื่อความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปในเทศนาธรรม เพราะเหตุไร เราทั้งหลายจีงไม่ไปเฝ้าพระตถาคตผู้เป็นอรหันสัมยักสัมพุทธะ เพื่อเชิญให้หมุนจักรคือธรรม? นั่นเพราะเหตุไร? เพราะพระตถาคตทั้งหลาย เมื่อไม่มีใครเชิญก้ไม่หมุนจักคือธรรม องค์ศักรรับว่า สาธุ(ดีแล้ว) ท่านผู้ควรเคารพ พรหม และเทวดาที่อยู่ภาคพื้น เทวดาที่อยู่ในอากาศ เทวดาชั้นมหาราชทั้ง 4 (จาตุมหาราชชิกา) เทวดาชั้นดาวดึงส์ เทวดาชั้นยามา เทวดาชั้นดุษิต เทวดาชั้นนิรมาณรดี เทวดาชั้นปรนิรมิตวศวรรดี รูปพรหม(พรหมกายิกา) พรหมอาภาสวรา พรหมพฤหัตผลา พรหมศุภกาฤตสนา และเทวบุตรชั้นสุทธาวาสเป็นอันมาก มีพวกเกินกว่าแสน เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว(เวลา 2 ยาม หรือเที่ยงคืน) ยังโคนต้นตารายณให้สว่างไปทั่วด้วยวรรณะเป็นทิพย์ ด้วยแสงสว่างเป็นทิพย์เข้าไปยังที่ตถาคตอยู่ ครั้นแล้ว น้อมเศียรลงไหว้บาทตถาคต ทำประทักษิณแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง

 

      ครั้งนั้นแล องค์ศักรผู้เป็นใหญ่แก่เทวดาทั้งหลาย ประณมมือนอบน้อมยังที่ตถาคตอยู่แล้วสรรเสริญตถาคตด้วยคำเป็นบทประพันธ์ว่า

 

      17 ข้าแต่พระองค์ผู้ชนะสงคราม ผู้เปิดความมืดในโลกด้วยรูปแห่งปรัชญา ขอพระองค์จงลุกขึ้น เพราะว่าจิตของพระองค์หลุดพ้นแล้ว เหมือนดวงจันทร์เต็มดวงพ้นจากจันทรคราสแล้ว ฯ

 

      เมื่อองค์ศักรกล่าวอย่างนี้แล้ว ตถาคตนิ่งอยู่

 

      ครั้งนั้นแล มหาพรหมศิขีห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง จดมณฑลเข่าขวาลงบนพื้นดินประณมมือนอบน้อมมายังที่ตถาคตอยู่ ได้กล่าวคำเป็นบทประพันธ์กับตถาคตว่า

 

      18 ข้าแต่พระองค์ผู้ชนะสงคราม ผู้เปิดความมืดในโลกด้วยรูปแห่งปรัชญา เป็นผู้ประเสริฐยิ่งในโลก ข้าแต่พระมุนี ขอพระองค์โปรดได้แสดงธรรม พระตถาคตทั้งหลายจะเป็นผู้บัญชา(บัญชาการ) ฯ

 

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมหาพรหมศิขีกล่าวอย่างนี้แล้ว ตถาคตจึงได้พูดคำนี้กับมหาพรหมศิขีว่า ดูกร มหาพรหม ธรรมที่ตถาคตตรัสรู้นี้ ลึกนัก สุขุม ละเอียด ฯลฯ ความเบียดเบียนนั้นพึงมีแก่เราเป็นอย่างยิ่ง อนึ่ง ท่านจงแจ่มแจ้งในบทประพันธ์นี้บ่อยๆว่า

 

      19 หนทางของเราไปทวนกระแส ลึก เห็นยาก ผู้ที่มืดด้วยราคะย่อมไม่เห็นธรรมนั้น เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรประกาศ ฯ

 

      20 คนทั้งหลายตกอยู่ในกามทั้งหลาย ลอยไปตามกระแส ตถาคตจะให้คนเช่นนี้บรรลุนั้น ยากนั้ก เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรประกาศ ฯ

 

      ครั้งนั้นแล  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  มหาพรหมศิขีและองค์ศักรผู้เป็นใหญ่แก่เทวดาทั้งหลาย เห็นตถาคตนิ่งอยู่ มีความทุกข์ เสียใจได้หายไปในที่นั้นพร้อมทั้งเทวบุตรทั้งหลายเหล่านั้น

 

      และตถาคตได้น้อมจิตไปด้วยการขวนขวายน้อย แม้ถึง 3 ครั้ง

 

      ในสมัยนั้นแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนชาวมคธทั้งหลายเกิดทฤษฏิ(ความเห็น)เป็นบาปเป็นอกุศลเหล่านี้ นั่นคือ บ้างก็ว่า ลมจะไม่พัด บ้างก็ว่า ไฟจะไม่ลุกโพลง บ้างก็ว่าฝนจะมีตก บ้างก็ว่า แม่น้ำจะไม่ไหล บ้างก็ว่าข้าวกล้าจะไม่งอก บ้างก็ว่านกจะไม่บินในอากาศ บ้างก็ว่าหญิงมีครรภ์จะคลอดยาก

 

      ครั้งนั้นแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาพรหมศิขี ทราบความพิจารณาในจิตเช่นนี้ของตถาคตแล้ว และทราบว่าคนชาวมคธ ทั้งหลายมีทฤษฏิเหล่านี้ เมื่อราตรีผ่านไปแล้ว(ตอนหัวค่ำผ่านไป หมายถึงเวลา 2ยาม ) มีสีกายกลบสีอื่นๆส่องสว่างโคนต้นตารายณทั่วไปด้วยแสงทิพย์ เข้าไปยังที่ตถาคตอยู่ ครั้นแล้ว น้อมศีรษะลงไหว้บาทตถาคต ห่มผ้าเฉวียงบ่าแล้วจดมณฑลเข่าขวาลงบนพื้นดิน ประณมมือนอบน้อมยังที่ตถาคตอยู่ ได้พูดกับตถาคตด้วยเป็นบทประพันธ์ว่า

 

      21 ลัทธิของผู้คิดผิดโดยประกอบด้วยลมทิน เป็นธรรมไม่บริศุทธ ในชาวมคธทั้งหลายจะในครั้งก่อน ข้าแต่พระมุนี เพราะฉะนั้น ขอพระองค์โปรดเปิดประตูอมฤตะ คนทั้งหลายจะได้ยินธรรมและพุทธโดยจิตปราศจากมลทิน ฯ

 

      22 พระองค์ทรงกระทำประโยชน์ของพระองค์แล้ว ถึงซึ่งความเป็นไท ไม่เป็นทาส ทรงกำจัดมลทินอันเป็นเครื่องปรุงแต่งให้เกิดความทุกข์ พระองค์ไม่มีความเสื่อมและความเจริญแห่งกุศล  พระองค์ทรงบรรลุถึงบารมิตาในธรรมดีเลิศทั้งหลายในโลกนี้ ฯ

 

      23 ข้าแต่พระมุนี ในโลกนี้ไม่มีใครเทียมเท่าพระองค์ ข้าแต่พระมหาฤาในโลกนี้ใครที่ไหนจะใหญ่ยิ่งกว่าพระองค์ พระองค์รุ่งเรืองอย่างยอดยิ่งในภพทั้ง 3 ดำรงอยู่เหมือนภูเขาเป็นที่อยู่ของอสูร(ภูเขาเมรุ) ฯ

 

      24 เมื่อประชาชนมีความทุกข์ ขอพระองค์จงยังมหากรุณาให้เกิดขึ้น ไม่ควรเพิกเฉยเช่นนี้เลย พระองค์ประกอบไปด้วยกำลังอันเต็มไปด้วยความรู้ พระองค์เท่านั้น สามารถเพื่อยังประชุมชนให้ข้ามได้ ฯ

 

      25 ประชาชนเหล่านี้เร่าร้อนนานด้วยหอกอันร้ายแรง พราหมณ์พร้อมทั้งเทวดาและศรมณะ จงปราศจากโรค ปราศจากความเร่าร้อนป่วยไข้และในโลกนี้ไม่มีผู้อื่นเป็นที่พึ่งของเขา ฯ

 

      26 เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายติดตามพระองค์มานานแล้ว มีจิตดีงาม และมีความต้องการอมฤตะซึ่งเป็นธรรมที่พระชินบรรลุแล้วเหมือนยกของอื่นที่เบากว่าๆ

 

      27 เพราะฉะนั้นแหละ ความรู้ในอมฤตะนี้ได้ก้าวเข้าสู่พระองค์แล้ว ขอพระองค์โปรดแนะนำสัตว์ทั้งหลายผู้เดินทางผิดมานานแล้วเขาไม่ได้ยินเนื้อความ แต่ปรารถนาความสงบ เขามีกำลังน้อย แต่ปรารถนาจะแผดเสียง ฯ

 

      28 ข้าแต่พระมหามุนี ประชุมชนเหล่านี้เร่าร้อนด้วยความกระหายมุ่งต่อน้ำคือธรรมในสำนักของพระองค์ เหมือนเมฆฝนกระหายต่อแผ่นดิน ข้าแต่พระนายกขอพระองค์โปรดกระทำความอิ่มหนำให้แก่เขาด้วยฝนคือธรรม ฯ

 

      29 คนทั้งหลาย ประพฤติแหลกเหลวมานานแล้วในภพที่รกชัฏ คือ มิถยาทฤษฏิอันประกอบด้วยขวากหนาม ขอพระองค์โปรดให้เขาเห็นทางตรงอันไม่มีขวากหนามซึ่งเมื่อเดินแล้วพึงได้อมฤตะ ฯ

 

      30 จริงอยู่ประชาชนทั้งหลาย ตกอยู่ในเหวแห่งความมืด ไม่มีผู้นำผู้อื่นไม่อาจยกเขาขึ้นมาได้ ขอพระองค์โปรดยกเขาผู้ซึ่งตกอยู่ในเหวใหญ่ ข้าแต่พระองค์ผู้มีความรู้ ข้าแต่พระองค์ผู้มีกำลัง ขอได้โปรดมีความพอพระหทัย(ในการชั่วยเหลือ)

 

      31 ข้าแต่พระมุนี ประชาชนเหล่านั้นไม่ได้ประสบพบเห็นตลอดมาเป็นเวลานานเหมือนดอกมะเดื่อซึ่งยากที่ใครจะประสบ พระชินทั้งหลายซึ่งเป็นผู้นำย่อมอุบัติที่แผ่นดิน ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายถึงเวลาแล้ว ขอพระองค์ได้โปรดปลดเปลื้อง ฯ

 

      32 พระองค์ตั้งพระหทัยมาในภพก่อนๆแล้วว่า จะข้ามด้วยพระองค์เอง แล้วจะยังสัตว์ทั้งหลายให้ข้ามด้วย บัดนี้พระองค์ถึงฝั่งแล้ว โดยไม่ต้องสงสัย พระองค์ผู้มีความแกล้วกล้าในความจริง ขอพระองค์โปรดกระทำประติชญาให้เป็นความจริงขึ้นมา ฯ

 

      33 ข้าแต่พระมุนี ขอพระองค์โปรดขจัดความมืดด้วยคบเพลิง คือธรรม พระองค์นันแล จงให้เขายกธงแห่พระตถาคต นี่คือเวลานั้นในการที่จะเรียกได้ว่า มีลาภ พระองค์เป็นเหมือนราชสีห์บันลือเสียง เป็นเหมือนกลองใหญ่บันลือเสียง ฯ

 

      ครั้งนั้นแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมองดโลกทั้งหมดด้วยพุทธจักษุ เห็นว่าสัตว์ทั้งหลายเลว ปานกลาง ประณีต สูง ต่ำ ปานกลาง ทำดีสะอาดหมดจด ทำชั่วไม่สะอาด หมดจด เป็นอุทธาฏิตชญาน(*)(อคคติตัญญู) วิปัญจิชญาน(**) (วิปจิตัญญู)  ปทมรมะ(***) (เห็น)  สัตว์ 3 จำพวก คือเป็นมิถยตวะนิยตะ (แน่วแน่ในความผิด) สัมยักตวะนิยตะ(แน่วแน่ในความถูก) อนิยตะ (ไม่แน่วแน่คือผิดบ้างถูกบ้าง)  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความข้อนี้เปรียบเหมือน คนยืนอยู่ริมสระบัว เห็นดอกบัวบางดอกอยู่ใต้น้ำ บางดอกอยู่เสมอน้ำ บางดอกอยู่พ้นน้ำ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เช่นเดียวกัน ตถาคตมองดูโลกทั้งหมดด้วยพุทธจักษุ เห็นสัตว์ทั้งหลายมีสถานต่างๆกันในทั้ง 3จำพวกนี้

 

*อุทธาฏิตชญาน พอได้ฟังก็ตรัสรู้
**วิปัญจิชญาน ฟังแล้วต้องคิดสอบสวน ได้รับคำแนะนำเพิ่มเติมจึงตรัสรู้
*** ปทปรมะ ฟังแล้ว จำได้แต่บทคือจำเรื่องหรือข้อความได้ไต่ไม่สามารถตรัสรู้

 

      ครั้งนั้นแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตคิดอย่างนี้ว่า เราควรแสดงธรรมหรือไม่ควรแสดง พวกที่เป็นมิถยตวะนิยตะนั้นไม่พึงรู้ธรรมเลย และเราควรแสดงธรรมหรือ ไม่ควรแสดง ผู้ใดเป็นพวกสัมยักตวะนิตยะ ผู้นั้นจะรู้ธรรมโดยแท้(แต่ผู้ใดเป็นพวกอนิยตะ ผู้นั้นก็รู้ธรรมได้) แต่ผู้ใดแล เป็นพวกอนิยตะ  ถ้าเราแสดงธรรมแก่เขา เขาจะรู้ ถ้าไม่แสดงแก่เขา เขาก็ไม่รู้

 

      ครั้งนั้นแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตปรารภสัตว์ทั้งหลายมีสถานต่างๆกัน แต่ละพวกไม่แน่นอน จึงมีใจหยั่งลงสู่ความกรุณา

 

      ครั้งนั้นแล ตถาคตคิดถึงสัมยัคชญาน (ความรู้โดยถูกต้อง) นี้ของตนแล้วและรู้การเชิญของมหาพรหมศิขีแล้ว จึงได้พูดกับมหาพรหมศิขีด้วยคำเป็นบทประพันธ์ว่า

 

      34 ประตูอมฤตะของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นไม่ได้ปิด ดูกรพรหม ผู้ใดเป็นผู้ฟังตลอดไป ผู้นั้นมีศรัทธาไม่คิดเบียดเบียนกัน ย่อมเข้า (ประตูนั้น) ได้ สัตว์ทั้งหลายในมคธฟังธรรมได้ ฯ

 

      ครั้งนั้นแล มหาพรหมศิขีทราบการรับนิมนต์ของตถาคตแล้วยินดี ดีใจ มีใจเฟื่องฟูมีความบันเทิงใจ เกิดปรีติเสามนัสย  น้อมศีรษะลงไหว้บาทตถาคตแล้วหายไปในที่นั้น

 

      ครั้งนั้นแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาที่อยู่ภาคพื้นได้เปล่งเสียงกึกก้องเวลานั้นบอกแก่เทวดาที่อยู่ในอากาศ ให้ได้ยินเสียงว่า ดูกรท่านผู้ควรเคารพทั้งหลาย วันนี้พระตถาคตผู้เป็นพระตถาคตผู้เป็นอรหันสัมยักสัมพุทธะทรงรับคำเพื่อหมุนจักรคือธรรม นั้นจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นอันมาก จะเป็นไปเพื่อความสุขของประชาชนเป็นอันมาก จะเป็นไปเพื่ออนุเคราะห์โลก จะเป็นไปเพื่อความต้องการของชนหมู่ใหญ่จะเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ข้าแต่ท่านผู้ควรเคารพทั้งหลายผู้เจริญ พวกอสูรกายทั้งหลายจะร่าเริงดีใจหนอ พวกทิพยกายทั้งหลายจะถึงความบริบูรณ์ และสัตว์ทั้งหลายเป็นอันมากจะปรินิรวาณในโลก เช่นเดียวกันเทวดาในอากาศได้ยินจากเทวดาที่อยู่ในภาคพื้น ก็เปล่งเสียงกึกก้องบอกแก่เทวดาชั้นจาตุมหาราชทั้งหลาย เทวดาชั้นจาตุมหาราชทั้งหลายก็เปล่งเสียงกึกก้องบอกแก่เทวดาชันดาวดึงส์ทั้งหลาย เทวดาชั้นดาวดึงส์ทั้งหลายก็เปล่งเสียงกึกก้องบอกแก่เทวดาชั้นยามาทั้งหลาย เทวดาชั้นยามาทั้งหลายก็เปล่งสียงกึกก้องบอกแก่เทวดาชั้นดุษิตทั้งหลาย เทวดาชั้นดุษิตก็เปล่งเสียงกึกก้องบอกแก่เทวดาชั้นนิรมาณรดีทั้งหลาย เทวดาชั้นนิรมาณรดีทั้งหลายก็เปล่งเสียงกึกก้องบอกแก่เทวดาชั้นปรนิรมิตวศวรรดีทั้งหลาย แม้เทวดาชั้นปรนิรมิตวศวรรดีเหล่านั้นก็เปล่งเสียงกึกก้องบอกแก่เทวดาชั้นพรหมกายิกะ(รูปพรหม)ทั้งหลาย ให้ได้ยินเสียงว่า ดูกรท่านผู้ควรเคารพทั้งหลาย วันนี้ พระตถาคคตผู้เป็นพระอรหันสัมยักสัมพุทธะทรงรับคำเพื่อหมุนจักรคือธรรม นั่นจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นอันมาก จะเป็นไปเพื่อความสุขของประชาชนเป็นอันมาก จะเป็นไปอนุเคราะห์โลก จะเป็นไปเพื่อความต้องการของชนหมู่ใหญ่ จะเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ข้าแต่ท่านผู้ควรเคารพทั้งหลายผู้เจริญ พวกอสุรกายทั้งหลายจะร่าเริงดีใจหนอ พวกทิพยกายทั้งหลายจะเจริญยิ่ง และสัตว์ทั้งหลายเป็นอันมาก จะปรินิรวาณในโลก

 

      กระนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กษณะนั้น ครู่นั้น จังหวะนั้น เทวดาทั้งหลายกระทั่งพรหมกายิกะ เริ่มแต่เทวดาผู้อยู่ภาคพื้น ได้มีคำพูดเป็นอย่างเดียวกัน มีเสียงบันลือเป็นอย่างเดียวกัน มีเสียงกึกก้องเป็นอย่างเดียวกัน ได้ดังขึ้นว่า ดูกรท่านผู้ควรเคารพทั้งหลาย วันนี้พระตถาคตผู้เป็นอรหันสัมยักสัมพุทธะ ทรงรับคำเพื่อหมุนจักรคือธรรม

 

      ครั้งนั้นแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดารักษาต้นโพธิ ชื่อ ธรรมรุจิ ธรรมกามะ ธรรมมติ และ ธรรมจารี ทั้ง 4 เหล่านี้เป็นเทวดารักษาต้นโพธิ ได้หมอบแทบบาทตถาคต ทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มีภคะ พระองค์จะหมุนจักรคือธรรม ณ ที่ไหน? ครั้นเทวดาพูดอย่างนี้แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตได้พูดคำนี้กับเทวด เหล่านั้นว่าตถาคตจะหมุนจักรคือธรรมที่ฤษณิปตนะมฤคทาวะ(ป่ากวางเป็ที่ฤษิตก) เทวดาเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีภคะ มหานครพาราณสีมีหมู่ชนน้อย และมฤคทาวะ(ป่ากวาง) มีร่มเงาพุ่มไม้น้อย ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ยังมีมหานครอื่นมั่งคั่ง ผึ่งผาย เกษม มีอาหารอุดมสมบูรณ์ น่ารื่นรมย์ เกลื่อนกล่นด้วยมนุษยชนเป็นอันมาก ประดับด้วย อุทยาน ป่า ภูเขา ขอพระผู้มีภคะจงหมุนจักรคือธรรมในบรรดามหานครเหล่านั้นแห่งใดแห่งหนึ่ง ตถาคตบอกปัดว่า อย่าเลย นครเหล่านั้นถือเอาความเจริญเป็นใหญ่ การที่ตถาคตจะหมูนจักรคือธรรมในฤษิปตนะมฤคทาวะ เพราะเหตุไร?

 

      35 (เพราะว่า)ยัชญตั้ง 60 หมื่นพันโกฏิ ตถาคตได้บูชาแล้วในที่นั้น (ฤษิปตนะมฤคทาวะ)พระพุทธเจ้าตั้ง 60 หมื่นพันโกฏิตถาคตได้บูชาแล้วในที่นั้น ที่อยู่ของฟษีครั้งก่อนๆ ก็มีในที่นั้น  ที่นั้นมีชื่อว่า พาราณสีอันประเสริฐ พื้นแผ่นดิน(ในที่นั้น) เทวดาและนาคสรรเสริญแล้ว อาบไปด้วยธรรมทุกเมื่อ ฯ

 

      36 ตถาคตระลึกถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลาย 9 หมื่นโกฏิในครั้งก่อนซึ่งหมุนจักรอันสุงสุด(ธรรมจักร)ในป่าประเสริฐ ประกอบด้วยถ้อยคำเรียกว่าฤษิ และป่านี้สงบ มีหน้าที่โดยตรงต่อธยานอันเข้าไปสงบ มีกวางทั้งหลายอาศัยอยู่เป็นนิตย์ เพราะมีความหมายดั่งนี้ ตถาคตจึงจะหมุนจักรอันสูงสุด(ธรรมจักร) ในป่าประเสริฐ อันประกอบด้วยคำเรียกว่า ฤษิ ฯ ดั่งนี้ ฯ

 

อัธยายที่ 25 ชื่ออัธเยษณาปริวรรต (ว่าด้วยการเชิญให้แสดงธรรม) ในคัมภีร์ศรีลลิตวิสตร  ดั่งนี้แล ฯ

 

26 หมุนธรรมจักร

 

 

อัธยายที่ 26

 

ธร์มจกฺรปฺรวรฺตนปริวรฺตะ ษฑฺวึศะ

 

ชื่อธรรมจักรประวรรตนปริวรรต (ว่าด้วยการหมุนจักรคือธรรม)

 

      ครั้งนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตได้ทำกิจเสร็จแล้ว ได้ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ตัดขาดเครื่องผูกพันทั้งปวงแล้ว  ถอนเกลศทั้งปวงแล้ว ดับมลทินคือเกลศแล้ว กำจัดมารผู้เป็นข้าศึกแล้ว เข้าไปสู่นัยแห่งธรรมของพระพุทธทั้งปวงแล้ว เป็นสรรวัชญเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง ประกอบด้วยทศพล(กำลัง10) ถึงไวศารัทยะ(*)4อย่าง เต็มเปี่ยมไปด้วยอาเวณิกธรรมของพระพุทธเจ้า 18ประการ ประกอบด้วยจักษุ 5 ดวง(**)มองเห็นโลกทั่วถ้วนด้วยพุทธจักษุอันไม่มีอะไรขัดขวาง คิดอย่างนี้ว่า ตถาคตนี้ควรเทศนาธรรมครั้งแรกก่อนอื่นทั้งหมดแก่ใคร  สัตว์ไหน มีความบริศุทธ มีอาการดีแนะนำง่ายสอนให้รู้ง่ายขัดให้สะอาดง่าย มีราคะ โทษะ โมหะ เบาบาง ไม่เดารู้ ซึ่งไม่ได้ยินไม่ได้ฟัง ทำให้ธรรมเสื่อม? ตถาคตควรเทศนาธรรมครั้งแรกก่อนอื่นทั้งหมดแก่เขาผู้นั้น ซึ่งสามารถรู้ธรรมที่ตถาคตแสดงแล้ว และเขาไม่เบียดเบียนเรา ?

 

* ไวศารัทยะ คือ ธรรมที่ทำให้แกล้วกล้า อาจหาญ มี 4 อย่าง คือ 1 ประติชญาว่าเป็นสัมยักสัมพุทธตรัสรู้  2 ประติชญาว่าสังเกลศธรรมทำอันตรายแก่นิรวาณ  3 ประติชญาผู้ประติปัทไนรฺยาณิกี (ธรรมเป็นเครื่องนำออก) จะไม่ห่างไกลยิรวาณ  4 ประติชญาว่าตนมีประหาณชญานรู้ความสิ้นอาศรวะทั้ง 4 อย่างนี้ไม่มีใครทักท้วงได้
** จักษุ 5 คือ 1มำสจักษุ ดวงตาธรรมดา  2 ทิพยจักษุ ตาทิพย์  3 ปรัชญาจักษุ ตาปรัชญา  4 พุทธจักษุ ตาพุทธ  5 สมันตจักษุ ตารอบตัว

 

      ครั้งนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตคิดว่า รุทรกะ รามปุตระ นั่นแหละมีความบริศุทธ มีอาการดี สอนให้รู้ง่าย ขัดให้สะอาดง่าย มีราคะ โทษะ โมหะ เบาบาง ไม่เดารู้รุทรกะ รามปุตระนั้นเสื่อมจากธรรม เพราะไม่ได้สดับ เขาแสดงธรรมโดยไนวสํชญา ส๊ชญายตนพร้อมด้วยข้อปฏิบัติแก่ศราวกทั้งหลาย เดี๋ยวนี้เขาอยู่ที่ไหน ? แล้วรู้ว่า เขาตายมาได้ 7 วัน ในวันนี้แล้ว แม้เทวดาทั้งหลายมาหมอบที่บาทตถาคตบอกว่า ข้าแต่พระผู้มีภคะนั่นใช่แล้ว ข้าแต่พระสุคต นั้นใช่แล้ว รุทรกะ รามปุตระ ตายมาได้ 7 วัน ในวันนี้แล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตคิดอย่างนี้ว่า ความเสื่อมใหญ่มีแก่ รุทรกะ รามปุตระเสียแล้ว ซึ่งเขาไม่ได้ฟังธรรมอันประณีตเป็นอย่างดีแล้วมาตายเสีย ถ้าเขาได้ฟังธรรมนี้แล้วเขาจะตรัสรู้ และเราจะแสดงธรรมเป็นครั้งแรกแก่ใคร?

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตคิดอย่างนี้อีกว่า สัตว์อื่นใดมีความบริศุทธ แนะนำง่าย(ข้อความเหมือนนัยก่อน และตลอดถึงไม่เบียดเบียนธรรมเทศนา ดูกรภิกษุทั้งหลายลำดับนั้นตถาคตคิดอย่างนี้ว่า อาราฑะ กาลาปะ นั่นแหละมีความบริศุทธ ฯลฯ ตลอดถึงไม่เบียดเบียนธรรมเทศนาของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตคิดต่อไปว่า เดี๋ยวนี้เขาอยู่ที่ไหน ? เมื่อคิดต่อไปก็รู้ว่าเขาตายมาได้ 3 วันแล้ว แม้เทวดาชั้นศุทธาวาสก็ได้บอกเนื้อความนั้นแก่ตถาคตว่า ข้าแต่พระผู้มีภคะ นั่นใช่แล้ว ข้าแต่พระสุคต นั่นใช่แล้วอาราฑะ กาลาปะ ตายมาได้ 3 วันในวันนี้แล้ว ลำดับนั้นตถาคตคิดอย่างนี้ว่าความเสื่อมใหญ่มีแก่ อาราฑะ กาลาปะ เสียแล้ว ซึ่งเขาไม่ได้ฟังธรรมอันประณีตเป็นอย่างดีแล้วมาตายเสีย

 

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตคิดอย่างนี้อีกว่า สัตว์อื่นใดเล่ามีความบริศุทธ มีอาการดี ฯลฯ ตลอดถึงไม่เบียดเบียนธรรมเทศนาของเรา

 

      ครั้งนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตคิดอย่างนี้ว่า ภัทรวรรคียทั้งห้าเหล่านั้นแล มีความบริศุทธ มีอาการดี สอนให้รู้ง่าย ขัดให้สะอาดง่าย มีราคะ โทษะ โมหะ เบาบางไม่เดารู้ ภัทรวรรคียเหล่านั้นจะเสื่อมจากธรรมเพราะไม่ได้สดับ เมื่อเราประพฤติทุษกรจรรยา เขาเหล่านั้นก็ได้อยู่ใกล้ชิด เขาเหล่านั้นจะตรัสรู้ธรรมที่เราแสดงแล้ว และเขาจะไม่เบียดเบียนเราในที่นี้

 

      ครั้งนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตคิดอย่างนี้ว่า อย่ากระนั้นเลย เราควรแสดงธรรมเป็นครั้งแรกแก่ภัทรวรรคียทั้งห้า

 

      ครั้งนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตคิดอย่างนี้อีกว่า เดี๋ยวนี้ภัทรวรรคียทั้งห้าอยู่ที่ไหน? ครั้นแล้ว ตถาคตมองดูโลกทั่วถ้วนด้วยพุทธจักษุ เห็นแล้ว คือเห็นภัทรวรรคียทั้งห้าอยู่ที่ฤษิปตนะมฤคทาวะในนครพาราณสี ครั้นเห็นแล้ว ตถาคตคิดอย่างนี้ว่า อย่ากระนั้นเลยเราพึงแสดงธรรมครั้งแรกก่อนใครทั้งหมดแก่ภัทรวรรคียทั้งห้า เพราะว่าภัทรวรรคียทั้งห้านั้น จะตรัสรู้ธรรมของเราที่เราแสดงครั้งแรกก่อนใครทั้งหมดนั่นเพราะเหตุไร? เพราะว่าภัทรวรรคียทั้งห้าเป็นผู้มีประวัติ(คือประพฤติธรรมมาแล้ว) เป็นนักศึกษามารอบคอบดีแล้ว มีธรรมขาวสะอาด  บ่ายหน้าเฉพาะทางแห่งโมกษซึ่งเป็นความปลดเปลื้องจากเครื่องผูกพัน

 

      ครั้งนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตคิดอย่างนี้แล้วจึงลุกขึ้นจากโพธิมณฑลยังโลกธาตุ คือเทวโลกและมนุษยโลกให้สะเทือนไปทั่ว ประพฤติจรรยา (บำเพ็ญพุทธกิจ) ในแคว้นมคธทั้งหลายโดยลำดับ ก้าวไปสู่ที่จาริกในชนปทกาศีทั้งหลาย และในครั้งนั้นอาชีวกคนหนึ่งมาจากระหว่างคยากับโพธิมณฑลได้เห็นตถาคตแต่ไกล ครั้นแล้ว ได้เดินเข้ามายังที่ตถาคตอยู่อีก และยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาชีวกทำการทักทายปราศรัยต่างๆกับตถาคต แล้วพูดอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้มีอายุ อินทรีย์ทั้งหลายของพระองค์ผ่องใสนัก ผิวพรรณของพระองค์บ่ริศทธหมดจดและเหลืองอร่าม ศารทกาล(*)มีสีเหลืองสว่างไสวเหลืองอร่าม นั่นฉันใด อินทรีย์ทั้งหลายของพระโคดมผู้มีภคะก็ฉันนั้นบริศุทธ มุขมณฑล(ใบหน้า) ก็บริศุทธ หมดจด สีเหลืองอร่ามที่ติดอยู่ที่ขั้วของผลตาลสุกซึ่งหลุดจากงวงรอบๆบริศุทธ หมดจด นั่นฉันใด อินทรีย์ของพระโคดมผู้มีภคะก็ฉันนั้น บริศุทธ มุขมณฑลก็บริศุทธ หมดจด ทองชมพูนทตักออกจากเบ้าช่างผู้ฉลาดทำเป็นรูปพรรณดีแล้ว ห่อด้วยผ้าสักหลาดเหลือง มีวรรณะบริศุทธหมดจดเหลืองอร่าม สุกใสอย่างยิ่ง นั่นฉันใด อินทรีย์ทั้งหลายของพระโคดมผู้มีภคะก็ฉันนั้น ผ่องใสนัก ผิวพรรณบริศุทธ มุขมณฑลหมดจด พระโคดมผู้มีอายุ พระองค์ประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักไหน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้นอาชีวกพูดอย่างนี้แล้ว ตถาคตจึงตอบอาชีวกนั้นด้วยคำเป็นบทประพันธ์ว่า

 

*ศารทกาล คือ ฤดูใบไม้ร่วง คำว่า ศารแปลว่าเหลือง ศารทแปลว่าให้สีเหลือง ในฤดูนั้นดูอะไรเหลืองไปหมด ใบไม้ที่จะร่วงก็สีเหลือง ร่วงบนแผ่นดินก็ทำให้พื้นที่สีเหลือง

 

      1 อาจารย์ใดๆของตถาคตไม่มีเลย ไม่มีใครจะหมือนตถาคต ตถาคตผู้เดียวเป็นผู้ตรัสรู้ เป็นความเย็น ปราศจากอาศรวะ(ทุกข์ โทษ)ฯ

 

อาชีวกนั้นพูดว่า  ข้าแต่พระโคดม พระองค์อย่างประติชญาตนว่าเป็นอรหันต์เลย

 

ตถาคตตอบว่า

 

      2 ตถาคตนี่แหละเป็นอรหัต์ในโลก ตถาคตเป็นศาสดาไม่มีใครยิ่งกว่า ไม่มีบุทคลจะเปรียบตถาคตได้ทั้งในเทวดา อสูร คนธรรพ์ ฯ

 

อาชีวกนั้นพูดว่า  ข้าแต่พระโคดม พระองค์อย่าปรติชญาตนว่าเป็นชิน(ผู้ชนะ)เลย

 

ตถาคตตอบว่า

 

      3 พึงทราบเถิดว่า ผู้เช่นตถาคตเป็นชิน ซึ่งถึงความสิ้นแห่งอาศรวะ ธรรมที่เป็นบาปทั้งหลาย ตถาคตชนะแล้ว เพราะฉะนั้น ดูกรอุปคะ(*) ตถาคตที่แหละเป็นชินแล้ว ฯ

 

* ในมหาวัคค์แห่งไตรปิฎกฝ่ายบาลีเป็นอุปก

 

      4 ตถาคตไปบุรีของชาวกาศีทั้งหลายแล้วจะไปพาราณสี จะกระทำแสงสว่างไม่มีอันใดเที่ยแก่โลกมืด ฯ

 

      5 ตถาคตไปบุรีของชาวกาศีทั้งหลาย แล้วจะไปพาราณสี จะตีกลองใหญ่ คือ อมฤตะแก่โลกที่มีเสียงเลวๆ ฯ

 

      6 ตถาคตไปบุรีของชาวกาศีทั้งหลายแล้วจะไปพาราณสี จะหมุนจักรคือธรรม ซึ่งไม่มีใครให้หมุนในโลก ฯ

 

อาชีวกนั้นพูดว่า ตามใจเถิด พระโคดม แล้วเดินบ่ายหน้าไปทางใต้ ส่วนตถาคตเดินบ่ายหน้าไปทางเหนือ

 

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลายนาคราชชื่อสุทรรศน์ที่คยาได้เชิญ(ต้อนรับ)ด้วยที่พักและภักตาหาร ต่อแต่นั้น ตถาคตได้ไปยังชนปทโรหิตวัสตุ จากนั้นได้ไปยังชนปทอุรุวิลวากัลปะ จากนั้นได้ไปยังชนปทอณาละ จากนั้นได้ไปบุรีสารถิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสถานที่ทั้งปวงเหล่านี้ พวกคฤหบดีทั้งหลายได้นิมนต์ตถาคตด้วยภักตาหารและที่พัก ตถาคตได้เข้าไปถึงริมฝั่งแม่น้ำคงคา

 

      ก็ในสมัยนั้นแล  ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคามหานทีมีน้ำเต็มเปี่ยมไหลไปได้ระดับกับริมตลิ่ง

 

      ครั้งนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตได้เข้าไปหาชาวเรือ เพื่อข้ามฟาก ชาวเรือคนนั้นพูดว่า ข้าแต่พระโคดม ท่านจงให้ค่าโดยสาร ตถาคตบอกเขาว่า ดูกรท่านผู้ควรเคารพ ค่าโดยสารของตถาคตไม่มี แล้วได้ไปยังฟากโน้นโดยทางอากาศลำดับนั้น ชาวเรือคนนั้นเห็นอาการนั้นแล้ว เกิดความกระวนกระวายใจเป็นอย่างยิ่งว่าพระองค์เป็นทักษิณียบุทคล(ผู้ควรเคารพ) ขนาดนี้แล้วเรายังไม่ให้ข้ามฟาก เขาพูดว่า แย่จริง แล้วไม่รู้สึกตัวล้มลงที่แผ่นดิน ภายหลังจากนั้นชาวเรือได้ทูลเล่าเหตุการณ์นั้นแก่พระราชาพิมพิสารว่า ท่านสวามีโคตมะผู้เป็นศรมณะ เมื่อข้าพเจ้าขอค่าโดยสารบอกว่าไม่มีค่าโดยสาร ครั้นแล้วข้ามไปฟากโน้นโดยทางอากาศ พระราชาพิมพิสารผู้เป็นใหญ่กว่าเขานั้น ได้ฟังคำนั้นแล้วทรงยกเว้นค่าโดยสารแก่บรรพชิตทั้งปวง

 

      กระนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประพฤติจรรยาในชนปทโดยลำดับแล้วก้าวไปสู่สถานที่ซึ่งมหานครพาราณสีตั้งอยู่ ครั้นแล้วพักอยู่ที่วิหารกาลี(*) ทรงบาตรจีวร เข้าไปยังมหานครพาราณสี เพื่อบิณฑบาต เมื่อเที่ยวบิณฑบาตในมหานครนั้นทำภักตกิจเสร็จแล้ว ภายหลังกลับจากบิณฑบาตเพื่อภักตาหารแล้ว ได้ไปยังที่ซึ่งกษิตนะมฤคทาวะและภัทรวรรคียทั้งห้าอยู่ ฝ่ายภัทรวรรคียทั้งห้าได้เห็นตถาคตมาแต่ไกลทีเดียว และครั้นได้เห็นแล้วก็พูดนัดหมายกันว่า นั่นพระศรมณะโคดมผู้มีอายุองค์นั้นเสด็จมา คลายความเพียร มักมาก คลาดจากความเพี่ยรเสียแล้ว  พระองค์ไม่สามารถทำให้ปรากฏซึ่งอลมารยชญานทรรศนะอันพิเศษ ซึ่งเป็นอุตตริมนุษยธรรมด้วยการประพฤติทุษกรจรรยาอันประพฤติมาในครั้งก่อนๆนั้นได้ บัดนี้พระองค์นำมาซึ่งอาหารของคนหิวประกอบสุขัลลิกาโยค(**)อยู่แล้ว มิใช่หรือ พระองค์เป็นผู้ไม่ควรเสียแล้ว เป็นผู้คลายความเพียร เป็นผู้มักมาก ใครๆไม่ควรลุกไปต้อนรับพระองค์ ไม่ควรอยู่ใกล้ชิดพระองค์ ไม่ควรรับบาตร จีวร ไม่ควรให้อาสนะ ไม่ควรให้น้ำดื่มน้ำใช้ ไม่ควรตั้งที่รองพระบาท ปล่องให้อาสนะอยู่ว่างๆแต่ควรพูดว่า ข้าแต่พระโคดมผู้มีอายุ อาสนะทั้งหลายเหล่านี้มีว่างอยู่ ถ้าต้องการก็เชิญนั่ง ส่วนอัชญานเกาณฑินยะผู้มีอายุ ข่มจิตไว้แล้ว และไม่เอ่ยวาจา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเข้าไปยังที่ซึ่งภัทรวรรคียทั้งห้าอยู่ด้วยประการใดๆ ภัทรวรรคียทั้งห้านั้นไม่ยินดีในอาสนะของตนๆต่างใคร่จะลุกขึ้นด้วยประการนั้นๆ นั่นเหมือนนกมีปีกถูกขังอยู่ในกรง ภายใต้กรงนกนั้นสุมไฟไว้ นกนั้นร้อนด้วยไฟ ใคร่จะบินสูงให้พ้นไฟโดยเร็ว และอยากจะไปเสียให้พ้น ตถาคตข้าไปยังที่อยู่ของภัทรวรรคียทั้งห้าด้วยประการใดๆ ภัทรวรรคียทั้งห้าไม่ยินดีในอาสนะของตน ต่างใคร่จะลุกขึ้นด้วยประการนั้นๆ ก็เช่นเดียวกัน นั่นเพราะเหตุใด? นั่นเพราะ สัตว์(คน)บางตนนั้น มีอยู่ในหมู่สัตว์ ซึ่งเห็นตถาคตแล้วไม่ยอมลุกขึ้นจากอาสนะ และตถาคตเข้าไปหาภัทรวรรคียทั้งห้าด้วยประการใดๆ ภัทรวรรคียทั้งห้าทนไม่ได้ต่อสง่าราศีและเดชของตถาคต กระสับกระส่ายจากอาสนะทุกคนต่างทำลายกิริยา อาการลุกขึ้นจากอาสนะ บ้างก็ไปต้อนรับ บ้างก็ลุกขึ้นไปรับบาตรและจีวร บ้างก็น้อมอาสนะเข้าไปถวาย บ้างก็ตั้งที่รองพระบาท บ้างก็ประติบัทรับใช้ด้วยน้ำล้างพระบาท และได้พูดอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้มีอายุ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอต้อนรับพระองค์ ข้าแต่พระโคดมผู้มีอายุ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอต้อนรับพระองค์ ขอพระองค์ประทับนั่งบนอาสนะซึ่งได้จัดไว้นี้ 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตนั่งลงแล้ว บนอาสนะที่จัดไว้แล้วนั่นแหละ แม้ภัทรวรรคียทั้งห้านั้น ก็ได้พูดจาปราศรัยด้วยถ้อยคำบันเทิงใจ จับใจต่างๆกับตถาคต แล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง และภัทรวรรคียทั้งห้านั้น ครั้นนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่งแล้ว ได้พูดคำนี้กับตถาคตว่า ข้าแต่พระโคดมผู้มีอายุ อินทรีย์ทั้งหลายของพระองค์ผ่องใสผิวพรรณบริศุทธ ดั่งนี้แล กล่าวเหมือนนัยก่อนทั้งหมด ข้าแต่พระโคดมผู้มีอายุ อลมารยชญานทรรศนะอันพิเศษซึ่งเป็นอุตตริมนุษยธรรมอย่างใดๆ ซึ่งพระองค์ทำให้ปรากฏแล้วนั้น มีไหม? 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภัทรวรรคียทั้งห้าพูดอย่างนี้แล้ว ตถาคตจึงพูดอย่างนี้กับภัทรวรรคียทั้งห้าว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าเรียกตถาคตด้วยวาทะ(ถ้อยคำ)ว่า "ผู้มีอายุ(อายุษฺมน)" วาทะว่า "ผู้มีอายุ(อายุษฺมน)" นี้ ขออย่ามีแก่เธอทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่ออุปการะเกื้อกูล เพื่อความสุข ตลอดกาลนาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อมฤต และทางไปสู่อมฤต ตถาคตได้ทำให้ปรากฏแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นพุทธแล้ว เป็นสรรวัชญ เห็นทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นความเย็น ไม่มีอาศววะแล้ว เป็นผู้มีอำนาจในธรรมทั้งปวง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตแสดงธรรมเธอทั้งหลายจงไป จงฟัง จงประติบัท โดยเร็ว จงเงี่ยโศรตะลง ตถาคตจะพูด จะสั่งสอน ตถาคตพูดอย่างไร สั่งสอนอย่างไร แม้เธอทั้งหลายเห็นแล้ว ซึ่งเจโตวิมุกติ(***) และ ปรัชญาวิมุกติ(****) แห่งอาศรวะทั้งหลาย แล้วทำให้ปรากฏในธรรมทั้งหลาย เข้าถึงที่แล้วจะรู้ว่า ชาติของเราสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว ไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่านี้ เราทั้งหลายรู้ภพ ดังนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายคิดอย่างนี้มิใช่หรือว่า ศรมณะโคดมผู้มีอายุนี้แล ย่อมมา เป็นผู้คลายความเพียร มักมาก คลาดจากความเพียรเสียแล้ว ดังนี้ (กล่าวเหมือนนัยก่อน) ถ้าต้องการก็เชิญนั่ง ครั้นตถาคตพูดกับภัทรวรรคียทั้งห้านั้นว่า เอหิ ภิกฺษว(ท่านจงเป็นภิกษุมา) เครื่องหมายเดียรถีย์(นักบวชนอกพุทธศาสนา) ธงของเดียรถีย์อย่างใดๆทั้งหมดนั้น หายไปในขณะนั้นนั่นเทียว ปรากฏเป็นไตรจีวรและบาตร และผมก็ถูกตัดไปในกษณะนั้น นั่นเหมือนกับอิริยาบถของภิกษุบวชมาแล้วตั้งร้อยพรรษา มีความสำรวมแล้ว นั่นแหละเป็นบรรพชา นั่นแหละเป็นภิกษุภาพ(ความเป็นภิกษุ ซึ่งอุปสมบท(บวช) แล้วของภัทรวรรคียทั้งห้านั้น

 

* ฉบับของ Lefmann เป็นกาลฺปํ แปลว่า วิหารชื่อกาลปะ ฉบับของราเชทร ลาล มิตร เป็นกาลมฺ กาลฺยมฺ แปลว่า วิหารพระกาลและพระกาลี
** สุขัลลิกาโยค ประกอบด้วยความชุ่มชื่นในความสุข
*** เจโตวิมุกติ หลุดพ้อนอาศรวะด้วยจิต
**** ปรัชญาวิมุกติ หลุดพ้นอาศรวะด้วยปรัชญา

 

      ครั้งนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเวลานั้นภิกษุภัทรวรรคียทั้งห้าหมอบลงแทบบาทของตถาคต ทูลแสดงโทษ(รับผิด)แล้ว ยังให้เกิดขึ้นซึ่งความหมายรู้ว่าเป็นศาสดา ความรัก ความเลื่อมใสและความเคารพในสำนักของตถาคต และภิกษุภัทรวรรคียทั้งห้านั้น เกิดความเคารพแล้วกระทำการโสรจสรงตถาคตในสระใหญ่อย่างวิจิตรเป็นอันมาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตขึ้นจากอาบน้ำแล้วมีความคิดอย่างนี้ว่า พระตถาคตอรหันตสัมยักสัมพุทธองค์ก่อนๆ ประทับนั่ง หมุนจักรคือธรรมในที่ไหนแล ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตองค์ก่อนๆ หมุนจักรคือธรรมในประเทศปฐพี ครั้งนั้นในประเทศปฐพีนั้นได้มีอาสนะจำนวนพันล้วนแล้วด้วยแก้ว 7 ประการ ปรากฏขึ้นแล้ว

 

      ครั้งนั้น ตถาคตกระทำประทักษิณอาสนะ 3 อาสนะ ด้วยความเคารพ พระตถาคตองค์ก่อนๆแล้วนั่งคู้บรรลังก์(ขัดสมาธิเพชร) บนอาสนะที่ 4ปราศจากความกลัวเหมือนราชสีห์ แม้ภิกษุทั้ง 5 ก็น้อมศีรษะอภิวาทบาทตถาคตแล้วนั่งเบื้องหน้าตถาคต

 

      ครั้งนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ในเวลานั้นตถาคตเปล่งอออกซึ่งรัศมีเช่นนั้นจากกาย ซึ่งทำให้โลกธาตุคือเทวโลกและมนุษยโลกแผ่ไปด้วยแสงสว่างได้มีแล้วด้วยรัศมีนั้นและผู้มีบาปชั้นโลกันตนรก มีความมืดมิดด้วยอนธการแผ่ไปยังผู้มีบาป ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ทั้ง 2 นี้ มีฤทธิ์มากถึงเพียงนี้ มีอานุภาพมากถึงเพียงนี้ มีอำนาจมากถึงเพียงนี้ ก็ยังไม่ทำให้โลกันตนรกนั้นสว่างด้วยแสงสว่าง ให้มีวรรณะด้วยวรรณะ ให้มีเดชด้วยเดช ไม่ส่องแสง ไม่ทำให้สว่างได้ในที่ใด สัตว์ซึ่งเกิดขึ้นในที่นั้น ย่อมมองไม่เห็นแม้แต่แขนของตนเองที่เหยียดออกไป ณ สถานที่นั้น กษณะนั้นแสงสว่างจัดมากได้ปรากฏขึ้นแล้วในโลกด้วยรัศมี(ของพระพุทธ) นั้น สัตว์ซึ่งเกิดขึ้นในที่นั้นได้รับแสงสว่างนั้นแผ่ไป ต่างก็เห็นซึ่งกันและกัน จำซึ่งกันและกันได้ พูดกันอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ แม้สัตว์อื่นทั้งหลายแหล่เกิดขึ้นในที่นี้แล้ว ท่านผู้เจริญ แม้สัตว์อื่นทั้งหลายเกิดขึ้นในที่นี้แล้ว และโลกธาตุคือเทวโลกและมนุษยโลก มีวิการ 6 อย่าง มีมหานิรมิต 18 อย่าง ได้แก่

สั่น สั่นทั่ว สั่นพร้อม
ไหว ไหวทั่ว ไหวพร้อม
กระเทือน กระเทือนทั่ว กระเทือนพร้อม
ปั่นป่วน ปั่นป่วนทั่ว ปั่นป่วนพร้อม
ดัง ดังทั่ว ดังพร้อม
คำรณ คำรณทั่ว คำรณพร้อม
ยุบตอนสุด พองตอนกลาง ยุบตอนกลางพองตอนสุด
ยุบทิศตะวันออก พองทิศตะวันตก
ยุบทิศตะวันตก พองทิศตะวันออก 

ยุบทิศใต้ พองทิศเหนือ
ยุบทิศเหนือ พองทิศใต้

ในเวลานั้นได้ยินแต่เสียงหัวเราะ เสียงแสดงความยินดี เสียงแสดงความรัก เสียงแสดงความเลื่อมใส เสียงแสดงความเอาใจใส่ เสียงแสดงความสุข  เสียงแสดงความตื่นเต้น เสียงสรรเสริญไม่มีที่เปรียบ เสียงไม่สาดเสียเทเสีย เสียงไม่ระคายหู เสียงไม่ทำให้สะดุ้งกลัว การเบียดเบียนกันก็ดี ความสะดุ้งตกใจก็ดี ความกลัวก็ดี ความครั้นคร้ามก็ดี ไม่มีแก่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งในขณะนั้นเลยรัศมีของดวงอาทิตย์ดวงจันทร์ก็ดี รัศมีของอินทร์พรหมและโลกบาลทั้งหลายก็ดี ไม่ปรากฏในกษณะนั้นอีกเลย สัตว์ที่เกิดในนรกเกิดในกำเนิดเดียรัจฉาน ยมโลกทั้งปวงได้ปราศจากทุกข์ในกษณะนั้น ต่างก็เพียบพร้อมด้วยความสุขถันทั่วหน้า ความกำหนัด ความเกลียด ความหลง ความริษยา ความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่นกัน ความเมา ความโกรธ ความพยาบาท ความเดือดเนื้อร้อนใจ มิได้เบียดเบียนสัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งเลย ในกษณะนั้น สัตว์ทั้งปวงมีจิตไมตรี รักใคร่ มีจิตมุ่งประโยชน์ต่อกัน เข้าใจอยู่แต่ว่าเป็นบิดา มารดาของกันและกัน และครั้นแล้ว เปล่งคำเป็นบทประพันธ์เหล่านี้จากกลุ่มรัศมีว่า

 

      7 ผู้ใดนั้น จุติจากที่อยู่สวรรค์ชั้นดุษิต หยั่งลงสู่ครรค์มารดา และประสูติที่ป่าลุมพินี องค์อินทร์ประคับประคอง ฯ

 

      8 ผู้ใด มีการเกิดอย่างองอาจเหมือนราชสีห์ ย่างเท้าก้าวไปได้ 7 ก้าว ไม่หลงงมงาย และเปล่งเสียงเหมือนเสียงพรหมว่าเราประเสริฐสุดในโลก ฯ

 

      9 สละทวีปทั้ง 4 บรรพชาแล้ว เพราะเหตุจะทำประโยชน์เกื้อกูล(อุปการะ) แก่สัตว์ทั้งปวง ประพฤติตบะอันยากที่จะทำได้เข้าไปสู่ง้วนดินนี้ ฯ

 

      10 ผจญมารพร้อมทั้งเสนามาร ถึงความตรัสรู้เพื่อประโยชน์ เกื้อกูลแก่โลก มาถึงมหานครพาราณสี หมุนจักรคือธรรม ฯ

 

      11 ผู้ใด อันเทวดาพร้อมด้วยพรหมมีความประสงค์ว่า ขอพระองค์จงหมุนจักรคือความสงบ และพระมุนีรับนิมนต์แล้ว เกิดความกรุณาขึ้นในโลก ฯ

 

      12 ผู้นี้นั้น มีประติชญามั่นคง เสด็จเข้าไปยังป่ามฤคทาวะในมหานครพาราณสี พระองค์ผู้เจริญ หมุนจักรสูงสุดซึ่งไม่เคยมีแล้ว ฯ

 

      13 ผู้ใดใคร่ฟังธรรม ผู้ใดร่วมด้วยพระชินตั้งหมื่นกัลป ผู้นั้นจงรีบมาเร็วๆเพื่อฟังธรรม ฯ

 

      14 (การได้กษณะ 4 คือ) ความเป็นมนุษย์อันยากที่จะได้ การบังเกิดของพระพุทธ ศรัทธาซึ่งหาได้ยากที่สุด การฟังธรรมอันประเสริฐและการเว้นจากอกษณะ 8 ซึ่งยากที่จะได้ ฯ

 

      15 กษณะทั้งปวง คือ การบังเกิดพระพุทธ การมีศรัทธา และการฟังธรรมอันประเสริฐ ท่านก็ได้แล้วในวันนี้ ท่านทั้งหลายจงเว้นความประมาททั้งหมด ฯ

 

      16 ผู้ใด บางคราวมีอาการไม่ฟังธรรมตั้งหมื่นกัลป ผู้นั้นก็ขอให้มาร่วมกันในวันนี้ ท่านทั้งหลายจงเว้นความประมาททั้งหมด ฯ

 

      17 และท่านทั้งหลายจงเตือนหมู่เทวดาทั้งหลาย มีเทวดาที่อยู่ภาคพื้นเป็นต้นจนถึงพรหมเป็นที่สุด ทั้งหมดให้มาโดยเร็ว พระนายกจะหมุนจักรคืออมฤตแล้ว ฯ

 

      18 กษณะนั้น เทวดาทั้งปวงนั้นได้รับคำตักเตือนแล้ว ด้วยการโฆษณาของเทวดาอย่างใหญ่หลวง ละความมั่งคั่งของเทวดา มาอยู่ข้างๆพระพุทธ ฯ

 

      กระนี้แล  ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาที่อยู่ภาคพื้นทั้งหลายยืนอยู่แล้วในภูมิประเทศ สักแต่ว่าเป็นมณฑลใหญ่ของตถาคตเพื่อให้หมุนจักรคือธรรมในฤษิปตนะมฤคทาวะในมหานครพาราณสี ซึ่งเป็นภูมิประเทศงาม น่าดู ไพบูลย์กว้างขวาง ทั้งยาวและกว้าง 700 โยชน์ และเบื้องบน เทวดาทั้งหลายตกแต่งด้วยฉัตร ธงชัย ธงปตาก และเพดาน พื้นฟ้าก็ได้รับการตกแต่งแล้ว เทวบุตรที่อยู่ในชั้นกามาพจร และรูปปาพจร ก็น้อมถวายพระแท่น 84 แสนแก่ตถาคต ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีภคะ ขอพระองค์โปรดนั่งบนพระแท่นนี้ หมุนจักรคือธรรม เพื่อถือเป็นการอนุเคราะห์แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย

 

      ครั้งนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น โพธิสัตว์จำนวนหลายโกฏิ ประกอบด้วยประณิธาน(ความตั้งใจ) ในครั้งก่อนๆได้มาแล้วจากทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก  ทิศเหนือ จากเบื้องบน เบื้องล่าง รอบทิศ หมอบลงแทบบาทตถาคต ทูลเชิญเพื่อให้หมุนจักรคือธรรมและผู้ใดในโลกธาตุนี้ คือ เทวโลกและมนุษยโลก เป็นองค์ศักร พรหม หรือเทพโลกบาล หรือ เทวบุตรอื่นๆนอกจากนี้ที่เป็นใหญ่เป็นโต แม้ทั้งหมดนั้นได้ซบศีรษะลงแทบบาทตถาคต ทูลเชิญตถาคตเพื่อให้หมุนจักรคือธรรมว่า  ข้าแต่พระผู้มีภคะขอพระองค์โปรดหมุนจักรคือธรรม ข้าแต่พระสุคต ขอพระองค์โปรดหมุนจักรคือธรรม เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมากเพื่ออนุเคราะห์ แก่โลก เพื่อประโยชน์แก่ชุมชนมาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ข้าแต่พระผู้มีภคะ ขอพระองค์โปรดบูชาธรรมยัชญ ขอพระองค์โปรดโปรยฝนคือธรรมอันใหญ่ยิ่ง ขอพระองค์โปรดยกธงคือธรรมอันใหญ่ยิ่ง โปรดเป่าสังข์คือธรรมอันใหญ่ยิ่ง โปรดตีกลองคือธรรมอันใหญ่ยิ่ง

 

ในที่นี้มีคำกล่าวไว้ว่า

 

      19 จากที่นี้  เทวโลก พรหม เป็นอันมาก เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่และเทพโลกบาลเข้าไปเผ้าพระชินตามลำดับ แล้วทูลว่า ข้าแต่พระมหามุนี ขอพระองค์โปรดระลึกถึงประติชญาซึ่งพระองค์ได้ตรัสไว้ พระองค์เป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุด จะกระทำความสิ้นทุกข์ให้แก่หมู่สัตว์ ฯ

 

      20 ข้าแต่พระมุนี มารพร้อมทั้งเสนามาร พระองค์ประทับอยู่ที่พระยาพุ่มไม้ (ต้นโพธิ) ได้กำจัดแล้ว ต้นโพธิอันประเสริฐเป็นไม้ที่พระองค์อาศัยตรัสรู้เป็นไม้ที่มีความสงบเป็นอย่างดี พุ่มไม้คือเกลศ พระองค์โค่นลงแล้ว ความตั้งใจซึ่งพระองค์คิดมาตั้งร้อยกัลป ก็ได้สมบูรณ์แล้วโดยหาเศษมิได้ขอพระองค์โปรดมองดูประชุมชนซึ่งไม่มีผู้นำ แล้วพระองค์โปรดหมุนจักรอันประเสริฐ ฯ

 

      21 เนื้อที่แสนเกษตร(แสนทุ่งนา) สว่างไสว ด้วยรัศมีของพระสุคต ศราวกของพระพุทธตั้งหลายร้อยเข้าไปเฝ้าด้วยกำลังฤทธิ์ ทำการบูชาพระสุคตเป็นกลุ่มใหญ่ สรรเสริญพระตถาคตด้วยคุณที่เป็นจริง ทูลเชิญให้มีความกรุณาว่า ฯ

 

      22 ข้าแต่พระองค์ผู้มีความกรุณาเป็นปึกแผ่น ผู้มีปรัชญาดังสายฟ้า ผู้เห็นแจ้ง ผู้เสมอด้วยลม พระองค์คำรณลั่นมาตั้งพันกัลปแล้ว โลกทั้งปวง เขาทูลเชิญว่า ขอให้พระองค์เอาน้ำฝนคืออัษฏางคิกมรรค (มรรคประกอบด้วยองค์ 8 ) ดับความกระหายของโลก ขอพระองค์โปรดเพิ่มพูนข้าวกล้าที่เป็นทรัพย์คือ พละ อินทรีย์ ธยาน และวิโมกษ ฯ

 

      23 พระองค์ทรงศึกษาในศูนยตัตวะ(*) มาหลายพันกัลปเป็นอย่างดี ดำรงอยู่แล้ว พระองค์นำมาซึ่งธรรมแลยา พระองค์รู้ความประพฤติของสัตว์ทั้งหลาย ประชุมชนเหล่านี้ถูกพยาธิตั้งร้อยอย่างคือหมู่เกลศทั้งหลายเข้าไปเบียดเบียน ข้าแต่พระชินผู้เป็นนายแพทย์ ขอพระองค์โปรดปลดเปลื้อง จงหมุนจักรคือธรรมอันประเสริฐ ฯ

 

* ศูนยตัตวะ ปรัชญาที่ว่าด้วยความศูนย หรือ ความศูนยซึ่งเป็นความจริงอันถ่องแท้

 

      24 คลังในบารมี(*) นี้ พระองค์เพิ่มพูนแล้วเป็นเวลานาน พระองค์ไม่มีใครเสมอ ไม่ไหวหวั่น ก้าวหน้า ทรงสะสมทรัพย์คือธรรม ขอพระองค์โปรดเห็นว่า หมู่สัตว์ทั้งปวงนี้ไม่มีที่พึ่ง ยากจน ไม่มีผู้นำ ข้าแต่พระผู้นำพิเศษ พระองค์ทรงประพฤติในอารยทรัพย์ 7 ประการ ขอได้โปรดหมุนจักรเถิดพะยะค่ะ ฯ

 

* บารมี 6 คือ 1ทาน  2 ศีล  3 กษานติ  4 วีรยะ 5 ธยาน  6 ปรัชญา

 

      25 ทรัพย์ ธานยะ เงิน ทอง และผ้างามๆ ดอกไม้อย่างดี เครื่องลูบทา เครื่องเผาเอาควัน ผงจันทน์หอม  พระราชวังอันประเสริฐ นักสนมนางใน ราชสมบัติ พระโอรสที่น่ารัก พระองค์เสียสละได้โดยความยินดีช้าแต่พระชิน พระองค์แสวงหาปรัชญาพร้อมทั้งความตรัสรู้ ขอพระองค์โปรดหมุนจักรอันประเสริฐ ฯ

 

      26 และพระองค์รักษาศีลไม่ขาดวิ่นไม่มัวหมอง ตั้งร้อยกัลป พระองค์เจริญกษานต(ความอดทน) วีรยะ(ความเพียร) ไม่ละลาย ไม่ต้องตกแต่งทุกเมื่อ ข้าแต่พระมุนีผู้มีธยานอันประเสริฐ มีอภิชญา มีวิปัศยนา มีปรัชญา มีอุเบกษา มีมโนรถสมูบรณ์แล้ว ปราศจากความป่วยไข้ขอพระองค์โปรดหมุนจักรประเสริฐ ฯ

 

      ครั้งนั้นแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพธิสัตว์ผู้เป็นมหาสัตว์ทั้งหลายชื่อว่าเป็นผู้หมุนจักรคือธรรมทั้งจิตตุบาท(ความคิดเกิดขึ้นในใจ)ในเวลานั้น จักร(ล้อเกวียนหรือล้อรถ) ประดับด้วยรัตนะทั้งปวง งามด้วยรัตนะทั้งปวง ตกแต่งด้วยขบวนเครื่องประดับเป็นรัตนะต่างๆมีกำพันหนึ่ง มีซี่พันหนึ่ง มีดุม มีกง มีพวงมาลัย มีข่ายทอง มีข่ายลูกพรวน เดือยมีกลิ่นหอม มีหม้อบรรจุน้ำเต็ม มีลายสวัสดิกะประกอบด้วยลักษณะเวียนขวางามด้วยผ้าทิพย์ย้อมด้วยสีต่างๆมีดอกไม้เครื่องหอมพวงมาลัยทิพย์ชโลมด้วยเครื่องลูบทา ประกอบด้วยอาการประเสริฐทั้งปวง ตถาคตผู้หมุนจักรคือธรรมทรงนำมาแล้วด้วยประณิธาน(ความตั้งใจ) แต่เดิมๆซึ่งชำระใจของโพธิสัตว์ให้สะอาด ควรแก่การบูชาของตถาคต ตถาคตทุกพระองค์ทรงนำมาแล้ว เป็นที่อาศัยของพระพุทธทั้งปวงไม่ลบเลือน พระตถาคตองค์ก่อนๆผู้เป็นอรหันตสัมยักสัมพุทธแสวงหาแล้ว เคยให้หมุนแล้ว และได้น้อมนำเอาจักร คือธรรมให้แล้ว และครั้นน้อมนำมาให้แล้วได้ประณมกระพุ่มมือพูดกับตถาคตด้วยคำเป็นบทประพันธ์ว่า

 

      27 เมื่อครั้งพระพุทธทีปังกร พยากรณ์สัตว์บริศุทธว่า เธอผู้เป็นนรสีห์เหมือนราชสีห์ จะได้เป็นพุทธ และในครั้งนั้น พระองค์ตั้งใจนี้ไว้อย่างนี้ เมื่อบรรลุความตรัสรู้แล้ว ก็ควรให้ผู้อื่นเขาเรียนธรรมฯ

 

      28 สัตว์ดีเลิศจากทิศทั้ง 10มาในที่นี้ ไม่สามารถจะนับได้ทั้งหมด ข้าแต่พระองค์ผู้ยังตระกูลศากยให้ยินดี พระองค์จงสอนในเรื่องจักรคือธรรมสัตว์ทั้งหลายเรียกมาแล้ว กระทำประณมกระพุ่มมือหมอบอยู่แทบบาท ฯ

 

      29 วิมานใด ที่เทวดาทั้งหลายทำแล้วที่ควงต้นโพธิหรือว่า วิมานใดที่พระชินทั้งปวงผู้ชนะตนได้ทำแล้ว วิมานทั้งปวงนั้นตั้งอยู่ในจักรคือ ธรรมของพระองค์พระองค์จะตรัสตลอดกัลปบริบูรณ์ ก็ไม่รู้จักสิ้น ฯ

 

      30 อากาศในเทวโลก และมนุษยโลก แผ่ไปถึงหมู่เทวดาทั้งหลายและพื้นดิน แผ่ไปถึง อสูร กินนร และมนุษย์ทั้งหลาย ไม่ได้ยินเสียงกระแอมไอหรือขากเศลษม์ในกษณะนั้น ทั้งหมดมีใจเลื่อมใส จ้องมองพระชิน ฯ

 

      กระนี้แล  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตรับเชิญด้วยภาวะนิ่งในประถมยามแห่งราตรียังถ้อยคำให้เกิดความจับใจในมัชฌิมยามแห่งราตรี ได้เรียกภัทรวรรคียทั้งห้ามาในปัจฉิมยามแห่งราตรีว่า

 

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การหยั่งลงถึงที่สุด(จุดหมายปลายทาง) ของบรรพชิตมี 2  อย่างนี้ คือ
กาเมษุ กามสุขลฺลิกา ความชุ่มอยู่ด้วยความสุขทางกามในกามทั้งหลายเป็นเครื่องเสพติด (โยคะ) ต่ำช้า(หีน) เป็นของชาวบ้าน(คฺรามยฺ) เป็นของชนสามานย์(ปารฺถคฺชนิก) ไม่เป็นอลมารยะ(*)ประกอบด้วยสิ่งมิใช่ประโยชน์(อนรฺถ)ไม่เป็นไปเพื่อพรหมจรรย์ในอนาคต ไม่เป็นไปเพื่อความเหนื่อยหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อวิราคะ(ปราศจากความกำหนัด) ไม่เป็นไปเพื่อนิโรธ(ความดับสนิท) ไม่เป็นเพื่ออภิชญา(ความรู้ยิ่ง)ไม่เป็นไปเพื่อสัมโพธิ (ความตรัสรู้) ไม่เป็นไปเพื่อนิรวาณ และอาตมกายกลมถานุโยค การประกอบเนืองๆในการทรมานกายของตน นี้เป็นประติปทา(แนวทางประติบัท) ไม่ใช่ทางสายกลาง เป็นทุกข์ ประกอบด้วยสิ่งมิใช่ประโยชน์ เป็นทุกข์ในปรัตยุบัน และมีผลเป็นทุกข์ในอนาคต ดูก่อนภิกษุทั้งหลายบรรพชิตไม่เข้าถึงที่สุด 2 อย่างนี้แล้ว ตถาคตแสดงธรรมเป็นประติปทาทางสายกลางแท้เทียว นั่นคือ


สัมยัคทฤษฏิ(เห็นชอบ)
สัมยักสํกัลปะ(ดำริชอบ)
สัมยัควาก(เจรจาชอบ)
สัมยักกรรมานตะ(ทำการงานชอบ)
สัมยัคาชีวะ(เลี้ยชีวิตชอบ)
สัมยัควายายามะ(พยายามชอบ)
สัมยักสมฤติ(ตั้งสมฤติชอบ)
สัมยักสมาธิ(มีสมาธิชอบ)
 

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อารยสัตย์ทั้งหลายเหล่านี้มี 4 อย่าง อารยสัตย์ 4 อย่างคืออะไรบ้าง? คือทุขะ(ทุกข์) ทุขสมุทยะ(เหตุเป็นแดนเกิดทุกข์) ทุขนิโรธ (ความดับทุกข์) ทุขนิโรธคามินีประติปัต(ข้อประติบัทอันถึงความดับทุกข์) ในทั้ง 4 อย่างนี้

 

ทุขะ เป็นอย่างไร
ชาติ(ความเกิด) ก็เป็นทุกข์
ชรา(ความแก่) ก็เป็นทุกข์
พยาธิ(ความป่วยไข้) ก็เป็นทุกข์
มรณะ(ความตาย)ก็เป็นทุกข์
อปฺริยสัมประโยค(ประสบสิ่งที่ไม่รัก)
ปฺริยวิประโยค(พรากจากสิ่งที่รัก) ก็เป็นทุกข์ อยากได้สิ่งใดแสวงหาไม่ได้ นั่นก็เป็นทุกข์

โดยย่อแล้วอุปาทานสกันธทั้ง 5 เป็นทุกข์ นี่ตถาคตเรียกว่าทุข ในทั้ง 4 อย่างนั้น

 

ทุขสมุทยะเป็นอย่างไร ตฤษณานี้
เปานรรภวิกี(**) (ประกอบด้วยการเกิดในภพใหม่)
นันทิราคสหคตา(ประกอบด้วยความยินดีและความกำหนัด)
ตัตระตัดราภินันทินี (มีความยินดีในอารมณ์นั้นๆ)
นี่ตถาคตเรียกว่า ทุขสมุทยะ ในทั้ง 4 อย่างนั้น

 

ทุกขนิโรธ เป็นอย่างไร? ความปราศจากราคะโดยไม่เหลือคือความดับสนิทซึ่งตฤษณาอันประกอบด้วยการเกิดในภพใหม่นี้ ตฤษณานี้ประกอบด้วยความยินดีและความกำหนัด มีความยินดีในอารมณ์นั้นๆ ทำให้สิ่งอื่นๆ เกิดขึ้นยังจะต้องกลับมาอีก นี่ตถาคตเรียกว่าทุขนิโรธ ในทั้ง 4 อย่างนั้น

 

ทุขนิโรธคามินีประติปัต เป็นอย่างไร อารยมรรคมีองค์ 8 นี้แหละ นั่นคือ สัมยัคทฤษฏิ จึงถึงสัมยักสมาธิ นี่ตถาคตเรียกว่า  ทุขนิโรธคามินีประติปัต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี่คือ อารยสัตย์ 4 เพราะฉะนั้น

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรู้ว่า นี่คือ ทุขะชญานก็เกิดขึ้น จักษุก็เกิดขึ้น
วิทยาก็เกิดขึ้น ภูริ(ปรัชญาหนาแน่น)ก็เกิดขึ้น
เมธา(ปรัชญาเฉลียวฉลาด)ก็เกิดขึ้น
ปรัชญา(ความรอบรู้)ก็เกิดขึ้น
อาโลกะ(แสงสว่าง) ก็ปรากฏขึ้น เพราะพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพราะกระทำมากในธรรมทั้งหลายที่ตถาคตยังไม่เคยได้ยิน

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรู้ว่านี่คือ ทุขสมุทยะ ชญานก็เกิดขึ้น จักษุก็เกิดขึ้น   วิทยาก็เกิดขึ้น   ภูริก็เกิดขึ้น   เมธาก็เกิดขึ้น   ปรัชญาก็เกิดขึ้น   อโลกะก็ปรากฏขึ้น   เพราะพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพราะกระทำมากในธรรมทั้งหลายที่ตถาคตยังไม่เคยได้ยิน

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรู้ว่า นี่คือ ทุขนิโรธ ฯลฯ อาโลกะก็ปรากฏขึ้น เพราะพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ฯลฯ

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรู้ว่า ทุขะนี้ ตนควรรู้ ฯลฯ อาโลกะก็ปรากฏขึ้น ฯลฯ

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรู้ว่า ทุขะสมุทยะนี้ ตนพึงละ ฯลฯ อาโลกะก็ปรากฏขึ้น ฯลฯ

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรู้ว่า ทุขะนิโรธนี้ ตนถึงทำให้ปรากฏ ฯลฯ อาโลกะก็เกิดขึ้น ฯลฯ

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรู้ว่า ทุขะนิโรธคามินีประติปัตนี้ ตนพึงเจริญให้มีขึ้น ฯลฯ

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรู้ว่า ทุขะนี้ตนรู้แล้ว ฯลฯ

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรู้ว่า ทุขะสมุทยะนี้ ตนละได้แล้ว

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรู้ว่า ทุขะนิโรธนี้ ตนทำให้ปรากฏแล้ว

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรู้ว่า ทุขะนิโรธคามินีประติปัต ตนได้เจริญให้มีขึ้นแล้ว ชญานก็เกิดขึ้น จักษุก็เกิดขึ้น วิทยาก็เกิดขึ้น ภูริก็เกิดขึ้น เมธาก็เกิดขึ้น ปรัชญาก็เกิดขึ้น อาโลกะก็ปรากฏขึ้น เพราะพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพราะกระทำมากในธรรมทั้งหลายที่ตถาคตยังไม่เคยได้ยิน

 

* อลมารฺยะ คือ ชญานของพระอารยะที่รู้ว่าพอแล้ว เต็มที่แล้ว

 

** เปานรรภวิกี แปลอีกนัยหนึ่งว่า ประกอบด้วยความมีซ้ำคือมีแล้วอยากมีอีกไม่สิ้นสุด

 

      กระนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชญานทรรศนะ(การเห็นด้วยชญาน) ในอารยสัตย์ทั้ง 4 นี้เวียน 3 รอบ มี 12 อาการอย่างนี้ เกิดขั้นแล้วแก่ตถาคตผู้พิจารณาอย่างถี่ถ้วน  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตยังไม่ประติชญา(ให้คำมั่นสัญญา) ว่า ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมยักสัมโพธิแล้ว ตราบใด ชญานทรรศนะยังไม่เกิดข้นแก่ตถาคต  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดชญานทรรศนะในอารยสัตย์ทั้ง 4 นี้ เวียน 3 รอบ มี 12 อาการอย่างนี้  เกิดขึ้นแก่ตถาคต และเจโตวิมุกติของตถาคตไม่กำเริบ(ไม่เปลี่ยนแปลง) และ ปรัชญาวิมุกติตถาคตทำให้ปรากฏแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น ตถาคตจึงประติชญาได้ว่าตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมยักสัมโพธิแล้ว ตราบนั้นชญานทรรศนะ เกิดขึ้นแล้วแก่ตถาคต ชาติ (ความเกิด)ของตถาคตสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ตถาคตได้อยู่แล้ว (คือได้ประพฤติเสร็จแล้ว) กิจที่ควรทำตถาคตได้ทำแล้ว ตถาคตไม่ต้องจากภพหนึ่งไปสู่ภพแล้ว

 

ในที่นี้ มีคำกล่าวไว้ว่า

 

      31 พระศากยมุนี องค์สวยัมภู ตรัสเรียกเกาณฑินยะ ด้วยพระวาจาดังว่าเสียพรหมเสียงกินนรอันดังขึ้นตั้งพันส่วน ซึ่งได้อบรมมาดีแล้วในความสัตย์ทุกเมื่อตั้งหลายโกฏิกัลปตรัสว่า ฯ

 

      32 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่เที่ยง ไม่แน่นอน เป็นทุกข์ เป็นอนาตมะ เป็นศูนย เป็นสวภาพของคนเขลา ปราศจากความพยายามเหมือนหญ้ายอดด้วน ในที่นี้ไม่มีอาตมะ ไม่มีคน ไม่มีชีวะ ฯ

 

      33 ธรรมทั้งปวงเหล่านี้ มีได้เพราะอาศัยเหตุเหมือนความสว่างในอากาศเห็นได้ไกลยิ่ง ไม่มีผู้ทำ และไม่มีผู้ถูกทำ ไม่มีการทำ ไม่มีสิ่งถูกทำ ไม่มีความชั่วหรือความดี ฯ

 

      34 จริงอยู่ ความทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยสกันธ ดั่งว่านี้เหมือนความเจริญงอกงามของตฤษณา(*) เกิดขึ้นเพราะน้ำ การเห็นแจ้งโดยความเสมอกันในธรรม ย่อมมีด้วยมรรค ความดับสนิทโดยธรรมเป็นเครื่องสิ้นไป ย่อมมีด้วยการหมดสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง ฯ

 

* ท่านใจศัพท์ว่า ตฤษณ แต่น่าจะเป็นตฤณ ซึ่งเปลว่าหญ้า คือหญ้าเจริญงอกงามเพราะน้ำ

 

      35 อวิทยา ย่อมมีเพราะไม่พิจารณาถี่ถ้วนอันเกิดจากการกำหนดด้วยความดำริหรือความมุ่งหมาย และไม่มีอะไรเป็นมูลเหตุของอวิทยานั้นเลย อวิทยายังให้ความเป็นเหตุแห่งสังสการ และไม่มีการก้าวเลยไป วิชญานเกิดขึ้นเพราะอาศัยการก้าวหน้าของสังสการฯ

 

      36 นามคือวิชญาน และรูป เกิดขึ้นแล้ว อินทรีย์ 6ย่อมเกิดขึ้นในนามและรูป อินทรีย์รับอารมณ์ เรียกว่าสปรรศะและเวทนา 3 ย่อมเป็นไปตามสปรรศะ ฯ

 

      37 เวทนาใดๆ ท่านเรียกว่าเป็นไปกับด้วยตฤษณากองทุกข์ทั้งปวงเกิดขึ้นเพราะตฤษณา ความเป็นไปในภพทั้งปวงมีเพราะอุปาทานจริงอยู่ ชาติ(ความเกิด) ย่อมตั้งขึ้นแก่เขา เพราะภพเป็นปรัตยัย ฯ

 

      38 ทุกข์คือชรา พยาธิ ซึ่งบังเกิดขึ้นหายอย่างในกรงคือภพนี้(โลกนี้) ย่อมมีเพราะชาติ (ความเกิด เป็นเหตุ ดังนั้นสภาพทั้งปวงนี้แหละย่อมมีเพราะปรัตยัยของโลก ไม่มีตน และไม่มีบุทคลผู้ดำเนินการใดๆ ฯ

 

      39 ท่านกล่าวว่าบ่อเกิดไม่มีในกัลป (กัลปเจริญ)และไม่มีในวิกัลป (กัลปเสื่อม) ใดๆอนึ่งที่ใด พิจารณาถี่ถ้วน อวิทยาไม่ว่าชนิดใด ย่อมไม่มีในที่นั้น นิโรธ (ความดับสนิท) มีในที่ใดที่นั้นย่อมมีเพราะความไม่มีอวิทยา องค์แห่งภพทั้งปวงหมดสิ้นแล้ว ความสิ้นคือ นิโรธ(ความดับสนิท) ฯ

 

      40 นี่แหละ ตถาคตตรัสรุ้แล้วโดยปรัตยัย เพราะฉะนั้นพระสวยัมภูย่อมพยากรณ์โดยตนเองได้ ตถาคตมิได้กล่าวว่า สกันธ อายตนะและธาตุ เป็นพุทธ พุทธในโลกนี้ ก็มิได้มีเพราะการหยั่งรู้เหตุอย่างอื่น(นอกจากสกันธ อายตนะและธาตุ)

 

      41 และภาคพื้นในโลกนี้ ก็ไม่เป็นบุณยสถานอันใหญ่ยิ่งของผู้เดินทางในความศูนย(ว่างเปล่า) เป็นลักทธิในการประกอบธรรมเช่นนี้ ในโลกนี้ผู้ใดเคยประพฤติเพื่อเป็นพุทธมาแล้ว เป็นสัตว์บริศุทธยิ่ง ผู้นั้นสามารถ เพื่อรู้ธรรมนี้ได้ ฯ

 

      42 จักรคือธรรมมี 12 อาการอย่างนี้แล ตถาคตให้หมุนแล้วและเกาฑินยะได้รู้แล้ว รัตนะ 3 ครบแล้ว

 

      43 รัตนตรัยนั้นคือ พุทธะ ธรรมะ สังฆะ เสืยงดังต่อๆกันไปกระทั่งถึงบุรีเป็นที่อยู่ของพรหม ฯ

 

      44 จักรปราศจากธุลี เพราะโลกนาถผู้เผยแผ่ให้หมุนแล้ว รัตนะทั้งหลาย 3 หายากที่สุดในโลก เกิดขึ้นแล้ว ฯ

 

      45 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้ง 5 มีเกาฑินยะเป็นประถม มีแล้ว เทวดา60 โกฏิ ตถาคตได้ชำระธรรมจักษุ(ดวงตาเห็นธรรม) ให้สะอาดแล้ว ฯ

 

      46 และเทวดารูปพรหมอื่นๆอีก 80 โกฏิ ตถาคตก็ได้ชำระจักษุของเทวดาเหล่านั้นให้สะอาดแล้ว ในการหมุนจักรคือธรรม ฯ

 

      47 มนุษย์ทั้งหลายแปดหมื่นสี่พัน มาประชุมกันแล้ว ตถาคตชำระจักษุของมนุษย์เหล่านั้นให้พ้นจากการฝ้าฟางทั้งปวง ฯ

 

      48 ในกษณะนั้น เสียงกล่าวถึงพระพุทธดังไปในทิศทั้ง 10 ไม่มีที่สุด เป็นเสียงไพเราะจับใจ ได้ยินในอากาศชัดเจน เสียงนั้นว่า พระฤษีศากยมีกำลัง10(ทศพล) เสด็จไปยังฤษิปตนะในมหานครพาราณสี หมุนจักรสูงสุดคือธรรม ไม่ใช่อย่างอื่น ฯ

 

      49 พระพุทธตั้งร้อยในทิศทั้ง 10 บางพวกทรงนิ่งหมด พระโพธิสัตว์ผู้รับใช้ทั้งปวงของพระพุทธเหล่านั้น ถามพระชินว่า พระทศพลทั้งหลายได้ยินเสียงแล้วงดธรรมกถาเพราะเหตุใด ดังจะขอโอกาศ ขอพระองค์โปรดบอกโดยเร็ว เพราะเหตุไร องค์พระทศพลทั้งหลายจึงนิ่งเงียบ ฯ

 

      50 พระทศพลทั้งหลายตรัสว่า โพธิ ตถาคตนำมาแล้วด้วยกำลังความเพียรตั้งร้อยภพในครั้งก่อนๆ โพธิสัตว์หลายแสนพากันหัวหน้าสู่โพธิซึ่งมีความรุ่งเรืองสูง เป็นสวัสดิมงคล ตถาคตผู้ทำประโยชน์นั้นได้บรรลุแล้ว จักรตถาคตให้เป็นไปแล้วโดยหมุน 3รอบ เพราะฉะนั้น พระทศพลทั้งหลายจึงนิ่งเงียบ ฯ

 

      51 พระโพธิสัตว์ร้อยโกฏิได้ยินคำนี้ขอพระทศพลทั้งหลายแล้วทำให้กำลังแห่งไมตรีเกิดขึ้น ได้มุ่งต่อโพธิอันประเสริฐเป็นแดนเกษม ทูลว่าข้าแต่พระมุนี ข้าพระองค์ทั้งหลายศึกษาความตั้งขึ้นแห่งกำลังความเพียร นั้นแล้ว จะเป็นผผุ้ให้จักษุในธรรม(ดวงตาเห็นธรรม อันเป็นโลกุตตมในโลกโดยเร็ว ดั่งนี้ ฯ

 

      ครั้งนั้นแล พระโพธิสัตว์ผู้เป็นมหาสัตว์ พระนามไมเตรยะ ได้ทูลคำนี้กับพระผู้มีภคะว่าข้าแต่พระผู้มีภคะ พระโพธิสัตว์ผู้เป็นมหาสัตว์ทั้งหลายประชุมกันแล้วในโลกธาตุทั้ง 10 ทิศ ใคร่ฟังการตั้งใจกระทำพิเศษซึ่งการหมุนจักรคือธรรมของพระผู้มีภคะอย่างใกล้ชิด ดังจะขอโอกาศ ข้าแต่พระผู้มีภคะ เพราะฉะนั้น ขอพระตถาคตอรหันตสัมยักสัมพุทธโปรดแสดงว่า จักรคือธรรม พระตถาคตให้หมุน แล้วโดยรูปอย่างไร?  พระผู้มีภคะตรัสว่า ดูกรไมเตรยะ
จักรคือธรรมลึกซึ้ง เพราะจะต้องได้รับการจับใจความ
จักรคือธรรมนั้นจึงเห็นยาก เพราะปราศจากทวยะธรรม(*)

 

* ทวยะธรรม คือลัทธิคู่ถือว่าโลกก็จริง ธรรมก็จริง หรือที่มาของโลกก็จริง อาตมันหรือนิรวาณก็จริงลัทธินี้ภาษาปรัชญาตะวันออกเรียกว่า ไทวตวาท (Dualism) คือลัทธิถือทั้ง 2 อย่างเป็นความจริง ส่วนพุทธศาสนานั้นเป็นอทฺวตวาท(Monism) คือความจริงมีอย่างเดียว คือ นิรวาณนอกนั้นไม่จริง

 

จักรคือธรรมนั้นรู้ยาก เพราะไม่คิดสิ่งที่คิด
จักรคือธรรมนั้นคิดยาก เพราะชญานกับวิชญานเกี่ยวข้องเท่าๆกัน
จักรคือธรรมนั้นไม่ขุ่นมัว เพราะได้วิโมกษไม่มีอะไรขัดขวาง
จักรคือธรรมนั้น สุขุม เพราะปราศจากการเปรียบเทียบอย่างหาที่เปรียบมิได้
จักรคือธรรมนั้น เป็นสาระเพราะได้ชญานเปรียบเหมือนเพชร
จักรคือธรรมนั้นไม่แตกร้าว เพราะมีพร้อมทั้งเบื้องต้นและที่สุด
จักรคือธรรมนั้นไม่เนิ่นช้า เพราะปราศจากการปรารภความเนิ่นช้าทั้งปวง
จักรคือธรรมนั้นไม่ประเทือน เพราะมั่นคงที่สุด
จักรคือธรรมนั้นไปได้ทุกแห่ง เพราะมีสภาพเหมือนอากาศ

 

ดูกรไมเตรยะ  ก็จักรคือธรรมนั้นแลเป็นสภาพปรกติแห่งธรรมทั้งปวง
เป็นจักรปราศจากการเปรียบเทียบ
เป็นจักรประกอบด้วยไม่มีความอุบัติ และไม่มีนิโรธ
เป็นจักรไม่มีที่อยู่ 

เป็นจักรแผ่ไปโดยนัยแห่งธรรมไม่มีกำหนด ไม่มีเปลี่ยนแปลง
เป็นจักรศูนยตา(ความศูนย)
เป็นจักรไม่มีนิรมิต(เครื่องหมาย)
เป็นจักรไม่มีที่ตั้ง
เป็นจักรไม่เป็นอภิสังสการ (ไม่ปรุงแต่ง)
เป็นจักรโดดเดี่ยว
เป็นจักรปราศจากราคะ
เป็นจักรปราศจากโทษะ
เป็นจักรที่ตถาคตตรัสรู้แล้ว
เป็นจักรต่างกันโดยธรรมธาตุ
เป็นจักรที่ทำให้สัตว์ตั้งโกฏิกระเทือน
เป็นจักรไม่ติดไม่ขัดขวาง
เป็นจักรพ้นจากทฤษฏีที่สุดสองอย่างโดยหยั่งลงสู่การบรรลุโดยตรง
เป็นจักรธรรมธาตุสายกลางหาที่สุดมิได้ไม่กำเริบ
เป็นจักรเคารพเชื่อฟังกิจการของพระพุทธโดยไม่ต้องคำนึง
เป็นจักรไม่เดินหน้าและถอยหลัง
เป็นจักรที่จะต้องบรรลุถึงครั้งสุดท้าย
เป็นจักรไม่มีทางเข้าและทางออก
เป็นจักรไม่มีคำพูด
เป็นจักรเหมือนจักรปรกติธรรมดา
เป็นจักรหยั่งลงสู่ความสม่ำเสมอในธรรมทั้งปวงในวิษัย(เรื่อง)เดียวกัน
เป็นจักรตั้งมั่นในวินัยของสัตว์ไม่มีกษณะและเวียนขึ้นเบื้องบนไปโดยเฉพาะ
เป็นจักรแล่นเข้าไปสู่นัยแห่งประมัตถ์(เนื้อความสูงสุด) ที่จัดเข้าอยู่ในอัทวยะวาทะ(**)

 

** อัทวยะวาทะ คือ ลัทธิถือไม่มีสอง เห็นว่าความจริงมีอย่างเดียวไม่ใช่มีสอง ปฏิเสธสมมติทั้งหมดนิรวาณอย่างเดียวจริง นอกนั้นเป็นเรื่องสมมติไม่จริง คำนี้ตามภาษาปรัชญาตะวันออกเรียกว่า อไทฺวตวาท

 

เป็นจักรหยั่งลงสู่ธรรมธาตุ

 

จักรคือธรรมนั้นอยู่เหนือการพิสูจน์
จักรคือธรรมนั้นอยู่เหนือการประมาณ(พิสูจน์)ทั้งหมด
จักรคือธรรมกนั้นไม่มีจำนวนล่วงพ้นจำนวนทั้งหมด
จักรคือธรรมนั้นเป็นอจินตัย(คิดไม่ถึง) พ้นแนวทางที่จะคิด
จักรคือธรรมนิ้น ชั่งไม่ได้ ปราศจากการชั่ง
จักรคือธรรมนั้นไม่มีคำพูด พ้นคลองแห่งเสียงร้องเสียงกึกก้องและคำพูดทั้งปวง พิสูจน์ไม่ได้อนุมานไม่ได้(***) อุปมาณไม่ได้(*4) ไม่มีการขาดศูนยเหมือนอากาศ ไม่ใช่ศาศวตะ(*5) หยั่งลงสู่การอาศัยซึ่งกันและกันไม่มีการขัดขวางมีความสงบ สงบระงับที่สุด เป็นความจริงถ่องแท้ เป็นภาวะแห่งตถา(ความจริง) วิตถา (ความไม่จริง) นันยถา (ไม่ใช่สิ่งอื่น) อนันยถา(ไม่ใช่สิ่งอื่นหามิได้) ข่มมารให้พ่ายแพ้ ล่วงพ้นพวกเดียรถีย์(*6)ทั้งหลาย ข้ามพ้นจากวิษัยแห่งโลก
เป็นจักรที่พระอารยบุทคลผู้รู้ในพุทธวิษัยตรัสรู้แล้ว 

เป็นจักรที่ประปรัตเยกพุทธทั้งหลายถือเอาแล้ว
เป็นจักรที่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายสรรเสริญแล้ว
เป็นจักรที่พระพุทธทั้งปวงไม่ผิดแปลกกับพระตถาคตทั้งปวง

 

*** อนุมาน รู้โดยอาศัยเหตุผล

 

*4 อุปมาน รู้โดยอาศัยการเปรียบเทียบความคล้ายคลึงกัน

 

*5 ศาศวตะ คือ เห็นว่าโลกเที่ยง

 

*6 พวกเดียรถีย์ คือ ผู้ตั้งลัทธิอื่นนอกจากพุทธศาสนา

 

ดูกรไมเตรยะ จักรคือธรรมมีลักษณะอย่างนี้ ผู้ที่หมุนเรียกว่าตถาคต (ผุ้มาหรือไปอย่างเดียวกันตามคติพุทธประเพณี)

 

เรียกว่า สัมยักสัมพุทธ
เรียกว่า สวยัมภู
เรียกว่า ธรรมสวามี
เรียกว่า นายก(ผู้รู้นัย)
เรียกว่า วินายก(ผู้นำพิเศษ) 

เรียกว่า ปริณายก 

เรียกว่า สารถวาหะ(หัวหน้าพวกพ่อค้า) 

เรียกว่า สรรพธรรมวศวรรตี(ผู้เป็นไปในอำนาจธรรมทั้งปวง) 

เรียกว่า ธรรมเมศวร(ผู้เป็นใหญ่ในธรรม)
เรียกว่า ธรรมจักรประวรรติ(ผุ้หมุนจักรคือธรรม)
เรียกว่า ธรรมทานปติ (เจ้าแห่งผู้ประทานธรรม)
เรียกว่า ยัชญสวามี (ผู้เป็นเจ้าแห่งยัชญ)
เรียกว่า สุยัษฏยัชญ (ผู้บูชายัชญเป็นอย่างดี)
เรียกว่า สิทธิพรต (ผู้มีพรตสำเร็จ)
เรียกว่า บูรณาภิปรายะ (ผู้สมบูรณ์ตามความตั้งใจ)
เรียกว่า เทศิกะ (ผู้เทศน์)
เรียกว่า อาศวาสกะ (ผู้ปลอบ)
เรียกว่า เขมังกระ (ผู้ทำความปลอดภัย)
เรียกว่า ศูระ (ผู้กล้า)
เรียกว่า รัณญชนหะ (ผู้เลิกสงคราม)
เรียกว่า วิชิตสังครามะ (ผู้ชนะสงคราม)
เรียกว่า อุจฉริตธวชะปตาก (ผู้ยกธงชัยธงปตาก
เรียกว่า อาโลกะกระ (ผู้ทำแสงสว่าง)
เรียกว่า ประภังกระ (ผู้ทำรัศมี)
เรียกว่า ตโมนุทะ (ผู้กำจัดมือ)
เรียกว่า อุลกาธารี (ผู้ถือคบเพลิง)
เรียกว่า มหาไวทยะราชา (ผู้เป็นนายแพทย์ใหญ่)
เรียกว่า ภูตจิกิตสกะ (ผู้รักษาโรคของผู้มีชีวิต)
เรียกว่า มหาศัลยหรรตา (ผู้ถอนหอกใหญ่)
เรียกว่า วิติมิรชญานทรรศนะ (ผู้มีชญานทรรศนะไม่มืดมัว)
เรียกว่า สมันตทรรศี (ผู้เห็นรอบด้าน)
เรียกว่า สมันตวิโลกิตะ (ผู้เหลียวแลรอบด้าน)
เรียกว่า สมันตจักษุ ผู้มีตารอบด้าน)
เรียกว่า สมันตประภะ (ผู้มีรัศมีรอบด้าน)
เรียกว่า สมันตาโลก (ผู้มีแสงสว่างรอบด้าน)
เรียกว่า สมัตมุข (ผู้มีหน้ารอบด้าน)
เรียกว่า สมันตประภากระ (ผู้ทำรัศมีรอบด้าน)
เรียกว่า สมันตจันทระ (ผู้มีดวงจันทร์รอบด้าน)
เรียกว่า สมันตปราสาทิกะ (ผู้มีกิริยาท่าทางงามรอบด้าน)
เรียกว่า อประดิษฐานายูหานิรยูหา (ผู้ไม่มีประตูเข้าประตูออก)
เรียกว่า ธรณีสมะ (ผู้เสมอด้วยแผ่นดิน) เพราะถึงความไม่ฟูขึ้นและไม่ฟุบลง
เรียกว่า ไศเลนทระสมะ (ผู้เสมอด้วยภูเขาหิน) เพราะไม่กระเทือนไหวหวั่น
เรียกว่า สรรพโลกศรี (ผู้เป็นสิริมงคลของโลกทั้งปวง) เพราะประกอบด้วยคุณแก่โลกทั้งปวง
เรียกว่า อนวโลกิตมูรธะ (ยอดแห่งผู้ไม่เหลียวแลคือเสียสละ) เพราะถอนตนออกจากโลกแล้ว
เรียกว่า สมุทรกัลปะ (กำหนดด้วยมหาสมุทร) เพราะลึกและหยั่งไม่ถึง
เรียกว่า ธรรมรัตนากร (ผู้เป็นเหมืองรัตนะคือธรรม) เพราะเต็มไปด้วยรัตนะคือ ธรรมเป็นฝ่ายตรัสรู้ทั้งปวง
เรียกว่า วายุสมะ (ผู้เสมอด้วยลม) เพราะไม่อยู่เป็นที่
เรียกว่า อสังคพุทธิ (ผู้มีความรู้ไม่ติดไม่ข้อง) เพราะจิตไม่ติดและพ้นแล้วจากเครื่องผูกพัน
เรียกว่า อไววรรติกธรรม (ผู้มีธรรมไม่เปลี่ยนแปลง) เพราะรู้ความไม่ไหวหวั่นแห่งธรรมทั้งปวง
เรียกว่า เดชะสมะ (ผู้เสมอด้วยไฟ) เพราะปรากฏว่าเผาเกลศทั้งปวงด้วยการละความเข้าใจผิดทั้งหมดอัน  ยากจะเข้าถึง
เรียกว่า อัปสมะ (สดใส) เพราะมีความดำริไม่ขุ่นมัว มีกายและจิตไม่มีมลทินลอยบาปไปแล้ว
เรียกว่า อากาศสมะ (ผู้เสมอด้วยอากาศ) เพราะมีชญานไม่ติด มีชญานเที่ยวไปในอารมณ์ ไม่มีสิ้นสุดเห็นเป็นธรรมธาตุกลางๆ
เรียกว่า อนาวรณชญาน วิโมกษวิหารี (ผู้อยู่ในวิโมกษคือความหลุดพ้นมีชญานไม่ถูกขัดขวาง) เพราะละเสียแล้วซึ่งธรรมเป็นเครื่องขัดขวางต่างๆ
เรียกว่า สรรพธรรมธาตุประสฤตกายะ (ผู้มีกายผูกพันอยู่กับธรรมธาตุทั้งปวง) เพราะสิ่งที่ผ่านคลองจักษุเป็นสิ่งเสมอด้วยอากาศ
เรียกว่า อุตมสัตวะ (สัตว์ผู้สูงสุด ) เพราะไม่มัวหมองด้วยอารมณ์ของโลกทั้งปวง
เรียกว่า อสังคสัตวะ (สัตว์ผู้ไม่ติด)
เรียกว่า อปรมาณพุทธิ (ผู้มีความรู้พิสูจน์ไม่ได้)
เรียกว่า โลโกตตระธรรมเทศิกะ (ผู้แสดงธรรมที่พ้นโลก)
เรียกว่า โลกาจารยะ (ผู้เป็นอาจารย์ของโลก)
เรียกว่า โลกไวทยะ (นายแพทย์ของโลก)
เรียกว่า โลกาภยุทคตะ (ผู้อยู่เหนือโลก )
เรียกว่า โลกาธรรมานุปลิปตา (ผู้ไม่ถูกโลกธรรมทำให้เปรอะเปื้อน)
เรียกว่า โลกนาถะ (ผู้เป็นที่พึ่งของโลก)
เรียกว่า โลกเชษฐะ(ผู้เจริญที่สุดในโลก)
เรียกว่า โลกเศรษฐะ (ผู้ประเสริฐที่สุดในโลก
เรียกว่า โลเกศวระ (ผู้ใหญ่ยิ่งในโลก)
เรียกว่า โลกมหิตะ (ผู้ที่โลกเขาบูชา)
เรียกว่า โลกปรายณะ (ผู้เป็นที่ยึดเหนี่ยวของโลก)
เรียกว่า โลกปารัรงคตะ (ผู้ถึงฝั่งโลก)
เรียกว่า โลกประทีปะ (ผู้เป็นประทีปของโลก)
เรียกว่า โลโกตตระ (ผู้สูงสุดของโลก)
เรียกว่า โลกคุรุ (ผู้คุรุของโลก)
เรียกว่า โลการถกระ(ผู้ทำประโยชน์ให้แก่โลก)
เรียกว่า โลกานุวรรตกะ (ผู้คล้อยตามโลก)
เรียกว่า โลกวิทิต (รู้แจ้งโลก)
เรียกว่า โลกาธิปเตยปราปตะ (ผู้ถึงความเป็นอธิปไตยของโลก)
เรียกว่า มหาทักษิณียะ (ผู้ควรแก่ทักษิณาใหญ่ยิ่ง)
เรียกว่า ปูชารหะ (ผู้ควรแก่การบูชา)
เรียกว่า มหาปุณยเกษตระ (ผู้เป็นเนื้อนาบุณยใหญ่ยิ่ง)
เรียกว่า มหาสัตวะ (ผู้เป็นสัตว์ใหญ่ยิ่ง)
เรียกว่า อครสัตวะ (ผู้เป็นสัตว์สุงส่ง)
เรียกว่า วรสัตวะ (ผู้เป็นสัตว์ประเสริฐ)
เรียกว่า ประวรสัตวะ (ผู้เป็นสัตว์ประเสริฐยิ่ง)
เรียกว่า อตตมะสัตวะ (ผู้เป็นสัตว์สูงสุด)
เรียกว่า อนุตตระสัตวะ (ผู้เป็นสัตว์ไม่มีใครสูงกว่า)
เรียกว่า อสมะสัตวะ (ผู้เป็นสัตว์ไม่มีใครเสมอ)
เรียกว่า อสทฤศะสัตวะ (ผู้เป็นสัตว์ไม่มีใครเหมือน)
เรียกว่า สตตะสมาหิตะ (ผู้ตั้งมั่นตลอดไป)
เรียกว่า สรรพธรรมสมตาวิหารี(ผู้เป็นอยู่อย่างสม่ำเสมอในธรรมทั้งปวง)
เรียกว่า มารคปราปตะ (ผู้บรรลุมรรค)
เรียกว่า มารคทรรศกะ (ผู้ชี้มรรค)
เรียกว่า มารคเทศิกะ (ผู้แสดงมรรค)
เรียกว่า สุประติษฐิตมารคะ (ผู้ตั้งอยู่ในมรรคเป็นอย่างดี)
เรียกว่า มารวิษยะสมะติกรานตะ (ผู้ล่วงพ้นวิษัยของมาร)
เรียกว่า มารมัณฑละวิธวังสะกระ (ผู้ทำการทำลายมณฑลของมาร)
เรียกว่า อชรามระศีติภาวะ (ผู้มีความเย็นเพราะไม่มีแก่และตาย)
เรียกว่า วิคตะตโมน์ธะการะ (ผู้ปราศจากความมืดอนธการ)
เรียกว่า วิคตะกัณฏกะ (ผู้ปราศจากขวากหนาม)
เรียกว่า วิคตะกางกษะ (ผู้ปราศจากความสงสัย)
เรียกว่า วิคตะเกลศะ (ผู้ปราศจากเกลศ)
เรียกว่า วินีตะสังศยะ (ผู้นำความสงสัยออกแล้ว)
เรียกว่า วิมติสมุทธะฏิตะ (ผู้ถอนความสงสัย)
เรียกว่า วิรักตะ (ผู้ปราศจากการย้อม)
เรียกว่า วิมุกตะ(ผู้หลุดพ้น)
เรียกว่า วิศุทธะ (ผู้บริศุทธ)
เรียกว่า วีตราคะ (ผู้ปราศจากราคะ)
เรียกว่า วิตโทษะ (ผู้ปราศจากโทษะ)
เรียกว่า วีตโมหะ (ผู้ปราศจากโมหะ)
เรียกว่า กษีณาศรวะ (ผู้สิ้นอาศรวะแล้ว)
เรียกว่า นิเกลศ (ผู้สิ้นเกลศแล้ว)
เรียกว่า วศีภูตะ (ผู้มีอำนาจ)
เรียกว่า สุวิมุกตจิตตะ (ผู้มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว)
เรียกว่า สุวิมุกตปรัชญา (ผู้มีปรัชญาเป็นเครื่องหลุดพ้นอย่างดี)
เรียกว่า อาชาเนย (ผู้รู้ฉับไว)
เรียกว่า อปหฤตภาระ (ผู้นำภาระออกไปแล้ว)
เรียกว่า อนุปราปตะสวการถะ (ผู้บรรลุประโยชน์ของตน)
เรียกว่า ปริกษีณภวสังโยชนะ (ผู้ภาวะสังโยชน์คือเกลศเครื่องทำให้ติดอยู่ในภพสิ้นแล้ว)
เรียกว่า สมตาชญานวิมุกตะ (ผู้มีชญานและวิมุกติเท่ากัน)
เรียกว่า สรรพเจโตวาศิปรมปารมิตปราปตะ (ผู้บรรลุบารมิตาอย่างยอดอันเป็นอำนาจทางจิตทั้งปวง)
เรียกว่า ทานปราคะ (ผู้ถึงฝั่งแห่งการให้ทาน)
เรียกว่า ศีลาภยุทคตะ (ผู้มีศีลชั้นสูง)  
เรียกว่า กษานติปารคะ (ผู้ถึงฝั่งแห่งกษานติ
เรียกว่า วีรยาภยุทฺคตะ(ผู้มีความเพียรสูง)
เรียกว่า ธยานภิชญาปราปตะ (ผู้บรรลุธยานและอภิชญา)
เรียกว่า ปรัชญาปารังคตะ (ผู้ถึงฝั่งแห่งปรัชญา)
เรียกว่า สิทธประณิธาน (ผู้สำเร็จตามความตั้งใจ)
เรียกว่า มหาไมตระวิหารี (ผู้อยู่อย่างมีมหาไมตรี)
เรียกว่า มหากรุณาวิหารี (ผู้อยู่อย่างมีมหากรุณา)
เรียกว่า มหามุทิตาวิหารี (ผู้อยู่อย่างมีมหามุทิตา)
เรียกว่า มโหเปกษาวิหารี (ผู้อยู่อย่างมีมหาอุเบกษา)
เรียกว่า สัตวะสังครหะประยุกตะ (ผู้ประกอบในการช่วยเหลือสัตว์ทั้งหลาย)
เรียกว่า อนาวรณะประติสังวิตปราปตะ (ผู้บรรลุความระลึกได้อันไม่มีอะไรขัดขวาง)
เรียกว่า ประติสรณะภูติ (ผู้เกิดเป็นที่พึ่ง)
เรียกว่า มหาปุณยะ (ผู้มีบุณยมาก)
เรียกว่า มหาชญานี (ผู้มีชญานมาก)
เรียกว่า สมฤติ มติ คติ พุทธิ สัมปันนะ (ผู้ถึงพร้อมด้วย สมฤติ มติ คติ และพุทธิคือความรู้)
เรียกว่า ผู้บรรลุแสงสว่าง คือสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ ศมถะ และวิทรรศนา
เรียกว่า อุตตีรณะสังสารารณวะ (ผู้ข้ามมหาสมุทรคือสังสาร)
เรียกว่า ปารคะ (ผู้ถึงฝั่ง)
เรียกว่า สถลคตะ (ผู้ขึ้นบกได้แล้ว)
เรียกว่า เกษมปราปตะ (ผู้บรรลุความเกษมคือปลอดภัย)
เรียกว่า อภยะปราปตะ (ผู้บรรลุความไม่มีภัย)
เรียกว่า มรทิตะเกลศะกัณฏกะ (ผู้ขยี้หนามคือเกลศ)
เรียกว่า ปุรุษ (ชาย)
เรียกว่า มหาปุรุษ (ชายใหญ่)
เรียกว่า ปุรุษสิงหะ (ชายชาติราชสีห์)
เรียกว่า วิคตะภยะโลมะหรษณะ (ผู้ปราศจากความกลัวและขนพองสยองเกล้า)
เรียกว่า นาคะ (ผู้ประเสริฐ)
เรียกว่า นิรมละ (ผู้ปราศจากมลทิน)
เรียกว่า ตริมละมละประหีณะ (ผู้ละมลทินคือมลทินทั้ง3)
เรียกว่า เวทกะ (ผู้รู้)
เรียกว่า ไตรวิทยานุปราปตะ (ผู้บรรลุวิชา3)
เรียกว่า จตุโรโฆตตีรณะ (ผู้ข้ามโอฆะทั้ง4)
เรียกว่า ปารคะ (ผู้ถึงฝั่ง)
เรียกว่า กษัตริยะ (ชายชาตินักรบ)
เรียกว่า พราหมณะ (ผู้ลอยบาป)
เรียกว่า เอกรัตนะฉัตรธารี (ผู้ถือฉัตรแก้วเอก)
เรียกว่า วิหิตปารธรรม (ผู้ลอยธรรมที่มีฝั่งคือเกลศ)
เรียกว่า ภิกษุ (ผู้เห็นภัยในสังสาร)
เรียกว่า ภินนาวิทยาณฑโกศะ (ผู้ทำลายฝักไข่แห่งอวิทยา)
เรียกว่า ศรมณะ (ผู้สงบ)
เรียกว่า อรรถสังคะปถะสมติกรานตะ (ผู้ล่วงพ้นทางที่ติดอยู่ในความต้องการ)
เรียกว่า โศรตริยะ (ผู้จบไตรเพท)
เรียกว่า นิสฤตเกลศะ (ผู้ออกจากเกลศ)
เรียกว่า พลวาน (ผู้มีกำลัง)
เรียกว่า ทศพลธารี (ผู้ทรงกำลัง10)
เรียกว่า ภควาน (ผู้มีภคะ)
เรียกว่า ภาวิตะ (ผู้ทำให้มรรคเกิดขึ้น)
เรียกว่า ราชาติราช (ผู้เป็นพระราชาเหนือราชาอื่นๆ)
เรียกว่า ธรรมราช(ผู้เป็นใหญ่ในธรรม)
เรียกว่า วรประวระธรรมจักรประวรรติ (ผู้หมุนจักรคือธรรมอันประเสริฐดียิ่ง)
เรียกว่า อโกปยธรรมเทศกะ (ผู้แสดงธรรมอันไม่กำเริบ)
เรียกว่า สรรพัชญะชญานาภิเษกะ(ผู้อภิเษกด้วยชญานสรรวัชญ)
เรียกว่า ผู้มีผ้าโพกส่องแสงปราศจากมลทินคือมหาชญานอันไม่ข้องติด
เรียกว่า ผู้ประกอบด้วยรัตนะคือโพชฌงค์7
เรียกว่า สรรพธรรมวิเศษปราปตะ (ผู้บรรลุธรรมวิเศษทั้งปวง)
เรียกว่า โพธิสัตวะมหาสัตวะปุตรปริวาระ(ผู้บุตรคือพระโพธิสัตว์ผู้เป็นมหาสัตว์แวดล้อมแล้ว)
เรียกว่า สุวินีตะวินยะ (ผู้แนะนำวินัยเป็นอย่างดี)
เรียกว่า สุวยากฤตโพธิสัตวะ (ผู้พยากรณ์พระโพธิสัตว์เป็นอย่างดี)
เรียกว่า ไวศรวณะสทฤศะ (ผู้เหมือนไวศรวณ์)
เรียกว่า สัปตารยธนะวิศราณิตโภคะ (ผู้มีอริยทรัพย์7หลั่งไหลมาสู่คลัง)
เรียกว่า ตยักตยตยาคะ (ผู้เสียสละสิ่งที่ควรสละ)
เรียกว่า ผู้ประกอบด้วยสุขสมบัติทั้งปวง
เรียกว่า ผู้ตัดความปรารถนา
เรียกว่า สรรพโลกหิตสุขานุปาลกะ (ผู้รักษาประโยชน์และความสุขของโลกทั้งปวง)
เรียกว่า อินทรสมะ (ผู้เสมอด้วยองค์อินทร์)
เรียกว่า ชญานพละวัชรธารี (ผู้ถือวัชราวุธคือกำลังชญาน)
เรียกว่า สมันตเนตระ (ผู้มีพระเนตรรอบด้าน)
เรียกว่า สรรพธรรมานาวรณชญานทรรศี (ผู้มีชญานทรรศนะไม่มีอะไรขัดขวางในธรรมทั้งปวง)
เรียกว่า สมันตชญานวิกุรวณะ (ผู้กระทำพิเศษซึ่งชญานรอบด้าน)
เรียกว่า วิปุลธรรมนาฏกะทรรศนะประวิษฏะ (ผู้เข้าไปดูละคอนคือธรรมอันไพบูลย์)
เรียกว่า จันทรสมะ (ผู้เสมอด้วยดวงจันทร์)
เรียกว่า ผู้เห็นว่าโลกทั้งปวงไม่มีความอิ่ม
เรียกว่า สมันตวิปุลวิศุทธประภะ (ผู้มีรัศมีไพบูลย์บริศุทธรอบด้าน)
เรียกว่า ปรีติปราโมทยกรประภะ (ผู้มีรัศมีกระทำให้เกิดปรีติปราโททย์)
เรียกว่า สรรพสัตวาภิมุขทรรศนาภาสะ (ผู้มีแสงสว่างส่องตรงไปยังสรรพสัตว์)
เรียกว่า ผู้ถึงแสงสว่างอันเป็นภาชนะที่รองรับจิตของโลกทั้งปวง
เรียกว่า มหาวยูหะ (ผู้มีวิมานใหญ่)
เรียกว่า ผู้มีหมู่ดาวคือพระไศกษะ(*7)และพระอไศกษะ(*8) แวดล้อม

 

*7 พระไศกษะ คือ พระอริยบุทคล 7 จำพวก ได้แก่ พระโสดามรรค พระโสดาผล พาะสกิทาคามรรค พระสกิทาคาผล พระอนาคามิมรรค พระอนาคามิผล พระอรหัตมรรค

 

*8 พระอไศกษะ คือ พระอรหัตผล

 

เรียกว่า ผู้เสมอด้วยมณฑลแห่งดวงอาทิตย์
เรียกว่า ผู้กำจัดความมืดคือโมหะ
เรียกว่า มหาเกตุราช (ผู้เป็นดาวเกตุดวงใหญ่)
เรียกว่า ผู้มีรัศมีหาประมาณมิได้ไม่สิ้นสุด
เรียกว่า มหาวภาสสันทรรศกะ (ผู้แสดงแสงสว่างมาก)
เรียกว่า ผู้ไม่งมงายแสดงโด้ตอบปรัศนาทั้งปวง
เรียกว่า ผู้กระทำการจำกัดความมืดใหญ่คืออวิทยา
เรียกว่า ผู้มีปัญญาไม่มีกำหนดด้วยการแลดูด้วยแสงสว่างคือชญานอันใหญ่ยิ่ง
เรียกว่า ผู้มีอินทรีย์เปล่งรัศมีสม่ำเสมอไปยังโลกด้วยมหาไมตรี ความเอ็นดู ความกรุณา
เรียกว่า ผู้มีมณฑลแห่งปรัชญาบารมิตา ลึก ยากที่จะเข้าถึง ยากที่จะมองเห็น
เรียกว่า พรหมสมะ (ผู้เสมอด้วยพรหม)
เรียกว่า ประศานเตรยาปถะ (ผู้มีอิริยาบถสงบระงับ)
เรียกว่า ผู้ประกอบด้วยคุณพิเศษแห่งจรรยาความประพฤติในทางของพระอารยะทั้งปวง
เรียกว่า ปรมรูปธารี (ผู้ทรงรูปอย่างดีเลิศ)
เรียกว่า อเสจนกะทรรศนะ (ผู้เห็นสิ่งที่ไม่ไหล)
เรียกว่า ศานเตนทรียะ (ผู้มีอินทรีย์สงบระงับ)
เรียกว่า ศมถสัมภาระปริปูรณะ (ผู้บริบูรณ์ด้วยสัมภาระคือความสงบ)
เรียกว่า อุตตมศมถปราปตะ(ผู้บรรลุความสงบสูงสุด)
เรียกว่า ปรมทมศมถปราปตะ (ผู้บรรลุการทรมานอินทรีย์และความสงบเป็นอย่างยิ่ง)
เรียกว่า ผู้สมบูรณ์ด้วยสัมภาระคือศมถะ และวิทรรศนา
เรียกว่า ผู้ปกครองอินทรียน์ชนะอินทรีย์แล้ว เหมือนช้างฝึกไว้ดีแล้ว เหมือนสระมีน้ำไม่ขุ่นเป็นน้ำใส
เรียกว่า ผู้ละได้เป็นอย่างดี ซึ่งเครื่องขัดขวางพร้อมทั้งเกลศและวาสนา
เรียกว่า ผู้ประกอบด้วยบุรุษลักษณะ 32
เรียกว่า บรมบุรุษ (ชาติยอดเยี่ยม)
เรียกว่า ผู้มีร่างกายงามวิจิตรมีอนุพยัญชนะ (อวัยวะส่วนย่อย) 80 เป็นบริวาร
เรียกว่า บุรุษรษภะ (ชายเลิศ)
เรียกว่า ผู้ประด้วยกำลัง 10
เรียกว่า ผู้บรรลุไวศารัทยะ (ธรรมที่ทำให้แกล้วกล้าอาจหาญ) 4 อย่าง เป็นสารถีฝึกหัดคน ไม่มีใครยิ่งกว่า เรียกว่าองค์ศาสดา
เรียกว่า ผู้บริบูรณ์ด้วยเวณิกธรรมของพระพุทธเจ้า 18 อย่าง
เรียกว่า ผู้มีการงานทางกาย วาจา ใจ ไม่มีที่ติ
เรียกว่า ผู้อยู่โดยความศูนยเพราะมีมณฑลแห่งชญานทรรศนะได้รับการชำระให้สะอาดดีแล้ว โดยเข้าถึงความประเสริฐแห่งอาการทั้งปวง
เรียกว่า ผู้อยู่โดยไม่มีนิรมิตเครื่องหมาย เพราะตรัสรู้ความสม่ำเสมอในประตีตยสมุตปาทะ
เรียกว่า ผู้อยู่โดยไม่มีที่ตั้งเพราะแทงทะลุนัยปรมารถสัตยะ(ความจริงที่มีความหมายสูงสุด)
เรียกว่า ผู้มีการไม่ตกแต่งคือไม่ปรับปรุงอารมณ์ 
เพราะไม่ถูกฉาบทาด้วยการดำเนินการทั้งปวง
เรียกว่า ภูตวาที (พูดตามที่ปรากฏ) เพราะยังเคารพในสังขารทั้งปวง
เรียกว่า อวิตถ อนันยถาวาที คือเป็นคำพูดไม่คลาดเคลื่อน ไม่พูดไปอย่างอื่น เพราะมีชญานไม่กำเริบในสัตว์ทั้งโกฏิเป็นอารมณ์เรียกว่าผู้ได้รับอรัณยธรรม(ธรรมสำหรับอยู่ในป่า)เป็นอย่างดี เพราะมีอารมณ์แห่งธรรมธาตุ คือความจริงอันถ่องแท้ไม่มีลักษณะอย่างไรเช่นเดียวกับลักษณะของอากาศ
เรียกว่า ผู้มีการเห็นและการฟังไม่เป็นการโมฆะ เพราะเป็นผู้ที่อยู่ในธรรมทั้งปวงซึ่งมีความเสมอด้วยการเล่นกล พยับแดด ความฝัน และแสงเงาดวงจันทร์ในน้ำ
เรียกว่า ผู้ก้าวไปสู่บทอันไม่เป็นโมฆะ เพราะเป็นผู้ยังเหตุบรรลุนิรวาณให้เกิดขึ้น
เรียกว่า ยกความลำบากคือพ้นความลำบากเพราะองอาจแล้วกล้าในวินัยของสัตว์
เรียกว่า ผู้หยุดการเดินเพราะตัดขาดอวิทยา ภวตันหาแล้ว
เรียกว่า ผู้ชนะข้าศึกคือเกลศมาร เพราะทรงแสดงเป็นอย่างดีซึ่งข้อปฏิบัติอันจะนำสัตว์ออกจากโลก
เรียกว่า ผู้ข้ามพ้นจากหล่มคือกาม เพราะไม่เปรอะเปื้อนด้วยความประพฤติอันเป็นวิษัยของมารทั้งปวง
เรียกว่า ผู้ลดลงซึ่งธงคือมานะ (ความถือตัว) เพราะล่วงพ้นกามธาตุ
เรียกว่า ผู้ชักขึ้นซึ่งธงคือปรัชญา เพราะล่วงพ้นรูปธาตุ
เรียกว่า ผู้ล่วงพ้นวิษยของโลกทั้งปวง เพราะล่วงอารูปยธาตุ (ธาตุที่ไม่มีรูปหรือเรียกว่าอรูปธาตุ)
เรียกว่า มหาทรุมะ (สมทุมพุ่มใหญ่) เพราะมีมีชญานในธรรมกายเป็นเรือนร่าง
เรียกว่า เป็นผู้มีสภาพเหมือนดอก มะเดื่อ เพราะสมบูรณ์ด้วยผล(มีผลดอก) คือวิมุกติมีดอกคือชญานรัตนะมีคุณหาที่สุดมิได้บานแล้ว
เรียกว่า ผู้เสมอด้วยรัตนะคือจินดามณีอันเป็นราชาแห่งแก้วมณีอันเป็นราชาแห่งแก้วมณี เพราะเห็นความปรากฏแห่งธรรมอันยากที่จะเห็นได้  
เรียกว่า มีพระบาทตั้งอยู่ดีแล้ว เพราะมีความตั้งใจในนิรวาณสมบูรณ์ดีแล้วตามนัย
เรียกว่า ผู้มีพระบาทประดับด้วยจักรซึ่งมีกำ(ซี่จักร)พันหนึ่งเวียนขวาเป็นรูปสวัสติกะงามเพราะสมาทานการบริจาค ศีล ประพฤติตบะ พรหมจรรย์มั่นคงไม่ง่อนแง่นไม่คลอนแคลน
เรียกว่า ผู้มีซ่นพระบาทยาว เพราะรักษาเลี้ยงดูมารดา บิดา ศรมณะพราหมณ์ครู และผู้ตั้งอยู่ในธรรมซึ่งเป็นทักษิณียบุทคล และเสียสละให้แก่ผู้ถึงศรณะ(ผู้นับถือพระรัตนะตรัยเป็นที่พึ่ง ทั้งหลาย
เรียกว่า ผู้มีนิ้วยาว เพราะงดเว้นปาณาติบาตตลอดกาลนาน
เรียกว่า ผู้มีพระบาทลาดขึ้นเป็นอันมาก เพราะงดเว้นจากปาณาติบาตและให้ผู้อื่นงดเว้นด้วยตลอดกาลนาน
เรียกว่า ผู้มีพระหัตถ์และพระบาทมีรูปตาข่าย เพราะเข้าไปประติบัทบำรุงมารดา บิดา ศรมณะ พราหมณ์ ครู ทักษิณียบุทคลด้วยการอาบน้ำให้ทาแป้งชโลมเนย ชโลมน้ำมัน นวดเฟ้นร่างกายด้วยมือตนเองตลอดกาลนาน
เรียกว่า ผู้มีฝ่าพระบาทสูง เพราะศึกษาดีแล้ว ซึ่งความฉลาดในการสงเคราะห์สัตว์ทั้งหลายด้วยข่ายคือสังครหวัสตุได้แก่ ทาน(การให้ บริยวัทยตา (ความเป็นผู้เจรจาน่ารัก) อรรถกริยา(ทำประโยชน์)สมานารถตา(ความเป็นผุ้มีประโยชน์สม่ำเสมอ)ตลอดกาลนาน
เรียกว่า 
ผู้มีขุมขนเวียนขวาปลายชี้บน เพราะตถาคตหยั่งลงสู่รากเหง้า แห่งกุศลมูลสูงยิ่งและประเสริฐกว่า ตลอดกาลนาน
เรียกว่า  ผู้มีขาท่อนล่างเหมือนขาเนื้อทราย เพราะกระทำประทักษิน เจดีย์ของมารดา บิดา ศรมณะ พราหมณ์ ครู พระตถาคตผู้เป็นทักษิณียบุทคล ฟังธรรม ทำความเคารพ 
ประกอบธรรมเทศนาด้วยขนลุกขนพอง และยังสัตว์อื่นให้ขนลุกขนพองตลอดกาลนาน
เรียกว่า 
ผู้มีองคชาตซ่อนอยู่ในฝัก เพราะฉลาดในการกระทำความดีมาตลอดกาลนาน ฟังธรรม เรียนธรรม จำธรรม บอกธรรม สิ้นสงสัยขยายออกไปถึงบทธรรมที่มีเนื้อความอันจะให้ผู้อื่นรู้ และเพราะกระทำความดีด้วยการให้สรณาคมแก่สัตว์ทั้งหลาย ผู้บ่ายหน้าต่อชรา พยาธิ มรณะ และ รู้เคารพเทศนา
เรียกว่า  ผู้มีแขนยาว เพราะอนุเคราะห์พรหมจรรย์แก่ศรมณะพราหมณ์ทั้งหลาย และแก่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลายอื่นๆ นอกจากศรมณะพราหมณ์เหล่านั้น ให้การตกแต่งทั้งปวง ให้กำลังแก่ชีเปลือย ไม่ไปสมสู่กับภรรยาผู้อื่นประกาศสรรเสริญคุณของพรหมจรรย์ รักษาหรี อปัตราปย (ความละอายความเกรงกลัว)สมาทานมั่นคงตลอดกาลนาน 

เรียกว่า 
ผู้มีมณฑลเหมือนปริมณฑลของต้นไทร เพราะ ระวังมือระวังเท้าประกอบด้วยการไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่มีไมตรีตลอดกาลนาน
เรียกว่า  ผู้มีผิวอ่อนสดละเอียด เพราะรู้ประมาณในการบริโภคอาหาร เพราะบริโภคอาหารน้อย ระวังมาก อุดหนุนให้ยารักษาผู้ป่วยเจ็บ ประติสังสการณเจดีย์ที่ทรุดโทรมของคนต่ำต้อย คนที่เขาดูถูกไม่นับถือ คนอนาถา คนหยิ่งกระด้าง ตถาคตตั้งสถูป และให้อภัยแก่สัตว์ทั้งหลายผู้มีความกลัวตลอดกาลนาน 

เรียกว่า  ผู้มีผิวดังสีทอง เพราะอาบน้ำให้มารดา บิดา  ศรมณะ พราหมณ์ ครู ทักษิณียบุทคลทั้งหลายด้วยการทาแป้ง ชโลมเนย ชโลมน้ำมัน เมื่อตัวเย็นให้น้ำอุ่น เมื่อตัวอุ่นให้น้ำเย็น 
ให้ร่มเงา ให้ได้รับความสุขตามฤดูกาล ให้ผ้าเนื้ออ่อนสัมผัสอ่อนนุ่มเหมือนสำลีปูที่นอนลาดที่นั่งให้ ประพรมเจดีย์ของพระตถาคตด้วนน้ำมันหอมและให้ผ้าเนื้อละเอียดทำเป็นธงชัย ธงปตากให้เป็นสมบัติ ตลอดกาลนาน
เรียกว่า 
ผู้มีขนขุมละเส้น เพราะไม่ประทุษร้ายต่อสัตว์ทั้งปวงประกอบด้วยการเจริญไมตรี ให้สัตว์อื่นสมาทานในกษานติและเสารัตย(ความอดทนและความเสงี่ยมเจียมตัว) ไม่จองเวร ไม่ผูกพยาบาท ประกาศสรรเสริญแต่คุณงามความดี และโปรยปรายดอกไม้ทองที่สุกบริศุทธเหมือนทองและผงทอง และให้แผ่นผ้ามีสีเหมือนสีทองประดับด้วยธงปตากและธงชัย และให้ภาชนะทองผ้าทองแก่เจดีย์ของตถาคต และรูปจำลองตถาคต(พระพุทธรูป) ตลอดกาลนาน
เรียกว่า  ผู้มีเนื้อนูน 7 แห่งเพราะเข้าหาบัณฑิตไต่ถามอะไรเป็นกุศลอกุศล  ไต่ถามสิ่งที่ควรเสพไม่ควรเสพมีโทษและไม่มีโทษและธรรมชั้นเลว ชั้นกลาง ชั้นประณีต พิจารณาเทียบทานเนื้อความ ไม่มีความงมงาย 
ประกอบด้วยการรื้อขนรังตั้กแตน ใยแมงมุม บ่อหลุม สิ่งสกปรกหญ้าต่างๆ กระเบื้องถ้วยกะลาแตกที่เจดีย์ของพระตถาคตตลอดกาลนาน
เรียกว่า  ผู้มีกายกึ่งท่านบนเหมือนกึ่งท่อนบนของราชสีห์ เพราะนับถือมารดา บิดา พี่ชายผู้เจริญกว่า ใหญ่กว่ากระทำความเคารพด้วยการเข้าไปหาศรมณะ พราหมณ์ คนกำพร้าอนาถาเป็นต้น ให้ข้าวน้ำ อาสนะ ผ้า ที่อาศัย ประทีป เครื่องเลี้ยงชีพ เครื่องแต่งตัวตามความต้องการ 
ให้บ่อน้ำ สระน้ำ น้ำเย็น เครื่องใช้สอยของมหาชนอย่างบริบูรณ์ตลอดกาลนาน
เรียกว่า  ผู้มีไห้ปลาร้าเต็ม เพราะให้การอภิวาทด้วยการนอบน้อมและกราบไหว้ และให้อภัยแก่ มารดา บิดา ศรมณะ พราหมณ์ ครู ทิกษิณียบุทคลบริจาคทานแก่ผู้ทุพลภาพผู้ไม่มีที่พึ่งยกย่องทานเป็นสิ่งสร้างสรรค์มั่นคงตลอดกาลนาน 

เรียกว่า 
ผู้มีลำตัวกลมดี เพราะเทียบทานโทษของตน เห็นโทษคือความผิดพลาดอันให้ท่าแก่ผู้อื่น เว้นยกเลิกการปรึกษาหารือวิวาทมูล(มูลเหตุแห่งการวิวาท) อันเป็นการทำลายผู้อื่น มีวจีกรรมและกายกรรมรักษาความลับไว้เป็นอย่างดีตลอดกาลนาน
เรียกว่า 
ผู้มีคางเหมือนคางราชสีห์ เพราะก่อนอื่น บำราบสัตว์ผู้ใคร่วิวาทกับ มารดา บิดา ศรมณะ พราหมณ์ ครู และผู้ใคร่จะวิวาทกับผู้อยากจะลุกไปต้อนรับ อภิวาทกราบไหว้มารดา บิดา เป็นต้นนั้นด้วยความกล้าหาญคงแก่เรียนในศาสตร์ (ตำรา) ทั้งปวง ยกย่องทรงจำศาสนาของตถาคตอันมีกำลังให้สัตว์ตั้งอยู่ในทางกุศลธรรมอันเป็นไป โดยชอบของพระราชามหาอำมาตย์ ผู้ประพฤติชอบ อนุโลมตามธรรมวินัยของตนให้สมาทานกุศลจรรยาทั้งปวงตลอดกาลนาน
เรียกว่า  ผู้มีฟัน 40 ซี่เท่าๆกัน เพราะบริจาคพัสดุทั้งปวงแก่ผู้ขอซึ่งเข้าไปตั้งชื่อให้ด้วยความรักตามความประสงค์   และบริจาคทานเต็มความประสงค์แก่เขาทั้งปวง โดยไม่มีมานะการถือตัว 
ไม่กระทำทุจริต และไม่ฟุ้งซ่าน ยกขึ้นซึ่งการสมาทานอย่างมั่นคงตลอดกาลนาน
เรียกว่า 
ผู้มีฟันขาวสะอาดดี เพราะเว้นจากคำส่อเสียดไม่ถือเอาคำปรึกษาที่จะทำให้แตกกัน และประกอบการประกาศสรรเสริญคุณแห่งความระงับคำส่อเสียดสงครามและสรรเสริญคุณแห่งสามัคคี ด้วยจิตมีอำนาจยิ่งของผู้มีความพร้อมเพรียงกัน ยินดีในความสงบ ความสามัคคี ตลอดกาลนาน
เรียกว่า 
ผู้มีฟันซึ่ชิดกันเพราะเว้นฝ่ายดำ(ทุจริต)สะสมกุศลฝ่ายขาว เว้นกรรมดำ ผลของกรรมดำ สรรเสริญกรรมขาว ผลของกรรมขาว ให้น้ำนม อาหาร ผ้าขาวโบกปูนขาวที่เจดีย์บรรจุธาตุของ พระตถาคตทั้งหลาย ให้อาหารผสมน้ำนม ให้ดอกมะลิ มะลิวัน พวงอุบะดอกไม้ พวงมาลัยดอกไม้เป็นดอกไม้สีขาว ตลอดกาลนาน
เรียกว่า 
ผู้มีปลายลิ้นรู้รสไว้ เพราะเว้นจากการหัวเราะเยาะและความหยิ่งจองหอง กระทำให้มีความยินดี รักษาคำพูดเปล่งคำพูดที่ทำให้ยินดีไม่ค้นหางช่องอื่นๆแห่งความผิดพลาดของผู้อื่น ให้ถือเอาจิตเสมอในสัตว์ทั้งปวง เทศนาธรรมเสมอกันในประโยคเสมอกัน สมาทานและบริจาคมั่นคงตลอดกาลนาน
เรียกว่า ผู้มีเสียงไพเราะเหมือนเสียงพรหม เพราะไม่ให้ทุกข์ ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง ให้ยารักษาไข้แก่ผู้อยู่ในฐานะเป็นไข้ต่างๆ และไม่ลำบากในการให้รสทั้งปวงแก่ผู้ต้องการรสทั้งปวงตลอดกาลนาน
เรียกว่า  ผู้มีตาสีเขียวเข้มเพราะเว้นจากกล่าวคำไม่จริง คำหยาบคาย คำกระด้าง คำโอ้อวด คำที่ให้ความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น คำสาบแช่งผู้อื่น คำที่กระเทือนต่อความรักและความรักจับใจของผู้อื่น มีวาจาชอบ ใช้วาจาชอบ ประกอบด้วยเมตตากรุณา มุทิตา กระทำให้เกิดความปราโมทย์ น่ารัก อ่อนหวานสุภาพจับใจ 
ทำให้อินทรีย์ทั้งปวงได้รับความสุขตลอดกาลนาน
เรียกว่า ผู้มีขนตาเหมือนตาโค เพราะใช้ตามองตรงไปยังสัตว์ทั้งหลาย เหมือน มารดา บิดา มองลูกคนเดียว มองดูยาจก(ขอทาน) ด้วยไม่ตรีกรุณาก่อนอื่น ไม่ทำทุจริต มองดูอย่างไม่กระพริบตา ซึ่งเจดีย์บรรจุธาตุของ พระตถาคต ด้วยอินทรีย์ผ่องใส  ยังผู้อื่นให้สมาทานการเห็นตถาคตผู้เป็นสัตว์ยอดเยี่ยม ตนเองก็สมาทานอย่างมั่นคงตลอดกาลนาน 

เรียกว่า ผู้มีลิ้นแผ่ออกได้มากเพราะเว้นจากจิตทราม บริบูรณ์ด้วยการหลุดพ้นอย่างใหญ่โตกว้างขวาง ยังสัตว์ให้สมาทานความพอใจในธรรมอันสุงสุด เว้นจากการสยิ้วหน้า มีหน้ายิ้มแย้ม บ่ายหน้าเข้าไปหากัลยาณมิตรทั้งปวง 
สะสมกุศลทั้งปวงก่อนอื่น ไม่เปลี่ยนแปลงตลอดกาลนาน
เรียกว่า  ผู้มีศีรษะแลดูเหมือนโพกผ้าหรือสวมมงกุฎ 
เพราะเว้นจากโทษของวาจาทั้งปวง ประกาศสรรเสริญคุณผู้กล่าวธรรมของพระศราวก และของพระปรัตเยกพุทธทั้งปวงหาประมาณมิได้ เขียน อ่าน ท่อง สอนให้ผู้อื่นีรู้ซึ่งพระสูตรของพระตถาคต มีความฉลาดให้สัตว์อื่นถึงความแตกฉานในบทความหมายแห่งธรรมเหล่านั้นตลอดกาลนาน
เรียกว่า  ผู้มีขนอ่อนที่หว่างคิ้วเกิดดีแล้ว เวียนขวารุ่งเรืองสว่างด้วยสีบริศุทธ เพราะน้อมศีรษะลงแทบฝ่าเท้าของมารดา บิดา ศรมณะ พราหมณ์ ครู ทิกษิณียบุทคลทั้งหลาย สยายผม่ของท่านเหล่านั้นพรมศีรษะด้วยน้ำมันหอม ให้ผงเครื่องหอมพวงมาลัยดอกไม้เครื่องประดับหัวแก่ยาจกทั้งปวงตลอดกาลนาน(*9)

 

*9 ลักษณะและกรรมสริกขกะ คือการได้ลักษณะอันสมกับกรรมที่ทำกาในครั้งก่อนในคัมภีร์ไตรปิฎกฝ่ายหีนยานมีกล่าวไว้ในลักขณสุตร ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคคและฎีกาชื่อ ลีนัตถปกาสินี กับชินาลงฺการ

 

เรียกว่า ผู้ถึงกำลังมาก เพราะบูชายัชญทั้งปวงโดยไม่รั่วไหลแล้วให้ผู้อื่นบูชาด้วย พร่ำสอนกัลยาณมิตรทั้งปวงด้วยการกล่าวธรรมที่ยกขึ้น ไปมาสู่ทิศและลำบากในการอาศัยความเป็นทูต(สื่อข่าว)กล่าวธรรมของพระพุทธ พระโพธิสัตว์ พระปรัตเยกพุทธ พระอารยศราวกกำจัดความมืดมนอนธการของมารดา บิดา ครู ทักษิณียบุทคลทั้งปวงเข้าถึงอาการทั้งหมดด้วยการตามไฟน้ำมัน ไฟน้ำมันเนย คบเพลิง เทียนและประทีป น้ำมันหอม เข้าไปหารูปจำลองพระตถาคต (พระพุทธรูป) ด้วยความเลื่อมใส ยกแก้วที่มีแสงสว่างขึ้นแล้วประดับห้องพระ (ไว้พระพุทธรูป)มุ่งหน้าจะให้ผู้อื่นมีจิตตรัสรู้ มีกุศลสัมภาระอันพิเศษตลอดกาลนาน เรียกว่ามหานารายณ์ เพราะเข้าถึงกำลังของมหานารายณ์
เรียกว่า 
ขญี้ผู้อื่นทั้งหมด เพราะเข้าถึงกำลังย่ำยีมารตั้งร้อยโกฏิ
เรียกว่า  ผู้เข้าถึงกำลังตถาคต 10 ประการ 
เพราะเข้าถึงกำลังตถาคต 10 ประการ
เรียกว่า 
ผู้เข้าถึงกำลังสถานชญาน (รู้ว่าอะไรควร) เพราะเว้นหีนยานอันเป็นยานใช้ในท้องถิ่นคือกุศลที่เป็นสถานาสถานยาน(รู้ว่าอะไรควรไม่ควร) ประกอบด้วยกำลังอันอิ่มหนำซึ่งเข้าถึงการยกย่องคุณแห่งมหายาน
เรียกว่า ผู้เข้าถึงเหตุวิปากชญาน (รู้เหตุและผลของเหตุ) อันยึดกรรมทั้งปวงที่เป็นอดีต อนาคต และปรัตยุบัน เพราะเข้าถึงกำลังแห่งชญานโดยเหตุโดยผล ซึ่งยืดกรรมที่เป็นอดีต อนาคต และปรัตยุบัน
เรียกว่า ผู้เข้าถึงกำลังชญานที่รู้ว่าความเพียรแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งปวงนั้นไม่มีประมาณ
เรียกว่า  ผู้เข้าถึงกำลังแห่งชญาน 
เพราะเข้าไปสู่ธาตุหลายอย่างและโลกธาตุต่างๆ เพราะถึงกำลังแห่งชญานที่เข้าไปสู่ธาตุหลายอย่างและโลกธาตุต่างๆ
เรียกว่า 
ผู้เข้าถึงกำลังแห่งชญานที่เป็นอเนกาธิมุกติ(ความพ้นหลายอย่าง) นานาธิมุกติ (พ้นต่างๆ) และสรรพนิรวเศษาธิมุกติ(พ้นทุกอย่างไม่มีเหลือ)เพราะเข้าถึงกำลังแห่งชญานที่เป็นอเนกาธิมุกติ นานามุกติและนิรวเศษาธิมุกติ
เรียกว่า 
ผู้เข้าถึงกำลังแห่งชญานอันดำเนินไปสู่ทางให้ถึงคุณธรรมทั้งปวง เพราะเข้าถึงกำลังแห่งชญานอันดำเนินไปสู่ทางให้ถึงคุณธรรมทั้งปวง
เรียกว่า 
ผู้เข้าถึงกำลังแห่งชญานอันกำหนดที่ตั้งการสิ้นสังเกลศด้วยธยานวิโมกษ สมาธิและสมาบัติทั้งปวง
เรียกว่า 
ผู้เข้าถึงกำลังแห่งชญานอันไม่ขัดข้องด้วยการระลึกถึงสถานที่ที่เคยอยู่มาแล้ว(ชาติก่อน)หลายอย่างหลายประการ
เรียกว่า 
ผู้เข้าถึงกำลังแห่งทิพยจักษุชญานเป็นเครื่องเห็นรูปทั้งปวงโดยไม่เหลือโดยไม่มีอะไรกั้น
เรียกว่า 
ผู้เข้าถึงกำลังแห่งอาศรวักษยชญานโดยไม่เหลือซึ่งสืบต่อวาสนาแต่ครั้งก่อน
เรียกว่า 
ผู้บรรลุไวศารัทยะ(ความองอาจแกล้วกล้า)ไม่มีใครในโลกพร้อมทั้งเทวโลกครอบงำประติชญาในข้อที่ประติชญาตนว่าเป็นสัมพุทธตรัสรู้สรรพธรรมไม่มีเหลือ เพราะทรงบรรลุไวศารัทยะไม่มีใครในโลกพร้อมทั้งเทวโลกครอบงำประติชญาในข้อที่ประติชญาตนว่าเป็นสัมพุทธตรัสรู้สรรพธรรมไม่มีเหลือ
เรียกว่า 
บรรลุไวศารัทยะไม่มีใครในโลกพร้อมทั้งเทวโลกทำลายประติชญาในข้อที่ประติชญาว่า อันตรายิกธรรมคือธรรมที่ประกอบด้วยสังเกลศทั้งปวงเป็นธรรมทำอันตรายแก่นิรวาณ เพราะทรงบรรลุไวศารัทยะ ไม่มีใคร ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกทำลายประติชญาในข้อที่ประติชญาว่า อัตรายิกธรรมคือธรรมที่ประกอบด้วยสังเกลศทั้งปวงเป็นธรรมทำอันตรายแก่นิรวาณ
เรียกว่า  บรรลุไวศารัทยะไม่มีใครในโลกพร้อมทั้งเทวโลกประท้วงประติชญาในข้อที่ประติชญาว่า  ผู้ประติบัทธรรมอันเป็นเครื่องบรรลุไนรยาณิกี(ธรรมที่เป็นเครื่องนำออกจากสงสาร)จะไม่ห่างไกลนิรวาณ เพราะทรงบรรลุไวศารัทยะ ไม่มีใครในโลกพร้อมทั้งเทวโลกประท้วงประติชญาในข้อที่ประติชญาว่า ผู้ประติบัทธรรมอันเป็นเครื่องบรรลุไนรฺยาณิกี 
จะไม่ห่างไกลนิรวาณ
เรียกว่า  บรรลุไวศารัทยะ ไม่มีใครในโลกพร้อมทั้งเทวโลกจะเปลี่ยนแปลงประติชญา ในข้อที่ประติชญาตนว่ามีประหาณชญานคือชญานรู้ความสิ้นอาศรวะทั้งปวง เพราะทรงบรรลุไวศารัทยะ ไม่มีใครในโลกพร้อมทั้งเทวโลกจะเปลี่ยนแปลงประติชญาในข้อที่ประติชญาตนว่ามีประหาณชญาน 
คือชญานรู้ความสิ้นอาศรวะทั้งปวง
เรียกว่า 
ผู้แสดงธรรมมีบทไม่พลั้งพลาด เพราะทรงแสดงธรรมมีบทไม่พลั้งพลาด
เรียกว่า 
ผู้ตรัสรู้ตามซึ่งธรรมอันไม่มีเสียงไม่มีคำพูด เพราะตรัสรู้ตามซึ่งธรรมอันไม่มีเสียง ไม่มีคำพูด
เรียกว่า 
นิรันดร เพราะมีความเป็นนิรันดร
เรียกว่า  ผู้สามารถอาศัยอยู่ในเสียงสัตว์ทั้งปวงและในกังวาลเสียงธรรมของพระพุทธผู้หาประมาณมิได้ 
เพราะทรงสามารถอาศัยอยู่ในเสียงสัตว์ทั้งปวงและในกังวาลเสียงธรรมของพระพุทธผู้หาประมาณมิได้
เรียกว่า 
ผู้มีสมฤติไม่หลงลืม เพราะทรงมีสมฤติไม่หลงลืม
เรียกว่า 
ผู้ปราศจากนานาสํชญา (ความเข้าใจไปตามแง่ต่างๆ) เพราะปราศจากความเข้าใจในความเป็นภาวะต่างๆ(คือไม่มีนานาตฺวสํชญา)
เรียกว่า  ผู้ตั้งมั่นเป็นอันดีในความแน่วแน่ใตในจิตสมาธิทั้งปวง เพราะตั้งมั่นเป็นอันดีในความแน่วแน่ในสมาธิของจิตทั้งปวง 

เรียกว่า 
ผู้เห็นนัยนับไม่ถ้วน เพราะเห็นนัยนับไม่ถ้วน
เรียกว่า  ผู้ไม่เสื่อมฉันทะในสมาธิที่ปรุงแต่งฉันทะ 
เพราะไม่เสื่อมฉันทะในสมาธิที่ปรุงแต่งฉันทะ
เรียกว่า  ผู้ไม่เสื่อมวีรยะในสมาธิที่ปรุงแต่งวีรยะ 
เพราะไม่ตัดขาดไม่เสื่อมวีรยะในสมาธิที่ปรุงแต่งวีรยะ
เรียกว่า  ผู้ไม่เสื่อมสมฤติ 
เพราะมีสมฤติไม่เสื่อม
เรียกว่า  ผู้ไม่เสื่อมปรัชญา 
เพราะมีปรัชญาไม่เสื่อม
เรียกว่า  ผู้ไม่เสื่อมวิมุกติ 
เพราะมีวิมุกติไม่เสื่อม
เรียกว่า  ผู้ไม่เสื่อมวิมุกติชญานทรรศนะ 
เพราะมีวิมุกติชญานทรรศนะไม่เสื่อม
เรียกว่า 
ผู้มี กายกรรม วากกรรม มนัสกรรมทั้งปวงมีชญานนำหน้าเป็นไปกับด้วยชญาน ประกอบด้วยชญาน
เรียกว่า  ผู้ประกอบด้วยชญานทรรศนะอันไม่ขัดข้องด้วยการติดอยู่ในทางกันดารทั้ง 3 
เพราะประกอบด้วยชญานทรรศนะอันไม่ขัดข้องด้วยการติดอยู่ในกันดาร ของตนเองในอดีต อนาคต และปรัตยุบัน
เรียกว่า 
ผู้ได้วิโมกษอันไม่มีอะไรขัดข้อง เพราะได้วิโมกษอันไม่มีอะไรขัดขวาง
เรียกว่า 
ผู้ดำรงความตั้งมั่นในความฉลาดรู้ประวัติของสัตว์ทั้งปวง เพราะดำรงความตั้งมั่นในความฉลาดรู้ประวัติของสัตว์ทั้งปวง
เรียกว่า  ผู้ฉลาดเทศนาธรรมตามควรแก่ปรัตยัย 
เพราะความฉลาดเทศนาธรรมตามควรแก่ปรัตยัย
เรียกว่า 
ผู้บรรลุบารมิตายอดเยี่ยมอันเป็นมณฑลแห่งองค์ประเสริฐกว่าสิ่งทั้งปวง เพราะบรรลุบารมิตายอดเยี่ยมอันเป็นมณฑลแห่งองค์ประเสริฐกว่าสิ่งทั้งปวง
เรียกว่า 
ผู้เป็นเสียงของเทวดา นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสูร กินนร มโหรคะ(งูใหญ่) เพราะบรรลุความฉลาดพิจารณาเสียงร้องและเสียงโต้ตอบของเขาเหล่านั้น
เรียกว่า 
ผู้เปล่งเสียงก้องกังวาลเหมือนเสียงพรหม
เรียกว่า ผู้มีเสียงร้องเหมือนเสียงนกการเวกร้อง
เรียกว่า 
ผู้มีเสียงร้องเหมือนเสียงบรรเลงกลองเรียกว่าผู้มีเสียงบันลือกึกก้องทั่วพื้นดิน
เรียกว่า 
ผู้มีเสียงคำรณกึกก้องเหมือนเสียงมหาสมุทรเสียงพระยาช้าง เสียงเมฆซึ่งคำรณ
เรียกว่า 
ผู้มีเสียงดังลั่นเหมือนเสียงราชสีห์เสีงโคตัวผู้ซึ่งคำรณ
เรียกว่า 
ผู้มีเสียงอันคล้อยตามเสียงร้องของสัตว์ทั้งปวง เป็นที่ยินดีของสัตว์ทั้งปวง
เรียกว่า 
ผู้มีเสียงเป็นที่โปรดปรานของหมู่ประชุมชนทั้งปวง อันไม่ติดขัดและไม่ขัดขวาง
เรียกว่า  ผู้มีเสียงเรียกร้องเสียงทั้งปวง 
เพราะเป็นเสียงเอก
เรียกว่า 
เป็นผู้ที่พรหมและองค์อินทร์บูชาแล้ว
เรียกว่า 
เป็นผู้ที่องค์อินทร์ซึ่งเป็นใหญ่แก่เทวดาทั้งหลายสักการะแล้ว
เรียกว่า 
เป็นผู้ที่พระยานาคนมัสการแล้ว
เรียกว่า 
ผู้มีพระพักตร์ที่ไวศรวณะมองดูแล้ว
เรียกว่า 
ผู้ที่พระยาคนธรรพ์ประโคมแล้ว
เรียกว่า 
ผู้มีพระยารากษสจ้องมองอินทรีย์อันผ่องใสโดยไม่กระพริบตา
เรียกว่า 
ผู้มีพระยาอสูรนอบน้อมยิ่งแล้ว
เรียกว่า 
ผู้ที่พระยาครุฑเพ่งดูโดยไม่มีวิหิงสา(ไม่เบียดเบียน)
เรียกว่า 
ผู้ที่พระยากินนรสรรเสริญแล้ว
เรียกว่า 
ผู้ที่พระยางูใหญ่มองดูด้วยความปรารถนาดี
เรียกว่า 
ผู้ที่จอมมนุษย์(พระเจ้าแผ่นดิน)บูชาแล้ว
เรียกว่า 
ผ้ที่เดือน(ดวงจันทร์)มารับใช้แล้ว
เรียกว่า 
ผู้ทำให้โพธิสัตว์ทั้งปวงเป็นผู้สมาทานอาจหาญดีใจแล้ว
เรียกว่า 
ผู้แสดงธรรมโดยไม่เห็นแก่อามิษ(เครื่องกัณฑ์)
เรียกว่า 
ผู้แสดงธรรมชำนาญในบทไม่ติดขัดด้วยพยัญชนะ
เรียกว่า 
ผู้แสดงธรรมไม่เกินเวลา
ดูกรไมเตรยะ เพราะฉะนั้น การหมุนจักรคือธรรมนี้ เป็นเพียงอวตาร(หยั่งลง) แห่งการชี้แจงถึงคำสรรเสริญคุณตถาคตเล็กน้อยซึ่งตถาคตได้แสดงแต่พอเป็นสังเขป ดูกรไมเตรยะ เมื่อจะแสดงโดยพิสดารก็ต้องกินเวลาตั้งกัลป หรือกว่ากัลป ที่สุดแห่งการแสดงนั้นไม่มีเลย

 

      ครั้งนั้นแล พระผู้มีภคะ ได้ตรัสคำเป็นบทประพันธ์นี้ในเวลานั้นว่า

 

      52 จักรคือธรรม (ธรรมจักร) ลึก เห็นยาก สุขุม อันตถาคตหมุนแล้วในที่ซึ่งมารและพวกเดียรถีย์อื่นๆหยั่งไม่ถึง ฯ

 

      53 จักรคือธรรม ซึ่งตถาคตหมุนแล้ว ไม่อยู่เป็นที่ ไม่มีปปัญจธรรม(ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า) ไม่มีความอุบัติ ไม่มีแดนเกิด โดดเดี่ยว มีปรกติศูนย ฯ

 

      54 จักรไม่มีการเข้ามา ไม่มีการออกไป ไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีลักษณะ เป็นการแสดงสมตาธรรม (ธรรมคือความเสมอกัน) พระพุทธทรงตรัสไว้แล้ว ฯ

 

      55 จักรนั้น เหมือนเล่นกล เหมือนพยับแดด เหมือนความฝัน เป็นที่หมายรู้ว่าเหมือนเงาดวงจันทร์ในน้ำ พระโลกนาถหมุนแล้ว ฯ

 

      56 หยั่งลงสูประตีตยธรรม(ธรรมที่เข้าไปถึงซ้ำแล้ว) ไม่มีความขาดศูนย ไม่มีความเที่ยง ตัดทฤษฏิทั้งปวง เรียกว่าธรรมจักร(จักรคือธรรม) ฯ

 

      57 เทียบเท่าอากาศ ไม่เปลี่ยนแปลง มีรัศมีแผ่ซ่าน ไม่มีที่สุด แสดงเหนือกว่าสิ่งทั้งปวง เรียกว่า ธรรมจักรในที่นี้ ฯ

 

      58 อยู่เหนืออัสติ (ความเห็นว่ามี) และนัสติ (ความเห็นว่าไม่มี) เว้นจากอาตมยะ(ความเป็นตน)ไนราตมยะ (ความไม่เป็นตน) แสดงถึง(*)ชาติโดยปรกติ เรียกว่าธรรมจักรในที่นี้ ฯ

 

*ชาติในที่นี้ คือ สามานยธรรม ความมีสภาพเหมือนกัน เช่นความเป็นคน ความเป็นสัตว์ มีภาวะเที่ยง แต่ไม่อยู่ประจำที่

 

      59 มีที่สุด และไม่มีที่สุด ในความถ่องแท้ โดยความถ่องแท้ แสดงถึงอทวยะธรรม(*)เรียกว่าธรรมจักร ฯ

 

* อทวยะธรรม คืออทฺวตวาท

 

      60 จักษุ โศรตะ ฆราณ ชิหวา กาย และจิต (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ศูนยโดยสภาพ และอาตมัน(ตัวตน)ก็ศูนย หมดสิ้นเรี่ยวแรงความพยายาม ฯ

 

      61 จักรเช่นนี้ คือธรรมจักรอันหมุนแล้ว ผู้ใดยังสัตว์ทั้งหลายที่ไม่รู้ ให้รู้ เพราะฉะนั้น ผู้นั้นจึงเรียกว่าพุทธฯ

 

      62 ธรรมจักรนี้ เป็นสภาพแห่งลักษณะธรรม ตถาคตตรัสรู้แล้วด้วยตนเอง ว่างจากผู้อื่นแนะนำ ตถาคตเป็นสวยัมภู(ผู้เป็นเอง)และเป็นผู้มีจักษุ ฯ

 

      63 ตถาคตบรรลุความเป็นผู้มีอำนาจในธรรมทั้งปวง จึงเรียกว่าธรรมสวามี(ผู้เป็นเจ้าแห่งธรรม) รู้สิ่งที่ควรและไม่ควรในธรรมทั้งหลายและดังนั้นจึงเรียกว่านายกะ(ผู้รู้นัย)ฯ

 

      64 ตถาคตแนะนำเวไนยะชนทั้งหลายหาประมาณมิได้ ยังเวไนยะชนทั้งหลายให้ถึงบารมิตาด้วยการแนะนำพิเศษ ดังนั้น เขาจึงเรียกตถาคตว่าวินายกะ(ผู้แนะนำพิเศษ)ฯ

 

      65 จริงอยู่ สัตว์เหล่าใดศูนยสิ้นหนทางแล้ว ตถาคตย่อมแสดงหนทางอันสูงสุดแก่สัตว์เหล่านั้น นำเขาถึงฝั่งตรงข้ามนี้ เพราะฉะนั้น ตถาคตจึงเป็นวินายกะ(ผู้นำพิเศษ)ฯ

 

      66 ตถาคตสงเคราะห์ประชุมชนด้วยชญานอันเป็นสังครหวัสตุให้เขาข้ามพ้นจากป่าทึบคือสังสาร เพราะฉะนั้น ตถาคตจึงเป็นสารถวาหะ(หัวหน้าพวกพ่อค้า) ฯ

 

      67 พระชิน ยังอำนาจให้เป็นไปในสรรพธรรม เพราะฉะนั้นจึงเป็นธรรมิศวระ(ผู้เป็นใหญ่ในธรรม) ยังธรรมจักรให้หมุน เขาจึงเรียกตถาคตว่าธรรมราชา ฯ

 

      68 ตถาคตเป็นเจ้าแห่งการให้ทานธรรม เป็นศาสดา(ผู้สั่งสอน) เป็นผู้ยังการบูชายัชญให้สำเร็จความประสงค์โดยสมบูรณ์ ตถาคตจึงเป็นสิทธิมงคล (มีความสวัสดิมงคลสำเร็จแล้ว ฯ

 

      69 ตถาคตเป็นผู้ปลอบ เป็นผู้เห็นความปลอดภัย เป็นผู้กล้า เป็นผู้เลิกมหาสงคราม เป็นผู้ข้ามพ้นสงครามทั้งปวง เป็นผู้พ้นแล้ว เป็นผู้ปลดเปลื้องประชาชนทั้งหลาย ฯ

 

      70 เป็นแสงสว่าง เป็นผู้กระทำแสงสว่างด้วยปรัชญาชญาน ให้แก่โลก เป็นผู้ถือคบเพลิงทำลายความมืดคืออัชญาน (ความไม่รู้) เป็นผู้มีแสงสว่างมาก ฯ

 

      71 ตถาคตเป็นนายแพทย์ใหญ่ เป็นผู้รู้มาก เป็นผู้วางยารักษาโรค คือเกลศใหญ่ เป็นผู้ถอนหอกคือเกลศของสัตว์ทั้งหลายผู้ถูกหอกคือเกลศแทงแล้ว ไม่มีผู้ใดยิ่งกว่า ฯ

 

      72 ถึงพร้อมด้วยลักษณะดีทั้งปวง งามด้วยอวัยวะส่วนย่อยทั้งปวง มีพระกายอันเจริญแล้วทุกด้านแต่ก็ต้องคล้อยตามกายหยาบ ฯ

 

      73 เป็นผู้มีกำลังด้วยกำลัง 10 ประการ เป็นผู้คงแก่เรียนด้วยไวศารัทยะ(ความแกล้วกล้าอาจหาญ) ถึงความยอดเยี่ยมด้วยด้วยอาเวณิกะธรรม 18 ประการเป็นมหามุนี ฯ

 

      74 ตถาคตนั้นแสดงออกโดยสังเขป ในการหมุนจักรคือธรรม(ธรรมจักรประวรรตนะ) การพรรณนาคุณของตถาคตโดยย่อนี้ ตถาคตได้ ประกาศแล้ว ฯ

 

      75 จริงอยู่ พุทธชญาน(ชญานของพระพุทธ) ไม่มีสิ้นสุดเสมอด้วยอากาศอันกว้างขวาง จะพรรณนากันจนสิ้นกัลปก็ยังไม่สิ้นพุทธคุณ ฯ ดังนี้แล ฯ

 

อัธยายที่ 26 ชื่อธรรมจักรประวรรตนปริวรรต(ว่าด้วยการหมุนจักรคือธรรม) ในคัมภีร์ศรีลลิตวิสตร  ดั่งนี้แล ฯ
 

 

27 ตอนอวสาน

อัธยายที่ 27

 

นิคมปริวรฺต  สปฺตวึศะ

 

ชื่อนิคมปริวรรต (ว่าด้วยตอนอวสาน)

 

      ครั้งนั้นแล ตถาคตอยู่ในที่ซึ่งมีเทวบุตรอยู่ เทวบุตรทั้งหลายชั้นศุทธาวาสหมื่นแปดพัน มีหัวหน้าคือ มเหศวร นันทะ สุนันทะ จันทนะ มหิตะ ศานตะ และประศานตะวินีเตศวระ ซึ่งประชุมร่วมกันในการที่ตถาคตหมุนธรรมจักร เพื่อประกาศธรรมบรรยายอันไม่ได้มีมาแล้ว ในที่นั้น พระผู้มีภคะ ตรัสเรียกเทวบุตรทั้งหลายชั้นศุทธาวาสมีมเหศวรเทวบุตรเป็นหัวหน้ามาว่า ดูกรท่านผู้ควรเคารพทั้งหลายธรรมบรรยายสูตรนี้นั้นมีชื่อว่า ลลิตวิสตร เป็นการเล่นสนุกสำราญของโพธิสัตว์อย่างกว้างขวางมาก เข้าไปสู่ความแช่มช้อยในพุทธวิษัย(เรื่องราวที่เกี่ยวกับพระพุทธ) ควรนำเข้ามาในตน ตถาคตได้พูดไว้แล้ว ท่านทั้งหลายจงเรียน จงจำ และจงบอกซึ่งธรรมบรรยายนั้นเถิด เมื่อทำได้ดังนั้นแล้วจะเป็นผู้มีจักษุในธรรม เป็นผู้รู้กว้างขวางและบุทคลผู้ที่เป็นโพธิสัตวยานีกะ(ผู้บำเพ็ญบารมิตาของโพธิสัตว์เพื่อเป็นพระพุทธในอนาคต) ได้ฟังธรรมบรรยายนี้แล้วจะได้ความเพียรมั่นคงขึ้น และสัตว์ทั้งหลายผู้ได้อธิมุกติ(ความหลุดพ้น) อย่างกว้างขวางในอนุตตรสัมยักสัมโพธิ ก็จะเกิดกำลังแห่งฝนคือธรรมอย่างใหญ่หลวง และจะข่มฝ่ายตรงข้ามคือมารได้ และจะไม่ได้ซึ่งการหยั่งลงสู่คำท้าทายของฝ่ายอื่น การที่ท่านทั้งหลายเชิญให้แสดงธรรมคือธรรมบรรยายนั้นจะเป็นมหากุศล จะเป็นประโยชน์ใหญ่ยิ่ง จะมีผลมาก จะมีอานิสงส์มาก

 

      ดูกรท่านผู้ควรเคารพทั้งหลาย ผู้ใดก็ตาม จะกระทำประคองอัญชลี(ยกมือไหว้) ซึ่งธรรมบรรยายคือลลิตวิสตรนี้ เขาผู้นั้นจะได้ธรรมอย่างอุกฤต(ยอดเยี่ยม) 8 อย่าง ธรรมอย่างอุกฤต 8 อย่างนั้นเป็นไฉน? นั่นคือ เขาจะได้รูปร่างอย่างอุกฤต จะได้กำลังอย่างอุกฤต จะได้บริวารอย่างอุกฤต จะได้ประติภาน(ความไหวพริบ เฉียบแหลม)อย่างอุกฤต จะได้ไนษกรมย์(การออกบวช)อย่างอุกฤต จะได้จิตบริศุทธอย่างอุกฤต จะได้บทสมาธิอย่างอุกฤต จะได้แสงสว่างคือปรัชญาอย่างอุกฤต นี้คือธรรมอย่างอุกฤต 8 อย่าง

 

      ดูกรท่านผู้ควรเคารพทั้งหลาย ใครก็ตาม จัดธรรมาสน์ให้แก่ผู้อยากจะพูดธรรมบรรยายคือลลิตวิสตรนี้ และผู้พูดธรรม เขาผู้นั้นจะได้อาสนะ(ตำแหน่ง) 8 อย่างซึ่งน่าปรารถนา ในอาสนะพร้อมด้วยการจัด อาสนะ 8 อย่างเป็นไฉน? นั่นคือได้อาสนะเป็นเศรษฐี ได้อาสนะเป็นคฤหบดี ได้อาสนะเป็นจักรพรรดิ์ ได้อาสนะเป็นเทพโลกบาล ได้อาสนะเป็นองค์ศักร ได้อาสนะเป็นเทพวศวรรตี ได้อาสนะเป็นพรหม ได้บรรลังก์เป็นโพธิสัตว์ถึงความประเสริฐเลิศที่ควงต้นโพธิ กำจัดมารผู้เป็นข้าศึกโดยเฉพาะหน้าหรือโดยเรียงราย และได้อาสนะเป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมยักสัมโพธิแล้ว หลังจากนั้นจะหมุนธรรมจักรอันสุงสุด ซึ่งน่าปรารถนา นี้คือได้อาสนะตำแหน่ง 8 อย่างซึ่งน่าปรารถนา

 

      ดูกรท่านผู้ควรเคารพทั้งหลาย ผู้ใดก็ตาม จะให้สาธุการแก่ผู้พูดธรรมบรรยายลลิตวิสตรนี้ เขาผู้นั้น จะเป็นผู้มีความบริศุทธ วาก 8 ประการ ความบริศุทธวาจา 8 ประการเป็นไฉน? นั่นคือสำหรับผู้พูดอย่างไรทำอย่างนั้น ย่อมได้ความบริศุทธวากกรรมเป็นไปตามความสัตย์ สำหรับผู้มีวาจาควรเชื่อถือ ย่อมบริศุทธด้วยการหักล้างประชุมชนได้ สำหรับผู้มีวจนะควรยึดถือ ย่อมบริศุทธด้วยมีความมั่นคง สำหรับผู้มีวจนะสุภาพอ่อนหวาน ย่อมบริศุทธด้วยการสงเคราะห์สัตว์ผู้หยาบคาย สำหรับผู้มีเสียงเหมือนเสียงนกการเวก ย่อมบริศุทธด้วยทำให้กายและจิตตื่นเต้น สำหรับผู้มีวาจาพูดคำสาธุการนั้น ย่อมบริศุทธวาจาด้วยการไม่ถูกสัตว์ทั้งปวงรังควาน สำหรับผู้มีเสียงเหมือนพรหม ย่อมบริศุทธด้วยลบล้างเสียงทั้งปวง สำหรับผู้มีเสียงคำรณกึกก้องเหมือนเสียงราชสีห์ ย่อมบริศุทธด้วยไม่ถูกคำท้าทายของฝ่ายอื่นทั้งปวงหักล้างได้ สำหรับผู้มีเสียงเหมือนเสียงพระพุทธ ย่อมบริศุทธด้วยยังอินทรีย์ของสัตว์ทั้งปวงให้ยินดี นี้คือได้ความบริศุทธวากกรรม 8 ประการ

 

      ดูกรท่านผู้ควรเคารพทั้งหลาย ผู้ใดก็ตาม จะทำการเขียนลงในสมุด ซึ่งธรรมบรรยายลลิตวิสตรนี้ แล้วสักการะ เคารพ นับถือ บูชา พูดสรรเสริญพรรณนาธรรมบรรยายทั้ง 4 ทิศ ด้วยจิตไม่ตระหนี่หวงแหน และเปล่งเสียงสรรเสริญพรรณนาว่าท่านทั้งหลายจงมา จงทรงจำ จงอ่าน จงคิด จงท่องสาธยายซึ่งธรรมบรรยายที่เขียนไว้นี้ เขาผู้นั้นได้ขุมทรัพย์ใหญ่ 8 ประการ ขุมทรัพย์ใหญ่ 8 ประการเป็นไฉน? นั่นได้แก่ ได้ขุมทรัพย์คือสมฤติด้วยการไม่หลงลืม ได้ขุมทรัพย์คือมติด้วยการแบ่งแยกความรู้ ได้ขุมทรัพย์คือคติด้วยความรักในคติแห่งประโยชน์ในสูตรทั้งปวง ได้ขุมทรัพย์คือธารณี(ความทรงจำ)ด้วยการทรงจำคำที่ได้ยินมาทั้งหมด ได้ขุมทรัพย์คือประติภาน(ไหวพริบ)ด้วยการสนทนาปราศรัยสุภาษิตของสัตว์ทั้งปวง ได้ขุมทรัพย์คือธรรม ด้วยการสังเกตุกำหนดสัทธรรม ได้ขุมทรัพย์คือโพธิจิต(จิตมีความรู้) ด้วยการกำหนดประวัติวงศ์พระรัตนตรัย และได้ขุมทรัพย์คือการประติบัทด้วยการได้ความอดทนในอนุตปัตติกธรรม(ธรรมที่เกิดขึ้นตามลำดับ) นี้คือได้ขุมทรัพย์ 8 ประการ

 

      ดูกรท่านผู้ควรเคารพทั้งหลาย ผู้ใดก็ตาม จะยังธรรมบรรยายลลิตวิสตรนี้กระทำให้แพร่หลายแล้วทรงจำไว้ เขาผู้นั้น จะเต็มไปด้วยสัมภาระ 8 ประการ สัมภาระ 8 ประการเป็นไฉน ? นั่นคือ ได้แก่จะเต็มไปด้วยทานสัมภาระด้วยจิตไม่ตระหนี่ จะเต็มไปด้วยศีลสัมภาระเพราะเต็มไปด้วยความตั้งใจในความดีทั้งปวง  จะเต็มไปด้วยศรุตสัมภาระ(สัมภาระคือการสดับฟัง)เพราะความยกย่องปรัชญาอันไม่ติดขัด  จะเต็มไปด้วยศมถสัมภาระ เพราะบ่ายหน้าสู่สมาบัติอันเกิดจากสมาธิทั้งปวง  จะเต็มไปด้วยวิทรรศนาสัมภาระเพราะเต็มไปด้วยเต็มไปด้วยวิทยาในวิทยา 3 จะเต็มไปด้วยบุณยสัมภาระ เพราะมีเครื่องประดับอันบริศุทธแห่งพุทธเกษตร คือลักษณะและอวัยวะส่วนย่อย  จะเต็มไปด้วยชญานสัมภาระ เพราะความยินดีตามความหลุดพ้นของสัตว์ทั้งปวง  จะเต็มไปด้วยมหากุรณาสัมภาระ เพราะความไม่ลำบากในการบ่ม(อบรม)สัตว์ทั้งหลาย นี้คือเต็มไปด้วยสัมภาระ 8ประการ

 

      ดูกรท่านผู้ควรเคารพทั้งหลาย และผู้ใดก็ตาม จะประกาศธรรมบรรยายลลิตวิสตรนี้แก่ผู้อื่นโดยพิสดารว่า สัตว์ทั้งหลายคิดอย่างนี้ มีถ้อยคำอย่างนี้แล้ว พึงได้ธรรมทั้งหลายอย่างนี้ๆ เขาผู้นั้น จะได้ความมีบุณยมากโดยกุศลมูลนั้น 8 ประการ ความมีบุณยมากโดยกุศลมูล 8 ประการนั้นเป็นไฉน? นั่นคือ เป็นพระราชาจักรพรรดิ์  นี้คือความมีบุณยมากข้อต้น จะครองความเป็นใหญ่ในต่ำแหน่งเทพชั้นมหาราชทั้ง 4 นี้คือความมีบุณยมากข้อที่ 2 จะเป็นองค์ศักรเป็นใหญ่แก่เทวดาทั้งหลาย นี้คือความมีบุณยมากข้อที่ 3 จะเป็นเทวบุตรชั้นสุยาม นี้คือความมีบุณยมากข้อที่4 จะเป็นเทวบุตรดุษิตนี้คือความมีบุณยมากข้อที่ 5 จะเป็นเทวบุตรชั้นสุนิรมิตะ  นี้คือความมีบุณยมากข้อที่ 6 จะเป้นเทพราชชั้นวศวตี นี้คือความมีบุณยมากข้อที่7 จะเป็นมหาพรหมชั้นพรหม นี้คือความมีบุณยมากข้อที่ 8 และในที่สุดจะเป็นตถาคตอรหันตสัมยักสัมพุทธ ละอกุศลธรรมทั้งปวง ประกอบด้วยกุศลธรรมทั้งปวง จะได้ความมีบุณยมาก 8 อย่างเหล่านี้

 

      ดูกรท่านผู้ควรเคารพทั้งหลาย ผู้ใดก็ตาม จะเงียโศรตลงฟังธรรมบรรยายลลิตวิสตรซึ่งเขากำลังกล่าวนี้ เขาผู้นั้น จะได้ความเป็นผู้มีจิตปราศจากมลทิน 8 ประการ ความเป็นผู้มีจิตปราศจากมลทิน 8 ประการ เป็นไฉน? นั่นคือ ได้แก่จะได้ไมตรี เพราะกำจัดโทษทั้งปวง จะได้กรุณาเพราะละวิหิงสาทั้งปวง จะได้มุทิตาเพราะคร่าออกซึ่งอรติ(ความไม่ยินดี)ทั้งปวง จะได้อุเบกษาเพราะความสุภาพเรียบร้อยและสละประติฆะ(ความหงุดหงิดใจ) จะได้ธยานทั้ง 4 เพราะความเป็นไปในอำนาจรูปธาตุทั้งปวง จะได้อารูปยสมาบัติ เพราะความเป็นไปในอำนาจจิต จะได้อภิชญา 5 เพราะความไปถึงพุทธเกษตรอื่นๆ จะได้ข่าวรากเง่าการติดต่อวาสนาทั้งปวง  เพราะได้ศูรังคมสมาธิ(สมาธิถึงความกล้าหาญหรือสมาธิแก่กล้า) นี้คือได้ความเป็นผู้มีจิตปราศจากมลทิน 8 ประการ

 

      ดูกรท่านผู้ควรเคารพทั้งหลาย ธรรมบรรยายลลิตวิสตรนี้  จะแพร่หลายไปในคราม ในนคร ในนิคม ในชนปท  ในชนปทประเทศ  ในที่จงกรมหรือในทีอยู่ใดๆภัยทั้งหลายจะไม่มีในที่นั้น 8 ประการ เว้นแต่ผลของกรรมเก่า การไม่มีภัย 8 ประการ เป็นไฉน? นั่นคือ ได้แก่ไม่มีภัยแต่พระราชากำเริบ ไม่มีภัยเกิดแต่โจรกำเริบ ไม่มีภัยเกิดแต่สัตว์ร้ายกำเริบ  ไม่มีภัยเกิดแต่ข้าวยากหมากแพงแห้งแล้งกำเริบ ไม่มีภัยเกิดแต่การทะเลาะวิวาทรบซึ่งกันและกันกำเริบ  ไม่มีภัยเกิดแต่เทวดากำเริบ  ไม่มีภัยเกิดแต่นาคกำเริบ  ไม่มีภัยเกิดแต่ยักษ์กำเริบ  ไม่มีภัยเกิดแต่อุปัททวะทั้งปวงกำเริบ  ดูกรท่านผู้ควรเคารพทั้งหลาย นี่คือไม่มีภัย 8 ประการ(เว้นแต่ผลแห่งกรรมเก่า)

 

      ดูกรท่านผู้ควรเคารพทั้งหลาย ถ้าตถาคตอยู่ได้ตลอดกัลป นั่งอยู่ทั้งกลางคืน กลางวันพูดพรรณนาธรรมบรรยายนี้อย่างย่อๆ โดยถือเอาท่านทั้งหลายผู้ใดผู้หนึ่งเป็นประมาณ การพรรณนาธรรมบรรยายนี้ไม่พึงสิ้นสุด ประติภานของตถาคตก้ไม่พึงสิ้นไปและอีกประการหนึ่ง      ดูกรท่านผู้ควรเคารพทั้งหลาย ศีล สมาธิ ปรัชญา วิมุกติชญาน ทรรศนะของตถาคต ไม่มีประมาณ ไม่สิ้นสุด ฉันใด       ดูกรท่านผู้ควรเคารพทั้งหลายบุทคลผู้ซึ่งจะเรียน จะจำ จะบอก จะเขียน จะให้เขาเขียน จะไม่สิ้นสุด จะเป็นไปฉันนั้น และจะประกาศโดยพิสดารในท่ามกลางประชุมชนว่า  สัตว์ผู้กล่าวถ้อยคำนี้พึงได้ซึ่งธรรมอันใหญ่หลวงอย่างนี้ด้วยจิตนี้ แม้สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นก็จะไม่สิ้นสุดบุณยเลย

 

      ลำดับนั้นแล พระผู้มีภคะ ตรัสเรียกพระหมากาศยปผู้มีอายุ พระอานนท์ผู้มีอายุ และพระไมเตรยะผู้เป็นพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ว่า        ดูกรท่านผู้ควรเคารพทั้งหลาย ตถาคตจะให้ จะมอบให้ซึ่งอนุตตรสัมยักสัมโพธิอันยกขึ้นแล้วตั้งหมื่นแสนโกฏิกัลปนับไม่ถ้วนไม่ถ้วนไว้ในมือท่านทั้งหลาย ด้วยการมอบให้จริงๆและท่านทั้งหลายจงจดจำธรรมบรรยายนี้ไว้ด้วยตนเอง และจงประกาศโดยพิสดาร

 

      พระผู้มีภคะ ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ได้ตรัสคำเป็นบทประพันธ์นี้ในเวลานั้น  เพื่อทรงมอบธรรมบรรยายนี้โดยประมาณมากกว่า

 

      1 สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด ที่ตถาคตเห็นแล้วด้วยพุทธจักษุ ถ้ามีใครบูชาสัตว์เหล่านั้นตลอดกัลปเหมือนเทียมด้วยทรายในแม่น้ำคงคา สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นพึงเป็นพระอรหันต์เทียมเท่าสาริบุตร ฯ

 

       2 ส่วนผู้ใดมีความยินดี พึงกระทำการบูชาแก่พระปรัตเยกพุทธเจ้าตลอดวันตลอดคืน ด้วยพวงมาลัย และด้วยสิ่งอื่นๆเช่นนั้นมีประการหลายอย่าง เพราะฉะนั้น เขาผู้นี้ชื่อว่าเป็นผู้ทำบุณย จะต้องวิศษ ฯ

 

      3 สัตว์ทั้งปวง ถ้ามีชัยด้วยศรัทธา ต้องมีใครบูชาสัตว์เหล่านั้นในโลกนี้ด้วยดอกไม้ เครื่องหอม และเครื่องลูบไล้ ติดต่อกันไปยิ่งกว่านั้นหลายกัลป ด้วยความไม่ประมาท ฯ

 

      4 และผู้ใดพึงกระทำการกราบไหว้อย่างเดียวแก่ตถาคตผู้เดียวและมีจิตเสื่อมใส พึงพูดว่า นโม' รฺหเต(ขอความนอบน้อมของข้าพเจ้าจงมีแด่พระอรหันต์) เพราะฉะนั้น การกระทำนี้ เป็นบุณยประเสริฐสุดของผู้นั้น ฯ

 

      5 ถ้าสัตว์ทั้งปวง พึงเป็นพระพุทธไซร้ เขาพึงบูชาสัตว์เหล่านั้นเหมือนก่อนๆด้วยดอกไม้สวรรค์และดอกไม้ของมนุษย์อันประเสริฐ โดยประการเป็นอันมาก ตลอดหลายกัลปฯ

 

      6 และผู้ใด พึงกล่าวพระสูตรนี้ตลอดวัน ตลอดคืน จนถึงละพระสัทธรรมในเวลาตาย และละชีวิตในกายของตน เพราะฉะนั้น ผู้นั้นย่อมประเสริฐด้วยบุณยนี้ ฯ

 

      7 ผู้ใดเกิดมีจิตรู้ขึ้นแล้วอย่างมั่นคง ปรารถนาจะบูชาพระพุทธ ผู้เป็นวินายก พระปรัตเยกพุทธ และพระศราวก ผู้นั้นชื่อว่าทรงไว้ซึ่งพระสูตรอันประเสริฐนี้ทุกเมื่อ ฯ

 

      8 ผู้ใดมีใจขึ้นไปจดจ่อต่อพระตถาคตทั้งปวง ผู้นี้เป็นพระราชามีใจขึ้นไปจดจ่อต่อพระธรรมทั้งปวงที่ตถาคตกล่าวไว้ดีแล้ว ตถาคตประทับอยู่แล้วในเรือนของผู้นั้นทุกเมือ ซึ่งเป็นเรือนที่มีพระสูตรเลิศนี้ประดิษฐานอยู่แล้ว ฯ

 

      9 และผู้ใด ให้พระสูตรนี้แก่ผู้อื่น กล่าวเพียงบทเดียวตลอดโกฏิกัลป พยัญชนะไม่คลาดเคลื่อน และแม้เนื้อความก็ไม่คลาดเคลื่อน ผู้นั้นจะได้รับแสงสว่างอันงามหาที่สุดมิได้ ฯ

 

      10 สัตว์นั้นจะสูงยิ่งกว่าผู้นำคนทั้งหลาย ไม่มีใครเหมือน และผู้ใดแลฟังธรรมนี้แล้วปฏิบัติ ผู้นั้นไม่พึงเสื่อมสิ้น เช่นเดียวกับสมุทร ฯ ดังนี้ ฯ

 

      พระผู้มีภคะ ดีพระทัยได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว เทวบุตรชั้นศุทธาวาสทั้งหลาย เหล่านั้นมีมเหศวรเทวบุตรเป็นหัวหน้า และพระโพธิสัตว์ผู้เป็นมหาสัตว์ทั้งปวง มีพระไม่เตรยเป็นหัวหน้า และพระมหาศรวกทั้งปวงมีพระมหากาศยปเป็นหัวหน้า และโลกพร้อมทั้งเทวดา มนุษย์ อสูร คนธรรพ์ ได้ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีภคะ ดังนี้ ฯ

 

อัธยายที่ 27 ชื่อนิคมปริวรรต (ว่าด้วยตอนอวสาน) ในคัมภีร์ศรีลลิตวิสตร  ดั่งนี้แล ฯ

 

********

 

มหายานสูตร ซึ่งเป็นสูตรเลิศรุ่งเรือง ชื่อศรีลลิตวิสตร จบบริบูรณ์แล้ว

 

เย   ธรฺม  เหตุปฺรภวา                เหตุอํ   เตษำ   ตถาคโต   หฺยวทตฺ |

 

เตษำ   จ   โย   นิโรโธ             เอวํ      วาที     มหาศฺรมณะ  ||    

 

ธรมทั้งหลาย  มีเหตุเป็นแดนเกิด  พระตถาคตนี่แหละได้ตรัสเหตุแห่งธรรมทั้งหลายนั้น

 

และตรัสธรรมซึ่งเป็นความดับเหตุเป็นแดนเกิดนั้นด้วย     พระมหาศรมณะมีลัทธิอย่างนี้ ฯ

 

ขอบุญกุศลทั้งปวงจงบังเกิดแก่ท่านผู้แปลพร้อมวงศาคณาญาติ

 

ดาวน์โหลดตัวอักษร (ฟ้อนต์) ทิเบตทั้ง ๓ แบบ เพื่อความสมบูรณ์ในการชมเว็บ

actisan.ttf

adtibet.ttf

atibet.ttf


uptime alert service

website monitor

View My Stats