มหาวัชรจารย์ชีวินพุทธะ นอราริมโปเช 諾那呼圖克圖 大上師

                         

มหาวัชราจารย์ 3 รุ่น จากซ้าย โจริกซินดุบวังอาจารย์ปู่ กลางนอราริมโปเช พระอาจารย์ ซ้าย เจ้าคุณโพธิ์แจ้งศิษย์

ภูมิศาสตร์ ศาสนา ประเพณี การปกครองของทิเบต ประวัติพระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะ นอราริมโปเช

   ดินแดนทิเบต ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 23 องศา เหนือ- 33 องศาใต้ และเส้นแวงที่14องศาตะวันตก-23องศาตะวันออก มีเนื้อที่เล็กกว่ามณฑลเสฉวนของจีน ในสมัยราชวงศ์ถัง ซ่ง หยวน หมิง เรียกทิเบตว่า “อาณาจักรถู่ฟัน” ทิเบตเป็นอาณาจักรอิสระซึ่งปกครองตนเองเป็นประเทศมาตลอดตั้งแต่โบราณกาล จนถึงสมัยราชวงศ์หยวนอิทธิพลของมองโกลแห่งราชวงศ์หยวนได้ครอบคลุมทิเบตและได้เข้าไปจัดระเบียบการปกครอง จนถึงต้นราชวงศ์ชิง รูปแบบการปกครองมิได้เปลี่ยนแปลงจากเดิม ปลายราชวงศ์ชิงได้ตั้งเป็นมณฑล จนถึงสมัยสาธารณะรัฐ ได้เปลี่ยนเป็นเขตปกครองพิเศษติดมณฑลเสฉวน จัดการปกครองในรูปแบบมณฑล พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง อากาศหนาวจัด หลังฤดูใบไม้ร่วงจะเต็มไปด้วยหิมะเป็นสีเงินยวง ในวันที่อากาศแจ่มใส ลมพัดต้องหิมะปลิวตามลมในอากาศ วันไหนอากาศมืดครื้ม จะดูเหมือนมังกรหยกที่แกะสลักเป็นล้านๆตัว ดุจดังโลกคริสตัลที่เป็นแก้วใส ประชาชนส่วนใหญ่จะเป็นชาวทิเบต มีคนป่าที่อาศัยอยู่ตามหุบเขาปะปนอยู่ด้วย คนป่าเหล่านี้แบ่งเป็นคนป่าขาว และคนป่าดำ พวกคนป่าดำคือป่าแท้ๆ ส่วนคนป่าขาวเป็นพวกที่หล่อหลอมวิวัฒนาการจนเป็นพวกเดียวกับคนทิเบต และส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา

    ทิเบตมีภาษาของตนเอง ด้วยความต้องการแปลพระธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาจึงได้สร้างภาษาของตนเองขึ้นมาโดยยึด ถือภาษาสันสฤตโบราณเป็นหลัก ปัจจุบันภาษาพูดมีสำเนียงและการใช้แตกต่างกันตามท้องถิ่น แต่ภาษาเขียนใช้เหมือนกันทั้งหมด พระสูตรพระธรรมคัมภีร์ทางพุทธศาสนาไม่ว่าจะเป็นนิกายใดล้วนใช้ภาษาทิเบตแบบเดียวกันหมด พื้นเพเดิมคนทิเบตมีความกล้าหาญเชี่ยวชาญในการรบ นับแต่พระพุทธศาสนาเข้ามาเจริญรุ่งเรือง ชาวทิเบตก็อยู่กันอย่างสุขสงบเมตตากรุณาต่อกัน

   ชาวทิเบตเกือบทั้งหมดนับถือพุทธศาสนา มีคนป่าจำนวนเล็กน้อยไม่กี่ร้อยคนซึ่งไม่ได้นับถือพุทธศาสนา โดยทั่วไปประชาชนอยู่กันอย่างเรียบง่าย มีความคิดใสบริสุทธิ์ มีวัดวาอาราม กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เสียงสวดมนต์ดังอยู่ไม่ขาด ไม่ว่าลูกเล็กเด็กแดง ชาย หญิง ตั้งแต่เริ่มหัดพูด จะถูกสอนให้สวดคาถามหาวิทยาศักดิ์สิทธิ์หกอักษรซึ่งเป็นพระคาถาหัวใจของพระ อวโลติเกศวรโพธิสัตว์*** ดังนี้จึงถูกขนานนามว่าเป็นเมืองแห่งพระพุทธศาสนา

  แต่เดิมชาวทิเบตนับถือนิกายบอน*** จนเมื่อมหาสิทธา***คุรุปัทมสมภพ ได้นำพุทธศาสนาเข้าสู่ทิเบตและสร้างความศรัทธาให้แก่ชาวทิเบต จนชาวทิเบตหันมาเป็นพุทธศาสนิกชนเกือบหมดทั้งประเทศ นิกายเผินก็เสื่อมถอยจนเกือบสูญไปจากดินแดนทิเบต มหาสิทธาคุรุปัทมสมภพได้สถาปนาพุทธศาสนานิกายญิง-มาหรือนิกายแดงซึ่งเป็นพุทธศาสนาวัชรยานอันเป็นส่วนหนึ่งของพุทธศาสนามหายานซึ่งต่อยอดออกไป

     ในกาลต่อมา ปฐมาจารย์มารปะ เชอจิ โลดูซ์*ป01 เดินทางไปอินเดียอัญเชิญพระไตรปิฎกกลับมา ได้ก่อตั้งพุทธศาสนานิกายกากยูหรือนิกายขาวขึ้นและเผยแพร่ส่งเสริมธรรมะออกไปอย่างกว้างขวาง ต่อมา โจงคาปา*ป02 ซึ่งตามคัมภีร์ได้ระบุไว้ว่าท่านเป็นฒุลกุ*ป03 ของพระโพธิสัตว์สามพระองค์ คือพระโพธิสัตว์อวโลติเกศวร*ป04 พระโพธิสัตว์มัญชุศรี*ป05และพระโพธิสัตว์วัชรปาณิ*ป06 มาเกิดที่ซีหลิงเหว่ย มณฑลกานซู เริ่มศึกษาพุทธศาสนานิกายขาวที่มองโกล จากนั้นก็ศึกษานิกายแดงที่วัดโฮ้จ้านชาเช ต่อมาได้ก่อตั้งพุทธศาสนานิกายเหลืองหรือเกลุคปะ

 

 

    ในดินแดนทิเบต แคว้นคาม ถือว่าเป็นแคว้นหลัก ในพื้นที่ต่างๆของแคว้นคามทิเบตตะวันออก ในสมัยราชวงศ์ชิงแบ่งออกเป็น 32 ตำบล แคว้นคามถูกแบ่งออกเป็น 4ส่วน มีชื่อเรียกว่า “ปาสู้” “ชาหย่า” “เชียงตู” และ “เหล่ยอู่ฉี” *ป07 ดินแดนเหล่านี้ล้วนเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่องค์คุรุปัทมสมภพได้เคยมาเผยแพร่พุทธธรรมนิกายแดงจนเจริญรุ่งเรือง ในดินแดนย่อยทั้ง 4 ทางการจีนสมัยราชวงศ์หยวนมองโกลได้แต่งตั้งพระชีวินพุทธะ 4 พระองค์ ให้มีอำนาจปกครองทั้งศาสนจักรและอาณาจักรในแต่ละดินแดน จนถึงสมัยราชวงศ์ชิงได้ใช้ชื่อเรียกว่า “มหาลามะ”

    คำว่า “ลามะ” หมายถึงผู้บำเพ็ญเพียรปฏิบัติพุทธธรรม ทั้งที่เป็นพระสงฆ์และมิได้เป็นพระสงฆ์ แต่ทรงคุณสมบัติมหาศาลแห่งผู้บรรลุมรรคผล เป็นคำที่ใช้เรียกด้วยความเคารพ มิใช่ใช้เรียกพระสงฆ์ธรรมดาทั่วไป คำว่า “ลา" มีความหมายว่าจิตของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คำว่า “มะ”มีความหมายว่ามารดาของสรรพชีวิต เมื่อรวมกันจึงมีความหมายว่า “ผู้ซึ่งมีจิตของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมตตาโปรดเวไนยสัตว์ให้หลุดพ้นจากทุกข์ดุจดังมารดาที่มีความรักต่อบุตร คำว่า “ลามะ” จึงเป็นคำที่มีความหมายอันกว้างใหญ่ไพศาล เช่น พระศากยะมุนีพุทธเจ้า ก็สามารถเรียกว่า “ศากยะลามะ” พระอมิตาภพุทธเจ้า ก็เรียก อมิตาภลามะ พระโพธิสัตว์ทั้งปวงก็สามารถเรียกได้ เช่น กวนอิมลามะ หรือมหาสถามปราปต์ลามะ*ป08 มัญชุศรีลามะ สมันตรภัทรลามะ*ป09 พระคณาจารย์ก็สามารถเรียกท่านว่า ลามะได้ เช่นปันเชนลามะ*ป10 หรือมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเช ก็เรียกว่านอราลามะ เป็นต้น

    พุทธศาสนาวัชรยานได้จัดหมวด*ป11การปฏิบัติเป็น วัชรตันตระภายนอก(กริยาตันตระยาน จริยาตันตระยานและโยคะตันตระยาน) วัชรตันตระภายใน(มหาโยคะยานและอนุตรโยคะตันตระยาน) และอาทิโยคะ(ซกเชน) ผู้ปฎิบัติพุทธศาสนาปัจเจกพุทธยาน สาวกยาน มหายาน(โพธิสัตต์ยาน) จัดรวมอยู่ในสายการปฏิบัติสูตระยานซึ่งถือไตรสรณะ ในผู้ปฏิบัติวัชรยานทุกหมวดรวมเรียกว่าสายวัชรตันตระยานผู้ปฏิบัติถือจตุสรณะ โดยเพิ่มการถือคุรุแห่งตนเพิ่มอีกหนึ่งสรณะ ผู้ปฏิบัติธรรมในสาย-สูตระยานต้องใช้เวลาอย่างน้อยที่สุด 3 กัลป์จึงสามารถบรรลุมรรคผลเป็นพุทธะ แต่ในผู้ปฏิบัติธรรมในสายวัชรตันตระสามารถบรรลุมรรคผลเป็นพุทธะในชีวิตนี้ชาติภพเดียว

   

ผู้ปฏิบัติธรรมวัชรยานทั้งปวงต้องได้รับการ “มนตรา-ภิเษกจากคุรุวัชราจารย์ของตน” จึงสามารถปฏิบัติธรรมให้บรรลุผลสำเร็จได้ หากแม้มิได้รับการมนตราภิเษกแล้วธรรมวิธีบางอย่างมิอาจปฏิบัติได้หรือแม้แต่การเปิดอ่านพระธรรมคัมภีร์นั้นๆก็ไม่ได้ อีกทั้งการปฏิบัติธรรมวิธีโดยไม่ได้รับการมนตรา-ภิเษกจะไม่สามารถบรรลุมรรคผลได้ ตัวอย่างเช่น ผู้ปฏิบัติธรรมวิธีสุขาวดีพุทธเกษตรของพระอมิตาภพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติในฝ่ายพระสูตรแนวทางแห่งมหายานเมื่อสิ้นอายุขัย พระอมิตาภพุทธเจ้าจะมารับให้ไปอยู่ ณ พุทธเกษตรของตน แต่ผู้ปฏิบัติ ฝ่ายพุทธวัชรตันตระ เมื่อสิ้นอายุขัยพระอมิตาภพุทธเจ้ามารับก็ยิ่งดี หรือแม้พระองค์จะทรงไม่ว่างมารับ ตนเองก็สามารถอาศัยฌานบารมีและวิธีการในธรรมวิธีที่ตนได้ฝึกฝนมาเดินทางเข้าสู่สุขาวดีพุทธเกษตรได้เอง โดยที่พระอมิตาภพุทธเจ้าทรงยินดีและเต็มใจต้อนรับ

    ในรัชสมัยจักรพรรดิคังซีแห่งราชวงศ์ชิง ได้เพิ่มคำว่า “มหา” ลงข้างหน้าราชทินนาม “ฮู่ถู่เค่อถู”*ป12 ของพระลามะซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองดินแดน และแต่งตั้งผู้ปกครองมองโกล และกานซูเพิ่ม โดยให้มีมหาชีวินพุทธะดินแดนละ 4 พระองค์ และในแคว้นคามเดิมซึ่งมีมหาชีวินพุทธะดูแลอยู่ 4 พระองค์ก็เพิ่มอีก 4 พระองค์ให้ช่วยกันดูแล มองโกลและกานซูอยู่ใกล้ มหาลามะผู้ปกครองต้องมาเข้าเฝ้าจักรพรรดิทุกปี และขนานนามว่า “มหาฮูถู่เค่อถูส่วนใน” ส่วนมหาลามะผู้ปกครองแคว้นคามซึ่งอยู่ห่างไกลเรียกว่า “มหาฮูถู่เค่อถูส่วนนอก” ต้องมาเข้าเฝ้าจักรพรรดิทุก 13 ปี

    ดินแดนริโวเช ในแคว้นคามซึ่งมีอาณาเขตทางทิศเหนือติดกับมณฑลชิงไห่ มีชนเผ่าอยู่ 25 เผ่า ทิศใต้ไปจนถึงตอนกลางติดเขตเชียงตู สันเขาม้าขาวอยู่ขวามือ ภูเขาตันต๋าอยู่ซ้ายมือ ทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นดินแดนปาสู้ และมุมเขาชาหย่าในบริเวณริ-โวเช ปีท่งจื้อที่ 4 ปีฉลู เดือน 5 วันที่ 15 หรือปี พ.ศ. 2419 ได้กำเนิดมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะซึ่งต่อมาได้นำพระธรรมคำสอนแห่งพุทธวัชรยานออกเผยแพร่สู่โลกภายนอก หลังจากที่เก็บกักอยู่แต่ในดินแดนหิมาลัยมาพันสองร้อยกว่าปี

    พระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเช มีนามซึ่งชาวคามเรียกกันว่า การ่าลามะ ท่านเกิดที่เมืองเคซุง ซึ่งตั้งอยู่ทางใต้ของพระอารามริโวเช ในแคว้นคาม ครอบครัวของท่านอยู่ในตระกูลเดียวกับท่านการ่าซัง อันทรงเกียรติ ซึ่งได้รับสืบทอดจากท่านการ่า เดมปา พระราชครูประจำพระองค์ของซงซันกัมโป*ป13 กษัตริย์แห่งทิเบต ตระกูลการ่าซัง ได้สร้างรูปหล่อที่สำคัญๆ ขึ้นมากมายในประวัติศาสตร์ของพระอารามริโวเช*ป14 ตามประเพณีของครอบครัวนี้ที่ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมา

    ท่านมีชื่อเรียกในขณะเด็กว่า โซนัม รับเตน ท่านเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วจนเป็นเด็กที่ไม่ธรรมดาและฉลาดเกินวัย และยังเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในด้านสติปัญญาและความเป็นผู้ใหญ่ ในช่วงแรกของชีวิต ท่านเริ่มแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อย่างแรงกล้าของท่านที่มีต่อธรรมะจนคนอื่นรู้สึกได้ว่าเป็นเพราะประสบ-การณ์ของท่านเมื่อชาติก่อนให้ปรากฏ ตัวอย่างเช่น ท่านมักจะแสดงการมนตราภิเษก*ป15และสั่งสอนเด็กอื่นๆขณะที่เล่นด้วยกันอยู่เสมอ นอกจากนี้ ยังมีคนกล่าวว่าท่านมีสัญลักษณ์และเครื่องหมายแห่ง “สิทธา” *ป16 แม้ว่าท่านจะไม่เคยคิดว่าตัวท่านเองเป็นฒุลกุ แต่ท่านก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นอาจารย์ที่กลับชาติมาเกิด ดังนั้น ผู้คนเริ่มเรียกท่านว่า การ่าลามะ หรือลามะแห่งตระกูลการ่าซัง

    ในวัยเด็ก ท่านการ่าลามะ ยังเป็น เตอร์เติน*ป17 ซึ่งเป็นผู้ค้นพบ เตอร์มา*ป18 ประสบการณ์การค้นพบครั้งแรกเกิดขึ้นในวันหนึ่งขณะที่ท่านกำลังเดินทางอยู่ใกล้ๆ พระอารามริโวเช ท่านก็เป็นเหมือนเด็กทั่วๆไปที่ต้องการแสวงหาของเล่นใหม่ๆ และมักออกเดินทางไปตามหุบเขารอบๆ พระอารามริโวเช ตามลำพัง ครั้งหนึ่ง ท่านเดินผ่านวัตถุประหลาด 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่งเป็นรูปปั้นพระโพธิสัตว์จัมบาลา*ป19องค์เล็กๆ ทำด้วยหินสีดำแวววาวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความร่ำรวย และอีกชิ้นหนึ่งเป็นข้อความสั้นๆบนกระดาษสีทองเขียนบอกตำแหน่งที่ตั้งของ เตอร์มา ด้วยความตื่นเต้น ท่านจึงหยิบเอารูปปั้นและข้อความนี้ขึ้นมาและรีบกลับบ้านเพื่ออวดสิ่งของเหล่านี้กับคนในครอบครัว

    อย่างไรก็ตาม ท่านก็ตื่นเต้นอยู่ได้ไม่นาน เนื่องจากคนในครอบครัวของท่านต่างพากันหวาดกลัวว่าสิ่งของซึ่งไม่รู้ที่มาเหล่านี้จะมีคำสาปหรือมีพลังในด้านลบที่เป็นอันตรายแก่ครอบ-ครัว เมื่อท่านกลับบ้านพร้อมกับรูปปั้นและข้อความ บิดาของท่านจึงโกรธมากและดุว่าท่านจะทำให้ครอบครัวได้รับอันตรายเนื่องจากนำสิ่งของลึกลับเข้ามาในบ้าน เขาเรียกท่านว่าบุตรแห่งปีศาจและสั่งให้ท่านกำจัดรูปปั้นและข้อความนั้นเสีย เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านการ่าลามะ จึงปฏิบัติตามคำสั่งโดยขว้างสิ่งของเหล่านั้นออกไปนอกบ้านด้วยความโกรธแค้น แต่ลุงของท่านซึ่งมาเยี่ยมในช่วงนั้นได้พยายามปลอบให้บิดาของท่านการ่าลามะ ใจเย็นลงและเตือนเขาว่าบุตรชายของเขาไม่ใช่เด็กธรรมดา เมื่อเหตุการณ์เริ่มคลี่คลายลงบ้างแล้ว ลุงของท่านก็ออกไปหารูปปั้นและข้อความข้างนอกแต่ก็ไม่พบแม้จะค้นหาจนทั่ว

     แม้ว่าบิดาของท่านจะดูหยาบคายและใจแคบ แต่ครอบครัวของท่านก็เป็นครอบครัวผู้ใฝ่ธรรม เมื่อเห็นว่าบุตรชายถึงเวลาอันควรได้รับการฝึกฝนด้านจิตวิญญาณอย่างจริงจัง โดยเริ่มจากการสั่งสอนของพี่ชายของท่าน ซึ่งก็คือท่านทินเล จัมปา จุงเน หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า เจดดุง ริมโปเช*ป20 ซึ่งเป็นเจ้าอารามริโวเช ท่านเป็นพระลามะที่สำคัญของ ญิงมาปะและเป็น เตอร์เติน ด้วยเช่นกัน โดยชื่อเตอร์เตินของท่านคือ ดุดจม นัมไค ดอร์เจ ท่านเป็นหนึ่งในสามคุรุหลักของ “ดุดจม ริมโปเชที่ 2”*ป21 ซึ่งมีชื่อทางธรรมว่า จิกดาล เยเซดอร์เจ

    ในเวลาต่อมา ท่านเจดดุงริมโปเช มีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการของการ่าลามะมาก เนื่องจากท่านเป็นทั้งพี่ชายและเป็นพี่ชายทางธรรมอีกทั้งเป็นพระอาจารย์ทางวัชรตันตระธรรมด้วย ท่านจึงเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อการ่าลามะมาก ตลอดเวลาที่ท่านอยู่ในพระอารามริโวเช ความสัมพันธ์อันเนื่องมาจากโชคชะตาของท่านทั้งสองยิ่งแนบแน่นเด่นชัดมากขึ้นเมื่อเจดดุงริมโปเช ค้นพบ เตอร์มา อันหนึ่งซึ่งบ่งบอกไว้ว่า อันที่จริงแล้วการ่าลามะ ก็คือธรรมทายาทของท่านนั่นเอง

    ด้วยคำแนะนำของเจดดุงริมโปเช การ่าลามะ ซึ่งต่อมาได้รับชื่อทางธรรมว่า ทินเล เจียมโซ เข้าศึกษาที่ศูนย์ศึกษาญิงมาในพระอารามริโวเช ท่านเป็นนักเรียนที่ดีที่สุดของเจดดุงริมโปเช ท่านมีความเฉลียวฉลาดในการเรียน ทั้งในด้านธรรมะปริยัติและปฏิบัติทั้งของญิงมาเอง และวิชาการอื่นๆ เช่น โหราศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ ยิ่งไปกว่านั้น ท่านยังเชี่ยวชาญในการวาดภาพทัง-กา*ป22 การปั้นรูป การแกะสลัก ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าผลงานของท่านนั้นทั้งสวยงามและละเอียดประณีต ผลงานในระยะหลังของท่านที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือชิ้นที่ท่านใช้เข็มแกะสลักรูปพระอมิตายุส บนเมล็ดข้าวบาร์เลย์

    ทินเล เจียมโซลามะ ได้ศึกษากับพระอาจารย์หลายท่านแต่พระอาจารย์ที่สำคัญที่สุดคือ ท่านริโวเช ดรุบทอบ เชนโป มหาสิทธาของพระอารามริโวเช หรือที่รู้จักกันในนาม ดรุบวัง จู-ริคซิน หรือเรียกง่ายๆว่า วิทยธารา ท่านเป็นโยคีที่ใช้ชีวิตอยู่ที่เวนเน กูรูลุงริเทรอ หรือสถานที่จำศีล ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากพระอารามริ-โวเชไปทางตะวันตกประมาณ 25 กิโลเมตร ท่านวิทยธารา อาศัยอยู่ในถ้ำที่ กูรูลุง และดำเนินชีวิตตามอย่างมิลาเรปะ*ป23ทุกประการ ท่านสวมใส่เพียงจีวรผ้าฝ้ายผืนบางๆตลอดทั้งปีและอุทิศชีวิตให้ กับการปฏิบัติธรรม สายธรรมตามลำดับหากนับพระอาทิพุทธะเป็นลำดับรุ่นที่ 1 ต่อลงมาถึงพระศากยมุนีพุทธเจ้ารุ่นที่ 4 คุรุ-ปัทมสมภพรุ่นที่ 8 วิทยธาราท่านเป็นธรรมทายาทสายตรงรุ่นที่ 24 ท่านเป็นฒุลกุของพระโพธิสัตว์วัชรปาณิ ท่านมีอายุถึง 136 ปี เมื่อท่านมรณภาพได้บรรลุสภาวะกายรุ้ง*ป24 ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของผู้บรรลุธรรมซกเชนซึ่งเป็นธรรมปฏิบัติสูงสุดของพุทธศาสนาทุกยานทุกนิกาย

 

    ทินเล เจียมโซลามะ อาศัยอยู่กับท่านวิทยธาราที่กูรูลุงเป็นเวลาหลายปีระหว่างนั้นได้เข้ารับการมนตราภิเษกเพื่อการปฏิบัติ “มหามุทรา” *ป25 และ “ซกเชน” *ป26 รวมทั้งปฏิบัติตามแนวทางแห่งความสำเร็จ “เญนดรุบ” ที่มีอยู่มากมายจนบรรลุผลสมบูรณ์ เนื่องจากท่านมีความเฉลียวฉลาดในการศึกษาอยู่แล้ว ท่านจึงกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในการปฏิบัติต่างๆ จนก้าวหน้าและบรรลุผลสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว ระหว่างที่พำนักอยู่ที่กูรูลุงท่านวิทยธารา มักจะเปรยขึ้นบ่อยๆว่า “ทินเล เจียมโซลามะท่านควรไปเกิดที่ประเทศจีนเพื่อเป็นจักรพรรดิของจีน” แต่แล้วต่อมาครั้งหนึ่ง ท่านวิทยธาราก็บอกกับทินเล เจียมโซลามะว่า “ไม่แน่ใจว่าท่านจะสามารถได้ไปเกิดเป็นจักรพรรดิหรือไม่ แต่หากท่านเดินทางไปประเทศจีนก็จะเป็นการดีต่อคนจำนวนมาก” ในขณะนั้นทินเล เจียมโซลามะตั้งใจจะเจริญรอยตามอย่างพระอาจารย์ของท่าน ใช้ชีวิตที่เหลืออย่างสันโดษ ต่อมา ชีวิตของท่านก็เป็นไปตามคำทำนายของอาจารย์ในที่สุด ขณะที่ใช้ชีวิตอยู่อย่างสันโดษนั้น เจดดุง ริมโปเชก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสพระอารามริ-โวเชอย่างเป็นทางการ ในฐานะที่เป็นพระอารามหลักในเขตนั้นพระอารามริโวเชจึงต้องเป็นทั้งศูนย์กลางการบริหารของ 63 โกนละค์หรือเขตปกครองและยังต้องควบคุมการเมืองอีกด้วย เมื่อเจดดุงริมโปเช ได้เป็นเจ้าอาวาส ท่านต้องรับผิดชอบทั้งกิจการภายในพระอารามและสวัสดิภาพของทั้งภูมิภาค ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงขอให้ทินเล เจียมโซลามะ มาช่วยดูแลงานราชการเพื่อที่ท่านจะได้มุ่งความสนใจไปที่กิจการของอารามได้อย่างเต็มที่ ทินเล เจียมโซลามะ ก็ยอมรับคำขอของพี่ชายละจากชีวิตสันโดษมาเป็นผู้ว่าการอาณาเขตริโวเชและหัวหน้าผู้พิพากษาควบคุมดูแลประ -ชาราษฎร์กว่า 2,000 ครอบครัวภายในอาณาเขต ท่านทินเล เจียมโซลามะ ก็เริ่มดำเนินบทบาทใหม่ด้วยความละเอียดถี่ถ้วนและฉลาดหลักแหลมเหมือนครั้งที่ท่านศึกษาเล่าเรียนและทำสมาธิ แม้ว่าชีวิตภายนอกของท่านจะเปลี่ยนไป แต่บทบาทใหม่ของท่านก็ไม่ได้ทำให้ท่านเปลี่ยนจากผู้ปฏิบัติศาสนาไปสู่การเมืองมากนักราวกับว่าศาสนาและการเมืองมีความเกี่ยวข้องกัน

    ชีวิตของท่านเป็นตัวอย่างของการเข้าใจความจริงด้วยการปฏิบัติเช่นเดียวกับอาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ท่านอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น ท่านสามารถขับไล่เหล่าโจรขโมยออกไปจากเขตได้ด้วยการสั่งสอนเรื่องกรรม 4 ประการ โดยเฉพาะเรื่องกรรมที่เป็นตัวกำหนดชีวิตและกรรมที่มีผลในการทำลาย ซึ่งนับเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญในแคว้นคาม นอกจากนี้ ท่านยังมีความสามารถในการบรรเทาอาการเจ็บป่วยทั้งโดยวิธีทางการแพทย์และการใช้เวทย์มนต์ หากคนมาพบท่านเพราะความเจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจที่มีเหตุมาจากพลังชั่วร้าย ท่านจะสามารถปัดเป่าพลังเหล่านั้นออกไปได้อย่างง่ายดายโดยการเพียงวางมือของท่านลงบนศีรษะของคนเหล่านั้น แม้ว่าท่านจะเป็นคนเด็ดเดี่ยวและตรงไปตรงมา ท่านก็ทำงานด้วยความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ท่านได้ให้สิทธิความเท่าเทียมกันแก่ประชาราษฎร์ทั้งหมดรวมทั้งสตรีด้วยซึ่งแต่เดิมสิทธิของสตรีเรียกได้ว่าไม่มีเลย อีกทั้งพยายามพัฒนาสังคมและความเป็นอยู่ของคนในแคว้นตลอดเวลา

    ช่วงเวลานี้เองที่เจดดุง ริมโปเชพบในฌานว่ามี “เตอร์มา” ที่ซ่อนอยู่ในทะเลสาบ เป็นเตอร์มาที่ทินเล เจียมโซลามะจะเป็นผู้ค้นพบต่อหน้าผู้คนจำนวนมากและเป็นอีกครั้งหนึ่งของ ทินเล เจียมโซลามะ แสดงสถานะ เตอร์เติน นับจากเหตุการณ์ครั้งแรกกับบิดาของท่าน เจดดุงริมโปเชจึงได้จัดคณะเดินทางซึ่งประกอบด้วยเจดดุงริมโปเช ทินเล เจียมโซลามะ และกลุ่มคนจากพระอารามริโวเชเดินทางไปยัง กานัมลาโซ ทะเลสาบในเขตพูโว

    เมื่อเดินทางไปถึงทะเลสาบ ทินเล เจียมโซลามะ ก็จุดตะเกียงน้ำมันเนยและถือไว้ด้วยมือหนึ่ง เดินลงไปในทะเลสาบ ผู้คนในคณะเดินทางที่เหลือก็รออยู่ที่ฝั่งเฝ้ามองท่านเดินลงไป ท่านเดินลึกลงไปเรื่อยๆ จนตัวท่านจมอยู่ใต้น้ำทั้งหมดเห็นเพียงแต่ปอยผมของท่านเท่านั้น หลังจากนั้นไม่นาน ท่านก็เดินกลับขึ้นมาโดยที่ตะเกียงยังติดไฟอยู่ เสื้อผ้าและผมของท่านก็แห้ง ในมือท่านถือกล่องอัญมณีสีเขียวเทอคอยซ์รูปกบ ทินเล เจียม-โซลามะวางกล่องใส่ เตอร์มา ลงบนมือท่านเจดดุงริมโปเช ขณะที่คนอื่นกำลังจ้องมองอยู่นั้น กล่องก็เริ่มเคลื่อนจากฝ่ามือของเจดดุงริมโปเช กระทั่งไปหยุดอยู่ที่ปลายนิ้ว ท่านจึงเปิดกล่องและหยิบเอาข้อความซึ่งเป็นบทธรรมวิธีปฏิบัติของ วัชรปาณิ-โพธิสัตว์ และสูตรรักษาโรคเรื้อน

    หลังจากนั้น พวกท่านก็ได้รับเชิญจากกษัตริย์แห่ง พูโว ให้เดินทางไปเยือน เปมาโค พร้อมให้ความคุ้มครองอย่างเป็นทางการ เปมาโค เป็น เบยุล หรือดินแดนลี้ลับ ตั้งอยู่บริเวณชายแดนระหว่างแคว้นคาม และอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นหนึ่งใน 108 ดินแดนลี้ลับที่ตั้งกระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณหิมาลัย ดินแดนห่างไกลเหล่านี้ได้รับการมนตราภิเษกมอบอำนาจจากท่านคุรุปัทมสมภพ ให้ถูกห้อมล้อมด้วยสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมภายนอกและได้รับการคุ้มครองตลอดไป ในสถานที่เช่นนี้ การทำความเข้าใจทางจิตวิญญาณสามารถบรรลุผลได้อย่างง่ายดาย ในบางกรณี ดินแดนลี้ลับนี้ยังเป็นสถานที่หลบภัยในยามสงครามหรือยามมีภัยต่างๆ ท่านคุรุปัทมสมภพ ได้เขียนคู่มือการเดินทางไปสู่ดินแดนลี้ลับเหล่านี้และซ่อนไว้เป็น เตอร์มา เพื่อให้ถูกค้นพบเมื่อถึงสภาวการณ์อันเหมาะสม เตอร์มา ที่เกี่ยวกับสถานที่ตั้งของ เปมา-โค ถูกค้นพบโดยท่าน ริคซินเจโซน ญิงโป (1585-1656) และอีกเล่มหนึ่งถูกค้นพบในภายหลังโดย ริคซิน ดูดัล ดอร์เจ (1615-1672) ซึ่งเป็นผู้เปิดดินแดนแห่งนี้ก่อนที่มันจะกลายเป็นสถานที่แห่งการเดินทางแสวงบุญในช่วงปลายศตวรรษที่ 18

    เมื่อคณะเดินทางไปถึง โลเน เปมาโค ยังซัง สถานที่ซึ่งลึกลับที่สุดใน เปมาโค ทินเล เจียมโซลามะ ก็เดินทางล่วงหน้าไปยัง เปมาศรี หรือภูเขาดอกบัวแก้ว ณ ใจกลาง เปมาโค ที่นี่เองที่ทำให้ท่านเกิดความมุ่งมั่นที่จะสั่งสอนและสร้างจิตสำนึกให้แก่มนุษย์ หลังจากนั้น ท่านก็ได้ค้นพบ เตอร์มา อีก ซึ่งในครั้งนี้เป็นรูปภาพ 2 ภาพ ภาพหนึ่งเป็นของท่าน คุรุปัทมสมภพ ที่มีชื่อว่า เดนปีดุงเซล หรือผู้หยั่งรู้การบรรเทาความทุกข์ทรมาน และอีกภาพหนึ่งเป็นของท่าน เยเซ โซเกียล*ป27 ที่มีอักขระศักดิ์สิทธิ์ “ผ;” ประทับตรงกลางหัวใจ และเม็ดยาศักดิ์สิทธิ์ โพธิจิตตา ซึ่งท่านได้มอบของเหล่านี้ให้แก่ท่านเจดดุงริมโปเช

    หลังจากพักอยู่ที่ เปมาโค พวกท่านก็เดินทางออกไปยังอาณาเขตข้างเคียงของ โลปาดา ซึ่งมีพวก โลดำ อาศัยอยู่ พวกนี้เป็นชนเผ่าเดียวกับพวกนาค ในแคว้นอัสสัม และมีนิสัยโหดร้ายเพราะมักจะดักโจมตีนักเดินทางอย่างป่าเถื่อน คณะของท่านเองก็ถูกซุ่มโจมตีจากพวก โลดำ หลายคนถูกยิงด้วยลูกธนูอาบยาพิษ แต่ด้วยบารมีแห่ง สิทธา และความสามารถของท่านทินเล เจียมโซลามะ ท่านจึงสามารถช่วยทุกคนไว้ได้โดยการดูดพิษออกจากบาดแผลทำให้ไม่มีใครได้รับความเจ็บปวดหรือผลข้างเคียงจากพิษนั้นเลย

    ในที่สุด คณะเดินทางก็มาถึงบริเวณ มิภิ ซึ่งทินเล เจียมโซลามะ และเจดดุงริมโปเช พบพระอารามแห่งหนึ่งและอาศัยอยู่ที่นั่นหลายปีก่อนเดินทางกลับพระอารามริโวเช เมื่อพวกท่านเดินทางกลับมาแล้ว ท่านก็กลับคืนสู่ตำแหน่งเดิม และบริหารงานศาสนาและกิจการบ้านเมืองของพระอารามริโวเช

    ต่อไป ในปี 2454 พระอารามริโวเช กลายเป็นเขตอันตรายเพราะต้องเป็นสถานที่ถ่วงดุลระหว่างทหารจีนและกองทัพทิเบต กำลังทหารจีนในทิเบตทวีจำนวนขึ้นระหว่างปี 2449 ถึง 2452 และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในแคว้นคาม ในขณะที่กองทัพจีนที่นำโดยแมนจูเข้าครอบครอง บาทัง, เดอร์เก, ทรายา และ ชัมโด จากนั้นในปี 2453 กองทัพจีนก็ยกพลสู่ ลาซา และส่งกองกำลังทหารราบเข้าสู่เมืองหลวงภายใต้คำสั่งของนายพล จุงกิง ทะไลลามะองค์ที่สิบสาม และพรรคพวกต้องลี้ภัยไปยัง ดาร์จีริ่ง ไม่ถึงสองสัปดาห์ต่อมา นายพล จุงกิง พร้อมผู้แทนจีนในทิเบตร่วมกันเนรเทศองค์ทะไลลามะ อย่างเป็นทางการ และประกาศแต่งตั้งตนเองเป็นผู้นำทิเบต

    อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครให้ความสำคัญกับชาวจีนที่ปกครองทิเบตมากนัก พวกเขาจึงต้องสลายตัวไปในปี 2454 เมื่อคณะปฏิวัติโค่นล้มผู้นำแมนจูในจีนและราชวงศ์ชิงเสื่อมอำนาจ การต่อสู้ระหว่างกองทัพทิเบตและทหารจีนเกิดขึ้นทันทีในลาซา ทหารจีนบางคนก่อการกบฏหรือละทิ้งหน้าที่เพื่อเดินทางข้ามทิเบตกลับไปยังจีน รวมทั้งปล้นสะดมและทำลายหมู่บ้านที่อยู่ในเส้นทาง และจุดไฟเผาเพื่อป้องกันการไล่ตามของกองทัพทิเบต ในที่สุด ทหารเหล่านี้ก็มาถึง พระอารามริโวเช และเข้าครอบครองอาราม ตลอดจนตั้งกองทหารรักษาการชั่วคราวขึ้นในลาคังทาเจมา ซึ่งเป็นอารามหลักของ พระอารามริโวเช โชคยังดีที่ทหารเหล่านี้ไม่ได้ปล้นสะดมอะไรไปมาก อารามที่ได้รับการตกแต่งไว้อย่างประณีตงดงามด้วยงานศิลปะและของมีค่าอื่นๆ ก็ไม่ได้เสียหายจากการก่อไฟเพื่อหุงหาอาหารและการละเลยไม่เอาใจใส่ทั่วๆ ไปของทหารจีน อย่างไรก็ตาม พวกทหารก็สุมไฟไว้รอบๆ อารามเพื่อเป็นการเตือนว่าพวกเขาจะเผาอารามให้ราบหากไม่ได้ตามที่ต้องการ

    ด้วยเหตุนี้ ท่านทินเล เจียมโซลามะ จึงเข้าพบผู้บัญชาการทหารจีนเพื่อเจรจาหาข้อตกลงที่จะรักษาอารามไว้และหาทางยุติการสู้รบ ท่านตกลงจะช่วยทหารจีนจากการบุกโจมตีของกองทัพทิเบตในขณะถอยทัพ หากจีนสัญญาว่าจะรักษาอารามไว้และทางจีนก็ตกลงลาคังทาเจมาจึงไม่ถูกทำลายไป

    กองทัพทิเบตจากลาซา ที่ไล่ตามทหารจีนมาถึงพระอารามริโวเช กองทัพลาซา ต้องการตัวท่านทินเล เจียมโซลามะ ด้วยเช่นกัน เนื่องจากกองทัพลาซาก็ต้องการกำจัดท่านเพื่อกุมอำนาจปกครองดินแดนตะวันออก เกนเดนโภทัง ผู้บัญชาการกองทัพรัฐบาลกลาง เมื่อทราบว่าทินเล เจียมโซลามะมีข้อตกลงกับทหารจีน เขาจึงสั่งจับตัวท่านทันทีในข้อหาสมรู้ร่วมคิดกับศัตรู ทหารทิเบตจึงยกกำลังมายังบ้านที่ท่านอาศัยอยู่ และจับตัวท่านรวมทั้งยึดเอาข้าวของและปศุสัตว์ของท่านทั้งหมดกลับไปยังค่ายทหาร หลังจากตกเป็นเชลยได้ประมาณหนึ่งเดือน ท่านทินเล เจียมโซลามะ ก็หลบหนีออกมาได้ มีคนมาบอกว่าผู้บัญชาการกองทัพทิเบตวางแผนจะประหารชีวิตท่าน แต่ท่านหนีจากการจับกุมของทหารทิเบตได้และเดินทางไป “ทาเจมา” เพื่อพบผู้บัญชาการกองทัพจีน ด้วยเหตุนี้ ความหวาดระแวงและความไม่เข้าใจจึงเพิ่มมากขึ้นจนถึงจุดที่ทั้งสองฝ่ายมองว่าท่านเป็นคน ทรยศ ผู้บัญชาการกองทัพจีนไม่เชื่อว่าท่าน จะถูกคุมขังในฐานะนักโทษในค่ายทหารทิเบตจริงและยังปักใจเชื่ออีกว่าท่านผิดสัญญาที่จะช่วยทหารจีน แต่ไปยังกองทัพทิเบตเพื่อขอความคุ้มครอง และจากการที่ทหารจีนคิดว่าท่านเป็นคนหลอกลวงเช่นนี้ พวกเขาจึงเข้าจับกุมเจดดุงริมโปเช ในข้อหาสมรู้ร่วมคิดกับทินเล เจียมโซลามะ และขู่ว่าจะเผาอารามอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ท่านทินเล เจียมโซลามะ ก็สามารถโน้มน้าวผู้บัญชาการกองทัพจีนให้เชื่อได้ว่าท่านถูกจับกุมไป ไม่ใช่เพราะความสมัครใจของท่าน และท่านก็ไม่ได้จะทำผิดสัญญาที่จะช่วยทหารจีนหลบหนี ทหารจีนจึงยอมปล่อยตัวท่านเจดดุงริมโปเช หลังจากนั้น ทินเล เจียมโซลามะ ได้เกณฑ์ทหารกองหนุนกลุ่มเล็กๆ เข้าเสริมกำลังกับทหารจีนเพื่อช่วยทหารจีนในการถอนกำลังกลับ ขณะนั้นมีการต่อสู้กับทหารทิเบตปะปราย แต่ทหารจีนก็สามารถหลบหนีไปได้โดยที่ไม่ได้ทำลาย “ลาคัง ทาเจมา”

    จากนั้น พระอารามริโวเช ก็ตกอยู่ภายให้การควบคุมของทิเบต พระอารามที่ท่านทินเล เจียมโซลามะ พยายามปกป้องไว้จากการทำลายล้างของทหารจีนได้ถูกปล้นสะดมจากกองทัพทิ -เบตลาซา ความไม่ไว้วางใจกันระหว่าง พระอารามริโวเช และคณะรัฐบาลกลางที่ลาซา ก็เริ่มต้นขึ้นรัฐบาลกลางสงสัยว่า พระอารามริโวเช สนับสนุนจีนและไม่เคยเชื่อว่าท่านทินเล เจียมโซลามะต้องการเพียงแค่จะปกป้องประชาชนของท่านและพระอารามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทิเบต ทินเล เจียมโซลามะถูกจับกุมอีกครั้งหนึ่งด้วยข้อหากบฏและถูกพาตัวไปจำคุกที่ลาซาอยู่หลายปี ในระหว่างที่ถูกจำคุก ทินเล เจียมโซลามะ ก็ยังคงปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดและยังเป็นอาจารย์สอนธรรมะแก่นักโทษอื่นๆด้วย จากที่มีคนจากริโวเช เดินทางมาเยี่ยมท่านมากมาย ท่านจึงได้แบ่งอาหารและของซึ่งคนนำมาถวายให้แก่นักโทษอื่นๆด้วย ด้วยความสุขุมเยือกเย็นแม้ในยามมีภัย เป็นที่เลื่อมใสแก่ผู้ที่ได้รู้จักแม้แต่ในกรุงลาซาเอง จึงมีแต่เจ้าหน้าที่ในรัฐบาลกลางเท่านั้นที่ต่อต้านท่าน และได้ลอบสังหารท่านหลายครั้ง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเลย

    ตามประเพณีแล้วนักโทษจะไม่ถูกคุมขังในกรุงลาซานานนัก นักโทษข้อหาเล็กน้อยจะได้รับการอภัยโทษทุกๆ3ปีในวันเกิดขององค์ทะไลลามะ ส่วนนักโทษคดีร้ายแรงจะถูกย้ายไปเรือนจำในเขตอื่นนอกกรุงลาซา ทินเล เจียมโซ ลามะ ถูกส่งไปจำคุกตลอดชีวิตยังเรือนจำใน “จายูโจง” ในเขต “โลคา” ใกล้ชายแดนภูฐาน ในช่วงนี้มีข่าวลือมากมายเกี่ยวกับตัวท่าน ในหมู่ประชาชนในริโวเช บ้างก็ว่าท่านถูกขังเดียวจึงมีเวลาปฏิบัติจนบรรลุรู้แจ้งในซกเชนเข้าสู่สภาวะกายรุ้งอันเป็นลักษณะที่เหลือเพียงผมและเล็บในขณะมรณภาพ บ้างก็ว่าท่านถูกเจ้าหน้าที่เรือนจำสังหารและประกอบพิธีศพกลางท้องฟ้าตามประเพณีแล้ว(พิธีปลงศพโดยการอุทิศร่างกายทั้งหมดเป็นอาหารนกแร้ง) และยังมีเรื่องเล่าว่ามีคนได้พบเห็นท่านเดินอย่างสบายๆตามถนนใน จายู ในปี 2458 มีเรื่องเล่าว่า ผู้บัญชาการ เกนเดนโภทัง ได้รับจดหมายจากนครนานกิง ซึ่งเขียนด้วยลายมือของท่านทินเล เจียมโซลามะ พร้อมรูปถ่ายของท่านในนครนานกิง รัฐบาลกลางอับ-อายขายหน้ามาก และสอบสวนไม่ได้ว่า ทินเล เจียมโซลามะหลบหนีจากการคุมขังไปได้อย่างไร ผู้ปกครอง “จายู” ถูกสั่งจำคุก ประชาชนทั่วไปทั้งที่จายู ลาซา และริโวเช ห้ามติดต่อและกล่าวถึงทินเล เจียมโซลามะ มิฉะนั้นจะต้องได้รับโทษฐานกบฏ

    มีบันทึกในพากย์ภาษาจีนว่าปีพ.ศ. 2458 เดือน 9 วันที่ 13 ทินเล เจียมโซลามะได้หนีออกจากคุก หลบหนีไปทางตะวันตกของเขต “ตาชิลุนโป” กลางคืนเดินทาง กลางวันหลบซ่อน ในระหว่างทางได้พบลามะนิกายแดงขาว 2 รูป เมื่อได้รับทราบความทั้งหมดก็ได้ตั้งปณิธานติดตามรับใช้ท่านตลอดชีวิต ภาย หลังพระลามะรูปหนึ่งไปมรณภาพที่ปักกิ่ง อีกรูปไปมรณภาพที่จุงกิง ท่านเดินทางเข้าอินเดียระหว่างทางพบผู้ป่วยไข้ก็รักษา พบผู้ต้องการธรรมะก็อบรมสั่งสอนด้วยความเมตตาที่มีต่อสรรพชีวิต เดินทางเข้าเขตเมืองหนึ่งชื่อ “จ๋าซีค่ง” เจ้าผู้ครองเมืองมีราชธิดาซึ่งถูกโรคร้ายรุมเร้าผ่านการรักษามาโดยตลอดก็ไม่หาย จนเมื่อทินเล เจียมโซลามะมาพบเพียงท่านสวดมนตราโรคร้ายก็หายดังปลิดทิ้ง สร้างความดีใจซาบซึ้งใจในเจ้าผู้ครองเมือง และต้องการให้ท่านอยู่ด้วยจะขอเป็นองค์อุปถัมภ์ และจะสร้างวัดให้จำพรรษา แต่ด้วยความเป็นห่วงต้องการทราบข่าวคราวของริ-โวเช ท่านจึงไม่รับนิมนต์ เจ้าผู้ครองเมืองจึงมอบเงินให้ 700 รูปี จากนั้นท่านได้เดินทางผ่านเมืองบอมเบย์ เดินทางอยู่ 7 เดือน จนไปขึ้นเรือเดินทางเข้าสู่เซียงไฮ้

   

ในช่วงที่เกิดข่าวลือต่างๆนาๆนั้น มีเรื่องจริงเรื่องหนึ่งคือทินเล เจียมโซลามะ ได้หลบหนีจากการคุมขังแน่นอน ขณะนั้นท่านได้พำนักอยู่ในประเทศจีนจริง และท่านเป็นบุคคลสำคัญในการฟื้นฟูการปฏิบัติพุทธวัชรยานในประเทศจีนจนมั่นคงและเป็นพุทธะนิกายหลักดังที่เคยปฏิบัติกันในราชสำนักจีน ซึ่งก่อนหน้านั้นในปลายราชวงศ์หมิง การสอนวัชรยานเป็นสิ่งที่ต้องห้าม ท่านดำรงชีวิตอย่างสันโดษ อบรมสั่งสอนพุทธวัชรธรรม เวลาส่วนใหญ่ของท่านคือการเดินทางเผยแพร่คำสอนไปทั่วประเทศจีน จัดตั้งศูนย์การปฏิบัติธรรมขึ้นทั่วไปเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณแก่ชนชาวจีน ในฐานะมหาสิทธาผู้บรรลุมรรคผล ผู้ทรงพลังทางจิตวิญญาณมีลูกศิษย์จำนวนมาก แม้จีนจะเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่สถานะคุรุทางจิตวิญญาณของท่านก็มิได้เปลี่ยนแปลงไป เจ้าหน้าที่ในรัฐบาลใหม่และทหารในพรรคก๊ก-มินตั๋งมากมายที่เคารพศรัทธาในตัวท่านรวมทั้งประธานาธิบดี-เจียงไคเช็คด้วย ความสัมพันธ์ของท่านและประธานาธิบดีเริ่มจากหัวหน้าฝ่ายข่าวกรองของพรรคก๊กมินตั๋งซึ่งเคารพศรัทธาในท่านทินเล เจียมโซลามะได้บอกเล่าเรื่องราวต่างๆความรู้ ความ สามารถทั้งทางธรรมและทางโลก โดยเฉพาะความรอบรู้แตกฉานทางการเมือง จนท่านประธานาธิบดีสนใจและได้เดินทางไปพบ ท่านประธานาธิบดีได้นำสุนัขตัวโปรด สองตัวไปด้วยตัวหนึ่งสีดำตลอด ตัวหนึ่งสีขาวตลอด ในการพบกันครั้งแรกนี้ ทินเล เจียมโซลามะได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์เพื่อต้อนรับท่านประธานาธิบดีเจียงไคเช็ด โดยการตัดหัวสุนัขทั้งสองตัวของท่านประธานาธิบดี แล้วต่อหัวกลับคืนสลับกัน จนสุนัขสีดำมีหัวสีขาว และสุนัขขาวมีหัวสีดำ และสุนัขก็มีชีวิตอยู่อย่างปกติต่อมา เป็นที่อัศจรรย์และประทับใจแก่ท่านประธานาธิบดีเจียงไคเช็คเป็นอันมาก และต่อมาท่านก็ได้ถวายตัวเป็นศิษย์ของท่านทินเล เจียมโซลามะและได้ประกาศแต่งตั้งท่านเป็น “มหาฮูถูเคอถู่” หรือมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเช ซึ่งแปลว่า”พระมหาชีวินพุทธะผู้ประเสริฐซึ่งมาจากทิศตะวันตก” จึงได้เรียกนามท่านว่า นอราริมโปเชฮูถูเคอถู่หรือนอราริมโปเช พร้อมทั้งจัดตั้งกองทหารอารักขาตลอดเวลาที่ท่านเดินทางไปทั่วประเทศจีน

    หลังจากที่ท่านจากอารามริโวเชแคว้นคามมาแล้ว ท่านไม่เคยได้กลับไปอีกเลย พร้อมทั้งเรื่องราวของท่านในแคว้นคามก็ค่อยๆเลือนหายไปด้วยการห้ามและเข้มงวดของรัฐบาลทิเบตลาซา จนกระทั่งในช่วงปี 2473 ท่านจึงได้มีโอกาสพบกับพระธุดงค์กลุ่มหนึ่งจากริโวเช ณ บริเวณชายแดนทิเบต-จีน “ดาเซโด” พระธุดงค์ท่านหนึ่งชื่อ ตาชิ เซริง ได้ถามเรื่องที่ท่านหนีจากเรือนจำได้อย่างไร ท่านตอบว่าในขณะถูกคุมขังอยู่ที่ลาซา ท่านได้สวดมนต์ วัชรกิลายา*ป28 หนึ่งร้อยล้านจบ จนบรรลุความเป็นหนึ่งเดียวกับยีตัมวัชรกิลายาและอาศัยอำนาจพิเศษนั้นหลบออกมา ส่วนเรื่องราวที่เรือนจำ “จายู” ท่านไม่เคยได้พูดถึงเลย ด้วยเหตุแห่งการพบกันนี้ทำให้เรื่องราวของท่านในช่วงหลังที่ท่านอยู่ในประเทศจีน จึงมีชาวทิเบตในบริเวณ “ดาเซโด” ได้รับทราบและถ่ายทอดต่อมานี้

    พระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเช อยู่เผยแพร่พุทธศาสนาวัชรยานในประเทศจีนและสถานที่ต่างๆเกือบทั่วเอเชียใต้เป็นเวลาราว 21 ปี จนกระทั่งมรณภาพในปี 2479 รายละเอียดการมรณภาพไม่ชัดเจนนัก แต่เป็นที่ทราบกันว่าท่านมรณภาพขณะพำนักอยู่ที่ ดาเซโด ในช่วงแรกของการเดินทางอันยาวไกลของพรรคคอมมิวนิสต์ กองกำลังคอมมิวนิสต์บุกเข้า ดาเซโด และสู้รบกันทหารอารักขาท่านและทหารผู้นำสาธารณะรัฐเดอร์เก ทหารคอมมิวนิสต์มีชัย ท่านและผู้นำสาธารณะรัฐเดอร์เกถูกจับ คณะนายทหารคอมมิวนิสต์ประชุมกำหนดโทษ ผลการตัดสินให้ละเว้นโทษแก่ท่านและผู้นำสาธารณะรัฐ อีกทั้งมอบตำแหน่งผู้นำท้องถิ่นโดยให้ขึ้นตรงต่อพรรคคอมมิวนิสต์ แต่จากนั้นไม่นานท่านก็มรณภาพ พรรคคอมมิวนิสต์ประกาศเกียรติคุณและความสำคัญของท่านและสั่งให้มีการไว้ทุกข์ให้ท่าน บางคนเชื่อว่าท่านมรณภาพเองโดยธรรมชาติ บางคนก็เชื่อว่าท่านถูกสังหารโดยพวกคอมมิวนิสต์

 

    หลังการมรณภาพสรีระของท่านได้หดลงจนเหลือเล็กมาก ซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งการบรรลุซกเชนอย่างสมบูรณ์ และขณะฌาปนกิจท้องฟ้าได้เกิดรุ้งห้าสีอยู่หลายชั่วโมง ในเบื้องนภากาศปรากฏภาพพุทธวัชรกายให้ผู้ร่วมพิธีได้เห็นอย่างชัดเจน หลังพิธีฌาปนกิจสรีระของท่านแล้ว ได้พบหัวใจและลิ้นของท่านอยู่กลางกองเถ้าถ่านโดยไม่ถูกเผาไหม้แม้แต่น้อย อัฐิเป็นสีแดง ขาว ฟ้า สามสี และได้ถูกนำไปมอบให้แก่ประธานาธิบดีเจียงไคเช็ค ท่านได้สร้างพระสถูปบรรจุหัวใจและได้เขียนบทสรรเสริญความยิ่ง ใหญ่ของพระวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอรารินโปเช ในฐานะศิษย์มอบความเคารพศรัทธาต่อพระอาจารย์ของตนและในฐานะผู้นำชาวจีนผู้อยู่ใต้อิทธิพลแห่งการนำจิตวิญญาณของท่าน

    หลังการมรณภาพของท่านนอราริมโปเช มรดกธรรมของท่านซึ่งได้ตกทอดไว้ก็กระจัดกระจายไปทั่วเอเชียเนื่องจากบรรดาลูกศิษย์ของท่านต่างพากันหลบหนีคอมมิวนิสต์ออกนอกประเทศ คำสั่งสอนของท่านเริ่มแพร่หลายออกไปนอกประเทศจีนโดยศิษย์ของท่าน ซึ่งในจำนวนนั้นอย่างน้อย 2 ท่านที่เป็นพระสงฆ์ และต่อมาได้สร้างวัดขึ้นในไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซียและประเทศไทย

    ความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างนอราริมโปเชและสายธรรมในพระอารามริโวเชเริ่มลดน้อยถอยลงเมื่อศิษย์รุ่นแรกๆของท่านสิ้นชีวิต ผู้คนเริ่มไม่รู้เรื่องราวของท่าน ศิษย์ทั่วไปก็เพียงแต่รับทราบและเคารพนับถือในฐานะผู้อาวุโสท่านหนึ่ง อีกทั้งเรื่องของท่านรัฐบาลกลางลาซาก็ห้ามมิให้กล่าวถึง ทำให้การสืบเสาะบันทึกเรื่องราวของท่านทำไม่ได้ เป็นอีกเหตุหนึ่งที่ทำให้เรื่องราวของท่านขาดการติดตามจนหายไปจากริโวเชเองในเวลาต่อมา หลังจากการมรณภาพของท่าน ต้องใช้เวลาอีกกว่า 50 ปี ในการปะติดปะต่อเพื่อเชื่อมเรื่องราวของท่านจากทิเบตสู่ประ -เทศจีน เริ่มตั้งแต่ ท่านเป็นโยคี การ่าลามะ เป็นผู้นำของริโวเช จนกระทั่งเป็นนอราริมโปเช พระอาจารย์ชาวทิเบตผู้เผยแพร่ธรรมะจนแพร่หลายไปทั่วประเทศจีน สมาชิกของวัดหรือองค์กรต่างๆที่ศิษย์ของท่านได้ตั้งขึ้น ต่างพยายามสืบค้นข้อมูลอย่างมืดมนเพื่อเชื่อมเรื่องราวระหว่างช่วงทิเบตและจีนเข้าด้วยกัน แต่ก็ล้มเหลวเป็นส่วนใหญ่ อีกประการหนึ่งคือ การปฏิบัติแบบวัชรยานบางอย่างเป็นเรื่องพิเศษ รู้กันระหว่างศิษย์กับอาจารย์เท่านั้น และเป็นความลับที่จะเปิดเผยไม่ได้ ทำให้สมาชิกสงฆ์อื่นใน พระอารามริโวเช ไม่ให้ความสนใจที่จะไต่ถามเรื่องราวจากท่านหรือเรื่องราวของท่าน สุดท้ายก็เพียงแต่ทราบว่าท่านเป็นต้นธารแห่งสายธรรม เป็นสิ่งเร้นลับ เป็นตำนาน แต่ก็เลือนลาง

    หนึ่งในผู้สืบค้นและประสบความสำเร็จสูงสุด ท่านเป็นลามะเชื้อสายแห่งริโวเชที่เหลืออยู่ อีกทั้งยังนับเป็นญาติสนิทของท่านนอราริมโปเชเอง วัชราจารย์เคนโป โซนัม ทอปเกียล ริมโปเช เจ้าอาวาสวัดริโวเช กรุงโตรอนโต แคนาดา ท่านมีศักดิ์เป็นหลานตา คุณย่าของท่านเป็นน้องสาวของท่านนอราริมโปเช ท่านได้พยายามศึกษาเรื่องราวของท่านในประเทศจีน และก็โชคดีที่ได้ทราบละเอียดเกี่ยวกับการพบกันแบบลับๆที่ ดาเซโด ระหว่างท่านนอราริมโปเชกับกลุ่มพระธุดงค์จากริโวเช และยังได้ทราบเรื่องราวจากคาลูริมโปเช ซึ่งเป็นคนพื้นเมืองบริเวณชายแดน จีน-ทิเบต ที่ท่านนอราริมโปเชไปเยี่ยมเยียนบ่อยๆ โซนัมริมโปเช เคยได้พบกับศิษย์รุ่นแรกๆชาวจีนของท่าน ชื่อ โยคีเชน*ป29 ในปี 2503 ที่กาลิมปง อินเดีย ลามะโยคีเชน บอกว่าท่านเป็นศิษย์ของนอราริมโปเช แต่ในขณะนั้น ไม่มีชาวทิเบตคนใดรู้เลยว่านอราริม-โปเชก็คือการ่า ลามะ

    ต่อมาในปี 2521 ขณะที่โซนัมริมโปเชเข้าพบ ท่าน ดิลโก เชนเซ ริมโปเช ที่อารามในโพธนาถ เนปาล มีชาวจีนมาเลเซียท่านหนึ่ง ชื่อ เยเชเจียมโฌ เข้าพบท่าน ดิลโก เชนเซริมโปเช*ป30 เช่นกัน ทั้งสองท่านกำลังสืบหาลามะทิเบตผู้ลึกลับ ซึ่งศิษย์ของท่านได้สร้างวัดขึ้นที่ อิโป มาเลเซีย เยเซเจียมโฌได้นำรูปออกมาให้ ดิลโก เชนเซริมโปเช ดู 2 รูป รูปหนึ่งป็นรูปของรูปปั้นโยคี รูปหนึ่งซึ่งเป็นรูปของนอราริมโปเช ท่านดิลโก เชนเซริมโปเช ดูแล้วก็ส่งต่อให้ โซนัมริมโปเชดูต่อ โซนัมริมโปเชเคยเห็นรูปนอ-ราริมโปเชนี้มาแล้ว ส่วนอีกรูปหนึ่ง ท่านว่าเป็นรูปปั้นของ วิทย-ธาราดรุบวัง ซึ่งท่าน ดิลโก เชนเซริมโปเช ก็เห็นด้วยเช่นกัน วันนั้น ท่านโซนัมรินโปเช่ และเยเซเจียมโฌ ได้สนทนาแลกเปลี่ยนเรื่องราวที่ตนเองได้รับรู้มาจากการตามรอยของท่านการ่าลามะหรือนอราริมโปเช

    เรื่องราวทั้งปวงสะดุดที่ปัญหาเดียวว่า การ่าลามะเปลี่ยนชื่อเป็นนอราริมโปเช สันนิฐานว่า คำว่านอรา มาจาก คำเรียกท่านว่า นุบลามะ ซึ่งแปลว่า ลามะผู้มาจากตะวันตก และจากการที่ท่านไม่กลับไปที่ริโวเชอีกเลยพร้อมทั้งไม่ยอมเปิดเผยตัวเองต่อชาวทิเบตว่าท่านคือการ่าลามะอีกเพราะท่านไม่เป็นที่ต้องการของรัฐบาลกลางลาซา จะสร้างความเดือนร้อนให้แก่ผู้รับรู้ จากการที่กลุ่มพระธุดงค์จำได้ว่าท่านคือการ่าลามะ ในขณะที่ท่านดำรงสถานะเป็นนอราริมโปเช ท่ามกลางกองทหารอารักขา และจากการที่ท่านนอราริมโปเช บอกว่า พระอาจารย์ของท่านคือ วิทยธาราดรุบวัง จูริคซิน มีเอกสาร หลักฐานหลายชิ้นที่อยู่กับท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้ง (ทริมซิน กุนทรัก ริมโปเช พระสงฆ์ศิษย์เอกของท่าน) เป็นที่เชื่อได้แน่นอนว่า การ่าลามะในทิเบตช่วงแรกก็คือนอราริมโปเชช่วงหลัง เมื่ออุปสรรคผ่านพ้น ท่านโซนัมริมโปเช ได้เดินทางไปสัมพันธ์กับวัดและองค์กรต่างๆในสายของนอราริมโปเช ทั่วทั้งเอเซีย

เรื่องราวการประกอบธรรมกิจ โปรดสรรพชีวิตครั้งสำคัญๆในประเทศจีน ของ พระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเช

ที่เสฉวน

ในปีสาธารณะะรัฐที่ 15 พ.ศ. 2469 เดือน 12 วันที่ 15 พระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเช เดินทางถึงนครจุง-กิง ในฤดูใบไม้ผลิของปีต่อมา ประชาชนทุกฝ่ายในจุงกิง ได้จัดพิธีธรรมสร้างสันติขึ้นเป็นเวลา 49 วัน โดยพระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเชท่านเป็นเจ้าพิธีธรรม สถานที่จัดพิธีอยู่ที่บริษัทเจียงเหอ บริเวณชั้น2 ได้มีการห้ามผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าออกในบริเวณมณฑลพิธี วันหนึ่งขณะประกอบพิธี เผอิญมีหญิงต่างเผ่าผู้หนึ่ง จะแอบเข้ามาเพื่อชมพิธี พอมาถึงประตู ก็ล้มลง ร้องครวญครางด้วยความเจ็บปวด ต้องขอให้พระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเชช่วยจึงกลับเป็นปกติ มณฑลพิธี แขวนรูปทังกา จัดแท่นสวดมนต์และแท่นบูชา แท่นกว้าง 100 กว่าฟุต สูง 3 ฟุต จัดวางเครื่องใช้ในการประกอบพิธีต่างๆซึ่งทำจากเงินและทอง ในการประกอบพิธีวันหนึ่ง พระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเชมีคำสั่งให้เชิญสุภาพสตรีท่านหนึ่งซึ่งเป็นคนในครอบครัวของผู้บัญชาการกองพลท่านหนึ่งให้ออกจากมณฑลพิธีโดยด่วน หากชักช้าจะไม่ทันการ แต่ก็ไม่ทันการจริงๆ สตรีผู้นั้นยังออกไม่พ้นมณฑลพิธี กายก็สั่นเทา หน้าเปลี่ยนสี ปากก็พึมพัมอยู่ไม่ขาด ต้องพยุงมาให้ พระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเชช่วยจึงกลับเป็นปกติ

ปีสาธารณะรัฐที่ 17 พ.ศ. 2471 ในฤดูใบไม้ผลิ ได้ประกอบพิธีธรรมมหาพร 100วัน ได้จัดมณฑลลักษณะ วัชรธาตุมณฑล ขณะที่พระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเช กักตนบำเพ็ญอยู่ในมณฑลพิธี ก่อนถึงวันพิธีหนึ่งวัน ขณะนั้นผู้ว่าการลีพร้อมภรรยาและบุตรสาว 3 คน ได้อยู่สนทนากันพระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเช ในเวลาขณะนั้นใกล้ยาม 3 ผู้คนในที่นั้นได้ยินเสียงฟ้าร้องกึกก้องยาวนานหลายนาที สร้างความแตกตื่นตกใจแก่ผู้คนทั่วไป พระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเชได้กล่าวแก่ผู้คนเหล่านั้นว่า ไม่ต้องตกใจ เป็นเสียงของเหล่าวัชรกายมาสู่มณฑลพิธี เมื่อถึงเวลาพระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเชมาถึงมณฑลพิธี ท้องฟ้ากระจ่างแจ่มใส ท่านได้กล่าวขึ้นว่าคืนนี้ พระธิดามังกรจะลงมาสู่มณฑลพิธี คืนนี้ฝนจะตกใหญ่ขอให้เตรียมการไว้ให้พร้อม เมื่อยาม 2 ฝนก็ได้ตกลงมาอย่างหนัก ในวันต่อมา มีทหารนายหนึ่งยืนอยู่นอกมณฑลพิธี ได้กล่าววาจาหยาบคายลบหลู่ดูหมิ่น อยู่ๆก็เป็นลมล้มคว่ำลง ต้องขอให้พระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเชช่วย เมื่อท่านร่ายมนต์นายทหารผู้นั้นก็ฟื้นคืนสติ อีกทั้งในขณะประกอบพิธีท้องฟ้าที่สว่างไสวก็จะคำรามกึกก้องมิได้ขาดซึ่งเป็นสัญญาณว่าเหล่าวัชรกายมาสู่มณฑลพิธี ที่

ที่นานกิง

    ปีสาธารณะรัฐที่ 18 พ.ศ. 2472 เดือน 4 พระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเชได้เดินทางสู่นานกิง ท่านได้เผยแพร่ธรรม ทั้งช่วยรักษาชาวประชาที่เจ็บป่วย ช่วยปลดทุกข์แก่ชาวประชาไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด หรือลัทธินิกายใด ท่านได้แผ่เมตตาช่วยไม่เลือกชั้นวรรณะแหล่งที่มา ในช่วงนั้นจักรพรรดิปูยี จักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิงซึ่งถูกปลดเป็นสามัญชน ได้คบคิดกับทหารญี่ปุ่นเพื่อหาทางชิงอำนาจคืนได้ย้ายที่ประทับจากปักกิ่งไปอยู่เทียนจิน พระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเชเสนอแนะต่อจักรพรรดิปูยีว่าการประทับอยู่ที่เทียนจินไม่เหมาะ ควรรีบหาที่เหมาะสมประทับใหม่ แต่จักรพรรดิปูยีไม่เชื่อคำแนะนำ (พระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเชมองทะลุต่อเรื่องราวว่า ญี่ปุ่นเพียงต้องการจักรพรรดิปูยีไว้เป็นหุ่นเชิด จะได้ยึดครองประเทศจีนโดยชอบธรรมเท่านั้น) จนเมื่อเสิ่นหยังถูกญี่ปุ่นยึดครอง พระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเชมองสถานการณ์ออกว่าญี่ปุ่นจะต้องจับตัวจักรพรรดิไว้เป็นตัวเชิดและเดินทางสู่ ตะวันออก ส่วนองค์จักรพรรดิปูยีก็คิดที่จะยืมมือญี่ปุ่นในการทวงอำนาจ พระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเชได้ส่งโทรเลขเพื่อเตือนจักรพรรดิปูยีอีกครั้ง เนื้อความได้บ่งบอกถึงความไม่จริงใจของญี่ปุ่น เพียงต้องการชื่อของจักรพรรดิในการยึดครองประเทศเท่านั้นไม่มีทางที่จะให้อำนาจแก่จักรพรรดิเป็นอันขาด และที่สำคัญคือประชาชนจะต้องถูกทำลายลงอย่างมากมายจากสงครามซึ่งมีญี่ปุ่นชักใยอยู่เบื้องหลัง

    พระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเชอยู่ที่นานกิง 6 ปี ในระหว่างนั้นท่านได้เผยแพร่ธรรมมิได้ขาด ท่านได้ประกอบพิธีการมนตราภิเษกธรรมวิธีมากมายเพื่อเพาะเมล็ดพันธ์แห่งการบรรลุแก่มวลมนุษย์ ซึ่งตกอยู่ท่ามกลางภัยสงคราม ท่านได้ถ่ายทอดสุขาวดีพุทธเกษตรอมิตาภพุทธเจ้า อมิตายุสธรรม ไภษัชยคุรุธรรม วัชรสัตต์โตธรรม อวโลกิเตศวรธรรม คุรุปัทม-สมภพธรรม ฮายากีวะธรรม ธรรมแห่งวัชรทั้งเก้า พระพุทธมารดาฉัตรขาวธรรม ธรรมของพระแม่ตาราทั้ง 21 องค์ เป็นต้น มีผู้เข้ารับมนตราภิเษกเกิน กว่า 2 หมื่นคน

    ในปีสาธารณะรัฐที่ 20 พ.ศ. 2474 เดือน 6-7 เกิดฝนตกใหญ่ เกิดเป็นอุทกภัย ท่านจึงรับนิมนต์อุบาสกหลินเพื่อทำพิธีสยบอุทกภัย เมื่อประกอบพิธี ได้เกิดลมแรงหลายครั้งได้พัดพาเมฆฝนให้กระจายไปและหยุดตก

    อุบาสกเลียวมีโรคที่ขาและอ่อนเพลียมาก เมื่อพระวัชราจารย์ได้เป่าขาให้และลูบไปมาพร้อมทั้ง มอบมนตราให้ทั้งสองไปสวดภาวนา ไม่ถึง 10 วันโรคร้ายก็หายเป็นปลิดทิ้ง อุบาสกลี เป็นโรคกระเพาะนานกว่า 10 ปี ดื่มกินลำบาก หมอรักษาอย่างไรก็ไม่หาย โดยสรุปว่าอวัยวะภายในทั้งห้าหย่อนยานคลาดเคลื่อนจากตำแหน่งหมดแล้ว ไม่สามารถรักษาได้ แต่เมื่อมาพบพระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเชท่านสวดมนต์รักษา 3 ครั้งก็หายขาด อุบาสก อุบาสิกาจังสองสามีภรรยา ซึ่งมีศรัทธาแก่กล้า ภรรยาเสียชีวิตขณะคลอดบุตร อุบาสกจังเสียใจมากได้อ้อนวอนขอให้พระวัชราจารย์ท่านช่วย พระวัชราจารย์เห็นว่าอุบาสกจังมีความจริงใจ จึงได้ใช้วิธียืมศพคืนวิญญาณ ปลุกชีพภรรยาอุบาสกจังให้ฟื้นชีพขึ้นมา ทำให้สมปรารถนา

    ปีสาธารณะรัฐที่ 22 พ.ศ. 2476 เดือน 11 พระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเช ได้เชิญอุบาสกหวังลีเฉิน มานานกิงเพื่อแปลพระสูตร คุรุปัทมสมภพ สำหรับนำออกเผยแพร่ พระสูตรนี้ยังไม่มีฉบับแปลเป็นภาษาจีน จึงทำให้ผู้คนส่วนใหญ่มีความรู้ในองค์คุรุปัทมสมภพน้อยมาก ท่านวัชราจารย์เห็นว่าโอกาสแห่งวัชรยานเริ่มสุกงอมอย่างทั่วถึงแล้ว จึงให้แปลพระสูตรนี้ออกเผยแพร่ พระสูตรนี้ท่านวัชราจารย์ได้สาธยายออกมาและอุบาสกหวังลี่เฉิน แปลเป็นภาษาจีน ใช้เวลา 4 เดือนในการทำภารกิจนี้

    ปีสาธารณะรัฐที่ 22 เดือน 12 อุบาสกหยังฟางเฉิน และเหล่าอุบาสกทั้งปวง ได้เห็นสรรพชีวิตรบราฆ่าฟันกันอยู่เป็นเนืองนิจ อนาคตไม่ไกลจะต้องเกิดภัยพิบัติ จึงได้กราบนิมนต์พระวัชราจารย์นอราท่านให้ประกอบพิธีธรรมเพื่อหยุดภัยพิบัติ ท่านพระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเชก็ไม่ขัด ทุกครั้งที่มีผู้ขอ ท่านไม่เคยขัดเลยในการกระทำเพื่อให้สรรพชีวิตได้เป็นสุขขึ้น

    ปีสาธารณะรัฐที่ 23 พ.ศ. 2477 เดือน 2 มีผู้เฒ่าแห่งตำบลหานเทล มณฑลเห่อเป่ย ฝากคนส่งข่าวถึงพระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเชว่าจะพาญาติพี่น้องลูกหลานจำนวนเป็นพันมาเป็นศิษย์ท่าน เพื่อให้ได้รับมรรคผล คำพูดนี้แสดงจิตใจอย่างแน่แท้ พระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเชมีจิตเมตตาต้องการโปรดสรรพสัตว์อยู่แล้ว จึงได้อำนวยความสะดวก ทั้งปวงแก่กลุ่มผู้เข้ามาปวารณาตัวศึกษาธรรม พระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเช ได้เล็งเห็นว่าเวลาเกิดสงครามโลกอยู่อีกไม่นานนัก จะต้องมีคนถูกฆ่าตายด้วยก๊าซพิษและระเบิดเป็นที่น่าเวทนานักอย่างไม่เคยมีมาก่อน จึงได้จัดพิธีมนตราภิเษกถ่ายทอดมหาธรรมพระแม่ตารา 21 องค์ ที่สำนักสงฆ์ของท่านในวันที่ 4 เดือน 3 อีกทั้งยังสั่งให้เหล่าสานุศิษย์ที่ได้รับการถ่ายทอดธรรมแล้วให้ถ่ายทอดต่อแก่ผู้อื่น เพื่อเพาะเมล็ดพันธ์แห่งโพธิญาณแก่เหล่าสรรพสัตว์ให้มากที่สุด

    เดือน 3 วันที่ 25 รับนิมนต์เพื่อไปประกอบพิธีสยบภัยที่กวางตุ้งโดยมีเลขาธิการลี่กงเลี่ย ย่งลามะ อุบาสกหวังลี่เฉิน และผู้แทนเหลียง ผู้แทนหวัง ผู้แทนอู๋ กับอุบาสกทั้งหลายอีก 10 กว่าท่าน วันที่เดินทางถึงกวางตุ้งมีผู้คนเรือนหมื่นมาต้อนรับเพื่อชมพุทธบารมีของท่าน ซึ่งเป็นการต้อนรับที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างที่ไม่เคยมีมากก่อน กวางตุ้งเป็นดินแดนที่พระโพธิธรรม(ตักม้อ) เดินทางจากอินเดียมาถึงเป็นที่แรก ดินแดนนี้จึงจัดเป็นดินแดนแห่งพระอโมฆสิทธิพุทธเจ้าได้ประทับอยู่ เหมาะที่จะเป็นแหล่งรวมยานบริสุทธิ์ เรื่องที่เล่ามาเป็นเรื่องที่เล่าจากปากผู้ประสบพบเห็นมากับตาตนเองทั้งนั้น

ที่เซียงไฮ้

    นับแต่เหตุการณ์รวมตัวต่อต้านกองทหารญี่ปุ่น 918 เกิดขึ้น (เหตุการณ์นี้อยู่ในประวัติศาสตร์สงครามจีน-ญี่ปุ่น) ทำให้มณฑลตะวันออกเฉียงเหนือถูกญี่ปุ่นยึดครอง กองอาสาสมัครถูกก่อตั้งขึ้น มีการสู้รบกันอย่างดุเดือด แต่ชาวจีนก็ต้องพ่ายแพ้ด้วยขาดการสนับสนุน ชาวประชาทุกข์ยากลำบากมาก ในฤดูใบไม้ผลิที่ 22 ทหารญี่ปุ่นบุกรุกเข้ามาที่เย่อเหอ จูจื่อเซียวมีวัตรภาวนาที่เป็นเลิศ ล่วงรู้ถึงเหตุการณ์ล่วงหน้า ได้เห็นภาพทุกขเวทนา ของเหล่าสรรพชีวิตที่เกิดจากบุรพกรรมที่ได้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต จึงนิมนต์วัชราจารย์นอรามาที่เซียงไฮ้ ประกอบพิธีมหาธรรมสยบภัย พระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเชรับนิมนต์และเดินทางมาเซียงไฮ้ในวันที่ 15 เดือน 4 ประกอบพิธีวัชระ 13 ธรรมจักร สถานที่จัดพิธี จ่าเป่ยซือเจ้จีซื่อหลิน ท่านได้กักตนบำเพ็ญ 9 วัน ในวันเริ่มประกอบพิธี ก็ได้รับโทรเลขแจ้งข่าวการชนะศึกและญี่ปุ่นได้ถอยทัพไป ผลสำเร็จเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดขึ้นจากบุญญาบารมีของผู้ประกอบพิธี หลังเสร็จพิธีท่านก็เดินทางกลับนานกิง ไม่นานนักเย่อเหอก็ถูกญี่ปุ่นยึด ปักกิ่ง เทียนสินถูกภัยสงครามคุกคาม พระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเชได้รับนิมนต์ไปประกอบพิธีที่เซียงไฮ้อีก ในวันที่ 4 เดือน 5 เพื่อทำพิธีบรรเทาภัยของปักกิ่งและเทียนสิน สถานที่ประกอบพิธีอยู่ที่เขื่อนเหนือสมาคมคุณธรรมสัมพันธ์ ประกอบพิธีวัชรเตโชธรรมจักร ขณะนั้นมีอุบาสกจากกวางตุ้งจำนวนมาก จะเดินทางจากกวางตุ้งมาเป็นศิษย์ศึกษาธรรม สอบถามวันเวลาที่พระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเชจะออกจากการกักตนบำเพ็ญธรรม ท่านตอบว่ากำหนดวันยากต้องให้บรรลุผลในระดับหนึ่งก่อน หลังจากนั้น 10 วัน ก็ได้ข่าวว่ากลุ่มอุบาสกกวางตุ้งก็มาที่เซียงไฮ้ อีก 3 วันจะถึงและขอรับการถ่ายทอดธรรมจากท่าน

    ขณะนั้นข่าวร้ายถึงภัยคุกคามปักกิ่งและเทียนสินเกิดขึ้นตลอดเวลา ชาวประชาคิดว่าเป็นกรรมแต่ปางก่อน ยากจะหลีกเลี่ยงได้ ด้วยกำหนดวันที่จะทำพิธีมนตราภิเษกพระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเชจึงได้เร่งจบพิธีกักตน แต่ในวันประกอบพิธีมนตราภิเษก ก็มีข่าวออกมาว่าจะมีการเจรจาสงบศึก อีกไม่นานข่าวนี้ก็กลายเป็นจริง ปักกิ่ง เทียนสินรอดพ้นจากภัยพิบัติปลอดภัย ท่านได้ประกอบการมนตราภิเษกถ่ายทอดธรรมติดต่อกันอยู่หลายวัน ท่านได้ถ่ายทอดหลายธรรมวิธี มีผู้เข้ารับการมนตราภิเษกธรรมจำนวนหลายร้อยคน พระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเชเดินทางมาเซียงไฮ้ 2 ครั้ง นอกจากเผยแพร่ธรรมแล้ว ยังได้ช่วยรักษาโรคภัยแก่ผู้คน มีคนมารับการรักษานับร้อยคนในแต่ละวัน

    ชาวเมืองเซียงไฮ้ขณะนั้นเป็นโรคติดเหล้ากันมาก เมื่อได้รับการรักษาจากท่านนอราริมโปเชก็หายขาด มีสตรีท่านหนึ่งเป็นโรคเกี่ยวกับมดลูก เดือนหนึ่งกำเริบหลายครั้งเจ็บปวดทรมานมาก แพทย์จำทำการผ่าตัด สตรีท่านนี้ได้เข้ามาขอคำแนะนำจากพระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเช ท่านว่าผ่าตัดก็ได้แต่เกรงว่าโรคจะกำเริบขึ้นอีก หากไม่ผ่าตัดก็ใช่ว่าจะรักษาไม่ได้ สตรีท่านนั้นก็ขอรับการรักษาจากพระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเช ท่านก็ทำการรักษาให้ไม่นานก็หายเป็นปกติ อุบาสกหลินเป็นโรคหัวใจมาหลายปี เพียงพระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเชวางมือไว้บนตัวอุบาสกผู้นี้ สักครู่ เหงื่อก็ไหลออกมาโทรมกาย ร่างกายก็มีชีวิตชีวาขึ้น และโรคร้ายก็หายเป็นปกติ เรื่องเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นท่ามกลางหมู่ชนเป็นจำนวนมากที่เห็นกับตาตนเอง ท่านเดินทางกลับนานกิงเดือน 6 เดือน 7 วันที่ 2 ก็รับนิมนต์จากสมาคมพุทธศึกษาแห่งประเทศจีน แต่งตั้งให้เป็นนายกกิตติมศักดิ์ ของสมาคมตลอดไป และสานุศิษย์ได้จัดงานวันเกิดของท่านร่วมไปด้วย ท่านจึงได้จัดพิธีมนตราภิเษกอมิตายุสธรรมในสมาคมพุทธศึกษานั้นมีผู้เข้ารับมนตราภิเษก 4 ร้อยกว่าคน

    ต่อมา จู่จื่อเฉียกและเหล่าอุบาสกขอให้พระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเช นำเข้าบำเพ็ญธรรมที่ภูเขาหม่อกาน ท่านเห็นว่าที่ภูเขาหม่อกานนี้มีแมลงวันดำอยู่จำนวนมาก ท่านจึงได้แสดงธรรมหลายๆครั้ง ก่อนที่พระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเชจะออกจากภูเขาหนึ่งวัน เกิดมีแมลงวันดำบินมารวมกันที่กุฏิของพระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเชจำนวนเป็นแสนตัว รวมตัวกันอยู่ประมาณกว่า 20 นาที จึงแยกย้ายกันไป คงมาแสดงความขอบคุณในเมตตาที่ท่านได้แสดงธรรมโปรด มีผู้ถามว่าเพราะเหตุใดจึงเกิดเหตุการณ์เช่นนี้แต่ท่านก็ไม่ยอมตอบ หลังจากลงจากภูเขา ก็ได้รับการนิมนต์ไปหางโจว อยู่ที่ทะเลสาบซีหู ประมาณ 10 วัน มีผู้มาขอเป็นศิษย์เป็นจำนวนมาก เดือน 10 รับศิษย์ที่เดินทางมาจากปักกิ่ง ในครั้งนี้พระมหาวัชราจารย์ชีวินพุทธะนอราริมโปเชได้ทำพิธีมนตราภิเษกคุรุปัทมสมภพธรรม เดือน 11 รับนิมนต์จากเหล่าอุบาสกในนานกิง ให้ปลุกเสกพระไภษัชยคุรุ ซึ่งแกะจากหยกอัญเชิญมาจากประเทศไทยเพื่อประดิษฐานไว้ที่ชมรม มีผู้เข้าร่วมประมาณ 200 คน เดือน 11 วันที่ 22 รับนิมนต์ไปเผยแพร่ธรรมที่เซียงไฮ้อีก ด้วยมหาเมตตาจิตทำให้ท่านออกเดินทางไปทั่ว รักษาทั้งกายและใจแก่ปวงชน ทั้งเผยแพร่พระธรรมแห่งพุทธศาสนาเพื่อสร้างสันติสุขให้บังเกิด อีกทั้งถ่ายทอดสุดยอดแห่งธรรมวิธีเพื่อให้สรรพชีวิตได้บรรลุโพธิญาณโดยถ้วนทั่ว

 

ดาวน์โหลดตัวอักษร (ฟ้อนต์) ทิเบตทั้ง ๓ แบบ เพื่อความสมบูรณ์ในการชมเว็บ

actisan.ttf

adtibet.ttf

atibet.ttf


uptime alert service

website monitor

View My Stats