ประมวญกำหนดสิกขาบทใน อุตตรนิกาย

อารัภกถา

            เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า พระบวรพุทธศาสนา ได้แบ่งออกเป็น 2 ลัทธิใหญ่ คือ ลัทธิสาวกยาน และ ลักทธิมหายาน ในลัทธิทั้งสองนั้นยังจำแนกเป็นนิกายปลีกย่อยอีกมาก ทั้งนี้ เพระอาศัยทัศนะของบุคคล ขนบธรรมเนียม, ภูมิประเทศ ที่แตกต่างกันเป็นมูลฐาน แต่ทุกนิกายย่อมมีพระธรรมวินัยเป็นที่เคารพนับถือร่วมกัน มีพระบรมศาสดาพระองค์เดียวกัน ว่ากันแต่เฉพาะในประเทศจีน พระพุทธศาสนาได้แพร่หลายเข้าไป เมื่อพุทธศตวรรษที่6 และเนื่องจากลัทธิมหายานมีคุณลักษณะถูกรสนิยมของประชากรจีน จึงได้ประดิษฐานเจริญรุ่งเรืองขึ้น ณ ภาคพื้นแห่งนั้น มีอิทธิพลแทรกซึมทั่วไป ในชีวิตความเป็นอยู่ตลอดจนประเพณีขนบธรรมเนียม, ศิลปะ และวรรณคดี ของประชาชาติจีนอย่างลึกซึ้ง ตลอดระยะกาลพันๆปี.

            อนึ่ง ถ้าจะพิจารณาตามกำเนิดของลัทธิมหายาน จักประจักษ์ว่า เป็นด้วยวัตถุประสงค์ส่งเสริมจริยาแห่งพระบรมโพธิสัตว์เป็นสำคัญ โดยสอนให้บุคคลตั้งปณิธาน มุ่งพระพุทธภูมิ เพื่อมีโอกาสในการโปรดสรรพสัตว์ได้กว้างขวาง ฉะนั้น ลัทธิมหายานจึงมีสิกขาบทพิเศษอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่มีในลัทธิฝ่ายสาวกยานนั่นคือ “โพธิสัตว์สิกขาบท” หรือ “โพธิสัตว์ศีล” ซึ่งศีลประเภทนี้ เป็นสาธรณทั่วไป แก่บรรพชิต และฆราวาสชน มิได้จำกัดเพศ ใคร ก็ตามที่มีโพธิจิตต์ตั้งความปรารถนา จักลุพุทธภูมิไซร้ ก็ย่อมบำเพ็ญตามสิกขาบทนี้ และโพธิจริยาอื่นๆมีทศบารมี เป็นต้น

            ในส่วนวินับปฏิบัติ ของภิกษุสงฆ์ ของลัทธิมหายาน ปรากฏว่า หาได้มีข้อ แตกต่างจากลัทธิสาวกยานไม่ และลัทธิมหายาน ก็ได้อาศัยวินัยปิฎกของลัทธิสาวกยานเป็นเนตติในการปฏิบัติเสียด้วยซ้ำ หรือจะพูดให้ถูกก็ต้องว่า พระวินัยปิฎกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง  “พระภิกษุปาฏิโมกข์”นั้น มิได้เป็นสมบัติของนิกายใดนิกาย ลัทธิใด หากเป็นวินัยปัญญัติของพระพุทธองค์ ซึ่งภิกษุสงฆ์ทุกนิกายจะต้องเคารพรับปฏิบัติ แต่เนื่องด้วย จำเดิมพระบรมศาสดาดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว สังฆมณฑลได้แยกออกเป็นคณะนิกายมากหลาย จึงต่างนิกายก็มีพระไตรปิฎกของตนตามที่ตนได้รักษาสืบทอดมา ซึ่งย่อมเป็นข้อแน่ใจได้ว่า มีความแตกต่างผิดเพี้ยนกัน แต่สำหรับพระวินัยปิฎกแล้ว กลับปรากฏว่ามีข้อความตรงกันเป็นส่วนมาก ต่างกันเป็นส่วนน้อย เฉพาะวินับปิฎกซึ่งปรากฏในพากย์จีน ณ บัดนี้ ก็เป็นวินัยปิฎกของหลายนิกายด้วยกัน และในนิกายเหล่านั้น เป็นนิกายกายในลัทธิสาวกยาน มีราย
การดังนี้คือ

            1 วินัยปิฎกของนิกายสรวาสติวาท แปลสู่ภาษาจีน โดย พระปุณยาตระ , พระกุมารชีพ, พระธรรมรุจิ , พระวิมลรักษ,
รวม 4 รูป เมื่อพ.ศ.947-950 เป็นหนังสือราว 61 ผูก 
ต่อมาในต้นพุทธศตวรรษที่ 12 สมณะอี้จิ้ง ได้แปลวินัยปกรณ์ของนิกายนี้
อีก 15 ปกรณ์ ส่วนมากเป็นเรื่องปลีกย่อย ว่าด้วยเรื่องอุปสมบทกรรม, การจำพรรษา, เภสัชชะ,และเรื่องสังฆเภท เป็นต้น

            2 วินัยปิฎกของนิกายธรรมคุปตะ แปลสู่ภาษาจีน โดยพระพุทธยศ เมื่อ พ.ศ.953 เป็นหนังสือ 60 ผูก

            3 วินัยปิฎกของนิกายมหาสังฆิกะ แปลสู่ภาษาจีน โดย พระพุทธภัทร ร่วมกับสมณะฟาเหียน เมื่อ พ.ศ. 963-965 เป็น
หนังสือ 30 ผูก

            4 วินัยปิฎกของนิกายมหิศาสกะ แปลสู่ภาษาจีน โดย พระพุทธชีวะ เมื่อ พ.ศ.966

            5 สมันตปสาทิกา เป็นอรรถกถาวินัยปิฎกของนิกายเถรวาท แปลสู่ภาษาจีน โดย สังฆภัทร เมื่อ พ.ศ.1032 เป็นหนังสือ
18 ผูก เข้าใจว่าจะแปลอย่างรวบรัด

            6 ปาฏิโมกข์ศีลสูตร ของนิกายกาศยปิย เป็นเพียงสูตรสั้นๆ ไม่ใช่วินัยปิฎกทั้งปิฎก

            ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่าพระวินัยปิฎกในคลังปริยัตติจีน นับว่า สมบูรณ์มากที่ได้รวบรวมวินัยปิฎกของนิกายต่างๆ ไว้ได้ 4
นิกาย และอรรถกถาของนิกยเถรวาทได้ 1 ปกรณ์ย่อ กับของนิกายกาศยปิยอีก 11ปกรณ์น้อย ดังกล่าวแล้ว คณะสงฆ์จีนโบราณ
มา นับถือวินัยปิฎกของนิกายธรรมคุปต์ และนิกายสรวาสติวาทกว่านิกายอื่น ครั้นมาถึงราชวงศ์ถัง ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 11 มีคณาจารย์จีนรูปหนึ่ง ชื่อ เต้าชวง เป็นผู้แตกฉานในพระไตรปิฎกมาก ได้ตั้งสำนักนิกายวินัยขึ้น ณ ภูเขาจงนานซัน โดยถือเอา
วินัยปิฎกธรรมคุปต์เป็นปทัฏฐาน และได้รจนาอรรถกถาฎีกาวินัยปิฎกไว้มาก นิกายนี้จึงเจริญขึ้น ต่อมาการปฏิบัติพระวินัยของคณะสงฆ์จีนจึงถือตามคติของสำนักนี้โดยทั่วไป ครั้นลุถึงสมัย ต้นราชวงศ์เช็ง ศูนย์กลางของวินัยปฏิบัติอยู่ ณ ภูเขา ป๋อฮั้วซัน ในมณฑลเกียงซู

            หนังสือพระปาฏิโมกข์ฝ่ายจีนนิกายเล่มนี้ มีกำเนิดจากความประสงค์ของพระคุณท่านอาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร(โพธิ์แจ้ง) เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายจีนนิกาย วัดมังกรกมลาวาส ในฐานะทีท่านเป็นผู้นำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่สังฆมณฑลจีน ในประเทศไทย
จึงขอเล่าประวัติของท่านไว้ ณ ที่นี้ด้วย โดยสังเขป

            ท่านพระอาจารย์ เกิดที่จังหวัด แต้จิ๋ว มณฑลกวางตุ้ง ในตระกูลผู้มีศักดิ์ ภายหลังได้ตามญาติเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย เนื่องจากท่านผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก่อน เมื่อเข้ามาเห็นความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในประเทศนี้ จึงทวีความปิติปสาทะ ในที่สุดได้ออกบรรพชาเป็นสามเณรในจีนนิกายที่เขาพระพุทธบาท สระบุรี จำศีลภาวนาที่ถ้ำเขาพระพุทธบาทจวบจนอายุครบอุปสมบท จึงจาริกไปประเทศจีน ได้อุปสมบทเป็นภิกษุที่วัด ล่งเชียงยี่ บนภูเขาป๋อฮั้วซัน ซึ่งเป็นศูนย์กลางวินัยปฏิบัติ ปกติมีสงฆ์จำนายพันมาศึกษาอยู่ที่นี่ ท่านพระอาจารย์ได้ศึกษาพระวินัยปิฎกกันพระอุปฌาย์ ฮ่งยิ้ม ผู้เป็นสังฆนายกสำนักวินัยนี้อยู่หลายพรรษา  ต่อมาได้เที่ยวจาริกศึกษาพระธรรมวินัยกันคณาจารย์มีชื่ออื่นๆ ปรากฏความรู้ความสามารถ ที่สุดได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะสำนักวินัย ภายหลังกลับประเทศไทย ท่านพระอาจารย์พำนัก ณ สำนักสงฆ์มีกัง ในพระนคร จำศีลภาวนา อบรม ศิษยานุศิษย์ ให้ปฏิบัติเคร่งครัดในพระวินัย และเทศนาสั่งสอนแก่พุทธมามกชน จนปรากฏว่าสำนักสงฆ์มีกัง คับแคบ ไม่พอแก่จำนวนผู้มาปฏิบัติธรรม ซึ่งนับวันได้เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ท่านพระอาจารย์ จึงสร้างสำนักสงฆ์หลับฟ้าขึ้นอีกแห่งหนึ่งในบริเวณใกล้เคียงกัน ต่อมา กิตติศัพท์ความเคร่งครัดในวัตตปฏิบัติของท่านพระอาจารย์ยิ่งกว้างขวางไปไกล จนถึงต่างจังหวัด จำนวนศิษย์และผู้ปฏิบัติธรรมยิ่งเพิ่มขึ้น สำนักสงฆ์หลับฟ้าคับแคบไปอีก ท่านพระอาจารย์จึงสร้างวัดโพธิ์เย็นขึ้น ณ ตลาดลูกแก อำเภอท่ามะกา กาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ.2491 และได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมา กับ ประกอบพิธีผูกพัทธสีมา สำหรับเป็นที่ประกอบสังฆกรรม มีการอุปสมบทตามพระวินัยบัญญัติ นับเป็นปฐมสังฆารามฝ่ายจีนนิกายแห่งแรกที่มีพัทธสีมาในประเทศนี้ และเป็นอารามฝ่ายจีนนิกายแห่งแรกที่ให้การอุปสมบทแก่กุลบุตร เนื่องจากกิตติคุณของท่านพระอาจารย์ จึงได้รัรบพระราชทานสมณะศักดิ์ที่หลวงจีนธรรมรสจีนศาสน์ และต่อมา สมเด็จพระสังฆราชได้โปรดแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌายะ ฝ่ายจีนนิกายรูปแรก และเมื่อวัดทิพย์วารีวิหาร ซึ่งเป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่งของฝ่ายจีนนิกายทรุดโทรม ท่านพระอาจารย์พร้อมด้วยศิษย์ คือพระภิกษุเย็นบุญ ได้บูรณปฏิสังขรณ์ฟื้นฟูใหม่หมดทั้งวัด สำเร็จแล้วสมเด็จพระสังฆนายกจึงแต่งตั้งให้พระภิกษุเย็นบุญเป็นเจ้าอาวาสปกครอง ต่อมามีพระกรุณาโปรดกล้าฯเลื่อนสมณะศักดิ์ท่านพระอาจารย์ขึ้นเป็นหลวงจีนคณาณัติจีนพรต.  มาในปี พ.ศ.2497 สมเด็จพระสังฆนายกมีเถรบัญชาให้ท่านพระอาจารย์จากวัดโพธิ์เย็นลงมาครองวัดมังกรกมลาวาส ซึ่งเป็นอารามใหญ่ที่สุด ของฝ่ายจีนนิกาย ท่านพระอาจารย์ได้ปกครองดูแลเป็นที่เรียบร้อย เป็นที่แซ่ซ้องสาธุการของพุทธบริษัทชน .ครั้นแล้ว จึงมีพระบรมราชโองการโปรดให้เลื่อนสมณะศักดิ์ของท่านพระอาจารย์ขึ้นเป็นที่ พระอาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายสงฆ์จีนนิกาย ปกครองคณะสงฆ์จีนในประเทศไทย

            ท่านพระอาจารย์เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยชาติวุฒิ คุณวุฒิ และวัยวุฒิ และปฏิบัติเคร่งครัดในสีลาจารวัตร อบรมสั่งสอนลัทธิวิหาริกอันเตวาสิกให้เป็นผู้ใฝ่ใจในสัลเลขปฏิบัติจนได้รับยกย่อง แม้ในหมู่คณะพระมหาเถรานุเถระของไทยว่ามีปฏิปทาไม่แปลกจากสงฆ์ไทยเลย สังฆกรรมอันใด ซึ่งมีพระพุทธบัญญัติ ท่านพระอาจารย์ ก็ได้พยายามฟื้นฟูขึ้นมาปฏิบัติ เช่น พิธีกฐิน เป็นต้น พระศาสนาจักเจริญได้ ก็โดยอาศัยบุคคล มีบรรพชิต และคฤหัสถ์ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และพระภิกษุซึ่งเป็นผู้สืบอายุพระศาสนาโดยตรงย่อมเป็นมูลแห่งความเจริญของพระศาสนา  ถ้าพระภิกษุสามเณรเป็นผู้ปฏิบัติเคร่งครัด ย่อมเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาปสาทะของพุทธบริษัทได้ ก็ข้อปฏิบัติของพระภิกษุที่เป็นเบื้องแรกก็คือพระวินัย ฉะนั้น ท่านพระอาจารย์มาตระหนักถึงความสำคัญของพระวินัยซึ่งเป็นมูลรากของพระศาสนา ปรารถนาจะให้ภิกษุ สามเณรในฝ่ายจีนนิกายได้ศึกษาสิกขาในพระปาฏิโมกข์ จึงได้พิมพ์หนังสือเล่มนี้ขึ้น อนึ่ง เพื่อเป็นการเปรียบเทียบกับพระปาฏิโมกข์ของฝ่ายบาลี ท่านพระอาจารย์จึงมีคำสั่งให้พระภิกษุเย็นเกียรติ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโพธิ์เย็น จัดการแปลออกสู่พากย์ไทย. พระภิกษุจีนนิกายนอกจากจะต้องปฏิบัติตามพระวินัยบัญญัตินี้แล้ว ยังต้องปฏิบัติในโพธิสัตว์สิกขา ตามคติในลัทธิมหายานอีกด้วย หนังสือเล่มนี้ จึงนับว่าเป็นประโยชน์แก่การศึกษาและปฏิบัติในสังฆมณฑลอย่างยิ่งควรแก่การอนุโมทนา

เสถียร   โพธินันทะ

เลขาธิการคณะสงฆ์จีนนิกาย

1 มกราคม 2501

พระวินัยที่ได้แปลสู่ภาษาไทยนี้ ได้แยกออกเป็น 4 ภาค คือ

 ภาคหนึ่ง สิกขาบท พระปาฎิโมกข์

 ภาคสอง  สิกขาบท พระโพธิสัตว์

 ภาคสาม  สิกขาบท สามเณร

 ภาคสี่  อุโบสถศีล

 

ประมวญกำหนดสิกขาบทใน อุตตรนิกาย

อารัภกถา

            เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า พระบวรพุทธศาสนา ได้แบ่งออกเป็น 2 ลัทธิใหญ่ คือ ลัทธิสาวกยาน และ ลักทธิมหายาน ในลัทธิทั้งสองนั้นยังจำแนกเป็นนิกายปลีกย่อยอีกมาก ทั้งนี้ เพระอาศัยทัศนะของบุคคล ขนบธรรมเนียม, ภูมิประเทศ ที่แตกต่างกันเป็นมูลฐาน แต่ทุกนิกายย่อมมีพระธรรมวินัยเป็นที่เคารพนับถือร่วมกัน มีพระบรมศาสดาพระองค์เดียวกัน ว่ากันแต่เฉพาะในประเทศจีน พระพุทธศาสนาได้แพร่หลายเข้าไป เมื่อพุทธศตวรรษที่6 และเนื่องจากลัทธิมหายานมีคุณลักษณะถูกรสนิยมของประชากรจีน จึงได้ประดิษฐานเจริญรุ่งเรืองขึ้น ณ ภาคพื้นแห่งนั้น มีอิทธิพลแทรกซึมทั่วไป ในชีวิตความเป็นอยู่ตลอดจนประเพณีขนบธรรมเนียม, ศิลปะ และวรรณคดี ของประชาชาติจีนอย่างลึกซึ้ง ตลอดระยะกาลพันๆปี.

            อนึ่ง ถ้าจะพิจารณาตามกำเนิดของลัทธิมหายาน จักประจักษ์ว่า เป็นด้วยวัตถุประสงค์ส่งเสริมจริยาแห่งพระบรมโพธิสัตว์เป็นสำคัญ โดยสอนให้บุคคลตั้งปณิธาน มุ่งพระพุทธภูมิ เพื่อมีโอกาสในการโปรดสรรพสัตว์ได้กว้างขวาง ฉะนั้น ลัทธิมหายานจึงมีสิกขาบทพิเศษอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่มีในลัทธิฝ่ายสาวกยานนั่นคือ “โพธิสัตว์สิกขาบท” หรือ “โพธิสัตว์ศีล” ซึ่งศีลประเภทนี้ เป็นสาธรณทั่วไป แก่บรรพชิต และฆราวาสชน มิได้จำกัดเพศ ใคร ก็ตามที่มีโพธิจิตต์ตั้งความปรารถนา จักลุพุทธภูมิไซร้ ก็ย่อมบำเพ็ญตามสิกขาบทนี้ และโพธิจริยาอื่นๆมีทศบารมี เป็นต้น

            ในส่วนวินับปฏิบัติ ของภิกษุสงฆ์ ของลัทธิมหายาน ปรากฏว่า หาได้มีข้อ แตกต่างจากลัทธิสาวกยานไม่ และลัทธิมหายาน ก็ได้อาศัยวินัยปิฎกของลัทธิสาวกยานเป็นเนตติในการปฏิบัติเสียด้วยซ้ำ หรือจะพูดให้ถูกก็ต้องว่า พระวินัยปิฎกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง  “พระภิกษุปาฏิโมกข์”นั้น มิได้เป็นสมบัติของนิกายใดนิกาย ลัทธิใด หากเป็นวินัยปัญญัติของพระพุทธองค์ ซึ่งภิกษุสงฆ์ทุกนิกายจะต้องเคารพรับปฏิบัติ แต่เนื่องด้วย จำเดิมพระบรมศาสดาดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว สังฆมณฑลได้แยกออกเป็นคณะนิกายมากหลาย จึงต่างนิกายก็มีพระไตรปิฎกของตนตามที่ตนได้รักษาสืบทอดมา ซึ่งย่อมเป็นข้อแน่ใจได้ว่า มีความแตกต่างผิดเพี้ยนกัน แต่สำหรับพระวินัยปิฎกแล้ว กลับปรากฏว่ามีข้อความตรงกันเป็นส่วนมาก ต่างกันเป็นส่วนน้อย เฉพาะวินับปิฎกซึ่งปรากฏในพากย์จีน ณ บัดนี้ ก็เป็นวินัยปิฎกของหลายนิกายด้วยกัน และในนิกายเหล่านั้น เป็นนิกายกายในลัทธิสาวกยาน มีราย
การดังนี้คือ

            1 วินัยปิฎกของนิกายสรวาสติวาท แปลสู่ภาษาจีน โดย พระปุณยาตระ , พระกุมารชีพ, พระธรรมรุจิ , พระวิมลรักษ,
รวม 4 รูป เมื่อพ.ศ.947-950 เป็นหนังสือราว 61 ผูก 
ต่อมาในต้นพุทธศตวรรษที่ 12 สมณะอี้จิ้ง ได้แปลวินัยปกรณ์ของนิกายนี้
อีก 15 ปกรณ์ ส่วนมากเป็นเรื่องปลีกย่อย ว่าด้วยเรื่องอุปสมบทกรรม, การจำพรรษา, เภสัชชะ,และเรื่องสังฆเภท เป็นต้น

            2 วินัยปิฎกของนิกายธรรมคุปตะ แปลสู่ภาษาจีน โดยพระพุทธยศ เมื่อ พ.ศ.953 เป็นหนังสือ 60 ผูก

            3 วินัยปิฎกของนิกายมหาสังฆิกะ แปลสู่ภาษาจีน โดย พระพุทธภัทร ร่วมกับสมณะฟาเหียน เมื่อ พ.ศ. 963-965 เป็น
หนังสือ 30 ผูก

            4 วินัยปิฎกของนิกายมหิศาสกะ แปลสู่ภาษาจีน โดย พระพุทธชีวะ เมื่อ พ.ศ.966

            5 สมันตปสาทิกา เป็นอรรถกถาวินัยปิฎกของนิกายเถรวาท แปลสู่ภาษาจีน โดย สังฆภัทร เมื่อ พ.ศ.1032 เป็นหนังสือ
18 ผูก เข้าใจว่าจะแปลอย่างรวบรัด

            6 ปาฏิโมกข์ศีลสูตร ของนิกายกาศยปิย เป็นเพียงสูตรสั้นๆ ไม่ใช่วินัยปิฎกทั้งปิฎก

            ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่าพระวินัยปิฎกในคลังปริยัตติจีน นับว่า สมบูรณ์มากที่ได้รวบรวมวินัยปิฎกของนิกายต่างๆ ไว้ได้ 4
นิกาย และอรรถกถาของนิกยเถรวาทได้ 1 ปกรณ์ย่อ กับของนิกายกาศยปิยอีก 11ปกรณ์น้อย ดังกล่าวแล้ว คณะสงฆ์จีนโบราณ
มา นับถือวินัยปิฎกของนิกายธรรมคุปต์ และนิกายสรวาสติวาทกว่านิกายอื่น ครั้นมาถึงราชวงศ์ถัง ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 11 มีคณาจารย์จีนรูปหนึ่ง ชื่อ เต้าชวง เป็นผู้แตกฉานในพระไตรปิฎกมาก ได้ตั้งสำนักนิกายวินัยขึ้น ณ ภูเขาจงนานซัน โดยถือเอา
วินัยปิฎกธรรมคุปต์เป็นปทัฏฐาน และได้รจนาอรรถกถาฎีกาวินัยปิฎกไว้มาก นิกายนี้จึงเจริญขึ้น ต่อมาการปฏิบัติพระวินัยของคณะสงฆ์จีนจึงถือตามคติของสำนักนี้โดยทั่วไป ครั้นลุถึงสมัย ต้นราชวงศ์เช็ง ศูนย์กลางของวินัยปฏิบัติอยู่ ณ ภูเขา ป๋อฮั้วซัน ในมณฑลเกียงซู

            หนังสือพระปาฏิโมกข์ฝ่ายจีนนิกายเล่มนี้ มีกำเนิดจากความประสงค์ของพระคุณท่านอาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร(โพธิ์แจ้ง) เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายจีนนิกาย วัดมังกรกมลาวาส ในฐานะทีท่านเป็นผู้นำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่สังฆมณฑลจีน ในประเทศไทย
จึงขอเล่าประวัติของท่านไว้ ณ ที่นี้ด้วย โดยสังเขป

            ท่านพระอาจารย์ เกิดที่จังหวัด แต้จิ๋ว มณฑลกวางตุ้ง ในตระกูลผู้มีศักดิ์ ภายหลังได้ตามญาติเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย เนื่องจากท่านผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก่อน เมื่อเข้ามาเห็นความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในประเทศนี้ จึงทวีความปิติปสาทะ ในที่สุดได้ออกบรรพชาเป็นสามเณรในจีนนิกายที่เขาพระพุทธบาท สระบุรี จำศีลภาวนาที่ถ้ำเขาพระพุทธบาทจวบจนอายุครบอุปสมบท จึงจาริกไปประเทศจีน ได้อุปสมบทเป็นภิกษุที่วัด ล่งเชียงยี่ บนภูเขาป๋อฮั้วซัน ซึ่งเป็นศูนย์กลางวินัยปฏิบัติ ปกติมีสงฆ์จำนายพันมาศึกษาอยู่ที่นี่ ท่านพระอาจารย์ได้ศึกษาพระวินัยปิฎกกันพระอุปฌาย์ ฮ่งยิ้ม ผู้เป็นสังฆนายกสำนักวินัยนี้อยู่หลายพรรษา  ต่อมาได้เที่ยวจาริกศึกษาพระธรรมวินัยกันคณาจารย์มีชื่ออื่นๆ ปรากฏความรู้ความสามารถ ที่สุดได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะสำนักวินัย ภายหลังกลับประเทศไทย ท่านพระอาจารย์พำนัก ณ สำนักสงฆ์มีกัง ในพระนคร จำศีลภาวนา อบรม ศิษยานุศิษย์ ให้ปฏิบัติเคร่งครัดในพระวินัย และเทศนาสั่งสอนแก่พุทธมามกชน จนปรากฏว่าสำนักสงฆ์มีกัง คับแคบ ไม่พอแก่จำนวนผู้มาปฏิบัติธรรม ซึ่งนับวันได้เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ท่านพระอาจารย์ จึงสร้างสำนักสงฆ์หลับฟ้าขึ้นอีกแห่งหนึ่งในบริเวณใกล้เคียงกัน ต่อมา กิตติศัพท์ความเคร่งครัดในวัตตปฏิบัติของท่านพระอาจารย์ยิ่งกว้างขวางไปไกล จนถึงต่างจังหวัด จำนวนศิษย์และผู้ปฏิบัติธรรมยิ่งเพิ่มขึ้น สำนักสงฆ์หลับฟ้าคับแคบไปอีก ท่านพระอาจารย์จึงสร้างวัดโพธิ์เย็นขึ้น ณ ตลาดลูกแก อำเภอท่ามะกา กาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ.2491 และได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมา กับ ประกอบพิธีผูกพัทธสีมา สำหรับเป็นที่ประกอบสังฆกรรม มีการอุปสมบทตามพระวินัยบัญญัติ นับเป็นปฐมสังฆารามฝ่ายจีนนิกายแห่งแรกที่มีพัทธสีมาในประเทศนี้ และเป็นอารามฝ่ายจีนนิกายแห่งแรกที่ให้การอุปสมบทแก่กุลบุตร เนื่องจากกิตติคุณของท่านพระอาจารย์ จึงได้รัรบพระราชทานสมณะศักดิ์ที่หลวงจีนธรรมรสจีนศาสน์ และต่อมา สมเด็จพระสังฆราชได้โปรดแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌายะ ฝ่ายจีนนิกายรูปแรก และเมื่อวัดทิพย์วารีวิหาร ซึ่งเป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่งของฝ่ายจีนนิกายทรุดโทรม ท่านพระอาจารย์พร้อมด้วยศิษย์ คือพระภิกษุเย็นบุญ ได้บูรณปฏิสังขรณ์ฟื้นฟูใหม่หมดทั้งวัด สำเร็จแล้วสมเด็จพระสังฆนายกจึงแต่งตั้งให้พระภิกษุเย็นบุญเป็นเจ้าอาวาสปกครอง ต่อมามีพระกรุณาโปรดกล้าฯเลื่อนสมณะศักดิ์ท่านพระอาจารย์ขึ้นเป็นหลวงจีนคณาณัติจีนพรต.  มาในปี พ.ศ.2497 สมเด็จพระสังฆนายกมีเถรบัญชาให้ท่านพระอาจารย์จากวัดโพธิ์เย็นลงมาครองวัดมังกรกมลาวาส ซึ่งเป็นอารามใหญ่ที่สุด ของฝ่ายจีนนิกาย ท่านพระอาจารย์ได้ปกครองดูแลเป็นที่เรียบร้อย เป็นที่แซ่ซ้องสาธุการของพุทธบริษัทชน .ครั้นแล้ว จึงมีพระบรมราชโองการโปรดให้เลื่อนสมณะศักดิ์ของท่านพระอาจารย์ขึ้นเป็นที่ พระอาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายสงฆ์จีนนิกาย ปกครองคณะสงฆ์จีนในประเทศไทย

            ท่านพระอาจารย์เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยชาติวุฒิ คุณวุฒิ และวัยวุฒิ และปฏิบัติเคร่งครัดในสีลาจารวัตร อบรมสั่งสอนลัทธิวิหาริกอันเตวาสิกให้เป็นผู้ใฝ่ใจในสัลเลขปฏิบัติจนได้รับยกย่อง แม้ในหมู่คณะพระมหาเถรานุเถระของไทยว่ามีปฏิปทาไม่แปลกจากสงฆ์ไทยเลย สังฆกรรมอันใด ซึ่งมีพระพุทธบัญญัติ ท่านพระอาจารย์ ก็ได้พยายามฟื้นฟูขึ้นมาปฏิบัติ เช่น พิธีกฐิน เป็นต้น พระศาสนาจักเจริญได้ ก็โดยอาศัยบุคคล มีบรรพชิต และคฤหัสถ์ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และพระภิกษุซึ่งเป็นผู้สืบอายุพระศาสนาโดยตรงย่อมเป็นมูลแห่งความเจริญของพระศาสนา  ถ้าพระภิกษุสามเณรเป็นผู้ปฏิบัติเคร่งครัด ย่อมเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาปสาทะของพุทธบริษัทได้ ก็ข้อปฏิบัติของพระภิกษุที่เป็นเบื้องแรกก็คือพระวินัย ฉะนั้น ท่านพระอาจารย์มาตระหนักถึงความสำคัญของพระวินัยซึ่งเป็นมูลรากของพระศาสนา ปรารถนาจะให้ภิกษุ สามเณรในฝ่ายจีนนิกายได้ศึกษาสิกขาในพระปาฏิโมกข์ จึงได้พิมพ์หนังสือเล่มนี้ขึ้น อนึ่ง เพื่อเป็นการเปรียบเทียบกับพระปาฏิโมกข์ของฝ่ายบาลี ท่านพระอาจารย์จึงมีคำสั่งให้พระภิกษุเย็นเกียรติ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโพธิ์เย็น จัดการแปลออกสู่พากย์ไทย. พระภิกษุจีนนิกายนอกจากจะต้องปฏิบัติตามพระวินัยบัญญัตินี้แล้ว ยังต้องปฏิบัติในโพธิสัตว์สิกขา ตามคติในลัทธิมหายานอีกด้วย หนังสือเล่มนี้ จึงนับว่าเป็นประโยชน์แก่การศึกษาและปฏิบัติในสังฆมณฑลอย่างยิ่งควรแก่การอนุโมทนา

เสถียร   โพธินันทะ

เลขาธิการคณะสงฆ์จีนนิกาย

1 มกราคม 2501

พระวินัยที่ได้แปลสู่ภาษาไทยนี้ ได้แยกออกเป็น 4 ภาค คือ

 ภาคหนึ่ง สิกขาบท พระปาฎิโมกข์

 ภาคสอง  สิกขาบท พระโพธิสัตว์

 ภาคสาม  สิกขาบท สามเณร

 ภาคสี่  อุโบสถศีล

 

- ภาคหนึ่ง - สิกขาบทในพระปาฎิโมกข์

- ภาคหนึ่ง -

สิกขาบทในพระปาฎิโมกข์

        ข้อพระบัญญัติทั้งหลายตามพระวินัยนั้น สิกขาบทเป็นสุดยอด ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ ให้ภิกขุสงฆ์แสดงอุโบสถกรรมทุกระยะครึ่งเดือน คือ ทุกกลางเดือนหงายและทุกปลายเดือนมืด ซึ่งในเดือนเต็ม มี 15 วัน และเดือนขาดมี 14 วัน ลงอุโบสถกระทําสังฆกรรม.

        สิกขาบทของภิกขุสงฆ์ ที่แสดงกันในที่ประชุมสงฆ์ ทุกระยะครึ่งเดือนนี้มีชื่อเรียกว่า"พระปาฎิโมกข์" (เป็นสิกขาบทรวบรวมเข้าเป็นประมวลหัวข้อวินัย) ได้มีการถามถึง 3 ครั้งว่า อาบัติใดพึงมีแก่ภิกขุบ้างให้แสดงอาบัตินั้นต่อที่ประชุมสงฆ์เสีย ภิกขุบริสุทธิ์แล้วให้ถือการนิ่งอยู่นั้นเป็นสําคัญ เพราะการปลงอาบัตินี้ ย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์เจริญผาสุกทุกประการ.

สิกขาบทในพระปาฏิโมกข์ทางฝ่ายมหายานจำแนกออกเป็นดังนี้

1. ปาราชิก   4

2. สังฆาทิเสส    13

3. อนิยต    2

4. นิสสัคคีย์ปาจิตตีย์   30

5. ปาจิตตีย์    90

6. ปาฎิเทสนียะ    4

7. เสขิยะ    100

8. อธิกรณ์สมถะ    7

รวม     250

(ฝ่ายทักษิณนิกายมี 227 โปรดดูหมายเหตุตอนปลายภาคนี้)

 

ปาราชิก 4

1. ภิกขุเสพเมถุน กับผู้เป็นหญิงหรือชายตลอดจนสัตว์เดียรัจฉานตัวเมียต้องปาราชิก.

2. ภิกขุเจตนาจิตอุบายถือเอาของผู้อื่น ของนั้นมีราคา 5 เชี้ยน หรือ 5 มาสก ( 1 เชี้ยนเท่ากับราว 16 อีแปะจีนโบราณ ) ต้องปาราชิก.

3. ภิกขุแกล้งฆ่าชีวิตมนุษย์ให้ตาย ด้วยมือตนเอง หรือ ใช้ผู้อื่นกระทํา หรือเป็นใจสมรู้การฆาตกรรม ต้องปาราชิก.

4. ภิกขุพูดปดอวดอ้าง ว่าตนสําเร็จฌาน สําเร็จมรรคผล ที่ไม่มีในตน ( อวดอุตตริมนุสสธรรม ) ต้องปาราชิก.

 

สังฆาทิเสส 13

1. ภิกขุแกล้งทําให้น้ำอสุจิเคลื่อน เว้นไว้แต่ในฝัน ต้องสังฆาทิเสส.

2. ภิกขุเกิดความกําหนัด จับต้องกายหญิง, แม้แต่ผม ต้องสังฆาทิเสส.

3. ภิกขุเกิดความกําหนัด พูดจากับหญิงด้วยวาจาเร้ากามราคะ ต้องสังฆาทิเสส.

4. ภิกขุเกิดความกําหนัด พูดล่อลวงหญิงบําเรอตนด้วยกาม ต้องสังฆาทิเสส.

5. ภิกขุชักสื่อให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน แต่งกันหรือลักลอบกันต้องสังฆาทิเสส.

6. ภิกขุสร้างกุฎิเป็นที่อยู่ของตน ไม่มีทายกเป็นเจ้าของขนาดต้องให้ได้ปริมาณยาว 12 คืบพระสุคต, กว้างร่วมใน 7 คืบ, และต้องให้สงฆ์แสดงที่ให้ก่อน. ถ้าไม่ให้สงฆ์แสดงที่ให้ หรือ สร้างเกินขนาดปริมาณ ต้องสังฆาทิเสส.

7. ภิกขุสร้างกุฎินั้น โดยมีทายกเป็นเจ้าของ ทําเกินขนาดปริมาณนั้นได้ ต้องให้สงฆ์แสดงที่ให้ก่อนว่าไม่เป็นที่กีดขวางอย่างหนึ่งอย่างใด. ถ้าไม่ให้สงฆ์แสดงที่ให้ก่อน ต้องสังฆาทิเสส.

8. ภิกขุโกรธเคืองแกล้งโจทก์ภิกขุอื่น ด้วยอาบัติปาราชิกอันไม่มีมูลความรู้ถึงภิกขุผู้นั้น ต้องสังฆาทิเสส.

9. ภิกขุโกรธเคืองแกล้งด้วยอุบายใส่ไค้ล ด้วยอาบัติปาราชิก อันไม่มีมูลความรู้ถึงภิกขุผู้นั้น ต้องสังฆาทิเสส.

10. ภิกขุพากเพียรเพื่อทําลายสงฆ์ให้แตกกัน สงฆ์ห้ามปรามตักเตือนถึง 3 ครั้งไม่เชื่อฟัง สงฆ์ทั้งหลายสวดกรรมให้ละความประพฤตินั้นเสียถ้าไม่ละ ต้องสังฆาทิเสส.

11. ภิกขุประพฤติตามภิกขุทําลายสงฆ์ให้แตกกันนั้น สงฆ์ห้ามปรามตักเตือน ถึง 3 ครั้ง ไม่เชื่อฟัง สงฆ์สวดกรรมให้ละความประพฤตินั้นเสีย ถ้าไม่ละ ต้องสังฆาทิเสส.

12. ภิกขุประทุษร้ายตระกูล สู.หาคฤหัสถ์ สงฆ์ไล่เสียจากวัด กลับย้อนติเตียนสงฆ์. สงฆ์ตักเตือนห้ามถึง 3 ครั้ง ไม่เชื่อฟัง, สงฆ์สวดกรรมให้ละข้อประพฤตินั้นเสีย ถ้าไม่ละ ต้องสังฆาทิเสส. ( ฝ่ายบาลีเป็นข้อที่ 13 )

13. ภิกขุว่ายากสอนยาก สงฆ์ตักเตือนกลับย้อนกล่าวไม่ให้สงฆ์ต้องตักเตือน สงฆ์ตักเตือนห้ามถึง 3 ครั้งไม่เชื่อฟัง, สงฆ์สวดกรรมเพื่อให้ละข้อประพฤตินั้นเสีย ถ้าไม่ละต้องสังฆาทิเสส. ( ฝ่ายบาลีเป็นข้อที่ 12 )

       สังฆาทิเสสเป็นอาบัติหนัก เรียกว่าครุกาบัติ รองลงมาจากปาราชิกอาบัติสังฆาทิเสส 13 ข้อนี้ สําหรับ 9 ข้อแรก ต้องสังฆาทิเสสเมื่อแรกเข้า แต่ส่วน 4 ข้อหลังนั้น จะต้องสังฆาทิเสสต่อเมื่อหลังจากสงฆ์ได้ตักเตือน 3 ครั้งแล้ว.

        ภิกขุใดต้องสังฆาทิเสสข้อหนึ่ง ข้อใด ปิดบังไม่แสดงในขณะสงฆ์สวดพระปาฏิโมกข์ธรรม ประสงค์จะให้เป็นคนบริสุทธิ์ดังเดิม จะต้องทนต่อการลงโทษตนเอง อยู่คนเดียวในที่สงัดสวดมานัตต์เป็นเวลา 6 คืน หรือแสดงอาบัตินั้นๆ ต่อคณะสงฆ์มีจํานวน 20 รูป ถ้าขาดจํานวนแม้แต่หนึ่งรูป ภิกขุนั้นก็ไม่พ้นอาบัติให้เป็นผู้บริสุทธิ์ที่นับเข้าในหมู่สงฆ์ได้.

อนิยต 2

1. ภิกขุนั่งในที่มีกําบังกับหญิงสองต่อสอง ลับตาคนถ้ามีผู้ควรเชื่อว่าได้ประกอบกามธรรม คือ ปาราชิก หรือ สังฆาทิเสส หรือ นิสสัคคียปาจิตตีย์. ภิกขุรับสถานใดสถานหนึ่ง ให้ปรับแต่เพียงอย่างนั้น.

2. ภิกขุนั่งในที่แจ้งกับหญิงสองต่อสอง ลับตาคน ถ้ามีผู้ควรเชื่อว่าได้ประกอบกามธรรม คือ สังฆาทิเสส หรือ นิสสัคคียปาจิตตีย์ ภิกขุรับสถานใดสถานหนึ่ง ให้ปรับแต่เพียงอย่างนั้น

 อนิยต เป็นอาบัติที่ไม่แน่นอน ระหว่างสังฆาทิเสส กับนิสสัคคียปาจิตตีย์ซึ่งคณะสงฆ์จะต้องวินิจฉัย.

 

นิสสัคคียปาจิตตีย์ 30

1. ภิกขุทรงอติเรกจีวร ได้เพียง 10 วันเป็นอย่างมาก เกินกว่า10 วัน ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์.

2. ภิกขุปราศจากไตรจีวร แม้หนึ่งคืน เว้นไว้แต่ได้สมมุติ ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์.

3. ภิกขุได้ผ้ามา จะทําจีวรแต่ไม่พอ หวังจะได้มาอีกเพื่อครบทําจีวร พึงเก็บผ้านั้นไว้ได้เพียงหนึ่งเดือนเป็นอย่างมาก ถ้าเก็บไว้เกินกว่าหนึ่งเดือนไป ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์.

4. ภิกขุรับจีวรจากนางภิกขุณีที่ไม่ใช่ญาติ เว้นไว้แต่มีการแลกเปลี่ยน ต้องนิสัคคีย.ปาจิตตีย์.

5. ภิกขุใช้นางภิกขุณีที่ไม่ใช่ญาติ ให้ซักหรือย่อมหรือทุบซึ่งจีวรเก่าต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์.

6. ภิกขุขอจีวรต่อคฤหัสถ์ชายหรือหญิงที่ไม่ใช่ญาติ ได้มาต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์. เว้นไว้แต่มีสมัยที่จะขอจีวรได้ คือ จีวรเก่าถูกลักเอาไปหรือ สูญหายไป หรือ ถูกไฟไหม้ไป หรือ จมน้ำหายไป.

7. ภิกขุที่มีจีวรอันฉิบหายไป จะขอเขาได้เพียงพอนุ่งห่มเท่านั้น ถ้าขอเกินกว่านั้น ได้จีวรมา ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์.

8. ภิกขุทราบความว่าเขาจะถวายจีวร อยากได้อย่างแพงกว่าที่เขากําหนดไว้ไปพูดให้ซื้ออย่างตนประสงค์ ได้จีวรมา ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์.

9. ภิกขุทราบความว่ามีคฤหัสถ์หลายคนร่วมกันจะถวายจีวร อยากได้อย่างแพงกว่าที่เขากําหนดไว้ ไปพูดกับเขาเหล่านั้นให้ซื้ออย่างตนประสงค์ได้จีวรมา ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์.

10. ภิกขุในเมื่อมีพระราชา หรือมหาอํามาตย์หรือพรมหมณ์หรือคฤหบดี ให้ผู้รับใช้นําราคาค่าจีวรมาถวายแด่ภิกขุ, ภิกขุควรบอกให้มอบแก่ผู้เป็นไวยาวัจจกร. ผู้รับใช้ได้มอบหมายราคาค่าจีวรแก่ไวยาวัจจกรแล้วสั่งแก่ภิกขุว่า ถ้าท่านต้องการจีวรให้เรียกเอาจากไวยาวัจจกรผู้นั้น. ภิกขุต้องการจีวรไปบอกกับไวยาวัจจกรว่าต้องการจีวรดังนี้ 3 ครั้ง ถ้าไม่ได้จีวรให้ไปยืนแต่พอให้เขาเห็น 6 ครั้ง . ถ้าภิกขุไปทวงจีวรเกินกว่า3 ครั้ง และไปยืนให้เขาเห็นเกินกว่า6 ครั้ง ได้จีวรมา ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์. ถ้าภิกขุไม่ได้จีวรจากไวยาวัจจกรให้ไปบอกกับผู้รับใช้ที่รับมอบหมายจากนายมานั้นว่า ไม่สําเร็จประโยชน์แก่ตน ให้เขาเรียกของเขาเอาคืนมาเสีย.

11. ภิกขุหล่อสันถัต ( สันสกฤตเรียก นิสีทะนะ คือผ้ารองนั่งของภิกขุ ) ด้วยขนเจียมเจือปนด้วยไหม ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์.

12. ภิกขุหล่อสันถัด ด้วยขนเจียมดําล้วน ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์.

13. ภิกขุจะหล่อสันถัตใหม่ ให้ใช้ขนเจียมดํา 2 ส่วน, ขาว 3 ส่วน, แดง 4 ส่วน. ถ้าทําขึ้นผิดส่วน ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์. ( ฝ่ายบาลีว่า ดํา 2 ส่วน, ขาว 1 ส่วน และแดง 1 ส่วน )

14. ภิกขุหล่อสันถัตใหม่แล้ว ให้ใช้ได้ 6 ปี ถ้ายังไม่ถึง 6 ปี โดยไม่มีเหตุผลหล่อใหม่ต้องแสดงอาบัติต่อหน่าพระปฎิมา มิฉะนั้น ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์.

15. ภิกขุจะหล่อสันถัดใหม่ พึงตัดเอาสันถัดเก่า หนึ่งคืนโดยรอบมาปนลงในสันถัดที่หล่อใหม่ เพื่อทําลายสี. ถ้าไม่ทําดังนี้ ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์.

16. ภิกขุเมื่อเดินทางไกล ถ้ามีใครถวายขนเจียมก็รับได้  แต่ถ้าไม่มีใครถือนํามา นํามาเองได้เพียงระยะทาง 3 โยชน์ ถ้าเกิน 3 โยชน์ ไม่มีใครถือนํามา หรือ ถือนํามาเอง ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์.

17. ภิกขุใช้ภิกขุณีที่ไม่ใช่ญาติ ให้ซัก หรือ ย้อม หรือ สาง ซึ่งขนเจียมต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์.

18. ภิกขุรับเอง ซึ่งทอง และเงิน หรือ ให้ผู้อื่นรับ หรือ ยินดีที่เขาเก็บไว้เพื่อตน ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์.

19. ภิกขุทําการซื้อขาย ของมีค่าต่างๆ คือ ทอง, เงิน, หยกฯ ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์.

20. ภิกขุแลกเปลี่ยนสิ่งของกับคฤหัสถ์ ด้วยการซื้อถูกขายแพง ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์.

21. ภิกขุเก็บบาตร.ที่ไม่ได้อธิฐาน ( บาตร.ที่เขาไม่ได้จงใจให้ ) ไว้ได้เพียง 10 วัน ถ้าเก็บไว้เกินกว่า10 วัน ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์.

22. ภิกขุมีบาตร.ชํารุดปะไว้ไม่ครบ 5 แห่ง ขอบาตร.ใหม่ ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์. ภิกขุควรขอบาตร.จากภิกขุอื่น และเลือกบาตร.อย่างเลวที่สุดมาใช้.

23. ภิกขุขอด้ายที่ยังไม่ได้ปั่นมา ใช้ให้ช่างหูกที่ไม่ใช่ญาติทอเป็นผ้าจีวรต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์.

24. ภิกขุทราบความว่ามีคฤหัสถ์ สั่งให้ช่างหูกทอจีวรเพื่อถวายแก่ตนถ้าภิกขุไปหาช่างหูกกําหนดให้เขาทําให้ดีขึ้นด้วยการให้รางวัลแก่ช่างได้ผ้ามา ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์.

25. ภิกขุให้จีวรแก่ภิกขุอื่น ภายหลังโกรธเคืองภิกขุนั้น ชิงเอาคืนมาเอง หรือ ใช้ผู้อื่นชิงคืนมา ได้คืนมา ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์.

26. ภิกขุอาพาธรับประเคนเภสัช อันมี เนยข้น, น้ำมัน, เนยใส, น้ำผึ้ง, น้ำอ้อย, ไว้ฉันได้เพียง 7 วัน ถ้าล่วง 7 วัน ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์.

27. ภิกขุในเมื่อฤดูร้อนยังเหลืออยู่ 1 เดือน พึงแสวงหา ผ้าอาบน้ำฝนได้เมื่อฤดูใบไม่ผลิ ( ฤดูชุน ) ยังเหลืออยู่ 15 วัน จึงทํานุ่งได้. ถ้าแสวงหา และทํานุ่งก่อนกําหนดนี้ ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์.

28. ภิกขุในเมื่ออีก 10 วันจะถึงวันปวารณา ( วันกําหนดลาพรรษา ) มีทายกรีบถวายผ้าจํานําพรรษา ก็เก็บไว้ได้. ถ้าเก็บผ้านั้นไว้เกินกาลจีวรไป ( กาลจีวร นั้นนับหนึ่งเดือนจากวันลาพรรษา ) ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์.

29. ภิกขุจําพรรษาในเสนาสนะป่า ออกพรรษาแล้วหนึ่งเดือน อยากจะเก็บไตรจีวร ผืนหนึ่งผืนใดไว้ในบ้านเมื่อมีเหตุถึงต้องละจีวร พึงละจีวรได้เพียง 6 คืน  ถ้าเกิน 6 คืนไป ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์.

30. ภิกขุรู้อยู่ของถวายภิกขุอื่น น้อมลาภที่เขาจะถวายสงฆ์อื่นมาเพื่อตนต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์.  

นิสสัคคียปาจิตตีย์เป็นอาบัติ เรียกว่าลหุกาบัติ ผู้ต้องจะต้องขอกษมากรรม ( กล่าวคําขอโทษ ) ในสํานักแห่งสงฆ์ คือ ต้องแสดงอาบัติจึงจะพ้นอาบัตินั้นๆ

 

ปาจิตตีย์ 90

1. ภิกขุพูดปด ต้องปาจิตตีย์.

2. ภิกขุพูดคําด่าคําเสียดสี ต้องปาจิตตีย์.

3. ภิกขุพูดส่อเสียด ต้องปาจิตตีย์.

4. ภิกขุอยู่ร่วมบ้านกับผู้หญิงค้างคืน ต้องปาจิตตีย์. ( ฝ่ายบาลีเป็นข้อที่ 6 )

5. ภิกขุนอนร่วมกับสามเณร หรือ คฤหัสถ์ เกินกว่า3 คืน ต้องปาจิตตีย์.

6. ภิกขุใดสอนธรรมแก่อนุปสัมบันให้ว่าพร้อมกัน ต้องปาจิตตีย์.

7. ภิกขุบอกอาบัติชั่วของภิกขุอื่น แก่สามเณร หรือคฤหัสถ์ ต้องปาจิตตีย์. (ฝ่ายบาลีเป็นข้อที่ 9

8. ภิกขุบอกว่าตนเข้าถึงมรรคผลที่มีจริง แก่สามเณร หรือ คฤหัสถ์ต้องปาจิตตีย์.

9. ภิกขุเสดงธรรมแก่ผู้หญิง เกินกว่า6 คํา, นอกจากจะมีผู้ชายอยู่ด้วย, ต้องปาจิตตีย์.

10. ภิกขุขุดเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นขุดซึ่งแผ่นดิน ต้องปาจิตตีย์.

11. ภิกขุพรากของเขียวซึ่งเกิดอยู่กับที่ ( พฤกษาชาติ เช่น ต้นไม้, หญ้า ถือว่ามีนางไม่อาศัยประจําอยู่ ) ให้หลุดจากที่ ต้องปาจิตตีย์.

12. ภิกขุแกล้งพูด กลบเกลื่อน, บิดเบือน, เปรียบเปรย ต้องปาจิตตีย์.

13. ภิกขุเกลียดชัง ตําหนิติเตียนภิกขุอื่น ต้องปาจิตตีย์.

14. ภิกขุเอาเตียง, ตั่ง, มานอน, เก้าอี้นั่ง ของสงฆ์ไปตั้ง ณ ที่แจ้งแล้วไม่เก็บเอง หรือ ไม่ใช่ผู้อื่นเก็บ ต้องปาจิตตีย์.

15. ภิกขุเอาที่นอนของสงฆ์ปูนอนในกุฎิสงฆ์แล้ว ไม่เก็บเอง หรือ ไม่ใช่ผู้อื่นเก็บ ต้องปาจิตตีย์.

16. ภิกขุรู้อยู่ว่ากุฎินี้มีผู้อยู่ก่อน แกล้งไปนอนเบียด หวังให้เขาระอาหลีกไปเสียเพื่อนตนอยู่ ต้องปาจิตตีย์.

17. ภิกขุโกรธเคืองภิกขุอื่น ฉุดคร่า, ขับไล่เอง หรือ ใช้ผู้อื่นฉุดคร่า, ขับไล่ภิกขุนั้นออกจากกุฎิสงฆ์ ต้องปาจิตตีย์.

18. ภิกขุนั่งทับหรือ นอนทับ บนเตียงหรือบนตั่ง อันมีเท่าไม่ได้ตรึงให้แน่นกับที่ ซึ่งเขาวางไว้เก็บของในกุฎิ ต้องปาจิตตีย์.

19. ภิกขุรู้อยู่ว่าน้ำมีตัวสัตว์ เอารดดินหรือ หญ้าด้วยตนเอง หรือ ใช้คนอื่นรดต้องปาจิตตีย์. ( ฝ่ายบาลีเป็นข้อที่ 20 )

20. ภิกขุเอาดินหรือ ปูนโบก หลังคากุฎิ, ประตู, หน้าต่าง พึงโบกได้เพียง 3 ชั้น ถ้าโบกเกินกว่านั้น ต้องปาจิตตีย์. (ฝ่ายบาลีเป็นข้อที่ 19 )

21. ภิกขุที่สงฆ์ไม่ได้สมมุติ ไปสั่งสอนนางภิกขุณี ต้องปาจิตตีย์.

22. ภิกขุที่สงฆ์สมมุติแล้ว ตั้งแต่พระอาทิตย์ตกแล้ว สอนนางภิกขุณี ต้องปาจิตตีย์.

23. ภิกขุติเตียนภิกขุอื่นว่า สอนนางภิกขุณีเพราะเห็นแก่ลาภ ต้องปาจิตตีย์. ( ฝ่ายบาลีเป็นข้อที่ 24 )

24. ภิกขุให้จีวร แก่นางภิกขุณีที่ไม่ใช่ญาติ ต้องปาจิตตีย์. เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน. ( ฝ่ายบาลีเป็นข้อที่ 25 )

25. ภิกขุเย็บจีวร ของนางภิกขุณีที่ไม่ใช่ญาติ ต้องปาจิตตีย์. (ฝ่ายบาลีเป็นข้อที่ 26 )

26. ภิกขุนั่งในที่มีกําบัง กับนางภิกขุณี ต้องปาจิตตีย์.

27. ภิกขุชวนนางภิกขุณี เดินทางด้วยกัน แม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ต้องปาจิตตีย์. เว้นไว้แต่เป็นทางเปลี่ยว.

28. ภิกขุชวนนางภิกขุณี ลงเรือลําเดียวกันขึ้นน้ำก็ดี ล่องน้ำก็ดี ต้องปาจิตตีย์. เว้นไว้แต่ข้ามฟาก

29. ภิกขุรู้ว่านางภิกขุณี บังคับให้คฤหัสถ์ถวายของเคี้ยวของฉัน ถ้าฉันต้องปาจิตตีย์. เว้นไว้แต่คฤหัสถ์เขามีความมุ่งหมายไว้ก่อนแล้ว.

30. ภิกขุชวนผู้หญิง เดินทางด้วยกัน พอสิ้นระยะบ้านหนึ่ง ต้องปาจิตตีย์.

31. ภิกขุไม่อาพาธ ฉันของในโรงทานได้เพียงมื้อเดียว. ถ้าฉันเกินกว่านั้นต้องปาจิตตีย์.

32. ภิกขุถ้าทายกเขามานิมนต์ ออกชื่อโภชนียะทั้ง 5 อย่าง คือ ข้าว, ขนมแห่ง, ปลา, เนื้อ, อย่างใดอย่างหนึ่ง ไปรับของนั้นมา หรือ ฉันของนั้นพร้อมกันตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป ต้องปาจิตตีย์. เว้นไว้แต่สมัย คือ เป็นไข้อย่างหนึ่ง, หน้าจีวรกาลอย่างหนึ่ง,คราวทําจีวรอย่างหนึ่ง, เดินทางไกลอย่างหนึ่ง, โดยสารในเรืออย่างหนึ่ง, อยู่มากด้วยกันบิณฑบาตไม่พอฉันอย่างหนึ่ง, โภชนะนั้นเป็นของสมณะอย่างหนึ่ง.

33. ภิกขุรับนิมนต์ไว้ในที่แห่งหนึ่ง ด้วยโภชนียะไม่ไปฉัน ณ ที่ที่เขานิมนต์ไว้ไปฉันเสีย ณ ที่อื่น ต้องปาจิตตีย์. เว้นไว้แต่สมัย คือ เป็นไข้,เวลาทําจีวร, หน้าจีวรกาล, เดินทางไกล, ร่วมประชุมสงฆ์. ( ฝ่ายบาลีไม่มี เดินทางไกล และร่วมประชุมสงฆ์ )

34. ภิกขุเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ทายกเขาถวายขนมเป็นอันมาก จะรับได้อย่างมากเพียง 3 บาตร.เท่านั้น. ถ้ารับเกินกว่า3 บาตร. ต้องปาจิตตีย์. ของที่รับมามากเช่นนั้น ต้องแบ่งให้ภิกขุอื่น.

35. ภิกขุฉันเสร็จห้ามเสียของเคี้ยวของฉันแล้ว ฉันของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี อันมิใช่เดนภิกขุไข้ หรือ มิได้ทําวินัยกรรมไว้ ต้องปาจิตตีย์.

36. ภิกขุรู้อยู่ว่าภิกขุอื่นฉันแล้วห้ามอาหารเสียแล้ว พึงจะหาโทษให้นําของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี อันมิใช่เดน ชักชวนให้ฉัน พอเธอฉันแล้ว ต้องปาจิตตีย์.

37. ภิกขุฉันของเคี้ยวของฉัน ในเวลาวิกาล คือ ตั้งแต่เที่ยงวันแล้วไปจนถึงวันใหม่ ต้องปาจิตตีย์.

38. ภิกขุฉันของเคี้ยวของฉัน ที่เป็นโภชนียะ ซึ่งรับประเคนไว้ค้างคืน ต้องปาจิตตีย์.

39. ภิกขุกลืนกินอาหารที่ไม่มีผู้ให้ คือ ยังไม่ได้รับประเคนให้ล่วงทวารปากเข้าไป ต้องปาจิตตีย์. เว้นไว้แต่น้ำ และไม่สีฟัน. ( ฝ่ายบาลีเป็นข้อที่ 40 ) 

40 ภิกขุไม่เป็นไข้ขอโภชนียะอันประณีต คือ ข้าวสุกระคนด้วยเนยใส,เนยข้น, น้ำมัน, น้ำผึ้ง, น้ำอ้อย, ปลา, เนื้อ, นมสด, น้ำส้มต่อคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติเอามาฉัน ต้องปาจิตตีย์. ( ฝ่ายบาลีเป็นข้อที่ 39 )

41. ภิกขุให้ของเคี้ยวของฉัน แก่นักบวชชาย หรือ หญิง นอกศาสนา ด้วยมือตนเอง ต้องปาจิตตีย์.

42. ภิกขุรับนิมนต์ด้วยโภชนียะทั้ง 5 แล้ว จะไปในที่อื่นจากที่นิมนต์นั้น ในเวลาก่อนฉันก็ดี ฉันกลับมาแล้วก็ดี ต้องลาภิกขุที่มีอยู่ในวัดก่อนจึงจะไปได้ ถ้าไม่ลาก่อนเที่ยวไป ต้องปาจิตตีย์. เว้นไว้แต่สมัย คือ เวลาทําจีวร และจีวรกาล. ( ฝ่ายบาลีเป็นข้อที่ 46 )

43. ภิกขุสําเร็จการนั่งแทรกแซงในสกุล ที่กําลังบริโภคอาหาร ต้องปาจิตตีย์.

44. ภิกขุผู้เดียวนั่งในที่ลับ กับผู้หญิงผู้เดียว ต้องปาจิตตีย์.

45. ภิกขุนั่งอยู่ในที่แจ้ง กับผู้หญิงสองต่อสอง ต้องปาจิตตีย์.

46. ภิกขุชวนภิกขุอื่นไปเที่ยวบิณฑบาตด้วย หวังประพฤติอนาจาร ไล่เธอกลับมาเสีย ต้องปาจิตตีย์. ( ฝ่ายบาลีเป็นข้อที่  42 )

47. ภิกขุพึงรับปัจจัยทั้งสี่ ที่เขาปวารณาไว้เพียง 4 เดือน ถ้าขอเขาให้เกินกําหนดนั้นไป ต้องปาจิตตีย์. เว้นไว้แต่เขาปวารณาอีกหรือปวารณาเป็นนิตย์.

48. ภิกขุไปดูกระบวนทัพ ที่เขายกไปเพื่อจะรบกัน ต้องปาจิตตีย์. เว้นไว้แต่มีเหตุผล.

49. ภิกขุมีเหตุที่จะต้องไปในกองทัพ พึงอยู่ในกองทัพเพียง 3 วัน ถ้าอยู่เกินกว่ากําหนดนั้น ต้องปาจิตตีย์.

50. ภิกขุระหว่างเวลาอยู่ในกองทัพ 3 วันนั้น ไปสู่สนามรบก็ดี, ไปสู่ที่พักพลก็ดี, ไปสู่ที่จะกระบวนทัพก็ดี, ไปดูหมู่อนึก คือ ช้าง ม้า รถ พลเดินจัดเป็นกระบวนเป็นกองๆ แล้วก็ดี ต้องปาจิตตีย์.

51. ภิกขุดื่มสุราเมรัยน้ำเมา คือ น้ำที่ยังให้ผู้ดื่มแล้วมีสติมึนเมา ต้องปาจิตตีย์.

52. ภิกขุว่ายน้ำเล่น ต้องปาจิตตีย์. (ฝ่ายบาลีเป็นข้อที่ 53 )

53. ภิกขุจี้ภิกขุด้วยกัน ต้องปาจิตตีย์. (ฝ่ายบาลีเป็นข้อที่ 52 )

54. ภิกขุเสดงความไม่เอื้อเฟื้อในวินัย ดื้อไม่ฟังภิกขุอื่นตักเตือนห้ามปราม ต้องปาจิตตีย์.

55. ภิกขุหลอนภิกขุอื่นให้กลัวผี ต้องปาจิตตีย์.

56. ภิกขุอยู่ในมัชฌิมภาคของประเทศ คือภาคกลางแห่งประเทศอินเดีย 15 วัน พึงอาบน้ำได้หนหนึ่ง ถ้ายังไม่ถึง 15 วัน อาบน้ำ ต้องปาจิตตีย์. เว้นไว้แต่สมัยจําเป็น คือ เวลาร้อน เวลากระวนกระวาย เวลาอาพาธ เวลาทํางานการ เวลาฝนตก เวลาเดินทาง ไม่เป็นอาบัติ. (ฝ่ายบาลีเป็นข้อที่ 57 )

57. ภิกขุไม่เป็นไข้ ติดไฟให้เป็นเปลวงเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นติดก็ดี เพื่อจะผิง ต้องปาจิตตีย์. เว้นไว้แต่ติดเพื่อเหตุอื่นไม่เป็นอาบัติ. ( ฝ่ายบาลีเป็นข้อที่ 56 )

58. ภิกขุซ่อนเองหรือ ใช้ผู้อื่นซ่อน ซึ่งบริขาร คือ บาตร. จีวร ผ้าปูนั่ง กล่องเข็ม ประคตเอว สิ่งใดสิ่งหนึ่งของภิกขุอื่นด้วยคิดว่าล้อเล่น ต้องปาจิตตีย์. ( ฝ่ายบาลีเป็นข้อที่ 60 )

59. ภิกขุวิกัปจีวรเอง แก่ภิกขุก็ดี แก่ภิกขุณีก็ดี แก่นางสิกขมานาก็ดี แก่สามเณรก็ดี แก่สามเณรีก็ดี ไม่ให้ผู้รับถอนก่อน แล้วใช้สอยจีวรนั้น ต้องปาจิตตีย์.

60. ภิกขุได้จีวรใหม่มา ต้องพินทุด้วยสี 3 อย่าง คือ เขียวคราม โคลน ดําคล้ำ อย่างใดอย่างหนึ่งจึงจะนุ่งได้ ถ้าไม่ทําพินทุก่อนแล้วนุ่งห่มต้องปาจิตตีย์. ( ฝ่ายบาลีเป็นข้อที่ 58 )

61. ภิกขุแกล้งฆ่าสัตว์เดียรัจฉาน ต้องปาจิตตีย์.

62. ภิกขุรู้อยู่ว่าน้ำมีตัวสัตว์ บริโภคน้ำนั้น ต้องปาจิตตีย์.

63. ภิกขุรู้อยู่ว่าอธิกรณ์นี้ สงฆ์ทําแล้วโดยชอบ ไม่พอใจพื้นขึ้นทําใหม่ ต้องปาจิตตีย์.

64. ภิกขุรู้อยู่ว่าภิกขุอื่นต้องอาบัติชั่วหยาบแกล้งปกปิดเสีย ต้องปาจิตตีย์.

65. ภิกขุรู้อยู่ เป็นอุปัชฌายะอุปสมบท กุลบุตร ผู้มีอายุหย่อนกว่า20 ปี ต้องปาจิตตีย์.

66. ภิกขุได้ทําสังฆกรรม ตามธรรมวินัยแล้ว ภายหลัง กลับติเตียนสงฆ์ ผู้ทําสังฆกรรมให้ ต้องปาจิตตีย์.

67. ภิกขุรู้อยู่ว่าเขาเป็นผู้ร้าย ชวนเดินทางไปด้วยกัน สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ต้องปาจิตตีย์.

68. ภิกขุกล่าวคัดค้านธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า ภิกขุอื่นห้ามถึง 3 ครั้งไม่เชื่อฟัง สงฆ์สวดประกาศข้อความนั้นจบ ต้องปาจิตตีย์.

69. ภิกขุคบภิกขุผู้กล่าวคัดค้านธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า ไปร่วมกินร่วมอุโบสถสังฆกรรม ร่วมนอนด้วย ต้องปาจิตตีย์.

70. ภิกขุเกลี้ยกล่อมสามเณรที่ภิกขุอื่นให้ฉิบหายแล้ว เพราะ โทษที่กล่าวคัดค้านธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า ให้เป็นผู้อุปัฎฐากก็ดี ร่วมกินก็ดี ร่วมนอนก็ดี ต้องปาจิตตีย์.

71. ภิกขุประพฤติอนาจาร ภิกขุอื่นตักเตือน พูดผัดเพี้ยนว่ายังไม่ได้ศึกษาในสิกขาบทนี้ ต้องปาจิตตีย์. คือ ธรรมดาภิกขุผู้ศึกษา ยังไม่รู้สิ่งใดก็ควรจะรู้สิ่งนั้น ควรไต่ถามไล่เลียงท่านผู้รู้

72. ภิกขุอื่นท่องปาฎิโมกข์อยู่ แกล้งพูดให้เธอคลายอุตสาหะ ต้องปาจิตตีย์.

73. ภิกขุต้องอาบัติแล้ว เมื่อสงฆ์สวดปาฎิโมกข์อยู่ แกล้งพูดว่า ตนเพิ่งรู้เดี๋ยวนี้ว่า ข้อนี้มาในปาฎิโมกข์ ถ้าภิกขุอื่นรู้อยู่ว่า เธอเคยรู้มาก่อนแล้วแต่แกล้งพูดกันเขาว่าพึงสวดประกาศความข้อนั้น เมื่อสงฆ์สวดประกาศแล้วแกล้งทําไม่รู้อีก ต้องปาจิตตีย์.

74. ภิกขุให้ฉันทะ คือ ยอมให้ทําสังฆกรรม ที่เป็นธรรมแล้ว ภายหลังกลับติเตียนสงฆ์ผู้ทําสังฆกรรมให้นั้น ต้องปาจิตตีย์.

75. ภิกขุในเมื่อสงฆ์กําลังประชุมกันตัดสินข้อความอยู่ ลุกหลีกไปในขณะที่ตัดสินความข้อนั้นยังไม่เสร็จ ไม่ให้ฉันทะก่อนลุกไปเสีย ต้องปาจิตตีย์. ( ฝ่ายบาลีเป็นข้อที่ 80 )

76. ภิกขุแกล้งก่อความรําคาญ ให้เกิดแก่ภิกขุอื่น ต้องปาจิตตีย์.

77. ภิกขุในเมื่อภิกขุอื่นวิวาทกันอยู่ แอบไปฟังความว่า เขาว่าอะไรกัน แล้วเก็บเอาความนั้นไปบอกกับอีกฝ่ายหนึ่ง ต้องปาจิตตีย์.

78. ภิกขุโกรธ ทุบตีภิกขุอื่น ต้องปาจิตตีย์. ( ฝ่ายบาลีเป็นข้อที่ 74 )

79. ภิกขุโกรธ เงื้อมือดุจตีภิกขุอื่น ต้องปาจิตตีย์ ( ฝ่ายบาลีเป็นข้อที่ 75 )

80. ภิกขุโกรธ ฟ้องภิกขุอื่นด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล ต้องปาจิตตีย์. ( ฝ่ายบาลีเป็นข้อที่ 76 )

81. ภิกขุไม่ได้รับอนุญาต เดินล่วงประตูห้อง ที่พระเจ้าแผ่นดินประทับอยู่กับพระมเหสี ต้องปาจิตตีย์. ( ฝ่ายบาลีเป็นข้อที่ 83 )

82. ภิกขุเห็นเครื่องบริโภคของคฤหัสถ์ตกอยู่ ถือเอาเป็นของเก็บได้ก็ดี ให้ผู้อื่นเอาก็ดี ต้องปาจิตตีย์. ถ้าหากของตกอยู่ในวัดหรือ ในที่ตนอาศัย ต้องเก็บไว้ให้แก่เจ้าของที่ตนรู้จัก. ( ฝ่ายบาลีเป็นข้อที่ 84 )

83. ภิกขุไม่บอกลาภิกขุอื่นที่อยู่ในวัดก่อน เข้าไปในบ้านเวลาวิกาล ต้องปาจิตตีย์.

84. ภิกขุทําเตียงหรือ ตั่ง พึงทําให้มีเท่าเพียง 8 นิ้ว พระสุคต เว้นไว้แต่แม้แคร่ ถ้าทําให้เกินกําหนดนี้ ต้องปาจิตตีย์. ต้องตัดให้ได้ประมาณเสียก่อนจึงแสดงอาบัติตก ( ฝ่ายบาลีเป็นข้อที่ 87 )

85. ภิกขุทําเตียงหรือตั่งหุ้มนุ่น ต้องปาจิตตีย์. ต้องรื้อเสียก่อนจึงแสดงอาบัติตก. (ฝ่ายบาลีเป็นข้อที่  88 )

86. ภิกขุทํากล่องเข็ม ด้วยกระดูกก็ดี ด้วยงาก็ดี ด้วยเขาก็ดี ต้องปาจิตตีย์. ต้องต่อยกล่องนั้นให้แตกเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก.

87. ภิกขุทําผ้าปูนั่ง ( นิสิทนะ ) พึงทําให้ได้ประมาณ คือ ยาว 2 คืบพระสุคต กว้างคืบครึ่ง ชายคืบหนึ่ง ถ้าทําเกินกําหนด ต้องปาจิตตีย์. ( ฝ่ายบาลีเป็นข้อที่ 90 )

88. ภิกขุทําผ้านุ่งปิดแผล พึงทําให้ได้ประมาณ ประมาณนั้นยาว 4 คืบ พระสุคต กว้าง 2 คืบครึ่ง ถ้าทําเกินกําหนดนี้ ต้องปาจิตตีย์. ต้องตัดให้ได้ประมาณเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก. ( ฝ่ายบาลีเป็นข้อที  90 )

89. ภิกขุทําผ้าอาบน้ำฝน พึงทําให้ได้ประมาณ ประมาณนั้นยาว 6 คืบ พระสุคต กว้าง 2 คืบครึ่ง ถ้าทําเกินกําหนดนี้ ต้องปาจิตตีย์. ต้องตัดให้ได้ประมาณเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก. (ฝ่ายบาลีเป็นข้อที  91 )

90. ภิกขุทําจีวรให้เท่าจีวรพระสุคตก็ดี เกินกว่าก็ดี ต้องปาจิตตีย์. ประมาณจีวรพระสุคตนั้น คือ ยาว 9 คืบพระสุคต กว้าง 6 คืบ ต้องตัดให้ได้ประมาณเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก. ( ฝ่ายบาลีเป็นข้อที่ 92 )

 ปาจิตตีย์ 90 ข้อนี้ ผู้ต้องอาบัติจะต้องขอกษมากรรมต่อภิกขุสงฆ์ด้วยกันแสดงอาบัติจึงจะพ้นอาบัติเป็นผู้บริสุทธิ์

หมายเหตุ ในปาจิตตีย์นี้ ทางทักษัณนิกาย   มี 92   ทางอุตตรนิกาย   มี 90น้อยกว่า     2

 1. ภิกขุพร้อมใจด้วยสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ให้จีวรแก่ภิกขุแล้วบ่นว่าภิกขุทั้งหลายน้อมลาภของสงฆ์ไปตามชอบใจ ต้องปาจิตตีย์. ( ฝ่ายบาลีข้อที่ 81 )

 2. ภิกขุรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาจะถวายสงฆ์มาเพื่อบุคคลต้องปาจิตตีย์. ( ฝ่ายบาลีข้อที่ 82 )

 สิกขาบทที่น้อยกว่า2 ข้อนี้ ทางอุตตรนิกายว่า เป็นสิกขาบทห้ามน้อมลาภของสงฆ์ทั้ง 2 ข้อ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในหมวดนิสสัคคียปาจิตตีย์ ข้อที่ 30 อยู่แล้ว

 

ปาฏิเทสนียะ 4

1. ภิกขุไม่ป่วยไข้เข้าไปในหมูบ้าน รับของเคี้ยวของฉัน ต่อมือนางภิกขุณีที่ไม่ใช่ญาติด้วยมือของตนมาบริโภค ต้องปาฏิเทสนียะ.

2. ภิกขุในเมื่อทายกนิมนต์ไปฉันที่บ้าน ถ้ามีนางภิกขุณีมาสั่งทายกให้เอาของอย่างนั้นอย่างนี้ถวาย ต้องห้ามนางภิกขุณีให้ถอยออกไปเสียจากที่นั้นจนกว่าจะฉันเสร็จ ถ้าภิกขุไม่ห้ามไล่นางภิกขุณีให้ถอยไปเสีย ต้องปาฏิเทสนียะ.

3. ภิกขุไม่ป่วยไข้ในเมื่อตระกูลที่สงฆ์สมมุติว่าเป็นเสกขะ ( คือ ผู้ยังต้องศึกษาอยู่ ยังไม่สําเร็จพระอรหัตต์ผล ) เขาไม่ได้นิมนต์ รับของเคี้ยวของฉัน มาบริโภค ต้องปาฏิเทสนียะ.

4. ภิกขุไม่ป่วยไข้อยู่ในเสนาสนะป่าเป็นที่เปลี่ยว ในเมื่อทายกไม่ได้แจ้งความให้ทราบก่อน รับของเคี้ยวของฉันด้วยมือตนมาบริโภค ต้องปาฏิเทสนียะ.

 ปาฏิเทสนียะเป็นอาบัติที่ต้องขอกษมากรรมในสํานักแห่งสงฆ์ คือ ต้องแสดงขอขมากรรมต่อสงฆ์ก่อนจึงจะพ้นอาบัติ

 

เสขิยะ 100

1. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักนุ่งผ้าให้เรียบร้อย

2. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักห่มผ้าให้เรียบร้อย

3. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่เลิกผ้าไปในบ้าน

4. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่เลิกผ้านั่งในบ้าน

5. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่เอาผ้าพันคอไปในบ้าน

6.ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่เอาผ้าพันคอนั่งในบ้าน

7. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่เอาผ้าคลุมศีรษะไปในบ้าน

8. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่เอาผ้าคลุมศีรษะไปนั่งในบ้าน

9. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่เดินเขย่งเท้าไปในบ้าน

10. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่เขย่งเท้านั่งในบ้าน

11. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งรัดเข่าในบ้าน

12. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่เอามือค้ำกายไปในบ้าน

13. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่เอามือค้ำกายนั่งในบ้าน

14. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่เดินโคลงกายไปในบ้าน

15. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่โคลงกายนั่งในบ้าน

16. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่เดินไกวแขนไปในบ้าน

17. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขนนั่งในบ้าน

18. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักปิดกายด้วยดีไปในบ้าน

19. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักปิดกายด้วยดีนั่งในบ้าน

20. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่เดินแลซ้ายมองขวาไปในบ้าน

21. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักเราจักไม่นั่งแลซ้ายมองขวาในบ้าน

22. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักสํารวมกายใจให้สงบไปในบ้าน

23. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักสํารวมกายใจให้สงบนั่งในบ้าน

24. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่เดินหัวเราะไปในบ้าน

25.ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งหัวเราะในบ้าน

26. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตโดยเคารพ

27. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตแต่พอเสมอขอบปากบาตร.

28. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักรับแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก แต่พอเสมอขอบปากบาตร.

29. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักฉันแกงแต่พอสมควรแก่ข้าวสุก

30. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตโดยเคารพ

31. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่ขุดข้าวสุกให้แหว่งกลางบาตร.

32. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราไม่เจ็บไข้ จักไม่ขอแกง หรือ ข้าวสุกเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน

33. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่กลบแกงหรือ กับข้าวด้วยข้าวสุกเพราะอยากได้มาก

34. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่ดูบาตร.ของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ

35. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักแลดูแต่ในบาตร.เมื่อฉันบิณฑบาต

36. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่ทําคําข้าวให้ใหญ่นัก

37. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่อ้าปากไว้ท่าเมื่อคําข้าวยังไม่ถึงปาก

38. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่พูดเมื่อข้าวมีอยู่ในปาก

39. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่โยนคําข้าวเข้าปาก

40. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่เก็บของฉันที่ตกออกนอกบาตร.มาฉันอีก

41. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทํากระพุ้งแก้มให้ตุ.ย

42. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันข้าวมีเสียงดัง

43. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเอาปากสูดข้าว

44. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันแลบลิ้น

45. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง

46. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าวให้ตกลงในบาตร.หรือในที่นั้นๆ

47. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักเราจักไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ

48. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่เอาน้ำล้างบาตร.มีเมล็ดข้าวเทในบ้าน

49. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ บ้วนเขฬะลงในของเขียว

50. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราไม่เป็นไข้จักไม่ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ บ้วนเขฬะลงในน้ำ

51. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราไม่เป็นไข้จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ยืนถ่ายปัสสาวะ

52. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่แต่งตัวไม่เรียบร้อยนอบน้อม

53. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้มีผ้าพันคอ

54. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้มีผ้าคลุมศีรษะ

55. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้มีผ้าโพกพันศีรษะ

56. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้เอามือเท้าเอว หรือ ไขว้หลัง

57. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้สวมรองเท้า

58. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้สวมเขียงเท้า

59. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ไปในยาน

60. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่นอนค้างในโบสถ์ สถูป เจดีย์ เว้นไว้แต่ผู้เฝ้ารักษา

61. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่นําของไปไว้ในโบสถ์ สถูป เจดีย์ เว้นไว้แต่ของที่เพิ่มความถาวร

62. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่สวมรองเท้า รองเท้าแตะ เข้าไปในโบสถ์ สถูป เจดีย์

63. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่ถือรองเท้า รองเท้าแตะ เข้าไปในโบสถ์ สถูป เจดีย์

64. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่สวมรองเท้า รองเท้าแตะ เดินประทักษิณารอบโบสถ์ สถูป เจดีย์

65. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่สวมรองเท้าชนิดหุ้มส้นสูงมาถึงแข้งเข้าไปในโบสถ์ สถูป เจดีย์

66. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่ถือรองเท้าชนิดหุ้มส้นสูงมาถึงแข้งเข้าไปในโบสถ์ สถูป เจดีย์

67. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งฉันที่แท่นโบสถ์ สถูป เจดีย์ และทิ้งใบไม้ห่อของฉันให้เปรอะเปื้อน

68. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่หามซากศพผ่านใกล้เฉียดโบสถ์ สถูป เจดีย์

69. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่ฝังซากศพใต้ โบสถ์ สถูป เจดีย์

70. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่เผาซากศพใกล้ชิด โบสถ์ สถูป เจดีย์

71. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่เผาซากศพตรงหน้าโบสถ์ สถูป เจดีย์

72. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่เผาซากศพที่ริมรอบ 4 ด้าน ระเบียงโบสถ์ สถูป เจดีย์ ให้เกิดกลิ่นเหม็น

73. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่นําเสื้อผ้าเตียงของผู้ตายผ่านหน้าโบสถ์ สถูป เจดีย์

74. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะใต้โบสถ์ สถูป เจดีย์

75. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะหน้าโบสถ์ สถูป เจดีย์

76. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะตามระเบียงรอบ 4 ด้านโบสถ์ สถูป เจดีย์

77. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่นําพระพุทธรูปติดตัวไปในที่ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ

78. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่สีฟันบ้วนน้ำล้างปากใต้โบสถ์ สถูป เจดีย์

79. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่สีฟันล้างปากใกล้หน้าโบส     สถูป เจดีย์

80. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่สีฟันล้างปากรอบระเบียง 4 ด้านโบสถ์ สถูป เจดีย์

81. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่บ้วนเขฬะลงใต้โบสถ์ สถูป เจดีย์

82. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่บ้วนเขฬะลงที่ใกล้หน้าโบสถ์ สถูป เจดีย์

83. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่บ้วนเขฬะลงที่รอบระเบียง 4 ด้าน โบสถ์ สถูป เจดีย์

84. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งยื่นเท้าตรงไปยังหน้าโบสถ์ สถูป เจดีย์

85. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่ตั้งพระพุทธรูปบูชาไว้ชั้นล่าง ซึ่งตนอยู่ชั้นบน

86. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เรายืนอยู่จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่

87. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เรานั่งอยู่จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ซึ่งนอนอยู่

88. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เรานั่งอยู่บนพื้นดิน จําไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ซึ่งนั่งบนอาสนะ

89. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เรานั่งบนอาสนะต่ำจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้นั่งบนอาสนะสูง

90. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราเดินไปข้างหลัง จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้เดินไปข้างหน้า

91. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราเดินอยู่ในทางที่ต่ำ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้เดินอยู่ในทางที่สูงกว่า

92. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราเดินไปนอกทาง จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้เดินไปในทาง

93. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่ยึดมือกันเดิน

94. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่ขึ้นต้นไม้สูงเว้นไว้แต่สมัยจําเป็น

95. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่เอาสายตลกบาตร.ผูกแขวนบ่าตอนเดิน

96. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีไม้พลองในมือ

97. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีดาบในมือ

98. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีหลาวในมือ

99. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีมีดในมือ

100. ภิกขุพึงทําความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีร่มในมือ

 

100 เสขิยะ เป็นอาบัติที่จะต้องกล่าวขอโทษแสดงอาบัติที่ต้องต่อสงฆ์ด้วยกันจึงจะพ้นอาบัติ

หมายเหตุ

 1. ในเสขิยะนี้ ทางอุตตรนิกาย  มี  100  ทางทักษิณนิกาย  มี    75  มากกว่า   25

อันล้วนเป็นสิกขาบทเกี่ยวกับการเคารพโบสถ์ สถูป และ เจดีย์ ตั้งแต่ข้อ 60 ถึง 85 ซึ่งทางทักษิณนิกายมีเหมือนกันแต่อยู่นอกพระปาฎิโมกข์.

2. เมื่อนําเอาเสขิยะ    เกิน    25  ลบกับสิกขาบทปาจิตตีย์ ขาด2   คงเกินเพียง    23

ซึ่งล้วนเป็นสิกขาบทเกี่ยวกับการกระทําความเคารพต่อพระอุโบสถ พระสถูป และพระเจดีย์ ทั้งสิ้น จึงนับว่าไม่มีอะไรที่น่าสนใจในความต่างกัน

 

อธิกรณ์สมถะ 7

หากภิกขุโต้เถียงกันในเรื่องวินัย ให้เอาธรรมเป็นเครื่องระงับ เรียกว่าอธิกรณ์สมถะมี 7 อย่าง คือ

1. ความระงับอธิกรณ์ที่มีขึ้น โดยประชุมสงฆ์ให้สมมุติ เพื่อมิให้มีการกล่าวขวัญด้วยคดีเรื่องนั้นๆ อีก สอดคล้องกับวินัย

2. ความระงับอธิกรณ์ที่สงฆ์ได้ให้สมมุติแก่ภิกขุผู้พ้นอาบัติ เพื่อมิให้มีการกล่าวขวัญด้วยอาบัติของเธอ ที่สงฆ์ได้ให้สมมุติพ้น   

   อาบัติแล้วสอดคล้องกับวินัย

3. ความระงับอธิกรณ์ที่สงฆ์ได้ให้สมมุติแก่ภิกขุผู้หายบ้า เพื่อมิให้มีการกล่าวขวัญด้วยอาบัติของเธอ ที่ทําในเวลาเป็นบ้าสอดคล้องกับวินัย

4. ความระงับด้วยความปรับอาบัติ ตายปฏิญญาของภิกขุผู้รับเป็นสัตย์

5. ความระงับด้วยความลงโทษ แก่ผู้ผิด

6. ความระงับด้วยความตัดสินเอาตามคําของคนมาก เป็นประมาณ

7. ความระงับด้วยความประนีประนอม ไม่ต้องชําระความโดยไม่ติดใจในความเดิม  

หมายเหตุ 

  ข้อพระปาฏิโมกข์ฝ่ายอุตตรนิกาย มีมากกว่าฝ่ายทักษิณนิกาย อยู่ 23 ข้อนั้น ได้อธิบายไว้ใน หมายเหตุหน้า 20 และหน้า 30 แล้ว

 สิกขาบทที่มีมาในพระปาฏิโมกข์จบเพียงเท่านี้

 

- ภาคสอง - สิกขาบทพระโพธิสัตว์

- ภาคสอง -

สิกขาบทพระโพธิสัตว์

 ทางอุตตรนิกาย ถือปฏิบัติในหลักทฤษฏี “โพธิสัตตมัคค์” โดยกําหนดมาตรฐานจากสมัย สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเริ่มทรงผนวช (ก่อนทรงตรัสรู้ ) เรียกพระองค์ว่า “พระศากยโพธิสัตว์เจ้า” ขึ้นต้น

 ในสมัยนั้น พระศากยโพธิสัตว์เจ้าได้ทรงถือปฏิบัติในสิกขาบท มังสะวิรัติเรียกว่าตบะศีลวัตต ( ศีลย่างกิเลสมีปรากฏในพระมหาสีหนาทสูตร ) ซึ่งทางอุตตรนิกายสงเคราะห์เรียกชื่อเป็น “สิกขาบทพระโพธิสัตว์”

 ฉะนั้น ทางอุตตรนิกายถึงให้บรรพชิดในนิกายนี้ ถือปฏิบัติใน สิกขาบทพระโพธิสัตว์ เพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่ง ปฏิบัติพร้อมกันกับสิกขาบทที่มีมาในพระปาฏิโมกข์ ดังกล่าวแล้ว

 สิกขาบทพระโพธิสัตว์ จําแนกออกดังนี้

1. ครุกาบัติ   มี  10

2. ลหุกาบัติ   มี  48

    รวม  58

 

10 สถานโทษหนัก

1. ผ่าชีวิตมนุษย์ให้ตายด้วยมือตนเอง ใช้ผู้อื่นกระทําหรือเป็นใจสมรู้ตลอดจนฆ่าชีวิตสัตว์เล็กใหญ่ให้ตาย ต้องสถานโทษหนัก

2. ผู้ถือเอาของผู้อื่น มีราคา 5 มาสก ตลอดจนลักเอาของไม่มีค่าที่เจ้าของไม่อนุญาต ด้วยตนเองหรือใช้ผู้อื่นกระทํา ต้องสถาน 

   โทษหนัก

3. ผู้เสพเมถุน นํานิมิตต์ล่วงเข้าไปในทวารหนัก ทวารเบา หรือทางปากของผู้หญิงหรือผู้ชาย ตลอดจนสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย ไม่

   ว่าน้ำอสุจิจะเคลื่อนหรือไม่ ด้วยตนเองหรือใช้ผู้อื่นกระทํา ต้องสถานโทษหนัก

4. ผู้อุตตริมนุษย์ธรรม อวดรู้ฌานรู้มรรคผลที่ไม่มีในตน ตลอดจนพูดมุสาวาทที่ไม่ใช่ความจริง กระทําด้วยตนเองหรือใช้ผู้อื่น

   กระทําต้องสถานโทษหนัก

5. ผู้ผลิตสุราเมรัยน้ำเมา ตลอดจนยาดองสุราที่ไม่ใช่รักษาโรคโดยตรง กระทําหรือผลิตเองหรือใช้คนอื่นกระทําหรือผลิต ต้อง

   สถานโทษหนัก

6. ผู้กล่าวร้ายบริษัทสี่ ใส่ไค้ลอาบัติชั่ว ภิกขุ ภิกขุณี อุบาสก บุบาสิกา ตลอดจน ศึกษามานะ สามเณร และสามเณรี โดยไม่มีมูล

   ด้วยตนเองหรือใช้ผู้อื่นกระทํา ต้องสถานโทษหนัก

7. ผู้ยกตนข่มท่าน ติเตียนนินทาภิกขุอื่น ยกย่องตนเองเพื่อลาภ ด้วยตนเองหรือใช้ผู้อื่นกระทํา ต้องสถานโทษหนัก

8. ผู้ตระหนี่เหนี่ยวแน่น ไม่มีมุทิตาจิตต์ ตลอดจนไม่เอื้อเฟื้อต่อผู้ยากจนขอทานกลับขับไล่ใสส่ง กระทําด้วยตนเองหรือใช้ผู้อื่น

   กระทําต้องสถานโทษหนัก

9. ผู้มุทะลุฉุนเฉียว ตลอดจนก่อนการวิวาท ใช้มีด ใช้ไม่ ใช้มือทุบตีภิกขุอื่น กระทําด้วยตนเองหรือใช้ผู้อื่นกระทํา ต้องสถาน

   โทษหนัก

10. ผู้ประทุษร้ายต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ กระทําด้วยตนเองหรือ ใช้ผู้อื่นกระทํา ต้องสถานโทษหนัก

หมายเหตุ

  อาบัติโทษสถานหนัก 10 ข้อ ข้างบนนี้ได้แยกไว้เป็น 3 ประเภท เจตนา บังเอิญ หรือ สุดวิสัย คือ 

 1. อุดมอาบัติ

 2. มัธยมอาบัติ

 3. ปฐมอาบัติ 

ผู้ต้องชั้นอุดมอาบัติขาดจากการเป็นโพธิสัตว์ ต้องในกรณีย์หลัง ให้อยู่กรรมมานัตต์ทรมานตนจึงจะพ้นอาบัติเป็นผู้บริสุทธิ์

48 สถานโทษเบา

1. ผู้ไม่เคารพ ผู้มีอาวุโส ชั้นอาจารย์ของตน

2. ผู้ดื่ม สุรา เมรัย

3. ผู้บริโภค โภชนาหารปลาและเนื้อ

4. ผู้บริโภค ผักมีกลิ่นแรงฉุน ให้โทษเกิด ราคะ 5 ชนิด คือ 1. หอม 2. กระเทียม 3. กุไฉ. 4. หลักเกิ๋ย ( กระเทียมเล็ก ) 5. เฮงกื๋อ ( ไม่มีในประเทศไทย )

5. ผู้ไม่ตักเตือน ผู้ต้องอาบัติให้แสดงอาบัติ

6. ผู้ไม่บริจาค สังฆทานแก่ธรรมกถึก

7. ผู้ไม่ไปฟัง การสอนธรรม

8. ผู้คัดค้าน พระพุทธศาสนาในมหายานนิกาย

9. ผู้ไม่ช่วยเหลือ คนป่วย

10. ผู้เก็บอาวุธ สาหรับฆ่ามนุษย์หรือสัตว์ไว้ในครอบครอง

11. ผู้เป็นทูต สื่อสารในทางการเมือง

12. ผู้ค้า มนุษย์ไปเป็นทาส ขายสัตว์ไปให้เขาฆ่าหรือใช้งาน

13. ผู้พูด นินทาใส่ร้ายผู้อื่น

14. ผู้วางเพลิง เผาป่า

15. ผู้พูด บิดเบือนข้อความพระธรรมให้เสื่อมเสีย

16. ผู้พูด อุบายเพื่อประโยชน์ตน

17. ผู้ประพฤติ ข่มขู่บังคับเขาให้ทานวัตถุ

18. ผู้อวดอ้างตน เป็นอาจารย์เมื่อตนยังเขลาอยู่

19. ผู้พูด กลับกลอกสองลิ้น

20. ผู้ไม่ช่วยสัตว์ เมื่อเห็นสัตว์นั้นตกอยู่ในภยันตราย

21. ผู้ผูกพยาบาทคาดแค้น

22. ผู้ทะนงตัว ไม่ขวนขวายศึกษาธรรม

23. ผู้เย่อหยิ่ง กะด้างก้าวร้าว

24. ผู้ไม่ศึกษา พระธรรม

25. ผู้ไม่ระงับ การวิวาทเมื่อสามารถสงบได้

26. ผู้ละโมบ เห็นแก่ตัว

27. ผู้น้อมลาภ ที่เขาถวายสงฆ์อื่นมาเพื่อตน

28. ผู้น้อมลาภ ที่เขาจะถวายสงฆ์ไปตามชอบใจ

29. ผู้ทําเสน่ห่ยาแฝดฤทธิ์เวท ให้คนคลั่งไค้ล

30. ผู้ชักสื่อ ให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน

31. ผู้ไม่ช่วยเหลือ ถ่ายค.าตัวคนให้พ้นจากเป็นทาสเมื่อสามารถ

32. ผู้ซื้อขาย อาวุธสําหรับฆ่ามนุษย์และสัตว์

33. ผู้ไปดู กระบวนทัพ มหรสพ และฟังขับร้อง

34. ผู้ไม่มีขันติ อดทนสมาทานต่อศีล

35. ผู้ปราศจากกตัญญูต่อบิดา มารดา อุปัชฌายาจารย์

36. ผู้ปราศจากสัจจ์ ต่อคําปฏิญานจะตั้งอยู่ในพรหมจรรย์

37. ผู้ปฏิบัติ ธุดงควัตร.ในถิ่นที่มีภยันตราย

38. ผู้ไม่มีคารวะ ไม่รู้จักต่ำสูง

39. ผู้ไม่มีกุศลจิตต์ ไม่สร้างบุญ สร้างกุศล ทําทาน

40. ผู้มีฉันทาคติ ลําเอียงการให้บรรพชาและอุปสมบท

41. ผู้เป็นอาจารย์ สอนด้วยการเห็นแก่ลาภ

42. ผู้กระทํา สังฆกรรมแก่ผู้มีมิจฉามรรยา

43. ผู้เจตนา ฝ.าฝันวินัย

44. ผู้ไม่เคารพ สมุดพระธรรมคัมภีร์

45. ผู้ไม่สงเคราะห์ โปรดเวไนย.สัตว์

46. ผู้ยืนหรือนั่งที่ต่ำ แสดงธรรม

47. ผู้ยอมจํานน ต่ออํานาจธรรมโรธี ( อํานาจที่ผิดธรรม )

48. ผู้ล่วงละเมิด ธรรมคําสั่งสอนในพระพุทธศาสนา

หมายเหตุ

1. การแสดงอาบัติเพื่อเป็นผู้บริสุทธิ์ ได้แบ่งไว้เป็น 3 คั่น คือ

 1. ต้องชั้นอุดม ต้องแสดงอาบัติต่อคณะสงฆ์

 2. ต้องชั้นมัธยม ต้องแสดงอาบัติต่อสงฆ์จํานวนสามรูป

 3. ต้องชั้นปฐม ต้องแสดงอาบัติต่อสงฆ์เพียงหนึ่งรูป

2. สามเณร ต้องปฏิบัติพระโพธิสัตว์ศีลเช่นเดียวกันกับภิกขุ

3. ส่วนฆราวาสนั้น มีความสําคัญเฉพาะข้อ 3 อันเป็นสิกขามังสะวิรัติเท่านั้น เพราะได้รับปฏิบัติในศีล 8 หรือ ศีล 5 อยู่แล้ว

จบสิกขาบทพระโพธิสัตว์ 58 ศีล

 

-ภาคสาม - สิกขาบทสามเณร

-ภาคสาม -

สิกขาบทสามเณร

 สิกขาบทสามเณรมี 10 คือ

1. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากการฆ่าสัตว์

2. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากการลักขโมย

3. อพรหมจริยา เวรมณี เว้นจากกรรมมิใช่พรหมจรรย์ คือ เมถุนกรรม

4. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากการพูดเท็จ

5. สุราเมรยมัชชปมาทัฎฐานา เวรมณี เว้นจากการดื่มสุรา เมรัย น้ำเมา อันเป็นเหตุแห่งความประมาท

6. มาลาคันธวิเลปนธารณมัณฑนวิภูสนัฎฐานา เวรมณี เว้นจากการทัดดอกไม่ ทาเครื่องหอม อันเป็นฐานแต่งตัว

7. นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนา เวรมณี เว้นจากการกระทําฟ้อนรํา ขับร้อง และฟังหรือดูการบันเทิง อันเป็นข้าศึกต่อทางกุศล

8. อุจจาสยนมหาสยนา  เวรมณี เว้นจากการนอนบนที่นอนสูง ที่นอนใหญ่

9. วิกาลโภชนา เวรมณี เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล

10. ชาตรูปรชตปฏิคัคหณา เวรมณี เว้นจากการรับทองเงิน

หมายเหตุ

  ในอุตตรนิกาย บรรดาสามเณรเมื่อได้บรรพชาแล้วพึงปฏิบัติในสิกขาบท 10 ประการข้างต้น และนอกจากสิกขาบท 10 ข้อนี้แล้ว ยังต้องปฏิบัติในสิกขาบท พระโพธิสัตว์ 58 ศีล อีกด้วย

 

-ภาคที่ สี่- อุโบสถศีล

 

-ภาคที่ สี่-

อุโบสถศีล

1. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากการฆ่าสัตว์

2. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากการลักขโมย

3. อพรหมจริยา เวรมณี เว้นจากกรรมมิใช่พรหมจรรย์ คือ เมถุนกรรม

4. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากการพูดเท็จ

5. สุราเมรยมัชชปมาทัฎฐานา เวรมณี เว้นจากการดื่มสุรา เมรัย น้ำเมา อันเป็นเหตุแห่งความประมาท

6. มาลาคันธวิเลปนธารณมัณฑนวิภูสนัฎฐานา เวรมณี เว้นจากการทัดดอกไม่ ทาเครื่องหอม อันเป็นฐานแต่งตัว

7. อุจจาสยนมหาสยนา นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนา เวรมณี เว้นจากการนอนบนที่นอนสูง ที่นอนใหญ่ และเว้นจากการกระทําฟ.อนรํา ขับร้อง และฟังหรือดูการบันเทิง อันเป็นข้าศึกต่อทางกุศล

8. วิกาลโภชนา เวรมณี เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล

 

ดาวน์โหลดตัวอักษร (ฟ้อนต์) ทิเบตทั้ง ๓ แบบ เพื่อความสมบูรณ์ในการชมเว็บ

actisan.ttf

adtibet.ttf

atibet.ttf


uptime alert service

website monitor

View My Stats