มหากาพย์พุทธจริต อัศวโฆษ

อศฺวโฆษวิรจิตํ พุทฺธจริตมหากาวฺยมฺ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สำเนียง เลื่อมใส แปลและเรียบเรียง

 

มหากาพย์พุทธจริต

 

ลิขสิทธิ์ ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สำเนียง เลื่อมใส

 

คำนำของ จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา ที่ปรึกษาศูนย์สันสกฤตศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร

            ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สำเนียง เลื่อมใสสามารถแปลพุทธจริตได้เสร็จสมบูรณ์ แม้ข้าพเจ้าจะเคยแปลพุทธจริตไว้ก็จริงแต่ก็แปลไม่จบ  จึงรู้สึกภูมิมจที่มีอติศิษย์อย่าง ดร.สำเนียง ทำงานนี้จนสำเร็จ แสดงถึงความมีวิริยะอุตสาหะ มีวินัยในตัวเอง มีความสามารถและมีสติปัญญาเป็นเลิศ การที่ ดร.สำเนียง แปลพุทธจริตได้สำเร็จทำให้ข้าพเจ้านึกไปถึงบทกวีของท่านอัศวโฆษที่กล่าวไว้ในพุทธจริต สรรคที่1 บทที่41-46 ใจความว่า

            “ฤษีภคุและฤษีอังคีรัสไม่สามารถจะแต่งตำราราชศาสตร์ซึ่งเป็นตำราเกี่ยวกับการปกครองได้สำเร็จ ผู้ที่สามารถแต่งตำราราชศาสตร์ได้สำเร็จ คือศุกราจารย์(ครูของพวกอสูร) ลูกของฤษีภฤคุและพระพฤหัสบดี (ครูของพวกเทพ) ลูกของฤษีอังคีรัส”

            “พระเวทซึ่งสูญหายไปในยุคก่อน ฤษีสารัสวตะลูกของแม่น้ำสรัสวตี จากฤษีทธีจะ ก็นำพระเวทกลับคืนมาได้ ฤษีวสิษฐะไม่สามารถจะแบ่งพระเวทได้สำเร็จผู้ที่ทำสำเร็จคือฤษีวยาสะ”

ฤษีจยวนะยังไม่รู้จักการแต่งบทกวี ผู้ที่สามารถทำได้เป็นคนแรกคือฤษีวาสมีกิ (ผู้แต่งรามายณะ ซึ่งถือกันว่าเป็นอาทิกาวยะ หรือบทกวีเรื่องแรก)”

“ฤษีกุศิกะไม่สามารถจะยกระดับวรรณะของตัวเองจากวรรณะกษัตริย์ให้เป็นวรรณะพราหม์ ผู้ทำได้สำเร็จ (ด้วยการบำเพ็ญตบะ) คือฤษีวิศวามิตร”

“พระชนก (พระบิดาของนางสีดา) ได้เป็นอาจารย์ของพวกพราหมณ์ (ทั้งๆที่ตนเองเป็นวรรณะกษัตริย์) ซึ่งคนวรรณะกษัตริย์คนอื่นไม่อาจทำได้ เศาริ หรือ พระกฤษณะได้แสดงความสามารถต่างๆที่บรรพบุรุษไม่เคยทำได้”

“ดังนั้นเครื่องวัดความสามารถของบุคคล ไม่ใช่อยู่ที่วัย ไม่ใช่อยู่ที่วงศ์ตระกูล”

            ท่านอัศวโฆษนอกจากจะเป็นกวีชั้นเลิศแล้วยังมีความเชี่ยวชาญทั้งทางคติพุทธและคติพราหมณ์ มีความรอบรู้ศิลปะวิทยาการต่างๆ รวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณีในยุคท่านและก่อนท่านเป็นอย่างดี ผู้ที่จะแปลพุทธจริตได้ถูกต้องและได้อรรถรสจะต้องเข้าถึงความคิดของกวีทุกๆด้าน ขอยกตัวอย่างบางบทในพุทธจริตเพื่อชี้ให้เห็นความลึกซึ้งในแง่มุมต่างๆของท่านกวีอัศวโฆษ

สรรคที่ 12 บทที่ 17

สิ่งที่เรียกว่า สัตตวะ ก็คือ ประกฤติ วิการะ การเกิด ความแก่ และความตาย ไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น

สัตตวะในที่นี้หมายถึงสัตว์โลกตรงส่วนที่วิวัฒนาการมาจากประกฤติซึ่งเป็นธาตุนิรันดร์คู่กับปุรุษซึ่งมีอยู่ชั่วนิรันดร์เช่นเดียวกัน

ประกฤติ ก็คือ ธาตุทั้งห 5 (ได้แก่ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ) อหังการะ พุทธิ และพลังที่ไม่ปรากฏ

ประกฤตินั้นมีคุณเป็นส่วนประกอบอยู่ 3 ประการ เมื่อคุณซึ่งเป็นส่วนประกอบอยู่ในตัวเกิด ความไม่สมดุลก็จะวิวัฒนาการเป็น (1) มหัต (ส่วนที่ไม่ปรากฏ ซึ่งเรียกอีกอย่งหนี่งว่า อวยักตะ ก่อนจะวิวัฒนาการเป็นพุทธิ) (2) พุทธิ คือ ตัวสติปัญญาในตัวมนุษย์ (3) อหังการะ คือความรู้สึกว่าตัวเองมีอยู่ และวิวัฒนาการต่อไปเป็น

วิการะ ก็คือ วัตถุเร้าอารมณ์ภายนอก 5 ประการ (รูป เสียง กลิ่น รส และการสัมผัส) ประสาทสัมผัส 5 ประการ (ตา หู จมูก ลิ้นและผิวหนัง) เครื่องมือในการทำงานด้านต่างๆ 5 ประการ (มือและเท้า คำพูด ทวารหนัก ทวารเบา และมนัสคือใจ)

เกษตรชญะ (เกษตรในที่นี้ = ทุ่ง หรือที่ = สัตตวะ ) คือ สิ่งที่รู้(สํชฺญิ) เพราะสิ่งนั้นรู้ เกษตรนี้ คนที่คิดถึงอาตมัน หรืออัตตา ก็จะเรียกอาตมันว่าเป็น เกษตรชญะ

            เกษตรชญะก็คือปุรุษะ คือส่วนที่เป็นความรู้บริสุทธิ์ในสัตว์โลก ตามนวความคิดของปรัชญาสางขยะ  ซึ่งตรงกันข้ามกับส่วนที่วิวัฒนาการมาจากประกฤติ มีพุทธิ อหังการะ มนัส ปัญจตันมาตระ ปัญจ-อินทรีย์ ปัญจ-กรรมอินทรีย์ ปัญจ-มหาภูตะ

            จากสรรคที่ 12 บทที่ 18-20 เป็นต้น ทำให้เราทราบว่า ก่อนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ได้ทรงศึกษาปรัชญาสางขยะยุคต้นๆ จากสำนักของฤษีอราฑะกาลามโคตร ปรัชญาสางขยะเชื่อว่าก่อนที่จะมีการวิวัฒนาการมาเป็นโลก มีสิ่งที่เป็นนิรันดร์ 2 ประการ คือ ปุรุษะและประกฤติหรือประธานะ

ใจความว่า”หญิงบางคนหนอนหลับโหนตัวเองอยู่ข้างหน้าต่าง มีลำดับบอบบางที่โค้งเหมือนคันธนู สวมสร้อยคองดงามห้อยลงมา จึงปรากฏเหมือนกับรูปสลักศาลภัญชิกาที่สลักไว้ที่โตรณะ(ซุ้มประตู)

            กวีใช้จินตนาการ(อุตเปรกษะ) เปรียบเทียบหญิงที่นอนหลับคนนี้ว่าเป็นศาลภัญชิกา นักโบราณคดีจะรู้จักศาลภัญชิกาเป็นอย่างดี ตัวอย่างที่มีชื่อเสียง คือเสาโตรณะแห่งสถูปที่สาญจี ที่มีภาพสลักของศาลภัญชิกาอยู่สองข้างของโตรณะด้านทิศเหนือของสถูปใหญ่ สิ่งที่ควรทราบอีกอย่างหนึ่ง้เกี่ยวกับหน้าต่างของอาคารสมัยโบราณของอินเดียวที่มีชื่อเรียกว่า ควาฤษ(ตาวัว) เป็นหน้าต่างที่เปิดไม่ได้ เป็นรูปรุเพื่อให้ลมผ่านเท่านั้นเอง

ความว่า “หญิงอีกคนหนึ่งหลับโดยยังมีขลุ่ยติดที่มือ ผ้าสไบสีขาวปิดหน้าอกหลุดลุ่ย จึงปรากฏราวกับว่าแม่น้ำที่มีดอกบัวที่ถูกผึ้งตอมเป็นทิวแถว ฝั่งแม่น้ำจึงหัวเราะผ่านทางฟองน้ำ”

            ในบทนี้กวีใช้อลังการะชนิตอุตเปรกษะ คือใช้จินตนาการมองภาพหญิงที่ผ้าสีขาวหลุดไปจากหน้าอก เป็นภาพแม่น้ำซึ่งในแม่น้ำมีดอกบัวถูกผึ้งตอมและที่ฝั่งมีคลื่นมากระทบและฟองน้ำสีขาวเกิดขึ้น กวีมองว่าฝั่งของแม่น้ำกำลังหัวเราะ(แสดงโดยนัยด้วยฟองน้ำสีขาว)ที่เห็นผึ้งกลุ้มรุมดอกบัว ดอกบัวอาจจะแสดงด้วยถันของหญิงสาวหรืออาจจะแสดงด้วยมือที่ถือขลุ่ย ส่วนผึ้งนั้นแน่นอนแสดงด้วยขลุ่ยที่อยู่ในมือของหญิงนั้น ในที่นี้เราจะต้องทราบขนบของกวี (convention of poets) ที่ว่าสีขาวนั้นแทนสิ่งที่บริสุทธิ์ เช่น เกียรติยศ การหัวเราะ แสงจันทร์ เป็นต้น ในบทนี้กวีจินตนาการ ผ้าสีขาวที่หลุดลุ่ยไปติดอยู่ที่สะโพกคือฟองน้ำ ที่แสดงการหัวเราะของฝั่งน้ำ สะโพกของหญิง คือฝั่งน้ำ ถ้าพิจารณาเพียงคำแปลอาจจะเห็นว่ากวีใช้การเปรียบเทียบที่เข้าใจยาก ผู้ที่รู้ขนบของกวีและมีประสบการณ์ที่สั่งสมไว้เท่านั้นจึงจะมองเห็นจินตนาการและความคิดอันลึกซึ้งอย่างยิ่งของกวีได้  กวีบทนี้มีจินตนาการคล้ายกับบทหนึ่งในเมฆทูตของกาลิทาส คือ

“เมื่อท่าน(เมฆ)ได้ดึงผ้าสีน้ำเงินในรูปของน้ำ ที่หลุดไปจากสะโพกของหญิงสาวคนนั้น(แม่น้ำ)ในรูปของฝั่งแม่น้ำ ที่เหมือนกับว่านางใช้มือดึงผ้าไว้ ด้วยปลายต้นอ้อที่โน้มลงไปจนถึงน้ำ ท่านซึ่งลอยตัวอยู่คงจะเดินทางต่อไปได้ยาก เพราะผู้ชายคนไหนเล่าที่เคยลิ้มรสสวาทแล้วจะทิ้งสะโพกที่เปลือยเปล่าไปได้”

            ในที่นี้กาลิทาสจินตนาการว่า เมฆเป็นชายหนุ่ม แม่น้ำเป็นหญิงสาว น้ำในแม่น้ำในฤดูแล้งที่ลดห่างฝั่งออกไปเป็นผ้าสีน้ำเงินที่กำลังหลุดจากสะโพกของหญิงสาวคือฝั่งแม่น้ำ ต้ออ้อที่ปลายโน้มลงไปจรดน้ำเป็นมือของหญิงสาวที่พยายามดึงผ้าไว้ไม่ให้หลุด

            มหากาพย์พุทธจริตนอกจากเป็นพุทธประวัติที่เก่าแก่ที่สุดเล่มหนึ่งที่แต่งเป็นกวีนิพนธ์แบบมหากาพย์เป็นภาษาสันสกฤตแล้ว ยังมีความลึกซึ้งทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านวรรณคดีสันสกฤต ด้านหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ด้านปรัชญาสาขาอื่นๆของอินเดีย เช่น สางขยะ ด้านศิลปวัฒนธรรมอินเดียโดยทั่วไป ข้าพเจ้าเชื่อว่า ผลงานที่โดดเด่นของ ดร.สำเนียง เล่มนี้จะช่วให้ผู้สนใจภาษาสันสกฤตและภารตวิทยาทั่วไปมีความซาบซึ้งในเรื่องที่เกี่ยวกับภารตะหรืออินเดียอย่างแน่นอนและหวังว่าวัฒนธรรมตะวันออกอัมีคุณค่าเป็นเลิศจะเป็นที่สนใจของคนตะวันออกมากยิ่งขึ้นจากผลงานนี้

จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา 

บทนำ

            มหากาพย์พุทธจริตเป็นกวีนิพนธ์สันสกฤตและเป็นวรรณกรรมชิ้นสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่มหากวีอัศวโฆษได้รจนาขึ้นเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวพุทธประวัติตามลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่ประสูติจนเสด็จดับขันธปรินิพพานรวมถึงการแจกพระบรมสารีริกธาตุ วรรณกรรมเรื่องนี้มีความน่าสนใจเพราะเนื้อหาเป็นพุทธประวัติตามคติพุทธศาสนานิกายสรวาสติวาท ซึ่งแตกต่างจากพระพุทธประวัติที่แต่งเป็นภาษาบาลีตามคตินิกายเถรวาทซึ่งเรารู้จักคุ้นเคยกันทั่วไป นอกจากนี้ยังได้รับคำชื่นชมจากนักปราชญ์ทั้งหลายว่ามีความไพเราะจับใจและเป็นวรรณกรรมชั้นเยี่ยมชิ้นหนึ่งในกลุ่มวรรณคดีสันสกฤต

            วรรณคดีสันสกฤตแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ อาคม (คัมภีร์ทางศาสนา) อิติหาส(คัมภีร์ทางประวัติศาสตร์และประเพณีที่สืบทอดกันมา) ศาสฺตฺร (คัมภีร์วิชาการสาขาต่างๆ) และกาวฺย(กวีนิพนธ์หรือบทประพันธ์ที่อยู่ในรูปของศิลปะ)  ด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและเรื่องนี้ถูกรจนาขึ้นในรูปของกวีนิพนธ์ซึ่งใช้ฉันทลักษณ์อย่างมีกำหนดกฎเกณฑ์ ทั้งคำที่ใช้ก็มีลักษณะพิเศษกว่าคำพูดทั่วไป ดังนั้น วรรณกรรมเรื่องนี้จึงเป็นวรรณคดีประเภท “กาวฺย” มากกว่าอย่างอื่น หรือถ้าจัดให้ละเอียดลงไปอีกก็จะเป็นวรรณคดีประเภท ปทฺย-ศฺรวฺย-กาวฺย คือเป็นกาพย์(กรวฺย) ที่แต่งเป็นบทร้อยกรอง(ปทฺย) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการฟัง(ศฺรวฺย) มหากาพย์พุทธจริตนั้นมีเนื้อหาที่ค่อนข้างยาว ผู้รจนาจึงเรียกงานประพันธ์ชิ้นนี้ว่ามหากาพย์ ดังข้อความปิดท้ายสรรคที่ 1 ว่า “อิติศรีอศฺวโฆษกฺฤเต ปูรฺวพุทฺธจริตมหากาเวฺย ภควตฺปฺรสูติรฺนาม ปฺรถมสรฺคะ แปลว่า “สรรคที่ 1 ชื่อภควัตประสูติ (การประสูติของพระผู้มีพระภาค) ในมหากาพย์พุทธจริตซึ่งแต่งโดยอัศวโฆษ จบเพียงเท่านี้” เป็นต้น

                ๑ นิกายสรวาสติวาท เป็นนิกายที่แยกมาจากนิกายเถรวาทในสมัยพุทธศตวรรษที่ 3 มีพระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถาโดยสมบูรณ์ของตนเอง นิกายสรวาสติวาทไม่ค่อยเคร่งครัดในการรักษาบทหรือความหมายของพระไตรปิฎกนัก เมื่อพิจารณาจากชื่อของนิกายซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำวา สรฺว+อสฺติ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีอยู่ นิกายนี้ถือหลักปรัชญาในอภิธรรมเป็นสำคัญ มีหลักบางประการไม่เหมือนกับของฝ่ายเถรวาท เช่นถือ ว่าพระอรหันต์เสื่อจากอรหัตผลได้ โดยแยกพระอรหันต์ออกเป็นสองพวก พวกแรกคือ วิมุตติอรหันต์ เป็นอรหันต์ที่ยังอาศัยปัจจัยภายนอกช่วยจึงบรรลุอรหัตผล ซึ่งบางครั้งอาจเลื่อมลงเนื่องจากปัจจัยต่างๆ เหล่านั้น แต่ก็ลดลงมาอยู่ในขั้นอนาคามีหรือสกทาคามี มิใช่กลับเป็นปุถุชนทีเดียว ในขณะที่พวกที่สอง คือ อสมยวิมุตติอรหันต์เป็นอรหันต์โดยแท้ไม่มีวันเลื่อมลงได้ มติอื่นส่วนมากคล้ายกับของเถรวาท

            อนึ่ง พุทธจริตเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ ผู้แต่งมิได้คิดขึ้นเอง ประกอบกับเนื้องเรื่องมีการพรรณนาถึงวงศ์ตระกูล บ้านเมือง การเล่นสนุกสนาน ความรัก การพลัดพราก และการประพฤติปฏิบัติคนของบุคคลที่เป็นตัวเอกจนได้บรรลุเป้าหมายสูงสุด อีกทั้งมีการดำเนินเรื่องตามลำดับเหตุการณ์ เนื้อเรื่องประกอบด้วยรสวรรณคดีที่หลากหลาย ตลอดจนมีการเปลี่ยนชนิดของฉันท์ก่อนจบสรรคเสมอ เช่นในสรรคที่ 1 โศลกที่ 1-7 แต่งด้วยตริษฏุภฉันท์ ได้เปลี่ยนเป็นปุษปิตาคราฉันท์ในโศลกที่ 80-89 ก่อนจบสรรค และในสรรคที่ 2 โสลกที่ 1-55 แต่งด้วยตริษฏุภฉันท์ได้เปลี่ยนเป็นมาลินีฉันท์ในโศลกสุดท้าย เป็นต้น ด้วยเหตุผลข้างต้นจึงกล่าวได้ว่าพุทธจริตมีคุณสมบัติเป็น “มหากาพย์อย่างสมบูรณ์”

            กวีผู้แต่งมหากาพย์พุทธจริต คือ “อัศวโฆษ” ผู้ได้รับยกย่องเป็นมหากวีและเป็นนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียง แต่หลักฐานข้อมูลเกี่ยวกับชีวประวัติของท่านมีไม่มากนัก จากหลักฐานเท่าที่ปรากฏ อัศวโฆษเป็นบุตรของนางสุรรณกษี เกิดที่เมืองสาเกต แต่เดิมนับถือพราหมณ์และได้รับการศึกษาแบบพราหมณ์จนมีความเชี่ยวชาญในไตรเพท ภายหลังหันมานับถือพระพุทธศาสนาโดยบวชเป็นภิกษุในนิกายสรวาสติวาท ด้วยความที่ท่านเป็นทั้งปราชญ์และเป็นทั้งกวี เมื่อบวชแล้วจึงมีคำนำหน้าชื่อมากมาย เช่น ภิกษุ อาจารย์ ภทันตะ มหากวี และมหาวาทิน อัศวโฆษเป็นผู้มีบทบาทสำคัญคนหนึ่งในยุคเริ่มต้นของนิกายมหายานมีผลงานมากมายทั้งด้านปรัชญาศาสนา บทละครและกวีนิพนธ์ ผลงานที่สำคัญทางปรัชญาและศาสนา เช่น สูตราลังการะ มหายานศรัทโธตปาทะ วัชรสูจี คัณฑีสโตรตระ ที่เป็นบทละคร เช่นราษฎรปาละ ศาริปุตรปรกรณัม และที่เป็นกวีนิพนธ์ เช่นมหากาพย์เสานทรนันทระ และมหากาพย์พุทธจริต เป็นต้น

            นอกจากจะรจนางานเขียนไว้หลายเล่มแล้วอัศวโฆษยังเดินทางท่องเที่ยวไปพร้อมกับสานุศิษย์และนักดนตรีเพื่อขับลำนำอันเป็นเรื่องราวแห่งพระพุทธศาสนาและความไร้แก่นสารของชีวิตในที่ชุมนุมต่างๆเพื่อป่าวประกาศคุณค่าอันล้ำเลิศแห่งพระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดา ชนทั้งหลายที่สัญจรไปเมื่อได้ฟังต่างหยุดนิ่งอยู่กับที่เพราะถูกตรึงไว้ด้วยน้ำเสียงและท่วงทำนองที่ไพเราะจับใจ กล่าวกันว่าคำสอนของอัศวโฆษสามารถทำให้ม้าทั้งหลายละทิ้งหญ้าหรือฟางที่กำลังกินอยู่ให้หันมาฟังคำบรรยายของท่านได้ ดังนั้น ท่านจึงได้รับสมญานามว่า “อัศวโฆษ” แต่ข้ออ้างดังกล่าวก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจนเป็นแต่เพียงคำบอกเล่าสืบต่อกันมาเท่านั้น

            การกำหนดระยะเวลาและอายุของอัศวโฆษยังไม่อาจกำหนดได้แน่ชัดว่าท่านเกิด พ.ศ.ใดมีชีวิตอยู่ระหว่าง พ.ศ.ใด และแต่งผลงานดังกล่าวข้างต้นเมื่อใด จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พอลำดับเรื่องได้โยมากเชื่อกันว่าอัศวโฆษเป็นบุคคลร่วมสมัยกับพระเจ้ากนิษกะ กษัตริย์ราชวงศ์กุษาณะ ผู้มีอำนาจปกครองอยู่ทางตอนเหนือของอินเดียมีเมืองหลวงอยู่ที่ปุรุษปุระ ปัจจุบันคือ Peshwar โดยมีหลักฐานบ่งบอกว่าพระองค์ขึ้นครองราชย์ใน ค.ศ.120 (พ.ศ.663) ต่อมาได้รุกล้ำดินแดนลึกเข้าไปในอินเดียและได้โจมตีกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองปาฏลีบุตรแล้วพาเอาตัวอัศวโฆษไป นอกจากนี้ในหนังสือ ซาเปาซางกิง ของจีนยังมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระเจ้ากนิษกะหลายเรื่อง และมีเรื่องหนึ่งกล่าวอย่างชัดเจนว่าอัศวโฆษได้เป็นที่ปรึกษาทางด้านศาสนาของพระองค์และหนังสือนั้นเรีกยท่านว่า”พระโพธิสัตว์”๑๐ ถ้าเชื่อกันตามนี้ก็สันนิษฐานว่าอัศวโฆษน่าจะมีชีวิตอยู่ระหว่าง พ.ศ.600-700 หรือราวพุทธศตวรรษที่7 และคงจะแต่งมหากาพย์พุทธจริตและผลงานอื่นๆ ขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวซึ่งนับเวลามาจนถึงปัจจุบันก็มีอายุได้เกือบ 2000ปีทีเดียว

            มหากาพย์พุทธจริตเป็นงานเขียนที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าและความงาม นอกจากผู้อ่านจะได้รับสอดแทรกไว้อย่างแนบเนียนแล้วยังจะได้รับรสและอลังการทางภาษาที่ไพเราะอีกด้วย๑๑ ด้วยเหตุนี้หลวงจีนอี้จิง ภิกษุชาวจีนผู้จาริกไปในประเทศอินเดียช่วงประมาณ ค.ศ.671-695 (พ.ศ.1214-1238) จึงได้กล่าวชมเชยไว้ว่าพุทธจริตนั้นเป็นมหากาพย์ที่ยังชุ่มชื่นให้กับจิตใจของผู้อ่าน ดังนั้น ท่านจึงไม่เคยเหน็ดเหนื่อยจากการอ่อนงานกวีนิพนธ์นี้เลย ส่วนความแพร่หลายของมหากาพย์พุทธจริตนั้นหลวงจีนอี้จิงได้บันทึกไว้ว่ามหากาพย์ชิ้นนี้มีผู้อ่านและนำไปขับลำนำกันอย่างกว้างขวางและเป็นรู้จักแพร่หลายทั่วทั้ง 5 ภูมิภาคของชมพูทวีปตลอดจนประเทศที่อยู่ในคาบสมุทรตอนใต้ เช่น สุมาตรา ชวา และหมู่เกาะใกล้เคียงเป็นต้น๑๒ ถ้าเป็นเช่นนี้ก็น่าเชื่อว่ามหากาพย์พุทธจริตคงจะมีอิทธิพลต่อแนวคิดของศิลปินในการสร้างภาพสลักหินที่โบโรบูดูร์ ในประเทศอนโดนีเซียด้วยเช่นกัน

            มอริช วินเตอร์นิทซ์ ได้กล่าวถึงคุณค่าและความงามของมหากาพย์พุทธจริตไว้ในหนังสือ A History of Indian Literature ว่า

            “คัมภีร์พุทธจริตเล่มนี้เป็นมหากาพย์เกี่ยวกับพระพุทธองค์เล่มแรกโดยแท้จริง ซึ่งกวีแท้ๆ เป็นผู้รจนาขึ้น ท่านเป็นกวีผู้เปี่ยมไปด้วยศรัทธาปสาทะอย่างแรงกล้าต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อีกทั้งเป็นกวีที่ซาบซึ้งในสัจจะแห่งพระพุทธธรรม จึงสามารถพรรณนาถึงพุทธประวัติและคำสอนของพระองค์ได้โยใช้ภาษาที่สูงส่งและมีความไพเราะเพราะพริ้ง แต่ไม่ใช่ภาษาที่มีสำนวนเสแสร้ง   ในมหากาพย์พุทธจริต เราจะพบกับการดำเนินเรื่องที่มีความประณีตและเต็มไปด้วยศิลปะอันเป็นลักษณะที่ตรงกันข้ามกับคัมภีร์บางเล่ม เช่นคัมภีร์มหาวัสตุและคัมภีร์ลลิตวิสตระซึ่งมีการดำเนินเรื่องอย่างสับสนและไม่เป็นระเบียบ  อัศวโฆษเป็นกวีมากกว่าที่จะเป็นภิกษุอย่างน้อยก็ในมหากาพย์พุทธจริตเล่มนี้”๑๓

            เนื่องจากคุณค่าและความงามของมหากาพย์พุทธจริตจึงทำให้คนทั่วไปสนใจนามาศึกษาต่ออีกมากมายหลายรูปแบบทั้งการตรวจชำระ การแปล การวิเคราะห์วิจารณ์ การเขียนบทความ และการแต่งคัมภีร์ โดยเฉพาะคัมภีร์พุทธประวัติของฝ่ายเถรวาทในยุคหลังก็สันนิษฐานว่าน่าจะได้รับอิทธิพลจากมหากาพย์พุทธจริตด้วยเช่นกัน ดังที่สุภาพรรณ ณ บางช้าง กล่าวว่า “เนื้อเรื่องและลีลาการแต่งคัมภีร์ชินจริตคล้ายกับคัมภีร์พุทธจริตของสันสกฤต อาจจะได้รับอิทธิพลจากคัมภีร์นั้นก็ได้”๑๔

            มหากาพย์พุทธจริตต้นฉบับดั้งเดิมมีทั้งหมด 28 สรรค(บท) บรรจุโศลกไว้ทั้งสิ้นจำนวน 2109 โศลก๑๕ แต่ต้นฉบับดั้งเดิมสูญหายไปมากกว่าครึ่ง คงเหลือต้นฉบับภาษาสันสกฤตเพียง 14 สรรค   คือ สรรคที่1-14 เท่านั้นซึ่งก็ไม่สมบูรณ์เพราะโศลกได้ขาดหมายไปบางส่วน เช่น โศลกที่ 1-7 ของสรรคที่ 1 และโศลกที่ 32-108 ของสรรคที่14 ส่วนสรรคที่15-28 นั้นไม่พบร่องรอยต้นฉบับภาษาสันสกฤตดั้งเดิมแม้แต่บทเดียว จึงเป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่มรดกภูมิปัญญาอันทรงคุณค่านี้ได้สูญหายไปจากโลก ถ้าไม่มีผู้แปลไปเป็นภาษาจีนและทิเบตไว้ก่อนบัดนี้เราคงไม่มีโอกาสได้ศึกษาเนื้อเรื่องอันสมบูรณ์ทั้ง 28 สรรคอย่างแน่นอน

            แซมมวล เบียล สันนิษฐานว่ามหากาพย์พุทธจริตที่สมบูรณ์ทั้ง 28 สรรคได้รับการแปลเป็นภาษาจีนราวปี ค.ศ.420 (พ.ศ.963) ในสมัยราชวงศ์เหลียง ผู้แปลคือภิกษุชาวอินเดียชื่อธรรมรักษ์ ซึ่งเดินทางไปสู่ประเทศจีนใน ค.ศ.412 (พ.ศ.955)และทำงานด้านการแปลจนถึง ค.ศ.454 (พ.ศ.667)๑๗ ส่วนฉบับแปลเป็นภาษาทิเบตนั้นกล่าวกันว่ามีผู้แปลไว้ในราวศตวรรษที่7 หรือ 8 ซึ่งเป็นฉบับที่เนื้อหาบริบูรณ์ดีเช่นเดียวกัน๑๘

            ฉบับภาษาไทยเท่าที่ทราบมีอยู่ 2 ฉบับ คือ ฉบับของอาจารย์กรุณา เรื่องอุไร กุศลาสัย ซึ่งถ่ายทอดเป็นพากย์ไทยตั้งแต่สรรคที่ 1-5 ใช้ชื่อ “มหากาพย์พุทธจริตของมหากวีอัศวโฆษ” จัดพิมพ์ครั้งแรกในงานพระเมรุจอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2493 อีกฉบับหนึ่งเป็นของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา ซึ่งเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า โดยท่านแปลจากต้นฉบับภาษาสันกฤตตั้งแต่สรรคที่1-3 ในชื่อ “พุทธจริตของอัศวโฆษ” จัดพิมพ์ที่ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปกร เมื่อ พ.ศ.2526 ดังนั้น มหากาพย์พุทธจริตฉบับแปลภาษาไทยที่จบบริบูรณ์ทั้งเรื่องจึงยังไม่มี

            เมื่อข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บรรยาย วิชา 314 เอกสารภาษาสันสกฤตเกี่ยวกับพุทธศาสนาในระดับปริญญาโท สาขาจารึกภาษาตะวันออก ภาควิชาภาษาตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้พบว่ามหากาพย์พุทธจริตเป็นวรรณกรรมที่มีความไพเราะและเหมาะที่จะใช้ศึกษาพุทธประวัติในมุมมองของฝ่ายมหายานอีกสำนวนหนึ่ง ข้าพเจ้าคิดในใจว่าน่าจะแปลให้จบ ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าได้พบกับอาจารย์กรุณา กุศลาสัย ท่านทราบว่าข้าพเจ้าเคยแปลมหากาพย์เสานทรนันทะ ซึ่งเป็นผลงานของอัศวโฆษเสร็จสิ้นมาแล้วจึงแนะนำให้ข้าพเจ้าแปลมหากาพย์พุทธจริตให้จบเพื่อคนไทยจะได้อ่านเนื้อหาอันเป็นอมตะของวรรณกรรมเรื่องนี้ ข้าพเจ้าจึงรับอาสาที่จะแปลให้จบ แต่ด้วยภาระงานประจำนั้นมีมาก งานแปลชิ้นนี้จึงใช้เวลาเกือบ 3 ปีจึงสำเร็จ

            ในการแปลข้าพเจ้าอาศัยหนังสือมหากาพย์พุทธจริตฉบับของ อี เอช จอห์นสตัน ฉบับของ เออร์มา ชอตส์แมน และฉบับของสูรยนารายณ์ เจาธรี ประกอบกัน โดยพิมพ์ต้นฉบับภาษาสันสกฤตอักษรเทวนาครีตามฉบับของเออร์มาซึ่งเห็นว่าสมบูรณ์ดี จากนั้นจึงปริวรรตเป็นอักษรไทยกำกับไว้ เพื่อให้ผู้อ่านที่ไม่สันทัดอักษรเทวนาครี สามารถอ่านได้แล้วจึงต่อด้วยคำแปลภาษาไทย ข้าพเจ้าแบ่งหนังสือนี้ออกเป็น 2 ตอน คือตอนที่ 1 (สรรคที่ 1-14) แปลจากต้นฉบับภาษาสันสกฤต ตอนที่ 2 (สรรคที่15-28) แปลจากฉบับภาษาอังกฤษของจอห์นสตันโดยสอบทานกับฉบับแปลภาษาฮินดีของสูรยนารายณ์ ในการแปลต้นฉบับภาษาสันสกฤตนั้น ข้าพเจ้าพยายามจะแปลเป็นไทยให้เข้าใจง่ายที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยมิได้ทิ้งรูปรอยภาษาเดิมเสียทีเดียว ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่ผู้ศึกษาภาษาสันสกฤตจะสามารถเทียบเคียงกับต้นฉบับเดิมไม่ยากนัก ส่วนตอนท้ายเล่มข้าพเจ้าได้จัดทำดัชนีค้นรายชื่อบุคคลและสถานที่ซึ่งปรากฏในมหากาพย์พุทธจริตไว้ด้วย สำหรับเนื้อหาของมหากาพย์พุทธจริตโดยย่อมีดังนี้

 

 

มหากาพย์พุทธจริต อัศวโฆษ

อศฺวโฆษวิรจิตํ พุทฺธจริตมหากาวฺยมฺ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สำเนียง เลื่อมใส แปลและเรียบเรียง

 

มหากาพย์พุทธจริต

 

ลิขสิทธิ์ ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สำเนียง เลื่อมใส

 

คำนำของ จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา ที่ปรึกษาศูนย์สันสกฤตศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร

            ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สำเนียง เลื่อมใสสามารถแปลพุทธจริตได้เสร็จสมบูรณ์ แม้ข้าพเจ้าจะเคยแปลพุทธจริตไว้ก็จริงแต่ก็แปลไม่จบ  จึงรู้สึกภูมิมจที่มีอติศิษย์อย่าง ดร.สำเนียง ทำงานนี้จนสำเร็จ แสดงถึงความมีวิริยะอุตสาหะ มีวินัยในตัวเอง มีความสามารถและมีสติปัญญาเป็นเลิศ การที่ ดร.สำเนียง แปลพุทธจริตได้สำเร็จทำให้ข้าพเจ้านึกไปถึงบทกวีของท่านอัศวโฆษที่กล่าวไว้ในพุทธจริต สรรคที่1 บทที่41-46 ใจความว่า

            “ฤษีภคุและฤษีอังคีรัสไม่สามารถจะแต่งตำราราชศาสตร์ซึ่งเป็นตำราเกี่ยวกับการปกครองได้สำเร็จ ผู้ที่สามารถแต่งตำราราชศาสตร์ได้สำเร็จ คือศุกราจารย์(ครูของพวกอสูร) ลูกของฤษีภฤคุและพระพฤหัสบดี (ครูของพวกเทพ) ลูกของฤษีอังคีรัส”

            “พระเวทซึ่งสูญหายไปในยุคก่อน ฤษีสารัสวตะลูกของแม่น้ำสรัสวตี จากฤษีทธีจะ ก็นำพระเวทกลับคืนมาได้ ฤษีวสิษฐะไม่สามารถจะแบ่งพระเวทได้สำเร็จผู้ที่ทำสำเร็จคือฤษีวยาสะ”

ฤษีจยวนะยังไม่รู้จักการแต่งบทกวี ผู้ที่สามารถทำได้เป็นคนแรกคือฤษีวาสมีกิ (ผู้แต่งรามายณะ ซึ่งถือกันว่าเป็นอาทิกาวยะ หรือบทกวีเรื่องแรก)”

“ฤษีกุศิกะไม่สามารถจะยกระดับวรรณะของตัวเองจากวรรณะกษัตริย์ให้เป็นวรรณะพราหม์ ผู้ทำได้สำเร็จ (ด้วยการบำเพ็ญตบะ) คือฤษีวิศวามิตร”

“พระชนก (พระบิดาของนางสีดา) ได้เป็นอาจารย์ของพวกพราหมณ์ (ทั้งๆที่ตนเองเป็นวรรณะกษัตริย์) ซึ่งคนวรรณะกษัตริย์คนอื่นไม่อาจทำได้ เศาริ หรือ พระกฤษณะได้แสดงความสามารถต่างๆที่บรรพบุรุษไม่เคยทำได้”

“ดังนั้นเครื่องวัดความสามารถของบุคคล ไม่ใช่อยู่ที่วัย ไม่ใช่อยู่ที่วงศ์ตระกูล”

            ท่านอัศวโฆษนอกจากจะเป็นกวีชั้นเลิศแล้วยังมีความเชี่ยวชาญทั้งทางคติพุทธและคติพราหมณ์ มีความรอบรู้ศิลปะวิทยาการต่างๆ รวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณีในยุคท่านและก่อนท่านเป็นอย่างดี ผู้ที่จะแปลพุทธจริตได้ถูกต้องและได้อรรถรสจะต้องเข้าถึงความคิดของกวีทุกๆด้าน ขอยกตัวอย่างบางบทในพุทธจริตเพื่อชี้ให้เห็นความลึกซึ้งในแง่มุมต่างๆของท่านกวีอัศวโฆษ

สรรคที่ 12 บทที่ 17

สิ่งที่เรียกว่า สัตตวะ ก็คือ ประกฤติ วิการะ การเกิด ความแก่ และความตาย ไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น

สัตตวะในที่นี้หมายถึงสัตว์โลกตรงส่วนที่วิวัฒนาการมาจากประกฤติซึ่งเป็นธาตุนิรันดร์คู่กับปุรุษซึ่งมีอยู่ชั่วนิรันดร์เช่นเดียวกัน

ประกฤติ ก็คือ ธาตุทั้งห 5 (ได้แก่ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ) อหังการะ พุทธิ และพลังที่ไม่ปรากฏ

ประกฤตินั้นมีคุณเป็นส่วนประกอบอยู่ 3 ประการ เมื่อคุณซึ่งเป็นส่วนประกอบอยู่ในตัวเกิด ความไม่สมดุลก็จะวิวัฒนาการเป็น (1) มหัต (ส่วนที่ไม่ปรากฏ ซึ่งเรียกอีกอย่งหนี่งว่า อวยักตะ ก่อนจะวิวัฒนาการเป็นพุทธิ) (2) พุทธิ คือ ตัวสติปัญญาในตัวมนุษย์ (3) อหังการะ คือความรู้สึกว่าตัวเองมีอยู่ และวิวัฒนาการต่อไปเป็น

วิการะ ก็คือ วัตถุเร้าอารมณ์ภายนอก 5 ประการ (รูป เสียง กลิ่น รส และการสัมผัส) ประสาทสัมผัส 5 ประการ (ตา หู จมูก ลิ้นและผิวหนัง) เครื่องมือในการทำงานด้านต่างๆ 5 ประการ (มือและเท้า คำพูด ทวารหนัก ทวารเบา และมนัสคือใจ)

เกษตรชญะ (เกษตรในที่นี้ = ทุ่ง หรือที่ = สัตตวะ ) คือ สิ่งที่รู้(สํชฺญิ) เพราะสิ่งนั้นรู้ เกษตรนี้ คนที่คิดถึงอาตมัน หรืออัตตา ก็จะเรียกอาตมันว่าเป็น เกษตรชญะ

            เกษตรชญะก็คือปุรุษะ คือส่วนที่เป็นความรู้บริสุทธิ์ในสัตว์โลก ตามนวความคิดของปรัชญาสางขยะ  ซึ่งตรงกันข้ามกับส่วนที่วิวัฒนาการมาจากประกฤติ มีพุทธิ อหังการะ มนัส ปัญจตันมาตระ ปัญจ-อินทรีย์ ปัญจ-กรรมอินทรีย์ ปัญจ-มหาภูตะ

            จากสรรคที่ 12 บทที่ 18-20 เป็นต้น ทำให้เราทราบว่า ก่อนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ได้ทรงศึกษาปรัชญาสางขยะยุคต้นๆ จากสำนักของฤษีอราฑะกาลามโคตร ปรัชญาสางขยะเชื่อว่าก่อนที่จะมีการวิวัฒนาการมาเป็นโลก มีสิ่งที่เป็นนิรันดร์ 2 ประการ คือ ปุรุษะและประกฤติหรือประธานะ

ใจความว่า”หญิงบางคนหนอนหลับโหนตัวเองอยู่ข้างหน้าต่าง มีลำดับบอบบางที่โค้งเหมือนคันธนู สวมสร้อยคองดงามห้อยลงมา จึงปรากฏเหมือนกับรูปสลักศาลภัญชิกาที่สลักไว้ที่โตรณะ(ซุ้มประตู)

            กวีใช้จินตนาการ(อุตเปรกษะ) เปรียบเทียบหญิงที่นอนหลับคนนี้ว่าเป็นศาลภัญชิกา นักโบราณคดีจะรู้จักศาลภัญชิกาเป็นอย่างดี ตัวอย่างที่มีชื่อเสียง คือเสาโตรณะแห่งสถูปที่สาญจี ที่มีภาพสลักของศาลภัญชิกาอยู่สองข้างของโตรณะด้านทิศเหนือของสถูปใหญ่ สิ่งที่ควรทราบอีกอย่างหนึ่ง้เกี่ยวกับหน้าต่างของอาคารสมัยโบราณของอินเดียวที่มีชื่อเรียกว่า ควาฤษ(ตาวัว) เป็นหน้าต่างที่เปิดไม่ได้ เป็นรูปรุเพื่อให้ลมผ่านเท่านั้นเอง

ความว่า “หญิงอีกคนหนึ่งหลับโดยยังมีขลุ่ยติดที่มือ ผ้าสไบสีขาวปิดหน้าอกหลุดลุ่ย จึงปรากฏราวกับว่าแม่น้ำที่มีดอกบัวที่ถูกผึ้งตอมเป็นทิวแถว ฝั่งแม่น้ำจึงหัวเราะผ่านทางฟองน้ำ”

            ในบทนี้กวีใช้อลังการะชนิตอุตเปรกษะ คือใช้จินตนาการมองภาพหญิงที่ผ้าสีขาวหลุดไปจากหน้าอก เป็นภาพแม่น้ำซึ่งในแม่น้ำมีดอกบัวถูกผึ้งตอมและที่ฝั่งมีคลื่นมากระทบและฟองน้ำสีขาวเกิดขึ้น กวีมองว่าฝั่งของแม่น้ำกำลังหัวเราะ(แสดงโดยนัยด้วยฟองน้ำสีขาว)ที่เห็นผึ้งกลุ้มรุมดอกบัว ดอกบัวอาจจะแสดงด้วยถันของหญิงสาวหรืออาจจะแสดงด้วยมือที่ถือขลุ่ย ส่วนผึ้งนั้นแน่นอนแสดงด้วยขลุ่ยที่อยู่ในมือของหญิงนั้น ในที่นี้เราจะต้องทราบขนบของกวี (convention of poets) ที่ว่าสีขาวนั้นแทนสิ่งที่บริสุทธิ์ เช่น เกียรติยศ การหัวเราะ แสงจันทร์ เป็นต้น ในบทนี้กวีจินตนาการ ผ้าสีขาวที่หลุดลุ่ยไปติดอยู่ที่สะโพกคือฟองน้ำ ที่แสดงการหัวเราะของฝั่งน้ำ สะโพกของหญิง คือฝั่งน้ำ ถ้าพิจารณาเพียงคำแปลอาจจะเห็นว่ากวีใช้การเปรียบเทียบที่เข้าใจยาก ผู้ที่รู้ขนบของกวีและมีประสบการณ์ที่สั่งสมไว้เท่านั้นจึงจะมองเห็นจินตนาการและความคิดอันลึกซึ้งอย่างยิ่งของกวีได้  กวีบทนี้มีจินตนาการคล้ายกับบทหนึ่งในเมฆทูตของกาลิทาส คือ

“เมื่อท่าน(เมฆ)ได้ดึงผ้าสีน้ำเงินในรูปของน้ำ ที่หลุดไปจากสะโพกของหญิงสาวคนนั้น(แม่น้ำ)ในรูปของฝั่งแม่น้ำ ที่เหมือนกับว่านางใช้มือดึงผ้าไว้ ด้วยปลายต้นอ้อที่โน้มลงไปจนถึงน้ำ ท่านซึ่งลอยตัวอยู่คงจะเดินทางต่อไปได้ยาก เพราะผู้ชายคนไหนเล่าที่เคยลิ้มรสสวาทแล้วจะทิ้งสะโพกที่เปลือยเปล่าไปได้”

            ในที่นี้กาลิทาสจินตนาการว่า เมฆเป็นชายหนุ่ม แม่น้ำเป็นหญิงสาว น้ำในแม่น้ำในฤดูแล้งที่ลดห่างฝั่งออกไปเป็นผ้าสีน้ำเงินที่กำลังหลุดจากสะโพกของหญิงสาวคือฝั่งแม่น้ำ ต้ออ้อที่ปลายโน้มลงไปจรดน้ำเป็นมือของหญิงสาวที่พยายามดึงผ้าไว้ไม่ให้หลุด

            มหากาพย์พุทธจริตนอกจากเป็นพุทธประวัติที่เก่าแก่ที่สุดเล่มหนึ่งที่แต่งเป็นกวีนิพนธ์แบบมหากาพย์เป็นภาษาสันสกฤตแล้ว ยังมีความลึกซึ้งทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านวรรณคดีสันสกฤต ด้านหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ด้านปรัชญาสาขาอื่นๆของอินเดีย เช่น สางขยะ ด้านศิลปวัฒนธรรมอินเดียโดยทั่วไป ข้าพเจ้าเชื่อว่า ผลงานที่โดดเด่นของ ดร.สำเนียง เล่มนี้จะช่วให้ผู้สนใจภาษาสันสกฤตและภารตวิทยาทั่วไปมีความซาบซึ้งในเรื่องที่เกี่ยวกับภารตะหรืออินเดียอย่างแน่นอนและหวังว่าวัฒนธรรมตะวันออกอัมีคุณค่าเป็นเลิศจะเป็นที่สนใจของคนตะวันออกมากยิ่งขึ้นจากผลงานนี้

จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา 

บทนำ

            มหากาพย์พุทธจริตเป็นกวีนิพนธ์สันสกฤตและเป็นวรรณกรรมชิ้นสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่มหากวีอัศวโฆษได้รจนาขึ้นเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวพุทธประวัติตามลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่ประสูติจนเสด็จดับขันธปรินิพพานรวมถึงการแจกพระบรมสารีริกธาตุ วรรณกรรมเรื่องนี้มีความน่าสนใจเพราะเนื้อหาเป็นพุทธประวัติตามคติพุทธศาสนานิกายสรวาสติวาท ซึ่งแตกต่างจากพระพุทธประวัติที่แต่งเป็นภาษาบาลีตามคตินิกายเถรวาทซึ่งเรารู้จักคุ้นเคยกันทั่วไป นอกจากนี้ยังได้รับคำชื่นชมจากนักปราชญ์ทั้งหลายว่ามีความไพเราะจับใจและเป็นวรรณกรรมชั้นเยี่ยมชิ้นหนึ่งในกลุ่มวรรณคดีสันสกฤต

            วรรณคดีสันสกฤตแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ อาคม (คัมภีร์ทางศาสนา) อิติหาส(คัมภีร์ทางประวัติศาสตร์และประเพณีที่สืบทอดกันมา) ศาสฺตฺร (คัมภีร์วิชาการสาขาต่างๆ) และกาวฺย(กวีนิพนธ์หรือบทประพันธ์ที่อยู่ในรูปของศิลปะ)  ด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและเรื่องนี้ถูกรจนาขึ้นในรูปของกวีนิพนธ์ซึ่งใช้ฉันทลักษณ์อย่างมีกำหนดกฎเกณฑ์ ทั้งคำที่ใช้ก็มีลักษณะพิเศษกว่าคำพูดทั่วไป ดังนั้น วรรณกรรมเรื่องนี้จึงเป็นวรรณคดีประเภท “กาวฺย” มากกว่าอย่างอื่น หรือถ้าจัดให้ละเอียดลงไปอีกก็จะเป็นวรรณคดีประเภท ปทฺย-ศฺรวฺย-กาวฺย คือเป็นกาพย์(กรวฺย) ที่แต่งเป็นบทร้อยกรอง(ปทฺย) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการฟัง(ศฺรวฺย) มหากาพย์พุทธจริตนั้นมีเนื้อหาที่ค่อนข้างยาว ผู้รจนาจึงเรียกงานประพันธ์ชิ้นนี้ว่ามหากาพย์ ดังข้อความปิดท้ายสรรคที่ 1 ว่า “อิติศรีอศฺวโฆษกฺฤเต ปูรฺวพุทฺธจริตมหากาเวฺย ภควตฺปฺรสูติรฺนาม ปฺรถมสรฺคะ แปลว่า “สรรคที่ 1 ชื่อภควัตประสูติ (การประสูติของพระผู้มีพระภาค) ในมหากาพย์พุทธจริตซึ่งแต่งโดยอัศวโฆษ จบเพียงเท่านี้” เป็นต้น

                ๑ นิกายสรวาสติวาท เป็นนิกายที่แยกมาจากนิกายเถรวาทในสมัยพุทธศตวรรษที่ 3 มีพระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถาโดยสมบูรณ์ของตนเอง นิกายสรวาสติวาทไม่ค่อยเคร่งครัดในการรักษาบทหรือความหมายของพระไตรปิฎกนัก เมื่อพิจารณาจากชื่อของนิกายซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำวา สรฺว+อสฺติ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีอยู่ นิกายนี้ถือหลักปรัชญาในอภิธรรมเป็นสำคัญ มีหลักบางประการไม่เหมือนกับของฝ่ายเถรวาท เช่นถือ ว่าพระอรหันต์เสื่อจากอรหัตผลได้ โดยแยกพระอรหันต์ออกเป็นสองพวก พวกแรกคือ วิมุตติอรหันต์ เป็นอรหันต์ที่ยังอาศัยปัจจัยภายนอกช่วยจึงบรรลุอรหัตผล ซึ่งบางครั้งอาจเลื่อมลงเนื่องจากปัจจัยต่างๆ เหล่านั้น แต่ก็ลดลงมาอยู่ในขั้นอนาคามีหรือสกทาคามี มิใช่กลับเป็นปุถุชนทีเดียว ในขณะที่พวกที่สอง คือ อสมยวิมุตติอรหันต์เป็นอรหันต์โดยแท้ไม่มีวันเลื่อมลงได้ มติอื่นส่วนมากคล้ายกับของเถรวาท

            อนึ่ง พุทธจริตเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ ผู้แต่งมิได้คิดขึ้นเอง ประกอบกับเนื้องเรื่องมีการพรรณนาถึงวงศ์ตระกูล บ้านเมือง การเล่นสนุกสนาน ความรัก การพลัดพราก และการประพฤติปฏิบัติคนของบุคคลที่เป็นตัวเอกจนได้บรรลุเป้าหมายสูงสุด อีกทั้งมีการดำเนินเรื่องตามลำดับเหตุการณ์ เนื้อเรื่องประกอบด้วยรสวรรณคดีที่หลากหลาย ตลอดจนมีการเปลี่ยนชนิดของฉันท์ก่อนจบสรรคเสมอ เช่นในสรรคที่ 1 โศลกที่ 1-7 แต่งด้วยตริษฏุภฉันท์ ได้เปลี่ยนเป็นปุษปิตาคราฉันท์ในโศลกที่ 80-89 ก่อนจบสรรค และในสรรคที่ 2 โสลกที่ 1-55 แต่งด้วยตริษฏุภฉันท์ได้เปลี่ยนเป็นมาลินีฉันท์ในโศลกสุดท้าย เป็นต้น ด้วยเหตุผลข้างต้นจึงกล่าวได้ว่าพุทธจริตมีคุณสมบัติเป็น “มหากาพย์อย่างสมบูรณ์”

            กวีผู้แต่งมหากาพย์พุทธจริต คือ “อัศวโฆษ” ผู้ได้รับยกย่องเป็นมหากวีและเป็นนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียง แต่หลักฐานข้อมูลเกี่ยวกับชีวประวัติของท่านมีไม่มากนัก จากหลักฐานเท่าที่ปรากฏ อัศวโฆษเป็นบุตรของนางสุรรณกษี เกิดที่เมืองสาเกต แต่เดิมนับถือพราหมณ์และได้รับการศึกษาแบบพราหมณ์จนมีความเชี่ยวชาญในไตรเพท ภายหลังหันมานับถือพระพุทธศาสนาโดยบวชเป็นภิกษุในนิกายสรวาสติวาท ด้วยความที่ท่านเป็นทั้งปราชญ์และเป็นทั้งกวี เมื่อบวชแล้วจึงมีคำนำหน้าชื่อมากมาย เช่น ภิกษุ อาจารย์ ภทันตะ มหากวี และมหาวาทิน อัศวโฆษเป็นผู้มีบทบาทสำคัญคนหนึ่งในยุคเริ่มต้นของนิกายมหายานมีผลงานมากมายทั้งด้านปรัชญาศาสนา บทละครและกวีนิพนธ์ ผลงานที่สำคัญทางปรัชญาและศาสนา เช่น สูตราลังการะ มหายานศรัทโธตปาทะ วัชรสูจี คัณฑีสโตรตระ ที่เป็นบทละคร เช่นราษฎรปาละ ศาริปุตรปรกรณัม และที่เป็นกวีนิพนธ์ เช่นมหากาพย์เสานทรนันทระ และมหากาพย์พุทธจริต เป็นต้น

            นอกจากจะรจนางานเขียนไว้หลายเล่มแล้วอัศวโฆษยังเดินทางท่องเที่ยวไปพร้อมกับสานุศิษย์และนักดนตรีเพื่อขับลำนำอันเป็นเรื่องราวแห่งพระพุทธศาสนาและความไร้แก่นสารของชีวิตในที่ชุมนุมต่างๆเพื่อป่าวประกาศคุณค่าอันล้ำเลิศแห่งพระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดา ชนทั้งหลายที่สัญจรไปเมื่อได้ฟังต่างหยุดนิ่งอยู่กับที่เพราะถูกตรึงไว้ด้วยน้ำเสียงและท่วงทำนองที่ไพเราะจับใจ กล่าวกันว่าคำสอนของอัศวโฆษสามารถทำให้ม้าทั้งหลายละทิ้งหญ้าหรือฟางที่กำลังกินอยู่ให้หันมาฟังคำบรรยายของท่านได้ ดังนั้น ท่านจึงได้รับสมญานามว่า “อัศวโฆษ” แต่ข้ออ้างดังกล่าวก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจนเป็นแต่เพียงคำบอกเล่าสืบต่อกันมาเท่านั้น

            การกำหนดระยะเวลาและอายุของอัศวโฆษยังไม่อาจกำหนดได้แน่ชัดว่าท่านเกิด พ.ศ.ใดมีชีวิตอยู่ระหว่าง พ.ศ.ใด และแต่งผลงานดังกล่าวข้างต้นเมื่อใด จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พอลำดับเรื่องได้โยมากเชื่อกันว่าอัศวโฆษเป็นบุคคลร่วมสมัยกับพระเจ้ากนิษกะ กษัตริย์ราชวงศ์กุษาณะ ผู้มีอำนาจปกครองอยู่ทางตอนเหนือของอินเดียมีเมืองหลวงอยู่ที่ปุรุษปุระ ปัจจุบันคือ Peshwar โดยมีหลักฐานบ่งบอกว่าพระองค์ขึ้นครองราชย์ใน ค.ศ.120 (พ.ศ.663) ต่อมาได้รุกล้ำดินแดนลึกเข้าไปในอินเดียและได้โจมตีกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองปาฏลีบุตรแล้วพาเอาตัวอัศวโฆษไป นอกจากนี้ในหนังสือ ซาเปาซางกิง ของจีนยังมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระเจ้ากนิษกะหลายเรื่อง และมีเรื่องหนึ่งกล่าวอย่างชัดเจนว่าอัศวโฆษได้เป็นที่ปรึกษาทางด้านศาสนาของพระองค์และหนังสือนั้นเรีกยท่านว่า”พระโพธิสัตว์”๑๐ ถ้าเชื่อกันตามนี้ก็สันนิษฐานว่าอัศวโฆษน่าจะมีชีวิตอยู่ระหว่าง พ.ศ.600-700 หรือราวพุทธศตวรรษที่7 และคงจะแต่งมหากาพย์พุทธจริตและผลงานอื่นๆ ขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวซึ่งนับเวลามาจนถึงปัจจุบันก็มีอายุได้เกือบ 2000ปีทีเดียว

            มหากาพย์พุทธจริตเป็นงานเขียนที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าและความงาม นอกจากผู้อ่านจะได้รับสอดแทรกไว้อย่างแนบเนียนแล้วยังจะได้รับรสและอลังการทางภาษาที่ไพเราะอีกด้วย๑๑ ด้วยเหตุนี้หลวงจีนอี้จิง ภิกษุชาวจีนผู้จาริกไปในประเทศอินเดียช่วงประมาณ ค.ศ.671-695 (พ.ศ.1214-1238) จึงได้กล่าวชมเชยไว้ว่าพุทธจริตนั้นเป็นมหากาพย์ที่ยังชุ่มชื่นให้กับจิตใจของผู้อ่าน ดังนั้น ท่านจึงไม่เคยเหน็ดเหนื่อยจากการอ่อนงานกวีนิพนธ์นี้เลย ส่วนความแพร่หลายของมหากาพย์พุทธจริตนั้นหลวงจีนอี้จิงได้บันทึกไว้ว่ามหากาพย์ชิ้นนี้มีผู้อ่านและนำไปขับลำนำกันอย่างกว้างขวางและเป็นรู้จักแพร่หลายทั่วทั้ง 5 ภูมิภาคของชมพูทวีปตลอดจนประเทศที่อยู่ในคาบสมุทรตอนใต้ เช่น สุมาตรา ชวา และหมู่เกาะใกล้เคียงเป็นต้น๑๒ ถ้าเป็นเช่นนี้ก็น่าเชื่อว่ามหากาพย์พุทธจริตคงจะมีอิทธิพลต่อแนวคิดของศิลปินในการสร้างภาพสลักหินที่โบโรบูดูร์ ในประเทศอนโดนีเซียด้วยเช่นกัน

            มอริช วินเตอร์นิทซ์ ได้กล่าวถึงคุณค่าและความงามของมหากาพย์พุทธจริตไว้ในหนังสือ A History of Indian Literature ว่า

            “คัมภีร์พุทธจริตเล่มนี้เป็นมหากาพย์เกี่ยวกับพระพุทธองค์เล่มแรกโดยแท้จริง ซึ่งกวีแท้ๆ เป็นผู้รจนาขึ้น ท่านเป็นกวีผู้เปี่ยมไปด้วยศรัทธาปสาทะอย่างแรงกล้าต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อีกทั้งเป็นกวีที่ซาบซึ้งในสัจจะแห่งพระพุทธธรรม จึงสามารถพรรณนาถึงพุทธประวัติและคำสอนของพระองค์ได้โยใช้ภาษาที่สูงส่งและมีความไพเราะเพราะพริ้ง แต่ไม่ใช่ภาษาที่มีสำนวนเสแสร้ง   ในมหากาพย์พุทธจริต เราจะพบกับการดำเนินเรื่องที่มีความประณีตและเต็มไปด้วยศิลปะอันเป็นลักษณะที่ตรงกันข้ามกับคัมภีร์บางเล่ม เช่นคัมภีร์มหาวัสตุและคัมภีร์ลลิตวิสตระซึ่งมีการดำเนินเรื่องอย่างสับสนและไม่เป็นระเบียบ  อัศวโฆษเป็นกวีมากกว่าที่จะเป็นภิกษุอย่างน้อยก็ในมหากาพย์พุทธจริตเล่มนี้”๑๓

            เนื่องจากคุณค่าและความงามของมหากาพย์พุทธจริตจึงทำให้คนทั่วไปสนใจนามาศึกษาต่ออีกมากมายหลายรูปแบบทั้งการตรวจชำระ การแปล การวิเคราะห์วิจารณ์ การเขียนบทความ และการแต่งคัมภีร์ โดยเฉพาะคัมภีร์พุทธประวัติของฝ่ายเถรวาทในยุคหลังก็สันนิษฐานว่าน่าจะได้รับอิทธิพลจากมหากาพย์พุทธจริตด้วยเช่นกัน ดังที่สุภาพรรณ ณ บางช้าง กล่าวว่า “เนื้อเรื่องและลีลาการแต่งคัมภีร์ชินจริตคล้ายกับคัมภีร์พุทธจริตของสันสกฤต อาจจะได้รับอิทธิพลจากคัมภีร์นั้นก็ได้”๑๔

            มหากาพย์พุทธจริตต้นฉบับดั้งเดิมมีทั้งหมด 28 สรรค(บท) บรรจุโศลกไว้ทั้งสิ้นจำนวน 2109 โศลก๑๕ แต่ต้นฉบับดั้งเดิมสูญหายไปมากกว่าครึ่ง คงเหลือต้นฉบับภาษาสันสกฤตเพียง 14 สรรค   คือ สรรคที่1-14 เท่านั้นซึ่งก็ไม่สมบูรณ์เพราะโศลกได้ขาดหมายไปบางส่วน เช่น โศลกที่ 1-7 ของสรรคที่ 1 และโศลกที่ 32-108 ของสรรคที่14 ส่วนสรรคที่15-28 นั้นไม่พบร่องรอยต้นฉบับภาษาสันสกฤตดั้งเดิมแม้แต่บทเดียว จึงเป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่มรดกภูมิปัญญาอันทรงคุณค่านี้ได้สูญหายไปจากโลก ถ้าไม่มีผู้แปลไปเป็นภาษาจีนและทิเบตไว้ก่อนบัดนี้เราคงไม่มีโอกาสได้ศึกษาเนื้อเรื่องอันสมบูรณ์ทั้ง 28 สรรคอย่างแน่นอน

            แซมมวล เบียล สันนิษฐานว่ามหากาพย์พุทธจริตที่สมบูรณ์ทั้ง 28 สรรคได้รับการแปลเป็นภาษาจีนราวปี ค.ศ.420 (พ.ศ.963) ในสมัยราชวงศ์เหลียง ผู้แปลคือภิกษุชาวอินเดียชื่อธรรมรักษ์ ซึ่งเดินทางไปสู่ประเทศจีนใน ค.ศ.412 (พ.ศ.955)และทำงานด้านการแปลจนถึง ค.ศ.454 (พ.ศ.667)๑๗ ส่วนฉบับแปลเป็นภาษาทิเบตนั้นกล่าวกันว่ามีผู้แปลไว้ในราวศตวรรษที่7 หรือ 8 ซึ่งเป็นฉบับที่เนื้อหาบริบูรณ์ดีเช่นเดียวกัน๑๘

            ฉบับภาษาไทยเท่าที่ทราบมีอยู่ 2 ฉบับ คือ ฉบับของอาจารย์กรุณา เรื่องอุไร กุศลาสัย ซึ่งถ่ายทอดเป็นพากย์ไทยตั้งแต่สรรคที่ 1-5 ใช้ชื่อ “มหากาพย์พุทธจริตของมหากวีอัศวโฆษ” จัดพิมพ์ครั้งแรกในงานพระเมรุจอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2493 อีกฉบับหนึ่งเป็นของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา ซึ่งเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า โดยท่านแปลจากต้นฉบับภาษาสันกฤตตั้งแต่สรรคที่1-3 ในชื่อ “พุทธจริตของอัศวโฆษ” จัดพิมพ์ที่ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปกร เมื่อ พ.ศ.2526 ดังนั้น มหากาพย์พุทธจริตฉบับแปลภาษาไทยที่จบบริบูรณ์ทั้งเรื่องจึงยังไม่มี

            เมื่อข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บรรยาย วิชา 314 เอกสารภาษาสันสกฤตเกี่ยวกับพุทธศาสนาในระดับปริญญาโท สาขาจารึกภาษาตะวันออก ภาควิชาภาษาตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้พบว่ามหากาพย์พุทธจริตเป็นวรรณกรรมที่มีความไพเราะและเหมาะที่จะใช้ศึกษาพุทธประวัติในมุมมองของฝ่ายมหายานอีกสำนวนหนึ่ง ข้าพเจ้าคิดในใจว่าน่าจะแปลให้จบ ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าได้พบกับอาจารย์กรุณา กุศลาสัย ท่านทราบว่าข้าพเจ้าเคยแปลมหากาพย์เสานทรนันทะ ซึ่งเป็นผลงานของอัศวโฆษเสร็จสิ้นมาแล้วจึงแนะนำให้ข้าพเจ้าแปลมหากาพย์พุทธจริตให้จบเพื่อคนไทยจะได้อ่านเนื้อหาอันเป็นอมตะของวรรณกรรมเรื่องนี้ ข้าพเจ้าจึงรับอาสาที่จะแปลให้จบ แต่ด้วยภาระงานประจำนั้นมีมาก งานแปลชิ้นนี้จึงใช้เวลาเกือบ 3 ปีจึงสำเร็จ

            ในการแปลข้าพเจ้าอาศัยหนังสือมหากาพย์พุทธจริตฉบับของ อี เอช จอห์นสตัน ฉบับของ เออร์มา ชอตส์แมน และฉบับของสูรยนารายณ์ เจาธรี ประกอบกัน โดยพิมพ์ต้นฉบับภาษาสันสกฤตอักษรเทวนาครีตามฉบับของเออร์มาซึ่งเห็นว่าสมบูรณ์ดี จากนั้นจึงปริวรรตเป็นอักษรไทยกำกับไว้ เพื่อให้ผู้อ่านที่ไม่สันทัดอักษรเทวนาครี สามารถอ่านได้แล้วจึงต่อด้วยคำแปลภาษาไทย ข้าพเจ้าแบ่งหนังสือนี้ออกเป็น 2 ตอน คือตอนที่ 1 (สรรคที่ 1-14) แปลจากต้นฉบับภาษาสันสกฤต ตอนที่ 2 (สรรคที่15-28) แปลจากฉบับภาษาอังกฤษของจอห์นสตันโดยสอบทานกับฉบับแปลภาษาฮินดีของสูรยนารายณ์ ในการแปลต้นฉบับภาษาสันสกฤตนั้น ข้าพเจ้าพยายามจะแปลเป็นไทยให้เข้าใจง่ายที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยมิได้ทิ้งรูปรอยภาษาเดิมเสียทีเดียว ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่ผู้ศึกษาภาษาสันสกฤตจะสามารถเทียบเคียงกับต้นฉบับเดิมไม่ยากนัก ส่วนตอนท้ายเล่มข้าพเจ้าได้จัดทำดัชนีค้นรายชื่อบุคคลและสถานที่ซึ่งปรากฏในมหากาพย์พุทธจริตไว้ด้วย สำหรับเนื้อหาของมหากาพย์พุทธจริตโดยย่อมีดังนี้

 

สารบัญ

 

สรรคที่1           ภควตฺปฺรสูติ – การประสูติของพระผู้มีพระภาค กล่าวถึงพระเจ้าศุทโธทนะทรงครองเมืองกปิลวาสตุและพระนางมายาพระมเหสีของพระองค์ได้ประสูติพระกุมารที่ลุมพินีวัน พระกุมารทรงดำเนินได้ 7 ก้าวพร้อมกับประกาศว่าชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย คณะพราหมณ์ ทำนายว่าพระกุมารได้เป็นจักรพรรดิแต่ถ้าออกผนวชจะได้เป็นพระศาสดา ส่วนอสิตฤษีที่มาเยี่ยมภายหลัง ทำนายว่าพระกุมารจะได้ตรัสรู้เป็นพระศาสดาแน่นอน พระราชาทรงเปี่ยมล้นด้วยความปิติยินดีจึงได้ประกอบพิธีทางศาสนาและพระราชทานโคจำนวนมากเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของพระกุมาร จากนั้นจึงรับพระกุมารกลับสู่พระนคร

สรรคที่2           อนฺตะปุรวิหาร – การประทับอยู่ในพระราชวังฝ่ายใน กล่าวถึงเมืองกปิลวาสตุมีความอุดมสมบูรณ์และมีความสำเร็จทุกประการหลังจากพระกุมารประสูติ พระเจ้าศุทโธทนะจึงขนานพระนามพระกุมารว่า “สรวารถสิทธะ” เมื่อพระมารดาสวรรคต พระนางเคาตมีพระมาตุจฉาได้รับภาระเลื้ยงดูพระกุมารต่อมา พระเจ้าศุทโธทนะทรงเกรงว่าพระกุมารจะออกผนวชจึงจัดให้อภิเกสมรสกับเจ้าหญิงยโศธราและบำรุงบำเรอด้วยกามารมณ์ทุกชนิด ครั้นเมื่อพระราหุลประสูติจากเจ้าหญิงยโศธรา พระราชาจึงทรงคลายกังวลเรื่องการออกผนวชของพระกุมาร

สรรคที่3 สํเวโคตฺปตฺติ การเกิดความสังเวช กล่าวถึงพระกุมารเสด็จประพาสภายนอกพระราชวัง ประชาชนต่างตื่นเต้นดีใจ๑๙ เทวดาชั้นสุทธาวาสได้เนรมิตชายชราขึ้นมาให้ทอดพระเนตร พระองค์ทรงสังเวชพระทัยจึงเสด็จกลับ เสด็จครั้งที่2 เทวดาได้เนรมิตคนเจ็บขึ้นมาทรงสังเวชพระทัยก็เสด็จกลับอีก ครั้งที่3 พระราชบิดารับสั่งให้แต่งสถานที่พิเศษไว้โดยให้หญิงงามผู้เชียวชาญเชิงโลกีย์คอยต้อนรับ ครั้งนี้พระกุมารทอดพระเนตรเห็นคนตายที่เทวดาเนรมิตขึ้นมาก็ทรงสังเวชพระทัย จึงรับสั่งให้กลับรถ แต่สารถีก็ไม่เชื่อฟังขับรถตรงไปยังป่าที่เตรียมไว้และหญิงงามทั้งหลายได้เข้ารุมล้อมพระกุมารเหมือนกันนางอัปสรรุมล้อมท้าวกุเวร

สรรคที่3 สตฺรีวิฆาตน การขจัดความหลงใหล กล่าวถึงหญิงงามทั้งหลายเดินเข้าหาพระกุมารแต่ก็ต้องตกตะลึงในความงามของพระองค์จนลืมทำหน้าที่ อุทายีบุตรของปุโรหิตจึงกล่าวเตือนหญิงเหล่านั้น๒๐ เมื่อได้สติหญิงเหล่านั้นจึงใช้มายายั่วยวนพระกุมาร แต่พระองค์ก็ไม่ทรงยินดี อุทายีจึงกราบทูลโน้มน้าวพระทัยด้วยตนเองเพื่อให้พระกุมารโอนอ่อนผ่อนตามหญิงเหล่านั้น ๒๑ พระกุมารทรงปฏิเสธคำพูดของอุทายีด้วยเหตุผลต่างๆ จนกระทั่งพระอาทิตย์อาสดงคต หญิงทั้งหลายยอมแพ้กลับเข้าสู่เมือง ฝ่ายพระราชาทรงบทราบเรื่องจึงปรึกษากับอำมาตย์เพื่อหาวิธียับยั้งพระกุมารตลอดทั้งคืน

สรรคที่5 อภินิษฺกรมณ การเสด็จของผนวช กล่าวถึงพระกุมารเสด็จประพาสป่าและทอดพระเนตรชาวนาให้วัวไถนาและมีแมลงตายเกลื่อนกลาดจึงสลดพระทัย พระองค์ทรงห้ามผู้ติดตามไว้แล้วเสด็จไปประทับใต้ต้นหว้าทรงมีพระทัยเป็นสมาธิจนได้ปฐมฌาน๒๒ ขณะนั้นเทวดาแปลงร่างเป็นสมณะเดินผ่านมา พระองค์ทรงสนทนากันสมณะนั้นแล้วเกิดปิติจึงปรารถนาจะออกผนวช เมื่อกลับไปขออนุญาตก็ถูกพระราชบิดาห้ามปราม ในราตรีเทวดาชั้นอกนิษฐกะบันดาลให้นางสนมนอนหลับไม่เป็นระเบียบ พระกุมารทรงเบื่อหน่ายจึงเสด็จลงจากปราสาทและทรงม้ากันถกะหนึออกผนวชโดยมีนายฉันทกะตามเสด็จ ม้ากันถกะวิ่งออกโดยมียักษ์ช่วยยกกีบเท้า ประตูที่แน่นหนาเปิดออกเอง ทวยเทพก็ส่องแสงนำทางตลอดราตรี ม้ากันถกะนำพระกุมารทะยานไปได้หลายร้อยโยขน์จนกระทั่งรุ่งอรุณ

สรรคที่6 ฉนฺทกนิวรฺตน – การกลับนครของฉันทกะ  กล่าวถึงพระกุมารเสด็จถึงอาศรมของฤษีภารควะตอนรุ่งสางทรงเปลื้องเครื่องประดับแก่นายฉันทกะและรับสั่งให้นำม้ากันถกะกลับสู่นครพร้อมกับนำความไปกราบทูลพระราชบิดา จากนั้นพระกุมารทรงตัดพระเกศาโยนขึ้นบนท้องฟ้า เทวดารับเอาพระเกศานั้นไปบูชาบนสวรรค์ เมื่อทรงปรารถนาผ้าผ้อมน้ำฝาดเทวดาตนหนึ่งได้แปลงร่างเป็นนายพรานนุ่งผ้าย้อมน้ำฝาดผ่านมา พระองค์ทรงแลกเปลี่ยนผ้ากับนายพรานแล้วเสด็จเข้าไปยังอาศรมฤษีภารควะ ฝ่ายนายฉันทกะร้องไห้และล้มฟุบลงบนพื้น จากนั้นจึงกอดม้ากันถกะเดินทางกลับสู่นครโดยบ่นเพ้อและแสดงอาการเหมือนคนบ้าไปตลอดทาง

สรรคที่7 ตโปวนปฺรเวศ –การเสด็จเข้าสู่ป่าบำเพ็ญตบะ กล่าวถึงพระกุมารเสด็จเข้าสู่อาศรมของฤษีภารควะและทรงได้รับการเชื้อเชิญจากฤษี ทรงสอบถามเรื่องการบำเพ็ญตบะของฤษีทั้งหลาย เมื่อได้รับคำอธิบายก็ไม่ทรงยินดีด้วยวิธีเหล่านั้นเพราะทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางหลุดพ้น พระกุมารประทับอยู่ 2-3 วัน ฤษีตนหนึ่งทราบว่าพระกุมารต้องการโมกษะจึงแนะนำให้ไปพบพระมุนีอราฑะ พระกุมารทรงอำลาฤษีทั้งหลายเล้วจึงเสด็จหลีกไป

สรรคที8 อนฺตะปุรวิลาป – การพิลาปรำพันของพระสนมฝ่ายใน กล่าวถึงนายฉันทกะฝืนใจเดินทางกลับสู่นครโดยใช้เวลาถึง 8 วัน ชาวเมืองทราบว่านายฉันทกะกลับมาโดยไม่มีพระกุมารจึงดุด่าว่านายฉันทกะ ในพระราชวังพระนางยโศธราทรงพิลาปรำพันถึงพระสวามี พระนางเคาตมีก็ทรงกันแสงปานจะสิ้นพระทัย หญิงทั้งหลายก็กอดกันร้องไห้ พระนางยโศธราทรงกันแสงและล้มฟุบลงกับพื้น ฝ่ายพระราชาเสด็จออกมาเห็นเหตุการณ์ก็ทรงกำสรวลจนถึงแก่วิสัญญีภาพ เมื่อทรงฟื้นขึ้นก็ทรงพร่ำเพ้อเหมือนคนเสียสติ พระราชครูและปุโรหิตจึงทูลอาสาออกติดตามพระกุมาร

สรรคที่9 กุมารานฺเวษณ – การติตามค้นหาพระกุมาร กล่าวถึงพระราชครูและปุโรหิตเร่งเดินทางไปจนถึงอาศรมของฤษีภารควะและเข้าไปสอบถาม เมื่อรู้ว่าพระกุมารเสด็จมุ่งหน้าไปยังอาศรมของพระมุนีอราฑะจึงออกติดตามไปทันที ทั้งสองตามทันพระกุมารที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่งได้กราบทูลให้ทราทราบข่าวในพระราชวัง พระกุมารตรัสว่าที่ทรงออกผนวชเพราะกลัวชรา พยาธิ และมรณะและจะแสวงหาทางหลุดพ้นเพื่อช่วยเหลือชาวโลกให้ได้ พระราชครูและปุโรหิตได้ทูลชักชวนพระกุมารกลับ แต่พระกุมารทรงปฏิเสธ เมื่อเห็นว่าไม่สำเร็จทั้งสองจึงอำลากลับสู่เมืองโดยได้แต่งตั้งจารบุรุษไว้คอยสืบเส้นทางที่พระกุมารเสด็จไป

สรรคที่10 เศฺรณฺยาภิคมน – กาเข้าเผ้าของพระเจ้าเศรณยะ กล่าวถึงพระกุมารเสด็จข้าแม่น้ำคงคาผ่านเข้าสู่เมืองราชคฤห์ที่มีภูเขาทั้งห้าแวดล้อม ชาวเมืองตื่นตะลึงบในความงามของพระองค์จึงพากันชุมนุมตามเฝ้าดู พระเจ้าเศรณยะทอดพระเนตรเห็นคนชุมนุมกันจากเบื้องบนปราสาทจึงตรัสถามจนทราบสาเหตุ พระองค์จึงเสด็จไปเฝ้าพระกุมารขนภูเขาปาณฑวะและทรงเชื้อเชิญให้อยู่ครองราชย์สมบัติครึ่งหนึ่ง แต่พระกุมารทรงปฏิเสธและไม่ทรงยินดี

สรรคที่11 กามวิครฺหณ – การขจัดความหลงใหลในกาม กล่าวถึงพระกุมารโพธิสัตว์ทรงปฏิเสธคำเชื้อเชิญของพระเจ้าเศรณยะ ทรงอธิบายให้เห็นโทษของกามและอานิสงส์ในการออกจากกามตลอดจนความปรารถนาโมกษะ พระเจ้าเศรณยะทรงซาบซึ้งพระทัยจึงขอให้พระองค์เสด็จมาโปรดเมื่อได้ตรัสรู้แล้ว พระกุมารโพธิสัตว์ทรงรับโดยดุษณีภาพแล้วเสด็จต่อไปยังอาศรมไวศวัมตระ ฝ่ายพระราชาก็เสด็จกลับสู่พระราชวัง

สรรคที่12 อรฑทรฺศน – ทรรศนะของพระมุนีอราฑะ กล่าวถึงพระกุมารโพธิสัตว์เสด็จถึงอาศรมของพระมุนีอราฑะและได้รับการต้อนรับอย่างดี พระมุนีอราฑะได้อธิบายทรรศนะของตนแก่พระกุมารโพธิสัตว์ พรองค์ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางตรัสรู้จึงหลึกไปสู่อาศรมขอพระมุนีอุทรกะ แต่แล้วก็ทรงปฏิเสธทรรศนะของพระมุนีอุทรกะอีก จากนั้นจึงเสด็จไปประทับที่ตำบลคยะ ณ ริมฝั่งแม่น้ำไนรัญชนา ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาเป็นเวลา 6 ปี โดยมีปัญจวัคคีย์ฝากตัวเป็นศิษย์ เมื่อทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางจึงเลิกเสีย ครั้งนั้นเทวดาดลใจนางนันทพลาธิดาหัวหน้าคนเลี้ยงโคให้นำข้าวปรายาสมาถวาย ปัญจวัคคีย์เห็นพระองค์เสวยพระกระยาหารจึงหนีจากพระองค์ จากนั้นพระองค์จึงเสด็จไปสู่โคนต้นอัศวัตถพฤกษ์ทรงรับหญาคาจากคนตัดหญ้าและปูลาดเป็นอาสนะประทับนั่งตั้งปณิธานมู่งสู่การตรัสรู้

สรรคที่13 มารวิชย – การชนะมาร กล่าวถึงพระกุมารโพธิสัตว์ทรงตั้งพระทัยแน่วแน่ที่จะตรัสรู้ ฝ่ายพญามารจึงพร้อมด้วยบุตรและธิดาเข้าไปรบกวนพระกุมารโพธิสัตว์ เมื่อพระองค์ไม่ทรงหวั่นไหวพญามารจึงยิงศรเข้าใส่ แต่ศรก็มิอาจทำร้ายพระองค์ได้  พญามารจึงนึกถึงกองทัพของตน เหล่าเสนามารจึงมาปรากฏตัว ขณะนั้นท้องฟ้ามืดสนิท การต่อสู้ระหว่างพญามารกันพระกุมารโพธิสัตว์เริ่มขึ้น เกิดแผ่นดินไหว มหาสมุทรสั่นสะเทือน งูใหญ่เห็นอปุสรรคก็ออกมาขู่ฟ่อๆ ทวยเทพก็ร้องไหฮือๆ เมื่อพญามารเคลื่อนทันเข้าโจมตีด้วยวิธีต่างๆ พระกุมารโพธิสัตว์ก็ไม่ทรงสะดุ้งกลัว ในที่สุดพญามารและเสนามารก็ล่าถอย ทัองฟ้าและพระจันทร์ก็สว่างสดใส ฝนโบกขรพรรษาที่มีกลิ่นหอมก็โปรยปรายลงมา

สรรคที่14 พุทฺธตฺวรปฺราปฺติ – การบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้า กล่าวถึงพระกุมารโพธิสัตว์ทรงเข้าฌานมุ่งสู่การตรัสรู้ เมื่อพระองค์บรรลุพระสัพพัญญูตญาณ โลกสั่นสะเทือน ชาวโลกต่างก็มีความสุข เทวดาก็สาธุการ พระองค์ประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขอยู่ 7 วัน ทรงเห็นว่าพระธรรมลึกซึ้งยากที่จะเข้าใจจึงดำริที่จะไม่สั่งสอน พระอินทร์และพระพรหมจึงมาทูลของอาราธนา ต่อมาพระองค์ทรงดำริที่จะไปโปรดพระมุนีอราฑะและอุทรกะแต่ทั้งสองเสียชีวิตไปก่อนจึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ จากนั้นจึงเสด็จดำเนินไปยังแคว้นกาศี

สรรคที่15 การประกาศพระธรรมจักร กล่าวถึงพระพุทธองค์เสด็จไปยังแคว้นกาศีเพื่อโปรดปัญจวัคคีย์ ฝ่ายปัญจวัคคีย์เมื่อเห็นพระองค์เสด็จมาแต่ไกล ได้ตกลงกันว่าจะไม่ถวายการต้อนรับ แต่แล้วก็ลืมข้อตกลงที่ทำกันไว้ ทุกคนต่างลุกขึ้นต้อนรับพระองค์ พระพุทธองค์ตรัสว่าพระองค์ตรัสรู้แล้ว จากนั้นจึงทรงแสดงอริยมรรคมีองค์แปดและอริยสัจสี่ ในจำนวนนั้นเกาณฑินยะได้ดวงตาเห็นธรรม ยักษ์ที่อาศัยอยู่บนพื้นปฐพีจึงป่าวประกาศข่าว เมื่อวงล้อแห่งธรรมหมุนไปในไตรโลก เทวดาทั้งหลายก็เปล่งเสียงสาธุการ

สรรค16 ธารศรัทธาแห่งพุทธสาวก กล่าวถึงพระพุทธองค์ทรงเทศนาโปรดอัศวชิตและโปรดยศกุลบุตรพร้อมด้วยสหาย 54 คนจนบรรลุพระอรหัตผลแล้วจึงทรงส่งไปประกาศพระศาสนาในที่ต่างๆ ส่วนพระองค์เสด็จไปโปรดฤษีกาศยปะ 3 พี่น้องพร้อมด้วยบริวารที่ตำบลคยะจนบรรลุอรหัตผลทั้งหมด จากนั้นจึงเสด็จไปโปรดพระเจ้าเศรณยะพิมพิสาร พระราชาเสด็จมาเฝ้าพร้อมด้วยบริวาร ชาวเมืองเห็นพระกาศยปะ 3 พี่น้องอยู่กับพระพุทธองค์ก็แปลกใจ พระพุทธองค์จึงโปรดให้พระเอารุวิลวะกาศยปะแสดงปาฏิหาริย์ พระกาศยปะเหาะขึ้นสู่ท้องฟ้าแสดงฤทธิ์ด้วยการยืน เดิน นั่ง นอน ในอากาศ พ่นน้ำและไฟออกมาพร้อมกัน จากนั้นจึงลงมาถวายบังคมและประกาศว่าตนเป็นศาย์ของพระพุทธองค์ เมื่อดินถูกเตรียมไว้ดีแล้วพระพุทธองค์จึงเทศนาโปรดพระราชาและบริวารจนได้ดวงตาเห็นธรรม

สรรค17 การบรรพชาของมหาสาวก กล่าวถึงพระเจ้าเศรณยะพิมพิสารทรงถวายพระเวณุวันเป็นพระอารามแห่งแรกแด่พระพุทธองค์ พระอัศวชิตเข้าไปบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์ อุปติษยะเห็นพระอัศวชิตเดินสำรวมน่าเลื่อมใสจึงติดตามไปเพื่อสนทนาธรรม พระอัศวชิตกล่าวสั้นๆว่า ผลทุกอย่างเกิดแต่เหตุ เมื่อเหตุดับผลก็ดับ อุปติษยะได้ฟังก็เกิดดวงตาเห็นธรรมละทิ้งลัทธิเดิมของตนและนำความไปบอกเมาทคลโคตรผู้เป็นสหายจนได้ดวงตาเห็นธรรมเช่นกัน  จากนั้นจึงชวนกันไปเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อขอบวช ภายหลังทั้งสองได้เป็นอัครสาวกของพระพุทธองค์ ต่อมาพราหมณ์กาศยปะได้ละทิ้งทรัพย์และภรรยาออกแสวงหาความหลุดพ้นได้มาพบพระพุทธองค์ที่เจดีย์พหุปุตรกะจึงน้อมตนเข้าไปเฝ้า พระพุทธองค์ทรงเทศนาโปรดจนบรรลุอรหัตผล ครั้งนั้นพระพุทธองค์ประทับอยู่ท่ามกลางพระสาวกทั้ง 3 ดุจพระจันทร์เพ็ญลอยอยู่ท่ามกลางดาวฤกษ์ 3 ดวงในเดือนชเยษฐา (เดือน7)

สรรคที่18 การโปรดเศรษฐีอนาถปิณฑิทะ กล่าวถึงเศรษฐีสุทัตตะเดินทางจากแคว้นโกศลไปค้าขายที่เมืองราชคฤห์และได้ไปเฝ้าพระพุทธองค์ในเวลากลางคืน พระพุทธองค์ทรงเทศนาโปรดจนเศรษฐีได้บรรลุโสดาปัตติผล ปรับเปลี่ยนแนวคิดจากความเชื่อเดิมๆ โดยเฉพาะประกฤติและปุรุษ เศรษฐีมีศรัทธาปรารถนาจะสร้างพระวิหารถวายที่เมืองศราวัสตีจึงทูลอาราธนาให้พระองค์เสด็จไปโปรด ต่อมาเศรษฐีเดินทางกลับไปเมืองศราวัสตีพร้อมด้วยพระอุปติษยะเพื่อสร้างพระวิหารเมื่อได้ไปถึงได้ขอซึ้ออุทยานจากพระราชกุมารเชตะโดยนำทรัพย์มาปูลาดจนเต็มอุทยาน พระกุมารเชตะทรงเลื่อมใสในศรัทธาของเศรษฐีจึงอุทิศป่าทั้งหมดถวายพระพุทธองค์ด้วย เศรษฐีสร้างพระเชตะวันวิหาร โดยมีพระอุปติษยะควบคุมการก่อสร้างจนพระวิหารแล้วเสร็จในเวลาอันรวดเร็ว

สรรค19 การโปรดพระพุทธบิดาและพระโอรส กล่าวถึงพระพุทธองค์เสด็จจากเมืองราชคฤห์ไปยังเมืองกปิลวาสตุโดยมีพระภิกษุ 1000 รูปตามเสด็จ พระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดาจนทรงเลื่อมใส มหาชนและพระกุมารที่ศรัทธาต่างพากันออกผนวชตามมากมาย เช่น อานันทะ อนิรุทธะ เทวทัตตะ เป็นต้น ครั้งนั้นอุทายีและอุบาลีก็ออกบวชตามด้วย พระเจ้าศุทโธทนทรงสละราชสมบัติให้พระอนุชาปกครองและประทับอยู่ในพระราชวังอย่างราชฤษี ฝ่ายพระพุทธองค์ก็ได้เสด็จไปประทับที่ป่านยโครธะ

สรรคที่20 การรับพระวิหารเชตะวัน กล่าวถึงพระพุทธองค์ทรงโปรดชาวเมืองกปิลวาสตุแล้วได้เสด็จไปยังเมืองศราวัสตีของพระเจ้าปเสนชิตพร้อมด้วยพระสงฆ์หมู่ใหญ่ ครั้นเสด็จถึงเศรษฐีสุทัตตะได้ถวายพระเชตะวันวิหารเป็นที่ประทับ พระเจ้าประเสนชิตเสด็จไปเฝ้าสนทนาธรรม ณ พระเชตะวันวิหาร ทรงแสดงธรรมโปรดพระราชาจนเลื่อมใสอย่างมาก ฝ่ายเดียรถีย์ขาดลาภสักการะเพราะพระราชาหันมานับถือพระพุทธองค์จึงท้าทายให้แสดงปาฏิหาริย์ พระองค์ทรงแสดงปาฏิหาริย์ปราบเจ้าลัทธิทั้งหลายแล้วได้เสด็จไปโปรดพระพุทธมารดาและประทับจำพรรษาบนสวรรค์ คั้นออกพรรษาแล้วจึงเสด็จลงจากเทวโลกที่เมืองสังกาศยะ

สรรคที่21 สายธารแห่งการบรรพชา กล่าวถึงพระพุทธองค์เสด็จโปรดประชาชน เช่น ทรงโปรดชโยติษกะและหมอชีวกที่กรุงราชคฤห์ ทรงโปรดพระเจ้าอชาตศัตรูที่ชีวกัมวัน และทรงโปรดบุคคลต่างๆ ในสถานที่ต่างๆมากมาย๒๓ พระเทวทัตเห็นความยิ่งใหญ่ของพระพุทธองค์ก็บังเกิดความริษยาจึงคิดทำร้ายพระพุทธองค์ โดยการกลิ้งหินที่เขาคฤธรกูฏและปล่อยช้างตกมันเพื่อทำร้ายพระพุทธองค์ แต่ก็มิอาจทำร้ายพระองค์ได้ พระเจ้าอชาตศัตรูจึงบังเกิดความเสือมใสในพระพุทธองค์เป็นอย่างยิ่ง  ครั้งนั้นพระเกียรติยศของพระพุทธองค์ได้แผ่ขจรขจายไปทั่วทุกทิศ ส่วนพระเทวทัตมีแต่ความอับเฉา

สรรคที่22 การเสด็จเยือนอัมรปาลีวัน  กล่าวถึงพระพุทธองค์เสด็จจากเมืองราชคฤห์ไปยังเมืองปาฏลิบุตรประทับที่เจดีย์ปาฏลิ ที่แห่งนั้นเสนาบดีวรษการะสร้างป้อมปราการเพื่อป้องกันการรุกรานของชาวลิจฉวี พระพุทธองค์ทอดพระเนตรเห็นทวยเทพนำทรัพย์สมบัติมาเก็บไว้จึงพยากรณ์ว่าเมืองนี้จะโด่งดังในอนาคต เมื่อเสด็จต่อไปจนถึงฝั่งแม่น้ำคงคาพระพุทธองค์ได้ทรงนำหมู่ภิกษุเหาะข้ามแม่น้ำคงคา จากนั้นจึงเสด็จต่อไปยังหมู่บ้านกุฏิและหมู่บ้านนาทีกะแสดงธรรมแล้วเสด็จต่อไปยังเมืองไวศาลีโดยประทับที่อัมรปาลีวัน และทรงเทศนาโปรดนางอัมราลีที่มาเฝ้าจนได้ดวงตาเห็นธรรม

สรรคที่23 การปลงพระชนมายุสังขาร กล่าวถึงกษัตริย์ลิจฉวีนำโดยพระเจ้าสิงหะเสด็จมาฟังธรรมที่อัมรปาลีวันและอาราธนาพระพุทธองค์เพื่อรับอาหารบิณฑบาตในวันรุ่งขึ้น แต่เมื่อรู้ว่านางอัมรปาลีได้อาราธนาพระองค์ไว้ก่อนแล้วจึงขุ่นเคืองพระทัยเล็ยน้อยแต่ก็ระงับได้ด้วยหลักพุทธธรรม วันรุ่งขึ้นทรงรับบิณฑบาตจากนางอัมรปาลีแล้วเสด็จต่อไปยังหมู่บ้านเวณุมตี ทรงประทับจำพรรษาที่นั่นแล้วเสด็จกลับมาที่เมืองไวศาลีอีกครั้งโดยประทับที่สระมรกฏะ ขณะนั้นพญามารได้มาทูลอารธนาให้เข้าสู่นิรวาณ พระพุทธองค์ตรัสว่าอีกสาม 3 จะเข้าสู่นิรวาณ พญามารจึงอันตรธานไป ขณะนั้นแผ่นดินได้สั่นสะเทือนและเกิดความโกลาหลทั่วทุกทิศ

สรรคที่24 พระมหากรุณาต่อกษัตริย์ลิจฉวี กล่าวถึงพระอานันทะเห็นแผ่นดินไหวก็เกิดอาการขนลุกชูชันจึงทูลถามถึงสาเหตุ พระพุทธองค์จึงตรัสให้ทราบและทรงปลอบใจพระอานันทะ ขณะนั้นกษัตริย์ลิจฉวีพากันมาเฝ้า พระองค์ทรงทราบความคิดของกษัตริย์ลิจฉวีจึงตรัสปลอบพระทัยและเมื่อจะเสด็จจากเมืองไวศาลีพระองค์จึงรับสั่งให้กษัตริย์เหล่านั้นกลับ๒๔ กษัตริย์ลิจฉวีกลับสู่พระราชวังด้วยอาการโศกเศร้า

สรรคที่25 ระหว่างวิถีสู่นิรวาณ กล่าวถึงเมืองไวศาลีมีความเศร้าหมองครอบคลุมไปทั้งเมือง พระพุทธองค์ทอดพระเนตรเมืองไวศาสีเป็นครั้งสุดท้าย จากนั้นจึงเสด็จสู่โภคนครและตรัสให้พระสาวกทั้งหลายยึดมั่นในพระธรรมวินัย ทรงรับอาหารบิณฑบาตครั้งสุดท้ายจากนายจุนทะแล้วเสด็จต่ไปยังเมืองกุศินคร เสด็จข้ามแม่น้ำอิราวดี ทรงสนานด้วยน้ำในแม่น้ำหิรัญยวดี และเสด็จไปยังป่าสาละ ทรงรับสั่งให้พระอานันทะจัดเตรียมที่บรรทมระหว่างต้นสาละคู่เพื่อจะเข้าสู่นิรวาณในปัจฉิมยาม พระอานันทะเศร้าโศกมีน้ำตาปิดกั้นดวงตาตลอดเวลา เมื่อพระพุทธองค์ทรงบรรทมบนพระแท่นความเงียบสงบก็เข้ามาเยือน ทรงรับสั่งให้พระอานันทะไปแจ้งข่าวแก่เจ้ามัลละ เมื่อเจ้ามัลละมาเฝ้าจึงตรัสปลอบด้วยพระธรรมเทศนา จากนั้นเจ้ามัลละก็เสด็จกลับเข้าสู่เมืองด้วยความทุกข์และสิ้นหวัง

สรรคที่26 มหาปรินิวาณ กล่าวถึงสุภัทรปริพาชกมาขอเข้าเฝ้าแต่พระอานันทะห้ามไว้พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้เข้าเฝ้าและแสดงธรรมโปรดจนบรรลุอรหัตผล สุภัทระปรารถนาจะเข้าสู่นิรวาณก่อนพระพุทธองค์จึงหมอบราบลงกับพื้นและนอนแน่นิ่งไปเหมือนกับงู พระพุทธองค์จึงให้ประกอบพิธีเผาศพของสภัทระ เมื่อผ่านปฐมยามทรงแสดงธรรมโปรดภิกษุและตรัสปัจฉิมโอวาทว่าด้วยความไม่ประมาท แล้วเข้าปฐมฌานไปจนถึงสมาบัติ 9(สมาบัติ9* มีรูปฌาน 4 อรูปฌาน 5 สัญญาเวทยิตนิโรธ1) จากนั้นจึงเข้าสมาบัติย้อนกลับโยปฏิโลมไปถึงปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้วเข้าฌานต่อไปอีกจนถึงจุตตถฌานครั้นออกจากจตุตถฌานจึงเข้าสู่มหาปรินิวาณ ขณะนั้นมีเหตุอัศจรรย์เกิดขึ้นมากมาย ทั้งแผ่นดินไหว ฟ้าผ่า พายุพัด ทวยเทพต่างเศร้าโศก ฝ่ายพญามารและเสนามารต่างพากันลิงโลดดีใจ เมื่อสิ้นสุดพระศากยมุนีโลกจึงเศร้าหมองไปทุกหย่อมหญ้า

สรรคที่27 สดุดีพระนิรวาณ กล่าวถึงทวยเทพต่างสดุดีพระนิรวาณ ฝ่ายอนิรุทธะเห็นโลกถูกตัดขาดจากแสงสว่างจึงพรรณนาความเลวร้ายของสังสารวัฏ เจ้ามัลละพร้อมกันออกมาจากเมืองทั้งน้ำตาและได้อัญเชิญพระพุทธสรีระไปวางบนพระแท่นงาช้างแล้วบูชาด้วยมาลัยและประพรมน้ำหอมชั้นดี จากนั้นเคลื่อนพระบรมศพผ่านเข้ากลางเมืองแล้วออกทางประตูนาคะ ข้ามแม่น้ำหิรัณยวดี แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนพระจิตกาธานซึ่งก่อด้วยไม้หอมชนิดต่างๆ ใกล้กับเจดีย์มกุฏะ เมื่อได้เวลาถวายพระเพลิงจิตกาธานกลัลไม่ลุกไหม้ เพราะแรงอธิษฐานของพระกาศยปะซึ่งกำลังเดินทางมา ครั้นพระกาศยปะเดินทางมาถึงพระเพลิงก็ลูกไหม้ขึ้นเอง พระเพลิงเผาไหม้พระบรมศพเหลือเพียงพระบรมสารีริกธาตุ เจ้ามัลละชำระล้างให้สะอาดแล้วได้บรรจุลงในพรชนะทองคำและสวดบทสรรเสริญ จากนั้นจึงสร้างปะรำเป็นที่ประดิษฐานเพื่อบูชาสักการะ

สรรคที่28 การแจกพระบรมสารีริกธาตุ กล่าวถึงราชทูตจากนครทั้ง 7 ส่งทูตมาขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ แต่เจ้ามัลละไม่ยอม กษัตริย์ทั้ง 7 จึงกรีฑาทัพมาเพื่อแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุ พราหมณ์โทรณะได้ออกมาหย่าศึกจึงไม่มีการสู้รบกัน ครั้งนั้นพระบรมสารีริกธาตุถูกแบ่งออกเป็น 8 ส่วน พราหมณ์โทรณะเก็บภาชนะแจกพระธาตุไว้ ส่วนพระสรีรังคารที่แหลือชาวปสละเก็บไว้บูชา ดังนั้นครั้งแรกจึงมีสถูปทั้งหมด 8 องค์ รวมสถูปที่พราหมณ์โทรณะสร้างและสถูปบรรจุพระสรีรังคารจึงเป็นสถูป 10 องค์ ครั้นเมื่อพระเจ้าอโศกทรงหันมานับถือพระพุทธศาสนาพระองค์ทรงรวบรวมพระบรมสารีริกธาตุมาจากสถูป 7 องค์แล้วแบ่งไปบรรจุในสถูป 84000 องค์ที่สร้างขึ้นใหม่ทั่วชมพูทวีป พระองค์ไม่ได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาจากสถูปองค์ที่ 8 ซึ่งอยู่ในเมืองรามปุระเพราะมีพวกนาคเผ้ารักษาไว้อย่างดี พระองค์มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้าและทรงปฏิบัติบำเพ็ญธรรมจนได้บรรลุโสดาบัน ตอนท้ายของสรรคนี้ผู้รจนากล่าวถึงอานิสงส์ของการบูชาพระบรมสารีริกธาตุและการทำใจให้บริสุทธิ์และกล่าวว่าที่ท่านรจนามหากาพย์พุทธจริตขึ้นมิใช่ต้องการจะอวดความรู้หรือความชำนาญเชิงกวี แต่ต้องการแสดงหลักพุทธธรรมให้แพร่หลายเพื่อประโยชน์สุขของชาวโลกยิ่งๆขึ้นไป

            สำหรับฉันทลักษณ์ ที่อัศวโฆษใช้รจนามหากาพย์พุทธจริต(ส่วนนี้ข้าพเจ้าขอตัดออกมิได้คัดลอกให้อ่าน เพราะการคัดลอกนี้จะคัดลอกเพียงคำแปลเนื้อความเท่านั้น มิได้คัดลอกในส่วนของภาษาให้ศึกษาด้วย สำหรับผู้ตอนการศึกษาให้หาหนังสือมาศึกษาเอาเอง

            ข้าพเจ้าหวังว่ามหากาพย์พุทธจริตฉบับแปลเป็นภาษาไทยเล่มนี้คงจะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่สนใจศึกษาวรรณคดีสันสกฤตเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาไม่มากก็น้อย คุณความดีที่หากจะพึงมีข้าพเจ้าขออุทิศบุชาคุณบิดามารดา ครูบาอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ ตลอดจนท่านมหากวีอัศวโฆษผู้เป็นเจ้าของผลงานอันทรงคุณค่าเรื่องนี้ แต่หากมีที่ผิดพลาดจะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม ข้าพเจ้ายินดีน้อมรับคำติชมและขออภัยท่านผู้อ่านผู้ทรงความรู้ไว้ ณ ที่นี้

            ท่านที่สุดนี้ ข้าพเจ้าขอกราบขอบพระคุณอาจารย์กรุณา กุศลาสัย และผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา ซึ่งเป็นผู้จุดประกายและผลักดันให้ข้าพเจ้าทำงานแปลชิ้นนี้จนสำเร็จ ขอขอบคุณอาจารย์ ดร.สมบัติ มั่งมีสุขศิริ ที่กรุณาช่วยตรวจแก่สำนวนที่ไม่กระจ่างชัด ขอของพระคุณอาจารย์อัญชนา จิตสุทธิญาณ หัวหน้าภาควิชาภาษาตะวันออก ที่กรุณาอ่านตรวจทานภาษาไทย และขอขอบคุณทุกท่านที่มิได้เอ่ยนามในที่นี้แต่มีส่วนสนับสนุนให้ข้าพเจ้าทำงานจนสำเร็จ ขอให้ทุกท่านจงได้รับส่วนแห่งความดีนี้และขอให้ธรรมของพระพุทธองค์จงดำรงยั่งยืนตลอดกาลนาน

สำเนียง   เลื่อมใส

ผู้อำนวยการศูนย์สัสสกฤตศึกษา

ศูนย์สันสกฤตศึกษา

ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี

มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพมหานคร

1 พฤศจิกายน 2547

 

สรรคที่1

 

สรรคที่ 1

 

ภควตฺปฺรสูติรฺนาม ปฺรถมะ สรฺคะ

 

 ชื่อ ภควตฺปฺรสูติ

 

(การประสูติของพระผู้มีพระภาค)

 

1     ในบรรดาเจ้าศากยะทั้งหลายผู้ไม่มีใครสามารถเอาชนะ พระราชาพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่าศุทโธทนะ ทรงเป็นเชื้อสายแห่งราชวงศ์อิกษวากุ ทรงมีพระราชอำนาจเสมอกับพระเจ้าอิษวากุ ทรงมีพระจริยาวัตรอันบริสุทธิ์ และทรงเป็นที่รักของประชาราษฎร์ ดุจพระจักทร์ในฤดูศรัท

 

๑ ฤดูศรัท ไดแก่ ฤดูใบไม้ร่วง อยู่ระหว่างฤดูฝนกับหนาว ฤดูในวรรณคดีสันสกฤตมี 6 ฤดู ได้แก่ 1วสนฺต(ฤดูใบไม้ผลิ) 2คฺรีษฺม (ฤดูร้อน) 3วรฺษาสฺ(ฤดูฝน) 4ศรทฺ(ฤดูใบไม้ร่วง) 5เหมนฺต(ฤดูหนาว) 6ศิศิร(ฤดูหนาวเย็น

 

2      พระมเหสีของพระราชาผู้เปรียบเสมือนพระอินทร์พระองค์นั้นก็ทรงรุ่งเรืองเท่าเทียมกันด้วยความรุ่งเรืองอันสดใส พระนางทรงมีความงามเหมือนกับดอกบัว มีความหนักแน่นเหมือนแผ่นดินทรงพระนามว่ามายาเหมือนกับพระนางมายา(พระลักษมี)ผู้มีความงามอันหาที่เปรียบมิได้

 

3     พระราชาพระองค์นั้นทรงประทับสำราญพระราชหฤทัยกับพระมเหสีโดยไม่นึกถึงทรัพย์สมบัติอันงดงามของพระไวศรวณะ เลย ครั้นต่อมาพระมเหสีผู้ไม่มีบาปอันเป็นมลทินก็ได้ทรงพระครรภ์ ดุจความรู้(วิทยา)ประกอบกับสมาธิ ฉะนั้น

 

๑ พระไวศรวณะ หมายถึงท้าวกุเวร ผู้เป็นเทพเจ้าแห่งทรัพย์และความร่ำรวย

 

4     ก่อนพระครรภ์ พระมเหสีของพระราชาทรงพระสุบินเห็นพญาช้างขาวปลอดเชือกหนึ่งเดินเข้าสู่พระวรกายของพระองค์ พระนางไม่ทรงได้รับความเจ็บปวดกับพระนิมิตนั้นเลย

 

5     พระมเหสีของพระราชา ผู้เปรียบเสมือนเทวดาพระองค์นั้นขณะทรงพระครรภ์สิ่งที่เป็นสิริมงคลแห่งราชวงศ์ ไม่ทรงได้รับความทุกข์ทรมาน ความเศร้าโศก และความหลงลืมเลย (แต่แล้ว) พระนางก็ปรารถนาที่จะเสด็จประพาสป่าเป็นการส่วนพระองค์

 

6     พระนางทรงปรารถนาพื้นที่แนวป่า (อุทยาน) ชื่อลุมพินีวัน ซึ่งมีต้นไม้งดงามและน่ารื่นรมย์เหมือนอุทยานไจตรรถะ ซึ่งเหมาะแก่การทำสมาธิและไม่มีผู้คนพลุกพล่าน จึงกราบทูลพระราชาเพื่อการประทับ ณ ที่นั้น

 

๑ ไจตรรถะ เป็นชื่ออุทยานของท้าวกุเวร อุทยานแห่งนี้ได้รับการดูแลรักษาโดยคนธรรพ์ชื่อจิตรรถ

 

7     พระราชาผู้ทรงเปี่ยมล้นด้วยความตื่นเต้นและยินดี เมื่อทราบว่าพระเทวีผู้มีพระทัยสูงส่งทรงน้อมไปในทางธรรม จึงเสด็จออกจากพระนครที่มีความร่มเย็น เพื่อความสุขของพระเทวี ไม่ใช่เพราะต้องการประทับสำราญพระหฤทัยเสียเอง

 

8     ในวนอุทยานอันงดงามนั้น พระมเหสีของพระราชาทรงทราบพระประสูติกาลจึงเสด็จเข้าไปสู่พระแท่นบรรทมที่ประดับด้วยเพดาน(หลังคา) โดยมีนางสนมนับพันเฝ้าปรนนิบัติรับใช้

 

9     จากนั้น ขณะที่ดาวนักษัตรชื่อปุษยะ กำลังเปล่งประกาย พระกุมารก็ได้ประสูติจากพระปรัศว์ของพระเทวีผู้ทรงมีพระจริยวัตรอันบริสุทธิ์พระองค์นั้น เพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก โดยไม่มีความเจ็บปวดและไม่มีโรคภัย

 

10     การประสูติของพระกุมารในลักษณะเช่นนั้นได้เป็นเหมือนกับการประสูติของเอารวะ ซึ่งประสูติจากพระอูรุ(ขาอ่อน) เหมือนกับการประสูติของปฤถุ ซึ่งประสูติจากพระหัตถ์ เหมือนกับการประสูติของมานธาตฤ ผู้เปรียบดังพระอินทร์ซึ่งประสูติจากพระเศียรและเหมือนกับการประสูติของกักษีวัต ซึ่งประสูติจากพระกัจฉะ (รักแร้)

 

11     พระกุมารผู้ไม่ได้ประสูติทางพระคุยหฐาน (โยนี) เมื่อเสด็จออกจากพระครรภ์ตามเวลาอันเหมาะสมจึงรุ่งเรืองเหมือนกับทรงเคลื่อนลงมาจากท้องฟ้า อนึ่ง พระองค์ทรงสั่งสมบุญญาธิการมาแล้วมากมายหลายกัลป์จึงประสูติออกมาพร้อมด้วยสัมปชัญญะและไม่มีความหลงลืม

 

12     พระกุมารนั้นทรงรุ่งเรืองด้วยพระรัศมีและความกล้าหาญเหมือนกับพระอาทิตย์อ่อนๆเคลื่อนลงสู่แผ่นดิน ถึงแม้จะมีพระรัศมีรุ่งเรืองมากเพียงนั้น แต่เมื่อถูกมองดูพระองค์ก็ยังทรงดึงดูดสายตามทั้งหลายเหมือนกับพระจันทร์

 

13     พระกุมารนั้นทรงบดบังแสงประทีปด้วยรัศมีจากพระวรกายของพระองค์ซึ่งกำลังเปล่งแสงรุ่งเรืองดุจพระอาทิตย์ อนึ่ง พระองค์ผู้มีพระฉวีวรรณเปล่งปลั่งดั่งทองชมพูนทอันมีค่ามหาศาลได้ทรงเปล่งแสงโชติช่วงไปทั่วทุกทิศ

 

14     พระกุมารผู้เป็นเช่นกับดาวสัปตฤาษีได้ทรงดำเนินพระบาทไปเจ็ดก้าวซึ่งแต่ละก้าวเป็นก้าวที่มั่นคง ไม่คด ยกขึ้นสูง กดลง ยาว และหนักแน่น

 

15     พระกุมารผู้ทรงดำเนินเหมือนดั่งราชสีห์ทอดพระเนตรทิศทั้งสี่แล้วตรัสถ้อยคำที่มีโชคและมีประโยชน์ว่า "เราเกิดมาเพื่อตรัสรู้เพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก นี้เป็นการเกิดในโลกครั้งสุดท้ายของเรา"

 

16     สายน้ำสองสาย คือสายน้ำเย็นและสายน้ำอุ่นที่ไหลแรง ซึ่งสะอาดบริสุทธิ์ดุจรัศมีของพระจันทร์ ได้หลั่งไหลออกจากท้องฟ้า ตกลงบนพระเศียรอันงดงามของพระกุมาร เพื่อความสุขภายใน เนื่องจากการสัมผัสกับพระวรกาย

 

17     ด้วยความเคารพในพระกุมารนั้น จอมยักษ์ทั้งหลายผู้ถือดอกบัวทองไว้ในมือต่างยืนแวดล้อมพระกุมารที่กำลังบรรทมอยู่บนพระแท่น ซึ่งมีเพดานอันงดงาม มีตัวพระแท่นเปล่งปลั่งด้วยทองและมีเท้าพระแท่นทำด้วยแก้วไพฑูรย์

 

18     เพราะอานุภาพของพระกุมารนั้น เหล่าทวยเทพบนท้องฟ้าซึ่งไม่ปรากฏรูปร่างต่างก็น้อมศีรษะลงมาถือเศวตฉัตรกางกั้นพร้อมกับสวดบทอวยพรอันล้ำเลิศเพื่อให้ทรงตรัสรู้

 

19     เพราะความปรารถนาในพระธรรมอันวิเศษ นาค(งู) ใหญ่ทั้งหลายผู้สร้างสมบุญไว้กับพระพุทธเจ้าในอดีต ผู้มีดวงตาฉายแสงแห่งความภักดี จึงได้พัดพระกุมารและโปรยดอกมันทาระลงมา

 

20     เหล่าทวยเทพชั้นสุทธาวาสผู้มีอินทรีย์บริสุทธิ์และยินดีด้วยคุณคือการอุบัติขึ้นแห่งพระตถาคตเพื่อประโยชน์แก่ชาวโลกที่กำลังจมอยู่ในความทุกข์ ต่างพากันรื่นเริงบันเทิงใจ ถึงแม้จะหมดราคะแล้วก็ตาม

 

21     ในเวลาประสูติพระกุมาร แผ่นดินซึ่งมีขุนเขาเป็นลิ่มสลักได้สั่นสะเทือนเหมือนกับเรือถูกพายุพัดกระหน่ำ และหยาดฝนพร้อมด้วยผงจันทน์ซึ่งมีดอกอุบลและดอกปทุม ระคนอยู่ภายในก็โปรยปรายลงมาจากท้องฟ้าที่ปราศจากเมฆ

 

ดอกอุบล ได้แก่ บัวสีน้ำเงิน ส่วนดอกปทุม ได้แก่ บัวสีขาว

 

22     ลมที่น่าพอใจซึ่งให้ความสุขสบายเมื่อยามสัมผัสก็พัดผ้าทิพย์ให้ตกลงมา พระอาทิตย์ก็เปล่งแสงเจิดจ้าอย่างยิ่ง และไฟที่มีเปลวอ่อนๆ ก็ลุกโชติช่วงโดยไม่มีใครพัด

 

23     อนึ่ง บ่อน้ำที่มีน้ำใสสะอาดได้ปรากฏขึ้นเองทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ใกล้กับสถานที่ประทับของพระกุมาร เหล่านางสนมฝ่ายในผู้เกิดความอัศจรรย์ใจจึงพากันทำพิธีที่ควรทำ ณ ที่นั้นเหมือนกับทำอยู่ที่ท่าน้ำศักดิ์สิทธิ์

 

24     อนึ่ง ป่าไม้ก็เนืองแน่นไปด้วยหมู่ทิพย์สัตว์ที่มีใจฝักใฝ่ในธรรมจนทำให้ดอกไม้ทั้งหลายร่วงหล่นจากต้นไม้ทั้งๆ ที่ไม่ใช่ฤดูกาล เพราะความกระตือรือร้นที่จะเผ้าชมพระกุมาร

 

25     สัตว์ที่ดุร้ายทั้งหลายได้ละทิ้งนิสัยชอบทำร้ายกัน ไม่เบียดเบียนกัน ทั้งในหมู่ของคนหรือในหมู่อื่น อนึ่ง โรคภัยทุกชนิดของมนุษย์ในโลกก็สงบลงไป โดยไม่ต้องใช้ความพยายามเลย

 

26     เนื้อและนกทั้งหลายต่างส่งเสียงร้องอย่างไพเราะ แม่น้ำทั้งหลายก็มีกระแสน้ำที่สงบ ทิศทั้งหลายก็สว่างสดใส และกลองทั้งหลายก็บันลือขึ้นในท้องฟ้าที่ไร้เมฆอันมืดมัว

 

27     ครั้นเมื่อพระบรมครูประสูติออกมาเพื่อปลดปล่อยชาวโลก โลกที่ยุ่งเหยิงก็ถึงความสงบ เหมือนกับได้ผู้นำที่ฉลาดในการปกครอง คงมีแต่มารผู้เดียวไม่ได้รับความยินดีในโลก

 

28     พระราชาแม้จะมีพระทัยหนักแน่นแต่เมื่อทรงเห็นการประสูติอันเป็นทิพย์และน่าอัศจรรย์ของพระกุมารก็ทรงถึงความหวั่นไหวเป็นอย่างมาก เพราะความรักในพระกุมาร พระราชาทรงหลั่งพระอัสสุชลถึงสองครั้ง (คือ)ที่เกิดจากความกลัวและที่เกิดจากความปิติยินดี

 

29     พระมารดาทรงทราบว่าพระกุมารมีอานุภาพเหมือมนุษย์ธรรมดาก็ทรงมีพระทัยแช่มชื่นด้วยพระกรุณา อนึ่ง พระเทวีเมื่อมีทั้งความปิติยินดีและความหวาดกลัวพร้อมกันจึงเป็นเหมือนลำธารน้ำที่มีน้ำเย็นและน้ำอุ่นระคนกัน

 

30     หญิงแก่ทั้งหลายเห็นเหตุการณ์ที่น่ากลัวเช่นนั้นก็ไม่อาจทำใจให้อยู่นิ่งได้ พวกเธอชำระร่างกายให้สะอาดแล้วจึงทำพิธีที่เป็นมงคลและขอความปลอดภัยแด่พระกุมารกับเหล่าเทวดา

 

31     ฝายพราหมณ์ผู้มีชื่อเสียงทั้งด้านการศึกษา ความประพฤติ และการพูดจา ครั้นฟังเรื่องราวทั้งหลายและตรวจตราดูอย่างละเอียดแล้วจึงพากันไปเฝ้าพระราชาผู้มีความกลัวและความปิติยินดี แล้วกราบทูลด้วยใบหน้าที่เบิกบาน ตื่นเต้น และแจ่มใสว่า

 

32     "สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนาความสงบในโลกย่อมไม่ต้องการคุณสมบัติใดๆ นอกจากบุตร และพระโอรสพระองค์นี้ก็จะเป็นประทีปแห่งวงศ์ตระกูลของพระองค์ ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงจัดให้มีมหรสพสมโภชด้วยการเต้นรำในวันนี้เถิด

 

33     "ขอพระองค์จงละความกระวนกระวายแล้วมีพระทัยที่สงบ ขอจงมีความปิติปราโมทย์เถิดวงศ์ตระกูลของพระองค์จะเจริญรุ่งเรือง พระโอรสของพระองค์จะเป็นผู้นำชาวโลกและจะช่วยปกป้องสัตว์ทั้งหลายที่มีความทุกข์ในโลก"

 

34     "พระโอรสพระองค์นี้มีพระรัศมีดั่งประทีป มีพระวรกายรุ่งเรืองดั่งทองและมีพระลักษณะที่เป็นมงคลทั้งหลาย พระองค์ผู้ทรงเป็นแหล่งอาศัยความดีจักได้บรรลุความเป็นพุทธฤาษี หรือสิริราชสมบัติอันยิ่งใหญ่ในเวลาอันสมควร"

 

35     "ถ้าพระโอรสพระองค์นี้จะทรงปรารถนาราชสมบัติในแผ่นดิน พระองค์ก็จะชนะแผ่นดินทั้งหมดด้วยนโยบายที่เป็นธรรมและทรงรุ่งเรืองอยู่ท่ามกลางกษัตริย์ทั้งหลาย เหมือนรัศมีพระอาทิตย์เปล่งแสงเรืองรองอยู่ท่ามกลางดาวเคราะห์ทั้งปวง"

 

36     "หรือถ้าพระองค์จะเสด็จไปสู่ป่าเพื่อโมกษะ พระองค์ก็จะชนะลัทธิทั้งปวงด้วยความจริงโดยชอบ พระองค์จะทรงได้รับความเคารพนับถือมากมาย และจะทรงรุ่งเรืองในโลก เหมือนเขาพระสุเมรุรุ่งเรืองอยู่เหนือขุนเขาทั้งหลาย"

 

37     "ทองคำอันบริสุทธิ์ยอดเยี่ยมที่สุดในระหว่างธาตุทั้งหลาย เขาพระสุเมรุยอดเยี่ยมที่สุดในบรรดาภูเขาทั้งหลาย มหาสมุทรยอดเยี่ยมที่สุดในบรรดาสระน้ำทั้งหลาย พระจันทร์ยอดเยี่ยมที่สุดในบรรดาดวงดาวทั้งหลาย พระอาทิตย์ยอดเยี่ยมที่สุดในบรรดาสิ่งที่ร้อนทั้งหลาย ฉันใด พระโอรสของพระองค์ก็จะเป็นผู้ยอดเยี่ยมที่สุดในบรรดามนุษย์ทั้งหลาย ฉันนั้น"

 

38     "พระเนตรทั้งสองที่ไม่กระพริบ กว้าง งดงาม สดใส ไร้มลทิน นิ่ง และมีขนพระเนตรดำยาวและบริสุทธิ์ของพระโอรสนั้นจะสามารถมองเห็นความเป็นไปทั้งปวงอย่างแน่แท้"

 

39     เมื่อพระราชาตรัสถามว่า "(ถ้า) พระกุมารทรงไว้ซึ่งคุณพิเศษดังที่ท่านทั้งหลายกล่าวมาเหตุใดเล่าพระมุนีและพระราชาทั้งหลายในปางก่อนจึงไม่ได้รับ (คุณพิเศษเหล่านั้น)" พราหมณ์ทั้งหลายจึงกราบทูลพระองค์ว่า

 

40     "การกระทำ เกียรติยศ และปัญญา ที่คนรู้จักกันดี ถึงจะไม่เคยมีมาก่อนก็สามารถมีขึ้นได้ในภายหลัง เพราะคุณสมบัติทั้งปวงเกิดจากเหตุ ขอพระองค์จงทราบอุทาหรณ์ของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายในเรื่องนี้"

 

41     "ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระทัยอ่อนโยน ฤาษีทั้งสอง คือภฤคุ และอังคิรัส ผู้ก่อตั้งวงศ์ (ตอนแรก) ยังไม่ได้บัญญัติราชศาสตร์ใดไว้ โดยกาลต่อมาบุตรทั้งสองของฤาษีทั้งสอง คือ ศุกระ และพฤหัสปติ ก็ได้บัญญัติราชศาสตร์นั้นขึ้นมา

 

42     "อนึ่งพระเวทที่สูญหายไปซึ่งคนทั้งหลายในปางก่อนไม่เคยเห็น แม้สารัตวตะ ก็ยังประกาศใหม่อีกครั้ง อนึ่ง ฤาษีวายาสะ ก็ยังแบ่งพระเวทออกเป็นหลายส่วน โดยที่ฤาษีวสิษฐะ ไม่เคยแบ่งไว้เพราะไม่มีความสามารถ"

 

43     "อนึ่ง มหาฤาษีจยวนะ ไม่ได้ผู้คำประพันธ์ร้อยกรองใดไว้ ฤาษีวาลมีกิ ก็ได้ผูกคำประพันธ์ร้อยกรองนั้นในตอนแรก อนึ่ง ฤาษีอัตริ ไม่ได้แต่งตำราทางการแพทย์ใดไว้ฤาษีอาเตรยะ ก็ได้แต่งตำรานั้นขึ้นในภายหลัง"

 

44     "ข้าแต่มหาราช บุตรของคาธิน ยังได้ครองความเป็นพราหมณ์ที่กุศิกะ ไม่เคยได้ อนึ่ง กษัตริย์แห่งราชวงอิกษวากุทั้งหลาย ไม่ได้รวบรวมดินแดนไว้แต่แรก สคระ ก็ยังได้รวบรวมดินแดนนั้นไปจนถึงมหาสมุทร"

 

45     "ชนกยังถึงความเป็นอาจารย์ของพวกพราหมณ์ในวิธีปฏิบัติโยคะซึ่งคนเหล่าอื่นไม่เคยได้ อนึ่ง การกระทำเหล่าใดของเศาริ ที่คนรู้จักกันดี บรรพบุรุษทั้งหลายมีศูระ เป็นต้นก็ยังไม่สามารถในการกระทำเหล่านั้น"

 

46     "เพราะฉะนั้น วัยก็ไม่เป็นประมาณ วงศ์ตระกูลก็ไม่เป็นประมาณ ใครๆก็อาจถึงความเป็นเลิศ ณ ที่ใดก็ได้ในโลก เพราะการกระทำต่างๆ ที่ไม่ถูกกระทำโดยคนรุ่นก่อนก็ได้ถูกกระทำแล้วโดยบุตรของพระราชาและฤาษีทั้งหลาย(ในภายหลัง)"

 

47    เมื่อคณะพราหมณ์ผู้น่าเชื่อถือเหล่านั้นพากันถวายการปลอบโยนและทำให้เบิกบานพระทัยอย่างนี้ พระราชาจึงทรงผ่อนคลายความสงสัยอันไม่พึงปรารถนาจากพระทัย และทรงก้าวขึ้นสู่ความสำราญพระหฤทัยมากยิ่งขึ้น

 

48     อนึ่ง พระราชาผู้ทรงมีความปิติยินดีครั้นทรงทำสักการะเสร็จแล้วจึงได้พระราชทานทรัพย์จำนวนมากแก่พราหมณ์ผู้ประเสริฐเหล่านั้น  พร้อมกับทรงอธิษฐานว่า "ขอให้ลูกของเราจงเป็นพระราชาตามคำทำนาย เมื่อถึงวัยชราแล้วจึงค่อยไปสู่ป่า"

 

49     ครั้งนั้น มหาฤาษีอสิตะ ครั้นทราบการประสูติของพระกุมารผู้จะทรงทำที่สุดแห่งการเกิดด้วยนิมิตทั้งหลายและด้วยอำนาจแห่งตบะ จึงเดินทางมายังที่ประทับของพระเจ้าศากยะ เพราะความกระหายในพระสัทธรรม

 

50     ราชปุโรหิตได้นิมนต์มหาฤาษีผู้รู้แจ้งสิ่งสูงสุดในบรรดาผู้รู้แจ้งพรหมัน ผู้รุ่งเรืองด้วยศิริอันเหมาะแก่ความเป็นพรหมและความงามที่เกิดจากตบะ ให้เข้าไปยังที่ประทับของพระราชาด้วยความเคารพและด้วยการต้อนรับอย่างดี

 

51     มหาฤาษีผู้บังเกิดกำลังความดีใจเพราะการประสูติของพระกุมารเข้าไปสู่ที่อยู่ของนางสนมของพระราชาด้วยจิตใจที่มั่นคง โดยมีความรู้สึกเหมือนกับอยู่ในป่า เพราะมีตบะแก่กล้าและเพราะอาศัยความชรา

 

52     จากนั้น เมื่อถวายน้ำล้างเท้าและของบูชาเป็นเบื้องต้นแล้ว พระราชาจึงบูชาพระมุนีผู้นั่งอยู่บนอาสนะด้วยความเคารพ แล้วจึงมีพระราชปฏิสันถารตามสมควรแก่ประเพณี เหมือนดังพระเจ้าอันติเทวะทรงมีพระราชปฏิสันถารกับฤาษีวสิษฐะในปางก่อนว่า

 

53     "ข้าพเจ้าเป็นผู้มีโชค ตระกูลของข้าพเจ้านี้จึงได้รับความอนุเคราะห์ เพราะท่านประสงค์จะพบข้าพเจ้าจึงได้เดินทางมา ข้าแต่ท่านผู้มีจิตเมตตา ขอท่านจงสั่งมาเถิดว่าข้าพเจ้าควรจะทำอะไรข้าพเจ้าเป็นศิษย์ ท่านควรที่จะไว้วางใจ

 

54     เมื่อพระราชาทรงเชื้อเชิญตามความเหมาะสมด้วยความเต็มพระทัยอย่างนี้ พระมุนีผู้มีดวงตาเบิกกว้างเพราะความตี่นเต้นจึงได้กล่าวถ้อยคำที่ลึกซึ้งและหนักแน่นว่า

 

55     "การที่พระองค์ทรงมีพระทัยกรุณาต่ออาตมา ซึ่งเหมาะกับคุณความดี วงศ์ตระกูล ความรู้ และวัยอย่างนี้ นับว่าเป็นสิ่งที่สมควรสำหรับพระองค์ผู้มีพระทัยสูงส่ง ผู้รักใคร่ต่อแขก ชอบบริจาคและฝักใฝ่ในทางธรรม"

 

56     สิ่งนี้ถือเป็นวิธีดำเนินชีวิตที่ราชฤาษีทั้งหลายของพระองค์ได้ทรงประพฤติกันมา กล่าวคือเมื่อได้ทรัพย์มาโดยธรรมที่ละเอียดก็บริจาคไปตามพิธีเป็นนิตย์จึงได้เป็นผู้ร่ำรวยด้วยตบะ แต่ยากจนด้วยทรัพย์"

 

57     "อนึ่ง ขอพระองค์จงสดับวัตถุประสงค์ในการมาของอาตมา และขอจงถึงความปิติปราโมทย์อาตมาได้ยินเสียงสวรรค์ในทางเดินของพระอาทิตย์ (ท้องฟ้า)ว่า "พระโอรสของพระองค์ประสูติแล้วเพื่อการตรัสรู้"

 

58     "อาตมาได้ยินเสียงนั้นแล้วจึงทำใจให้เป็นสมาธิ กำหนดรู้ด้วยนิมิตทั้งหลาย จากนั้นจึงเดินทางมาด้วยความอยากเห็นธงชัยแห่งศากยวงศ์ซึ่งถูกยกขึ้นเหมือนกับธงของพระอินทร์"

 

59     พระราชาครั้นสดับถ้อยคำนั้นอย่างนี้ได้ทรงดำเนินไปด้วยความเบิกบานพระหฤทัยและทรงอุ้มพระกุมารที่อยู่ในตักของแม่นมมาแสดงแก่พระฤาษี

 

60     จากนั้น มหาฤาษีจึงได้ชมพระราชกุมาร ผู้มีกงจักรที่ฝ่าพระบาท ผู้มีพระหัตถ์และพระบาทมพระองคุลียึดติดกันด้วยเนื้อเยื่อ มีพระอูรณะ(ขมวดขน)อยู่ระหว่างพระขนง มีพระคุยหฐาน(ซ่อนอยู่ภายใน) เหมือนกับของช้าง ด้วยความประหลาดใจ

 

61     มหาฤาษีเห็นพระกุมารบรรทมอยู่ในตักของแม่นม เหมือนโอรสของพระอัคนี(พระสกันทะ) บรรทมอยู่ในตักของพระเทวี(พระนางปารวตี)จึงมีน้ำตาเอ่อคลอที่ปลายขนตาและเงยหน้าขึ้นสู่สวรรค์พร้อมกับถอนหายใจ

 

62     ฝ่ายพระราชาทอดพระเนตรเห็นอสิตฤาษีมีดวงตาเปียกชุ่มด้วยน้ำตาจึงสั่นสะท้านไปทั้งองค์เพราะความรักที่มีต่อพระโอรส พระองค์ทรงมีพระศอแห้งเพราการกลั้นพระอัสสุชล ทรงประคองอัญชลีน้อมพระวรกายลงแล้วตรัสถามด้วยพระสุรเสียงที่สั่นเครือว่า

 

63     "ท่านพูดถึงร่างกายของพระกุมารว่าแตกต่างจากเทวดาเพียงเล็กน้อย พูดถึงการเกิดของพระกุมารว่ารุ่งเรืองน่าอัศจรรย์มากมาย และพูดถึงเป้าหมายในอนาคตของพระกุมารว่าเป็นสิ่งสูงสุด ข้าแต่ท่านผู้มีจิตใจมั่นคง เพราะเหตุใดท่านเห็นพระกุมารนั้นแล้วจึงมีน้ำตาเอ่อคลอ"

 

64     "ข้าแต่ท่านผู้มีโชค พระกุมารจะมีอายุยืนหรือไม่ พระกุมารไม่ได้ประสูติมาเพื่อความเศร้าโศกของข้าพเจ้าใช่ไหม น้ำกอบมือหนึ่งที่ข้าพเจ้าได้มาด้วยความยากลำบาก พระกาล(ความตาย) คงจะไม่มาเพื่อดื่มน้ำนี้ใช่ไหม"

 

65     "ขุมทรัพย์แห่งเกียรติยศของข้าพเจ้าจะไม่หมดไปใช่ไหม ความเข็มแข็งที่มีอยู่ในมือ (อำนาจ) แห่งวงศ์ตระกูลของข้าพเจ้ายังมีความมั่นคงใช่ไหม ข้าพเจ้าแม้ขณะนอนหลับก็ยังลืมตาข้างหนึ่งเพราะลูกจะได้รับความสุขในโลกหน้าบ้างไหม"

 

66     "ใบไม้แรกผลิแห่งวงศ์ตระกูลของข้าพเจ้า เกิดมายังไม่ทันมีดอกเลย คงจะไม่เหี่ยวแห้งไปก่อนใช่ไหม ข้าแต่ท่านผู้เป็นใหญ่ ขอท่านจงบอกเร็วๆเถิด ข้าพเจ้าไม่มีความสงบเลย เพราะท่านเองก็คงรู้ดีถึงความรักของพ่อที่มีต่อลูก"

 

67     พระมุนีนั้นเมื่อทราบว่าพระราชาทรงวุ่นวายพระทัยเพราะความนึกคิดที่ไม่น่าปรารถนาอย่างนั้นจึงกล่าวว่า"มหาบพิตร ขอพระองค์อย่าได้มีความคิดเป็นอย่างอื่นเลย สิ่งที่อาตมาได้กล่าวไปแล้วนั้นไม่มีอะไรน่าเคลือบแคลงสงสัย"

 

68     "อาตมาไม่ได้มีความกังวลใจว่าพระราชกุมารจะเป็นประการอื่น แต่อาตมามีความทุกข์ใจเพราะความพลาดหวังขอตัวเอง เพราะขณะนี้เป็นเวลาที่อาตมากำลังจะจากไป (ตาย) แต่ผู้รู้ความสิ้นสุดแห่งการเกิดซึ่งหาไม่ได้ง่ายๆได้ทรงอุบัติขึ้นแล้ว"

 

69     "เพราะว่าพระกุมารพระองค์นี้จะไม่สนพระทัยในโลกียวิสัย จะทรงสละราชสมบัติแล้วได้บรรลุสัจธรรมด้วยพระวิริยะอุตสาหะอันแรงกล้า และเมื่อทรงได้ญาณก็จะทรงส่องแสงทำลายความมืดคือโมหะในโลก เหมือนดั่งพระอาทิตย์ส่องแสงทำลายความมืด"

 

70     "พระกุมารพระองค์นี้จักใช้เรือใหญ่คือพระญาณ มาช่วยเหลือชาวโลกที่กำลังถูกพัดไปสู่ห้วงทุกข์ ให้ข้าพ้นจากมหาสมุทรแห่งทุกข์ อันมีความเจ็บป่วยมากมายเป็นฟองน้ำ มีความแก่ชราเป็นคลื่น และมีความตายเป็นกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว"

 

71     "โลกของสิ่งมีชีวิต ผู้ถูกตัณหาบีบคั้น จะได้ดื่มแม่น้ำคือพระธรรมอันล้ำเลิศของพระกุมารพระองค์นี้ ซึ่งมีปัญญาเป็นกระแส มีศีลที่มั่นคงเป็นฝั่ง มีสมาธิเป็นความเย็น และมีพรตเป็นนกจักรวากะ ซึ่งกำลังไหลไป"

 

72     "อนึ่ง พระกุมารพระองค์นี้จะทรงบอกทางแห่งความหลุดพ้นแก่คนทั้งหลายผู้ถูกความทุกข์บีบคั้นและถูกโลกียวิสัยขัดขวางซึ่งกำลังดำเนินอยู่ในกันดารคือสังสารวัฏ เหมือนกับบอกหนทางแก่คนเดินทางผู้พลัดหลงทาง"

 

73     "พระกุมารพระองค์นี้จะประทานความฉ่ำเย็นให้แก่ประชาชนในโลกซึ่งกำลังถูกแผดเผาด้วยไฟคือราคะอันมีวัตถุเครื่องเร้าอารมณ์เป็นเชื้อเพลิง ด้วยฝนคือพระธรรม เปรียบเหมือนเมฆใหญ่มอบความฉ่ำเย็นให้ในช่วงฤดูร้อน"

 

74     "พระกุมารพระองค์นี้จะทรงเปิดประตูที่มีตัณหาเป็นกลอนและมีความมืดแห่งโมหะเป็นบานเพื่อให้ประชาชนหนีไป โดยการกระทุ้งด้วยพระสัทธรรมอันสูงสุดซึ่งบรรลุได้โดยยาก

 

75     "พระกุมารพระองค์นี้ครั้นตรัสรู้แล้วจะเป็นพระธรรมราชาทำการปลดเปลื้องชาวโลกผู้ถูกความทุกข์ครอบงำและหาที่พึ่งไม่ได้ ซึ่งกำลังถูกรึงรัดด้วยตาข่ายคือโมหะของตน ออกจากพันธนาการ

 

76     "เพราะฉะนั้น พระองค์อย่าได้เศร้าโศกต่อพระกุมารนี้เลย บุคคลที่ควรจะเศร้าโศกถึงในมนุษย์โลกนี้ก็คือผู้ที่จะไม่ได้ฟังธรรมอันสูงสุดของพระกุมาร เนื่องจากมีโมหะหรือเนื่องจากมีความมัวเมาด้วยกามสุขนั่นเอง"

 

77     "เพราะฉะนั้น แม้อาตมาจะได้ฌาน แต่เมื่อพลาดจากคุณข้อนั้นเสียแล้วก็ถือว่ายังไม่ได้บรรลุเป้าหมายอยู่นั่นเอง เพราะอาตมาคิดว่าแม้การอยู่ในสวรรค์ก็ยังเป็นความสูญเสีย เนื่องจากไม่ได้ฟังธรรมของพระกุมารพระองค์นั้น"

 

78     พระราชาพร้อมทั้งพระสหายและพระมเหสีเมื่อได้สดับเนื้อความดังกล่าวนี้จึงคลายความเศร้าโศกและทรงเบิกบานพระทัย เพราะพระองค์ทรงนึกถึงความมีโชคของพระองค์ว่า "ลูกของเรานี้คงจะเป็นอย่างนั้น"

 

79     แต่พระองค์ก็ทรงทำให้พระทัยตกอยู่ในอำนาจแห่งความปริวิตกว่า"ลูกของเราอาจจะเดินตามทางแห่งฤาษี (ก็เป็นได้)" แท้ที่จริง พระองค์จะไม่ทรงฝักใฝ่ในธรรมอันดีงามก็หาไม่ แต่เป็นเพราะทรงเห็นภัยที่เกิดจากการสูญเสียผู้สืบสันตติวงศ์นั่นเอง

 

80     ครั้งนั้น อสิตมุนีเมื่อถวายพระพรพระราชาผู้ทรงมีความปริวิตกเกี่ยวกับพระโอรสให้ทรงทราบถึงความเป็นจริงที่แน่นอนเกี่ยวกับพระโอรสแล้วจึงได้เหาะไปทางอากาศเหมือนกับเวลามาขณะที่ฝูงชนต่างเงยหน้าขึ้นมองด้วยความเคารพอย่างมาก

 

81     มหาฤาษีผู้ประเสริฐผู้ได้สำเร็จความรู้ที่ถูกต้องนั้นหลังจากเห็นลูกชายของน้องสาวจึงได้อบรมบ่มนิสัยเขาด้วยวิธีต่างๆด้วยความกรุณา ราวกับเป็นลูกรัก เพื่อที่จะให้เขาได้ฟังพระดำรัสของพระมุนี(พระพุทธเจ้า)และได้ประพฤติปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์"

 

82     ฝ่ายพระราชาผู้ทรงมีความปิติยินดีต่อการประสูติของพระโอรสก็ทรงปลดปล่อยการจองจำทั้งหลายที่มีอยู่ในราชอาณาจักร พระองค์ผู้ทรงรักใคร่พระโอรสได้ทรงประกอบพิธีเนื่องด้วยการประสูติของพระโอรสอย่างถูกต้องเหมาะสมแก่ราชตระกูล

 

83     เมื่อเวลาผ่านไปได้สิบวันนั่นเอง พระราชาผู้มีพระทัยบริสุทธิ์ ผู้ทรงปลาบปลื้มด้วยความยินดีอย่างยิ่งก็ได้ทรงประกอบพิธีบวงสรวงเทวดา มีการสวดมนต์ บูชาไฟ และพิธีมงคล เป็นต้น เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของพระโอรส

 

84     นอกจากนี้ พระราชายังได้พระราชทานแม่โคจำนวนหนึ่งแสนตัว ซึ่งมีลูกสมบูรณ์แข็งแรงมีเขาเลี่ยมทอง ไม่แก่ และให้น้ำนมดี แก่พราหมณ์ทั้งหลายด้วยพระองค์เอง เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของพระโอรส

 

85     ต่อมา พระราชาผู้มีพระทัยบริสุทธิ์ผู้ทรงปราบปลื้มยินดี ครั้นทรงประกอบพิธีที่ทำให้เกิดความสบายพระทัยมากมายหลายประการแล้วจึงได้ตัดสินพระทัยที่จะเสด็จกลับเข้าสู่พระนครในฤกษ์ยามที่กำหนดไว้ว่ามีคุณและเป็นมงคล

 

86     ครั้งนั้น พระเทวีทรงไหว้เทวดาทั้งหลายเพื่อความเป็นมงคลแล้วจึงอุ้มพระโอรสเสด็จขึ้นสู่พระสีวิกาที่ทำด้วยงาช้าง ซึ่งประดับด้วยดอกสิตะสีขาว แวววาวไปด้วยแก้วมณี และมีค่ามาก

 

87     ครั้งนั้น เมื่อทรงจัดให้พระมเหสีผู้เป็นที่พึ่งของพระโอรส  ผู้มีหญิงสูงอายุทั้งหลายติดตามเสด็จเข้าสู่พระนครล่วงหน้าแล้ว ฝ่ายพระราชาก็เสด็จตามเข้าไปโดยมีฝูงชนทั้งหลายพากันกราบไหว้เหมือนกับพระอินทร์เสด็จสู่สวรรค์โดยมีเทวดาทั้งหลายกราบไหว้ฉะนั้น

 

88     ครั้งนั้น พระเจ้าศากยะ เมื่อเสด็จถึงพระราชวังก็ทรงมีความปิติปราโมทย์ เหมือนกับพระศิวะมีความปิติปราโมทย์เพราะการประสูติของเทพผู้มีหกเศียร (พระสกันทะ) พระองค์ทรงมีพระพักตร์เอิบอิ่มเพราะความเบิกบานพระทัยได้ทรงจัดแจงสิ่งนั้นสิ่งนี้ที่จะก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองและเพิ่มพูนพระเกียรติยศมากมาย (แก่พระโอรส)

 

89     พระนครชื่อกปิละ พร้อมทั้งชนบทนั้นกลายเป็นเมืองที่มีแต่ความสนุกสนาน เพราะความเจริญรุ่งเรืองเนื่องจากการประสูติของพระราชกุมาร เปรียบเสมือนเมืองของเทพผู้ประทานทรัพย์(ท้าวกุเวร)ซึ่งเต็มไปด้วยนางอัปสร มีแต่ความสนุกสนาน เนื่องจากการประสูติของนลกูพระ ด้วยประการฉะนี้

 

สรรคที่ 1 ชื่อ ภควตฺปฺรสูติ (การประสูติของพระผู้มีพระภาคเจ้า)

 

ในมหากาพย์พุทธจริต จบเพียงเท่านี้

 

สรรคที่4

 

สรรค ที่ 4

สฺตฺรีวิฆาตโน นาม จตุรฺถะ สรฺคะ

ชื่อ สฺตฺรีวิฆาตน

(การขจัดความหลงใหลสตรี)

1     จากนั้น หญิงทั้งหลายผู้มีดวงตาไม่อยู่นิ่งเพราะความตื่นเต้น จึงเดินออกจากอุทยานประจำเมืองแห่งนั้นเพื่อมาถวายการต้อนรับพระราชกุมารที่เพิ่งเสด็จมาถึงราวกับต้อนรับเจ้าบ่าว

2     หญิงเหล่านั้นเมื่อเข้าไปใกล้ๆต่างก็มีดวงตาเบิกกว้างด้วยความประหลาดใจจึงประคองกรที่เหมือนกับดอกบัวตูมถวายการต้อนรับพระกุมารด้วยความเคารพ

3     อนึ่ง หญิงเหล่านั้นผู้ถูกความรักครอบงำจิตใจได้ยินแวดล้อมพระกุมาร เหมือนกับจะดูดดื่มพระองค์ด้วยดวงตาทั้งหลายที่ไม่กระพริบและเบิกกว้างเพราะความดีใจ

4     เพราะพระกุมารมีความงามด้วยพระลักษณะที่สดใสเหมือนกับเครื่องประดับที่เกิดมาพร้อมกับพระองค์ หญิงเหล่านั้นจึงคิดกันว่า "กามเทพได้ปรากฏร่างขึ้นมา"

5     อนึ่ง เพราะพระกุมารทรงมีความอ่อนโยนและมีพระทัยมั่นคง หญิงบางคนจึงคิดถึงพระองค์ว่า "พระกุมารทรงเป็นพระจันทร์ที่หยั่งลงมาสู่พื้นโลกในรูปของมนุษย์โดยปิดบังรัศมีเอาไว้"

6     หญิงเหล่านั้นถูกความงามของพระกุมารครอบงำจึงกระซิบกระซาบกันด้วยความระมัดระวังและเมื่อประหัตประหารกันและกันด้วยสายตา(มองกันไปมองกันมา) แล้วจึงถอนหายใจเบาๆ

7     หญิงเหล่านั้นได้แต่จ้องมองพระกุมารด้วยสายตาเท่านั้น เมื่อถูกอานุภาพของพระองค์สะกดเอาไว้ พวกเธอจึงไม่พูดจากและไม่ส่งเสียงหัวเราะออกมาเลย

8     แต่แล้วบุตรของปุโรหิตผู้ฉลาดนามว่าอุทายีเมื่อเห็นว่าหญิงเหล่านั้นมีอาการเก้อเขินเพราะความรัก ทั้งไม่เริ่มทำสิ่งใดเช่นั้น จึงได้กล่าวถ้อยคำนี้ว่า

9     "พวกเธอทุกคนต่างมีความรู้ในศิลปะทุกอย่าง ฉลาดในการโน้มน้าวอารมณ์ สมบูรณ์ด้วยความงามและความมีเสน่ห์ รวมทั้งมีชื่อเสียงโดดเด่นด้วยคุณสมบัติประจำตน"

10     "ด้วยคุณสมบัติเหล่านั้น พวกเธออาจทำแคว้นอุตตรกุรุทั้งหมดให้งดงามก็ได้ และอาจทำแม้กระทั่งอุทยานที่สำราญพระทัยของท้าวกุเวรให้งดงามก็ได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผืนแผ่นดินนี้เลย"

11     "แม้พวกฤาษีที่หมดความกำหนัดแล้ว พวกเธอก็อาจทำให้หวั่นไหวได้ และแม้แต่พวกเทวดาที่คุ้นเคยอยู่กับนางอัปสร พวกเธอก็อาจฉุดดึงมาได้เช่นกัน"

12     "ด้วยการรอบรู้ในเรื่องอารมณ์ ด้วยการแสดงกิริยายั่วยวน และด้วยการถึงพร้อมด้วยความงามและความมีเสน่ห์ พวกเธอนับว่ามีอำนาจเหนือกว่าหญิงทั้งหลาย ไม่จำเป็นต้องพูดถึงความมีอำนาจเหนือชายทั้งหลายในการทำให้เขาหลงรัก"

13     "เมื่อพวกเธอผู้มีคุณสมบัติดังที่กล่าวมาต่างบกพร่องในหน้าที่ของตนและมีพฤติกรรมอย่างนี้ ฉันรู้สึกไม่ชอบใจเลยกับกิริยาท่าทางอันเซ่อซ่าของพวกเธอ"

14     "เพราะว่า พฤติกรรมของพวกเธอนี้ช่างเหมือนกับพฤติกรรมของพวกหญิงแรกรุ่นที่หลับตาลงเพราะความเขินอาย หรือไม่ก็เหมือนกับพฤติกรรมของพวกหญิงเลี้ยงโคทั้งหลาย"

15     "ถึงแม้พระกุมารจะมีพระทัยมั่นคงและมีความยิ่งใหญ่เพราะอานุภาพแห่งความงามก็ตาม (แต่) อำนาจของสตรีก็ยิ่งใหญ่เช่นกัน ดังนั้น พวกเธอจึงควรทำความตั้งใจในเรื่องนี้"

16     "เพราะว่าในกาลก่อน มหาฤาษีวยาสะ ผู้แม้แต่เหล่าเทวดาก็เอาชนะได้โดยยากยังถูกนางกาศิสุนทรีซึ่งเป็นหญิงแพศยาประหารด้วยเท้า"

17     "อนึ่ง ในกาลก่อน นักบวชชื่อมันถาลเคาตมะ ผู้ปรารถนาจะร่วมประเวณีกับนางชังฆา ผู้เป็นหญิงนครโสเภณี ยังยอมตนไปขนซากศพเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์"

18     "หญิงผู้ต่ำทั้งวรรณะและฐานะคนหนึ่งก็ยังทำให้มหาฤาษีชื่อทีรฆตปัส เคาตมะ ผู้มีอายุยืนยาวบังเกิดความพอใจมาแล้ว"

19     "ในทำนองเดียวกัน นางศานตา ก็ยังล่อลวงเอาและนำออกไปซึ่งฤษยศฤงคะ ผู้เป็นบุตคของฤาษี ซึ่งยังไม่รู้เดียงสาในเรื่องสตรี ด้วยอุบายวิธีต่างๆ"

20     "อนึ่ง มหาฤาษีวิศวามิตระ แม้จะได้บำเพ็ญตบะอันยิ่งใหญ่มาแล้ว แต่เมื่อถูกนางอัปสรชื่อฆฤตาจี นำตัวไป (เป็นภัสดา) ก็ยังหลงผิดคิดว่าเวลาสิบปี (ที่อยู่กับนาง) เป็นเหมือนหนึ่งวัน"

21     "หญิงทั้งหลายต่างก็นำฤาษีผู้มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้นมาสู่ความกำหนัดได้ จึงไม่จำเป็นต้องพูดถึงพระราชกุมารผู้งดงามซึ่งยังทรงพระเยาว์"

22     "ดังนั้น เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ พวกเธอจงพยายามทำหน้าที่ด้วยความมั่นใจ โดยวิธีที่โชคประจำวงศ์ของพระราชานี้จะไม่เบือนหน้าหนีไปทางอื่น"

23     "จริงอยู่ หญิงบางคนย่อมยั่วยวนชายที่มีลักษณะคล้ายกับตนได้ง่าย แต่หญิงเหล่าใดยั่วยวนอารมณ์ชายได้ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง หญิงเหล่านั้นย่อมจัดได้ว่าเป็นยอดหญิง"

24     หญิงเหล่านั้นได้ฟังคำพูดของอุทายีดังนั้น เป็นเหมือนกับถูกทิ่มแทงหัวใจ จึงกระตุ้นเตือนตนเองเพื่อเข้าฉุดรั้งพระกุมารเอาไว้

25     หญิงเหล่านั้นทำเป็นเหมือนสะดุ้งตกใจและแสดงกิริยายั่วยวนด้วยการยักคิ้วหลิ่วตา ชำเลืองมอง ชี้มือชี้ไม้ หัวเราะระริกระรี้ เกี้ยวพาราสี และเดินกรีตกราย

26     แต่เพราะคำสั่งของพระราชาและเพราะความอ่อนโยนของพระกุมาร หญิงเหล่านั้นจึงละความลังเลไปโดยพลัน ทั้งด้วยความเมาและด้วยความรัก

27     ครั้งนั้น พระกุมารได้เสด็จเข้าสู่ป่าโดยมีหญิงทังหลายแวดล้อม เปรียบเหมือนข้างพลาย เดินเข้าสู่ป่าหิมพานต์โดยมีโขลงช้างพังห้อมล้อม

28     พระกุมารขณะเสด็จไปข้างหน้าหญิงทั้งหลายได้ทรงรุ่งเรืองอยู่ในป่าที่น่ารื่นรมย์นั้นเหมือนกับพระอินทร์ผู้มีนางอัปสรแวดล้อมรุ่งเรืองอยู่ในอุทยานวิภราชะ อันเป็นที่พักผ่อนสำราญพระทัย

29     ณ ที่นั้น หญิงคนหนึ่งแสร้งทำเป็นถูกความเมากลุ้มรุม เข้าสัมผัสคลอเคลียพระกุมารด้วยยุคลถันที่อวบอัด เต่งตึง แนบชิด และสวยงาม

30     หญิงคนหนึ่งผู้ไม่มีแรงเพราะมีช่วงไหล่อันอวบอัดลาดลงและมีช่วงแขนอันอ่อนนุ่มห้อยลงเหมือนดั่งเถาวัลย์ ครั้นแสร้งทำเป็นลื่นล้มแล้วก็สวมกอดพระกุมารอย่างเต็มแรง

31     หญิงคนหนึ่งกระซิบที่พระกรรณของพระกุมารด้วยปากที่มีริมฝีปากล่างเป็นสีแดงและมีกลิ่นสุราโชยออกมาว่า "ขอพระองค์จงฟังเรื่องที่ลี้ลับ"

32     หญิงคนหนึ่งขณะชะโลมตัวด้วยเครื่องลูบไล้ได้กราบทูลเหมือนกับจะสั่งบังคับว่า "ขอพระองค์จงประทับรอยที่ตรงนี้" เพราะต้องการจะสัมผัสพระหัตถ์ของพระกุมาร

33     หญิงคนหนึ่งทำผ้านุ่งสีครามหลุดลงซ้ำแล้วซ้ำอีก เพราะแสร้งทำเป็นมึนเมา จึงเผยให้เห็นสายสังวาลย์ส่องแสงวาววับ ราวกับกลางคืนที่มีสายฟ้าแลบแปลบๆ

34     หญิงบางคนเดินไปข้างโน้นบ้างข้างนี้บ้างโดยมีสายเข็มขัดทองกระทบกันเสียงดังกรุ๊งกริ๊ง ขณะเดียวกันก็แสดงสะโพกที่ห่อหุ้มไว้ด้วยผ้าบางๆแก่พระกุมาร

35     หญิงบางคนจับกิ่งมะม่วงที่ออกดอกชูช่อแล้วโน้มลงมาพร้อมกับเผยให้เห็นยุคลถันที่อวบอัดเหมือนกับคนโทน้ำทองคำ

36     หญิงคนหนึ่งมีดวงตาเหมือนดอกบัวเดินออกจากป่าบัวมาพร้อมกับดอกบัวแล้วได้ยืนอยู่ข้างๆ พระกุมารผู้มีพระพักตร์เหมือนกับดอกบัวพระองค์นั้น

37     หญิงคนหนึ่งขับร้องบทเพลงที่มีเนื้อหาไพเราะชัดเจนและมีท่าทางประกอบ เหมือนกับจะยั่วยวนพระกุมารผู้มีพระทัยมั่นคงว่า "พระองค์ทรงถูกลวงแล้ว"โดยใช้หางตาชำเลืองมอง

38     หญิงคนหนึ่งมีใบหน้างดงามและมีคิ้วโก่งดั่งคันธนู หลังจากเดินวนไปรอบๆ แล้วได้ทำกิริยาล้อเลียนพระกุมารด้วยท่าทางของผู้มั่นคง

39     หญิงผู้มีถันเต่งตึงงดงามตนหนึ่ง มีตุ้มหูแกว่งไปแกว่งมาเพราะการหัวเราะ ได้กระเซ้าเย้าหยอกพระกุมารด้วยเสียงอันดังว่า"พระองค์จงรับ(ถันนี้)ไป"

40     เช่นเดียวกันนั้น ขณะที่พระกุมารจะเสด็จถอยออกไป หญิงพวกหนึ่งก็ได้ผูกมัดพระองค์ไว้ด้วยเชือกคือพวงมาลัย ส่วนอีกพวกหนึ่งก็ยับยั้งพระองค์ไว้ด้วยคำพูดที่เหมือนตะขอ ซึ่งมีทั้งการประชดและความอ่อนหวาน

41     หญิงคนหนึ่งต้องการจะขวางกั้นพระกุมารไว้เมื่อถือเอาช่อมะม่วงแล้วจึงถามออกไปทั้งที่มีอาการซวนเซเพราะความเมาว่า "นี้เป็นดอกไม้ของใคร"

42     หญิงคนหนึ่งทำการเยื้องกรายและปรากฏตัวเหมือนกับบุรุษแล้วได้กราบทูลพระกุมารว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกผู้หญิงชนะพระองค์แล้ว ขอพระองค์จงชนะปฐพีนี้เถิด"

43     ครั้งนั้น หญิงคนหนึ่งขณะดมดอกนีลุบลพร้อมกับกลิ้งกลอกดวงตาไปมาได้กราบทูลพระราชกุมารด้วยคำพูดอย่างใดอย่างหนึ่งที่แผ่วเบาเพราะความเมาว่า

44     "ข้าแต่เจ้านาย ขอจงทอดพระเนตรต้นมะม่วงซึ่งถูกปกคลุมด้วยช่อดอกที่มีรสหวานและมีกลิ่นหอม นกกาเหว่าตัวหนึ่งกำลังเร่าร้องอยู่ที่ตะมะม่วงนั้นเหมือนกับถูกกักขังไว้ในกรงทอง"

45     "ขอจงทอดพระเนตรต้นอโศกที่เพิ่มความโศกให้แก่คนผู้มีความรักต้นนี้ซึ่งมีฝูงผึ้งส่งเสียงดังหึ่งๆเหมือนกับถูกลนด้วยไฟ"

46     "ขอจงทอดพระเนตรตันติลกะ (ดิลกทฺรุม) ที่ถูกปกคลุมด้วยกิ่งช่อมะม่วงต้นนี้ ซึ่งเหมือนกับคนสวมเสื้อผ้าสีขาวถูกสวมกอดโดยสตรีที่ทาตัวด้วยสีเหลือง"

47     "ขอจงทอดพระเนตรตันกุรุพกะ ที่มีดอกสะพรั่งและมีสีแดงสดเหมือนกับน้ำครั่งที่ถูกคั้นออกมาและโน้มกิ่งต่ำลงเหมือนกับเขินอายต่อเล็บทีสวยงามของหญิงทั้งหลาย"

48     "ขอจงทอดพระเนตรต้นอโศกอ่อนที่ถูกปกคลุมด้วยช่อดอกตูมๆนั้น ซึ่งยืนต้นอยู่เหมือนกับเขินอายต่อมือที่สวยงามของพวกหม่อมฉัน"

49     ขอจงทอดพระเนตรสระน้ำที่ทอดยาวซึ่งปกคลุมด้วพุ่มสินทุวาระ ที่เกิดอยู่ตามริมฝั่ง เหมือนกับหญิงสาวที่ห่อหุ้มร่างกายด้วยผ้าสีขาวกำลังนอนอยู่"

50     "ขอจงทรงเห็นความมีอานุภาพยิ่งใหญ่ในสตรีทั้งหลาย เพราะว่านกจักรวากะที่ลอยอยู่ในน้ำนั้นยังยอมเชื่อฟังและเฝ้าติดตามไปข้างหลังภรรยาเหมือนกับเป็นทาสรับใช้"

51     "ขอจงทรงฟังเสียงนกดุเหว่าตัวมัวเมาที่กำลังร้องขับขาน ส่วนนกดุเหว่าอีกตัวหนึ่งก็ร้องขานตอบในทันที ราวกับเป็นเสียงสะท้อน"

52     "ฤดูใบไม้ผลินำความมัวเมา (ความรัก)มาให้แก่นกทั้งหลายเท่านั้นหรือ แต่ไม่นำมาให้แก่คนผู้คิดว่าตนเองเป็นปราชญ์ผู้กำลังครุ่นคิดถึงสิ่งที่ไม่ควรคิดบ้างหรืออย่างไร"

53     หญิงเหล่านั้นผู้มีใจฮึกเหิมด้วยความรักได้ยั่วยวนพระกุมารโดยวิธีต่างๆ ด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้

54     ถึงแม้จะถูกยั่วยวนอยู่อย่างนั้น แต่พระกุมารผู้ทรงคุ้มครองอินทรีย์ด้วยความมีพระทัยมั่นคง เมื่อทรงคิดว่า "สัตว์ทั้งหลายจะต้องตาย (แน่ๆ)" จึงมีแต่ความสังเวช ไม่ทรงยินดีและไม่ทรงยินร้ายเลย

55     พระกุมารผู้ทรงเป็นยอดบุรุษพระองค์นั้นทรงเห็นว่าหญิงเหล่านั้นไม่ได้ตั้งอยู่ในสภาพแห่งความเป็นจริงจึงทรงคิดใคร่ครวญทั้งด้วยพระทัยว่าวุ่นและมั่นคงพร้อมๆกันว่า

56     "หญิงเหล่านี้ไม่เข้าใจหรืออย่างไรว่าความหนุ่มแน่นจะต้องเปลี่ยนแปลงไป เพราะว่าพวกเธอยังหลงใหลอยู่กับความงามที่ชรากำลังทำให้พินาศ"

57     "หญิงเหล่านี้คงจะไม่เห็นว่าคนบางคนมีความเจ็บป่วยด้วยโรคเป็นแน่แท้จึงได้ละทิ้งความกลัวแล้วหัวเราะเริงร่าอยู่ในโลกซึ่งมีความเจ็บป่วยเป็นธรรมชาติอย่างนั้น"

58     อนึ่ง หญิงเหล่านี้คงจะไม่รู้ว่าความตายมีปกติพรากชีวิตไปอย่างชัดเจน ดังนั้น พวกเธอผู้ไว้วางใจ ไม่มีความสะทกสะท้าน จึงเล่นสนุกสนานและหัวเราะเริงร่า"

59     เมื่อรู้จักความแก่ (ชรา) ความเจ็บป่วย (วฺยาธิ) และความตาย (มฺฤตยุ) แล้ว คนมีความคิดคนใดเล่าจะพึงยืน พึงนั่ง พึงนอน หรือพึงหัวเราะด้วยความวางใจได้อีก"

60     "สำหรับผู้ที่เห็นคนอื่นแก่ชรา เจ็บป่วย และตาย แล้วยังไว้วางใจไม่สะทกสะท้อน เขาย่อมเป็นเหมือนคนไม่มีจิตใจโดยแท้"

61     "จริงอยู่ ครั้นเมื่อต้นไม้ที่ไม่มีดอกและไม่มีผลโค่นล้มหรือถูกตัดทิ้งไป ต้นไม้อื่นก็หาได้เศร้าโศกเสียใจไม่"

62     อุทายีผู้รู้หลักปฏิบัติทางโลกและวิชาการชั้นสูงเมื่อเห็นว่าพระกุมารทรงตั้งมั่นด้วยสมาธิและไม่มีความต้องการในวัตถุเครื่องเร้าอารมณ์ทั้งหลายอย่างนั้นจึงกราบทูลพระองค์ด้วยความเป็นพระสหายว่า

63     "ได้ยินว่าพระราชาทรงมอบหมายหม่อมฉันมาเป็นพระสหายของพระองค์ด้วยทรงเห็นว่าเป็นผู้เหมาะสม ดังนั้น หม่อมฉันจึงปรารถนาจะกราบทูลพระองค์ตามที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยนั้น"

64     ลักษณะของมิตรแท้มีอยู่ 3 อย่าง คือ ห้ามปรามมิตรจากสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ สนับสนุนมิตรในสิ่งที่มีประโยชน์ และไม่ทอดทิ้งมิตรในเวลาประสบความวิบัติ

65     "หลังจากได้ปฏิญาณเป็นพระสหายแล้ว ถ้าหม่อมฉันจะพึงเบือนหน้าหนีจากหน้าที่ของบุรุษแล้วทอดทิ้งพระองค์ไปเสีย ความเป็นมิตรแท้ก็คงจะไม่เหลืออยู่ในหม่อมฉันเลย"

66     "ดังนั้น หม่อมฉันจึงขอกราบทูลในฐานะพระสหายว่า การที่พระองค์ไม่ทรงสนพระทัยในหญิงทั้งหลายเช่นนี้นับว่าไม่เหมาะสมเลยสำหรับพระองค์ผู้ยังทรงหนุ่มแน่นและมีพระวรกายงดงาม"

67     "การโอนอ่อนผ่อนตามหญิงทั้งหลายแม้ด้วยการเสแสร้งเพื่อขจัดความขวยเขินของพวกเธอและเพื่อความสนุกสนานของพระองค์นับว่าเป็นสิ่งที่ควร"

68     "การเอาอกเอาใจและการโอนอ่อนผ่อนตามเป็นเครื่องผูกมัดใจของหญิงทั้งหลาย เพราะความดีเป็นบ่อเกิดแห่งความรัก และหญิงทั้งหลายต่างก็ปรารถนาที่จะได้ความนับถือ"

69     "ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงมีพระเนตรแผ่กว้าง ดังนั้น ถึงแม้พระทัยจะเมินเฉยแต่พระองค์ก็ควรโอนอ่อนผ่อนตามพวกเธอด้วย ความเอื้ออาทรตามสมควรแก่ความงามของพระองค์"

70     "ความเอื้ออาทรเป็นยาวิเศษสำหรับหญิงทั้งหลาย ความเอื้ออาทรเป็นเครื่องประดับอันประเสริฐ ความงามที่ไม่มีความเอื้ออาทรก็เปรียบเสมือนป่าที่ไม่มีดอกไม้"

71     "แต่ด้วยเพียงความเอื้ออาทรจะมีประโยชน์อะไรเล่า ขอจงมีการตอบสนอง (หญิงทั้งหลาย) ด้วยความรู้สึกที่แท้จริง เพราะเมื่อได้วัตถุเครื่องเร้าอารมณ์ที่ได้มาโดยยากแล้วพระองค์ก็ไม่ควรจะดูหมิ่นดูแคลน"

72     "เพราะว่าในปางก่อน แม้พระอินทร์เมื่อรู้ว่าความรักเป็นสิ่งสูงสุดก็ยังรักกับนางอหัลยาผู้เป็นชายาของฤาษีเคาตมะ"

73     ได้ยินว่า ฤาษีอคัสตยะ ปรารถนาจะได้นางโรหิณี ผู้เป็นชายาของโสมะ ดังนั้น จึงรับเอานางโลปามุทรา ผู้มีความงามเช่นกันนางโรหิณีมาแทน"

74     "พระพฤหัสปติ ผู้มีตบะแก่กล้ายังให้กำเนิดบุตรชื่อภรัทวาชะ ในนางมมตา ผู้เป็นธิดาแห่งพระมรุตเทพและเป็นชายาของอุตัถยะ

75     "พระจันทร์ ผู้ประเสริฐที่สุดในบรรดาผู้บูชาบวงสรวงทั้งหลายยังให้กำเนิดบุตรชื่อพุธะ ซึ่งเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในบรรดาเทพผู้รู้แจ้งการกระทำทั้งหลาย ในชายาของพระพฤหัสปติ ผู้กำลังทำพิธีบวงสรวง"

76     "และในกาลก่อน ฤาษีปราศระ มีความกำหนัดเกิดขึ้นก็ยังไปหานางกาลี ผู้ถือกำเนิดในครรภ์ของปลาที่ฝั่งแม่น้ำยมุนา"

77     "เพราะความปรารถนาในโลกียวิสัย ฤาษีวสิษฐะ ก็ยังให้กำเนิดบุตรชื่อกปิชลาทะ ในนางอักษมาลา ซึ่งมีวรรณะต่ำและเป็นที่ดูถูกเหยีดหยาม"

78     "ราชฤาษียยาติ ก็เช่นกัน แม้ว่าวัยจะผ่านเลยไปแล้ว แต่ก็ยังอภิรมย์ยินดีกับนางอัปสรชื่อวิศวาจี ในป่าไจตรถะ"

79     "พระเจ้าปาณฑุ ผู้สืบเชื้อสายจากราชวงศ์กุรุ แม้จะทรงทราบว่าการร่วมหลับนอนกับสตรีจะมีความตายเป็นที่สุด แต่เมื่อถูกความงามและคุณสมบัติของนางมาทรี รบกวนก็ยังได้เสพสุขที่เกิดจากกาม"

80     "ท้าวกราลชนกะ ก็เช่นกัน เมื่อฉุดเอาลูกสาวของพราหมณ์ไปแล้วถึงแม้จะได้รับความพินาศย่อยยับถึงเพียงนั้น แต่ก็ยังยึดมั่นความรักอย่างเหนียวแน่น"

81     "เพราะความกำหนัดสิเนหาเป็นเหตุ บุคคลผู้มีจิตใจสูงส่งและมีชื่อเสียงเช่นที่ว่ามานั้นจึงยินดีวัตถุเครื่องเร้าอารมณ์ทั้งหลายถึงแม้จะเป็นที่ดูถูกเหยียดหยามก็ตาม ไม่จำเป็นต้องพูดถึงสิ่งที่มีคุณสมบัติดีงามเลย"

82     "แต่พระองค์ผู้มีกำลังเข็มแข็ง มีรูปร่างงดงาม และมีความเป็นหนุ่ม กลับทรงดูหมิ่นดูแคลน วัตถุเครื่องเร้าอารมณ์ทั้งหลายที่ทรงได้รับโดยชอบธรรมซึ่งชาวโลกพากันลุ่มหลง"

83     ครั้นได้สดับคำพูดที่สุภาพอ่อนโยนและมีหลักฐานอ้างอิงตามคัมภีร์ของอุทายีอย่างนั้นพระกุมารจึงตรัสตอบด้วยพระสุรเสียงกังวานดุจเมฆคำรามว่า

84     คำพูดที่แสดงออกถึงความเป็นมิตรนี้นับว่าเหมาะแก่ท่าน แต่เราก็อยากจะชี้แจงในเรื่องที่ท่านเข้าใจเราผิด"

85     "เราไม่ได้ดูถูกวัตถุเครื่องเร้าอารมณ์ เรารู้ดีว่าชาวโลกมุ่งมั่นอยู่กับสิ่งนั้น แต่ใจของเราไม่ยินดีในวัตถุเครื่องเร้าอารมณ์นั้นเลยหลังจากที่รู้ว่าโลกนี้ไม่จีรังยั่งยืน"

86     "ถ้าไม่มีสามสิ่งนี้ คือ ความแก่ ความเจ็บป่วย และความตาย แม้เราเองก็คงจะมีความกำหนัดยินดีในวัตถุเครื่องเร้าอารมณ์ทั้งหลายซึ่งเป็นที่เพลิดเพลินใจ"

87     "เพราะความงามของหญิงทั้งหลายมีความจีรังยั่งยืนละก็ ใจของเราก็คงจะกำหนัดยินดีในกามซึ่งมีแต่ความเลวร้ายเป็นแน่"

88     "แต่เมื่อความงามของหญิงทั้งหลายจักถูกดื่มกินโดยชรา จนกลายเป็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจแม้แก่ตนเอง ความกำหนัดยินดีในความงามนั้นจะมีได้ก็คงเพราะความหลงผิดเท่านั้น"

89     "เพราะว่าคนที่จะต้องแก่ ต้องเจ็บป่วยและต้องตายเป็นธรรมดา ถ้ายังกำหนัดยินดีกับคนที่จะต้องแก่ ต้องเจ็บป่วยและต้องตายโดยไม่สะทกสะท้านก็คงไม่ต่างอะไรกับเนื้อและนกทั้งหลาย"

90     "อนึ่ง ที่ท่านกล่าวว่าแท้คนที่มีจิตใจสูงส่งเหล่านั้นก็ยังมีใจฝักใฝ่ในกามดังนี้ เมื่อใดก็ตามความสูญเสียปรากฏแก่คนเหล่านั้น เมื่อนั้นพวกเขาก็จะต้องเดือดร้อนใจในเรื่องนั้นเป็นแน่"

91     "เราไม่คิดว่าสิ่งที่มีความเสื่อมสลายตามธรรมดาจะมีความยิ่งใหญ่ (แต่) เพราะการควบคุมตนเองได้ จึงไม่มีทั้งการยึดติดหรือประโยชน์ในวัตถุเครื่องเร้าอารมณ์ทั้งหลาย"

92     "อนึ่ง ที่ท่านกล่าวว่าบุรุษควรโอนอ่อนผ่อนตามหญิงทั้งหลายแม้ด้วยการเสแสร้ง ดังนี้ เราคิดว่าไม่มีการเสแสร้งใดเลยที่จะเข้ากันได้กับความประพฤติเอื้อเฟื้อ"

93     "อนึ่ง การโอนอ่อนผ่อนตามที่ไร้ความชื่อตรงนั้น เราไม่ชอบใจเลย ถ้าการติดต่อสัมพันธ์กันไม่ได้เกิดจากความรู้สึกของตนทั้งหมด มันก็เป็นเรื่องที่น่าละอายโดยแท้"

94     "เพราะมีประโยชน์อะไรที่จะต้องหลอกลวงผู้มีความรู้สึกคิดที่เกิดความกำหนัดสิเนหาควบคุมจิตใจไม่ได้ มีแต่ความชื่อสัตย์ มีแต่ความหลงใหล และมองไม่เห็นโทษ"

95     "อนึ่ง ถ้าคนทั้งหลายที่เกิดความกำหนัดสิเนหายังหลอกลวงกันและกันเช่นนี้ ผู้ชายก็ไม่ควรมองดูผู้หญิง และผู้หญิงก็ไม่ควรมองดูผู้ชายเลย"

96     "ดังนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านจึงไม่ควรทำให้เราผู้มีความทุกข์ใจและมีส่วนจะได้รับความแก่และความตายต้องถลำลงไปในกามอันเลวร้ายทั้งหลาย"

97     "อนิจจาเอ๋ย จิตใจของท่านผู้มองเห็นสาระในกามทั้งหลายที่คลอนแคลนช่างมั่นคงและเข็มแข็งยิ่งนัก ทั้งๆที่มองเห็นสัตว์โลกอยู่บนถนนแห่งความตายที่มีภัยอันตรายน่ากลัวอย่างยิ่ง ท่านก็ยังติดข้องอยู่ในวัตถุเครื่องเร้าอารมณ์ทั้งหลาย"

98     "แต่เรามีความกลัวและหวาดหวั่นเหลือเกินเมื่อคิดถึงภัยที่เกิดจากความแก่ ความเจ็บป่วยและความตาย และเมื่อพิจารณาเห็นโลกนี้เป็นเหมือนกับถูกไฟเผาผลาญจึงไม่ได้ทั้งความสงบ ไม่ได้ทั้งความมั่นใจ แล้วจะหาความสุขได้จากที่ไหนเล่า"

99     "ผู้ใดรู้แน่ชัดว่า จะต้องตายแน่ๆ แล้วยังเกิดราคะขึ้นในใจ เราคิดว่าใจของเขาผู้มีความกำหนัดยินดีและไม่เศร้าโสกในท่ามกลางภัยอันใหญ่หลวงจะต้องทำด้วยเหล็กเป็นแน่แท้"

100     ครั้งนั้น เมื่อพระกุมารตรัสถ้อยคำที่บ่งบอกถึงการตัดสินพระทัยอย่างแน่วแน่ ซึ่งเป็นถ้อยคำที่ทำลายความติดข้องในกามแล้ว พระอาทิตย์ที่มีรัศมีมณฑลอันควรแก่การมองดูของผู้คนก็ได้อัสดงลงสู่ยอดเขา

101     จากนั้น หญิงทั้งหลายผู้มีมโนรถพงภินท์ มีเครื่องประดับและมาลัยสวมไว้อย่างไร้ค่า มีคุณสมบัติทางด้านศิลปะและการแสดงความรักที่ไร้ผล เมื่อข่มความรักไว้ในใจของตนแล้วจึงพากันกลับเข้าไปสู่เมือง

102     จากนั้น ครั้นทอดพระเนตรเห็นหญิงงามที่อยู่ในอุทยานประจำเมืองพากันล่าถอยกลับไปในเวลาเย็น พระราชกุมารจึงเสด็จกลับเข้าสู่พระราชวังพร้อมกันทรงครุ่นคิดถึงความไม่เที่ยงที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง

103     ต่อมา พระราชาทรงทราบว่าพระกุมารมีพระทัยเมินเฉยจากวัตถุเครื่องเร้าอารมณ์ พระองค์จึงไม่ทรงบรรทมตลอดราตรี ทรงเป็นเหมือนช้างที่มีหอกทิ่มแทงใจ

สรรคที่ 4 ชื่อ สฺตฺรีวิฆาตน

(การขจัดความหลงใหลสตรี)

ในมหากาพย์พุทธจริต จบเพียงเท่านี้

****

 

สรรคที่5

 

สรรค ที่ 5

อภินิษฺกฺรมโณ นาม ปญฺจมะ สรฺคะ

ชื่อ อภินิษฺกฺรมณ

(การเสด็จออกผนวช)

1     พระโอรสของพระเจ้าศากยะแม้จะถูกยั่วยวนด้วยวัตถุเครื่องเร้าอารมณ์ที่มีค่ามากมายอย่างนั้น แต่ก็ไม่ทรงถือความยินดีและไม่ทรงได้รับความสุขเลย เปรียบเหมือนราชสีห์ถูกแทงที่หัวใจด้วยลูกศรอาบยาพิษอย่างลึก

2     ในคราวครั้งนั้น พระกุมารผู้ต้องการความสงบด้วยทรงมีพระประสงค์จะทอดพระเนตรพื้นที่ป่า เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้วจึงเสด็จประพาสข้างนอกโดยมีบุตรอำมาตย์ที่มีความประพฤติเรียบร้อยและพูดจาไพเราะเฝ้าตามเสด็จเป็นพระสหาย

3     พระกุมารเสด็จขึ้นทรงม้าสายพันธุ์ดีชื่อกันถกะ ซึ่งมีกระดิ่งติดบังเหียนทำด้วยทองใหม่ๆ และมีเครื่องประดับที่เป็นทองงามแวววาวเพราะขนจามรีกวัดแกว่งไปมา ได้เสด็จออกไปเหมือนกับดอกกรรณิการ์ประดับอยู่บนเสาธง

4     เพราะความอยากได้ป่าและเพราะพื้นดินมีคุณสมบัติดี พระกุมารจึงเสด็จเข้าไปสู่พื้นที่แนวป่าไกลยิ่งกว่าเดิมและทอดพระเนตรเห็นพื้นดินถูกไถพลิกกลับไปมาเหมือนกันคลื่นน้ำ

5     ครั้นทอดพระเนตรเห็นพื้นที่บริเวณนั้นมีหญ้าอ่อนถูกใบไถตัดขาดกระจัดกระจาย ดาดาษไปด้วยไส้เดือน แมลง และสัตว์เล็กสัตว์น้อยซึ่งถูกฆ่าตายเช่นนั้น พระกุมารจึงทรงสลดพระทัยอย่างหนักราวกับพระญาติของพระองค์ถูกประหาร

6     เมื่อทอดพระเนตรเห็นบุรุษที่กำลังไถมีผิวกายมหองคล้ำเพราะลม แสดงแดดและฝุ่นละอองทอดพระเนตรเห็นวัวที่ทุกข์ทรมานเพราะความเหน็ดเหนื่อยจากการลากไถ พระกุมารผู้ประเสริฐสูงสุดจึงบังเกิดความกรุณาสงสารเป็นอย่างยิ่ง

7     จากนั้น พระกุมารผู้ทรงเต็มเปี่ยมด้วยความสลดพระทัย ครั้นเสด็จลงจากหลังม้าแล้วจึงเสด็จดำเนินไปบนพื้นดินช้าๆ เมื่อทรงคิดใคร่ครวญถึงความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปของโลก พระองค์จึงเปล่งอุทานออกมาด้วยความทุกข์ว่า "โลกนี้ช่างน่าสงสารจริงๆ"

8     พระกุมารผู้ทรงปรารถนา ความเงียบสลัดครั้นห้ามพระสหายทั้งหลายที่คอยติดตามไว้แล้วจึงเสด็จเข้าไปสู่โคนแห่งต้นหว้าซึ่งมีใบอันสวยงามเคลื่อนไหวอยู่โดยรอบในที่ไม่มีผู้คน

9     ณ ที่นั้น พระกุมารทรงประทับนั่งบนภาคพื้นที่สะอาดซึ่งมีหญ้าเขียวสดงดงามดั่งแก้วไพฑูรย์และขณะที่ทรงใคร่ครวญถึงความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปของโลก พระองค์ก็ทรงก้าวขึ้นสู่หนทางแห่งความตั้งมั่นในพระทัย

10     พระกุมารเมื่อทรงมีความตั้งมั่นในพระทัยอย่างสมบูรณ์และทรงหลุดพ้นจากความปรารถนาต่อวัตถุเครื่องเร้าอารมณ์เป็นต้น จึงได้บรรลุประถมธยาน อันสงบ ซึ่งมีวิตก (ความตรึก) และวิจาร (ความตรอง) แต่ไม่มีความกระวนกระวายในพระทัยทันที

ปรฺถม-ธฺยาน ตรงกับคำบาลีว่า ปฐมฌาน ได้แก่ ฌานที่ 1 ในรูปฌาน 4ปฐมฌานมีองค์ประกอบ 5 คือ 1 วิตก (ความตรึก) 2 วิจาร(ความตรอง) 3 ปิติ(ความอิ่มใจ) 4 สุข (ความสุข) 5 เอกัคคตา (ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว)

11     จากนั้น เมื่อทรงบรรลุความตั้งมั่นพระทัยอันเกิดจากวิเวกซึ่งมีปิติและสุขเป็นส่วนสำคัญแล้ว ต่อมาพระกุมารจึงเจริญสมาธิที่สูงขึ้นไปพร้อมกับทรงพิจารณาใคร่ครวญถึงความเป็นไปในโลกด้วยพระทัยอย่างละเอียดว่า

12     "น่าสงสารจริงหนอที่คนบางคนทั้งๆที่ตนเองก็ยังช่วยตัวไม่ได้ ยังมีความเจ็บ ความแก่ และความตายเป็นธรรมดา ทั้งยังไม่รู้แจ้งและยังมืดมนเพราะความมัวเมา แต่กลับปรารถนาที่จะรังเกียจคนอื่นที่เดือดร้อนเพราะชรา ที่เจ็บป่วย และที่ตาย"

13     "เพราะถ้าเราผู้มีลักษณะเช่นนี้พึงประพฤติรังเกียจคนอื่นที่มีสภาพเช่นเดียวกันในโลกนี้ สิ่งนั้นนับว่าไม่สมควรและไม่เหมาะกับเราผู้รู้แจ้งชั้นสูงนี้เลย"

14     เมื่อพระกุมารทรงพิจารณาเห็นโทษจากความเจ็บป่วย ความแก่ และความตายของชาวโลกตามเป็นจริงอย่างนี้ ความมัวเมาที่สถิตอยู่ในพระทัยซึ่งเกิดจากความเชื่อว่าตนยังมีเรียวแรงดี มีความหนุ่มแน่นและยังมีชีวิตอยู่ ก็ได้หมดสิ้นไปโดยฉับพลัน

15     พระกุมารไม่ทรงสนุกสนาน ไม่ทรงเศร้าโศก ไม่ทรงลังเลสงสัย ไม่ทรงง่วงเหงาหาวนอน ไม่ทรงยินดีในกามคุณ ไม่ทรงรังเกียจ และไม่ทรงดูหมิ่นคนอื่นเลย

16     พุทธิอันบริสุทธิ์และปราศจากความกำหนัดของพระกุมารผู้มีพระทัยประเสริฐได้เจริญเพิ่มพูนขึ้นด้วยประการฉะนี้ (ต่อมา) บุรุษคนหนึ่งผู้ถือเพศแห่งภิกษุได้เดินเข้าไปหาพระองค์อย่างสงบโดยที่คนอื่นๆมองไม่เห็น

17     พระราชกุมารตรัสถามบุรุษนั้นว่า "ขอจงบอกด้วยเถิดว่าท่านเป็นใคร" ครั้งนั้นบุรุษนั้นจึงกล่าวแก่พระองค์ว่า "ดูก่อนผู้ประเสริฐในหมู่มนุษย์ อาตมาเป็นสมณะผู้กลัวต่อความเกิดและความตายจึงออกบวชเพื่อแสวงหาความหลุดพ้น"

18     "ในโลกที่มีความพินาศเป็นธรรมดานี้ อาตมามีความรู้สึกเสมอกันทั้งในหมู่ญาติและคนแปลกหน้า ไม่มีความรักและความเกลียดชังในวัตถุเครื่องเร้าอารมณ์ทั้งหลาย เมื่อต้องการจะหลุดพ้นจึงได้แสวงหาสภาวะที่สงบซึ่งไม่มีความพินาศนั้น"

19     เมื่ออาศัยอยู่ ณ ที่ใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นโคนต้นไม้ วัดร้างห่างผู้คน ภูเขา หรือในป่าอาตมาก็ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่มีความต้องการ ฉันอาหารตามที่ขอได้ และเที่ยวไปเพื่อค้นหาเป้าหมายขั้นสูงสุด"

20     บุรุษนั้นกล่าวถ้อยคำดังนี้แล้วก็เหาะขึ้นสู่ท้องฟ้าในขณะที่พระราชกุมารยังทอดพระเนตรเห็นอยู่นั่นเอง เพราะเข้าเป็นเทวดาผู้เคยเห็นพระพุทธเจ้าองค์อื่นๆมาก่อน ได้แปลงร่างมาเช่นนั้นก็เพื่อเตือนพระสติของพระกุมาร

21     เมื่อบุรุษนั้นเหาะขึ้นสู่ท้องฟ้าไปเหมือนกับนก พระกุมารผู้ทรงเป็นยอดมนุษย์ ทรงมีทั้งความปิติยินดีและความประหลาดพระทัย จากนั้นเมื่อทรงได้รับการกระตุ้นเตือนจากธรรมแล้ว พระองค์จึงตัดสินพระทัยที่จะเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์

22     จากนั้น พระกุมารผู้เสมอเหมือนพระอินทร์ ผู้ทรงปราบม้าคืออินทรีย์ได้แล้ว เมื่อปรารถนาจะกลับเข้าสู่เมืองจึงได้เสด็จขึ้นทรงม้า(และ)เพราะทรงห่วงใยหมู่ประชาชนผู้เป็นบริวารพระองค์จึงยังไม่เสด็จเข้าสู่ป่าที่น่าปรารถนาจากสถานที่แห่งนั้น

23     พระกุมารผู้ปรารถนาจะทำความแก่และความตายให้หมดสิ้นไป เมื่อตัดสินพระทัยแน่วแน่ที่จะประทับอยู่ในป่าแล้วจึงได้เสด็จกลับเข้าไปสู่เมืองอีกครั้ง แต่ไม่ใช่เพราะกามราคะ เปรียบเหมือนพญาช้างกลับจากภูมิประเทศที่เป็นป่าเข้าไปสู่โรงช้างฉะนั้น

24     ระหว่างทางพระราชธิดาพระองค์หนึ่งทรงเห็นพระกุมารกำลังเสด็จเข้าไปจึงประคองอัญชลีกราบทูลว่า"ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระเนตรยาว ในโลกนี้หญิงใดมีพระสวามีเช่นกับพระองค์ หญิงนั้นจะต้องมีความสุขและดับความทุกข์ได้อย่างแน่นอน"

25     ครั้งนั้น พระกุมารผู้มีพระสุรเสียงกังวานดุจมหาเมฆครั้นสดับถ้อยคำนี้แล้วทรงได้รับความสงบสุขเป็นอย่างยิ่ง เพราะเมื่อได้ยินคำว่า "ดับความทุกข์" พระองค์ก็ทรงคิดถึงแต่วิธีที่จะได้บรรลุพระนิพพาน

26     ครั้งนั้น พระกุมารผู้มีพระวรกายสูงสง่าดุจกาญจนสิงขร (เขาพระสุเมรุ) มีพระพาหาล่ำสันดุจงวงคชสาร มีพระสุรเสียงกังวานดุจเมฆคำราม มีพระเนตรงามดุจโคอุสภะ มีดวงพระพักตร์ดุจพระจันทร์เพ็ญ และมีการเยื้องกรายดุจราชสีห์ ได้เสด็จเข้าสู่พระราชวังพร้อมกับความต้องการที่จะบรรลุธรรมอันไม่เสื่อมสูญ

27     จากนั้น พระกุมารผู้ทรงดำเนินดุจพญามฤคราช (ราชสีห์) จึงเสด็จเข้าไปเฝ้าพระราชาซึ่งมีคณะมนตรีเฝ้าถวายงานอยู่ เปรียบเสมือนพระสนัตกุมาร เข้าเฝ้าพระอินทร์ผู้รุ่งเรืองในที่ประชุมของเหล่ามารุตเทพในสวรรค์

28     พระกุมารประคองอัญชลีถวายบังคมแล้วกราบทูลว่า "ข้าแต่องค์นรเทพ ขอพระองค์ได้โปรดประทานพระบรมราชานุญาตเพื่ออนุเคราะห์หม่อมฉันด้วยเถิด หม่อมฉันต้องการออกผนวชเพื่อแสวงหาความหลุดพ้น เพราะว่าความพลัดพรากของมนุษย์นี้เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้แน่นอน"

29     พระราชาได้สดับถ้อยคำของพระกุมารดังนั้นก็ทรงสั่นสะท้านเหมือนกับต้นไม้ที่คชสารทำให้สั่น ทรงจับพระหัตถ์ทั้งสองที่เหมือนกับดอกบัว (ของพระกุมาร) แล้วตรัสพระดำรัสนี้ด้วยพระศอที่เอ่อคลอด้วยพระอัสสุชลว่า

30     "ลูกเอ๋ย จงระงับความตั้งใจนั้นไว้ก่อน เพราะเวลานี้ยังไม่เหมาะที่เจ้าจะเข้าไปอาศัยธรรม แท้ที่จริง คนทั้งหลายกล่าวว่าการประพฤติธรรมในปฐมวัยนั้นมีโทษมากเพราะความคิดยังสับสน"

31     "ใจของคนหนุ่มผู้ยังมีอินทรีย์ตื่นเต้นในวัตถุเครื่องเร้าอารมณ์ ผู้ยังไม่สามารถแก้ปัญหาที่ยุ่งยากเกี่ยวกับการบำเพ็ญพรตและยังไม่รู้แจ่มแจ้งในวิเวกเป็นพิเศษย่อมหวั่นไหวเพราะอาศัยป่า"

32     "แน่ะลูกผู้มีธรรมเป็นที่รัก แต่เวลานี้เป็นเวลาที่พ่อควรจะเข้าไปอาศัยธรรม หลังจากได้มอบราชสมบัติไว้กับเจ้าผู้มีลักษณะงดงามแล้ว แน่ะลูกผู้กล้าหาญมั่นคง แต่ถ้าลูกจะทิ้งพ่อไปด้วยความเด็ดเดี่ยวละก็ ธรรมของลูกก็จะต้องกลายเป็นอธรรม"

33     "ดังนั้น จงถอนความตั้งใจนี้เสียเถิด จงดำรงอยู่ในธรรมของคฤหัสถ์ก่อน เพราะว่าการเข้าป่าบำเพ็ญตบะเป็นสิ่งที่น่ายินดีสำหรับบุรุษหลังจากได้เสวยความสุขในวัยหนุ่มแล้ว"

34     เมื่อได้ฟังพระราชดำรัสดังนี้ พระกุมารจึงกราบทูลตอบด้วยพระสุรเสียงเหมือนกับนกกลวิงกะ ว่า"ข้าแต่พระราชบิดา ถ้าพระองค์จักรับประกันแก่หม่อมฉันในเรื่องทั้งสี่ได้ หม่อมฉันก็จะไม่เข้าไปอาศัยป่าบำเพ็ญตบะ"

35     "(1)ชีวิตของหม่อมฉันจะต้องไปเป็นไปเพื่อความตาย (2)โรคภัยจะต้องไม่เบียดเบียนสุขภาพของหม่อมฉัน (3)ชราจะต้องไม่ฉุดคร่าความเป็นหนุ่มของหม่อมฉัน (4)ความวิบัติหายนะจะต้องไม่นำความสมบูรณ์พูนสุขของหม่อมฉันออกไป"

36     พระเจ้าศากยะตรัสกับพระโอรสผู้กราบทูลเนื้อความที่ยากจะทำได้ว่า "ขอให้ลูกจงละความคิดเลยเถิดนั้นเสีย ความปรารถนาเกินจริงนี้จัดเป็นเรื่องน่าขันและเป็นไปไม่ได้"

37     ครั้งนั้น พระกุมารผู้ทรงหนักแน่นตั่งเขาพระสุเมรุได้กราบทูลพระราชบิดาว่า "ถ้าสิ่งนี้เป็นไปไม่ได้ พระองค์ก็ไม่ควรห้ามปรามหม่อมฉัน เพราะเป็นการไม่ควรเลยที่จะเหนี่ยวรั้งบุคคลผู้ต้องการออกจาเรือนที่กำลังถูกไฟไหม้"

38     "ในเมื่อความพลัดพรากเป็นสิ่งที่แน่นอนสำหรับโลก การพลัดพรากเสียงเองเพื่อไปค้นหาพระสัทธรรมย่อมดีกว่ามิใช่หรือ ความตายจะพึงทำให้หม่อมฉันผู้ไม่มีที่พึ่ง ผู้ยังไม่ได้บรรลุเป้าหมาย และยังไม่รู้สึกอิ่มต้องพลัดพรากมิใช่หรือ"

39     พระราชาครั้นได้สดับการตัดสินพระทัยของพระโอรสผู้ปรารถนาความหลุดพ้นดังนั้นทรงมีพระบรมราชโองการว่า "เขาจะต้องไม่ไป" ดังนี้แล้วจึงทรงจัดการเฝ้าอารักขาและทรงจัดความสนุกสนานอย่างดีเลิศมากยิ่งกว่าเดิม

40     ฝ่ายพระกุมารเมื่อได้รับการถวายคำแนะนำจากเหล่าอำมาตย์ตามสมควรแก่ฐานะทั้งด้วยความเคารพและด้วยความรักโดยยกเอาคัมภีร์ต่างๆมาอ้าง ทั้งยังถูกพระราชบิดาทรงห้ามปรามด้วยพระอัสสุชล จึงจำต้องเสด็จเข้าสู่ที่ประทับด้วยความโศกเศร้า

41     พระกุมารทรงถูกจ้องมองเป็นพิเศษโดยหญิงสาวทั้งหลายผู้มีดวงตาไม่อยู่นิ่งดุจกวางสาวผู้มีใบหน้าถูกจุมพิตโดยต่างหูแกว่งไปแกว่งมาและผู้มียุคลถันกระเพื่อมเพราะการหายใจอย่างแรง

42     เพราะทรงสดใสดังกาญจนบรรพต (เขาพระสุเมรุ) และทรงทำความเคลิบเคลิ้มให้เกิดขึ้นในใจของหญิงทั้งหลาย พระกุมารจึงได้ดึงดูดหู ร่างกาย ดวงตา และจิตใจ (ของหญิงทั้งหลาย) ด้วยการพูด การสัมผัส ความงาม และคุณความดีทั้งหลาย

43     จากนั้นเมื่อเวลากลางวันผ่านพ้นไป พระกุมารผู้ทรงรุ่งเรืองด้วยความงามดั่งพระอาทิตย์จึงเสด็จขึ้นสู่ปราสาท ราวกับพระอาทิตย์ที่ต้องการขจัดความมืดด้วยรัศมีของตนอุทัยขึ้นสู่เขาพระสุเมรุ

44     ครั้นสติสู่ห้องอันหอมอบอวลด้วยกลิ่นธูปซึ่งซึ่งทำจากไม้กฤษณาชั้นดีและมีดวงประทีปเปล่งแสงเรืองรองดุจแสงทองแล้ว พระกุมารจึงเสด็จขึ้นประทับพระราชอาสน์ทองอันเลิศหรูซึ่งงดงามด้วยลวดลายประดับเพชร

45     จากนั้นในเวลากลางคืน หญิงงามทั้งหลายก็ได้ปรนนิบัติบำรุงบำเรอพระกุมารผู้ทรงคุณอันประเสริฐอันประเสริฐดุจอินทราธิราชพระองค์นั้นด้วยการบรรเลงดนตรี ราวกับนางอัปสรทั้งหลายปรนนิบัติรับใช้พระโอรสของท้าวกุเวรบนยอดเขาหิมาลัยซึ่งขาวนวลคล้ายกับพระจันทร์

46     แต่พระกุมารก็ไม่ทรงยินดีและไม่ทรงสนุกสนานกับดนตรีซึ่งเปรียบเสมือนทิพยดนตรีอันยอดเยี่ยมเหล่านั้น พระองค์ผู้บริสุทธิ์ทรงมีความปรารถนาที่จะเสด็จออกผนวชเพื่อค้นหาความสุขอันเป็นประโยชน์สูงสุด ดังนั้นพระองค์จึงไม่ทรงยินดีเลย

47     ครั้งนั้นเหล่าทวยเทพชั้นอกนิษฐะ ผู้เป็นเลิศเพราะการบำเพ็ญตบะ เมื่อรู้การตัดสินพระทัยของพระกุมารจึงบันดาลให้หญิงทั้งหลายในที่นั้นนอนหลับใหลและแสดงกิริยาท่าทางแปลกๆพร้อมกัน

๑ อกนิษฐะ คัมภีร์บาลีเรียกว่า อกนิฏฐะ หรือ อกนิฏฐา หมายถึง รูปพรหมชั้นสูงสุดในพรหม 16 ชั้น และเป็นสุทธาวาสภูมิชั้นสูงสุดในบรรดาสุทธาวาส 5 ชั้น อันได้แก่ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสึ อกนิฏฐา

48     ณ ที่นั้น หญิงบางคนนอนหลับใหลซบพวงแก้มไว้ในมือที่ขยับไปขยับมา เหมือนกับคนโยนพิณที่ตนรักอันวิจิตรงดงามด้วยแผ่นทองซึ่งวางอยู่ในตักทิ้งไปเพราะความโกรธเคือง

49     หญิงบางคนนอนหลับใหลทั้งที่มีขลุ่ยติดอยู่ในมือ มีผ้าสไบสีขาวปิดหน้าอกหลุดลุ่ย ปรากฏเหมือนกับแม่น้ำที่มีดอกบัวถูกตอมโดยแถวของผึ้งที่ตรงและมีฝั่งแม่น้ำหัวเราะผ่านทางฟองน้ำ

50     ในทำนองเดียวกัน หญิงบางคนนอนกอดกลองมฤทังคะด้วยวงแขนสองข้างที่อ่อนละมุนดุจเกสรชั้นในของดอกบุษกรยามแรกผลิ (แขน) ซึ่งสวมใส่กำไลทองอันมีรัศมีที่แวววาวกระทบกัน ดุจกอดคนรัก

51     ในทำนองเดียวกัน หญิงอีกพวกหนึ่งผู้สวมภูษณาภรณ์ที่ทำด้วยทองใหม่ๆ และสวมเสื้อผ้าสีเหลืองขั้นดีเลิศต่างก็ล้มนอนระเกะระกะหลับใหลไม่รู้ตัว ดุจกิ่งต้นกรรณิการ์หักลงเพราะโขลงช้าง

52     หญิงบางคนหลับโหนตัวเองอยู่ข้างหน้าต่าง มีลำตัวบอบบางที่โค้งเหมือนคันธนู สวมสร้อยคออันงดงามห้อยลงมา ปรากฏเหมือนรูปสักศาลภัญชิกาที่ถูกสลักไว้ที่โตรณะ (ซุ้มประตู)

53     ในทำนองเดียวกัน ใบหน้าที่คล้ายกับดอกบัวของหญิงคนหนึ่งซึ่งมีรอยแต่งแต้มที่ใบหน้าถูกลบเลือนเพราะต่างหูแก้วมณี (เสียดสี) ได้ก้มงอลง ปรากฏเหมือนดอกบัวที่มีก้านครึ่งหนึ่งพับงอลงและสั่งระริกเพราะนกการัณฑวะยืนเกาะอยู่

54     หญิงพวกหนึ่งนั่งหลับโอบกอดกันและกันด้วยวงแขนที่สวมกำไลทองปรากฏเหมือนกับมีลำตัวโน้มต่ำลงเพราะน้ำหนักของปทุมถัน

55     หญิงคนหนึ่งนอนหลับใหลตระกองกอดพิณขนาดใหญ่ชื่อปริวาทินี เหมือนกับนอนกอดเพื่อนรัก กระสับกระส่ายไปมา โดยมีใบหน้าเปล่งปลั่งเพราะต่างหูที่สั่นไหวและมีสายสร้อยแกว่งไกว

56     หญิงคนหนึ่งนอนกอดกลองปณวะ (กลองบัณเฑาะว์) ที่มีสายสะพายอันงดงามตกลงจากแขนและไหล่ ซุกไว้ระหว่างขาอ่อนทั้งสอง เหมือนกับสวมกอดชายคนรักที่หมดเรียวแรงในเวลาสิ้นสุดการร่วมรัก

57     หญิงพวกหนึ่งแม้จะมีดวงตาโตและคิ้วงามแต่ก็พากันนอนหลับตาสนิท ราวกับดอกบัวที่หุบกลีบเข้าในเวลาพระอาทิตย์อัสดงคตไป

58     หญิงคนหนึ่งมีผมหลุดลุ่ยและยุ่งเหยิง มีเครื่องประดับและชายผ้าตกจากสะโพก มีสร้อยคอกระจัดกระจาย นอนหลับใหล เหมือนกับรูปปั้นสตรีถูกคชสารโค่นทำลาย

59     หญิงบางพวกแม้ตามปกติจะมีจิตใจมั่งคงและมีเรือนร่างงดงาม แต่เมื่อไม่สามารถควบคุมตนได้ จึงไม่มีความละอาย นอนหายใจลึกและนอนกรน กางแขนกางขา แสดงกิริยาวิปลาส

60     หญิงอีกพวกหนึ่งมีเครื่องประดับและพวงมาลัยหลุดหลุ่ย มีจีบผ้านุ่งถูกยกถลกขึ้น ไม่รู้สึกตัว นอนลืมตาค้างเผยให้เห็นแก้วตาเป็นฝ้าขาว เหมือนกับซากศพ หาความงามมิได้เลย

61     หญิงคนหนึ่งอ้าปากค้าง กางแขนกางขา มีน้ำลายไหลยื่ด เปิดเผยอวัยวะที่ควรปกปิด นอนหลับใหลกลิ้งเกลือกไปมาเหมือนกับคนเมา เมื่อร่างกายแสดงอาการวิปริต หญิงนั้นจึงไม่งดงามเลย

62     หญิงเหล่านั้นนอนหลับใหลด้วยอิริยาบทต่างๆเป็นไปตามอุปนิสัย ตระกูล และชาติกำเนิดของตนปรากฏเหมือนกับรูปสระน้ำที่มีดอกนีลุบลอ่อนเอนเหี่ยวเฉาและหักพับลงเพราะแรงลม

63     พระราชกุมารครั้นทอดพระเนตรเห็นหญิงเหล่านั้นซึ่งโดยปกติมีรูปร่างสวยงามและพูดจาไพเราะต่างพากันนอนหลับใหลแสดงท่าทางวิปลาสและมีอาการไม่คงที่จึงทรงตำหนิว่า

64     "หญิงทั้งหลายในชีวโลกนี้มีสภาพที่สกปรกโสโครกและน่าขยะแขยงเยี่ยงนี้ แต่บุรุษเพศผู้ถูกล่อลวงหน่วงเหนี่ยวด้วยเสื้อผ้าและอาภรณ์ก็ยังมีจิตกระสันรัญจวนในหญิงทั้งหลาย"

65     "ถ้ามนุษย์จะพึงพิจารณาเห็นธรรมชาติและอาการวิปริตในยามนิทราของหญิงทั้งหลายเช่นนี้ละก็ เขาก็คงจะไม่เพิ่มความประมาทในเรื่องนี้เป็นแน่ แต่ว่ามนุษย์ถูกความประทับใจในคุณสมบัติที่ดีครอบงำจึงต้องมีจิตกระสันรัญจวน"

66     พระกุมารครั้นทรงทราบความเป็นจริงที่ล้ำเลิศดังนี้จึงบังเกิดความปรารถนาที่จะเสด็จออกผนวชในราตรีนั้น จากนั้นเทวดาทั้งหลายเมื่อทราบความรู้สึกในพระทัยของพระองค์จึงได้เปิดประตูพระราชวังออก

67     ครั้งนั้นพระกุมารทรงรังเกียจหญิงทั้งหลายที่นอนหลับใหลเหล่านั้นจึงได้เสด็จลงจากชั้นบนของปราสาท เมื่อเสด็จลงมาแล้ว ต่อจากนั้นจึงเสด็จออกไปยังพระลานชานชาลาชั้นแรกโดยไม่ทรงลังเลพระทัยเลย

68     พระกุมารทรงปลุกนายฉันทกะผู้เป็นคนเลี้ยงม้าผู้ปราดเปรียวให้ตื่นขึ้นแล้วทรงมีพระบัญชาว่า "ท่านจงไปนำม้ากันถกะมาโดยเร็ว วันนี้เราต้องการจะออกไปจากที่นี่เพื่อบรรลุอมตธรรม"

69     วันนี้ความเอิบอิ่มยินดีได้เกิดขึ้นแล้วในใจของเรา และการตัดสินใจอันแน่วแน่ก็ตั้งมั่นแล้วในใจของเราเช่นกัน เราจึงเป็นเหมือนกับมีที่พึ่งแม้แต่ในที่ว่างเปล่าไร้ผู้คน เป้าหมายที่เราปรารถนาได้เคลื่อนมาใกล้แล้วอย่างแน่นอน"

70     "เพราะหญิงทั้งหลายพากันนอนหลับใหลไร้ความละอายและขาดความเคารพต่อหน้าเรา อีกทั้งบานประตูก็เปิดออกเอง วันนี้จึงเป็นเวลาที่เหมาะสำหรับเราที่จะออกไปจากที่นี่อย่างแน่แท้"

71     จากนั้น นายฉันทกะแม้จะรู้แจ้งเนื้อความแห่งพระบรมราชโองการเป็นอย่างดี แต่ครั้นรับพระปัญชาของเจ้านายแล้วก็เป็นเหมือนมีอำนาจบางอย่างมาดลใจ จึงได้ตัดสินใจไปนำม้ามาถวาย

72     ครั้งนั้น นายฉันทกะได้จูงเอาม้าตัวประเสริฐซึ่งมีบังเหียนเป็นทองคำเหลืองอร่ามประดับที่หน้า มีแผ่นหลังปกคลุมด้วยแผ่นผ้าที่เบาบางผูกไว้เป็นอาน มีความสมบูรณ์ด้วยกำลัง ความกล้าหาญ ความเร็วและสายพันธุ์ดี มาถวายแต่เจ้านาย

73     (ม้านั้น) มีช่วงไหล่ โคนหางและกีบเท้าใหญ่ มีขนหางและขนหูสั้นไม่สั่นไหว มีแผ่นหลังแอ่นลง มีส่วนท้องและสีข้างอวบ มีจมูก หน้าผาก สะโพกและหน้าอกกว้าง

74     พระกุมารมีพระอุระกว้างทรงกอดม้ากันถกะและทรงลูบเบาๆด้วยพระหัตถ์ที่เหมือนกับดอกบัวแล้วทรงรับสั่งด้วยพระสุรเสียงที่นุ่มนวลราวกับต้องการจะเสด็จไปสู่ท่ามกลางสนามรบว่า

75     "ได้ยินว่า พระราชาขึ้นขี่เจ้าแล้วทรงปราบศัตรูจนพ่ายแพ้มากมายหลายครั้งในสนามรบ ดูก่อนพ่อยอดอาชาไนย ขอเจ้าจงทำในสิ่งที่เราจะได้บรรลุสภาวะอันเป็นอมตะด้วยเถิด"

76     "ได้ยินว่า ในสงครามที่ทำให้ได้ความสุขทางโลกหรือทำให้ได้ทรัพย์ มิตรทั้งหลายหาได้ง่าย แต่เมื่อบุรุษตกอยู่ในความวิบัติหรือดำรงอยู่ในทางที่ต้องพึ่งพาอาศัยธรรม มิตรทั้งหลายหาได้ยาก"

77     "อนึ่ง คนทั้งหลายในโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นมิตรในการทำชั่วหรือในการทำดี เขาย่อมมีส่วนได้รับผลแห่งการกระทำนั้นอย่างแน่นอนตามที่ใจของเรารับรู้มา"

78     "ดูก่อนพ่อยอดอาชาไนย เมื่อรู้ว่าการออกไปจากที่นี่ของเราเพื่อประโยชน์แก่ชาวโลกเป็นสิ่งที่ประกอบด้วยธรรม เจ้าก็จงทำความพยายามในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตนและชาวโลก ด้วยความเร็วและด้วยความกล้าหาญเถิด"

79     ครั้นทรงแนะนำยอดอาชาไนยตัวขาวปลอดซึ่งเหมือนกับพระสหายในกิจที่ควรทำตังนี้แล้ว พระกุมารผู้ทรงเป็นยอดมนุษย์ ผู้งดงาม ผู้ปรารถนาจะเสด็จไปสู่ป่าจึงเสด็จขึ้นทรงม้า เปรียบเสมือนพระอาทิตย์ที่มีรัศมีโชติช่วงลอยขึ้นสู่เมฆาขาวในฤดูศรัท

80     ครั้งนั้น พญาอาชาไนยเมื่อหลีกเลี่ยงการส่งเสียงดังซึ่งอาจทำความรำคาญในเวลากลางคืนและอาจปลุกข้าราชบริพารให้ตื่นขึ้นแล้วจึงวิ่งออกไปด้วยฝีเท้าที่มั่นคงอย่างเงียบสนิทโดยไม่ส่งเสียงร้องเล็ดลอดออกมาจากคางเลย

81     จากนั้นยักษ์ทั้งหลายได้โปรยดอกบัวด้วยมือที่เหมือนกับดอกบัวซึ่งมีท่อนแขนประดับด้วยกำไลทองแล้วน้อมกายลงมายกกีบม้าของพระกุมารด้วยปลายนิ้วที่สั่นระริกเพราะความตื่นเต้น

82     ขณะที่พระกุมารเสด็จออกไป ประตูเมืองซึ่งปิดไว้ด้วยบานประตูที่ลงกลอนอย่างแน่นหนา ซึ่งแม้แต่ฝูงช้างก็เปิดออกไม่ได้ง่าย ต่างเปิดออกเองโดยไม่มีเสียงใดๆเลย

83     จากนั้นพระกุมารผู้ทรงตั้งพระทัยไว้ดีและไม่ทรงยินดียินร้ายในสิ่งใดจึงได้เสด็จออกจากนครของพระราชบิดา โดยทรงละทิ้งพระราชบิดาผู้ยังมีพระทัยฝักใฝ่ในพระองค์ ละทิ้งพระโอรสที่ยังอ่อนเยาว์ ละทิ้งประชาชนที่ยังจงรักภักดีและละทิ้งราชสมบัติที่ไม่มีสิ่งใดเปรียบได้เอาไว้เบื้องหลัง

84     ครั้งนั้นพระกุมารผู้มีพระเนตรยาวดั่งดอกบัวบริสุทธิ์หลังจากทอดพระเนตรดูพระนครแล้วจึงได้บันลือสีหนาทว่า "ถ้ายังไม่เห็นฝั่งที่อยู่ตรงข้ามกับความเกิดและความตาย เราจะไม่หวนกลับเข้าสู่เมืองกปิละ อีก"

85     บริษัทบริวารของท้าวกุเวรได้ยินพระสุรเสียงของพระกุมารดังนั้นต่างก็รื่นเริงบันเทิงใจส่วนหมู่เทวดาผู้มีใจปราโมทย์ต่างก็พากันปรารถนาให้พระกุมารบรรลุความสำเร็จสมดังพระทัย

86     เทวดาอีกพวกหนึ่งมีกายรุ่งเรืองดุจดวงไฟรู้ว่าการตัดสินพระทัยของพระกุมารเป็นสิ่งที่ทำได้ยากยิ่ง จึงได้ส่องแสงนำทางบนถนนที่หนาวเย็น เปรียบเหมือนแสงจันทร์ปรากฏออกมาเพราะก้อนเมฆแยกออกจากกัน

87     ส่วนม้ากันถกะซึ่งมีฝีเท้าเร็วดุจม้าของพระอินทร์ก็ได้วิ่งตะบึงไปข้างหน้า ราวกับถูกกระตุ้นเตือนอยู่ในใจ ฝ่ายพระกุมารก็ได้เสด็จไปสู่ท่ามกลางท้องฟ้าที่มีดวงดาวถูกทำให้อับเฉาเพราะแสงอรุณจนสิ้นระยะทางมากมายหลายโยชน์

สรรค ที่ 5 ชื่ออภินิษฺกฺรมณ (การเสด็จออกผนวช)

ในมหากาพย์พุทธจริต จบเพียงเท่านี้

 

สรรคที่6

 

สรรค ที่ 6

 

ฉนฺทกนิวรฺตโน นาม ษษฺฐะ สรฺคะ

 

ชื่อ ฉนฺทกนิวรฺตน

 

การกลับนครของฉันทกะ

 

1     ต่อมาครั้นเมื่อพระอาทิตย์ผู้เป็นดวงตาของโลกได้อุทัยขึ้นชั่วขณะ พระกุมารผู้ทรงเป็นยอดมนุษย์ก็ทอดพระเนตรเห็นอาศรมบทของฤาษีภารควะ

 

2     ครั้นทอดพระเนตรเห็นอาศรมนั้นมีกวางที่เชื่องนอนหลับอยู่และมีฝูงนกจับอยู่อย่างเป็นสุข พระกุมารจึงเป็นเหมือนหมดความเมื่อยล้าและเป็นเหมือนได้บรรลุเป้าหมายที่ทรงตั้งไว้แล้ว

 

3     พระกุมารเมื่อจะทรงรักษาความประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนของพระองค์จึงได้เสด็จลงจากหลังม้าเพื่อละความหยิ่งยโสและเพื่อบุชาการบำเพ็ญตบะ

 

4     ครั้งเสด็จลงแล้วพระกุมารทรงลูบม้ากันถกะพร้อมกับตรัสว่า "(งานของเจ้า) เสร็จิสิ้นแล้ว" อนึ่ง พระองค์ผู้ทรงมีความปิติยินดีได้ตรัสกับนายฉันทกะ เหมือนกับจะให้เข้าอาบชำระด้วยสายพระเนตรว่า

 

5     "เพื่อนเอ๋ย เมื่อท่านคอยติดตาม้าที่มีฝีเท้าเร็วดุจม้าตารกษยะนี้ ท่านได้แสดงให้เห็นแล้วซึ่งความภักดีต่อเราและความกล้าหาญของตน"

 

6     "ถึงแม้เราจะมีภาระหน้าที่อย่างอื่นที่จะต้องทำมากมายหลายประการ แต่ก็รู้สึกซาบซึ้งใจต่อท่านผู้มีความรักต่อนายและมีความสามารถเช่นนี้"

 

7     "คนที่มีความสามารถอาจจะไม่จงรักภักดีก็ได้ และคนที่จงรักภักดีอาจจะไม่มีความสามารถก็ได้ แต่บุคคลผู้มีทั้งสองอย่างเช่นท่านคือมีทั้งความจงรักภักดีและมีทั้งความสามารถนับว่าเป็นบุคคลหาได้ยากในโลก"

 

8     "ดังนั้น เราจึงรู้สึกยินดีกับการกระทำที่เป็นส่วนแห่งผลอันยิ่งใหญ่ของท่านนี้ ถึงแม้ความรู้สึกในใจของท่านที่มีต่อเราจะไม่หวังผลตอบแทนก็ตาม"

 

9     "มีใครบ้างเล่าที่ไม่สนใจต่อคนที่จะให้ผลประโยชน์แก่ตน ในทางตรงกันข้าม แม้คนใกล้ชิดของตนก็ยังกลายเป็นคนแปลกหน้าไปหมด"

 

10     "บิดาเลี้ยงดูบุตรก็เพื่อสืบสกุล บุตรรับใช้บิดาก็เพื่อการเลี้ยงดู โลกเกี่ยวข้องกันก็เพราะมีความหวัง แต่เมื่อไม่มีเหตุจูงใจ ความเกี่ยวข้องกันก็ไม่มี"

 

11     "จะพูดมากไปทำไม โดยสรุปท่านถือว่าได้ทำประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่เราแล้ว จงนำม้ากลับไปเถิด เราได้บรรลุถึงที่หมายแล้ว"

 

12     พระกุมารผู้ทรงมีพระพาหาล่ำสันครั้นตรัสดังนี้แล้วจึงได้เปลื้องเครื่องภูษณาภรณ์ออกพระราชทานแก่นายฉันทกะผู้มีจิตใจอ่อนระทดเพราะทรงปรารถนาจะทำความอนุเคราะห์แก่เขา

 

13     ครั้นทรงเปลื้องแก้วมณีที่มีรัศมีสดใสซึ่งทำหน้าที่เป็นดุจประทีปออกจากพระมงกุฎแล้ว พระกุมารได้ประทับยืนเหมือนกับภูเขามันทระ ที่มีพระอาทิตย์ทอแสงพร้อมกับตรัสถ้อยคำนี้ว่า

 

14     ดูก่อนฉันทกะ เพื่อจะบรรเทาความเดือนร้อนพระทัย (ของพระราชบิดา) เมื่อท่านถวายบังคมพระองค์พร้อมด้วยแก้วมณีนี้หลายๆครั้งแล้วจงกราบทูลพระองค์ให้ทรงทราบข่าวสารด้วยความมั่นใจว่า"

 

15     เราเข้าป่าเป็นบำเพ็๗ตบะก็เพื่อจะทำความเกิดและความตายให้สิ้นไป ไม่ใช่เพราะต้องการสวรรค์ ไม่ใช่เพราะหมดความรัก และไม่ใช่เพราะความโกรธเคืองแต่ประการใด"

 

16     "ดังนั้นพระองค์จึงไม่ควรเศร้าโศกถึงเราผู้หนีออกไปเพื่อค้นหาเป้าหมายสูงสุดอย่างนี้ เพราะว่าความเกี่ยวข้องกันแม้จะมีมานานแต่ก็จักหมดไปในเวลาอันเหมาะสม"

 

17     "เพราะความพลัดพรากเป็นสิ่งที่จะต้องมีแน่นอน ตังนั้นเมื่อคิดคำนึงว่าการพลัดพรากจากญาติจะไม่มีอีกต่อไปได้อย่างไร เราจึงได้ตัดสินใจที่จะบรรลุความหลุดพ้น"

 

18     "พระองค์ไม่ควรโสกถึงเราผู้หนีออกไปเพื่อละความโศก แต่ควรจะโศกถึงคนผู้มีราคะซึ่งยังติดข้องอยู่ในกามอันเป็นสาเหตุแห่งความโศก"

 

19     "ได้ยินว่านี้เป็นจุดหมายที่มั่นคงแห่งบรรพบุรุษทั้งหลายของเรา ด้วยเหตุนั้นพระองค์จึงไม่ควรโศกถึงเราผู้ดำเนินตามทางอันเป็นของทายาท"

 

20     "เพราะเมื่อบุรุษตายไปก็ต้องมีทายาทเป็นผู้รับทรัพย์มรดก แต่ว่าในผืนปฐพีนี้ทายาททางธรรมนั้นหาได้ยากยิ่ง หรือแทบไม่มีเอาเสียเลย"

 

21     "ถ้ามีคำกล่าวแย้งว่า เขาเข้าป่าในเวลาที่ไม่สมควร (เราขอตอบว่า) ไม่มีเวลาใดเลยที่ไม่สมควรสำหรับธรรมในเมื่อชีวิตมีแต่ความเปลี่ยนแปลง"

 

22     "ดังนั้น เราจึงตัดสินใจว่าจะต้องค้นหาเป้าหมายสูงสุดของชีวิตเสียแต่วันนี้ เพราะเมื่อความตายังตั้งเด่นเป็นศัตรู เราจะมีความเชื่อใจในชีวิตได้อย่างไรเล่า"

 

23     "เพื่อนเอ๋ย ท่านควรกราบทูลพระราชาให้ทรงทราบตามที่กล่าวมาอย่างนี้ และจงพยายามทำโดยวิธีที่พระองค์จะไม่ทรงนึกถึงเราให้จงได้"

 

24     "อนึ่ง ท่านจะกราบทูลว่าเราไม่มีคุณสมบัติที่ดีก็ได้ เพราะการขาดคุณสมบัติที่ดีของเราพระองค์ก็จะทรงคลายความรักเสียได้ เพราะทรงคลายความรักเสียได้พระองค์ก็จะไม่เศร้าโศก"

 

25     ครั้นได้ฟังพระดำรัสดังที่กล่าวมาแล้ว นาฉันทกะผู้มีความทุกข์ร้อนและกระวนกระวายใจจึงประคองอัญชลีกราบทูลตอบออกไปด้วยคำพูดที่ระคนปนน้ำตาว่า

 

26     "ข้าแต่เจ้านาย เพราะน้ำพระทัยที่พระองค์ทรงประทานความลำบากแก่พระประยูรญาติเช่นนี้จิตใจของหม่อมฉันจึงจมดิ่งเหมือนกับช้างติดหล่มในโคลนตมของแม่น้ำ"

 

27     "ใครเล่าจะไม่หลั่งน้ำตาต่อการตัดสินพระทัยของพระองค์เช่นนี้ แม้ว่าใจของเขาจะทำด้วยเหล็กก็ตาม จึงไม่จำเป็นต้องพูดถึงคนที่มีใจกระวนกระวายเพราะความรักเลย"

 

28     "เพราะว่าพระวรกายอันบอบบางที่ควรบรรทมในปราสาทจะอยู่ที่ไหน และพื้นดินในป่าเป็นที่บำเพ็ญตบะซึ่งปกคลุมด้วยหน่อหญ้าทรรภะอันแหลมจะอยู่ที่ไหน"

 

29     "ข้าแต่พระนาถเจ้า การที่หม่อมฉันนำม้ากันถกะนี้มาถวายแด่พระองค์หลังจากได้ฟังการตัดสินพระทัยอันแน่วแน่นั้น (เป็นเพราะ) หม่อมฉันถูกเทวดาทั้งหลายบังคับให้ทำโดยพลการ"

 

30     "เพราะถ้าหม่อมฉันสามารถควบคุมตนเองได้และรู้ซึ้งถึงการตัดสินพระทัยอันแน่วแน่ของพระองค์เช่นนี้ หม่อมฉันจะนำม้าซึ่งทำความโศกให้แก่ชาวเมืองกปิลวาสตุมาทำไมกัน"

 

31     "ข้าแต่ผู้มีพระพาหาล่ำสัน ฉะนั้นพระองค์จึงไม่ควรทอดทิ้งพระราชาผู้ทรงมีความรัก ผู้ทรงชราภาพ และเฝ้าคิดถึงพระโอรส ดุจคนที่ไม่เชื่อว่ามี (ความดี) ได้ละทิ้งพระสัทธรรมไปฉะนั้น"

 

32     "พระองค์ไม่ควรลืมพระเทวีผู้ทรงเป็นพระมารดาองค์ที่สอง ผู้ทรงเหน็ดเหนื่อยในการเลี้ยงดูพระองค์จนเติบใหญ่ เหมือนดั่งคนอกตัญญูลืมบุญคุณที่เขาเคยทำให้"

 

33     "พระองค์ไม่ควรทอดทิ้งพระราชาผู้มีพระโอรสที่ยังเยาว์ ผู้ทรงคุณความดี ทรงเป็นที่เชิดชูของวงศ์ตระกูลและทรงภักดีต่อพระสวามี เหมือนดั่งคนโง่ละทิ้งของมีค่าที่ได้รับมา"

 

34     "พระองค์ไม่ควรทอดทิ้งพระโอรสผู้ประสูติจากพระนางยโศธรา ผู้ควรยกย่อง ผู้ประเสริฐในบรรดาผู้ทรงเกียรติยศและคุณธรรม เหมือนดั่งคนไร้คุณธรรมละทิ้งเกียรติยศอันสูงส่ง"

 

35     "ข้าแต่เจ้านาย ถึงแม้พระองค์จะตัดสินพระทัยทอดทิ้งพระประยูรญาติและราชสมบัติแล้ว แต่พระองค์ก็ไม่ควรทอดทิ้งหม่อมฉัน เพราะพระบาททั้งสองของพระองค์นั้นเป็นที่พึ่งของหม่อมฉัน"

 

36     "หม่อมฉันไม่อาจจะทอดทิ้งพระองค์ไว้ในป่าแล้วกลับไปสู่เมืองด้วยจิตใจที่ถูกไฟแผดเผาเหมือนดั่งสุมัตระ ทอดทิ้งพระราฆวะไว้ในป่า"

 

37     "เพราะว่า พระราชาจักตรัสอะไรกับหม่อมฉันผู้กลับไปสู่เมืองโดยไม่มีพระองค์ หรือว่าหม่อมฉันจะต้องบอกกล่าวกับนางสนมฝ่ายในของพระองค์จากสิ่งที่ได้รู้ได้เห็นตามสมควรอย่างไรดี"

 

38     "ถึงแม้พระองค์จะทรงรับสั่งหม่อมฉันให้กราบทูลพระราชาว่าพระองค์ไม่มีคุณสมบัติที่ดีก็ตาม แต่หม่อมฉันจะกราบทูลเรื่องที่ไม่เป็นจริงของพระองค์ ผู้เปรียบเสมือนพระมุนีที่ปราศจากโทษได้อย่างไรกัน"

 

39    "หรือหากแม้นว่าหม่อมฉันจะพึงกราบทูลออกไปด้วยลิ้นที่ติดๆ ขัดๆ เพราะจิตใจมีความละอาย ใครเล่าควรจะเชื่อเรื่องนั้น"

 

40     "ข้าแต่พระองค์ผู้รู้สิ่งที่เป็นโทษ ผู้ใดพึงกล่าวหรือพึงเชื่อว่าพระจันทร์มีการเผาไหม้ทำลาย ผู้นั้นก็พึงกล่าวหรือพึงเชื่อว่าพระองค์ทรงมีโทษมากมาย"

 

41     "การสละความรักเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมแก่พระองค์ผู้ทรงมีความรักอย่างต่อเนื่องและทรงมีพระกรุณาอยู่เป็นนิตย์ ขอพระองค์จงเสด็จกลับเถิด ขอจงประทานพระเมตตาแก่หม่อมฉันด้วยเถิด"

 

42     ครั้นได้สดับถ้อยคำของนายฉันทกะผู้มีความโศกเศร้าครอบงำดังนี้ พระกุมารผู้ทรงเชื่อมั่นในพระองค์และทรงเป็นยอดนักพูดจึงตรัสออกไปด้วยความหนักแน่นอย่างยิ่งว่า

 

43     "ดูก่อนฉันทกะ จงละความทุกข์ร้อนใจต่อการจากไปของเรานี้เสียเถอะ เพราะว่าในบรรดาสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่มีชาติกำเนิดแตกต่างกัน การพลัดพรากจากกันเป็นสิ่งที่จะต้องมีอย่างแน่นอน"

 

44     "ถึงแม้เราจะไม่ทอดทิ้งพระประยูรญาติไปเพราะยังมีความรัก แต่ความตายก็จะต้องทำให้เราผู้ไร้อำนาจต่างทอดทิ้งกันและกันไปจนได้"

 

45     "ด้วยความปรารถนาอย่างแรงกล้า พระราชมารดาจึงทรงครรภ์เรามาด้วยความทุกข์มากมาย แต่แล้วพระองค์ผู้ทรงมีความพยายามอันสูญเปล่า ทรงมีเราที่ไหนกัน (และ) เรามีพระองค์ที่ไหนกัน"

 

46     "การมาอยู่รวมกันของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายมีความพลัดพรากเป็นที่สุดอย่างแน่นอน เปรียบเหมือนฝูงนกมาอยู่รวมกันในต้นไม้ที่มีรังอาศัยแล้วก็บินจากกันไป"

 

47     "อนึ่ง เราคิดว่าการมาพบกันและการพลัดพรากจากกันของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย เป็นเหมือนกับเมฆที่ไหลมารวมกันแล้วก็ลอยแยกจากกันไปอีก"

 

48     "อนึ่ง เพราะโลกนี้ดำเนินไปด้วยการหลอกลวงมาโดยลำดับ ดังนั้น ในเมื่อการมาพบกันเป็นเหมือนดั่งความฝัน ความยึดมั่นว่า ของฉัน จึงไม่สมควร"

 

49     "ต้นไม้ยังพลัดพรากจากสีของใบที่เกิดมาพร้อมกัน (ดังนั้น) การพลัดพรากจากสิ่งหนึ่งของอีกสิ่งหนึ่งจะไม่มีได้อย่างไรเล่า"

 

50     "ดังนั้น เมื่อเหตุการณ์เป็นอย่างนี้ ท่านก็อย่าได้โศกเศร้าไปเลย จงกลับไปเถอะเพื่อนเอ๋ย ถ้าความรักยังหน่วงเหนี่ยวไว้ ถึงแม้ท่านไปแล้วก็จงหวนกลับมาอีก"

 

51     "อนึ่ง ท่านจงบอกกับประชาชนในเมืองกปิลวาสตุผู้ตั้งหน้าตั้งตารอคอยเราว่า พวกท่านจงละความรักที่มีต่อพระกุมารเสียเถิด และจงตั้งใจฟังการตัดสินพระทัยของพระองค์"

 

52     "ได้ยินว่า พระกุมารเมื่อทำความสิ้นไปแห่งความเกิดและความตายได้แล้วจะเสด็จกลับมาทันที หรือถ้ายังไม่บรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้หมดความเพียรไปเสียก่อน พระองค์ก็จะขอตายไปเสีย"

 

53     ม้ากันถกะยอดอาชาไนยได้ฟังพระดำรัสของพระกุมารดังนั้นจึงใช้ลิ้นเลียพระบาททั้งสอง (ของพระองค์) และหลั่งน้ำตาอุ่นๆออกมา

 

54     พระกุมารทรงลูบม้ากันถกะด้วยพระหัตถ์ที่มีตาข่ายซึ่งมีเครื่องหมายสวัสดิกะและมีรูปจักรอยู่ตรงกลางแล้วตรัสเหมือนกับพระสหายว่า

 

55     "กันถกะเอ๋ย จงอย่าหลั่งน้ำตาออกมาเลย ความเป็นม้าที่ได้รับการฝึกฝนอย่างดีนี้เจ้าได้พิสูจน์ให้เห็นแล้ว ถึงแม้เจ้าจะรู้สึกเจ็บปวด แต่ความเหน็ดเหนื่อยของเจ้าก็จักมีผลดีในไม่ช้า"

 

56     จากนั้นพระกุมารผู้มีพระทัยมั่นคงทรงจับด้ามพระขรรค์แก้วมณีที่วางอยู่ในมือของนายฉันทกะแล้วได้ชักพระขรรค์อันแหลมคมและงามวิจิตรด้วยเครื่องประดับที่เป็นทองออกจากฝัก เหมือนกับถึงงูพิษออกจากโพรง

 

57     พระกุมารทรงชักพระขรรค์สีนิลเหมือนดั่งกลีบนีลุบลออกมาแล้วทรงตัดพระมงกุฎ (ผ้าคลุมพระเกศา) ที่วิจิตรตระการตา พร้อมด้วยพระเกศา แล้วทรงโยนพระเกศาที่มีผ้าคลุมสีขาวกางออกขึ้นไปบนท้องฟ้า ราวกับโยนหงส์ลงไปในสระน้ำ

 

58     เพราะต้องการจะนำไปบูชา เทวดาทั้งหลายจึงรับเอาพระเกศาที่พระกุมารทรงโยนขึ้นไปด้วยความเคารพอย่างยิ่ง และหมู่เทวดาทั้งหลายในสวรรค์ก็ได้บูชาพระเกศานั้นด้วยสิ่งของอันวิเศษและเป็นทิพย์ตามความเหมาะสม

 

59     ฝ่ายพระกุมารผู้มีพระทัยมั่นคงครั้นทรงเปลื้องเครื่องประดับที่งดงามออกจากพระวรกายและทรงเปลื้องพระศรี (พระเมาลี) ออกจากพระเศียรแล้ว ขณะทอดพระเนตรผืนผ้าที่ปักลวดลายเป็นรูปหงส์ทองอยู่นั้นก็ได้ปรารถนาเครื่องนุ่งห่มสำหรับผู้อยู่ป่า

 

60     จากนั้นเทวดาผู้มีจิตบริสุทธิ์ตนหนึ่งทราบความรู้สึกในพระทัยของพระกุมารจึงแปลงร่างเป็นพรานล่าเนื้อนุ่งห่มผ้าสีย้อมด้วยน้ำฝาดเดินเข้าไปใกล้ๆ พระกุมารผู้ทรงเป็นเหล่ากอของพระเจ้าศากยะถึงตรัสว่า

 

61     "ผ้ากาสายะอันเป็นมงคลซึ่งเป็นเครื่องหมายของฤาษีกับธนูซึ่งเป็นเครื่องมือเบียดเบียนของท่านนี้ไม่เหมาะสมบันเลย เพื่อนเอ๋ย ดังนั้น ถ้าท่านไม่ยึดติดในผ้ากาสายะนั้น ขอจงมอบผ้านั้นให้แก่ข้าพเจ้าเถิด และจงรับเอาผ้าของข้าพเจ้าไปแทน"

 

62     นายพรานกล่าวว่า "ข้าแต่ผู้ให้สิ่งที่น่าปรารถนา ผ้ากาสายะนี้ข้าพเจ้าใช้หลอกกวางทั้งหลายให้หลงเชื่อใจเดินมาใกล้ๆ แล้วจึงฆ่าเอาตามต้องการ ข้าแต่ผู้เสมอด้วยพระอินทร์ แต่ถ้าผ้ากาสายะนี้มีประโยชน์สำหรับพระองค์ เชิญเถิด ขอพระองค์จงรับเอาไป และขอจงนำผ้าขาวนั้นมา (ให้ข้าพเจ้า)"

 

63     จากนั้น พระกุมารได้ทรงรับเอาเครื่องนุ่งห่มสำหรับผู้อยู่ป่าด้วยความยินดีอย่างยิ่ง (และ)ทรงสละพระภูษาแก่นายพราน ฝ่ายนายพรานได้กลับคืนร่างเป็นทิพย์ดังเดิมแล้วถือเอาพระภูษาเหาะขึ้นไปสู่สวรรค์

 

64     ต่อมาเมื่อนายพรานหลีกไปด้วยอาการอย่างนั้น พระกุมารและนายฉันทกะผู้เลี้ยงม้าต่างก็รู้สึกประหลาดใจยิ่งนัก ทันใดนั้นทั้งสองจึงได้แสดงความเคารพต่อผ้าอันเป็นเครื่องนุ่งห่มสำหรับผู้อยู่ป่าเป็นอย่างมาก

 

65     จากนั้น พระกุมารผู้มีพระทัยหนักแน่น ผู้ทรงครองผ้ากาสายะและประดับด้วยพระเกียรติยศคือแความแน่วแน่ ครั้นทรงละนายฉันทกะผู้มีน้ำตานองหน้าแล้วจึงเสด็จไปทางที่อาศรมตั้งอยู่ ราวกับพระจันทร์ซึ่งถูกปกคลุมด้วยเมฆในยามสนธยา

 

66     ต่อมาครั้นเมื่อเจ้านายผู้ไม่มีความต้องการในราชสมบัติ ผู้ทรงครองเครื่องนุ่งห่มสีหม่นเสด็จเข้าสู่ป่าเป็นที่บำเพ็ญตบะด้วยพระอาการอย่างนั้น จากนั้นนายฉันทกะผู้เลี้ยงม้าจึงยกแขนทั้งสองขึ้นร้องไห้คร่ำครวญอย่างหนักและได้ล้มฟุบลงบนพื้นดิน

 

67     นายฉันทกะเหลียวมองข้างหลังซ้ำแล้วซ้ำอีกแล้วก็ได้สวมกอดม้ากันถกะด้วยแขนสองข้างร้องไห้คร่ำครวญอย่างดัง จากนั้นเขาผู้หมดหวังจึงบ่นเพ้อซ้ำไปซ้ำมาและเดินกลับไปสู่นครด้วยเพียงร่างกาย แต่มิได้กลับไปด้วยใจ

 

67     บางครั้งเขาก็ครุ่นคิด บางครั้งก็บ่นเพ้อ บางครั้งก็ซวนเซ และบางครั้งก็หกล้ม เขาผู้มีความทุกข์ ขณะที่เดินไปจากที่นั้นด้วยอำนาจแห่งความภักดีได้แสดงกิริยาอาการต่างๆ มากมายบนท้องถนนโดยไม่อาจควบคุมตนเองได้เลย

 

สรรคที่ 6 ชื่อ ฉนฺทกนวรฺตน (การกลับนครของฉันทกะ)

 

ในมหากาพย์พุทธจริต จบแต่เพียงเท่านี้

 

สรรคที่7

 

สรรค ที่ 7

 

ตโปวนปฺรเวโศ นาม สปฺตมะ สรฺคะ

 

ชื่อ ตโปวนปฺรเวศ

 

การเสด็จเข้าสู่ป่าบำเพ็ญตบะ

 

1     จากนั้น พระกุมารสรวารถสิทธะ ผู้ไม่ทรงยินดีในโลกียวิสัยเพราะปรารถนาที่จะประทับอยู่ในป่า ครั้งทรงละนายฉันทกะผู้ร้องไห้น้ำตานองหน้าแล้วจึงเสด็จดำเนินไปพร้อมกับบดบังอาศรมนั้นไว้ด้วยความงามของพระองค์ ดุจฤาษีสิทธะ

 

2     พระราชกุมารผู้เสด็จดำเนินเหมือนดั่งราชสีห์ได้เสด็จเข้าไปสู่อาณาเขตของกวางเหมือนกับทรงเป็นกวางเสียเอง (พระองค์) แม้จะทรงเว้นจากความงามแห่งราชสมบัติ แต่ก็ทรงดึงดูดสายตาของฤาษีทั้งหมดด้วยความงามแห่งพระวรกาย

 

3     เพราะความประหลาดใจ ฤาษีทั้งหลายพร้อมทั้งภรรยา บ้างก็ยืนถือแอกไว้ในมือ บ้างก็ยืนจับล้อรถอยู่อย่างนั้น ทั้งหมดได้แต่จ้องมองพระกุมารผู้เปรียบดั่งพระอินทร์ ไม่ขยับเขยื้อนไปไหน เปรียบเหมือนสัตว์ที่ขนสัมภาระหนักมีศีรษะโน้มลงครึ่งหนึ่ง

 

4     ส่วนพวกพราหมณ์ฤาษีที่ไปเพื่อหาเชื้อเพลิงข้างนอกเพิ่งกลับมาถึง มือก็ยังถือมัดฟืน ดอกไม้และหญ้าศักดิ์สิทธิ์อยู่ แม้จะเป็นผู้มีชื่อเสียงในการบำเพ็ญตบะและผ่านการฝึกฝนอบรมจิตมาแล้วแต่ก็ยังพากันเดินไปดูพระกุมาร หาได้ไปสู่กระท่อมของตนไม่

 

5     อนึ่ง นกยูงทั้งหลายก็ชูคอขึ้นด้วยความดีใจและส่งเสียงร้องเหมือนกับเห็นก้อนเมฆที่ดำทะมึนฝูงกวางที่มีดวงตาไม่อยู่นิ่งและเหล่าฤาษีผู้มีการก้าวเดินเหมือนดั่งกวางก็พากันละทิ้งหญ้ายืนหันหน้าไปทางพระกุมาร

 

6     อนึ่ง โคทั้งกลายที่ให้น้ำนมเพื่อการบูชาครั้นเห็นพระกุมารผู้เป็นประทีปแห่งราชวงศ์อิกษวากุ ทรงรุ่งเรืองเหมือนกับพระอาทิตย์กำลังเปล่งรัศมี ก็บังเกิดความปิติยินดี จึงหลั่งน้ำนมออกมาอีกถึงแม้การรีดนมจะเสร็จสิ้นไปแล้วก็ตาม

 

7     ณ ที่นั้น เสียงพูดคุยของฤาษีทั้งหลายซึ่งเกิดจากความประหลาดใจเพราะได้เห็นพระกุมารดังอื้ออึงไปทั่วบริเวณว่า "นี้คงจะเป็นเทวดาองค์ที่แปดในบรรดาเหล่าวสุเทพทั้งหลาย หรือว่านี้คงจะเป็นเทพอัศวินองค์ใดองค์หนึ่งจุติลงมาเป็นแน่"

 

8     เพราะพระกุมารทรงเปรียบเสมือนร่างที่สองของพระอินทร์และเปรียบเสมือนแสงสว่างสำหรับโลกทั้งที่เคลื่อนไหวและไม่เคลื่อนไหว พระองค์จึงทำให้ป่าทั้งหมดสว่างไสวราวกับพระอาทิตย์เคลื่อนลงมา (สู่โลก) โดยบังเอิญ

 

9     จากนั้นเมื่อทรงได้รับการต้อนรับแลคำเชื้อเชิญจากฤาษีเหล่านั้นตามสมควรแล้ว พระกุมารจึงมีพระดำรัสตอบฤาษีผู้ทรงธรรมทั้งหลายด้วยพระสุรเสียงเหมือนกับเมฆที่เต็มด้วยน้ำ

 

10     พระกุมารผู้มีพระทัยมั่นคงและทรงปรารถนาความหลุดพ้นได้เสด็จเข้าไปยังอาศรมที่พลุกพล่านไปด้วยคนผู้ปรารถนาสวรรค์ซึ่งพากันทำความดีอยู่อย่างนั้น พร้อมกับทอดพระเนตรการบำเพ็ญตบะแบบต่างๆ

 

11     ครั้นทรงเห็นการบำเพ็ญตบะแบบต่างๆของเหล่าฤาษีผู้ชำนาญในการบำเพ็ญตบะในป่าเป็นที่บำเพ็ญตบะนั้นแล้ว พระกุมารผู้มีพระทัยอ่อนโยนเมื่อปรารถนาจะทราบความจริงจึงได้ตรัสคำนี้กับฤาษีตนหนึ่งที่กำลังเดินตามพระองค์ว่า

 

12     "เพราะวันนี้ข้าพเจ้ามาเยี่ยมอาศรมเป็นครั้งแรก ข้าพเจ้าจึงไม่รู้จักวิธีบำเพ็ญธรรมนี้ ดังนั้น ที่จึงควรบอกแก่ข้าพเจ้าว่าวิธีการใดของท่านที่เป็นไปเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุด"

 

13     จากนั้น พราหมณ์ฤาษีผู้เป็นอยู่ด้วยตบะจึงได้กล่าวอธิบายลักษณะพิเศษของตบะและผลของตบะแก่พระกุมารผู้ประเสริฐในราชวงศ์ศากยะ ผู้ทรงกล้าหาญดุจโคอุสกะ ตามลำดับว่า

 

14     "อาหารที่ไม่ได้ปลูกซึ่งเกิดในน้ำ ใบไม้ น้ำ ผลไม้ และรากไม้นั่นเองเป็นเครื่องเลี้ยงชีพของฤาษีทั้งหลายตามที่ปรากฏในคัมภีร์ ส่วนวิธีบำเพ็ญตบะนั้นมีลักษณะแตกต่างกันไป"

 

15     "ฤาษีบางพวกเป็นอยู่ด้วยอาหารที่เก็บเอาจากพื้นเหมือนกับนก บางพวกเคี้ยวกินหญ้าเหมือนกับกวาง บางพวกใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับงูเหมือนกับเป็นจอมปลวกที่อยู่ร่วมกับลมในป่า"

 

16     "บางพวกดำรงชีวิตด้วยอาหารที่ใช้ก้อนหินบด บางพวกกินเฉพาะอาหารที่ใช้ฟันของคนกัดเอาเปลือกออก บางพวกปรุงอาหารเพื่อคนอื่นแล้วก็ทำอย่างนั้นอีก ถ้างานที่ควรทำยังเหลือค้างอยู่

 

17     "บางพวกมีมวยผลเปียกชุ่มน้ำพากันร่ายมนตร์บูชาไฟ (วันละ) สองครั้ง บางพวกดำน้ำไปอยู่ร่วมกับปลาจนร่างกายเป็นบาดแผลเพราะถูกเต่าช่วน"

 

18     "ด้วยการบำเพ็ญตบะที่สืบต่อกันมาตามกาลเวลาอย่างนั้น พวกเขาจึงได้ไปสู่สวรรค์ด้วยตบะชั้นสูง ไปสู่โลกมนุษย์ด้วยตะชั้นต่ำลงมา เพราะบุคคลย่อมเข้าถึงความสุขด้วยหนทางที่ลำบากคนทั้งหลายจึงกล่าวว่าความสุขเป็นรากเหง้าแห่งธรรม"

 

19     พระราชกุมารครั้นสดับคำพูดของฤาษีนั้นด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้ แม้ว่ายังไม่ได้เห็นแจ้งความจริง (แต่) ก็ไม่ทรงยินดีเลย พระองค์จึงตรัสรำพึงคำนี้กับพระองค์เองเบาๆว่า

 

20     "การบำเพ็ญตบะมีมากมายหลายวิธี แต่ละวิธีล้วนมีทุกข์เป็นที่ตั้ง และผลของตบะก็มีเพียงสวรรค์เป็นอย่างมาก อนึ่ง สัตว์โลกทั้งปวงก็ยังมีความเปลี่ยนแปลง งานหนักของอาศรมนี้ก็เป็นไปเพื่อผลที่เล็กน้อยเท่านั้น"

 

21     "ได้ยินว่าคนทั้งหลายละทิ้งญาติอันเป็นที่รักและวัตถุเครื่องเร้าอารมณ์ไปประพฤติข่มตนเพื่อให้ได้สวรรค์ เมื่อพวกเขาพลัดพราก (จากสวรรค์) แล้วยังต้องการไปสู่การจองจำที่มากยิ่งกว่าเดิมอีก"

 

22     "อนึ่ง ผู้ที่หวังสัตว์โลกทั้งหลายมีความกลัวต่อความตายเป็นนิตย์ พวกเขาจึงปรารถนาการเกิดใหม่ด้วยความพยายาม และเมื่อมีการเกิดใหม่ พวกเขาก็จะต้องตายอย่างแน่นอน พวกเขาสะดุ้งกลัวต่อสิ่งใดก็มักจะจมอยู่ในสิ่งนั้นนั่นเอง"

 

23     "คนบางพวกยอมลำบากเพื่อประโยชน์ในโลกนี้ บางพวกยอมเหน็ดเหนื่อยเพื่อประโยชน์แก่สวรรค์ ได้ยินว่า ชีวโลกนี้ทำตนเองให้ลำบากเป็นทุกข์เพื่อประโยชน์แก่ความสุข แต่ยังไม่ทันบรรลุเลยก็ตกไปในความพินาศเสียก่อน"

 

24     "เรามิได้ตำหนิความพยายามเลย เพราะบุคคลย่อมทิ้งภาวะที่ต่ำไปสู่ภาวะที่สูงกว่าได้ แต่ด้วยความเหน็ดเหนื่อยเท่าๆกัน ผู้มีปัญญาควรจะทำกิจให้สำเร็จโดยไม่ต้องทำสิ่งนั้นซ้ำอีก"

 

25     "เรามิได้ตำหนิความพยายามเลย เพราะบุคคลย่อมทิ้งภาวะที่ต่ำไปสู่ภาวะที่สูงกว่าได้ แต่ด้วยความเหน็ดเหนื่อยเท่าๆกัน ผู้มีปัญญาควรจะทำกิจให้สำเร็จโดยไม่ต้องทำสิ่งนั้นซ้ำอีก"

 

26     "แต่ถ้าการทรมานร่างกายในโลกนี้เป็นธรรม ความสุขของร่างกายก็จะต้องเป็นธรรม และถ้าบุคคลได้ความสุขในโลกหน้าด้วยธรรม ดังนั้น ธรรมในโลกนี้ก็ย่อมให้ผลเป็นอธรรม"

 

27     "เพราะร่างกายจะดำเนินต่อและดับไปก็ด้วยอำนาจของใจ ดังนั้น การข่มใจจึงเป็นสิ่งที่ควร เพราะ เว้นจากใจเสียแล้ว ร่างกายก็เปรียบเสมือนท่อนไม้"

 

28     "ถ้าบุคคลได้บุญจากความบริสุทธิ์ของอาหาร ดังนั้น บุญก็คงจะมีแม้แก่กวางทั้งหลาย และแม้แก่บุรุษทั้งหลายผู้ถูกตัดออกจากผล (แห่งธรรม) ตลอดจนผู้มีทรัพย์สมบัติเมินหน้าหนีเพราะโทษแห่งโชคชะตา"

 

29     ในเรื่องความทุกข์ ถ้าความตั้งใจเป็นสาเหตุให้เกิดบุญ แม้ในเรื่องของความสุข ความตั้งใจนั้นก็ใช้ได้มิใช่หรือ แต่ถ้าความตั้งใจไม่เป็นประมาณในเรื่องของความสุข ความตั้งใจก็ไม่ควรเป็นประมาณในเรื่องของความทุกข์มิใช่หรือ"

 

30     "ทำนองเดียวกัน คนเหล่าใดถือว่าน้ำเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้วพากันอาบชำระเพื่อความบริสุทธิ์แห่งกรรม แม้ในกรณีนั้น ความพึงพอใจอย่างเดียวจะต้องมีในใจของเขา เพราะว่าน้ำไม่อาจชำระคนชั่วให้บริสุทธิ์ได้เลย"

 

31     "เพราะถ้าเชื่อกันว่าน้ำที่ผู้มีความดีสัมผัสแล้วนั้นเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในโลก ดังนั้น เราย่อมเข้าใจได้ว่าคุณความดีนั่นเองเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ส่วนน้ำก็ยังคงเป็นน้ำโดยมิต้องสงสัย"

 

32     พระกุมารตรัสข้อโต้แย้งต่างๆ มากมายด้วยประการฉะนี้ จวบจนพระอาทิตย์อัสดงคต จากนั้นพระองค์จึงเสด็จเข้าสู่ป่าที่มีต้นไม้เศร้าหมองเพราะควันจากเครื่องสังเวยและที่สงบเพราะมีการบำเพ็ญตบะ

 

33     (ป่านั้น) มีความเคลื่อนไหวเหมือนกับโรงงานแห่งธรรม มีไฟสำหรับใช้บูชายัญอันรุ่งเรือง ถูกเคลื่อนย้ายไปมา ดาดาษไปด้วยหมู่ฤาษีที่อาบชำระแล้ว และมีเทวาลัยที่อื้ออึงไปด้วยเสียงสวดมนต์

 

34     พระกุมารผู้เปรียบเสมือนพระจันทร์ทรงประทับพิจารณาการบำเพ็ญตบะอยู่ ณ ที่นั้นสอง สามราตรี เมื่อทรงไคร่ครวญและทรงละทิ้งวิธีบำเพ็ญตบะทั้งหมดแล้วจึงเสด็จหลีกไปจากเขตแดนที่ใช้บำเพ็ญตบะแห่งนั้น

 

35     ครั้งนั้น ฤาษีทั้งหลายพากันออกเดินตามพระกุมารไป เพราะจิตใจถูกความงาและความยิ่งใหญ่ของพระองค์ดึงดูดไว้ เปรียบเสมือนมหาฤาษีทั้งหลายเฝ้าติดตามธรรมที่กำลังเคลื่อนออกจากประเทศที่ถูกอนารยชนย่ำยี

 

36     ต่อมาพระกุมารได้ทอดพระเนตรเห็นฤาษีเหล่านั้นเคลื่อนเข้ามารอบๆ พร้อมด้วยชฎาและผ้านุ่งเปลือกไม้ เมื่อจะแสดงความเคารพต่อการบำเพ็ญตบะของฤาษีเหล่านั้น พระองค์จึงประทับยืนใกล้โคนต้นไม้ที่ร่มเย็นและงดงามแห่งหนึ่ง

 

37     ครั้งนั้น ฤาษีทั้งหลายเมื่อเคลื่อนเข้าไปใกล้ๆ แล้วจึงได้ยืนล้อมรอบพระกุมารผู้ทรงเป็นยอดมนุษย์ และฤาษีตนหนึ่งผู้มีอายุแก่ที่สุดในจำนวนนั้นก็ได้กล่าวถ้อยคำแสดงความเคารพอย่างมากด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวลว่า

 

38     "เมื่อพระองค์เสด็จมา อาศรมนี้เป็นเหมือนกับเต็มบริบูรณ์ เมื่อพระองค์จากไป อาศรมนี้ก็เป็นเหมือนว่างเปล่าลง ลูกเอ๋ย ดังนั้นพระองค์จึงไม่ควรทิ้งอาศรมนี้ไป ดุจอายุที่น่าปรารถนาไม่ควรทอดทิ้งร่างกายของคนผู้ต้องการมีชีวิตอยู่ต่อไป"

 

39     เพราะภูเขาหิมาลัยอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเนืองแน่นไปด้วยพรหมฤาษี ราชฤาษี และเทวฤาษี มีอยุ่ไม่ไกล การบำเพ็ญตบะของฤาษีทั้งหลายมีมากขึ้นเรื่อยๆ ก็เพราะอยู่ใกล้กับภูเขาหิมาลัยนั่นเอง"

 

40     "ในทำนองเดียวกัน สถานที่แสวงบุญอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นบันไดสวรรค์และเนืองแน่นไปด้วยเทวฤาษีและมหาฤาษีผู้ตั้งอยู่ในธรรมและมีจิตใจประเสริฐ ก็มีอยู่โดยรอบ"

 

41     "อนึ่ง ทิศอุดรถัดจากที่นี้ไปก็เหมาะที่จะไปอาศัยเพื่อค้นหาธรรมอันพิเศษ  แต่ไม่ควรเลยที่ผู้มีปัญญาจะก้าวไปทางทิศใต้ แม้แต่ก้าวเดียว"

 

42     "ถ้าในป่าบำเพ็ญตบะแห่งนี้พระองค์ทรงได้พบเห็นคนที่เมินเฉยต่อพิธีกรรมหรือคนที่ไม่บริสุทธิ์เพราะตกไปในธรรมอันน่ารักเกียจละก็ ขอจงบอกเหตุที่พระองค์ไม่ประสงค์จะประทับอยู่ด้วยเถิด ขอพระองค์จงประทับอยู่ตามที่พระทัยปรารถนาเถิด"

 

43     "เพราะฤาษีเหล่านี้ต่างก็ปรารถนาพระองค์ผู้เปรียบเสมือนแหล่งรวมของตบะเพื่อเป็นสหายในการบำเพ็ญตบะ เพราะว่าการอยู่ร่วมกับพระองค์ผู้เปรียบเสมือนพระอินทร์จะช่วยนำความสำเร็จจากพระพฤหัสปติมาให้"

 

44     ครั้นหัวหน้าฤาษีกล่าวถ้อยคำในท่ามกลางหมู่ฤาษีดังนี้ พระกุมารผู้ทรงเป็นหัวหน้าของผู้รู้ทั้งหลาย ผู้ทรงตั้งปณิธานไว้เพื่อการทำลายภพ (การเกิดใหม่) จึงตรัสบอกความรู้สึกที่ซ่อนอยู่ในพระทัยของพระองค์ว่า

 

45     "เพราะเหตุที่ฤาษีทั้งหลายผู้มีใจอ่อนโยน มีคุณธรรม และเปรียบเสมือนญาติของข้าพเจ้าต่างพากันปรารถนาความสะดวกสบายแก่ข้าพเจ้า ด้วยความมีน้ำใจเช่นนี้ ข้าพเจ้าจึงมีความปิติยินดีและมีความนับถืออย่างยิ่ง"

 

46     "โดยย่อ ข้าพเจ้าเป็นเหมือนถูกอาบแล้วด้วยคำพูดที่แสดงความรักซึ่งหยั่งลึกลงถึงหทัยยิ่งเมื่อข้าพเจ้าได้เรียนรู้หลักธรรมมาใหม่ๆ ความรู้สึกยินดีจึงปรากฏขึ้นมาอีกในบัดนี้"

 

47     "ข้าพเจ้าจะละทิ้งพวกท่านผู้ประพฤติดี ผู้ให้ที่พักพิง ผู้แสดงออกถึงความกรุณาอย่างยิ่งหลีกไปอย่างนี้ แต่ข้าพเจ้าเองก็รู้สึกเป็นทุกข์เหมือนกับละทิ้งญาติพี่น้องไปฉะนั้น"

 

48     "แต่ธรรมของพวกท่านนั้นเป็นไปเพื่อสวรรค์ ส่วนความปรารถนาของข้าพเจ้าเป็นไปเพื่อการไม่กลับมาเกิดอีก ดังนั้นข้าพเจ้าจึงไม่ต้องการที่จะพักอยู่ในป่านี้ เพราะธรรมเพื่อการดับทุกข์นั้นแตกต่างจากกรประพฤติปฏิบัติของพวกท่าน"

 

49     "ข้าพเจ้าจะไปจากป่านี้เพราะความรู้สึกไม่พอใจก็หาไม่ ทั้งจะไปเพราะความประพฤติที่ไม่เหมาะสมของคนอื่นก็หาไม่ แท้ที่จริง ทุกท่านนั้นเปรียบเสมือนมหาฤาษีต่างดำรงอยู่ในหลักธรรมอันเหมาะสมกับที่เคยประพฤติกันมาแต่ปางก่อน"

 

50     จากนั้น เมื่อได้ฟังถ้อยคำที่น่ายินดี มีความหมาย มีความกรุณา มีความหนักแน่น และน่าภูมใจของพระกุมารแล้ว ฤาษีเหล่านั้นจึงแสดงความเคารพนับถือต่อพระกุมารเป็นพิเศษ

 

51     ณ ที่นั้น พราหมณ์ฤาษีตนหนึ่ง ผู้มีปรกตินอนบนเถ้าถ่าน มีรูปร่างสูงโปร่ง มีมวยผมบนศีรษะ มีผ้าเปลือกไม้เป็นเครื่องนุ่งห่ม มีดวงตาสีแดงเรื่อ มีจมูกโด่ง มีมือข้างหนึ่งถือหม้อน้ำ ได้กล่าวคำพูดนี้ว่า

 

52     "ข้าแต่พระองค์ผู้มีปัญญา การตัดสินพระทัยของพระองค์ผู้ยังหนุ่มแน่น ผู้ทรงเห็นโทษของการเกิด ช่างประเสริฐยิ่งนัก เพราะผู้ใดเพ่งพิจารณาสวรรค์และการบรรลุพ้นโดยละเอียดแล้วตัดสินใจที่จะเข้าถึงความหลุดพ้น ผู้นั้นนับว่าเป็นผู้ประเสริฐโดยแท้"

 

53     "จริงอยู่ คนมีราคะย่อมต้องการไปสวรรค์ ด้วยการบูชายัญ ด้วยการบำเพ็ญตบะ และด้วยการปฏิบัติที่เคร่งครัดแบบต่างๆ ส่วนคนผู้มีคุณความดีเมื่อต่อสู้กับราคะซึ่เปรียบเสมือนข้าศึกแล้วย่อมต้องการบรรลุโมกษะ"

 

54     "ดังนั้น ถ้าสิ่งนี้เป็นความตั้งใจอันแน่วแน่ของพระองค์ ก็จงรีบเสด็จไปสู่อาศรมที่ภูเขาวินธัยเสียเถิด ที่นั่นมีพระมุนีชื่ออราฑะ ผู้เห็นแจ้งความดีขั้นสูงสุดอาศัยอยู่"

 

55     "พระองค์จะได้ฟังหนทางแห่งความจริงจากพระมุนีนั้น เมื่อพอพระทัยก็จะได้ปฏิบัติตามแต่ข้าพเจ้าเห็นว่าการตัดสินพระทัยของพระองค์เป็นอย่างนี้ พระองค์คงจะละทิ้งแนวคิดของพระมุนีนั้นเสด็จหลีกไปอีก"

 

56     เพราะว่าพระพักตร์ (ของพระองค์) ซึ่งมีพระนาสิกเด่นและโด่ง มีพระเนตรใหญ่และยาว มีริมพระโอษฐ์ล่างเป็นสีแดง มีพระทนต์ขาวและคม มีพระชิวหาบางและเป็นสีแดงนี้ จะต้องได้ดื่มห้วงน้ำคือสรรพสิ่งที่ควรรู้อย่างแน่นอน"

 

57     "อนึ่ง พระองค์ทรงมีความลึกซึ้งที่ยากจะเข้าใจ ทรงมีความรุ่งเรืองและทรงมีพระลักษณะต่างๆ เช่นนี้ พระองค์จะต้องได้บรรลุความเป็นพระศาสดาในโลกซึ่งฤาษีทั้งหลายในปางก่อนไม่เคยได้บรรลุอย่างแน่นอน

 

58     พระราชกุมารตรัสตอบว่า "ยอดเยี่ยมเหลือเกิน" จากนั้น จึงได้ทรงอำลาหมู่ฤาษีเสด็จหลีกไป ฝ่ายฤาษีเหล่านั้นเมื่อทำการส่งเสด็จพระกุมารตามสมควรแก่พิธีแล้วจึงกลับเข้าสู่ป่าบำเพ็ญตบะ

 

59

 

สรรค ที่ 7 ตโปวนปฺเวศ (การเสด็จเข้าสู่ป่าบำเพ็ญตบะ)

 

ในมหากาพย์พุทธจริต จบเพียงเท่านี้

สรรคที่8

 

สรรค ที่ 8

 อนฺตะปุรวิลาโป นามาษฺฏมะ สรฺคะ

ชื่อ อนฺตะปุรวิลาป

การพิลาปรำพันของพระสนมฝ่ายใน

1     จากนั้น ครั้นเมื่อเจ้านายผู้ไม่มีมมังการ ๑ เสด็จเข้าสู่ป่าด้วยอาการอย่างนั้น  นายฉันทกะผู้ดูแลม้า ผู้มีความโทมนัส จึงพยายามข่มความโศกในระหว่างทาง แต่กระนั้นน้ำตาของเขาก็ไม่ได้ลดน้อยลงไป

2     เขาเดินครุ่นคิดถึงการพลัดพรากจากเจ้านายไปบนเส้นทางนั้นด้วยเวลาถึง 8 วัน ทั้งๆที่เส้นทางนั้นเขาเคยไปพร้อมกับม้าตัวนั้นตามคำบัญชาของเจ้านายโดยใช้เวลาเพียงคืนเดียว

3     ม้ากันถกะซึ่งโดยปกติมีเรี่ยวแรงดีเดินไปข้างหน้าแล้วก็หมดแรงลงเพราะความหดหู่ใจไม่มีความคึกคะนอง ถึงแม้จะประดับด้วยเครื่องตกแต่งอย่างนั้น แต่เมื่อไม่มีเจ้านาย มันก็เหมือนกับไม่มีราศีเลย

4     ม้ากันถกะหันหน้ากลับไปทางป่าบำเพ็ญตบะแล้วได้ร้องขึ้นอย่างดังและอย่างน่าสงสารซ้ำแล้วซ้ำอีก ถึงแม้จะถูกความหิวกระหายท่วมทับแต่มันก็ไม่ไยดีและไม่ยอมกินหญ้าหรือดื่มน้ำในระหว่างเหมือนแต่ก่อนเลย

5     จากนั้นทั้งสอง (นายฉันทกะและม้ากันถกะ) ก็บรรลุถึงเมืองชื่อกปิละ ซึ่งปราศจากพระมหาบุรุษผู้มีพระทัยน้อมไปเพื่อช่วยเหลือชาวโลก ซึ่งเป็นดุจที่ว่างเปล่าและเป็นดุจท้องฟ้าที่ปราศจากพระอาทิตย์ตามลำดับ

6     สวนป่าในเมืองนั้นถึงแม้จะงามด้วยสระน้ำที่มีดอกบุณฑริกและประดับด้วยต้นไม้ที่มีดอกบานสะพรั่ง แต่ก็เป็นเหมือนกับป่าทั่วไป ไม่สดใสเลย เพราะชาวเมืองขาดความเบิกบานใจ

7     จากนั้นทั้งสอง (นายฉันทกะและม้ากันถกะ) ผู้เหมือนกับถูกเหนี่ยวรั้งโดยคนที่เดินขวักไขว่ไปมาในทิศต่างๆ ด้วยจิตใจที่เศร้าสร้อย หม่นหมอง และมีน้ำตาคลอเบ้า จึงเดินเข้าเมืองอย่างเชื่องช้าเหมือนกับเดินไปสู่พิธีรดน้ำศพฉะนั้น

8     ครั้นทราบว่าทั้งสองกลับมาด้วยร่างกายที่อ่อนระโหยโรยแรง โดยไม่มีพระกุมารผู้ประเสริฐแห่งราชวงศ์ศากยะกลับมาด้วย ประชาชนชาวเมืองจึงหลั่งน้ำตาอยู่บนถนน เหมือนกับเมื่อรถของพระรามกลับมา (โดยไม่มีพระราม) ในกาลก่อน

9     ครั้งนั้นประชาชนบนท้องถนนได้หลั่งน้ำตาและเดินติดตามไปข้างหลังนายฉันทกะพร้อมกับกล่าวออกมาด้วยความเดียดแค้นว่า "เจ้านำพระกุมารผู้ทรงเป็นที่ยินดีของเมืองและของแว่นแคว้นไปไว้ที่ไหน"

10     จากนั้นนายฉันทกะจึงกล่าวกับประชาชนผู้มีความจงรักภักดีเหล่านั้นว่า "ข้าพเจ้าไม่ได้ทอดทิ้งพระกุมาร แต่พระกุมารต่างหากทรงทอดทิ้งข้าพเจ้าผู้กำลังร้องไห้ ทั้งยังทรงทอดทิ้งเครื่องนุ่งห่มสำหรับคฤหัสถ์ไว้ในป่าที่ปราศจากผู้คน"

11     เมื่อได้ฟังคำพูดของนายฉันทกะดังนี้ ประชาชนเหล่านั้นต่างก็ถึงความตกลงใจว่า "(การกระทำของพระกุมาร) เป็นสิ่งที่ทำได้ยากโดยแท้" เพราะว่าพวกเขาไม่อาจจะหักห้ามน้ำนาที่เกิดขึ้นในดวงตาที่ไหลพราก และยังพากันตำหนิจิตใจอันเป็นผลที่เกิดจากอาตมันอีกด้วย

12     ครั้งนั้น ประชาชนทั้งหลายกล่าวว่า "วันนี้พวกเราจงพากกันไปสู่ป่าที่พระกุมารผู้แกล้วกล้าดั่งพญาช้างเสด็จไปกันเถอะ เพราะเว้นจากพระองค์แล้ว พวกเราก็ไม่ต้องการที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป เปรียบเหมือนศรีริน ไม่ต้องการดำรงอยู่ เหมือนอินทรีย์ทั้งหลายดับ ดับไป"

๑ ศรีริน (ศฺรีรินฺ) หมายถึง ผู้ที่มีร่างกายหรือผู้อาศัยร่างกาย ในที่นี้หมายถึงใจ

๒ อินทรีย์ (อินฺทริย) ในที่นี้หมายถึง อวัยวะที่เชื่อมต่อให้เกิดการรับรู้ 5 อย่าง คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย

15     ฝ่ายพระราชาผู้ทรงประกอบพิธีทางศาสนาเพื่อให้ได้พระโอรสกลับคืนทรงเหน็ดเหนื่อยพระทัยทั้งด้วยการถือพรตและด้วยความโศก แต่ก็ทรงสาธยายมนตร์อยู่ในเทวลัยและประกอบพิธีต่างๆ ไปตามที่ทรงมีความหวัง

16     จากนั้นนายฉันทกะผู้ดูแลม้าซึ่งมีดวงตาเอ่อคลอด้วยน้ำตาและถูกความโศกท่วมทับจึงได้จูงม้าเข้าสู่พระราชวังราวกับว่าเจ้านายถูกข้าศึกจับตัวไปในการรบ

17     ม้ากันถกะขณะก้าวเข้าสู่พระราชวังและมองดูรอบๆ ด้วยดวงตาที่เอ่อคลอน้ำตาก็ได้ร้องขึ้นด้วยเสียงอันดังเหมือนกับจะประกาศความทุกข์ของตนให้ประชาชนรับรู้

18     จากนั้นนกทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในพระราชวังและม้าทั้งหลายที่ได้รับการฝึกฝนอย่างดีซึ่งถูกล่ามไว้ใกล้ๆ ก็ได้ร้องขานรับเสียงม้ากันถกะด้วยสำคัญว่าพระราชกุมารเสด็จกลับมา

19     ฝูงชนผู้อาศัยอยุ่ในพระราชวังฝ่ายในเมื่อถูกความดีใจเกินประมาณหลอกลวงจึงคิดกันไปว่า "เพราะม้ากันถกะนี้ส่งเสียงร้อง พระกุมารคงจะเสด็จเข้ามาเป็นแน่"

20     ครั้งนั้น เพราะความดีใจอย่างยิ่งหญิงทั้งหลายที่เป็นลมสลบเพราะความโศกก็กลับมีดวงตาสอดส่ายไปมาเพราะอยากเห็นพระกุมาร ต่างเดินออกจากพระตำหนักด้วยความหวัง เปรียบเหมือนฟ้าแลบปลาบแปลบออกจากก้อนเมฆในฤดูศรัท

21     หญิงทั้งหลายผู้ปล่อยผมสยาย นุ่งผ้าไหมสีหม่น ไม่ได้แต่งแต้มใบหน้า และมีดวงตาเปียกชุ่มด้วยน้ำตา เมื่อไม่ได้ทำความสะอาดร่างกาย จึงไม่สดใส ราวกับดวงดาวในท้องฟ้าที่ถูกฉาบด้วยแสงอรุณยามสิ้นไปแห่งราตรีฉะนั้น

22     หญิงเหล่านั้นไม่ทาสีแดงที่ฝ่าเท้า ไม่สวมใส่กำไลข้อเท้า มีคอและใบหน้าไม่ได้ประดับด้วยต่างหู มีสะโพกที่อวบอัดโดยธรรมชาติไม่ได้รัดด้วยเข็มขัด และมียุคลถันที่ปราศจากสร้อยสังวาลย์ เหมือนกับเพิ่งถูกโจรแย่งชิงไป

23     หญิงเหล่านั้นครั้นเห็นเพียงนายฉัทกะและม้ากันถกะ (กลับมา) โดยไม่มีเจ้านายต่างจึงมีดวงตาเอ่อล้นด้วยน้ำตาและก้มหน้าร้องไห้ เหมือนกับโคทั้งหลายถูกวัวจ่าฝูงทอดทิ้งไว้ในกลางป่า

24     จากนั้นพระนางเคาตมี พระมเหสีของพระราชา ผู้มีพระอัสสุชลเอ่อคลอ เหมือนกับแม่กระบือที่เป็นห่วงลูกน้อยที่หายไป เมื่อยกพระพาหาทั้งสองขึ้นแล้วก็ทรงล้มลงเหมือนกับต้นกล้วยทองคำล้มครืนลงพร้อมกับใบที่แกว่งไกว

25     หญิงพวกหนึ่งไม่มีสง่าราศี มีไหล่และแขนห้อยลง เป็นเหมือนคนไม่มีจิตใจเพราะความโศก ไม่ร้องไห้ ไม่หลั่งน้ำตา ไม่ถอนหายใจ และไม่เคลื่อนไหว ได้แต่ยืนนิ่งๆ ราวกับรูปภาพที่ถูกเขียนไว้

26     หญิงพวกหนึ่งไม่อาจควบคุมจิตใจได้ เป็นลมหมดสติเพราะความโศกถึงเจ้านาย ต่างก็รดยุคลถันที่มีกระแจะจันทร์ถูกชะออกด้วยใบหน้าที่มีน้ำตาไหลพรากจากดวงตา  ราวกับภูเขารดโขดหินทั้งหลายด้วยกระแสน้ำ

27     เพราะใบหน้าของหญิงเหล่านั้น ถูกกระทบด้วยน้ำตา ครั้งนั้นเพราะราชวังจึงปรากฏเหมือนกาบสระน้ำที่มีดอกบัวแดงโผล่ขึ้นจากน้ำและถูกกระทบด้วยหยาดฝนจากเมฆในต้นฤดูฝน

28     หญิงงามทั้งหลายดีหน้าอก (ของตน) ด้วยมือที่เหมือนกับดอกบัวซึ่งมีนิ้วกลมกลึง แนบสนิทชิดกัน ไม่มีเครื่องประดับและมีเส้นเลือดถูกซ่อนไว้ ราวกับเถาวัลย์ที่สั่นไหวเพราะลม ตีเครือเถา(ของมัน)ด้วยใบแรกผลิของตัวมันเอง

29     หญิงเหล่านั้นมียุคลถันที่เต่งตึง นูนตั้ง สั่นส่ายไปมาเพราะถูกชกตีด้วยมืออย่างนั้น จึงปรากฏเหมือนกับแม่น้ำซึ่งมีคู่ของนกเป็ดน้ำที่สั่นไหวอยู่บนดอกบัวเพราะมีลมป่าพัด

30     หญิงเหล่านั้นชกตีหน้าอก (ให้บอบช้ำ) ด้วยมือฉันใด พวกเธอก็ทำร้ายมือ (ให้บอบช้ำ) ด้วยหน้าอกฉันนั้นเหมือนกัน พวกเธอผู้อ่อนล้าน่าสงสารต่างทำมือและหน้าอกให้บอบช้ำอยู่ ณ ที่นั้น

31     จากนั้น พระนางยโศธรา ผู้มีพระเนตรแดงก่ำเพราะความโกรธ มีพระถันสั่นไหวเพราะการถอนหายใจและมีพระอัสสุชลหลั่งไหลเพราะความโศกที่ซ่อนอยู่ภายในจึงได้ตรัสถ้อยคำบ่นสะอื้นเพราะความเจ็บปวดอันเกิดจากความสิ้นหวังว่า

32     "ดูก่อนฉันทกะ พระวามีผู้ทรงเป็นมโนรถของเราทอดทิ้งเราผู้ไร้อำนาจผู้กำลังนอนหลับอยู่ในราตรีแล้วเสด็จไปที่ไหน ในเมื่อท่านทั้งสามออกไปพร้อมกัน แต่มีเพียงท่านและม้ากันถกะกลับมาจิตใจของเราจึงหวั่นไหว"

33     "ดูก่อนผู้อ่อนแอ ท่านทำกรรมที่ไม่เหมาะ ไม่น่ารัก และไม่เป็นมิตรแก่เราแล้วทำไมวันนี้ จึงร้องไห้อยู่ตรงนี้เล่า ท่านจงหักห้ามน้ำตาเสีย จงมีใจยินดี น้ำตาและการกระทำของท่านช่างไม่เหมาะสมกันเลย"

34     "เพราะท่านผู้เป็นสหายรัก ยอมเชื่อฟัง มุ่งช่วยเหลือ เป็นคนดี และทำในสิ่งที่พระองค์ปรารถนา พระกุมารผู้ประเสริฐเมื่อเสด็จไปแล้วจึงไม่เสด็จกลับมาอีก ท่านจงยินดีเถิด งานหนักของท่านสัมฤทธิ์ผลเพราะโชคแท้ๆ"

35     "มนุษย์มีศัตรูที่ฉลาดยังดีเสียกว่า มิตรที่โง่เขลาและชำนาญในทางที่ผิดนั้นไม่ดีเลย เพราะตัวท่านไม่ฉลาด แต่ชอบกล่าวอ้างว่าเป็นมิตร จึงสร้างความวิบัติอันใหญ่หลวงให้แก่ราชวงศ์นี้"

36     "เพราะหญิงเหล่านี้ล้วนมีดวงตาพร่ามัวและแดงก่ำเพราะน้ำตาขังอยู่ภายใน ทั้งยังปล่อยเครื่องประดับหลุดลุ่ยเป็นที่น่าสงสาร เหมือนกับหญิงหม้ายผู้ปราศจากความงามแม้ว่าสามีจะมีชีวิตดำรงอยู่เหมือนกับภูเขาหิมาลัยหรือแผ่นดินก็ตาม"

37     "อนึ่ง แถวแห่งปราสาทที่มีหลังคายอดแหลมยื่นขึ้นไปคล้ายกับการยกแขนขึ้น และมีเสียงร้องที่ยึดยาวของนกพิราบไม่ขาดระยะเหล่านี้ เมื่อเว้นจากพระกุมารพระองค์นั้นจึงเป็นเหมือนกำลังร้องไห้อย่างหนักพร้อมกับหญิงทั้งหลายในพระราชวังฝ่ายใน"

38     "แม้ม้ากันถกะนี้ก็ปรารถนาความพินาศแก่เราทุกวิธีเป็นแน่แท้ เพราะขณะที่ประชาชนกำลังนอนหลับใหลในกลางคืน ม้ากันถกะนี้ได้นำเอาทุกสิ่งทุกอย่างของเราไปจากที่นี่ด้วยอาการอย่างนั้น"

39     "ที่ผ่านมา ม้ากันถกะสามารถทนได้แม้แต่การประหารด้วยลูกศรที่ตกมาถูกตัว ไม่จำเป็นต้องพูดถึงการเฆี่ยนตีด้วยแส้เลย แต่มาบัดนี้ เพราะเหตุใดม้ากันถกะจึงนำเอาโชคและหทัยของเราวิ่งออกไปพร้อมกัน เพียงเพราะกลัวจะถูกตีด้วยแส้"

40     "วันนี้ ม้ากันถกะผู้ทำหน้าที่อันไม่สมควรย่อมร้องส่งเสียงดัง เหมือนกับจะทำพระราชวังให้บริบูรณ์ แต่เวลาที่นำพระสวามีผู้เป็นที่รักของเราออกไป ม้าผู้ต่ำทรามนี้กลับทำเป็นใบ้"

41     "เพราะถ้าหากม้านี้จะพึงร้อยปลุกประชาชนให้ตื่นขึ้นมา หรือพึงทำเสียงดังด้วยกีบเท้าบนภาคพื้น หรือพึงทำเสียงดังที่คางให้เกิดขึ้นอย่างแรง ความทุกข์เช่นนี้คงจะไม่มีแก่เราเป็นแน่"

42     เมื่อได้ฟังถ้อยคำที่เกิดจาความโศกเศร้ารำพึงรำพันซึ่งเจือปนด้วยพระอัสสุชลของพระเทวี ณ ที่นั้นดังนี้ นานฉันทกะผู้ก้มหน้าต่ำและน้ำตาไหลพรากจึงประคองอัญชลีกราบทูลคำตอบนี้เบาๆว่า

43     "ข้าแต่พระเทวี พระองค์ไม่ควรตำหนิม้ากันุถกะและไม่ควรกริ้วโกรธหม่อมฉันเลย ขอพระองค์โปรดจงพิจารณาว่าหม่อมฉันทั้งสองไม่มีอะไรที่น่าตำหนิโดยประการทั้งปวง ข้าแต่พระเทวี เพราะว่าพระกุมารผู้ทรงเป็นนรเทพนั้นได้เสด็จไปแล้วเหมือนกับเทวดา"

44     "เพราะถึงแม้หม่อมฉันจะรู้ดีในพระราชอาชญา แต่ก็เหมือนถูกเทวดาบางพวกสะกดไว้ในอำนาจ หม่อมฉันจึงได้นำม้ากันถกะนี้ออกไปอย่างรวดเร็ว และได้ติดตามม้านี้ไปบนถนนโดยไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยเลย"

45     "แม้ม้าตัวประเสริฐนี้ขณะวิ่งไปก็ไม่ได้สัมผัสพื้นดินด้วยปลายกีบม้าเลย ราวกับว่ามันถูกยกลอยขึ้นไปในท้องฟ้า และราวกับว่าถูกควบคุมปากไว้ด้วยกำลังของเทวดา มันจึงไม่ได้ทำเสียงที่ขากรรไกร และไม่ได้ส่งเสียงร้องใดๆออกมา"

46     "เพราะในขณะที่พระราชกุมารเสด็จออกไปภายนอกนั้นประตูเมืองได้เปิดออกเอง และความมืดสนิทในกลางคืนก็ถูกกำจัดออกไป เหมือนกับถูกกำจัดด้วยแสงพระอาทิตย์ เพราะฉะนั้นจึงควรถือว่า นี้เป็นการกระทำของเทวดา"

47     "เพราะแม้ประชาชนนับพันทั้งที่อยู่ในปราสาทและอยู่ในเมืองจะไม่ได้ประมาทหลงลืมต่อพระราชอาชญา แต่เวลานั้นประชาชนทั้งหลายก็หาได้รู้สึกตัวไม่ เพราะถูกความหลับครอบงำ เพราะฉะนั้นจึงควรถือว่า นี้เป็นการกระทำของเทวดา"

48     "อนึ่ง เครื่องนุ่งห่มที่รู้กันว่าเหมาะสำหรับการอยู่ป่านั้น เทวดาก็นำมาถวายแด่พระองค์ในเวลาอันสมควร และพระมงกุฎนั้นเมื่อทรงถอดแล้วก็ได้ลอยขึ้นไปในท้องฟ้า เพราะฉะนั้นจึงควรถือว่านี้เป็นการกระทำของเทวดา"

49     "ข้าแต่องค์นรเทวี ดังนั้น เมื่อเหตุการณ์เป็นอย่างนี้ พระองค์จึงไม่ควรเพ่งโทษหม่อมฉันทั้งสองเกี่ยวกับการเสด็จออกไปของพระกุมาร หม่อมฉันและม้ากันถกะไม่ได้ทำการลงไปด้วยความสมัครใจเลย เพราะพระกุมารนั้นได้เสด็จไปแล้วโดยมีทวยเทพทั้งหลายตามส่งต่างหาก"

50     หญิงเหล่านั้นได้ฟังการเสด็จออกบรรพชาที่น่าอัศจรรย์และเกี่ยวข้องกับเทวดาจำนวนมากของพระกุมารผู้ทรงมีพระทัยมั่นคงดังนี้ ต่างก็มีความประหลาดใจ ราวกับว่าความโศกเศร้าได้จางหายไป แต่กระนั้นพวกเธอก็ยังได้รับความทุกข์ทรมานใจเพราะการออกผนวชของพระกุมาร

51     จากนั้น พระนางเคาตมี ผู้มีพระนตรไม่อยู่นิ่งเพราะความโศกและทรงเป็นทุกข์เหมือนกับแม่ช้างที่มีลูกน้อยหายไป เมื่อทรงละความมีพระทัยมั่นคงแล้วก็ทรงกันแสงออกมา พระนางทรงอ่อนล้าหมดเรียวแรงและตรัสถ้อยคำด้วยพระพักตร์ที่เต็มด้วยพระอัสสุชลว่า

52     "พระเกศาของพระกุมารซึ่งมีขมวดพระเกศาใหญ่ อ่อนนุ่ม ดำสนิท งดงาม แต่ละเส้นงอก จากรากพระเกศาแต่ละราก ม้วนขึ้นเป็นเกลียว และมีค่ามารกเพราะถูกครอบไว้ด้วยพระมงกุฎของพระราชา ได้ตกลงไปที่พื้นดินหรือ"

53     "พระกุมารผู้มีพระพาหายาว มีการเยื้องกรายดุจพญามฤคราช มีพระเนตรดั่งโคอุสภะ มีพระอักษะกว้าง มีพระสุรเสียงกังวานดุจกลองเทวดา และมีความสดใสด้วยความรุ่งเรืองแห่งทองพระองค์ผู้มีพระลักษณะเช่นนั้นควรจะประทับอยู่ในอาศรมหรือ"

54     "แผ่นดินนี้คงจะไม่คู่ควรกับเจ้านายผู้มีการกระทำอันสูงส่งพระองค์นั้นอย่างแน่นอน ดังนั้น พระองค์จึงได้เสด็จหนีไป เพราะพระราชาผู้ทรงคุณความดีเช่นนั้นจะประสูติขึ้นมาก็ด้วยโชคและคุณความดีของประชาชน"

55     "พระบาททั้งสองที่มีพระองคุลียึดติดกันด้วยเนื้อเยื่อที่สวยงาม บอบบาง มีข้อพระบาทซุกซ่อนอยู่ภายใน อ่อนนุ่มเหมือนกับใยบัวและเกสรดอกไม้ และมีรูปจักรอยู่กลางฝ่าพระบาท จำดำเนินไปบนภาคพื้นของแนวป่าที่ขรุขระอย่างไรหนอ"

56     "พระวรกายที่แข็งแกร่งของพระกุมารซึ่งคุ้นเคยกับการบรรทมและการประทับนั่งบนปราสาท ซึ่งประดับด้วยพระภูษา ผงกฤษณา และกระแจะจันทร์ จักดำรงอยู่ในป่ายามที่ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝนมาถึงอย่างไรหนอ"

57     "พระกุมารผู้สูงส่งด้วยราชตระกูล คุณความดี ความเข้มแข็ง ความงาม ความรู้ ความสง่า และความหนุ่มแน่น ทรงคุ้นเคยแต่การให้ ไม่ทรงคุ้นเคยกับการขอ จักเที่ยวขอภิกษาอย่างไรหนอ"

58     "หลังจากเคยบรรทมบนพระแท่นอันสะอาดซึ่งทำด้วยทองแล้วทรงตื่นขึ้นด้วยเสียงดนตรีในเวลากลางคืน วันนี้พระกุมารของฉันผู้กำลังบำเพ็ญพรตจักบรรทมบนแผ่นดินที่ปูลาดด้วยผ้าเพียงผืนเดียวอย่างไรหนอ"

59     หญิงเหล่านั้นได้ฟังคำพิลาปรำพันที่น่าสงสารนี้แล้วต่างโอบกอดกันและกันด้วยวงแขนและหลั่งน้ำตาออกจากนัยน์ตา เปรียบเหมือนเถาวัลย์ที่ถูกลมพันเอนไปเอนมาทำให้น้ำหวานตกลงจากดอกฉะนั้น

60     จากนั้น พระนางยโศธราผู้เปรียบเสมือนนกจักรวากีที่พลัดพรากจากนกจักรวากะ ทรงล้มลงบนพื้น พระนางผู้ทรงระทมทุกข์ได้พร่ำรำพันเบาๆ ถึงสิ่งนั้นสิ่งนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก ด้วยน้ำเสียงติดๆ ขัดๆ เพราะการสะอื้นว่า

61     "ถ้าพราวามีต้องการจะประพฤติธรรมโดยทอดทิ้งเราผู้ไร้ที่พึ่งและมีปกติประพฤติธรรมร่วมกับพระองค์ละก็ ธรรมของพระองค์ผู้ต้องการบำเพ็ญตบะโดยเว้นจากเราซึ่งมีปกติประพฤติธรรมร่วมกันจะมีได้อย่างไร"

62     "พระองค์คงจะไม่เคยฟังเรื่องราวของบรรพบุรุษผู้ทรงเป็นกษัตริย์ในปางก่อน ผู้เสด็จเข้าสู่ป่าพร้อมด้วยพระมเหสี เช่นกันพระมหาสุทรรศนะ เป็นแน่แท้ เพราะพระองค์ทรงปรารถนาจะประพฤติธรรมอย่างนั้นโดยเว้นจากเรา"

63     "อนึ่ง พระองค์คงจะไม่ทราบว่าสามีและภรรยาเป็นคู่บูชาที่บริสุทธิ์ตามคำสอนของพระเวทในเรื่องการบูชายัญและมีความปรารถนาที่จะเสวยผลของการบุชานั้นพร้อมกันในภพหน้า ดังนั้น พระองค์จึงเกิดความตระหนี่ในธรรมกับเรา"

64     "พระองค์ผู้ทรงรักในธรรมคงจะทราบว่าใจของเรามีความริษยาและชอบการทะเลาะตลอดเวลาเป็นแน่ พระองค์ผู้ไม่มีความกลัวเกรงจึงปรารถนาที่จะรับเอานางอัปสรในสวรรค์ หลังจากทอดทิ้งเราผู้กำลังโกรธเคืองไปอย่างเต็มใจ"

65     "เราคิดว่าหญิงทั้งหลายในเทวโลกนั้นจะต้องทรงไว้ซึ่งความงามและคุณสมบัติที่ดีอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่ พระสวามีจึงละทิ้งราชสมบัติและความภักดีของเราไปบำเพ็ญตบะในป่าเพื่อให้ได้หญิงเหล่านั้น"

66     "เราไม่ได้ปรารถนาความสุขในสวรรค์เลย (เพราะ) ความสุขนั้นหาได้ไม่ยากสำหรับคนที่ฝึกตนดีแล้ว แต่เรามีความปรารถนาว่าทำอย่างไรหนอพระสวามีผู้ทรงเป็นทีรักนั้นจึงจะไม่ทอดทิ้งเราทั้งในโลกนี้และโลกหน้า"

67     "ถ้าเราไม่มีโชคพอที่จะได้เห็นพระพักตร์ซึ่งมีพระเนตรยาวและมีรอยยิ้มอันบริสุทธิ์สดใสของพระสวามี แม้ราหุล ผู้อับโชคนี้ก็คงจะไม่ได้กลิ้งเกลือกในพระเพลาของพระบิดา ไม่ว่าในกาลไหนๆ"

68     "พระองค์ทรงทอดทิ้งได้กระทั่งพระโอรสผู้ยังเป็นทารก ผู้ส่งเสียงอ้อแอ้ และผู้ทำให้สุขใจ เช่นนี้ โอ้ พระทัยของพระองค์ผู้ทรงมีความเบิกบาน ผู้ทรงสง่างามเพราะความหนุ่มแน่น ช่างโหดร้ายและทารุณจริงหนอ"

69     "แน่นอน ใจของเราถึงแม้จะทำด้วยหินหรือทำด้วยเหล็ก เมื่อพระสวามีผู้ทรงคุ้นเคยกับความสุขทรงสละราชสมบัติเสด็จไปสู่ป่า ก็เหมือนกับไร้ที่พึ่ง (ใจนั้น) แม้จะไม่แตกสลายแต่ก็เจ็บปวดยิ่งนัก"

70     พระเทวีทรงเป็นสมหมดสติเพราะความโศกถึงพระสวามี ทรงกันแสง ทรงครุ่นคิด และทรงพร่ำเพ้ออยู่ ณ ที่นั้นซ้ำแล้วซ้ำอีกด้วยประการฉะนี้ แม้จะทรงมีพระทัยมั่นคงโดยธรรมชาติ แต่เพราะความโศกพระนางจึงไม่ทรงคิดถึงการควบคุมพระทัยและไม่ทรงละอายเลย

71     เมื่อเห็นพระนางยโศธราผู้ทรงว่าวุ่นพระทัยเนื่องจากความโศกและความพิลาปรำพันทรงล้มลงบนพื้นอย่างนั้น จากนั้นหญิงทั้งหลายจึงร้องไห้ระงมด้วยใบหน้าที่เปียกชุ่มด้วยน้ำตา ราวกับดอกบัวจำนวนมากมีหยาดฝนตกลงมากระทบ

72     ฝ่ายพระราชาครั้นทรงสาธยายมนตร์และทรงประกอบพิธีบูชาที่เป็นมงคลเสร็จแล้วจึงเสด็จออกจากเทวลัย แต่เมื่อถูกเสียงร้องไห้ระคนทุกข์ของประชาชนรบกวน พระองค์จึงทรงหวันไหวสะทกสะท้าน เหมือนกับพญาช้างถูกรบกวนด้วยเสียงของอสนีบาต

73     ครั้นทอพระเนตรเห็นนายฉันทกะและม้ากันถกะทั้งสองและได้สดับถึงการตัดสินพระทัยอันแน่วแน่ของพระโอรส พระราชาผู้ถูกความโศกครอบงำจึงทรงล้มลงเหมือนกับธงของพระอินทร์ ที่ตกลงเมื่องานเฉลิมฉลองเสร็จสิ้นแล้ว

๑ คำว่าพระอินทร์ในที่นี้ มาจากคำว่า ศจีปติ ซึ่งแปลว่า สวามีของนางศจี เพราะพระอินทร์มีชายานามว่าศจีนั่นเอง จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ศจีปติ

74     ต่อจากนั้นเพียงชั่วขณะ พระราชาผู้ทรงเป็นลมหมดสติเพราะความโศกถึงพระโอรสก็ทรงได้รับการประคองขึ้นโดยคนที่มีชาติเสมอกัน ขณะประทับยืนบนพื้นพระองค์ทอดพระเนตรม้าด้วยพระเนตรที่เปียกชุ่มด้วยพระอัสสุชลทรงรำพันว่า

75     "กันถกะเอ๋ย หลังจากทำงานที่น่าพอใจมากมายในสนามรบให้แก่เราแล้ว เจ้าก็ทำสิ่งที่ไม่น่าพอใจอย่างมาก พระกุมารผู้รักในความดีซึ่งเป็นลูกรักของเรา ถึงแม้จะเป็นที่รัก (ของเจ้า) แต่เจ้าก็ยังนำเขาไปปล่อยทิ้งไว้ในป่าเหมือนกับเขาไม่เป็นที่รัก"

76     "ดังนั้น วันนี้เจ้าจงนำเราไปยังที่ที่ลูกของเราอยู่ หรืออีกอย่างหนึ่งเจ้าจงไปโดยเร็ว จงนำลูกของเรากลับมาอีก เพราะเว้นจากลูกแล้วเราก็ไม่อาจจะมีชีวิตอยู่ได้ เปรียบเหมือนคนที่ป่วยหนัก (ไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้) เมื่อเว้นจากยาที่ถูกกับโรค"

77     "การที่สัญชัย ไม่ตายในขณะที่สุวรณนิษฐีวิน ถูกความตายพรากจากไปนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยากยิ่ง ส่วนตัวเราเมื่อลูกผู้ใฝ่ในธรรมหนีไปแล้วก็มีแต่ต้องการจะปล่อยดวงวิญญาณ (อาตมัน) ให้หลุดลอยไป เหมือนกับคนที่ควบคุมตนไม่ได้"

78     "เพราะว่าแม้หทัยของพระมนุ ผู้เป็นโอรสของวิวัสวัต ผู้รอบรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนและเกิดขึ้นภายหลัง ผู้ทรงเป็นใหญ่แห่งชาวโลก ผู้ทรงก่อตั้งอาณาจักรทั้งสิบ ผู้ทรงกล้าหาญจะไม่พึงสับสนได้อย่างไรเมื่อเว้นจากโอรสผู้เป็นทีรักซึงมีแต่คุณความดี"

79     "เราช่างอิจฉาพระราชาผู้ทรงเป็นสหายของพระอินทร์ซึ่งเป็นพระโอรสที่ชาญฉลาดของพระเจ้าอชะ ครั้นเมื่อพระโอรสเสด็จไปสู่ป่า พระองค์ก็เสด็จไปสู่สวรรค์เสียเลย ไม่ทรงประทับอยู่อย่างทรมานด้วยพระอัสสุชลที่เปล่าประโยชน์"

80     ดูก่อนม้าตัวประเสริฐ เจ้านำลูกผู้จะเอามือกอบน้ำ (ในพิธีรดน้ำศพ) ของเราไปไว้ที่อาศรมแห่งใด จงบอกที่ตั้งอาศรมแห่งนั้นมาเถิด เพราะว่าลมหายใจของเราผู้กระหายน้ำและต้องการจะไปสู่ทางแห่งความตายกำลังอยากพบลูกคนนั้น"

81     พระราชาผู้ทรงเกิดความทุกข์เพราะการพลัดพรากจากพระโอรสทรงละความมีพระทัยมั่นคงดั่งแผ่นดินอันมีมาแต่กำเนิดแล้วพร่ำรำพันมากมายราวกับคนเสียสติ เปรียบเหมือนพระเจ้าทศรถ ผู้ตกอยู่ในอำนาจแห่งความเศร้าโสกถึงพระรามฉะนั้น

82     จากนั้น พระราชครูผู้ฉลาดผู้มีคุณสมบัติดีทั้งด้านการศึกษาและความประพฤติ และปุโรหิตผู้มีอายุมาก (ทั้งสอง) ไม่แสดงสีหน้าเป็นทุกข์แต่อย่างใด แม้ว่าจะมีความโศกอยู่ก็ตาม (ทั้งสอง)ได้พร้อมกันกราบทูลคำนี้กับพระราชาตามความเหมาะสมว่า

83     "ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐในหมู่ชน ขอพระองค์จงละความโศกและจงมีพระทัยมันคงเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงมีพระทัยหนักแน่น ไม่ควรเลยที่พระองค์จะหลั่งพระอัสสุชลเหมือนดั่งคนที่ควบคุมตนไม่ได้ เพราะกษัตริย์จำนวนมากในโลกหลังจากสละราชสมบัติซึ่งเปรียบเสมือนมาลัยที่ถูกเหยียบย่ำแล้วต่างก็เสด็จไปสู่ป่าทั้งนั้น"

84     "อีกประการหนึ่ง การตัดสินพระทัยของพระกุมารนั้นก็ถูกกำหนดไว้แล้วล่วงหน้า ขอจงระลึกถึงคำพูดของอสิตฤาษีในครั้งก่อนโน้น เพราะว่าใครๆ ก็ไม่อาจจะทำให้พระกุมารนั้นประทับอยู่ในสวรรค์หรือในราชสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิโดยง่ายแม้แต่ชั่วขณะ"

85     "ข้าแต่ผู้ประเสริฐในหมู่มนุษย์ แต่ถ้าจะทำความพยายามจริงๆ ละก็ ขอพระองค์จงรับสั่งโดยเร็วเถิด หม่อมฉันทั้งสองจะไป ณ ที่นั้นเดี๋ยวนี้ ในเรื่องนี้ขอจงมีความพยายามที่หลากหลายทั้งต่อพระโอรสของพระองค์และต่อแนวทางนาการปฏิบัติ"

86     ครั้งนั้น พระราชาทรงรับสั่งแก่พระราชครูและปุโรหิตทั้งสองว่า "ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งสองจงรีบออกเดินทางไปจากที่นี่โดยเร็ว เพราะว่าใจของเราไม่สงบนิ่งเลย เปรียบเหมือนใจของนกป่าที่อยากได้ลูกน้อยกลับคืน ฉะนั้น"

87     พระราชครูและปุโรหิตทั้งสองกราบทูลว่า "พะยะค่ะ" ดังนี้แล้วจึงออกเดินทางไปยังป่านั้นตามพระบรมราชโองการ ฝ่ายพระราชาพร้อมทั้งพระสุณิสาและพระมเหสีเมื่อทรงใคร่ครวญว่า "สิ่งนี้ได้ทำแล้ว" จึงได้ทรงประกอบพิธีที่เหลือต่อไป

สรรคที่ 8 ชื่อ นนฺตะปุรวิลาป (การพิลาปรำพันของพระสนมฝ่ายใน)

ในมหากาพย์พุทธจริต จบเพียงเท่านี้

**********

 

สรรคที่9

 

สรรคที่ 9

กุมารานฺเวษโณ นาม นวมะ สรฺคะ

ชื่อ กุมารานฺเวษณ

การติตามค้นหาพระกุมาร

1     ต่อมาการในครั้งนั้น พระราชครูและปุโรหิตทั้งสองผู้ถูกพระราชาเฆี่ยนตีด้วนแส้คือพระอัสสุชล จึงออกเดินทางไปสู่ป่านั้นอย่างรวดเร็วด้วยความจงรักภักดีและด้วยความพยายามทุกวิธี ดุจม้าพันธุ์ดีทั้งสองถูกสารถีโบยตีด้วนแส้ฉะนั้น

2     ในเวลาต่อมา ทั้งสองผู้ออกติดตามพร้อมด้วยบริวารตามสมควร ผู้เกิดความอ่อนล้า (ในการเดินทาง) ก็ได้บรรลุถึงอาศรมนั้น เมื่อพักกองเกียรติยศของพระราชาไว้แล้วจึงเข้าไปยังที่พำนักของฤาษีภารควะ ด้วยกริยาที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี

3     เมื่อไหว้ฤาษีภารควะตามธรรมเนียมปฏิบัติและได้รับการเชื้อเชิญตามความเหมาะสมแล้ว ทั้งสองจึงนั่งลงบอกธุระของตนกับฤาษีผู้นั่งอยู่บนอาสนะโดยไม่พูดจาอ้อมค้อมว่า

4     "ขอท่านโปรดจงรู้จักคนผู้นี้  (ข้าพเจ้าทั้งสอง) ว่าเป็นผู้ทำหน้าที่รักษากฏมณเฑียรบาลและทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของพระราชาผู้สืบเชื้อสายแห่งราชวงศ์อิกษวากุ ผู้มีพระราชอำนาจบริสุทธิ์และมีพระเกียรติยศใสสะอาดและแผ่ไพศาล"

5     ได้ยินว่าพระกุมารผู้เปรียบดังพระชยันตะ ของพระราชาผู้เปรียบดังพระอินทร์นั้นปรารถนาจะข้ามพ้นภัยคือชราและมรณะจึงได้เสด็จมาที่นี่ ขอท่านจงทราบว่าข้าพเจ้าทั้งสองเดินทางมาเพราะเหตุแห่งพระกุมารพระองค์นั้น"

๑ พระชันตระ หมายถึง โอรสของพระอินทร์

6     ฤาษีภารควะกล่าวกับทั้งสองว่า "พระกุมารผู้มีพระพาหายาวนั้นเสด็จมาถึงแล้ว แม้จะทรงเป็นหนุ่มแต่ก็มิได้ปราศจากความรู้ เมื่อทรงทราบว่าธรรม (ของเรา)นี้ยังเกี่ยวข้องกับการเกิดใหม่ พระองค์ผู้ปรารถนาความหลุดพ้นจึงได้เสด็จมุ่งหน้าไปยังสำนักของอราฑดาบส"

7     จากนั้น พระราชครูและปุโรหิตทั้งสองครั้นทราบความจริงจากฤาษีนั้นแล้วจึงได้อำลาท่านไปในเวลานั้นทันทีเพราะความจงรักภักดีต่อพระราชา ทั้งๆที่เหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า แต่ก็เหมือนกับไม่อ่อนล้า ต่างพากันออกเดินทางไปยังทิศที่พระกุมารเสด็จไป

8     จากนั้น เมื่อทั้งสองเดินทางไปก็ได้พบพระกุมารประทับนั่งอยู่ที่โคนต้นไม้ใกล้หนทาง ถึงแม้พระองค์จะมิได้ประดับด้วยภูษณาภรณ์แต่ก็ทรงรุ่งเรืองด้วยความงามแห่งพระวรกาย ดุจพระอาทิตย์ที่เคลื่อนเข้าสู่วงล้อมแห่งก้อนเมฆฉะนั้น

9     จากนั้น เมื่อพักยานพาหนะไว้แล้ปุโรหิตหรือด้วยพระราชครูจึงเข้าไปเฝ้าพระกุมาร ดุจดังฤาษีเอารวเศยะ พร้อมด้วยฤาษีวามเทวะ ปรารถนาจะเข้าเฝ้าพระรามผู้ประทับอยู่ในป่าฉะนั้น

10     ทั้งสองถวายบังคมพระกุมารตามสมควรแก่ประเพณี ดุจพระศุกระ และพระอางคิรัส ถวายบังคมพระอินทร์ในสวรรค์ ฝ่ายพระกุมารก็ทรงมีปฏิสันถารกับทั้งสองนั้นตามสมควรดุจพระอินทร์มีปฏิสันถารกับพระศุกระและพระอางคิรัสฉะนั้น

๑ อางคิรัส หมายถึง ผู้ถือกำเนิดจากพระอังคิรัส ในที่นี้ได้แก่พระพฤหัสปติ

11     จากนั้นเมื่อได้รับพระอนุญาตแล้ว พระราชครูและปุโรหิตทั้งสองจึงนั่งลงข้างๆ พระกุมารผู้เป็นธงชัยแห่งราชวงศ์ศากยะ ทั้งสองรุ่งเรืองอยู่ใกล้กับพระกุมารเหมือนกับดาวปุนรวสุ สองดวงโคจรมาพบกับพระจันทร์

12     ปุโรหิตกราบทูลพระกุมารผู้ประทับนั่งรุ่งเรืองอยู่ที่โคนต้นไม้เหมือนกับพระพฤหัสปติ กราบทูลพระชยันตะ ผู้เป็นโอรสของพระอินทร์ขณะประทับอยู่ที่ต้นปาริชาตะในสวรรค์ว่า

13     "ข้าแต่พระกุมาร ขอพระองค์จงสดับพระราชกระแสรับสั่งที่พระราชาผู้ทรงหลั่งพระอัสสุชลจากพระเนตร ผู้ทรงเป็นลมหมดสติไปชั่วขณะบนภาคพื้น ในขณะที่ลูกศรคือความโศกทิ่มแทงพระทัยตรัสฝากมาถึงพระองค์ว่า"

14     พ่อรู้ถึงการตัดสินใจที่มุ่งมั่นต่อธรรมของเจ้า พ่อรู้ว่านี้เป็นเป้าหมายที่จะต้องมีในอนาคตของเจ้า (แต่) เพราะเจ้าเข้าไปอาศัยป่าในเวลาที่ไม่สมควร พ่อจึงถูกแผดเผาด้วยไฟคือความโศกซึ่งเหมือนกับไฟจริงๆ"

15     "แน่ะลูกผู้รักในธรรม ดังนั้น เจ้าจงกลับมาเพื่อแสดงความรักต่อพ่อและเพื่อประโยชน์แก่ธรรมด้วยเถิด เจ้าจงละความตั้งใจนั้นเสีย เพราะกระแสแห่งความโศกนี้กำลังท่วมทับพ่อเหมือนกับกระแสน้ำที่เพิ่มขึ้นกำลังกัดเซาะตลิ่งฉะนั้น"

16     "ลม พระอาทิตย์ ไฟ และอสนีบาตที่รุนแรงมีการกระทำเช่นใดต่อเมฆ น้ำ หญ้าแห้ง และภูเขา ความโศกก็กระทำพฤติกรรมเช่นนั้นต่อพ่อ ด้วยการกระพือพัด ทำให้แห้งผาก เผาไหม้ และทำลาย"

17     "เจ้าจงเสวยความเป็นใหญ่ในแผ่นดินนี้ก่อน เจ้าจักได้ไปสู่ป่าในเวลาอันสมควรตามที่ปรากฏในคัมภีร์ทั้งหลาย เจ้าจงคำนึงถึงพ่อซึ่งเป็นผู้ที่เจ้าไม่ต้องการด้วยเถิด เพราะความเอื้อเฟื้อในสรรพสัตว์นั้นจัดเป็นธรรม"

18     "ธรรมนี้จะสำเร็จแต่เฉพาะในป่าเท่านั้นก็หาไม่ แม้ในเมืองคนที่ควบคุมตนได้ก็มีความสำเร็จที่แน่นอนได้เหมือนกัน ความตั้งใจและความพยายามเป็นสิ่งสำคัญในเรื่องนี้ เพราะป่าและเพศ (บรรพชิต) เป็นเครื่องหมายของคนขี้ขลาด"

19     พระราชาทั้งหลายแม้ประทับในพระราชวัง ดำรงอยู่ท่ามกลางตักของพระลักษมี (ราชสมบัติ) ทรงสวมมงกุฎ มีสร้อยสังวาลย์ห้อยระย้าลงจากพระอังสะและมีพระพาหาผูกรัดด้วยกำไล ก็สามารถจะบรรลุธรรมคือความหลุดพ้นนั้นได้"

20     พระอนุชาทั้งสองของพระเจ้าธรุวะ คือพลิและวัชรพาหุ พระเจ้าไวภราชะ พระเจ้าอาษาฒะ พระเจ้าอันติเทวะ พระเจ้าชนก ผู้ทรงเป็นราชาแห่งขาววิเทหะ พระเจ้าศาลวรุมะ และพระเจ้าเสนชิตทั้งหลาย"

21     "เจ้าจงรู้ว่าพระราชาทั้งหมดนั้นถึงจะประทับอยู่ในพระราชวังแต่ก็ทรงฝึกฝนตนในแนวทรงแห่งธรรมอันเป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิตได้ ดังนั้น เจ้าจงเสวยความเป็นใหญ่ในการควบคุมจิตใจของตนและจงเสวยราชสมบัติแม้ทั้งสองอย่างไปพร้อมกันเถิด"

22     เพราะว่าเมื่อพ่อสวมกอดเจ้าผู้ได้รับการอภิเษกจนเปียกชุ่มด้วยน้ำอย่างหนักแน่นและเห็นเจ้าดำรงอยู่ภายใต้ร่มฉัตรที่กางกั้นแล้ว พ่อก็ปรารถนาจะเข้าไปสู่ป่าด้วยความสบายใจเหมือนกัน"

23     "พระราชาทรงรับสั่งถึงพระองค์ด้วยพระดำรัสที่มีน้ำเสียงปนด้วยพระอัสสุชลดังนี้ เมื่อได้สดับแล้วพระองค์ก็ควรจะตอบแทนความรักของพระราชบิดาด้วยความรักเพื่อทำให้พระราชบิดานั้นทรงพอพระทัย"

24     "เพราะว่า พระเจ้าศากยะกำลังจมลงในห้วงมหาสมุทรแห่งทุกข์อันล้ำลึก ซึ่งมีน้ำคือความโศกอันเกิดจากพระองค์ ดังนั้น พระองค์จงช่วยเหลือพระราชบิดาผู้ไร้ที่พึ่งให้รอดจากทุกข์ เหมือนกาบเรือช่วยคนผู้ไร้ที่พึ่งซึ่งกำลังจมลงในห้วงมหาสมุทรไห้รอดพ้นฉะนั้น"

25     "หลังจากได้ฟังกรรมที่ภีษมะ ผู้เกิดจากครรภ์ของพระนางคงคากระทำ และได้ฟังกรรมที่รามจันทร์และพระรามผู้สืบสายของพระภฤคุ กระทำแล้ว แม้พระองค์ก็ควรทำตามพระประสงค์ของพระราชบิดาเพื่อทำให้พระองค์ทรงพอพระทัย"

26     "ขอพระองค์จงทราบว่าพระราชเทวีผู้ทรงเลี้ยงดูพระองค์จนเติบใหญ่ก็ทรงเป็นทุกข์และกันแสงอย่างน่าสงสารตลอดเวลา ราวกับแม่โคซึ่งมีความรักในลูกน้อยได้มีลูกน้อยหายไป ผู้ยังไม่เสด็จไปสู่ดินแดน (แห่งความตาย) ที่ฤาษีคัสตยะอาศัยอยู่"

27     "พระองค์ควรจะช่วยเหลือพระชายาผู้ทรงระทมทุกข์ผุ้แม้จะมีพระสวามีแต่ก็ปราศจากที่พึ่งผู้เปรียบเสมือนหงส์ตัวเมียที่พลัดพรากจากหงส์ตัวผู้ และเปรียบเสมือนช้างพังที่พลัดพรากจากช้างพลายในป่า ด้วยการแสดงพระองค์ให้เห็น"

28     "ขอพระองค์จงช่วยพระราหุลผู้ทรงเป็นโอรสพระองค์เดียวที่ยังทรงพระเยาว์ ผู้ไม่ควรจะมีทุกข์แต่ต้องแบกความเจ็บปวดซ่อนไว้ภายใน ให้หลุดพ้นจากความเศร้าโศกถึงพระบิดา เหมือนกับช่วยปลดเปลื้องพระจันทร์เพ็ญออกจากการอมของราหู"

29     "เมื่อถูกเผาด้วยไฟคือความโศก อันมีความพลัดพรากจากพระองค์เป็นเชื้อเพลิง มีความคะนึงหาเป็นควัน และมีความเศร้าใจเป็นเปลว พระราชวังฝ่ายในและเมืองทั้งหมดจึงอยากได้น้ำคือการเห็นพระองค์"

30     พระกุมารโพธิสัตว์ ผู้ทรงบริบูรณ์ด้วยบุญญาธิการ ผู้ทรงมีคุณความดีและทรงทราบถึงสิ่งที่เป็นคุณความดีพระองค์นั้นหลังจากสดับถ้อยคำของปุโรหิตก็ทรงไคร่ครวญอยู่ชั่วขณะแล้วจึงตรัสตอบอย่างนุ่มนวล

31     ฉันเข้าใจความรู้สึกของบิดามารดาที่มีต่อลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้สึกของพระราชาที่มีต่อฉัน แม้จะรู้อยู่ แต่ฉันก็กล้วต่อพยาธิ ชราและมรณะ จึงได้ละทิ้งพระประยูรญาติโดยไม่มีทางเลือก"

32     "เพราะถ้าไม่มีความพลัดพรากจากคนรักในที่สุดละก็ ใครเล่าจะไม่อยากเห็นญาติผู้เป็นที่รักของตน แต่เพราะความพลัดพรากยังมีอยู่แม้ว่าจะมีมานานแล้ว ดังนั้น ฉันจึ่งได้ทอดทิ้งพระราชบิดาผู้ทรงเป็นที่รัก"

33     ส่วนที่ท่านกล่าวว่าพระราชาทรงมีความโศกเพราะสาเหตุมาจากฉันนั้น ฉันไม่ชอบใจเลยที่พระองค์ทรงมีความทุกข์ก็เพราะการอยู่ร่วมกันที่เป็นเหมือนความฝัน (และ) เพราะความพลัดพรากที่จะมีในอนาคตต่างหาก"

34     "เมื่อเห็นความเป็นไปของโลกที่มีมากมายอย่างนี้ ความคิดของท่านก็จะถึงการตัดสินใจได้ว่าสาเหตุแห่งความทุกข์ ไม่ใช่บุตร ไม่ใช่บิดา แต่ความทุกข์นี้เป็นผลมาจากความไม่รู้ (อชฺญาน)"

35     "ปวงประชาที่มาพบกันในโลกนี้เปรียบเสมือนคนเดินทาง จะต้องพลัดพรากจากกันในเวลาอันสมควรอย่างแน่นอน ผู้มีปัญญาคนใดเล่าเมื่อญาติพี่น้องละทิ้งไปจะมัวแต่เศร้าโศกเสียใจ"

36     "บุคคลทอดทิ้งญาติของตนในโลกอื่นแล้วจึงมายังโลกนี้ และครั้นได้ญาติในโลกนี้แล้วเขาก็ลาจากไปอีก ถึงไปแล้วในโลกถัดจากนี้ เขาก็ยังจะไปยังโลกอื่นอีก เมื่อเป็นเช่นนี้ยังจะมีความผูกพันอะไรกับคนที่ทอดทิ้งตนไปเล่า"

37     อนึ่ง เพราะความตายเป็นไปเพื่อการฆ่าในทุกสภาวะนับแต่อยู่ในครรภ์เป็นต้นมา เพราะเหตุใดเล่าพระราชาผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินและผู้ทรงรักใคร่บุตรพระองค์นั้นจึงได้ตรัสบอกถึงการเข้าไปอาศัยป่าแก่ฉันในเวลาที่ไม่สมควร

38     "พระราชาทรงแสดงว่าในการละจากวัตถุเครื่องเร้าอารมณ์ยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสม ขณะเดียวกันก็ทรงแสดงว่าในการครอบครองทรัพย์สมบัติทางโลกเป็นเวลาที่เหมาะสม (แต่) พระกาลย่อมฉุดคร่าชาวโลกไปตลอดเวลา (ดังนั้น) ในการบรรลุผลสำเร็จอันเป็นความดีสูงสุด เวลาที่เหมาะสมจึงไม่มี"

39     อนึ่ง ที่พระราชาทรงปรารถนาจะสละราชสมบัติให้แก่ฉัน ข้อนั้นนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณและเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับพระราชบิดา แต่ฉันก็ไม่ควรจะรับเอาราชสมบัตินั้นเลย เปรียบเหมือนคนป่วยไม่ควรรับเอาอาหารที่แสลงโรคเพราะความโลภฉะนั้น"

40     "คนฉลาดควรจะครองความเป็นกษัตริย์ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งโมหะ ในที่ที่มีแต่ความวุ่นวาย มีแต่ความมัวเมา มีต่าความอ่อนล้า และมีแต่การทำลายคุณธรรมด้วยการประพฤติผิดต่อฝ่ายตรงข้ามได้อย่างไรเล่า"

41     "ราชสมบัติเป็นสิ่งที่น่าอภิรมย์ก็จริง แต่มันก็เป็นที่อยู่อาศัยแห่งความพินาศ เปรียบเสมือนปราสาททองที่กำลังถูกไฟไหม้ เปรียบเสมือนอาหารชั้นเลิศที่ระคนด้วยยาพิษ และเปรียบเหมือนสระบัวที่คราคร่ำด้วยจระเข้ฉะนั้น"

42     "อนึ่ง ราชสมบัติไม่ใช่ทั้งสุข ไม่ใช่ทั้งธรรม ดังนั้นพระราชาทั้งหลายในปางก่อนเมื่อทรงเกิดความเบื่อหน่ายจึงได้สละราชสมบัติเสด็จไปสู่ป่าในยามที่ก้าวเข้าสู่วัยชราซึ่งเป็นความทุกข์ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้"

43     การยึดถือความสันโดษอย่างยิ่งดุจถือเอารัตนะอย่างมั่นคงแล้วบริโภคพืชสมุนไพรในป่ายังดีเสียกว่า การอยู่ร่วมกับทรัพย์ที่ได้มาง่ายๆ ซึ่งมีโทษเหมือนกับงูพิษและไม่ควรมองดูไม่ดีเลย"

44     การที่พระราชาทั้งหลายทรงสละราชสมบัติแล้วเสด็จไปสู่ป่าด้วยความปรารถนาในธรรมนั้นเป็นสิ่งที่น่ายกย่อง แต่การที่บุคคลทำลายคำปฏิญาณแล้วละทิ้งป่ากลับไปสู่เรือนนับว่าไม่ควรเลย"

45     คนผู้เกิดในตระกูลสูงและมีคุณสมบัติคนใดเล่า เมื่อเข้าสู่ป่าด้วยความรารถนาในธรรมแล้วจะพึงละทิ้งผ้ากาสายะไปอาศัยเมืองของพระอินทร์ (ตาย) โดยไม่รู้สึกระอาย"

46     "เพราะว่าผู้ใดกลืนกินอาหารที่ตนสำรอกออกมาซ้ำอีกเพราะความโลภ เพราะความหลง หรือเพราะความกลัว ผู้นั้นก็พึงรับเอาวัตถุที่น่าใคร่ทั้งหลายกลับคืนอีกเพราะความโลภ เพราะความหลง หรือเพราะความกลัว หลังจากละทิ้งพวกมันไปแล้ว"

47     "อนึ่ง ผู้ใดหนีออกจากเรือนที่กำลังถูกไฟไหม้ได้แล้วพึงหวนกลับเข้าไปสู่เรือนนั้นอีก ผู้นั้น เมื่อละทิ้งความเป็นผู้ครองเรือนได้แล้วและเห็นโทษของมันแล้วก็พึงปรารถนาจะรับเอาความเป็นผู้ครองเรือนเพราะความหลงผิดอีก"

48     อนึ่ง เรื่องที่ฟังสืบต่อกันมาว่าพระราชาทั้งหลายผู้ประทับอยู่ในปราสาทก็สามารถบรรลุความหลุดพ้นได้ข้อนั้นหาเป็นจริงไม่ (เพราะ) โมกษธรรมซึ่งมีความสงบเป็นสำคัญและราชธรรมซึ่งมีการลงทัณฑ์เป็นสำคัญจะอยู่ร่วมกันได้ที่ไหน"

49     "ถ้าพระราชาทรงยินดีในความสงบ ราชอาณาจักรก็จะอ่อนแอ แต่ถ้าทรงมีพระทัยฝักใฝ่ในราชอาณาจักร พระองค์ก็จะสูญเสียความสงบ เพราะว่าความสงบและความรุนแรงไม่เหมาะแก่กัน เปรียบเหมือนการรวมกันของความเย็นและความร้อน หรือของน้ำและไฟ เข้ากันไม่ได้"

50     "ดังนั้น พระราชาผู้ทรงได้รับความสงบหลังจากทรงสละราชสมบัติก็ดี หรือพระราชาผู้ทรงดำรงอยู่ในราชสมบัติโดยสำคัญตนว่าได้บรรลุโมกษะเพราะสามารถควบคุมอินทรีย์ได้ก็ดี ต่างก็ตกอยู่ในสภาวะที่ไม่ใช่สิ่งสูงสุดอย่างแน่นอน"

51     "ขอความสงบร่มเย็นจงมีในราชอาณาจักรของพระราชาเหล่านั้นตามสมควรเถิด ฉันไม่ได้เข้าป่าเพราะการตัดสินใจผิดหรอก เพราะว่าฉันตัดบ่วงคือเรือนและพระประยูรญาติได้แล้ว เป็นอิสระแล้ว จึงไม่ต้องการหวนกลับไปอีก"

52     ครั้นได้ฟังพระกุมารตรัสถ้อยคำที่เหมาะสมกับความรู้และคุณธรรมของพระองค์โดยไม่มีความปรารถนาใดๆ ทั้งยังหนักแน่นด้วยเหตุผลอย่างนั้น ฝ่ายพระราชครูจึงกราบทูลตอบไปว่า

53     "การตัดสินพระทัยของพระองค์เพื่อการประพฤติธรรมจะไม่เหมาะสมก็หาไม่ เพียงแต่การตัดสินพระทัยของพระองค์นี้ยังไม่เหมาะแก่เวลา เพราะว่าสิ่งนี้ไม่ควรจะเป็นธรรมสำหรับพระองค์ผู้ทรงฝักใฝ่ในธรรมเนื่องจากทรงทอดทิ้งพระราชบิดา ผู้ชราภาพไว้ในความเศร้าโศก"

54     "อนึ่ง การตัดสินพระทัยของพระองค์ผู้ทรงเบื่อหน่ายทรัพย์ที่เห็นประจักษ์ด้วยตาแล้วเสด็จไปเพื่อผลที่ยังมองไม่เห็นนับว่าไม่ใช่ความคิดที่หลักแหลมและไม่ใช่ความคิดที่ฉลาดในเรื่องธรรม อรรถและกามอย่างแน่นอน"

55     "คนบางพวกกล่าวว่าการเกิดใหม่มี แต่บางพวกกล่าวยืนยันด้วยความมั่นใจว่าการเกิดใหม่ไม่มี เพราะยังเป็นที่สงสัยกันอยู่อย่างนี้ ฉะนั้น พระองค์จึงควรจะเสวยราชสมบัติที่อยู่ใกล้ๆเสียก่อน"

56     ถ้ายังมีการเกิดใหม่อีก เราทั้งหลายก็พึงยินดีกับการเกิดใหม่ตามที่ได้รับนั้น แต่ถ้าไม่มีการเกิดใหม่ในโลกหน้า ความหลุดพ้นของชาวโลกก็ถือว่าสำเร็จแล้วโดยไม่ต้องใช้ความพยายาม"

57     "คนบางพวกกล่าวว่าโลกหน้ามี แต่ไม่ได้อธิบายวิธีเข้าถึงความหลุดพ้น เพราะพวกเข้าสอนว่ามีประกฤติ ในการเกิดใหม่ เหมือนกับกล่าวถึงความร้อนของไฟและความเปียกของน้ำ"

๑ ประกฤติ (ปรฺกฺฤติ) ตามปรัชญาสางขยะหมายถึง ธาตุแท้ของธรรมชาติ หรือสิ่งที่กระทำให้โลกนี้ปรากฏขึ้น มี 2 อย่าง คือปรา และ อปรา อย่างต้นได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ มนัส พุทธิ อหังการ อย่างหลังได้แก่ ปฺรธาน หรือมูลเหตุของโลก ประกฤติประกอบด้วยคุณ 3 ประการ คือ สัตตวะ (สตฺตฺว) รชัส(รชสฺ)  และตมัส (ตมสฺ) สัตตวะมีลักษณะเด่นในทางความเป็นเบิกบานและสงบ ความเจิดจ้าและแสงสว่าง เป็นฝ่ายเบา ลอยขึ้นสู่เบื้องบน ดำรงอยู่อย่างสม่ำเสมอ เป็นลักษณะของความดี  รชัส เป็นความไม่อยู่นิ่ง ความเปลี่ยนแปลง ความดิ้นรน ความเคลื่อนไหว ความไม่สงบ ความกระวนกระวาย  ส่วนตมัส เป็นความหนัก ความถ่วง ความจม ความเฉี่ยย ความมืดและความเชื่องซึมเหงาหงอย ความหดหู่ ความหยุดนิ่ง

58     "คนบางพวกอธิบายว่าความดีและความชั่ว ความมีและความไม่มี เกิดจากธรรมชาติ (สฺวภาว) และเพราะทุกสิ่งทุกอย่างเกิดจากธรรมชาติ ดังนั้น ความพยายามจึงสูญเปล่า"

59     "เพราะว่าการทำงานของอินทรีย์ถูกกำหนดไว้แล้ว ทั้งความน่ายินดีและไม่น่ายินดีก็มีอยู่ในวัตถุเครื่องเร้าอารมณ์ทั้งหลาย อนึ่ง เพราะคนยังมีความเกี่ยวข้องกับชราและความเจ็บป่วย ในเรื่องนั้นจะต้องมีความพยายามอะไรเล่า นั้นเป็นธรรมชาติ(สฺวภาว) มิใช่หรือ

60     "ไฟย่อมดับเพราะน้ำและน้ำย่อมเหือดแห้งเพราะไฟ ธาตุทั้งหลายที่แยกกันอยู่ตามธรรมชาติ เมื่อรวมกันเป็นรูปร่างและเชื่อมต่อกันเป็นหนึ่งเดียวย่อมก่อให้เกิดโลกได้"

61     "เพราะสัตว์ที่อาศัยอยู่ในครรภ์มีมือ เท้า ท้อง หลัง และศีรษะ พัฒนาขึ้น และเพราะมีการรวมกันของวิญญาณ (อาตมัน) เข้ากับสิ่งนั้น (อวัยวะที่พัฒนาขึ้นเป็นร่างกาย) ท่านผู้รู้ในเรื่องนี้จึงกล่าวว่ามันเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ"

62     "ใครเล่าสร้างความแหลมให้กับหนาม หรือว่าใครเล่าสร้างความหลากหลายให้กับเนื้อและนก สรรพสิ่งนี้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่มีสิ่งใดทำตามได้ความต้องการของตนเอง (ดังนั้น) ความพยายามจะมีแต่ที่ไหน"

63     "ในทำนองเดียวกัน คนบางพวกกล่าวว่าการสร้างโลกมาจากพระเจ้า (อีศวร) ในกรณีนั้นความพยายามของบุรุษจะมีประโยชน์อะไร (เพราะ) ผู้ที่เป็นสาเหตุทำให้โลกเกิดนั้นก็ถูกกำหนดว่าเป็นสาเหตุทำให้โลกดับด้วย"

64     "คนบางพวกกล่าวว่าการเกิดภพและความสิ้นภพมีสาเหตุมาจากวิญญาณ (อาตฺมนฺ) นั่นเอง แต่พวกเขาอธิบายว่า การเกิดภพมีได้โดยไม่ต้องใช้ความพยายาม และกล่าวว่าการบรรลุโมกษะมีได้ด้วยความพยายาม"

65     "มนุษย์ปลดเปลื้องหนี้บรรพบุรุษทั้งหลายด้วย (การให้กำเนิด)บุตรหลาน ปลดเปลื้องหนี้ฤาษีทั้งหลายด้วย (การศึกษา) พระเวท ปลดเปลื้องหนึ้เทวดาทั้งหลายด้วย (การถวาย) เครื่องพลีกรรม มนุษย์เกิดมาพร้อมกับหนี้สามอย่างนี้ ได้ยินว่าผู้ใดปลดเปลื้องหนี้สามอย่างนั้นได้ โมกษะย่อมมีแก่ผู้นั้น"

66     "ผู้รู้ในเรื่องนั้นกล่าวว่าโมกษะจะมีแก่คนที่ทำความพยายามไปตามลำดับขั้นตอนของวิธีนั้นด้วยประการฉะนี้ ส่วนผู้ต้องการบรรลุโมกษะแม้จะมีความพยายามด้วยเรี่ยวแรงของตนก็ย่อมได้รับเพียงความเหน็ดเหนื่อยเท่านั้น"

67     "ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระทัยอ่อนโยน ดังนั้นถ้าความศรัทธาในโมกษะยังมีอยู่ ขอพระองค์จงประพฤติตามวิธีที่ข้าพระองค์ได้กราบทูลแล้วด้วยเหตุด้วยผล การบรรลุโมกษะของพระองค์และการระงับความเจ็บปวดของพระราชาก็จักมีขึ้น (พร้อมกัน) ด้วยประการฉะนี้

68     "อนึ่ง ที่พระองค์ทรงคิดว่าการกลับจากป่าบำเพ็ญตบะคืนสูพระราชวังเป็นความผิดนั้น ข้าแต่พระราชโอรส ขอพระองค์อย่าได้มีความปริวิตกกังวลในเรื่องนั้นเลย แม้บรรพบุรุษทั้งหลายต่างก็พากันกลับจากป่าคืนสู่พระราชวังของตนเหมือนกัน"

69     "พระเจ้าอัมพรีษะ แม้จะประทับอยู่ในป่าบำเพ็ญตบะแล้ว ต่อมาเมื่อประชาชนพากันห้อมล้อมก็ยังเสด็จกลับไปสู่เมือง ในทำนองเดียวกันพระราม ครั้นเสด็จกลับจากป่าบำเพ็ญตบะแล้วก็ยังปกครองแผ่นดินที่มีพวกอนารยชนคุกคาม"

70     "ในทำนองเดียวกัน พระราชาแห่งชาวศาลวะ ทรงพระนามว่าทรุมะ ก็ยังเสด็จกลับจากป่าเข้าสู่เมืองพร้อมด้วยพระโอรส ฝ่ายพระเจ้าสำกฤติอันติเทวะ ถึงแม้จะเป็นพรหมฤาษี แต่ก็ยังรับเอาราชสมบัติจากฤาษีวสิษฐะ

71     "พระราชาทั้งหลายผู้ทรงรุ่งเรืองด้วยพระเกียรติยศทางธรรมเช่นนี้ยังได้ละทิ้งป่าเสด็จกลับไปสู่พระราชวัง ดังนั้น จึงไม่มีความผิดอะไรที่พระองค์จะเสด็จกลับจากป่าบำเพ็ญตบะไปสู่พระราชวัง โดยมีธรรมเป็นเครื่องหมาย"

72     พระราชกุมารได้สดับถ้อยคำที่หวังดีและมีประโยชน์ของพระราชครูผู้เป็นดวงเนตรของพระราชานั้นแล้ว จากนั้นจึงประทับอยู่ในความสงบและตรัสถ้อยคำที่มีพลัง ไม่คลุมเครือ ไม่ติดขัดและชัดเจนว่า

73     "เรื่องที่สงสัยกันว่า (สิ่งต่างๆ) ในโลกนี้มีอยู่หรือไม่มี ดังนี้ การตัดสินใจของฉันในเรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะคำพูดของคนอื่น ในเรื่องนี้ฉันจักเข้าถึงความจริงด้วยการบำเพ็ญตบะและด้วยความสงบแล้วรับเอาสิ่งที่ตนค้นพบด้วยตนเอง"

74     "เพราะว่าไม่ควรที่ฉันจะรับเอาทรรศนะที่ยังเกิดความสงสัย ไม่ชัดเจน และยังมีข้อขัดแย้งต่อกัน เพราะว่าผู้มีปัญญาคนใดเล่าจะพึงดำเนินไปตามความเชื่อมของผู้อื่นอย่างเหนียวแน่น เหมือนดั่งคนตาบอดซึ่งมีคนตาบอดนำทางในที่มืด"

75     "ถึงแม้ฉันจะยังไม่เห็นแจ้งความจริงในเรื่องความดีและความชั่วซึ่งยังสงสัยกันอยู่ แต่ความคิดของฉันก็เป็นไปเพื่อความดี เพราะว่าความลำบากของคนผู้มีจิตใจใฝ่ดีแม้จะไร้ประโยชน์ก็ยังดีกว่าส่วนความสุขสบายของผู้มีจิตใจรังเกียจในความจริงไม่ดีเลย"

76     "เมื่อเห็นว่าคำสอนที่สืบต่อกันมานี้ไม่มีความแน่นอน ท่านก็จงตระหนักว่าสิ่งที่ผู้แต่งคัมภีร์เหล่านั้นกล่าวไว้เป็นสิ่งที่ดี และจงเข้าใจว่าผู้ที่แต่งคัมภีร์ทั้งหลายต่างก็ละสิ่งที่เป็นโทษได้แล้ว เพราะผู้ที่ละสิ่งที่เป็นโทษได้แล้วจะไม่กล่าวความเท็จ"

77     "อนึ่ง ที่ท่านกล่าวอ้างพระรามและพระราชาองค์อื่นๆ มาเป็นอุทาหรณ์เพื่อให้ฉันกลับไปสู่พระราชวัง พระราชาเหล่านั้นก็ไม่ถือว่าเป็นประมาณ เพราะผู้ที่ละทิ้งวัตรปฏิบัติไม่ควรเป็นประมาณในการตัดสินใจเพื่อประพฤติธรรม"

78     "ดังนั้น ถึงแม้พระอาทิตย์จะตกบนพื้นดินอย่างนั้นจริงๆ (หรือ) ภูเขาหิมาลัยจะละทิ้งความมั่นคงไปก็ตาม ต่อเมื่อฉันยังไม่ได้เห็นแจ้งความจริง ยังมีอินทรีย์จดจ่ออยู่กับวัตถุเครื่องเร้าอารมณ์ และยังเป็นปุถุชนอยู่ ฉันก็จะไม่หวนกลับไปสู่พระราชวังอย่างเด็ดขาด"

79     เมื่อไม่ได้บรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้ ฉันก็ควรจะเข้าสู่กองไฟที่ลุกโชน แต่ไม่ควรกลับไปสู่พระราชวังอย่างเด็ดขาด" พระกุมารไม่มีมมังการครั้นทรงกระทำปฏิญาณด้วยความหนักแน่นและทรงลุกขึ้นแล้วจึงได้เสด็จไปตามความปรารถนา

80     พระราชครูและพราหมณ์ปุโรหิตทั้งสองเมื่อได้ฟังการตัดสินพระทัยอันแน่วแน่ของพระกุมาร ต่างก็มีน้ำตาเอ่อคลอ ก้มหน้า เดินตามพระองค์ด้วยความทุกข์ จากนั้นจึงพากันกลับไปสู่เมืองอย่างช้าๆ โดยไม่มีทางเลือก

81     ครั้งนั้น เพราะความรักที่มีต่อพระกุมารและเพราะความจงรักภักดีต่อพระราชา พระราชครูและปุโรหิตทั้งสองต่างก็กลับรถและหยุดยืนด้วยความร้อนใจ เพราะว่าทั้งสองไม่อาจจะทนดูพระกุมารผู้ทรงรุ่งเรืองด้วยความงามของพระองค์ดุจพระอาทิตย์ที่ยากจะเข้าใกล้ และไม่อาจจะทอดทิ้งพระกุมารไว้บนถนนแต่ผู้เดียว

82     แต่ครั้นแต่งตั้งจารบุรุษผู้ซื่อสัตย์ให้อำพรางตนคอยติดตามเพื่อรู้เส้นทางของพระกุมารผู้มีเป้าหมายสูงสุดเป็นคติแล้ว ทั้งสองจึงเดินทางกลับด้วยความเหนื่อยยากพร้อมกับครุ่นคิดว่า "เมื่อเราทั้งสองเมื่อกลับไปถึงจะเข้าเฝ้าพระราชาผู้ปรารถนาพระโอรสอันเป็นที่รักอย่างไรหนอ"

สรรคที่ 9 ชื่อ กุมารานฺเวษณ (การติดตามค้นหาพระกุมาร)

ในมหากาพย์พุทธจริต จบเพียงเท่านี้

 

สรรคที่10

 

สรรค ที่ 10

 

เศฺรณฺยาภิคมโน นาม ทศมะ สรฺคะ

 

ชื่อเศฺรณฺยาภิคมน

 

กาเข้าเฝ้าของพระเจ้าเศรณยะ

 

1     พระราชกุมารผู้มีพระอุระกว้างและล่ำสันครั้นทรงละจากพระราชครูและปุโรหิตทั้งสองผู้ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการปกครองและด้านศาสนา (ของพระราชา) แล้วจึงเสด็จข้ามแม่น้ำคงคาที่มีคลื่นเป็นระลอกและเสด็จไปสู่เมืองราชคฤห์ ที่มีพระราชวังอันงดงาม

 

2     พระกุมารผู้สงบเสด็จเข้าสู่เมืองที่มีภูเขาทั้งห้าเป็นเครื่องหมาย ซึ่งได้รับการคุ้มครองอย่างดีประดับตกแต่งอย่างดีและถูค้ำจุนไว้อย่างดีด้วยภูเขาทั้งหลาย และสะอาดสะอ้านด้วยบ่อน้ำพุที่เป็นมงคลเปรียบเหมือนพระสวยัมภู (พระศิวะ) เข้าไปสู่สวรรค์ชั้นสูงสุดฉะนั้น

 

3     ครั้งนั้นประชาชนในเมืองนั้นเห็นความสุขุมลุ่มลึก ความเข็มแข็งและความงามอันรุ่งเรืองเกินมนุษย์ของพระกุมารผู้เปรียบเสมือนเทพเจ้าผู้มีวัวอุสภะเป็นสัญลักษณ์และมีพรตที่มั่นคง (พระศิวะ)จึงมีความประหลาดใจเป็นอย่างยิ่ง

 

4     เมื่อได้เห็นพระกุมาร คนที่เดินไปทางอื่นก็หยุดยืน คนที่ยืนอยู่บนถนนนั้นก็ได้เดินตามไปคนที่เดินอย่างรวดเร็วก็เดินช้าลง ส่วนคนที่นั่งอยู่ก็รีบลุกขึ้นโดยพลัน

 

5     บางคนน้อมไหว้พระองค์ด้วยมือทั้งสอง บางคนต้อนรับพระองค์แล้วก้มไหว้ด้วยเศียรเกล้า บางคนคนกล่าวทักทายด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ ไม่มีใครเดินจากไปโดยไม่ได้บูชาพระองค์

 

6     ครั้นมองเห็นพระกุมาร คนที่สวมเสื้อผ้าหลากหลายสีก็มีความละอายใจ คนที่พูดคุยกันอยู่ ในถนนก็พากันนิ่งเงียบ ไม่มีใครคิดถึงสิ่งที่ไม่เหมาะไม่ควรเลย ราวกับว่าพวกเขาดำรงอยู่ในที่ที่มีธรรมปรากฏโดยประจักษ์ฉะนั้น

 

7     สายตาของหญิงและชายทั้งหลายผู้สาละวนอยู่กับการทำงานต่างๆ ในท้องถนนหลวงขณะมองดูพระราชกุมารผู้เปรียบดั่งนรเทพหาได้มีความรู้สึกอิ่มพอไม่

 

8     ผู้ใดได้เห็นพระขนง พระนลาฏ พระโอษฐ์ พระเนตร พระวรกาย พระหัตถ์ พระบาท หรือการเยื้องกรายของพระกุมาร ครั้งนั้น สายตาของเขาก็จะผูกพันอยู่กับส่วนนั้นๆ ณ ที่นั้นนั่นเอง

 

9     เทพีแห่งโชค (พระลักษมี) ของเมืองราชคฤห์ได้สั่นไหว เพราะเห็นพระกุมารผู้มีพระอุณาโลมอยู่ระหว่างพระขนง มีพระเนตรยาว มีพระวรกายรุ่งเรือง มีพระหัตถ์เป็นตาข่ายสวยงาม ผู้ควรจะปกครองแผ่นดิน แต่กลับทรงครองถือเพศแห่งภิกษุ

 

10     ครั้งนั้นพระเจ้าเศรณยะ (พระเจ้าพิมพิสาร) ผู้ทรงเป็นราชาแห่งชาวมคธ ครั้นทอดพระเนตรเห็นประชาชนหมู่ใหญ่จากปราสาทด้านนอกจึงตรัสถามถึงสาเหตุของเรื่องนั้น จากนั้นราชบุรุษจึงกราบทูลเรื่องนั้นแต่พระองค์ว่า

 

11     "นั้นคือพระโอรสของพระเจ้าศากยะซึ่งพราหมณ์ทั้งหลายได้ทำนายไว้ว่าพระองค์จักได้บรรลุญาณขั้นสูงสุด หรือไม่ก็จักได้ครองราชสมบัติในแผ่นดิน พระองค์ผู้ทรงถือครองเพศบรรพชิตกำลังถูกเฝ้ามองโดยประชาชน"

 

12     ต่อมา พระราชาครั้นได้สดับเนื้อความนั้นก็ทรงตื่นเต้นพระทัยยิ่งนักจึงมีพระราชกระแสรับสั่งราชบุรุษนั้นว่า "เจ้าจงรู้ว่าพระองค์กำลังจะเสด็จไปที่ไหน" ครั้งนั้นราชบุรุษกราบทูลว่า "พะยะค่ะ" ดังนี้ แล้วจึงได้ติดตามพระกุมารไป

 

13     ฝ่ายพระกุมารผู้ทรงเป็นยอดภิกษุ ทรงมีพระเนตรไม่สอดส่าย ทรงทอดสายพระเนตรไปข้างหน้าด้วยระยะเพียงชั่วแอก ทรงสำรวมพระวาจาและทรงดำเนินไปช้าๆ ด้วยความระมัดระวังหลังจากทรงสำรวมพระวรกายและพระทัยที่มีแต่ความหวันไหวแล้วจึงเสด็จจาริกไปเพื่ออภิกษา

 

14     พระองค์ทรงรับเอาภิกษาตามที่มีผู้ถวายแล้วได้เสด็จไปยังลำธารแห่งภูเขาที่เงียบสงัด ครั้นเสวยพระกระยาหาร ณ ที่นั้นตามความเหมาะสมแล้วจึงเสด็จขึ้นสู่ภูเขาชื่อปาณฑวะ

 

15     ที่ภูเขาปาณฑวะซึ่งปกคลุมด้วยป่าโลธระ อันมีพุ่มไม้เต็มไปด้วยเสียงร้องของนกยูงนั้น พระกุมารผู้ทรงเป็นดวงอาทิตย์ของมวลมนุษย์ผุ้ทรงครองผ้ากาสายะได้ทรงเปล่งแสงเรืองรองดุจพระอาทิตย์อ่อนๆ เปล่งรัศมีอยู่บนภูเขาทางทิศตะวันออก

 

16     ราชบุรุษเห็นพระกุมารประทับอยู่บนภูเขานั้นจึงกราบทูลแต่พระเจ้าเศรณยะ ฝ่ายพระราชาเมื่อได้สดับ (คำกราบบังคมทูล) จึงเสด็จไป ณ ที่นั้นพร้อมด้วยข้าราชบริพารที่เหมาะสมเพราะทรงมีความเคารพนับถืออย่างมาก

 

17     พระเจ้าเศรณยะผู้ทรงสวมพระมงกุฎ ผู้ทรงกล้าหาญดุจพระเจ้าปาณฑวะ ผู้ทรงสูงส่งเสมอดั่งขุนเขา และทรงเป็นนรสิงห์ผู้มีการดำเนินดุจราชสีห์ ได้เสด็จขึ้นสู่ภูเขาปาณฑวะ ซึ่งเป็นยอดแห่งภูเขาทั้งหลายดุจราชสีห์ที่มีแผงคอส่ายไปมา

 

18     จากนั้น พระเจ้าเศรณยะได้ทอดพระเนตรเห็นพระกุมารโพธิสัตว์ ผู้ทรงเป็นดั่งยอดเขา ผู้ทรงมีพระอินทรีย์สงบ ผู้ประทับนั่งขัดสมาธิเปล่งแสงเรืองรองอยู่บนภูเขานั้น เหมือนกับพระจันทร์ที่ลอยขึ้นจากกลุ่มของเมฆ

 

19     พระราชาผู้ทรงประหลาดพระทับได้เสด็จเข้าไปใกล้ๆ พระกุมารโพธิสัตว์ผู้ประทับนั่งอยู่ด้วยความงามแห่งพระวรกายและด้วยความสงบเหมือนกับพระธรรมปรากฏรูปร่างขึ้นมาโดยเคารพเปรียบเหมือนพระอินทร์เข้าไปเฝ้าพระสวยัมภู(พระศิวะ)ฉะนั้น

 

20     พระเจ้าเศรณยะครั้นพบกับพระกุมารโพธิสัตว์ผู้ประเสริฐที่สุดในบรรดาผู้รู้หลักการแล้วได้ตรัสถามถึงสุขภาพพลานามัยตามสมควร ฝ่ายพระกุมารโพธิสัตว์ก็ได้ตรัสบอกถึงความสงบในพระทัยและความไม่มีโรคแต่พระราชาด้วยพระสุรเสียงที่นุ่มนวล

 

21     จากนั้น พระราชาได้ประทับนั่งบนแผ่นหินที่สะอาดซึ่งมีสีดำคล้ายกับหูช้าง ครั้นประทับนั่งใกล้ๆ และทรงได้รับพระอนุญาตแล้วจึงตรัสบอกความในพระทัยของพระองค์ผู้ปรารถนาจะแจ้งให้ทราบว่า

 

22     "สัมพันธไมตรีอันแน่แฟ้นระหว่างหม่อมฉันกาบราชวงศ์ของพระองค์ดำเนินมาแล้วตามลำดับและเป็นทีประจักษ์ชัดเป็นอย่างยิ่ง ความปรารถนาจะสนทนากับพระองค์บังเกิดขึ้นแก่หม่อมฉันก็เพราะวัยที่เสมอกัน ดังนั้น ขอพระองค์จงสดับคำพูดที่ประกอบด้วยความรักนี้ด้วยเถิด"

 

23     "ราชวงศ์ของพระองค์สืบเชื้อสายมาจากพระอาทิตย์ เป็นวงศ์ที่ยิ่งใหญ่ วัยของพระองค์ก็ยังหนุ่มแน่น และพระวรกายของพระองค์ก็ยังสดใส เพราะเหตุใดเล่าพระองค์จึงตัดสินพระทัยเช่นนี้ในเวลาที่ไม่สมควร โดยทรงยินดีกับการเที่ยวภิกขาจารและไม่ทรงยินดีในราชสมบัติ"

 

24     "เพราะว่าพระวรกายของพระองค์นี้เหมาะที่จะประดับด้วยจันทร์แดง ไม่เหมาะที่จะนุ่งห่มฝ้ากาสายะ พระหัตถ์นี้ก็เหมาะที่จะปกป้องประชาชนและไม่เหมาะที่จะเสวยพระกระยาหารที่คนอื่นบริจาคให้"

 

25     "เพื่อนเอ๋ย ดังนั้นถ้าพระองค์ไม่ทรงต้องการราชสมบัติของพระบิดาโดยวิธีแย่งชิงเอาด้วยกำลังเพราะยังมีความรักต่อพระบิดา และถ้าพระองค์ไม่ทรงประสงค์จะรอคอยราชสมบัติที่กำลังจะมาถึงตามลำดับ ขอพระองค์จงเสวยราชสมบัติครึ่งหนึ่งของหม่อมฉันโดยเร็วเถิด"

 

26     "เพราะเมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะไม่มีการรบกวนพระประยูรญาติของพระองค์ ทั้งราชสมบัติ (ของพระบิดา) ก็จะดำรงอยู่อย่างสงบตามสมควรแก่เวลาที่ผ่านไปเลย เพราะฉะนั้นขอพระองค์จงทำความกรุณาในหม่อมฉัน เพราะว่าความเจริญของสิ่งที่ดีจะมีขึ้นได้ก็เพราะอยู่ร่วมกับสิ่งที่ดี"

 

27     "แต่ถ้าบัดนี้พระองค์ยังไม่เชื่อใจหม่อมฉันเพราะทรงถือหยิ่งในราชวงศ์ละก็ ขอพระองค์จงก้าวเข้าสู่ขบวนทัพที่จัดเตรียมพร้อมแล้วพร้อมด้วยลูกศรทั้งหลาย และจงมีชัยต่อข้าศึกโดยมีหม่อมฉันเป็นพระสหายเถิด"

 

28     "ดั้งนั้น ในเรื่องนี้ขอพระองค์จงตัดสินพระทัยเลือกอีกอย่างหนึ่งเถิด ขอจงเสวยกาม อรรถและธรรมตามวิธีที่ถูกต้อง เพราะว่าคนทั้งหลายในโลกนี้พากันสับสนในเป้าหมายแห่งชีวิตทั้งสามนี้ เนื่องจากมีราคะจึงได้รับความพินาศทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า"

 

29     "เพราะถ้าพระองค์ปรารถนาเป้าหมายทั้งหมด พระองค์จะต้องละกามซึ่งมีขึ้นเพราะขจัดอรรถและธรรม จะต้องละอรรถซึ่งมีขึ้นเพราะขจัดธรรมและกาม และจะต้องละธรรมซึ่งมีขึ้นเพราะความสิ้นไปแห่งกามและอรรถ"

 

30     "ดังนั้น ขอพระองค์จงทำร่างกายนี้ให้มีผลด้วยการประพฤติตามเป้าหมายแห่งชีวิตทั้งสามนี้เพราะคนทั้งหลายกล่าวว่าเป้าหมายแห่งชีวิตของมนุษย์ก็คือการได้รับกาม อรรถ และธรรมอย่างบริบูรณ์นั่งเอง"

 

31     "ดังนั้น พระองค์จึงไม่ควรทำพระพาหาทั้งสองที่กำยำซึ่งเหมาะแก่การโก่งคันธนูให้ไร้ผลเพราะพระพาหาทั้งสองนี้สามารถรบชนะแม้โลกทั้งสามดุจพระเจ้ามานธาตฤ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผืนแผ่นดินในโลกนี้เลย

 

32     "หม่อมฉันกล่าวคำนี้ก็เพราะความรักโดยแท้ ไม่ได้กล่าวเพราะความหลงในอำนาจและไม่ได้กล่าวเพราะความหยิ่งยโส เพราะหม่อมฉันเห็นจึวรภิกษุของพระองค์แล้วก็มีความรู้สึกสงสารจนมีน้ำตาหยดไหล"

 

33     "แน่ะพระองค์ผู้ทรงเหมาะสมต่อราชวงศ์ ตราบใดที่ชรายังไม่ก้าวมาย่ำยีความงามของพระองค์ ขอจงเสวยสมบัติอันน่าใคร่เถิดนะพระผู้ทรงใคร่ต่อภิกษาและอาศรม พระองค์จังได้ประพฤติธรรมในเวลาอันเหมาะสมนะพระองค์ผู้ทรงมีธรรมเป็นที่รัก"

 

34     "ได้ยินว่า คนแก่ก็สามารถบรรลุธรรมได้ แต่คนแก่จะไม่มีความสามารถในการเสวยสมบัติอันน่าใคร่ ดังนั้นคนทั้งหลายจึงกล่าวถึงสมบัติอันน่าใคร่ (กาม) ว่าเป็นของคนวัยหนุ่ม กล่าวถึงทรัพย์เครื่องปลี้มใจ (อรฺถ) ว่าเป็นของคนวัยกลางคน และกล่าวถึงธรรม ว่าเป็นของคนแก่"

 

35     "เพราะว่าในชีวโลกนี้ คนวัยหนุ่มเป็นปฏิปักษ์ต่ออรรถและธรรม แม้จะถูกคุ้มครองรักษาอย่างดีก็ยากที่จะควบคุม เพราะว่ากามทั้งหลายย่อมฉุดคร่าพวกเขาไปด้วยหนทางนั้น"

 

36     "ผู้สูงอายุเมื่ออยู่ในวัยชราย่อมพิจารณาใคร่ครวญอย่างผู้มีจิตใจมั่นคงและมีความยึดมั่นต่อคำปฏิญาณ ทั้งยังมีความสงบทางใจโดยอาศัยความพยายามเพียงเล็กน้อย เนื่องจากไม่มีความสามารถ (ทางกาย) และเพราะมีความละอายแก่ใจนั่นเอง"

 

37     "ดังนั้น เมื่อผ่านพ้นวัยหนุ่มที่โลเล ที่ยึดเอาวัตถุเครื่องเร้าอารมณ์เป็นใหญ่ ที่ประมาทเลินเล่อ ที่กระสับกระส่าย ที่ปรากฏอยู่ไม่นาน และที่มากไปด้วยการหลอกลวงได้แล้ว คนทั้งหลายจึงหายใจโล่งคอ เปรียบเหมือนข้ามพ้นที่กันดารได้อย่างปลอดภัย"

 

38     "ดังนั้น ขอให้วัยหนุ่มที่ไม่มั่นคง ที่กระสับกระส่าย และที่ประมาทเลินเล่อนี้ จงผ่านเลยไปก่อน เพราะว่าวัยหนุ่มเป็นเป้าลูกศรของกามเทพ ใครๆก็ไม่อาจที่จะปกป้องวัยหนุ่มจากจากอินทรีย์ทั้งหลายได้"

 

39     "แด่ถ้าพระองค์ต้องการจะประพฤติธรรมละก็ ขอจงบูชายัญเถิด ยัญนี้เป็นธรรมสำหรับตระกูล เพราะแม้พระอินทร์ก็ได้ประทับหลังช้างไปสู่สวรรค์ด้วยการบูชายัญนั่นเอง"

 

40     เพราะว่า ด้วยการบูชายัญ ราชฤาษีทั้งหลายผู้มีพระพาหาสวมใส่กำไลทองและมีพระเมาลีงามระยิบระยับด้วยแสงประกายแห่งแก้วมณีก็สามารถไปสู่คติที่มหาฤาษีทั้งหลายพากันไปถึงด้วยวิธีบำเพ็ญตบะเหมือนกัน"

 

41     พระเจ้ามคธราราชทรงมีพระราชดำรัสด้วยประการดังกล่าวแล้วฉะนี้ และขณะที่ตรัสถ้อยคำอันเหมาะสมอยู่นั้นได้ทรงปรากฏเหมือนกับพระอินทร์ ฝ่ายพระราชกุมารโพธิสัตว์ครั้นสดับพระราชดำรัสนั้นแล้วก็หาได้ทรงหวั่นไหวไม่ เปรียบเสมือนภูเขาไกรลาศซึ่งมียอดอันวิจิตรอเนกอนันต์ไม่หวั่นไหว (เพราะแรงลม) ฉะนั้น

 

สรรคที่ 10 ชื่อ เศฺรณฺยาภิคมน (การเข้าเฝ้าของพรเจ้าเศรณยะ)

 

ในมหากาพย์พุทธจริต ซึ่งรจนาโดยอัศวโฆษ จบเพียงเท่านี้

สรรคที่11

 

 

สรรค ที่ 11

 

กามวิครฺหโณ นาไมกาทศะ สรฺคะ

 

ชื่อ กามวิครฺหณ

 

(การขจัดความหลงใหลในกาม)

 

1     ครั้งนั้นเมื่อพระราชาแห่งชาวมคธตรัสเนื้อความที่ไม่น่าพึงใจด้วยพระพักตร์ที่เป็นมิตรอย่างนั้น พระโอรสของพระเจ้าศุทโธทนะผู้ทรงบริสุทธิ์ด้วยความสะอาดแห่งราชตระกูล ผู้ทรงเชื่อมั่นและไม่ทรงหวั่นไหวจึงได้ตรัสถ้อยคำนี้ว่า

 

2     "ขอถวายพระพรพระผู้ทรงรักใคร่ในมิตร ข้อที่พระองค์ผู้ประสูติในราชวงศ์พระจันทร์ (หริวงศ์)อันยิ่งใหญ่ ผู้มีพระจริยาวัตรอันบริสุทธิ์ ทรงปฏิบัติต่อหมู่มิตรของพระองค์เช่นนี้ไม่ใช่เรื่องน่าอัศจรรย์เลย"

 

3     "มิตรภาพที่ประพฤติสืบต่อกันมาตามลำดับตระกูลของพระองค์ไม่เคยตกอยู่ในกลุ่มคนไม่ดีเลย เปรียบเหมือนราชอำนาจไม่เคยตั้งอยู่ในกลุ่มคนขี้ขลาดฉะนั้น จริงอยู่ คนดีทั้งหลายย่อมทำมิตรภาพที่บรรพบุรุษได้ประพฤติสืบต่อกันมาให้เจริญยิ่งๆขึ้นไป"

 

4     "อนึ่ง อาตมาคิดว่าคนที่มีความประพฤติสม่ำเสมอต่อเพื่อนทั้งในยามประสบความสำเร็จและในยามลำบากนั้นเป็นมิตรแท้ เพราะผู้ที่สนใจแต่ในความสำเร็จไม่ควรมีใครเป็นมิตรของเขาเลย"

 

5     "อนึ่ง ในโลกนี้คนเหล่าใดได้ทรัพย์มาแล้วรู้จักใช้จ่ายทรัพย์ในหมู่มิตรและในธรรม ทรัพย์ของคนเหล่านั้นย่อมมีคุณค่า ถึงมันจะหมดไปก็ไม่ทำให้เกิดความเดือดร้อนในภายหลัง"

 

6     "ดูก่อนมหาบพิตร การตัดสินพระทัยของพระองค์เกี่ยวกับอาตมาเกิดขึ้นเพราะความเป็นมิตรและเพราะความมีพระทัยสูงส่งโดยแท้ ในเรื่องนี้อาตมาจะขอตอบแทนด้วยความเป็นมิตรเช่นเดียวกันในเรื่องนี้อาตมาจะไม่ขอตอบแทนพระองค์ด้วยสิ่งอื่น"

 

7     "หลังจากทราบภัยอันเกิดจากชราและมรณะ หลังจากละกามซึ่งเป็นสาเหตุแห่งความโชคร้ายและหลังจากละทิ้งญาติผู้เป็นที่รักซึ่งมีใบหน้านองด้วยน้ำตาก่อนแล้ว อาตมาจึงประพฤติธรรมนี้เพราะด้องการบรรลุความหลุดพ้น"

 

8     เพราะว่าอาตมาไม่ได้กลัวงูพิษ ไม่ได้กลัวอสนีบาตที่ผ่าลงจากท้องฟ้า และไม่ได้กลัวไฟที่มีลมพัด เหมือนกับกลัวต่อวัตถุเครื่องเร้าอารมณ์ทั้งหลายนี้เลย"

 

9     เพราะว่ากามเป็นสิ่งไม่เที่ยง มักลักทรัพย์คือคุณความดี ว่างเปล่าและเป็นเสมือนภาพลวงตาในโลก กามแม้เป็นสิ่งที่น่าปรารถนาแต่ก็ทำให้จิตใจของคนทั้งหลายลุ่มหลง ไม่จำเป็นต้องพูดถึงกามที่ฝังแน่นอยู่ในใจเลย"

 

10     "เพราะว่าผู้ที่ถูกกามครอบงำจะไม่ได้รับความสงบในสวรรค์ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงความสงบในโลกที่สัตว์มีอันต้องตายเป็นธรรมดา เพราะว่าความอิ่มด้วยกามไม่มีแก่ผู้มีตัณหา เปรียบเหมือนความอิ่มด้วยเชื้อเพลิงไม่มีแก่ไฟที่มีลมเป็นเพื่อนคอยพัด"

 

11     "ในโลกนี้ ความพินาศเสมอด้วยกามไม่มี ประชาชนติดข้องอยู่ในกามก็เพราะโมหะ เมื่อรู้ความจริงอย่างนี้แล้วนักปราชญ์ผู้กลัวต่อความพินาศคนใดเล่าจะพึงปรารถนาความพินาศสำหรับตนเอง"

 

12     "คนทั้งหลายถึงแม้ได้แผ่นดินที่ห้อมล้อมด้วยมหาสมุทรแล้วก็ยังอยากไปสู่อีกฝั่งหนึ่งของมหาสมุทร ความอิ่มด้วยกามย่อมไม่มีแก่ชาวโลก  เปรียบเหมือนความอิ่มด้วยน้ำที่ไหลลงไปไม่มีแก่มหาสมุทรฉะนั้น"

 

13     "ถึงแม้จะมีเทวดาโปรยฝนทองลงมาให้ ถึงแม้จะทรงปราบทวีปทั้งสี่ได้หมด ถึงแม้จะทรงได้อาสนะกึ่งหนึ่งของพระอินทร์ แต่พระเจ้ามานธาตฤ ก็ไม่ทรงรู้สึกอิ่มในวัตถุเครื่องเร้าอารมณ์ทั้งหลาย"

 

14     "ถึงแม้จะได้ครองราชสมบัติในเมืองสวรรค์ของเหล่าเทวดา ขณะที่ศตกรตุ(พระอินทร์) หายไปเพราะกลัวต่ออวฤตระ และถึงแม้จะยังมหาฤาษีทั้งหลายให้นำพาพระองค์ขึ้นไป (สู่สวรรค์) ด้วยความหยิ่งยโสแล้วก็ตาม แต่พระเจ้านหุษะ ผุ้ไม่ทรงอิ่มในกามก็ตกลงมาอีก"

 

15     "อนึ่ง พระเจ้าไอฑะ ถึงแม้จะขึ้นไปสู่สวรรค์และนำเอานางอุรวศีเทวี มาไว้ในครอบครองแล้ว แต่เพราะความโลภพระองค์ผู้ไม่ทรงอิ่มในวัตถุเครื่องเร้าอารมณ์ เมื่อปรารถนาจะขโมยเอาทองไปจากฤาษีทั้งหลายจึงต้องถึงความพินาศ"

 

16     "(เมื่อเห็นว่า)วัตถุเครื่องเร้าอารมณ์ทั้งหลายผ่านจากพระเจ้าพลิ ก็ไม่สู่พระอินทร์ผู้ยิ่งใหญ่ ผ่านจากพระอินทร์ผู้ยิ่งใหญ่ก็ไปสู่พระเจ้านหุษะ และผ่านจากพระเจ้านหุษะก็กลับไปสู่พระอินทร์อีก ใครเล่าจะเชื่อใจในวัตถุเครื่องเร้าอารมณ์เหล่านั้นซึ่งหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปตามโชคชะตาทั้งในสวรรค์และในโลกมนุษย์"

 

17     "ใครเล่าจะพึงแสวงหาศัตรูที่ชื่อว่ากาม ซึ่งแม้แต่เหล่าฤาษีผู้นุ่งห่มจีวรเปลือกไม้ ผู้มีเพียงรากไม้ ผลไม้และน้ำเป็นอาหาร มีมุ่นมวยผลที่ยาวเหมือนกับงู และไม่มีกิจอย่างอื่นที่จะต้องทำอีกแล้ว ยังต้องพังภินท์ลงเพราะพวกมัน"

 

18     "อนึ่ง อุครายุธะ  แม้จะทรงไว้ซึ่งอาวุธที่น่ากลัวแต่ก็ได้รับความตายจากภีษมะ เพราะทำความเกี่ยวข้องด้วยกามเหล่านั้น แม้การคิดถึงกามเหล่านั้นก็ไม่เป็นมงคลเพราะมันเป็นสาเหตุแห่งความตายของผู้ประพฤติดีทั้งหลาย ไม่จำเป็นต้องพูดถึงคนที่ประพฤติไม่ดีเลย"

 

19     "เมื่อพิจารณาเห็นว่ามีรสหวานเพียงเล็กน้อยในวัตถุเครื่องเร้าอารมณ์ทั้งหลาย ใครเล่าจักกลืนกินยาพิษที่ชื่อว่ากาม ซึ่งมากไปด้วยการผูกมัด ไม่รู้จักอิ่ม เป็นที่ดูหมิ่นของคนดี และเป็นบาปที่ไม่อาจเหลีกเลี่ยง"

 

20     "เมื่อได้ฟังความทุกข์ของคนผู้มีใจฝักใฝ่ในกามซึ่งเดือดร้อยเพราะการงานมีกสิกรรมเป็นต้นและเมื่อได้ฟังความสุขของคนผู้ไม่มีความปรารถนาในกามแล้ว บุคคลผู้ควบคุมตนได้ก็ควรละกามทั้งหลาย"

 

21     "ความถึงพร้อมด้วยกามพึงทราบว่าเป็นวิบัติสำหรับคนที่มีความรัก เพราะเขาจะถึงความมัวเมาในกามที่ตนได้รับ เพราะความมัวเมาเขาก็จะทำสิ่งที่ไม่ควรทำ (และ) จะไม่ทำสิ่งที่ควรทำ ด้วยเหตุนั้น เขาผู้ถูกทำลายจึงต้องเข้าถึงทุคติ"

 

22     "ในโลกนี้ นักปราชญ์ผู้ควบคุมตนได้คนใดเล่าจะพึงยินดีในกามทั้งหลายซึ่งมีอุปมาเหมือนกับสิ่งของที่ยืมเขามา ซึ่งเมื่อได้มาและเฝ้ารักษาไว้ด้วยความพยายามแล้วก็ยังผันแปรหนีจากไปอีก"

 

23     "ในโลกนี้ผู้ควบคุมตนได้คนใดเล่าจะพึงยินดีในกามทั้งหลายที่เปรียบเสมือนกาบคบเพลิงหญ้าซึ่งบุคคลผู้มีความต้องการ ไปเสาะหามาและถือครองเอาไว้ ต้องประสบความทุกข์เมื่อไม่ทั้งมันไป"

 

24     คนที่ควบคุมตนได้คนใดเล่าจะพึงยินดีในกามทั้งหลายซึ่งเปรียบเสมือนงูพิษที่กำลังเดือดดาลซึ่งฉกกัดคนผู้ไม่สามารถควบคุมตนได้ที่หัวใจจนถึงแก่ความพินาศและไม่ได้รับความสงบ"

 

25     "คนผู้ควบคุมตนได้คนใดเล่าจะพึงยินดีในกามทั้งหลายซึ่งเปรียบเสมือนโครงกระดูกเก่าๆ ซึ่งบุคคลบริโภคแล้วก็ไม่รู้สึกอิ่ม เหมือนกับสุนัขแทะเล็มกระดูกแล้วก็ยังเป็นทุกข์เพราะความหิว"

 

26     "คนผู้ควบคุมตนได้คนใดเล่าจะพึงยินดีในกามทั้งหลายซึ่งเปรียบเสมือนเหยื่อล่อที่เขาวางดังไว้ ซึ่งก่อให้เกิดความทุกข์ เพราะเป็นของทั่วไปสำหรับพระราชา โจร น้ำ และไฟ"

 

27     "คนผู้ควบคุมตนได้คนใดเล่าจะพึงยินดีในกามทั้งหลายซึ่งมีอุปมาเหมือนกับแดนอันตราย (อายตนะ12) ซึ่งเมื่อบุคคลอยู่ในที่นั้นย่อมมีความวิบัติทุกด้านทั้งจากศัตรูและจากญาติพี่น้องอย่างเห็นได้ชัด"

 

28     "คนผู้ควบคุมตนได้คนใดเล่าจะพึงยินดีในกามทั้งหลายซึ่งเปรียบเสมือนผลไม้ที่แขวนอยู่ขนยอดไม้ ซึ่งบุคคลเมื่อปีนป่ายขึ้นไปหาต่างได้รับความพินาศทั้งในภูเขา ในป่า ในน้ำ และในทะเล"

 

29     "ในโลกนี้ คนผู้ควบคุมตนได้คนใดเล่าจะพึงยินดีในกามทั้งหลายซึ่งเปรียบเสมือนความสนุกเพลิดเพลินในความฝัน ซึ่งเมื่อได้มาด้วยความพยายามอย่างหนักมากมายหลายประการแล้วยังต้องถึงความพินาศไปเพียงชั่วขณะ"

 

30     "คนผู้ควบคุมตนได้คนใดเล่าจะพึงยินดีในกามทั้งหลายซึ่งเปรียบเสมือนถ่านเพลิงที่ร้อนระอุ ซึ่งเมื่อบุคคลหามาได้ เพิ่มพูนให้มากขึ้นและดูแลรักษาไว้อย่างดีแล้วก็ยังไม่บรรลุถึงความสงบ"

 

31     "คนผู้ควบคุมตนได้คนใดเล่าจะพึงยินดีในกามทั้งหลายซึ่งเปรียบเสมือนมีดและเขียงในโรงฆ่าสัตว์ ซึ่งพระเจ้ากุรุ พระเจ้าวฤษณิและอันธกะ และพระเจ้าเมขลทัณฑกะ ทรงปรารถนาจนต้องถึงความพินาศ"

 

32     "คนผู้ควบคุมตนได้คนใดเล่าจะพึงยินดีในกามทั้งหลายซึ่งเป็นเครื่องทำลายมิตรภาพซึ่งอสูรชื่อสุนทะ และอุปสุนทะ เมื่อมุ่งหวังจะได้มาจึงต้องต่อสู้กันจนถึงความพินาศ"

 

33     "คนผู้ควบคุมตนได้คนใดเล่าจะพึงยินดีในกามทั้งหลายซึ่งเป็นศัตรูร้ายและเป็นอัปมงคล ซึ่งคนทั้งหลายในโลกนี้พากันมู่งหวัง จนต้องยอมอุทิศร่างกายทั้งในน้ำ ในไฟ และในฝูงสัตว์ป่า"

 

34     เพื่อกาม คนโง่จึงทำกรรมที่น่าเวทนาและได้รับความทุกข์จากการประหารและการจองจำเป็นต้น และเพื่อกาม ชีวโลกผุ้น่าสงสารและมีความเดือดร้อนเพราะความหวังจึงได้รับความลำบากและความตาย"

 

35     "เพราะว่ากวางทั้งหลายถูกนำไปสู่ความพินาศด้วยเสียงร้อง แมลงเม่าทั้งหลายบินเข้าไปในกองไฟก็เพื่อต้องการความสว่าง ปลาต้องการเหยื่อจึงกลืนกินเบ็ด ดังนั้น วัตถุเครื่องเร้าอารมณ์ทั้งหลายจึงออกผลเป็นความพินาศ"

 

36     "แต่ถ้าคิดว่ากามเป็นสิ่งที่น่าเพลิดเพลินยินดีก็พึงคิดเสียใหม่ว่าไม่มีกามใดเลยถูกนับว่าเป็นสิ่งที่น่าเพลิดเพลินยินดี เพราะคุณค่าของวัตถุมีเสื้อผ้า เป็นต้น ควรพิจารณาว่าเป็นเพียงเครื่องบรรเทาทุกข์ในโลกเท่านั้น"

 

37     "คนต้องการน้ำก็เพื่อดับความกระหาย ด้องการอาหารก็เพื่อขจัดความหิว ต้องการที่อยู่อาศัยก็เพื่อป้องกันลม แดด และฝน ต้องการเครื่องนุ่งห่มก็เพื่อปกปิดอวัยวะที่น่าละอายและเพื่อป้องกันความหนาว"

 

38     "ในทำนองเดียวกัน คนต้องการที่นอนก็เพื่อบรรเทาความหลับ ต้องการยานพาหนะก็เพื่อบรรเทาความเหน็ดเหนื่อยในการเดินทาง ต้องการที่นั่งก็เพื่อบรรเทา (ความอ่อนล้า) จากการยืน และต้องการอาบน้ำก็เพื่อรักษาความสะอาด เพื่อความไม่มีโรค และเพื่อความแข็งแรง"

 

39     "เพราะฉะนั้นวัตถุเครื่องเร้าอารมณ์จึงเป็นเพียงเครื่องบรรเทาทุกข์ของประชาชนเท่านั้น ไม่ใช่สิ่งที่น่าเพลิดเพลินยินดี นักปราชญ์ผู้ประพฤติอยู่ในวิธีบรรเทาทุกข์ตนใดเล่าจะพึงยืนยันว่า ฉันกำลังบริโภคสิ่งที่น่าเพลิดเพลินยินดี"

 

40     "ผู้ใดเมื่อถูกพิษไข้ที่เร่าร้อนแผดเผาพึงคิดว่าการเยียวยาด้วยความเย็นเป็นสิ่งที่น่าเพลิดเพลินยินดี ผู้นั้นเมื่อประพฤติตนอยู่ในวิธีบรรเทาทุกข์ก็อาจทำความเข้าใจว่ามีสิ่งที่น่าเพลิดเพลินยินดีอยู่ในกาม"

 

41     "เพราะในกามทั้งหลายมีความไม่แน่นอน ดังนั้น อาตมาจึงเข้าใจว่าไม่มีสิ่งที่น่าเพลิดเพลินยินดีในกามเหล่านั้น เพราะสภาวะที่บ่งบอกถึงความสุขเหล่านั้นล้วนแต่นำความทุกข์มาให้อีกทั้งสิ้น"

 

42     "เพราะว่าเครื่องนุ่งห่มที่หนาละไม้กฤษณาทั้งหลายย่อมมีเพื่อความสุขในฤดูหนาว (แต่)ย่อมมีเพื่อความทุกข์ในฤดูร้อน ส่วนแสงจันทร์และกระแจะจันทน์นั้นเล่าย่อมมีเพื่อความสุขในฤดูร้อน (และ)ย่อมมีเพื่อความทุกข์ในฤดูหนาว"

 

43     "เพาะว่าสิ่งที่เป็นของคู่กัน ได้แก่ ลาภและความเสื่อมลาภ เป็นต้น มีความเกี่ยวข้องกับทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ดังนั้น จึงไม่มีบุรุษคนใดในโลกที่จะมีความสุขเพียงอย่างเดียว หรือมีความทุกข์เพียงอย่างเดียว"

 

44     "เมื่อเห็นว่าสุขและทุกข์ระคนกันอยู่ อาตมาจึงคิดว่าความเป็นพระราชาและความเป็นทาสก็มีค่าเท่ากัน เพราะว่าพระราชาจะทรงยิ้มตลอดเวลาก็หาไม่ แม้ทาสก็เช่นกันจะเดือดร้อนเป็นทุกข์ตลอดเวลาก็หาไม่"

 

45     "ข้อที่คิดกันว่าอำนาจในความเป็นพระราชามีมากมายนั้น ความทุกข์ของพระราชาก็มีมากมายเพราะเหตุนั้นเหมือนกัน เพราะว่าพระราชาเปรียบเสมือนไม้สำหรับยึดเหนี่ยวย่อมทรงเหน็ดเหนื่อยเพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก"

 

46     "ถ้าพระราชาทรงเชื่อพระทัยในราชสมบัติที่ไม่จีรังและเต็มไปด้วยศัตรูมากมายพระองค์ก็จะทรงวิบัติ แต่ถ้าไม่ทรงเชื่อพระทัยในราชสมบัติเลย พระราชาผู้ทรงมีแต่ความปริวิตกจะมีความสุขได้อย่างไรเล่า"

 

47     "และเมื่อใดก็ตามที่พระราชาทรงชนะแผ่นดินได้ทั้งหมด เมื่อนั้นพระองค์ก็จะทรงเลือกเอาเพียงเมืองเดียวเท่านั้นเพื่อใช้เป็นที่ประทับ แม้ในเมืองนั้นพระองค์ก็พึงประทับในปราสาทได้เพียงหลังเดียวเท่านั้น ความเป็นพระราชาจึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเพื่อประโยชน์ของคนอื่นอย่างแท้จริง"

 

48     "แม้พระราชาเองก็ทรงใช้พระภูษาเพียงหนึ่งคู่เท่านั้น เสวยพระกระยาหารก็เพียงเล็กน้อยเพื่อประทังความหิว อนึ่ง พระแท่นบรรทมก็ทรงใช้เพียงที่เดียว พระราชอาสน์ก็ทรงใช้เพียงที่เดียว ส่วนเครื่องราชูปโภคพิเศษที่เหลือย่อมเป็นไปเพื่อความมัวเมาเท่านั้น

 

49     "ถ้าพระองค์ทรงหวังผล (ในราชสมบัติ) เพื่อความยินดี ถึงแม้จะเว้นจากราชสมบัติอาตมาก็มีความยินดีได้เหมือนกัน และเมื่อความยินดีมีแก่บุรุษในโลก สิ่งที่พิเศษทั้งหมดก็จะกลายเป็นสิ่งที่ไม่พิเศษ (สำหรับเขา) อีกต่อไป"

 

50     "ดังนั้นอาตมาผู้ประพฤติตามทางอันสงบและสุขเกษมจึงไม่ควรมีโครมาชักนำเข้าไปหากามทั้งหลาย แต่ถ้าพระองค์ทรงคำนึงถึงความเป็นมิตรละก็ ขอพระองค์จงตรัสกับอาตมาบ่อยๆว่า "ขอจงรักษาคำปฏิญาณต่อไปเถิด"

 

51     "เพราะว่าอาตมาไม่ได้เข้าป่าเพราะความโกรธ ไม่ได้ถอดมงกุฎเพราะลูกศรของศัตรู และไม่ได้ตั้งความปรารถนาในผลที่มากเกินไป ดังนั้น อาตมาจึงไม่ขอรับเอาข้อเสนอของพระองค์นี้"

 

52     "เพราะว่าผู้ใดสลัดงูพิษที่กำลังเดือดดาล หรือโยนคบเพลิงที่กำลังลุกเป็นไฟซึ่งมีการเผาไหม้เป็นปกติไปแล้ว ยังคิดที่จะกลับไปจับไว้อีก ผู้นั้นหลังจากละทิ้งกามได้แล้วก็คงจะไม่กลับไปหากามอีกเป็นแน่"

 

53     "อนึ่ง ผู้ใดมีตาดีแต่อิจฉาคนตาบอด มีอิสรภาพเสรีแต่อิจฉาคนถูกจองจำ มีความร่ำรวยแต่อิจฉาคนจน และมีจิตใจเป็นปกติแต่อิจฉาคนมีจิตใจฟั่นเฟือน ผู้นั้นก็พึงอิจฉาต่อคนที่หมกมุ่นอยู่ในวัตถุเครื่องเร้าอารมณ์ทั้งหลาย"

 

54     "ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ควรจะสงสารคนผู้บริสุทธิ์ ผู้เลี้ยงชีพด้วยการเที่ยวภิกขาจาร ผู้ต้องการจะข้ามพ้นภัยคือชราและมรณะ ผู้มีความสงบสุขอย่างสูงสุดในโลกนี้และผู้มีความทุกข์ในโลกหน้าอันระงับได้แล้ว"

 

55     "แต่ควรจะสงสารคนที่แม้ดำรงอยู่ในกองสมบัติใหญ่แล้วยังถูกตัณหาครอบงำ ซึ่งยังไม่ได้รับความสงบสุขในโลกนี้ และยังถูกความทุกข์ครอบงำในโลกหน้า"

 

56     "การที่พระองค์ตรัสเช่นนี้นับว่าเหมาะสมกับความดี พระจริยาวัตร และราชวงศ์ของพระองค์อย่างแท้จริง แต่การรักษาคำปฏิญาณก็เป็นสิ่งที่เหมาะสมกับความดี จริยาวัตร และวงศ์ตระกูลของอาตมาเช่นกัน"

 

57     เพราะอาตมาถูกแทงด้วยลูกศรคือสังสารวัฏจึงหนีออกมารด้วยหวังว่าจะได้รับความสงบอาตมาไม่ปรารถนาจะได้ราชสมบัติที่ปลอดภัยแม้แต่ในสวรรค์ จึงไม่จำเป็นต้องพูดถึง (ราชสมบัติ)ในโลกมนุษย์นี้เลย"

 

58     "ดูก่อนมหาบพิตร ข้อที่พระองค์ตรัสกับอาตมาถึงการปฏิบัติต่อเป้าหมายแห่งชีวิตสามอย่างโดยหมดเปลือกว่ามันเป็นเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ ในข้อนั้นอาตมาเห็นว่ามันก็ยังไม่ใช่เป้าหมายอยู่นั่นเอง เพราะเป้าหมายแห่งชีวิตทั้งสามนั้นมีความเสื่อมไปตามธรรมดาและไม่ใช่สิ่งที่น่าชอบใจเลย"

 

59     "แต่อาตมาคิดว่าสภาวะที่ไม่มีชรา ไม่มีความกลัว ไม่มีโรค ไม่มีความเกิด ไม่มีความตาย ไม่มีความเดือดร้อนใจและไม่มีการกระทำแบบเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีกนั่นแหละเป็นเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์"

 

60     "ถึงแม้พระองค์จะตรัสว่าบุคคลควรเฝ้ารอคอยชรา และว่าวัยหนุ่มย่อมถึงความเปลี่ยนแปลงก็ตาม แต่นี้ก็ไม่ใช่กฎที่แน่นอน เพราะแม้ชรา (ที่ว่าคงที่) ก็ยังปรากฏว่าไม่คงที่ และความหนุ่มที่ว่าเปลี่ยนแปลงก็ยังมีความคงที่"

 

61     "ในเมื่อเทพเจ้าแห่งความตายผู้ชำนาญในงานของตนกำลังฉุดลากชาวโลกในทุกเพศทุกวัยไปอย่างไร้ที่พึ่ง นักปราชญ์ผู้ต้องการความสงบจะพึงรอคอยชราได้อย่างไร ในเมื่อเวลาแห่งความตายไม่ได้ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน"

 

62     "ในเมื่อเทพเจ้าแห่งความตายปรากฏอยู่เหมือนกับนายพรานผู้เลวร้าย ซึ่งมีอาวุธคือชรา มีการยิงศรคือพยาธิ กำลังโจมตีฝูงเนื้อคือประชาชนผู้อาศัยอยู่ในป่าคือโชคชะตา ยังจะหวังอะไรอีกเล่า กับความยั่งยืนของอายุ"

 

63     "ดังนั้น การเกิดใหม่ (ในสวรรค์)อันน่าปรารถนาก็ดี หรือว่าการไม่เกิดใหม่ (การดับ) ก็ดีจะพึงบังเกิดแก่คนผู้มีธรรมและมีจิตใจบริสุทธิ์โดยวิธีใด บุคคลไม่ว่าจะเป็นคนหนุ่ม คนแก่ หรือว่าเด็ก ก็ควรทำความรีบเร่งในโลกนี้โดยวิธีนั้น"

 

64     "อนึ่ง ที่พระองค์ตรัสว่า เพื่อธรรม(หน้าที่)ขอจงประกอบพิธีบูชายัญที่ให้ผลอันน่าปรารถนาตามที่วงศ์ตระกูลเคยประพฤติปฏิบัติกันมานั้น ขอความนอบน้อมจงมีแต่การบูชายัญเถิด เพราะว่าอาตมาไม่ต้องการความสุขที่ได้มาโดยการทำความเดือดร้อนให้แก่สัตว์อื่น"

 

65     "เพราะว่า ไม่ควรเลยที่ผู้มีใจประกอบด้วยกรุณาจะพึงทำรายผู้อื่นซึ่งหาที่พึ่งไม่ได้ โดยมุ่งหวังผลตอบแทน ถึงแม้ว่าผลของการบูชายัญจะเป็นสิ่งที่ยั่งยืน แต่เมื่อทำเช่นนั้นแล้วสิ่งที่สูญสิ้นไปจะเป็นอย่างไรเล่า"

 

66     "และถ้าธรรม (หน้าที่) ไม่ใช่สิ่งอื่นจากการบำเพ็ญพรต การถือศีล หรือความสงบทางใจ ถึงกระนั้นบุคคลก็ไม่ควรประกอบพิธีบูชายัญที่กล่าวอธิบายกันว่าจะมีผลตอบแทนอย่างสูงหลังจากฆ่า (สัตว์อื่น) บูชายัญ"

 

67     "ความสุขที่เกิดแก่มนุษย์ผู้ดำรงอยู่ในโลกนี้โดยอาศัยการเบียดเบียนสัตว์อื่นเสียก่อนนั้นหาได้เป็นที่ต้องการของคนผู้มีปัญญาซึ่งมีความกรุณาสงสารไม่ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงความสุขในโลกหน้าที่ยังมองไม่เห็นเลย"

 

68     "อนึ่ง อาตมาไม่ได้ถูกหลอกออกมาเพื่อให้ผลของกรรมทำงานต่อไป ดูก่อนมหาบพิตร จิตใจของอาตมาไม่ยินดีในการเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก เพราะว่าการเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกซึ่งมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทั้งปวงเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน เปรียบเหมือนเถาวัลย์ที่ถูกฝนจากเมฆตกมากระทบอย่างรุนแรงสั่นส่ายไปมา"

 

69     "ดังนั้น อาตมาจึงมาที่นี่เพราะต้องการจะพบกับพระมุนีอราฑะ ผุ้กล่าวสอนความหลุดพ้น และอาตมากำลังจะเดินทางไปในวันนี้ ดูก่อนมหาบพิตร ขอความเจริญรุ่งเรืองจงมีแต่พระองค์เถิด ขอพระองค์จงพระราชทานอภัยต่อคำพูดของอาตมาที่ยืนยันหนักแน่นในความจริง"

 

70     "ดูก่อนมหาบพิตร ขอพระองค์จงเสวยความสุขเหมือนกับพระอินทร์ในสวรรค์ จงฉายแสงตลอดเวลาเหมือนกับพระอาทิตย์ จงรุ่งเรืองด้วยความดี จงเข้าพระทัยเรื่องความดีสูงสุดในโลกนี้ จงปกครองแผ่นดิน จงมีพระชนมายุยืนยาว จงดูแลรักษาพระโอรสที่มีคุณธรรมด้วยผู้ประเสริฐทั้งหลาย จงได้รับพระเกียรติยศ และจงรักษาธรรม (หน้าที่) ของพระองค์เถิด"

 

71     "ไฟปล่อยรูปร่างของตนให้ล่องลอยไป ในขณะที่ฝนตกลงมาจากเมฆซึ่งก่อตัวจากควันที่เกิดจากเปลวแห่งไฟ ฉันใด ขอพระองค์จงปลดเปลื้องพระทัยและดำเนินชีวิตไปพร้อมกับกำจัดสิ่งที่เป็นศัตรูต่อการทำลายความมืด (ในใจ) ฉันนั้น"

 

72     พระราชาผู้มีความปรารถนาเกิดขึ้นในพระทัยทรงประคองอัญชลีตรัสว่า "ขอพระองค์จงได้บรรลุผลตามที่ทรงปรารถนาโดยไม่มีอุปสรรคขัดขวาง ครั้นได้บรรลุผลสำเร็จกิจที่ควรทำทุกประการแล้ว ขอพระองค์จงทำความอนุเคราะห์แก่หม่อมฉันในเวลาอันสมควรด้วยเถิด"

 

73     พระกุมารโพธิสัตว์ทรงประทานสัญญาแก่พระราชาด้วยความหนักแน่นว่า "ขอจงเป็นเช่นนั้น" แล้วจึงเสด็จดำเนินจากที่แห่งนั้นไปยังอาศรมชื่อไวศวัมตระ ฝ่ายพระราชาครั้นทอดพระเนตรพระกุมารโพธิสัตว์ผู้เสด็จจากไปด้วยความประหลาดพระทัยแล้วจึงเสด็จกลับเข้าสู่เมืองคิริวรชะ

 

สรรค ที่ 11 ชื่อ กามวิคฺหณ (การขจัดความหลงใหลในกาม)

 

ในมหากาพย์พุทธจริต จบเพียงเท่านี้

 

สรรคที่12

 

 

สรรค ที่ 12

 

อารฑทรฺศโน นาม ทฺวาทศะ สรฺคะ

 

ชื่อ อราฑทรฺศน

 

(ทรรศนะของพระมุนีอราฑะ)

 

1     จากนั้น พระจันทร์แห่งราชวงศ์อิกษวากุได้เสด็จไปยังอาศรมของพระมุนีอราฑะ ผู้ยินดีในความสงบ ราวกับจะทำอาศรมนั้นให้เต็มด้วยความงามของพระองค์

 

2     เมื่อพระมุนีอราฑะผู้มีเชื้อสายกาลามโคตรกล่าวต้อนรับด้วยน้ำเสียงอันดังหลังจากมองเห็นแต่ที่ไกลว่า "ขอต้อนรับพระองค์ด้วยความยินดี" พระกุมารโพธิสัตว์พระองค์นั้นจึงเสด็จเข้าไปใกล้ๆ

 

3     พระมุนีและพระกุมารโพธิสัตว์ทั้งสองครั้นสอบถามสุขภาพของกันและกันตามสมควรแล้วจึงนั่งบนอาสนะที่สะอาดซึ่งทำด้วยไม้ในสถานที่อันสะอาดหมดจด

 

4     พระมุนีผู้ประเสริฐได้กล่าวกับพระกุมารโพธิสัตว์ผู้ประทับนั่งอยู่นั้นเหมือนกับจะดื่มพระองค์ด้วยตาทั้งสองที่เบิกกว้างเพราะความนับถืออย่างยิ่งว่า

 

5     "ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระทัยอ่อนโยน ข้าพเจ้าทราบดีถึงวิธีที่พระองค์เสด็จหนีออกจากพระราชวังหลังจากทรงตัดบ่วงที่เกิดจากความรัก ราวกับช้างตกมันที่ทำลายบ่วงหนีไป"

 

6     "ข้อที่พระองค์ทรงสละราชสมบัติซึ่งเปรียบเสมือนเถาวัลย์ที่มีผลเป็นพิษเสด็จมา (ที่นี่) นับว่าพระทัยของพระองค์มีความมั่นคงและมีความรอบรู้ทุกอย่าง"

 

7     "ข้อที่พระราชาทั้งหลายผู้มีพระชนมายุย่างเข้าสู่วัยชราเสด็จเข้าสู่ป่าหลักจากทรงสละราชสมบัติอันเปรียบเสมือนพวงมาลัยที่ถูกใช้แล้วและถูกถอดทิ้งแล้วให้แก่ทายาทนั้น ไม่ใช่สิ่งอัศจรรย์เลย"

 

8     "ข้อที่พระองค์ผู้ดำรงอยู่ในวัยหนุ่มและดำรงอยู่ในสถานที่โคจรของวัตถุเครื่องเร้าอารมณ์เสด็จมา (ที่นี่) ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้เสวยราชสมบัติเลยนั้น ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์"

 

9     "ดังนั้น พระองค์จึงเป็นภาชนะที่เหมาะจะเข้าใจธรรมชั้นสูงนี้ ขอพระองค์จงเสด็จขึ้นสู่เรือคือพระญาณ แล้วจงข้ามมหาสมุทรแห่งทุกข์โดยเร็ว"

 

10     "ถึงแม้ว่าคำสอนเขาจะสอนกันตามเวลาอันควร หลังจากศิษย์ผ่านการทดสอบแล้วก็ตาม(แต่)เพราะพระองค์ทรงมีความลึกซึ้งและมีพระทัยตั้งมั่นข้าพเจ้าจึงไม่จำเป็นต้องทดสอบพระองค์"

 

11     ครั้นได้สดับถ้อยคำของพระมุนีอรฑะดังนี้ พระกุมารโพธิสัตว์ผู้ทรงเป็นยอดมนุษย์จึงมีความปลาบปลื้มยินดีเป็นอย่างยิ่งและได้ตรัสพระดำรัสตอบว่า

 

12     "ถึงแม้ท่านจะหมดความรักแล้ว แต่ท่านก็ยังมีความเมตตาอย่างสูงนี้อยู่ ดังนั้นข้าพเจ้าจึงเหมือนกับได้รับสิ่งที่ต้องการแล้ว ถึงแม้จะยังไม่ได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ก็ตาม"

 

13     "เพราะว่าข้าพเจ้าคิดถึงหลักปรัชญาของท่าน เหมือนกับคนผู้ต้องการมองเห็นคิดถึงแสงสว่าง เหมือนกับคนผู้ต้องการเดินทางคิดถึงผู้บอกทาง และเหมือนกับคนผู้ต้องการข้ามแม่น้ำคิดถึงเรือฉะนั้น"

 

14     "เพราะฉะนั้น ถ้าท่านคิดว่าสมควรจะบอกกล่าว ขอได้โปรดอธิบายหลักปรัชญานั้นด้วยเถิดเพื่อที่คนผู้นี้ (ข้าพเจ้า) จะได้หลุดพ้นจากความแก่ ความตาย และความเจ็บป่วยทั้งหลาย"

 

15     เพราะความมีพระทัยสูงส่งของพระกุมารนั่นเอง พระมุนีอราฑะเมื่อถูกกระตุ้นดังนั้นจึงได้กล่าวอธิบายหลักการที่แน่นอนแห่งคำสอนของตนเพียงย่อๆว่า

 

16     "ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐในบรรดาผู้ฟังทั้งหลาย ขอพระองค์จงสดับหลักการของพวกเราว่าสังสารวัฏเกิดขึ้นอย่างไรและดับไปอย่างไร"

 

17     "ประกฤติ วิการ ความเกิด ความตาย และความแก่นั่นเอง เขาเรียกกันว่าสัตตวะ ข้าแต่พระองค์ผู้มีธรรมชาติมั่นคง ขอพระองค์จงทราบเรื่องนั้นเถิด"

 

๑ ประกฤติ ได้แก่ ปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้โลกปรากฏขึ้น

 

๒ วิการ ได้แก่ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงมาจากประกฤติ

 

๓ สัตตวะ ได้แก่ ธรรมชาติของปรากฏการณ์

 

18     "ข้าแต่พระผู้ทรงรอบรู้ในประกฤติ ขอพระองค์จงทราบว่าในบรรดาสิ่งเหล่านั้น ธาตุทั้งห้า อหังการ พุทธิ และมนัส นั่นแหละชื่อว่า ประกฤติ"

 

๑ ธาตุทั้งห้า ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ

 

๒ อหังการ ได้แก่ ความสำนึกว่านี่คือตัวเอง

 

๓ พุทธิ ได้แก่ การรับรู้หรือความรู้ความฉลาด

 

๔ มนัส ได้แก่ ใจ ซึ่งเป็นพลังที่มองไม่เห็น เป็นศูนย์รวมของอินทรีย์ต่างๆ

 

19     "ขอพระองค์จงทราบว่า วัตถุเครื่องเร้าอารมณ์ (วิษย) และอวัยวะรับรู้อารมณ์ (อินฺทฺริย) มือ เท้า ปาก ท้อง อวัยวะสืบพันธุ์ และใจ เรียกว่า วิการ"

 

20     "อนึ่ง เพราะมีการรับรู้เขตแดนนี้ สิ่งที่มีการรับรู้จึงเรียกว่า ผู้รู้เขตแดน (เกษตรชฺญ) แต่คนทั้งหลายคิดว่ามีอาตมันจึงเรียกอาตมันว่า ผู้รู้เขตแดน"

 

21     เล่ากันมาว่า ฤาษีกปิละ พร้อมด้วยศิษย์เป็นผู้รอบรู้ในโลกนี้ ส่วนประชาปติ พ้อมด้วยบุตรถูกเรียกว่าไม่ใช่ผู้รอบรู้ในโลกนี้"

 

22     "สิ่งที่เกิด แก่ และตายไปนั้น พึงทราบว่าเป็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็น (วฺยกฺต) ส่วนสิ่งที่ไม่ปรากฏให้เห็น (อวฺยกฺต) พึงทราบโดยนัยที่ตรงกันข้าม"

 

23     "อวิชชา (อชฺญาน) กรรม และตัณหา (ตฺฤษฺณา) พึงทราบว่าเป็นสาเหตุให้เกิดสังสารวัฏ สัตว์โลกตั้งอยู่ในสามสิ่งนี้จึงไม่ก้าวล่วงความเป็นสิ่งที่มีอยู่ (สตฺตฺว)"

 

24     "เพราะความเข้าใจผิด เพราะมีอหังการ เพราะความสงสัย เพราะความเชื่อมต่อที่ผิด เพราะไม่มีการแยกแยะ เพราะไม่มีอุบายที่ถูกต้อง เพราะความยึดมั่น และเพราะความถลำลึกลงไป"

 

25     "ในอาการเหล่านั้น ความเข้าใจผิด (วิปฺรตฺยย) ย่อมก่อให้เกิดสิ่งที่ผิดแปลก (คือ) ย่อมทำสิ่งที่ควรทำอย่างหนึ่งให้เป็นอีกอย่างหนึ่ง และย่อมคิดสิ่งที่ควรคิดอย่างหนึ่งเป็นอีกอย่างหนึ่ง"

 

26     "ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีอหังการ ก็อหังการ ย่อมเป็นไปในโลกด้วยการคิดอย่างนี้ว่า ฉันรู้ ฉันเดิน ฉันยืน ดังนี้"

 

27     "ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีความสงสัย สิ่งที่เรียกว่าความสงสัย (สํเทห) ในโลกนี้ ก็คือ ความคิดที่เห็นสิ่งซึ่งแตกต่างกันว่าเป็นอันเดียวกัน เหมือนกับเห็นก้อนดินฉะนั้น"

 

28     "ความคิดที่ว่าอาตมัน คือมนัส พุทธิ และกรรม และว่ากลุ่ม (ของมนัส พุทธิ และกรรม) นี้คืออาตมันนั่นเอง ความคิดนั้นจัดเป็นความเชื่อมต่อที่ผิด(อภิสํปฺลว)"

 

29     "ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงทราบการแยกแยะ ผู้ใดไม่รู้ความแตกต่างระหว่างผู้รู้และผู้ไม่รู้ และ(ไม่รู้ความแตกต่าง) ของประกฤติทั้งหลาย ผู้นั้นย่อมถือว่าเป็นผู้ไม่มีการแยกแยะ (อวิเศษ)"

 

30     "ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงทราบอุบาย การเปล่งคำว่ามนัส ในการแสดงความเคารพ และการเปล่งคำว่าวษัฏ ในพิธีบวงสรวง การฆ่าสัตว์บูชายัญและการประพรมน้ำมนต์เป็นต้น ปราชญ์ทั้งหลายรู้กันแล้วว่าไม่ใช่อุบายที่ถูกต้อง(อนุปาย)

 

31     "ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีความยึดมั่น สิ่งที่ทำให้คนโง่พากันยึดมั่นในวัตถุเครื่องเร้าอารมณ์ทั้งหลาย ด้วยความคิด คำพูด ความเข้าใจ และการกระทำนั้น ปราชญ์ทั้งหลายรู้กันแล้วว่าเป็นความยึดมั่น (อภิษฺวงฺค)

 

32     "ความทุกข์ที่มักเข้าใจผิดเพราะคิดว่า นี้เป็นของเรา เราเป็นของสิ่งนี้ และสิ่งที่ทำให้คนเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏนั้น พึงทราบว่าเป็นความถลำลึกลงไป(อภฺยวปาต)"

 

33     "ด้วยเหตุนี้ ผู้มีปัญญาจึงกล่าวถึงอวิชชา (อวิทยา) ว่ามีห้าปล้อง คือ ความมืด (ตมสฺ) ความหลง (โมห) ความหลงใหลอย่างยิ่ง(มาหโมห) และความมืดมัวทั้งสอ (ตามิสฺร)"

 

34     "ในห้าปล้องนั้น พระองค์จงทราบว่า ความมืด (ตมสฺ) ได้แก่ความเกียจคร้าน ความหลง(โมห) ได้แก่ ความเกิดและความตาย ข้าแต่พระองค์ผู้ปราศจากโมหะ ส่วนความหลงใหลอย่างยิ่ง (มหาโมห)พึงทราบว่า ได้แก่ กามนั่นเอง"

 

35     "เพราะสัตว์โลกมากมายต่างพากันหลงใหลอยู่ในกามนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้มีพลังเข้มแข็ง ดังนั้น กามนั้นจึงเข้าใจกันว่าเป็นความหลงใหลอย่างยิ่ง (มหาโมห)"

 

36     "ข้าแต่พระองค์ผู้ปราศจากความโกรธ คนทั้งหลายย่อมกล่าวว่าความโกรธเป็นความมืดมัวอย่างหนึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้ปราศจากความเดือดร้อนใจ และคนทั้งหลายย่อมเรียกความเดือดร้อนใจว่า เป็นความมืดมัวอีกอย่างหนึ่ง"

 

37     "คนโง่ประกอบด้วยอวิชชา ซึ่งมีข้อต่อห้าอย่างนี้ จึงจมปลักอยู่ในการเกิดในสังสารวัฏซึ่งมากไปด้วยความทุกข์ซ้ำแล้วซ้ำอีก"

 

38     "เมื่อบุคคลเข้าใจอย่างนี้ว่า ฉันเป็นผู้เห็น เป็นผู้ได้ยิน เป็นผู้คิด และเป็นผู้ทำให้เกิดผล ดังนี้ จึงต้องท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ"

 

39     "ข้าแต่พระองค์ผู้มีปัญญาตั้งมั่น กระแสแห่งการเกิดเป็นไปในโลกนี้ก็เพราะสาเหตุต่างๆเหล่านี้ (ดังนั้น)พระองค์จึงควรทราบว่าเมื่อสาเหตุไม่มี ผลก็ย่อมไม่มี"

 

40     "ข้าแต่พระองค์ผู้ปรารถนาความหลุดพ้น ในเรื่องนี้ผู้มีความเห็นชอบพึงรู้จักหมวดสี่นี้คือ ผู้รู้ (ปฺรติพุทธ) ผู้ไม่รู้ (อปฺรพุทธ) สิ่งที่ปรากฏ(วฺยกฺต) และสิ่งที่ไม่ปรากฏ(อวฺยกฺต)

 

41     "เพราะว่าผู้รู้เขตแดน ครั้นรู้หมวดสี่นี้ตามความเป็นจริง และครั้นละการมา (ความเกิด) และการไป (ความตาย) ได้แล้ว ย่อมได้รับสภาวะที่ไม่มีความเปลี่ยนแปลง"

 

42     "เพื่อประโยชน์แก่สิ่งนี้พราหมณ์ทั้งหลายในโลกผู้สอนว่าพรหมันเป็นเป้าหมายสูงสุดจึงพากันประพฤติพรหมจรรย์ และพร่ำสอนพวกพราหมณ์(อื่นๆ)ในโลกนี้ให้ประพฤติตาม"

 

43     พระกุมารโพธิสัตว์ครั้นได้สดับคำพูดของพระมุนีอรฑะดังนี้จึงตรัสถามถึงวิธีปฏิบัติรวมทั้งสภาวะขั้นสูงสุดว่า

 

44     "พรหมจรรย์นี้ควรประพฤติอย่างไร ควรประพฤตินานเพียงใด และควรประพฤติที่ไหน ท่านควรอธิบายถึงขอบเขตที่สุดแห่งธรรมนี้ด้วย"

 

45     ดังนั้น พระมุนีอรฑะจึงได้กล่าวอธิบายธรรมนั้นตามที่ปรากฏในคัมภีร์แก่พระกุมารโพธิสัตว์โดยวิธีอื่นแต่ย่นย่อ เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งขึ้นว่า

 

46     "ในเบื้องต้น คนผู้นี้ละทิ้งเรือนออกมาถือเพศของผู้เที่ยวภิกขาจาร ประพฤติตนถือศีลซึ่งรวมไปถึงความประพฤติที่ดีงามทุกอย่าง"

 

47     "เมื่อเขามีการกระทำที่บริสุทธิ์ ยึดมั่นความสันโดษอย่างยิ่งในวัตถุตามที่ได้ จากที่ใดก็ได้หมั่นศึกษาหาความรู้ในคัมภีร์ และไม่ยินดียินร้ายในทวันทวธรรม เขาย่อมได้รับการเป็นอยู่ที่เงียบสงัด"

 

๑ ทวันทวธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นคู่กัน ได้แก่ ลาภ-เสื่อมลาภ, ยศ-เสื่อมยศ , สรรเสริญ-นินทา, สุข-ทุกข์, ทวันทวธรรม นี้อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโลกธรรม

 

48     "จากนั้นครั้นเห็นภัยจากราคะและเห็นบรมสุขจากความไม่มีราคะแล้ว เขาผู้ปราบหมู่บ้าน คืออินทรีย์ได้ย่อมเพียรพยายามต่อไปเพื่อความสงบแห่งใจ"

 

49     "ครั้งนั้นเขาย่อมได้บรรลุปฐมฌาน (ปูรฺว-ธฺยาน) อันสงัดจากกามและความพยาบาทเป็นต้นซึ่งเป็นผลที่เกิดจากความเงียบสงัด (วิเวก)แต่ยังมีวิตก(ความตรึก)"

 

๑ ปูรฺว-ธฺยาน หมายถึง ปฺรฺถม-ธฺยาน ตรงกับคำบาลีว่า ปฐมฌาน ได้แก่ ฌานที่ 1 มีองค์ประกอบ5 คือ 1 วิตก ความตรีก 2 วิจาร ความตรอง 3 ปิติ ความอิ่มใจ 4 สุข ความสุข 5 เอกัคคตา ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว ข้อความตอนนี้ดูเหมือนผู้แต่งจะกล่าวถึงแต่วิตก โดยไม่ได้กล่าวถึงวิจาร ซึ่งเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของปฐมฌาน ต่างจากในมหากาพย์เสานทรนันทะในตอนที่กล่าวถึงปฐมฌาน (เสาทรนันทะ, สรรคที่17/42) ผู้แต่งกล่าวว่า ปฐมฌาน เป็นสภาวะที่มีวิตก มีวิจาร มีสภาวะที่เกิดจากวิเวก ประกอบด้วยปิติและสุข

 

50     "คนโง่หลังจากได้สุขจากฌานแล้วมัวแต่ตรึกถึงสุขนั้นๆ อยู่ เขาจึงถูกฉุดดีไว้ เนื่องจากได้รับความสุขที่ไม่เคยได้มาก่อน"

 

51     "โดยอาศัยความสงบที่ปราศจากความรักและความชังอย่างนี้ เขาผู้ถูกลวงด้วยความยินดีจึงได้รับแค่เพียงพรหมโลก"

 

52     "ส่วนผู้มีปัญญาเมื่อรู้ว่า วิตก เป็นสาเหตุทำให้จิตกวัดแกว่งแล้วย่อมได้บรรลุทุติยฌาน อันปราศจากวิตก แต่ยังมีปิติ(ความอิ่มใจ)และสุขอยู่"

 

๑ ทฺวิตีย-ธฺยาน ตรงกับคำบาลีว่า ทุติยฌาน ได้แก่ ฌานที่2 มีองค์ประกอบ 3 คือ 1 ปิติ ความอิ่มใจ, 2สุข ความสุข, 3 เอกัคคตา ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว ผู้ที่ได้บรรลุทุติยฌานสามารถละวิตก และวิจารได้

 

53     "เขาผู้ถูกปิตินั้นฉุดดึงไว้ เมื่อไม่เห็นคุณธรรมชั้นสูงขึ้นไป จึงได้บรรลุสถานที่อันสว่างไสวในหมู่เทวดาชั้นอาภาสวระ"

 

54     "แต่ผู้ใดแยกแยะจิตใจออกจากปิติและสุขได้ ผู้นั้นย่อมได้รับตติยฌาน ซึ่งปราศจากปิติ แต่ยังมีสูขอยู่"

 

๑ ตฤตีย-ธฺยาน ตรงกับคำบาลีว่า ตติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ 3 มีองค์ประกอบ 2 คือ 1สุข ความสุข 2 เอกัคคตา ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว ผู้ที่ได้บรรลุตติยฌานสามารถละวิตก วิจาร และปิติ ได้

 

55     "แต่ผู้ใดมปลักอยู่ในสุขนั้นและไม่ทำคามพยายามเพื่อคุณธรรมชั้นสูงขึ้นไป ผู้นั้นย่อมได้รับความสุขเทียบเท่ากับเหล่าเทวดาชั้นศุภกฤตสนะ"

 

56     "ผู้ใดได้พบความสุขเช่นนั้นแล้วเป็นผู้ที่วางเฉย ไม่ยินดี(ในความสุขนั้น) ผู้นั้นย่อมได้รับจตุตถฌาน ซึ่งปราศจากสุขและทุกข์"

 

๑ จตุรฺถ-ธฺยาน ตรงกับบาลีว่า จตุตถฌาน ได้แก่ฌานที่ 4 มีองค์ประกอบ 2 คือ 1 อุเบกขา ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นความจริงคือไม่สุขไม่ทุกข์ 2 เอกัคคตา ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว

 

57     "เพราะการละสุขและทุกข์ได้ และเพราะการไม่มีความพยายามของใจในจตุตถฌานนั้น คนบางพวกที่มีความถือตัวจึงสรุปเอาว่านั่นคือโมกษะ"

 

58     "แต่ผู้รู้ความรู้ชั้นสูงกล่าวถึงผลแห่งจตุตถฌานนี้ว่ามีช่วงเวลาอายุยืนยาวเท่ากับเหล่าเทวดาชั้นพฤหัตผละ"

 

59     "ผู้มีปัญญาเมื่อข้าจากสมาธินั้นไป พิจารณาเห็นโทษของสัตว์ที่มีร่างกายแล้ว ย่อมก้าวขึ้นสู่ฌาณ(ชฺญาน)เพื่อการดับไปแห่งร่างกาย"

 

60     "จากนั้นผู้มีปัญญาเมื่อละจตุตถฌาน และทำความตั้งใจแน่วแน่ในคุณธรรมชั้นสูงได้แล้วย่อมเกิดความเบื่อหน่ายในรูป เหมือนกาบเบื่อหน่ายในกาม"

 

๑ คัมภีร์ฝ่ายบาลีอธิบายว่า ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน เรียกว่า รูปฌาน4 สำหรับผลของรูปฌาน4 ก็คือการได้เกิดในรูปพรหมซึ่งมี16ชั้น(เรียกว่ารูปโลก) ตามลำดับดังนี้ 1พรหมปาริสัชชา 2พรหมปุโรหิตา 3มหาพรหม 4ปริตตาภา  5อัปปมาณาภา 6อาภัสสรา 7ปริตตสุภา 8อัปปมาณสุภา 9สุภกิณหา 10อสัญญีสัตตา 11เวหัปผลา 12อวิหา 13อตัปปา 14สุทัสสา 15สุทัสสึ 16 อกนิฏฐา ดังนั้นผู้ที่ต้องการจะได้คุณธรรมชั้นสูงขึ้นไปจึงต้องละรูปฌาน4เสียก่อน

 

61     "ในเบื้องต้น เขาพิจารณาถึงช่องว่างในร่างกายนี้ก่อน จากนั้นจึงน้อมนึกถึงช่องว่าง (อากาศ)ในวัตถุที่หยาบ (หรือเป็นก้อนทึบ)"

 

62     "ผู้รู้บางคนเมื่อรวบรวมจิตให้อยู่กับช่องว่างและพิจารณาเห็นช่องว่างนั้นโดยไม่มีที่สิ้นสุด ย่อมได้บรรลุคุณวิเศษที่ยิ่งขึ้นไป๒"

 

๑ ฌานขั้นนี้คัมภีร์ฝ่ายบาลีเรียกว่า อากาสานัญจายตนฌาน หมายถึง ฌานกำหนดอากาศคือช่องว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ ส่วนภพของผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนฌานคือ อรูปพรหมชั้นที่ 1ชื่อเรียกว่าอากาสานัญจายตนะนั่นเอง

 

๒ ฌานขั้นที่อยู่สูงถัดจากอากาสานัญจายตนฌาน เรียกว่า วิญญาณัญจายตนฌาน หมายถึงฌานกำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ ผู้บรรลุฌานนี้จะได้เข้าถึงอรูปพรหมชั้นที่ 2 ซึ่งเรียกว่าวิญญาณัญจายตนะ

 

63     "ส่วนผู้ฉลาดในการควบคุมจิตใจบางคนครั้นทำอาตมันให้ดับด้วยตนเองแล้วพิจารณาเห็นว่าไม่มีอะไรเลย เขาย่อมถูกเรียกว่า ผู้เห็นว่าไม่มีอะไร(อากึจนฺย)"

 

๑ อากึจนฺย เทียบกับคัมภีร์ฝ่ายบาลีได้แก่ อากิญจัญญาตนฌาน หมายถึง ฌานกำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรเอยเป็นอารมณ์ ส่วนภพของผู้เข้าถึงอากิญจัญญาตนฌานก็คือ อรูปพรหมชั้นที่ 3 ซึ่งเรียกว่าอากิญจัญญาตนะนั่นเอง

 

64     "จากนั้น เขาผู้รู้เขตแดนเมื่อหลุดออกจากร่างกาย เหมือนก้านใบหลุดออกจากต้นหญ้ามุญชะ และเหมือนนกหลุดออกจากกรง เขาย่อมถูกเรียกว่า ผู้หลุดพ้น(มุกฺต)"

 

65     สิ่งนี้ ได้แก่พรหมันอันสูงสุด ซึ่งไม่มีเพศ ยั่งยืน และไม่เสื่อมสูญ ซึ่งนักปราชญ์ผู้รู้แจ้งความจริงเรียกกันว่า โมกษะ"

 

66     "ข้าพเจ้าได้แสดงอุบายวิธีและความหลุดพ้นแก่พระองค์ดังนี้แล้ว ถ้าทรงทราบและเป็นทีพึงพอพระทัยของพระองค์ ขอจงได้ประพฤติปฏิบัติไปตามความเหมาะสมเถิด"

 

67     "เพราะว่า ไชคีษวยะ,  ชนกะ, วฤทธ, และปรศระ รวมทั้งผู้แสวงหาโมกษะคนอื่นๆ ต่างก็ได้หลุดพ้นแล้วหลังจากประพฤติปฏิบัติตามทางสายนี้"

 

68     พระกุมารโพธิสัตว์ผู้ทรงได้รับพลังจากเหตุในปางก่อน เมื่อรับเอาคำสอนของพระมุนีอราฑะ มาพิจารณาแล้วจึงตรัสตอบไปว่า

 

69     "ข้าพเจ้าได้ฟังหลักรู้อันสงบและละเอียดอ่อนตามลำดับขั้นแล้ว (แต่) ข้าพเจ้าเห็นว่านี้ก็ยังไม่ใช่เป้าหมายขั้นสูงสุด เพราะยังไม่มีการละผู้รู้เขตแดน

 

70     "เพราะข้าพเจ้าคิดว่าผู้รู้เขตแดน ถึงแม้จะพ้นจากวิการและประกฤติ แต่ก็ยังมีคุณสมบัติในการให้เกิดและยังเก็บเชื้อไว้"

 

71     "เพราะว่า อาตมันที่บริสุทธิ์ถึงแม้คนทั้งหลายจะคิดว่าหลุดพ้นแล้ว แต่อาตมันนั้นก็ยังไม่หลุดไปได้ เพราะยังมีเหตุปัจจัยอยู่นั่นเอง"

 

72     พืชย่อมไม่งอกงามเพราะเว้นจากฤดู พื้นดิน และน้ำที่เหมาะสม แต่จะงอกงามก็เพราะมีเหตุปัจจัยที่เหมาะสมเหล่านั้น ฉันใด ข้าพเจ้าคิดว่าแม้อาตมันก็เป็นฉันนั้น"

 

73     "ตนทั้งหลายเข้าใจว่ามีโมกษะก็เพราละกรรม อวิชชา และตัณหาได้ (แต่)เมื่ออาตมันยังมีอยู่ การละสิ่งทั้งสามอย่างสมบูรณ์จึงไม่มี

 

74     "แต่เมื่อละสิ่งทั้งสาม (กรรม อวิชชา และตันหา) นี้ได้อย่างเด็ดขาดแล้ว เขาย่อมได้รับคุณวิเศษ แต่ว่า ณ ที่ใดอาตมันยังดำรงอยู่ ณ ที่นั้นสิ่งที่ละเอียดอ่อนทั้งสามนี้ (กรรม อวิชชา และตัณหา) ก็ยังคงมีอยู่"

 

75 "เพราะกิเลสอันเลวร้ายทั้งหลายมีความละเอียดอ่อน เพราะจิตมีความนิ่งเฉย และเพราะอายุมีความยืนยาว คนทั้งหลายจึงเข้าใจกันว่านั่นคือโมกษะ"

 

76     "และที่คนทั้งกลายคิดกันว่าละอหังการได้นั้น ครั้นเมื่ออาตมันยังมีอยู่ การละอหังการจึงไม่มี"

 

77     "อาตมันนี้เมื่อยังไม่ปราศจากปัจจัยมีเครื่องปรุงแต่งเป็นต้น จึงชื่อว่ายังไม่ไร้คุณสมบัติ ดังนั้น เมื่อยังไม่ไร้คุณสมบัติ จะถือว่าอาตมันนี้หลุดพ้นไม่ได้"

 

78     "เพราะสิ่งที่มีคุณสมบัติ (คุณินฺ)และคุณสมบัติทั้งหลาย(คุณ) ย่อมไม่มีความแตกต่างกัน แท้ที่จริง ไฟที่ปราศจากรูปและความร้อน บุคคลย่อมหาไม่ได้เลย"

 

79     "ผู้ครอบครองร่างกาย (เทหินฺ)ไม่พึงมีก่อนร่างกายฉันใด สิ่งที่มีคุณสมบัติ (คุณินฺ) ก็ไม่พึงมีก่อนคุณสมบัติทั้งหลายฉันนั้น ดังนั้น อาตมันถึงจะหลุดพ้นในตอนแรก แต่เมื่อกลับมามีร่างกายจึงถูกผูกมัดไว้อีก"

 

80     "อนึ่ง ผู้รู้เขตแดน เมื่อปราศจากร่างกายอาจจะเป็นผู้รู้หรือเป็นผู้ไม่รู้ก้ได้ ถ้าอาตมันเป็นผู้รู้ ก็จะต้องมีสิ่งที่อาตมันนั้นรับรู้ เมื่อมีสิ่งที่จะต้องรู้ อาตมันก็ชื่อว่ายังไม่หลุดพ้น"

 

81     "ถ้าผู้รู้เขตแดน ถูกเข้าใจว่า ไม่ใช่ผู้รู้ อาตมันที่พวกท่านพากกันคิดขึ้นมาก็จะมีประโยชน์อะไรเพราะแม้ไม่มีอาตมัน อวิชชา (อชฺญาน) ก็เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว เหมือนกับท่อนไม้และกำแพงฉะนั้น"

 

82     แต่เพราะการละ (ทุกสิ่ง)ได้ตามลำดับขั้น ถูกเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ดี ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงคิดว่าความสำเร็จในเป้าหมายทุกประการเกิดจากการละซึ่งสิ่งทั้งปวง"

 

83     พระกุมารโพธิสัตว์ครั้นเรียนรู้หลักธรรมของพระมุนีอราฑะดังนี้แล้วก็ไม่ทรงยินดี เมื่อทรงทราบว่านี้ยังไม่ถูกต้องทั้งหมด พระองค์ พระองค์จึงเสด็จหลีกไปจากที่นั้น

 

84     ครั้นนั้น พระกุมารโพธิสัตว์เมื่อปรารถนาจะฟังธรรมที่วิเศษยิ่งขึ้นไปจึงได้เสด็จไปยังอาศรมของพระมุนีอุทรกะ และพระองค์ก็ไม่ทรงรับเอาทรรศนะของพระมุนีอุทรกะนั้นเลย เพราะยังมีความยึดมั่นอยู่ในอาตมัน

 

85     จริงอยู่ พระมุนีอุทรกะครั้นรู้โทษแห่งการมีความรู้สึกและการไม่มีความรู้สึก (สํชฺญาส๊ชฺญิตฺว) จึงได้รับสภาวะที่ปราศจากทั้งความรู้สึกและความไม่รู้สึกซึ่งอยู่เหนือขึ้นไปจากสภาวะที่ไม่มีอะไร (อากจจนฺย)

 

86     เนื่องจากฌานชั้นที่มีความรู้สึกและไม่มีความรู้สึก (สํชญาสํชฺญ) เป็นสภาวะที่ละเอียดอ่อนเมื่อรู้ว่าถัดจากฌานนั้นไปไม่มีทั้งผู้รู้และไม่มีทั้งผู้ไม่รู้ (ไนวสํชญีนาส๊ชฺญี) ดังนั้น จึงปรารถนาที่จะบรรลุฌานนั้น

 

๑ ไนวสํชฺญีนสสํชฺญี เทียบกับคำบาลีได้แก่ เนวสัญญีนาสญญี แปลว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

 

87     และเนื่องจาการรับรู้(พุทธิ)ตั้งอยู่ในฌานนั้นเท่านั้น ไม่ย้ายไปที่อื่น ทั้งยังมีความละเอียดอ่อนและมีความเฉี่อย ดังนั้น ในฌานนั้นจึงมีความรู้สึกก็ไม่ใช่ ไม่มีความรู้สึกก็ไม่ใช่ (นสํชฺยิตา-นาสีชฺญิตฺว)

 

๑ น สํชฺญิตา-นาสํชฺญิตฺว เทียบกับคัมภีร์ฝ่ายบาลีได้แก่ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ซึ่งหมายถึง ภาวะที่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เนวสัญญานาสัญญายตนะจัดเป็นรูปฌานชั้นที่ 4 ผู้ได้บรรลุฌานนี้จะเข้าถึงภพของอรุปพรหม ที่เรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ

 

88     และเนื่องจากเข้ายังต้องกลับมาสู่โลกนี้อีกหลังจากได้บรรลุฌานนั้นแล้ว ดังนั้น พระกุมารโพธิสัตว์ผู้ปรารถนาความหลุดพ้นขั้นสูงสุดจึงได้ทรงอำลาพระมุนีอุทรกะไป

 

89     จากนั้น พระกุมารโพธิสัตว์ผู้ปรารถนาความดีขั้นสูงสุด หลังจากละอาศรมของพระมุนีอุทรกะแล้วจึงได้ตัดสินพระทัยเสด็จไปสู่อาศรมชื่อนครี ของราชฤาษีนามว่าคยะ

 

90     ครั้งนั้น พระกุมารโพธิสัตว์ผู้เป็นมุนี ผู้มีความพยายามอันบริสุทธิ์และมีความยินดีในการประทับเพียงลำพัง ได้ประทับอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำไนรัญชนา อันสะอาด

 

91     ณ.ที่นั้น พระกุมารโพธิสัตว์ได้ทอดพระเนตรเห็นนักบวชทั้งห้าผู้มาถึงก่อนพระองค์กำลังถือพรต บำเพ็ญตบะ และมีความภูมิใจอยู่กับการควบคุมอินทรีย์ทั้งห้า

 

92     ณ ที่นั้น นักบวชทั้งห้าผู้ปรารถนาความหลุดพ้นครั้นเห็นพระกุมารโพธิสัตว์จึงพากันเข้าไปเฝ้าพระองค์ เหมือนกับอารมณ์ของอินทรีย์(ทั้งห้า) เคลื่อนไปหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งเป็นผู้มีทรัพย์และไม่มีโรคเพราะมีบุญกุศลสนับสนุน

 

93     นั้นบวชทั้งห้า ผู้อ่อนน้อมถ่อมตน ผู้ยอมเชื่อฟังเพราะผ่านการฝึกฝนมาดี และผู้ยอมเป็นศิษย์ที่พร้อมจะตั้งมั่นในโอวาท ต่างน้อมบูชาพระองค์ เหมือนกับอินทรีย์ (ทั้งห้า) อันมีแต่ความเปลี่ยนแปลงยอมสยบต่อจิตใจ (ที่มั่นคง) ฉะนั้น

 

94     ครั้งนั้นพระกุมารโพธิสัตว์ทรงเริ่มบำเพ็ญตบะที่ทำได้ยากโดยวิธีทรมานพระวรกายด้วยทรงดำริว่า "นี้น่าจะเป็นอุบายในการทำให้ความเกิดและความตายหมดสิ้นไป"

 

95     พระกุมารโพธิสัตว์ผู้ทรงปรารถนาความสงบได้ทำการทรมานพระองค์ด้วยวิธีที่ทำได้ยากแบบต่างๆมากมาย จนทำให้พระวรกายของพระองค์ผ่ายผอมเป็นเวลานานถึง 6 ปี

 

96     พระองค์ผู้ทรงปรารถนาจะบรรลุถึงฝั่งตรงข้ามแห่งสังสารวัฏอันหาขอบเขตมิได้ ทรงดำรงพระชนม์ด้วยผลพุทราเพียงผลเดียว ด้วยเมล็ดงาเพียงเมล็ดเดียว และด้วยเมล็ดข้าวเพียงเมล็ดเดียว ในเวลาเสวยพระกระยาหาร

 

97     การบำเพ็ญตบะ ทำให้พระวรกายของพระองค์ผ่ายผอมลงเท่าใด เดช (เตชสฺ)ก็ยิ่งทำให้พระทัยของพระองค์เข็มแข็งมากยิ่งขึ้นเท่านั้น

 

98     ถึงแม้จะทรงผ่ายผอมแต่ก็ไม่ด้อยด้วยพระเกียรติยศและความงาม พระองค์จึงได้ดึงดูดสายตาของคนทั่วไป เหมือนกับพระจันทร์แรกเริ่มในปักษ์ข้างขึ้นซึ่งอยู่ในฤดูศรัททำความยินดีให้แก่ดอกโกมุททั้งหลาย

 

99     พระองค์ถึงแม้จะทรงผ่ายผอมเหลือเพียงพระตจะ(หนัง)และพระอัฐิ(กระดูก)เพราะพระลสิกา(ไขมัน) พระมังสา(เนื้อ) และพระโลหิต(เลือด) เหือดแห้ง แต่ก็มิได้สูญเลียความลุ่มลึกภายในเลย พระองค์จึงทรงงดงามเหมือนกับมหาสมุทร

 

100     ครั้งนั้น ด้วยปรารถนาจะบรรลุความเป็นพุทธะ พระมุนีผู้มีพระวรกายลำบากเนื่องจากการบำเพ็ญตบะที่ทุกข์ทรมานและหาประโยชน์มิได้ เมื่อทรงกลัวต่อการเกิดใหม่จึงได้ตัดสินพระทัยว่า

 

101     "นี้ไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้องเพื่อความหมดราคะ เพื่อการตรัสรู้และเพื่อความหลุดพ้น (แต่) สิ่งที่เราเคยได้รับที่โคนต้นหว้าในคราวนั้นต่างหากเป็นวิธีที่แน่นอน

 

102     พระกุมารโพธิสัตว์เมื่อทรงดำริว่า "คนที่มีกำลังอ่อนแอไม่อาจจะบรรลุสิ่งนั้นได้" จึงได้ทรงหวนกลับมาดูแลพระองค์เพื่อเพิ่มพูนกำลังให้แก่พระวรกายและทรงน้อมระลึกถึงเรื่องนี้อีกว่า

 

103     "คนผู้ไม่มีความสุข ผู้อ่อนเพลียเพราะความหิว ความกระหาย และความเหน็ดเหนื่อยและมีจิตใจไม่มั่นคงเพราะความอ่อนล้าจะพึงได้รับผลที่ควรจะได้ทางใจอย่างไรเล่า"

 

104     "บุคคลได้รับความสุขสมบูรณ์โดยชอบก็เพราะทำอินทรีย์ให้สงบลงอย่างต่อเนื่องเพราะอินทรีย์ถูกทำให้สงบลงอย่าบริบูรณ์ เขาจึงได้รับความมั่นคงแห่งจิตใจ"

 

105     "สมาธิย่อมเกิดแก่จิตใจที่มั่นคงและผ่องใส เมื่อบุคคลมีจิตเป็นสมาธิ การบำเพ็ญฌานจึงดำเนินต่อไปได้"

 

106     "จากการปฏิบัติบำเพ็ญฌาน เขาย่อมได้บรรลุสภาวธรรมทั้งหลาย และด้วยสภาวธรรมเหล่านั้น เขาย่อมได้รับสภาวะอันสงบสูงสุดที่ไม่แก่ไม่ตายซึ่งได้มาโดยยาก"

 

107     ดังนั้น เมื่อทรงเชื่อมั่นว่า "อุบายวิธีนี้จะต้องมีอาหารเป็นเบื้องต้น" พระกุมารโพธิสัตว์ผู้มีพระทัยมั่นคงและมีพระปัญญาหาที่เปรียบมิได้ จึงตัดสินพระทัยกลับมาเสวยพระกระยาหาร

 

108     พระองค์ผู้มีพระวรกายซูบผอมเมื่อสรงสนานแล้วได้เสด็จขึ้นจากฝั่งแม่น้ำไนรัญชนา อย่างช้าๆโดยมีต้นไม้ซึ่งเกิดอยู่ตามริมฝั่ง ที่มีปลายกิ่งโน้มลงด้วยความรัก คอยถวายความช่วยเหลือ

 

109     ครั้งนั้นนางนันทพลา ผู้เป็นธิดาของหัวหน้าคนเลี้ยงโดเมื่อถูกเทพยดาดลใจและมีความปิติยินดีปรากฏขึ้นในใจจึงได้ไป ณ ที่นั้น

 

110     นางนันทพลามีลำแขนวาววับเพราะประดับด้วยสังข์สีขาวและมีเครื่องนุ่งห่มคือผ้ากัมพลสีน้ำเงินเข็ม เปรียบเหมือนแม่น้ำยมุนาที่เป็นเลิศแห่งสายน้ำทั้งหลายมีฟองน้ำ(สีขาว)เป็นมาลัย และมีผืนน้ำเป็นสีน้ำเงินเข็มฉะนั้น

 

111     นางผู้มีความปิติยินดีเพิ่มขึ้นเพราะแรงศรัทธาและมีดอกอุบลคือดวงตาที่เบิกกว้าง ครั้นน้อมไหว้พระมุนีด้วยเศียรเกล้าแล้วจึงอาราธนาพระองค์ให้ทรงรับเอาข้าวปายาส

 

112     พระกุมารโพธิสัตว์ครั้นทรงกระทำนางนันทพลาให้ได้รับผลแห่งการเกิดด้วยการเสวยข้าวปายาสนั้นแล้ว (พระองค์)ก็กลับมีพระอินทรีย์ทั้งหกที่เปรมปรีดิ์ จึงทรงมีความสามารถในอันที่จะบรรลุพระโพธิญาน

 

113     พระมุนีผู้ทรงมีพระวรกายกำยำสันพรั่งพร้อมด้วยพระเกียรติยศของพระองค์ ถึงแม้จะมีเพียงพระองค์เดียว แต่ก็ทรงไว้ซึ่งความงามและความมั่นคงทั้งของพระจันทร์และของมหาสมุทร

 

114     นักบวชทั้งห้าครั้นรู้ว่าพระมุนีทรงหวนกลับมาประพฤติดังเดิมอีกจึงพากันละทิ้งพระองค์ไปเหมือนกับธาตุทั้งห้าละทิ้งอาตมัน (วิญญาณ)ที่มีความนึกคิด ซึ่งหลุดพ้นไปแล้ว

 

115     ครั้งนั้น พระมุนีผู้มีความเด็ดเดี่ยวเป็นพระสหาย เมื่อทรงตัดสินพระทัยแน่วแน่ที่จะตรัสรู้แล้วจึงได้เสด็จไปยังโคนต้นอัศวัตถะ ที่มี่บริเวณโดยรอบปกคลุมด้วยหญ้าอ่อนๆ

 

116     จากนั้นในเวลาต่อมา จอมภุชงค์(งูใหญ่)ชื่อกาละ ผู้มีกำลังเข็งแรงดุจพญาช้าง ก็ได้ตื่นขึ้นเพราะเสียงพระบาทที่ไม่มีอะไรเปรียบปาน เมื่อเชื่อมั่นว่าพระมหามุนีจะได้บรรลุพระโพธิญาณจึงได้กล่าวคำสดุดีนี้ว่า

 

117     "ข้าแต่พระมุนี เนื่องจากแผ่นดินเป็นเหมือนกับส่งเสียงร้องซ้ำแล้วซ้ำอีกขณะที่ถูกประทับด้วยพระบาทของพระองค์ และเนื่องจากพระรัศมีของพระองค์เปล่งประกายเจิดจรัสเหมือนกับพระอาทิตย์ วันนี้พระองค์จักได้เสวยผลทีทรงปรารถนาอย่างแน่นอน

 

118     "ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงมีพระเนตรดั่งดอกบัว เนื่องจากฝูงนกตะขาบสีน้ำเงินพากันบินทำประทักษิณพระองค์อยู่บนท้องฟ้า และเนื่องจากลมอ่อนๆพัดไปในท้องฟ้า วันนี้พระองค์จักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน

 

119     จากนั้นเมื่อจอมภุชงค์กล่าวคำสดุดีจบลง พระมุนีจึงรับเอาหญ้าอันสะอาดบริสุทธิ์จากคนตัดหญ้าเสด็จเข้าไปอาศัยยังโคนต้นไม้ใหญ่อันสะอาดบริสุทธิ์และเมื่อจะทรงกล่าวคำปฏิญาณพระองค์จึงประทับนั่งลง

 

120     จากนั้น พระมุนีจึงประทับนั่งขัดสมาธิอย่างดีเลิศ ซึ่งเป็นการนั่งที่ไม่มีสิ่งใดมาทำให้เคลื่อนไหวและสอดประสานกันเข้าเหมือนขนดของงูที่กำลังหลับนอน พร้อมกับตรัสว่า "เราจะไม่ยอมละทิ้งการนั่งบนภาคพื้นนี้ตราบเท่าที่เรายังไม่ได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

 

121     จากนั้น ครั้นพระผู้มีพระภาคผู้ทรงตัดสินพระทัยแน่วแน่ประทับนั่งแล้ว เหล่าทวยเทพต่างก็มีความปิติยินดีอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ ฝูงเนื้อและฝูงนกก็ไม่ส่งเสียงรบกวนและต้นไม้ทั้งหลายในป่าแม้จะถูกลมพัดก็มิได้ส่งเสียงรบกวนเช่นเดียวกัน

 

สรรค ที่ 12 อรฑทรฺศน (ทรรศนะของพระมุนีอราฑะ

 

ในมหากาพย์พุทธจริต จบเพียงเท่านี้

สรรคที่13

สรรค ที่ 13

มารวิชโย นาม ตฺรโยทศะ สรฺคะ

ชื่อ มารวิชย

(การชนะมาร)

1     ครั้นเมื่อพระมาหฤาษีผู้ประสูติในวงศ์แห่งราชฤาษีทรงกล่าวคำปฏิญาณเพื่อการบรรลุความหลุดพ้นและประทับนั่ง ณ โพธิบัลลังก์นั้นแล้ว สัตว์โลกต่างยินดีปรีดา ส่วนพญามารผู้เป็นศตรูแห่งพระสัทธรรมกลับสะดุ้งหวั่นไหว

2     คนทั้งหลายในโลกย่อมเรียกกามเทพ ผู้มีอาวุธอันวิจิตรงดงาม ผู้มีดอกไม้เป็นศร ผู้เป็นเจ้าในเรื่องความรัก และผู้เป็นศัตรูแห่งความหลุดพ้นว่า "พญามาร"

3     บุตรของพญามารคือ วิภรมะ, หรษะ, ทรปะ และธิดาทั้งสามของพญามาร คือ อรติ ปรีติ ตฤษได้สอบถามถึงความกระวนกระวายใจกับพญามาร พญามารจึงกล่าวคำนี้กับบุตรและธิดาเหล่านั้นว่า

๑ ชื่อของบุตรพญามารมีความหมายดังนี้ วิภฺรมท-ความวุ่นวายใจ, หรฺษ-ความบันเทิงเริงรื่น, ทรฺป-ความหยิ่งยโส, ส่วนชื่อของธิดาพญามารมีความหมายดังนี้ อรติ-ความไม่พอใจ , ปฺรีติ-ความอิ่มเอมใจ, ตฤษฺ-ความอยากได้

4     "พระมุนีนั้นทรงสวมเสื้อเกราะคือการตัดสินพระทัยอันแน่วแน่และทรงโก่งธนูคือความจริงซึ่งมีลูกศรคือความรู้แล้วได้ประทับนั่งด้วยปรารถนาจะเอาชนะอาณาจักรของพ่อ ดังนั้น จิตใจของพ่อจึงหดหู่ท้อแท้"

5     "เพราะถ้าพระมุนีนั้นทรงชนะพ่อได้แล้วทรงประกาศหนทางแห่งความหลุดพ้นแก่ชาวโลก เมื่อนั้นอาณาจักรขอพ่อก็จะว่างเปล่าลงในทันที เปรียบเมือนอาณาจักรของพระเจ้าวิเทหะว่างเปล่าลงเมื่อพระองค์ทรงเคลื่อนจากพระจริยาวัตรอันดีงาม"

6     "เพราะฉะนั้น ตราบใดที่พระมุนีจะยังไม่ได้รับความรู้แจ้งและยังดำรงอยู่ในอำนาจของพ่อ พ่อก็จะไปทำลายการบำเพ็ญพรตของพระองค์ตราบนั้น เปรียบเหมือนกำลังแห่งแม่น้ำที่เพิ่มมากขึ้นไหลไปทำลายทำนบกั้นน้ำฉะนั้น"

7     จากนั้น พญามารผู้สร้างความกระวนกระวายใจให้แก่ปวงประชาครั้นถือเอาธนูที่ทำด้วยดอกไม้และลูกศรทั้งห้าที่ทำความลุ่มหลงให้แก่ชาวโลกแล้วจึงดำเนินไปสู่โคนต้นอัศวัตถพฤกษ์พร้อมด้วยบุตรและธิดา

8     ครั้งนั้น พญามารผุ้วางมือซ้ายที่ปลายธนูแล้วเล่นด้วยลูกศรได้กล่าวคำนี้กับพระมุนีผู้ปรารถนาจะข้ามฝั่งมหาสมุทรคือภพ ผู้ประทับนั่งอยู่บนอาสนะอย่างสงบว่า

9     "ดูก่อนนักรบผู้กลัวความตาย พระองค์จงลุกขึ้น จงทำหน้าที่ของตน จงละทิ้งโมกาธรรม จงชนะโลกนี้ด้วยลูกศรและด้วยการบูชายัญแล้วรับเอาโลกของพระอินทร์ต่อจากโลกนี้เถอะ"

10     เพราะว่านี้เป็นทางดำเนินที่มีเกียรติซึ่งพระราชาทั้งหลายในปางก่อนได้ทรงดำเนินแล้ว การบำเพ็ญวัตรปฏิบัติของผู้ขอเช่นนี้นับว่าไม่เหมาะแก่ผู้เกิดในตระกูลแห่งราชฤาษีที่ยิ่งใหญ่เลย"

11     "ดูก่อนผู้มีพระทัยตั้งมั่น ถ้าพระองค์จะไม่ทรงลุกขึ้นในวันนี้ละก็ ขอจงเป็นผู้ตั้งมั่นให้ดีอย่าได้ละทิ้งคำปฏิญาณไปเด็ดขาด เพราะว่าลูกศรที่ข้าพเจ้าขึ้นสายในวันนี้ก็คือลูกศรที่ข้าพเจ้าใช้ยิงศูรปกะ ผู้เป็นศัตรูของปลานั่นเอง"

12     อนึ่ง ไอฑะ แม้เป็นหลานของพระจันทร์ เมื่อถูกแทงด้วยลูกศรนี้ก็ยังกลายเป็นผู้มีจิตใจฟุ้งซ่าน อนึ่ง พระเจ้าศันตนุ ก็ยังควบคุมพระองค์ไว้ไม่ได้เลย จึงไม่จำเป็นต้องพูดถึงคนอื่นซึ่งมีกำลังอ่อนแอในยุคที่กำลังเสื่อมถอย"

13     "ดังนั้นพระองค์จงลุกขึ้นโดยเร็ว จงได้ความรู้สึกตัว เพราะว่าลูกศรที่จะพุ่งออกจากแล่งนี้เตรียมพร้อมอยู่แล้ว (แต่) ข้าพเจ้าจะไม่ยิงลูกศรนี้เข้าใส่คนผู้มีความรัก ผู้ยังคล้อยตามหญิงคนรัก เหมือนกับที่ไม่ยิงเข้าในนกจักรวากะทั้งหลาย"

14     ถึงแม้พญามารจะกล่าวถ้อยคำต่างๆ ดังกล่าวมาฉะนี้ แต่พระศากยมุนี ก็ไม่ทรงสนพระทัยและไม่ทรงละทิ้งการนั่งแต่อย่างใด จากนั้น พญามารครั้นจัดให้บุตรและธิดาอยู่ข้างหน้าแล้วจึงได้ยิงลูกศรเข้าใส่พระศากยมุนี

15     ถึงแม้พญามารจะยิงลูกศรนั้นเข้าใส่ แต่พระศากยมุนีก็ไม่ทรงสนพระทัยและไม่ทรงหวั่นไหวเพราะทรงมีพระทัยมั่นคง พญามารครั้นเห็นพระองค์ทรงเป็นอยู่อย่างนั้นจึงมีจิตใจว้าวุ่น หมดหวัง และรำพึงเบาๆว่า

16     "แม้ศัมภู เมื่อถูกแทงด้วยลูกศรนี้ก็ยังหวั่นไหวต่อธิดาแห่งภูเขา (นางปารวดี) (แต่) พระศากยมุนีกลับไม่ทรงสนพระทัยต่อลูกศรนี้เลย ชะรอยพระองค์จะเป็นผู้ไม่มีจิตใจ หรือสิ่งนี้อาจจะไม่ใช่ลูกศรนั้นเป็นแน่"

17     "เพราะฉะนั้นพระศากยมุนีจึงไม่เหมาะที่จะใช้ลูกศรแห่งดอกไม้ ไม่เหมาะที่จะใช้ความสนุกสนาน และไม่เหมาะที่จะใช้การโน้มน้าวให้ยินดีในกาม พระองค์เหมาะที่จะใช้การข่มขู่ การดุด่า และการโจมตีด้วยเหล่าภูตผีที่น่ากลัว"

18     จากนั้น พญามารเมื่อปรารถนาจะทำการรบกวนสมาธิของพระศากยมุนีจึงได้ระลึกถึงกองทัพของตน บรรดาสมุนของพญามารผู้มีรูปร่างแปลกๆ ผู้ถือเอาหอก ต้นไม้ หลาว กระบอง และดาบไว้ในมือ จึงได้ยืนเรียงรายเข้ามา

19     บางตนมีหน้าเป็นหมู ปลา ม้า ลา และอูฐ บางตนมีหน้าเป็นเสือ หมี สิงห์ และช้าง บางตนมีตาข้างเดียว มีหลายปาก และมีสามหัว บางตนมีท้องโย้และมีท้องดำด่าง

20     บางตนไม่มีเข่าและขาอ่อน บางตนมีเข่าใหญ่เหมือนกับหม้อน้ำ บางตนมีเขี้ยวเป็นอาวุธ บางตนมีเล็บเป็นอาวุธ บางตนมีใบหน้าเหมือนกับกะโหลกศีรษะและมีหลายร่าง บางตนมีใบหน้าครึ่งหนึ่งหักงอลง และบางตนก็มีใบหน้าใหญ่

21     บางตนมีสีกายหม่นหมองเพราะขี้เถ้า บางตนมีจุดแดงเข้มเด่นชัย บางตนมีมือถือไม้เท้าของฤาษี บางตนมีผลสีควันไฟคล้ายกับลิง บางคนมีพวงมาลัยห้อยย้อยและมีหูหย่อนลงคล้ายกับหูช้าง บางตนมีหนังเป็นเครื่องนุ่งห่ม และบางตนไม่สวมเสื้อผ้า

22     บางตนมีใบหน้าครึ่งหนึ่งเป็นสีขาว บางตนมีกายครึ่งหนึ่งเป็นสีเขียว สีทองแดง สีหมอก สีน้ำตาล และสีดำคล้ำ บางตนมีงูรัดที่แขนเหมือนกับเครื่องประดับ และบางตนก็มีแถวของกระดิ่งที่ส่งเสียงดังเป็นสายเข็มขัด

23     บางตนสูงประมาณเท่าต้นตาล มีมือถือหอก มีเขี้ยวยาวน่าสะพรึงกลัว บางตนสูงประมาณเท่ากับเด็ก มีใบหน้าเหมือนแกะและมีตาเหมือนนก บางตนมีใบหน้าเหมือนแมวและมีกายเป็นมนุษย์

24     บางตนมีผมยุ่งเหยิง บางตนมีขมวดผมเป็นปม บางตนมีศีรษะครึ่งหนึ่งโล้น บางตนมีผ้านุ่งสีแดง บางตนมีผ้าพันศีรษะยับยู่ยี่ บางตนมีใบหน้าขรุขระ บางตนมีใบหน้าถมึงทึง บางตนเป็นทั้งผู้ขโมยอำนาจและเป็นทั้งผู้ขโมยจิตใจ

25     บางพวกวิ่งไปพร้อมกับกระโดดโลดเต้นอย่างบ้าคลั่ง บางพวกก็กระโจนเข้าหากันและกัน บางพวกก็เล่นสนุกสนานอยู่ในท้องฟ้า บางพวกก็เคลื่อนไหวไปมาอยู่บนยอดต้นไม้

26     บางตนเต้นรำควงตรีศูล บางตนร้องตะโกนพร้อมกับชูหอก บางตนแผดเสียงร้องเหมือนกับโคถึกด้วยความตื่นเต้นดีใจ บางตนเปล่งแสงออกมาจากเส้นผมทั้งหลาย

27     หมู่ภูตผีที่มีลักษณะดังกล่าวนี้ต่างยืนแวดล้อมโคนต้นโพธิพฤกษ์รอบด้าน เมื่อต้องการจะจับและต้องการจะฆ่าพระศากยมุนีต่างจึงยืนรอคอยคำสั่งของเจ้านายอยู่

28     ในปฐมยามแห่งราตรีนั้น ครั้นเห็นเวลาสู้รบกันระหว่างพญามารกับบุรุษผู้กล้าหาญแห่งราชวงศ์ศากยะ ท้องฟ้าก็พลันอับแสง แผ่นดินก็สั่นสะเทือน และทิศทั้งหลายก็ลุกโชติช่วงพร้อมกับส่งเสียงคำรามร้อง

29     ลมที่มีกำลังแรงได้พัดโหมกระหน่ำไปในทิศต่างๆ ดวงดาวทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ  พระจันทร์ก็ไม่ส่องแสง ราตรีได้แผ่ขยายความมืดออกไปมากยิ่ง และมหาสมุทรทั้งหมดก็สั่นสะเทือนอย่างรุนแรง

30     พญานาคทั้งหลายผู้ฝักใฝ่ในธรรม ผู้แบกรับพื้นโลกเอาไว้ เมื่อจะป้องกันอุปสรรคไม่ให้เกิดขึ้นแก่พระมหามุนีจึงพากันขู่ฟ่อๆพร้อมกับแผ่พังพาน โดยมีดวงตา กลิ้งกลอกไปมาเพราะความโกรธเคืองต่อพญามาร

31     ฝ่ายเทวฤาษีผู้มีที่อยู่อันบริสุทธิ์และมีความมุ่งมั่นที่จะได้บรรลุพระสัทธรรมต่างพากันแสดงความกรุณาต่อมารด้วยใจและไม่ได้โกรธเคืองแต่อย่างใดเพราะเป็นผู้มีจิตปราศจากราคะแล้วนั่นเอง

32     เหล่าทวยเทพผู้มีใจฝักใฝ่ในธรรม ผู้ปรารถนาความหลุดพ้นแก่ชาวโลก ครั้นเห็นโคนแห่งต้นโพธิพฤกษ์หนาแน่นไปด้วยกองกำลังมารผู้มีจิตดิดทำลายจึงพากันร้องไห้ "ฮือๆ"อยู่ในท้องฟ้า

33     พระมหาฤาษีเมื่อทอดพระเนตรเห็นเสนามารเตรียมพร้อมดุจเป็นอุปสรรคคอยขัดขวางต่อการบรรลุธรรมก็ไม่ทรงหวั่นไหวและไม่ทรงสะทกสะท้านเลยเปรียบเหมือนราชสีห์นอนอยู่ท่ามกลางฝูงโคฉะนั้น

34     จากนั้น พญามารจึงออกคำสั่งให้กองทัพภูตผีที่คึกคะนองไปหลอกหลอนพระมหาฤาษีเพื่อให้สะดุ้งกลัว ครั้งนั้น เหล่าเสนามารจึงพร้อมใจกันเพื่อจะทำลายความมั่นคงในพระทัยของพระมหาฤาษีด้วยอานุภาพของตนๆ

35     บางพวกยืนหลอกหลอนด้วยการแลบลิ้นที่มากมายออกมาพร้อมกับส่ายไปส่ายมา บางพวกมีปลายเขี้ยวแหลมคม มีตาเหมือนกาบดวงอาทิตย์ มีปากอ้า และมีหูแข็งเหมือนกับตะขอเหล็ก

36     พระมหาฤาษีไม่ทรงหวั่นไหวและไม่ทรงสะดุ้งกลัวต่อหมู่มารทั้งหลายผู้น่าเกลียดน่ากลัวทั้งรูปร่างและท่าทางซึ่งมีลักษณะอย่างนั้น ราวกับไม่ทรงหวั่นไหวและไม่รงสะดุ้งกลัวต่อเด็กๆ ที่พากันเล่นส่งเสียงดังฉะนั้น

37     จากนั้น มารตนหนึ่งผู้กลอกกลิ้งดวงตาไปมาด้วยความโกรธก็ได้ยกค้อนขึ้นเพื่อ (ประหาร)พระมหาฤาษี แต่แล้วแขนของมารนั้นซึ่งยกค้อนขึ้นก็แข็งทื่อ (ขยับไม่ได้) เหมือนกับแขนของพระอินทร์ที่ถือวัชระไว้ มีอาการแข็งทื่อ ขยับไม่ได้ในกาลก่อน

38     มารบางพวกยกก้อนหินและต้นไม้ขึ้นแล้วก็ไม่อาจทุ่มใส่พระมุนี พวกมันจึงล้มครืนลงพร้อมกับต้นไม้และก้อนหิน เปรียบเหมือนเชิงเขาวินธัย แตกกระจัดกระจายเพราะสายฟ้า

39     ก้อนหิน ต้นไม้ และขวานที่มารบางพวกยกขึ้นแล้วโยนขึ้นไปในท้องฟ้าแต่ละอย่างก็ตั้งอยู่ในท้องฟ้านั่นเอง ไม่ตกลงมาเลย เปรียบเหมือนรัศมีของเมฆในยามสนธยาซึ่งมีมากมายหลากหลายสี

40     มารตนหนึ่งโยนท่อนซุงขนาดเท่ากับยอดเขาซึ่งกำลังลุกติดไฟขึ้นไปเบื้องบนของพระมุนีท่อนซุงนั้นเมื่อถูกโยนออกไป ขณะที่กำลังลอยอยู่ในท้องฟ้านั่นเองก็ได้แตกกระจายออกเป็นร้อยเสี่ยงเพราะอานุภาพของพระมุนี

41     มารตนหนึ่งเปล่งแสงเหมือนกาบพระอาทิตย์อุทัยและปล่อยฝนถ่านเพลิงจำนวนมากตกลงมาจากท้องฟ้า ราวกับภูเขาสุเมรุที่ลุกเป็นไฟในเวลาสิ้นกัลป์โลหะเหลวออกมาจากปล่องทองคำ

42     แต่ฝนถ่านเพลิงซึ่งไปเต็มด้วยประกายไฟนั้นเมื่อโปรยปรายลงที่โคนต้นโพธิพฤกษ์ก็กลับกลายเป็นฝนกลีบบัวแดง เนื่องจากพระฤาษีผู้ประเสริฐสูงสุดทรงประทับอยู่ด้วยพระเมตตาคุณ

43     แม้ด้วยการก่อกวนทั้งทางกายและทางใจที่มารทั้งหลายถาโถมเข้าใส่ขนาดนั้น พระศากยมุนีก็ยังทรงยึดการตัดสินพระทัยอันแน่วแน่ของพระองค์ไว้อย่างเหนี่ยวแน่นเหมือนกับทรงสวมกอดพระประยูรญาติและไม่เสด็จลุกจากบัลลังก์ที่ประทับเลย

44     ครั้งนั้น มารอีกพวกหนึ่งได้คายงูออกจากปากราวกับว่าพวกมันเลื้อยออกจากต้นไม้ที่ผุกร่อน แต่งูเหล่านั้นก็เหมือนกับถูกสะกดด้วยมนตร์ ไม่ขู่ ไม่ชูคอ และไม่เลื้อยไปใกล้พระมหามุนีเลย

45     มากอีกพวกหนึ่งแปลงตัวเป็นเมฆใหญ่ที่มีฟ้าแลบและมีเสียงร้องคำรามอย่างบ้าคลั่งแล้วก็ได้ปล่อยฝนลูกเห็บให้ตกลงมาที่ต้นโพธิพฤกษื แต่ฝนนั้นก็กลับกลายเป็นฝนดอกไม้อันสวยงาม

46     ครั้งนั้น ลูกศรที่มารตนหนึ่งขึ้นสายไว้ที่คันธนูก็ลุกเป็นไฟ ณ ที่นั้นนั่นเอง ไม่ได้หลุดออกจากคันธนูเลย เปรียบเหมือนความโกรธที่คุกรุ่นในใจของคนเจ็บป่วยผู้หมดเรี่ยวแรงฉะนั้น

47     ส่วนลูกศรอีกห้าดอกที่มารตนหนึ่งยิงออกไปก็ได้ตั้งอยู่ในอากาศนั่นเองไม่ได้ตกไปที่พระมุนีแต่อย่างใด เปรียบเหมือนอินทรีย์ห้าของบุรุษผู้มีปัญญาผู้กลัวต่อสังสารวัฏไม่ตกไปในกระแสแห่งวัตถุเครื่องเร้าอารมณ์ฉะนั้น

48     มารอีกตนหนึ่งถือเอากระบองด้วยความโกรธแล้วบ่ายหน้าเข้าไปหาพระมหาฤาษีด้วย ต้องการจะประหัตประหาร แต่ยังไม่ทันบรรลุความต้องการเลย มารนั้นก็ล้มลงอย่างไร้อำนาจเสียก่อน เปรียบเหมือนสัตว์โลกตกในสิ่งเลวร้ายทั้งหลายที่ทำให้เกิดความพินาศฉะนั้น

49     ส่วนหญิงคนหนึ่งมีตัวดำเหมือนเมฆและมีถือถือกะโหลกศีรษะได้เดินวนไปรอบๆ ที่นั้นอย่างฮีกเหิม เพื่อจะทำให้พระทัยของพระมหาฤาษีลุ่มหลง นางไม่อยู่นิ่งเลย เปรียบเหมือนความคิดของผู้มีจิตลังเลท่องเที่ยวไปในคัมภีร์ทั้งหลายฉะนั้น

50     มารตนหนึ่งผู้ต้องการจะเผาพลาญพระมุนีเหมือนกับงูพิษที่ต้องการจะเผาผลาญ (ศัตรู)ด้วยไฟคือกาจ้องตา แต่เมื่อลืมตาที่ลุกโพลงขึ้นแล้วก็กลับมองไม่เห็นพระมุนีผู้ประทับนั่งอยู่ ณ ที่นั้นเปรียบเหมือนคนที่มีจิตใจฝักใฝ่ในกามมองไม่เห็นความดีสูงสุดที่เขาแนะนำให้ฉะนั้น

51     ขณะเดียวกัน มารตนหนึ่งเมื่อยกก้อนหินที่หนักขึ้นแต่ก็หมดแรงลงไปทั้งที่ยังไม่บรรลุผลเนื่องจากหมดความเพียรพยายาม เปรียบเหมือนผู้ที่ต้องการจะบรรลุธรรมคือความดีขั้นสูงสุดซึ่งควรจะบรรลุด้วยญาณและสมาธิโดยการทรมานร่างกาย (ยังไม่ทันสำเร็จก็หมดแรงไปเสียก่อน)

52     ขณะเดียวกัน มารอีกพวกหนึ่งได้แปลงร่างเป็นหมาป่าและราชสีห์ส่งเสียงร้องอันทรงพลังดังสนั่นหวั่นไหว ทำให้สัตว์ทั้งหลายต่างสะดุ้งตกใจไปหมด ด้วยคิดว่าท้องฟ้าแตกเพราะสายฟ้าฟาด

53     ฝูงกวางและฝูงช้างต่างวิ่งหนีไปในทิศต่างๆพร้อมกับแผดเสียงร้องอย่างเป็นทุกข์และพากันหลบซ่อนตัว ในราตรีซึ่งเปรียบเสมือนกลางวันนั้นนกทั้งหลายที่ถูกรบกวนได้ส่งเสียงร้องและบินไปบินมาจากทิศทั้งหลาย

54     ถึงแม้เสียงคำรามร้องที่มีลักษณะเช่นนั้นจะทำให้สัตว์ทั้งปวงหวาดหวั่นพรั่นพรึงก็ตาม แต่พระมุนีก็ไม่ทรงสะดุ้งกลัวและไม่ทรงหวั่นไหวต่อเสียงเหล่านั้นเลยเปรียบเหมือนพญาครุฑไม่หวั่นไหวต่อเสียงกาฉะนั้น

55     พระมุนีไม่ทรงหวั่นกลัวต่อบริษัทและคณะของมารผู้น่าเกรงกลัวมากเท่าใด พญามารซึ่งเป็นศัตรูของผู้ประพฤติธรรมก็ห่อเหี่ยวหมดหวังเพราะความโศกและความโกรธมากเท่านั้น

56     ครั้งนั้น สิ่งมีชีวิตที่วิเศษสิ่งหนึ่งซึ่งไม่ปรากฏรูปและสถิตอยู่ในท้องฟ้า เมื่อเห็นพญามารจ้องประทุษร้ายและมีความเคียดแค้นต่อพระมุนีโดยที่พระองค์ไม่ได้ผูกเวรจึงกล่าวกับพญามารด้วยเสียงอันดังว่า

57     "ดูก่อนมาร ท่านไม่ควรจะทำความพยายามให้เปล่าประโยชน์เลย จะละความมีจิตใจโหดร้ายและจงถึงความสงบเถิด เพราะว่าท่านไม่อาจจะทำให้พระมุนีพระองค์นี้หวั่นไหวได้เลย เปรียบเหมือนลมไม่อาจทำให้ภูเขาสุเมรุหวั่นไหวฉะนั้น"

58     "ถึงแม้ไฟจะละทิ้งความร้อน น้ำจะละทิ้งความเหลว และดินจะละทิ้งความแข็งไปก็ตาม แต่พระมุนีผู้สั่งสมบุญมาแล้วมากมายหลายกัลป์จะไม่ทรงละทิ้งการตัดสินพระทัยอันแน่วแน่อย่างเด็ดขาด

59     "เพราะว่านั่นเป็นการตัดสินพระทัย เป็นความกล้าหาญ เป็นกำลัง และเป็นความอาทรต่อสัตว์โลกทั้งหลายของพระมุนี พระองค์เมื่อยังไม่ได้บรรลุความจริงก็จะไม่เสด็จลุกขึ้นอย่างเด็ดขาดเปรียบเหมือนพระอาทิตย์เมื่อยังไม่ได้กำจัดความมืดให้หมดไปก็ยังไม่ยอมขึ้นฉะนั้น"

60     "เพราะว่าบุคคลเมื่อถูไม้ (สีไฟ)ก็ย่อมได้ไฟ เมื่อขุดพื้นดินก็ย่อมได้น้ำ สำหรับคนที่มีความอดทน ไม่มีอะไรเลยที่จะไม่สำเร็จ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำไปตามวิธีที่ถูกต้องย่อมถือว่าเป็นอันทำสำเร็จแล้ว"

61     "ดังนั้นพระมุนีผู้ทรงเป็นนายแพทย์ใหญ่ผู้ทรงมีพระกรุณาต่อชาวโลกที่กำลังเดือดร้อนเพราะโรคทั้งหลายมีราคะเป็นต้น เมื่อทรงเหน็ดเหนื่อยเพื่อให้ได้โอสถคือญาณ จึงไม่ควรจะมีอุปสรรคใดๆมาขัดขวาง"

62     "อนึ่ง เมื่อชาวโลกถูกชักนำไปโดยหนทางที่ผิดมากมาย พระมุนีผู้ทรงค้นพบหนทางที่ถูกต้องด้วยความเหนื่อยยาก เมื่อจะเป็นผู้บอกทาง จึงไม่ควรจะหวั่นไหว เปรียบเหมือนคนนำทางชั้นดี ไม่ควรหวั่นไหวเมื่อกองคาราวานพลัดหลงทาง"

63     "เมื่อสัตว์ทั้งหลายกำลังพังพินาศไปเพราะความมืดมนอนธการ พระมุนีผู้ทรงเป็นประทีปคือญาณ นี้จึงถูกสร้างขึ้นมา จึงไม่ควรเลยที่ผู้มีใจประเสริฐจะดับประทีปนั้นเสีย เปรียบเหมือนประทีปที่กำลังส่องแสงอยู่ในที่มืด (ไม่ควรเลยที่จะทำให้ดับ)"

64     "ผู้ใดเห็นชาวโลกจมลงในห้วงมหรรณพคือสังสารวัฏและยังมองไม่เห็นฝั่งแล้วทำความพยายามเพื่อช่วยเหลือชาวโลกนั้นให้ข้ามพ้นจากห้วงมหรรณพ คนผู้มีจิตใจประเสริฐคนใดเล่าจะพึงปรารถนาความชั่วร้ายแก่เขา"

65     "ต้นไม้คือญาณ ที่ให้ผลคือธรรม มีเยื่อใยคือความอดทน มีรากที่หยั่งลึกคือความมั่นคงแห่งจิตใจ มีดอกคือความประพฤติที่ดีงาม และมีกิ่งก้านคือความระลึกได้ (สมฺฤติ) และความรู้ (พุทธิ) ไม่ควรเลยที่ถอนมันทิ้ง ในขณะที่มันกำลังเจริญเติบโต"

66     "การที่ท่านต้องการจะประหัตประหารพระมุนีผู้สงบผู้ทรงปรารถนาจะปลดเปลื้องสัตว์โลกที่ถูกผูกมัดด้วยบ่วงคือโมหะคือโมหะไว้ในใจอย่างแน่นหนาเพราะเหตุที่พระองค์จะช่วยเหลือสัตว์โลกให้พ้นจากพันธนาการ นับว่าไมควรเลย"

67     "เพราะว่าเวลา (ให้ผล)ของกรรมที่พระมุนีพระองค์นี้ทรงบำเพ็ญมาเพื่อการตรัสรู้ได้ถูกกำหนดไว้แล้วในวันนี้ พระองค์จึงประทับนั่งอยู่ ณ ที่นั้น เหมือนกับพระมุนีทั้งหลายในปางก่อน"

68     "เพราะว่านี้คือสะดือแห่งแผ่นดินอันประกอบด้วยอำนาจสูงสุดทั้งหมด เพราะว่าที่อื่นนอกจากที่นี้ซึ่งจะสามารถรองรับกำลังแห่งสมาธิของพระมุนีพระองค์นั้นย่อมไม่มีในโลก"

69     "ดังนั้น อย่าเศร้าโศกไปเลย จงถึงความสงบเถิดมารเอ๋ย จงอย่าภูมิใจกับความยิ่งใหญ่ขอตนเลย ความโชคดีเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน จึงไม่ควรเชื่อใจมันเลย (เพราะ) ในภาวะที่ไม่แน่นอนนั้นท่านก็ยังมีท่าทีที่หยิ่งยโส"

70     ครั้นได้ฟังคำพูดของสิ่งที่วิเศษนั้นและเห็นว่าพระมหามุนีไม่ทรงสะทกสะท้านหวั่นไหว จากนั้น พญามารผู้มีใจหดหู่และหมดความพยายามจึงหนีไปพร้อมกับลูกศรที่ใช้แทงหัวใจขาวโลก

71     จากนั้น กองทัพมารผู้หมดความดีใจ ผู้ท้อแท้ใจกับสิ่งที่ทำลงไปอย่างไร้ผล ต่างพากันโยนก้อนหิน ท่อนซุง และต้นไม้ทิ้งกระจากแล้ววิ่งหนีในทิศต่างๆเหมือนกับกองทัพข้าศึกที่มีหัวหน้าถูกฝ่ายศัตรูฆ่าตายฉะนั้น

72     ครั้นเมื่อพญามารผู้มีดอกไม้เป็นธงพร้อมด้วยเหล่าเสนาถูกทำให้พ่ายแพ้วิ่งหนีกระเจิงไปและครั้นเมื่อพระมหาฤาษีผู้ปราศจากกิเลสเศร้าหมองและปราศจากความมืดคืออวิชชาทรงได้ชัยชนะแล้วท้องฟ้าพร้อมทั้งพระจันทร์ก็สว่างสดใส เปรียบเหมือนสาวแรกรุ่นที่กำลังแย้มยิ้ม อนึ่ง ฝนโบกขรพรรษที่มีกลิ่นหอมและมีละอองน้ำอยู่ภายในก็ได้โปรยปรายลงมา

สรรค ที่ 13 มารวิชย (การชนะมาร)

ในมหากาพย์พุทธจริต จบเพียงเท่านี้

*ใต้โศลกที่ 72 ของสรรคที่ 13 นี้ อีเอช จอห์นสตัน กล่าวว่าต้นฉบับตัวเขียนพุทธจริตฉบับที่เก็บไว้ในห้องสมุดของเนปาล และฉบับคำแปลภาษาทิเบต มีโศลกเพิ่มเข้ามา 1 โศลก ซึ่งสันนิษฐานว่าไม่ใช่โศลกดั้งเดิมของอัศวโฆษ แต่มีข้อความละม้ายกับโศลกที่ 72 ดังนี้

     ครั้นเมื่อมารผู้มีบาปถูกทำให้พ่ายแพ้หนีไปแล้วอย่างนั้น ทิศทั้งหลายก็สดใส พระจันทร์ก็ส่องสว่างฝนโบกขรพรรษอันเป็นทิพย์ก็ได้ตกลงมาบนพื้นโลก ราตรีก็สว่างสดใสไม่มืดมัว เปรียบเหมือนหญิงสาวผู้ปราศจากมลทินฉะนั้น

 

สรรคที่14

 

สรรค ที่ 14

พุทฺธตฺวปฺราปฺติรฺนาม จตุรฺทศะ สรฺคะ

ชื่อ พุทฺธตฺวปฺราปฺติ

(การบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้า

1      หลังจากทรงชนะกองทัพมารด้วยพระทัยที่มั่นคงและด้วยความสงบแล้ว จากนั้นพระมุนีผู้ฉลาดในฌาน เมื่อปรารถนาจะรู้แจ้งเป้าหมายสูงสุดจึงได้ทรงบำเพ็ญสมาธิต่อไป

2      เมื่อได้รับอำนาจสูงสุดในการบำเพ็ญฌานทุกประการแล้ว ในปฐมยามพระองค์จึงทรงระลึกถึงความสืบต่อแห่งการเกิดในชาติก่อนๆได้

3      พระองค์ทรงระลึกพระชาติได้นับพันเหมือนกับกำลังเสวยพระชาตินั้นๆ อยู่ว่า "เรามีชื่อนี้ในโลกโน้น เคลื่อนจากโลกนั้นแล้ว จึงมาเกิดในโลกนี้"

4      ครั้นทรงระลึกถึงความเกิดและความตายในพระชาติต่างๆเหล่านั้นได้แล้ว จากนั้นพระองค์จึงทรงกระทำความกรุณาในสัตว์โลกทั้งหลายด้วยพระทัยที่เปี่ยมล้นด้วยพระกรุณาว่า

5      "ได้ยินว่าสัตว์โลกผู้ไม่มีเครื่องป้องกันนี้ เมื่อละทิ้งญาติของตนในโลกนี้แล้วก็ย้ายไปทำกิจกรรมในโลกอื่นอีก จึงวนเวียนอยู่เหมือนกับวงล้อ"

6      พระมุนีทรงข่มพระทัยได้เมื่อทรงระลึกถึงพระชาติต่างๆ ได้ด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้จึงตัดสินพระทัยว่า "สังสารวัฏนี้หาแก่นมิได้เหมือนกับต้นกล้วย"

7      แต่ครั้นถึงยามที่สอง พระองค์ผู้ไม่ต้องใช้ความพยายามเป็นครั้งที่สอง ผู้ทรงเป็นยอดของบุรุษ ผู้มีจักษุทั้งปวงก็ทรงได้รับทิพยจักษุขั้นสูงสุด

8      จากนั้นพระองค์จึงทอดพระเนตรเห็นโลกทั้งปวงด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์นั้นเหมือนักบทอดพระเนตรในกระจกเงาที่ไม่ขุ่นมัว

9      เมื่อพระมุนีทอดพระเนตรเห็นการจุติและการอุบัติของสัตว์โลกทั้งหลายทั้งที่ทำกรรมไม่ดีและที่ทำกรรมดี ความมีพระทัยประกอบด้วยพระกรุณาของพระองค์จึงได้เพิ่มพูนขึ้นว่า

10      "สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ทำกรรมชั่วจึงไปสู่ทุคติ (ส่วน)สัตว์อีกพวกหนึ่งเหล่านี้ทำกรรมดีจึงดำรงอยู่ในสวรรค์"

11      "อนิจจา สัตว์เหล่านั้นบังเกิดในนรกที่น่ากลัวและมีแต่การทารุณที่เหี้ยมโหดจึงถูกเบียดเบียนอย่างน่าสงสารด้วยความทุกข์มากมายหลายชนิด"

12      "สัตว์บางพวกถูกบังคับให้ดื่มหลอมเหล็กที่ต้มเดือดและมีสีแดงเหมือนกับไฟ อีกพวกหนึ่งถูกบังคับให้ปีนขึ้นเสาเหล็กที่เผาไฟจนแดงฉานจึงพากันร้องระงมอยู่"

13      "สัตว์บางพวกมีหน้าคว่ำลงและถูกต้มอยู่ในหม้อเหล็กเหมือนกับชิ้นเนื้อ บางพวกถูกเผา อยู่ในกองถ่านเพลิงที่ลุกโชนอย่างน่าเวทนา"

14      สัตว์บางพวกถูกสุนัขที่ดุร้ายกัดแทะด้วยฟันอันแหลมคม บางพวกถูกฝูงกาที่เหมือนกับกาเหล็กรุมจิกกินด้วยจงอยปากที่เหมือนเหล็กอันแข็งทื่อ"

15      สัตว์บางพวกหมดเรี่ยวแรงลงเพราะถูกความร้อนแผดเผา เมื่อต้องการจะได้เงาที่ร่มเย็นจึงพากันวิ่งกรูเข้าไปสู่ป่าที่มีใบไม้เป็นดาบ ดำสนิท เหมือนกับถูกผูกมัดรวมกันไว้"

16      "สัตว์บางพวกถูกมัดแขวนไว้แล้วถูกผ่าด้วยขวานเหมือนกับท่อนฟืน แต่ก็ยังไม่ดับสิ้นไปแม้ในความทุกข์(ขนาดนั้น) เพราะแรงกรรมยังประคับประคองลมหายใจเอาไว้"

17      "กรรม(ชั่ว)ใดที่พวกเขาทำลงไปเพื่อขจัดทุกข์ ด้วยเข้าใจว่ามันเป็นสุข พวกเขาจะต้องได้รับทุกข์ซึ่งเป็นผลแห่งกรรม(ชั่ว)นั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น"

18      "สัตว์เหล่านั้นทำกรรมชั่วเพื่อหวังจะได้ความสุขจึงต้องรับทุกข์อย่างแสนสาหัส (ดังนั้น) ความสนุกเพลิดเพลินของพวกเขาจะสร้างความสุขแม้เพียงเล็กน้อยได้อย่างไร"

19      "คนที่มีจิตใจหยาบช้าทำกรรมชั่วอันใดลงไปพร้อมกับเสียงหัวเราะ ครั้นเมื่อกาลเวลาสุกงอมเต็มที่ เขาย่อมได้รับผลของกรรมนั้นพร้อมกับเสียงร้องไห้"

20      "ถ้าคนที่ทำกรรมชั่วมองเห็นผลของกรรมอย่างนี้ พวกเขาจะต้องอาเจียนเอาเลือดที่ร้อนระอุออกมา เหมือนกับถูกประหารที่ชีพจรเป็นแน่"

21      "สัตว์ผู้เคราะห์ร้ายอีกพวกหนึ่งนี้บังเกิดในกำเนิดสัตว์เดรัจฉานมากมายก็เพราะกรรมต่างๆที่เกิดจากการทำหน้าที่ของจิต"

22      "ถึงแม้ญาติทั้งหลายจะมองเห็นอยู่ แต่สัตว์ทั้งหลายก็ยังถูกฆ่าอย่างน่าเวทนา เพื่อประโยชน์แก่เนื้อ หนัง ขน และงา เพราะความเป็นศัตรูบ้าง เพราะความสนุกสนานบ้าง"

23      "อนึ่ง สัตว์จำพวกโคและม้า แม้ไร้ความสามารถขาดที่พึ่ง แม้ถูกความหิวความกระหายและความเหน็ดเหนื่อยเบียดเบียน แต่ก็ยังถูกบังคับให้บรรทุกสิ่งของจนลำตัวเต็มไปด้วยบาดแผล เพราะถูกเฆี่ยนด้วยแส้"

24      "สัตว์จำพวกช้าง ถึงแม้จะมีกำลังมาก แต่ก็ถูกคนผู้มีกำลังอ่อนแอกว่าใช้ให้ลากสิ่งของโดยมีศีรษะถูกสับด้วยตะขอและถูกกระตุ้นด้วยเท้าและส้นเท้า"

25      "ในกำเนิดอื่นๆ ถึงแม้จะมีความทุกข์มากมาย แต่ความทุกข์ในกำเนิดสัตว์เดรัจฉานนี้ย่อมมีมากเป็นพิเศษ เนื่องจากความเป็นศัตรูของกันและกันบ้าง เนื่องจากการต้องยอมทำตามที่ผู้อื่นบังคับบ้าง"

26      "เพราะว่าเมื่อเผชิญหน้ากันและกันเข้าเท่านั้น สัตว์ที่อยู่บนฟ้าก็เบียดเบียนสัตว์ที่อยู่บนฟ้า สัตว์ที่อยู่ในน้ำก็เบียดเบียนสัตว์ที่อยู่ในน้ำ และสัตว์ที่อยู่บนบกก็เบียดเบียนสัตว์สัตว์ที่อยู่บนบก"

27      "ในทำนองเดียวกัน สัตว์ผู้มีใจถูกความอิจฉาริษยาครอบงำเหล่านี้ เมื่อบังเกิดในโลกของเปรตอันมืดมัว ย่อมเสวยผล (ของกรรม)อย่างน่าเวทนา"

28      "สัตว์เหล่านั้นมีปากเล็กเท่ารูเข็ม มีท้องใหญ่เท่ากับภูเขา เมื่อถูกความทุกข์จากความหิวและความกระหายเบียดเบียน จึงได้รับทุกข์ทรมานอย่างมาก"

29      "เพราะสัตว์เหล่านั้นล่วงพ้นจากความหวังแล้ว ดำรงอยู่ได้ด้วยกรรมของตน มันจึงไม่ได้บริโภคแม้ของสกปรกที่เขาโยนทิ้งไป"

30      ถ้าบุรุษรู้ว่าผลแห่งความอิจฉาริษยาเป็นเช่นนี้ เขาก็คงจะอุทิศอวัยวะทั้งหลายในร่างกาย เหมือนกับพระเจ้าศิพิ ทุกประการ"

31      "สัตว์อีกพวกหนึ่งเหล่านี้บังเกิดในแอ่งน้ำอันไม่สะอาดซึ่งเรียกว่าครรภ์คล้ายกับนรกจึงได้รับความทุกข์ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย"

สรรคที่ 14 นี้ต้นฉบับภาษาสันสกฤตมีเพียง 31 โศลกเท่านั้น โศลกที่ 32- 108 ข้าพเจ้าอาศัยแปลจากฉบับภาษาอังกฤษของ อี เอช จอห์นสตัน)

32      "ในขณะเกิด พวกเขาก็ถูกจับแน่นด้วยมือันเรียวแหลม ราวกับถูกทิ่มแทงด้วยดาบอันแหลมคม ทำให้ต้องร้องไห้อย่างเจ็บปวด"

33      "พวกเขาได้ความรัก การเลี้ยงดู และการปกป้อง โดยหมู่ญาติที่พาให้เขาเจริญเติบโตด้วยความเอาใจใส่ทุกอย่าง แต่พวกเขาก็ยังเศร้าหมองด้วยการกรกะทำต่างๆ ของตน เหมือนกับผ่านจากความทุกข์อันหนึ่งไปยังความทุกข์ที่หนักกว่า"

34      "ในกำเนิดนี้ คนผู้โง่ถูกตัณหาครอบงำคิดไปต่างๆนานาว่า จะต้องทำสิ่งนี้จะต้องทำสิ่งนั้น จึงต้องเกิดในกระแสแห่งสังสารวัฏเรื่อยไป"

35      "ส่วนอีกพวกหนึ่งสั่งสมบุญไว้แล้วจึงได้บังเกิดในสวรรค์และย่อมถูกเผาอย่างน่ากลัวด้วยเปลวเพลิงแห่งราคะ เหมือกับถูกเผาด้วยไฟ"

36      "พวกเขาย่อมตกจากสวรรค์ทั้งที่ยังไม่อิ่มด้วยอารมณ์ของอินทรีย์ โดยมีตาจ้องมองไปข้างบน มีรัศมีหายไป และเป็นผู้โศกเศร้าเมื่อพวงมาลัยเหี่ยวเฉา"

37      "เพราะคนรักตกไปจากสวรรค์อย่างหมดหนทางช่วยเหลือ นางอัปสรทั้งหลายจึงจ้องมองพวกเขาอย่างน่าสงสารและยื้อยุดฉุดดึงเครื่องแต่งกายพวกเขาไว้ด้วยมือของตน"

38      "นางอัปสรบางพวกดูคล้ายกับว่ากำลังตกไปสู่โลกมนุษย์พร้อมด้วยพวงไข่มุกที่แกว่งไปมา บางพวกดูคล้ายกับว่ากำลังยื้อยุดฉุดคนรักที่กำลังตกลงจากปราสาทอย่างน่าสงสาร"

39      "นางอัปสรอีกพวกหนึ่งที่สวมพวงมาลัยและเครื่องประดับหลากหลายชนิด เศร้าโศกเพราะเห็นเทพบุตรเหล่านั้นตกไปสูความทุกข์ จึงเฝ้ามองด้วยความสงสารด้วยสายตาที่ไม่อยู่นิ่ง"

40      "เพราะความรักที่มีต่อสามีผู้กำลังตกสวรรค์ นางอัปสรเหล่านั้นจึงใช้มือทุบตีหน้าอกและเป็นทุกข์เพราะความกลัดกลุ้มอย่างมาก เนื่องจากยังมีจิตผูกพันอยู่กับสามีเหมือนเดิม"

41      "ผู้อยู่ในสวรรค์ยังตกลงมาเสวยทุกข์บนโลกมนุษย์พร้อมกับรำพึงรำพันว่า "โอ้ อุทยานไจตรรถะ โอ้ทะเลสาบสวรรค์ โอ้แม่น้ำมันทากินี โอ้ที่รัก"

42      "เมื่อเห็นว่าสวรรค์ที่ได้มาด้วยความยากลำบากก็ไม่มั่นคงและไม่ยั่งยืน และเห็นว่าการพลัดพรากจากสวรรค์ก็ทำให้เกิดความทุกข์เช่นนั้น"

43      "โอ้ กฎแห่งกรรมในโลกช่างโหดร้ายเหลือเกิน ถึงแม้สิ่งนี้จะเป็นธรรมชาติประจำโลกก็ตามแต่กระนั้นพวกเขากังไม่เห็นว่ามันเป็นเช่นนั้น"

44      "เทวดาอีกพวกหนึ่งซึ่งละกามราคะได้แล้วถึงจะเข้าใจว่าวิมานของตนเป็นนิรันดร์ แต่กระนั้น พวกเขาก็ยังตกจากสวรรค์อย่างน่าเวทนา"

45      "ในนรกมีการลงทัณฑ์มากมาย ในหมู่สัตว์เดรัจฉานก็มีการกัดกินซึ่งกันและกัน ในหมู่เปรตก็มีทุกข์เพราะความหิวกระหาย และในหมู่มนุษย์ก็มีทุกข์เพราะตัณหาของตน"

46      "ในสวรรค์ที่ปราศจากความรักก็ยังมีทุกข์มากมายเพราะการเกิดใหม่ สำหรับชีวโลกที่หมุนเวียนเปลี่ยนไปตลอดเวลา แน่นอนที่สุด ไม่มีที่ใดเลยที่จะมีความสงบ"

47     "กระแสแห่งสังสารวัฏไม่มีผู้ค้ำจุนและเป็นสิ่งที่จะต้องตายเป็นนิตย์ สรรพสัตว์ทั้งหลายถูกรบกวนจากทุกด้านอย่างนี้จึงหาที่พักพิงมิได้"

48     พระมหามุนีทรงพิจารณาภพทั้งห้าด้วยทิพยจักษุและทรงเห็นว่าไม่มีสิ่งใดที่เป็นแก่นสารในภพ เหมือนกับเมื่อบุคคลตัดตันกล้วยก็จะไม่พบแก่นฉะนั้น

49     ต่อมา เมื่อลุถึงยามที่สามแห่งราตรี พระผู้ประเสริฐที่สุดในบรรดาผู้รู้ฌานก็ได้เจริญสมาธิพิจารณาธรรมชาติที่แท้จริงของโลกนี้ว่า

50     "อนิจจา ชีวโลกทั้งหลายได้รับแต่ความทุกข์ยาก เกิดแล้วเกิดอีก เจริญวัย แก่ชรา ตาย จุติ และเกิดใหม่ซ้ำแล้วซ้ำอีก"

51     ญาณของมนุษย์ถูกราคะและความมือดมนของโมหะปกปิดไว้ และจากความมืดบอดอย่างยิ่ง เขาจึงมองไม่เห็นทางออกจากทุกข์อันใหญ่หลวงนี้"

52     ครั้นทรงพิจารณาดังนี้แล้ว พระมหามุนีได้ทรงรำพึงในพระทัยว่า "อะไรกันแน่ที่ทำให้เกิดชรา (ความแก่) และมรณะ(ความตาย)

53     เมื่อทรงมองทะลุความจริงจนถึงแก่นแท้ พระองค์จึงเข้าพระทัยว่า ชรา (ความแก่) และมรณะ (ความตาย) เกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีชาติ (การเกิด)

54     พระองค์ทรงทราบว่าอาการปวดศีรษะจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อมีศีรษะ เพราะเมื่อมีต้นไม้เกิดขึ้น จึงมีการโค่นล้มของต้นไม้ตามมา

55     พระองค์ทรงใคร่ครวญอีกว่า "ชาติ (การเกิดฉ เป็นผลมาจากอะไร" ครั้นแล้วก็ทรงเห็นอย่างถูกต้องว่าชาติ (การเกิด) เป็นผลมาจากภพ (ความมีความเป็น) อันเนื่องมาจากพลังแห่งกรรม

56     พระองค์ทรงเห็นด้วยทิพยจักษุว่าสิ่งมีชีวิตดำเนินไปเพราะกรรม ไม่ใช่จากผู้สร้าง หรือจากธรรมชาติ หรือจากอาตมัน หรือปราศจากสาเหตุ

57     พระปัญญาของพระองค์เพิ่มพูนมากขึ้นตามลำดาบอย่างเหมาะสม เปรียบเหมือนเมื่อข้อแรกของลำไม้ไผ่ถูกผ่าได้แล้วทุกสิ่งทุกอย่างก็ง่ายดายฉะนั้น

58     ต่อมาพระมุนีได้ทรงพิจารณาไปถึงจุดเริ่มต้นของสังสารวัฏ ครั้นแล้วก็ทรงทราบว่าจุดเริ่มต้นของสังสารวัฏเกิดจากอุปทาน(ความยึดมั่นถือมั่น)

59     กรรมของมนุษย์เกิดจากการยึดมั่นถือมั่นต่อคำปฏิญาณ กฎระเบียบชีวิต ความพอใจในกาม ความเป็นว่ามีตัวตน และความเห็นผิด เปรียบเหมือนไฟเกิดจากเชื้อเพลิงที่พอเหมาะ

60     ต่อมา พระองค์ทรงพิจารณาว่า "อุปทาน(ความยึดมั่นถือมั่น) เกิดจากสาเหตุอะไร"ครั้นแล้วก็ทรงทราบว่าสาเหตุของอุปทาน(ความยึดมั่นถือมั่น) เกิดจากตัณหา(ความอยาก)

61     ตัณหา(ความอยาก)ก่อให้เกิดราคะและกิเลสมากมาย เปรียบเสมือนกองไฟเล็กๆ เมื่อมีลมพัดก็ทำให้ป่าลุกไหม้เป็นไดอย่างโชติช่วง

62     จากนั้น พระองค์ทรงพิจารณาต่อไปว่า "ตัณหา(ความอยาก)เกิดจากอะไร" ครั้นแล้วก็ทรงสรุปได้ว่าสามเหตุของตัณหา(ความอยาก)ก็คือเวทนา(ความรู้สึก)

63     มนุษย์ถูกเวทนา (ความรู้สึก)ครอบงำจึงเกิดมีตัณหา (ความอยาก) ไปตามเวทนา (ความรู้สึก) นั้นเพราะคงไม่มีใครชอบน้ำ เมื่อตนไม่รู้สึกหิวกระหาย

64     ต่อมา พระองค์ทรงพิจารณาอีกว่า "อะไรเป็นบ่อเกิดของเวทนา (ความรู้สึก) พระองค์ผู้ทรงทำที่สุดแห่งเวทนาได้แล้วจึงทรงเห็นว่าสาเหตุของเวทนา(ความรู้สึก)ก็คือผัสสะ(การสัมผัส)

65     ผัสสะ (การสัมผัส) คือการมาบรรจบกันของวัตถุ(อารมณ์ อายตนะภายในและใจ จากนั้นจึงบังเกิดเวทนา (ความรู้สึก) เหมือนกับไฟเกิดจากการเสียดสีกันของไม้สีไฟ 2 อัน และเชื้อเพลิง

66     ต่อมา พระองค์ทรงพิจารณาว่า "ผัสสะ (การสัมผัส) ก็เกิดจากสาเหตุ" ครั้นแล้วพระองค์จึงทรงทราบว่าสาเหตุขอผัสสะ (การสัมผัส) เกิดจากสฬายตนะ(อินทรีย์หก)

67     คนตาบอดมองไม่เห็นวัตถุก็เพราะตาของเขาไม่ได้นำเอาวัตถุมาเชื่อมต่อกับใจ ถ้ามีการมองเห็นก็ย่อมมีการเชื่อมต่อกัน ดังนั้น เมื่อมีสฬายตนะ(อินทรีย์หก) จึงมีผัสสะ(การสัมผัส)

68     จากนั้น พระองค์จึงตั้งพระทัยที่จะหยั่งรู้ถึงบ่อเกิดของอาฬายตนะ(อินทรีย์ ครั้นแล้วพระผู้ทรงรู้สามเหตุทั้งหลายจึงทรงทราบว่าสาเหตุของสฬายตนะ(อินทรีย์หก) ก็คือ นามรูป

69     ใบและต้นอ่อนของต้นไม้จะมีได้ก็ต่อเมื่อหน่อของมันมีอยู่ฉันใด สฬายตนะ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อนามรูป มีอยู่ฉันนั้น

70     ต่อมาความดำริได้เกิดขึ้นแก่พระองค์ว่า "อะไรเป็นสาเหตุของนามรูป "ครั้นแล้วพระผู้ทรงข้ามถึงฝั่งแห่งปัญญาจึงทรงเห็นว่าสาเหตุของนามรูป อาศัยอยู่ในวิญญาณ (การรับรู้)

71     เมื่อวิญญาณ (การรับรู้)เกิดขึ้น นามรูป จึงถูกสร้างขึ้น (เช่นเดียวกับ) เมื่อเมล็ดพันธุ์เพราะจนได้ที่ หน่อก็แทงออกมาเป็นรูปร่าง

72     ต่อมาพระองค์ทรงพิจารณาว่า "วิญญาณเกิดจากอะไร" ครั้นแล้วจึงทรงทราบว่าวิญญาณ เกิดขึ้นเพราะอาศัยตัวมันเองบนนามรูป

73     ต่อมาครั้นทราบลำดับแห่งปฏิจจสมุปบาท (สิ่งที่อาศัยกันและกันเกิดขึ้น) แล้ว พระองค์จึงได้พิจารณาทบทวนหลักปฏิจจสมุปบาท ซ้ำอีก พระทัยของพระองค์ได้บรรลุถึงทรรศนะใหม่อย่างนี้ และไม่หวนกลับไปสู่ทรรศนะอื่นๆอีก

74     วิญญาณ (การรับรู้) เป็นปัจจัยที่เป็นสาเหตุให้เกิดรูปนาม ทั้งนามรูป ก็เป็นเครื่องค้ำจุนสนับสนุนและเป็นที่อาศัยของวิญญาณ

75     เรือบรรทุกคนไป ขณะที่คนก็พายเรือนั้นไปฉันใด นามรูปและวิญญาณต่างก็เป็นสาเหตุค้ำจุนสนับสนุนของกันและกันฉันนั้น

76     เหล็กที่ร้อนแดงเป็นสาเหตุให้หญ้าลุกติดไฟ และหญ้าที่ลุกติดไฟก็เป็นสาเหตุให้เหล็กร้อนแดง ฉันใด นามรูปและวิญญาณต่างก็อาศัยก้นและกันเกิดขึ้นฉันนั้น

77     ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงทรงเข้าพระทัยว่า จากวิญญาณนามรูปจึงเกิดขึ้น จากนามรูปสฬายตนะจึงเกิดขึ้น และจากสฬายตนะผัสสะจึงเกิดขี้น

78     อนึ่ง พระองค์ทราบว่า จากผัสสะเวทนาจึงเกิดขึ้น จากเวทนาตัณหาจึงเกิดขึ้น จากตัณหาอุปาทานจึงเกิดขึ้น และจากอุปทานภพจึงเกิดขึ้น

79     จากภพชาติจึงเกิดขึ้น จากชาติชราและมรระจึงเกิดขึ้น พระองค์ทรงเข้าพระทัยอย่างถ่องแท้ว่าโลกนี้เกิดจากเหตุปัจจัย

80     ครั้นแล้วพระองค์ก็ทรงถึงความตกลงพระทัยอย่างแน่วแน่ว่าจากความหมดสิ้นไปของชาติ ชรา และมรณะก็ถูกกำจัดไปด้วย จากการทำลายภพได้ชาติก็ถูกทำลายไปด้วย และภพก็หยุดที่จะมีจะเป็นด้วยการกำจัดอุปทาน

81     อุปาทานจะถูกขจัดก็ต่อเมื่อตัณหาถูกขจัดแล้ว ถ้าไม่มีเวทนา ตัณหาก็ไม่มี ถ้าผัสสะถูกทำลายไป เวทนาก้ไม่มี เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะก็ถูกทำลายไปด้วย

82     ในทำนองเดียวกัน ถ้านามรูปถูกขจัดไปอย่างบริบูรณ์ สฬายตนะก็ถูกทำลายไปด้วย อนึ่ง นามรูปย่อมถูกขจัดไปในเมื่อวิญญาณถูกขจัดไป และวิญญาณย่อมถูกขจัดไปในเมื่อสังขารถูกขจัดไป

83     ในทำนองเดียวกัน พระมหามุนีทรงเข้าพระทัยว่า สังขารถูกกำจัดไปเพราะอวิชชาถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง ดังนั้น พระองค์จึงทรงรู้สิ่งที่ควรรู้อย่างถูกต้อง และทรงปรากฏต่อชาวโลกในฐานะทรงเป็นพระพุทธเจ้า

84     จากยอดแห่งภพลมงมา พระผู้ทรงเป็นยอดของมนุษย์ไม่ทรงพบอาตมันในที่ใดๆเลย พระองค์จึงบรรลุถึงความสงบเหมือนกาบไฟที่มีเชื้อเพลิงหมดสิ้นแล้ว โดยอาศัยอริยมรรคมีองค์ 8 ที่พระองค์ทรงดำเนินจนได้บรรลุเป้าหมายที่ทรงประสงค์อย่างรวดเร็ว

85     ครั้งนั้น เมื่อพระองค์ทรงบรรลุถึงความบริบูรณ์แล้ว จึงบังเกิดความดำรินี้ว่า "เราได้บรรลุหนทรงอันประเสริฐซึ่งพระมหามุนีทั้งหลายในปางก่อนผู้รู้สิ่งที่สูงและต่ำเคยดำเนินเพื่ออริยสัจแล้ว"

86     ในยามที่สี่ เมื่ออรุณย่างเข้ามาและเมื่อสรรพสิ่งทั้งที่เคลื่อนไหวได้และเคลื่อนไหวไม่ได้อยู่ในความสงบ พระมหามุนีผู้ทรงเป็นโลกนายกก็ได้บรรลุพระสัพพัญญูตญาณอันไม่มีความเปลี่ยนแปลง

87     เมื่อพระองค์ผู้ทรงเป็นพุทธได้ตรัสรู้ความจริงนี้แล้ว พื้นปฐพีก็ได้สั่นสะเทือนเหมือนกับหญิงเมาสุรา ทิศทั้งหลายก็ส่องแสงเจิดจ้าเพราะการมาชุมนุมของพวกนักสิทธิ์ และกลองมโหระทึกก็บันลือเสียงลั่นอยู่ในท้องฟ้า

88     สายลมที่น่าพอใจได้พัดมาอย่างเบาๆ สวรรค์ก็โปรยน้ำลงมาจากนภากาศที่ปราศจากเมฆผลไม้และดอกไม้ก็ร่วงหล่นลงมาจากต้นไม้ทั้งๆที่ไม่ใช่ฤดูกาล เหมือนกับว่าจะถวายสักการะแด่พระพุทธองค์

89     เวลานั้นเป็นเสมือนกับในสวรรค์ ดอกมานทารวะ ดอกอุบลและดอกปทุมทั้งสีทองและสีนิลได้ตกลงมาจากท้องฟ้า และโปรยลงในบริเวณที่พระศากยมุนีประทับอยู่

90     ในเวลานั้นไม่มีผู้ใดโกรธเคือง ไม่มีผู้ใดเจ็บป่วย ไม่มีผู้ใดได้รับความเดือดร้อน ไม่มีผู้ใดสนใจทำบาปหรือปล่อยตัวปล่อยใจให้หลงมัวเมา โลกได้ถึงความสงบเหมือนกับว่าได้รับความบริบูรณ์ทุกประการ

91     เหล่าทวยเทพผู้มีใจฝักใฝ่ในความหลุดพ้นต่างพากันแสดงความยินดี แม้สัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในภูมิเบื้องต่ำก็รูสึกยินดีเช่นกัน ด้วยความเจริญรุ่งเรืองของคนดี พระสัทธรรมจึงแพร่ขยายไปอย่างกว้างขวาง ชาวโลกจึงอยู่เหนือกามราคะและความมืดมนคืออวิชชา

92     เหล่าพระฤาษีในราชวงศ์อิกษวากุผู้เคยปกครองประชาชนแล้ว พร้อมทั้งเหล่าราชฤาษีและมหาฤาษีทั้งหลายต่างเปี่ยมล้นด้วยความยินดีและมีความอัศจรรย์ใจกับความสำเร็จของพระมหามุนีพากันสติตอยู่ในวิมานของตนบนสวรรค์ถวายสักการะแด่พระพุทธองค์

93     เหล่ามหาฤาษีเป็นเทวดาจำพวกที่ไม่ปรากฏกายก็ได้ประกาศสรรเสริญพระมหามุนีด้วยเสียงอันดัง ส่วนชีวโลกทั้งหลายก็พากันชื่นชมยินดีราวกับกำลังประโคมดนตรี มีพญามารผู้เดียวที่หดหู่ใจเหมือนกับคนที่ยืนอยู่หน้าผา

94     จากนั้น พระมหามุนีผู้ประทับนั่งโดยปราศจากความลำบากพระวรกายได้พิจารณาพระทัยของพระองค์โดยไม่ทรงกะพริบพระเนตรเป็นเวลา 7วัน เมื่อทรงทำความปรารถนาในพระทัยให้สำเร็จสมบูรณ์แล้ว พระองค์จึงทรงรำพึงว่า "ณ ที่นี้ เราได้บรรลุความหลุดพ้นแล้ว"

95     จากนั้น พระมหามุนีทรงเข้าพระทัยในหลักปฏิจจสมุปบาทและทรงแน่วแน่ในทรรศนะเรื่องอนตมัน(ความไม่มีตัวตน)ได้ทรงกระตุ้นเตือนพระองค์เอง ครั้นแล้วพระผู้ทรงเปี่ยมล้นด้วยพระมหากรุณาจึงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุเพื่อความสุขของชาวโลก

96     เมื่อทรงพิจารณาเห็นว่า ชาวโลกเป็นผู้มากด้วยราคะ ลุ่มหลงอยู่ในมิจฉาทิฏฐิและความพยายามที่เปล่าประโยชน์ และทรงพิจารณาเห็นอีกว่าพระสัทธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้นเป็นสิ่งที่ลึกซึ้งเกินไป พระองค์จึงตัดสินพระทัยที่จะประทับอยู่เฉยๆ

97     แต่เมื่อทรงระลึกถึงสัญญาที่ทรงมีอยู่ก่อน พระองค์จึงได้ตัดสินพระทัยที่จะแสดงหลักแห่งความสงบ ครั้นแล้วจึงตรึกตรองในพระทัยว่า "คนบางคนก็มีกิเลสหนา และคนบางคนก็มีกิเลสบาง"

98     ครั้งนั้น เมื่อจอมเทพทั้งสองผู้ปกครองสวรรค์ (พระพรหมและพระอินทร์)รู่ว่าพระสุคตทรงตัดสินพระทัยที่จะแสดงหลักแห่งความสงบ ทั้งสองผู้เปี่ยมไปด้วยความปรารถนาประโยชน์สุขต่อชาวโลกจึงเปล่งแสงสดใสเข้าไปเฝ้าพระมหามุนี

99     เมื่อพระพุทธองค์ผู้ทรงบรรลุเป้าหมายด้วยการกำจัดบาปและทรงมีพระสัทธรรมอันยอดเยี่ยมเป็นเสมือนยอดกัลยาณมิตรประทับนั่งอยู่ที่นั้น จอมเทพทั้งสองจึงได้กล่าวสรรเสริญพระองค์ด้วยความเคารพอย่างสูงสุด และกราบทูลคำนี้เพื่อประโยชน์แก่ชาวโลกว่า

100     "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชาวโลกสมควรแก่ความโชคดีเช่นนั้นหรือไม่หนอ ที่พระทัยของพระองค์จะทรงมีพระมหากรุณาต่อสัตว์ทั้งหลาย ในโลกนี้สัตว์ทั้งหลายมีความสามารถแตกต่างกันบางพวกก็มีกิเลสหนา บางพวกก็มีกิเลสเบาบาง"

101     "ข้าแต่พระมหามุนี ครั้นทรงข้ามพ้นมหาสมุทรคือภพแล้ว บัดนี้ขอพระองค์จงทรงช่วยเหลือชาวโลกที่กำลังจมอยู่ในความทุกข์และขอพระองค์จงประทานพระสัทธรรมอันยอดเยี่ยมแก่สัตว์โลกเหมือนกับพ่อค้ามหาเศรษฐีให้ทรัพย์ของตนเป็นทานด้วยเถิด"

102     "บางคนรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ในโลกนี้และโลกหน้าแล้วก็ทำเพื่อประโยชน์ของตนเท่านั้น แต่เป็นเรื่องยากที่จะหาคนผู้ขวนขวายเพื่อประโยชน์แก่ชาวโลกทั้งในโลกนี้และโลกสวรรค์"

103     ครั้นกราบทูลพระมหามุนีอย่างนั้นแล้ว จอมเทพทั้งสองจึงกลับไปสู่สวรรค์โดยทางที่ตนมา พระมหามุนีครั้นทรงใคร่ครวญคำพูดนั้นแล้วจึงตัดสินพระทัยอย่างแน่วแน่ที่จะปลดเปลื้องชาวโลก

104     ครั้นถึงเวลาบิณฑบาต เทวดาประจำทิศทั้งสี่ได้นำบาตร (สี่ใบ) มาถวายแด่พระมหามุนี พระโคตมพุทธะเมื่อทรงรับบาตรทั้งสี่ใบมาแล้วจึงได้อธิษฐานรวมบาตรทั้งหมดให้เป็นใบเดียวเพื่อความเป็นธรรม

105     ในขณะนั้น พ่อค้าสองคนซึ่งคุมกองเกวียนผ่านมาถูกเทวดาผู้เป็นกัลยาณมิตรดลใจให้ผ่าไปทางนั้น ทั้งสองจึงได้ถวายสักการะพระมหามุนีด้วยความดีใจอย่างหาที่เปรียบมิได้ และได้เป็นอุบาสกสองคนแรกที่ได้ถวายอาหารบิณฑบาตแด่พระมหามุนี

106     พระมหามุนีทรงใคร่ครวญว่าดาบสทั้งหลาย คืออราฑะและอุทรกะ เป็นบุคคลที่มีจิตใจพร้อมจะรับเอาพระสัทธรรมของพระองค์ได้ แต่เมื่อทรงเห็นว่าดาบสทั้งสองไปสู่สวรรค์แล้ว พระองค์จึงทรงดำริถึงปัญจวัคคีย์ทั้งห้า

107     ครั้งนั้น พระเคาตมพุทธะเมื่อทรงปรารถนาที่จะแสดงหลักแห่งความสงบเพื่อขจัดความมือมนคืออวิชชา เหมือนกับพระอาทิตย์ฉายแสงขึ้นมาเพื่อขจัดความมืด พระงองค์จึงเสด็จไปสู่เมืองที่สุขเกษม ซึ่งเป็นที่รักของพระเจ้ภีมรถะ ซึ่งมีป่าไม้นานาพรรณถูกล้อมกรอบไว้ด้วยแม่น้ำวาราณสี

108     ครั้นนั้น พระมหามุนีผู้มีพระเนตรดั่งโคอุสภะ ผู้เสด็จดำเนินดุจพญาคชสาร ทรงปรารถนาจะเสด็จดำเนินไปยังแคว้นกาสี เพื่อโปรดชาวโลก เมื่อทรงหมุนพระวรกายทุกส่วนหันกลับเหมือนดั่งพญาคชสารแล้ว พระองค์จึงทอดพระเนตรต้าโพธิพฤกษ์ด้วยพระเนตรที่ไม่กะพริบเลย

สรรค ที่ 14 พุทฺธตฺวปฺราปฺติ (การบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้า)

ในมหากาพย์พุทธจริต จบเพียงเท่านี้

 

สรรคที่15

 

สรรค ที่ 15

การประกาศพระธรรมจักร

แปลจากฉบับภาษาอังกฤษของ อี เอช จอห์นตัน

1     หลังจากทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว พระผู้ทรงรู้แจ้งด้วยกำลังแห่งความสงบจึงเสด็จดำเนินไปเพียงลำพัง แต่ก็เหมือนกับมีผู้ตามเสด็จพระองค์ไปมากมาย ปริพาชกคนหนึ่งพบเห็นพระองค์ในระหว่างทางจึงประนมกรทั้งสองขึ้นทูลถามว่า

2     "ด้วยเหตุที่พระองค์ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นและทรงฝึกฝนม้าคืออินทรีย์ของพระองค์ได้ขณะที่ดำรงอยู่ท่ามกลางสรรพสัตว์ที่มีแต่ความยึดมั่นถือมั่นและมีม้าคืออินทรีย์ที่ยังวิ่งพล่าน ลักษณะท่าทางของพระองค์จึงเปรียบเสมือนพระจันทร์ที่ส่องให้เห็นความปิติยินดีที่เกิดจาการได้ลิ้มรสการตรัสรู้ใหม่ๆ

3     "พระพักตร์ที่สงบนิ่งของพระองค์ก็มีรัศมีเปล่งปลั่ง พระองค์คงจะได้เป็นนายแห่งอินทรีย์ของตนแล้ว อนึ่ง พระเนตรของพระองค์ก็คล้ายกับดวงตาของโคอุสภะ พระองค์ได้เรียนรู้ความสำเร็จนี้มาจากผู้ใด"

4     ครั้งนั้นพระพุทธองค์ได้ตรัสตอบว่า "เราไม่มีผู้ใดเป็นครู ไม่มีผู้ใดที่เราจะแสดงความเคารพและไม่มีผู้ใดที่เราจะดูหมิ่น เราได้บรรลุนิรวาณ แล้ว และจะไม่เป็นเหมือนกับคนอื่นๆอีก ขอท่านจงรู้จักเราว่าเป็นผู้ตรัสรู้ในพระสัทธรรมนี้ด้วยตนเอง (สฺวยมฺภู)"

5     "เนื่องจากเราสามารถหยั่งรู้ในสิ่งที่ควรหยั่งรู้ได้ทั้งหมด แต่คนอื่นๆยังไม่อาจหยั่งรู้ได้ ดังนั้นเราจึงเป็นพุทธะ และเนื่องจากเราสลัดทิ้งกิเลสทั้งหลายที่เป็นเหมือนกับศัตรูได้หมดสิ้นแล้ว ขอท่านจงรู้จักเราว่าเป็นผู้มีจิตสงบแล้ว(ศมาตฺมก)"

6     "เพื่อนเอ๋ย ขณะนี้เรากำลังจะเดินทางไปยังเมืองวาราณสี เพื่อตีกลองป่าวประกาศหลักธรรมอันเป็นอมตะ ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะมีความยินดีในเกียรติยศชื่อเสียงหรือเพราะมีความภูมใจ แต่เราเดินทางไปก็เพื่อความดีของผองเพื่อนผู้ติดตามเราซึ่งกำลังถูกเบียดเบียนด้วยความทุกข์"

7     "แต่ก่อนโน้ม เมื่อเราพิจารณาเห็นสัตว์โลกผู้มีชีวิตพากันตกอยู่ในความทุกข์ เราได้ตั้งปณิธานไว้ว่า เมื่อเราสามารถข้ามพ้นจากความทุกข์ได้แล้วเราจะนำพาชาวโลกให้ข้ามพ้นไปด้วย และเมื่อเราหลุดพ้นแล้ว เราจึงจะช่วยปลดเปลื้องสัตว์โลกทั้งหลายให้หลุดพ้นดาม"

8     "คนบางคนในโลกนี้เมื่อได้ทรัพย์มาก็เก็บงำเอาไว้เพื่อตนเองเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงบรรลุถึงความน่าละอาย แต่สำหรับมหาบุรุษผู้มีโลกทัศน์กว้าง(ใจกว้าง)เมื่อได้รับสิ่งของวิเศษมาย่อมเผื่อแผ่สิ่งของวิเศษนั้นให้แก่ผู้อื่น"

9     "เมื่อบุรุษคนหนึ่งกำลังถูกกระแสน้ำพัดไป ผู้ที่ยืนอยู่บนฝั่งไม่พยายามช่วยดึงเขาขึ้นมาก็ไม่ใช่วีรบุรุษ อนึ่งผู้ที่ค้นพบขุมทรัพย์แต่ไม่ได้แบ่งปันทรัพย์นั้นแก่คนยากจนก็ไม่ใช่ผู้ให้

10     "เป็นเรื่องเหมาะสมที่คนผู้มีสุขภาพดีจะนำคนผู้ถูกโรคภัยรุมเร้าไปหาหมอเพื่อเยียวยารักษา และเป็นเรื่องเหมาะสมที่ผู้รู้ทางจะบอกทางที่ถูกต้องแก่ผู้หลงทาง"

11     เมื่อพระพุทธเจ้าได้จุดแสงสว่างแห่งปัญญาขึ้นแล้ว ผู้คนทั้งหลายก็จะไม่ตกเป็นเหยื่อของกิเลสอีกต่อไป เปรียบเหมือนเมื่อประทีปถูกจุดสว่างขึ้น ความมืดก็หายไปฉะนั้น"

12     การตรัสรู้ของพระมุนีทั้งหลายจะต้องเกิดขึ้นที่ตำบลคยาและการแสดงธรรมของพระมุนีเหล่านั้นก็จะต้องมีขึ้นที่เมืองวาราณสี เปรียบเหมือนไฟจะต้องอาศัยอยู่ในไม้ สมจะต้องอาศัยอยู่ในอากาศ และน้ำจะต้องอาศัยอยู่ในดินฉะนั้น"

13     ลำดับนั้น ปริพาชกได้ชื่นชมพระพุทธองค์ด้วยการรำพึงเบาๆ แล้วจึงหลีกไปตามทางที่ตนต้องการ แต่เมื่อเกิดความปรารถนาจะเห็นพระพุทธองค์เขาจึงหันกลับมามองพระองค์ด้วยสายตาที่เต็มไปด้วยความประหลาดใจอีกครั้ง

14     ในเวลาต่อมา พระมุนีก็ทอดพระเนตรเห็นเมืองกาศี ซึ่งคล้ายกับท้องพระคลังมหาสมบัติ อันมีแม่น้ำภาคีรถี(แม่น้ำคงคา) และแม่น้ำวาราณสีที่ไหลมาบรรจบกันโอบล้อมไว้คล้ายกับเพื่อนหญิงกำลังสวมกอดกัน

15     พระมุนีผู้ทรงงดงามด้วยพระกำลังและพระเกียรติยศ ทรงเปล่งแสงรุ่งเรืองคล้ายกับพระอาทิตย์ ได้เสด็จเข้าไปยังสวนกวางที่มีปัญจวัคคีย์อาศัยอยู่ในท่ามกลางแมกไม้ที่แวดล้อมด้วยเสียงร้องขับขานของนกดุเหว่า

16     ต่อจากนั้น ปัญจวัคคีย์ ได้แก่ เกาฑินยโคตร มหานามะ วาษปะ อัศวชิต และภัทรชิต เมื่อเห็นพระพุทธองค์แต่ที่ไกลจึงได้ปรีกษากันว่า

17     "สมณะเคาตมะผู้ละทิ้งการบำเพ็ญตบะเพราะชอบความสะดวกสบายกำลังมาที่นี่ พวกเราจะต้องไม่ต้อนรับและจะต้องไม่แสดงความเคารพต่อพระองค์อย่างเด็ดขาด เพราะบุคคลผู้ละทิ้งคำปฏิญาณของตนไม่สมควรจะได้รับความเคารพนอบน้อม"

18     "อย่างไรก็ตาม พระองค์คงมีพระประสงค์ที่จะสนทนากับพวกเราอย่างแน่นอนและพวกเราก็จะต้องสนทนากับพระองค์เป็นแน่ เพราะว่าคนผู้ประเสริฐจะต้องทำเช่นนั้นเมื่อแขกเดินทางมาถึง"

19     พระพุทธองค์ได้เสด็จตรงไปยังเหล่าปัญจวัคคีย์ผู้นั่งอยู่หลังจากที่วางแผนเตรียมการกันเรียบร้อยแล้ว และทันทีที่พระองค์เสด็จเข้าไปใกล้ปัญจวัคคีย์ทั้งหมดต่างก็ละเมิดข้อตกลงที่ทำกันไว้

20     ในบรรดาปัญจวัคคีย์ทั้งห้านั้น คนหนึ่งขอรับจีวร คนหนึ่งประนมกรขอรับบาตร อีกคนหนึ่งจัดอาสนะที่เหมาะสมถวาย ส่วนอีกสองคนได้ถวายน้ำล้างพระบาทแด่พระองค์

21     ปัญจวัคคีย์เมื่อจะแสดงความตั้งใจให้ปรากฏจึงพากันปฏิบัติต่อพระพุทธองค์เหมือนกับเป็นครูของตน แต่ก็ยังไม่เลิกเรียกขานพระนามของพระองค์ตามโคตร(ตระกูล) พระพุทธองค์จึงตรัสกับปัญจวัคคีย์ด้วยพระมหากรุณาว่า

22     "ดูก่อนบรรพชิตทั้งหลาย ท่านอย่าได้พูดกับพระอรหันต์ด้วยวิธีเก่าๆโดยไม่มีความเคารพเลย เพราะถึงแม้เราจะไม่ยินดียินร้ายในคำสรรเสริญและคำนินทา แต่เราก็จะนำพาพวกท่านให้หลุดพ้นจากสิ่งเลวร้ายทั้งหลาย"

23     "เมื่อรู้ว่าตถาคตได้ตรัสรู้แล้วเพื่อประโยชน์แก่ชาวโลกและกำลังดำเนินไปเพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ บุคคลผู้มีใจเคียดแค้นเรียกขานครูของตนโดยชื่อโคตรก็จะพลาดจากพระสัทธรรม เหมือนกับคนที่ไม่เคารพต่อบิดามารดาฉะนั้น

24     พระมหามูนีผู้เป็นยอดนักพูดเมื่อทรงกระทำดังนั้นแล้วจึงตรัสโปรดปัญจวัคคีย์ด้วยพระทัยที่เปี่ยมด้วยพระมหากรุณา แต่เพราะปัญจวัคคีย์ยังมีความหลงผิดและยังไม่เข้าถึงแก่นแท้ พวกเขาจึงยิ้มเล็กน้อยและกราบทูลตอบพระองค์ว่า

25     "ดูก่อนเคาตมะ แม้ด้วยการบำเพ็ญตบะอันสูงส่งและยอดเยี่ยมปานนั้น ท่านก็ยังไม่เข้าถึงสัจจะอย่างแท้จริง แม้จุดหมายที่จะต้องบรรลุด้วยความยากลำบากแต่ท่านก็กลับปล่อยตัวปล่อยใจไปกับความสุขสบาย อะไรเล่าคือหลักฐานของท่านที่จะบอกว่าเราได้เห็นแล้ว"

26     เนื่องจากปัญจวัคคีย์ได้แสดงความสงสัยเกี่ยวกับความจริงในพระตถาคตอย่างนี้ ดังนั้น พระผู้ทรงรู้ทางเมื่อทรงทราบทางแห่งการตรัสรู้ที่นอกเหนือไปจากนั้นจึงได้ชี้ทาแก่ปัญจวัคคีย์ว่า

27     คนโง่ที่เอาแต่ทรมานตนเองและคนที่ยึดติดอยู่กับอารมณ์ของอินทรีย์ย่อมมีลักษณะพอๆกัน คนทั้งสองนั้นควรถือได้ว่าเป็นผู้หลงผิด เพราะดำเนินตามทางที่ไม่น่าไปสู่ความเป็นอมตะ"

28     "คนแรกมีจิตใจสับสนและฟุ้งซ่านเพราะการทรมานร่างกายซึ่งเรียกว่าตบะ กลายเป็นคนไร้ความรู้สึก ไม่รู้แม้กระทั่งความเป็นไปตามธรรมชาติของชาวโลก แล้วมันจะดีไปกว่าทางแสวงหาความจริงโดยอาศัยความหมกมุ่นในกามได้อย่างไร"

29     "ในโลกนี้บุคคลไม่อาจเทน้ำเพื่อให้ได้แสงสว่างมาทำลายความมืด ฉันใด การทรมานร่างกายเพื่อหวังจะทลายความมืดคืออวิชชาซึ่งควรจะทำลายด้วยไฟคือความรู้ ก็ไม่ใช่สิ่งจำเป็น ฉันนั้น"

30     "ความเป็นอมตะ บุคคลย่อมได้มาด้วยการบำเพ็ญสมาธิ ไม่ใช่ได้มาด้วยการทรมานร่างกาย เปรียบเหมือนผู้ต้องการไฟย่อมไม่ได้ด้วยการเจาะหรือผ่าไม้ แต่ย่อมได้ด้วยวิธีที่ถูกต้องเท่านั้น"

31     "เช่นเดียวกัน คนทั้งหลายผู้ยึดติดกับตัณหาอันก่อให้เกิดความหายนะ มีใจถูกครอบงำด้วยราคะและอวิชชา พวกเขาจะไม่สามารถเข้าใจศาสตร์ต่างๆได้เลย นอกจากจะใช้วิธีกำจัดราคะ ด้วยความไม่มีราคะ"

32     "ผู้ที่ถูกโรคภัยเบียดเบียนไม่อาจจะเยียวยารักษาด้วยการกินอาหารแสลง ฉันใด บุคคลผู้ถูกโรคคืออวิชชาครอบงำและหมกมุ่นอยู่กับตัณหาก็ฉันนั้น จะบรรลุถึงความสงบได้อย่างไร"

33     "ใจย่อมไม่ถึงความสงบเมื่อยังมีราคะเป็นเพื่อนและมีตัณหาเป็นเครื่องสนับสนุน เปรียบเหมือนไฟย่อไม่ดับเมื่อยังมีหญ้าแห้งเป็นเชื้อเพลิงและยังมีลมพัด"

34     "เมื่อละทิ้งที่สุดโต่งอย่างใดอย่างหนึ่งได้แล้ว เราจึงได้มาซึ่งวิธีอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือทางสายกลาง อันจะนำไปสู่การระงับความเศร้าโศกซึ่งอยู่เหนือความสุขเกษมและความปิติยินดี"

35     "พระอาทิตย์คือสัมมาทิฏฐิได้ส่องแสงนำทาง รถคือสัมมาสังกัปปะได้ออกวิ่งไปตามทางนั้น เรือนพักคือสัมมาวาจาก็พูดแต่สิ่งที่ถูกต้อง และทางนั้นก็น่ายินดีด้วยแนวป่านับร้อยคือสัมมากัมมันตะ"

36     "ทางนั้นเพลิดเพลินด้วยทรัพย์สมบัติมากมายคือสัมมาอาชีวะ และมีกองกำลังพร้อมด้วยข้าราชบริพารคือสัมมาวายามะ ได้รับการคุ้มครองทั่วสารทิศโดยเกราะป้องกันคือสัมมาสติ และมีการจัดเตรียมที่นอนและที่นั่งคือสัมมาสมาธิไว้เรียบร้อยแล้ว"

37     "ในโลกนี้อริยมรรคมีองค์แปดเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมที่สุด โดยอาศัยอริยมรรคมีองค์แปดนั้นบุคคลจะรอดพ้นจากมรณะ ชรา และพยาธิ และโดยการปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์แปดนั้น กิจที่ควรทำทุกอย่างก็ถือว่าเป็นอันทำเสร็จสิ้นแล้ว และจะไม่มีการท่องเที่ยวต่อไปทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า"

38     "นี้ไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากทุกข์ นี้คือเหตุให้เกิดทุกข์ นี้คือการดับทุกข์ และนี้คือทางแห่งการดับทุกข์ เพื่อประโยชน์แก่ความหลุดพ้นเราจึงได้คิดค้นวิธีการที่ไม่เคยมีมาก่อนและไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน"

39     ชาติ ชรา พยาธิ และมรณะ ความพลัดพรากจากสิ่งที่ตนปรารถนา สิ่งเหล่านี้จัดเป็นทุกข์ชนิดต่างๆ ที่มนุษย์ทั้หลายจะต้องประสบ"

40     "เมื่อคนเกิดมา ไม่ว่าเขาจะมีตัณหาราคะหรือเอาชนะจิตใจของตนได้แล้ว ไม่ว่าเขาจะมีร่างกายหรือไม่มีร่างกายก็ตาม คุณสมบัติใดๆที่เขาขาดไป โดยสรุปจงรู้ว่าสิ่งนั้นคือทุกข์"

41     "นี้คือหลักธรรมแน่นอนของเรา เมื่อเปลวไฟดับลง ไฟก็ยังไม่สูญเสียธรรมชาติคือร้อนของมันไปแม้จะเป็นกองเล็กๆ ฉันใด ความคิดที่ละเอียดอ่อนเกี่ยวกับอัตตา แม้จะสงบนิ่งหรือมีลักษณะคล้ายกัน แต่มันก็ยังมีธรรมชาติแห่งความทุกข์อยู่ ฉันนั้น"

42     "จงเข้าใจว่า ดิน น้ำ เมล็ดพืช และฤดูกาล เป็นสาเหตุทำให้เกิดการแตกหนอฉันใด โทสะกามราคะและกิเลสประเภทเดียวกัน รวมทั้งการกระทำที่เกิดจากโทสะทั้งหลายก็เป็นสาเหตุแห่งความทุกข์ฉันนั้น"

43     "สาเหตุแห่งการเวียนว่ายตายเกิดทั้งในสวรรค์หรือในภพที่ต่ำกว่าก็คือกลุ่มของโทสะกามราคะและกิเลสประเภทเดียวกัน สิ่งที่ทำให้เกิดความแตกต่างในโลกนี้และโลกหน้าโดยแบ่งเป็นขั้นต่ำ ขั้นกลาง และขั้นสูง ก็คือกรรมหรือการกระทำนั่นเอง"

44     "เพราะทำลายกิเลสทั้งหลายได้ สาเหตุแห่งการเวียนว่ายตายเกิดจึงดับไป และเพราะขจัดกรรมคือการกระทำได้ ทุกข์จึงหมดไป เพราะว่าสรรพสิ่งย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยบารมี และเพราะสิ่งนั้นดับไปสรรพสิ่งจึงดับไปด้วย"

45     "จงรู้ว่าการดับทุกข์ (นิโรธ) คือสภาวะที่ไม่มีชาติ ชรา มรณะ ดิน น้ำ อากาศ  หรือลมไม่มีเบื้องต้น ไม่มีที่สิ้นสุด เป็นสิ่งที่ประเสริฐ ใครๆขโมยไม่ได้ เป็นความสุข และไม่มีการเปลี่ยนแปลง"

46     "อริยมรรคนี้ประกอบด้วยองค์แปด นอกจากอริยมรรคนี้แล้วไม่มีทางอื่นที่จะเป็นไปเพื่อการบรรลุความพ้นทุกข์(อริคม)มนุษย์เดินวนเวียนอยู่ในทางทีหลากหลายเป็นนิตย์ก็เพราะยังไม่เห็นอริยมรรคนี้"

47     "ดังนั้นในอริยสัจ4นี้จึงกล่าวสรุปได้ว่า ทุกข์เป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้ สมุทัยเป็นสิ่งที่ต้องละ นิโรธเป็นสิ่งที่ต้องเข้าใจชัด มรรคเป็นสิ่งที่ต้องทำให้มีขึ้น"

48     "เราได้เกิดความรู้แจ้งภายในว่า ทุกข์นี้เราได้รู้แล้ว สมุทัยเราละได้แล้ว นิโรธเราข้าใจชัดแล้ว และมรรคนี้เราก็ได้ดำเนินแล้ว"

49     "เราคงไม่ประกาศว่าเราเป็นผู้หลุดพ้นแล้วในโลกนี้ และเราคงไม่รู้ว่าเราได้บรรลุเป้าหมายแล้วตราบใดที่เรายังไม่ได้เห็นแจ้งอริยสัจ 4นี้"

50     "เมื่อได้รู้แจ้งอริยสัจ 4 และได้ทำความเข้าใจในอริยสัจ 4 แล้ว กิจที่ควรทำก็ถือว่าได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนั้นเราจึงประกาศว่าเป็นผู้หลุดพ้นแล้วในโลกนี้และยังเห็นว่าเราได้บรรลุเป้าหมายแล้ว"

51     ครั้นเมื่อพระมหามุนีผู้ทรงเปี่ยมด้วยพระมหากรุณาทรงแสดงธรรมอยู่ ณ ที่นั้น ด้วยพระดำรัสเหล่านี้ เกาณฑินยะ และเทวดาจำนวนหนึ่งร้อยก็ได้ดวงตาเห็นธรรมซึ่งเป็นสภาวะที่บริสุทธิ์ปราศจากราคะ

52     เมื่อเกาณฑินยะทำกิจที่ควรทำสำเร็จแล้ว พระสัพพัญญูพุทธเจ้าจึงได้ตรัสกับเกาณฑินยะด้วยพระสุรเสียงกังวานดุจเสียงโคอุสภะว่า "ท่านรู้แล้วหรือ" เกาณฑินยะผู้มีใจประเสริฐจึงกราบทูลว่า "ถูกแล้วพระเจ้าข้า ข้าพระองค์รู้สิ่งที่พระองค์ทรงทราบแล้ว"

53     จากนั้น ด้วยการเปล่งคำว่า "ถูกแล้วพระเจ้าข้า ข้าพระองค์รู้" เกาณฑินยะจึงเป็นพระสาวกองค์แรกในโลกที่เข้าใจพระสัทธรรมก่อนสาวกอื่นใดของพระตถาคตผู้ทรงเป็นพระบรมศาสดา

54     เมื่อยักษ์ทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นปฐพีได้ยินเสียงสาธุการนั้นจึงพากันป่าวประกาศด้วยน้ำเสียงอันดึงกึกก้องว่า "แน่นอนที่สุด วงล้อแห่งธรรม (พระธรรมจักร) ได้ถูกหมุนไปแล้วอย่างดี โดยพระผู้ทรงเป็นยอดของผู้รู้แจ้ง เพื่อความสงบอันเป็นอมตะของสรรพสัตว์ทั้งหลาย"

55     "ล้อแห่งธรรมนั้น มีศีล เป็นซี่ล้อ มีความสงบ (ศม) และวินัย เป็นวงล้อ กว้างขวางด้วยความรู้ (พุทธิ) มั่นคงด้วยสติ (สฺมฺฤติ) และปัญญา (มติ) และมีหิริ(หรี) เป็นดุมล้อ ด้วยเหตุที่พระธรรมจักรนั้นมีความลึกซึ้ง ปราศจากข้อผิดพลาด และยอดเยี่ยมกว่าคำสอนอื่นใด เมื่อถูกสั่งสอนในไตรโลก พระธรรมจักรนั้นก็จะไม่มีคำสอนอย่างอื่นมาหมุนทับรอยได้อีก"

56     เมื่อได้ยินเสียงป่าวร้องของพวกยักษ์ประจำภูเขา ทวยเทพในชั้นฟ้าก็ได้ส่งเสียงสาธุการขึ้นอีก และเสียงนั้นก็ดังขึ้นเรื่อยๆ จากสวรรค์ (ชั้นล่าง)ไปสู่สวรรค์ชั้นบนจนกระทั่งถึงพรหมโลก

57     เหล่าวทวยเทพผู้อยู่ในสวรรค์ซึ่งฝึกฝนตนดีแล้วครั้นได้ฟังพระดำรัสของพระมหามุนีว่าไตรโลกธาตุมีความเปลี่ยนแปลง ไม่ยั่งยืน จึงละจากความยึดมั่นในอารมณ์ของอินทรีย์ทั้งหลาย และด้วยความสังเวชใจจึงได้เข้าถึงความสงบ (ไม่ยินดียินร้าย) ในภพทั้งสาม"

58     ขณะนั้น เมื่อพระพุทธองค์ทรงหมุนพระธรรมจักรไปในสวรรค์และพื้นพิภพเพื่อความสงบอย่างยอดเยี่ยมของไตรโลก ละอองฝนอันระคนด้วยดอกไม้ก็ได้โปรยปรายลงมาจากนภากาศที่ไร้เมฆ และเหล่าทวยเทพแห่งไตรภพก็ได้ประโคมกลองมโหระทึกดังกึกก้องไปทั่วท้องฟ้า

๑ ภพ ได้แก่ โลกอันเป็นที่อยู่ของสัตว์ มี 3 คือ 1 กามภพ (ภพที่เป็นกามาวจร) 2 รูปภพ (ภพที่เป็นรูปาวจร) 3 อรูปภพ (ภพที่เป็นอรูปาวจร) นอกจากนี้คำว่า ภพ ยังหมายถึง โลก 3 คือ 1มนุษย์โลก (โลกคือหมู่มนุษย์) 2 เทวโลก (โลกคือสวรรค์ชั้นกามาวจรทั้ง 6) 3 พรหมโลก โลกคือหมู่พรหม

สรรค ที่ 15 ชื่อการประกาศพระธรรมจักร

ในมหากาพย์พุทธจริต จบเพียงเท่านี้

สรรคที่16

 

สรรค ที่ 16

ธารศรัทธาแห่งพุทธสาวก

1     ต่อจากนั้นพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดอัศวชิต และปัญจวัคคีย์ ที่เหลือซึ่งผ่านการฝึกฝนอบรมจิตมาดีแล้วจนได้บรรลุผลในพระสัทธรรม

2     พระพุทธองค์ผู้ทรงแวดล้อมด้วยปัญจวัคคีย์ผู้ควบคุมอินทรีย์ห้าได้แล้วทรงปรากฏเหมือนกับพระจันทร์ในท้องฟ้าแวดล้อมด้วยกลุ่มดาวหัสดา (ห้าดวง) ซึ่งได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์

3     ในกาลนั้นบุตรของเศรษฐีคนหนึ่งชื่อยศะ เห็นพวกสาวใช้นอนหลับใหลไม่ได้สติจึงเกิดความวุ่นวายใจเพราะอาศัยเหตุดังกล่าวนั้น

4     ยศะทั้งที่ประดับด้วยเครื่องแต่งกายอันงดงามทุกอย่างได้เดินไปบ่นไปว่า "ที่นี่วุ่นวายจริงหนอ" โดยมุ่งหน้าไปทางที่พระพุทธองค์ประทับอยู่"

5     พระตถาคตผู้ทรงรู้อัธยาศัยและกิเลสของสัตว์โลกเมื่อทอดพระเนตรเห็นยศะจึงตรัสว่า "ไม่มีกำหนดเวลาสำหรับการบรรลุนิรวาณ เธอจงมาที่นี่และจงรับเอาสภาวะแห่งความสุขเกษมเถิด"

6     เมื่อได้ยินพระสุรเสียงของพระพุทธองค์ผู้มีพระเกียรติยศระบือไกล ยศะจึงบังเกิดความปีติยินดีอย่างยิ่ง เปรียบเหมือนคนร้อนกายเดินเข้าไปสู่แม่น้ำฉะนั้น

7     ครั้นแล้ว ด้วยผลบุญที่เคยทำไว้ในปางก่อน ยศะขณะที่ยังอยู่ในเพศคฤหัสถ์นั่นเองก็ได้บรรลุอรหัตผลทั้งทางกายและทางใจ

8     ยศะผู้มีจิตใจบริสุทธิ์รู้แจ้งพระสัทธรรมอย่างบริบูรณ์ในทันทีที่ได้ฟัง เปรียบเหมือนผ้าที่ฟอกด้วยน้ำเกลือจนขาวดูดซับเอาสีย้อมผ้าได้เป็นอย่างดี

9     พระพุทธองค์ผู้เป็นยอดนักพูด ผู้ทรงทำกิจของพระองค์สำเร็จแล้ว และทรงทราบเป้าหมายสูงสุด ครั้นทอดพระเนตรเห็นยศะยืนเขินอายด้วยเครื่องแต่งกายของตนอยู่อย่างนั้นจึงตรัสว่า

10     "เพศบรรพชิตไม่ใช่เหตุผลสำคัญต่อการประพฤติธรรม บุคคลผู้มองเห็นสรรพสัตว์เสมอภาคกันด้วยใจที่เป็นกลางและข่มอินทรีย์ของตนได้ด้วยความสงบและวินัย ถึงแม้เขาจะสวมใส่เครื่องแต่งกายของคฤหัสถ์ แต่ก็สามารถดำเนินตามพระสัทธรรมได้"

11     "บุคคลที่ละทิ้งเรือนแต่กาย แต่มิได้ละทิ้งด้วยใจและยังมีความเกี่ยวข้องด้วยกาม เขาย่อมได้ชื่อว่าเป็นคฤหัสถ์ถึงแม้จะอยู่ในป่าก็ตาม"

12     "บุคคลผู้ละทิ้งเรือนด้วยใจ แต่มิได้ละทิ้งด้วยกายและไม่มีความเห็นแก่ตัว เขาย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ป่าถึงแม้จะอยู่ในเรือนก็ตาม"

13     "บุคคลผู้ได้บรรลุธรรมแล้ว ไม่ว่าจะอยู่ในเรือนหรือเป็นนักบวชพเนจร เขาย่อมได้ชื่อว่าเป็นหลุดพ้นแล้ว"

14     "บุคคลครองเพศบรรพชิตก็เพื่อจะได้ชัยชนะต่อกองทัพข้าศึกคือกิเลส เปรียบเหมือนนักรบสวมสื้อเกราะก็เพื่อจะชนะกองทัพของฝ่ายศัตรูฉะนั้น"

15     จากนั้นพระตถาคตได้ตรัสกาบยศะว่า "เอหิ ภิกษุ (มาเถิดถิกษุ)" และด้วยพระดำรัสนี้เอง ยศะจึงกลายเป็นผู้ครองเพศบรรพชิต

16     ในเวลาต่อมาสหายของพระยศะจำนวน54 คนก็ได้บรรลุผลในพระสัทธรรมตามพระยศะเพราะผูกพันที่มีต่อพระยศะนั่นเอง

17     สหายของพระยศะต่างเป็นผู้บริสุทธิ์อย่างรวดเร็วเนื่องจากผลบุญที่ได้สร้างสมไว้ตั้งแต่ชาติปางก่อน เปรียบเหมือนผ้าที่เปื้อนแร่กษาระ กลับสะอาดดังเดิมในทันทีที่ถูกล้างด้วยน้ำ

18     ณ เวลานั้นได้มีพระสาวกผู้ล้วนเป็นพระอรหันต์จำนวน 60 รูปอุบัติขึ้นในโลก พระพุทธองค์ผู้ทรงเป็นที่เคารพบูชาของพระอรหันต์สาวกทั้งหลายจึงตรัสกับพระสาวกเหล่านั้นว่า

19     "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายผ่านพ้นจากทุกข์แล้วและได้ทำกิจของตนสำเร็จแล้ว บัดนี้จึงเป็นการสมควรที่เธอทั้งหลายจะช่วยเหลือผู้อื่นที่ยังมีความทุกข์"

20     "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขอให้เธอทั้งหลายจงแยกกันจาริกไปในโลกเพียงลำพังองค์เดียวและจงประกาศพระสัทธรรมแก่ชาวโลกด้วยความกรุณาเพื่อประโยชน์สุขของพวกเขา"

21     "ส่วนเราตถาคตจะไปที่ตำบลคยาซึ่งเป็นที่อยู่ของราชฤาษีทั้งหลายเพื่อโปรดราชฤาษีกาศยปะ ผู้มีฤทธิ์มากเพราะกาได้ฌาน"

22     จากนั้นพระสาวกทั้งหลายผู้เห็นแจ้งสัจธรรมจึงบออกเดินทางจาริกไปในทิศต่างๆ ทั่วสารทิศตามที่มีพระบรมพุทธโธวาท ขณะเดียวกันพระสุคตมหามุนีผู้ทรงเป็นอิสระจากทวันทธรรม (ธรรมที่เป็นคู่กันหรือโลกธรรม) ก็ได้เสด็จไปยังตำบลคยา

23     ต่อจากนั้นพระองค์ก็ได้เสด็จถึงตำบลคยา และเมื่อเสด็จเข้าไปใกล้ป่าเป็นที่บำเพ็ญตบะก็ทอดพระเนตรเห็นฤาษีกาศยปะอาศัยอยู่ ณ ที่นั้น เหมือนกับตบะ(นามธรรม) ปรากฏในรูปของบุคคล(รูปธรรม)

24     ถึงแม้จะมีที่พำนักมากมายในภูเขาและในป่า แต่พระทศพลผู้ทรงปรารถนาจะโปรดฤาษีกาศยปะก็ได้ตรัสขอที่พำนักกาบฤาษีกาศยปะ

25-26 โศลกที่ 25และ26 ในฉบับของ อี เอช จอห์สตัน ไม่ปรากฏคำแปลของ 2 โศลกนี้ เข้าใจว่าต้นฉบับที่เขานำมาใช้แปลคงจะชำรุดเสียหาย

27     ครั้นนั้น เพื่อที่จะทำร้ายพระมหามุนีด้วยเจตนามุ่งร้าย ฤาษีกาศยปะจึงมอบเรือนไฟที่มีงูใหญ่อาศัยอยู่แด่พระองค์

28     ในเวลากลางคืน งูซึ่งมีสายตาดุร้ายเห็นพระมหามุนีผู้ทรงสงบนิ่งและปราศจากความกลัวผู้ทอดพระเนตรมันอยู่ ณ ที่นั้น มันจึงขู่พระมหามุนีด้วยความเดือดดาล

29     เรื่อไฟได้ลุกโพลงขึ้นเพราะความเดือดดาลของงู แต่ไฟก็เหมือนกับจะเกรงกลัว หาได้สัมผัสพระวรกายของพระมหามุนีไม่

30     พระเคาตมะพุทธเจ้าประทับนั่งนิ่งโดยไม่สะดุ้งกลัวเลยถึงแม้เรือนไฟจะลุกโพลงไปทั่วก็ตาม เปรียบเสมือนพระพรหมนั่งเปล่งรัศมีอยู่ในขณะที่ไฟประลักกัลป์ดับลงในเวลาสิ้นกัลป์

31     เมื่อพระพุทธองค์ประทับนิ่งอยู่ที่นั้นโดยไม่ทรงได้รับอันตรายและไม่ทรงขยับเขยื้อนพระวรกาย งูใหญ่ผู้เต็มไปด้วยความประหลาดใจจึงได้ถวายบังคมแด่พระมุนีผู้ทรงเป็นจอมฤาษี

32     ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณสวนกวางเมื่อคิดถึงพระมหามุนีผู้ประทับอยู่ในเรือนไฟนั้นต่างมีความทุกข์ใจอย่างมากและเต็มไปด้วยความสงสารด้วยคิดว่านักบวชนั้นคงถูกเผาไปเสียแล้ว

33     ครั้นเมื่อราตรีนั้นผ่านพ้นไป พระผู้ทรงเป็นยอดของผู้นำจึงได้ทรงจับงูใส่ไว้ในบาตรของพระองค์อย่างสงบแล้นำงูนั้นไปแสดงแก่ฤาษีกาศยปะ

34     เมื่อได้เห็นอานุภาพของพระพุทธเจ้า ฤาษีกาศยะก็รู้สึกประหลาดใจ แต่ก็ยังเชื่อมั่นว่าไม่มีผู้ใดมีมหิทธานุภาพเหนือกว่าตน

35     ครั้งนั้นเมื่อพระมหามุนีทรงทราบความคิดของฤาษีกาศยปะ พระองค์ผู้สงบจึงทรงชำระจิตใจของเขาด้วยการแสดงปาฏิหาริย์ที่สมความแก่โอกาส

36     ต่อมาเมื่อเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าทรงมีอิทธิปาฏิหาริย์มากกว่าตน ฤาษีกาศยปะจึงตัดสินใจที่จะพิชิตเอาพระสัทธรรมของพระองค์

37     บริวารของฤาษีเอารุวิลวะ กาศยปะ จำนวน 500 คน เมื่อเห็นฤาษีกาศยปะเปลี่ยนใจโดยฉับพลันจึงพากันรับเอาพระสัทธรรมนั้นเช่นเดียวกัน

38     เมื่อพี่ชายและบริวารของพี่ชายได้ข้าฟากไปสู่ฝั่งโน้น (แห่งสังสารวัฏ) และได้ถอดเครื่องนุ่งห่มของตนซึ่งทำด้วยเปลือกไม้แล้ว ฤาษีทั้งสองซึ่งมีนามว่า คยะกาศยปะ และนทีกาศยปะ ก็ได้เดินทางมาสู่สถานที่นั่น ครั้นมาถึงต่างก็ได้ประพฤติตนไปตามวิถีแห่งพระสัทธรรม

39     ต่อจากนั้น ณ ภูเขาคยศีรษะ นั้น พระมหามุนีได้ทรงแสดงหลักแห่งความหลุดพ้นโปรดฤาษีกาศยปะสามพี่น้องพร้อมด้วยบริวารทั้งหลายว่า

40     "โลกทั้งปวงนี้ถูกแผดเผาอย่างไร้ที่พึ่งด้วยไฟคือราคะและโทสะ (ราคทฺวษ) ซึ่งปกคลุมด้วยกลุ่มควันคือความหลงผิด (โมห) และเกิดจากความนึกคิด(วิตรฺก)"

41     "โลกนี้ถูกเผาไหม้จนเกรียมด้วยไฟคือกิเลส เพราะไร้ความสงบและปราศจากผู้นำ โลกจึงถูกแผดเผาซ้ำแล้วซ้ำอีกด้วยไฟคือชรา พยาธิ และมรณะ

42     "เมื่อพิจารณาเห็นว่าโลกนี้ไร้ที่พึ่งและถูกแผดเผาด้วยไฟมากมายหลายชนิด ผู้มีปัญญาจึงฝึกฝนร่างกาย จิตใจ และอินทรีย์ทั้งหลาย"

43     "จากการฝึกฝนอบรบนั้น เขาจึงบรรลุถึงความปราศจากราคะ ต่อจากนั้นก็บรรลุถึงความหลุดพ้น เมื่อเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เขาจึงรู้ว่าเขาหลุดพ้นแล้วโดยประการทั้งปวง"

44     "ครั้นพิจารณากระแสของการเกิดอย่างถี่ถ้วนแล้ว เขาจึงยึดเอากาดำรงชีวิตอย่างสมณะ และบำเพ็ญกิจของตนจนสำเร็จ สำหรับเขาจะไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป"

45     เมื่อภิกษุจำนวนหนึ่ง 1000 รูปได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า จิตของภิกษุเหล่านั้นก็หลุดพ้นจากอาสวะในทันทีเพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น

46     ครั้งนั้นพระพุทธองค์ทรงปรากฏพร้อมกาบพระกาศยปะสามพี่น้องผู้มีปัญญามาก เหมือนกับพระธรรมปรากฏร่างขึ้นมาแวดล้อมด้วยทาน ศีล และวินัย

47     ป่าสำหรับบำเพ็ญตบะเมื่อปราศจากฤาษีกาศยปะสามพี่น้องจึงดูหม่นหมอง เปรียบเหมือนชีวิตของคนเจ็บป่วยผู้ไม่มีธรรม ทรัพย์ และความยินดีฉะนั้น

48     จากนั้นเมื่อทรงระลึกถึงสัญญาทีทรงให้ไว้แก่พระราชาแห่งชาวมคธก่อนหน้านั้น พระมหามุนีผู้ทรงแวดล้อมด้วยภิกษุทั้งหมดจึงเสด็จดำเนินไปยังกรุงราชคฤห์

49     ครั้งนั้นเมื่อพระราชาแห่งชาวมคธได้ทรงสดับว่าพระตถาคตเสด็จมาถึงเขตแดนของสวนไฝ่(เวณุวน) แล้ว พระองค์จึงเสด็จไปเฝ้าพระตถาคตพร้อมด้วยเหล่ามนตรีและข้าราชบริพาร

50     ครั้นนั้นชาวเมืองผู้มีดวงตาเบิกกว้างด้วยความประหลาดใจต่างพากันออกมาตามถนนบนภูเขา บ้างก็เดิน บ้างก็ขี่ยานพาหนะ ตามสมควรแก่ฐานะของตน

51     เมื่อทอดพระเนตรเห็นพระมุนีผู้ประเสริฐแต่ไกล พระราชาแห่งชาวมคธจึงรีบเสด็จลงจากราชรถอย่างรวดเร็วเพื่อที่จะแสดงความเคารพต่อพระพุทธองค์

52     พระราชาทรงรับสั่งให้หยุดพักพระแส้จามรี พัดวิชนี และข้าราชบริพารไว้เบื้องหน้าแล้วจึงเสด็จเข้าไปเฝ้าพระมุนี ดุจพระอินทร์เข้าไปเฝ้าพระพรหมฉะนั้น

53     พระราชาทรงน้อมพระเศียรถวายบังคมพระมหามุนีจนทำให้ผ้าโพกพระเศียรสั่นไหว จากนั้นจึงประทับนั่งบนพื้นหญ้าอ่อนตามที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาต

54     ความนึกคิดได้เกิดขึ้นแก่ประชาชนทั้งหลายผู้ประชุมกันอยู่ตรงนั้นว่า "โอ้ อานุภาพของพระศากยมุนีช่างน่าอัศจรรย์ ฤาษีผู้น่าเคารพนามว่ากาศยปะได้เป็นศิษย์ของพระศากยมุนีไปแล้วหรือ"

55     ครั้งนั้นพระพุทธองค์เมื่อทรงทรงความนึกคิดของพระชาชนทั้งหลายจึงตรัสถามพระกาศยปะว่า "ดูก่อนกาศยปะ ท่านเห็นคุณลักษณะอะไรหรือจึงได้ละทิ้งการบูชาไฟ"

56     เมื่อพระบรมศาสดาทรงกระตุ้นพระกาศยปะด้วยพระสุรเสียงดุจเมฆคำรามเช่นนั้น พระเถระจึงประนมมือทั้งสองขึ้นและกราบทูลด้วยเสียงอันดังในท่ามกลางที่ประชุมของผู้คนจำนวนมากว่า

57     "ข้าพระองค์ละทิ้งไฟก็เพราะผลของกาบูชาไฟและการถวายเครื่องสังเวยในไฟเป็นไปเพื่อการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏและผูกพันอยู่กับความทุกข์ทางใจมากมาย"

58     "ข้าพระองค์ละทิ้งไฟก็เพราะด้วยการสวดมนตร์พึมพำ ด้วยการถวายเครื่องสังเวยในไฟ และด้วยการกระทำที่เกิดจากความกระหายต่ออารมณ์ของอินทรีย์ ความกระหายต่อสิ่งเหล่านั้นก็มีแต่จะทวีคูณมากขึ้นเรื่อยๆ"

59     "ข้าพระองค์ละทิ้งไฟก็เพราะด้วยการสวดมนตร์พึมพำ และ ด้วยการถวายเครื่องสังเวยในไฟการเกิดก็ยังไม่หมดไป และเพราะความทุกข์เนื่องจากการเกิดนั้นใหญ่หลวงนัก"

60     "ข้าพระองค์ละทิ้งไฟก็เพราะความเชื่อที่ว่าความดีสูงสุดเกิดจากการบูชายัญและเกิดจากการบำเพ็ญตบะนั้นเป็นความเชื่อที่ผิด"

61     "ข้าพระองค์ละทิ้งไฟก็เพราะได้รู้สภาวะอันสุขเกษมที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลงซึ่งหลุดพ้นไปจากความเกิด (ชาติ) และความตาย (มรณะ) ดังที่ข้าพระองค์ได้ยืนยันแล้ว"

62     เมื่อทรงสดับถ้อยคำที่พระกาศยปะกราบทูลซึ่งเป็นถ้อยคำที่ปลูกศรัทธาและอุดมไปด้วยแก่นสารดังนี้ พระพุทธองค์ผู้ทรงเป็นยอดครูฝึกจึงตรัสกับพระกาศยปะว่า

63     "เชิญเถิดท่านผู้ประเสริฐ นี้คือผลงานที่ดีที่สุดที่ท่านได้ทำสำเร็จแล้ว ในบรรดาธรรมที่หลากหลาย ท่านได้บรรลุธรรมที่ดีที่สุดแล้ว"

64     ดังนั้นขอให้ท่านจงปลุกเร้าจิตใจของที่ประชุมด้วยการแสดงฤทธิ์ต่างๆของท่าน ดุจคนผู้มีขุมทรัพย์สมบัติชนิดต่างๆออกมาแสดงฉะนั้น

65     ครั้งนั้นพระกาศยปะกราบทูลว่า "พระเจ้าข้า" และเมื่อเนรมิตร่างกายของตนให้เล็กลงแล้วจึงได้เหาะขึ้นไปเหมือนกับนกบินขึ้นสู่ท้องฟ้า

66     พระกาศยปะผู้เชี่ยวชาญในอิทธิฤทธิ์ยืนอยู่บนท้องฟ้าเหมือนกับยืนอยู่บนตอไม้ เดินอยู่บนท้องฟ้าเหมือนกับเดินอบู่บนพื้นดิน นั่งอยู่บนท้องฟ้าเหมือนกับนั่งอยู่บนเก้าอี้ จากนั้นจึงนอนลง

67     ทันใดนั้นพระกาศยปะก็ได้ทำร่างกายให้ลุกเป็นเปลวเพลิงเหมือนกับไฟ ขณะเดียวกันก็พ่นน้ำออกมาเหมือนกันเมฆ และทำทั้งสองอย่างไปพร้อมๆกัน

68     ขณะที่เดินไปพร้อมกับทำร่างกายให้ลุกโชนและพ่นน้ำออกมาอย่างนั้น พระกาศยปะจึงปรากฏเหมือนกับก้อนเมฆหลั่งน้ำฝนออกมาขณะที่มีสายฟ้าแลบแปลบปลาบ

69     ประชาชนเฝ้าดูพระเถระด้วยความอัศจรรย์ใจ ทุกสายตาจดจ้องพระเถระอย่างไม่ลดละ และเมื่อจะกราบพระเถระด้วยความ พวกเขาจึงส่งเสียงอื้ออึงเหมือนดังราชสีห์คำราม

70     ครั้งนั้น ก่อจะจบการแสดงฤทธิ์ พระกาศยปะได้น้อมเศียรถวายบังคมพระมหามุนีและกราบทูลว่า"ข้าพระองค์เป็นสาวกที่ได้ทำกิจสำเร็จแล้ว ครูของข้าพระองค์คือพระผู้มีพระภาคเจ้า"

71     ประชาชนชาวงแคว้นมคธเมื่อเห็นพระกาศยปะถวายความเคารพแด่พระมหามุนีเช่นนั้นจึงพากันสรุปว่า "นี้คงเป็นพระพุทธเจ้าผู้เป็นสัพพัญญูเป็นแน่"

72     ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงประทับอยู่ด้วยคุณธรรมอันประเสริฐครั้นทราบว่าดินได้ถูกเตรียมไว้ดีแล้วจึงได้ตรัสกับพระเจ้าเศรณยะผู้ปรารถนาจะฟังพระสัทธรรมเพื่อประโยชน์แก่พระองค์ว่า

73     "ขอถวายพระพร องค์ภูมิบดีผุ้ทรงราชอำนาจและทรงควบคุมอินทรีย์ได้ รูปที่อาศัยจิตและอินทรีย์ย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา"

74     "ความเกิดและความตายเป็นสิ่งที่ความกำหนดรู้เพื่อเพิ่มพูนความดี ด้วยการกำหนดรู้เกี่ยวกับความเกิดและความตายทั้งสองนี้อย่างถูกต้อง มันก็จะนำไปสู่ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับร่างกาย"

75     "โดยการกำหนดรู้ร่างกายพร้อมทั้งอินทรีย์ว่าเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดและความตายจึงไม่ควรละเลยที่จะคิดว่าสิ่งนี้เป็นเราหรือของเรา

76     "ร่างกายและอินทรีย์ไม่มีสภาพที่แท้จริงในตัวของมันเอง สิ่งเหล่านี้เกิดก็เป็นทุกข์และดับก็เป็นทุกข์"

77     "เมือบุคคลเข้าใจสรรพสิ่งว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เมื่อนั้นเขาย่อมได้บรรลุนิรวาณอันเป็นสภาวะที่สูงสุดและไม่มีความเปลี่ยนแปลง"

78     "คนทั้งหลายยึดมั่นและผูกติดอยู่กับความคิดว่ามีตัวตน (อาตฺมคฺราห) ก็เพราะกิเลสคือความเข้าใจว่ามีตัวตนและสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับตัวตน แต่เมื่อพิจารณาเห็นว่าไม่มีตัวตน เขาย่อมหลุดพ้นจากกิเลส"

79     "ความเห็นผิด(มิจฉาทิฏฐิ) ย่อมผูกมันไว้ ส่วนความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ) ย่อมปลดปล่อย สัตว์โลก นี้อาศัยความคิดว่ามีตัวตนจึงไม่อาจเข้าใจความจริง"

80     "ถ้าอาตมัน (ตัวตน)มีอยู่จริง มันก็อาจเป็นสิ่งที่ยั่งยืนหรือไม่ยั่งยืนก็ได้ จากการเชื่อว่ายั่งยืนหรือไม่ยั่งยืนอย่างใดอย่างหนึ่ง ผลกระทบที่เสียหายอันใหญ่หลวงก็จะตามมา"

81          "ถ้าสมมุติว่าอาตมัน ไม่ยั่งยืน เมื่อนั้นก็จะไม่มีผลกรรม(การกระทำ) และเพราะไม่มีการเกิดใหม่ ความหลุดพ้นก็ย่อมเกิดขึ้นโดยที่เราไม่ต้องใช้ความพยายามเลย"

82     "ถ้าอาตมัน เป็นสิ่งยั่งยืนและแผ่ไปทุกหนทุกแห่ง ก็จะไม่เกิดและไม่ตาย เพราะว่าอากาศซึ่งแผ่ไปทุกหนทุกแห่งและเป็นสิ่งยั่งยืนย่อมไม่ดับและไม่เกิด"

83     "ถ้าอาตมัน นี้มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติก็จะไม่มีที่ใดเลยที่ไม่มีอาตมัน และเมื่อมันตายก็คงจะมีความหลุดพ้นเกิดขึ้นแก่ทุกคนโดยทั่วกัน"

84     "เมื่อมันมีอยู่ทั่วไปตามธรรมชาติ มันก็คงจะอยู่นิ่งเฉยและคงจะไม่มีการทำกรรม และเมื่อไม่มีการทำกรรม การรวมของผลของกรรมจะมีได้อย่างไร

85     "ถ้าอาตมัน ทำกรรมเอง มันก็คงจะไม่สร้างความทุกข์ให้แก่ตัวเอง เพราะใครเล่าที่เป็นใหญ่ในตนเองจะสร้างความทุกข์ให้แก่ตนเอง"

86     "ทฤษฎีที่ว่ามีอาตมันยั่งยืน ย่อมนำไปสู่ข้อสรุปว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่เพราะเรายังประสบทั้งสุขและทุกข์ เราจึงเห็นว่ายังมีความเปลี่ยนแปลงอยู่"

87     "ความหลุดพ้น (นิรวาณ) เกิดจากการได้มาซึ่งปัญญาและการละเสียซึ่งกิเลส แต่เพราะอาตมันนิ่งเฉยและแผ่ไปทุกหนทุกแห่ง ความหลุดพ้นสำหรับอาตมันจึงไม่มี"

88     "บุคคลไม่ควรกล่าวเช่นนี้ว่า มีอาตามันเพราะจริงๆ แล้วอาตมันไม่ได้มีอยู่จริง ยิ่งกว่านั้น เพราะอาตมันไม่สามารถก่อให้เกิดผลใดๆ มันจึงเป็นไปไม่ได้ที่อาตมันจะทำกรรม"

89     "เนื่องจากไม่ชัดเจนว่า อะไรเป็นสิ่งที่ต้องทำ หรือใครเป็นผู้ที่ต้องทำ อาตมันจึงไม่อาจกล่าวได้ว่ามีอยู่ในลักษณะอย่างนั้น (คือยั่งยืนหรือไม่ยั่งยืน) ดังนั้น อาตมันจึงไม่มีอยู่จริง"

90     "ขอถวายพระพรพระผู้ทรงเป็นยอดนักฟัง ขอพระองค์จงสดับคำสอนเกี่ยวหับวิธีที่สังสารวัฏหมุนไปและการขจัดร่างกายซึ่งไม่มีผู้ทำ ไม่มีทั้งผู้เสวย และผู้สั่ง"

91     วิญญาน(การรับรู้อารมณ์) ทั้งหกเกิดขึ้นได้เนื่องจากอินทรีย์หกและอารมณ์ของอินทรีย์หก ผัสสะเกิดขึ้นจากกลุ่มของเหตุสาม ดังนั้น ความรู้สึก เจตนา และการกระทำ จึงขับเคลื่อนไป"

92     เพราะการบรรจบกันของแก้วมณีสำหรับก่อไฟ (แว่นขยาย) เชื้อเพลิง และพระอาทิตย์ ไฟจึงเกิดขึ้นโดยคุณสมบัติทั้งสอมอยู่รวมกัน ฉันใด การกระทำของปัจเจกบุคคลย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยพุทธิ (การรับรู้) อารมณ์ของอินทรีย์ และอินทรีย์ ฉันนั้น"

93     "หน่อพืชงอกขึ้นจากเมล็ดพืช ครั้นแล้วหน่อพืชก็ไม่ได้เป็นอันเดียวกันกับเมล็ดพืช และทั้งสองนั้นก็ไม่อาจมีขึ้นได้โดยปราศจากกันและกันฉันใด ร่างกายและความสัมพันธ์ภายในระหว่างอินทรีย์กับพุทธิ(การรับรู้) ก็เป็นฉันนั้นเหมือนกัน"

94     ครั้งนั้นเมื่อพระราชาแห่งชาวมคธได้สดับพระธรรมเทศนาของพระมหามุนีผู้ประเสริฐสูงสุดผู้ทรงประกาศเป้าหมายสูงสุดและความดีสูงสุด พระองค์ก็ทรงบังเกิดดวงตาเห็นธรรม ดวงตานั้นไม่มีความหม่นหมอง ปราศจากราคะ และไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือน

95     ในที่ประชุมนั้น ประชาชนผู้อาศัยอยู่ในเมืองหลวงของแคว้นมคธและเทวดาทั้งหลายเมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระมหามุนีต่างก็มีจิตผ่องใสและได้บรรลุอมตภูมิที่ไม่มีความเปลี่ยนแปลง

สรรค ที่ 16 ชื่อธารศรัทาแห่งพุทธสาวก

ในมหากาพย์พุทธจริต จบเพียงเท่านี้ 

 

สรรคที่17

 

สรรค ที่ 17

 

การบรรพชาของมหาสาวก

 

1     จากนั้นพระราชาแห่งชาวมคธได้ทรงถวายอุทยานเวณุวัน อันน่ารื่นรมย์แด่พระมุนีเพื่อใช้เป็นที่ประทับแล้วได้ทูลลาพระมุนีเสด็จเข้าสู่พระนคร และด้วยเหตุที่ทรงรู้แจ้งความจริง พระองค์จึงทรงเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง

 

2     ครั้งนั้น เพื่อประโยชน์แก่ความหลุดพ้น พระพุทธองค์ครั้นทรงจุดประทีปแห่งปัญญาอันยิ่งใหญ่แล้วจึงได้ประทับอยู่ในวิหารพร้อมด้วยพระพรหมและเหล่าทวยเทพผู้ประเสริฐซึ่งสถิตอยู่ ณ ภพภูมิชั้นต่างๆ

 

3     ครั้งนั้นพระอัศวชิต ผู้สามารถปราบม้าคืออินทรีย์ของตน ได้เข้าไปบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์ จึงดึงดูดสายตาของประชาชนจำนวนมากด้วยความงาม ความสงบและวัตรปฏิบัติ

 

4     ปริพาชกคนหนึ่งในนิกายกปิละ ซึ่งมีบริวารมากและเป็นที่รู้จักกันว่าศารัทวดีปุตระ เห็นพระอัศวชิตเดินมาด้วยความสำรวมจึงติดตามไปบนถนนและกล่าวกับพระเถระว่า

 

5     "เมื่อได้เห็นความผ่องใสและความเสงบเสงี่ยมของท่าน ข้าพเจ้ารู้สึกอัศจรรย์ใจยิ่งนัก ดั้งนั้น โปรดบอกข้าพเจ้าด้วยเถิดว่าท่านรู้ความจริงขั้นสูงสุดแล้ว ครูของท่านชื่อว่าอะไร ครูของท่านสอนอะไร และใครเป็นครูของท่าน"

 

6     เมื่อพราหมณ์กล่าวด้วยความเคารพอย่างยิ่งเช่นนี้ พระอัศวชิตจึงกล่าวตอบไปว่า "ครูของอาตมาประสูติในราชวงศ์อิกษวากุ พระองค์ทรงเป็นพระสัพพัญญูและไม่ทรงถือชั้นวรรณะ"

 

7     "เนื่องจากอาตมายังมีความรู้ไม่มากนักและเพิ่งเกิดในพระสัทธรรมนี้ได้ไม่นาน อาตมาจึงไม่อาจจะอธิบายหลักธรรมแก่ท่านได้ อย่างไรก็ตาม ขอท่านจงฟังส่วนแห่งพระดำรัสของพระมหามุนีผู้ทรงเป็นยอดของนักพูดทั้งหลาย"

 

8     "พระผู้ทีพระภาคเจ้าตรัสอธิบายว่าธรรมทั้งหลายทั้งปวงเกิดแต่เหตุ แล้วทรงอธิบายต่อไปอีกว่าอะไรคือความดับของธรรมเหล่านั้น และอะไรคือแนวทางแห่งการดับของธรรมเหล่านั้น"

 

9     เมื่อพราหมณ์ชื่ออุปติษยะ ได้ฟังคำนี้จากพระอัศวชิตเท่านั้น ดวงตาก็เปิดรับพระสัทธรรมในทันที ดวงตานั้นปราศจากราคะ เปี่ยมด้วยสุข และสะอาดบริสุทธิ์

 

10     ก่อนหน้านั้น อุปติษยะเคยเชื่อถือทฤษฎีว่า ผู้รู้เขตแดต (เกฺษตฺรชญ) ไม่มีผู้สร้าง อยู่นิ่งๆ และเป็นผู้เริ่มต้น (อีศวร) แต่เมื่อได้ฟังว่าสรรพสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุปัจจัย เขาจึงเข้าใจว่าไม่มีอาตมันและเห็นแจ้งความจริงขั้นสูงสุด

 

11     เขาเคยมีความเห็นว่าลัทธิสางขยะ สอนว่าร่างกายประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนั้นจึงทำลายเฉพาะกลุ่มของกิเลสที่หยาบเท่านั้น แต่ตอนนี้เขามีความเห็นว่าในคำสอนของพระพุทธองค์นั้นทั้งกิเลสหยาบและละเอียดจะต้องทำลายให้หมดสิ้นไปเหมือนๆกัน

 

12     เมื่อบุคคลยึดถือแนวคิดว่าอาตมันเป็นสิ่งที่มีมาแต่ต้นก็จะไม่มีการละอหังการ ดังนั้น อหังการก็จะไม่ถูกละทิ้งไป เมื่อประทีปและพระอาทิตย์มีอยู่พร้อมกันทั้งสองอย่าง เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรคืนต้นเหตุทำให้ความมือหายไป

 

13-14     พราหมณ์อุปติษยะเข้าใจว่าทฤษฎีเรื่องความหลุดพ้นของลัทธิสางขยะยังไม่นำไปสู่การสิ้นสุด เปรียบเหมือนเมื่อบุคคลตัดก้านบัวขาดแล้วก็ยังมีเยื่อใยเล็กๆ ยึดทั้งสองส่วนเอาไว้ ในขณะที่หลักการของพระพุทธเจ้าเปรียบเสมือนการตัดก้อนหิน

 

15     จากนั้นพราหมณ์อุปติษยะได้แสดงความเคารพต่อพระอัศวชิตแล้วแยกไปสู่ที่อยู่ของตนด้วยความปีติปราโมทย์อย่างยิ่ง ขณะเดียวกันพระอัศวชิตครั้นเสร็จการเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับแล้วจึงดำเนินไปสู่พระเวณุวันวิหารด้วยอาการสำรวมและสงบเสงี่ยม

 

16     เมื่อพราหมณ์ผู้เกิดในเมาทคลโคตร ผู้มีวัตรปฏิบัติที่เหมาะสมกับการศึกษาและความรู้เห็นอุปติษยะกลับมาด้วยอาการน่าเลื่อมใสอย่างยิ่งจึงได้กล่าวกับอุปติษยะว่า

 

17     "แน่ะเพื่อน ทั้งๆที่เป็นคนเดิม ทำไมท่านจึงกลายเป็นเหมือนอีกคนหนึ่ง วันนี้ท่านกลับมาด้วยความหนักแน่นและยินดี ท่านได้พบสภาวะอันเป็นอมตะแล้วหรือ ความสงบเช่นนี้จะเป็นไปไม่ได้ถ้าไม่มีสาเหตุ"

 

18     ครั้งนั้นอุปติษยะได้บอกความจริงแก่เขาว่า "ถูกแล้ว" ครั้นแล้วเมาทคลโคตรจึงกล่าวว่า "จงบอกธรรมนั้นแก่เราด้วยเถิด" จากนั้นอุปติษยะจึงได้ถ่ายทอดคำพูดตามที่ได้ฟังมาแก่เขา และเมื่อได้ฟังคำพูดนั้นเมาทคลโคตรก็ได้ดวงตาเห็นธรรมเช่นเดียวกัน

 

19     เมื่อจิตของพวกพราหมณืทั้งสองสะอาดบริสุทธิ์จากกรรมและความคิดปรุงแต่งในใจ(อนุสัยกิเลสที่นอนเนื่องในสันดาน) พวกเขาจึงรู้แจ้งความจริงเหมือนกับประทีปที่ถือไว้ในมือ และด้วยเหตุที่รู้ความจริงนี้ ความรู้สีกของพวกเขาที่มีต่อพระบรมศาสดาจึงไม่หวั่นไหว ขณะนั้นพวกเขาจึงเตรียมจะไปเฝ้าพระพุทธองค์

 

20     พระมหามุนีผู้ทรงมีโชคทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์ทั้งสองพร้อมกับบริวารมาแต่ไกลจึงตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า "ผู้นำทั้งสองที่กำลังเดินมาที่นี่คืออัครสาวกของเรา ในสองคนนั้นคนหนึ่งเป็นผู้มีปัญญามาก ส่วนอีกคนหนึ่งเป็นผู้มีฤทธิ์มาก"

 

21     ครั้งนั้น พระมหามุนีผู้สงบได้ตรัสพระดำรัสนี้กับพราหมณ์ทั้งสองด้วยพระสุรเสียงอันลุ่มลึกว่า "ดูก่อนปริพาชกผู้เดินทางมาเพื่อแสวงหาความสงบ ท่านทั้งสองจงรับเอาพระสัทธรรมอย่างถูกต้องในเพศที่เหมาะสมเถิด"

 

22     พราหมณ์ทั้งสองนั้นถือตรีศูลและเกล้ามวยผล แต่ในทันทีที่พระตถาคตตรัสพระดำรัสนี้ด้วยพุทธานุภาพ ทั้งสองก็ได้เปลี่ยนเพศเป็นภิกษุผู้ครองจีวรย้อมด้วยน้ำฝาด

 

23     ภิกษุทั้งสองผู้มีอุปนิสัยอย่างนั้นพร้อมด้วยบริวารได้ถวายบังคมพระสัพพัญญูด้วยเศียรเกล้าจากนั้นเมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรด ทั้งสองก็ได้บรรลุความดีขั้นสูงสุด

 

24     ในเวลาต่อมาพราหมณ์คนหนึ่งซึ่งเป็นประทีปแห่งตระกูลกาศยปะ ผู้มีความสง่าความงามและความร่ำรวยได้ละทิ้งทรัพย์สมบัติและภรรยาผู้สวยงามของตนครองจีวรย้อมด้วยน้ำฝาดออกบวชเพื่อแสวงหาความหลุดพ้น

 

25     พราหมณ์ผู้ละทิ้งทุกอย่างของตนออกบวชนั้นมองเห็นพระสัพพัญญูทรงเปล่งรัศมีโชติช่วงประดุจยอดเจดีย์ทองอันบริสุทธิ์อยู่ใกล้ๆพหุปุตรเจดีย์ มีความอัศจรรย์ใจยิ่งนัก จึงได้ประคองอัญชลีเข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์

 

26     พราหมณ์นั้นน้อมเศียรถวายบังคมพระมหามุนีมาแต่ไกล ครั้นประคองอัญลีแล้วได้กราบทูลด้วยเสียงอันดังตามสมควรแก่มารยาทว่า "ข้าพระองค์เป็นศิษย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นครูของข้าพระองค์ ข้าแต่ผู้มีพระทัยมั่นคง ของพระองค์จงเป็นแสงสว่างในความมืดให้แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด"

 

27     พระตถาคตผู้ทรงบรรเทาความทุกข์ร้อนใจของคนด้วยน้ำคือพระดำรัสทรงทราบว่าพราหมณ์นั้นเดินทางมาเพราะปรารถนาความีรู้ที่ได้ปลูกฝังไว้ในตัวเอง และเมื่อทรงทราบว่าพราหมณ์นั้น เป็นผู้มีจิตบริสุทธิ์และปรารถนาความหลุดพ้น ดังนั้น พระองค์จึงตรัสกับเขาว่า "เชิญท่านเข้ามาเถิด"

 

28     เมื่อความเหน็ดเหนื่อยของพราหมณ์บรรเทาลงเป็นปกติด้วยพระดำรัสนี้ เขาจึงพำนักอยู่ ณ ที่นั้นเพื่อค้นหาความดีขั้นสูงสุด ครั้งนั้น เพราะเขาบริสุทธิ์สะอาดโดยธรรมชาติ พระมหามุนีเมื่อจะทรงอนุเคราะห์เขาจึงได้แสดงพระสัทธรรมโดยย่อ

 

29     เมื่อพระมหามุนีทรงแสดงพระสัทธรรมโดยย่อเท่านั้น พราหมณ์นั้นก็เข้าใจความหมายของพระสัทธรรมทั้งหมด ดังนั้น ด้วยความรู้แจ้งแทงตลอดและด้วยเกียรติคุณอันยิ่งใหญ่  เขาจึงได้รับการขนานนามว่าพระอรหันต์มหากาศยปะ

 

30     พระมหากาศยปะเคยมีความเชื่อว่าอาตมาเป็นไปเพื่อสิ่งทั้งสอง คือ "เรา" และ"ของเรา" ถึงแม้จะเป็นสิ่งอื่นจากร่างกายแต่มันก็ยังอาศัยอยู่ในร่างกาย ทันใดนั้นพระเถระก็ละทิ้งแนวคิดเกี่ยวกับอาตมันและมองเห็นอาตมันว่าเป็นทุกข์ไม่รู้จบ

 

31     พระเถระเคยค้นหาความบริสุทธิ์โดยอาศัยศีลและพรต เมื่อพบสาเหตุในสิ่งที่ไม่ใช่สาเหตุบัดนี้ท่านจึงได้บรรลุถึงธรรมชาติของทุกข์และหนทางพ้นทุกข์ และยังเข้าใจอีกว่าศีลและพรตนั้นไม่ใช่วิธีกาที่สูงสุด

 

32     พระเถระเคยดำเนินไปในหนทางที่ผิดพลาดที่จะได้รับสิ่งที่ดีที่สุด บัดนี้เมื่อเห็นขั้นตอนแห่งอริยสัจสี่แล้วจึงตัดความสงสัยและความลังเลใจได้อย่างเด็ดขาด

 

33     เมื่อได้รู้แจ้งความไม่บริสุทธิ์และความไม่จริงของตัณหาที่ชาวโลกลุ่มหลงแล้ว ลุ่มหลงอยู่และจะลุ่มหลงต่อไป พระเถระจึงละทิ้งอารมณ์ของอินทรีย์ที่รู้จักกันว่าเป็นกิเลสตัณหา

 

34     เมื่อบรรลุถึงความเป็นผู้มีไมตรีจิตดังนี้ พระเถระจึงไม่มีการแบ่งแยกระหว่างมิตรและศัตรู พระเถระนอกจากจะมีความเมตตากรุราต่อสรรพสัตว์แล้วยังมีจิตปราศจากพยาบาทอีกด้วย

 

35     พระเถระละทิ้งสัญญา (สำชฺญา) ที่มีหลากหลาย ซึ่งอาศัยรูปและการกระทบ (ปฏิฆ)และเช้าใจถึงบาปอกุศลว่าเกิดจากรูป ดังนั้น ท่านจึงข้ามพ้นความยึดถือในรูป(รูปธาตุ)

 

36     พระเถระเข้าใจว่าอรูปภพของเหล่าเทวดาซึ่งมีความหลงผิดว่าฌานเป็นความหลุดพ้นก็ยังมีการเวียนว่ายตายเกิด และเมื่อเป็นผู้สงบท่านจึงรู้ว่าใจว่างเปล่าจากนิมิตและละการยึดมั่นในอรูปภพ

 

37     พระเถระเข้าใจว่าความกระวนกระวายใจเป็นบ่อเกิดแห่งความฟุ้งซ่าน ไหลไปเหมือนกาบกระแสน้ำที่รุนแรงของแม่น้ำใหญ่ และเมื่อละทิ้งความเกียจคร้านเสียได้โดยอาศัยความมีจิตใจตั้งมั่น (ไธรฺย) ท่านจึงได้รับความสงบและถึงดุษณีภาพเหมือนกับทะเลที่เต็มเปี่ยมด้วยน้ำ

 

38     พระเถระเห็นว่าสภาวะทั้งหลายไม่มีแก่นสารหรือไม่มีอาตมัน เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย และเมื่อเห็นว่าไม่มีสิ่งใดเลวกว่า เสมอกัน หรือดีกว่ากัน ท่านจึงละการยกย่องตนเอง (อภิมาน) และยึดถือว่าไม่มีความจริงในสภาวะทั้งปวง

 

39     เมื่อขจัดความมืดคืออวิชชา (อชฺญาณ) ออกไปด้วยไฟคือควยามรู้ (ชญาณ) พระเถระจึงเห็นว่าความไม่ยั่งยืนและความยั่งยืนมีความแตกต่างกัน และมื่อทำคามรู้(วิทยา)ให้สมบูรณ์ด้วยโยคะท่านจึงกำจัดความหลงผิด(อวิทยา)ได้อย่างบริบูรณ์

 

40     พระมหากาศยปะหลังจากได้ปัญญา (ทรศน)และสมาธิภาวนาจึงหลุดพ้นจากสังโยชน์สิบ กิจที่ควรทำก็เป็นอันทำเสร็จสิ้น เมื่อจิตสงบท่านจึงยีนประคองอัญชลีถวายบังคมพระพุทธองค์

 

41     พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรุ่งเรืองอยู่ท่ามกลางพระสาวกทั้งสาม ผู้รอบรู้สิ่งทั้งสาม (ไตรวิทยา) ผู้ขจัดสิ้นซึ่งอาสวะทั้งสาม ผู้บริบูรณ์ด้วยธรรมทั้งสาม (ศีล สมาธิ และปัญญา) เปรียบเสมือนพระจันทร์เต็มดวงมาบรรจบกับดิถีที่สิบห้าในเดือนชเยษฐา(เดือนเจ็ด) อันเป็นนักษัตรที่มีดาวสามดวง ซึ่งมีพระอินทร์เป็นผู้ปกครอง

 

สรรค ที่ 17 ชื่อการบรรพชาของมหาสาวก

 

ในมหากาพย์พุทธจริต จบเพียงเท่านี้

 

******

 

สรรคที่18

 

 

สรรค ที่ 18

 

การโปรดเศรษฐีอนาถปิณฑทะ

 

1     ในเวลาต่อมา เศรษฐีผู้มีอุปนิสัยรักการให้ทานแก่คนอนาถา ซึ่งรู้จักกันในนามว่าสุทัตตะ ได้เดินทางจากตนเหนือของแคว้นโกศล มายังที่นั้น(เมืองราชคฤห์)

 

2     เศรษฐีได้ฟังว่าพระมหามุนีกำลังประทับอยู่ที่นั้น (พระเวณุวันวิหาร) ครั้นได้ฟังดังนั้น เขาผู้ปรารถนาจะเห็นพระพุทธเจ้าจึงเดินทางไปเฝ้าและถวายบังคมพระองค์ในเวลากลางคืน พระพุทธองค์ทรงทราบว่าเศรษฐีเป็นผู้พร้อมที่จะรับคำสั่งสอนจึงได้ตรัสเทศนาว่า

 

3     "ดูก่อนบัณฑิต เนื่องจากท่านกระหายต่อพระสัทธรรมจึงไม่ได้หลับนอนและเดินทางมาพบตถาคตในเวลากลางคืน ดังนั้นขอให้พระที่ปแห่งความดีสูงสุดเพื่อบุรุษผู้มาแล้วอย่างนี้จงถูกจุดขึ้นในทันที"

 

4     "คุณความดีอันยิ่งใหญ่นี้เกิดขึ้นได้ก็ด้วยอัธยาศัย ด้วยจิตใจที่มั่นคง ด้วยศรัทธาที่เกิดขึ้นเมื่อได้ยินข่าวของเรา และด้วยพลังใจที่ถูกกระตุ้นจากความดีที่ได้ทำไว้ในปางก่อน"

 

5     "ดั้งนั้น เมื่อรู้ว่าเกียรติยศชื่อเสียงในโลกนี้และผลลัพธ์ในโลกหน้าเกิดจากการให้สิ่งที่ดีที่สุด ท่านจึงควรให้ทรัพย์ที่ได้มาโดยชอบธรรมด้วยความเคารพและด้วยจิตที่เลื่อมใสในเวลาอันสมควร"

 

6     "ท่านจงปฏิบัติตนให้เป็นปกติด้วยการรักษาศีล เพราะศีลที่รักษาดีแล้วย่อมขจัดอันตรายจากอบายภูมิเบื้องต่ำและย่อมนำพาไปสู่สวรรค์เบื้องบน"

 

7     "เมื่อพิจารณาเห็นผลชั่วที่เกิดจากตัณหาอุปทานและเมื่อทราบผลดีของการเสียสละ ท่านจงอุทิศตนให้กับความจริงคือความสงบซึ่งเกิดจากวิเวก(การแยกแยะ)"

 

8     "เมื่อเห็นอย่างถูกต้องว่าสัตว์โลกนี้ท่องเที่ยวไปภายใต้ความทุกข์อันเกิดจากความตาย และความบีบคั้นของชรา ท่านจงพยายามเพื่อความสงบซึ่งห่างไกลจากความเกิด เพราะเมื่อไม่มีความเกิดก็ไม่มีความชรา และมรณะ"

 

9     "เพราะความไม่เที่ยงแท้ ความทุกข์จึงคงอยู่กับมนุษย์เป็นนิรันดร์ฉันใด ท่านจรู้ว่าเทวดาทั้งหลายก็มีความทุกข์ฉันนั้นเหมือนกัน ในการดำเนินชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลายหาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้เลย"

 

10     "ที่ใดมีความไม่เที่ยง ที่นั้นย่อมมีทุกข์ ที่ใดไม่มีจิตดั้งเดิมอันบริสุทธิ์ซึ่งปราศจากอาตมันที่นั้นก็มีทุกข์เช่นกัน ดังนั้นจะกล่าวได้อย่างไรว่ามี "เรา หรือ"ของเรา" ในสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ละไม่มีตัวตน"

 

11     "ดังนั้น จงมองเห็นทุกข์ว่าเป็นทุกข์ จงมองเห็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ว่าเป็นสมุทัย จงรู้การดับทุกข์ว่าเป็นนิโรธ และจงรู้ทางอันประเสริฐว่าเป็นมรรค"

 

12     "จงรู้ว่าโลกนี้เป็นทุกข์และเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เมื่อพิจารณาเห็นว่ามนุษย์กำลังถูกแผดเผาด้วยไฟคือเวลาเหมือนกับไฟจริงๆ จงถือเอาว่าการมีอยู่และการดับสูญก็มีลักษณะเหมือนกัน คือเป็นสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา"

 

13     "จงรู้ว่าโลกนี้ว่างเปล่า ปราศจาก "รา" หรือ "ของเรา" เป็นเหมือนมายา เมื่อพิจารณาเห็นว่าร่างกายนี้เป็นผลิตผลของสังขาร จงเข้าใจว่ามันประกอบขึ้นจากธาตุทั้งหลายเท่านั้น"

 

14     "จงฉุดจิตของท่านให้เป็นอิสระจากสังสารวัฏ และเมื่อพิจารณาเห็นคติทั้งหลายในสังสารวัฏก้จงอบรมจิตเพื่อให้จิตนั้นปราศจากความคิดฟุ้งซ่าน จงมั่นคงในความสงบและเป็นอิสระจากกาม จากนั้นจงปฏิบัติโดยไม่ยึดติดกับวัตถุ"

 

15     ครั้งนั้น เมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระมหามุนี เศรษฐีอนาถปิณฑทะก็ได้บรรลุผลขั้นต้นแห่งพระสัทธรรม (โสดาปัตติผล) และด้วยการบรรลุผลนั้น หยดน้ำในมหาสมุทรแห่งทุกข์ของเขาได้เหลืออยู่เพียงหยดเดียวเท่านั้น

 

16     ด้วยอาศัยความรู้แจ้งภายใน(ชญาน) ถึงแม้จะยังอาศัยอยู่ในเรือน เศรษฐีอนาถปิณฑทะก็รู้แจ้งความดีสูงสุดคืออริยสัจซึ่งไม่มีแก่คนผู้ไม่มีญาณ(ชญาน) ทั้งที่อยู่ในป่าหรืออยู่ในสวรรค์ แม้ว่าคนผู้นั้นจะอาศัยอยู่ในป่าของผู้ปราศตจากตันหาหรืออยู่บนยอกยอดของอรูปภพก็ตาม

 

17     เนื่องจากคนทั้งหลายยังไม่หลุดพ้นจากตาข่ายแห่งมิจฉาทิฏฐิและยังไม่หลุดพ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏ พวกเขาจึงพลาดโอกาสเพราะไม่เห็นแจ้งอริยสัจ เพียงแต่ได้รับคุณวิเศษอันเกิดจากการกำจัดราคะเท่านั้น

 

18     เมื่อเกิดสัมมาทิฏฐิเศรษฐีอนาถปิณฑทะจึงละมิจฉาทิฏฐิ เหมือนกับเมฆในฤดูศรัทเปล่อยฝนลูกเห็บให้ตกลง และเขาก็ไม่ได้ถือว่าโลกนี้เกิดขึ้นจากสาเหตุที่ไม่ถูกต้อง เช่น พระเจ้า(อีศวร) เป็นต้น หรือโลกนี้เกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ

 

19     เพราะถ้าเหตุมีธรรมชาติต่างจากผลก็จะไม่มีการเกิด (อุปปตติ) และถ้าเชื่อว่าไม่มีเหตุก็จะกลายเป็นความผิดอย่างมหันต์ เมื่อเข้าใจเช่นนี้ด้วยการศึกษาและด้วยปัญญา เขาจึงหมดความสงสัยในอริยสัจ

 

20     ถ้าพระเจ้าสร้างโลกจริง โลกนี้ก็คงจะไม่มีวิวัฒนาการ คนทั้งหลายก็คงจะไม่เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏและเขาก็คงจะอยู่ในสภาพเช่นนั้นตามที่ตนเกิดมาเป็นแน่

 

21     สัตว์โลกทั้งหลายก็คงไม่ต้องเผชิญกับสิ่งที่ไม่ได้ปรารถนา พวกเขาคงจะได้รับแต่สิ่งที่เขาปรารถนา สิ่งใดๆก็ตามทั้งที่ดี่และไม่ดีที่เกิดกับสัตว์โลกทั้งหลายก็คงจะเกิดขึ้นตามความประสงค์ของพระเจ้านั่นเอง

 

22     คนทั้งหลายคงจะทำให้พระเจ้าโปรดปรานโดยมิต้องสงสัยและพวกเขาคงจะรักพระเจ้าเหมือนเป็นบิดา เมื่อพวกเขาเผชิญความหายนะคงจะไม่ด่าทอพระเจ้าอย่างเสียหาย หรือชาวโลกคงจะไม่บูชาเทพเจ้าองค์อื่นที่มีอยู่มากมาย

 

23     ถ้าพระเจ้ามีจุดประสงค์เพียงเพื่อสร้าง ดังนั้นพระเจ้าก็ไม่ใช่ผู้สร้าง ณ ที่นี้ ณ วันนี้ เพราะสิ่งที่ถูกสร้างทุกวันนี้เป็นผลเกิดจากความประสงค์ (ของมนุษย์ ไม่ใช่พระเจ้า)แต่ถ้ายืนยันการสร้างต่อๆมาว่าเป็นความประสงค์ (ของมนุษย์)นั่นก็แสดงว่ามนุษย์นั่นแหละคือพระเจ้า

 

24     ถ้าการสร้างของพระเจ้าไม่ได้เกิดจากความตั้งใจ การกระทำของพระเจ้าก็ไม่มีสาเหตุเหมือนกับการกระทำของเด็กๆถ้าพระเจ้าบังคับตนเองไม่ได้ พระเจ้าจะมีพลังสร้างโลกได้อย่างไร

 

25     ถ้าพระเจ้าทำให้สัตว์โลกมีสุขและมีทุกข์ตามความประสงค์ของตน เพราะพระเจ้ามีความรักหรือความรังเกียจต่อสัตว์โลก ถ้าเช่นนั้น พระเจ้าก็จะไม่หลงเหลืออำนาจยิ่งใหญ่อีกต่อไป

 

26     หากมนุษย์อยู่ภายใต้การบัญชาของพระเจ้าโดยปราศจากเจตจำนงของตนเอง พระเจ้าก็ควรจะรับผิดชอบต่อความพยายามของมนุษย์ คงจะไม่มีสิ่งใดที่มนุษย์ทำเองและคงไม่มีผลของการกระทำ การทำกรรมทุกอย่างก็ควรจะขึ้นอยู่กับพระเจ้า

 

27     ถ้าการกระทำของพระเจ้านี้ทำให้พระเจ้าเป็นผู้สร้าง ดังนั้น เพราะการกระทำนี้ไม่ต่างไปจากมนุษย์ทั่วไป พระเจ้าก็คงไม่ใช่ผู้สร้าง หรือถ้าพระเจ้ามีอยู่ทุกหนแห่งและปราศจากสาเหตุ ดังนั้น ความเป็นผู้สร้างโลกทั้งหมดก็คงจะมีอยู่ก่อนแล้ว

 

28     หรือถ้ามีการสร้างอื่นที่นอกเหนือไปจากการสร้างของพระเจ้าผู้สร้าง ด้วยเหตุผลง่ายๆนี้ ก็คงจะมีผู้สร้างที่มีอานุภาพอื่นนอกเหนือไปจากพระเจ้า และคงยอมรับไม่ได้ว่ามีผู้สร้างอื่นนอกเหนือจากพระเจ้า ดังนั้น จึงไม่ทีผู้สร้างโลก

 

29     เศรษฐีอานาถปิณฑทะเห็นข้อขัดแย้งมากมายที่เกิดจากทฤษฎีเรื่องพระเจ้าสร้างโลก และเห็นข้อบกพร่องมากมายที่แฝงอยู่ในทฤษฎีว่ด้วยธรรมชาติ (ปรกฤติ หรือสวภาว)

 

30     ทฤษฎีหลัง (ทฤษฎีว่ด้วยธรรมชาติ)ปฏิเสธหลักการพื้นฐานของเหล่าผู้ประกาศทฤษฎีเรื่องสัตการยวาท * และไม่ยอมรับว่าเหตุจะสามารถผลิตผลได้ แต่เพราะยังเห็นสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวัน เช่น เมล็ดพืช เป็นต้น ซึ่งสามารถผลิตผลได้ ดังนั้นธรรมชาติ(ปรกฤติ)จึงไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริง

 

*สัตการยวาท ได้แก่ทฤษฎีที่ถือว่าผลมีอยู่แล้วในเหตุและเหมือนกาบเหตุนั้น ตัวอย่างเช่น ปลูกมะม่วงย่อได้ผลเป็นมะม่วง ไม่ได้ผลเป็นอย่างอื่น เป็นต้น

 

31     ผู้ทำที่มีเพียงหนึ่งเดียวย่อมไม่อาจเป็นสาเหตุของสิ่งที่หลากหลายได้ ดังนั้นหากอธิบายว่าธรรมชาติ (ปรกฤติ) เป็นแก่นแท้ที่สำคัญเพียงหนึ่งเดียว ธรรมชาติ (ปรกฤติ) ก็ไม่ใช่สาเหตุของวิวัฒนาการในโลก

 

32     หากกล่าวกันว่าธรรมชาติ (ปรกฤติ) แผ่ซ่านอยู่ทุกหนทุกแห่ง ดังนั้นสิ่งที่ตามมาก็คือธรรมชาติ (ปรกฤติ) ไม่สามารถผลิตผลอะไรเลย เพราะเราไม่เห็นผลที่เป็นรูปธรรมนอกจากผลิตผล ดังนั้นธรรมชาติ (ปรกฤติ) จึงไม่ใช่สาเหตุของผลิดผล

 

33     เพราะธรรมชาติ(ปรกฤติ)มีอยู่ทุกหนทุกแห่งโดยเหตุที่มันเป็นสาเหตุ ธรรมชาติ(ปรกฤติ)ก็ควรจะเป็นเหตุสากลของสรรพสิ่งอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่เพราะเราเห็นข้อจำกัดในการกระทำของเหตุที่มีต่อผล(ปัจเจก) ดังนั้นธรรมชาติ(ปรกฤติ)จึงไม่ใช่สาเหตุของผลิตผล

 

34     เพราะเชื่อกันว่าธรรมชาติ (ปรกฤติ)ปราศจากคุณสมบัติ(คุณ)จึงไม่ควรมีคุณสมบัติในผลของธรรมชาติ(ปรกฤติ)นั้นด้วย แต่เพราะเราเห็นทุกสิ่งในโลกต่างมีคุณสมบัติ ดังนั้นธรรมชาติ(ปรกฤติ)จึงไม่ใช่สาเหตุแห่งวิวัฒนาการของโลก

 

35     ถ้าธรรมชาติ(ปรกฤติ)เป็นสิ่งคงที่ มันก็ไม่มีลักษณะพิเศษและไม่อาจมีคุณสมบัติพิเศษที่จะเปลี่ยนแปลง(วิการ) แต่เนื่องจากคุณลักษณะพิเศษพบได้ในการเปลี่ยนแปลงมาจากธรรมชาติ(ปรกฤติ) ดังนั้น เราจะต้องถือว่าเหตุเป็นสิ่งที่ต่างจากผล

 

36     ถ้าแก่นแท้ของธรรมชาติ(ปรกฤติ) คือความสามารถในการผลิต ก็จะไม่มีผลของธรรมชาติ(ปรกฤติ)ใดๆสามารถถูกทำลายลงได้ แต่เพราะเราเห็นการทำลายของผลที่เปลี่ยนแปลงมาจากธรรมชาติ(ปรกฤติ)ดังนั้น เราจะต้องถือว่าเหตุเป็นสิ่งที่ต่างจากผล

 

37     เนื่องจากการรวมตัวกันเป็นหนึ่งคงอยู่เรื่อยไปด้วยอาศัยสิ่งซึ่งมีศักยภาพที่จะทำให้เกิดใหม่พวกนักพรตที่ต้องการจะหลุดพ้นโดยสิ้นเชิงก็จะไม่บรรลุอะไรเลย เพราะว่าเมื่อการเกิดแล้วเกิดอีกเป็นแก่นแท้ของมนุษย์ มนุษย์จะหลุดพ้นจากชีวิตนี้ได้อย่างไร นอกเสียจากข้าพ้นการเกิดแล้วเกิดอีกไปอยู่นภาวะที่เป็นโลกุตตระ

 

38     เพราะธรรมชาติ(ปรกฤติ)เมื่อว่าโดยสมมติฐาน มีลักษณคือสามารผลิตผลได้ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงมาจากธรรมชาติ(ปรกฤติ) ก็จะต้องมีลักษณะเช่นเดียวกัน (คือผลิตผลได้) แต่ก็ไม่ใช่ทุกกรณีที่จะเกิดขึ้นเช่นนี้ ดังนั้นธรรมชาติ(ปรกฤติ) จึงไม่ใช่ผู้ผลิต

 

39     เขากล่าวว่าการกระทำของธรรมชาติ(ปรกฤติ)รับรู้ไม่ได้ด้วยใจ(อวยกต) แต่ก็กล่าวว่าธรรมชาติ(ปรกฤติ)มีผลเปลี่ยนแปลงที่สามารถรับรู้ได้ (วิการ)ดันนั้นธรรมชาติ(ปรกฤติ)จึงไม่ใช่สาเหตุของความเป็นไปต่อเนื่อง เพราะถือกันว่าผลในโลกนี้จะต้องมาจากเหตุที่ปรากฏเหมือนๆกันเท่านั้น

 

40     ธรรมชาติ(ปรกฤติ)ที่ไร้เจตนา (ไม่เคลื่อนไหว)ไม่สามารถก่อให้เกิดผลิตผลที่มีเจตนา(และเคลื่อนไหวได้) เช่าน ม้า วัว หรือลา เพราะไม่มีสิ่งมีเจตนา(เคลื่อนไหวได้) เกิดมาจากเหตุที่ไร้เจตนาเลย

 

41     มาลัยทองมีรูปพิเศษ(ที่แตกต่างจากทอง)ฉันใด วิการ(สิ่งที่เปลี่ยนแปลงมากจากปรกฤติ)ก็จะอยู่ในรูปพิเศษ(แตกต่างจากประกฤติ)ฉันนั้น และเพราะผลมีรูปพิเศษ ขณะที่เหตุไม่ใช่รูปพิเศษนั้น ดั้นนั้นธรรมชาติ(ปรกฤติ)จึงไม่มีความสามารถในการผลิต

 

42     ถ้าสันนิษฐานว่าเวลาเป็นผู้สร้างโลก ดังนั้นก็จะไม่มีความหลุดพ้นให้กับผู้แสวงหา เพราะสาเหตุของโลกจะผลิตอยู่ชั่วปัลปาวสาน ดังนั้น มนุษย์ก็จะไม่มีจุดสิ้นสุด

 

43     บางพวกถือหลักการแน่นอนว่ามีอาตมันอยู่ในทรัพย์คือวัตถุ(ทรวย) ซึ่งเป็นสิ่งเดียวแต่ปรากฏหลากหลายด้วยคุณสมบัติ(คุณ) แม้พวกเขาจะยืนยันสาเหตุเพียงหนึ่งเดียวแต่ก็มีลักษณะที่แตกต่างกัน

 

44     พวกยึดถือเรื่องคุณสมบัติย่อมเห็นความเป็นไปของวัตถุว่ามีได้ด้วยคุณสมบัติที่หลากหลายซึ่งเกิดจากผลที่สุกงอม ดังนั้นเขาจึงถือกันว่าเหตุไม่ต่างจากผล บุคคลจึงต้องสรุปเอาว่าวัตถุ (ทรวย)เป็นของว่างเปล่า (ศูนย)คือไม่ได้ทำอะไร

 

45     แน่นอน สิ่งที่ไม่ปรากฏ(อวยกต) ซึ่งทำให้เกิดวัตถุ ไม่สามารถเป็นที่ตั้ง (หรือวัตถุ)ของอนุมานประมาณที่ถูกต้องได้ เพราะโดยประจักษประมาณ(ปรตยกต)แล้ว เราไม่เห็นพัฒนาการของผลที่ปรากฏออกมาจากเหตุที่ไม่ปรากฏเลยจริงๆ

 

46     เพราะผลที่ครั้งแรกเกิดจากสิ่งที่ไม่ปรากฏ(อวยกต) กลายมาเป็นสิ่งที่มีกิริยา โดยอาศัยสิ่งที่ไม่ปรากฏทั้งสอง (คือประกฤติและปุรุษ) และจากสิ่งที่ไม่ปรากฏซึ่งสมมติกันว่ามีอยู่นั้นจึงบังเกิดมหัด(มหต)ซึ่งไม่ถือว่ามีอยู่จริง และผลที่ตามมาก็คือมีข้อบกพร่องของสมมติฐานเรื่องธรรมชาติ(ปรกฤติ)

 

47     ถ้าปุรุษเป็นสาเหตุให้เกิดผล ทุกๆคนก็ต้องได้สิ่งที่เขาปรารถนาอย่างแน่นอนแต่ในโลกนี้ความปรารถนาบางอย่างยังไม่บริบูรณ์ ซ้ำมนุษย์ยังได้รับสิ่งที่ตนเองไม่ต้องการซึ่งขัดกับความต้องการของตนอีกด้วย

 

48     ถ้าปุรุษมีอำนาจควบคุมตนเองได้ ก็ไม่ควรปล่อยให้ตนเองไปเกิดเป็นวัว ม้า ลา หรืออูฐ เพราะมนุษย์ย่อมทำในสิ่งที่ตนเองต้องการและรังเกียจทุกข์ ใครเล่าจะพึงนำมาสู่ตัวเขาเอง

 

49     ถ้าปุรุษเป็นผู้กระทำในโลก ปุรุษก็คงจะทำแต่สิ่งที่น่าพอใจสำหรับตนเป็นแน่ คงไม่ทำสิ่งที่ไม่น่าพอใจ แต่ในทางปฏิบัติตามความต้องการของปุรุษ สิ่งที่ไม่น่าปรารถนาก็มีพอๆกับสิ่งที่น่าปรารถนา และถ้าปุรุษเป็นผู้ควบคุมเหตุการณ์ต่างๆ ได้ใครเล่าจะพึงนำสิ่งที่ไม่น่าปรารถนามาสู่ตนเอง

 

50     ในขณะที่ปุรษกลัวความชั่ว(อธรม)และทำความพยายามเพื่อความดี(ธรม)แต่ก็ยังมีบาปมากมายชักนำปุรุษออกไปในทางตรงกันข้ามกับความประสงค์ของปุรุษเอง ดังนั้นในเรื่องนี้ปุรุษจึงตกลงไปในพันธะที่เกี่ยวข้องกับสิ่งภายนอก(ปรตนตร)

 

51     ปุรุษไม่มีอำนาจในตัวเอง แต่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของสิ่งอื่น เพราะเราเห็นผล คือความหนาว ความร้อน ฝนตก ฝ้าผ่า ฟ้าแลบ ซึ่งรบกวนความพยายามของปุรุษ ดังนั้นปุรุษจึงไม่ใช่นาย(อีศวร)เหนือผลเหล่านั้น

 

52     เพราะข้าวโพดงอกขึ้นจากเมล็ด โดยอาศัยดินและน้ำประจวบกับฤดูกาลที่เหมาะสม เหมือนกับไฟเกิดจากไม้ และลุกโชนขึ้นด้วยการใสเนยเข้าไป จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีสาเหตุเหมือนที่พูดกันว่า"มี่ขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ)

 

53     ถ้าการกระทำของโลกเกิดขึ้นมาโดยไม่มีสาเหตุ มนุษย์ก็คงไม่ต้องทำอะไร ทุกคนก็คงจะได้รับทุกๆสิ่ง และก็คงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่โลกนี้จะมีความสำเร็จทุกหนทุกแห่ง

 

54     ถ้าความสุขและความทุกข์มีขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ ดังนั้นทุกคนก็คงจะไม่มีการแบ่งปันความสุขและความทุกข์แก่กัน ความสุขและความทุกข์ก็คงจะเข้าใจไม่ได้โดยไม่มีสาเหตุ ดังนั้นสิ่งที่เรียกว่า "มีมีสาเหตุ"ก็จึงไม่ใช่สาเหตุ

 

55     เศรษฐีอนาถปิณฑทะรู้ว่าสาเหตุเหล่านี้และสิ่งที่คล้ายกันนี้ไม่ใช่สาเหตุแห่งการกระทำของโลก เขาเห็นว่าโลกจะปราศจากสาเหตุไม่ได้ ยังเข้าใจถึงข้อบกพร่องทั้งหลายของความไม่มีสาเหตุอีกด้วย

 

56     สรรพสิ่งทั้งที่เคลื่อนไหวได้และเคลื่อนไหวไม่ได้ล้วนเกิดมีเพราะอาศัยสาเหตุหลากหลายจึงไม่มีสิ่งใดในโลกที่ไม่มีสาเหตุ แต่โลกนี้ก็ยังไม่รู้สาเหตุที่เป็นสากล

 

57     ครั้งนั้น เศรษฐีสุทัตตะเมื่อได้ถวายทานอันเลิศและเข้าใจในเนื้อหาแห่งธรรมอันงดงามของพระบรมศาสดาผู้ทรงมีธรรมอันประเสริฐแล้ว เขาผู้มีใจประกอบด้วยศรัทธาตั้งมั่นไม่คลอนแคลนจึงได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

 

58     "ข้าพระองค์อาศัยอยู่ที่เมืองศราวัสตี ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านความดีและมีกษัตริย์ผู้สืบเชื้อสายแห่งราชวงหรยัศวะปกครอง ข้าพระองค์ปรารถนาจะสร้างวิหารถวายแด่พระองค์ ขอพระองค์โปรดจงรับวิหารอันยอดเยี่ยมซึ่งหาข้อตำหนิไม่ได้นั้นด้วยเถิด"

 

59     "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงแม้ข้าพระองค์จะทราบว่าพระองค์ไม่ทรงยินดียินร้ายไม่ว่าจะประทับอยู่ในปราสาทหรือเป็นผู้โดดเดี่ยวในป่าก็ตาม ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นอรหันต์ ขอจงโปรดอนุเคราะห์ข้าพระองค์ ขอพระองค์โปรดรับวิหารนั้นเพื่อเป็นที่ประทับด้วยเถิด"

 

60     "ครั้งนั้น พระบรมศาสดาทรงทราบว่าเศรษฐีอนาถปิณฑทะมีความตั้งใจที่จะถวายวิหารและจิตใจของเขาก็หลุดพ้นแล้ว ดังนั้นพระพุทธองค์ผู้มีพระทัยปราศจากราคะและทรงทราบวาระจิตของคนทั้งหลายจึงตรัสแสดงพระประสงค์ด้วยความสุขุมคัมภีรภาพอย่างยิ่งว่า

 

61     "ความตั้งใจของท่านมั่นคงเหลือเกิน ถึงแม้ท่านจะดำรงอยู่ท่ามกลางทรัพย์สมบัติที่ไม่มั่นคงดุจฟ้าแลบก็ตาม และท่านก็มีความมุ่งมั่นต่อการถวายทาน ดังนั้นจึงไม่น่าอัศจรรย์เลยที่ท่านผู้มีความยินดีในธรรมตามธรรมชาติของตนและมีความพึงพอใจในการให้ทานจะเห็นแจ้งความจริง"

 

62     "เมื่อบ้านถูกไฟไหม้ สิ่งที่นำออกมาจากบ้านได้ย่อมปลอดภัย ฉันใด เมื่อโลกถูกแผดเผาด้วยไฟคือความตาย มนุษย์ก็ย่อมได้รับสิ่งที่เขาให้ไป ฉันนั้น"

 

63     ดังนั้น บุคคลผู้มีจิตหลุดพ้นย่อมรู้ว่าการให้เป็นความสุขที่แท้จริงที่สามารถรับรู้ได้ แต่คนตระหนี่กลัวว่าทรัพย์ของตนจะหมดไปจึงไม่ได้ให้ทาน เพราะความกลัวนั้นเขาจึงไม่มีอะไรที่จะยินดี"

 

64     "การให้ทรัพย์ในเวลาที่สมควรแก่ผู้รับที่เหมาะสม เป็นเหมือนการต่อสู้ระหว่างความกล้ากับทิฏฐิมานะ คนที่มีชื่อเสียงในการจำแนกแจกจ่ายทานย่อมรู้สิ่งนี้ดี แต่คนเหล่าอื่นหารู้ไม่ และเขาผู้เดี่ยวเท่านั้นย่อมให้และต่อสู้กับการตัดสินใจที่ลำบาก"

 

65     "เพราะเขาคือทายกผู้ท่องเที่ยวไปในโลกด้วยความสุขจากการให้ ดังนั้น เขาจึงได้รับเกียรติยศและชื่อเสียง สาธุชนทั้งหลายจึงยกย่องเข้าเพราะความใจบุญและคบค้าสมาคมกับเขา"

 

66     "ดังนั้น เขาจึงอยู่ในโลกอย่างมีความสุขและไม่ตกไปสู่อำนาจของกิเลส เพราะไม่มีความทุกข์เป็นเวลานานและมีความปีติปราโมทย์อยู่ตลอดเวลา และเพราะมั่นใจว่าได้ทำคุณงามความดีไว้แล้วในเวลาใกล้ตายเขาจึงไม่หวาดหวั่น"

 

67     "ผลแห่งทานในโลกนี้อาจเป็นเพียงช่อดอกไม้ แต่ว่าในโลกหน้าเขาก็จะได้รับรางวัลของผู้ให้(ทายก) เพราะว่าสำหรับคนผู้ยังเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ ไม่มีคาที่จะเป็นเพื่อได้ดีเท่ากับความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่"

 

68     "คนทั้งหลายผู้เกิดในโลกมนุษย์หรือในสวรรค์ย่อมจะได้รับสถานะที่สูงกว่าเดิม เพราะเหตุแห่งการให้ทาน เช่นเดียวกันผู้เกิดเป็นม้าหรือช้างก็ย่อมได้รับผลคือการได้เป็นจ่าฝูงของม้าหรือช้าง"

 

69     "ด้วยการให้ทาน เขาจะได้ไปสู่สวรรค์ แวดล้อมด้วยสิ่งน่าอภิรมย์ และได้รับการคุ้มครองโดยศีล ส่วนผู้มีความสงบและดำเนินตามทางแห่งปัญญาก็จะเป็นผู้ปราศจากเครื่องยึด(อาศรย) และไม่ไปสู่การนับ(สงข) อีก"

 

70     "บุคคลให้ทานก็เพื่อจะได้ความเป็นอมตะ และในเวลานึกถึงทานก็ย่อมเกิดปีติ เพราะปีตินั้นย่อมเป็นสมาธิ

 

71     "เพราะจิตเป็นสมาธิตามลำดับ เขาย่อมรู้แจ้งเกี่ยวกับการเกิดและการดับ เพราะด้วยการให้ทานแก่คนอื่น กิเลสในใจของผู้ให้(ทายก)ย่อมถูกขจัดออกไป"

 

72     "อันดับแรก ผู้ให้(ทายก)ต้องละความยึดถือในสิ่งที่ตนจะให้ และเพราะเขาให้ด้วยจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ดังนั้นเขาจึงละได้ทั้งโทสะและทิฏฐิมานะ"

 

73     "สำหรับผู้ให้(ทายก)ที่ยินดีเมื่อเห็นความสุขของผู้รับ และไม่เป็นคนตระหนี่ นึกถึงผลแห่งทานอยู่เสมอ ความสงสัยและความมืดมนคืออวิชชาของเขาก็ย่อมถูกทำลายไป"

 

74     "ดังนั้น การให้ทานจึงเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของความหลุดพ้น เพราะการให้ย่อมขจัดความโลภต่อสิ่งที่เป็นอกุศลและขจัดความอยากที่เป็นตัวทำลายอุปนิสัยของการให้เอง ดังนั้น เมื่อมีการให้จึงมีความหลุดพ้นเราะทำลายบาปลงได้"

 

75     "บางคนให้ทานเพื่อความสงบ แต่บางคนให้ทานเพื่อทรัพย์ เปรียบเหมือนกับบางคนชอบต้นไม้เพราะได้อาศัยร่มเงา บางคนชอบเพราะได้กินผล แต่บางคนชอบเพราะได้ใช้ดอกฉะนั้น

 

76     "ดังนั้น คฤหัสถ์บางคนจึงไม่เก็บทรัพย์สมบัติไว้ แต่บริจาคให้ตามวิธีของตน และเพราะการให้เป็นสาระของทรัพย์ที่หาสาระมิได้ นี้จึงเป็นทางแห่งความดีที่พึงดำเนินตาม"

 

77     "ผู้ให้อาหารชื่อว่าให้กำลัง ผู้ให้เสื้อผ้าชื่อว่าให้ความงาม ส่วนผู้ถวายที่อยู่อาศัยไว้ในพระศาสนาชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่างในโลก"

 

78     "เช่นเดียวกัน ผู้ให้ยานพาหนะชื่อว่าให้ความสะดวกสบาย ผู้ให้ประทีปชื่อว่าให้แสงสว่าง ด้วยเหตุนี้ บุคคลผู้ชี้ทางแห่งความดีคือพระสัทธรรมจึงชื่อว่าให้ความเป็นอมตะที่ไม่มีใครแย่งไปได้"

 

79     "บางคนให้ทานเพื่อสิ่งที่น่าพอใจ บางคนให้ทานเพื่อความร่ำรวย บางคนให้ทานเพื่อชื่อเสียง บางคนให้ทานเพื่อสวรรค์ บางคนให้ทานเพื่อจะได้ไม่ขัดสน แต่ทานของท่านนี้เหนือกว่าที่กล่าวมาทั้งหมด"

 

80     "ดังนั้น ขอชัยชนะจงมีแก่ท่านผู้ควบคุมความอยากได้แล้ว เมื่อความตั้งใจของท่านบริบูรณ์แล้วขอท่านจงยินดี เมื่อมาที่นี่ท่านมาพร้อมด้วยราคะและความมืดมนคืออวิชชา แต่จะกลับไปพร้อมกับจิตใจที่ผ่องใสบริสุทธิ์เพราะปัญญา"

 

81     เศรษฐีอนาถปิณฑทะผู้รู้แจ้งความจริงด้วยมรรค เปี่ยมล้นด้วยความปีติยินดี มีใจนึกถึงแต่การสร้างวิหาร และได้ออกเดินทางไปพร้อมกับพระอุปดิษยะในเวลาต่อมา

 

82     ครั้งนั้น เมื่อเดินทางถึงเมืองหลวงของพระเจ้าโกศล เศรษฐีอนาถปิณฑทะจึงได้เที่ยวเสาะหาพื้นที่สำหรับก่อสร้างวิหาร ครั้นแล้วก็ได้เห็นอุทยานของราชกุมารเชตะ อันน่ารื่นรมย์และเหมาะสม ซึ่งมีต้นไม้ยืนต้นเรียงรายอย่างสวยงาม

 

83     จากนั้น เพื่อที่จะชื้ออุทยานนั้นเศรษฐีอนาถปิณฑทะจึงไปเข้าเฝ้าราชกุมารเชตะผู้ยังทรงเสียดายและไม่อยากขายอุทยาน ราชกุมารเชตะตรัสว่า "ถึงแม้ท่านจะใช้เงินปูจนเต็มบริเวณอุทยานทั้งหมด ข้าพเจ้าก็จะไม่ยอมให้ท่านได้ผืนดินนี้ไป"

 

84     ครั้งนั้น เศรษฐีสุทัตตะกราบทูลราชกุมารว่า "หม่อมฉันต้องการอุทยานจริงๆ" และได้ยืนยันความต้องการอุทยานนั้นซ้ำอีก จากนั้นจึงได้ทำทรัพย์สมบัติจำนวนมากมาปูจนเต็มบริเวณอุทยานและเมือมองดูทรัพย์นั้นเหมือนกับเป็นการแลกเปลี่ยนกับพระสัทธรรม เขาจึงได้ซื้อเอาอุทยานนั้นไป

 

85     ราชกุมารเชตะเมื่อทอดพระเนตรเห็นเศรษฐีสุทัตตะมอบถวายเงินจำนวนมากก็บังเกิดความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระพุทธองค์เป็นอย่างยิ่งจึงได้ทรงอุทิศป่าทั้งหมดถวายแด่พระตถาคต

 

86     ครั้งนั้น เศรษฐีอนาถปิณฑทะจึงตัดสินใจที่จะสร้างวิหารนั้นอย่างรวดเร็ว ด้วยมีใจที่หลุดพ้นและไม่มีความยึดมั่นเข้าจึงเริ่มสร้างวิหารอันยิ่งใหญ่และงดงามตระการตาโดยมีพระมหาเถระชื่ออุปติษยะทำหน้าที่ควบคุมการก่อสร้าง

 

87     อนึ่ง การมาบรรจบกันแห่งทรัพย์ อำนาจ และปัญญาญาณนี้ปรากฏเหมือนกับปราสาทของท้าวกุเวรเคลื่อนลงมาสุ่พื้นโลก เหมือนกับเป็นโชคแห่งเมืองหลวงของแคว้นโกศลตอนเหนือ และเหมือนกับเป็นภูมิแห่งพระตถาคต

 

สรรคที่ 18 ชื่อการโปรดเศรษฐีอนาถปิณฑทะ

 

ในมหากาพย์พุทธจริต จบเพียงเท่านี้

 

******

 

 

สรรคที่19

 

 

สรรค ที่ 19

 

การโปรดพระพุทธบิดาและพระโอรส

 

1      ครั้งนั้น พระบรมศาสดาเมื่อทรงชนะเจ้าลัทธิทั้งหมดด้วยพระปัญญาธิคุณแล้ว ต่อมาจึงเสด็จจากเมืองเบญจคีรีนคร(ราชคฤห์) ไปยังเมืองของพระราชบิดา(เมืองกปิลวาสตุ)

 

2      ครั้งนั้น พระสาวกจำนวน 1000 รูป ซึ่งพระองค์เทศนาโปรดให้หันมานับถือได้ไม่นานก็ตามเสด็จไปด้วย ต่อมาพระองค์ก็ได้เสด็จถึงอาณาจักรของพระราชบิดา แต่เพื่อจะทำให้พระราชบิดาทรงพอพระทัย พระองค์จึงประทับอยู่ใกล้เมืองที่ทรงประสูติ

 

3      ครั้งนั้น ปุโรหิตและพระราชครูเมื่อได้ฟังข่าวอันน่ายินดีจากจารบุรุษที่น่าเชื่อถือว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จกลับมาพร้อมด้วยความสำเร็จตามพระประสงค์จึงนำความไปกราบทูลพระราชา

 

4      ครั้งนั้น เมื่อทรงทราบการเสด็จมาของพระพุทธองค์ พระราชาผู้ทรงเปี่ยมล้นด้วยความยินดีและปรารถนาจะได้พบพระพุทธองค์จึงเสด็จออกไปพร้อมด้วยข้าราชบริพารอย่างรีบร้อนจนลืมคำนึงถึงพระจริยาวัตร

 

5      พระราชาทอดพระเนตรเห็นพระพุทธองค์ทรงแวดล้อมด้วยเหล่าพระสาวกแต่ที่ไกลเหมือนกับพระพรหมประทับอยู่ท่ามกลางเหล่าฤาษี และด้วยความเคารพในพระสัทธรรมของพระมหามุนี พระองค์จึงเสด็จลงจากราชรถแกล้วทรงดำเนินเข้าไปหาด้วยพระบาท

 

6      เมื่อรีบเสด็จเข้าไปเฉพาะพระพักตร์และเมื่อทอดพระเนตรเห็นพระมหามุนีเท่านั้น พระราชาก็ไม่อาจจะตรัสพระดำรัสใดๆ ออกมาเลย เพราะพระองค์ไม่รู้จะเรียกพระมหามุนีว่า "ภิกษุ"ดี หรือว่า "บุตร" ดี

 

7      ครั้งนั้น เมื่อทอดพระเนตรจึวรของพระพุทธองค์และทรงพิจารณาดูเครื่องประดับมากมายที่พระวรกายของพระองค์ พระราชาก็ทรงสะอื้นและทรงหลั่งพระอัสสุชลออกมา พร้อมกับตรัสด้วยพระสุรเสียงแผ่วเบาว่า

 

8      "ช่างเหมือนกับคนเดินทางที่หิวกระหายน้ำที่พอไปถึงสระน้ำซึ่งอยู่แสนไกลแต่แล้วกลับพบว่าสระน้ำนั้นแห้งขอด ความทุกข์ของพ่อย่อมท่วมท้นทับทวีเมื่อได้เห็นลูกนั่งอยู่ใกล้ๆ อย่างสงบและไม่มีความรู้สึก"

 

9      "เมื่อพ่อมองดูภาพเก่าของลูกเหมือกับคนจ้องมองรูปคนรักที่ยังฝังใจตราบจนวันสิ้นโลก วันนี้พ่อไม่รู้สึกยินดีอะไรเลยเหมือนกับที่ลูกไม่รู้สึกอะไร"

 

10      "แผ่นดินที่ห้อมล้อมด้วยภูเขาทั้งปวงนี้ควรจะเป็นของลูกเหมือนกับที่เคยเป็นของพระเจ้ามานธาตฤ ในยุคทองโน้น แต่ว่าลูกซึ่งไม่ควรจะขอแม้จากกษัตริย์ด้วยกัน บัดนี้กลับต้องเป็นอยู่ด้วยการขอจากผู้อื่น"

 

11      "ลูกอยู่ที่นี่ ล้ำเลิศกว่าภูเขาสุเมรุในด้านความมั่นคง ล้ำเลิศกว่าพระอาทิตย์ในด้านความสว่าง ล้ำเลิศกว่าพระจันทร์ในด้านความงาม ล้ำเลิศกว่าพญาคชสารในด้านการเยื้องกราย ล้ำเลิศกว่าโคอุสภะในด้านการส่งเสียงร้อง แต่ถึงกระนั้นลูกก็ยังเสวยอาหารที่ได้จากการขอแทนการชนะพื้นปฐพี

 

12      ครั้งนั้น พระพุทธองค์ทรงทราบว่าพระราชบิดายงทรงคิดถึงพระองค์ว่าเป็นบุตร ด้วยทรงมีพระมหากรุณาต่อพระราชบิดา พระองค์จึงทรงเหาะขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อโปรดพระราชบิดา

 

13      พระพุทธองค์ทรงสัมผัสราชรถของสูรยเทพด้วยพระหัตถ์และเสด็จดำเนินไปตามทางของมรุตเทพ พระองค์ทรงเนรมิตพระวรกายหนึ่งเดียวให้ปรากฏเป็นหลากหลายแล้วกลับพระวรกายที่หลากหลายนั้นเป็นหนึ่งเดียวอีก

 

14      พระพุทธองค์ทรงดำลงในแผ่นดินโดยไม่มีสิ่งใดกีดขวางเหมือกับทรงดำลงในน้ำ และเสด็จดำเนินอยู่บนผิวน้ำเหมือนกับเสด็จอยู่บนแผ่นดิน ทรงแทรกเข้าไปในภูเขาและทะลุผ่านออกมาด้วยพระอาการสงบโดยไม่มีเครื่องกีดขวาง เหมือนกับเสด็จดำเนินผ่านทะลุอากาศ

 

15      พระพุทธองค์ทรงโปรยสายฝนลงมาจากพระวรกายครึ่งหนึ่ง ทรงเปล่งแสงรุ่งเรืองราวกับไฟออกมาจากพระวรกายอีกครึ่งหนึ่ง และทรงส่องแสงปรากฏอยู่ในท้องฟ้าสว่างไสวราวกับพืชสมุนไพรวิเศษบนภูเขา

 

16      พระพุทธองค์ทรงทำความปีติยินดีให้เกิดขึ้นในพระทัยของพระราชาผู้ทรงรักพระองค์ดังนี้แล้วจึงประทับนั่งอยู่ในท้องฟ้าเหมือนกับพระอาทิตย์ดวงที่สอง และได้ทรงแสดงธรรมโปรดพระราชบิดาว่า

 

17      "ดูก่อนมหาบพิตร ตถาคตรู้ว่าเพราะพระองค์ทรงมีธรรมชาติที่เปี่ยมล้นด้วยพระกรุณา พระองค์จึงถูกความโศกท่วมทับทันที่ที่ทอดพระเนตรเห็ตตถาคต ขอพระองค์จงละความปีติว่ามีโอรสและจงสงบ ขอจงรับเอาพระสัทธรรมจากตถาคตไปแทนโอรสเถิด"

 

18      ดูก่อนมหาบพิตร พระสัทธรรมนี้ไม่เคยมีบุตรคนใดมอบให้แก่บิดามาก่อนและไม่เคยมีบิดาคนใดได้รับจากบุตรมาก่อน พระสัทธรรมนี้ประเสริฐยิ่งกว่าราชอาณาจักรหรือสรวงสวรรค์ ขอพระองค์จงทราบพระสัทธรรมนั้นว่าเป็นอมตธรรมอันประเสริฐสูงสุด

 

19      "ดูก่อนองค์พระภูมิบาล ขอพระองค์จงตระหนักถึงธรรมชาติของกรรม แหล่งที่เกิดของกรรม แหล่งที่อาศัยของกรรม และวิบากกรรมที่หลากหลาย อนึ่ง พระองค์จงทราบว่าโลกนี้ตกอยู่ภายใต้อำนาจของกรรม ดังนั้นขอพระองค์จงทำแต่กรรมดีเถิด"

 

20      "ขอพระองค์จงพิจารณาและใคร่ครวญถึงสัจธรรมของโลก กรรมดีเป็นเพื่อนของมนุษย์ ส่วนกรรมชั่วนั้นเป็นฝ่ายตรงข้าม พระองค์จะต้องละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่าง (เมื่อสวรรคต)และจะต้องเสด็จไปเพียงลำพังโดยไม่ทีที่อาศัยใดๆนอกจากกรรมของพระองค์เท่านั้นที่จะติดตามไป"

 

21      "ชีวโลกนี้ย่อมดำเนินไปภายใต้แรงกระตุ้นของกรรม ไม่ว่าในสวรรค์หรือในนรก ไม่ว่าในท่ามกลางหมู่สัตว์หรือในโลกมนุษย์ สาเหตุของการเกิดในสังสารวัฏมี 3 ประการ (คือ ราคะ โทสะ และโมหะ)ที่กำเนิด (โยนิ) ก็มี 3 ประการ และกรรมทั้งหลายที่มนุษย์ทำก็มากมายแตกต่างกันไป"

 

22      "ดังนั้น ขอพระองค์จงเลือกปฏิบัติทางอื่นที่เหมาะสมกับพระองค์ จงชำระกายกรรมและวจีกรรมให้บริสุทธิ์ และจงเพียรพยายามเพื่อสงบแห่งจิต นี้คือจุดหมายสำหรับพระองค์ ไม่มีสิ่งอื่น(นอกจากนี้)

 

23      "เมื่อทรงทราบว่าโลกนี้กระเพื่อมตลอดเวลาเหมือนกับคลื่นในมหาสมุทร พระองค์จงทำสมาธิโดยนึกถึงโลก ไม่ควรยินดีในชีวโลกนี้ ควรประพฤติแต่กุศลกรรมที่จะนำไปสู่ความดีสูงสุด เพื่อทำลายพลังของกรรม"

 

24      "พระองค์จงทราบว่าโลกนี้หมุนวนอยู่ตลอดเวลาเหมือนกับวัฏจักรแห่งดวงดาว แม้เทวดาทั้งหลายผู้ผ่านจุดสูงสุดแล้วก็ยังตกจากสวรรค์ แล้วบุคคลจะวางใจสถานะของมนุษย์มากเกินกว่านี้ได้อย่างไร"

 

25      "พระองค์จงทราบว่าความสุขที่เกิดจากความหลุดพ้นเป็นบรมสุขและจงทราบว่าความปีติยินดีภายในเป็นสิ่งสูงสุดเหนือปีติทั้งปวง ในบรรดาความสุขอันน่าอภิรมย์มากมาย อะไรเล่าที่บุคคลผู้ฝึกตนได้แล้วจะพึงยินดี เมื่อรู้ว่ามันมาพร้อมกับภัยอันตรายมากมาย เหมือนกับบ้านที่เต็มไปด้วยงู"

 

26      "ดังนั้น ขอพระองค์จงมองโลกนี้ว่าถูกแวดล้อมไว้แล้วด้วยอันตรายอันใหญ่หลวง เหมือนกับเรือนที่ถูกไฟไหม้ จงค้นหาสภาวะที่สงบและมั่นคง ซึ่งเป็นที่ที่ไม่มีทั้งความเกิด ความตาย ไม่มีทั้งความเหนื่อยยากและความทุกข์เถิด"

 

27      "ขอพระองค์จงบดขยี้กองทัพข้าศึกคือบาปอกุศลที่จะชนะได้โดยไม่ต้องใช้ราชทรัพย์ อาณาจักร อาวุธ ม้า หรือช้าง เมื่อพระองค์ทรงมีชัยชนะเหนือกองทัพข้าศึกเหล่านั้นแล้วย่อมไม่มีสิ่งอื่นใดที่จะต้องชนะอีก"

 

28      "ขอพระองค์จงเข้าพระทัยเรื่องทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ การดับทุกข์ และหนทางแห่งการดับทุกข์นั้นเถิด ด้วยการเข้าพระทัยในสี่ข้อนี้อย่างลึกซึ้ง ความหายนะอันยิ่งใหญ่และทุคติย่อมถูกกำจัดออกไป"

 

29      ครั้งนั้น เพราะปาฏิหาริย์ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงได้ทำให้พระทัยของพราราชบิดาเป็นภาชนะที่เหมาะแก่การแนะนำก่อนแล้ว พระราชาครั้นได้สดับพระสัทธรรมจึงบังเกิดความซาบซึ้งพระทัยและทรงประคองอัญชลีขึ้นตรัสว่า

 

30      "การกระทำของลูกนับว่าชาญฉลาดและเพียบพร้อมไปด้วยผลที่ลูกช่วยปลดเปลื้องพ่อออกจากความทุกข์อันใหญ่หลวง พ่อซึ่งเมื่อก่อนยินดีอยู่ในโลกียวิสัยที่มีแต่ความพินาศและมากไปด้วยความทุกข์ บันนี้พ่อ่อมยินดีในผลของการมีบุตร"

 

31      "เหมาะแล้วที่ลูกละทิ้งราชสมบัติหนีไป เหมาะแล้วที่ลูกทนลำบากด้วยความอุตสาหะอันยิ่งใหญ่ และเหมาะแล้วที่ลูกยังเป็นที่รักเหมือนเดิมเพราะลูกละทิ้งพระประยูรญาติไปแล้วยังมีความเมตตากรุณาต่อพวกเราอีก"

 

32      "เพื่อประโยชน์แก่ชาวโลกที่มีแต่ความทุกข์โศก ลูกยังได้บรรลุถึงความสุขขั้นสูงสุด ซึ่งแม้แต่เทวฤาษีและราชฤาษีก็ยังไม่เคยได้บรรลุในกาลก่อนอีกด้วย"

 

33      "ถ้าลูกเป็นพระเจ้าจักรพรรดิก็คงจะไม่ทำให้พ่อรู้สึกยินดีเหมือนกับที่พ่อรู้สึกขณะนี้เพราะได้เห็นอิทธิปาฏิหาริย์และได้ฟังธรรมของลูก"

 

34      "ถ้าลูกยังอยู่ที่นี่โดยมีความผูกพันกับการดำเนินชีวิตแบบชาวโลกในฐานะพระเจ้าจักรพรรดิ ลูกจะต้องปกครองประชาชน แต่บัดนี้ในฐานะพระมุนี ลูกทำลายทุกข์อันยิ่งใหญ่ในสังสารวัฏได้แล้วจึงแสดงธรรมเพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก"

 

35      "ด้วยการแสดงปาฏิหาริย์ ด้วยการแสวงหาปัญญา และด้วยการชนะอันตรายในสังสารวัฏได้อย่างเด็ดขาด ถึงแม้จะปราศจากอำนาจอธิปไตย ลูกก็ยังเป็นใหญ่(อีศวร)ในโลกได้ แต่ถึงแม้จะมีอำนายอธิปไตยอันรุ่งเรือง ลูกก็ไม่อาจเป็นเช่นนั้นได้ ถ้ายังเกี่ยวข้องกับสังสารวัฏอันขาดที่พึ่ง"

 

36      พระเจ้าศากยราชซึ่งกลายเป็นผู้เหมาะสมที่จะรับเอาพระสัทธรรมจากพระพุทธองค์ได้ทรงพรรณนาเรื่องต่างๆ เช่นนี้ และถึงแม้พระองค์จะเป็นกษัตริย์และเป็นพระราชบิดาแต่ก็ยังถวายบังคมพระโอรส เพราะว่าพระองค์ทรงรู้แจ้งสัจธรรมแล้วนั่นเอง

 

37      มหาชนผู้ประจักษ์พยานในการแสดงปาฏิหาริย์ของพระมุนีเข้าใจแจ่มแจ้งในพระสัทธรรมและผู้ได้เห็นพระราชาผู้เป็นพระพุทธบิดาถวายบังคมพระพุทธองค์ต่างก็ปรารถนาที่จะสละเรือนออกบวช

 

38      ครั้งนั้น ราชกุมารจำนวนมากผู้ได้สร้างสมบุญไว้แล้วในปางก่อนต่างน้อมรับเอาธรรมวิธีของพระพุทธเจ้า เลิกนับถือคัมภีร์พระเวท และเลิกการละเล่นสนุกสนาน พากันละทิ้งครอบครัวที่กำลังร้องไห้คร่ำครวญออกผนวช

 

39      ราชกุมารทั้งหลายได้แก่ อานันทะ , นันทะ, กฤมิละ, อนิรุทธะ, นันทะ, อุปนันทะ, กุณฐธานะ, และ  เทวทัตตะ ซึ่ง(ภายหลัง) กลายเป็นครูผู้หลงผิดของศิษย์กลุ่มหนึ่ง ครั้นได้รับการชี้แนะจากพระมหามุนีต่างก็พากันสละเรือนออกผนวช

 

40      ครั้งนั้นบุตรของปุโรหิตคนหนึ่งชื่ออุทายิน ซึ่งมีจิตศรัทธามากก็ได้ออกบวชเช่นกัน และอุบาลี(ผู้เป็นบุตรของอัตริ) เมื่อได้เห็นราชกุมารทั้งหลายตัดสินพระทัยออกผนวชจึงได้ออกบวชตามด้วย

 

41     พระเจ้าศุทโธทนะก็เช่นกันเมื่อทรงเห็นอานุภาพของพระพุทธเจ้าก็ทรงเข้าถึงกระแสแห่งความเป็นอมตะอันสูงสุด พระองค์ผู้ทรงละความยึดมั่นถือมั่นได้แล้วทรงมอบราชอาณาจักรให้พระอนุชาปกครองและประทับอยู่ในพระราชวังโดยปฏิบัติพระองค์เหมือนกับเป็นราชฤาษี

 

42     พระพุทธองค์เมื่อโปรดพระประยูรญาติ พระสหาย และบริวารเหล่านี้และเหล่าอื่นให้หันมาประพฤติปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์แล้วจึงเสด็จเข้าไปสู่เมืองในเวลาอันควรโดยทรงสำรวมพระอิริยาบถอยู่ในท่ามกลางการต้อนรับของประชาชนผู้กำลังร้องไห้

 

43     เหล่าสตรีในพระราชวังฝ่ายในเมื่อได้ฟังข่าวว่าพระกุมารสรวารถทิทธะทรงทำกิจของพระองค์สำเร็จแล้วและกำลังเสด็จเข้าสู่เมืองต่างวิ่งกรูมารวมกันที่ประตูและหน้าต่าง

 

44     เมื่อสตรีทั้งหลายเห็นพระพุทธองค์ทรงครองจีวรหม่นแต่ยังทรงเปล่งรัศมีเหมือนกับพระอาทิตย์ถูกเมฆในเวลาเย็นบดยังไว้ครึ่งหนึ่ง พวกเธอจึงร้องไห้หลั่งน้ำตาและประนมมือเป็นรูปดอกบัวถวายบังคมพระพุทธอค์

 

45     ขณะที่สตรีทั้งหลายมองดูพระพุทธองค์เสด็จดำเนินไปข้างหน้าด้วยพระพักตร์ที่ก้มต่ำอย่างสำรวม ทั้งยังทรงรุ่งเรืองด้วยพระสัทธรรมและมหาปุริสลักษณะ พวกเธอผู้บังเกิดความสงสารและความจงรักภักดีต่างรำพึงรำพันด้วนน้ำตาที่นองใบหน้าว่า

 

46     "พระวรกายอันงดงามของพระองค์เปลี่ยนแปลงไปด้วยการโกนศีรษะและด้วยการนุ่งห่มผ้าที่ไม่ใช่ภูษาภรณ์ ถึงกระนั้นพระองค์ก็ยังดูสดใสด้วยพระสุพรรณรังสีที่ซ่านออกจาพระวรกาย ดังนั้น พระองค์จึงเสด็จดำเนินไปพร้อมกับทอดพระเนตรไปยังภาคพื้นอย่างสำรวม"

 

47     "พระองค์ผู้ควรที่จะประทับภายใต้ร่มเงาเศวตฉัตร และเพื่อทรงเป็นผู้มีชัยชนะ ขณะนี้กำลังทรงถือบาตรเสด็จดำเนินไปเพื่อภิกขาจาร"

 

48     "พระงอค์ผู้ควรแก่การทรงม้าภายใต้ร่มงาเศวตฉัตรซึ่งขาวดุจใบหน้าของสตรีผู้เลอโฉมยามที่ทาใบตมาละไว้ที่แก้ม กำลังเสด็จดำเนินไปพร้อมกับทรงถือบาตรสำหรับเที่ยวภิกขาจาร"

 

49     "พระองค์ผู้ควรทำให้ราชกุมารฝ่ายศัตรูอับเฉา ผู้ควรสวมใส่เครื่องประดับพระเศียรอันแพรวพราว ผู้ควรแก่การเฝ้ามองโดหมู่สตรีและข้าราชบริพารผู้คอยรับใช้ กำลังเสด็จดำเนินไปพร้อมกับทอดพระเนตรพื้นดินข้างหน้าด้วยระยะเพียงชั่วแอก"

 

50     "อะไรคือทรรศนะของพระองค์ อะไรคือเรื่องหมายของสมณะ อะไรคือจุดหมายที่พระองค์แสวงหา เพราะเหตุใดความนุกสนานเพลิดเพลินจึงเป็นศัตรูของพระองค์ เพราะเหตุใดพระองค์จึงทรงยินดีแต่ในพรต ไม่ทรงยินดีในพระโอรสและพระชายา"

 

51     "พระนางยโศธราผู้เป็นพระราชสุณิสาถึงจะถูกความทุกข์ท่วมท้นท้บทวีแต่พระนางก็ทรงทำในสิ่งที่ทำได้ยากยิ่ง นั่นคือ เมื่อได้ยินว่าพระสวามีออกผนวชพระนางก็ยังประคองชีวิตรอฟังข่าวและไม่ทำร้ายตนเองให้ได้รับความพินาศ"

 

52     "พระราชานั้นเล่าเมื่อทอดพระเนตรเห็นจึวรของพระพุทธองค์เปล่งประกายด้วยความงาม โดยที่ไม่มีเครื่องประดับใดๆ พระองค์จะยังรักพระโอรสอยู่หรือว่าจะมองพระโอรสเหมือนกับเป็นศัตรูที่น่ากลัว"

 

53     "ถ้าพระองค์ไม่ทรงยึดติดในพระโอรส บุคคลจะคิดถึงพรตอันแน่วแน่นั้นว่าเป็นพรตชนิดไร ที่ทำให้คนเบือนหน้าหนีไปจากญาติผู้เป็นที่รัก"

 

54     "ไม่ใช่เพราะความรุ่โรจน์ ไม่ใช่เพราะความงามแห่งพระวรกาย และไม่ใช่เพราะการเสด็จดำเนินอย่างสำรวมที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับการเล่นสนุกสนาน แต่พระองค์ทรงรุ่งเรืองด้วยคุณสมบัติทั้งหมดเหล่านี้ จึงเสด็จมาอย่างสงบและทรงแยกพระองค์ออกจากอารมณ์ของอินทรีย์ได้"

 

55     สตรีทั้งหลายต่างพร่ำรำพันด้วยความเศร้าโศกเสียใจดังนี้พร้อมกับมีความคิดเห็นแตกต่างกันออกไปเหมือนกับเจ้าลัทธิทั้งหลาย ฝ่ายพระพุทธองค์ก็ได้เสด็จสู่พระนครซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดด้วยพระทัยที่มั่นคง ครั้นทรงรับบิณฑบาตแล้วจึงเสด็จกลับไปสู่ป่าชื่อนยโครธะ

 

56     พระตถาคตเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนครของพระราชบิดาด้วยพระทัยที่ปราศจากตัณหาด้วยปรารถนาที่จะปลดเปลื้องประชาชนผู้มียาน(วิธีปฏิบัติ)น้อยเพราะไม่เคยสร้างสมบุญไว้ในปางก่อน ผู้ถวายอาหารบิณฑบาตเพียงเล็ๆน้อยๆ เพื่อต่อลมหายใจของสมณะ ผู้ยังไม่สามารถควบคุมจิตใจของตนได้และยังไม่เกิดความปีติยินดีเมื่อได้เห็นสมณะเที่ยวบิณฑบาตเพื่อโปรดสัตว์และเทศนาสั่งสอนพระสัทธรรมพร้อมกาบอวยพรว่า "ขอท่านทั้งหลายจงมีความสุขโดยทั่วกัน"

 

สรรคที่ 19 ชื่อการโปรดพระพุทธบิดาและพระโอรส

 

ในมหากาพย์พุทธจริต จบเพียงเท่านี้

สรรคที่20-28

 

มหากาพย์พุทธจริต สรรคที่20 - 28 จบบริบูรณ์ ผู้ต้องการจะได้ไว้เพื่อศึกษา กรุณาติดต่อ ที่ ผศ.ดร.สำเนียง เลื่อมใส ศูนย์สันสกฤตศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร หรือที่คุณ สุดาพร  หมายเลขโทรศัพท์ 089-991-1162

 

 

ดาวน์โหลดตัวอักษร (ฟ้อนต์) ทิเบตทั้ง ๓ แบบ เพื่อความสมบูรณ์ในการชมเว็บ

actisan.ttf

adtibet.ttf

atibet.ttf


uptime alert service

website monitor

View My Stats