พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร พุทธบริษัทจีนพิเนตุ วิเทศธรรมประสาท นวกิจพิลาสประยุกต์  ทำนุกจีนประชาวิสิฐ  เจ้าคณะใหญ่สงฆ์จีนนิกาย

 

โยมพ่อ โยมแม่ ของท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้ง 

พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร ฯโพธิ์แจ้งมหาเถระ อดีตเจ้าคณะใหญ่ สงฆ์จีนนิกาย รูปที่6 ประธานคณะกรรมการสงฆ์จีนนิกายรูปที่1 เจ้าอาวาสผู้สถาปนาวัดโพธิ์แมนคุณาราม เจ้าอาวาสผู้สถาปนาวัดโพธิ์เย็น กาญจนบุรี เจ้าอาวาสผู้สถาปนาวัดโพธิทัตตาราม ศรีราชา ชลบุรี ก่อนมรณภาพ เมื่อ วันที่ 25 เดือน กันยายน พ.ศ.2529 ท่านดำรงสมณะ ศักดิ์พระราชาคณะชั้นสัญญาบัตร(ชั้นธรรมพิเศษ) ฝ่ายวิปัสสนา ในราชทินนามพระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร พุทธบริษัทจีนพิเนตุ วิเทศธรรมประสาท นวกิจพิลาสประยุกต์ ทำนุกจีนประชาวิสิฐ 

 

- ท่านเจ้าคุณอาจารย์โพธิ์แจ้ง สถานะเดิมชื่อธง สกุลอึ้ง ท่านกำเนิดเมื่อ วันที่ 16 เดือน 6 จีน ปืนขาล พ.ศ.2444 จังหวัดแต้จิ๋ว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน บิดาเป็น ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ มารดาจางไทฮูหยินเกิดในตระกูลเตียท่านสืบเชื้อสายขุนนาง ทั้งฝ่ายบิดาและ มารดาซึ่งเป็นอุบาสก อุบาสิกา เลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนา 

 

- ท่านเจ้าคุณอาจารย์ กำพร้าบิดามาแต่เยาว์วัย จางไทฮูหยินมารดา ได้ อบรมบุตรให้ประพฤติในธัมมานุธรรมปฏิบัติท่านได้รับการศึกษาตามแบบจีนเก่าจบชั้นมัธยมบริบูรณ์ในประเทศจีนสมัยนั้น เมื่อย่างเข้าสู่วัยหนุ่มได้เข้ารับราชการทหารอยู่ระยะหนึ่ง ท่านได้เป็นนายทหารคนสนิทของประธานาธิบดีเจียงไคเช็ค และในขณะนั้น ท่านได้สติเกิดเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาสวิสัย จึงตั้งปณิธานน้อมจิตเข้าสู่พุทธธรรม การตัดสินใจในครั้งนั้นเป็นผลดีต่อพุทธศาสนาและคณะสงฆ์จีนนิกายในประเทศไทย อย่างมหาศาล สาธุชนทั้งในประเทศและต่างประเทศมากมายได้รับการชักนำจากท่านเข้าสู่พุทธธรรม พระพุทธศาสนา ฝ่ายมหายานได้ตั้งมั่น สืบต่อ ยั่งยืนในภูมิภาคนี้ 

 

- ในปี 2470 ขณะนั้นท่านเจ้าคุณอาจารย์ อายุย่างเข้า 26 ปีได้เดินทาง เข้ามาในประเทศไทย เพื่อศึกษาหลักธรรมและสักการะปูชนียะสถานต่างๆ ตามที่ท่านได้รับฟังมาก่อน พร้อมกับได้สืบเสาะหาพระอาจารย์ที่มีบารมี ความรู้ เมื่อพบจึงได้ถวายตัวเป็นศิษย์ ขอบรรพชาในสำนักพระอาจารย์ หล่งง้วน เป็นอุปัชฌาย์และบรรพชา เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2471 ณ.สำนักสงฆ์ถ้ำประทุน(เช็งจุ้ยยี่) พระพุทธบาท สระบุรี ท่านอาจารย์หล่งง้วนได้ บรรพชาให้และให้ฉายา ท่านว่า “โพธิ์แจ้ง” หลังจากบรรพชาแล้วท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้มุ่งหน้าศึกษาบำเพ็ญเพียรปฏิบัติกรรมฐานอย่างมุ่งมั่น บริเวณวัดถ้ำประทุนในขณะนั้นยังห่างไกลความเจริญ การสัญจรไม่สะดวก คนไปมาหาสู่น้อยเต็มไปด้วยสัตว์ร้าย และโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้มุ่งมั่นปฏิบัติพร้อม กับการสังคมสงเคราะห์ ด้วยท่านได้เคยเรียนรู้เรื่องตำรับยามาบ้าง เมื่อชาวบ้านเจ็บไข้ได้ท่านก็เป็นธุระรักษาพยาบาลให้บาง รายอาการหนักถึงแก่กรรมท่านก็ช่วยประกอบกิจการศพให้ ท่านยังได้ทำการพัฒนาสภาพแวดล้อมต่างๆตามโอกาส เช่น ท่านได้สกัดหินภูเขาเพื่อสร้างทางเดินให้ชาวบ้าน เป็นต้น ด้วยความยากลำบากความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อสังคม ความมุ่งมั่นใน การบำเพ็ญเพียร จนครั้งหนึ่งท่านได้เกิดโรคไข้จับสั่น ทุกข์เวทนามากแต่ท่านก็ไม่ย่อท้อ เมื่อหนาวสั่นก็ออกไปทุบหินจนร่างกายที่หนาวกลับกลายเป็นร้อน เมื่อร้อนเหงื่อโชกก็พักหายเหนื่อยก็ไปสรงน้ำ ทำเช่นนี้ตลอดชั่วระยะเวลาไม่กี่วัน ท่านก็สามารถเอาชนะโรคร้ายนั้นได้

 

 - ในสมัยนั้นพระสงฆ์จีนไม่เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนชาวไทย และชาวจีนมากนัก ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้พิจารณาเหตุแห่งสภาพนั้น พร้อมทั้งตั้งสัจจะ ปณิธานที่จะปรับปรุงคณะสงฆ์จีนใหม่ เพื่อนำความเลื่อมใสศรัทธา รุ่งโรจน์ ให้บังเกิดขึ้นในภายภาคหน้า ง่ายในการตั้งปณิธานแต่ยากในการปฏิบัติ ด้วยว่าตนเองจะต้อง ประกอบด้วย ขันติ วิริยะ ปัญญา บารมี และคุณธรรม ด้วยปณิธานในครั้งนั้น ทำให้ท่านต้องรับความยากลำบากอย่างมาก ถึงขั้นมีผู้หมายปองชีวิต ดังเหตุการณ์ร้ายแรงเหตุการณ์หนึ่ง หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย ปีที่ 16 ฉบับที่ 5025 วันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2505 ได้ลงข่าว พาดหัวว่า วางระเบิดสังหารสงฆ์ใหญ่จีน มือมืดซุกระเบิดไว้ใต้เบาะรถยนต์-นั่งทับ ระเบิด รอดมรณภาพได้ดั่งปาฏิหาริย์ ในครั้งนั้นแรงระเบิดได้ทำให้หลังคารถเก๋งโอเบิล แตกเปิดเป็นโพรง เบาะรถทั้งหน้าหลังกระจุยกระจาย แต่ก็เพียงทำให้จีวรและเสื้อของท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้งเป็นจุดเป็นรูรอยไหม้เกิดขึ้นมากมาย แต่ตัวท่านเพียงได้รับความกระเทือนจากแรงกระแทกบ้างเท่านั้น อีกทั้งคนขับรถก็มิได้รับบาดเจ็บอันใดเลย ถึงแม้จะมีความยากลำบากในการสร้างความมั่นคงแก่คณะสงฆ์จีน เพียงใดท่านเจ้าคุณอาจารย์ก็ยังคงมุ่งมั่นในการปฏิบัติ  และปฏิบัติจนสำเร็จลุล่วง คณะสงฆ์จีนมั่นคงรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้

 

- ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้บำเพ็ญเพียร ศึกษาปฏิบัติ ที่ วัดถ้ำประทุน จนแตกฉานในพระไตรปิฏกรู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจสี่ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของ พุทธศาสนิกชน เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อุบาสก อุบาสิกา ผู้เคารพเลื่อมใสในกรุงเทพฯได้นิมนต์ ท่านแสดงธรรมโปรดชาวเมืองอยู่เนืองๆ ท่านเจ้าคุณอาจารย์จึงได้ย้ายมา จำพรรษาอยู่ใน กรุงเทพ ณ.สำนักสงฆ์หมี่กัง สะพานอ่อน ขณะนั้นพุทธศาสนาฝ่ายจีนยังไม่แพร่หลาย วัดและ สำนักสงฆ์ ยังน้อย ท่านเจ้าคุณอาจารย์ดำริว่า ต้องสร้างคนก่อนแล้วค่อยสร้างวัตถุ เมื่อคนมี คุณภาพทางจิตและผูกพัน การพัฒนา สังฆมณฑลจีนนิกายก็ราบรื่นและแพร่ไพศาล ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้เริ่มแผ่เมตตา รับสานุศิษย์(กุยอี)เข้าปฏิญาณตน เป็นพุทธมามะกะรับ คำสอนจากท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นรุ่นๆ รุ่นละร้อยกว่าคนบ้าง สองร้อยกว่าคนบ้างท่านเป็นที่ พึ่งแก่พุทธศาสนิกชน ่ทั้งชาวจีนและชาวไทยในกรุงเทพขณะนั้นและต่อๆมาวางรากฐานมั่นคง แก่คณะสงฆ์จีนนิกาย ในประเทศไทย 

คุรุโพธิ์แจ้งมหาเถระขณะประกอบพิธีอภิเษกศิษย์

 

          -ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้จาริกไปประเทศจีน ได้ ดั้นด้นธุดงค์ บำเพ็ญบารมีไป  ได้เข้าศึกษามนตรยาน ณิงมากาจู ณ.สำนักสังฆราชา ริโวเช แคว้นคาม ทิเบตตะวันออก กับพระสังฆราชา “วัชระนะนาฮู้ทู้เคียกทู้”(นอร่ารินโปเช) ซึ่งเป็นพระมหาเถระที่มีชื่อเสียงมากของทิเบต ท่านสังฆราชานะนา เลื่องลือมาก ในแถบจีน ตอนใต้ ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย ท่านสังฆราชานะนา ได้เปิดเผยว่าท่านเจ้าคุณ อาจารย์ถือกำเนิดจากปรมาจารย์ “คุรุนาคาชุน” (ตามความเชื่อและแนวทางปฏิบัติในทิเบต) ซึ่งมาเพื่อฟื้นฟู สถาปนาพุทธศาสนามหายานให้มั่นคงในภูมิภาคนี้ ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้รับ ความเมตตาจากพระอาจารย์เป็นพิเศษ เมื่อท่านเจ้าคุณอาจารย์ศึกษาแตกฉานใน มนตรยานณิงมากาจู แล้ว พระสังฆราชาฯได้ประกอบการอภิเษก ตั้งให้ ท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้งเป็น “พระวัชรธราจารย์” สังฆราชานิกายณิงมา-กาจู(นิกายขาว-แดง)อันดับที่ 26 สืบต่อ ในการครั้งนั้น ท่านสังฆราชานะนา ได้มอบ อัฐบริขาร สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำตำแหน่งสังฆราชา ให้ท่านเจ้าคุณอาจารย์อย่าง ครบถ้วน ทั้งได้มอบพระธรรมคัมภีร์ ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุดของนิกายเพื่อให้ท่านเจ้าคุณ อาจารย์นำกลับมาประดิษฐานในประเทศไทย ด้วย ท่านสังฆราชานะนาได้ทำนายว่า ทิเบตต้องแตก พระธรรมคัมภีร์อันมีค่ามหาศาล วัตถุธรรมอันล้ำค่าจะถูกทำลายหมด เป็นที่ยืนยันว่าพระธรรมคัมภีร์ฉบับที่อยู่ กับท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นฉบับสมบูรณ์ที่สุด ที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ท่านสังฆราชาวัชระนะนา กับศิษย์ฑิมซินกุนดักริมโปเช(โพธิ์แจ้ง)

 

          เมื่อครั้งที่ท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้งได้พบและเข้าเป็นศิษย์ท่านนอร่าริมโปเช ท่านนอร่าริมโปเชกำลังแสดงธรรมเทศนาอยู่ที่ฮ่องกง ท่ามกลางศาสนิกชนป็นหมื่นที่เข้าร่วมรับฟังธรรมของท่าน ในขณะนั้น อยู่ๆท่านก็หยุดการแสดงธรรม และกล่าวต่อที่ประชุมนั้นว่า ขณะนี้ ฒุลกุ(ผู้บรรลุธรรมที่กลับชาติมาเกิดหรือองค์นิรมานกาย) ของพระโพธิสัตว์นาครชุน ผู้สถาปนาพุทธมหายานกำลังจะเข้ามาและจะมาเป็นศิษย์ของท่าน ด้วยภาระในการสร้างพุทธศาสนามหายานให้มั่นคงยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียนี้ เมื่อท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้งเข้าไปในที่ประชุมนั้น และได้มอบตัวเป็นศิษย์แก่ท่านสังฆราชานอร่าริมโปเช เมื่อท่านโพธิ์แจ้งได้รับการถ่ายทอดวัชรธรรม การบรรลุธรรมก็เกิดขึ้นในทันที หลังจากนี้นท่านก็ติดตามอาจารย์เดินธุดงค์เข้าทิเบต (ท่านโซนัมริโปเช เคยกล่าวว่า ตอนเด็กท่านเคยเห็นพระจีนรูปหนึ่งติดตามคุณตาอยู่ แต่ท่านยังเด็กมากจำไม่ได้ว่าพระจีนรูปนั้นเป็นใคร ในประวัติของท่านสังฆราชานอร่า ท่านรับศิษย์จำนวนมากแต่เป็นคฤหัสถ์เป็นเกือบหมด มีพระลามะทิเบต2รูป และพระสงฆ์ชาวจีน 1รูป และพระสงฆ์ชาวเวียตนาม 1 รูป เท่านั้นเอง พระสงฆ์ชาวจีนก็คือท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้งซึ่งต่อมาได้สร้างคณูปการแก่คณะสงฆ์ในพุทธศาสนามหายานในเอเซีย)

 

- ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้จาริกไปประเทศจีน เพื่อเข้ารับการอุปสมบท เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ณ.วัดล่งเชียงยี่ บนภูเขาป๋อฮั้วซัว มณฑล กังโซว โดยมีพระคณาจารย์ฮ่งยิ้ม เป็นอุปัชฌาย์ ผู้เป็นสังฆนายกสำนักวินัย สำนักปฏิบัติ ธรรมวินัยแห่งนี้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมที่มีระเบียบวินัยเคร่งครัดที่สุดของจีน เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้อยู่ศึกษาพระปริยัติธรรม กับพระคณาจารย์เพิ่มเติมอีก 2 ปี ด้วยสติ ปัญญา อันหลักแหลมฉลาดเฉลียว ท่านได้เรียนรู้อรรถธรรมลึกซึ้งต่างๆได้แตกฉานเป็นที่รัก ใคร่ของพระอาจารย์ และ พระสงฆ์ต่างๆ ในสำนัก ปี พ.ศ.2479 จึงได้จาริกกลับประเทศไทย เพื่อเผยแพร่พระธรรมและประสบการณ์ความรู้ ที่ได้รับมาแก่พุทธบริษัทในประเทศไทยต่อไป

                - ปี พ.ศ. 2490 ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้จาริกกลับประเทศไทย พร้อมด้วย บารมีธรรม อันแรงกล้า แตกฉานในพระไตรปิฏกทุกยาน ทุกนิกาย ทั้งเถระวาทในประเทศไทย มหายานของจีน และวัชระยานของทิเบต ตลอดจน ความรอบรู้ปรัชญาของจีนและศาสตร์ทุก แขนงทั้งทางโลกและทางธรรม ด้วยว่าท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นผู้ไม่ยอมว่าง ในการแสวงหา ความรู้นั่นเอง 

 

 

ท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้งเข้ารับการแต่งตั้งเป็นประมุขนิกายวินัย

 

- ปี พ.ศ.2491 ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้จาริกไปประเทศจีนเป็นวาระที่สาม ครั้งนี้ท่านเจ้าคุณอาจารย์ ได้รับเกียรติอย่างสูงจากพระคณาจารย์จีนพระปรมัตตาจารย์ (เมี่ยวยิ้ว) ประมุขเจ้านิกายวินัยของประเทศจีน องค์ที่ 18 แต่งตั้งท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็น พระปรมัตตาจารย์ ประมุขนิกายวินัยองค์ที่ 19 ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้จาริกแสวงธรรม ในการ ครั้งนี้ด้วย รวมเวลาในวาระนี้ 2 ปีเศษ - ตั้งแต่ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้บรรพชา ณ วัดถ้ำประทุนเป็นต้นมาท่านได ้อุทิศกายใจ เพื่อการ พระศาสนา โดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคทั้งปวง หลังจากเข้าพำนัก ณ. สำนักสงฆ์หมี่กัง ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้ปฏิบัติกิจของสงฆ์ จำศีลภาวนา อบรมศิษยานุศิษย์ อย่างเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ผู้มาปฏิบัติธรรมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนสำนักสงฆ์หมี่กังคับแคบ ไม่พอแก่จำนวนผู้มา ท่านเจ้าคุณอาจารย์จึงสร้างสำนักสงฆ์หลับฟ้าขึ้นอีกแห่ง ในบริเวณใกล้ เคียงกัน กิติศัพท์ในสีลาจาวัตร ความรู้ ความสามารถ ความเมตตา ของท่านยิ่งกว้างขวางไป ไกล จำนวนศิษยานุศิษย์และผู้ปฏิบัติธรรมก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น สำนักสงฆ์หลับฟ้าก็คับแคบอีกท่าน เจ้าคุณอาจารย์ จึงได้สร้างวัดโพธิ์เย็น ณ.ตลาดลูกแก อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี และ ได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมา กับประกอบพิธี ผูกพัทธสีมาสำหรับ เป็นที่ประกอบการอุปสม บทตามพระวินัยบัญญัติ นับเป็นปฐมสังฆะรามฝ่ายจีนนิกาย แห่งแรกที่ให้ การอุปสมบทแก่กุล บุตร ซึ่งก่อนหน้านี้การอุปสมบทด้องเดินทางไปประเทศจีน ต่อมาสมเด็จพระสังฆราชเจ้าได้ โปรด แต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌายะฝ่ายจีนนิกายรูปแรก ปี พ.ศ.2497 สมเด็จพระสังฆราชมี เถรบัญชาให้ท่านเจ้าคุณอาจารย์ จากวัดโพธิ์เย็นลงมาครองวัดมังกรกมลาวาส ซึ่งเป็นอารามใหญ่ที่สุดของฝ่ายจีนนิกาย ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้ปกครอง ดูแลอย่างเรียบร้อย เป็นที่แซ่ซ้อง สาธุการของพุทธบริษัทชน ครั้นแล้ว จึงมีพระบรมราชโองการโปรดให้เลื่อน สมณะศักดิ์ของ ท่านเจ้าคุณขึ้นเป็นที่พระอาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายสงฆ์จีนนิกาย ปกครอง คณะสงฆ์จีน ในประเทศไทย เมื่อคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทยมั่นคง สมบูรณ์แล้ว ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้จาริกยังประเทศในภูมิภาคนี้ เป็นครั้งเป็นคราว เช่น ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย เพื่อเผยแพร่พระศาสนาให้กว้างไกลยิ่งๆขึ้นไป ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้อุทิศตนเพื่อ พระศาสนาอย่างแท้จริงเป็นเวลายาวนานกว่า 60 ปี ฉะนั้นชื่อเสียง เกียรติคุณ ของท่านจึงขจร ขจายไปทั่วทุกสารทิศ 

- ท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยชาติวุฒิ คุณวุฒิ และวัยวุฒิ ปฏิบัติเคร่งครัดในสีลาจารวัตร เมตตาสั่งสอน อบรมพุทธบริษัททั่วไปอย่างหมั่นเพียรจนได้รับ การยกย่องในหมู่คณะพระมหาเถรานุเถระของ ไทยว่ามีปฏิปทาไม่แปลกจากสงฆ์ไทยเลย สังฆกรรมใดซึ่งมีพระพุทธบัญญัติ ก็พยายามพื้นฟูขึ้นมาปฏิบัติ เช่น พิธี กฐิน เป็นต้นด้วยความ เป็นสังฆราชาแห่งสำนักวินัยอันดับที่ 19 ท่านเจ้าคุณอาจารย์ให้ความสำคัญ ในการปฏิบัติเคร่งครัด ในพระวินัย พร้อมทั้งสั่งสอน ควบคุม พระภิกษุ สามเณรในวัดให้เป็นผู้เคร่งครัดในการ ปฏิบัติพระวินัยด้วย ท่านเจ้าคุณ อาจารย์จึงมีคำสั่งให้พระภิกษุเย็นเกียรติ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดโพธิ์เย็น จัดการแปลสิกขาบทในพระปาฏิโมกข์แห่งนิกายวินัย ซึ่งเป็นพากษ์ภาษาจีนออกสู่ พากย์ไทย เพื่อเป็นการเปรียบเทียบพระปาฏิโมกข์ของฝ่ายบาลี และให้ผู้บวชเรียนชาวไทย ในกาลต่อมาได้เรียนรู้อย่างสะดวก พระภิกษุจีนนอกจากจะต้องปฏิบัติตามพระวินัยบัญญัตินี้ แล้ว ยังต้องปฏิบัติ โพธิสัตว์ สิกขาตามคติในนิกายมหายานอีกด้วย - วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน 2529 ท่านเจ้าคุณอาจารย์ ได้อาพาธ และถึงแก่มรณภาพลง สิริอายุ 85 ปีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานพระบรม ราชานุเคราะห์ ในการสวดพระอภิธรรม 7 วัน นอกจากนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ ได้ทรงพระมหากรุณา เสด็จพระราชดำเนินไปในการบำเพ็ญพระ ราชกุศลพระอภิธรรม แก่ศพท่านเจ้าคุณอาจารย์ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2529 สมเด็จพระบรม โอรสาธิราช เสด็จพระราชดำเนิน บำเพ็ญ พระราชกุศลพระราชทานบรรจุศพ ท่านเจ้าคุณอา จารย์ ณ วัชระเจดีย์ วัดโพธิ์แมนคุณาราม ท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นพระเถระต่างชาติรูปแรกที่ได้ รับพระราชทานสมณศักดิ์สูงเป็นเกียรติประวัติยามเมื่อท่าน ยังมีชีวิตอยู่ และเมื่อท่านได้ละ สังขารแล้ว ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรม ราชานุเคราะห์ต่างๆ เป็นเกียรติประวัติที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์สงฆ์จีนในประเทศไทย

 

ก่อนท่านเจ้าคุณอาจารย์จะมรณะภาพท่านได้สั่งคณะศิษย์ไว้ว่าเมื่อถึงเวลาอันสมควร ก็ให้เปิดวัชระเจดีย์และอัญเชิญสรีระของท่านออกมาเพื่อให้สานุศิษย์ทั้งหลายได้กราบไหว้บูชา เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2539 เจ้าคณะใหญ่สงฆ์จีนนิกายองค์ปัจจุบัน ท่านเจ้าคุณเย็นเต็ก ได้ประกอบพิธีเปิดวัชระเจดีย์เมื่อผู้ร่วมในพิธีทุกท่านได้เห็นสรีระของท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นที่ อัศจรรย์อย่างยิ่ง สรีระของท่านยังคง สมบูรณ์ดี แม้เวลาจะผ่านไปนานถึงสิบปีแล้วก็ตาม แต่ก็ มีเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่งไปกว่านั้นอีก ร่างของท่านได้ แบ่งสีสรรเป็นสามสีอย่างชัดเจนคอและ ศีรษะเป็นสีทอง ตัวเป็นสิเงิน จากข้อศอกทั้งสองข้าง และขาทั้งสอง ข้างเป็นสีโกโก้หรือสีของ เมื่อสัมผัสยังนุ่มนิ่มเหมือนเนื้อคนธรรมดา ขณะนี้สรีระของท่านเจ้าคุณอาจารย์ ได้ประดิษฐาน ณ วัดโพธิ์แมนคุณารามเพื่อให้สานุศิษย์ทั้งหลายได้กราบไหว้บูชา

ในครั้งนี้มีเหตุการณ์มหัศจรรย์เกิดขึ้นจากการเชิญสรีระของท่านออกมาแล้ว เพื่อรอการปิดทองตามเจตนารมณ์ของท่านเจ้าคณะใหญ่จีนนิกายองค์ปัจจุบัน ในขณะที่รอก็มีน้ำมันไหลออกมาจากสรีระของท่านทุกวัน ผ้าเหลืองที่พับไว้ให้สรีระท่านรองนั่งเปียกชุ่มโชกทุกวัน และกลุ่มผู้ดูแลและผู้รู้เรื่องทั้งหมดไม่มีใครทราบความสำคัญของกรณีนี้เลย (ในทิเบต ถือเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญและมหาศักดิ์สิทธิ์ พระอาจารย์ผู้บรรลุธรรมถ้าให้น้ำมันออกจากสีรระร่างในลักษณะนี้ ถือว่าพระอาจารย์มอบพระธาตุไว้ให้บรรดาศิษย์เป็นที่ระลึกไว้บูชา น้อยมากที่จะมีกรณีนี้เกิดขึ้น) เหตุการณ์นี้ดำเนินอยู่สองปีกว่าเกือบสามปี และผู้ดูแลก็นำผ้าซึ่งเปียกชุ่มน้ำมันจากสรีระของท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้งไปเผาทิ้งหมด ด้วยความไม่รู้ จนเมื่อพระมหาวัชราจารย์โซนัมริมโปเช พระลามะผู้มีความสัมพันธ์กับท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้ง ท่านเป็นหลานของท่านนอร่าริมโปเชผู้เป็นพระอาจารย์ของท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้ง ผู้ซึ่งกลุ่มศิษย์ผู้ดูแลสรีระของท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้งเชิญมาและกราบท่านเป็นพระอาจารย์มาหลายปีแล้ว ท่านมาประเทศไทยประจำทุกปี แต่ครั้งนี้มีกิจทำให้ท่านมาเมืองไทยเมื่อเกิดเหตุนี้แล้วเกือบสามปี ท่านได้รู้เหตุการณ์นี้และได้บอกว่าการให้น้ำมันเช่นนี้ เป็นที่มหายินดีแก่บรรดาลูกศิษย์ของชาวพระอาจารย์ชาวทิเบต เพราะว่าพระอาจารย์ท่านได้มอบพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ของท่านให้หมู่ศิษย์ไว้เป็นที่ระลึก กรณีให้น้ำมันนี้จะไม่หยุดจนกว่าหมู่ศิษย์จะรู้เรื่องและเก็บน้ำมันนี้ไว้เป็นที่ระลึก และเมื่อรู้เรื่องแล้ว การให้น้ำมันก็จะหยุดลง และทุกอย่างก็เป็นไปตามนั้น หลังจากที่ท่านวัชราจารย์โซนัมริมโปเช ท่านบอกกล่าวให้รู้ ในวันถัดมาน้ำมันก็ไม่ออกมาอีกเลย ผมได้เก็บน้ำมันพระธาตุนั้นไว้ และได้นำมาสร้างพระเครื่อง และบรรจุไว้ในพระบูชาที่ได้สร้างขึ้น นี่เป็นเหตุการณ์มหัศจรรย์หนึ่งในหลายเรื่องที่ได้เกิดขึ้นซึ่งได้ประสบมากันตนเอง

 

 

ดาวน์โหลดตัวอักษร (ฟ้อนต์) ทิเบตทั้ง ๓ แบบ เพื่อความสมบูรณ์ในการชมเว็บ

actisan.ttf

adtibet.ttf

atibet.ttf


uptime alert service

website monitor

View My Stats