- รายละเอียด
- เผยแพร่เมื่อ วันอังคาร, 13 กรกฎาคม 2564 06:12
- เขียนโดย Super User
การสวดมนต์ภาวนา และหลักปฏิบัติในอุตตรนิกาย
การบูชาคุณพระศรีรัตนตรัยในพระพุทธศาสนา และการบูชา สวดมนต์ภาวนานี้ ได้แยกออกเป็นสามอย่าง คือ
1 การบูชา
พุทธศาสนามีสิ่งที่สมควรบูชาอยู่ 3 ประการคือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
การบูชาพระพุทธ
พระพุทธ ได้แก่พระปฏิมากรตามวัดวาอารามหรือพระปฏิมาในที่อื่นๆ อันเป็นรูปพระพุทธเจ้า โดยทั่วไปใช่บูชาด้วยธูป 3 ดอก ซึ่งมีความหมายแทนพระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระกรุณาธิคุณ
พระปัญญาธิคุณ ปัญญาของพระ พุทธองค์ทรงไว้ด้วยความเลิศล้ำ พิเคราะห์ ความทุกข์ ได้อย่างแจ่มแจ้ง ทรงปฏิบัติตน พ้นจากวัฏฏสงสาร ประกอบด้วยความ รอบรู้จากพระโพธิญาณของพระองค์เอง สมควรได้รับการบูชายกย่องพระปรีชาญาณ และพยายามฝึกฝนตนให้เกิดปัญญาเช่น เดียวกับพระพุทธองค์
พระบริสุทธิคุณ พระพุทธเจ้าทรง บําเพ็ญความเพียรเป็นระยะเวลานาน เพื่อต่อสู้กับตันหา กิเลส จนสามารถกําจัดหมด สิ้นไปจากจิต จิตย่อมมีแต่ความบริสุทธิ์ ปราศจากมลทินทั้งปวง การชำระจิตมิใช่ เป็นสิ่งกระทําได้ง่าย แต่พระพุทธองค์ทรงถึงแล้วซึ่งความบริสุทธิ์ทั้งปวง จึงสมควรเคารพบูชาความบริสุทธิ์อันไม่มีสิ่งใดบริสุทธิ์กว่า เรียกว่าพระบริสุทธิคุณ
พระกรุณาธิคุณ พระพุทธองค์ทรง ความเวทนาต่อสรรพสัตว์ที่ถูกตัณหากิเลส ครอบงำอยู่ พระองค์จึงทรงพระกรุณาเสด็จ ไปเทศนาสั่งสอนสรรพสัตว์ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในหลักพระธรรม เพื่อช่วยปลดเปลื้องกองทุกข์ และทรงประทานพระธรรมคําสั่งสอนไว้ให้แก่ชาวโลกได้ยึดถือปฏิบัติให้ข้ามพ้นจากโอฆสงสาร นับว่าเป็นพระมหากรุณาอันหาที่เปรียบมิได้
เมื่อทราบซึ้งในพระพุทธคุณทั้ง 3 พึงระลึกถึงโดยใช้ธูปเป็นเครื่องหมายแทน และภาวนาบทสรรเสริญพระพุทธคุณเป็น การบูชา เวลาปักธูปบุคคลส่วนมากไม่เข้าใจ นิยมปักธูปรวมไว้ด้วยกันทั้ง 3 ดอก แต่ความจริงที่ถูกต้องจะต้องบักเรียงไว้เสมอ ๆ กัน เว้นระยะห่างพองาม เนื่องจากรูปเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธคุณนั่นเอง
การบูชาพระธรรม
พระธรรมเป็นหลักสําคัญที่สุดของ ศาสนา หรือตัวแทนของพระพุทธองค์ ดังนั้นหลักธรรมจึงเปรียบประดุจคําสั่งสอน โดยตรงจากพระพุทธเจ้า และนับเป็นดวงประทีปให้ความสว่างแก่การดําเนินชีวิต ในทางที่ถูกที่ควร อันจะนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองและประสบผลสําเร็จ การบูชาพระธรรมจึงใช้เทียนเป็นสัญลักษณ์ของแสงสว่าง พระธรรมของพุทธศาสนามีรวม กันทั้งสิ้น 84,000 ธรรมขันธ์ แต่แบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้เพียง 2 ส่วนดังนี้ พระ ธรรมที่ใช้ปฏิบัติเพื่อการดํารงอยู่ในสังคม ได้แก่ศีลหรือพระวินัยบัญญัติต่าง ๆ และ พระธรรมที่ใช้ปฏิบัติเพื่อความสุขทางจิตใจ ได้แก่ธรรมต่าง ๆ หรือการฝึกสมาธิและปัญญา (ก่อให้จิตมีความบริสุทธิ์เกิดความ สงบสุขที่แท้จริงขึ้น) เทียนที่จุดบูชาจําเป็น ต้องใช้ 2 เล่ม เพื่อแทนหรือบูชาพระวินัย และพระธรรมควบคู่กันไป เป็นการระลึกถึง คุณของพระธรรมและยึดถือเป็นข้อเตือนสติ ให้ประพฤติแต่สิ่งดีงามที่เป็นกุศลกรรม การบูชาพระสงฆ์
ดอกไม้เป็นสิ่งที่ใช้บูชาพระสงฆ์ผู้เป็น อริยสาวก เพราะพระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มีการกระทําเฉพาะสิ่งที่เป็นกุศล พยายามฝึกอบรมจิตให้มีความบริสุทธิ์ มีความสํารวมเยี่ยงสมณเพศ เนื่องจากการ บวชเป็นพระสงฆ์ก็เพื่อฝึกฝนอบรม สังวรในศีล จะได้เป็นผู้ประเสริฐสมกับที่ปวงชน เคารพบูชา เช่นเดียวกับดอกไม้ที่นำมาร้อย เป็นพวงมาลัยจะแลดูสวยงาม เพราะเรียงได้ระเบียบไม่สับสน หากดอกไม้ดังกล่าว ไม่ได้นำ ไปร้อยเป็นพวงมาลัย แต่น่ามากอง รวม ๆ กันไว้ ดอกไม้นั้นก็จะแลดูไม่มีค่าและไม่เกิดความสวยงาม ทั้ง ๆ ที่เป็นดอกไม้ จํานวนเดียวกัน เปรียบกับบุคคลที่บวชเป็น พระสงฆ์ หากไม่มีปฏิบัติตามข้อวินัยและ หลักกรรมอื่น ๆ ก็ย่อมจะเป็นเสมือนกอง ดอกไม้ที่มอง ดูไม่สวยงาม ปราศจากค่า แต่ถ้าปฏิบัติตามคําสั่งสอนของพระธรรมต่าง ๆ กับละเว้นตามข้อศัลอื่น ๆ บุคคลนี้ ก็ย่อมจะได้ชื่อว่าผู้ประเสริฐ สมควรกับ การเคารพบูชาจากปวงชน
2. สวดมนต์
สวดมนต์ คือ การสวดมนต์ภาวนา ด้วยการออกเสียงพร้อมด้วยดำรงจิตน้อม เคารพบูชาคุณพระศรีรัตนตรัย ซึ่งมีบทสวดมนต์ถวายพระพุทธเจ้า ถวายการสักการบูชา ถวายทักษิณายกย่องพระเมตตา กรุณาธิคุณ นมัสการสารภาพในอัปปวิชญ์ และอาปัตติผิด พลาดล่วงละเมิดในอดีต ขอพระบารมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง อย่าให้จิตหวั่น ไหว ปราศจากโรคาพยาธิ สรรพภยันตราย และอื่น ๆ
การสวดมนต์เป็นศาสนกิจสําคัญอย่างยิ่ง ซึ่งพระภิกษุสงฆ์ทุกรูปจะต้อง ปฏิบัติเป็นกิจวัตรประจําตลอดเวลาที่อุปสมบท เช่น: -
ก. สวดมนต์ทําวัตรเช้า
พระภิกษุต้องลงอุโบสถ นมัสการ พระพุทธปฏิมากรองค์ประธานพระอุโบสถ สวดมนต์ตามบทแบบกําหนด ตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งเป็นเวลาราวหนึ่งชั่วโมง เริ่มแต่ 4.00 น. ถึง 5.00 น. (เช้ามืด) ทุกวัน
ข.สวดมนต์ทําวัตรเย็น
พระภิกษุต้องลงอุโบสถ นมัสการ พระพุทธปฏิมากรพระอุโบสถ สวดมนต์ ตามแบบกําหนดตอนเย็น เช่นเดียวกันกับ ตอนเช้า (บทสวดมนต์ไม่เหมือนกัน) ซึ่ง กินเวลาราวหนึ่งชั่วโมงจึงจะสวดจบ เริ่ม แต่ 16.00 น. ถึง 17.00 น. ตอนเย็น
ค. สวดมนต์ถวายข้าวพระพุทธ
พระภิกษุต้องสวดมนต์บูชา ถวาย ข้าวพระพุทธองค์พระประธานอุโบสถ เช้าและเพล ทุกวันไม่ขาด
ง. สวดมนต์กลางคืน
วันเพ็ญกลางเดือนและวันพระเดือนมืด (คือ ขึ้น 1 ค่ำ และขึ้น 15 ค่ำ) เฉพาะ สองวันนี้มีการลงอุโบสถในตอนค่ำ พระ ภิกษุสวดมนต์ถวายพรพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ให้ทรงเป็น ชัยสดมภ์พระพุทธศาสนายืนยงถาวร และขอพรชัยมังคะลาอายุวัฒฑนัง รวมหนึ่งชั่วโมง ตั้งแต่ 19.00 น. ถึง 20.00 น
การปฏิบัติในพิธีสวดมนต์ มีพระภิกษุต้นเสียงหนึ่งรูปเป็นผู้บอกบทมนต์และ ตีระฆัง (ระฆังนี้บ้างจีนเรียกว่า “เคง” มี สัณฐานเหมือนกับขันน้ำสัมฤทธิ์วางบนเบาะ ข้าง ซ้ายมือแท่นบูชา) การเคาะระฆังทีหนึ่ง เป็นอาณัติสัญญาณบอกให้รู้ว่า ถึงคราว ขึ้นต้นบทมนต์ใหม่ จบมนต์บทเก่าและอื่น ๆ และมีพระภิกษุรองอีกรูปหนึ่ง เป็นผู้ตีเกราะไม้ (เกราะไม้นี้ ข้างจีนเรียกว่า “บักฮื่อ” แปลว่า “ปลาไม้” วางอยู่บนเบาะข้างขวา มือแท่นบูชา) การตีเกราะไม้นี้ เป็นเครื่องหมายบอกจังหวะคำ เร็วหรือช้า เพื่อพระ ภิกษุทุก ๆ รูปจะได้สวดเข้าระเบียบถูกต้องตามจังหวะพร้อมกัน
(ตามอารามในประเทศจีนมีพระภิกษุ นับเป็นจํานวนร้อย ๆ สวดมนต์จึงมีระฆัง และเกราะไม้ให้เป็นสัญญาณ)
ในระหว่างสวดมนต์ พระภิกษุมีการ เปลี่ยนแปลงอิริยาบทตามบทมนต์ที่สวด
คือ :-
1. พนมมือยกขึ้นสูงเพียงอก
2. คลายมือจาทพนมแล้วเอามือขวา ทันฝ่ามือซ้ายลดมือต่ำลงมาเพียงสะเอว
3. คุกเข่าพนมมือ
4. กราบเบญจางคประดิษฐ์
5. ลุกขึ้นยืนอยู่ในระเบียบ
6. เดินทักษิณาเวียนรอบพระพุทธปฏิมาสามรอบ
7. สวดมนต์มีทํานองดนตรี สวดมนต์เป็นจังหวะ ยาว สั้น ช้า เร็ว เน้น เสียง และต่าง ๆ
การปฏิบัติสวดมนต์ทำนองดังกล่าว นี้ ถือว่าเป็นการฝึกหัดให้จิตโน้มน้าวดูดดื่ม เข้าหาในธรรมรสเพิ่มพูนกําลังใจยิ่งขึ้น
ส่วนการสวดมนต์ พร้อมด้วยมีการเปลี่ยนแปลงอิริยาบถนั้น มีนัยว่า เพื่อให้ ร่างกายออกกาลัง ให้เกิดความอบอุ่นพอต่อสู้กับอากาศหนาว เฉพาะอย่างยิ่งในเขต แคว้นภาคเหนือของประเทศจีน ซึ่งมีหิมะเต็มท่วมสนาม เต็มหลังคาโบสถ์และวิหาร ทั้งนี้เพื่อเป็นการออกกําลังให้เกิดความอบอุ่นบำรุงร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์ทนต่อ
ความหนาวไปในตัวด้วย
การเจริญสวดมนต์นั้น เป็นการปฏิบัติให้จิตสํารวม เป็นการฝึกจิต ข่มจิต ปราบจิตให้สงบ ระงับความฟุ้งซ่าน ความกังวล ความดิ้นรน ความอยากปรารถนา เหล่านี้ให้เบาบางอ่อนโยนลงหมดความกระด้าง นัยเมื่อจิตห่างพ้นจากกามราคะ หลงใหลใฝ่ฝันทางโลกีย์ ก็จะเกิดกุศลจิต มองเห็นชีวิตเป็นของหมุนเวียนไม่เป็นสิ่งแน่นอน จิตก็จะอ่อนโยนลงในสันดานเป็น สิริมงคลอันจะปริมาณมิได้ ด้วยการปฏิบัติ สวดมนต์ดังกล่าวนี้
ทางฝ่ายอุตตรนิกายยึดหลักปฏิบัติว่าการเจริญสวดมนต์เป็นกิจวัตรสําคัญที่สุด ในข้อปฏิบัติศาสนกิจ จะปฏิบัติขาดตกบกพร่องไม่ได้เป็นอันขาดแม้แต่เวลาเดียว เป็นการบังคับให้พระภิกษุต้องปฏิบัติ ทุกๆวัน ติดต่อกันไปเรื่อยตลอดระยะเวลา ที่มีพระ ภิกษุอยู่ประจําอารามนั้น ๆ
3. สมถะวิปัสสนา (สมณะ คือ ใช้ความ เพ่ง วิปัสสนา คือ ใช้ปัญญาพิจารณา)
สมถะวิปัสสนา เป็นการภาวนาในใจ ด้วยอาการนั่งนิ่ง ณ ที่เงียบสงัด โดยมาก มักปฏิบัติกันในเวลากลางคืน ไม่มีเสียงดัง รบกวน การนั่งนิ่งภาวนานี้ เป็นการกระทํา สํารวมจิตไม่ให้พะวงกังวลในอารมณ์ เมื่อ ดวงจิตสงบเงียบลงแล้ว ให้พิจารณาสิ่ง ในโลกล้วนแล้วไม่มีความเที่ยงแน่นอน ย่อมผันแปรไม่เป็นแก่นสาร ให้พิจารณาทบทวน ทุกแง่ทุกมุม เช่น :-
สิ่งทั้งหลายทั้งปวงในโลกนี้ ย่อมมีความก่อขึ้นแล้ว ก็มีความเสื่อมลง มีการเกิดมาก็ย่อมมีการตายไปเป็นกฎธรรมชาติและธรรมดา ล้วนแล้วเป็นอนัตตาทั้งสิ้น
ร่างกายที่ปรากฏเป็นรูปแลเห็นนั้น เป็นสังขารที่ปรุงแต่งขึ้นด้วยธาตุ สังขาร ที่เรารักนักรักหนาล้วนไม่มีความเที่ยง ไม่แน่นอน ไม่ใช่อาตมะของเรา เพราะไม่อยู่ภายใต้อํานาจบังคับบัญชาของเรา จะต้องแก่ จะต้องเจ็บ จะต้องตายด้วยกันทุกคน ไม่มีการยกเว้น
อันผู้ที่มีชีวิตสุกใสร่าเริงเทียบกับผู้ ที่มีชีวิตอันเฉาทั้งสองฝ่าย ล้วนมีน้ำหนักกเท่าๆกันในการมรณะ เพราะจะกอบโกยเอาเงินทองทรัพย์สมบัติตลอดจนของที่รัก คนที่รักติดตัวไปเมื่อสิ้นลมหายใจไม่ได้ด้วยกันทั้งสิ้น อันสิ่งจะติดตัวไปได้ก็คือ กรรมอย่างเดียว และถ้าเป็นกรรมที่ทำลายตนเอง ก็จะนำตัวเจ้าของกรรมไปสู่ทุกขภูมิและส่วนกรรมที่เป็นที่พึ่ง ก็จะส่งเสริมให้เจ้าของกรรมไปสู่สุขภูมิ เหล่านี้เรียกว่า “ปฏิสารณีย์กรรม” ให้ผลสะท้อนนั้นเอง
เ มื่อหมั่นพิจารณาดังนี้แล้ว จะเกิดปัญญามองทะลุเห็นธรรมอันแท้จริงแห่ง อริยสัจ คือ ทุกข์ ที่เกิดแห่งทุกข์ ความดับทุกข์และทางแห่งความดับทุกข์ จะเกิด ภาวนามัยกุศลอย่างมากมาย จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาด รู้จักช่วยตนเองให้พ้นจากวัฏฏะ สงสาร
อนึ่ง ในข้อการปฏิบัติภาวนานี้ ทาง ฝ่ายมหายานนิกายถือเคร่งครัดมากเพราะ เป็นการนําทางให้เกิดธรรมสังเวช บังเกิดความเมตตาแก่มนุษย์และสัตว์ทั่วไปจะเป็นผู้ไม่เห็นแก่ตนเอง จะชักจูงให้ผู้อื่นรอดพ้นจากเวทนาด้วยความปราณี ทั้งจะเป็นผู้ มีจิตเบิกบานไม่หวั่นไหวต่อสิ่งที่เป็นอธรรมใด ๆ ด้วย
วิธีการฝึกนั่งสมถะวิปัสสนา มีดังนี้
1. กายนั่งเป็นสมาธิ
นั่งเท้าไขว้กันเอาเท้าขวาทับเท้าซ้าย (อย่างเดียวกันกับพระพุทธรูป จะนั่งขัด สมาธิธรรมดา หรือ สมาธิเพชรก็ได้) แบ มือซ้ายวางหน้าดักแล้วเอามือขวาวางทับฝ่ามือซ้าย นั่งศีรษะอย่าตะแคงมองตรงไปข้างหน้า นั่งนิ่งอย่าเคลื่อนที่ อย่านั่งเอียงตัวหรือนั่งพิง นั่งให้ได้ที่สะดวก หลับตา หรือทอดสายตาลงต่ำ แต่ตื่นอยู่เสมออย่าหลับ
2. การกําจัดความหวาดกลัว
ให้นึกในใจว่า มีความศรัทธาบริสุทธิ์ที่จะช่วยคลี่คลายบรรเทาทุกข์ผู้อื่น อย่า ได้มีความขลาดกลัว ไม่มีอันตรายใดมาพ้องพาล หากกรรมทางกาย วาจา ใจ อันไม่บริสุทธิ์ในอดีตขอจงมารับแผ่อานิสงส์ กุศลบุญครั้งนี้ไปสู่สุคติ อย่าสะดุ้งหวาดต่อภาพที่แลเห็น อย่าตกใจเสียงที่ได้ยิน (ให้ยึดคติมั่นไว้ว่า ภาพที่แลเห็นหรือเสียงที่ได้ยินนั้น เทียบเท่าที่เคยแลเห็นปรากฏในจอหนังภาพยนตร์ แม้ว่าจะมีรูปทำท่าเงื้อง่าตีลงมาก็เช่นเดียวกันกับภาพในจอหนังนั้นเอง หาอาจมากระทบตัวได้ไม่) กุมสติอยู่ เช่นนี้เป็นยอดในการปฏิบัติ
ตั้งสติให้แน่วแน่ ความขลาดกลัวจะหมดไป ในเมื่อจิตตั้งมั่นเป็นลําดับ
3. การปล่อยจิต
ให้ปลดปล่อยจิตเป็นอิสระอย่านึกคิดสิ่งใด ๆ การนึกคิดเหตุการณ์ในอดีตจะมีมา ก่อน ให้ระงับอารมณ์เหล่านั้นเสีย ข่มจิต ให้สงบลง สํารวมจิตเป็นกลาง กุมจิตให้คงไว้ ให้นึกแต่เพียงปลายจมูก หรือกุมจิตเพ่งอยู่ในสิ่งนิรมิตอย่างหนึ่ง (คือ รวมจิตมาไว้แห่งเดียวไม่ให้วุ่นวาย) ความฟุ้งซ่านนึกคิดแห่งจิตจะเบาบางเสื่อมคลายลงเป็นลําดับ
4. การวางลมหายใจ
ให้หายใจตามสะดวกอย่าอั้นลมหายใจ หายใจยาว ๆ ออกและสูดลมหายใจยาว ๆ เข้า ให้ได้ระยะเท่า ๆ กัน (เรียกว่าหายใจให้ทั่วท้อง) ค่อย ๆลดระยะยาว ผ่อนสั้นลงให้ได้ระยะเท่า ๆ กัน อย่าหายใจทางปาก ให้หายใจเข้าออกยาวธรรมดาสม่ำเสมอเรื่อย ๆ ไป
ทําดังนี้การหายใจจะสะดวก เคยชินขึ้นเป็นลําดับ
5. ความรู้สึกเกี่ยวกับประสาท
ให้ยึดคติว่า “ค้าว่ามาร” นั้น แปลว่าผู้ที่ชั่วเป็นศัตรูกับ "ความพระ” ซึ่งแปล ว่าผู้บริสุทธิ์ ฉะนั้น มารจึงมาก่อน เช่น : -
มีอาการเมื่อยตามขา หูมักได้ยินเสียง คันตามหน้า คอ และอื่น ๆ เหมือน กับตัวไรมาคลานไต่ ขอให้นั่งนิ่งบริกรรมต่อไปอย่าคลายจากสมาธิ ชั่วขณะหนึ่ง สิ่งที่รบกวนเหล่านี้จะระงับไปเอง บางครั้งรู้สึกเช่นน้ำลายจะไหล บางครั้งเรอลมออก มาทางปาก บางครั้งในท้องรู้สึกร้อน ร่างกายร้อนเหงื่อออก จะรู้สึกตึงขา เริ่มต้น ตั้งแต่ขาสูงขึ้นมาทุกทีเหมือนตัวฟูพอง
สิ่งเหล่านี้ คือผลในการนั่งนั่นเอง
6. กายปรากฏการณ์
ให้มองตรงไปข้างหน้าห่างจากที่นั่ง ราว 1 เมตร จะลืมตาหรือหลับตามีผล เท่ากัน (การลืมตารู้สึกว่ายากกว่าหลับตา แต่เมื่อผลเกิดแล้วให้พยายามลืมตาดีกว่า หลับตา) จะมีแสงประกายแวบวับดําบ้าง ขาวบ้าง แสงแปลบ ๆ เป็นจุดประกายเล็ก ๆ มีสีแดง สีเหลือง สีเขียว สีน้ำเงินอ่อน และ สีม่วง แสงเหล่านี้แตกกระจาย แสงจะอ่อนลงและจะอยู่ที่เข้า บางทีเห็นแต่เงาแสงมืด บางแสงเหมือนกับอยู่ในเงาแสงมืด บางแสง เหมือนกับอยู่ในที่มีของบังไว้ จะแลเห็นชัดขึ้นเป็นลําดับ จะแลเห็นภาพไม่ได้ยินเสียง จะได้ยินเสียงไม่แลเห็นภาพ ดังนี้ เป็นขั้นนับว่าเริ่มเข้าสมาธิ
7. การสมาธิเคลื่อน
สมาธิอาจจะเคลื่อนผิดสังเกตไปจาก ที่เคยแลเห็นหรืออาจถูกปิดมืดไปไม่แลเห็น แสง โดยเหตุดังต่อไปนี้ :-
1. ความลับเลใจ
2. ความเกียจคร้าน
3. ความง่วงงุ่นหาวนอน
4. ความหวาดกลัว
5. ความปิติยินดี
6. ความประมาท
7. การเพ่งเกินไป
8. การเอาใจใส่เกินไป
8. ความกระหายอยากเกินไป
เหล่านี้เป็นต้นเหตุให้สมาธิเคลื่อนที่ได้ ต้องปรับปรุงตามที่กล่าวมาข้างต้นให้ เหมาะสมจึงจะบังเกิดสมาธิใหม่
ผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนาให้ถือคติ ดังต่อไปนี้
1. ผู้เริ่มปฏิบัติในขั้นแรก เป็นธรรมดาอยู่เองที่ยังไม่มีความคุ้นเคย ย่อมมีอาการ
เหนื่อยปวดตามกาย จำต้องข่มสติ ฝืนใจ ปล่อยอารมณ์สงบนิ่งทน การเมื่อยปาด ทั่วสรรพางค์กายเหล่านั้น จะลดถอยน้อยจนหมดไปเอง
2. ผู้ปฏิบัติงาต้องตั้งสัจว่า จะนั่ง มีกําหนดเวลานานเท่านั้นเวลานาทีหรือ ชั่วสิ้นธูปดอกดังนี้เป็นต้น ควรพยายาม เพียรปฏิบัติให้ครบกําหนดที่ตั้งสัจงไว้
3. เมื่อถึงกําหนดครบตามที่ได้ตั้งสัจไว้ หยุดพักแล้วจะเริ่มเจริญใหม่อีกก็ได้ ถ้าหากยังสามารถปฏิบัติได้
4. การบริกรรมในใจ ไม่มีการวาง กําหนดบทคาถา สุดแล้วแต่จะเลือกคาถา บทหนึ่งบทใดก็ได้ หรือจะภาวนาเพียง “พุทธ” เมื่อเวลาสูดลมหายใจเข้า และคํา ว่า “โธ” เมื่อเวลาผ่อนลมหายใจออก จุดประสงค์ในข้อนี้ เพื่อให้สํารวมจิตมิให้กังวลอย่างอื่น การสวดมนต์เพียงเป็นการช่วย ให้จิตปลดปล่อยเท่านั้น (บางอาจารย์กล่าว ว่าการสวดมนต์ก็ดีเหมือนกัน เพราะว่า แม้ไม่สําเร็จผลทางวิปัสสนาก็ยังได้กุศลในทางสวดมนต์)
อนึ่ง ผู้ที่ปฏิบัติได้ประสบคุณธรรมต่างกัน บางคนได้เร็ว บางคนได้ช้า บางคน ไม่ได้เลย ทั้งนี้เนื่องด้วยอุปนิสัยในชาติก่อน อบรมมา ก็สามารถแลเห็นปรากฏการณ์ แจ่มแจ้งได้โดยไม่เนิ่นช้า
การปฏิบัติเจริญสมถะภาวนาก็ดี วิปัสสนาภาวนาก็ดี ถ้าหากได้ยึดถือปฏิบัติ เป็นอาจิณ จะบังเกิดผลอานิสงส์อย่างมากมาย การสวดมนต์ภาวนาเป็นอุบายอย่างละเอียดสุขุม ระงับกิเลสราคะอันมีทุกรูป ทุกนามให้เสื่อมคลายสูญสิ้นไป ทั้งยังหว่านพืชกุศลอย่างไพศาลอีกด้วย
ในพระอนุศาสน์ของสมเด็จพระบรมศาสตาบ่งกล่าวไว้ว่า อันกุศลนั้น จะบังเกิดขึ้นโดย 3 ทาง เรียกว่า 1. ศีลกุศล 2. ทานกุศล และ 3. ภาวนากุศล กระบวนกุศล ทั้งสามนี้ ภาวนากุศลมีผลอานิสงส์มากมาย กว่าศีลกุศล และทานกุศล เพราะเหตุที่ปฏิบัติยาก และมีผู้ปฏิบัติน้อย
ศีลกุศล ทานกุศล และ ภาวนากุศล จําแนกออกดังต่อไปนี้ –
1. ศีลกุศล
บุคคลใดปฏิบัติการรักษาศีลตามพระวินัยเคร่งครัด ผู้นั้นจะเป็นผู้ไม่ประพฤติสิ่งที่เป็นบาปอกุศล จิตจะไม่มีความลําเอียง เป็นผู้รู้จักประมาณตัว เป็นผู้รู้จักดำรงชีพอย่างง่าย ๆ เป็นผู้ไม่มีห่วงใยทรัพย์สมบัติ เป็นผู้ไม่ยินดียินร้าย เป็นผู้ไม่มีความลับ เป็นผู้ห่างสังคม เป็นผู้รักษาความสงบเงียบ เป็นผู้ไม่มีคนติฉินนินทา เป็นผู้ที่คนทั้งหลายเคารพนับถือ เป็นผู้มีกาย วาจา ใจ สะอาดบริสุทธิ์ และจิตสงบแล้วด้วยธรรมทั้งหลาย ดังนี้ จึงเป็นผู้ได้ศีลกุศล เป็นประการที่หนึ่ง
2. ทานกุศล
บุคคลใดปฏิบัติการให้ทานและธรรม ทานอยู่เนืองนิจ คือ เป็นผู้ปลดเปลื้องความ ทุกข์ของผู้อื่นด้วยการให้หรือการแนะนําทางธรรม ชักจูงผู้อื่นให้ละทิ้งสิ่งที่ชั่วแนะนํา ให้รู้จักบาปบุญคุณโทษ ชี้แจงให้รู้จักความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ สั่งสอนให้รู้จัก เป็นผู้ซื่อสัตย์สุจริต สอนไม่ให้ทําความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น ให้รู้จักพระพุทธศาสนา รู้จักธรรมะและรักษาศีล 5 ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงผิดประเวณี ไม่พูดมุสา และไม่เสพสุราเมรัย อันจะเป็นทางนําไปสู่สุคติ
เหล่านี้ ท่านว่าเป็นบุคคลได้รับทาน กุศลและธรรมทานกุศล เป็นประการที่สอง
3. ภาวนากุศล
ภาวนากุศลนี้ แยกออกเป็น 2 ระยะ คือ..
ระยะที่ 1
บุคคลใดปฏิบัติการสวดมนต์ภาวนา เป็นผู้รู้จักกระทําความสุขความสงบให้เกิด ขึ้นในใจระงับดับการฟุ้งซ่าน อันเป็นอุปกิเลสรบกวนจิตเหล่านั้นให้เสื่อมคลายหายลง ถ้าอำนาจแห่งการบริกรรมจะพึงค่อย ๆ บังเกิดผลผลิดอกออกใบงอกงามขึ้นในสันดานจะเข้าใจล่วงรู้กฎธรรมชาติทั้งหลาย จะรู้ชัดเห็นแจ้งในบาป บุญ คุณ โทษ อัน มีขึ้นด้วยกายกรรม วาจากรรม และมโนกรรม รู้จักว่าตนอยู่ใกล้กับเหตุวิปโยค รู้จักว่าตนอยู่ใกล้กับการพลัดพรากจากสิ่งที่รัก คนที่รัก รู้จักว่าตนอยู่ใกล้กับการเจ็บไข้และ วัยชรา รู้จักว่าตนอยู่ใกล้กับอุปัทวะเหตุ และความมรณะ
บุคคลนี้ ได้นามว่าเป็นผู้ฉลาดเข้า ถึงธรรมแล้ว
ระยะที่ 2
เมื่อบุคคลที่เข้าถึงธรรมแล้ว จะมีความสามารถชี้แจง แนะนํา ชักจูง ผู้อื่น ให้ประพฤติตามดําเนินชีวิดสู่หนทางที่ราบรื่น ประดุจดังเป็นบุคคลที่มีไฟส่องแสงสว่าง เป็นสมบัติในตัว ก็ย่อมจะสามารถแบ่งปันไฟแสงสว่างนี้ให้แก่ผู้อื่นต่อไปเอาไปใช้โดย ไม่ขัดข้อง
เป็นผู้หมั่นเจริญการสวดมนต์ภาวนา บรรลุซึ่งความชัดแจ้งในธรรมสามารถสั่ง สอนแนะนําชี้แจงชักจูงผู้อื่นให้เข้าถึงธรรม ด้วย จึงจะได้รับสมญานามว่า เป็นบุคคล ที่ได้อานิสงส์ภาวนากุศล ด้วยประการเช่นนี้
เรื่องการสวดมนต์ภาวนาที่ได้บรรยายมาเบื้องต้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงตรัสไว้ปรากฏใน พระมหาวิปัสสนาสูตร ว่าเป็น การเจริญธรรมพิเศษมีอานิสงส์คุณเป็นเอนก อนันต์ เมื่อบุรุษ สตรี คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต หมั่นเจริญวิปัสสนาภาวนาอยู่เนืองนิจ จะ น่าผู้ปฏิบัติให้เกิดผลศีลกุศล และทานกุศล ตามมาเป็นลําดับ อนึ่ง เมื่อได้ปฏิบัติเป็น ระยะนานเข้าจิตจะมั่นคงอยู่ที่และเกิดกําลังจิตแรงกล้าสามารถรอบรู้ในคุณและโทษ และอุปกิเลสจะหดตัวเสื่อมคลายสลายไปเอง สามารถนําคนเข้าสู่ทางโพธิญาณ ฉะนั้น จึงเป็นการสมควรที่พุทธศาสนิกชน ทั้งหลายจะได้พยายามปฏิบัติให้ชํานิชํานาญ ในธรรมอันประเสริฐให้เกิดไพบูลย์ขึ้นในสันดานเป็นคุณสมบัติเพิ่มบารมีในชาตินี้ และชาติหน้า จะบรรลุผลพ้นจากวัฏฏะสงสารทะเลทุกข์ในขั้นสุดท้าย
จากหนังสือใต้ร่มโพธิ์เย็น