佛遺教經

พุทธปัจฉิมโอวาทสูตร

แปลโดย เย็นเจี่ยวภิกขุ

 (一) 經序 釋迦牟尼佛。初轉法輪。度阿若橋陳如。最後說法。度須跋 陀羅。所應度者。皆已度迄。於婆羅雙樹間。將入涅槃。是時中 夜。寂然無聲。為諸弟子。略說法要。

๑. สูตรกถามุข

            สมเด็จพระศรีศากยะมุนีพุทธเจ้า ทรงแสดงปฐมธรรมจักรโปรดพระอัญญาโกณฑัญญะ และทรงแสดงปัจฉิมธรรมเทศนาโปรดพระสุภัทระ พระองค์ทรงพระมหากรุณาธิคุณต่อเวไนยนิกร ทรงโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งห้วงมหาสมุทรสาครมากไม่มีประมาณ ขณะที่พระองค์ทรงประทับสีหไสยาอยู่ระหว่างโคนต้นสาละพฤกษ์ ทั้งคู่ ณ เมืองกุสินารานคร ทรงจะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เวลานั้นแลเป็นกาลราตรี แห่งมัชฌิมยาม ปริวารมณฑลเงียบสงัดปราศจาก สรรพเสียงสําเนียงใด ๆ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่บรรดาสาวกทั้งหลาย พระพุทธองค์ทรงตรัสประทานสารธรรมที่ สําคัญไว้ดังนี้

 (二) 持戒

汝等比丘。於我滅後。當尊重珍敬波羅提木叉。如闇遇明。 貧人得寶。當如此則是汝等大師。若我住世。無異此也。持淨戒 者。不得販賣貿易。安置田宅。蓄養人民。奴婢畜生。一切種植 。及諸財寶。皆當遠離。如避火坑。不得斬伐草木。墾土掘地。 合和湯藥。占相吉凶。仰觀星宿。推步盈虛。曆數算計。皆所不 應。節身時食。清淨自活。不得參預世事。通致使命。咒術仙藥 結好貴人。親厚媟嫚。皆不應作。當自端心。正念求度。不得包 藏瑕疵。顯異惑眾。於四供養。 知量知足。趣得供事。不應蓄積。此則略說持戒之相。戒是正順解脫之本故名波羅提木叉。因 依此戒。得生諸禪定。及滅若智慧。是故比丘。當持淨戒。勿令 毁缺。若人能持淨戒。是則能有善法。若無淨戒。諸善功德。皆 不得生。是以當知成為第一安穩功德住處。

๒. เจริญศีล

            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อเราตถาคตปรินินิพพานล่วงลับไปแล้ว เธอทั้งหลาย พึงเคารพบูชาพระธรรมวินัยและประพฤติปฏิบัติตามในพระปาฏิโมกข์สังวร ซึ่งอุปมา ตั้งอยู่ในท่ามกลางแห่งความมืดได้พบแสงสว่าง แหละประดุจดังผู้ยากไร้อนาถาได้ค้น พบรัตนมณีอันล้ำค่าฉะนั้น จึงมนสิการธรรมและวินัยอันเราผู้ตถาคตได้แสดงแล้ว ได้ บัญญัติไว้แล้ว จักเป็นองค์บรมศาสดาแห่งเธอทั้งหลาย เช่นเดียวกับเมื่อเราตถาคตยัง ดํารงชีพอยู่ ผู้สมาทานรักษาวินัยถึงพร้อมด้วยมรรยาท และโคจรอันบริสุทธิ์สมบูรณ์ แล้วนั้นจะต้องงดเว้นจากการเลี้ยงชีพด้วยการค้าขายแลกเปลี่ยน เว้นจากการก่อสร้าง สะสมไร่นาที่ดินเคหะสถาน เว้นจากการรับเลี้ยงคนข้าทาสบริวารตลอดสัตว์เดรัจฉาน เว้นจากการปลูกพืชพันธุ์ธัญญาทุกชนิด และเว้นจากการสะสมทรัพยสมบัติและสิ่ง ของพัศดุ์อันมีค่า มิจฉาอาชีวะเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นสิ่งควรละให้ห่างไกล เสมือนกับ การหลบหลีกจากชุมเพลิงฉะนั้น และไม่ทําลายตัดโค่นพืชคามและภูตคาม ไม่ประกอบการทําไร่ไถนาบุกเบิกขุดที่ดิน ไม่ประกอบการปรุงเภสัชกรรม ไม่ประกอบการทํานาย ลักษณะดูโชคเคราะห์ ไม่ทนายเหตุการณ์หรือทํานายดวงชตาราศรีดีร้ายไม่ทําการ

คํานวณดูฤกษ์ยาม ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่พึงกระทํา จงสํารวมในการบริโภค ดำรงชีวิตของตนให้บริสุทธิ์และมักน้อยยินดีในความสันโดษ ไม่คลุกคลีมั่วสมประกอบกิจการทางโลก ไม่รับอาสาเจรจาติดต่อ และงดเว้นจากการเป็นหมอเวทมนต์คาถาอาคม ปลุกเสกว่านยาอาถรรพณ์ เว้นจากการคบค้าสมาคมกับผู้มียศฐาบรรดาศักดิ์ ไม่สนิทสนมชิดชอบกับผู้เย่อหยิ่งจองหอง บรรดาธรรมเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่ควรประพฤติปฏิบัติ เธอทั้งหลายพึงตั้งใจให้แน่วแน่ มีสติตั้งมั่นแสวงหาวิโมกข์ธรรม ไม่แอบแฝงไว้ด้วยราคีมลทินข้อบกพร่องด่างพร้อยใด ๆ ไม่แสดงอวดอุตตริมนุสสธรรมต่อมหาชน เพื่อมุ่งหวังในจตุปัจจัยเครื่องอาศัย (จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และยารักษารค) จงรู้จักพอประมาณยินดีในสิ่งที่ตนได้รับ ไม่ควรทำการบริโภคเก็บสะสมออมไว้ นี่คือ สรุปความลักษณะของศีล ศีลเป็นมูลรากฐานน้อมนําไปสู่วิมุตติ (ความหลุดพ้น) ฉะนั้นจึงเรียกชื่อศีลนี้ว่าพระปาฏิโมกข์ เพราะเหตุอาศัยศีลนี้แล ญาณสมาธิจึงบังเกิด ตลอดจนเกิดความรู้แจ้งเห็นจริงดับทุกข์ทั้งมวลด้วยปัญญา ด้วยเหตุนี้แล ภิกษุทั้งหลาย จงเจริญศีลให้บริบูรณ์ มีปรกติเห็นเป็นภัยแม้ในโทษที่เล็กน้อย อย่าให้เกิดความขาดตกบกพร่องด่างพร้อย หากบุคคลใดสามารถรักษาศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์แล้ว จึงกําหนดรู้ว่าผู้นั้นแลสามารถทรงไว้ซึ่งกุศลธรรม ถ้าปราศจากปาริสุทธิศีลแล้วไซร บุญกุศล ทั้งหลายก็จะหาบังเกิดขึ้นมาไม่ ฉะนั้นจึงมนสิการไว้ว่า คุณสมบัติแห่งศีลนั้นเป็น อุปการะชั้นเอก ในการดําเนินซึ่งจะทรงบรรดาบุญกุศลไว้อย่างมั่นคงสถาพร

 (三) 制 心

            汝等比丘。已能住戒。當制五根。勿令放逸。入於五欲。譬如牧牛之人。執仗視之。不令縱逸。犯人苗稼。若縱五根。非唯 五欲將無涯畔。不可制也。亦如惡馬。不以轡制。將當牽之墬於 防陷。如被刼害。苦止一世。五根戰禍。殃及累世。為害甚重。 不可不慎。是故智者制而不隨。持之如賊。不令縱逸。假令縱之 o皆亦不久。見其磨滅。此五根者。心為其主。是故汝等。當好 制心。心之可畏。甚於毒蛇惡獸怨賊。大火越逸。未足喻也。 譬如有人。手執蜜器。動轉輕躁。但觀於蜜。不見深坑。譬如狂象無鈎。猿猴得樹。騰躍踔躑。難可禁制。當急挫之。無令放逸 。縱此心者。喪人善事。制之一處。無事不辨。是故比丘。當勤 精進・折伏汝心

๓. ควบคุมจิตใจ

            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเธอสามารถรักษาวินัยได้โดยพร้อมมูลแล้ว ต่อไป พึงเป็นผู้สํารวมอินทรีย์ทั้งห้า (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) อย่าประมาทปล่อยใจให้ถูกชักนําไป ตามอํานาจแห่งเบญจกามคุณ (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส) อุปมาเหมือนกับบุรุษเลี้ยงโด ถือไม้ปฏักคอยควบคุมดูแลฝูงโค มิปล่อยให้ฝูงโคไปเหยียบย่ำต้นข้าวออ่นของชาวนา ฉะนั้น ถ้าหากปล่อยอินทรีย์ทั้งห้า โดยปราศจากการเหนี่ยวรั้งอารมณ์ มิเพียงแต่ตกอยู่ในห้วงกามคุณเท่านั้น หากจะตกเป็นทาสแห่งตัณหาและกิเลส อันปราศจากขอบเขต สุดที่จะควบคุมไว้ได้อีกด้วย ประดุจดังอาชาที่พยศมิได้ใช้บังเหียนเหนี่ยวรั้งไว้ ย่อมจะพาผู้ที่นําไปตกเหวลึก หรือเปรียบเสมือนถูกโจรปล้นสดมภ์ ก็เพียงแต่ทุกข์เศร้าโศกเสียใจเพียงแต่ทุกข์เศร้าโศกเสียใจเพียงชั่วชีวิตหนึ่งเท่านั้น แต่การถูกปล้นสดมภ์ทางอินทรีย์ทั้ง ห้านี้ จะก่อให้เกิดความทุกข์ระทมอย่างแสนสาหัสสืบเนื่องต่อกันตลอดหลายภพหลาย ชาติ เป็นมหาภัยหนักอย่างมหันต์ จึงต้องควบคุมระวังไว้ให้ดี เพราะฉะนั้นแล บัณฑิตทั้งหลายต้องรู้จักสํารวมควบคุมอินทรีย์ มิให้ปล่อยไปตามอารมณ์แห่งความ ฟุ้งซ่าน คอยระมัดระวังเหมือนกับป้องกันโจรมิให้หลุดจากที่คุมขัง จึงควบคุมด้วยความไม่ประมาท ถ้าหากปล่อยไปตามกระแสอารมณ์แห่งความฟุ้งซ่านแล้วไซร้ ในมิช้าก็จะถึงแก่ความหายนะอย่างใหญ่หลวง อินทรีย์ทั้งห้านี่แลมีใจเป็นใหญ่ เพราะเหตุฉะนี้ เธอทั้งหลายจึงคอยสํารวมรักษาใจให้ดี หากใจที่ปราศจากการคุ้มครอง ปล่อยไปตามกระแสอารมณ์ เป็นสิ่งที่น่าหวาดหวั่นพรั่นพรึงยิ่งกว่าอสรพิษสัตว์ร้าย โจรภัย และน่ากลัวยิ่งกว่ามหาอัคคีภัย ซึ่งอันจะนํามาเปรียบเทียบกับการปล่อยไป ตามอารมณ์แห่งความฟุ้งซ่านนั้นมิได้ อุปมัยบุรุษผู้หนึ่งกําลังถือภาชนะน้ำผึ้งเร่งรีบเดินทางอย่างใจร้อน และ มัวแต่คอยพะว้าพะวงในการประคองภาชนะน้ำผึ้ง หาได้แลเห็นภัย (เหวลึก) อยู่เบื้องหน้าไม่ หรือประดุจดังคชสารตกมันที่ปราศจากขอช้าง  อนึ่ง ดังค่างและวานรหลุดพ้นจากที่คุมไปพบต้นไม้ก็ผาดโผนกระโจนห้อยโหน เป็นการยากลําบากที่จะควบคุม ฉะนั้นจงรีบเร่งระวังอย่าได้ประมาท การสูญเสียชีวิตจะดีกว่า ที่จะปล่อยใจให้ตกเป็นทาสของกิเลสตัณหา ซึ่งเป็นทางทําลายจริยากุศลธรรม ถ้าสามารถควบคุมคุ้มครองทวารอินทรีย์ทั้งหลาย ก็จะเป็นผลนำความสำเร็จในธรรมทั้งมวล ด้วยเหตุนี้แล ภิกษุทั้งหลาย เธอจงหมั่นเพียรพยายามสํารวมรักษาใจให้ดี อย่าได้ถูกกามคุณชักนําไป

 (四) 節食

            汝等比丘。受諸飲食。當如服藥•於好於惡。勿生增減。趣 得支身。以除饑渴。如蜂採華。但取其味。不損香色。比丘亦爾 。受人供養。趣自除惱。無得多求。壞其善心。譬如智者。籌量 牛力。所堪多少。不令過分。以竭其力。

๔. รู้จักประมาณในโภชนะ

            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! การฉันโภชนะที่ทายกถวายด้วยศรัทธานั้น จึงถือเสมือน ฉันเภสัช ปราศจากความยินดียินร้ายในรสอาหารไม่ว่าดีหรือเลว แต่ฉันเพียงเพื่อให้ กายนี้ตั้งอยู่ได้เพื่อให้ชีวิตเป็นไป กําจัดเวทนาความหิวกระหายเสีย อุปมาภุมรินทร์ตอมบุบผา เพียงแต่ลิ้มรสแห่งบุบผาเท่านั้น โดยไม่ได้ทําลายกลิ่นหอมและรูปสันของบุบผา ภิกษุก็เช่นเดียวกัน รับโภชนาที่ผู้ถวายด้วยศรัทธา ฉันเพื่อขจัดความทุกข์เกิดจาก เวทนา และพึงรู้จักประมาณอย่าเป็นผู้มักมาก อันจะเป็นหนทางทําลายและถูกติเตียน จากทายกผู้มีจิตศรัทธา จงประพฤติอย่างบัณฑิตผู้ฉลาด สามารถรู้จักประมาณกําลังแห่งโค จะทานน้ำหนักได้กี่มากน้อย และมิให้บรรทุกน้ำหนักมากเกินกําลังของโค ฉะนั้น

(五) 戒 睡眠

            汝等比丘。畫則勤心修習善法。無令失時。初夜後夜。亦勿 有廢。中夜誦經。以自消息。無以睡眠因緣。令一生空過。無所得也。當念無常之火。燒諸世間。早求自度。勿睡眠也。諸煩惱 賊。常伺殺人。甚於怨家。安可睡眠。不自警寤。煩惱毒蛇。睡 在汝心。譬如黑蚖。在汝室睡。當以自持戒之鈎。早倂除之。睡 蛇既出。乃可安眠。不出而眠。是無庸慚人。慚恥之服。於諸莊嚴 。最為第一。慚如鐵鈎。能制人非法。是故比丘。常當慚恥。無 得暫替。若離慚恥o則失諸功德。有愧之人。則有善法。若無愧 者。與諸禽獸。無相異也。

๕. ละความง่วงเหงาหาวนอน

            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ยามทิวากาลก็ควรปฏิบัติอบรมจิตใจให้ตั้งมั่น ประกอบ ความเพียรในธรรมเป็นเครื่องตื่น อย่าปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ตอน ปฐมยามก็ดี ปัจฉิมยามก็ดี ก็อย่าให้ผ่านพ้นล่วงไปโดยปราศจากการเจริญธรรม ครั้นมัชฌิมยามจงสาธยายพระสูตรต่าง ๆ และสําเร็จการนอนอย่างสีหไสยาสน์ (ตะแคงขวา เท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะในการลุกขึ้น) จงอย่าเห็นแก่การหลับนอน อันเป็นเหตุให้ชีวิตผ่านพ้นไปโดยไร้ประโยชน์ และหาแก่นสารอันใดในชีวิตมิได้ พึงพิจารณาเพลิงแห่งความไม่เที่ยง กําลังลุกไหม้เผาผลาญโลกอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น จงบำเพ็ญประโยชน์ของตนให้พ้นจากอาวรณิยธรรม ปราศจากความเห็นแก่การหลับนอน บรรดาโจรคือมารกิเลสทั้งหลาย คอยจ้องท่ารอสังหารมนุษย์ชาติอยู่ตลอดกาล ร้ายยิ่งกว่าศัตรูคู่อาฆาตเสียอีก เธอจะหลับโดยไม่ระแวงและหวาดสดุ้งเสียมิได้  จงเตือนสติให้ละความสุขในการหลับ เพราะอสรพิษ (มารกิเลส) เหล่านั้นกําลังนอนอยู่ในห้องหัวใจของเธอ หรืออุปมาตั้งอสรพิษร้ายหลับอยู่ในห้องนอนของเธอ ซึ่งใช้การเจริญศีลประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องตื่นเป็นอาวุธ รีบเร่งขจัดทำลายอสรพิษร้าย ซึ่งหลับอยู่ให้ออกเสีย แล้วเธอจะหลับได้อย่างเป็นสุข หากเธอหลับโดยไม่ได้ขจัดมารกิเลสให้ออกจากห้วงจิตใจเสียก่อน ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้หาความละอายแก่ใจมิได้ ความรู้สึกละอายใจ เป็นอลังการเครื่องตกแต่งที่ประเสริฐสุด ในเบื้องต้นแห่งบรรดาจริยาธรรมทั้งหลายผู้มีหิริจิตเปรียบเสมือนขอเหล็ก สามารถระงับมนุษย์มิให้ประพฤติล่วงเกินอกุศลธรรม เพราะเหตุฉะนี้แล ! ภิกษุพึงมีคุณธรรมคือความละอายใจต่อบาป ประจําจิตอยู่เสมออย่าให้เสื่ยมคลาย หากขาตจากคุณ ธรรมคือความละอาย เสียแล้วไซร้ ก็จะสูญสิ้นจากบรรดาบุญกุศลธรรมทั้งปวง ผู้มีความละอายต่อบาป ย่อมมีความแจ่มแจ้งในกองกุศลทั้งหลาย หากผู้ที่ปราศจากความละอายต่อบาป ผู้นั้นย่อมมีลักษณะแตกต่างกับหมู่สัตว์เดรัจฉานฉะนั้น

 (六) 戒瞋恚

            汝等比丘。若有人來。 節節支解。當自攝心。無令瞋恨。亦當護口。勿出惡言。若縱恚心。則自妨道。失功德利。忍之為德 。持戒苦行。所不能及。能行忍者。乃可名為有力大人。若其不 能。歡喜忍受。惡罵之毒。如飲甘靈者。不名入道。智慧人也。 所以者何。随恚之害。則破諸善法。壞好名聞。今世後世。人不 喜見。當知瞋心。甚於猛火。常當防護。無令得入。劫功德賊。 無過瞋恚。白衣受欲。非行道人。無法自制。隨猶可恕。出家行 道無欲之人。而懷瞋恚。甚不可也。譬如清冷雲中。霹靂起火。 非所應也。

๖. ละเว้นความผูกพยาบาท

            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! หากมีผู้มาตัดหั่นสรีระของเธอออกเป็นส่วน ๆ พึงสํารวมใจของตน อย่าให้บังเกิดความโกรธแค้นอาฆาต และพึงสํารวมวาจาอย่าได้ กล่าวคําอาฆาตพยาบาท ถ้าปล่อยจิตให้เกิดความโกรธแค้นพยาบาท ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการบําเพ็ญธรรมของเธอ สูญเสียคุณประโยชน์ในกุศล ขันตินั้นแลเป็นคุณธรรมอันประเสริฐสุด การรักษาศีลบำเพ็ญธรรมก็ดี ยังมิอาจสามารถนํามาเทียบเท่ากับผู้บําเพ็ญคุณแห่งขันติธรรมได้ ผู้ทรงคุณขันติธรรมมีนามว่าเป็นมหาบุรุษ ผู้ทรงพลังมหิทธานุภาพอันยิ่งใหญ่ บุคคลผู้ที่ไม่สามารถอดทนต่อคํากล่าวร้ายนินทาใด ๆ ถึงแม้ว่าได้ดื่มน้ำอมฤต อันศักดิ์สิทธิ์แล้วไซร้ ก็หาได้ชื่อว่าเป็นผู้บรรลุปัญญาเข้าถึงแก่นแห่งคุณธรรมไม่ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไฉนถา! เพราะโทษแห่งการผูกพยาบาท เป็นการทําลายรากเง่าแห่งกุศลธรรมทั้งมวล มีชื่อเสียงกิตติคุณเลื่องลือปรากฏในทางชั่ว เป็นผู้ทําลายมูลฐานความดีงามทั้งภพนี้และภพหน้าหามีบุคคลใดที่อยากจะคบค้าสมาคมด้วย พึงสําเนียกไว้เถิด ความมีจิตโกรธแค้นผูกพยาบาท ร้ายมหันต์ยิ่งกว่าขุมเพลิง ที่กําลังลุกโชติช่วง ฉะนั้นพึงระมัด ระวังไว้ด้วยสติ อย่าปล่อยให้บังเกิดขึ้นแก่จิต บรรดาโจรที่ปล้นสดมภ์กุศลธรรมนั้น ไม่มีโจรประเภทใดร้ายกาจยิ่งกว่าความผูกพยาบาทเคียดแค้น คฤหัสถ์ผู้ของอยู่ในกาม มิใช่ผู้ออกประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีธรรมวินัยควบคุมตนเอง ย่อมมิพ้นจากความโกรธซึ่งสมควรอย่างยิ่งต่อการอภัย แต่ ผู้สละเรือนปฏิญาณตนประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้หากามคุณมิได้ หากจิตยังบังเกิด ความผูกโกรธพยาบาท เป็นการมิสมควรอย่างยิ่งเปรียบเสมือนท่ามกลางนภากาศ อันสดใสปลอดโปร่งเยือกเย็น บัดดลปรากฏบังเกิดอสนิบาตฟาดเปรี้ยงแล้วเกิดไฟลุกโชติขึ้น ซึ่งไม่เป็นการบังควรเลย

 (七) 戒橋慢

            汝等比丘。當自摩頭以掩飾好。著壞色衣。執持應器。以乞自活。自見如是。若起喬慢。當疾滅之。增長喬慢。尚非世俗 白衣所宜。何况出家入道之人。為解脫故。自降其身。而行乞耶

๗. ละเว้นความมานะทิฏฐิ

            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! จึงลูบคลําศีรษะของตนเอง ซึ่งเราเป็นผู้ละทิ้งเครื่อง ประดับอันวิจิตรของปุถุชนเสียได้แล้ว มานุ่งห่มจีวรครองผ้ากาสายะย้อมฝาด อุ้มบาตร ถือภิกขาจารเลี้ยงชีพ ควรพิจารณาเห็นตนปานฉะนี้แล เมื่อเกิดความคิดในทางมานะ ทิฏฐิขึ้น จึงรีบขจัดออกจากจิตใจเสียให้สิ้น ความกําเริบเติบใหญ่ของมานะทิฏฐิในตนนั้นเป็นเรื่องที่ไม่สมควรแม้แต่ฆราวาสผู้ครองเรือน นับประสากล่าวอะไรกับผู้สละ เรือน ออกบําเพ็ญธรรมรักษาพรหมจรรย์ เพื่อแสวงหาความหลุดพ้น และเป็นผู้ชําระมานะทิฏฐิออกจากตน ยอมจํานนดํารงชีวิตอยู่ด้วยการภิกขาจารเล่า

 (入) 戒諂曲

汝等比丘。諂曲之心。與道相違。是故宜應質直其心。富知諂曲。但為欺誑。入道之人。則無是處。是故汝等。宜應端心。以質直為本。

๘. ละเว้นความมายาคดเคี้ยว

            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! จิตใจที่ชอบประกอบมายาประจบประแจงผู้อื่นนั้น เป็น การขัดต่ออริยสัจจธรรม ด้วยเหตุฉะนี้แล ควรตั้งจิตใจให้แน่วแน่ซื่อตรงสมาทาน ศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย พึงกําหนดรู้จิตที่เต็มไปด้วยมายาประจบคดเคี้ยว เพียงแต่เป็นมายาเครื่องหลอกลวงเท่านั้น ผู้มีปัญญาตั้งอยู่ในทิฏฐิธรรม ละความยินดี ยินร้ายในอกุศลธรรมเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้แล เป็นเหตุผลที่เธอทั้งหลายควรยังจิตให้ สงบเสงี่ยมปราศจากอภิชฌาใด ๆ โดยใช้ความซื่อสัตย์เที่ยงตรงของจิตเป็นสมุฏฐาน

 (九) 少 欲

            汝等比丘。當知多欲之人。多求利故。苦惱亦多。少欲之人。無求無欲。則無此患。直爾少欲。尚應修習。何況少欲能生諸 功德。少欲之人。則無諂曲。以求人意。亦復不為諸根所牽。行 少欲者。心則坦然。無所憂畏。觸事有餘。常無不足。有少欲者 。則有望槃。是名少欲

๙.มักน้อยในตัณหา

            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! จึงกําหนดรู้ไว้เถิดว่า ผู้ที่มักมากไปด้วย (ตัณหา)

เป็นเหตุให้เกิดความทะเยอทะยานไปด้วยการขวนขวายหาผลประโยชน์ ดังนั้นความ ทุกข์โศกก็ทวีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ส่วนผู้ที่มักน้อยในตัณหานั้น ละความทะเยอทะยานในความอยากปราศจากซึ่งกามคุณ จึงเป็นเหตุไม่ต้องประสพกับความทุกข์ ลำบากดังกล่าว ฉะนั้นจงกําจัดความอยากในตัณหาให้ลดน้อยลงด้วยการฝึกหัดปฏิบัติธรรม

เพราะเหตุไฉนถา ! การมักน้อยในตัณหา เป็นเหตุบังเกิดบรรดาบุญกุศลทั้งหลาย เพราะผู้มักน้อยในความอยาก ละความประจบประแจงมายา เพื่อให้ผู้อื่นหลงชอบตน มีแต่ความสํารวมในอินทรีย์มิให้ถูกตัณหาชักนำไป และผู้ปฏิบัติเพื่อ ความมักน้อยสันโดษ จิตย่อมปราศจากความกระวนกระวายในความอยาก หาความทุกข์โศกหวาดหวั่นมิได้ ดำรงชีวิตอยู่ในความสันโดษยินดีในสิ่งที่ตนมีอยู่ และผู้มักน้อยยินดีในความสันโดษนั้น ย่อมบรรลุถึงนิพพาน (ความสุขที่ไม่มีความสุขอื่นยิ่งกว่า) นี่แลเป็นความหมายแห่งนาม “มักน้อยในตัณหา”

(十) 知足

            汝等比丘。若欲脫諸苦惱。當觀知足。知足之法。即是富樂安穩之處。知足之人。雖臥地上。猶為安樂。不知足者。雖處天堂。雖亦不稱意。不知足者。雖富而貧。知足之人。雖貧而富。不知足者。常為五欲所牽。為知足者之所憐愍。是名知足。

๑๐. รู้จักพอประมาณ

            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! หากต้องการหลุดพ้นจากความทุกข์และปวงกิเลสทั้งหลาย พึงเพ่งพิจารณาความรู้จักพอประมาณ ธรรมแห่งความรู้จักพอประมาณ เป็นมูลฐานแห่งความอุดมสมบูรณ์และเป็นรากฐานของความสุข ผู้รู้จักประมาณ ถึงแม้ จะหลับอยู่กลางดินก็หลับอย่างเป็นสุข ผู้ไม่รู้จักประมาณในความพอ ถึงแม้นสถิตอยู่ บนทิพย์อาสน์ ก็ยังคงไม่พอแก่ใจนั่นเอง และผู้มีรู้จักพอประมาณ ถึงแม้จะมั่งคั่งก็เสมือนผู้ยากจน ส่วนผู้รู้จักพอประมาณนั้น ถึงแม้จะยากจนก็เสมือนผู้มั่งคั่ง เพราะผู้ที่ไม่รู้จักพอประมาณ ย่อมถูกกามคุณทั้งห้าชักนําไป ซึ่งเป็นที่น่าสงสารสังเวชใจแก่ผู้ที่รู้จักความพอประมาณอย่างยิ่ง นี่แลเป็นความหมายแห่งนาม “รู้จักพอประมาณ”

(十一) 遠離

            汝等比丘。欲求寂靜無為安樂。常離潰鬧。獨處閒居。静處 之人。帝釋諸天。所共設重。是故當捨已眾他眾。空間獨處。思 滅若本。若樂眾者。則受眾惱。譬如大樹。眾烏集之。則有枯折 之患。世間縛著。沒於眾苦。譬如老象弱泥。不能自出。是名遠 離 。

๑๑. ห่างไกล

            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! หากปรารถนาที่จะแสวงหาวิเวกความสงบสุขแห่งอสังขต ธรรม (ธรรมที่ไม่มีอะไรปรุงแต่ง) จงหลีกเลี่ยงห่างไกลจากการวุ่นวายและความสุขทางโลก พำนักอยู่แต่ผู้เดียวโดยลําพัง ผู้ที่เจริญธรรมในทางสงบ ย่อมเป็นที่เคารพ สักการะ

บูชาของท้าวสักกะราชและหมู่เทพยดาทั้งปวง เพราะเหตุฉะนี้แล เธอจงละจากระคนกับหมู่คณะของตนและผู้อื่น แสวงหาและเสพเสนาสนะอันสงัด ดำริพิจารณาธรรม สมุฏ

ฐานแห่งความดับทุกข์ หากยังหลงเพลิดเพลินระคนอยู่ในหมู่คณะ ก็ต้องรับความทุกข์ระทมในหมู่คณะเช่นเดียวกัน อุปมาดังพฤกษาชาติอันสูงใหญ่ มีเหล่าปักษิณบินมารวมชุมนุม กิ่งก้านย่อมจะต้องอับเฉาและหักไปฉะนั้น ผู้ที่ถูกโลกียธรรมครอบงํา ย่อมจะจมอยู่ในห้วงแห่งความทุกข์นานาประการ เสมือนกับคชสารชราตก หล่มจมอยู่ในหล่ม ไม่สามารถที่จะถอนตัวออกจากหล่มได้ ฉะนั้น นี่แลเป็นความ หมายแห่งนาม “ห่างไกล”

(十二) 精進

            汝等比丘。若勤精進。則事無難者。是故汝等當勤精進。警 如小水常流。則能穿石。若行者之心。數數懈廢。譬如鑽火、未 熱而息。雖欲得火。火難可得。是名進精。

๑๒. วิริยะภาพ

            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ความพากเพียรมานะพยายามโดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค นั้น ย่อมกระทํากิจสําเร็จลุล่วงโดยหาความยากลําบากมิได้ และไม่มีสิ่งใด ๆ เป็น ความยากลําบากในการกระทํา ฉะนั้นเธอทั้งหลาย พึงรีบเร่งทําความเพียรประพฤติ ปฏิบัติธรรม เพื่อความรู้แจ้งแห่งปัญญา อุปมาเหมือนหยดน้ำน้อย ๆ ที่หยดอยู่เสมอ โดยไม่ขาด ระยะ ย่อมสามารถเจาะทะลุศิลาอันกล้าแข็งเป็นทางไปได้ ฉะนั้น หากจิตของเธอผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เต็มไปด้วยความเกียจคร้านไม่ปฏิบัติตามพระวินัย ปล่อยปละละเลย ก็เปรียบเสมือนกับบุคคลที่พยายามสีไม้เพื่อให้เกิดไฟ แต่สีไม้ยังไม่ทันร้อนก็เลิกเสียกลางคัน ฉะนั้น ถึงแม้มีความอยากจะได้ไฟปานใด ไหนั้นก็ยากที่จะเกิดขึ้นได้ นี่แลเป็นความหมายแห่งนาม “วิริยะภาพ”

(十三) 不忘念

            汝等比丘。善求知識。求善護助。無如不忘念。若有不忘念 者。諸煩惱賊。則不能入。是故汝等。常當攝念在心。若失念者 。則失諸功德。若念力堅強。雖入五欲賊中。不為所害。譬如著 鎧入陣。則無所畏。是名不忘念。

๑๓. ความไม่ลืมสติ

            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! การแสวงหาความรอบรู้แห่งกองกุศล และการแสวงหา ทางพิทักษ์อุปถัมภ์แห่งกุศลนั้น ไม่มีสิ่งใดประเสริฐดีเท่ากับการไม่ลืมสติ หากมีสติ สัมปชัญญะควบคุมโดยตลอด บรรดาเหล่ากิเลสมารทั้งหลาย ย่อมไม่สามารถเข้าไป ในจิตของเธอได้ ฉะนั้นเธอทั้งหลาย จึงมนสิการสำรวมสติไว้เป็นเนืองนิจเถิด ถ้าขาดจากการควบคุมสติสัมปชัญญะแล้วไซร้ ก็จักเป็นเหตุขาดจากกุศลธรรมทั้งมวล หากว่ามีพละสติอันแข็งแกร่งมั่นคง ถึงแม้จะย่างเข้าไปอยู่ในท่ามกลางโจรแห่งเบญจกามคุณ กิเลสกามเหล่านั้นก็หาทําอันตรายได้ไม่ ซึ่งอุปมาเหมือนกับผู้สวมเกราะป้องกันศัตราเข้าสู่รณรงค์ในสงคราม ย่อมปราศจากความหวาดหวั่นพรั่นพรึงฉะนั้น นี้แลเป็นความหมายแห่งนาม “ความไม่ลืมสติ”

 (十四)禪定

            汝等比丘。若攝心者 心則在定。心在定故。能知世間生滅 法相。是故汝等。常當精進修習諸定。若得定者。心則不散。譬 如惜水之家。善治隄塘。行者亦爾。為智慧水故。善修禪定。令 不漏失。是名為定。

๑๔. สมาธิ

            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! หากผู้ใดสํารวมรักษาจิตให้ตั้งมั่น จิตก็จะดํารงอยู่ใน สภาวะของสมาธิ เมื่อจิตดำรงอยู่ในสภาวะสมาธิมั่นคงแล้ว ย่อมสามารถรู้แจ้งธรรม ลักษณะแห่งการเกิดและการดับของโลกอันเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้ถาวรได้ เพราะเหตุฉะนี้ แล! เธอทั้งหลายจึงวิริยะอุตสาหะเพียรเจริญให้บรรดาสมาธิเกิด เมื่อบรรลุถึงภาวะ แห่งสมาธิแล้ว จิตก็จะไม่ฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ เปรียบเสมือนครอบครัวที่ทนุถนอมน้ำทำเขื่อนทำนบป้องกันรักษาสระน้ำไว้อย่างดี ผู้บําเพ็ญพรตก็เช่นเดียวกัน ปัญญา เปรียบ เหมือนน้ำ เขื่อนทำนบเปรียบอุปมาดังญาณสมาธิที่ตนบําเพ็ญ เพื่อป้องกันมิให้น้ำ(ปัญญา) นั้นรั่วไหลหายสญไป นี่แลเป็นความหมายแห่งนาม “สมาธิ”

(十五) 智慧

            汝等比丘。若有智慧。則無貪著。常是省察。不令有失。是 則於我法中。能得解脫。若不爾者。既非道人。又非白衣。無所 名也。實智慧者。則是度老病死海堅牢船也。亦是無名黑暗大明 燈也一切病者之良藥起。伐煩腦樹之利斧也。是故汝等。當以聞思修慧。而自增益。若人有智慧之照。雖是肉眼。而是明見人 。是為智慧。

๑๕. ปัญญา

            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! หากมีปัญญาญาณแจ้งตามสภาวะความเป็นจริงแล้ว ก็จะไม่ถูกความโลภครอบงำ จงสํารวจตนเองและเจริญธรรมอยู่เป็นนิจ เพื่อป้องกันมิให้สูญเสียซึ่งธรรมนั้นไป นี่แลเป็นธรรมของตถาคตที่ได้ประกาศแล้ว สามารถยังความหลุดพ้นจากวัฏฏสงสาร หากเธอทั้งหลายไม่ปฏิบัติเช่นนี้ เธอก็มิใช่ผู้บําเพ็ญธรรมและก็ไม่ใช่คฤหัสถ์อีกด้วย ดังนั้นจึงไม่อาจสรรหานามอะไรมาเรียกจึงจะเหมาะ สม ปัญญารู้แจ้งอันแท้จริงนั้นย่อมเปรียบเสมือนนาวาอันแข็งแกร่งส่งข้ามทะเลแห่ง วัฏฏสงสาร (เกิดแก่เจ็บตาย) และเป็นมหาประทีปอันรุ่งโรจน์ที่ขจัดความมืดมนธ์คือ อวิชชา เป็นยาอันประเสริฐแก้สรรพโรคาทั้งมวล เป็นขวานอันคมกริบสําหรับโคนราก เง่าต้นไม้คือกิเลส เพราะเหตุฉะนี้แล ! เธอทั้งหลายจึงนําเอาการสดับฟังมาดําริ บําเพ็ญอบรมปัญญา อันจะเพิ่มพูนประโยชน์แก่ตนเอง หากผู้ใดมีปัญญารู้แจ้งแทง ตลอดอริยสัจจธรรม ถึงแม้ผู้นั้นจะเป็นเพียงมังสะจักขุ ก็มีปัญญารู้แจ้งตามสภาวะ ความเป็นจริงของสรรพสัตว์โลกได้ นี่แลเป็นความหมายแห่งนาม “ปัญญา”

 (十六) 不戲論

            汝等比丘。若種種戲論。其心則亂。雖復出家。猶未得脱。是故比丘。當急捨離亂心戲論。若汝欲得寂滅樂者。唯當善滅戲 論之患。是名不戲論。

๑๖. ไม่พูดจาหยอกล้อ

            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! การพูดจาหยอกล้อเล่นหัวอันไม่เป็นแก่นสารในเรื่อง ต่าง ๆ นั้น ย่อมทําให้จิตเต็มไปด้วยความคิดเศร้าหมองยุ่งเหยิง ถึงแม้ว่าได้สละเรือน ออกบรรพชาแล้วก็ตาม ก็ยังหาได้บรรลุถึงความหลุดพ้นไม่ เพราะเหตุฉะนี้แล ภิกษุ ทั้งหลาย จึงรีบเร่งละทิ้งให้ห่างไกลจากความคิดฟุ้งซ่าน และการพูดจาหยอกล้ออันเปล่าประโยชน์ ถ้าเธอปรารถนาที่จะบรรลุความสงบสุขแห่งพระนิพพานแล้วไซร้ พึงรีบเร่งละทิ้งให้ห่างไกลจากความคิดฟุ้งซ่าน และการพูดจาหยอกล้ออันเปล่าประโยชน์ ถ้าเธอปรารถนาที่จะบรรลุความสงบสุขแห่งพระนิพพานแล้วไซร้ จงพึงขจัดความไม่ดีแห่งการกล่าววาจาหยอกล้อเล่นหัวไม่เป็นแก่นสารเสีย นี่แลเป็นความหมายแห่งนาม “ไม่พูดจาหยอกล้อ”

(十七)自勉

            汝等比丘。於諸功德。常當一心·捨諸放逸。如離怨賊·大 悲世尊。所說利益。皆已究竟。汝等但當勤而行之。若於山間。 若空澤中。若在樹下。閒處靜室。念所受法。勿令忘失。當常自 勉。精進修之。無為空死。後致有悔。我如良醫。知病說藥。服 與不服。非醫咎也。又如善導。導人善道。聞之不行。非導過也

๑๗. ยังความเพียรของตนให้ถึงพร้อม

            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! การประกอบบรรดาบุญกุศลทั้งหลาย จะต้องตั้งใจเป็น หนึ่งเป็นมูลฐาน และละเสียจากความเลินเล่อประมาททั้งมวล อุปมาเหมือนกับหลีกหนีห่างไกลจากโจรอํามะหิตฉะนั้น อันพระตถาคตเจ้าทั้งหลายผู้ทรงพระกรุณาธิคุณ ได้ตรัสสอนเพื่อเกื้อกูลคุณานุประโยชน์ แก่บรรดาสรรพสัตว์ล้วนถึงที่สุดแห่งแก่นแล้ว เธอทั้งหลายพึงหมั่นมานะพากเพียรปฏิบัติและรักษาอนุศาสน์นี้ ไม่ว่าจะอยู่ตามภูเขาก็ดี อยู่ตามห้วยลําธารก็ดี อยู่ตามโคนต้นไม้ทั้งหลายก็ดี อยู่ตามเรือนสถานที่ว่างเปล่าใดก็ดี จงพิจารณาธรรมคําสั่งสอนที่ได้รับไว้อย่าให้หลงลืมและปล่อยเวลาล่วงไปโดยไร้ประโยชน์ จึงตั้งสติยังจิตให้แน่วแน่เพียรประพฤติธรรมเป็นเนืองนิจ อย่าให้ชีวิตต้องสิ้นไปโดยเปล่าประโยชน์ อันจะเป็นผลแห่งการเสียใจในภายหลัง ตถาคตเสมือนกับนายแพทย์ผู้สามารถ รู้จักสมุฏฐานของโรคและรู้จักใช้ยาที่ถูกกับโรค แต่คนไข้จะยอมรับประทานยาหรือไม่นั้น มิใช่ความผิดของนายแพทย์ หรือเปรียบเสมือน ผู้แนะนําใน

ทางที่ดีให้ ซึ่งได้ชี้หนทางที่ดีที่สุด หากผู้ได้สดับฟังไม่ประพฤติปฏิบัติเดินตามทางที่แนะนํานั้น ก็หาใช่เป็นความผิดของผู้แนะนำดหนทางไม่

 (十八)决疑

            汝等若於苦等四部。有所疑者。可疾問之。無得懷疑。不求 决也。爾時世尊。如是三唱。人無問者。所以者何。眾無疑故。 時阿㝹樓駄。觀察眾心。而白佛言。世尊。月可令????。日可令冷 。 佛說四諦。不可令異。佛說苦諦實苦。不可令樂。集真是因。 更無異因。苦若滅者。即是因滅。因滅故果滅。滅苦之道。實是 真道。更無餘道。世尊。是諸比丘。於四諦中。决定無疑。

๑๔. ตัดสินข้อกังขา

            ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าหากยังมีความสงสัยเคลือบแคลงในอริยสัจสี่ อันมีทุกข์สัจจ์ เป็นต้น ท่านทั้งหลายจงสอบถามเสียเถิด อย่าปล่อยความสงสัยดังกล่าวไว้โดย ไม่แก้ไขให้กระจ่าง อันเป็นเหตุให้เดือดร้อนภายหลัง สมัยนั้นแล สมเด็จพระบรมศาสดาทรงปวารณาถึง ๓ วาระ แต่กระนั้นก็ไม่มีภิกษุรูปใดทูลถาม ข้อนั้นเป็นเพราะ เหตุไฉนถา! เพราะเหตุท่ามกลางพุทธบริษัทปราศจากความเคลือบแคลงในธรรมวินัย สมัยนั้น พระอนุรุทธเถระเจ้า ได้เพ่งพิจารณาเห็นจิตใจบรรดาเหล่าบริษัทปราศจาก ความกังขาในพระรัตนตรัย จึงกราบทูลพระพุทธองค์ด้วยความเคารพว่า “ข้าแต่พระ ผู้มีพระภาค” แม้      จันทราจะกลับกลายเป็นร้อน ดวงสุริยาจะกลับกลายเป็นเย็น แต่อริยสัจจ์สี่ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้นั้นมิอาจที่จะทําให้เปลี่ยนแปลงกลับกลายได้ อริยสัจจ์ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสเกี่ยวกับทุกข์สัจจ์ ย่อมเป็นความทุกข์อย่างแท้จริง มิอาจกลับกลายให้เป็นสุขได้ สมุทัยเป็นเหตุ นอกเหนือจากสมุทัยสัจจ์แล้วก็ไม่มีธรรมอื่น ใดเป็นเหตุ หากทุกข์จะดับก็เพราะสมุทัยดับ (เหตุดับ) เนื่องด้วยสมุทัยดับ ผลก็ย่อมดับลง อริยมรรคอันเป็นหนทางนําไปสู่ความดับทุกข์ ย่อมเป็นมรรควิถีอย่างประเสริฐแท้จริง นอกจากอริยมรรคแล้วก็ไม่มีมรรคอื่นใดยิ่งกว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ” ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ล้วนหมดจากความเคลือบแคลงสงสัยในพระอริยสัจจ์ธรรมแล้วพระเจ้าข้า

(十九) 眾生得度

            於此眾中。若作未辦者。見佛滅度。當有悲感。若有初入法 者。聞佛所說。即皆得度。壁如夜見電光。即得見道。若所作已辦。已度苦海者。但作是念。世尊滅度。一何疾哉。阿阿㝹樓駄。雖說是語。眾中皆悉了達。四聖諦義。世尊欲令此諸大眾。皆得 堅固。以大悲心、復為眾說。汝等比丘。勿懷悲惱。若我住世一劫。會亦當滅。會而不離。終不可得。自利利人。法皆具足。若 我久住・更無所益。應可度者。苦天上人間。皆悉已度。其未度 者。皆亦已作得度因緣。

๑๘. สัตว์โลกได้รับการโปรด

            ณ ท่ามกลางพุทธบริษัท ผู้ยังไม่จบกิจการศึกษาเป็นพระเสขะบุคคลอยู่ เมื่อรู้ว่าพระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ย่อมต้องมีความทุกข์โทมมนัสโศกาดูร หากมีผู้เริ่มเข้ามาศึกษาพระธรรมแต่แรก และได้สดับพระพุทธดํารัสแล้ว ย่อมได้รับการโปรดจากพระพุทธองค์ อุปมาดั่งยามราตรี ประกายแห่งแสงฟ้าทําให้สว่างไสวเห็น มรรคาสถานต่าง ๆ และผู้ที่จบการศึกษาเป็นพระเสขะบุคคล (พระอรหันต์) ข้ามพัน แล้วซึ่งทะเลแห่งความทุกข์ ย่อมมีความดําริแก่ตนเองว่า สมเด็จพระบรมโลกนาถเจ้า ทรงเสด็จเข้าสพระปรินิพพานช่างเร็วจริง ถึงแม้พระอนุรุทธเถระเจ้าได้กราบทูลแล้ว เช่นนี้ และในท่ามกลางพุทธบริษัทต่างเข้าใจอรรถแห่งอริยสัจจ์สี่อย่างแจ่มแจ้งแล้วทั้งนั้นสมเด็จพระบรมศาสดายังปรารถนาที่จะให้เหล่าพุทธบริษัทได้รับความมั่นคงในธรรมให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ด้วยพระหฤทัยอันเปี่ยมล้นไปด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ พระองค์ทรงตรัสเพื่อเกื้อกูล เพื่อประโยชน์แก่เหล่าบริษัทว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! “อย่าทุกข์คร่ำ ครวญโศกาดูรเลย แม้ตถาคตดํารงอยู่ในโลกนี้อีกสักกัลป์หนึ่งก็ดี การอยู่ร่วมกันระหว่างตถาคตและเธอทั้งหลายก็ย่อมมีการสิ้นสลายดับไปเป็นธรรมดา การอยู่ร่วมกันโดยปราศจากพลัดพรากจากกันนั้น ย่อมเป็นไปมิได้ ฉะนั้น จงยังประโยชน์ ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้ถึงพร้อม พระสัจจ์ธรรมก็ได้แสดงไว้สมบูรณ์แล้ว แม้ตถาคต ดํารงพระชนมชีพต่อไป ก็หาประโยชน์อันใดมิได้ ผู้ที่ได้รับการโปรดจากเราตถาคตนั้นจะเป็นปวงเทพยดามนุษย์ทั้งหลายก็ดี ย่อมได้รับความอนุเคราะห์ด้วยดีแล้วทั้งนั้น สัตว์ที่ยังไม่ได้รับการโปรดนั้น ก็ย่อมได้รับการโปรดตามอุปนิสัย ตามแต่ปัจจัยและบารมีเป็นลำดับไป”

(二十) 法身常住

            自今以後。我諸弟子。展轉行之。則是如來。法身常在。而 不滅也。是故當知。世皆無常。會必有離。勿懷憂惱。世相如此。當勤精進。早求解脫。以智慧明。滅諸痴暗。世實危脆。無牢 強者。我今得滅。如除惡病。此是應舍。罪惡之物。假名為身。沒在老病。生死大海。何有智者。得除滅之。如殺怨賊。而不歡喜。

๒๐. พระธรรมกายดํารงอยู่เสมอ

            นับต่อแต่นี้ไป เธอทั้งหลาย จงจาริกเผยแผ่พระสัจจ์ธรรมให้แพร่หลายไพศาล ทั้งนี้เป็นการยังไว้ซึ่งพระธรรมกายแห่งตถาคต ให้ดํารงอยู่ชั่วนิรันดรโดยมิให้กับสญไป

ฉะนั้น เธอทั้งหลาย พึงกำหนดให้รู้ว่า ไม่มีสิ่งใดในโลกที่จะจีรังยั่งยืนถาวร ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจังไม่เที่ยง มีการร่วมกันย่อมมีการพลัดพรากจากกัน จงอย่ามีความ เศร้าโศกใด ๆ (ในการจากไปของตถาคต) สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นธรรมลักษณะของโลก ไม่มีผู้ใดหลีกพ้นได้ เธอทั้งหลายพึงวิริยะพากเพียรบากบัน เพื่อแสวงหาวิมุตติสุข (ความพลุดพ้น) ไว้แต่เนิ่น ๆ จงใช้ความรู้แจ้งแห่งปัญญา ทําลายความมืดคืออวิชชา ทั้งหมดให้สิ้นไป อันที่จริงโลกนี้ประกอบด้วยภัยน่าสพึงกลัว มีแต่ความเสื่อมสลาย หาสิ่งใดเป็นแก่นสารมิได้ การที่ตถาคตดับขันธปรินิพพานนี้ เปรียบเสมือนพ้นจาก โรคาพาธอันร้ายกาจน่ากลัว ซึ่งตถาคตได้ทําลายขจัดเสียสิ้นเชิงแล้วที่ต้องจมอยู่ในห้วงมหาสมุทรอันยิ่งใหญ่แห่ง ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ไม่มีนรชนใดที่จะไม่ยินดี ในโอกาสที่จะขจัดธรรมเหล่านี้ให้สิ้นไป เปรียบเหมือน ได้ประหารโจรใจอํามะหตุฉะนั้น

(二十一) 結論

            汝等比丘。常當一心。勤求出道。一切世間‧動不動法皆是敗壞。不安之相。汝等且止。分得復語。時將欲過。我欲滅度。 是我最後。之所教誨。

๒๑. สรุปความ

            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! จึงตั้งใจดํารงความเป็นเอกะแห่งจิต เพียรแสวงหา วิโมกขธรรม (ความพ้นจากวัฏฏสงสาร) สังขารธรรมทั้งหลายในโลก ไม่ว่าจะเป็นสังขตธรรมหรืออสังขตธรรมก็ดี (ธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งและธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง) ล้วนแต่มีความเสื่อมสูญ หาความเที่ยงแท้แห่งลักษณะมิได้ เธอทั้งหลาย นี่เกือบจะถึงกาลเวลาที่สิ้นสุดแห่งเราแล้ว เธอจะไม่ได้ฟังคําพร่ำสอนจากตถาคตอีก ต่อไป วาระสุดท้ายแห่ง กาลเวลามาถึงแล้ว ตถาคตจะดับขันธปรินิพพาน ธรรม เหล่านี้แลเป็นปัจฉิมโอวาทของตถาคต

 


 

ดาวน์โหลดตัวอักษร (ฟ้อนต์) ทิเบตทั้ง ๓ แบบ เพื่อความสมบูรณ์ในการชมเว็บ

actisan.ttf

adtibet.ttf

atibet.ttf


uptime alert service

website monitor

View My Stats